เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 106-107

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 106-107

 

อัลกุรอาน ทั้งสองโองการนี้กล่าวถึง ชะตากรรมของบุคคลที่กระทำความผิดบาปและไร้โชควาสนา โองการกล่าวว่า

 

فَأَمَّا الَّذِينَ شَقُوا فَفِي النَّارِ لَهُمْ فِيهَا زَفِيرٌ وَشَهِيقٌ* خَالِدِينَ فِيهَا مَا دَامَتِ السَّماوَاتُ وَالْأَرْضُ إِلَّا مَا شَاءَ رَبُّكَ إِنَّ رَبَّكَ فَعَّالٌ لِمَا يُرِيدُ

 

คำแปล :

 

106 .ดังนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่มีทุกข์จะอยู่ในไฟ ขณะที่อยู่ในนั้นพวกเขาจะร้องโอดครวญและสะอื้น

 

107. พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ตราบเท่าที่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินยืนยง เว้นแต่ที่พระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงประสงค์ เนื่องจากพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์

 

คำอธิบาย :

 

หลังจากโองการจะอธิบายถึงความสุขและความทุกข์ของกลุ่มชนในวันนั้นด้วยประโยคสั้นๆ ว่า สำหรับบรรดาผู้ที่มีทุกข์จะอยู่ในไฟ ขณะที่อยู่ในนั้นพวกเขาจะร้องโอดครวญและสะอื้น

 

1.คำว่า ซะฟีรุน หมายถึง สัมภาระอันหนักอึ้งที่มนุษย์ต้องแบกรับภาระเอาไว้ เป็นสาเหตุทำให้เขาร้องโอดครวญ แต่คำๆ นี้ในโองการข้างต้นหมายถึง การร้องตะโกนพร้อมกับถอนหายใจเฮือกใหญ่ ส่วนคำว่า ชะฮีก หมายถึง ระยะยาว แต่ในที่นี้หมายถึง การร้องตะโอดครวญสะอื้นพร้อมกับถอนหายใจ ซึ่งคำทั้งสองแสดงให้เห็นถึง การร้องโอดครวญและสะอื้นของบุคคลที่ได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดทั่วสันพลางกาย

 

2. คำว่า คอลิดีน หมายถึงการดำรงอยู่ประเภทหนึ่งที่มีความยาวนาน ส่วนในที่นี้หมายถึง การคงเหลืออยู่ ตราบเท่าที่ท้องฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินยังยืนยงอยู่ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านกล่าวว่า ตามหลักภาษาอาหรับแล้ว คำๆ นี้เป็นการเปรียบเปรยให้เห็นถึง การดำรงอยู่ตลอดกาล หรือมีอยู่ตลอดไป

 

แต่บางท่านกล่าวว่า คำๆ นี้ ในโองการข้างต้นไม่ได้หมายถึง การดำรงอยู่ตลอดกาล เนื่องจากท้องฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินมิใช่สิ่งที่ดำรงอยู่ตลอดไป เพราะวันหนึ่งเมือพลังงานแสงอาทิตย์หมดลง แผ่นดินก็จะพบกับการสูญสลาย ประเด็นดังกล่าวนี้ กล่าวอธิยายไว้ในบทอิบรอฮีม โองการที่ 48 และบทอันบิยาอ์ โองการที่ 104 เช่นกัน

 

3. นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน กล่าวถึงประโยคที่กล่าวในเชิงยกเว้นที่กล่าวว่า “เว้นแต่ที่พระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงประสงค์” ว่ามีความเป็นไปได้หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ

 

3.1 ประโยคนี้ สาธยายถึงพลังอำนาจของพระเจ้า ซึ่งได้กล่าวว่า การลงโทษบรรดาผู้กระทำความผิดทั้งหลาย ในไฟนรกนั้นจะเป็นไปตลอดกาล หมายถึงไม่ได้เป็นการบีบบังคับหรือกำหนดอำนาจของอัลลอฮ์ให้มีความจำกัดแต่อย่างใด ทว่าอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ ครอบคลุมอยู่เหนือทุกสรรพสิ่ง

 

3.2 บางท่านกล่าวว่า ประโยคนี้เกี่ยวข้องกับมวลผู้ศรัทธาทั้งหลายที่ได้กระทำความผิดพลาด และตกอยู่ในกลุ่มของผู้มีความทุกข์ พวกเขาจะถูกลงโทษในไฟนรกเช่นกัน แต่ไม่ได้ถูกลงโทษตลอดกาล หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่งเขาจะได้รับความอนุเคราะห์ตามประสงค์ของอัลลอฮ์

 

4. บางทีอาจเป็นไปได้ว่า อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าการลงโทษตลอดกาลเนื่องจากความผิดจำกัด ภายใต้อายุขัยที่สั้นเพียงเล็กน้อยของมนุษย์ มีความเหมาะสมอย่างไรบ้าง?

 

คำตอบ สามารถกล่าวได้ว่าประการแรก ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพบุคคลที่จะได้รับโทษทัณฑ์ตลอดไปคือ บุคคลที่กระทำความผิดโดยก่อการเสียหายบนหน้าแผ่นดิน ปฏิเสธศรัทธา และเคารพรูปปั้นบูชาตลอดอายุขัยของเขา ซึ่งพวกเขาได้ปิดประตูความช่วยเหลือให้รอดพ้นจากสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวเอง ซึ่งการลงโทษในวันแห่งการฟื้นคืนชีพนั้นเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติตัวของมนุษย์เอง อันเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาได้รับการต้องโทษจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)

 

ประการที่สอง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำความผิดกับการการลงโทษเป็นความสัมพันธ์ในเชิงของ วิธีการและปริมาณ มิใช่ความสัมพันธ์ในเชิงของคุณภาพหรือกาลเวลา หมายถึง จำนวนเวลาของการลงโทษนั้น มีความเหมาะสมกับความผิดที่ได้กระทำ  ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าตามกฎสากลของโลก คดีฆ่าคนตาย บางครั้งสามารถลงโทษด้วยการประหารชีวิตในชั่วพริบตา แต่บางครั้งก็ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตก็มี

 

5. การที่กล่าวว่า ชะกู เป็นกริยาในรูปของ กริยาประจักษ์ หมายถึงว่า มนุษย์จะมีความทุกข์หรืออับโชคลาภ ก็เกิดจากน้ำมือของตนเอง

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. บั้นปลายสุดท้ายของผู้กระทำความผิดคือ การพำนักอยู่ในไฟนรกตลอดไป ยกเว้นผู้กระทำความผิดที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือเขา

 

2. พึงระวังอย่าทำตนให้เป็นผู้ตกอยู่ในความทุกข์ เพราะผู้ทุกข์ยากจะต้องพำนักอยู่ในไฟนรกและส่งเสียงโอดครวญตลอดไป

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม