เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 3 อะฮ์ลุลเบต คือ บะรอกัตของอัลลอฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 3 อะฮ์ลุลเบต คือ บะรอกัตของอัลลอฮ์

 

โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 

กอรูน : ในทัศนะของท่านอยาตุลลอญาวาดี ออมูลีย์


ท่านอยาตุลลอฮ์ญะวาดี ออมูลี ได้ยกตัวอย่าง กรณีของ “กอรูน” มาเป็นบทเรียนนี้ ซึ่งในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีใครมีมากเท่ากับ “กอรูน” และยังไม่เคยมีมนุษย์คนไหนที่มีทรัพย์สิน กอปรกับในสมัยนี้ทรัพย์สินได้ถูกเปลี่ยนในรูปลักษณะอื่น จึงวัดกันได้ยาก แต่ในอดีต ชัดแจ้งไม่เคยมีใครมีมากเท่ากับกอรูน ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ยืนยัน


ตัวอย่าง เรื่องของ“กอรูน” ในซูเราะฮ์อัลกอศ็อศ โองการที่ 76


إِنَّ قَارُونَ كَانَ مِن قَوْمِ مُوسَىٰ فَبَغَىٰ عَلَيْهِمْ ۖ وَآتَيْنَاهُ مِنَ الْكُنُوزِ مَا إِنَّ مَفَاتِحَهُ لَتَنُوءُ بِالْعُصْبَةِ أُولِي الْقُوَّةِ إِذْ قَالَ لَهُ قَوْمُهُ لَا تَفْرَحْ ۖ إِنَّ اللَّهَ لَا يُحِبُّ الْفَرِحِينَ
وَآتَيْنَاهُ مِنَ الْكُنُوزِ مَا إِنَّ مَفَاتِحَهُ لَتَنُوءُ بِالْعُصْبَةِ أُولِي الْقُوَّةِ إِذْ قَالَ لَهُ قَوْمُهُ لَا تَفْرَحْ ۖ إِنَّ اللَّهَ لَا يُحِبُّ الْفَرِحِينَ

 

อัลลอฮ์(ซ.บ.)บอกว่า และเราได้ประทานคลังสมบัติให้แก่เขาอย่างมากมาย สมัยก่อนอัลลอฮ์ให้อย่างมากมาย ที่มนุษย์ใฝ่หากัน ที่งก ที่ตระหนี่ถี่เหนียว ที่โกง ที่เอาเปรียบเหล่านี้ทั้งหมดก็เพื่ออยากให้มีในครอบครองมาก
อัลลอฮ์(ซ.บ.) : เราเคยให้กอรูนถึงขนาดที่ว่า مَا إِنَّ مَفَاتِحَهُ  ขนาดที่ไม่ต้องถามถึงเรื่องอะไร ขนาดที่ว่ากุญแจคลัง กุญแจเก็บสมบัติต่างๆของกอรูนนั้น "มะฟาติฮ์” เป็นพหูพจน์ ของคำว่า “มิสตะฮ์ แปลว่า กุญแจเป็นเอกพจน์ ส่วนคำพหูพจน์ คือ “มุฟาติฮ์” แปลว่ากุญแจต่างๆแสดงว่า มีมากกว่าหนึ่งดอก


อินนะมะฟาติฮะฮู (إِنَّ مَفَاتِحَهُ) ไม่ต้องดูว่า กอรูนมีเท่าไหร่ ยกแค่กุญแจของมันก็พอ ในฮะดีษ ในริวายัตบอกว่า เป็นกุญแจทองคำ ( لَتَنُوءُ بِالْعُصْبَةِ ) ต้องแบกด้วยความยากลำบาก أُولِي الْقُوَّةِ “และคนที่แบกนั้น เป็นคนที่แข็งแรง ร่างกำยำ และคนที่แข็งแรงกำยำนั้น" ก็แบกด้วยความยากลำบาก”


ในบางริวายัตบอกไว้ว่า กุญแจหนึ่งดอก ต้องใช้ชายร่างกำยำแบกถึง 40 คน


เราอาจจินตนาการไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องสมัยโบราณ ที่สำคัญท้องพระคลังของกอรูน บางริวายัตบอกว่า อุลิล กุวะฮ์ “أُولِي الْقُوَّةِ”  ที่แบกคือ ชายกำยำ นั่นแสดงถึง คนที่มีกำลัง คือ ผู้ที่แข็งแรงทั้งหมดแบกกุญแจ(ทำด้วยทองคำ)ของฮารูนหลายดอก(จำนวนกี่ดอกไม่ได้ระบุ) โดยแต่ละดอกนั้นมีจำนวนคนแบก 40 คน แล้วก็แบกในลักษณะ (“بِالْعُصْبَةِ”) บิลอุศบะฮ์ แบกด้วยความลำบากถึง 40 คน นั่นแสดงว่า กุญแจหนักมาก
ทีนี้ เราลองจินตนาการ คนขนทองคำ จำนวน 40 คนแบก ซึ่งหากแบกเกือบจะไม่ไหว ลองคิดดูว่า น้ำหนักมันควจจะหนักเท่าไหร่ เมื่อได้สมมุติฐาน เราถึงจะคำนวนได้ว่า แค่เพียงกุญแจท้องพระคลังของกอรูนหนึ่งดอกยังหนักขนาดนั้น แต่สุดท้ายเป็นอย่างไร... เหลือหรือไม่...แม้นจะมีมากขนาด หนึ่งคลังต่อกุญแจหนึ่งดอก คำนวณดู กอรูนมีมากขนาดไหน แต่สิ่งที่ไม่มีในสมบัติทั้งหมดของกอรูน คือ “บารอกัต" และชัดเจนอีกว่า สิ่งที่มีในสมบัติของกอรูนที่มีอย่างมากมาย นั้นคือ “ไม่มีความบารอกัต”นั่นเอง

 

บทสรุป

 

แม้นมีสมบัติอย่างมากมาย หากไม่ได้สร้างความดีใดๆ ดั่งตัวอย่าง “กอรูน” แม้กอรูนเป็นถึงอัครมหาเศรษฐี เป็นเหมือนกับ บิล เกตส์ ชายผู้รั้งตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีอันดับ 1 มากสมัยที่สุดในโลกปัจจุบัน


หากถามว่า กอรูน ได้ประโยชน์อะไรจากการมีหรือไม่ ทางจิตวิญญาณได้อะไรไหม คำตอบ คือ ไม่ได้อะไรเลย เพราะทรัพย์สินสมบัติทั้งหมดของ “กอรูน” ไม่มีบารอกัตใดๆ อัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงสูบทั้งกอรูนและทรัพย์สมบัติทั้งหมดไป

 

“กอรูน” มีสมบัติมากมายได้อย่างไร

 

เป็นเพราะนบีมูซา(อ) ขอดุอาอ์ให้ เบื้องต้นกอรูนก็ไม่ได้มีอะไร เขาจึงขอให้นบีมูซา(อ.)ดุอาอ์ให้ ด้วยกับดุอาอ์ของนบีมูซา(อ.) มุสตะญับ ส่งผลทำให้กอรูนนั้นมั่งมีขึ้นมา  อุปมาเช่นพวกเรา เวลาลำบากยากจน ก็จะบอกให้คนโน่นคนนี้ช่วยขอดุอาอ์ให้ เช่น บางคนให้ช่วยขอดุอาอ์ให้เขารวยมีเงินมีทอง ให้เจริญรุ่งเรือง แต่เมื่อมั่งมีแล้ว กลับลืมตน ทำให้สิ่งที่มีต่างๆทั้งหมดนั้นไม่มีบารอกัตเอง


และอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็สูบทั้งเจ้าของ สูบทั้งทรัพย์สมบัติทั้งหมดลงไปอยู่ในดิน จนถึงวันนี้ไม่มีใครได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของกอรูน และตัวของกอรูนเองก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านวัตถุ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งด้านจิตวิญญาณจากทรัพย์สินที่เขามีอยู่ และสิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ ต้องการชี้ว่า มาจากเรื่องๆเดียว คือ การขาดบารอกัต มีมากสักขนาดไหน ในท้ายที่สุด ก็กลายเป็น “คนที่ถูกธรณีสูบ”

 

เรียบเรียงโดย Wanyamilah S.

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม