เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 4 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 4 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงเรื่องการฟื้นคืนชีพพร้อมด้วยเหตุผล และเป้าหมาย ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า

 

 إِلَيْهِ مَرْجِعِكُمْ جَمِيعاً وَعْدَ اللّهِ حَقّاً إِنَّهُ يَبْدَأُ الْخَلْقَ ثُمَّ يُعِيدُهُ لِيَجْزِيَ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ بِالْقِسْطِ وَالَّذِينَ كَفَرُوا لَهُمْ شَرَابٌ مِنْ حَمِيمٍ وَعَذَابٌ أَلِيمٌ بِمَا كَانُوا يَكْفُرُونَ‏

 

คำแปล :

 

4. ยังพระองค์คือทางกลับของสูเจ้าทั้งหลาย สัญญาของอัลลอฮฺเป็นจริงเสมอ แท้จริงพระองค์ทรงเริ่มต้นการสร้าง แล้วพระองค์ทรงให้บังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงตอบแทนบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีโดยยุติธรรม  ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธนั้น สำหรับพวกเขาคือเครื่องดื่มที่ร้อนจัด และการลงโทษอันเจ็บแสบ เพราะพวกเขาปฏิเสธไม่ศรัทธา

 

คำอธิบาย :

 

วันแห่งการฟื้นคืนชีพและเป้าหมาย

 

1.ปัญหาส่วนใหญ่ที่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าได้ตั้งข้อกังขาคือ ความเป็นไปได้ในเรื่องการฟื้นคืนชีพ โองการข้างต้นจึงได้บ่งชี้ให้เห็นเหตุผลประการหนึ่งของการเกิดวันแห่งการฟื้นคืนชีพว่า บุคคลใดก็ตามที่มีความสงสัยในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ เขาจงใคร่ครวญถึงวันแรกแห่งการสร้างสรรค์ว่า ใครคือผู้บังเกิดโลกนี้ขึ้นมา ผู้ที่บังเกิดโลกขึ้นมาคือผู้มีอำนาจและมีศักยภาพในการบังเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง

 

2. เกี่ยวกับการกลับของมนุษย์ไปสู่พระเจ้า นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้แสดงทัศนะไว้หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ

 

- บางทัศนะกล่าวว่า จุดประสงค์คือ การย้อนกลับของมนุษย์ไปสู่ผลรางวัลของพระเจ้าที่ทรงตระเตรียมเอาไว้

 

- บางทัศนะกล่าวว่า โลกก็เปรียบเสมือนกองคาราวานที่ได้เริ่มการเคลื่อนไหวของตนแล้ว ไปสู่จุดหมายที่ไม่มีขอบเขตจำกัดนั่นคือ อาตมันบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า ซึ่งการเคลื่อนไหวไปสู่ความสมบูรณ์นี้ไม่มีวันที่จะหยุดนิ่ง

เนื่องจากว่าการเริ่มต้นการเคลื่อนไหวนี้มาจากอัลลอฮฺ อันเป็นการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ของมนุษย์ไปสู่การกลับคืนสู่พระเจ้า

 

3. เป้าสุดท้ายความสมบูรณ์ของมนุษย์และโลกคือ อาตมันบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า เนื่องจากการนำเอาคำว่า อิลัยฮิ ขึ้นก่อน ในเชิงของหลักภาษา หมายถึง การเน้นเฉพาะเจาะจงพิเศษ (อินฮะซอร) นั่นหมายความว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถเป็นเป้าหมายสุดท้ายของความสมบูรณ์ และการขับเคลื่อนได้ นอกจากอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์เท่านั้น เนื่องจากขอบเขตและแนวทางของมนุษย์นั้น เป็นแนวทางที่ไม่มีความจำกัด

 

4. คำว่า กิสฏ์ หมายถึงการจ่ายงวด หรือหุ้นส่วนอื่น ด้วยเหตุนี้ คำๆ นี้จึงมีความหมายของ ความยุติธรรมซ่อนอยู่ด้วย ซึ่งโองการข้างต้นได้ใช้คำนี้ในการแบ่งจ่ายผลรางวัลแก่บรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลาย  เนื่องจากการลงโทษไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอันถือได้ว่าเป็นรายได้ของท่าน หรืออาจเป็นเพราะว่าบรรดาผู้ศรัทธามีความเที่ยงธรรม พวกเขาจึงได้เห็นผลรางวัลของพวกตน

 

5. อัลกุรอาน ได้ใช้คำว่า ยับดะอุ ซึ่งเป็นกริยารูปปัจจุบันกาล เข้าใจได้ว่าการสร้างโลกและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

6. เป้าหมายของมะอาด คือการตรวจสอบประชาชาติและรางวัลตอบแทนของพวกเขา หมายถึงโลกในฐานะที่เป็นวัตถุไม่เพียงพอต่อการรองรับผลรางวัลจำนวนมากมายที่ไม่มีความจำกัด ดังนั้น บนพื้นฐานของวิทยปัญญาและความยุติธรรมของพระเจ้าแล้ว จำเป็นต้องมีโลกอีกโลกหนึ่งที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการรองรับผลรางวัล

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. วันแห่งการฟื้นคืนชีพคือความสัจจริง และทั้งหมดต้องย้อนกลับคืนสู่พระองค์ โดยไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใดๆ ทั้งสิ้น

 

2. เป้าหมายของการเกิดวันแห่งการฟื้นคืนชีพก็เพื่อ ตอบแทนผลรางวัลแก่ผู้ประกอบความดี และลงโทษบุคคลที่กระทำความผิด

 

3. จงอย่างทำตนเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เนื่องจากการปฏิเสธคือบรรดาที่จะโน้มนำไปสู่การลงโทษของพระเจ้า

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

 
 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม