ทำไมชีอะฮ์จึงเชื่อว่าท่านอิมามอะลี คือ ผู้ปกครอง(คอลีฟะฮ์)สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ?

ทำไมชีอะฮ์จึงเชื่อว่าท่านอิมามอะลี (อ.) คือ ผู้ปกครอง(คอลีฟะฮ์)สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)?

 

หลักฐานที่ชี้ชัดว่า "อิมามอะลี (อ.) เป็นผู้ทรงสิทธิ์ในตำแหน่งผู้ปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักรสืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) . คือ ฮะดีษ เยามุลดาร หรือ "งานเลี้ยงแห่งซุลอะชีเราะฮ์ ذوالعشیرة  ณ บ้านนบี (ศ็อลฯ.)"


ข้อมูลเฉพาะ


(1)- เนื้อหา: บทพิสูจน์ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอิมามอะลี (อ.) สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ.)


(2)- ผู้กล่าวฮะดีษ: ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์


(3)- ผู้รายงานฮะดีษ: ท่านอิมามอะลี บุตร อะบูฏอลิบ ( อ.)


(4)- ตำราชีอะฮ์: อะมาลี ของเชคฏูซี


(5)- ตำราซุนนี: ตารีค ฏอบะรี (ตะรีกอุมัม วัลมุลูก)

 


บทแรก ตัวบทฮะดิษ


(1)- ตัวบทฮะดีษ ภาคภาษาไทยมีใจความว่า


เมื่อย่างเข้าปีที่ 4 ของการเผยแพร่ศาสนาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) ท่านได้รับบัญชาจากอัลลอฮ์ให้เชิญชวนผู้คนที่เป็นวงศ์ญาติของท่านมาสู่อิสลามอย่างเปิดเผยว่า:

 


وَأَنذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ

“ และเจ้าจงเตือนวงศ์ญาติที่ใกล้ชิดของเจ้า ”

บทอัชชุอะรอ โองการที่214


วงศ์ญาติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ). นั้นมีบรรดาสมาชิกทั้งหมดของ บะนีฮาชิม และบะนี อัลมุตฏอลิบ ท่านได้สั่งให้อะลี (อ.) ญาติผู้พี่ของท่านเชิญบรรดาผู้ที่เป็นระดับหัวหน้าของพวกเขาทั้งหมดมาในงานเลี้ยงทั้งหมดรวม 40 คนโดยประมาณ


เมื่อแขกได้มารวมกันในห้องหนึ่งในบ้านของอบูฏอลิบโดยพร้อมกันและได้รับประทานอาหารจนอิ่มดีแล้ว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ). จึงลุกขึ้นเพื่อกล่าวคำปราศรัยต่อพวกเขา พอท่านศาสดา เริ่มจะกล่าว แขกคนหนึ่งของงานก็คือ อะบูละฮับ ผู้เป็นลุงคนหนึ่งของท่าน เขาได้ลุกขึ้นยืนและขัดจังหวะขึ้นอย่างหยาบคายแล้วได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆที่ไร้สาระและพูดเรื่องไม่เป็นเรื่องขึ้นมาจนทำให้ท่านศาสดาไม่สามารถพูดเปิดประเด็นได้ จากคำพูดของเขา อบูละฮับ ประสบควมสำเร็จในการสร้างความโกลาหลวุ่นวายให้เกิดขึ้น ในที่ประชุมทุกคนต่างลุกขึ้นยืนแล้วเดินเปะปะชนกัน ในที่สุดพวกเขาเริ่มกลับไปและในไม่ช้าห้องก็ว่างลง

 

ความพยายามครั้งแรกของท่านศาสดาต้องประสบความล้มเหลว แต่ท่านก็ไม่เคยย่อท้อกับอุปสรรคในครั้งแรกนี้ ท่านจึงได้สั่งให้อะลี (อ.) ให้เชิญแขกชุดเดิมนี้อีกมาเป็นครั้งที่สอง สองสามวันต่อมา แขกได้กลับมารวมตัวกันอีก และเมื่อพวกเขาได้รับประทานอาหารเย็นกันเรียบร้อยแล้ว ท่านศาสดาจึงลุกขึ้นยืนและกล่าวกับพวกเขาดังนี้

