เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสลาม ตอนที่ 8

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสลาม  ตอนที่ 8

 

สำนักคิดชีอะฮ์กับปรัชญาเทววิทยา

  

บรรดาผู้รู้หรือนักวิชาการสำนักชีอะฮ์ได้นำเสนอพื้นฐานห้าประการให้เป็นแกนหลักศรัทธาของสำนักชีอะฮ์ นั่นก็คือ หลักเอกภาพพระเจ้า(เตาฮีต) หลักความยุติธรรมพระเจ้า(อัดล์) ความเป็นศาสดา(นะบูวัต) ตำแหน่งผู้นำผู้ปกครอง(อิมามัต)และวันฟื้นคืนชีพ(มะอาด)

โดยปกติมักจะกล่าวกันว่า ห้าประการนี้เป็นพื้นฐานหลักความเชื่อที่เป็นรากฐานและส่วนที่เหลือเป็นข้อปลีกย่อยของหลักความเชื่อ แน่นอนที่สุดคำถามนี้ก็จะเกิดตามมาคือ ถ้าหากเป้าหมายจากพื้นฐานศาสนาหมายถึงเป็นพื้นฐานหลักของการศรัทธาและการเชื่อมั่นต่อมันเป็นเงื่อนไขของการเป็นมุสลิม ดังนั้นมีแค่สองพื้นฐานเท่านั้นคือ หลักเอกภาพพระเจ้า(เตาฮีต)และความเป็นศาสดา(นะบูวัต)เพราะเนื้อหาและสารัตถะของการปฏิญาณตนคือสองสิ่งนี้เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นการปฏิญาณตนประการที่สองเกี่ยวข้องกับศาสดาองค์สุดท้าย(เฉพาะ) นั่นก็คือเฉพาะความเป็นศาสดามุฮัมมัดซึ่งท่านศาสดาท่านสุดท้าย ส่วนศาสดาทั่วๆไปหรือศาสดาท่านอื่นๆอยู่นอกเหนือเนื้อหาของการให้คำปฏิญาณตน ในขณะที่สิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานทางศาสนาและการเชื่อมั่นศรัทธามั่นต่อมันเป็นเรื่องจำเป็น คือ ความเป็นศาสดาของศาสดาทั้งหมด

ความจริงที่สำนักคิดชีอะฮ์ได้นำหลักกรอบความเชื่อตั้งอยู่บนห้าประการนั้นหรือเหตุผลที่ได้ยึดหลักการพื้นฐานห้าประการข้างต้นได้ถูกเลือกให้อยู่ในลักษณะนี้คือ แง่มุมหนึ่งต้องเป็นตัวกำหนดของหลักการพื้นฐานโดยจะต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องยึดถือศรัทธาตามทัศนะของอิสลามและอีกแง่มุมหนึ่งต้องเป็นสิ่งมาอธิบายและแสดงถึงเอกลักษณ์และความเป็นอัตลักษณ์ของสำนักคิดนั้นๆ พื้นฐานความความเชื่อต่อเรื่องหลักเอกภาพพระเจ้า ความเป็นศาสดาและวันฟื้นคืนชีพ สามประการนี้ตามทัศนะของอิสลามคือสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมีศรัทธามั่นต่อมัน กล่าวคือการศรัทธาต่อหลักการพื้นฐานเหล่านี้คือเป้าหมายของอิสลาม ส่วนพื้นฐานความยุติธรรมเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ทางความเชื่อพื้นฐานทางนิกายของสำนักชีอะฮ์และสิ่งที่แนะนำให้รู้จักสำนักชีอะฮ์

ความเชื่อพื้นฐานความยุติธรรมแห่งพระเจ้า แม้ว่ามิได้เป็นเป้าหมายอันดับแรกเกี่ยวกับความศรัทธาของอิสลาม กล่าวคือมันไม่มีความแตกต่างอันใดเลยกับคุณลักษณะอื่นๆ เช่น การรอบรู้ ทรงพระชนมายุ ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ของพระผู้เป็นเจ้า แต่เป็นพื้นฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนทัศน์และวิธีคิดเชิงเทววิทยาของสำนักชีอะฮ์

ส่วนพื้นฐานความเชื่อต่อเรื่องผู้นำ หรือตำแหน่งผู้ปกครอง ตามทัศนะของสำนักชีอะฮ์มีความสัมพันธ์ต่อทั้งสองแง่มุม คือเป็นทั้งพื้นฐานที่จัดอยู่ภายในขอบข่ายของความศรัทธาและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางนิกายของสำนักชีอะฮ์ด้วย

ที่กล่าวกันว่า การศรัทธาต่อบรรดาทูตสวรรค์และทวยเทพอันมีหลักฐานอ้างอิงจากตัวบทของอัลกุรอานเป็นเรื่องจำเป็นนั้น แล้วทำไมจึงไม่ได้ถูกนำเอามาเป็นหลักศรัทธาพื้นฐานประการที่หกด้วยเล่า? คำตอบก็คือ หลักศรัทธาพื้นฐานที่กล่าวมาข้างบนเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของอิสลาม กล่าวคือ ศาสดาผู้ทรงเกียรติเชิญชวนประชาชาติให้ศรัทธาต่อสิ่งเหล่านั้น นั่นก็คือ สาส์นของศาสดาเป็นบริบททางความคิดสำหรับการกำหนดหลักความเชื่อเหล่านั้น ทว่า ความศรัทธาต่อทูตสวรรค์และทวยเทพ และเช่นเดียวกัน ความศรัทธาและความเชื่อต่อหลักการที่จำเป็นของศาสนาประการปลีกย่อยอื่นๆ อย่างเช่น การนมาซ การถือศิลอด มิได้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายหลักการศรัทธาที่เป็นพื้นฐาน หากแต่ว่าเป็นสิ่งจำเป็นทางด้านปฎิบัติของคำสั่ง

ส่วนประเด็นตำแหน่งผู้นำ หากจะพิจารณาในแง่มุมต่างๆทางสังคมและการเมือง หรือการปกครองจะเหมือนกับพื้นฐานความเชื่อเรื่องความยุติธรรมแห่งพระเจ้า กล่าวคือ มิได้จัดอยู่ในกรอบของความศรัทธา แต่หากเราพิจารณาในแง่มุมทางด้านการปกครองและการเมืองอิสลามและด้านความสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ถ้ามองความหมายเดิมของคำว่า”อิมาม” หมายถึง- ผู้นำ-แต่ตามศัพท์ทางวิชาฮะดีษ-คือ “ข้อพิสูจน์ของพระผู้เป็นเจ้า” และ “ตัวแทนของพระองค์” และยังมีความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างมุสลิมกับผู้นำของตน อีกทั้งการใช้ชีวิตโดยรวมของมนุษย์มีความจำเป็นต่อมนุษย์ผู้สมบูรณ์ และการเป็นผู้นำเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกยุคทุกสมัย, จึงนำเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านหลักศรัทธา

บรรดามุตะกัลลิมชีอะฮ์ได้แบ่งประเภทซีฟาตพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ออกได้ดังนี้

    ซีฟาตซุบูตียะฮ์ ซึ่งแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด

1.1 ซาตีย์

                    1.2 เฟี๊ยะลียฺ

    ซีฟาตซัลบียะฮฺ

อธิบายข้อความข้างต้น

1.ซีฟาตซุบูตียฺ หมายถึงบรรดาซีฟาตสำหรับพระองค์ต้องมี ซึ่งจะขาดหายไปจากซาตพระองค์ไม่ได้ เช่นความรู้ ความเดชานุภาพ ซึ่งเป็นซีฟาตที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.

    ซีฟาตซุบูตียิเฟี๊ยะลียฺ หมายถึงบรรดาซีฟาตที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของพระองค์ แต่ไม่ได้มาคู่กับซาต ซึ่งได้เกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำของพระองค์ พระองค์เป็นผู้สร้าง ผู้ให้ริซกียฺ ฯลฯ ซีฟาตเหล่านี้ได้เกิดขึ้นเมื่อการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้น แต่ก่อนที่มีสร้างหรือก่อนการให้ริซกียฺ ซีฟาตนี้สำหรับพระองค์ยังไม่เกิด
    ซีฟาตซัลบียฺ หมายถึงบรรดาคุณลักษณะที่พระองค์ไม่ทรงมี และห้ามที่จะมีด้วย เพราะว่าเป็นคุณลักษณะที่ได้บ่งบอกถึงความบกพร่องและความไม่สมบูรณ์ของซาตพระองค์ เช่น การมีเรือนร่าง การมองเห็น การมีสถานที่ การเจ็บป่วย ฯลฯ

ซีฟาตซาตียพระองค์อัลลอฮฺซ.บ. ได้แก่

    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ. ทรงเดชานุภาพ

ความหมายของความเดชานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ. คือ พระองค์มีความสามารถไร้ขีดจำกัด การงานใดที่พระองค์ต้องการ พระองค์กระทำ และการงานใดที่พระองค์ไม่ต้องการ พระองค์ก็ไม่กระทำ

นะซีรุดดีน ตูซียฺ (มุตะกัลลิมชีอะฮฺ) กล่าวว่า

“พระองค์อัลลอฮฺทรงมีความสามารถและเดชานุภาพ และด้วยความปรารถนาของพระองค์ ทุกสิ่งที่ต้องการกระทำ พระองค์มีความสามารถ”

ท่านอัลลามะฮฺฮิลลี้ยฺกล่าวว่า… “ความเดชานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺไม่มีขีดจำกัด ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง (ในสิ่งที่ที่จะเกิดขึ้นได้และสิ่งที่เป็นไปได้) เพราะว่าทุกสิ่งที่เป็นสิ่งใหม่ต้องพึ่งไปยังความสามารถของพระองค์ในการเกิดขึ้น”

นี่คือการนิยามของคำว่า “ความเดชานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ” ดังนั้นสามารถสรุปได้ดังนี้

ความเดชานุภาพพระองค์อัลลอฮฺซ.บ. คือ พระองค์ทรงมีความสามารถทุกอย่างในสิ่งที่เป็นไปได้และสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้  โดยที่มีอิสระในการกระทำคือจะทำหรือไม่ทำ ขึ้นอยู่กับความต้องการของพระองค์ และมีเงื่อนไข 3  ประการคือ

    ต้องมีอิสระในการกระทำคือ จะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้
    การกระทำที่อิสระนั้นต้องขึ้นอยู่กับความพระประสงค์ของพระองค์ด้วย
    การกระทำที่อิสระนั้นถือว่าจะต้องคู่กับความสามารถของพระองค์ทุกครั้งเมื่อพระองค์ปรารถนาในสิ่งหนึ่งสิ่งใด (2)

ซีอะฮฺมียะฮฺกล่าวว่า.. “พระองค์อัลลอฮฺทรงมีความสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง กล่าวคือ ความสามารถของพระองค์ไม่มีขีดจำกัด สิ่งใดก็แล้วแต่ที่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้พระองค์ทรงมีความสามารถเหนือ แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ความสามารถของพระองค์จะไม่ควบคุมไปถึงเช่นการรวมสิ่งที่ขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน เช่นเวลาเดียวกันของสิ่งหนึ่งทั้งร้อนและทั้งเย็น สิ่งเหล่านั้นปัญญาถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือความชั่วทั้งหลายเช่น การกดขี่ การขโมย ฯลฯ ความสามารถของพระองค์ไม่ควบคุมไปถึงอย่างเด็ดขาด ไม่ใช่ว่าพระองค์ไม่มีความสามารถแต่สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้กับซาตของพระองค์”

    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ. ทรงรอบรู้

ความรอบรู้ถือว่าเป็นซีฟาตซาตียฺของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ. และเป็นซีฟาตที่อยู่คู่กับซาตเพราะเป็นคุณลักษณะที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของความเป็นพระเจ้าของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.

ท่านนะซีรุดดีน ตูซียฺ (มุตะกัลลิมชีอะฮฺ) กล่าวว่า..

“หลักฐานและเหตุผลที่บงบอกว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงมีความรอบรู้ ก็คือสิ่งต่างๆ ของพระองค์ทุกอย่างมีความเป็นระบบระเบียบและมีความมั่นคงไม่ว่าชั้นฟ้าหรือผืนแผ่นดิน กลางวันกลางคืนทั้งหมด ได้สัมพันธ์กัน ดังนั้นแสดงว่าผู้สร้างนั้นต้องมีความรอบรู้ยิ่ง”

อัลลามะฮฺลี้ยฺกล่าวว่า..

“พระองค์ทรงมีความรอบรู้ทุกสิ่งที่สามารถรับรู้ได้ (ไม่สิ่งนั้นจะเล็กที่สุดหรือใหญ่ที่สุด)”

นะซีรุดดีนได้ให้ความหมายของ “ความรอบรู้” พระองค์อัลลอฮฺได้ดังนี้

“พระองค์อัลลอฮฺทรงรอบรู้ทุกอย่างเหมือนกับพระองค์ทรงมีความสามารถ (ทุกอย่าง) ความหมายของอัลมุพระองค์อัลลอฮฺคือ พระองค์ซาตพระองค์ทรงรับรู้สิ่งต่างๆ โดยที่เกิดขึ้น ณ พระองค์เอง) อิลมุอุซรียฺ) โดยที่ไม่ต้องมีการเรียนรู้ โดยที่ความรู้นั้นมิสามารถจะเลือนหายไปได้เลย”

นะซีรุดดีน กล่าวอีกว่า…

“พระองค์ทรงมีความรอบรู้ทั้งซาตพระองค์ และสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่หรือสิ่งเล็ก และสามารถรับรู้ทุกอย่าง ที่สามารถรับรู้ได้”

ดั้งนั้นจากคำกล่าวของมุตะกัลลิมชีอะฮฺ ถือว่า ความรอบรู้ของพระองค์อัลลอฮฺเป็นสิ่งเดียวกับซาตไม่ได้แยกจากซาต และพระองค์ทรงรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ดังนี้

    รอบรู้ต่อซาตพระองค์
    รอบรู้ต่อสิ่งต่างๆ ก่อนการสร้าง
    รอบรู้สิ่งต่างๆ หลังจากการสร้าง
    รอบรู้สิ่งที่ใหญ่และสิ่งที่เล็ก
    รอบรู้สิ่งต่างๆ ถึงรายละเอียด ไม่ใช่รู้ทั่วไปอย่างคร่าวๆ
    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ทรงมีชีวิต

การมีชีวิตของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ถือว่าเป็นซีฟาตซาตียฺของพระองค์ และไม่สามารถยากจากซาตพระองค์ได้ ชีวิตของพระองค์แตกต่างกับชีวิตของมนุษย์และชีวิตสัตว์เพราะว่าชีวิตของมนุษย์และสัตว์เริ่มต้นมาจากการไม่มี หลังจากนั้นยังต้องพึ่งเรือนร่างซึ่งเป็นวัตถุ แต่แตกต่างกับชีวิตพระองค์อัลลอฮฺทรงมีโดยมี่พึ่งพาสิ่งใดและมีมาพร้อมกับซาต

และสามารถรับรู้ได้ว่าพระองค์ทรงมีชีวิตคือความรอบรู้และความสามารถของพระองค์ กล่าวคือจาการที่พระองค์ทรงมีความรู้และความสามารถแสดงว่าพระองค์ทรงมีชีวิต ดังที่ท่านนะซีรุดดีน ตูซีย์กล่าวว่า… “พระองค์ทรงมีชีวิตก็เนื่องจากว่าเป็นไปไม่ได้ต่อผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถ แล้วจะไม่มีชีวิต

    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ทรงปรารถนาและทรงต้องการ

ชีอะฮฺอิมามียะฮฺกล่าวว่า “อิรอดะฮฺ (ความปรารถนา) ของพระองค์ถือว่าเนซีฟาตซาตียฺและไม่แยกจากซาตของพระองค์ โดยให้ความหมายว่าการต้องการสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะกระทำหรือต้องการจะไม่กระทำ โดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียของสิ่งนั้น”

นะซีรุดดิน ตูซีย์กล่าวว่า “ ความหมายของการอิรอดะฮฺพระองค์อัลลอฮฺคือ ความต้องการของพระองค์พร้อมกับมีเป้าหมาย เพราะว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้เพราะความปรารถนาของพระองค์”

เจ้าของหนังสืออัลยากูตได้ให้ความหมาย “อิรอดะฮฺ” ว่า “คือพระองค์ทรงต้องการในการกระทำ พร้อมกับรู้ถึงผลประโยชน์ (ของสิ่งที่ถูกต้องการ) ดังนั้นความรอบรู้ (ต่อผลประโยชน์) สิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้น”

เซคมุฟีดก็มีทรรศนะอย่างนี้เช่นกันคือ ริรอดะฮฺของพระองค์ให้ความหมายว่าความรอบรู้ (ถึงประโยชน์) ดังนั้นสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น

อัลลามะฮฺฮีลลี้ยุกล่าวว่า “ความอิรอดะฮฺของพระองค์คือการที่พระองค์ได้ทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น (พร้อมกับมีเป้าหมายในการให้เกิด)”

    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ทรงมาแต่เดิม(กอดีม)

อัลกอดีมถือว่าเป็นซีฟาตซูบูตียุของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ประเด็นในเรื่องนี้บรรดามุตะกัลลิมไม่มีความขัดแย้งใดๆ กล่าวคือทุกสำนักคิดและมุตะกัลลิมทุกคนต่างก็ยอมรับว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงกอดีม มีมาแต่ตั้งเดิมไม่จุดเริ่มต้น

บรรดามุตะกัลลิมได้ให้ความหมายซีฟาตกอดีมว่า “คือพระองค์ทรงมีมาแต่เดิมโดยที่ไม่มีสิ่งใดมาหน้าพระองค์และพระองค์ทรงอมตะอีกด้วยคือการสูญสิ้นหรือการดับสูญจะไม่เกิดขึ้นกับพระองค์ อยู่สม่ำเสมอและคงอยู่ต่อไป และถือว่าความเป็นอมตะและการมีมาแต่เดิมของพระองค์เป็นซีฟาตคู่กับซาตไม่ใช่อมตะเวลาแต่อมตะด้วยซาตพระองค์ซ.บ.

อัลลามะฮฺฮีลลี้ยฺกล่าวว่า “ความกะดีม(ดั้งเดิมและอมตะ) ถือว่าเป็นซีฟาตซูบูดีย์ของพระองค์ และความหมายคือพระองค์ทรงมีมาแต่เดิมและคงอยู่ต่อไปอมตะ เพราะว่าพระองค์เป็นสาเหตุของทุกๆ สิ่ง ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสิ่งใดมาก่อนพระองค์ หรือหลังจากนั้นจะสูญสลาย และความอมตะของพระองค์คู่กับซาตไม่แยกจากซาต เหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงความอมตะของพระองค์ถือซาตของพระงอค์นั้นไม่มีวันจะสูญสลาย จึงถือว่าพระองค์ทรงอมตะและคงอยู่อย่างนิรันด์”

    พระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ทรงได้ยินและทรงเห็น

สำนักคิดชีอะฮฺเชื่อว่า “การได้ยินและการมองเห็นของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ไม่ใช่ย้อนกับไปหาความรอบรู้ของพระองค์ต่อสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่ได้ยิน และให้ความหมายการรับรู้และเข้าใจต่อสิ่งปลีกย่อยต่างๆ”

ท่านนะซีรุดดิน ตูซีย์กล่าวว่า “ความหมายของการได้ยินและการมองเห็นของพระองค์อัลลอฮฺคือ การรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เฉพราะจากสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่ได้ยิน คือสีเสียงทุกอย่าง ณ พระองค์นั้นรับรู้ และไม่ใช่ให้ความว่าพระองค์ทรงรอบรู้ เพราะว่าอิลมฺของพระองค์ควบคุมไปทุกอย่าง แต่การได้ยินและการเห็นเพียงการรับรู้(อิดรอก)สิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่ได้ยินทั้งหมด”

    พระองค์อัลลอซ.บ.ทรงสนทนา

 

สำนักคิดชีอะฮฺอิมามียะฮฺกล่าวว่า “กะลามของพระองค์อัลลอฮฺที่ถูกเขียนขึ้นมาเรียกว่าอัลกุรอานถือว่าเป็นสิ่งใหม่ แต่ผู้พูดนั้นหมายถึงการให้คำสั่งต่างๆ เกิดขึ้นถือว่าเป็นซีฟาตซาตีย์”

นะซีรุดดีน ตูซีย์กล่าวว่า “ซีฟาตหนึ่งที่ถือว่าเป็นซีฟาตซาตีย์คือการสนทนาของพระองค์ โดยให้ความหมายว่าพระองค์ได้กำหนดให้อักษรและเสียงออกมาเป็นรูปประโยคไม่ใช่พระองค์ทรงพูดเหมือนกับมนุษย์”

ท่านอัลลามะฮฺฮีลลีย์กล่าวว่า “มุตะกัลลิม (ผู้พูด) ของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.คือ การกำหนดให้คำพูดต่างๆ เกิดขึ้นบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ไม่ใช่) พระองค์ได้พูดออกมาเหมือนมนุษย์)(1)

สำนักคิดซีอะฮฺอิมามียะฮฺกล่าวว่า “กะลามของพระองค์อัลลอฮฺที่ถูกเขียนขึ้นมา เรียกว่าอัลกุรอานถือว่าเป็นสิ่งใหม่ แต่ผู้พูดนั้นหมายถึงการให้คำสั่งต่างๆ เกิดขึ้นถือว่าเป็นซีฟาตซาตีย์”

ท่านนะซีรุดดีน ตูซีย์กล่าวว่า “ซีฟาตหนึ่งที่ถือว่าเป็นซีฟาตซาตีย์คือการสนทนาของพระองค์ โดยให้ความหมายว่าพระองค์ได้กำหนดให้อักษรและเสียงออกมาเป็นรูปประโยค ไม่ใช่พระองค์ทรงพูดเหมือนกับมนุษย์”

อัลลามะฮฺฮีลลีย์กล่าวว่า “มุตะกัลลิม (ผู้พูด) ของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.คือ การกำหนดให้คำพูดต่างๆ เกิดขึ้นบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ไม่ใช่) พระองค์ได้พูดออกมาเหมือนมนุษย์)

ซีฟาตซัลบียะฮ์ของพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.

ซีฟาตซัลบียะฮฺหมายถึงบรรดาคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.และถือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นกับพระองค์ เพราะว่าซีฟาตซัลบียะฮฺถ้าเกิดขึ้นกับพระองค์เมื่อไหร่ ถือว่าพระองค์ทรงบกพร่องและไม่สมบูรณ์ ดังนี้

    พระองค์ทรงไม่มีส่วนประกอบ

บรรดามุตะกัลลิมได้กล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงไม่ส่วนประกอบและไม่ถูกประกอบกับสิ่งใด เพราะว่าการประกอบหรือมีส่วนประกอบถือว่าได้พึ่งพา ถ้าพระองค์ได้พึ่งพา เท่ากับพระองค์ไม่มีความสมบูรณ์นั่นเอง”

ท่านนะซีรุดดีน ตูซีย์กล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ไม่มีส่วนประกอบและเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะประกอบเข้ากับสิ่งอื่น เพราะว่าการประกอบหรือมีส่วนประกอบ เป็นเหตุให้ต้องพึ่งพาไป และทุกสิ่งที่ได้พึ่งพาสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นซาตพระองค์ซึ่งมีความสมบูรณ์ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะพึ่งพาไปยังสิ่งอื่น ดังนั้นพระองค์ไม่ทรงมีส่วนประกอบใดๆ”

    พระองค์ทรงไม่มีเรือนร่าง

อีกคุณลักษณะหนึ่งสำหรับพระองค์นั้นไม่มี และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นต่อพระองค์คือ การมีเรือนร่างและการเป็นวัตถุ กล่าวคือ จากการที่ได้พิสูจน์มากแล้วว่าพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบและไม่ถูกประกอบเข้ากับสิ่งใด ดังนั้นสามารถเข้าใจได้ว่าพระองค์อัลลอฮฺซ.บ.ทรงไม่มีเรือนร่างและไม่ใช่เป็นวัตถุอย่างแน่นอน

บรรดามุตะกัลลิมได้นำหลักฐานและเหตุผลในการพิสูจน์ถึงการไม่มีเรือนร่างของพระองค์ คือ ถ้าพระองค์ทรงมีเรือนร่าง ถือว่าพระองค์นั้นมีสถานที่และมีขีดจำกัด ทุกๆ สิ่งที่มีสถานที่และมีขอบเขต ย่อมมีการพึ่งพาต่อสิ่งนั้น เมื่อมีการพึ่งพาย่อมเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นค้านกับซีฟาตซาตีย์ของพระองค์ที่ว่าพระองค์ทรงมาแต่เดิมและพระองค์ไม่ทรงเป็นสิ่งที่เกิดมาใหม่ ด้วยเหตุนี้เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีเรือนร่าง

ท่านนะซีรุดดีน ตูซียฺกล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮฺไม่มีเรือนร่างและไม่ใช่ธาตุวัตถุ เพราะว่าถ้าพระองค์มีเรือนร่างเท่ากับพระองค์นั้นอยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และมีการพึ่งพาต่อสถานที่นั้นเมื่อมีการพึ่งพาเท่ากับพระองค์ทรงเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีเรือนร่าง”

 

    พระองค์อัลลอฮฺทรงไม่ใช่ธาตุวัตถุ

คือพระองค์ไม่ใช่ธาตุวัตถุ บรรดามุตะกัลลิมได้นำเหตุผลมาพิสูจน์ในเรื่องนี้ว่า การเป็นวัตถุ เป็นที่มาของการเป็นสิ่งเกิดใหม่และการเป็นธาตุวัตถุบ่งบอกถึงการมีสถานที่ ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์อัลลอฮฺจะเป็นธาตุ

    พระองค์อัลลอฮฺทรงไม่มีสถานที่

ส่วนมากของมุตะกัลลิมได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าพระองค์อัลลอฮฺไม่มีสถานที่และไม่มีที่อยู่  เพราะว่าการมีสถานที่สำหรับพระองค์อัลลอฮฺถือว่าเป็นไม่ได้ เพราะเท่ากับพระองค์นั้นเป็นวัตถุ เมื่อพระองค์เป็นวัตถุ เท่ากับพระองค์มีเรือนร่าง เมื่อพระองค์มีเรือนร่างเท่ากับพระองค์เป็นสิ่งที่เกิดใหม่

ท่านนะซีรุดดีน ตูซีย์มุตะกัลลิมซีอะฮฺกล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีสถานที่ เพราะการมีสถานที่เป็นที่มาของการมีส่วนประกอบ (คือเวลาและสถานที่)”

    มนุษย์มองไม่เห็นพระเจ้เเห็นด้วยตา

อัลลามะฮฺฮีลลี้ยฺกล่าวว่า “การมองเห็นพระองค์ด้วยสายตา ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะสิ่งที่สิ่งที่ถูกมองเห็นมีของเขตมีด้านมีสถานที่จำกัด และอยู่ต่อหน้า ดังนั้นสิ่งนั้นต้องเป็นวัตถุและมีเรือนร่าง และสิ่งนี้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺเป็นไปไม่ได้ เพราะพระองค์ได้กล่าวต่อนบีมูซา(อ) ว่า “โอ้มูซา เจ้าจะไม่เห็นข้าตลอดกาล” ซึ่งคำว่า “      لن     ” (ลัน) ในภาษาอาหรับบ่งบอกถึงการปฏิเสธตลอดกาล”

    พระองค์ทรงไม่หุ้นส่วนและภาคีกับสิ่งใด

พระองค์ทรงไม่มีการหุ้นส่วนหรือภาคีกับสิ่งใด ความหมายในซีฟาตซัลบีย์ในเรื่องนี้คือ สำหรับพระองค์อัลลอฮฺนั้นไม่การหุ้นส่วนหรือขอความช่วยเหลอใดๆ ในการงานของพระองค์ เหตุผลคือถ้าพระองค์ทรงมีหุ้นส่วนหรือของความช่วยเหลือ เท่ากับพระองค์ไม่มีความเพียงพอและพึ่งพา เมื่อพระองค์พึ่งพา เท่ากับพระองค์นั้นไม่ทรงมีความสมบูรณ์ในซีฟาต ดังนั้นค้านกับความเป็นพระเจ้าของพระองค์นั่นเอง

ท่านอัลลามะฮฺฮีลลี้ยฺกล่าวว่า “ซีฟาตซัลบียฺหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺคือพระองค์ทรงไม่หุ้นส่วนและภาคีกับสิ่งใด เหตุผลในเรื่องนี้คือ

ก.อัลกุรอานและฮาดีษได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการไม่ภาคีหุ้นส่วนกับต่อสิ่งใดของพระองค์

ข. เหตุผลทางปรัชญา ว่าด้วยข้อพิสูจน์การมีพระเจ้าองค์เดียว คือถ้ามีพระเจ้าหลายองค์ แน่นอนทำให้ความเป็นระบบระเบียบต่างๆ ของโลกต้องพินาศ เมื่อระบบต่างไม่มีการพินาศ ดังนั้นแสดงว่าพระเจ้ามีองค์เดียว

ค. การกล่าวว่าพระองค์มีการหุ้นส่วนหรือภาคีต่อสิ่งอื่น เท่ากับพระองค์ได้พึ่งพาต่อสิ่งเหล่านั้น

นักเทววิทยาสำนักชีอะฮ์กล่าวว่า “ในอัลกุรอานมีหลายอายะฮฺที่กล่าวถึงเตาฮีดของพระองค์เช่น

“สำหรับพวกเจ้าไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น”(บทอัลอะรอฟ โองการ59)

“อันแท้จริงอัลลอฮฺคือพระเจ้าองค์เดียว”( บทอันนิซา โองการ171)

เหตุผลที่ 2 ถ้าพระองค์มีการหุ้นส่วนหรือตั้งภาคีกับสิ่งอื่นใด แน่นอนโลกนี้ต้องพินาศ เพราะว่าการมีภาคี เท่ากับมีความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง

เหตุผลที่ 3 ถ้าพระองค์มีการภาคีกับสิ่งอื่นหรือมีการหุ้นส่วน  เท่ากับพระองค์ได้ส่วนประกอบ และทุกสิ่งที่มีส่วนประกอบสิ่งนั้นเป็นสิ่งเกิดใหม่ และสิ่งเกิดใหม่ ย่อมต้องการผู้ให้เกิด ดังนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์

 

บทความโดย  ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม