ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่ 7 อะฮ์ลุลเบต คือ ต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์

ธารธรรมเดือนรอมฎอน ตอนที่  7 อะฮ์ลุลเบต คือ ต้นแบบฮิกมะฮ์ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์


โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 

 

“อิฮ์ซาน” ในความหมายที่ลึกซึ้ง

 

ตัวอย่าง การละเมิด

 

กรณีทะเลาะวิวาท สิทธิ์ตามศาสนา เมื่อมีคนมาตบ หรือต่อยหน้าเรา 1 ครั้ง กรณีนี้ เรามีสิทธิ์ที่จะเอาคืนด้วยกันต่อยกลับไป 1 ครั้ง เพราะอิสลามเป็นศาสนา ที่สอนให้คนสู้ ตาต่อตาฟันต่อฟัน
จะเห็นได้ว่าในบางเรื่องในบางกรณี หากกลัวคน หรือ ขี่ขลาดไม่สู้คน เป็นมุสลิมที่ดีไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นมุอ์มิน


แต่ กรณีนี้เป็นพี่น้องมุมินด้วยกัน แม้เรามีสิทธิ์เอาคืนที่จะตบหรือจะต่อยเขากลับ 1 ครั้ง ตามที่เขาทำเรา แต่หากเรารู้ว่าเพื่อนทำไปเพราะอารมณ์ร้อน ชั่ววูบ เราให้อภัยเขา นั่นแสดงว่า การให้อภัยนี้ คือ “อิฮ์ซาน”

 

กรณีของพ่อแม่ อัลลอฮ์(ซ.บ.)บอก...


وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا
 

ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ดูแล แบบนี้การดูแลพ่อแม่ เป็นเพียงการตอบแทนบุญคุณ


อีกความหมาย เป็นการใช้หนี้พ่อแม่ ที่ท่านดูแลเลี้ยงดูเรามา ให้เราได้เรียนหนังสือจนจบทำงานมีเงินเดือนมีรายได้ เมื่อท่านแก่ลง หมดเรี่ยวหมดแรง สิ่งนี้จึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องดูแลท่าน แบบลูกที่ดีแบบลูกที่กตัญญูด้วย ซึ่งลักษณะนี้ยังไม่ได้เป็น“อิฮ์ซาน”


ทว่า การอยู่กับท่านด้วยดี ในอายะฮ์ใช้คำว่า มะอ์รูฟ

 

สมมุติ บางครั้งพ่อแม่ เมื่อแก่ชราแล้วอาจจะอารมณ์ร้อน พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่มีเหตุผล แต่เราอดทน ไม่ถือสา และปฏิบัติด้วยดีเราไม่โกรธ เรามองด้วยความรักกับท่าน ลักษณะนี้ ถึงจะเรียกว่า“อิฮ์ซาน” และต้องเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เพราะ “การอิฮ์ซานต่อพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญ เป็นความลับอันหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตของมนุษย์ประสบความสำเร็จ ซึ่งหาอ่านดูได้จากอัลกุรอาน อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้สั่งเสียเรื่องที่เกี่ยวกับพ่อแม่มีมากหลายโองการ


“วะซอฮิบูฮุมา มะอ์รูฟา” คือ อยู่ด้วยดี “วะบิลมะอ์รูฟ”


ตรงนี้บ่งบอกว่า


 وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا  
 

วะบิลวะลิดัยนี อิฮ์ซานา มีฮิกมะฮ์ก็คือ สิ่งนี้

 

ดังนั้น คำว่า ฮิกมะฮ์ จึงไม่ได้หมายความว่า พูดเก่ง และไม่ได้หมายถึง การมีความสามารถใช้คำศัพท์ทางวิชาการที่สวยหรู การโต้ตอบ มีเหตุผล ลักษณะดังกล่าวนี้ไม่ใช่ฮิกมะฮ์ที่แท้จริง ทว่า ฮิกมะฮ์ที่แท้จริงในพระมหาคัมภีร์อัลกรุอาน หมายถึง วิถีชีวิตที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)นำเสนอตามที่ได้อธิบายข้างต้น

 

นี่คือเรื่องที่สองที่เอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)สั่งเสียกับมนุษย์เกี่ยวกับพ่อแม่ เพื่อให้รู้ว่า ผู้ที่ให้ความสำคัญเรื่องพ่อแม่ที่ยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก คือ อัลลอฮ์(ซ.บ.)

 

ข้อพึงสังเกตุ : ทั้งๆที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)เป็นพระผู้สร้าง ไม่มีพ่อแม่ แต่สิ่งหนึ่งที่พระองค์ย้ำเตือนที่เน้นมนุษย์ให้ความสำคัญมากคือ เรื่องของพ่อแม่


ดังนั้น ใครก็ตาม ที่ยังมีพ่อแม่อยู่ ถ้าได้ปรนนิบัติพ่อแม่ ณ เวลานี้ ถือว่าคนนั้นมีบุญเป็นอย่างมาก


และใครที่ยังมีพ่อแม่อยู่ จงสำนึกสิ่งนี้ ให้ดี ทำการปฏิบัติต่อท่านด้วยดี ถ้ายังเล็กอยู่ให้เชื่อฟัง อย่าให้ท่านเป็นห่วง จงทำให้ท่านพอใจ ทำให้ท่านมีความสุข ในความสำเร็จของเรา

 

บุตรที่ทำให้พ่อแม่หลั่งน้ำตา มี 2 ชะตากรรม

 

1.ลงนรก ตัวอย่าง การหนีไปเที่ยว ทำตัวทำให้พ่อแม่ร้องไห้เป็นห่วง ผลของการทำให้พ่อแม่ร้องไห้ทำให้ต้องลงนรก

 

2.ขึ้นสวรรค์ การทำให้พ่อแม่ร้องไห้ ที่ได้ขึ้นสวรรค์ก็มี ตัวอย่าง ช่วงโรงเรียนปิดเทอม นักเรียน(อายุ 17 - 23 ปี) เมื่อกลับไปบ้าน หลังละหมาดศุบฮฺ พ่อแม่เห็นลูกชายอ่านกุรอาน ท่านรู้สึกปลาบปลื้มดีใจจนน้ำตาไหล ที่เห็นลูกเป็นเด็กดี น้ำตานี้ เราเรียกว่า “น้ำตาที่ทำให้เราได้ขึ้นสวรรค์”

 

สรุป

 

 พึงรู้ไว้เถิดว่า น้ำตาของพ่อแม่มีทั้งโทษมหันต์และมีคุณอานันท์ เพื่อย้ำว่าหากน้ำตาของพ่อแม่ออกมาอย่างปลาบปลื้ม ที่มีต่อลูก ลูกได้เป็นชาวสวรรค์อย่างแน่นอน


ถึงขั้นที่ในฮาดีษของนบี(ศ็อลฯ)บอกว่า “ใครก็ตามที่มองไปยังพ่อแม่ ด้วยสายตาแห่งความรัก ด้วยสายตาที่สงสาร เพราะเห็นท่านแก่ชราเดินไม่ไหว หมดเรี่ยวหมดแรงแล้ว เพียงลูกมองแล้วคิดแบบนี้ อัลลอฮ์(ซ.บ.) บอกว่าเขาจะได้สวรรค์

 

ประโยคต่อมา

 

إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلَاهُمَا فَلَا تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ

 

คำอธิบาย : เมื่อใดก็ตามความแก่ชราของพ่อหรือแม่ หรือท่านทั้งสอง ความล้าทางสมองอาจจะพูดผิดพูดถูก คิดผิดคิดถูกหรือจะอะไรก็ตาม บางครั้งบ่นพึมพำ ตามประสาคนแก่
หรือเมื่อใดก็ตามที่ความแก่ชราของพ่อแม่ได้มาถึงเจ้า(ลูก) ที่จะต้องดูแลพ่อแม่ที่เฒ่าชะแรแก่ชราแล้ว และเจ้าทั้งสอง (ลูกทั้งหญิงและชาย) อย่าได้กล่าวกับพ่อแม่ที่แก่แล้วว่า “อุฟ”

 

นี่คือ คำสั่งห้ามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)

 

ในภาษาอาหรับ “อุฟ”เป็นคำแสดงอาการไม่พึงพอใจที่เบาที่สุด ดังนั้นจึงไม่ต้องถามคำอื่น เช่นการเถียงพ่อแม่อะไรต่างๆนั้นมีบทลงโทษ ที่รุนแรงเป็นอย่างมาก


ดังนั้น พึงตระหนักไว้เลยว่า บาป 3 อย่าง ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะลงโทษมนุษย์ก่อนเขาตายบนโลกนี้และ แล้วไปลงโทษในโลกหน้า ซึ่ง 1/3 บาปที่จะต้องถูกลงโทษก่อนเขาตายนั้น คือ บาปของผู้ที่เนรคุณต่อพ่อแม่ เพราะอัลลอฮ์(ซ.บ.)ถือเป็นเรื่องใหญ่


การเนรคุณพ่อแม่ ไม่ได้หมายความว่า เป็นการตบตีพ่อแม่เพียงอย่างเดียว (ตัวอย่าง จากคลิป ตบตีพ่อแม่ในเมืองจีน หรือจากอินเดีย)แต่รวมไปถึงการทอดทิ้ง การไม่ดูแล และการพูดหยาบคายต่อท่าน ก็ถือว่าเป็นการเนรคุณ
การพูดหยาบกับอุฟต่างกันขนาดไหน เพื่อชี้ว่า ชีวิตของคนมีฮิกมัต ในชีวิตของเขาจะต้องระมัดระวังเพราะเรื่องของพ่อแม่เป็น เรื่องที่หนักมาก

 

ประโยคต่อมา


وَلَا تَنْهَرْهُمَا
 

 อย่าบังคับขู่เข็ญอย่างเด็ดขาด อย่าแสดงอำนาจ อย่าความยิ่งใหญ่กับพ่อแม่ว่า เราโตแล้ว เราเลี้ยงพ่อแม่ได้แล้ว อย่าเด็ดขาดเพราะที่เราปีกกล้าขาแข็งในทุกวันนี้นั้นมาจากน้ำนมแม่ การตั้งท้องของแม่ ให้นึกถึงในยามดึกเวลาเราตื่นร้องหิวนม


อีกประโยค คือ وَقُل لَّهُمَا قَوْلًا كَرِيمًا และทุกครั้งที่จะพูดกับท่านนั้น จงพูดด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน


หนึ่งในความหมายของคำว่า “ كَرِيمً ” คือ ความอ่อนโยน


ดังนั้นลูกไม่มีสิทธิ์จะขึ้นเสียง พูดจารุนแรง คำขู่เข็นหรืออะไรก็ตามที่ใช้กับพ่อแม่ ซึ่งคำเบาๆอย่าง “อุฟ”ก็ ถือว่าชีวิตเขาจบแล้ว

 

เรื่องพ่อแม่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ในอัลกรุอานซูเราะฮฺอิสรออฺ โองการที่ 24 อัลลอฮ์(ซ.บ.)ตรัสต่อว่า

 

وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا

 

และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย”


คำอธิบาย :


وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ
 

คำอธิบาย : อุลามาอ์ บางท่าน ให้ความหมายแตกต่างกัน บางคนใช้ คำว่า جَنَاحَ แปลว่า ปีก ส่วนคำว่า الذُّلِّ แปลว่า อ่อนน้อม


เมื่อรวมกัน แปลว่า และจงหุบปีกของเจ้าด้วยความนอบน้อม หรือ อย่ากางปีกของเจ้าต่อพ่อแม่ (เป็นสำนวนของอาหรับ) คือให้พ่อแม่อยู่ในปีกของเรา


จริงอยู่เมื่อก่อนเราอยู่ในปีกของพ่อแม่ ทว่าตอนนี้ เมื่อพ่อแม่อยู่ในปีกอยู่ในความดูแลของเรา ก็ให้เป็นปีกด้วยความเราะฮ์มะฮ์


مِنَ الرَّحْمَةِ

 

ปีกแห่งความเมตตา เป้าหมายเพื่อจะบอกว่าอย่าโอหังและอย่าทำตัวเป็นคนปีกกล้าขาแข็งต่อพ่อแม่อย่างเด็ดขาด


นี่คือ สิ่งที่พระมหาคัมภีร์กรุอานเน้นเรื่องนี้

 

وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا
 

คำอธิบาย : หลังจากนั้น พึงสังวรเสมอๆพร้อมทำการดุอาอ์ให้พ่อแม่ ทั้งที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่พ่อแม่ล่วงลับไปแล้ว เพราะในโลกนี้อัลลอฮ์(ซบ.) จะทรงเมตตาพ่อแม่ของเราแบบหนึ่งและในโลกหน้า พระองค์ก็ทรงเมตตาต่อพ่อแม่ของเราอีกแบบหนึ่ง ด้วยการขอให้อ่านดุอาอ์แบบนี้ ดั่งความว่า

 

“โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน โปรดเมตตาต่อท่านทั้งสอง เหมือนกับที่ท่านทั้งสองได้ดูแลฉัน”


رَبَّيَانِي صَغِيرًا
 

 

เท่ากับ ตัรบียัต ดูแล เมตตา เสมือนตอนที่ท่านได้เมตตาดูแลฉัน (ตัรบียัตฉัน) เมื่อตอนที่ฉันยังเป็นเด็กเล็กอยู่

 

اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم
 

เรียบเรียงโดย : Wanyamilah S.