ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 108

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 108

 


อัลกุรอาน โองการนี้ชี้ให้เห็นถึงชาวสวรรค์ที่อยู่ในความสุขนิรันดร์ โองการกล่าวว่า

 

وَأَمَّا الَّذِينَ سُعِدُوا فَفِي الْجَنَّةِ خَالِدِينَ فِيهَا مَا دَامَتِ السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ إِلَّا ما شَاءَ رَبُّكَ عَطَاءً غَيْرَ مَجْذُوذٍ

 

คำแปล  :

 

108. สำหรับบรรดาผู้เป็นสุขพวกเขาจะอยู่ในสวนสวรรค์ เป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นนิรันดร ตราบเท่าที่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินยืนยง เว้นแต่ที่พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์ การประทานให้โดยปราศจากการตัดทอน

 

คำอธิบาย :

 

1. ส่วนประโยคยกเว้นที่กล่าวว่า “เว้นแต่ที่พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์” มีความเป็นไปได้หลายกรณีด้วยกัน กล่าวคือ

 

1.1 แสดงให้เห็นว่าอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระผู้อภิบาล

 

1.2 อาจเกี่ยวกับบรรดาผู้ศรัทธาที่กระทำความผิดพลาด ซึ่งพวกเขาจะได้รับความสุขก็ต่อเมื่อผ่านการลงโทษในไฟนรกเสียก่อน จนกระทั่งสะอาด หลังจากนั้นเขาจะได้รับรางวัลและเขาร่วมกับชาวสวรรค์ทั้งหลาย

 

2. การที่กล่าวว่า ซุอิดู ในรูปกริยาที่ไม่ชัดเจนนั้นหมายถึง บุคคลที่ได้รับความผาสุก การกล่าวเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า ความเจริญผาสุกขึ้นอยู่กับความพยายามของมนุษย์ และปัจจัยอย่างอื่นเช่นความสำเร็จจากพระเจ้า แม้ว่าความสำเร็จที่จะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับมนุษย์ก็ตาม

 

3. ฮะดีษจากท่านอิมามบากิร (อ.) และอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จุดประสงค์จากสวรรค์และนรกในโองการข้างต้นหมายถึง วิลายะฮ์ของอาลิมุฮัมมัด และวิลายะฮ์ของศัตรูบรรดาศัตรูของท่าน

 

แน่นอน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าฮะดีษเหล่านี้ได้อธิบายถึง ภายในของโองการ กล่าวคือบุคคลใดก็ตามที่ติดตามวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ประหนึ่งว่าเขาได้เป็นชาวสวรรค์ เนื่องจากในวันแห่งการฟื้นคืนชีพนั้นชาวสวรรค์

 

4. ฮะดีษจากท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บุคคลที่มีความเจริญรุ่งเรืองคือ บุคคลที่ได้นำเอาผลเรียนจากชะตาชีวิตของคนอื่นมาเป็นอุทาหรณ์สำหรับตนเอง ส่วนบุคคลที่ตกต่ำอับโชคคือ บุคคลที่ได้หลงกลอำนาจใฝ่ต่ำและอำนาจของมาร (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทเทศนาที่ 86)

 

5. ฮะดีษจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า มีอยู่ 4 ปัจจัยด้วยกันที่จะทำให้มนุษย์พบกับความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุก และมี 4 ปัจจัยที่จะทำให้มนุษย์พบกับความตกต่ำ

 

أَرْبَعٌ مِنَ أَسْبابِ السَّعادَةِ وَ أَرْبَعٌ مِنَ الشَّقاوَةِ، فَالأَرْبَعُ الَّتِي مِنَ السَّعادَةِ: الْمَرْأَةُ الصّالِحَةُ، وَ الْمَسْكَنُ الْواسِعُ، وَ الْجارُ الصّالِحُ، وَ الْمَرْكَبُ الْبَهِيُّ، وَ الأَرْبَعُ الَّتِي مِنَ الشَّقاوَةِ: الْجارُ السَّوْءُ، وَ الْمَرْأَةُ السَّوْءُ، وَ الْمَسْكَنُ الضِّيْقُ، وَ الْمَرْكَبُ السَّوْءُ

 

แต่สำหรับ 4 ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์พบกับความเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ภรรยาดี บ้านหลังใหญ่ เพื่อบ้านที่ดี และยานพาหะนะดี

 

ส่วน 4 ปัจจัยที่นำมนุษย์ไปสู่ความตกต่ำ ได้แก่ เพื่อนบ้านไม่ดี ภรรยาเลว บ้านหลังเล็ก และยานพาหะนะที่ไม่ดี

 

แน่นอน ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทกับชีวิตมนุษย์ทั้งในแง่ของวัตถุปัจจัยและศีลธรรม และยังสามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ชัยชนะและความพ่ายแพ้

 

จากฮะดีษเหล่านี้เข้าใจได้ว่า ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์และความตกต่ำอยู่ในเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ และขึ้นอยู่การกระทำ มิใช่การงานที่อุปโลกน์ หรือโอกาส และการลิขิต

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. บั้นสุดท้ายของผู้มีความเจริญรุ่งเรืองคือ สวรรค์ที่มีความนิรันดร์

 

2. จงพยายามเป็นผู้ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเถิด เนื่องผู้มีความเจริญคือชาวสรรค์นิรันดร์ และเป็นความโปรดปรานที่ไม่ถูกตัดทอน