 

“ ฉันขอขอบคุณพระเจ้าสำหรับความกรุณาของพระองค์ ฉันขอสรรเสริญพระองค์และฉันขอแสวงหาทางนำจากพระองค์ ฉันศรัทธาในพระองค์และฉันขอมอบความไว้วางใจทั้งหมดไว้กับพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮ์องค์เดียว พระองค์ทรงมีบัญชาให้ฉันเชิญชวนท่านมาสู่ศาสนาของพระองค์ด้วยพระบัญชาที่ว่า “ และจงกล่าวตักเตือนวงศ์ญาติที่ใกล้ชิดของเจ้า ” เพราะฉะนั้น ฉันจึงขอเตือนพวกท่านและเรียกร้องมายังพวกท่านให้ปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮ์องค์เดียว และฉันเป็นศาสนทูตของพระองค์โดยท่านผู้เป็นบุตหลานของอับดุลมุตฏอลิบไม่มีผู้ใดเคยนำในสิ่ง ที่ดีกว่าสิ่งที่ฉันจะนำมาสู่พวกท่าน หากพวกท่านยอมรับเอาไว้ กิจการงานก็จะมั่งคงทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ท่าน (ศ็อลฯ). จึงถามว่า

 


یا بَنِی عَبْدِالْمُطَّلِبِ إِنِّی وَاللَّهِ مَا أَعْلَمُ شَابّاً فِی الْعَرَبِ جَاءَ قَوْمَهُ بِأَفْضَلَ مِمَّا جِئْتُکُمْ بِهِ إِنِّی قَدْ جِئْتُکُمْ بِخَیرِ الدُّنْیا وَالْآخِرَةِ وَ قَدْ أَمَرَنِی اللَّهُ تَعَالَی أَنْ أَدْعُوَکُمْ اِلَیهِ فَأَیکُمْ یؤَازِرُنِی عَلَی هَذا الْأَمْرِ عَلَی أَنْ یکُونَ أَخِی وَ خَلِیفَتِی فِیکُم؟


จะมีผู้ใดในหมู่พวกท่านหรือไม่ ที่จะสนับสนุนฉันเพื่อปฏิบัติการในหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ ? จะมีใครที่จะตอบรับต่อคำเรียกร้องของฉันบ้าง ? มีใครจะเป็นผู้สืบตำแหน่งของฉันผู้ช่วยของฉันและเป็นวะซีย์ของฉันบ้างไหม ?”


มีแขกอยู่จำนวน 40 คนในห้องโถงนั้น ท่านศาสดาหยุดชั่วขณะเพื่อปล่อยให้ผลกระทบของคำพูดของท่านซึมซับเข้าไปในจิตใจของพวกเขา แต่ไม่มีผู้ใดสักคนในหมู่พวกเขาที่ได้ตอบรับ ในที่สุดเมื่อความเงียบงันกลายมาเป็นความกดดันที่มากเกินควรไปแล้วหนุ่มน้อย อะลี บุตร อบูฏอลิบ ได้ลุกขึ้นยืน และกล่าวขึ้นว่าเขาจะสนับสนุนศาสนทูตแห่งพระเจ้า จะเป็นผู้มีส่วนร่วมในภาระของงานของท่าน และจะเป็นผู้สืบแทนของท่าน ผู้ช่วยของท่านและวะซีย์ของท่าน แต่ท่านศาสดาได้ขอให้เขานั่งลง และกล่าวว่าจงคอยก่อนบางทีมีบางคนที่อาวุโสกว่าเจ้าตอบรับคำเรียกร้องของฉัน

 

ท่านศาสดาได้กล่าวเชิญชวนอีกครั้งหนึ่งดูเหมือนไม่มีผู้ใดที่จะขยับเขยื้อน ท่านได้รับการตอบรับด้วยความเงียบงันที่มีแต่ความอึดอัด อะลี (อ.)  ได้เสนอตัวที่จะขอรับใช้อีกครั้งหนึ่งแต่ศาสนทูตยังประสงค์ว่าอาจจะมีสมาชิกผู้อาวุโสบางคนของตระกูล จะตอบรับการเชิญชวนของท่านจึงขอใหเขารอก่อนจากนั้นท่านได้เรียกร้องวงศ์ญาติของท่านอีกเป็นครั้งที่สาม เพื่อให้พิจารณาคำเชิญชวนของท่านและก็เป็นเช่นเดิมอีกไม่มีผู้ใดในที่ชุมนุมแสดงออกถึงความสนใจใด ๆ ท่านมองไปรอบ ๆ และเพ่งมองไปยังทุก ๆ คนในห้องแต่ไม่มีผู้ใดขยับยกเว้นอะลี (อ.)  ซึ่งเขาได้อาสามารับใช้งานของท่าน


ในครั้งนี้ ท่านศาสดายอมรับข้อเสนอของอะลี (อ.)  ท่านได้ดึงตัวของเขาเอามากอดไว้แนบอก และกระชับเขาเข้าที่หัวใจของท่าน และจึงกล่าวกับที่ชุมนุมว่า


إِنَّ هَذَا أَخِی وَ وَصِیی وَ خَلِیفَتِی فِیکُمْ فَاسْمَعُوا لَهُ وَأَطِیعُوا؛

 

“นี่คือ พี่น้องของฉัน ผู้สืบแทนของฉันและผู้สืบตำแหน่งของฉัน ในหมู่พวกท่าน ฉะนั้นจงฟังเขาและจงเชื่อฟังคำบัญชาต่าง ๆ ของเขา”

 

งานเลี้ยงที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ). ได้ประกาศให้อะลีเป็นผู้สืบแทนของท่านนั้นเป็นที่รู้จักกันชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ดังในนาม “งานเลี้ยงแห่งซุลอะชีเราะฮ์ ” ชื่อนี้มาจากอัลกุรอานเองในซูเราะฮ์อัชชุอารอ โองการที่ 214

 


(2)- ตัวบทภาษาอาหรับ


وَ عَنْهُ ، قَالَ: أَخْبَرَنَا جَمَاعَةٌ ، عَنْ أَبِي اَلْمُفَضَّلِ ، قَالَ: حَدَّثَنَا أَبُو جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ جَرِيرٍ اَلطَّبَرِيُّ سَنَةَ ثَمَانٍ وَ ثَلاَثِمِائَةٍ ، قَالَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ حُمَيْدٍ اَلرَّازِيُّ ، قَالَ: حَدَّثَنَا سَلَمَةُ بْنُ اَلْفَضْلِ اَلْأَبْرَشُ ، قَالَ: حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ إِسْحَاقَ ، عَنْ عَبْدِ اَلْغَفَّارِ بْنِ اَلْقَاسِمِ . قَالَ أَبُو اَلْمُفَضَّلِ : وَ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ سُلَيْمَانَ اَلْبَاغَنْدِيُّ - وَ اَللَّفْظُ لَهُ -، قَالَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ اَلصَّبَّاحِ اَلْجَرْجَرَائِيُّ ، قَالَ: حَدَّثَنِي سَلَمَةُ بْنُ صَالِحٍ اَلْجُعْفِيُّ ، عَنْ سُلَيْمَانَ اَلْأَعْمَشِ وَ أَبِي مَرْيَمَ جَمِيعاً، عَنِ اَلْمِنْهَالِ بْنِ عَمْرٍو ، عَنْ عَبْدِ اَللَّهِ بْنِ اَلْحَارِثِ بْنِ نَوْفَلٍ ، عَنْ عَبْدِ اَللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ (عَلَيْهِ اَلسَّلاَمُ) ، قَالَ: لَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ اَلْآيَةُ عَلَى رَسُولِ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) : «وَ أَنْذِرْ عَشِيرَتَكَ اَلْأَقْرَبِينَ» دَعَانِي رَسُولُ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) فَقَالَ لِي: يَا عَلِيُّ ، إِنَّ اَللَّهَ (تَعَالَى) أَمَرَنِي أَنْ أُنْذِرَ عَشِيرَتِيَ اَلْأَقْرَبِينَ، قَالَ: فَضِقْتُ بِذَلِكَ ذَرْعاً، وَ عَرَفْتُ أَنِّي مَتَى أُنَادِيهِمْ بِهَذَا اَلْأَمْرِ أَرَى مِنْهُمْ مَا أَكْرَهُ، فَصُمْتُ عَلَى ذَلِكَ، وَ جَاءَنِي جَبْرَئِيلُ (عَلَيْهِ اَلسَّلاَمُ) فَقَالَ: يَا مُحَمَّدُ ، إِنَّكَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ مَا أُمِرْتَ بِهِ عَذَّبَكَ رَبُّكَ (عَزَّ وَ جَلَّ)، فَاصْنَعْ لَنَا يَا عَلِيُّ صَاعاً مِنْ طَعَامٍ، وَ اِجْعَلْ عَلَيْهِ رِجْلَ شَاةٍ، وَ اِمْلَأْ لَنَا عُسّاً مِنْ لَبَنٍ، ثُمَّ اِجْمَعْ بَنِي عَبْدِ اَلْمُطَّلِبِ حَتَّى أُكَلِّمَهُمْ، وَ أَبْلِغْهُمْ مَا أُمِرْتُ بِهِ. فَفَعَلْتُ مَا أَمَرَنِي بِهِ، ثُمَّ دَعَوْتُهُمْ أَجْمَعَ، وَ هُمْ يَوْمَئِذٍ أَرْبَعُونَ رَجُلاً يَزِيدُونَ رَجُلاً أَوْ يُنْقَصُونَ رَجُلاً، فِيهِمْ أَعْمَامُهُ أَبُو طَالِبٍ وَ حَمْزَةُ وَ اَلْعَبَّاسُ وَ أَبُو لَهَبٍ . فَلَمَّا اِجْتَمَعُوا لَهُ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ)، دَعَانِي بِالطَّعَامِ اَلَّذِي صَنَعْتُ لَهُمْ، فَجِئْتُ بِهِ، فَلَمَّا وَضَعْتُهُ تَنَاوَلَ رَسُولُ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) جِذْمَةً مِنَ اَللَّحْمِ، فَشَقَّهَا بِأَسْنَانِهِ، ثُمَّ أَلْقَاهَا فِي نَوَاحِي اَلصَّحْفَةِ، ثُمَّ قَالَ: خُذُوا بِسْمِ اَللَّهِ، فَأَكَلَ اَلْقَوْمُ حَتَّى صَدَرُوا، مَا لَهُمْ بِشَيْءٍ مِنَ اَلطَّعَامِ حَاجَةٌ، وَ مَا أَرَى إِلاَّ مَوَاضِعَ أَيْدِيهِمْ، وَ اَيْمُ اَللَّهِ اَلَّذِي نَفْسُ عَلِيٍّ بِيَدِهِ إِنْ كَانَ اَلرَّجُلُ اَلْوَاحِدُ مِنْهُمْ لَيَأْكُلُ مَا قَدَّمْتُ لِجَمِيعِهِمْ، ثُمَّ جِئْتُهُمْ بِذَلِكَ اَلْعُسِّ فَشَرِبُوا حَتَّى رَوَوْا جَمِيعاً، وَ اَيْمُ اَللَّهِ إِنْ كَانَ اَلرَّجُلُ اَلْوَاحِدُ مِنْهُمْ لَيَشْرَبُ مِثْلَهُ، فَلَمَّا أَرَادَ رَسُولُ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) أَنْ يُكَلِّمَهُمْ بَدَرَهُ أَبُو لَهَبٍ إِلَى اَلْكَلاَمِ فَقَالَ: لَشَدَّ مَا سَحَرَكُمْ صَاحِبُكُمْ! فَتَفَرَّقَ اَلْقَوْمُ، وَ لَمْ يُكَلِّمْهُمْ رَسُولُ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) . فَقَالَ لِي مِنَ اَلْغَدِ: يَا عَلِيُّ ، إِنَّ هَذَا اَلرَّجُلَ قَدْ سَبَقَنِي إِلَى مَا سَمِعْتَ مِنَ اَلْقَوْلِ، فَتَفَرَّقَ اَلْقَوْمُ قَبْلَ أَنْ أُكَلِّمَهُمْ، فَعُدَّ لَنَا مِنَ اَلطَّعَامِ بِمِثْلِ مَا صَنَعْتَ ثُمَّ اِجْمَعْهُمْ لِي. قَالَ: فَفَعَلْتُ ثُمَّ جَمَعْتُهُمْ، فَدَعَانِي بِالطَّعَامِ فَقَرَّبْتُهُ لَهُمْ، فَفَعَلَ كَمَا فَعَلَ بِالْأَمْسِ، وَ أَكَلُوا حَتَّى مَا لَهُمْ بِهِ مِنْ حَاجَةٍ، ثُمَّ قَالَ: اِسْقِهِمْ، فَجِئْتُهُمْ بِذَلِكَ اَلْعُسِّ فَشَرِبُوا حَتَّى رَوَوْا مِنْهُ جَمِيعاً. ثُمَّ تَكَلَّمَ رَسُولُ اَللَّهِ (صَلَّى اَللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ) فَقَالَ: يَا بَنِي عَبْدِ اَلْمُطَّلِبِ ، إِنِّي وَ اَللَّهِ مَا أَعْلَمُ شَابّاً فِي اَلْعَرَبِ جَاءَ قَوْمَهُ بِأَفْضَلَ مِمَّا جِئْتُكُمْ بِهِ، إِنِّي قَدْ جِئْتُكُمْ بِخَيْرِ اَلدُّنْيَا وَ اَلْآخِرَةِ، وَ قَدْ أَمَرَنِي اَللَّهُ (عَزَّ وَ جَلَّ) أَنْ أَدْعُوَكُمْ إِلَيْهِ، فَأَيُّكُمْ يُؤْمِنُ بِي وَ يُؤَازِرُنِي عَلَى أَمْرِي، فَيَكُونَ أَخِي وَ وَصِيِّي وَ وَزِيرِي وَ خَلِيفَتِي فِي أَهْلِي مِنْ بَعْدِي قَالَ: فَأَمْسَكَ اَلْقَوْمُ، وَ أَحْجَمُوا عَنْهَا جَمِيعاً. قَالَ: فَقُمْتُ وَ إِنِّي لَأَحْدَثُهُمْ سِنّاً، وَ أَرْمَصُهُمْ عَيْناً، وَ أَعْظَمُهُمْ بَطْناً، وَ أَحْمَشُهُمْ سَاقَا. فَقُلْتُ: أَنَا يَا نَبِيَّ اَللَّهِ أَكُونُ وَزِيرَكَ عَلَى مَا بَعَثَكَ اَللَّهُ بِهِ. قَالَ: فَأَخَذَ بِيَدِي ثُمَّ قَالَ: إِنَّ هَذَا أَخِي وَ وَصِيِّي وَ وَزِيرِي وَ خَلِيفَتِي فِيكُمْ، فَاسْمَعُوا لَهُ وَ أَطِيعُوا. قَالَ: فَقَامَ اَلْقَوْمُ يَضْحَكُونَ، وَ يَقُولُونَ لِأَبِي طَالِبٍ : قَدْ أَمَرَكَ أَنْ تَسْمَعَ لاِبْنِكَ وَ تُطِيعَ

 

บทที่สอง นัยสำคัญของฮะดีษ


ฮะดิษบทนี้ เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ยืนยันตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอิมามอะลี (อ.) สืบต่อจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ด้วยกับประโยคนี้

 

إِنَّ هَذَا أَخِی وَ وَصِیی وَ خَلِیفَتِی فِیکُمْ فَاسْمَعُوا لَهُ وَأَطِیعُوا؛

 

“ นี่คือ พี่น้องของฉัน ผู้สืบแทนของฉันและผู้สืบตำแหน่งของฉัน ในหมู่พวกท่าน ฉะนั้นจงฟังเขาและจงเชื่อฟังคำบัญชาต่าง ๆ ของเขา ”

 


และมีปวงปราชญ์สายชีอะฮ์มากมายได้พิสูจน์ตำแหน่งวะซีย์ของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ). ว่าเป็นอิมามอะลี (อ.) ด้วยกับฮะดิษบทนี้ เช่น ท่านเชคมุฟีด ในหนังสือ ริซาละตุล ฟี มะฮ์นันเมาลา  ท่านซัยยิด อิบนิ ฏอวูซ ในหนังสือ อัลฏูรออิฟ เล่ม 1 หน้า 21 เป็นต้น

 

 

บทที่สาม สายรายงานฮะดีษ(สะนัดฮะดีษ)


(1)- ตำราชีอะฮ์ (เป็นฮะดีษมุตะวาตีร)


حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ حُمَيْدٍ اَلرَّازِيُّ ، قَالَ: حَدَّثَنَا سَلَمَةُ بْنُ اَلْفَضْلِ اَلْأَبْرَشُ ، قَالَ: حَدَّثَنِي مُحَمَّدُ بْنُ إِسْحَاقَ ، عَنْ عَبْدِ اَلْغَفَّارِ بْنِ اَلْقَاسِمِ  قَالَ أَبُو اَلْمُفَضَّلِ : وَ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ سُلَيْمَانَ اَلْبَاغَنْدِيُّ - وَ اَللَّفْظُ لَهُ -، قَالَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ اَلصَّبَّاحِ اَلْجَرْجَرَائِيُّ ، قَالَ: حَدَّثَنِي سَلَمَةُ بْنُ صَالِحٍ اَلْجُعْفِيُّ ، عَنْ سُلَيْمَانَ اَلْأَعْمَشِ وَ أَبِي مَرْيَمَ جَمِيعاً، عَنِ اَلْمِنْهَالِ بْنِ عَمْرٍو ، عَنْ عَبْدِ اَللَّهِ بْنِ اَلْحَارِثِ بْنِ نَوْفَلٍ ، عَنْ عَبْدِ اَللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ (عَلَيْهِ اَلسَّلاَمُ)


(2)- ตำราซุนนี (มีหลายสายรายงานด้วยกัน)


1- ฏอบะรี ได้บันทึกฮะดีษบทนี้พร้อมสายรายงานไว้ในสองในหนังสือตะซีบุล อะษัร เล่ม 3 หน้า 62 และหนังสือ ตารีคุล อุมัม วัล มุลุก เล่ม 2 หน้า 319 โดยบันทึกสายรายงานฮะดีษไว้เช่นนี้


 حدثنا ابن حمید، قال: حدثنا سلمة بن الفضل، قال: حدثنی محمد بن إسحاق، عن عبد الغفار بن القاسم، عن المنهال بن عمرو، عن عبد الله بن الحارث بن نوفل بن الحارث بن عبد المطلب، عن عبد الله بن عباس، عن علی بن أبی طالب


(2)- ท่านอิหม่ามอะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้บันทึกไว้ในหนังสือฟะฏออิลุซศอฮาบะฮ์ ด้วยกับสายรายดังนี้


حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ حَدَّثَنَا شَرِیکٌ عَنِ الْأَعْمَشِ عَنِ الْمِنْهَالِ عَنْ عَبَّادِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْأَسَدِیِّ عَنْ عَلِیٍّ رَضِیَ اللَّهُ عَنْهُ


(3)- ท่านนิซาอี ได้บันทึกฮะดีษบทนี้ไว้ในหนังสืออัซซุนะนุลกุบรอ โดยนำสายรายงานไว้เช่นนี้


حَدَّثَنَا عَبْد اللَّهِ حَدَّثَنَا یَحْیَى بْنُ حَمَّادٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ حَدَّثَنَا أَبُو بَلْجٍ حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ مَیْمُونٍ


(4)- ท่านอบู อิสฮาก ซะฮ์ละบี ได้กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีร อัลกัชฟุ วัน บะยาน โดยบันทึกสายรายงานไว้เช่นนี้


 أخبرنی الحسین بن محمد بن الحسین قال: حدّثنا موسى بن محمد بن علی بن عبد الله قال: حدّثنا الحسن بن علی بن شبیب المعمر قال: حدّثنی عبّاد بن یعقوب قال: حدّثنا علی بن هاشم عن صباح بن یحیى المزنی عن زکریا بن میسرة عن أبی إسحاق عن البراء


(5)- ท่านอิบนิ อะซากิร ดะมิชกี ได้ยกสายรายงานไว้เช่นนี้


أخبرنا أبو عبد الله محمد بن إبراهیم بن جعفر، أنبأنا أبو الفضل أحمد ابن عبد المنعم بن أحمد بن بندار، أنبأنا أبو الحسن العیقی، أنبأنا أبو الحسن الدارقطنی، أنبانا أحمد بن محمد بن سعید، أنبأنا جعفر بن عبد الله بن جعفر المحدی، أنبأنا عمر بن علی بن عمر بن علی بن الحسین بن علی بن أبی طالب عن أبیه عن علی بن الحسین: عن أبی رافع


จาก 5 ปราชญ์ 5 ตำรา และ 5 สายรายงานจากชาวซุนนะฮ์เพื่อยืนยันว่า เหตุการณ์งานเลี้ยงซุลอาชีเราะฮ์ ที่ท่านศาสดาแห่งอิสลามได้แต่งตั้งวะซีย์ (ผู้สืบทอด) และแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ต่อจากท่านให้กับท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่ได้มีในตำราของชีอะฮ์เพียงอย่างเดียว แต่เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักประวัติศาสตร์อิสลาม

 


บทที่สี่ คำโต้แย้ง


อาจจะมีบางคนซึ่งไม่สบอารมณ์เมื่อเห็นการแต่งตั้งอะลี (อ.)ให้เป็นคอลีฟะฮ์ของท่านนบี (ศ็อลฯ). อาจจะแย้งว่า บางสายรายงาน หรือรอวี (นักรายงาน) บางคนอาจจะไม่ถูกยืนยันถึงความน่าเชื่อถือ ในข้อโต้แย้งนี้ ผมขอตอบสั้นๆว่า


1- เราพร้อมจะพิสูจน์ว่า รอวี ของฮะดีษบทนี้ "ษิกเกาะฮ์ (น่าเชื่อถือ) ทุกคนซึ่งยืนยันโดยปราชญ์ของชาวซุนนะฮ์เอง


2- โดยกฏของชาวซุนนะฮ์ได้มีการอ้างไว้ว่า "หากฮะดีษใดที่มีการรายงานกันอย่างแพร่หลาย มีรายงานในหลายสายรายงาน หากมีรอวีบางท่านไม่ถูกยืนยันในความน่าเชื่อถือก็สามารถทดแทนสิ่งนี้ (ให้น่าเชื่อถือ) ด้วยกับการรายงานที่แพร่หลาย มีหลายบท ดังเช่นคำพูดของท่านอัลนะวะวีฮ์ (ปราชญ์ชาวซุนนะฮ์) กล่าวไว้เช่นนี้

و قال النووی فی شرح المهذب إنّ الحدیث إذا روی من طرق و مفرداتها ضعاف یحتجّ به


ฉะนั้น ฮะดีษงานเลี้ยงแห่งซุลอะชีเราะฮ์ จึงเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) . ได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลี อ. ให้เป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน


 บทความโดย เอกภาพ ชัยศิริ