เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 6 อะฮ์ลุลเบต คือ ต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 6 อะฮ์ลุลเบต คือ ต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์

 


โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 


ต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์

 

บทเรียนในวันนี้ ยังอยู่ในหัวข้อของ “ฮิกมะฮ์” ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งฮิกมะฮ์ต้นแบบ มีอยู่ทั้งในพระมหาคัมภีร์อัลกรุอาน ทั้ง ฮิกมะฮ์อะมาลี (เชิงปฏิบัติ)  และ ฮิกมะฮ์นาซอรี( เชิงทฤษฎี)

 

อนึ่งหัวข้อจากอัลกรุอาน ที่เป็นต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์อีกเช่นกัน ปรากฏอยู่ในซูเราะฮ์อิสรออ์ 23 -39

 

สำหรับโองการที่ระบุข้างต้นนี้ เป็นกลุ่มโองการที่อยู่ในหมวดเดียวกัน และลงมาในเวลาเดียวกัน ซึ่งหากถามว่า เหตุใดโองการดังกล่าว จึงเกี่ยวข้องกับฮิกมะฮ์การดำเนินชีวิตของมนุษย์

 

ประเด็นนี้ เรามาศึกษาการอรรถาธิบายตั้งแต่ โองการที่ 23 ซูเราะฮ์อิสรออ์ ความดังนี้


وَقَضَىٰ رَبُّكَ أَلَّا تَعْبُدُوا إِلَّا إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا ۚ إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلَاهُمَا فَلَا تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ وَلَا تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلًا كَرِيمًا
 

"และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน"


คำอธิบาย


คำสั่งแรก โองการเริ่มด้วยอัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ตรัสว่า


وَقَضَىٰ رَبُّكَ أَلَّا تَعْبُدُوا إِلَّا إِيَّاهُ
 

“และอัลลอฮ์ได้กำหนด เอาไว้ว่า จงอย่าทำการภักดีผู้ใด เว้นแต่ยังพระองค์เท่านั้น”


คำสั่งแรก โองการนี้ อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้บอกสิ่งสำคัญที่สุดที่เริ่มด้วย “เตาฮีด” หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มที่การยอมรับ อัลลอฮ์(ซ.บ.) เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว


เป้าหมายเพื่อจะบอกว่า ชีวิตของมนุษย์อย่าได้ผูกความหวังกับสิ่งอื่น ซึ่งใน “เตาฮีด” เกี่ยวกับพระองค์มีการแบ่งออกหลายประเภท

 

ดังนั้นถ้าจะบูชา ก็บูชาอัลลอฮ์(ซ.บ.) เพียงองค์เดียว ถ้าจะขอความช่วยเหลือก็ขอจากพระองค์เพียงองค์เดียว ดั่งที่เราอ่านในซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์


إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
 

“เฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่ข้าฯพระองค์เคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่ข้าฯขอความช่วยเหลือ”

 

คำอธิบาย : ประโยค


إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
 

พึงจำไว้ให้ดี เหตุผลที่เราต้องอ่านฟาติฮะฮ์ วันละหลายครั้ง เป้าหมายเพื่อย้ำเตือนสิ่งนี้ว่า “ชีวิตนี้จะไม่เคารพบูชาสิ่งใด” ซึ่งแง่มุมของการเคารพบูชา คือ ทุกรูปแบบ เพราะการเคารพบูชาไม่ได้ แปลว่ากราบไหว้อย่างเดียว แต่รวมไปถึงการยอมรับสิ่งอื่น วิงวอนสิ่งอื่น หวังสิ่งอื่น นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ด้วย


เนื่องจากพระองค์ให้คุณให้โทษ เพียงพระองค์เดียว ดังนั้น จุดเริ่มต้นของฮิกมะฮ์แรก ก็คือ การดำเนินชีวิตอย่างมีเตาฮีด โดยไม่เห็นสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) เท่านั้นในโลกนี้

 

คำสั่งที่สอง อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ตรัสอีกว่า

 

وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا ۚ
 

คำอธิบาย


การเริ่มด้วยเตาฮีด ถือว่าแปลกเป็นอย่างมาก เพราะหลังจากจบเรื่องเตาฮีด การเคารพภักดี ต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) โดยไม่เคารพต่อสิ่งอื่นแล้ว ต่อมาคำสั่งฮิกมะฮ์อันที่สอง ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)สั่ง คือ

 

وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا ۚ
 

“และจงอิฮ์ซาน (ทำความดี) ต่อพ่อแม่(บุพการี)”

 

จงพิจารณาดูว่า เรื่องนี้สำคัญขนาดไหน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ควรรู้ ในมุมของภาษา  คำว่า “อิฮ์ซาน ” คือ ความดีอย่างล้นเหลือ ไม่ใช่ความดีทั่วไป

 

บางคนกับพ่อแม่ ความดีทั่วไปยังทำกันไม่ได้ แต่คำสั่งของอัลกรุอานกับพ่อแม่นั้น อิฮ์ซาน” คือความดีที่เหนือความดี


ความดีที่ไม่ใช่ความดีปกติ เรียกว่า “อิฮ์ซาน ”

 

ซึ่งบรรดาอาลิมอุลามาอ์ด้านอัคลาค ได้ทำการอรรถาธิบายไว้อย่างละเอียด แต่จะยกเพียงบางตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจ

 

  “เอี๊ยะซาน” ในความหมายที่ลึกซึ้ง

 

ตัวอย่าง “การให้ที่มีเอี๊ยะซาน”

 

การที่คนลำบากมายืมเงินของเรา โดยเขากำหนดจ่ายภายใน 1 เดือน แต่เมื่อถึงกำหนดเขาไม่มีเงินจะจ่าย เพราะเขายังลำบากอยู่เหมือนเดิม

 

กรณีนี้ สิทธิ์ของเราทางศาสนา มีสิทธิ์ที่จะทวง โดยให้เขาทำทุกวิถีทางเพื่อนำเงินมาคืนให้เราให้ได้ สัญญาการยืมเงินเป็นเรื่องสำคัญเรื่อง ถึงขั้นที่ว่าละหมาดก็ไม่ได้ ถ้าเราบังคับหนี้ให้คืนตามสัญญาที่บอกว่าจะจ่ายในวันนี้

 

เบื้องต้นการให้คนยืมเงินถือว่า เป็นการทำความดี ระดับหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเราประเมินสถานการณ์นี้ เรารู้แล้วว่า เขายังยากจน ยังยากลำบากเป็นอย่างมาก หากเราบอกว่า เรายกให้เลย

 

การยกให้ลักษณะนี้มี คำว่า “อิฮ์ซาน” หมายความว่า เรายกสิทธิ์ของเรา

 

นี่คือความหมายเล็กๆน้อยๆของคำว่า “อิฮ์ซาน ” คือ ยกสิทธิ์ของเราให้กับเขา ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับการปฏิบัติต่อพ่อแม่

 

เรียบเรียงโดย Wanyamilah S.

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม