เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การชี้นำ (ฮิดายะฮ์)ในอิสลาม ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การชี้นำ (ฮิดายะฮ์)ในอิสลาม  ตอนที่ 1

 

ฮิดายะฮ์ หมายถึง การชี้นำ ซึ่งมีสองลักษณะ คือ การชี้นำทางที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง โดยจะเรียกการชี้นำลักษณะนี้ว่า “อิรออะตุฏฏอรีก” (การบอกทาง) และอีกลักษณะหนึ่งคือ การนำพาผู้ถามทางให้ไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียกลักษณะนี้ว่า “อีศอล อิลัลมัฏลูบ) (การนำพาสู่จุดมุ่งหมาย) ในสำนวนเชิงวิชาการจะเรียกการ “ฮิดายะฮ์” สำหรับสิ่งหนึ่งที่มีความสมบูรณ์ที่มีความเป็นระบบระเบียบที่จำเพาะและถูกต้อง หรืออาจจะกล่าวอีกได้ว่า เป็นความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสิ่งที่มีอยู่กับอนาคตที่สมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ

 

 คำว่า “ฮิดายะฮ์” (การชี้นำ) มีคำตรงข้ามอยู่สองคำคือ คำว่า “ฎอลาละฮ์” (การหลงทาง) และ “ฆอวายะฮ์”  (การหลงผิด)  คำว่า “ฮิดายะฮ์” (การชี้นำ)ที่ตรงข้ามกับคำว่า “ฎอลาละฮ์” เกี่ยวข้องกับเรื่องของหนทาง และจะเรียกผู้ที่รู้จักทางที่ถูกต้องแล้วเดินไปตามทางนั้น ว่า “มุฮ์ตะดี” (ผู้ที่ได้พบหนทาง) และจะเรียกผู้ที่ไม่รู้จักทางและเดินไปในทางที่ไม่ถูกต้องว่า “ฎอล” (ผู้หลงทาง) ส่วนคำว่า “ฮิดายะฮ์”ที่ตรงข้ามกับคำว่า “ฆอวายะฮ์”  (การหลงผิด) นั้นให้ความหมายของการมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย “ฆ็อยย์”และ “ฆอวี” คือผู้ที่ไร้จุดมุ่งหมาย

 

สิ่งที่น่าสังเกตคือ บางครั้งแต่ละคำที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาจจะถูกนำมาใช้ร่วมกันหรือบางครั้งอาจจะถูกนำมาใช้ในอีกความหมายหนึ่ง กล่าวคือ บางครั้งคำว่า “ฆอวายะฮ์” (การหลงผิด) อาจถูกนำมาใช้สำหรับความหมายของ “ฎอลาละฮ์” (การหลงทาง) ได้เมื่อมีประโยคอื่นมาสนับสนุน

 

 ตามพื้นฐานของการแบ่งข้างต้น จะเรียกผู้ที่มีเป้าหมายและรู้จักเป้าหมายนั้น แต่ไม่รู้ทางที่จะให้ไปถึงเป้าหมายนั้นว่า “ฎอล” (ผู้หลงทาง) และจะเรียกผู้ที่ไม่รู้เป้าหมายว่า “ฆอวี” (ผู้หลงผิด)

 

 ดังนั้น “ฮิดายะฮ์” หมายถึง การรู้จักเป้าหมายพร้อมทั้งรู้ทางและเดินไปตามทางนั้น

 

 “ฮิดายะฮ์” ในโองการที่ว่า

 

اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيمَ
 

“ขอพระองค์ทรงชี้นำเราสู่ทางอันเที่ยงตรง”


 (ซูเราะฮ์ อัลฟาติหะฮ์ โองการที่ 6)


 
ด้านหนึ่งเป็นการชี้นำที่ตรงข้ามกับ “ฎอลาละฮ์” (การหลงทาง) “และมิใช่ทางของพวกที่หลงทาง” และอีกด้านหนึ่งเป็นการชี้นำสู่ “ศิรอฏ” (หนทาง) ดังนั้นการชี้นำในประเภทแรกให้ความหมายของการพบหนทาง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องยึดมั่นและยืนหยัดเป็นพิเศษซึ่งจะกล่าวต่อไป และการชี้นำในประเภทที่สองนั้นให้ความหมายของการมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย


ขอขอบคุณ เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม