เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 96-97

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่  96-97

 


อัลกุรอาน ทั้งสองโองการนี้กล่าวถึง เรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) และฟิรเอาน์ (ฟาโรห์) โองการกล่าวว่า

 

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا مُوسَى‏ بِآيَاتِنَا وَسُلْطَانٍ مُبِينٍ* إِلَى‏ فِرْعَوْنَ وَمَلَئِهِ فَاتَّبَعُوا أَمْرَ فِرْعَوْنَ وَمَا أَمْرُ فِرْعَوْنَ بِرَشِيدٍ

 

คำแปล :

 

96.แน่นอน เราได้ส่งมูซาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเราและหลักฐานอันชัดแจ้ง

 

97. ยังฟิรเอาน์และบรรดาบุคคลชั้นหัวหน้าของเขา พวกเขาได้ปฏิบัติตามคําสั่งของฟิรเอานฺ ขณะที่คำสั่งของฟิรเอาน์นั้นมิได้ชี้นำ

 

คำอธิบาย :

 

วีรบุรุษผู้ต่อสู้กับฟาโรห์

 

1. หลังจากได้กล่าวถึงเรื่องราวของศาสดาชุอัยบ์ (อ.) และหมู่ชนชาวมัดยันไปแล้ว ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงเรื่องราวของศาสดามูซา (อ.)  บุตรของอิมรอน และการต่อสู้ของท่านที่มีต่อฟาโรห์ ซึ่งเป็นศาสดาท่านที่ 7 ที่ถูกกล่าวในบทนี้

 

เรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน มากกว่าศาสดาองค์ใดทั้งหมด เนื่องจากเรื่องราวของท่านถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากกว่า 30 บท และเกินกว่า 100 ครั้งที่เรื่องราวของท่านกับฟาโหร์และวงศ์วานอิสราอีลได้ถูกกล่าวถึง

 

2. คุณลักษณะพิเศษเรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องราวของศาสดาชุอัยบ์ ซอลิฮ์ ฮูด และลูฎตามที่กล่าวมาแล้วก็คือ ศาสดาเหล่านั้นได้ต่อสู้กับหมู่ชนที่หลงทางของท่าน แต่ท่านศาสดามูซา (อ.) นอกจากจะต่อสู้กับหมู่ชนของท่านแล้ว ท่านยังได้ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อยุติธรรมในสมัยนั้น นั่นก็คือฟาโรห์

 

แน่นอน เรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) ในอัลกุรอานบทนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนเล็กๆ แต่ก็มีสาส์นอันยิ่งใหญ่อันเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย

 

3.คำว่า อายาต หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ แต่วัตถุประสงค์ในโองการนี้หมายถึงหมายถึง ปาฏิหาริย์อันชัดแจ้งของมูซา (อ.) อันได้แก่ไม้เท้าของท่าน

 

4. คำว่า ซุลฏอน ตามรากเดิมหมายถึง การควบคุม ซึ่งบางครั้งหมายถึงการควบคุมภายนอก บางครั้งหมายถึงการควบคุมในบางพื้นที่ ส่วนในที่นี้ให้ความหมายตามความหมายที่สอง กล่าวคือ เหตุผลอันชัดแจ้งที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามพบกับทางตัน และไม่มีหนทางหลบหนีอีกต่อไป

 

5. วัตถุประสงค์ของคำว่า มะลาอ์ หมายถึงบุคคลชั้นแนวหน้า หรือบุคคลชั้นผู้นำ บุคคลที่เป็นเหล่าสหายของผู้กดขี่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วข้างในของพวกเยาว่างเปล่า

 

6. คำว่า เราะชีด ตามรากเดิดหมายถึง การชี้นำไปสู่ความดีและการปรับปรุงแก้ไข เมื่อได้เผชิญกับการระหนและการหลงผิด ซึ่งครอบคลุมการชี้นำทั้งด้านศาสนาและอาณาจักร

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. บรรดาเราะซูลของอัลลอฮ์ ต่างมีเหตุผลและปาฏิหาริย์อันชัดแจ้งด้วยกันทั้งสิ้น

 

2. เหตุผลของท่านต้องชัดเจนไม่ใช่คลุมเครือ

 

3. หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของบรรดาศาสดาคือ การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการถูกกดขี่

 

4. บรรดาพวกอธรรมทั้งหลายและเหล่าผู้นำที่หลงผิด มิใช่ผู้ชี้นำมวลมนุษย์ชาติ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม