ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ต้องการให้บันทึกอะไรก่อนจากโลกนี้ไป ตอนที่ 15

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ต้องการให้บันทึกอะไรก่อนจากโลกนี้ไป ตอนที่ 15

 

คำถาม ตอนท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ใกล้เสียชีวิต ท่านสั่งคนรอบข้างให้นำอะไรมาให้ท่าน ?


ตอบ เมื่อท่านนบี(ศ)ใกล้เสียชีวิต ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า จงเอาบันทึกมาให้ฉัน ฉันจะเขียนไว้ให้พวกเจ้า พวกเจ้าจะได้ไม่หลงทางหลังจากบันทึกไว้


แล้วคนในบ้านได้ขัดแย้งกันและถกเถียงกันเอง คนส่วนหนึ่งกล่าวว่า จงเอา(กระดาษ)เข้าไปให้ท่านนบีเถอะ ท่านจะได้บันทึกไว้เพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงหลังจากนี้ แต่คนอีกส่วนหนึ่งก็เห็นด้วยกับที่อุมัรพูด ( ดู ซอฮิฮ์มุสลิม ฮะดีษที่ 4125 )

 

สรุปเนื้อหาฮะดีษได้ตามนี้


1.ท่านนบีสั่งคนในบ้านว่า จงเอากระดาษมา ฉันจะให้บันทึกสิ่งที่จะทำให้พวกเจ้าไม่หลงทาง


2.ซอฮาบะฮ์ที่อยู่ในบ้าน ขัดแย้งกัน โดยแบ่งออกเป็นสองฝ่าย


3.ฝ่ายหนึ่งนำโดย“อิบนุอับบาส” กล่าวว่า จงเอากระดาษไปให้ท่านนบี


4.อีกฝ่ายหนึ่งนำโดย “อุมัร” กล่าวว่า ไม่ต้องเอากระดาษไปให้ท่านนบี

 

คำถามต่อมา สิ่งที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ต้องการให้บันทึกคืออะไร ?


ตอบ นักวิชาการได้กล่าวไว้ 2 ทัศนะคือ


ทัศนะที่ 1 นบีต้องการระบุชื่อ”คอลีฟะฮ์”


ทัศนะที่ 2 นบีต้องการบันทึก “ฮุกุมชัรอี” เพื่อขจัดความขัดแย้ง


อิบนุลเญาซีกล่าวว่าทัศนะที่ 1 ชัดเจนที่สุด (ดูกัชฟุล มุชกิล เล่ม 2 หน้า 314 ฮะดีษที่ 817)

 

ทีนี้เรามาดูความ ฆูลาต ความคลั่งใคล้ของอุละมาอ์วาฮาบีซาอุดิอาระเบีย ต่อท่านอุมัร

 

เชค อุซัยมีน อุละมาอ์ใหญ่แห่งซาอุฯ ตาย ฮ.ศ. 1421 ได้กล่าวว่า

 

فإن من رحمة الله أن الله تعالى قدر أن يعارض عمر حتى يكون انتخاب أبي بكر برضا من الصحابة

 

ดังนั้น หนึ่งในความเมตตาของอัลลอฮ์คือ แท้จริง อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ทรงกำหนดให้ท่านอุมัรขัดคำสั่ง(ท่านนบี) เพื่อการเลือกตั้งของท่านอบูบักร จะเป็นความพอใจจากศอฮาบะฮ์

 

وأعلم منه بما يترتب في المستقبل فلو كُتِبَ هذا الكتاب لهجر الناسُ القرآن والتفتوا إليه
 

และท่านอุมัรรู้ดีกว่าท่านอิบนิอับบาสในสิ่งที่จะตามมาในอนาคต ดังนั้นถ้าหากคำสั่งเสียของท่านนบีถูกบันทึกไว้ แน่นอนประชาชนจะต้องละทิ้งคัมภีร์กุรอานและหันไปสนใจบันทึกของท่านนบีแทน

 

กิตาบ ชัรฮุ ซอฮีฮุล บุคอรีย์ เล่ม 1 หน้า 233 และ 236

ผู้แต่ง เชค มุฮัมมัด บินซอลิห์ อัลอุซัยมีน
สำนักพิมพ์ดารุลต็อบรีย์ ปีพิมพ์ ฮ.ศ. 1429


كتاب شرح صحيح البخاري ج 1 ص 233 و 236 للشيخ محمد بن صالح العثيمين، دار الطبري

 

วิเคราะห์คำพูดของเชคอุซัยมีน อุละมาอ์วาฮาบีใหญ่แห่งซาอุดิอาระเบีย

1.เขาต้องการบอกว่า ท่านนบี (ศ็อลฯ) ต้องการแต่งตั้งบุคคลหนึ่งเป็นคอลีฟะฮ์ แต่อัลลอฮ์ดลใจท่านอุมัรให้ขัดขวางไว้ เพราะถ้านบีแต่งตั้งบุคคลหนึ่งไว้ในพินัยกรรม ก็จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชาติ


2.เขาต้องการบอกว่า อัลลอฮ์ต้องการจะเลือกท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์อันได้มาจากความพอใจของซอฮาบะฮ์ ไม่ใช่วิธีที่ท่านนบีจะทำ คือสั่งให้บันทึกชื่อคอลีฟะฮ์


3.อัลลอฮ์ดลใจให้ท่านอุมัรขัดคำสั่งท่านนบี เพื่อประชาชนจะได้ไม่ละทิ้งคัมภีร์กุรอ่านแล้วหันไปสนใจบันทึกของท่านนบีแทน

 

ถ้ายึดถือคำอธิบายของอุละมาอ์วาฮาบีคนนี้ ก็จะสรุปความได้แบบนี้


ระหว่างทัศนะของท่านนบีกับทัศนะของท่านอุมัร อัลลอฮ์เลือกที่จะอยู่กับท่านอุมัร


หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ


ทัศนะของท่านอุมัรนั้นตรงกับพระประสงค์ของอัลลอฮ์
หรือพระประสงค์ของอัลลอฮ์นั้นตรงกับทัศนะของท่านอุมัร

 

เชคอุซัยมีนต้องการบอกว่า การที่ท่านนบีสั่งให้บันทึกชื่อคอลีฟะฮ์ไว้ นั่นคือความผิดพลาดของท่าน


ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงทรงดลใจให้ท่านอุมัรขัดขวางการบันทึกของท่านนบีไว้


สรุปว่า ตามทัศนะวาฮาบี คือ คำสั่งนบีให้บันทึกชื่อคอลีฟะฮ์ไว้ก่อนตายนั้นอันตรายสำหรับประชาชาติ และท่านอุมัรคือผู้ปกป้องอิสลามให้พ้นอันตรายจากคำสั่งเสียสุดท้ายของท่านนบี


หากมีอุละมาอ์ชีอะฮ์คนใดแต่งตำราว่า อัลลอฮ์ดลใจให้ท่านอะลีรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มากกกว่าท่านนบี ฝ่ายวาฮาบีคงหยิบไปประณามโจมตีกันไม่เลิกลา แต่นี่คือตำราของวาฮาบี


นะอูซุ บิลลาฮิ มินซาลิก เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้พ้นจากแนวคิดวาฮาบีผู้นี้ ที่ดูหมิ่นสถานภาพอันสูงส่งของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ด้วยเถิด

 

 

โปรดติดตามตอนต่อไป

บทความโดย เชคญะวาด สว่างวรรณ