บทพิสูจน์เรื่อง อิมามมะฮ์ดี(อ) ประสูติแล้ว ตอนที่ 4

บทพิสูจน์เรื่อง อิมามมะฮ์ดี(อ) ประสูติแล้ว ตอนที่ 4

 

หัวข้อที่ 2

 

ฮะดีษมุตะวาติร ไม่จำเป็นว่า รอวีย์ผู้เล่าต้องษิกเกาะฮ์เชื่อถือได้ เพราะเงื่อนไขษิกเกาะฮ์(ความน่าเชื่อถือในคำพูด)ถูกกำหนดไว้กับฮะดีษชนิดอื่น เช่นมีคนเพียง 2 ถึง 3 คนรายงานเรื่องหนึ่งให้เราฟัง
กรณีนี้เพื่อทำให้เรื่องนั้นยึดถือเป็นหลักฐานได้ มีเงื่อนไขว่า รอวีย์ผู้เล่าต้องอาดิลคุณธรรม
แต่ถ้าหากเรื่องนั้นมีคนรายงานถึง100 ,200หรือ 300 คน จำนวนรอวีย์ผู้เล่าขนาดนั้นหมายความว่า ได้ทำให้เรื่องนั้นเป็นมุตะวาติรไปโดยปริยาย จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสอบความอาดิลของรอวีย์ผู้เล่า ฉะนั้น 1,.ความอาดิล และ 2.ความษิกเกาะฮ์ เป็นเงื่อนไขของฮะดีษที่ไม่ถึงขั้นมุตะวาติร


จงระวังอย่าได้สับสนกันระหว่างฮะดีษมุตะวาติรกับฮะดีษที่ไม่มุตะวาติร เพราะบางคนคิดว่าจำเป็นต้องนำ 2 เงื่อนไขนี้มาใช้ตรวจสอบฮะดีษมุตะวาติรด้วยเช่นกัน
ซึ่งความคิดนี้ผิด
เงื่อนไขอาดิลกับษิกเกาะฮ์นี้ คือมาตรการตรวจสอบฮะดีษชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮะดีษมุตะวาติร

 

ถาม :ทำไมจึงไม่กำหนด 2 เงื่อนไขนี้มาใช้กับฮะดีษมุตะวาติร ?

 

ตอบ:

 

1, ฮะดีษมุตะวาติรกำหนดให้เราเชื่อได้ 100% เพราะมีคนรายงานไว้มากมาย ดังนั้นหลังจากเราได้รับความแน่ใจ 100 % แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบความอาดิลและษิกเกาะฮ์ของรอวีย์อีกต่อไป บนพื้นฐานเรื่องในลักษณะเช่นนี้จึงถือว่า ไม่ใช่สิทธิและไม่ถูกต้องที่เรา จะหยิบยกฮะดีษที่รายงานว่า อัลมะฮ์ดี(อ)เกิดแล้ว หรือฮะดีษที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของอัลมะฮ์ดี(อ)ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกว่า : สะนัดฮะดีษเรื่องนี้ ดออีฟ (อ่อนแอ ) , สะนัดฮะดีษเรื่องนี้ มัจญ์ฮูล ( ไม่เป็นที่รู้จักผู้รายงาน )


หรือฮะดีษเรื่องอิมามมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้วบทนี้มัจญ์ฮูล ฮะดีษบทนั้นก็มัจญ์ฮูล ฮะดีษอิมามมะฮ์ดีบทที่ 1,ที่ 2 ที่ 3และที่ 4...ก็มัตรูก(คือต้องโยนทิ้งไป) เพราะว่า มันเป็นฮะดีษที่ไม่ซอเฮี๊ยะห์ ยึดเป็นหลักฐานไม่ได้

 

2, ท่านต้องเข้าใจว่า ฮะดีษที่รายงานว่า อิมามมะฮ์ดีเกิดแล้วนั้น เป็นฮะดีษมุตะวาติร จึงไม่จำเป็นอะไรที่จะเข้าไปตรวจสอบฮะดีษบทที่ 1 ว่า สะนัดฮะดีษมันดออีฟ ,บทที่ 2 ก็สะนัดดออีฟ เพราะรอวีย์มัจญ์ฮูล หรือฮะดีษที่ 3 เป็นเช่นนั้นเช่นนี้.... เพราะมาตรการตรวจสอบนี้ จะถูกนำไปใช้กับฮะดีษที่ไม่เป็นมุตะวาติรเท่านั้น

 

โปรดติดตามตอนต่อไป


บทความโดย เชคญะวาด สว่างวรรณ