เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 4 อะฮ์ลุลเบต คือ บะรอกัตของอัลลอฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 4 อะฮ์ลุลเบต คือ บะรอกัตของอัลลอฮ์

 

โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 


จุดจบของชีวิตที่ไม่บะรอกัต

 

เรื่องราวของ“ฟิรอูน”(ฟาโรห์)

 

อีกหนึ่งตัวอย่าง ผู้ที่ถูกลงโทษโดยอัลลอฮ์ตั้งแต่ในโลกนี้ กรณีฟิรอูนถูกจมในทะเล เห็นได้ว่า การถูกลงโทษอย่างเปิดเผยในโลกนี้หนักขนาดนั้น คงไม่ต้องถามแล้วว่า ชะตากรรมของเขาในโลกหน้าจะเป็นเช่นไร
นี่คือความสำคัญในการแสวงหาบะรอกัตให้กับชีวิต ในการแสวงหาความบะรอกัตให้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีในชีวิต

 

สาระศึกษา

 

จุดจบของ "ฟิรอูนและ "กอรูน" คือ สัญลักษณ์ และเป็นอุทาหรณ์สอนใจ ต่อชนรุ่นหลัง ดังคำดำรัสของเอกองค์อัลลอฮ(ซบ)ในคัมภีร์อัลกรุอาน เพราะอำนาจ ทรัพย์สินและสิ่งต่างๆที่มีอยู่ของเขา ไม่มีความบะรอกัต ฉะนั้น มีมากขนาดไหนก็ไม่ได้ให้ประโยชน์ และไม่ได้ให้คุณงามความดีใดๆกับเขา

 

ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญในการแสวงหาบะรอกัตให้มากๆ เพราะบะรอกัตก็คือการแสวงหาคุณประโยชน์หรือความดีทางจิตวิญญาณนั่นเอง

 

ความบะรอกัตของบุคคลในสมัยท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)

 

ขอยกตัวอย่างเพียง 2 เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความบะรอกัตในชีวิตของมนุษย์ประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกว่า มีบุคคลอยู่ 2 ท่านในสมัยท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ที่เกี่ยวข้องกัน

 

หมายเหตุ : บุคคลหนึ่งพี่น้องรู้จักดี แต่ผมจะยังไม่บอกฉายาจริงของเขา อีกบุคคลหนึ่งบางคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามมาก่อน

 


บุคคลที่ 1 ชื่อ “วะลีด บิน มุฆีเราะฮ์ มัคซูมี”

 

มีรายงานว่า ในสมัยของท่านนบี(ศ็อลฯ)มีคนที่มีชื่อเสียงของกุเรชอยู่ 2 ท่าน ท่านที่หนึ่งชื่อ “วะลีด บิน มุฆีเราะฮ์ มัคซูมี” นับเป็นคนดังของกุเรช ในมักกะฮ์ยุคนั้น เขามีทรัพย์สมบัติ ปศุสัตว์ เรือกสวน ทาสอย่างมากมาย และมีบุตรชายถึง 10 คน

 

สาระศึกษา

 

มาตรวัดความมั่งมีของชาวอาหรับสมัยก่อน ดูที่ใครที่ขึ้นชื่อว่า มีบุตรชายที่เข้มแข็งเกิน 10 คน มีอุฐ ม้า แพะ แกะ มีทาส และมีอะไรต่อมิอะไรอีกอย่างมากมาย และไม่เพียงเท่านั้น เขายังเป็นคนที่มีความรู้ที่สุดคนหนึ่งของมักกะฮ์อีกด้วย

 

เป้าหมายจะชี้ว่า คนที่มีทุกอย่าง มีทั้งบุตรชายถึง 10 คนในยุคสมัยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการมีบุตรชายที่เป็นนักรบถึง 10 คน มีอูฐจำนวนมาก มีม้า มีฝูงแกะ มีข้าทาสบริวาร มีสวน มีทรัพย์สินต่างๆอย่างมากมายและยังมีความรู้ อ่านออกเขียนได้นั้นย่อมไม่ธรรมดา ซึ่งอาหรับในยุคนั้น นักประวัติศาสตร์บางท่านได้บอกว่า มีคนอ่านออกเขียนได้เพียง 17-18 คนเท่านั้น

 

และในสมัยนบี(ศ็อลฯ)ตรงแผ่นดินมักกะฮ์ “วะลีด” คือ หนึ่งในบุคคลที่มีทุกสิ่งทุกอย่าง แถมยังมีความสามารถในการเขียนบทกลอน บทกวี เขาเป็นนักกวีที่เฟื่องฟูในยุคนั้น (สมัยนั้น การแต่งบทกลอนบทกวีเป็นที่นิยมมาก) แม้นแต่คนไม่มีความรู้ หมายถึง ผู้ใดก็ตามที่จะเขียนบทกวีอะไรก็ตาม เขาต้องอ่านให้ “วะลิด”ฟังก่อน ซึ่งตัวชี้วัด คือ หาก “วะลีด”รับรองบทกลอนบทกวีนั้น คนที่แต่งก็จะดังในมักกะฮ์ทันที

 

อนึ่ง สังคมแห่งมักกะฮ์ในสมัยนั้น ให้ความสำคัญกับความรู้ทางด้านกวีมาก ถึงขั้นที่ว่า ใครก็ตามที่มีความรู้ทางด้านกวี ถือว่าสุดยอดของความรู้ ดังนี้แล้ว การเขียนกาพย์กลอน หรือเขียนอะไรต่างๆ ผู้คนจะต้องไปอ่านให้ “วาลีด บินมุฆีเราะฮ์” ฟังก่อน เพราะด้วยความรู้ต่างๆทั้งหมดที่ท่านมีอยู่ ท่านจึงเป็นหนึ่งในนักกวีที่ดังในเมืองมักกะฮ์ในยุคนั้น

 

แต่แล้ววันหนึ่ง “วะลิด”ได้ยินท่านนบี(ศ็อลฯ)อ่านอัลกุรอานและได้ยินคำสั่งสอนของท่านนบี(ศ็อลฯ) ซึ่งหลังจากที่ได้ยินนั้น เขาได้ลุกขึ้นประกาศกับชาวอาหรับกับชาวกุเรชว่า...


والله لقد سمعت من محمدکلا مًا ما هو من کلام الإنس ولامن کلام الجنّ
وإنّ له لحلاوةٌ وإنّ علیه لطلا وةٌ وإنّ أعلاه لمثمرٌوإنّ أسفله لمغدقٌ وإنّه لیعلو ومایعلی
وَإِن مِّن شَيْءٍ إِلَّا عِندَنَا خَزَائِنُهُ
إنّ المؤمن برکةٌعلی المؤمن
“والله لقد سمعت من محمد

 

(วัลลอฮิ ละก็อด ซะมิอ์ตุ มิลมุฮัมมะดิน)

 

วาลีดได้ยินอะไรจากท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)

 

“کلامًا ما هو من کلام الإنس ولامن کلام الجنّ”
 

(กะลามัน มาฮูวะ มินกะลามินอินซิ วะลามิน กะลามินญิน) วะลีด บอกว่า ฉันได้ยินคำพูดหนึ่งจากมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ซึ่งมั่นใจว่า ทุกประโยคที่เปล่งนั้นไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่กะลามของมนุษย์ และไม่ใช่กะลามของญินด้วย
คำอธิบาย : กะลามนั้น มันสูงกว่าที่มนุษย์จะพูดได้ขนาดนี้ ความรู้ทางด้านกวี หากพูดให้เข้าใจง่าย คือ ความรู้ทางด้านภาษา สามารถแยกแยะว่า คำพูดลักษณะนี้ มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถพูดหรือแต่งขึ้นมาเองได้
นี่คือ ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน

 

เรื่องเล่าที่เขียนโดย “ซัยยิดกุฏุบ”

 

ความบะรอกัตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านซัยยิดกุฏุบ หรือ “ซัยยิดฮะซัน อัลบันนา”(คนใดคนหนึ่งผมจำไม่ได้) เขียนมาว่า ครั้งหนึ่งขณะเดินทางบนเรือท่องเที่ยวทางไกล โดยเริ่มต้นจากเมืองหนึ่งของอียิปต์เพื่อไปอีกเมืองของอียิปต์ และเรือลำนี้ก็เดินทางต่อ จากไคโรไปอเล็กซานเดรีย


และวันนั้นตรงกับวันศุกร์ด้วย จึงมีการนมาซวันศุกร์บนเรือ เมื่อคอเต็บขึ้นไปอ่านคุตบะฮ์วันศุกร์อยู่บนเรือ

 

(เหตุผลที่ออกนอกเรื่องก่อน เพื่อทำความเข้าใจคำพูดของ “วาลีด อิบนิมุฆีเราะฮ์” ว่า หมายความว่าอย่างไร)

 

ช่วงที่คอเต็บขึ้นคุตบะฮ์ ในระหว่างกลางๆคุตบะฮ์มีทั้งอ่านกุรอาน มีทั้งอ่านฮะดีษ มีทั้งคำพูดของผู้บรรยาย และในเรื่องเล่านี้ มีฝรั่งอยู่ 4-5 คน เป็นคีตะกวี (เป็นนักดนตรี) เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานทางดนตรี ซึ่งพวกเขาก็ร่วมนั่งฟังคุตบะฮ์ร่วมอยู่ด้วย โดยในตอนต้นไม่ได้ตั้งใจฟังเท่าไหร่นัก จนกระทั่งเขาเริ่มตั้งใจฟังคุตบะฮ์วันศุกร์จนจบ

 

ปรากฏว่า คีตะกวีคนนั้น เดินไปหาคนที่อ่านคุตบะฮ์ แล้วกล่าวว่า ขอดูสคริปท์ (ตัวบท)ประโยคนี้หน่อย เขาอยากรู้ท่อนนี้อะไร มาจากไหน ท่อนที่เขาถาม คือ ท่อนที่เป็นอัลกุรอาน เขาถามว่าประโยคนี้เป็นคำพูดของใคร

คนที่อ่านคุตบะฮ์บอกว่า อันนี้เป็นอัลกุรอาน เป็นคำพูดของพระผู้เป็นเจ้า

 

เขาจึงบอก “มิน่าล่ะ ฟังในศาสตร์ของดนตรี จึงรู้ว่า Rhythm จังหวะของภาษาที่เขียนมานั้น เขามั่นใจว่า มนุษย์ไม่สามารถคิดเองได้แน่นอน”

 

ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจ เพราะเราไม่ได้เป็นนักดนตรี ชนิดที่ว่า เป็นเอกทางด้านศิลป์นี้โดยตรง แต่นัยยะคำพูดของเขา ทำให้รู้ว่า นี่คือ ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน

 

ทีนี้ ย้อนกลับมายุคนบี(ศ็อลฯ)ในยุคนั้นคนที่เก่งทางด้านกวี ได้บอกว่า เมื่อได้ฟังคำพูดของท่านนบี(ศ็อลฯ)แล้ว เขารู้ว่า ที่นบี(ศ็อลฯ)เอ่ยนั้น ไม่ใช่คำพูดของมนุษย์และเขายังบอกว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นคำพูดของญินด้วย

ประโยคต่อมา وإنّ له لحلاوةٌ (วะอินนะฮู ละฮู ลิฮะลาวะฮ์) มันมีความหวานอยู่ในคำพูดนั้น

 

ประโยคถัดมา وإنّ علیه لطلاوةٌ” (วะอินนะ อะลัยฮิ ตอลาวะฮ์) และในนั้นมีความเข้มแข็งอยู่ในตัว ทั้งหวานทั้งเข้ม มันเหนือคำอธิบาย แบบอธิบายไม่ถูก คือ มีทั้งความหวานซึ้งอยู่ในนั้น แล้วก็มีความเข้มแข็งอยู่ในคำพูดนั้นด้วย

 

อีกประโยค คือ


“وإنّ أعلاه لمثمرٌوإنّ أسفله لمغدقٌ وإنّه لیعلو ومایعلی"

 

(วะอินนะ อะอ์ลาฮู ....)ซึ่งในคำพูดเหล่านี้ เหนือกว่าทุกๆคำพูดและจะไม่มีคำพูดใดที่จะเหนือไปกว่าคำพวกนี้อีกแล้ว

 

บทสรุป


ด้วยกับประโยคดังกล่าว เขาจึงเข้ารับอิสลาม และในเวลาต่อมา ทรัพย์สินเงินทองทุกสิ่งทุกอย่างของเขา ก็ถูกใช้ไปในนามของอิสลาม จนกระทั่ง “วะลีด อิบนิมุฆีเราะฮ์ อัลมัคซูมี” ได้เป็นอัครสาวกของท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)

 

اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم

เรียบเรียงโดย : Wanyamilah S.

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม