ธารธรรมเดือนรอมฎอน 1441 ตอนที่ 1 การรู้จักสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์

ธารธรรมเดือนรอมฎอน 1441  ตอนที่ 1 การรู้จักสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์

 

โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 

อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงแนะนำเดือนรอมฎอนด้วยอัลกุรอาน ความว่า

 

“ شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيَ أُنزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِّلنَّاسِ ”

 

( เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา ) เพื่อชี้ถึงสิ่งแรกที่พระองค์ตรัส คือ อัลกรุอาน ส่วนการถือศีลอดข้อห้ามขัอใช้ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ตามมาภายหลัง

 

มะรีฟัต : การทำความเข้าใจในเรื่องราวของอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

 

“มะรีฟัต” เกี่ยวกับการทำความเข้าใจในเรื่องราวของอะฮ์ลุลบัยต์(อ) แน่นอนมีมากมายหลายเนื้อหา


และเนื้อหาที่นำเสนอโดยบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)โดยตรง เช่น บทเรียนที่เรียนในเดือนรอมฎอนในทุกๆปี นั่นคือ"ซิยารัต ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์”

 

"ซิยารัต ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์”

 

ถือเป็นเนื้อหาอีกเนื้อหาหนึ่งที่สำคัญและสูงส่งที่สุด เพราะเป็นซิยารัตที่บอกถึงสถานภาพของอะฮ์ลุลบัยต์ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นบทเรียนที่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตได้โดยตรง

 

ดังนั้น พวกเราทุกคนต้องมีปณิธาน มีความตั้งใจและมีความมุ่งมั่นว่า ภารกิจทางศาสนาในสายธารของเรา ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเยี่ยมเยียนฮะรอมหรือ เยี่ยมหลุมฝังศพของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ซึ่งมีบทซิยารัตต่างๆมากมาย ที่ได้ถูกนำเสนอโดยบรรดาบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ดังนี้

 

1. การซิยารัตต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)นั้น มีผลบุญ มีอานิสงส์ อย่างมหาศาลสำหรับชีวิตของเรา ทั้งโลกนี้และโลกหน้า


2.ในบรรดาซิยารัตทั้งหมด หนึ่งในซิยารัตที่สูงส่งที่สุดที่ถูกยอมรับโดยบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ก็คือ "ซิยารัต ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์” ถึงขั้นที่บรรดาอิมามทั้งหมดได้ประกาศว่า ซิยารัตนี้ใช้อ่านได้สำหรับทุกอิมาม ไม่ว่าจะไปฮะรอมของอิมามอะลี(อ) ,ฮะรอมของอิมามฮุเซน(อ) ,ฮะรอมของอิมามริฎอ(อ)ที่มัชฮัด ก็สามารถอ่านซิยารัตบทนี้

 

ข้อควรจำ


การซิยารัตอย่างมี “มะรีฟัต” 1 ครั้งในชีวิต เพียงพอที่จะเป็นหลักประกัน ถึงความสำเร็จในโลกหน้าของเราทั้งหมด เพราะซิยารัตที่ถูกนำเสนอโดยบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) โดยเฉพาะซิยารัตบทนี้ ถูกอรรถาธิบาย โดยอาเล็มอุลามาอ์ชั้นสูง


หากเราพิจารณาจากที่เรียนในทุกปี จะเห็นว่าในบางคำ บางประโยคที่อยู่ในซิยารัตนี้ ได้มีการอรรถาธิบายเป็นเวลายาวนานถึงหนึ่งอาทิตย์ เพียงเพื่อทำความเข้าใจประโยคต่างๆ ที่บรรดาอิมาม ได้พรรณนา ถึงความยิ่งใหญ่ของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

 

ดังนั้น ถ้าตั้งใจเรียน ตั้งใจจดจำ ตั้งไจทำความเข้าใจในประโยคต่างๆ ที่อยู่ในซิยารัตบทนี้ เมื่อวันหนึ่งเรามีเตาฟีก ในการไปเยี่ยมเยียนยังฮะรอมต่างๆของบรรดาอะอิมมะฮ์(อ) พร้อมๆกับความเข้าใจในความหมายต่างๆของซิยารัตบทนี้ ตามที่เราได้ร่ำเรียน เราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ซิยารัตอย่างมีมะรีฟั เพราะฉะนั้น จงจำประโยคนี้ไว้ให้ขึ้นใจ

 

 “การซิยารัตบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) อย่างมีมะรีฟัต เพียงครั้งเดียว เป็นหลักประกันที่เพียงพอ”

 

 “การซิยารัตอย่างมีมะรีฟัต เพียงครั้งเดียวเป็นหลักประกันเพียงพอ สำหรับชีวิตของเราในโลกหน้าทั้งหมด”

 

นี่คือ ฮะดิษ ที่ยืนยันจากอะอิมมะฮ์(อ) จริงๆแล้วมีเป็นจำนวนมาก


ซิยารัตบทนี้ จะทำให้เราได้รู้จักถึงสถานภาพที่สมบูรณ์ ที่สูงส่งของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ซึ่งอาเล็มอุลามาอ์หลายท่าน หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้อธิบาย "ซิยารัต ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์” ทุกท่านพูดเหมือนกันว่า “ชะเราะฮ์ซิยารัตบทนี้โดยท่านอยาตุลลอฮ ญะวาดี ออมูลี นั้นถือว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการรู้จักอิมาม” ซึ่งในภาษาของนักวิชาการ เรียกว่า “การมีมะรีฟัตต่ออิมาม” หรือเรียกว่า อิมามชะนอซีที่สมบูรณ์ที่สุด ที่เคยมี ที่เคยปรากฏ ที่เคยถูกเขียนขึ้น


และจากการเสวนากับอาเล็มอุลามาอ์บางท่าน บอกว่า ชะเราะฮ์เล่มนี้จะใช้ประโยชน์ได้นับเป็น 100ๆ ปี

 

และมีอุลามาอ์บางท่านที่อ่านชาเราะฮ์(หนังสือ)เล่มนี้แล้วบอกว่า ซิยารัต ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์ ที่เรากำลังเรียนกำลังสอนซิยารัตบทนี้ “เพียงพอ”ที่จะใช้ประโยชน์นับเป็น 100ๆปี ที่จะทำให้ผู้ศรัทธานั้นรู้จักถึงสถานภาพที่ยิ่งใหญ่ของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

 

สถานภาพการขนานนามอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

 

อนึ่งจะขอยกประโยคหนึ่งในบทซิยารัต ที่เราใช้เรียกขานบรรดาอิมามทั้งหมดในการซิยารัตว่า...

 

“وَمَسَاکِنِ بَرَکَةِاللهِ”

 

อีกสถานภาพหนึ่งของอะฮลุลบัยต์ (อ) คือ เป็นมะซากินของบารอกัตของอัลลอฮ์

 

คำอธิบาย:

 

“มะซากิน” แปลเบื้องต้น พื้นฐาน ก็คือ ที่อยู่ แต่เพื่อทำความเข้าใจ ขอแปลง่ายๆก่อนว่า

 

“وَمَسَاکِنِ بَرَکَةِاللهِ”


อะฮ์ลุลบัยต์ คือที่อยู่ คือ ที่พำนัก ของบารอกัตต่างๆของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เพื่อชี้ว่า บารอกัตใดๆที่มาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)อยู่ที่อะฮ์ลุลบัยต์ทั้งหมด และไม่ว่าบารอกัตใดๆในชีวิตของมนุษย์ก็อยู่ที่บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)


ดังนั้น บุคคลที่ยอมรับ บุคคลที่ใกล้ชิด บุคคลที่อยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์อย่างแท้จริง ก็คือ บุคคลที่อยู่กับบารอกัตต่างๆของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และที่ๆจะมีบารอกัตคือ ที่ๆมีอะฮ์ลุลบัยต์(อ)เท่านั้น

 

ความจริงแล้ว ชีวิตของคนที่อยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์อย่างแท้จริงนั้น จะพบว่า ชีวิตของเขาจะมีแต่ความบารอกัตอย่างแท้จริง แต่กรณีชีวิตของผู้หนึ่งผู้ใดที่ชีวิตของเขาไม่มีบารอกัตนั้น เป็นเพราะชีวิตของเขานั้นไม่ได้อยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์อย่างแท้จริง เพราะบุคคลที่อยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์นั้น คือ บุคคลที่อยู่ในบารอกัต และบารอกัตนั้น คือ บารอกัตที่มาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) เช่นนี้แล้ว ถ้าจะแสวงหาบารอกัตในชีวิต จงแสวงหาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ถ้าอยากจะมีบารอกัต ก็จงมีอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ในชีวิตของเรา

 

การมีอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ในชีวิต

 

เบื้องต้น เรามาทำความเข้าใจในความหมายก่อน คำว่า “มะซากิน” เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า “มัสกัน” ดังนั้น อะฮ์ลุลบัยต์(อ) จึงเป็นมะซากิน เป็นที่อยู่ต่างๆของบารอกัตทั้งหมด ซึ่งบารอกัตก็มีมากมายหลายประเภท


ส่วนคำว่า มัสกัน เป็นคำเอกพจน์ ซึ่งศัพท์จริงๆก็มาจากคำว่า “ซะกานะฮ์” เรามาดูทำไม ในภาษาอาหรับ เขาเรียกบ้าน แปลว่าบ้านและที่พัก ส่วนในภาษาฟารซีก็เหมือนๆกัน ใช้คำคล้ายๆกัน คือ “มัสกัน” แปลว่าบ้านและที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ของ “มะซากิน” คือความหมายเดียวกัน


ทีนี้ กลับไปที่รากศัพท์เดิมของคำว่า “มัสกัน มาจากคำว่า “ซากะนะฮ์” ซึ่ง คำว่า ซากะนะฮ์ รากศัพท์จริงๆแล้ว แปลว่า ความสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เยือกเย็น ดั่งตัวอย่าง เด็กที่ชื่อ ซากีนะฮ์ สุกัยนะฮ์แปลว่า เด็กที่มั่นคง เด็กที่สงบนิ่ง


ทำไมอาหรับ เอารากศัพท์ของคำว่า นิ่ง สงบ เยือกเย็น ไม่เคลื่อนไหว มาเป็นรากศัพท์ของคำว่า บ้าน หรือ ที่พักอาศัย ซึ่งเป็นปรัชญาทางภาษา ในการเลือกคำมานั้น เป้าหมายเพื่อจะสื่อว่า บ้าน ที่อยู่อาศัย นั้น ควรจะเป็นที่ๆสงบ

 

คำนิยาม คำว่า “บ้าน”

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความหมายบ้านที่แท้จริงของมนุษย์ ก็คือ สถานที่ๆหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากภารกิจ เหน็ดเหนื่อยจากธุรกิจ เหน็ดเหนื่อยจากอะไรก็ตามที่มากมาย เมื่อกลับมาถึงสถานที่ที่ชื่อว่า “บ้าน” จึงควรที่จะเป็นที่สงบที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์


ดังนั้น บ้านจึงไม่ใช่ตลาด ทว่าบางคนกลับทำบ้านให้กลายเป็นตลาด คือ เป็นที่ถกเถียง ,ที่ต่อรอง ,ที่ยื้อแย่ง เป็นที่แสดงอำนาจ ซึ่งหากบ้านเป็นเช่นนี้แล้วก็จะไม่มีความสงบ จึงสวนทางกับรากศัพท์ของภาษาอาหรับที่ให้ความหมาย คำว่า บ้านคือ สถานที่ที่สงบ สถานที่ที่มนุษย์พักผ่อนจากภารกิจต่างๆ

 

ทีนี้ มาดูความหมายที่แท้จริง ในเมื่อเรารู้แล้วว่า 

 

อะฮ์ลุลบัยต์(อ) คือ “وَمَسَاکِنِ بَرَکَةِاللهِ”  คือ ที่พำนัก ที่สงบของบารอกัตต่างๆจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) 

 

ซึ่งในมุมนี้เราสามารถย่อยไปทางวิชาอัคลากต่างๆ ได้อีกอย่างมากมาย และคนซึ่งมีอะฮ์ลุลบัยต์(อ)อยู่ในหัวใจ แน่นอนว่า จิตใจของเขาต้องสงบ ถ้าเขาอยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์อย่างแท้จริง ทุกความยุ่งเหยิงในชีวิตของเขาจะต้องสงบลง เมื่อเรียกหาอะฮ์ลุลบัยต์ เมื่อเรียกร้องอะฮ์ลุลบัยต์ เมื่อพำนักอยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ส่วนคนที่ไม่มีความสงบในชีวิตก็เพราะว่า เขาไม่ได้อยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์อย่างแท้จริง


ซึ่งเราจะเข้าใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องเข้าใจว่า การอยู่กับอะฮ์ลุลบัยต์นั้นอยู่อย่างไร ก็ด้วยการเข้าไปทำความรู้จักชีวประวัติ เข้าไปทำความรู้จักคำสั่งสอนต่างๆที่บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ได้สั่งสอนเอาไว้

 

เราอยากรู้จักความสงบในชีวิตอย่างแท้จริงนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้จักแบบฉบับของอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น อะฮ์ลุลบัยต์(อ)ไม่ได้เป็นแค่ที่พักที่สงบเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นที่พำนักที่สงบที่มีบารอกัต ชีวิตของผู้ศรัทธาที่แท้จริง ต้องไม่ได้แสวงหาอะไร นอกจากแสวงหาความบารอกัตในชีวิต

 

อย่างไรก็ตาม ความยิ่งใหญ่ไพศาลของ“ความบารอกัตในชีวิต” เราคงจะต้องทำความเข้าใจให้ได้อย่างลึกซึ้งว่ามันหมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่ในการดำเนินชีวิตของเรา เพียงต้องหาทรัพย์สินเงินทองให้มาก ทว่า อาจจะมีคนคลางแคลงสงสัยว่า ทุกๆทรัพย์สินเงินทองมีความบารอกัตหรือไม่

 

ประเด็นนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่า สาเหตุที่บางทรัพย์สินเงินทองมีความบารอกัต และบางทรัพย์สินเงินทองไม่มีความบารอกัตนั้น ต้องดูที่มาของการได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไปว่าเราจะได้มาซึ่งความบารอกัตในชีวิต เพราะความบารอกัตมีมากมายหลายรูปแบบ บางครั้งความบารอกัตอาจจะไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง

 

โปรดติดตามต่อไป

เรียบเรียงโดย Wanyamilah S.