เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 109-110

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 109-110

 


อัลกุรอาน โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเพื่อปลอบขวัญท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) โองการกล่าวว่า

 

فَلَا تَكُ فِي مِرْيَةٍ مِمَّا يَعْبُدُ هَؤُلَاءِ مَا يَعْبُدُونَ إِلَّا كَمَا يَعْبُدُ آباؤُهُم مِن قَبْلُ وَإِنَّا لَمُوَفُّوهُمْ نَصِيبَهُمْ غَيْرَ مَنقُوصٍ‏

คำแปล :

 

109. ดังนั้น จงอย่าได้สงสัยเกี่ยวกับ (ความเท็จ) ของสิ่งที่พวกเขาสักการบูชา พวกเขาไม่ได้สักการะสิ่งใด เว้นแต่เช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของพวกเขาได้สักการะมาก่อน และแท้จริงเราจะตอบแทนส่วนแบ่งของพวกเขาอย่างครบถ้วน โดยมิให้บกพร่อง

 

คำอธิบาย :

 

1. อัลกุรอาน โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเพื่อปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าไม่ต้องหวั่นเกรงบรรดาผู้เคารพรูปปั้นบูชา และเทวรูปของพวกขา และไม่ต้องลังเลใจในการทำลายสิงที่พวกเขาสักการบูชา จงไว้วางใจในการช่วยเหลือของพระเจ้าเถิด

 

2. อัลกุรอาน โอกงการนี้ได้สร้างความเป็นจริงให้ปรากฏชัดเจนขึ้นมา ต้องการบอกว่าเรื่องราวในอดีตและการลงโทษว่ามิได้เป็นตำนาน ทว่าเป็นแบบอย่างที่นิรันดรที่ใช้ปฏิบัติกับมนุษย์ทั้งหลาย แม้ว่าเป็นไปได้ที่การลงโทษบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชา หรือสายเลือดของผู้อธรรมที่กดขี่ข่มเหงในอนาคตจะเป็นไปในรูปแบบอื่นก็ตาม ดังเช่น อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ประทานอำนาจแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ในการทำลายบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชาและผู้อธรรมทั้งหลาย

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. จงอย่าได้สงสัยเกี่ยวกับบรรดาผู้นำแห่งพระเจ้าว่าเป็นพวกหลงทาง และมีความหวาดกลัวแต่อย่างใด

 

2. รากที่มาของการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า สามารถค้นหาได้จากการเชื่อฟังปฏิบัติตามเยี่ยงคนตาบอด


โองการที่ 110 บทฮูด

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงการเผชิญหน้าของประชาชนกับคัมภีร์เตารอต และการให้โอกาสพวกเขา โองการกล่าวว่า

 

 وَلَقَدْ آتَيْنَا مُوسَى الْكِتَابَ فَاخْتُلِفَ فِيهِ وَلَوْلَا كَلِمَةٌ سَبَقَتْ مِن رَبِّكَ لَقُضِيَ بَيْنَهُمْ وَإِنَّهُمْ لَفِي شَكٍّ مِنْهُ مَرِيبٍ‏

 

คำแปล :

 

110. แน่นอน เราได้ประทานคัมภีร์ (เตารอต) แก่มูซา แล้วได้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นในนั้น และมาตรว่าพจนารถหนึ่งจากพระผู้อภิบาลของเจ้า มิได้ตรัสไว้ก่อน (เกี่ยวกับการทดสอบและการทำให้เหตุผลครบสมบูรณ์) คงจะมีการตัดสินระหว่างพวกเขาแน่นอน   และแท้จริงพวกเขาเป็นผู้สงสัยในสิ่ง (คัมภีร์) นั้น

 

คำอธิบาย :

 

1. คำว่า มุรีบ ตามรากศัพท์เดิมหมายถึง ความสงสัย หลังจากนั้นได้ม่านความสงสัยได้ถูกเปิดออกและก้าวไปสู่ความมั่นใจ ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ว่าในไม่ช้านี้ม่านแห่งความจริงในการเชิญชวนของเจ้า และการลงโทษของพระเจ้าจะถูกเพิกถอนออกไป แล้วแก่นแท้แห่งพจนารถจะปรากฏสำหรับพวกเขา

 

2. โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาเพื่อปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าถ้าหากประชาชนชาวมักกะฮฺมีความสงสัยเกี่ยวกับอัลกุรอาน และมีความขัดแย้งกันอีกทั้งมีข้ออ้างต่างๆ นานา เจ้าไม่ต้องเสียใจหรือวิตกกังวลอันใดทั้งสิ้น เนื่องจากพวกเขาเคยปฏิบัติเช่นนี้กับคัมภีร์เตารอตมาแล้ว

 

3. การปล่อยการลงโทษบรรดาผู้เป็นปรปักษ์กับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ให้ล่าออกไป เนื่องจากความเหมาะสมในแง่ของการอบรมสั่งสอน และการชี้นำ เพราะแบบอย่างของพระเจ้าคือ ตราบที่พระองค์ยังมิได้ทดสอบมนุษย์ และข้อพิสูจน์ของพระองค์ยังมิได้ครบสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้วละก็ พระองค์จะยังไม่ลงโทษพวกเขาแน่นอน

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. จงอย่างเสียใจและเป็นกังวลกับความขัดแย้งของประชาชน เพราะสิ่งเหล่านี้มิใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด มันเคยเกิดขึ้นแล้วมากมายในอดีต

 

2. ตามแบบฉบับของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) พระองค์จักทรงให้โอกาสแก่ปวงผู้เป็นปรปักษ์เสมอ

 

3. บรรดาผู้ร่างกฎระเบียบทั้งหลายจงใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ที่ตนร่างขึ้นมา

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม