เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นักปราชญ์สายฮะดีษของชีอะฮฺ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5
นักปราชญ์สายฮะดีษของชีอะฮฺ

ท่านษิกเกาะ-ตุ้ลอิสลาม มุฮัมมัด บิน ยะฮฺกูบ อัลกุลัยนีย์ ท่านถือกำเนิด ณ เมืองไรย์ หมู่บ้าน กุลัยน์ ในปี ฮ.ศ ที่ 260 และ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 329

ท่านเป็นนักปราชญ์คนแรกของชีอะฮฺ ที่ได้รวบรวมริวายะฮฺ รายงานต่างๆ ของบรรดาอิมาม ผู้นำที่บริสุทธิ์ เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามโดยคัดลอกแยกออกมาจากหนังสือ อัล-อัศลุ เป็นตำราที่เก็บรวบรวมคำรายงาน วจนะของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์หรือที่เรียกกันว่า อัลอุศูล อัลอัรบะอะฮ์ และจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่เรียงตามลำดับตามความสำคัญ ทั้งริวายะฮฺที่เกี่ยวกับฟิกฮฺ (หลักการปฏิบัติ) และหลักศรัทธ

ตำราของท่านชื่อว่า อุศูล อัล-กาฟีย์ แบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ ดังนี้

หมวดที่ 1 อุศูล หมายถึง คำรายงานที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา, หมวดที่ 2 ฟุรุอฺ หมายถึง คำรายงานที่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติ, หมวดที่ 3 เราเฎาะฮฺ หมายถึง คำรายงานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป

มีหะดีษทั้งสิ้น 16,199 หะดีษ เป็นตำราที่ได้รับการยกย่องเชื่อถือ และมีชื่อเสียงที่สุดในหมู่ชีอะฮฺ

บรรดานักรายงานหะดีษทั้งหลาย ที่ได้จดจำ หะดีษมาจากอหฺลุลบัยตฺ และจดบันทึกไว้ในหนังสือที่มีนามว่า อัล-อัศลุ ซึ่งชัยคฺกุลัยนีได้รวบรวม และคัดลอกหะดีษเหล่านั้นมาอีกที่หนึ่ง และนำมารวบรวมให้เป็นเล่มเดียวกัน

และนอกเหนือจาก อุศูลอัล-กาฟีย์ แล้วยังมีตำราที่จัดอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัล-กาฟีย์อีกหลายเล่มด้วยกันเช่น มันลายะหฺเฎาะรอฮุ้ลฟะกีฮฺ เขียนโดยท่าน มุฮัมมัด บิน บาบวัยฮ์ อัล-กุมมี ซึ่งรู้จักกันในนามของ ชัยคฺศุดูก เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ 381

อัต-ตะฮฺซีบ และ อิสติบศอรฺ เขียนโดยท่าน ชัยคฺมุฮัมมัด บิน ฮะซัน อัฏ-ฏูซีย์ รู้จักกันในนามของ ชัยคฺฏูซีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ 460

ท่านอบุลกอซิม ญะอฺฟัรฺ บินฮะซัน บินยะหฺยา หิ้ลลีย์

ท่าน รู้จักกันในนามของ มุหักกิ๊ก เอาวัล เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ 676 ท่านมีความสามารถและเชี่ยวชาญด้านฟิกฮฺเป็นพิเศษ ซึ่งจัดว่าเป็นอัจฉริยภาพคนหนึ่งในหมู่ของนักปราชญ์ชีอะฮฺ ผลงานที่ดีเด่นที่สุดด้านฟิกฮฺของท่านคือ มุคตะเศาะรุ้ลมะนาฟิอ์ และ ชะรอยิอุ้ลอิสลาม ฟีมะซาอิริ้ล หะล้าล วั้ลหะราม เป็นตำราที่ใช้ศึกษาอยู่ในหมู่อุละมาอฺชีอะฮฺมานานเกือบ 700 ปี

หลังจากท่านแล้วได้มีผู้รู้ด้านฟิกฮฺ เกิดขึ้นอีกมาก เช่น ท่านชะฮีด เอาวั้ล ชัมซุดดีน มุฮัมมัด บินมักกีย์ ท่านได้ถูกสังหารด้วยข้อหาว่าเป็นนักปราชญ์ชีอะฮฺ เมื่อ ฮ.ศ. 786 ที่ดามัสกัส ประเทศซีเรีย ผลงานด้านฟิกฮฺที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านคือ ลุมอะฮฺ ดะมิชกียะฮฺ ท่านได้เขียนตำราเล่มดังกล่าวภายในเรือนจำ หลังจากที่ถูกจับ และแล้วเสร็จภายใน 7 วัน

ท่านต่อมา ชัยคฺญะอฺฟัรฺ กาชิฟุ้ลฆิฏออฺ อัล-นะญัฟฟีย์ เสียชีวิตเมื่อ 1227 ผลงานด้านฟิกฮฺที่มีชื่อเสียงของท่านคือ กัชฟุ้ลฆิฏออฺ

ท่านชัยคฺมุรฺตะฎอ อันศอรีย์ ชูชตะรีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ 1281
ท่านคือผู้สถาปนาและปรับปรุงวิชา อุศูลุลฟิกฮฺ อีกทั้งได้นำเสนอภาคปฏิบัติด้านวิชาอุศูล ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญที่สุดของการศึกษาค้นคว้า เพราะเท่ากับว่าเป็นการเพิ่มพูนความชำนาญให้กับผู้ที่ทำการศึกษา เพื่อจะได้มีความแตกฉานในสาขาวิชานั้น ตำราของท่านเป็นที่ยอมรับในหมู่ของนักปราชญ์ทั้งหลาย และใช้ศึกษาติดต่อกันมานานเกินกว่า 100 ปี

ท่านคอญิอฺ นัศรุดดีน ฏูซีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ 676

ท่านเป็นนักปราชญ์คนแรกของชีอะฮฺ ที่ได้ทำการเรียบเรียง และปรับปรุงวิชาการด้านศาสนศาสตร์ แนวใหม่ที่สมบูรณ์ที่สุด ผลงานที่ดีที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่าน คือ ตัจรีดุ้ลกะลาม ซึ่งมีอายุเกินกว่า 700 ปี ความหน้าเชื่อถือของตำราถูกเก็บรักษาไว้ในหมู่ของนักปราชญ์มาตลอด ได้มีนักวิชาการทั้งสุนี และชีอะฮฺเขียนหนังสือใหม่ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อทำการอธิบาย ตัจรีดุ้ลกะลาม ท่านคอญิอฺ ฏูซีย์ นอกจากเป็นนักปราชญ์ที่มีความอัจฉริยะด้านศาสนศาสตร์แล้วท่านยังเป็นอัจฉริยภาพบุคคลด้าน ปรัชญา และคณิตศาสตร์ ในสมัยของท่านอีกต่างหาก

ผลงานที่มีชื่อเสียงของนักปราชญ์รุ่นหลังในเชิงของ ตรรก และปรัชญา ส่วนมากแล้วได้รับอิทธิพลมาจากตำราของชัยคฺฏูซีญ์เกือบทั้งสิ้น

ท่านศ็อดรุดดีน มุฮัมมัด ชีรอซีย์ เกิดเมื่อ 979 เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.ที่ 1050

ท่านเป็นนักปรัชญาคนแรกที่ได้ทำการรวบรวม ตำราด้านปรัชญาภายหลังจากที่ได้กระจัดกระจายอยู่ในในสังคมมานานหลายศตวรรษ

ประการแรก สิ่งที่ท่านทำคือ ได้ทำให้ปรัชญาเป็นเรื่องง่ายต่อการศึกษา ปัญหาต่างๆ ในปรัชญาที่ไม่เคยถูกแก้ไข หรือไม่มีคำตอบให้กับมัน ท่านได้แก้ไขจนหมดสิ้น

ประการที่สอง ความสับสนเกี่ยวกับความชัดเจนภายนอกของศาสนา คำอธิบายที่ลุ่มลึกด้านปรัชญาของอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่คุมเครือ และไม่เป็นที่เข้าใจ หรือกล่าวได้ว่าเป็นความสงสัยของสังคมตลอดมา ท่านได้ทำการตอบและให้ความกระจ่างต่อข้อสงสัยเหล่านั้น โดยการสอนสั่งบรรดาสานุศิษย์เกี่ยวกับ ความชัดเจนภายนอกของศาสนา อิรฺฟาน และปรัชญา ซึ่งความพยายามของท่านได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และก่อนหน้า ท่านศ็อด รุ้ลมุตะอัลลิฮีน ได้มีนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เช่น ท่านชัยคฺสะฮฺร์ วัรฺดีย์ เป็นนักปรัชญาในศตวรรษที่ 6 ผลงานประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ หิกมะตุ้ลอิชรอกีย์ และท่าน ชัมซุดดีน มุฮัมมัด เป็นนักปรัชญาในทศวรรษที่ 6 เช่นกัน ท่านได้ต่อสู้อย่างหนัก และบังเกิดผลอย่างมากมายต่อสังคม ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน แต่ความสำเร็จสมบูรณ์เป็นของท่าน ศ็อด รุ้ลมุตะอัลลิฮีน

ท่านศ็อดรุ้ลมุตะอัลลิฮีนได้เจริญรอยตามบรรดานักปราชญ์ก่อนหน้านั้น และประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยเฉพาะทัศนะเกี่ยวกับ หะระกัตญูหะรีย์

(หะระกัตญูหะรีย์ เป็นทัศนะที่ทีชื่อเสียงของท่าน ศ็อด รุ้ลมุตะอัลลิฮีน ตอนหนึ่งที่บันทึกอยู่ในตำราปรัชญาของท่านชื่อว่า หิกมะตุ้ลมุตะอาลียะฮฺ หมายถึงการวิวัฒนาการไปสู่ความสมบูรณ์ของสรรพสิ่ง เช่นการเคลื่อนไหวของวัตถุที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่ว่าสายตาของเรามองไม่เห็น แต่ไม่ใช่เป็นทัศนะเดียวกันกับทัศนะของดาวิล ที่ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นมาจากลิง)


โดย อิบนุมุฮัมมัด


กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม