เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นิยามของความยากลำบากในอิสลาม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

นิยามของความยากลำบากในอิสลาม

 

 เราต้องค้นหาความหมายของความยากลำบากและมรสุมชีวิต หากเราค้นพบว่ามีความหมายข้างต้น เราจะไม่ประเมินว่ามันคือความเสียหาย แต่เรากลับจะหลงรักมัน ความหมายของความยากลำบากคืออะไร?

 

1.มรสุมชีวิต คือ ข้อสอบเพื่อความสมบูรณ์

ความหมายที่สำคัญที่สุดของมรสุมชีวิต คือ ลักษณะพิเศษในการ “ให้ความสุกงอม” ของมัน การอยู่ในสภาพที่มีความสุขและสะดวกสบาย ศักยภาพต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ของมนุษย์จะไม่ถูกทำให้เบ่งบาน
ชะฮีดมุเฏาะฮะรีกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
 “ความน่ารังเกียจทั้งหลายเป็นบทนำของการมีอยู่ของความงดงามต่างๆ และเป็นตัวสร้างสรรค์ และผู้ให้กำเนิดความสวยงามเหล่านั้น ในห้วงแห่งอุปสรรคปัญหาและทุกข์ภัยนั้น มีความโชคดี และความผาสุกซ่อนอยู่”
 
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพและความสามารถมากมายที่ต้องได้รับการบ่มเพาะและเปลี่ยนพลังดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมเพื่อความผาสุกและความโชคดี และสิ่งที่ตระเตรียมพื้นฐานสำคัญดังกล่าวนี้ได้แก่  “ความยากลำบาก” และ “ทุกข์ภัย” ส่วนสถานที่ที่ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้น คือ “โลกนี้”
 
ชะฮีดมุเฎาะฮะรีกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า


 “คุณลักษณะพิเศษนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ที่ความยากลำบากและอุปสรรค ปัญหาเป็นบทนำไปสู่ความสมบูรณ์และความรุดหน้า การกระทบกระทั่งจะทำลายสิ่งไม่มีชีวิตและ ลดทอนพลังของมัน แต่จะผลักดันและทำให้สิ่งมีชีวิตแข็งแรง “ความสมบูรณ์เท่าไหร่แล้วที่ได้มา จากความบกพร่อง” ความทุกข์ยากและความหนักหน่วงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนามนุษย์ หากไม่ มีความลำบากและความเจ็บปวดใดๆ มนุษย์ก็จะถูกทำลาย... มนุษย์ต้องอดทนต่อความ ยากลำบากและฟันฝ่าอุปสรรคปัญหา เพื่อจะได้พบกับสิ่งที่เหมาะสมของตนเอง ความขัดแย้งคือ แส้แห่งวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตจะก้าวเดินไปสู่ความสมบูรณ์ด้วยกับแส้ดังกล่าว”
เราสามารถวิเคราะห์เรื่องนี้จากคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของอัลลอฮ์ได้ “คำสั่งใช้” คือสิ่งที่เหมาะสมและเป็นคุณกับมนุษย์ “คำสั่งห้าม” คือสิ่งที่จะเป็นโทษกับมนุษย์ แต่ทว่าโดยทั่วไปแล้ว คำสั่งต่างๆ มักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่ตรงกับความปรารถนาของมนุษย์ และสิ่งที่ถูกห้ามมักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตรงกับความปรารถนาของมนุษย์ การทำสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (ในคำสั่งใช้) และการละทิ้งสิ่งที่พึงปรารถนา (ในคำสั่งห้าม) นั้นเป็นความยากลำบากยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกภาระหน้าที่ทางศาสนาว่า “ตักลีฟ” (ซึ่งหมายถึงการสั่งให้ทำงานยาก) แต่อย่าลืมว่าแม้ภายนอกจะยากเย็นเพียงใด แต่มันเป็นโปรแกรมสำหรับการวิวัฒนาการไปสู่ความสมบูรณ์และความรุดหน้าของมนุษย์
 
ชะฮีดมุเฎาะฮะรีกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า


 “อัลลอฮ์ทรงกำหนดโปรแกรมในรูปของกลไกทางบทบัญญัติ (ตัชรีอี) และในรูปของกลไกทาง ธรรมชาติ (ตักวีนี) ไว้เพื่อปลูกฝังและอบรมบ่มเพาะจิตวิญญาณของมนุษย์ และได้ทรงมอบความยากลำบากและความหนักหน่วงไว้ในแต่ละโปรแกรม ในโปรแกรมในรูปของกลไกทาง บทบัญญัติ พระองค์ได้ทรงกำหนดให้การประกอบศาสนกิจเป็นข้อบังคับ และในโปรแกรมในรูป ของกลไกทางธรรมชาติ พระองค์ได้ทรงกำหนดให้มีความทุกข์ยากในหนทางของมนุษชาติ ศีลอด  ฮัจญ์ ญิฮาด การบริจาคและการนมาซ เป็นความยากลำบากที่เกิดขึ้นด้วยการกำหนดให้เป็น ภาระหน้าที่ทางศาสนา (ตักลีฟ) และความอดทนและยืนหยัดในการทำภารกิจเหล่านั้น เป็นที่มา ของความสมบูรณ์ของจิตวิญญาณและการบ่มเพาะศักยภาพอันสูงส่งของมนุษย์ ส่วนความหิว  ความกลัว การสูญเสียทรัพย์สินและชีวิต เป็นความยากลำบากที่เกิดขึ้นในกลไกทางธรรมชาติซึ่ง ครอบคลุมมนุษย์ไปด้วยโดยปริยาย”
 
จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเป็นที่ชัดเจนว่ามรสุมชีวิตและความยากลำบากในทุกรูปแบบ นอกจากจะมีความหมายและคุณูปการแล้ว ยังถือเป็นความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ด้วย ดังนั้น อย่าท้อแท้ในสิ่งเหล่านั้น แต่ต้องถือว่าสิ่งเหล่านั้นมีเกียรติ


ประเด็นสำคัญอยู่ที่การรับรู้สาระสำคัญและแก่นแท้ของความยากลำบากและมรสุมชีวิต หากสิ่งนี้เกิดขึ้น ความยากลำบากจะกลายเป็นความหวานชื่น

จากหนังสือ “ศิลปะในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข”

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม