ผลของการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดขึ้นกับชีวิตทางสังคม

ผลของการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดขึ้นกับชีวิตทางสังคม

 

ประเด็นที่กล่าวถึงมารยาททั้งภายนอกและภายในเกี่ยวกับการอ่านอัล- กุรอาน สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนี้มีบทบาทมากกับวิถีชีวิตทางสังคม เช่น

 

๑. เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม

 

เมื่อทุกคนอ่านอัล-กุรอานจากเล่ม ผลที่จะตามมาคือ การพิมพ์อัล-กุรอานให้พอดีกับจำนวนคน เมื่ออัล-กุรอานถูกพิมพ์มาก และการอ่านได้รับความนิยมมากเท่าใดวัฒนธรรมของอัล-กุรอานก็จะเติบโตมากเท่านั้น และเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนให้สนใจอัล-กุรอานมากยิ่งขึ้น เช่น ในอิหร่านปัจจุบันเมื่อเทียบกับอิหร่านก่อนการปฏิวัติจะแตกต่างกันลิบลิ่ว สมัยก่อนไม่มีคนสนใจอัล-กุรอานเท่าที่ควร จะมีเฉพากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และนักเรียนศาสนาเท่านั้น อิหร่านไม่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอาน แต่ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถพัฒนาการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอานเป็นอันดับหนึ่งในเอเซียหรือในโลกก็ว่าได้ ทุกสาขาอาชีพในอิหร่านมีนักกอรียฺและนักท่องจำส่งเข้าแข่งขันเสมอ มีนักท่องจำอัล-กุรอานรุ่นจิ๋วตั้งแต่อายุ ๓ ขวบขึ้นไปจำนวนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของวัฒธรรมอัล-กุรอานและความสนใจของประชาชน

 

การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทางภายใต้ร่มเงาของการอ่านอัล-กุรอานทำให้พบวิชาการใหม่ ๆ เช่น หลักการอ่านอัล-กุรอาน ความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอาน และการอธิบายอัล-กุรอาน

 

๓. การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อสังคมต้อนรับการอ่านอัล-กุรอานมากขึ้น การแข่งขันในเชิงวิชาการทั้งการอ่าน การท่องจำ และการอธิบายอัล-กุรอานตามหน่วยงาน

องค์กรต่าง ๆ และระดับประเทศก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่รักการฝึกฝนความศรัทธาของตนไปโดยปริยาย

 

๔. ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น

 

เมื่อสังคมมีการอ่านอัล-กุรอานกันมากยิ่งขึ้นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอัล-กุรอานก็ได้รับความสนใจมากขึ้นตามลำดับ อีกด้านหนึ่งภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางสำหรับชาวมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนเข้าใจภาษาอัลกุรอานมากขึ้น การโจมตีทางด้านวัฒนธรรมก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ประกอบกับทำให้มีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

 

๕. ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน

 

การเติบโตด้านการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้วัฒนธรรม ความรู้ และจริยธรรมอิสลามเติบโตตามไปด้วย และเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนลำรึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสอนให้ประชาชนรำลึกถึงพระองค์ในทางอ้อม

๖. อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม

 

ดังที่ทราบแล้วว่าอัล-กุรอานเป็นยารักษาอาการป่วยไข้ภายในดีที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุในการบำบัดสังคมไปในตัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَا

 

อัลกุรอานเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม เป็นทางนำและเป็นการบำบัดบรรดาผู้ศรัทธา ( ๑)

 

 

وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ

 

และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

 

อัล-กุรอานยํ้าเน้นเสมอเรื่องการต่อสู้กับสิ่งอานาจารและความชั่วร้าย และเป็นยาบำบัดความป่วยไข้ของสังคมที่ดีที่สุด อัล-กุรอานปลุกจิตวิญญาณของสังคมให้ตื่นขึ้น และสอนประชาชาติให้รู้จักการเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนาของตน

 

แน่นอนการที่อัล-กุรอานสอนเช่นนี้เนื่องจากสิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้สังคมมนุษย์รอดพ้นความวิบัด มีความจำเริญ และมีความสมบูรณ์ บนพื้นฐานดังกล่าวทำให้ประชาชาติแสดงความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้าย หรืออคติ หรือนินทาว่าร้ายกันและกัน ในอีกด้านหนึ่งถ้าสังคมใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความสงบเรียบร้อย

 

๗. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการปกครองที่กดขี่ของทรราช

 

อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

 

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوت

 

แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลลงมาในทุกๆ ประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า และออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม ( ๓)

 

๘. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า

 

๙. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน

 

อัล-กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

 

فَالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النُّورَ الَّذِي أُنزِلَ مَعَهُ أُولَـٰئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

 

ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ (๔)

 

การแพร่ขยายการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้ วัฒนธรรมของการอัล-กุรอานก็ถูกปฏิบัติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการกดขี่ การบิดเบือน และการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าล้วนเป็นวัฒนธรรมของอัล-กุรอานทั้งสิ้น

 

แหล่งอ้างอิง

 

๑.อัล -กุรอาน ซูเราะฮ์ อัลฟุซซิลัต โองการ ๔๔

๒.อัล -กุรอาน ซูเราะฮ์ อัลอิซรอ ๘๒

๓.อัล -กุรอาน ซูเราะฮ์ อันนะฮ์ลิ โองการ ๓๖

๔.อัล -กุรอาน บทอัลอะอ์รอฟ  โองการ ๑๕๗

 

ที่มา หนังสือ การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน ฮุจญตุลอิสลาม ริฎออี อิสฟาฮานี