คุณลักษณะของบรรดาผู้ยำเกรง ประการที่ 21

คุณลักษณะของบรรดาผู้ยำเกรง  ประการที่ 21


ท่านอิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า


لایَرْضَوْنَ مِنْ أَعْمَالِهِمُ الْقَلِیْلَ ، وَ لَا یَسْتَکْثِرُوْنَ الْکَثِیرَ
 

“ พวกเขาไม่เคยพึงพอใจในการกระทำที่น้อยนิดของเขาและไม่เคยคำนวณนับในการกระทำของเขาที่มากมาย”


เมื่อเขาทำความดีเพียงเล็กน้อย เขาจะไม่มีความพึงพอใจ เขาจะพยายามที่จะทำความดีเพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา คือไม่พอใจในการทำดีเพียงน้อยนิด สมมุติว่าเขาอยากจะบริจาคซัก 1000 บาทแต่เขาไม่มีเขาก็บริจาค 100 บาท เขาไม่พอใจ เขาถือว่าเขาบริจาคน้อยไป หรือถ้าเขาบริจาคไป 1000 บาท เขาก็ยังถือว่าน้อยไป เขาก็บริจาค 10,000 บาท คือเขาจะทำให้มันมากอยู่ตลอดเวล าซึ่งมันตรงกันข้ามกับมนุษย์ธรรมดา สมมุติว่าเรายกเรื่องบริจาคเป็นตัวอย่าง คนเราส่วนมากเมื่อบริจาคก็จะบริจาคเพียงน้อยนิดและพอใจกับการบริจาคเพียงน้อยนิดนั้น ครั้นเมื่อเราหยิบยื่นให้ผู้ขอทา นเราก็รู้ว่าขอทานเขามีความยากลำบากแค่ไหน ถ้าเขาไม่มีความยากลำบาก แล้วเขาก็จะไม่มาขอทานแต่ส่วนมากเราจะหยิบเหรียญ 1 บาท 5 บาทหรือ 10 บาทให้กับขอทาน ทั้งๆที่เรารู้ว่าคนนี้ไม่มีอาชีพอะไร นอกจากเป็นขอทาน แต่เรากลับคิดว่ามันมากเรากับพึงพอใจที่จะให้เขาเพียงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม เราทำไปเพื่อตะกับบูร(ความหยิ่งทรนง) เราให้ค่าบริการในภัตตาคาร โรงแรมบางครั้งคนที่เราให้มีเงินเดือนเป็น 10,000 เราก็ให้เป็นร้อย เป็นพัน ซึ่งตรงนั้นมันไม่ใช่เป็นการบริจาคที่แท้จริง คนที่เป็นมุตตะกีน ไม่ว่าเขาจะทำอะไ รเขาไม่มีความพึงพอใจว่าเขาได้ทำมากแล้ว สมมุติว่าวันนี้เขาจะต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานให้ได้สักจำนวนหนึ่ง แต่เขาอ่านไม่ได้เ ขาจะมีอาการที่ไม่พึงพอใจว่าวันนี้เขาอ่านคัมภีร์ได้น้อย คือในเรื่องของความดีเขาไม่มักน้อยไม่ว่าจะเป็นความดีแบบไหน เขาก็ไม่มักน้อยที่จะสร้างความดีนั้น ตรงกันข้าม อะไรที่เขาได้ทำอย่างมากมาย เขาไม่เคยคิดว่ามันมา กเราจะเห็นได้ว่ามีมนุษย์จำนวนหนึ่งที่เมื่อเหน็ดเหนื่อยจากการทำความดี เขาจะเริ่มท้อถอย เราก็ทำความดีมามากแล้วยังไม่เห็นได้ดีและได้ผลอะไร เขาอาจจะเหนื่อยหรือบางคนอาจจะทำความดีสักระยะหนึ่งแล้ วเขาถือว่าทำมันมากพอแล้ว เขาอาจจะนมาซมากแล้ว เขาอาจจะบริจาคมามากแล้ว ดังนั้น การคิดว่าทำมากในสิ่งที่เขาได้ทำลงไปนั้นอาจเป็นสาเหตุในการหยุดที่จะทำความดี ฉะนั้น คนที่มีคุณธรรมนั้น เขาจะทำความดีสักขนาดไหนก็ตามและไม่ว่าจะเป็นความดีแบบไหนก็ตาม เขาก็ไม่เคยคิดว่ามันมากและการคิดแบบนี้นั้นทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการทำความดีที่จะทำให้มนุษย์นั้นยิ่งเพิ่มพูนการทำความดีของเขา

 

ที่มา หนังสือ ซีฟัต อัลมุตตะกีน คุณลักษณะของผู้ยำเกรง


โดย ฮุจญะตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี