ชีอะฮฺมีคำตอบ

ชีอะฮฺมีคำตอบ0%

ชีอะฮฺมีคำตอบ ผู้เขียน:
กลุ่ม: เสวนาปัญหาศาสนา
หน้าต่างๆ: 9

ชีอะฮฺมีคำตอบ

ผู้เขียน: ซัยยิดริฎอ ฮุซัยนี นะซับ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 9
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 26636
ดาวน์โหลด: 328

รายละเอียด:

ชีอะฮฺมีคำตอบ
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 9 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 26636 / ดาวน์โหลด: 328
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีอะฮฺมีคำตอบ

ชีอะฮฺมีคำตอบ

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
ชีอะฮฺมีคำตอบ ชีอะฮฺมีคำตอบ
ผู้ประพันธ์: ซัยยิด ริฏอ ฮุซัยนี นะซับ



คำถามที่ ๑ : อิตเราะตีถูกต้องหรือซุนนะตี?
บรรดานักรายงานฮะดีษที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ได้รายงานฮะดีษไว้สองรูปแบบ ซึ่งทั้งสองได้ถูกบันทึกอยู่ในตำรับตำราฮะดีษ จำเป็นต้องพิจารณาดูว่าฮะดีษใดถูกต้องที่สุด..

-ฮะดีษที่บันทึกว่า كتاب الله وعترتي اهل بيتي คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและทายาทของฉัน
-หรือฮะดีษที่บันทึกว่า كتاب الله وسنتيคัมภีร์ แห่งอัลลอฮฺและแบบฉบับของฉัน

คำตอบ :
ฮะดีษที่ถูกต้องและมั่นใจได้จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือฮะดีษที่กล่าวว่า และทายาทของฉัน اهل بيتي ส่วนฮะดีษที่ใช้คำว่า และแบบฉบับของฉัน เมื่อพิจารณาที่กระแสรายงาน (สะนัด) จะพบว่าอ่อนและไม่ถูกต้อง ขณะที่ฮะดีษที่กล่าวว่า และทายาทของฉัน เป็นฮะดีษที่มีกระแสรายวานที่แข็งแรงเชื่อถือได้

สะนัดของฮะดีษที่ว่า และทายาทของฉัน اهل بيتي

ตัวบทของฮะดีษได้มีนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อเสียงสองท่านรายงานไว้ กล่าวคือ
๑. มุสลิม ได้บันทึกไว้ในศ่อฮีย์ ของท่านโดยรายงานมาจาก ซัยดฺ บิน อัรฺกอม ว่า วันหนึ่งท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ข้างๆ แอ่งน้ำแห่งหนึ่งนามว่า คุม ซึ่งอยู่ระหว่างมักกะฮฺ กับมะดีนะฮฺ ซึ่งหลังจากท่านศาสดา ได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และกล่าวตักเตือนประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้วท่านได้กล่าวว่า

الا ايها الناس فانّما انا بشر يوشك ان يأتي رسول ربّي فاجيب وانا تارك فيكم ثقلين اولهما كتاب الله فيه الهدى والنور فخذوا بكتاب الله واستمسكوا به فحث على كتاب الله ورغّب فيه ثمّ قال واهل بيتي اذكركم الله في اهل بيتي اذكر كم الله في اهل بيتي اذكر كم الله في اهل بيتي

ความว่า โอ้ประชาชนเอ๋ย แท้จริงแล้วฉันเป็นปุถุชนคนหนึ่งเท่านั้น ใกล้เวลาแล้วที่ทูตแห่งพระผู้อภิบาลจะมา และฉันได้ตอบรับคำเชิญของเขาแล้ว ขณะที่ฉันขอฝากไว้ในหมู่ของพวกท่าน สิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่ง สิ่งหนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งในนั้นมีทางนำและนูรฺรัศมี ฉะนั้นจงยึดเหนี่ยวคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺไว้ให้มั่นคง ซึ่งท่านศาสดาได้เน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ หลังจากนั้นท่านได้กล่าวต่ออีกว่า และอหฺลุลบัยตฺ (ทายาท) ของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอหฺลุบัยตฺของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอหฺลุบัยตฺของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอหฺลุบัยตฺของฉัน[๑]

ตัวบทดังกล่าว ท่านดารอมี ได้บันทึกไว้ในสุนันของท่านเช่นกัน[๒] ซึ่งสิ่งที่สามรถกล่าวได้ตรงนี้คือ สายสืบของทั้งสองนั้นมีความชัดเจนยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ในตอนกลางวัน โดยที่ไม่มีความคลางแคลงใดๆ ทั้งสิ้น

๒. ติรฺมิซีย์ ได้บันทึกด้วยคำว่า وعترتي اهل بيتي ไว้ในตำราของท่านดังนี้ว่า
انّي تارك فيكم ماان تمسّكتم به لن تضلّوا بعدى احدهما اعظم من الآخر كتاب الله حبل ممدود من السماء الى الارض وعترتي اهل بيتي لن يفترقا حتى يرداعليَّ الحوض فانظروا تختلفوني فيها

ความว่า อันที่จริงฉันขอฝากไว้ในหมู่พวกท่าน หากพวกท่านได้ยึดมั่นกับมันจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด ซึ่งสิ่งหนึ่งนั้นมีความยิ่งใหญ่กว่าอีกสิ่ง ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺอันเป็นสายเชือกที่ทอดตรงมาจากฟากฟ้าสู่แดนดิน และอีกสิ่งคืออหฺลุบัยตฺ (ทายาท) ของฉัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ พวกท่านจงพิจารณาเถิดว่า จะปฏิบัติกับของฝากของฉันอย่างไร ? [๓]

ท่านมุสลิม และท่านติรฺมิซีย์ เป็นผู้เขียนตำรา ศ่อฮีย์ และสุนัน ทั้งสองท่านได้เน้นที่คำว่า اهل بيت(ครอบครัว) ซึ่งถือเป็นการเพียงพอต่อการพิสูจน์ตามทรรศนะของเรา และนอกเหนือจากนี้สายสืบของทั้งสองยังมีความแข็งแรง และหน้าเชื่อถือเป็นพิเศษไม่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์อีก

สะนัดของตัวบทที่ว่า سنتي (แบบฉบับของฉัน)

ฮะดีษที่ได้ใช้คำว่า แบบฉบับของฉัน (ซุนนะตี) แทนคำว่า ทายาทของฉัน (อหฺลุบัยตี) นั้นเป็นฮะดีษที่แต่งขึ้นมา ซึ่งนอกเหนือจากจะมีสะนัดที่อ่อนแล้ว ยังมีสิ่งอื่นคือความสัมพันธ์ที่กับราชวงศ์ อุมะวีย์ เป็นตัวการที่บ่งบอกว่าพวกเขาได้สร้างฮะดีษนี้ขึ้นมา.

๑. ฮากิม นิชาบูรีย์ ได้บันทึกตัวบทไว้ในมุสตัดร็อก ของท่านโดยมีกระแสรายงานดังต่อไปนี้ อับบาส บิน อะบีอุเวส รายงานจาก อะบีอุเวส จาก เษาร์ บิน ซัยดฺ อัดดัยละมีย์ จาก อิกร่อมะฮฺ จาก จาก อิบนุอับบาส ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

ياايها الناس انّي قد تركت فيكم ان اعتصمتم به فلن تضلّوا ابدا كتاب الله وسنّة نبيه
โอ้ประชาชนเอ๋ย ฉันได้ฝากไว้ในหมู่พวกท่าน หากพวกท่านได้ยึดมั่นกับมันจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และแบบฉบับของศาสดาแห่งพระองค์[๔]

จะสังเกตเห็นว่ากระแสรายงานตัวบทฮะดีษดังกล่าวนั้นเป็น บิดากับบุตร ซึ่งถือว่าเป็นกระแสรายงานที่น่ารังเกียจและไม่เป็นที่เชื่อถือในหมู่นัก รายงานด้วยกันกล่าวคือ อิสมาอีลบินอะบีอุเวส และอบูอุเวส ทั้งสองพ่อลูกคู่นี้มิใช่แค่ไม่เป็นที่เชื่อถือเท่านั้น แต่ยังถูกกล่าวหาว่า โกหก เป็นผู้อุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีษอีกต่างหาก

ทรรศนะของนักริญาลเกี่ยวกับทั้งสอง
ท่านฮาฟิซ มัซซีย์ ได้บันทึกไว้หนังสือ ตะฮฺซีบุลกะมาล เกี่ยวกับสองพ่อลูกคู่นี้ โดยรายงานมาจากผู้เชี่ยวชาญด้านริญาลว่า ยะห์ยา บิน มุอีน (เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านริญาล) คนหนึ่งพูดว่า อบูอุเวสกับบุตรชายของเขาไม่เป็นที่เชื่อถือ เขายังได้พูดอีกว่า สองคนนี้เป็นคนขโมยฮะดีษ โดยเฉพาะบุตรชายของเขาไม่สามารถเชื่อถือได้เลย

ท่านนะซาอีย์ ได้พูดถึงบุตรชายของอบูอุเวสว่า เขาเป็นผู้อ่อนแอและไม่ได้รับความเชื่อถือ
ท่านอบุลกอซิม ลาล กออีย์ พูดว่า นะซาอีย์ ได้พูดถึงเขาไว้มาก ถึงขนาดที่ว่าจำเป็นต้องละเว้นฮะดีษของเขา
ท่านอิบนุอะดีย์ (เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านริญาล) พูดว่า อิบนุอุเวสได้รายงานฮะดีษที่ประหลาดๆ จากมาลิก น้าชายของเขาซึ่งไม่มีผู้ใดยอมรับ[๕]
อิบนิ หะญัรฺ ได้กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือ ฟัตหุลบารีย์ว่า ไม่มีใครสามารถนำเอาฮะดีษของอิบนุอุเวส มาปฏิบัติได้ เพราะท่านนะซาอีย์ได้กล่าวตำหนิเขาไว้อย่างมากมาย[๖]
ท่านฮาฟิซ ซัยยิดอหฺมัด บิน ซิดดีก ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ฟัตหุลมุลก์ อัล-อะอฺลา รายงานมาจากท่าน สะละมะฮฺ บิน ชัยบะฮฺว่า ได้ยินมาจากอิสมาอีล บิน อบี อุเวส พูดว่า ในเวลานั้นเกี่ยวกับเรื่องอุปโลค ชาวมะดีนะฮฺได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม และฉันจึงได้ปลอมฮะดีษขึ้นมา[๗]

ด้วยเหตุนี้ บุตรชายของเขา (อิสมาอีล บิน อบี อุเวส) ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปลอมแปลงฮะดีษ ส่วนอิบนิ มุอีน ได้กล่าวว่าเขาเป็นคนโกหก นอกเหนือจากนั้นฮะดีษของเขายังไม่ได้ถูกบันในศ่อฮีย์ทั้งสอง มุสลิม ติรฺมะซีย์ และหนังสือศิหาห์เล่มอื่นๆ

เกี่ยวกับเรื่องของอบูอุเวส นั้นเพียงพอแล้วหากจะนำคำพูดของท่าน อบูฮาตัม รอซีย์ที่บันทึกในหนังสือ ญัรห์ วะ ตะอฺดีล ที่กล่าวว่า ฮะดีษของเขาถูกบันทึกไว้จริงแต่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้เพระฮะดีษเหล่า นั้นไม่แข็งแรงและไม่เป็นที่เชื่อถือ[๘]

ท่านอบูฮาตัมได้รายงานจากท่านอิบนิมุอีนว่า อบูอุเวสไม่เป็นที่เชื่อถือ ริวายะฮฺทั้งหมดที่รายงานมาจากทั้งสองคนนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง และขัดแย้งกับริวายะฮฺที่ศ่อฮีย์
ประเด็นที่หน้าสนใจกว่านั้นผู้เล่าฮะดีษ อย่างเช่นท่านฮากิม นิชาบูรีย์ ได้สาระภาพถึงความอ่อนแอของฮะดีษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่ทำการตรวจสอบสะนัดของมัน ดังนั้นฮะดีษของเขาจึงจัดเป็นฮะดีษที่อ่อนแอ และไม่เป็นที่เชื่อถือ

สะนัดที่สองของริวายะฮฺ (วะซุนนะตี)
ท่านฮากิม นิชาบูรีย์ ได้รายงานจากท่านอบูหุรอยเราะฮฺ ซึ่งเป็นฮะดีษมัรฺฟูอฺ ว่า

اني قد تركت فيكم شيئين لن تضلوا بعدهما : كتاب الله و سنتي ولن يفترقا حتي يردا عليّ الحوض
แท้จริงฉันได้ละทิ้งสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน ซึ่งพวกท่านจะไม่หลงทางหลังจากมันทั้งสองอย่างเด็ดขาด ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของฉัน และทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันแน่นอน จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ[๙]

ตัวบทของฮะดีษดังกล่าวท่านฮากิมได้รายงานด้วยสะนัดเช่นนี้ อัฎฎอบบีย์ จาก ซอลิห์ บิน มูซา อัลฎ็อลฮีย์ จาก อับดุลอะซีซ บิน รอฟีอ์ จาก อบีซอลิห์ จาก อบีหุรอยเราะฮฺ
ฮะดีษดังกล่าว เหมือนกับฮะดีษก่อนหน้านี้ เป็นฮะดีษปลอมแปลงขึ้นมาเพราะในสะนัดจะเห็นว่ามี ซอลิห์ บิน มูซา อัลฎ็อลฮีย์ เป็นผู้รายงานอยู่ด้วย ซึ่งบุคคลคนนี้ บรรดานักริญาลได้กล่าวถึงเขาไว้อย่างมากมายอาทิเช่น

ท่านยะห์ยา บิน มุอีนได้กล่าวว่า ซอลิห์ บิน มูซา เป็นบุคคลที่เชื่อถือไม่ได้ ท่านอบูฮาตัมรอซียืพูดว่า ฮะดีษของเขาอ่อนและเป็นมุนกิรฺ ซึ่งฮะดีษส่วนมากของเขาที่เป็นมุนกิรฺนั้นนักรายงานฮะดีษที่ษิกเกาะฮฺได้ รายงานไว้ ท่านนะซาอีย์พูดว่า ฮะดีษของเขาไม่อาจนำมาบันทึกได้ ในอีกที่หนึ่งท่านพูดว่า ฮะดีษของเขาเป็นฮะดีษมัตรูก[๑๐]

ท่านอิบนิหะญัรฺ ได้บันทึกไว้ใน ตะฮฺซีบุลตะฮฺซีบ ว่า อิบนิหิบบัน พูดว่า ซอลิห์ อิบนิ มูซา ได้กล่าวบางสิงบางอย่างถึงบุคคลที่ษิกเกาะฮฺ แต่คำพูดของเขาไม่เหมือนกับคำพูดของบุคคลเหล่านั้นเลย สุดท้ายท่านได้พูดว่า ฮะดีษของซอลิห์ เชื่อถือไม่ได้ อบูนะอีมพูดว่า ฮะดีษของเขาเป็นฮะดีษมัตรูกและเป็นฮะดีษมุนกิรฺ [๑๑]

ท่านอิบนิหะญัรฺ ได้พูดไว้ใน ตักรีบ[๑๒]ว่า ฮะดีษของเขาเป็นฮะดีษมัตรูก ท่านซะฮะบีย์ได้บันทึกไว้ในกาชิบ[๑๓]ว่า ฮะดีษของเขาอ่อนมาก และกล่าวไว้ใน อัลมีซานอิอฺติดาล[๑๔]ว่า ฮะดีษที่กำลังพูดถึงขณะนี้ได้รายงานมาจากเขา และได้พูดกันว่าเป็นฮะดีษมัตรูก

หมายเหตุ ความรู้เกี่ยวกับฮะดีษ ฮะดีษแบ่งเป็นสามประเภทดังนี้
๑. ฮะดีษศ่อฮีย์ ...เช่นฮะดีษมุตะวาติรฺทั้งคำและความหมาย
๒.ฮะดีษหะซัน...
๓. ฮะดีษฎ่ออีฟ หมายถึงฮะดีษที่ไม่มีคุณสมบัติของศ่อฮีย์และหะซันในความหมายก็คือฮะดีษที่ เชื่อถือไม่ได้อาทิเช่น ฮะดีษมุรฺซัล หมายถึงฮะดีษที่ไม่มีศ่อฮาบะฮฺเป็นผู้รายงาน คนในสมัยต่อจากศ่อฮาบะฮฺระบุว่านำมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

มุงก่อฏิอ์ หมายถึงฮะดีษที่รอวีย์ได้ถูกตัดออกไปจากกระแสรายงาน โดยนำรอวีย์ที่มัจฮูล (ไม่เป็นที่รู้จัก) มาใส่ไว้ในกระแสรายงาน ทำให้กระแสรายงานขาดตอน
มุอฺฎิล หมายถึงฮะดีษที่มีรอวีย์สองคนหรือมากกว่านั้นได้ถูกตัดออกไปจากกระแสรายงาน ติดต่อกัน
มุดัลลัซ มีสองประเภทกล่าวคือ มุดัลลัซสะนัด หมายถึงฮะดีษที่รอวีย์ได้อยู่ร่วมสมัยกัน ได้พบกัน แต่ไม่ได้ยินการเล่าฮะดีษ ได้รายงานฮะดีษจากเขา อีกประเภทหนึ่งคือ มุดัลลัซชุยูค หมายฮะดีษที่รอวีย์ได้เสริมเติมแต่งคุณลักษณะของอาจารย์ของตนมากเกินความ เป็นจริงหรือมีอคติที่ไม่ใช่อคติที่เป็นจริง

มุอัลลัล หมายถึงฮะดีษที่มีสาเหตุเงื่อนงำ ความบกพร่อง หรือตัวการบางอย่างแอบแฝงอยู่ ซึ่งถ้าเปิดเผยเงื่อนงำนั้นออกมาจะมีผลเสียกับความถูกต้องของฮะดีษ ซึ่งถ้ามองดูเผินๆ แล้วไม่มีข้อบกพร่องแต่อย่างไร
มุฎฏ่อลิบ หมายถึงฮะดีษที่มากมาย ซึ่งจำนวนฮะดีษเหล่านั้นเท่าเทียมกันโดยไม่อาจแยกแยะได้ว่าฮะดีษใดดีกว่ากัน อีกนัยหนึ่งฮะดีษที่เกิดข้อขัดแย้งกันในตัวบทหรือในสายรายงาน
มักลูบ หมายถึงฮะดีษที่คำในตัวบทได้ถูกเปลี่ยนไปด้วยสาเหตุที่เฉพาะเจาะจง หรือคำๆหนึ่งของฮะดีษได้แทนที่คำอีกคำหนึ่ง หรือผู้รายงานบางคนหรือทั้งายรายงานได้ถูกเปลี่ยนไป
ชาซ หมายถึงฮะดีษที่มีปัญหาเนื่องจากรอวีย์ที่เชื่อถือได้ ได้รายงานฮะดีษดังกล่าวในลักษณะที่ว่าแตกต่างไปจากรอวีย์ที่เชื่อได้อีกคน หนึ่ง ,อีกนัยหนึ่ง รอวีย์ที่ถูกยอมรับได้รายงานฮะดีษในลักษณะที่ว่าขัดแย้งกับรอวีย์ที่เชื่อ ถือได้มากกว่าตนเอง , หรือฮะดีษที่ขัดแย้งกับฮะดีษอื่นที่มีคุณสมบัติดกว่าโดยไม่มีทางที่จะเข้ากันได้

มุนกิรฺ หมายถึงฮะดีษที่ผู้รายงานอ่อนได้รายงานขัดแย้งกับผู้รายงานที่เชื่อได้ เป็นฮะดีษที่แตกต่างไปจากฮะดีษชาซฺ หรือฮะดีษที่มีผู้รายงานเพียงคนเดียวซึ่งมีคุณธรรมและความทรงจำไม่ถึงระดับที่จะรับรองได้
มัตรูก หมายถึงฮะดีษที่มีรอวีย์เพียงคนเดียว ซึ่งนักฮะดีษลงความเห็นว่าเขาเป็นคนโกหก หรือเป็นฟาซิก (ฝ่าฝืน) หรือเป็นผู้หลงลืมมีความจำที่เลว หรือเป็นคนขี้สงสัย [๑๕]

อีกประเภทหนึ่งของฮะดีษคือ ฮะดีษที่มีหุ้นส่วนกันระหว่าง ศ่อฮีย์ หะซัน และฎ่ออีฟ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฮะดีษมัรฺฟูอ์ หมายถึงฮะดีษที่ศ่อฮาบะฮฺ หรือบุคคลในสมัยถัดมา หรือสมัยหลังจากนั้นได้กล่าวระบุว่าเป็นคำพูด หรือการกระทำ หรือการยอมรับของท่านศาสดา และไม่จำกัดว่าสายรายงานจะติดต่อกันหรือไม่ ฉะนั้นฮะดีษมัรฺฟูอ์จึงเป็นได้ทั้งสามลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเงื่อนไขใดแข็งแรงกว่ากัน

สะนัดที่สามของริวายะฮฺ (วะซุนนะตี)

ท่านอิบนิ อับดุล บัรฺริ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ อัตตัมฮีด[๑๖] ของท่านว่าฮะดีษดังกล่าวได้บันทึกไว้โดยกระแสรายงานดังต่อไปนี้
อับดุรฺ เราะห์มาน บินยะห์ยา จาก อหฺมัด บิน สะอีด จาก มุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม อัดดุบีลีย์ จาก อะลี บิน เซด อัล-ฟะรออิฎ จาก อัล-หุนัยนีย์ จาก กะษีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ บิน เอาฟ์ จาก บิดาของเขา จาก ปู่ของเขา

ท่านอิมามชาฟิอีย์ ได้พูดถึง กะษีรฺ บิน อับดุลลอฮฺว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้กล่าวเท็จ[๑๗] อบูดาวูดพูดว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่กล่าวเท็จและโกหกที่สุด[๑๘] อิบนิหับบานพูดว่า อับดุลลอฮฺ บิน กะษีรฺ ได้เขียนตำราฮะดีษโดยบันทึกจากบิดา และปู่ของเขา ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการปลอมแปลงและการอุปโลคขึ้นมา ดังนั้นการเล่าฮะดีษจากหนังสือ หรือจากริวายะฮฺของอับดุลลอฮฺ ถือว่าหะร่าม (ไม่อนุญาต) นอกเสียจากว่าด้วยกับความประหลาดหรือเพื่อการหักล้าง [๑๙]

ท่านนะซาอีย์ และท่านดารุก็อฎนีย์ พูดว่า ฮะดีษของเขาเป็นฮะดีษมัตรูก ท่านอิมามอหฺมัดพูดว่า ฮะดีษของเขาถือว่าเป็นมุนกิรฺ และตัวของเขาเชื่อถือไม่ได้ ท่านอิบนิมุอีนมีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน

แต่หน้าประหลาดใจเกี่ยวกับท่าน อิบนิหะญัรฺ ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัต-ตักรีบ ซึ่งท่านใช้คำว่า ฎ่ออีฟ เท่านั้นและสำหรับผู้ที่กล่าวหาว่าเขา (อับดุลลอฮฺ บิน กะษีรฺ) เป็นคนพูดโกหก ท่านกล่าวหาว่าผู้ที่พูดเช่นนั้นเป็นคนสุดโต่งทางความคิด ขณะที่นักริญาลคนอื่นๆ และนักฮะดีษทั้งหลายก่อนหน้านั้นได้ลงความเห็นว่าเขาเป็นคนโกหก และเป็นนักแต่งฮะดีษ แม้กระทั่งท่านซะหะบีย์ยังพูดว่ เขาเป็นคนมุสาและอ่อนแอมาก (เชื่อถือไม่ได้เลย)

การรายงานโดยปราศจากสะนัด

ท่านอิมามมาลิก ได้บันทึกไว้ในหนังสือ มุวัฏเฏาะอ์ ของท่านโดยปราศจากสะนัด เป็นการรายงานแบบมุรฺซัล (ไม่มีศ่อฮาบะฮฺสักคนเป็นผู้รายงาน) ซึ่งทุกคนทราบดีว่าฮะดีษประเภทนี้เป็นฮะดีษที่ไม่มีคุณค่าอันใด[๒๐]

จากการวิเคราะห์เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าฮะดีษที่กล่าวว่า และซุนนะตี เป็นฮะดีษที่นักรายงานฮะดีษโกหก (รอวีย์) ทั้งหลายที่มีสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับราชวงศ์อะมะวีย์ได้แต่งขึ้นมาโดยมี เจตนาให้ขัดแย้งกับฮะดีษที่ถูกต้องที่กล่าวว่า (วะอิตระตี) ทั้งๆ ที่ในหนังสือศ่อฮีย์มุสลิมได้บันทึกไว้โดยใช้คำว่า อหฺลุ บัยตี ในหนังสือติรฺมีซีย์บันทึกไว้โดยใช้คำว่า อิตระตีวะอหฺลุบัยตี ดังเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำการศึกษาทุกท่าน ต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน และเป็นการเหมาะสมแล้วหรือที่ท่านได้นำเอาฮะดีษที่อ่อนแอ (ฎ่ออีฟ) ขึ้นหน้าฮะดีษที่ศ่อฮีย์ (ถูกต้อง)

จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จากคำว่า อหฺลุบัยตี ทายาทของฉันนั้นหมายถึงใคร ? หมายถึงทายาทชั้นใกล้ชิดพิเศษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอิมามอะลี อิมามฮะซัน อิมามฮุซัยนฺ และท่านอิมามอะลี (อ.) ดังที่ท่านมุสลิมได้บันทึกไว้ในศ่อฮีย์ของท่าน[๒๑] และติรฺมีซีย์ได้บันทึกไว้ในสุนันของท่าน[๒๒]โดยรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า

نزلت هذه الآية على النبى (ص) إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِوَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا فى بيت امّ سلمة, فدعا النبى (ص) فاطمة وحسنا و حسينا فجعللهم بكساء و على خلف ظهره فجعلله بكساء ثمّ قال : اللهمّ هولاء اهل بيتي فاذهب عنهم الرجس و طهّرهم تطهيرا. قالت امّ سلمة: وانا معهم يا نبي الله قال: انت على مكانك و انت الى الخير

โองการดังกล่าวถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ ให้เข้าไปอยู่ในอะบา (ผ้าคลุม) โดยให้อะลีนั่งข้างหลังของท่านแล้วคลุม เขาด้วยผ้าคลุมกิซาอฺ หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ พวกเขาคืออหฺลุลบัยตฺของฉัน จงขจัดสิ่งโสมมทั้งหลายให้ออกห่างจากพวกเขา และโปรดทำให้พวกเขาสะอาดอย่างแท้จริง อุมมุสะละมะฮฺได้พูดว่า โอ้รอซูลของอัลลอฮฺอนุญาตให้ฉันอยู่กับพวกเขาไหม (ให้นับฉันว่าเป็นอหฺลุลบัยตฺตามที่โองการได้ประทานลงมา) ท่านศาสดากล่าวว่า เธอจงอยู่ในที่ของเธอ (อย่าเข้ามาในผ้าคลุมเลย) เธออยู่บนหนทางที่ดีแล้ว[๒๓]

ความเข้าใจเกี่ยวกับฮะดีษษะเก่าะลัยนฺ

จากการที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงอหฺลุลบัยตฺไว้เคียงข้างกับอัล-กุรอาน และแนะนำว่าทั้งสองเป็นหุจญัติ (เหตุผล) ของอัลลอฮฺในหมู่ของประชาชนซึ่งสามารถสรุปได้จากคำพูดทั้งสองดังนี้ว่า
๑.คำพูดของอิตรัต (ลูกหลาน) ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นหุจญัติเหมือนกับอัล-กุรอาน ภารกิจที่เกี่ยวกับศาสนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อศรัทธา หรืออหฺกามการปฏิบัติต้องยึดถือคำพูดของพวกเขา และด้วยกับการมีเหตุผลที่มาจากพวกเขา ประชาชนจึงไม่มีสิทธิ์ไปหาเหตุผลจากคนอื่น

มุสลิมภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จากไปแม้ว่าในเรื่องปัญหาการเมืองพวกเขาจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มก็ตาม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเหตุผลของตนเองว่าทำไมพวกเขาจึงยึดถือแตกต่างกัน แต่ในเรื่องของความรู้และวิชาการของอหฺลุลบัยตฺแล้วพวกเขาต้องไม่ขัดแย้งกัน เพราะว่าทั้งสองฝ่ายต่างยอมรับและเห็นพร้องตรงกันถึงความถูกต้องของฮะดีษษะ ก่อลัยนฺ ซึ่งฮะดีษดังกล่าวได้ย้ำเน้นว่าสถานที่ย้อนกลับของความรู้ทั้งหลักความเชื่อ (อะกีดะฮฺ)และหลักการปฏิบัติ(อหฺกาม) คืออัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺเท่านั้นที่เป็น ฉะนั้นถ้าหากประชาชาติอิสลามได้ปฏิบัติตามฮะดีษดังกล่าว ความขัดแย้งของพวกเขาจะลดน้อยลงทันทีและเอกภาพจะเกิดขึ้นในหมู่ของพวกเขา

๒.อัล-กุรอานเป็นพจนารถของพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ.)บริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้ง ปวงและมนุษย์ไม่สามารถคิดถึงความผิดพลาดของอัล-กุรอานได้อย่างเด็ดขาดเพราะ พระองค์ทรงตรัสรับรองว่า

لَا يَأْتِيهِ الْبَاطِلُ مِن بَيْنِ يَدَيْهِ وَلَا مِنْ خَلْفِهِ تَنزِيلٌ مِّنْ حَكِيمٍ حَمِيدٍ
ความเท็จจากข้างหน้าและจากข้างหลังจะไม่คืบคลานเข้าไปสู่อัล-กุรอาน เป็นการประทานจากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ [๒๔]

ถ้าอัล-กุรอานบริสุทธิ์จากความผิดพลาด แน่นอนผู้ที่อยู่เสมอภาคกับอัล-กุรอานย่อมบริสุทธิ์จากความผิดพลาดตามไปด้วย เพราะเป็นสิ่งไม่ถูกต้องการให้คนที่มีความผิดพลาดไปอยู่เสมอชั้นกับอัล-กุรอาน
ฉะนั้นฮะดีษดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของพวกเขาจาก สิ่งโสมม และความผิดพลาดทั้งหลาย สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ ความบริสุทธิ์ไม่ใช่ความจำเป็นร่วมกับนุบูวัต หมายถึงอาจเป็นไปได้ที่คนๆหนึ่งมีความบริสุทธิ์แต่เขาไม่ได้เป็นศาสดา อย่างเช่นท่านหญิงมัรยัม อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِنَّ اللّهَ اصْطَفَاكِ وَطَهَّرَكِ وَاصْطَفَاكِ عَلَى نِسَآءِ الْعَالَمِينَ
แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเลือกเธอและทรงทำให้เธอบริสุทธิ์และได้ทรงเลือกเธอให้ เหนือบรรดาหญิงแห่งประชาชาติทั้งหลาย [๒๕]

คำถามที่ ๒ :จุดประสงค์คำว่าชีอะฮฺ หมายถึงใคร?
คำตอบ :
ชีอะฮฺ ในภาษาอาหรับหมายถึง ผู้ปฏิบัติตาม อัล-กุรอานกล่าวว่า وَإِنَّ مِن شِيعَتِهِ لَإِبْرَاهِيمَ และแท้จริง ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของเขา (นูห์) นั้น คืออิบรอฮีม [๒๖]

ชีอะฮฺ ตามความหมายของนักปราชญ์และมวลมุสลิมทั้งหลายหมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความเชื่อว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไปนั้นท่านได้ทำการแต่งตั้งตัวแทน(ค่อลิฟะฮฺ)ปกครองประชาชาติมุสลิมเอาไว้โดยกล่าวเป็นสุนทรพจน์ในวาระต่างๆ อาทิเช่น วันที่ ๑๘ เดือนซุลหิจญ์ ปี ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันฆ่อดีรฺคุม เป็นวันที่มีประชาชาติเศาะฮาบะฮ์จำนวนมากมาย (แสนกว่าคนเศษ) ได้มารวมตัวกันและท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการประกาศการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในวันนี้ และแนะนำว่าตัวแทนของท่านคือแหล่งอ้างอิงสำหรับทุกสิ่งไม่ว่าจะการเมือง ความรู้ และศาสนาภายหลังจากท่าน

คำอธิบาย ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มุฮาญิรีนและอันศอรฺ ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มกล่าวคือ
๑. กลุ่มที่มีความเชื่อว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ได้ละเลยการแต่งตั้งให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นตัวแทนทำหน้าที่ปกครองประชาชาติภายหลังจากท่าน ซึ่งตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง คือท่านอะลี บุตรของอบูฏอลิบ ผู้ที่ได้มีศรัทธาเลื่อมใสท่านเป็นคนแรก

ชนกลุ่มนี้มีทั้งพวกมุฮาญิรีน และอันศอรฺ บุคคลในชั้นแนวหน้าของกลุ่มเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่มาจากตระกูลบนีฮาชิม และบรรดาศ่อฮาบะฮฺในชั้นแนวหน้าเช่นกันอาทิเช่น ท่านซัลมานฟารซีย์ ท่านอบูซัรฺ ท่านมิกดารฺ ท่านคอบบาน บิน อะริษและบุคคลอื่นที่อยู่ในฐานะเดียวกัน พวกเขาได้ยึดมั่นอยู่บนความเชื่อดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้เรียกพวกเขาว่า ชีอะฮฺของอะลี (อ.)

ตามความเป็นจริงฉายานามดังกล่าว (ชีอะฮฺอะลี) ท่านศาสดาได้เป็นผู้ให้ฉายานามแก่พวกเขาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ดังเช่นครั้งหนึ่งท่านได้ชี้ไปที่ท่านอะลี (อ.) แล้วกล่าวว่า..

والّذين نفسى بيده, انّ هذا وشيعته لهم الفائزون يوم القيامة
ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แท้จริงเขา (อะลี) กับชีอะฮฺของเขาคือผู้ประสบความสำเร็จในวันกิยามะฮฺ [๒๗]

ฉะนั้น ชีอะฮฺ จึงหมายถึงมุสลิมในยุคแรกของอิสลามกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเรื่องการแต่ง ตั้งตัวแทนของท่านศาสดาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพวกเขาจึงถูกเรียกว่าชีอะฮฺ ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวได้สืบสานมาจนถึงปัจจุบันพวกเขายังยึดมั่นอยู่บนความ เชื่อนั้นและดำรงการปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดาตลอดเรื่อยมา

ตำแหน่งและฐานะภาพของชีอะฮฺจึงถูกแนะนำด้วยกับแนวคิดดังกล่าว มิใช่ตามคำกล่าวอ้างของบางกลุ่มที่พูดว่า ชีอะฮฺได้เกิดหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ซึ่งริเริ่มโดยอับดุลลอฮฺ บินสะบะฮฺ ดังนั้นหากต้องการค้นคว้าที่มาของชีอะฮฺให้มากขึ้นศึกษาได้จากหนังสือ อัศลุชีอะฮฺ วะ อุศูลุฮา. อัล- มุริญิอาต หรือหนังสืออะอฺยานุชชีอะฮฺ

๒. กลุ่มที่มีความเชื่อว่าตำแหน่งคิลาฟะฮฺหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้มาจากการแต่งตั้ง แต่มาจากการเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงให้สัตยาบัน (บัยอัต) กับท่านอบูบักร์ และต่อมาได้ถูกเรียกชื่อว่า อหฺลิซซุนนะฮฺ หรือ ตะซันนุน ดังนั้นสรุปได้ว่าชนสองกลุ่มนี้มีจุดร่วมในเรื่องอุศูล (มูลฐานหลักของอิสลาม) มากมาย แต่มีความขัดแย้งกันในเรื่องคิลาฟะฮฺ ผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และการเริ่มต้นของชนทั้งสองกลุ่มได้เริ่มต้นมาจากพวกมุฮาญิรีนและอันศอรฺ

คำถามที่ ๓ : ทำไมท่านอะลี บุตร อบูฏอลิบจึงได้เป็นวะศีย์และตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)?
คำตอบ :
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าชีอะฮฺ นั้นมีความเชื่อเรื่องการแต่งตั้งตัวแทนของท่าานศาสดา (ศ็อลฯ) ก่อนสิ้นพระชนม์ และยังเชื่ออีกว่าบรรดาอิมามผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดานั้นแม้จะอยู่ในฐานะภาพรองจากท่านศาสดา แต่วิธีได้มาซึ่งอิมามคล้ายคลึงกับการแต่งตั้งศาสดา กล่าวคือท่านศาสดาได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ.)ตัวแทนของท่านก็ต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์(ผ่านวจนะศาสดา)เช่นเดียวกัน

ประวัติการใช้ชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยืนยันเรื่องนี้ไว้อย่างดี เพราะท่านศาสดาได้ทำการแต่งตั้งให้ท่านอะลีเป็นตัวแทนของท่านในวาระต่างมากมายอาทิเช่น

๑. เริ่มต้นการบิอฺษัต (การแต่งตั้งศาสดา) ในเวลานั้นพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ท่านศาสดาเชิญชวนญาติพี่น้องที่สนิท ตามความหมายของโองการที่ว่า (وَأَنذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ) จงตักเตือนวงศาคณาญาติที่ใกล้ชิดของเจ้า[๒๘]ให้พวกเขายอมรับและเลื่อมใสในพระเจ้าองค์เดียว เมื่อพวกเขาได้มากันพร้อมหน้าท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จึงประกาศว่า ใครก็ตามได้ช่วยเหลือฉันในภารกิจดังกล่าว เขาจะได้เป็นวะศีย์และเป็นตัวแทนของฉัน คำประกาศของท่านศาสดาคือ..

فأيّكم يوازرني فى هذا الأمر على ان يكون اخي و و زيرى و خليفتى و وصيي فيكم
บุคคลใดได้ช่วยเหลือฉันในภารกิจดังกล่าว เขาจะได้เป็นพี่น้องของฉัน ตัวแทนของฉัน ค่อลิฟะฮฺของฉันและเป็นวะศีย์ของฉันในหมู่พวกท่าน




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
ชีอะฮฺมีคำตอบ

ในที่นั้นมีอยู่เพียงคนเดียวที่ตอบรับคำประกาศเชิญชวนของท่านศาสดาคือท่านอะลี(อ.)บุตรของท่านอบูฏอลิบ หลังจากนั้นท่านศาสดาจึงได้หันไปทางกลุ่มเครือญาติพร้อมทั้งกล่าวว่า

انّ هذا اخي ووصيي و خليفتي فيكم فاسمعوا له و أطيعوه
นี่คืออะลีบุตรของอบูฏอลิบ เขาเป็นพี่น้องของฉัน เป็นวะศีย์และเป็นค่อลีฟะฮฺของฉันในหมู่พวกท่าน จงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขา

๒. สงครามตะบูก ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลี (อ.) ว่า

أما ترضى أن تكون منّى بمنزلة هارون من من سى الاّ أنّه لا نبيّ بعدى
เจ้าไม่พอใจดอกหรือ ที่เจ้ากับฉันอยู่ในฐานะเดียวกันกับฮารูนและมูซา นอกเสียจากว่าจะไม่มีนบีภายหลังจากฉันอีก [๒๙]

ฐานะของท่านฮารูนคือ เป็นวะศีย์และเป็นตัวแทนโดยตรงของท่านศาสดามูซา (อ.) ท่านอะลี (อ.) เช่นกันเป็นค่อลิฟะฮฺ และเป็นตัวแทนโดยตรงของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

๓. ปี ฮ.ศ.ท ๑๐ เมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เดินทางกลับจากการทำหัจญ์ครั้งสุดท้าย (หัจญะตุลวะดา) เมื่อมาถึงยังสถานที่หนึ่งนามว่า ฆ่อดีรฺคุม ท่านได้ประกาศท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากมายขณะนั้น แต่งตั้งให้ท่านอะลี (อ.) เป็นตัวแทนปกครองบรรดามุสลิมีน และมุอฺมินทั้งหลายโดยกล่าวว่า

من كنت مولاه فهذا على مولاه
ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย

ประเด็นสำคัญจะสังเกตเห็นว่าท่านศาสดาได้เริ่มกล่าวเทศนาโดยกล่าวว่า

ألست أولى بكم من أنفسكن
ฉันมิได้มีความสำคัญสำหรับพวกท่านมากกว่าตัวของพวกท่านเองดอกหรือ ?
ซึ่งบรรดามุสลิมทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้นได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า หามิได้ ท่านมีค่าเหนือพวกเรา เมื่อเป็นเช่นนี้จุดประสงค์ของคำว่า เมาลา ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวนั้นหมายถึง ฐานะภาพที่สูงส่งกว่า เป็นผู้มีการเลือกสรรที่สมบูรณ์เหนือบรรดามุอฺมินทั้งหลาย ซึ่งตำแหน่งนั้นท่านศาสดาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นของท่านอะลีเช่นกัน และท่านหัซซาน บิน ษาบิต ได้ถ่ายทอดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งฆ่อดีรฺในวันนั้นไว้เป็นบทกลอนว่า

يناديهم يوم الغدير نبيّهم بخم واسمع بالرّسول مناديا
فقال فمن مولاكم ونبيكم فقالوا ولم يبدوا أهناك التّعاميا

ألهك مولانا و انت نبيّنا ولم تلق منّا فى الولاية عاصيا
فقال له:قم يا على فأنّني رضيتك من بعدى اماما وهاديا

فمن كنت مولاه فهذا وليّه فكونوا له اتباع صدق مواليا
هناك دعا: اللهم وال وليه وكن للذى عادى عليا معاديا


ได้ร้องเรียกพวกเขาในวันฆ่อดีรฺโดยศาสดาของพวกเขา ณ คุม และได้ฟังท่านศาสดากล่าวเทศนา
ท่านกล่าวว่า ใครเป็นผู้ปกครองและเป็นนบีของเจ้า ? พวกเขาล้วนเปล่งเสียงโดยไม่ปิดบังว่า..

พระเจ้าของท่านคือผู้ปกครองและท่านคือนบีของเรา และจะไม่พบผู้ใดที่ปฏิเสธวิลายะฮฺของท่าน
ดังนั้นท่านได้บอกเขาว่า ลุกขึ้นเถิด โอ้อะลี แท้จริงฉัน จะแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอิมามผู้นำทางหลังจากฉัน

ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขาและนี่คือผู้ปกครองเขา พวกเจ้าจงปฏิบัติตามเขาผู้ปกครองที่สัจจริง
ณ ที่นั้นท่านได้ดุอาอฺว่า โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่รักวะลีของเขา และโปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอะลี[๓๐]

ฮะดีษฆ่อดีรฺ เป็นฮะดีษมุตะวาติรฺของอิสลาม (ถูกต้องเชื่อถือได้อย่างมั่นใจ) ซึ่งนอกเหนือจากอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺแล้ว ยังมีอุละมาอ์ฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺอีกประมาณ ๓๖๐ ท่านเป็นผู้รายงาน[๓๑] ซึ่งสามารถสืบไปถึงศ่อฮาบะฮฺ ๑๑๐ ท่าน และฮะดีษดังกล่าวยังมีอุละมาอ์อิสลามถึง ๒๖ ท่าน เขียนถึงสะนัด และสายสืบของมัน

ท่านอบูญะอฺฟัรฺ ฏ็อบรีย์ นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของมุสลิมได้รวบรวมสะนัดของฮะดีษดังกล่าวไว้ใน หนังสือสองเล่มใหญ่ของท่าน และท่านผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัล-ฆ่อดีรฺ

คำถามที่ ๔ : บรรดาอิมามคือใคร?
คำตอบ :
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ภายหลังจากท่านยังมีค่อลิฟะฮฺอีก ๑๒ ท่านซึ่งทั้งหมดเป็นชาวกุเรช และความยิ่งใหญ่ของอิสลามอยู่ใต้ร่มเงาแห่งคิลาฟะฮฺของพวกเขา

ท่านญาบีรฺ ซัมเราะฮฺพูดว่า..
سمعت رسول الله (ص) يقول لايزال الاسلام عزيزا الى اثني عشر خليفة ثمّ قال كلمة لم اسمعها فقلت لأبى ما قال ؟ فقال : كلّهم من قريش
ฉันได้ยินท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อิสลามจะมีค่อลิฟะฮฺที่ยิ่งใหญ่ถึง ๑๒ ท่านหลังจากนั้นท่านได้กล่าวคำพูดหนึ่งแต่ฉันไม่ได้ยินมัน ฉันจึงได้พูดกับบิดาของฉันว่า ท่านศาสดาพูดว่าอะไร บิดาของฉันได้บอกฉันว่า พวกเขาทั้งหมดเป็นชาวกุเรช [๓๒]

ประวัติศาสตร์อิสลามได้ยืนยันให้เห็นสิ่งนี้ได้อย่างดีว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านจะไม่พบว่ามีสิบสองค่อลิฟะฮฺใดทำหน้าที่ปกป้องอิสลาม ที่บริสุทธิ์ได้ดีเยี่ยมไปกว่า๑๒ค่อลิฟะฮฺ หรืออิมามตามที่ชีอะฮฺได้เชื่อศรัทธา เพราะว่าค่อลิฟะฮฺสิบสองท่านที่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้แต่งตั้งไว้นั้นพวกเขา ได้เป็นค่อลิฟะฮฺทันที่หลังจากการแนะนำท่านศาสดา

จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับทราบว่า ค่อลิฟะฮฺทั้งสิบสองท่านนั้นเป็นใคร ? ฉะนั้นถ้าหากไม่นับค่อลิฟะฮฺสี่ท่านแรก ตามนิยามของอหฺลิซซุนนะฮฺเรียกว่า ค่อลิฟะฮฺรอชิดีน ท่านจะไม่พบว่ามีค่อลิฟะฮฺท่านใดอีกที่ทำให้อิสลามพบกับความแข็งแกร่ง ดังที่เราได้ประจักษ์ชัดกับชีวประวัติของบรรดาค่อลิฟะฮฺแห่งอะมะวีย์ หรือ อับบาซีย์ แต่สำหรับสิบสองอิมามผู้บริสุทธิ์ที่ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อล้วนเป็นผู้มี ความยำเกรง มีความบริสุทธิ์ปราศจากบาปและความผิด เป็นผู้ปกป้องซุนนะฮฺของท่านศาสดาและความศักดิ์สิทธิ์ของอัล-กุรอานได้อย่าง ดีเยี่ยม จนเป็นที่สนใจของเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺ ตาบิอิด ตาบีอีนและชนในรุ่นต่อมา และประวัติศาสตร์ยังได้จารึกความรู้ ความสัตย์จริง และความกล้าหาญไว้อย่างละเอียด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันถึงความถูกต้องของพวกเขา อิมามทั้งสิบสองท่านได้แก่..

๑. อะลี บิน อบี ฏอลิบ
๒. ฮะซัน บิน อะลี (มุจตะบา)
๓. ฮุซัยนฺ บิน อะลี (ซัยยิดุช ชุฮะดา)
๔. อะลี บิน ฮุซัยนฺ (ซัยนุลอาบิดีน)
๕. มุฮัมมัด บิน อะลี (บากิรฺ)
๖. ญะฮฺฟัรฺ บิน มุฮัมมัด (ซอดิก)
๗. มูซา บิน ญะฮฺฟัรฺ (กาซิม)
๘. อะลี บิน มูซา (ริฎอ)
๙. มุฮัมมัด บิน อะลี (ตะกียฺ)
๑๐. อะลี บิน มุฮัมมัด (นะกีย์)
๑๑. ฮะซัน บิน อะลี (อัสการีย์)
๑๒. อิมามมะฮฺดี (กออิม) ซึ่งมีริวายะฮฺมุตะวาติรฺ (เชื่อถือได้) กล่าวถึงท่านในฐานะของ "มะฮฺดีในพันธสัญญา" เล่าโดยนักฮะดีษของอิสลาม

เพื่อรู้จักชีวประวัติของบรรดาเหล่าผู้นำที่บริสุทธฺ์ ซึ่งนามของท่านเหล่านั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ ตัสกิร่อตุลคอศ (ตัสกิเราะฮฺ คอศุลอุมมะฮฺ) , กิฟายะตุลอะษัรฺ , วะฟะยาตุลอะอฺยาน , หรืออะอฺยานุชชีอะฮฺ (ค้นคว้าและวิจัยโดยซัยยิด มุหฺซิน อะมีน อามิลี) เป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์กว่าสามเล่มแรก

คำถามที่ ๕ : ทำไมเวลาศ่อละวาต (กล่าวสรรเสริญ) ท่านศาสดาจึงต้องมีลูกหลานต่อท้ายด้วย โดยกล่าวว่า อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลามุฮัมมัด "วะอาลิมุฮัมมัด"?
คำตอบ :
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุดเพราะท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นผู้สอนให้บรรดามุสลิมทั้งหลายกล่าว ศ่อละวาต ด้วยตัวของท่านเอง ขณะที่โองการ

إِنَّ اللَّهَ وَمَلَائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَآمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
แท้จริงอัลลอฮฺและมะลาอิกะฮฺของพระองค์ประสาทพรแก่นบี โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงประสาทพรให้เขา และประสาทความสันติอย่างแท้จริง[๓๓]

ได้ถูกประทานลงมา บรรดามุสลิมได้ถามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่าจะพวกเรากล่าวศ่อละวาตอย่างไร ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า لاتصلّوا علىّ الصلوة البتراءพวกเจ้าจงอย่ากล่าวศ่อละวาตที่ไม่สมบูรณ์แก่ฉัน พวกเขาได้ถามอีกว่า และจะให้พวกเราศ่อละวาตอย่างไร ท่านศาสดากล่าวว่า..

اللهم صلّ على محمد و على آل محمد
โอ้อัลลอฮฺ โปรดประสาทพรแด่มุฮัมมัด และลูกหลานของมุฮัมมัด[๓๔]

ฐานะภาพของบรรดอหฺลุลบยตฺนั้นสูงส่ง ถึงขนาดที่อิมามชาฟิอีย์ ได้กล่าวเป็นบทกลอนไว้ว่า..

يا اهل بيت رسول الله حبّكم فرض من الله فى القرآن انزله
كفاكم من عظيم القدر انكم من لم يصلّ عليكم لا صلوة له

โอ้อหฺลุลบัยตฺของท่านรอซูลความรักต่อพวกท่าน เป็นข้อบังคับจากอัลลอฮฺทรงประทานไว้ในกุรอาน
ความยิ่งใหญ่และฐานะภาพอันสูงส่งของท่าน เพียงพอแล้วหากใครไม่กล่าวศ่อละวาตต่อท่านเท่ากับเขาไม่ได้นมาซ [๓๕]

คำถามที่ ๖ : ทำไมจึงถือว่าบรรดาอิมามเป็นผู้บริสุทธิ์ (มะอฺซูม)?
คำตอบ :
การเชื่อว่าบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ของชีะฮฺ ซึ่งทั้งหมดเป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นผู้บริสุทธิ์ (มะอฺซูม) นั้นมีเหตุผลมากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวเป็นสังเขปเพียงเหตุผลเดียว
จากการรายงานทั้งชีอะฮฺ และสุนีย์ว่า ในช่วงบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้กล่าวสั่งเสียว่า..

اني تارك فيكم الثقلين كتاب الله وأهل بيتي و أنّهما لن يفترقا حتّى يردا عليّ الحوض
ฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่านได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอหฺลุลบัยตของฉัน ทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ[๓๖]

ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาคือไม่เป็นที่สงสัยว่าอัล-กุรอานนั้นปราศจากความผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรเมื่อผู้ประทานอัล-กุรอานคือพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้นำมาคือท่านญิบรออีล และผู้รับคือท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และความบริสุทธิ์ของทั้งสามนั้นเป็นที่ ประจักษ์ชัดดุจดังแสงพระอาทิตย์ บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างยอมรับว่าในการรับวะฮีย์ของท่านศาสดา การปกป้อง และการเผยแพร่นั้นสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความผิดพลาดดังนั้นเมื่ออัล-กุรอาน มีความบริสุทธิ์ ถูกต้องและมีความมันคงเช่นนั้น อหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดาก็เช่นกันมีความบริสุทธิ์และปราศจากความผิดพลาด เนื่องจากว่าฮะดีษดังกล่าวท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้แนะนำว่าอหฺลุลบัยตฺคือผู้ชี้นำ ประชาชาติ และอยู่ในฐานะเดียวกับอัล-กุรอาน และด้วยกฎดังกล่าวนั้นเองทั้งสอง (อัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ) จึงมีความบริสุทธิ์เหมือนกัน
อีกเหตุผลหนึ่ง ยังไม่พบว่ามีบุคคลใดที่ไม่ได้เป็นมะอฺซูมได้ถูกนำไปเทียบชั้นกับอัล-กุรอาน

เหตุผลที่แสดงไว้อย่างชัดเจนที่สุดว่าบรรดาอหฺลุลบัยตฺเป็นผู้บริสุทธิ์ คือ คำพูดของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ที่กล่าวว่า (لن يفترقا حتّى يردا عليّ الحوض) ทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ

ถ้าหากบรรดาอหฺบัยตฺ ไม่ปลอดภัยจากความผิดพลาดหรือได้ล่วงถลำไปทำบาป พวกเขาต้องแยกทางจากอัล-กุรอานคัมภีร์ที่บริสุทธิ์อย่างแน่นอน แต่สิ่งนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้เพราะท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ย้ำเน้นและกล่าวว่ามันไม่มีทางเป็นเช่นนั้นอย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามเป็นที่แน่นอนว่าจุดประสงค์ของอหฺลุลบัยตฺตามคำกล่าวของท่าน ศาสดา(ศ็อลฯ)ไม่ได้หมายรวมไปถึงลูกหลานทั้งหมดของท่าน เพราะทั้งหมดนั้นไม่ได้เป็นบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน

ฉะนั้นจึงเหลือกลุ่มลูกหลานที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ที่ได้รับเกียรติยศและฐานันดรอันสูงส่งนี้ ซึ่งพวกเขาได้แก่บรรดาอิมามแห่งอหฺลุลบัยตฺ(อ.)ที่ตลอดหน้าประวัติศาสตร์คือ ผู้ทำการพิทักษ์รักษาซุนนะฮฺของท่านศาสดา อัล-กุรอานและอิสลามศาสนาที่บริสุทธิ์เพื่อประชาชาติมุสลิมมาจนถึงทุกวันนี้

คำถามที่ ๗ : ทำไมเวลาอะซานต้องกล่าวว่าอัฃฮะดุอันนะอะลียันวะลียุลลอฮฺ และต้องยืนยันถึงวิลายะฮฺของท่านอะลีด้วย?
คำตอบ :
เป็นการดีก่อนที่จะตอบปัญหาโปรดพิจารณาถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ก่อน

๑. บรรดาฟุก่อฮาของชีอะฮฺทุกท่าน (ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ได้ลงความเห็นตรงกันว่า การยืนยันถึงวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอะซานและอิกอมะฮฺ และไม่มีใครมีสิทธิ์อ้างว่าการยืนยันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทั้งสอง

๒. ท่านอิมามอะลี (อ.) ตามทรรศนะของอัล-กุรอานท่านเป็นหนึ่งในเอาละยาอ์ของอัลลอฮฺ และโองการดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ได้ยืนยันว่าท่านอะลีมีอำนาจวิลายะฮฺเหนือ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย อัล-กุรอาน กล่าวว่า

إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ الَّذِينَيُقِيمُونَ الصَّلوةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ
แท้จริงผู้ปกครองของพวกเจ้า คืออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และจ่ายกาต ขณะพวกเขากำลังโค้งคารวะ [๓๗]

ริวายะฮฺศิหาห์ และมุสนัดต่างๆของอหฺลิซซุนนะฮฺได้ยืนยันว่า โองการดังกล่าวได้ถูกประท่านให้แก่ท่านอะลี (อ.)ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังทำรุกูอฺและได้บริจาคแหวนให้กับคนยากจน[๓๘]เมื่อโองการดังกล่าวได้ประให้กับท่านอะลีเรียบร้อยแล้ว ท่านหะซาน บิน ษาบิต ได้กล่าวเป็นบทกวีว่า

فانت الّذى أعطَيْتَ اذ أنت رَاكع فدَتْكَ نفوس القوم يا خَيْر راكع
فأنزَل فِيكَ الله خَيرَ وِلايةَ وبَيْنهَا فِى مُحْكَمَاتِ الشَّرايع

ท่านคือผู้ที่บริจาคขณะที่ทำรุกูอฺ ชีวิตทั้งหลายยอมพลีเพื่อท่านโอ้ผู้ดำรงรุกูอฺที่ดีที่สุด
อัลลอฮฺทรงประทานวิลายะฮฺที่ดีที่สุดแด่ท่าน ทรงแจ้งไว้ในอหฺกามชะรีอัตทั้งหลาย

๓. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า(انّما الاعمال بالنيات)แท้ จริงการกระทำนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ถ้ายอมรับว่าวิลายะฮฺของท่านอะลีเป็นหนึ่งในอุศูลที่อัล-กุ รอานกล่าวถึง อีกด้านหนึ่งประโยคที่ได้กล่าวถึงไม่ได้มีเจตนาให้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานและ อิกอมะฮฺ ฉะนั้นจะมีปัญหาอะไรหากจะกล่าวถึงความจริงนี้ไว้เคียงข้างกับการปฏิญาณยืน ยันถึงการเป็นศาสดาของท่านนบี ?

สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึง ถ้าสมมติว่าการกล่าวบางประโยคในอะซานเป็นการกระทำไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ชีอะฮฺจึงควรถูกตำหนิว่าเป็นพวกบิดอะฮฺ(ทำในสิ่งอุตริ) ถ้าเช่นนั้น สองเรื่องต่อไปนี้ท่านจะอธิบายว่าอย่างไร ?

๑. ประวัติศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับยืนยันว่าประโยคที่กล่าวว่า (حَيَّ على خَيْرِ الْعَمَل) เป็นส่วนหนึ่งของอะซาน[๓๙] ขณะในสมัยของท่านค่อลิฟะฮฺอุมัรฺท่านได้เกรงว่า การที่ประชาชนได้ยินประโยคนี้ทุกวันจะทำให้พวกเขาคิดว่าการนมาซเป็นการกระทำที่ดีที่สุด และจะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาไม่คิดทำญิฮาดอีกต่อไปท่านจึงได้ตัดประโยคนี้ออกจากอะซาน[๔๐]

๒. ประโยค (الصلاة خَيْرُ مِنَ النَّومِ) ในสมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ประโยคนี้ไม่มีและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอะซาน แต่ต่อมาประโยคนี้ได้ถูกกล่าวเพิ่มในอะซาน[๔๑] ด้วยเหตุนี้ท่านชาฟิอีย์ไดพูดไว้ในหนังสือ อัล-อุม ว่า
اكره فى الاذان الصلاة خير من النوم لأنّ أبا محذورة لم يذكره
ฉันไม่ชอบเลยที่ในอะซานนั้นต้องกล่าวว่า อัศ-ศ่อลาฮฺคัยรุน มินันเนาม์ เพราะว่าไม่มีนักฮะดีษหรือรอวีย์นำมากล่าว(ในฮะดีษของตน)[๔๒]

คำถามที่ ๘ :มะฮฺดีแห่งอาลิมุฮัมมัดเป็นใคร ทำไมต้องรอคอยการมาของท่าน?
คำตอบ :
เป็นเรื่องที่คัมภีร์แห่งฟากฟ้าทุกเล่มมีความเห็นพร้องตรงกันกล่าวคือ จะมีผู้มาปลดปล่อยและปรับปรุงโลกให้พบกับความยุติธรรมในยุคสุดท้าย ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะสังคมมุสลิมเท่านั้นที่รอคอย แต่สังคมของพวกยะฮูดี และนัศรอนีก็รอคอยผู้ที่มีความยุติธรรมที่จะมาทำหน้าที่อันนี้เช่นกัน ดังนั้นถ้าได้ศึกษาพันธะสัญญาเก่าและใหม่(โตร่าห์และไบเบิ้ล) [๔๓] จะได้รับความกระจ่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ และบรรดนักฮะดีษได้เล่าต่อกันมาว่า ท่านศาสดาได้กล่าวว่า

لولم يبقى من الدهر الاّ يوم لبعث الله رجلا من اهل بيتي يملأها عدلا كما ملئت جوزا
ถ้าหากโลกจะไม่มีเวลาเหลืออีก นอกจากเพียงวันเดียว อัลลอฮฺจะทรงให้ชายหนุ่มจากครอบครัวของฉันปากฎออกมา เพื่อทำให้โลกนี้เปี่ยมล้นไปด้วยความยุติธรรม ดังเช่นที่เคยเปี่ยมล้นด้วยความอธรรมมาแล้ว [๔๔]

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าจะผู้มาปรับปรุงโลก เป็นที่เห็นพร้องตรงกันของศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว นอกจากนั้นยังมีริวายะฮฺจำนวนมากมายถูกบันทึกไว้ในหนังสือศิหาห์ และมะซานีดของอหฺลิซซุนนะฮฺ และบรรดานักฮะดีษ และผู้ศึกษาวิจัยทั้งสุนี และชีอะฮฺได้เขียนตำรามากมายเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) [๔๕]

บรรดาริวายะฮฺเหล่านี้ได้บอกถึงคุณลักษณะพิเศษ และสัญลักษณ์ของมะฮฺดีที่จะมาปรากฏนั้นถูกต้องตรงกับบุตรของท่านอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.)[๔๖] ซึ่งเป็นอิมามท่านที่ ๑๑ ของชีอะฮฺ ตามพื้นฐานของริวายะฮฺดังกล่าวนั้นท่านอิมามมีชื่อเดียวกันกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) [๔๗]เป็นอิมามท่านที่ ๑๒ ของชีอะฮฺ[๔๘] เป็นหลานของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) บุตรท่านอิมามอะลี บิน อบีฎอลิบ (อ.) [๔๙]

ท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) ประสูติเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๒๕๕ และได้เร้นกายไปตามพระบัญชาของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ยังมีชีวิตอยู่ตราบเท่าที่พระองค์ทรงประสงค์
สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือการดำรงชีวิตที่ยาวนานเช่นนี้ ถ้าหากพิจารณาแล้วไม่หน้าที่จะเป็นไปได้ ในโลกทัศน์ของวิชาการนั้นยอมรับในเรื่องการมีอายุยืนแบบเป็นไปตามธรรมชาติ ของมนุษย์เช่นกัน อัล-กุรอานได้กล่าวถึงการมีอายุยืนของคนในอดีตอย่างเช่นท่านศาสดานูห์ (อ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا نُوحًا إِلَى قَوْمِهِ فَلَبِثَ فِيهِمْ أَلْفَ سَنَةٍ إِلَّا خَمْسِينَ عَامًا
และแน่นอนเราได้ส่งนูห์ไปยังหมู่ชนของเขา และได้อยู่ร่วมกับพวกเขาหนึ่งพันปียกเว้นห้าสิบปี [๕๐]

อัล-กุรอานกล่าวท่านศาสดายูนุสว่า
فَلَوْلَا أَنَّهُ كَانَ مِنْ الْمُسَبِّحِينَلَلَبِثَ فِي بَطْنِهِ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ
หากว่าเขามิได้เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้แซ่ซ้องสดุดีแล้วแน่นอน เขาจะอยู่ในท้องปลาจวบจนกระทั่งวันฟื้นคืนชีพ [๕๑]

เช่นเดียวกันท่านเคฎร์ และท่านศาสดาอีซา (อ.) ตามดำรัสของอัล-กุรอาน และการเห็นพร้องตรงกันของมุสลิมทั้งหลายปัจจุบันท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ และดำรงชีพของท่านไปตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ฉะนั้นเรื่องการมีอายุของคนไม่มีความขัดแย้งกัน ถ้าสิ่งนั้นเป็นพระประสงค์ของพระองค์ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

คำถามที่ ๙ :ถ้าหากชีอะฮฺถูกต้อง ทำไมจึงเป็นมุสลิมส่วนน้อย และทำไมมุสลิมส่วนมากจึงไม่ยอมรับ?
คำตอบ :
การแยกแยะสิ่งถูกผิดไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ปฏิบัติตาม เพราะหากเปรียบเทียบประชากรมุสลิมกับผู้ปฏิเสธอิสลาม มุสลิมจะมีจำนวนแค่ ๑/๕ หรือ ๑/๖ ของประชากรเท่านั้น ส่วนมากของประชากรแถบตะวันออกจะนับถือรูปปั้น รูปวัวศักดิ์สิทธิ์ และปฏิเสธความเชื่อเรื่องพระเจ้า

ประเทศจีนมีประชากรเกินหนึ่งพันล้านคนซึ่งส่วนมากของประชากรเป็น คอมมิวนิสต์ ประเทศอินเดียมีประชากรเกือบหนึ่งพันล้านคนส่วนมากเคารพบูชาวัวศักดิ์สิทธิ์ และนับถือพุทธศาสนา
ถ้าหากจะใช้ส่วนมากของประชากรเป็นเกณฑ์ในการวัดความถูกต้อง แสดงว่าคนจีนกับคนอินเดียนั้นนับถือศาสนาถูกต้อง และท่านจะมีคำตอบใดให้อิสลาม ขณะที่อัล-กุรอานกล่าวชื่นชมคนส่วนน้อย และปฏิเสธคนส่วนมากดังเช่นอัล-กุรอานกล่าวว่า

๑. وَلاَ تَجِدُ أَكْثَرَهُمْ شَاكِرِينَ
และจะไม่พบว่าส่วนมากของพวกเขา เป็นผู้ขอบคุณ [๕๒]

๒. وَمَا كَانُواْ أَوْلِيَاءهُ إِنْ أَوْلِيَآؤُهُ إِلاَّ الْمُتَّقُونَ وَلَـكِنَّأَكْثَرَهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ
และพวกเขามิใช่ผู้ปกครองของเขา บรรดาผู้ปกครองของเขานั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากบรรดาผู้ยำเกรง แต่ทว่าส่วนมากพวกเขาไม่รู้ [๕๓]

๓. وَقَلِيلٌ مِّنْ عِبَادِيَ الشَّكُور
และส่วนน้อยแห่งปวงบ่าวของเราเป็นผู้ขอบคุณ

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ไม่อาจเอาจำนวนมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน และไม่สามารถพูดได้ว่าแนวทางที่มีผู้ปฏิบัติน้อยนั้นไม่ถูกต้อง แต่ทว่าสิ่งสำคัญคือการให้ความสว่างแก่สติปัญญา และการได้รับประโยชน์จากนูรฺรัศมีนั้น
มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามาอะลี (อ.) ว่า ท่านพิสูจน์ได้อย่างไรว่าผู้คนส่วนมากที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามในสงครามยะมัลนั้น เป็นฝ่ายผิด ? ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า ..

انّ الحق والباطل لا يعرفان بأقدار الرجال اعرف الحقّ تعرف أهله اعرف الباطل تعرف أهله
ความจริงกับความเท็จนั้นไม่อาจรู้ได้ด้วยจำนวนของผู้ปฏิบัติตาม ถ้าเจ้ารู้จักความจริงก็จะรู้จักผู้ปฏิบัติตาม และถ้าเจ้ารู้จักความเท็จ เจ้าก็จะรู้จักผู้ปฏิบัติตาม

เป็นความจำเป็นสำหรับมุสลิมคนหนึ่งที่ต้องรู้จักความจริงด้วยกับเหตุผล หลักฐานและการวิเคราะห์ด้วยสติปัญญาอัล-กุรอานกล่าวแนะนำว่า وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ และอย่าติดตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น[๕๔] กุรอานต้องการแนะนำว่าสูเจ้าจงใช้สติปัญญาเป็นสิ่งนำทางชีวิตเสมอ

ดังนั้นแม้ว่าประชากรของชีอะฮฺจะมีจำนวนน้อยกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า แนวทางของชีอะฮฺไม่ถูกต้องเพราะได้ชี้แจงไปแล้วว่าสิ่งถูกผิดนั้นไม่ได้ จำแนกด้วยจำนวนแต่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผล และสติปัญญา และถ้าทำการสำรวจประชากรชีอะฮฺ ท่านก็จะพบว่า ๑/๔ ของประชากรมุสลิมนั้นเป็นชีอะฮฺซึ่งอาศัยอยู่ทุกส่วนของโลก[๕๕] ในหมู่ของชีอะฮฺมีอุละมาอ์ นักวิชาการชั้นแนวหน้าทุกสาขาวิชาการ ซึ่งตลอดหน้าประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าชีอะฮฺไม่ได้มีสิ่งใดน้อยหน้าไปกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺ มูลฐานหลักของความรู้ต่างๆ นั้นนักวิชาการของชีอะฮฺเป็นผู้ก่อตั้งทั้งสิ้นอาทิเช่น ท่านอบุลอัสวัด ดุอิลีย์ ผู้สถาปนาอิลมฺ นะห์วุ (กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับหรือโครงสร้างประโยคที่ถูกต้อง) ท่านค่อลีล บิน อหฺมัด เป็นผู้สถาปนาวิชาฉันทลักษณ์ ท่านมุอาซ บิน มุสลิม บิน อบีซาเราะฮฺ กูฟีย์เป็นผู้สถาปนาวิชาไวยากรณ์และโครงสร้างที่ถูกต้องของคำและวะลี ท่านอบู อับดิลลาฮฺ มุฮัมมัด บินอิมรอน เป็นผู้สถาปนาวิชาวาทศิลป์[๕๖]

เพื่อการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสถานภาพทางวิชาการของอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺ สามารถศึกษาได้จากหนังสือที่ทรงคุณค่าทางวิชาการเช่น อัซซะรีอะฮฺ อิลา ตะซอนีฟิชชีอะฮฺ ,อะอฺยานุชชีอะฮฺ และถ้าต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของชีอะฮฺ ศึกษาได้จากหนังสือ ตารีคุชชีอะฮฺ




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
ชีอะฮฺมีคำตอบ

คำถามที่ ๑๐ :ร็อญอะฮฺคืออะไร และเหตุใดจึงต้องเชื่อ?
คำตอบ :
ร็อญอะฮฺ ในภาษาอาหรับหมายถึง การกลับ ส่วนในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การกลับของคนกลุ่มหนึ่งภายหลังจากความตายและ"ก่อน"การเกิดอวสานของโลก (กิยามะฮฺ) พร้อมกับการปรากฏกายของท่านอิมามามะฮฺดี (อ.) และแก่นแท้ของเรื่องนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับเหตุผลทางสติปัญญาและอัล-กุรอานแต่อย่างใด

ในทรรศนะของอิสลามและศาสนาอื่นๆที่มีความเชื่อต่อพระผู้เป็นเจ้านั้น แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์คือ วิญญาณที่เป็นมุญัรฺร็อด (มิได้เป็นสสารวัตถุ) หรือในบางครั้งเรียกว่า นัฟซ์ เหมือนกัน ซึ่งวิญญาณนั้นภายหลังจากร่างกายได้ดับสลายแล้วมันยังคงดำรงอยู่ตลอดไปอย่างเป็นอมตะ

อีกด้านหนึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเกรียงไกรนั้นอัล-กุรอานได้กล่าวว่าเป็นผู้ทรงเดชานุภาพแต่เพียงผู้ เดียว และอำนาจของพระองค์ทรงครอบคลุมอยู่เหนือสรรสิ่งทั้งหลาย ไม่มีสิ่งใดสามารถขัดขวาง หรือกำหนดให้อำนาจของพระองค์อยู่ในขอบเขตจำกัดได้

ด้วยกับสองบทนำที่กล่าวมาทำให้รู้ได้ว่าเรื่อง ร็อญอะฮฺ จากมุมมองของสติปัญญานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะว่าการกลับมาอีกครั้งของบุคคลกลุ่มดังกล่าว เป็นเรืองที่ง่ายดายกว่าการสร้างให้เกิดขึ้นมาในครั้งแรก

พระผู้อภิบาลผู้ทรงสร้างพวกเขาให้เกิดขึ้นมาในครั้งแรกจากความว่างเปล่า ฉะนั้นการนำพวกเขากลับมาอีกครั้งย่อมเป็นเรื่องที่ง่ายดายกว่าและเป็นไปได้สำหรับพระองค์

บนพื้นฐานความเชื่อดังกล่าวอัล-กุรอานได้กล่าวถึงการกลับมาของคนบางกลุ่มในอดีตไว้ดังนี้

وَإِذْ قُلْتُمْ يَا مُوسَى لَن نُّؤْمِنَ لَكَ حَتَّى نَرَى اللَّهَ جَهْرَةً فَأَخَذَتْكُمُ الصَّاعِقَةُ وَأَنتُمْ تَنظُرُونَثُمَّ بَعَثْنَاكُم مِّن بَعْدِ مَوْتِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
และ(จงรำลึก) เมื่อพวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเด็ดขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺอย่างแจ้งชัด ฉะนั้นสายฟ้าได้คร่าชีวิตพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ามองดูอยู่ แล้วเราได้ให้พวกเจ้าฟื้นขึ้นมา หลังความตายของพวกเจ้า โดยหวังว่าพวกเจ้าจะสำนึกในพระคุณ[๕๗]

อีกโองการหนึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของท่านศาสดาอีซา (อ.) ว่า وَأُحْيِي الْمَوْتَى بِإِذْنِ اللّهِ
และฉันจะให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้นมาด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ[๕๘]

อัล-กุรอานไม่ได้กล่าวว่าเรื่องร็อญอะฮฺจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้บ่งบอกถึงการกลับมาของกลุ่มชนบางกลุ่มอีกต่างหาก ดังบางโองการได้กล่าวถึงการกลับมาของคนกลุ่มหนึ่งภายหลังจากได้ตายไปแล้วและ ก่อนการเกิดกิยามะฮฺว่า

وَإِذَا وَقَعَ الْقَوْلُ عَلَيْهِمْ أَخْرَجْنَا لَهُمْ دَابَّةً مِّنَ الْأَرْضِتُكَلِّمُهُمْ أَنَّ النَّاسَ كَانُوا بِآيَاتِنَا لَا يُوقِنُونَوَيَوْمَ نَحْشُرُ مِن كُلِّ أُمَّةٍ فَوْجًا مِّمَّن يُكَذِّبُ بِآيَاتِنَا فَهُمْ يُوزَعُونَ
และเมื่อพระดำรัสเกิดขึ้นแก่พวกเขาเราได้ให้สัตว์ออกมาจากแผ่นดินแก่พวกเขา เพื่อกล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงปวงมนุษย์นั้นไม่ยอมเชื่อมั่นต่อโองการทั้งหลายของเรา และ (จงรำลึกถึง) วันที่เราจะเรียกจากทุก ๆ ชาติ มาชุมนุมกันเป็นหมู่คณะ จากผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเราโดยที่พวกเขาจะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ [๕๙]

ก่อนที่จะพิสูจน์ว่าเรื่องร็อญอะฮฺเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญบางอย่างดังต่อไปนี้

๑. บรรดานักอธิบายอัล-กุรอานส่วนมากได้กล่าวว่าสองโองการข้างต้นได้พูดถึงเรื่องวันกิยามะฮฺ ขณะที่โองการแรกนั้นมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดก่อนกิยามะฮฺ ดังเช่นที่ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรอัดดุรรุลมันษูรฺ โดยรายงานมาจากท่าน อิบนิอบีชัยบะฮฺ จากท่าน หุซัยฟะฮฺว่า การออกมาชุมนุมของปศุสัตย์ทั้งหลายได้เกิดก่อนวันกิยามะฮฺ[๖๐]

๒.ไม่เป็นที่สงสัยว่าในวันกิยามะฮฺนั้นมนุษย์ทั้งหมดจะถูกนำมารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติที่เฉพาะเจาะจง อัล-กุรอานกล่าวถึงการเรียกให้มนุษย์มารวมกันว่า

ذَلِكَ يَوْمٌ مَّجْمُوعٌ لَّهُ النَّاسُ وَذَلِكَ يَوْمٌ مَّشْهُودٌ
วันแห่งการรวบรวมปวงมนุษย์สำหรับพระองค์ และนั่นคือวันแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง[๖๑] ในวันนั้นตัฟซีรอัดดุรุลมันษูรฺได้อธิบายว่าเป็นวันกิยามะฮฺ[๖๒]

وَيَوْمَ نُسَيِّرُ الْجِبَالَ وَتَرَى الْأَرْضَ بَارِزَةً وَحَشَرْنَاهُمْ فَلَمْ نُغَادِرْ مِنْهُمْ أَحَدًا
และ(จงรำลึก) วันที่เราให้เทือกเขาเคลื่อนย้ายไป และเจ้าจะเห็นแผ่นดินราบเรียบ และเราจะชุมนุมพวกเขา ดังนั้น เราจะไม่ให้ผู้ใดออกไปจากพวกเขาเลย[๖๓]

ด้วยการยืนยันของอัล-กุรอานจะพบว่าในวันกิยามะฮฺนั้นมนุษย์ทุกคนจะถูกนำ มารวมกัน ซึ่งคำสั่งนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมนุษย์กลุ่มใดเป็นพิเศษ

๓. โองการที่สอง (๘๓/นัมลิ) ได้กล่าวถึงการกลับมาของคนบางกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงจากมวลประชาชาติ ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ทุกคนเพราะโองการกล่าวว่า และ (จงรำลึกถึง) วันที่เราจะเรียกจากทุก ๆ ชาติ มาชุมนุมกันเป็นหมู่คณะ จากผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเราโดยที่พวกเขาจะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ

ดำรัสของอัล-กุรอานได้กล่าวยืนยันอย่างชัดเจนว่า ไม่ได้หมายถึงชนทุกหมู่เหล่า เฉพาะบางกลุ่มเท่านั่นเอง

บทสรุปที่ได้ จากบทนำทั้งสามที่ได้กล่าวมาทำให้ทราบว่า การกลับมาของกลุ่มชนที่ปฏิเสธโองการต่างๆ ของอัลลอฮฺซึ่งโองการที่ ๘๓/นัมลิได้กล่าวถึงแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้เกิด"ก่อน"วันกิยามะฮฺอย่างแน่นอน (เพราะโองการได้กล่าวว่ามีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้กลับมา)

ด้วยเหตุนี้ คำกล่าวอ้างของชีอะฮฺที่ว่าจะมีกลุ่มชนกลับมาหลังจากความตาย และก่อนวันกิยามะฮฺนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนด้วยการสนับสนุนของโองการดังกล่าว ซึ่งการกลับมานั้นเรียกว่า ร็อญอะฮฺ นั้นเอง

บรรดาอะอิมมะฮฺ (อ.) ในฐานะของผู้ที่ถูกเทียบเคียงและอธิบายอัล-กุรอานได้กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้อาทิเช่น
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
ايام الله ثلاثة يوم القائم و يوم الكرة ويوم الفيامة
วันแห่งอัลลอฮฺนั้นมีสามวัน ได้แก่วันแห่งการปรากฏกายของมะฮฺดี วันแห่งการกลับ (ร็อญอะฮฺ) และวันกิยามะฮฺ

ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวอีกว่า ليس منا من لم يؤمن بكرتنا ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องวันย้อนกลับของเราถือว่าไม่ใช่พวกของเรา

เป็นการดีหากจะกล่าวถึงสองประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
๑. ปรัชญาของการร็อญอะฮฺ
แนวคิดในเรื่องร็อญอะฮฺนั้นมีเป็นเป้าหมายที่สูงส่งอยู่สองประการกล่าวคือ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และการเจริญเติบโตของอิสลาม และเป็นการทำลายความเชื่อที่ตรงกันข้ามกับอิสลาม อีกประการหนึ่งคือ เป็นการมอบรางวัลแก่ผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาที่ประพฤติตนดี และเป็นการลงโทษผู้ปฏิเสธและผู้กดขี่ทั้งหลาย

๒.ความแตกต่างระหว่าง ร็อญอะฮฺกับตะนาซุค (การเวียนว่ายตายเกิด)
สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าว ณ ตรงนี้คือความเชื่อเรื่องร็อญอะฮฺที่ชีอะฮฺเชื่อนั้นแตกต่างเรื่องการเวียน ว่ายตายเกิดอย่างแท้จริง เพราะแนวคิดในเรื่องดังกล่าวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธเรื่องวัน สิ้นโลก และวันแห่งการตอบแทนผลรางวัล เชื่อว่าโลกนี้มีการเวียนว่ายตลอดไป และแต่ละครั้งนั้นคือการทำซ้ำครั้งก่อนเสมอ

บนพื้นฐานความเชื่อดังกล่าวนี้ วิญญาณของมนุษย์ทุกคนหลังจากที่ได้ตายแล้วจะกลับคืนสู่โลกอีกครั้ง ในร่างอื่น ฉะนั้นถ้าเขาเป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติดี วิญญาณของเขาก็จะกลับมาสู่ร่างที่จะพาเขาไปพบกับความสุข แต่ถ้าเขาประพฤติตัวไม่ดี วิญญาณของเขาจะกลับมาสู่ร่างที่จะพาเขาไปพบกับความทุกข์ระทม ซึ่งการเวียนว่ายเช่นนี้ตามความเชื่อของเขาถือว่าเป็นการตอบแทน ขณะที่ผู้ที่ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องร็อญอะฮฺนั้น เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของอิสลาม มีความเชื่อต่อวันกิยามะฮฺ มะอาดและการตอบแทนการกระทำ และไม่เชื่อเรื่องการโยกย้ายวิญญาณจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแค่เชื่อว่าจะมีชนกลุ่มหนึ่งได้กลับมาก่อนวันกิยามะฮฺ และหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลโลกซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เสร็จสิ้นลงพวกเขาก็จะต้องตายไปเหมือนคนอื่น และในวันกิยามะฮฺจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาเพื่อรอรับการตัดสินเหมือคนอื่นเช่นกัน แต่ไม่เชื่อว่าวิญญาณหนึ่งจะเปลี่ยนไปอยู่อีกร่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตามๆ แนวคิดของชีอะฮฺ ร็อญอะฮฺเป็นความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอาน เหมือนกับความเชื่อในเรื่องอื่นที่บรรดามุสลิมทั้งหลายมีความเชื่อกันอยู่ ซึ่งเรื่องร็อญอะฮฺนั้นไม่ใช่ความเชื่อของชีอะฮฺฝ่ายเดียว แต่เป็นความเชื่อที่มุสลิมทุกคนต้องเชื่อเพราะเป็นหลักการที่ปรากฏอยู่ใน อัล-กุรอาน

คำถามที่ ๑๑ :ชะฟาอะฮฺที่ชีอะฮฺมีความเชื่อนั้นหมายถึงอะไร?
คำตอบ :
ชะฟาอะฮฺเป็นอุศูล (หลักการ) ที่ชัดเจนของอิสลาม ทุกกลุ่มและทุกนิกายในอิสลามต่างยอมรับหลักการนี้บนพื้นฐานของอัล-กุรอานและ ฮะดีซของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของผลลัพธ์ก็ตาม แก่นแท้ของชะฟาอะฮฺหมายถึงมนุษย์ที่มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺมีความใกล้ชิดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติ พวกเขาได้วอนของต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ให้พระองค์ทรงอภัยในความผิดบาป หรือทรงเลื่อนชั้นตำแหน่งให้คนอื่นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

أَعطيتُ خمسا..وأُعطيتُ الشَّفاعة فادّخرتها لامّتي
พระองค์อัลลอฮฺ ทรงประทานให้กับฉัน ๕ อย่าง.....ทรงประทานชะฟาอะฮฺให้กับฉัน เพื่อฉันจะได้มอบสิ่งนี้แก่อุมมัตของฉัน[๖๔]

ขอบข่ายของชะฟาอะฮฺ
จากทัศนะของอัล-กุอานชะฟาอะฮฺเป็นหลักการหนึ่งที่ไม่มีเงื่อนไข (กัยด์) ชะฟาอะฮฺจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้ชะฟาอะฮฺได้รับอนุญาตจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เสียก่อน กลุ่มชนที่สามารถให้ชะฟาอะฮฺได้นอกจากต้องมีจิตวิญญาณที่สูงส่ง เป็นผู้นอบน้อมและมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษต่อพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

لَا يَمْلِكُونَ الشَّفَاعَةَ إِلَّا مَنِ اتَّخَذَ عِندَ الرَّحْمَنِ عَهْدًا
พวกเขาไม่มีอำนาจในการชะฟาอะฮฺ นอกจากผู้ที่ได้ทำสัญญาไว้กับพระผู้ทรงกรุณาปรานี[๖๕]

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า
يَوْمَئِذٍ لَّا تَنفَعُ الشَّفَاعَةُ إِلَّا مَنْ أَذِنَ لَهُ الرَّحْمَنُوَرَضِيَ لَهُ قَوْلًا
วันนั้น การชะฟาอะฮฺ จะไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกจากผู้ที่พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรอนุญาตแก่เขา และพระองค์ทรงพอพระทัยในคำพูดของเขาเท่านั้น[๖๖]

๒.บุคคลทีจะได้รับชะฟาอะฮ ต้องมีคุณสมบัติเพียงพอในการรับชะฟาอะฮฺด้วย หมายถึงมีความความสัมพันธ์ทางอีมานดีกับอัลลอฮฺมีจิตวิญญาณที่แนบแน่นกับผู้ ประทานชะฟาอะฮฺด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าบรรดากาเฟรทั้งหลายที่ไม่มีอีมานกับอัล ลอฮฺ หรือมุสลิมบางคนที่กระทำความผิดบาปต่อพระองค์ เช่นมุสลิมที่ไม่ดำรงนมาซ ไม่ปฏิบัติตามกฎชัรอีย์ของพระองค์ จิตวิญญาณของเขามิได้แนบแน่นต่อผู้ประทานชะฟาอะฮฺ

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัตินามซ และไม่เชื่อในวันตอบแทนดังนี้ว่า

فَمَا تَنفَعُهُمْ شَفَاعَةُ الشَّافِعِينَ
ดังนั้นการชะฟาอะฮฺของบรรดาผู้มีชะฟาอะฮฺจะไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่พวก เขา[๖๗]

อัล-กุรอานกล่าถึงพวกกดขี่ว่า

مَا لِلظَّالِمِينَ مِنْ حَمِيمٍ وَلَا شَفِيعٍ يُطَاعُ
ไม่มีมิตรที่สนิทสนมสำหรับบรรดาผู้อธรรม และไม่มีผู้อนุเคราะห์คนใดที่จะถูกเชื่อฟัง[๖๘]

ปรัชญาของชะะฟาอะฮฺ

การชะฟาอะฮฺเหมือนกับการเตาบะฮฺ เป็นหวังแห่งการมีความหวังสำหรับผู้ที่หลงทางและได้กระทำบาป และเขาได้ละทิ้งสิ่งเหล่านั้น ช่วงชีวิตที่เหลือเขาได้กลับตัวกลับใจเป็นบ่าวที่ดี เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพราะผู้ที่ได้กระทำความผิดบาปเมื่อ เขามีความรู้สึกว่าเขาตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด(ไม่ใช่ทุกเงื่อนไข)เขา สามารถขอชะฟาอะฮฺแก่ผู้ทีสามารถให้ชะฟาอะฮฺแก่เขาได้ แต่ต้องพยายามรักษาพรมแดนนี้เอาไว้ให้มั่นคงและทำในสิ่งที่ดีกว่า

ผลลัพธ์ของชะฟาอะฮฺ

บรรดานักตัฟซีร (ผู้อธิบายอัล-กุรอาน) มีควมเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องที่ว่า ชะฟาอะฮฺนั้นคือการอภัยในความผิดบาป หรือว่าการยกระดับฐานันดรของบุคคลนั้น แต่เมื่อพิจารณาที่พระวัจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่กล่าวว่า ชะฟาอะฮฺของฉันสำหรับคนที่กระทำความผิดบาปใหญ่ ถือว่าทัศนะแรกถูกต้อง

انّ شفاعتي يوم القيامة لأهل الكبائر من أمتي
ชะฟาอะฮฺของฉันในวันกิยามะฮฺนั้ สำหรับประชาชาติของฉันผู้ที่ทำความผิดบาปใหญ่[๖๙]

คำถามที่ ๑๒ : การขอชะฟาอะฮฺจากผู้ที่มีสิทธิ์ให้ชะฟาอะฮฺเป็นชิริก(การตั้งภาคีต่อพระเจ้า)หรือไม่?
คำตอบ :
คำถามที่ได้ถามมานั้น ทำให้รุ้ว่าการชะฟาอะฮฺเป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) แต่เพียงผู้เดียว อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُل لِّلَّهِ الشَّفَاعَةُ جَمِيعًا
จงประกาศเถิดว่า อัลลอฮฺผู้ทรงสิทธิ์ในการชะฟาอะฮฺทั้งหมด[๗๐]

ด้วยเหตุนี้การขอชะฟาอะฮฺจากผู้อื่นที่นอกจากอัลลอฮฺ หรือการขออำนาจเด็ดขาดของพระองค์จากผู้บ่าว และในความเป็นจริงการขอเช่นนี้เท่ากับเป็นการภักดีต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักเตาฮีดที่ว่าด้วยอิบาดะฮฺ ?

จุดประสงค์ของ ชิริก ตรงนี้ไม่ได้เป็นการทำชิริกในซาต (อาตมันสากล) หรือการสร้าง (คอลิกียะฮฺ) หรือการบริบาลของพระองค์ แต่เป็นชิริกในอิบาดะฮฺ

แน่นอนการอธิบายประเด็นดังกล่าวต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการภักดีและการอิบาดะฮฺ ซึ่งทุกคนทราบดีว่า การอธิบายความหมายของอิบาดะฮฺไม่ได้อยู่ในอำนาจของเราเพื่อว่าจะได้สามารถมอบความนอบน้อมทั้งหลายแก่สรรพสิ่งถูกสร้าง หรือเรียกขอทุกความต้องการจากปวงบ่าว อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องของมะลาอิกะฮฺที่สัจดะฮฺท่านศาสดาอาดัม (อ.) ว่า

فَأِذَا سَوَّيتُهُ وَنَفَخْتُ فِيْهِ مِنْ رُوْحِى فَقَعُوا لَهُ سَاجِدِيْن فَسَجَدَ الْمَلاَئِكَة كُلّهُمْ أجْمَعِيْنَ
ต่อมาเมื่อฉันได้บันดาลเขาครบสมบูรณ์ ฉันได้เป่าวิญญาณของฉันลงไปบนเขาพวก แล้วทั้งหมดก็ก้มลงกราบคารวะแก่เขา ดังนั้นมะลาอิกะฮฺทั้งหมดก็ก้มคารวะโดยดี[๗๑]

แม้ว่าการกราบนั้นพระองค์อัลลอฮฺจะเป็นผู้สั่งก็ตามแต่เมื่อพิจารณาจากกระทำ จะเห็นว่าบรรดามลาอิกะฮฺไม่ได้ทำอิบาดะฮฺต่อท่านอาดัม เพราะมิเช่นนั้นพระองค์จะไม่สั่งเช่นนั้นเด็ดขาด

เช่นกันเรื่องราวของบุตรท่านศาสดายะอฺกูบและแม้ตัวของท่านก็มิได้สัจดะฮฺท่านศาสดายูสุฟ(อ.)อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَرَفَعَ أَبَوَيْهِ عَلَى الْعَرْشِ وَخَرُّواْ لَهُ سُجَّدًا
และเขาได้เชิญบิดามารดาขึ้นบนบังลังก์ และทั้งหมดได้ทรุดกายลงคารวะท่านศาสดายูสุฟ[๗๒]

ถ้าการนอบน้อมดังกล่าวเป็นการอิบาดะฮฺต่อท่านศาสดายูสุฟละก็เราคงจะไม่เห็นท่านยะอฺกูบในฐานะของศาสดาท่านหนึ่งที่บริสุทธิ์กระทำเช่นนั้น และท่านก็คงจะไม่พอใจการกระทำของบุตรของท่านอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการนอบน้อมใดที่จะสูงส่งเกินไปกว่าการสสัจดะฮฺ

ด้วยเหตุนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องแยกความเข้าใจเกี่ยวกับการนอบน้อมหรือ การวอนขอจากผู้อื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ออกจากอิบาดะฮฺ แก่นแท้ของอิบาดะฮฺหมายถึง การที่มนุษย์ได้คำนึงถึงการมีอยู่ของอัลลอฮฺ และได้ทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ สิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ล้วนเป็นมัคลูกของพระองค์ทั้งสิ้น (สิ่งที่พระองค์ได้อุบัติขึ้นมา) คำนึงถึงภารกิจของพระองค์อย่างเช่น การบริบาล การสร้าง และการอภัยในความผิดบาปของปวงบ่าวเป็นวาญิบสำหรับพระองค์แต่ถ้าการเคารพของ เราที่มีต่อบุคคลหรือสิ่งอื่นโดยที่ไม่ได้คิดว่าเขาเป็นพระเจ้า หรือไม่ได้คิดถึงภารกิจต่างๆ ของเขาว่าเป็นภารกิจของพระผู้อภิบาลการนอบน้อม และแสดงความเคารพเช่นนี้ ก็เหมือนและไม่มีอะไรเกินเลยไปกว่าการคารวะนอบน้อมของมวลมลาอิกะฮฺที่มีต่อ ท่านศาสดาอาดัม (อ.) การคารวะของบุตรแห่งยะอฺกูบที่มีต่อท่านศาสดายูสุฟ

เกี่ยวกับคำถามที่ถามนั้นถ้าเมื่อใดก็ตามผู้ขอคิดว่าสิทธิในการให้ชะฟาอะฮฺเป็นของผู้ให้ชะฟาอะฮฺแต่เพียงอย่างเดียว และผู้ให้สามารถให้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขอีกทั้งยังสามารถอภัยในความผิดบาปได้ อีกต่างหาก การเชื่อเช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอย่างแน่นอน เพราะผู้นั้นได้วอนขอภารกิจของพระองค์จากคนอื่น แต่ถ้าพบว่ามีชนกลุ่มหนึ่งที่เป็นบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระองค์มิใช่เจ้าของ การชะฟาอะฮฺ แต่ได้รับอนุญาตในขอบเขตจำกัดจากพระองค์อัลลอฮฺให้ทำการชะฟาอะฮฺในบาปความ ผิดของคนอื่น ซึ่งสิ่งสำคัญของเงื่อนไขคือการได้รับอนุญาต และความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.) ฉะนั้นการชะฟาอะฮฺเช่นนี้จากบ่าวที่บริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ ย่อมไม่ได้หมายความเขาเป็นพระเจ้า หรือการมอบหมายภารกิจของพระองค์ให้กับเขา แต่เป็นขอในภารกิจที่เป็นสิทธิและอยู่ในความสามารถของเขา

ในสมัยที่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ยังมีชีวิตอยู่คนที่ทำความผิดบาปได้ไปหาท่านศาสดาเพื่อขออภัยในความผิดบาป ซึ่งท่านศาสดาก็ไม่ได้แสดงการเป็นชิริกแต่อย่างไรในหนังสือสุนันอิบนิมาญะ ฮฺได้รายงานริวายะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไว้ว่า

أتدرون ما خيرنى ربّى الليلة ؟ قلنا الله ورسوله أعلم. قال فأنه خيرنى بين أن يدخل نصف امتى الجنة و بين الشفاعة فاخترت الشفاعة قلنا يا رسول الله ادع الله ان يجعلنا من اهلها قال هى لكل مسلم.
ท่านรู้ไหมว่า คืนนี้พระผู้อภิบาลของฉันได้ให้ฉันเลือกระหว่างอะไร? พวกเราพูดว่า อัลลอฮฺและร่อซูลเท่านั้นเป็นผู้รู้ดีที่สุด ท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺได้ให้ฉันเลือกระหว่างการให้ประชาชาติของฉันครึ่งหนึ่งเข้าสวรรค์กับ การให้ชะฟาอะฮฺ ซึ่งฉันได้เลือกการให้ชะฟาอะฮฺ พวกเราพูดว่า โอ้ยาร่อซูลโปรดขอต่ออัลลอฮฺ ได้โปรดชะฟาอะฮฺให้พวกเราเป็นคนดี ท่านได้กล่าวว่า การชะฟาอะฮฺเป็นของมุสลิมทุกคน[๗๓]

ฮะดีซดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ว่าเหล่าบรรดาสาวกของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้ขอการชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา

อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَوْ أَنَّهُمْ إِذ ظَّلَمُواْ أَنفُسَهُمْ جَآؤُوكَ فَاسْتَغْفَرُواْ اللّهَ وَاسْتَغْفَرَ لَهُمُ الرَّسُولُ لَوَجَدُواْ اللّهَ تَوَّابًا رَّحِيمًا
และมาตรว่าพวกเขาได้อธรรมแก่ตัวเอง พวกเขาได้มาหาเจ้า แล้วขออภัยโทษต่ออัลออฮฺ และร่อซูลก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา พวกเขาได้พบว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ[๗๔]

อีกโองการหนึ่งพระองค์กล่าวว่า
قَالُواْ يَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا كُنَّا خَاطِئِينَ
พวกเขาพูดว่า โอ้บิดาของเราโปรดอภัยโทษในความผิดของพวกเรา แท้จริงพวกเราเป็นผู้ผิดพลาด[๗๕]

ท่านศาสดายะอฺกูบได้ให้สัญญาการอภัยโทษแก่พวกเขา ซึ่งจะเห็นว่าท่านศาสดาไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นชะรีกแต่อย่างไรอัล-กุรอานกล่าวว่า

قَالَ سَوفَ أسْتغْفَر لَكُمْ رَبّى اِنَّهُ هُوَ الْغَفُور الرَّحِيمُ
กล่าวว่า ฉันจะขออภัยต่อพระผู้อภิบาลของฉันแก่พวกเจ้า แท้จริงพระองค์ทรงอภัย อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง[๗๖]

คำถามที่ ๑๓ : การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺเป็นชิริกหรือไม่?
คำตอบ :
หากพิจารณาด้วยสติปัญญา ในมุมมองของอัล-กุรอานจะพบว่ามนุษย์ทุกคน ตลอดจนสรรพสิ่งหลายบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม ในการกำเนิดล้วนต้องพึ่งพิงพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น และในการดำรงอยู่ก็ต้องอาศัยพระองค์อีกเช่นกัน อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

يَا أيُّهَا النَّاسُ أنْتُمُ الفُقُرَاءُ اِلَى الله والله هُوَ الغَنِىُّ الْحَمِيْد
โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องพึ่งพิงอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺนั้นทรงมั่งมีอย่างล้นเหลือ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ[๗๗]

وَمَا النَّصْرُ إِلاَّ مِنْ عِندِ اللّهِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ
และการช่วยนั้น เฉพาะจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น[๗๘]

إيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราขอความช่วยเหลือ[๗๙]

ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับคำตอบข้างต้น เราขออธิบายว่า

๑. แนวทางแรก มนุษย์ได้ขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันหรือจากสรรพสิ่งอื่น โดยถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีอำนาจอิสระ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงพระผู้เป็นเจ้า
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ (ซบ.) ในทำนองนี้เป็นชิริกอย่างแน่นอน อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُلْ مَن ذَا الَّذِي يَعْصِمُكُم مِّنَ اللَّهِ إِنْ أَرَادَ بِكُمْ سُوءًا أَوْأَرَادَ بِكُمْ رَحْمَةً وَلَا يَجِدُونَ لَهُم مِّن دُونِ اللَّهِ وَلِيًّا وَلَا نَصِيرًا
จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ถ้าอัลลอฮฺประสงค์จะทรงลงโทษพวกท่าน ใครเล่าจะปกป้องพวกท่านให้หลอดพ้นไปจากอัลลอฮฺ หรือทรงประสงค์จะให้ความเมตตาแก่พวกท่าน และพวกเขาจะไม่พบใครอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ที่จะเป็นผู้คุ้มครองและช่วยเหลือพวกเขา [๘๐]

๒. แนวทางที่สอง ขณะที่เขาขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันนั้น เขาได้คำนึงเสมอว่าผู้นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างหนึ่งและต้องอิงอาศัยอัลลอฮฺ (ซบ.) ตลอดเวลา เขาไม่ได้เป็นอิสระไปจากพระองค์ การดำรงอยู่และการมีของเขาล้วนได้รับการสนับสนุนมาจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรทั้งสิ้น โดยเชื่อว่าในปัญหาบางอย่างของมนุษย์ อัลลอฮฺทรงประทานการแก้ไขโดยผ่านเขา

บนพื้นฐานความคิดดังกล่าวหากต้องการให้เขาเป็นผู้ช่วยเหลือถือว่าเขาเป็นเพียงสื่อที่พระผู้อภิบาลได้มอบหมายให้เขาเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหาหรือสนองตอบความต้องการบางประการแก่มนุษย์ ฉะนั้นการขอความช่วยเหลือทำนองเช่นนี้ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้เขาเป็นสื่อในการขจัดปัญหาความต้องการแก่คนอื่น ทรงทำให้เขามีความสามารถ ซึ่งพระองค์คือสาเหตุที่แท้จริง และหากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่าการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้วางอยู่บนความช่วยเหลือที่เป็นสาเหตุและมูลเหตุของมัน หมายถึงถ้าหากมนุษย์ไม่ขอความช่วยเหลือจากเขา ชีวิตมนุษย์ก็จะมีแต่ความรันทด ดังนั้นถ้ามนุษย์ได้สัมพันธ์กับพวกเขาบนพื้นฐานของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งในความเป็นจริงพวกเขาคือสื่อของการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และการมีอยู่ของพวกเขาก็มาจากพระองค์ การช่วยเหลือและการสนับสนุนทั้งหลายของพวกเขามาจากพระองค์ ดังนั้นการขอความช่วยเหลือในทำนองนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับความเป็นเอกะของพระองค์ หรือการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียวแต่อย่างใด

ถ้าเกษตรกรคนหนึ่งที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า และยอมรับความเป็นเอกะของพระองค์ และเขาต้องอิงอาศัยการช่วยเหลือจากตัวการอื่นๆ ด้วยอย่างเช่น พื้นดิน น้ำ อากาศหรือแม้แต่แสงแดดเพื่อเพราะปลูกเมล็ดพันธ์ของเขา ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้สิ่งเหล่านั้นมีกำลังและความสามารถเป็นไป ประกอบกับเกษตรกรคนนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาต่ออำนาจและเดชานุภาพของพระองค์ อยู่ก่อนแล้ว

เป็นที่ชัดเจนว่าการขอความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น เข้ากันได้อย่างดีกับความเป็นเอกะและการเคารพภักดีกับพระเจ้าองค์เดียว ทว่าอัล-กุรอานเองได้เชิญชวนและสอนเราให้ทำการขอความช่วยเหลือ และอิงอาศัยกับสรรพสิ่งอื่น อาทิเช่น นมาซ และความอดทน อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلوةِ
และจงแสวงหาความช่วยเหลือ ด้วยความอดทน และการนมาซ [๘๑]

แน่นอนความอดทนอดกลั้นนั้นเป็นภารกิจของมนุษย์ และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องขอความช่วยเหลือจากพวกเขา อย่างไรก็ตามการขอความช่วยเหลือลักษณะอย่างนี้ไม่ขัดกับความเป็นเอกะของพระองค์แน่นอน




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
ชีอะฮฺมีคำตอบ

คำถามที่ ๑๔ :การเรียกร้องความช่วยเหลือจากผู้อื่นถือเป็นการบูชาพวกเขาหรือไม่?
คำตอบ :
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อกังขาดังกล่าวเนื่องจากมีบางโองการที่ได้ห้ามมิให้มีการเรียกหาคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَاَنَّ المسَا جِدَ لله فَلاَ تَدْعُوا مَعَ اللهِ أَحَدًا
และแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกเจ้าอย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ[๘๒]

وَلاَ تَدْعُ مِن دُونِ اللّهِ مَا لاَ يَنفَعُكَ وَلاَ يَضُرُّكَ
และเจ้าอย่าวิงวอนสิ่งใดอื่นนอกจากอัลลอฮฺที่ไม่อำนวยประโยชน์ และไม่ให้โทษแก่เจ้า[๘๓]

มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อว่าโองการเหล่านี้เป็นหลักฐานยืนยันไม่ให้ทำการวิงวอนเรียกร้องต่อบรรดาเอาลิยาอฺ และผู้เป็นกัลญาณชนของพระองค์ภายหลังจากที่พวกเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้วซึ่งถือว่าเป็นชิริก

สำหรับความกระจ่างในเรื่องนี้สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ คำว่าดุอาอฺ และอิบาดะฮฺ หมายถึงอะไร ?
ไม่ต้องสงสัยว่า คำว่าดุอาอฺในภาษาอาหรับหมายถึง การวิงวอน เรียกร้อง ส่วนคำว่า อิบาดะฮฺ หมายถึง การเคารพภักดี ดังนั้นไม่สามารถกล่าวได้ว่าคำสองคำมีความหมายเหมือนกัน หรือความหมายเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า ทุกๆ การเรียกร้อง และความต้องการเป็นอิบาดะฮฺหรือการเคารพภักดี เพราะว่า

๑. คำว่าดุอาอฺได้ถูกใช้ในอัล-กุรอานมากมายหลายครั้ง แต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของดุอาอฺหมายถึง การอิบาดะฮฺ เช่นกล่าวว่า

قَالَ رَبِّ إِنِّي دَعَوْتُ قَوْمِي لَيْلًا وَنَهَارًا
ท่านศาสดานูห์กล่าวว่า พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันได้เชิญชวนประชาชาติของฉัน (ไปสู่การภักดีกับพระองค์) ทั้งกลางวันและกลางคืน [๘๔]

เป็นไปไดไหมที่จุดประสงค์ของท่านศาสดานูห์ (อ.) คือต้องการบอกว่าฉันได้ทำอิบาดะฮฺกับประชาชาติของฉันทั้งกลางวันและกลางคืน
ด้วยเหตุนี้ไม่สามารถพูดได้ว่า ดุอาอฺ กับ อิบาดะฮฺนั้นให้ความหมายเดียวกัน และถ้าเพื่อว่ามีใครได้ของความช่วยเหลือจากท่านศาสดา หรือจากบ่าวที่บริสุทธิ์คนหนึ่งถือว่าได้ทำอิบาดะฮฺกับเขาอย่างนั้นหรือ ? เพราะให้ความหมายดุอาอฺ ครอบคลุมไปถึงการอิบาดะฮฺด้วย

๒ . จุดประสงค์ของดุอาอฺที่ได้กล่าวไว้ในโองการที่นำเสนอมานั้น ไม่ได้หมายถึงการเรียกร้องทั้งหมด แต่ให้ความหมายว่าเป็นการเรียกร้องที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจให้ความหมายว่าเป็นการอิบาดะฮฺก็ได้ เพราะโองการเหล่านี้ได้ลงเกี่ยวกับเรื่องการเคารพบูชารูปปั้น ซึ่งพวกเขาถือว่าเทวรูปเหล่านั้นเป็นเทพเจ้าน้อยสำหรับพวกเขา

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการให้ความเคารพต่อเทวรูป และการร้องขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นผู้มีสิทธิ์ในการให้ชะฟาอะฮฺ และอภัยในความผิดบาป และอื่นๆ ตลอดจนเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีความอิสระในการตอบสนองทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตามที่ได้มีผู้ร้องขอมา การกระทำด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ ทุกๆ การร้องขอจากสิ่งที่มีอยู่จึงถือว่าเป็นอิบาดะฮฺ ดังที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการร้องขอของพวกเขา บนความเชื่อที่ว่าสิ่งเหล่านั้นมีเหมาะสมต่อการอิบาดะฮฺ อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَمَا أَغْنَتْ عَنْهُمْ آلِهَتُهُمُ الَّتِي يَدْعُونَ مِن دُونِ اللّهِ مِنشَيْءٍ
และบรรดาพระเจ้าที่พวกเขาวิงวอนขอนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺนั้น จะไม่อำนวยประโยชน์อันใดให้แก่พวกเขาเลย [๘๕]

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าโองการที่กำลังกล่าวถึง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังพูดถึงอยู่แต่อย่างไร เรื่องที่กำลังกล่าวถึงคือ การร้องขอของบ่าวคนหนึ่งจากบ่าวอีกคนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้เชื่อว่าเขาเป็นพระเจ้าผู้อภิบาล หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สมบูรณ์ในภารกิจที่เกี่ยวข้องนั้นทั้งโลกนี้และโลกหน้า ทว่ายอมรับว่าเขาเป็นเพียงบ่าวที่มีเกียรติ ณ พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) และเขาได้ถูกเลือกให้เป็นศาสดาหรืออิมาม และถูกให้สัญญาว่าดุอาอฺของเขาที่ขอให้มวลประชาชาติทั้งหลายเป็นที่ยอมรับ อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَلَوْ أَنَّهُمْ إِذ ظَّلَمُواْ أَنفُسَهُمْ جَآؤُوكَ فَاسْتَغْفَرُواْ اللّهَ وَاسْتَغْفَرَ لَهُمُ الرَّسُولُ لَوَجَدُواْ اللّهَ تَوَّابًا رَّحِيمًا
แม้ว่าพวกเขาได้เขาอธรรมแก่ตัวเองได้มาหาเจ้า แล้วขออภัยโทษต่ออัลออฮฺ และร่อซูลก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา แน่นอนพวกเขาย่อมพบว่าอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ [๘๖]

๓. โองการที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่า จุดประสงค์ของดุอาอฺ ไม่ได้หมายถึงการร้องขอเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นการร้องขอในเชิงของอิบาดะฮฺ ด้วยเหตุนี้จะพบว่าอีกโองการหนึ่งหลังจากคำว่า ดุอาอฺ แล้วในความหมายของดุอาอฺนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นคำว่า อิบาดะฮฺทันที่อย่างเช่นโองการที่ว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ إِنَّ الَّذِينَ يَسْتَكْبِرُونَعَنْ عِبَادَتِي سَيَدْخُلُونَ جَهَنَّمَ دَاخِرِينَ
และพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อฉัน ฉันจะตอบรับสำหรับพวกเจ้า แท้จริงบรรดาผู้โอหังต่อการเคารพภักดีฉันนั้น พวกเขาจะเข้าไปอยู่ในนรกอย่างต่ำต้อย [๘๗]

หากพิจารณาจะพบว่าในตอนแรกของโองการจะใช้คำว่า อัดอูนี แต่หลังจากนั้นโองการได้ใช้คำว่า อิบาดะตี ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างดีว่าจุดประสงค์ของการ ดุอาอฺ หรือการขอความช่วยเหลือต่อสิ่งที่อยู่ต่อหน้า ซึ่งพวกเขาได้ยอมรับว่านั้นเป็นพระเจ้าของพวกเขา

สรุป จากบทนำทั้งสามที่ได้กล่าวมานั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ว่า จุดประสงค์หลักของอัล-กุรอานจากโองการเหล่านี้ คือการปฏิเสธ การเชิญชวนของกลุ่มที่เคารพบูชาเทวรูปทั้งหลาย โดยถือว่าเทวรูปเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นหุ้นส่วนของพระเจ้า หรือเป็นผู้บริบาล หรือ เป็นเจ้าของชะฟาอะฮฺ การนอบน้อมทุกประเภท การขอความช่วยเหลือ การขอชะฟาอะฮฺ และการขอในสิ่งที่ตนปรารถนาจากสิ่งนั้นโดยถือว่านั่นคือพระเจ้าองค์น้อย สำหรับตน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพวกบูชาเทวรูปเชื่อว่าส่วนหนึ่งของภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้และโลก หน้าพระองค์ทรงมอบหมายในพระเจ้าองค์น้อยเหล่านั้นเป็นผู้จัดการ โองการดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์กับการขอความอนุเคราะห์จากจิตวิญญาณที่ บริสุทธิ์ในทัศนะของผู้ให้การเชิญชวนถือว่าพวกเขาประสบความสำเร็จกว่าคนอื่น ทว่าเขาคือบุคคลที่พระองค์ทรงให้ความรักเป็นพิเศษกระนั้นหรือ ?

อัล-กุรอานกล่าวว่า وأنَّ المسا جِدَ لله فلا تد عوا مع الله احداً
มัสญิดนั้นสำหรับอัลลอฮฺ ดังนั้นจงอย่าเรียกร้องผู้ใดร่วมกับพระองค์[๘๘]

จุดประสงค์ คือการเรียกร้อง หรือวอนขอในลักษณะของการอิบาดะฮฺ เพราะพวกอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮฺนั้น จะทำการวอนขอต่อเทวรูปต่างๆ ตลอดจนจากมลาอิกะฮฺ และญินทั้งหลาย ดังนั้นจุดประสงค์ของโองการจึงหมายถึง การวอนขอจากตัวบุคคลหรือสรรพสิ่งอื่นซึ่งถือว่าสิ่งนั้นคู่ควรกับการเคารพภักดี และไม่ต้องสงสัยเลยว่าการวอนขอจากสิ่งเหล่านี้ และด้วยกับความเชื่อดังกล่าวเท่ากับเป็นการสักการะสิ่งนั้นแน่นอน

แต่สิ่งที่สงสัยคือ โองการดังกล่าวเกี่ยวข้องอันใดกับการดุอาอฺกับบุคคล ซึ่งผู้ขอไม่ได้คิดว่าเขาผู้นั้นเป็นเทพเจ้า หรือผู้บริหาร หรือเป็นพระผู้อภิบาลแต่อย่างไร เพียงแค่ยอมรับว่าเขาคือบ่าวที่ดีที่สุดของพระองค์เท่านั้น

บางคนอาจคิดว่าการวอนขอจากเอาลิยาอฺที่ดีและประเสริฐของอัลลอฮฺ (ซบ.) สามารถทำได้เฉพาะในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่เท่านั้น การวอนขอภายหลังจากที่เขาตายไปแล้วถือว่าเป็นชิริก

สามารถอธิบายได้ดังนี้

๑. เราได้ขอจากวิญญาณอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวว่าพวกเขายังไม่ตาย และมีความสูงส่งกว่าบรรดาชุฮะดาทั้งหลาย พวกเขายังดำเนินชีวิตอยู่ ณ อาลัมบัรฺซัค พวกเราไม่ได้ขอจากเรือนร่างที่ฝังอยู่ในดิน และแม้ว่าในบางครั้งท่านอาจเห็นว่ามีชีอะฮฺยืนขอดุอาอฺที่ข้างหลุมฝังศพของ บรรดาท่านเหล่านั้น เนื่องจากว่าสภาพดังกล่าวจะทำให้การติดต่อด้วยจิตด้านในของเรามีความกระตือ รือร้นมากกว่า ประกอบกับริวายะฮฺได้กล่าวว่า การขอดุอาอฺ ณ สถานที่ดังกล่าวจะทำให้ดุอาอฺถูกตอบรับเร็วขึ้น

๒. การมีชีวิตอยู่ หรือความตายของพวกเขาไม่สามารถนำมาเป็นเงื่อนไขของการเป็นชิกร์ หรือเตาฮีดได้ ขณะที่สิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือ รูปแบบของการเป็นชิกร์ และเตาฮีด ไม่ใช่เรื่องที่ว่าดุอาอฺจะมีประโยชน์หรือไม่มี

แน่นอนเรื่องเกี่ยวกับการวิงวอนในทำนองนี้จะมีประโยชน์หรือไม่มี จะทำการอธิบายในที่ของมัน อินชาอัลลอฮฺ

คำถามที่ ๑๕ : บะดาอ์หมายถึงอะไร และเพราะเหตุใดชีอะฮ์จึงมีความเชื่อในบะดาอ์?
คำตอบ :
คำว่า บะดาอ์ ในปทานุกรมอาหรับหมายถึง การปรากฏ การเปิดเผย
ในความหมายของนักปราชญ์ชีอะฮฺหมายถึง การเปลี่ยนแปลงชะตากรรมมนุษย์ด้วยกับการกระทำคุณงามความดี (อะมัลซอลิห์)

บะดาห์ เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งในนิกายชีอะฮฺวางอยู่บนพื้นฐานอัล-กุรอาน ตรรก และสติปัญญา
ทัศนะของอัล-กุรอานกล่าวว่า มนุษย์ไม่มีสิทธิ์เลือกสรรชะตากรรมของตนเอง แต่ว่าวิถีทางที่นำไปสู่ความเจริญผาสุกนั้นเปิดสำหรับเขาตลอดเวลา เขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองได้ด้วยกลับการไปสู่แนวทางสัจธรรม และการประพฤติคุณงามความดี ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่าบะดาห์เป็นความเชื่อที่เป็นแก่นประการหนึ่งของอิส ลาม อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنْفُسِهِمْ
แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงประชาชาติใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตนเอง [๘๙]

อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِمبَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاءِِ وَالأَرْضِ
และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราจะเปิดประตูความจำเริญแห่งฟกฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา[๙๐]

อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَلَوْلَا أَنَّهُ كَانَ مِنْ الْمُسَبِّحِينَلَلَبِثَ فِي بَطْنِهِ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ
หากเขามิได้เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้แซ่ซ้องสดุดีแล้ว แน่นอน เขาจะอยู่ในท้องปลาจวบจนกระทั่งวันฟื้นคืนชีพ[๙๑]

จากโองการสามารถเข้าใจได้ว่า ท่านศาสดายูนุส (อ.) นั้นต้องอยู่ในท้องปลา (อันเป็นที่คุมขังพิเศษ) สำหรับท่านตลอดไปจนถึงวันกิยามะฮฺ แต่เป็นเพราะว่าความประพฤติที่ดี (ท่านทำการแซ่ซ้องสดุดี) ชะตากรรมของท่านศาสดา (อ.) จึงเปลี่ยนแปลงไปและได้รับการช่วยเหลือในที่สุด

ความจริงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

ان الرجل ليحرم الرزق بالذنب يصيبه ولا يرد القدر الا الدعاء و لا يزيد فى العمر الا البر
คนๆ หนึ่งริสกี (ปัจจัยยังชีพ) จะถูกห้ามสำหรับเขา เนื่องจากการกระทำความผิดบาป และไม่มีสิ่งใดสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมนี้ได้ นอกจากดุอาอ์ และอายุของเขาจะไม่ยืนนอกจากการปฏิบัติความดี[๙๒]

จากริวายะฮฺดังกล่าวและริวายะฮฺอื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้สรุปได้ว่า มนุษย์เราจะถูกยับยั้งริสกีต่างๆ เนื่องจากการกระทำความผิดบาป แต่ทว่าด้วยกับการประพฤติคุณงามความดีอย่างเช่น การขอดุอาอ์ การบริจาคทาน และการทำนุบำรุงศาสนาของพระองค์ให้มีชีวิตเสมอสามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตและทำให้มีอายุยืน

สรุป

ทั้งโองการและริวายะฮฺ สรุปได้ว่ามาตรว่ามนุษย์นั้นได้ประพฤติตนตามใจปรารถนา (หากพิจารณาที่สาเหตุ และตัวการที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์)ความประพฤติของเขานั่นเองที่เป็นตัวการ สำคัญทำให้ชะตากรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือในบางครั้งอาจมีบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างเช่น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หรือบรรดาอิมาม (อ.) ได้แจ้งข่าวให้เขาทราบล่วงหน้าหมายถึงว่า ถ้าเขายังประพฤติเช่นนั้นต่อไป เขาต้องพบกับชะตากรรมที่รออยู่อย่างแน่นอน แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงการกระทำอย่างฉับพลันจะทำให้ชะตากรรมของเขาเปลี่ยน ทันที ดังนั้นจะเห็นว่าแก่นแท้ของเรื่องดังกล่าว ที่วางอยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอาน ซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และสติปัญญาที่สมบูรณ์ ชีอะฮฺเรียกว่า การบะดาห์

หากพิจารณาไปตามความเป็นจริงจะพบว่า บะดาห์ ไม่ใช่สิ่งที่มีจากชีอะฮฺฝ่ายเดียว หรือเป็นการตีความของผู้รู้ชีอะฮฺเท่านั้น ทว่าเรื่องนี้ได้มีบันทึกอยู่ในตำราของอหฺลิซซุนนะฮฺ และท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้เช่นกันอาทิเช่นคำพูดที่กล่าวว่า

بَدَ ا للهُ عزّ و جَلّ ان يبتليهم
อัลลอฮฺทรงยกเลิกการทดสอบสำหรับพวกเขา[๙๓]

สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ การบะดาห์ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ความรู้ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพระองค์ทรงทราบตั้งแต่แรกแล้วถึง ความประพฤติที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ และตัวการที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การบะดาห์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ
อัลลอฮทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยืนหยัดให้มั่น (สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์) และแม่บทแห่งคัมภีร์อยู่ ณ พระองค์[๙๔]

ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงปรีชาญาณและทรงพลานุภาพ เมื่อพระองค์ทรงบะดาห์นั้น แก่นแท้ของสิ่งดังกล่าวเป็นที่ล่วงรู้ตั้งแต่แรก ณ พระองค์ แค่ทรงเปิดเผยสิ่งนั้นให้มนุษย์ได้รับรู้ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

ما بد الله فى شيء الا كان فى علمه قبل ان يبدوله
ไม่มีสิ่งใดปิดบังสำหรับอัลลอฮฺ นอกจากว่าพระองค์ได้ล่วงรู้สิ่งนั้นตั้งแต่แรกแล้ว[๙๕]

ปรัชญาของการบะดาห์

ไม่เป็นที่สงสัยหากมนุษย์สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตของตนเองได้ แน่นอนเขาต้องทำให้อนาคตของเขาสูงส่งและดี ความพากเพียรและการขวนขวายของเขาต้องมีมากและเป็นประโยชน์กว่าที่เป็นอยู่

อีกนัยหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่า การชะฟาอะฮฺ และการเตาบะฮฺเป็นความหวังในการช่วยเหลือมนุษย์ ซึ่งแก่นแท้ของการบะดาห์ก็เช่นกันเป็นสาเหตุในการสร้างความสุข และความปิติยินดีแก่มนุษย์ทำให้มีความหวังต่ออนาคตของตนเอง เพราะว่ามนุษย์ทราบดีว่าเขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำหนดไว้แล้วแก่เขาได้ และยังสามารถกระทำในสิ่งที่ดีกว่าแก่ตนเองได้อีกต่างหาก

คำถามที่ ๑๖ :ชีอะฮฺเชื่อว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงไช่หรือไม่?
คำตอบ :
บรรดานักปราชญ์ทั้งหมดของชีอะฮฺเชื่อว่า อัล-กุรอานซึ่งถือว่าเป็นพระมหาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้ถูกบิดเบือนแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น อัล-กุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันคืออัล-กุรอานที่ได้ถูกประทานแก่ท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่ออดีตที่ผ่านมา ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมลงไปหรือถูกตัดออก ดังเหตุผลที่จะกล่าวต่อไปนี้

๑. พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่งได้รับประกันว่าพระองค์จะเป็นผู้ปกป้องคัมภีร์ ศักดิ์สิทธิ์แห่งฟากฟ้าด้วยพระองค์เอง อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอน[๙๖]

เป็นที่ชัดเจนว่าบรรดาชีอะฮฺทั้งหลายนับตั้งแต่ได้ยึดถือว่า อัล-กุรอานคือรัฐธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิตและจากโองการดังกล่าว ชีอะฮฺมีความเชื่อว่า อัล-กุรอานได้รับการปกป้องให้บริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย

๒. ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่วะฮีย์ได้ถูกประทานลงมา และเป็นผู้จดบันทึกวะฮีย์ ท่านได้กล่าวเชิญชวนให้บรรดามุสลิมทั้งหลายไปสู่อัล-กุรอานฉบับปัจจุบันใน วาระโอกาสต่างๆ ดังคำพุดต่อไปนี้ของท่าน

واعلموا انّ هذا القرآن هو الناصح الذى لايغشّ الهادى الذى لا يضلّ
จงรู้ไว้ว่า แท้จริงอัล-กุรอานเล่มปัจจุบันคือคำตักเตือนที่ไม่มีการบิดเบือน และเป็นคำชี้นำที่ไม่มีการหลงทาง[๙๗]

انّ الله سبحانه لم يعظ أحداُ بمثل هذا القرآن فانّه حبل الله المتين و سببه المبين
แท้จริงแล้วอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่เคยแนะนำผู้ใดเหมือนกับอัล-กุรอาน อัล-กุรอานนั้นเป็นสายเชือกที่มั่นคงของอัลลอฮฺ และเป็นสื่อที่ชัดแจ้งของพระองค์[๙๘]

ثمّ أنزل عليه الكتاب نورا لا تطفا مصابيحه و سراجا لا يخبوا توقده و منهاجا لا يضلّ نهجه..وفرقانا لا يخمد بر هانه
หลังจากนั้นอัลลอฮฺทรงประทานแก่เขา คัมภีร์ที่เป็นนูรฺรัศมีที่ไม่มีวันสิ้นแสง เป็นประทีปที่ไม่มีวันมืดมิด เป็นแนวทางที่ไม่นำไปสู่การหลงทาง และเป็นสิ่งจำแนกความถูกผิดที่ไม่มีวันสิ้นด้วยเหตุผล[๙๙]

จากคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอัล-กุรอานนั้นคือ ประทีปที่ทอแสงไม่มีวันดับจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ เป็นแสงสว่างแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ จะไม่พบว่าอัล-กุรอานเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฎิบัติตามหลงทางหรือทำให้พวกเขา ต้องสิ้นหวังในชีวิต

๓. บรรดานักปราชญ์ของชีอะฮฺ เห็นพร้องต้องกันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน สิ่งหนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอีกสิ่งได้แก่อิตระตีทายาทของฉัน หากพวกท่านได้ยึดมั่นกับทั้งสองพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป
ฮะดีซษะก่อลัยนฺ เป็นฮะดีซมุตะวาติรของอิสลาม (เชื่อถือได้) ทั้งซุนนะฮฺ และชีอะฮฺได้รายงานฮะดีซดังกล่าวไว้ จากคำพูดดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าในทัศนะของชีอะฮฺนั้น เชื่อว่าอัล-กุรอานฉบับปัจจุบันมีความสมบูรณ์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากว่าถ้าหากอัล-กุรอานมีการเปลี่ยนแปลงการยึดมั่นกับอัล-กุรอานไม่ สามารถนำทางและขจัดข้อสงสัยต่างๆ ได้ ทว่ายังเป็นสาเหตุนำไปสู่การหลงทางอีกต่างหาก ซึ่งบทสรุปดังกล่าวนี้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับฮะดีซษะก่อลัยนฺ

๔. ริวายะฮฺของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ฝ่ายชีอะฮฺ ที่บรรดาผู้รู้และนักปราชญ์ได้รายงานริวายะฮฺเหล่านั้นเอาไว้นั้น ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าอัล-กุรอานคือมาตรฐานของการจำแนกสิ่งถูกผิด สัจธรรมและความเท็จทั้งหลาย หมายความว่าแม้แต่ริวายะฮฺต่างๆ ที่ได้มาถึงเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องด้วยกับอับ-กุรอาน ถ้าริวายะฮฺนั้นเข้ากับอัล-กุรอานได้ถือว่าถูกต้อง ถ้าไม่เช่นนั้นถือว่าไม่ถูกต้องและใช้ไม่ได้

ริวายะฮฺที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีอยู่มากมาย ทั้งที่บันทึกอยู่ในตำราฟิกฮฺ และตำราเล่มอื่นๆ ซึ่งจะขอหยิบยกบางริวายะฮฺเท่านั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

قال الصادق (ع) : مَالَمْ يُوافِقَ مِنَ الْحَدِيْثِ الْقُرآنَ فَهُوَ زُخْرُفُ
ถ้าหากคำพูดใดไม่เข้ากับอัล-กุรอานถือว่าคำพูดนั้นไร้ประโยชน์และไม่ถูก ต้อง[๑๐๐]

ริวายะฮฺดังกล่าวเป็นที่กระจ่างว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้นเกิดกับอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้อัล-กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ จึงสามารถเป็นมาตรฐานในการวัดความถูกผิด และจำแนกสัจธรรมกับความเท็จได้ตลอดไปจนถึงวันแห่งการอวสานของโลก

๕.นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ ผู้อยู่ร่วมกับความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและการเติบโตของชีอะฮฺ ต่างยอมรับว่าอัล-กุรอานนั้นบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลง แน่นอนการนับจำนวนนักปราชญ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นเรื่องยากลำบาก ฉะนั้นจะขอหยิบยกบางท่านที่เป็นที่มักคุ้นของสังคมอาทิเช่น

๕.๑ อบูญะอฺฟัรฺ มุฮัมมัด บิน อะลี บิน ฮุเซน บาบูยะฮฺ กุมมีย์ มีฉายานามว่า เชคศุดูก เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๓๘๑ พูดว่า ความเชื่อของเราที่มีต่ออัล-กุรอานอันเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า เป็นคัมภีร์ที่ความเท็จไม่อาจย่างกายเข้าไปสู่ และเป็นคัมภีร์ที่ได้รับการประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์คือผู้พิทักษ์รักษาคัมภีร์[๑๐๑]

๕.๒ ซัยยิด มุรฺตะฏอ อะลี บิน ฮุเซน มูซาวี อะละวี มีฉายานามว่า อะละมุลฮุดา เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๔๓๖ พูดว่า มีศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งอาทิเช่น อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด , อุบัย บินกะอฺบ์ และคนอื่นๆ ได้อ่านกุรอานทั้งเล่มต่อหน้าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สิ่งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าอัล-กุรอานได้ถูกรวบรวมไว้แล้วในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยไม่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง[๑๐๒]

๕.๓ อบูญะอฺฟัรฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน ฎูซีย์ มีฉายานามว่า เชคฏออิฟะฮฺ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๔๖๐ พูดว่า คำพูดที่กล่าวว่า การเพิ่มเติม หรือการแต่งขึ้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่มีในอัล-กุรอาน เนื่องจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเห็นพร้องตรงกันว่า อัล-กุรอานนั้นบริสุทธิ์จากการเพิ่มเติมและการเปลี่ยนแปลง ส่วนเรื่องการเพิ่มเติม นิกายส่วนใหญ่ของอิสลามต่างไม่ยอมรับ คำพูดที่ว่าไม่มีการเพิ่มเติมนั้นเหมาะสมกับนิกายของเรา ซึ่งท่านซัยยิดมุรฺตะฎอ ยอมรับและสนับสนุนคำพูดนี้ ประกอบกับควมหมายทั่วไปของริวายะฮฺก็กล่าวเช่นนี้เหมือนกัน จะมีบางคนทั้งซุนนีและชีอะฮฺเท่านั้นที่พูดถึงริวายะฮฺ ที่กล่าวว่าอัล-กุรอานไม่สมบูรณ์ หรือพูดว่า โองการอัล-กุรอานได้สลับเปลี่ยนที่กัน ซึ่งริวายะฮฺเหล่านั้นเป็นริวายะฮฺประเภท คะบัรฺวาฮิด หมายถึงไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานทางวิชาการและการปฏิบัติได้ ดีกว่าให้ละทิ้งริวายะฮฺประเภทนี้[๑๐๓]

๕.๔ อบูอะลี ฏ่อบัรฺ ร่อซี เจ้าของตับซีรฺ มัจมะอุลบะยาน พูดว่า เรื่องการเพิ่มเติมความหมายของอัล-กุรอาน มุสลิมส่วนใหญ่มีทัศนะตรงกันว่าเป็นไปได้ ส่วนการเพิ่มโองการของอัล-กุรอานมีสาวกบางคนของชีอะฮฺ และนิกายหัชวียะฮฺจากอหฺลิซซุนนะฮฺได้กล่าวอ้างถึงริวายะฮฺเหล่านั้น ซึ่งสิ่งที่นิกายชีอะฮฺยอมรับและถือว่าเป็นสิ่งถูกต้องขัดแย้งกับความคิด เหล่านี้ๅ[๑๐๔]

๕.๕ อะลี บิน ฏอวูซ ฮิลลี มีฉายานามว่า ซัยยิดิบนิฏอวูซ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.ที่ ๖๖๔ พูดว่า ทัศนะของชีอะฮฺไม่ยอมรับว่าอัล-กุรอานได้ถูกเปลี่ยนแปลง[๑๐๕]
๕.๖ เชคซัยนุดดีน อามิลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๘๗๗ ได้อธิบายโองการ

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอน[๑๐๖] หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล-กุรอานจากการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มเติม และการตัดทอนด้วยพระองค์เอง[๑๐๗]




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ชีอะฮฺมีคำตอบ

๕.๗ กอฎี ซัยยิด นูรุดดีน ตุสตะรีย์ เจ้าของตำรา อิห์กอกุลฮัก เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๑๙ พูดว่า คำพูดที่ใส่ร้ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺว่า ชีอะฮฺมีความเชื่อว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับของชีอะฮฺทั้งหลายเนื่องจากว่ามีชีอะฮฺบางคนเท่านั้นที่มีความเชื่อทำนองนี้ ชีอะฮฺส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านี้ และไม่เคยสนใจกับคำพูดของเขา[๑๐๘]

๕.๘ มุฮัมมัด บิน ฮุเซน มีฉายานามว่า บะฮาอุดดีน อามีลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๓๐ พูดว่า สิ่งที่ถูกต้องคืออัล-กุรอานบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้งปวง และการที่มีบางคนพูดว่า นามของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ถูกตัดออกจากอัล-กุรอานนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์และผู้รู้ทั้งหลาย และบุคคลใดก็ตามที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และริวายะฮฺจะพบว่าอัล-กุรอานมีความมั่นคงในความถูกต้องด้วยกับการยืนยันของริวายะฮฺมุตะวาติรฺ และเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺอีกเป็นพันท่าน ซึ่งอัล-กุรอานนั้นได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)[๑๐๙]

๕.๙ เฟฎกาชานี เจ้าของตำรา อัล-วาฟีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๙๑ หลังจากได้อธิบายถึงโองการที่ว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอน[๑๑๐] ท่านอธิบายว่า ในสภาพเช่นนี้ เป็นไปได้อย่างไรที่อัล-กุรอานจะถูกเปลี่ยนแปลง หรื่อได้รับการเพิ่มเพติม หรือถูกตัดทอน ประกอบกับริวายะฮฺที่กล่าวว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงนั้นขัดแย้งกับอัล-กุ รอาน ดังนั้นต้องถือว่าริวายะฮฺเหล่านั้นไม่ถูกต้อง อ่อนแอและไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานทางวิชาการหรือการปฏิบัติได้[๑๑๑]

๕.๑๐ เชคหูรฺ อามีลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๑๐๔ พูดว่า ประวัติศาสตร์ และริวายะฮฺกล่าวว่า อัล-กุรอานมีความมั่นคงในความถูกต้องด้วยกับการยืนยันของริวายะฮฺมุตะวาติรฺ และเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺอีกเป็นพันท่าน ซึ่งอัล-กุรอานนั้นได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)[๑๑๒]

๕.๑๑ มุฮักกิก กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้กล่าวไว้ในตำราที่มีชื่อเสียงของท่าน กัชฟุลฆิฏออ์ ว่า ไม่ต้องสงสัยอัล-กุรอานได้ถูกปกป้องรักษาให้บริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้ง หลายโดยพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งอัล-กุรอานและนักปราชญ์ในทุกยุคทุกสมัยได้กล่าวยืนยันเอาไว้ และมีความคิดขัดแย้งกับกลุ่มชนที่เชื่อว่าอัล-กุรอานไม่สมบูรณ์ อีกทั้งไม่สนใจในคำพูดเหล่านั้น

๕.๑๒ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้นำการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านได้พูดว่า บุคคลใดก็ตามที่รู้และเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับการรวบรวมอัล-กุรอาน การปกป้องรักษา การบันทึก และการอ่าน แน่นอนเท่ากับเขาได้ยืนยันถึงความถูกต้องและเป็นการปฏิเสธการถูกเปลี่ยนแปลง ของอัล-กุรอาน ส่วนริวายะฮฺที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของอัล-กุรอาน ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ประกอบกับเป็นริวายะฮฺที่ไม่เป็นที่รู้จักและบ่งชี้ถึงการถูกอุปโลกน์ขึ้นมา หรือความหมายโดยรวมของริวายะฮฺเหล่านั้นมีความหมายในเชิงของการตะอ์วีล และตัฟซีรอัล-กุรอานหรือความหมายอื่นๆ ฉะนั้นหากศึกษาประวัติศาสตร์ของอัล-กุรอานตลอดทุกศตวรรษที่ผ่านมาจะพบว่า อัล-กุรอานที่ถูกต้องคือฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่มีการอ่านแตกต่างกันนั้น เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสมัยใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับอัล-กุรอานที่ท่านญิบ รออีลได้นำลงมาให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้แต่นิดเดียว[๑๑๓]

บทสรุป มุสลิมโดยทั่วไปทั้งซุนนี และชีอะฮฺมีความเชื่อว่าอัล-กุรอานที่อยู่ในมือของมุสลิมปัจจุบัน คือคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ปราศจากการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มเติม และการตัดทอน

จากคำอธิบายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนว่า คำใส่ร้ายที่มีต่อชีอะฮฺ สามารถยุติได้และเป็นคำพูดที่ไม่มีมูลความจริง แต่ถ้าจะพูดว่าการอ้างถึงริวายะฮฺที่อ่อนแอเหล่านั้นมาจากชีอะฮฺโดยเฉพาะ เราขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่ได้มีขอบเขตจำกัดอยู่แค่ชีอะ ฮฺกลุ่มน้อย หากแต่ว่ามีนักตัฟซีรอัล-กุรอานฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺบางท่านได้อ้างอิงถึงริวา ยะฮฺที่อ่อนแอเหล่านั้นอาทิเช่น
๑. อบูอับดุลลาฮฺ มุฮัมมัด บิน อหฺมัด อันศอรี กุรฺฎุบี ได้กล่าวถึงริวายะฮฺไว้ในตัฟซีรของตน โดยรายงานมาจาก อบูบักร์ อันบาซีย์ จาก อุบัย บินกะอฺบ์ว่า ซูเราะฮฺอะห์ซาบในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีมากกว่าที่มีอยู่ ๗๓ โองการเท่ากับจำนวนโองการในซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ (๒๘๖ โองการ) และโองการรัจม์ ก็อยู่ในซูเราะฮฺนี้ด้วย[๑๑๔] แต่ตอนนี้ไม่เห็นร่องรอยของโองการเหล่านั้นในซูเราะฮฺนี้อีกต่อไป

และในหนังสือเล่มดังกล่าวยังมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่าซูเราะฮฺอหฺซาบ ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีจำนวน ๒๐๐ โองการแต่หลังจากได้รวบรวมเป็นเล่มแล้ว ฉันไม่เห็นโองการที่มีมากไปกว่านี้[๑๑๕]

๒. เจ้าของตำรา อัลอิตติกอน พูดว่า จำนวนซูเราะฮฺต่างๆ ในมุศฮัฟของอุบัยมีถึง ๑๑๖ ซูเราะฮฺซึ่งสองซูเราะฮฺที่ไม่ได้มีอยู่ในอัล-กุรอานปัจจุบันคือ ซูเราะฮฺหัฟด์ และค้อลอ์[๑๑๖]
ขณะที่มุสลิมทุกคนทราบดีว่าอัล-กุรอานมีทั้งสิ้น ๑๑๔ ซูเราะฮฺ นามของซูเราะฮฺที่กล่าวไว้ในมุศฮัฟของท่านอุบัยนั้นไม่ได้ปรากฏในอัล-กุรอาน ฉบับปัจจุบัน

๓. ฮับตุลลอฮฺ บิน สลามะฮฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ นาซิควัลมันซูค โดยรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ซึ่งพูดว่า ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ฉันได้อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺหนึ่งที่มีความยาวเท่ากับซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ และฉันได้ท่องจำโองการของซูเราะฮฺนั้นไว้เพียงโองการเดียวเท่านั้น ซึ่งโองการนั้นได้แก่

لَو اَنُّ لاِبًنِ آدُمُ وُا دِيَانِ مِنُ الذَّهُبِ لاَ تَبًغَي اِلَيًهِمُا ثًالِثًا وُلُوً اَنُّ لَه ثَالِثَا لاَ تَبًغَي اِلَيًهُا رُابِعَا وُلاَ يُمًلأ جُوًفُ اِبًنِ آدُمُ اِلاّ التُرُاب وُيُتُوب اللّه عُلَي مُنً تَابُ
ขณะที่มุสลิมทั้งหมดทราบดีว่าโองการดังกล่าวไม่มีอยู่ในอัล-กุรอาน และหากพิจารณาด้านวาทศิลป์ด้วยแล้วไม่เข้ากับวาทศิลป์ของอัล-กุรอานแม้แต่ นิดเดียว

๔. ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้บันทึกไว้ในตัฟซีร อัดดุรุลมันษูรฺ โดยรายงานมาจากท่าน อุมัรฺ บิน ค็อฏฏอบว่า ซูเราะฮฺอะห์ซาบมีความยาวเท่ากับซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ และในนั้นมีโองการ ร็อญม์ อยู่ด้วย[๑๑๗]
ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่ามีผู้รู้ส่วนน้อยทั้งซุนนีและชีอะฮฺได้รายงานริวายะฮฺที่อ่อนที่กล่าวว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งริวายะฮฺเหล่านี้ผู้รู้และนักปราชญ์ทั้งซุนนีและชีอะฮฺส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ทว่าโองการ และริวายะฮฺที่ถูกต้อง และมุตะวาติรฺของอิสลาม ประกอบกับบรรดาศ่อฮาบะฮฺจำนวนเป็นพันท่าน และนักปราชญ์ของอิสลามส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า อัล-กุรอานฉบับปัจจุบันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีการเพิ่ม หรือลดจำนวนโองการแต่อย่างไร

คำถามที่ ๑๗ : ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศ่อฮาบะฮฺเป็นอย่างไร?
คำตอบ :
ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับผู้ที่ได้พบเห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ)หรืออยู่ร่วมกับท่านแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน และก่อนที่จะทำการอธิบายถึงกลุ่มเหล่านั้น อันดับแรกควรให้ความหมายของคำว่าศ่อฮาบะฮฺก่อน

การให้ความหมายคำว่า ศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยรวมๆ นั้นมีหลายทัศนะด้วยกันแต่จะเลือกเฉพาะทัศนะที่มักคุ้นเท่านั้น อาทิเช่น
๑. สะอีด บิน มุซัยยับ พูดว่า ศ่อฮาบะฮฺ หมายถึงผู้ที่ได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หนึ่งปี หรือสองปี และได้ออกสงครามร่วมกับท่านศาสดาครั้งหรือสองครั้ง[๑๑๘]

๒. วากิดีย์ พูดว่า บรรดานักปราชญ์ส่วนมากพูดว่าผู้ที่ได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยอมรับอิสลาม พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสั่งสอน และมีความพอใจกับศาสนาพวกเราถือว่าเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม[๑๑๙]

๓. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บุคอรีย์ พูดว่า มุสลิมคนใดก็ตามได้พบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอยู่ร่วมกับท่าน ถือว่าเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺ [๑๒๐]
๔. อหฺมัด บิน ฮัมบัล พูดว่า บุคคลใดก็ตามได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือน หนึ่งวัน หรือหนึ่งชั่วโมงก็ตาม หรือได้พบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถือว่าเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺ [๑๒๑]
ในหมู่นักปราชญ์อหฺลิซซุนนะฮฺอะดาลัต ศ่อฮาบะฮฺถือว่าเป็นที่ยอมรับและเป็นแก่นที่มีสำคัญอย่างยิ่ง หมายถึงบุคคลใดได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับท่านศาสดาถือว่า อาดิลทั้งสิ้น (อาดิล หมายถึงคนดีมีความยุติธรรม และไม่ทำความผิดบาป)[๑๒๒]

สิ่งสำคัญที่จะกล่าวต่อไปคือ ศ่อฮาบะฮฺในความหมายของอัล-กุรอานและในทัศนะของชีอะฮฺ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกนามของศ่อฮาบะฮฺเอาไว้ซึ่งมีมากเกินกว่า ๑๒,๐๐๐ ท่าน และในหมู่ของพวกเขามีความแตกต่างกัน ไม่เป็นที่สงสัยสำหรับชนกลุ่มแรกที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ย่อมได้รับเกียรติยศที่สูงส่ง และมุสลิมในรุ่นต่อมาต่างให้ความเคารพและให้เกียรติพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเป็นมุสลิมรุ่นแรกที่ได้ร่วมก่อร่างสร้างตัว และนำธงชัยแห่งอิสลามปักลง ณ แคว้นอาหรับในสมัยนั้น อัล-กุรอานได้กล่าวยกย่องผู้ที่ปักธงเกียรติยศแห่งอิสลามว่า

لَا يَسْتَوِي مِنكُم مَّنْ أَنفَقَ مِن قَبْلِ الْفَتْحِ وَقَاتَلَ أُوْلَئِكَأَعْظَمُ دَرَجَةً مِّنَ الَّذِينَ أَنفَقُوا مِن بَعْدُ وَقَاتَلُوا
ไม่เท่าเทียมกันในหมู่พวกเจ้า ผู้บริจาคและได้ต่อสู้บนหนทางของอัลลอฮฺ ก่อนการพิชิต (นครมักกะฮฺ) ชนเหล่านั้นย่อมมีฐานะสูงส่งกว่าบรรดาผู้บริจาคและต่อสู้บนทางของอัลลอฮฺ หลังการพิชิต (นครมักกะฮฺ)[๑๒๓]

ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าการได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นนอกจากจะถือว่าเป็นเกียรติยศแล้ว ยังทำให้จิตวิญญาณของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความเข็มแข็งและเป็นหลักประกันไปจนตลอดอายุไขของเขา เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้เป็นการดีหากเราจะพิจารณาจากอัล-กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์และเป็นธรรมนูญสูงสุดที่บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างยอมรับ

ศ่อฮาบะฮฺในทัศนะอัล-กุรอาน
อัล-กุรอานได้แบ่งกลุ่มชนที่ได้พบและอยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ออกเป็นสองกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่หนึ่ง
บุคคลที่อัล-กุรอานได้สรรเสริญและยกย่องพวกเขา และถือว่าพวกเขาคือผู้วางรากฐานที่มั่นคงและเปี่ยมล้นไปด้วยพลังแก่อิสลาม ซึ่งขอหยิบยกอัล-กุรอานที่กล่าวถึงศ่อฮาบะฮฺกลุ่มนั้นไว้ว่า
๑. เป็นชนกลุ่มแรกของอิสลาม

وَالسَّابِقُونَ الأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنصَارِ وَالَّذِينَاتَّبَعُوهُم بِإِحْسَانٍ رَّضِيَ اللّهُ عَنْهُمْ وَرَضُواْ عَنْهُ وَأَعَدَّلَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ
บรรดาชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ จากพวกมุฮาญิรีนและอันศัอรฺ และบรรดาผู้ดำเนินรอยตามพวกเขาด้วยการทำความดี อัลลอฮฺทรงพอพระทัยพวกเขา และพวกเขาก็พอใจพระองค์ และพระองค์ทรงเตรียมบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง ไว้สำหรับพวกเขาแล้ว พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[๑๒๔]

๒. กลุ่มชนที่ให้บัยอัตใต้ต้นไม้

لَقَدْ رَضِيَ اللَّهُ عَنِ الْمُؤْمِنِينَ إِذْ يُبَايِعُونَكَ تَحْتَ الشَّجَرَةِفَعَلِمَ مَا فِي قُلُوبِهِمْ فَأَنزَلَ السَّكِينَةَ عَلَيْهِمْ وَأَثَابَهُمْفَتْحًا قَرِيبًا
อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยผู้ศรัทธาที่ให้สัตยาบันกับเจ้าใต้ต้นไม้ พระองค์ทรงล่วงรู้สิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขา ดังนั้นพระองค์ได้ประทานความสงบมั่นแก่พวกเขา และทรงประทานชัยชนะอันใกล้แก่พวกเขา[๑๒๕]

๓. กลุ่มผู้อพยพ

لِلْفُقَرَاء الْمُهَاجِرِينَ الَّذِينَ أُخْرِجُوا مِن دِيارِهِمْ وَأَمْوَالِهِمْيَبْتَغُونَ فَضْلًا مِّنَ اللَّهِ وَرِضْوَانًا وَيَنصُرُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُأُوْلَئِكَ هُمُ الصَّادِقُونَ
เป็นของบรรดาผู้อพยพที่ขัดสนซึ่งถูกขับไล่ออกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา และได้ทอดทิ้งทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อแสวงหาความโปรดปราน และความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ พวกเขาได้ช่วยเหลืออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้สัตย์จริง[๑๒๖]

๔. สหายแห่งการพิชิต

مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ وَالَّذِينَ مَعَهُ أَشِدَّاءُ عَلَى الْكُفَّارِرُحَمَاءُ بَيْنَهُمْ تَرَاهُمْ رُكَّعًا سُجَّدًا يَبْتَغُونَ فَضْلًا مِّنَ اللَّهِ وَرِضْوَانًا سِيمَاهُمْ فِي وُجُوهِهِم مِّنْ أَثَرِ السُّجُودِ
มุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญเหนือพวกปฏิเสธ เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขา เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้โค้งคารวะ ก้มกราบเพื่อแสวงหาความโปรดปราน และความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากร่องรอยแห่งการสุญูด[๑๒๗]

กลุ่มที่สอง
อีกกลุ่มหนึ่งบุคคลที่ได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่เป็นพวกสองหน้า จิตใจของพวกเขาเป็นโรค อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงสภาพของพวกเขาเอาไว้อย่างชัดเจน และทรงปกป้องศาสดาของพระองค์จากพวกเขา ณ ตรงนี้จะขอหยิบยกบางโองการเพื่อความชัดเจน
๑. กลุ่มพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน)ที่เป็นที่รู้จัก

إِذَا جَاءَكَ الْمُنَافِقُونَ قَالُوا نَشْهَدُ إِنَّكَ لَرَسُولُ اللَّهِ وَاللَّهُ يَعْلَمُ إِنَّكَ لَرَسُولُهُ وَاللَّهُ يَشْهَدُ إِنَّ الْمُنَافِقِينَ لَكَاذِبُونَ
เมื่อพวกสับปลับ (มุนาฟิกูน) มาหาเจ้า พวกเขาพูดว่า เราขอปฏิญาณว่า แท้จริงท่านเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงรู้ดีว่า แท้จริงเจ้านั้นเป็นรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงยืนยันว่า พวกมุนาฟิกีนนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จอย่างแน่นอน[๑๒๘]

๒.กลุ่มพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน) ที่ไม่เป็นที่รู้จัก

وَمِمَّنْ حَوْلَكُم مِّنَ الأَعْرَابِ مُنَافِقُونَ وَمِنْ أَهْلِ الْمَدِينَةِمَرَدُواْ عَلَى النِّفَاقِ لاَ تَعْلَمُهُمْ نَحْنُ نَعْلَمُهُمْ سَنُعَذِّبُهُممَّرَّتَيْنِ ثُمَّ يُرَدُّونَ إِلَى عَذَابٍ عَظِيمٍ
และส่วนหนึ่งจากอาหรับชนบทผู้ที่พำนักอยู่รอบๆ ท่านนั้น เป็นพวกกลับกลอก และพวกชาวมะดีนะฮ์ (ชาวเมือง) เช่นกันเป็นพวกดื้อรั้นในการฝ่าฝืน เจ้าไม่รู้จักธาตุแท้ของพวกเขา แต่เรารู้จักพวกเขาดี เราจะลงโทษพวกเขาสองครั้ง หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำไปสู่การลงโทษอันยิ่งใหญ่[๑๒๙]

๓. พวกที่จิตใจป่วยไข้

وَإِذْ يَقُولُ الْمُنَافِقُونَ وَالَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ مَّا وَعَدَنَااللَّهُ وَرَسُولُهُ إِلَّا غُرُورًا
เมื่อพวกมุนาฟิกีนและพวกที่จิตใจของพวกเขาป่วยไข้พูดว่า อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์มิได้สัญญาสิ่งใดแก่เรานอกจากการหลอกลวง[๑๓๐]

๔. ผู้ที่ประพฤติความผิดบาป

وَآخَرُونَ اعْتَرَفُواْ بِذُنُوبِهِمْ خَلَطُواْ عَمَلاً صَالِحًا وَآخَرَ سَيِّئًا عَسَى اللّهُ أَن يَتُوبَ عَلَيْهِمْ إِنَّ اللّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ
และมีชนกลุ่มอื่นที่สารภาพความผิดของพวกเขา พวกเขาประกอบความดีปะปนกับความชั่ว โดยหวังว่าอัลลอฮฺจะอภัยโทษแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ[๑๓๑]

นอกจากโองการอัล-กุรอานแล้วยังมีริวายะฮฺอีกเป็นจำนวนมากจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ทำการประณามศ่อฮาบะฮฺบางคน และจะขอกล่าวบางริวายะฮฺเพื่อสร้างความเข้าใจดังนี้
๑. อบูหาซิม ได้รายงานจากท่าน สะฮฺล์ บิน สะอัดว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

أنا فرطكم علي الحوض من ورد شرب و من شرب لم يظمأ ابدا و ليردنّ علي أقوامٌ أعرفهم و يعرفونني ثمّ يحال بيني و بينهم
ฉันจะส่งพวกท่านไปยังสระน้ำ บุคคลใดที่ได้เข้าไปและได้ดื่มน้ำนั้น ผู้ที่ได้ดื่มน้ำเขาจะไม่กระหายน้ำต่อไปตลอดกาล และมีชนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาหาฉันซึ่งฉันรู้จักพวกเขา และพวกเขาก็รู้จักฉันอย่างดี หลังจากนั้นได้ถูกปิดกั้นระหว่างฉันกับพวกเขา

อบูหาซิมพูดว่า ขณะที่ฉันกำลังอ่านฮะดีษบทดังกล่าวอยู่ นุอ์มาน บิน อบี อะยาช ได้ยินและพูดว่า ท่านได้ยินสะฮฺล์ พูดเช่นนี้หรือ ? ฉันตอบว่า ใช่ เขาพูดว่า ฉันขอยืนยันว่า ฉันก็ได้ยินท่านอบูสะอีด คุดรีย์ พูดเช่นนี้เหมือนกันและเขายังพูดต่ออีกว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

اِنُّهم منّي فيقال انّك لا تدري ما أحدثوا بعدك فأقول سحقا سحقا لمن بدّل بعدي
พวกเขามาจากฉัน ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า เจ้าไม่รู้หรอกว่าพวกเขาได้ทำอะไร หลังจากฉันได้จากไป ฉะนั้นฉันขอพูดว่าจงพินาศเถิด จงพินาศเถิด (จงห่างไกลจากความเมตตา) ผู้ที่ได้เปลี่ยนแปลง (อห์กาม) หลังจากฉัน[๑๓๒]

จากประโยคที่ว่า ฉันรู้จักพวกเขา และพวกเขาก็รู้จักฉันอย่างดี กับประโยคที่กล่าวว่า ผู้ที่ได้เปลี่ยนแปลงหลังจากฉัน ทำให้รู้ว่ากลุ่มชนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กำลังกล่าวถึงนั้นหมายถึง บรรดาศ่อฮาบะฮฺของท่าน ซึ่งพวกเขาได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และฮะดีษดังกล่าวนี้ท่านบุคอรีย์ และท่านมุสลิมได้รายงานได้ด้วยเช่นกัน

๒. บุคอรีย์ และมุสลิมได้รายงานจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า

يردّ عليّ يوم القيامه رهطُ من اصحابي-أو قال من أمتي-فيحلؤن عن الحوض فأقول يا ربّ أصحابي فيقول انّه لا علم لك بما أحدثوا بعدك انّهم ارتدّوا علي أدبارهم القهقري
ในวันกิยามะฮฺจะมีศ่อฮาบะฮฺของฉันกลุ่มหนึ่ง –หรือกล่าวว่าประชาชาติของฉัน-ได้เข้ามาหาฉัน และได้ออกห่างจากสระน้ำ ฉันได้พูดว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน พวกเขาเป็นศ่อฮาบะฮฺของฉัน ดังนั้นพระองค์ตรัสว่า เจ้าไม่รู้หรอกว่าพวกเขาได้ทำอะไรหลังจากเจ้าได้จากไป พวกเขาได้ตกศาสนากลับไปสู่สภาพเดิมสมัยญาฮิลของพวกเขา[๑๓๓]

สรุป

จากโองการและริวายะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สรุปได้ว่า บรรดาศ่อฮาบะฮฺ หรือผู้ที่ได้เห็น หรือผู้ที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดานั้น ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งมีบางกลุ่มได้รับเกียรติยศ ถูกยกย่องเป็นผู้ยกระดับจิตใจของตนเอง และเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีการรับใช้ของพวกเขาเป็นสาเหตุทำให้อิสลามเจริญ เติบโต และมีความเข็มแข็ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกกลับกลอก มุนาฟิกีน พวกตีสองหน้า จิตใจเป็นโรค และกระทำความผิดบาปตั้งแต่แรก (เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโปรดศึกษาอัล-กุรอานซูเราะฮฺมุนาฟิกีน)

ด้วยเหตุนี้ทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับศ่อฮาบะฮฺนั้นเป็นไปตามทัศนะของ อัล-กุรอาน และฮะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้เป็นไปตามความรู้สึก

คำถามที่ ๑๘ : จุดประสงค์ของมุตอะฮฺคืออะไร และทำไมชีอะฮฺจึงถือว่าหะลาล?
คำตอบ :
นิกาห์ หมายถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างสามีกับภรรยา ซึ่งในบางครั้งเป็นการอยู่ร่วมกันตลอดไปโดยไม่มีเงื่อนไขในการอ่านอักด์นิกาห์ และในบางครั้งเป็นการนิกาห์เช่นกันแต่มีกำหนดเวลาเป็นเครื่องกำหนดการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา อย่างไรก็ตามทั้งสองนิกาห์ต้องทำไปตามเงื่อนไขทางชัรอีย์ จะแตกต่างกันตรงที่ถาวรกับมีกำหนดเวลาเท่านั้น ส่วนในรายระเอียดอื่นๆ คล้ายกันทั้งหมด

ฉะนั้นเงื่อนไขสำหรับอักด์มุตอะฮฺนั้นเหมือนกับอักด์ถาวรดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑. ทั้งหญิงและชายต้องไม่มีอุปสรรคทางชัรอีย์ในการแต่งงานอย่างเช่น เป็นพี่น้องทางสายเลือด หรือโดยสาเหตุ และอุปสรรคชัรอีย์อื่นๆ มิเช่นนั้นแล้วอักด์จะเป็นโมฆะ (บาฎิล)
๒. มะฮฺรียะฮฺที่ได้ตกลงกันระหว่างทั้งสองต้องถูกกล่าวในขณะอ่านอักด์นิกาห์
๓. กำหนดเวลาในการแต่งงานต้องระบุชัดเจน
๔. ต้องทำการอ่านอักด์ตามชัรอีย์
๕. บุตรที่เกิดจากทั้งสองถือว่าเป็นบุตรที่ถูกต้องตามชัรอีย์ เหมือนกับบุตรที่เกิดจากการนิกาห์ถาวรซึ่งมีสิทธิทุกอย่างในฐานะของบุตร
๖. ค่าเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ของบิดาต้องรับผิดชอบและบุตรมีสิทธิ์รับมรดกทั้ง จากบิดาและมารดา
๗. เมื่อกำหนดเวลาของอักด์มุตอะฮฺได้สิ้นสุดลง หากฝ่ายหญิงไม่ได้อยู่ในช่วงวัยทอง (หมายถึงวัยที่หมดระดู) เธอต้องรออิดดะฮฺ และระหว่างรออิดดะฮฺอยู่นั้นปรากฏว่าเธอได้ตั้งครรภ์ต้องหลีกเลี่ยงการแต่ง งานทั้งหมดจนกว่าเธอจะคลอดบุตร

จำเป็นต้องเอาใจใส่ต่อเงื่อนไขอื่นๆ ของการแต่งงานถาวรในการอ่านอักด์แต่งงานชั่วคราว จะแตกต่างกันตรงที่ว่าอักด์นิกาห์มุตอะฮฺได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ จำเป็นฉับพลันทันด่วน และค่าครองชีพ (นะฟะเกาะฮฺ) ของฝ่ายหญิงไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายชาย และขณะที่อ่านอักด์ถ้าฝ่ายหญิงไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าขอรับมรดกของฝ่ายชาย ดังนั้นเธอไม่มีสิทธิ์รับมรดกนั้น และเป็นที่กระจ่างว่าเงื่อนไขทั้งสองไม่มีผลกับตัวของนิกาห์แต่อย่างไร

มุสลิมทั้งหลายมีความเชื่อว่าศาสนาอิสลาม ที่มีชะรีอะฮฺเพียบพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์ และเป็นศาสนาสุดท้ายต้องสามารถให้คำตอบแก่ความต้องการทั้งหลายได้ ฉะนั้นจะเห็นว่าชายหนุ่มที่ต้องเรียนหนังสือนานหลายปีติดต่อกัน และไม่สามารถแต่งงานถาวรได้เมื่อเขาต้องตกอยู่ในสภาพดังกล่าว เขาจึงอาจเลือกทำอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งอย่างใดจากสามประการดังต่อไปนี้
๑. เขาต้องครองความโสดตลอดไป
๒. เขาต้องตกอยู่กับอบายมุขและความโสมมทั้งหลายของจิตใจจนหลงกระทำความผิดบาป
๓. เขาเลือกทำตามเงื่อนไขที่กล่าวมา โดยแต่งงานชั่วคราวกับหญิงที่มีเงื่อนไขตามกำหนด

ในกรณีแรกสามารถกล่าวได้ว่าส่วนมากแล้วจะพบกับความปราชัย แม้ว่าบางคนสามารถควบคุมความต้องการทางเพศ มีความอดทน และสามารถหักห้ามจิตใจออกจากมันได้ แต่วิธีการดังกล่าวใช่ว่าทุกคนจะสามารถปฏิบัติได้

ส่วนคนที่เลือกแนวทางที่สองเท่ากับเขาได้กระทำความผิดบาปซึ่งเป็นสิ่งที่คำสอนของอิสลามได้ห้ามปรามไว้ ถึงแม้ว่าเขาจะกล่าวอ้างว่ามีความจำเป็น แต่สิ่งนั้นก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่นำไปสู่การหลงทางทั้งความคิดและการกระทำ
ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าคงเหลือเฉพาะแนวทางที่สามเท่านั้นที่อิสลามได้นำเสนอไว้ และในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก็มีการปฏิบัติกันอย่างปกติ แต่ต่อมาภายหลังมีความขัดแย้งเกิดขึ้นการกระทำดังกล่าวจึงได้ถูกยกเลิกไป
สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจตรงนี้คือ บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการทำมุตอะฮฺ และถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม ทั้งที่อุละมาอ์และนักปราชญ์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า โดยความหมายแล้วการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการนิกาห์ถาวร เช่นคู่บ่าวสาวได้อ่านอักด์นิกาห์ถาวร แต่ทั้งสองมีเจตนาว่าหลังจากหนึ่งปี หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้นเขาจะแยกทางกันด้วยการทำฏ่อลาก (หย่า)

ฉะนั้นจะเห็นว่าการแต่งงานดังกล่าวถ้าพิจารณาจากภายนอกจะพบว่า เป็นการแต่งงานถาวร แต่จริงๆ แล้วเป็นการแต่งงานชั่วคราวนั้นเอง ความแตกต่างของนิกาห์อย่างนี้กับการมุตอะฮฺ อยู่ตรงที่ว่าการมุตอะฮฺไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน มีเวลาที่แน่นอนเป็นตัวกำหนด แต่การนิกาห์ถาวรดังกล่าวดูภายนอกเหมือนว่าเป็นการนิกาห์ถาวรแต่ภายในคือการ มุตอะฮฺ (แต่งงานชั่วคราว) นั่นเอง

บุคคลที่อนุญาตให้ทำการแต่งงานดังกล่าวได้ และเป็นที่ยอมรับของอุละมาอ์และนักปราชญ์โดยทั่วไป ทำไมถึงมีอคติกับกฏชัรอีที่อนุญาตให้ทำมุตอะฮฺ ?
จนถึงขณะนี้เรารู้จักแล้วว่าการมุตอะฮฺหมายถึงอะไร และลำดับต่อไปจะกล่าวถึงหลักฐานที่อนุญาตให้ทำการมุตอะฮฺโดยจะนำเสนอในสอง ประเด็นดังต่อไปนี้

๑. การอนุญาตให้ทำมุตอะฮฺตั้งแต่เริ่มแรกอิสลาม
๒. การมุตอะฮฺไม่ได้ถูกยกเลิกในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

หลักฐานของประเด็นแรก อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً
ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าแสวงหาความสุขจากพวกนาง ก็จงมอบรางวัลของพวกนางให้แก่พวกนางอันเป็นข้อกำหนด[๑๓๔]

จากคำพูดของโองการเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องการทำมุตอะฮฺเนื่องจากว่า
ประการแรก โองการได้ใช้คำว่า อิสตัมตาอ์ ซึ่งภายนอกหมายถึง การแต่งงานแบบมุตอะฮฺ (ชั่วคราว) ถ้าจุดประสงค์ของโองการหมายถึงการแต่งงานแบบถาวรจำเป็นต้องมีกะรีนะฮฺ (สัญลักษณ์)บ่งบอก
ประการที่สอง โองการได้ใช้คำว่า อุญูร่อฮุนนะ หมายถึงรางวัลของพวกนาง อันเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนอีกเช่นกันว่าการแต่งงานดังกล่าวหมายถึง การมุตอะฮฺ เนื่องจากว่าหากจุดประสงค์ของโองการหมายถึง การแต่งงานถาวร อัล-กุรอานต้องใช้คำว่า มะฮฺรียะฮฺ หรือ ศ่อดาก แทนคำว่า อุญูร่อฮุนนะ
ประการที่สาม นักตัฟซีรทั้งซุนนี และชีอะฮฺมีความเห็นเหมือนกันว่าโองการดังกล่าวต้องการพูดถึงเรื่อง การแต่งงานแบบมุตอะฮฺ ไม่ใช่แบบถาวร

ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้บันทึกไว้ในตัฟซีรของท่าน (อัดดุรุลมันษูรฺ) โดยรายงานมาจากท่าน อิบนุญะรีรฺ และท่านสุดาว่า โองการข้างต้นได้กล่าวถึงเรื่องการทำมุตอะฮฺ[๑๓๕]
ท่านอบูญะอฺฟัรฺ มุฮัมมัด บิน ญะรีรฺ ฏ็อบรีย์ ได้บันทึกไว้ในตัฟซีรของตน โดยรายงานมาจากท่าน เซาดาอ์ , มุญาฮิด , และอิบนุอับบาส ว่าโองการดังกล่าวได้พูดถึงเรื่องการทำมุตอะฮฺ[๑๓๖]
ประการที่สี่ เจ้าของตำราศิหาห์ มะซานีด และญะวามิอ์ (ประมวลตำราฮะดีษที่เก่าแก่)ได้ยอมรับริวายะฮฺที่กล่าวถึงความจริงเกี่ยวกับการมุตอะฮฺ อาทิเช่น ท่านมุสลิม บิน หะญาจ ได้บันทึกไว้ในศ่อฮีย์ของท่านโดยรายงานมาจาก ท่านญาบีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ และสะละมะฮฺ บิน อักวะอ์ว่า

خرج علينامنادي رسول الله (ص) فقال انّ رسول الله قد أّذن لكم أن تستمتعوا يعني متعة النساء
คนประกาศสารของท่านศาสดา ได้มาหาพวกเรา และพูดว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อนุญาตให้พวกท่านทำมุตอะฮฺได้ หมายถึงแต่งงานชั่วคราวกับสตรี[๑๓๗]




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ชีอะฮฺมีคำตอบ

ศิหาห์ และมะซานีดได้กล่าวถึงฮะดีษเกี่ยวกับการทำมุตอะฮฺไว้อย่างมากมาย ดังนั้นจะเห็นว่าการอนุญาตให้ทำมุตอะฮฺเป็นที่ยอมรับของอุละมาอ์ นักปราชญ์ และนักตับซีรฺตั้งแต่ในสมัยแรกของอิสลาม และในสมัยของท่านศาสดาเป็นต้นมา[๑๓๘]

คำถาม โองการมุตอะฮฺถูกยกเลิกแล้วหรือ (มันซูค) ?

น้อยมากที่มุสลิมจะสงสัยว่าการทำมุตอะฮฺในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นที่อนุญาต สิ่งที่กำลังกล่าวถึงกันอยู่คือ การคงอยู่ หรือการถูกยกเลิกของกฎ (ฮุกุม)ดังกล่าว
ประวัติศาสตร์ และฮะดีษได้กล่าวไว้ตรงกันว่า การทำมุตอะฮฺมีมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และได้ดำเนินมาจนถึงกลางยุคสมัยของท่านอุมัรฺ ค่อลิฟะฮฺ์ที่สอง ซึ่งท่านค่อลิฟะฮฺได้เล็งเห็นถึงความจำเป็น และความเหมาะสมท่านจึงสั่งยกเลิกการทำมุตอะฮฺ

มุสลิม บิน หัญญาจ ได้กล่าวไว้ในศ่อฮีย์ของท่าน โดยรายงานมาจาก อิบนุอับบาส และอิบนุซุเบรฺ เกี่ยวกับการทำมุตอะฮฺผู้หญิง และมุตอะฮฺหัจญ์ ซึ่งเป็นการรายงานที่ขัดแย้ง ท่านญาบีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ พูดว่า

فعلنا هما فی عهد رسول الله ثم نهانا عنهما عمر فلم نعد لهما
พวกเราได้กระทำทั้งสอง (หัจญ์ตะมัตตุอ์ กับมุตอะอฺสตรี)ในยุคท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หลังจากนั้นอุมัรฺได้สั่งห้ามเราไม่ให้ทำทั้งสอง ต่อมาพวกเราไม่ได้ทำอีกเลย[๑๓๙]

ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏี ได้บันทึกไว้ในตับซีรฺของท่านโดยรายงานมาจาก อับดุลรอซาก, อบูดาวูด,และอิบนิญะรีรฺ ซึ่งพวกเขาได้รายงานมาจาก หะกัม อีกที่หนึ่งซึ่งได้มีคนถามเขาว่า โองการมุตอะฮฺได้ถูกยกเลิกแล้วหรือ ? ตอบว่า ยัง และอะลี (อ.) กล่าวว่า

لولا انّ عمر نهي عن المتعة ما زني الاّ شقي
ถ้าหากอุมัรฺไม่ได้ห้ามการทำมุตอะฮฺแล้วละก็จะไม่มีใครผิดประเวณีเลย (ซินา)นอกจากคนชั่ว[๑๔๐]

อะลี บิน มุฮัมมัด กูชจี พูดว่า ท่านอุมัรฺ บิน คัฏฏอบ ได้เทศนาบนมิมบรฺว่า

ايّها الناس ثلاث كنّ علي عهد رسول الله أنا أنهي عنهنّ و أحرمهنّ و أعاقب عليهنّ و هي متعة النساء و متعة الحج و حيّ علي خير العمل
โอ้ประชาชนเอ๋ย มีอยู่สามสิ่งที่ปฏิบัติในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งฉันได้สั่งห้ามมัน และผู้ที่ปฏิบัติมันต้องถูกลงโทษ ได้แก่การทำมุตอะฮฺกับหญิง การทำมุตอะฮฺหัจญ์ และการกล่าวหัยยะอะลาค็อยริลอมัลในอะซาน [๑๔๑]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ ฮะดีษในทำนองนี้มีมากกว่าที่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้[๑๔๒]
สามารถกล่าวได้ว่า การมุตอะฮฺเป็นหนึ่งในการนิกาห์และการแต่งงาน เนื่องจากการนิกาห์ได้แบ่งออกเป็นสองประเภทกล่าวคือ แบบถาวรกับแบบชั่วคราว และหญิงใดได้ทำการมุตอะฮฺถือว่าเป็นภรรยาของชายคนนั้น และเขาคือสามีของเธอแน่นอนการแต่งงานลักษณะดังกล่าว ได้ถูกรวมอยู่ในโองการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแต่งงาน

อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَالَّذِينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظُونَ إِلَّا عَلَى أَزْوَاجِهِمْ أوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ
และบรรดาผู้ที่รักษาความบริสุทธิ์ของอวัยวะเพศพวกเขานอกเสียจากบรรดาภรรยา ของพวกเขา หรือที่มือขวาของพวกเขาครอบครอง[๑๔๓]

หญิงที่ได้ทำการมุตอะฮฺตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมาถือว่านางเป็นหนึ่งในตัว อย่างที่อัล-กุรอานกล่าวถึง นอกเสียจากบรรดาภรรยาของพวกเขา หมายความว่าหญิงที่ได้แต่งงานมุตอะฮฺกับชายคนหนึ่ง ถือว่าเธอเป็นภรรยาของชายคนนั้นดังนั้นเธอจึงรวมอยู่ในคำว่า อัซวาญิฮิม (เหล่าภรรยาของพวกเขา)

ถ้าหากว่าโองการข้างต้นในซูเราะฮฺมุอฺมินูนได้อนุญาตให้หาความสุขทางเพศกับ หญิงสองกลุ่มได้ กล่าวคือ เหล่าบรรดาภรรยา และบรรดาทาสีในเรือนเบี้ยทั้งหลาย หญิงที่ได้ทำมุตอะฮฺจัดอยู่ในกลุ่มแรก (เหล่าบรรดาภรรยา)
หน้าประหลาดใจที่บางคนได้กล่าวว่า โองการในซูเราะฮฺมุอฺมุนูน ได้มายกเลิก (นาซิค) โองการมุตอะฮฺในซูเราะฮฺ นิซาอ์ / ๒๔ ขณะที่เป็นที่ทราบกันดีว่าโองการที่ถูกประทานลงมาเพื่อยกเลิกโองการอื่นนั้น ต้องลงมาหลังจากโองการที่ถูกยกเลิก แต่ ณ ตรงนี้กับตรงกันข้ามเพราะซูเราะฮฺมุอฺมินูนในฐานะของผู้ยกเลิก (นาซิค) ถูกประทานลงมาที่มักกะฮฺก่อนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะทำการอพยพไปสู่เมืองมะดีนะฮฺ ส่วนซูเราะฮฺนิซาอ์ได้ถูกประทานลงมาที่มะดีนะฮฺหลังจากที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อพยพไปแล้ว

ตรงนี้จึงเกิดคำถามว่า โองการที่ปรากฏในซูเราะฮฺมักกียะฮฺ จะสามารถยกเลิกโองการที่ปรากฏในซูเราะอฺมะดะนียะฮฺได้อย่างไร ?
เหตุผลที่กระจ่างชัดอีกประการหนึ่งที่ว่า โองการมุตอะฮฺไม่ได้ถูกยกเลิกกล่าวคือ ในยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นพยายยืนยันได้อย่างดีเนื่องจากฮะดีษมากมายได้ปฏิเสธว่าการยกเลิกไม่ ได้เกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่เกิดขึ้นในสมัยหลังจากนั้น ดังฮะดีษที่ท่านซุยูฏีย์ได้กล่าวเอาไว้ในตับซีรฺ ดุรุลมันษูรฺ[๑๔๔]

สุดท้าย ขอกล่าวว่า บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์แห่งอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ผู้ที่มีหน้าที่ทำการชี้นำมวลมนุษยชาติหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเป็นผู้ที่ไม่แยกออกจากอัล-กุรอานตลอดไปตามหุกุมของฮะดีซษะก่อลัยนฺ ถือว่าการทำมุตอะฮฺเป็นที่อนุญาต และยังไม่ได้ถูกยกเลิก[๑๔๕]

และอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตลอดทุกยุค ทุกสมัย ได้สนับสนุนการนิกาห์แบบมุตอะฮฺตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมา ซึ่งมุตอะฮฺเป็นวิธีเดียวที่สามารถช่วยเหลือให้เยาวชนรอดพ้นการทำความผิดบาปตามอำเภอใจได้

คำถามที่ ๑๙ : ทำไมชีอะฮฺจึงสุญูดบนดิน?
คำตอบ :
มีชนบางกลุ่มคิดว่า การสุญูดบนดิน หรือบนดินของบรรดาชุฮะดา หมายถึงการสักการะสิ่งนั้น และเป็นชิริกประเภทหนึ่ง

คำตอบสำหรับข้อสงสัยดังกล่าวนี้ สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ ระหว่างคำว่า อัสสุญูด ลิลลาฮฺ กับ อัสสุญูด อะลัล อัรฎิ (การสุญูดอัลลอฮฺ กับการสุญูดพื้นดิน) นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ปัญหาที่เกิดเป็นข้อสงสัย เนื่องจากว่าผู้สงสัยไม่พยายามแยกแยะระหว่างความแตกต่างของทั้งสอง คำอธิบายโดยสรุปกล่าวคือ อัสสุญูด ลิลลาฮฺ หมายถึงทำการสุญูดเพื่ออัลลอฮฺ ขณะที่ความหมายของคำว่า อัสสุญูด อะลัล อัรฎิ คือการสุญูดลงบนพื้นดิน อีกนัยหนึ่งคือ พวกเราได้ทำการสุญูดลงบนพื้นดินเพื่อเป็นการทำสุญูดต่ออัลลอฮฺ ทั้งที่มุสลิมทั้งหลายโดยปรกติเมื่อทำสุญูดเขาต้องสุญูดลงบนสิ่งอื่น ทั้งสิ้นอันเป็นการบ่งบอกว่าเขาได้ทำการสุญูดเพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) บรรดานักแสวงบุญทั้งหลาย (หุจญาต) ได้ทำการสุญูดลงบนหินอ่อนของมัสญิดหะรอมทั้งสิ้น ขณะที่เป้าหมายในการสุญูดของเขานั้น คืออัลลอฮฺ

ดังนั้นจะเห็นว่าการสุญูดลงบนดิน พรหม ใบไม้ และอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่า เราได้ทำการสักการะบูชาของสิ่งนั้น ทว่าการสุญูดของเรานั้นเพื่อเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ฉะนั้นการสุญูดลงบนดิน นอกเหนือไปจากการสุญูดที่มีต่อดิน

อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَلِلّهِ يَسْجُدُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ
และผู้อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างสุญูดต่ออัลลอฮด้วยความภักดี[๑๔๖]

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

جعلت لي الارض مسجدا و طهورا
พื้นดินได้ถูกมอบให้เป็นสถานที่สุญูด และทำความสะอาดสำหรับฉัน[๑๔๗]

ด้วยเหตุนี้การสุญูดเพื่ออัลลอฮฺ กับการสุญูดลงบนดิน นอกจากจะไม่มีความขัดแย้งกันแม้แต่นิดเดียวแล้วยังสามารถเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากการสุญูดลงบนพื้นดินหรือลงบนใบไม้คือการแสดงการนอบน้อมสูงสุด ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์

เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนในทัศนะของชีอะอฺ ขอนำเสนอคำพูดของท่านอิมามซอดิก (อ.) ผู้นำผู้บริสุทธิ์ของชีอะฮฺ อิมามกล่าวว่า

عن هشام ابن الحكم قال قلت لأبي عبد الله (ع) اخبرني عما يجوز السجود عليه و عما لا بجوز ؟ قال : السجود لا يجوز الا علي الأرض أو ما أنبتت الأرض إلا ما أكل أو لبس. فقلت له جعلت فداك ما العلة في ذلك ؟ قال لأنّ السجود هو الخضوع لله عزّوجل فلا ينبغي أن يكون علي ما يؤكل و يلبس لأنّ ابناء الدنيا عبيد ما يأكلون ويلبسون والساجد في سجوده علي معبود ابناء الدنيا الذين اغتروا بغرورها والسجود علي الأرض افضل لأنّه أبلغ في التّواضع و الخضوع لله عزّوجل
ฮิชาม บิน หะกัมพูดว่า ฉันได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับสิ่งที่สุญูดลงบนนั้นแล้วถือว่าถูกต้อง ท่านอิมามตอบว่า ต้องสุญูดลงบนดินหรือสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดิน-ยกเว้นสิ่งที่เป็นอาหารหรือ เครื่องนุ่งห่ม-ฉันพูดว่า สาเหตุเพราะอะไรหรือ ? ท่านตอบว่า การสุญูดคือการแสดงความนอบน้อมและการภักดีที่มีต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่เป็นการดีหากจะทำการสุญูดลงบนอาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากว่าจะกลายเป็นผู้ที่มีความลุ่มหลงต่อโลก บูชาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ขณะที่ทำการสุญูดนั้นมนุษย์ได้แสดงการเคารพภักดีต่อพระองค์ ดังนั้นไม่เป็นการดีหากเราจะนำหน้าผากของเราสุญูดลงบนสิ่งที่พวกบูชาโลก ได้สักการะต่อมัน ส่วนการสุญูดลงบนดินเป็นการกระทำที่สูงกว่าและดีกว่า เนื่องจากว่าได้เข้าถึงแก่นของการแสดงความนอบน้อมถ่อมตน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งและเกรียงไกร[๑๔๘]

จากคำพูดของท่านอิมาม (อ.) เป็นที่ชัดเจนว่าการสุญูดบนดิน คือ สาเหตุที่นำไปสู่การนอบน้อมถ่อมตนได้มากกว่าการสุญูดลงบนสิ่งอื่น

ตรงนี้มีคำถามว่าทำไมชีอะฮฺไม่สุญูดลงบนสรรพสิ่งต้องเป็นบนดิน หรือบนสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดินที่ไม่ใช่อาหารเท่านั้น ?
ตอบว่า แก่นแท้ของอิบาดะฮฺหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องออกมาจากผู้วางกฎเกณฑ์ ส่วนเงื่อนไขและขั้นตอนในการปฏิบัติต้องผ่านการบอกกล่าว และการแสดงออกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เท่านั้นเพราะท่านศาสดาคือผู้ยึดมั่นอยู่กับอัล-กุรอาน ความประพฤติของท่านคือแบบอย่างสำหรับมวลประชาชาติทั้งหลาย

ลำดับต่อไปนี้จะขออธิบายฮะดีซอิสลามซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มา อธิบายประวัติ และแบบฉบับของท่านศาสดา ฉะนั้นเมื่อศึกษาให้ละเอียดจะพบว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เคยสุญูดลงบนสิ่งอื่นใดนอกจากดินและสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดิน ดังเช่นที่ชีอะฮฺได้เชื่อและยึดถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน

๑. มีนักฮะดีซกลุ่มหนึ่งได้บันทึกคำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไว้ในศิหาห์ และมะซานีดของตนว่า ท่านศาสดา ได้ใช้พื้นดินเป็นสถานที่สุญูด เวลนั้นท่านกล่าวว่า

جعلت لي الأرض مسجدا وطهورا
พระองค์ได้มอบให้ดินเป็นสถานที่สุญูด และทำความสะอาดแก่ฉัน[๑๔๙]

คำว่า ญะอะละ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ นั้นหมายถึงว่าสิ่งนี้เป็นกฎที่พระผู้เป็นเจ้าได้วางไว้สำหรับหมู่ชนที่ทำ การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้การสุญูดบนดิน หินและสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดินจึงถือว่าเป็นการอนุญาตไปโดยปริยาย

๒. มีฮะดีษบางกลุ่มได้สนับสนุนทัศนะดังกล่าวโดยกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เชิญชวนบรรดามุสลิมให้สุญูดลงบนดิน ดังที่ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ (ภรรยาท่านหนึ่งของท่านศาสดา) ได้รายงานจากท่านศาสดาว่า ترّب وجهك لله จงนำใบหน้าของเจ้าวางบนดินเพื่ออัลลอฮฺ[๑๕๐]

จากคำว่า ترّب ในคำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำให้เกิดความกระจ่างขึ้นสองประเด็นดังนี้ หนึ่ง เป็นความจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนขณะทำสุญูดต้องวางหน้าผากลงบนดิน สอง การกระทำของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือคำสั่งที่สั่งให้มุสลิมปฏิบัติ และในความเป็นจริงจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนต้องถือปฏิบัติเช่นนั้น เนื่องจากคำว่า ตัรฺริบ มาจากรากศัพท์ว่า ตุรอบ หมายถึงดินและเป็นกริยาในรูปคำสั่ง

๓. การกระทำของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือคำยืนยัน ที่สร้างความชัดเจนให้กับบรรดามุสลิม ท่านวาอิล บิน หะญัรฺ พูดว่า

رأيت النبي صلّ الله عليه وآله وسلّم إذا سجد وضع جبهته و أنفه علي الأرض
ฉันได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะลงสุญูดได้เอาหน้าผากและจมูกวางลงบนพื้น[๑๕๑]

ท่านอนัส บินมาลิก ท่านอิบนุอับบาส และภรรยาบางคนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เช่นท่านหญิงอาอิชะฮฺ อุมมุสะละมะฮฺ และบรรดานักฮะดีซอีกจำนวนมากได้รายงานว่า

كان رسول الله (ص) يصلّي علي الخمرة
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สุญูดลงบนคุมเราะฮฺ คุมเราะฮฺ หมายถึงสื่อที่ทำจากกาบและใบของอินทผลัม[๑๕๒]

ท่านอบูสะอีด ได้เล่าจากศ่อฮาบะฮฺคนหนึ่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า

دخلت علي رسول الله صلّ الله عليه وآله وسلّم وهو يصلّ علي حصير
ฉันได้เข้าไปหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ท่านกำลังทำนมาซอยู่บนเสื่อ [๑๕๓]

คำพูดดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนทัศนะของชีอะฮฺที่ว่าอนุญาตให้สัจดะ ฮฺลงบนสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดินที่ไม่ใช่อาหาร

๔. คำพูดและการกระทำของบรรดาศ่อฮาบะฮฺและตาบิอีนนั้นเปรียบเสมือนซุนนะฮฺของ ศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านญาบีรฺอับดุลลอฮฺ อันศอรีพูดว่า

كنت أصلي الظهر مع رسول الله (ص) فآخذ قبضة من الحصاء لتبرد في كفي أضعها لجبهتي أسجد عليها لشدة الحر
ฉันได้ทำนมาซซุฮฺริร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งฉันได้กอบกรวดขึ้นมากำมือหนึ่งถือไว้ในมือเพื่อให้เย็น สำหรับวางหน้าผากเมื่อเวลาลงสุญูด ที่ทำเช่นนี้เพราะว่าอากาศร้อนมาก[๑๕๔]

รอวีได้กล่าวว่า ถ้าหากอนุญาตให้ทำการสุญูดกับเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่มันก็คงสะดวกกว่าการกำก้อนกรวดที่ร้อนไว้ในมือ
อิบนุสะอัด เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๒๐๙ ได้บันทึกไว้ในตำราของตน (อัฏฏ่อบะกอตุลกุบรอ) ว่า

كان مسروق إذا خرج يخرج بلبنية يسجد عليها في السفينة
มัสรูก บิน อัจดะอ์ เมื่อเวลาเดินทางไกลจะนำเอา********ติดตัวไปด้วย (เพื่อว่า) เมื่ออยู่ในเรือเขาจะได้สุญูดบนมัน[๑๕๕]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ มัสรูก บิน อัจดะอ์ เป็นหนึ่งในตาบิอีนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นศ่อฮาบะฮฺของอิบนิมัสอูด เจ้าของตำราอัฏฏ่อบะกอต ได้ยกย่องให้ท่านเป็นนักฮะดีซในชั้นแรกจากกูฟะฮฺ หลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอบูบักร์ อุมัรฺ อุสมาน และอับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอูด

คำพูดของมัสรูกได้สร้างความกระจ่างแก่ผู้ที่กล่าวว่า การที่ชีอะฮฺพกพาดินติดตัวตลอดเวลาเพื่อทำสุญูดนั้นเป็นชิริกและเป็นบิดอะ ฮฺ จะเห็นว่าชีอะฮฺได้ทำเหมือนกับชนในยุคก่อนได้ทำ[๑๕๖]

ท่านนาฟิอ์ พูดว่า

انّ ابن عمر كان إذا سجد و عليه العمامه يرفعها حتي يضع جبهه بالأرض
อับดุลลอฮฺ บินอุมัรฺ เมื่อเวลาทำสุญูด ได้แผ่อะมามะฮฺของตนออกเพื่อเอาหน้าผากวางลงบนนั้น[๑๕๗]

ร่อซีนพูดว่า

كتب اليّ عليّ بن عبدالله بن عباس رضي الله عنه أن ابعث اليّ بلوح من أحجار المروة أسجد عليه
อะลี บินอับดุลลอฮฺ บิน อับบาสได้เขียนจดหมายถึงฉันว่า ให้ช่วยส่งหินเลาฮี ซึ่งเป็นหินจากเนินเขามัรฺวะฮฺเพื่อจะได้สุญูดงบนนั้น[๑๕๘]

๕. นักฮะดีซอีกกลุ่มได้รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งห้ามบุคคลที่ลงสุญูดแล้วแผ่อะมามะฮฺของตนออกเพื่อสุญูดลงบนนั้น

ซอลิห์ สะบายีพูดว่า

إنّ رسول الله (ص) رأي رجلا يسجد بجنبه و قد اعتمّ علي جبهته فحسر رسول الله صلّ الله عليه وآله وسلّم عن جبهته
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เห็นชายคนหนึ่งที่ทำสุญูดลงบนอะมามะฮฺใกล้ๆ กับท่าน ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ดึงเอาอะมามะฮฺนั้นออกจากหน้าผากเขา[๑๕๙]

อิยาฏ บิน อับดุลลอฮฺ กุเรชย์พูดว่า

رأي رسول الله (ص) رجلا يسجد علي كور عمامته فأ ومأ بيده:إرفع عمامتك و أومأ إلي جبهته
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เห็นชายคนหนึ่งกำลังทำสจดะฮฺ ลงบนอะมามะฮฺของตน ท่านได้ชี้ให้เขาเอาออก และชี้ไปที่หน้าผากของเขา[๑๖๐]

จากฮะดีษดังกล่าวนี้เข้าใจได้ว่า ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มุสลิมทั้งหลายได้ทำสุญูดลงบนดิน เพราะจะสังเกตเห็นว่าเมื่อมีมุสลิมคนหนึ่งสุญูดลงบนอะมามะฮฺของตนท่านจะ สั่งห้ามเขาทันที

๖. บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ของชีอะฮฺ ตามรายงานของฮะดีซษะก่อลัยน์คือผู้ที่ไม่แยกออกจากอัล-กุรอานตลอดกาล ท่านศาสดาได้กล่าวว่าคำพูดของท่านเป็นหุจญัติสำหรับประชาชาติ ท่านได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า

السجود علی الأرض فريضة و على الخمرة سنّة
การสุญูดบนดินเป็นข้อบังคับ (จากพระผู้เป็นเจ้า) ส่วนการสุญูดบนเสื่อเป็นซุนนะฮฺ (วะซาอิลชีอะฮฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๕๙๓ กิตาบศ่อลาฮฺ อับวาบมายัสญุดุอะลัยฮิ ฮะดีซที่ ๗)

อีกที่หนึ่งกล่าวว่า

السجود لا يجوز الاّ على الأرض أو على ما انبتت الأرض الاّ ما أكل أو ليس
ไม่เป็นที่อนุญาตให้สุญูดบนสิ่งอื่นใดนอกจากพื้นดิน และสิ่งที่งอกเงยจากดินยกเว้นสิ่งที่เป็นอาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม (วะซาอิลชีอะฮฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๕๙๑ กิตาบศ่อลาฮฺ อับวาบมายัสญุดุอะลัยฮิ ฮะดีซที่ ๑)

สรุป

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้รู้ว่าไม่ใช่ฮะดีษที่มาจากอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นการปฏิบัติของเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺ และตาบิอีนของท่านศาสดาที่ได้ทำการสุญูดบนดิน และบนสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดิน (ยกเว้นสิ่งที่เป็นอาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม)

นอกเหนือจากนั้นเป็นที่รับทราบกันอย่างดีว่าการสุญูดบนสิ่งที่ได้กล่าวมา แล้วเป็นที่อนุญาตขณะที่การอนุญาตให้สุญูดบนสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากสิ่ง ที่กล่าวมาเป็นที่สงสัยและเป็นความขัดแย้งในหมู่นักปราชญ์และผู้รู้ ด้วยเหตุนี้ถือว่าเป็นการอิหฺติยาต (ระมัดระวัง) และเป็นการที่ดีควรสุญูดเฉพาะบนสิ่งที่ได้กล่าวมาเท่านั้น

สิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวคือ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องทางฟิกฮฺ (หลักปฏิบัติ) ซึ่งในหมู่ของนักปราชญ์เองมีทัศนะที่แตกต่างกันมากมาย แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเป็นกังวลเพราะแม้แต่นักปราชญ์ของสี่มัซฮับเองก็ มีความขัดแย้งในเรื่องของฟิกฮฺมากมายเช่นกัน อาทิเช่นท่านมาลิก พูดว่าการเอาจมูกแตะพื้นขณะสุญูดเป็นมุสตะฮับ แต่หันบาลีพูดว่า การทำเช่นนั้นเป็นวาญิบ หากไม่ปฏิบัติถือว่าเป็นสาเหตุทำให้การสุญูดบาฏิล (โมฆะ)

คำถามที่ ๒๐ : ทำไมเวลาซิยารัต (เยี่ยม) สถานที่ฝังศพ ชีอะฮฺจะจูบประตูหรือฝาผนังสถานที่ดังกล่าว และถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิริมงคล?
คำตอบ : การขอความสิริมงคลกับสิ่งของหรือมรดกของบรรดามวลมิตรแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) (เอาลิยา) ที่ถือปฏิบัติกันในหมู่มุสลิมบางกลุ่มในปัจจุบันถือว่าไม่เป็นไรเพราะการ ปฏิบัติเหล่านี้มีรากที่มาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และศ่อฮาบะฮฺของท่าน

ไม่ใช่เพียงท่านศาสดา (ศ็อล) กับบรรดาศ่อฮาบะฮฺของท่านเท่านั้นที่ปฏิบัติ ทว่าบรรดาศาสดา (อ.) ก่อนหน้าท่านได้ปฏิบัติเช่นกันและอันดับต่อไปนี้จะกล่าวถึงเหตุผลที่อนุญาต ให้ทำการขอความสิริมงคลจากสิ่งของหรือมรดกของบรรดามวลมิตรแห่งอัลลอฮฺ ทั้งจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

๑. อัล-กุรอานกล่าวว่า เมื่อท่านศาสดายูสุฟ (อ.) ได้แนะนำตัวท่านกับพี่น้องของท่านพร้อมกับกล่าวว่าพวกท่านได้รับการอภัยจาก พระผู้เป็นเจ้าแล้ว และกล่าวว่า..

اذْهَبُواْ بِقَمِيصِي هَذَا فَأَلْقُوهُ عَلَى وَجْهِ أَبِي يَأْتِ بَصِيرًا
พวกท่านจงนำเสื้อตัวนี้ของฉันไป และจงวางลงบนใบหน้าของบิดาของฉันแล้วท่านจะได้มองเห็น (ยูสุฟ/๙๓)

หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า

فَلَمَّا أَن جَاءَ الْبَشِيرُ أَلْقَاهُ عَلَى وَجْهِهِ فَارْتَدَّ بَصِيرًا
ต่อมาเมื่อผู้แจ้งข่าวได้มาถึงเขาได้วางลงบนใบหน้าของเขา (บิดาท่านยูสุฟ) แล้วเขาก็มองเห็น[๑๖๑]

สิ่งที่เข้าใจได้จากอัล-กุรคือ อัล-กุรอานกำลังบอกว่าท่านศาสดายะอฺกูบกำลังแสวงหาความสิริมลคลจากเสื้อของ ศาสดาอีกท่านหนึ่งคือยูสุฟ (อ.) ทว่าอัล-กุรอานกำลังบอกว่าเสื้อของท่านศาสดาได้ทำให้ดวงตาของท่านศาสดายะ อฺกูบมองเห็นอีกครั้งหนึ่ง

ตรงนี้สามารถกล่าวได้ไหมว่า การกระทำของท่านศาสดาทั้งสองออกนอกขอบเขตของเตาฮีดและการเคารพภักดีต่อพระ ผู้เป็นเจ้า ?
๒. ไม่เป็นที่สงสัยว่าขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำการฏ่อวาฟรอบบัยตุลลอฮฺนั้น ท่านได้สัมผัสและจูบหินดำ (หะญะรุลอัสวัด)

ท่านบุคอรีย์ได้กล่าวไว้ในศ่อฮีย์ของท่านว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านอับดุลลอฮฺบินอุมัรฺเกี่ยวกับการสัมผัสดินดำ ท่านตอบว่า..

رأيت رسول الله (ص) يستلمه و يقبله
ฉันเห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สัมผัสและจูบมัน[๑๖๒]

สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ยอมแลกความเชื่อของท่านที่มีต่อเตาฮีดด้วกการกระทำเช่นนั้นเด็ดขาด แน่นอนสิ่งที่ท่านทำยืนยันว่าท่านไม่ได้ทำในสิ่งที่ขัดกับความเชื่อ
๓.ในหนังสือศ่อฮีย์ มะซานีด หนังสือประวัติศาสตร์ และสุนันต่าง ๆได้บันทึกฮะดีษเกี่ยวกับการแสวงหาความสิริมงคลของบรรดาศ่อฮาบะฮฺจากสิ่ง ของเครื่องใช้ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อาทิเช่น เสื้อผ้า น้ำที่ใช้ทำวุฎูอ์ ภาชนะใส่น้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย และเมื่อได้ย้อนกลับไปศึกษาฮะดีษเหล่านั้นอย่างละเอียดทำให้ไม่สงสัย เรื่องความถูกต้อง และการอนุญาตให้การแสวงหาความสิริมงคลจากสิ่งของเครื่องใช้ของบรรดาหมู่มวล มิตร (เอาลิยา)

การกล่าวถึงฮะดีษจำนวนมากเหล่านั้นในหนังสือเพียงเล่มเดียวไม่อาจกล่าว ได้ทั้งหมด แต่จะขอหยิบยกเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น

ก. ท่านบุคอรีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือศ่อฮีย์ของท่าน เป็นฮะดีษที่มีความยาวโดยอธิบายถึงคุณสมบัติบางประการของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และศ่อฮาบะฮฺ
وأَذا توضأ كادوا يقتتلون على وضوئه
ทุกครั้งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำวุฎูอ์เกือบทำให้บรรดามุสลิมต้องวิวาทกัน (เนื่องจากแย่งกันไปเอาน้ำให้ท่านศาสดา)

ข. อิบนุหะญัรฺกล่าวว่า.

أن النبي صل الله عليه وعلى آله وسلم كان يؤتى بالصبيان فيبرك عليهم
ได้นำเด็ก ๆ มาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านศาสดาต้องการให้มีความสิริมงคลแก่พวกเขาจึงได้ขอดุอาอ์

ค. ท่านมุฮัมมัดฏอฮิรฺมักกีย์กล่าวว่า.
ได้มีรายงานจากท่าน อุมมุษาบิตว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เข้ามาที่ฉัน และได้ดื่มน้ำจากถุงน้ำสีดำที่แขวนอยู่ ฉันได้ลุกขึ้นไปตัดปากถุงน้ำสีดำนั้น..

หลังจากนั้นท่านได้กล่าวต่ออีกว่า ฮะดีซนี้ท่านติรฺมีซีย์ได้รายงานไว้ว่า เป็นฮะดีซที่ศ่อฮีย์และหะซัน, ท่านชาริห์ ได้รายงานฮะดีซนี้ไว้ในหนังสือ ริยาฎุศศอลิฮีนว่า ท่านอุมมุษาบิตได้ตัดปากถุงน้ำสีดำนั้นเพื่อเก็บบริเวณที่ปากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สัมผัสและเพื่อเป็นสิริมงคล, บรรดาศ่อฮาบะฮฺกล่าวว่า บริเวณใดที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ดื่มน้ำ ท่านก็จงดื่มตรงนั้น[๑๖๓]

كان رسول الله (ص) اذا صل الغداة جاء خدم المدينة بآنيتهم فيها الماء فما يؤتى بأناء الا غمس يده فيها فربما جاءوه فى الغداة البارة فيغمس يده فيها
คนรับใช้มะดีนะฮฺเมื่อถึงเวลานมาซศุบฮฺ ได้นำเอาภาชนะใส่น้ำมาให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านศาสดาได้เอามือจุ่มลงไปในภาชนะทุกใบ แม้ว่าตอนเช้ามืดจะมีอากาศหนาวเย็น เมื่อคนรับใช้มาถึงท่านศาสดาได้เอามือจุ่มลงไปในน้ำนั้น[๑๖๔]

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าเหตุผลที่กล่าวมาเป็นการแสดงให้เห็นว่าการแสวงความสิริมงคล จากสิ่งของเครื่องใช้ของบรรดาหมู่มวลมิตรแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นที่อนุญาต แต่สำหรับบุคคลที่กล่าวหาชีอะฮฺเวลาทำซิยารัต (เยี่ยม) สถานที่ฝังศพได้จูบประตูหรือฝาผนังของหะรัม เพื่อความสิริมงคลว่าเป็นชิกร์ (ตั้งภาคี) หรือเคารพสิ่งอื่นร่วมปนกับอัลลฮฺ (ซบ.) เป็นเพราะว่าเข้าใจเตาฮีด และชิกร์ไม่ถูกต้อง คำว่าชิกร์ หมายถึงขณะที่เคารพภักดีอัลลอฮฺ ได้ยอมรับสิ่งอื่นว่าเป็นพระเจ้าด้วยเช่นกัน หรือนำกิจการที่เป็นภารกิจของอัลลอฮฺพาดพิงไปถึงสิ่งนั้น และถือว่าเป็นภารกิจของสิ่งนั้น และยอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นแก่นของการมีอยู่ เป็นผู้ให้และการมีอยู่ของมันเป็นนิรันดร์ เอกเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาพระผู้เป็นเจ้า

ขณะที่ชีอะฮฺเชื่อว่า สิ่งของเครื่องใช้ของบรรดาหมู่มวลมิตรของอัลลอฮฺ เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ คล้ายกับพวกเขา การมีอยู่ การถือกำเนิด และแหล่งที่มาของมันต้องพึ่งพิงพระองค์ (ซบ.) ทั้งสิ้น

ชีอะฮฺ มีความรักและให้ความเคารพอย่างสูงแก่บรรดาอิมามผู้นำศาสนา ให้ความรักและหวงแหนสิ่งของที่เป็นที่รักของพวกเขาพร้อมกับแสวงหาความสิริ มงคลจากสิ่งเหล่านั้น
แม้ว่าชีอะฮฺ จะจูบลูกกรงที่ครอบพระศพของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) เมื่อเวลาไปเยื่ยมสถานที่ฝังศพได้ลูบประตู หรือกำแพงเพียงเพราะความรักและความเคารพที่มีต่อบรรดาผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น มิได้มีเจตนาอย่างอื่น สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคน
แน่นอนไม่มีใครพึงปรารถนาจูบลูกกรงเหล็ก หรือกำแพงปูนเพราะสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ดาษดื่น แต่เจตนารมณ์ที่จูบคือผู้บริสุทธิ์ที่ฝังร่างอยู่ ณ ที่นั้นต่างหาก เหมือนกับคนที่จูบอัล-กุรอานมิได้มีเจตนารมณ์จูบกระดาษ ทว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือดำรัสของอัลลอฮฺ (ซบ.)




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ชีอะฮฺมีคำตอบ

คำถามที่ ๒๑ : ทรรศนะของอิสลามถือว่าศาสนามิได้แยกออกจากการเมืองใช่หรือไม่?
คำตอบ : ก่อนที่จะเข้าสู่สาระและเนื้อหาของคำตอบ ขอทำความเข้าใจกับคำว่า การเมือง (ซิยาซัต) ก่อนเป็นการดีกว่า เพื่อจะได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมืองได้ดียิ่งขึ้น ความว่าซิยาซัต (การเมือง) สามารถอธิบายได้สองประการ

๑. การเมืองในความหมายของ การอำพราง การใช้เลห์ตลอดจนการใช้สื่อทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย(เป้าหมายจะถูก อธิบายด้วยกับสื่อ)
แน่นอนการเมืองในความหมายเช่นนี้ไม่ใช่ความหมายที่แท้ของคำว่า การเมือง ซึ่งมันไม่มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการใช้เล่ห์เพทุบาย และการหลอกลวงไม่มีความเหมาะสมกับศาสนาแม้แต่นิดเดียว

๒. การเมืองในความหมายของ การบิรหารภารกิจที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของสังคม โดยนำเอาแก่นแท้ที่ถูกต้องของอิสลามในแง่มุมต่าง ๆ มาเป็นตัวกำกับดูแลและบริหารสังคมนั้น
การเมืองในความหมายดังกล่าวคือ การบริหารภารกิจของมุสลิมตามทรรศนะของอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาและไม่มีวันที่จะแยกออกจากศาสนาอย่างเด็ดขาด

ลำดับต่อไปขอนำเสนอเหตุผลที่เข้ากันระหว่างการเมืองกับศาสนา และความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองสังคม
สิ่งที่สนับสนุนคำพูดที่กล่าวมาข้างต้นได้อย่างดีคือ แบบฉบับและวิธีการของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในยุครุ่งโรจน์แห่งการประกาศศาสนา และถ้าศึกษาพระวัจนะและแบบฉบับของท่านศาสดาลงไปอย่างละเอียดจะทำให้มีความ ชัดเจนยิ่งขึ้นประหนึ่งแสงแดดในตอนกลางวัน เพราะนับตั้งแต่วันแรกของการประกาศศาสนา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจน ถึงการจัดตั้งรัฐบาลอิสลามที่มีความเข็มแข็งบนพื้นฐานของความศรัทธาที่มีต่อ อัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อจะได้ดำเนินนโยบายตามที่อิสลามได้วางไว้

ขอหยิบหยกเจตนารมณ์อันสูงส่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ในการให้ความสำคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาลอิสลาม
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือผู้วางรากฐานในการจัดตั้งรัฐอิสลาม
๑. ขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประกาศคำสอนของอิสลาม ท่านได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ตลอดจนการจัดเตรียมกองกำลังมุสลิมเพื่อทำการพิทักษ์ต่อสู้ และเพื่อการชี้นำสั่งสอน ท่านได้ส่งพวกเขาไปพบกับกลุ่มชนที่เดินทางมาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกลเพื่อซิยารัต (เยี่ยมคารวะ) อัล-กะอฺบะฮ์ ให้เข้ารับอิสลาม ในหมู่พวกเขามีชนสองกลุ่มจากมะดีนะฮฺที่มาจากสถานที่นามว่า อุกบะฮฺ ได้พบปะและพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด พวกเขาได้สัญญาว่าเมื่อไหร่ก็ตามหากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เดินทางไปยังเมืองเขา พวกเขาจะให้การคุ้มกันและช่วยเหลือท่านศาสดา [๑๖๕] ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าก้าวแรกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในการเผยแพร่อิสลามคือการเตรียมพร้อมในการจัดตั้งรัฐอิสลาม

๒. ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เดินทางไปยังมะดีนนะฮฺ ท่านได้มีคำสั่งให้จัดตั้งกองกำลังทหารทันทีพร้อมกับมีการระดมพลและให้การ สนับสนุนอย่างเต็มที่ ทหารในยุคเผยแพร่อิสลามมีกองกำลังต่าง ๆ ถึง ๗๒ กองด้วยกัน พวกเขาได้ทำการพิชิตข้าศึกรอบด้าน และสามารถถอดถอนอุปสรรคที่ขวางกั้นการจัดตั้งรัฐอิสลามออกไปได้

๓. หลังจากรัฐอิสลามในมะดีนะฮฺได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นที่เรียบร้อย ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ส่งทูตและสารไปยังเจ้าเมืองต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและสังคม ทำให้มีผู้นำหลายฝ่ายลงนามด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองกับท่านศาสดา

ชีวประวัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีจุดเด่นอยู่ที่สารฉบับประวัติศาสตร์ที่ท่านส่งถึง กัสรอ จักรพรรดิแห่งอิหร่าน , กัยศัรฺ กษัตริย์แห่งกรุงโรม, มะกูกิส ผู้ปกครองอียิปต์, นะญาชีย์ ผู้บังคับบัญชาการของหะบะชะฮฺ, และผู้นำคนอื่น ๆ ในสมัยนั้น นักค้นคว้าบางคนได้กล่าวว่าสารที่ได้กล่าวถึงนั้นถูกรวบรวมแยกไว้ในหนังสือ ต่าง ๆ อาทิเช่น อัล-วิษาอิกุสสิยาซียะฮฺ ของท่านมุฮัมมัด หะมีดุลลอฮฺ, มะกาตีบุรฺร่อซูล ของท่านอะลี อหฺมะดีย์

๓. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งตัวแทนประจำเผ่าและประจำเมืองต่าง ๆ เพื่อสนองนโยบาย และเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐอิสลาม อาทิเช่น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แต่งตั้งท่าน ริฟาอะฮฺ บิน ซัยด์ ในฐานะตัวแทนของท่านและส่งกลับไปยังเผ่าเดิมของเขา สาส์นแต่งตั้งท่านริฟาอะฮฺความว่า

بسم الله الرحمن الرحيم (هذا کتاب) من محمذ رسول الله (ص) لرفاعة بن زيد اني بعثته الى قومة عامة و من دخل فيهم يدعوهم الى الله والى رسوله فمن اقبل منهم ففى حرب الله و حرب رسوله و من أدبر فله أمان شهرين
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี สารฉบับนี้ส่งมาจากมุฮัมมัด ศาสทูตแห่งอัลลอฮฺส่งสำหรับ ริฟาอะฮฺ บิน ซัยด์ แท้จริงฉันได้แต่งตั้งเขาเป็นตัวแทนประจำเผ่าของเขา เพื่อเชิญชวนประชาชนไปสู่อัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์ ดังนั้นบุคคลใดตอบรับคำเชิญชวนของเขา เขาจะถูกนับว่าเป็นพลพรรคของอัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์ แต่บุคคลใดไม่ตอบรับคำเชิญเขาจะมีโอกาสอยู่ในความปลอดภัยเพียงสองเดือนเท่า นั้น[๑๖๖]

เมื่อพิจารณาการกระทำและการอนุมัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะพบว่าตั้งแต่แรกที่ทำการเผยแพร่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีเป้าหมายจัดตั้งรัฐอิสลาม เพื่อให้กฏหมายอิสลามครอบคลุมทุกแง่มุมในการดำเนินชีวิตของสังคม
ดังนั้น ภารกิจต่าง ๆ ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการลงนามในสนธิสัญญากับกลุ่มและเผ่าต่าง ๆ หรือการจัดตั้งกองกำลังทหาร การส่งทูตไปยังประเทศอื่น การเตือนสติมหาจักรพรรดิ์และเจ้าเมือง การส่งสารเยือน การแต่งตั้งตัวแทนไปประจำเผ่าและหัวเมือง ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณไปช่วยเหลือประชาชนทั้งอยู่ใกล้และไกล และภารกิจอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ใช่ การเมือง ในความหมายของ การบริหารกิจการของสังคมอิสลามแล้วเราจะเรียกชื่อว่าอะไร ?

นอกเหนือจากแบบฉบับของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แล้วยังมีการกระทำของบรรดาค่อลิฟะฮฺ รอชิดีนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบอย่างของท่านอะลี อมีรุลมุอฺมินีน (อ.) ซึ่งเป็นแบบอย่างสำหรับมุสลิมทั้งสุนีย์ และชีอะฮฺ ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งค่อลิฟะฮฺปกครองอยู่ ท่านได้แสดงให้เห็นว่าระหว่างการเมืองกับศาสนานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น

นักปราชญ์ทั้งสุนีย์และชีอะฮฺ ได้นำเสนอหลักฐานอย่างกว้างขวางถึงความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐอิสลาม เพื่อบริหารกิจการของสังคมทั้งจากอัล-กุรอาน และแบบฉบับของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นดังนี้
ท่านอบุลฮะซัน มาวัรฺดีย์ ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านนามว่า อหฺกามุลซุลฎอนียะฮฺ มีความว่า

الامامة موضوعة لخلافة النبوة فى حراسة الذين وسياسة الدنيا وعقدها لمن يقوم بها فة الامة واجب بالاجماع
อิมามะฮฺและการปกครอง เป้าหมาย คือการเป็นตัวแทนของท่านศาสดาทำหน้าที่ปกครองศาสนจักรและอาณาจักร อำนาจการปกครองเป็นของผู้ที่ยืนหยัดมัน และเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทั้งหลายต้องปฏิบัติตาม [๑๖๗]

นักปราชญ์อิสลามที่มีชื่อเสียงของอหฺลิซซุนนะฮฺคนหนึ่ง ได้พิสูจน์ความหมายของซิยาซัต (การเมือง) โดยใช้สองเหตุผลดังนี้
๑. เหตุผลทางสติปัญญา
๒. เหตุผลทางชัรฺอีย์ (อ้างอิงแหล่งที่มาทางศาสนา)

เหตุผลทางปัญญาท่านกล่าวว่า..
لما فى طباع العقلء من التسليم لزعيم يمنعهم من التظالم و يفصل بينهم فى لتنازع و التخاصم و لولا الولاة لكانوا فوضى مهملين و همجامضاعين
เนื่องจากเป็นธรรมชาติของผู้มีสติปัญญาที่ต้องปฏิบัติตามผู้นำ เพื่อให้พวกเขาออกห่างจากการกดขี่กันและกัน ห้ามปรามพวกเขายามที่พวกเขาวิวาทกัน และถ้าหากไม่มีผู้นำแน่นอนประชาชนต้องแตกกระสันกันออกไปและปล่อยให้ความ เชี่ยวชาญต้องหลุดมือไป[๑๖๘]

ส่วนเหตุผลทางชัรฺอีย์ท่านกล่าวว่า..

ولكن جاء الشرع بتفويض الامور الى وليه فى الدين قال الله عزوجل (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَوَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ) ففرض علينا طاعة اولى الامر فينا و هم الائمة المتامرون علينا
ส่วนเหตุผลทางชัรอีย์กล่าวว่าให้มอบหมายภารกิจการงานแก่ผู้ปกครองศาสนา อัลลอฮฺตรัสว่า (โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลฮฺ จงเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสดาและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า) ฉะนั้น จะเห็นว่าอัลลอฮฺ ทรงกำหนดให้เราปฏิบัติตามผู้นำ พวกเขาคือผู้นำและเป็นผู้บังคับบัญชาของเรา[๑๖๙]

เชคศ่อดู้ก ได้เล่าจากฟัฎล์ อิบนิ ชาซานว่า ริวายะฮฺหนึ่งได้พาดพิงถึงท่านอิมามริฎอ (อ.) เป็นริวายะฮฺที่มีความยาวบางตอนของริวายะฮฺท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐอิสลาม ณ ที่นี้จะขอหยิบยกบางตอนของริวายะฮฺเหล่านั้น.

انا لا نجد فرقة من الفرق و لا ملة من الملل بقوا وعاشورا الا بقيم ورئيس لما لابد لهم منه من امر الدين و الدنيا فلم يجز فىحكمة الحكيم ان يترك الخلق لما يعلم انه لابد لهم منه ولاقوام لهم الا به فيقاتلون به عدوهم و يقسمون به فيئهم و يقيمون به جمعتهم يمنع ظالمهم من مظلومهم
เราจะไม่พบเห็นชนกลุ่มใด หรือประชาชาติใดสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้โดยปราศจากผู้นำ เราต้องการผู้นำแห่งศาสนจักรและอาณาจักร ฉะนั้น จะเห็นว่าไม่ใช่วิทยปัญญาแห่งอัลลอฮฺที่จะปล่อยให้ประชาชาติดำเนินชีวิตไป ทั้งที่พระองค์รู้ว่าพวกเขามีความจำเป็นต่อสิ่งนั้น และถ้าปราศจาสิ่งนั้นแล้วไม่อาจดำเนินชีวิตต่อไปได้ ประชาชนได้ร่วมกับผู้นำทำการพิชิตศัตรู ได้จัดแบ่งทรัพย์สงคราม จัดนมาซญุมุอะฮฺและญะมาอะฮฺตามคำบังคับบัญชาของผู้นำ และผู้นำมีหน้าที่ถอดถอนการกดขี่ออกจากบรรดาผู้ถูกกดขี่ทั้งหลาย [๑๗๐]

เมื่อพิจารณาฟิกฮ์อิสลาม (กฎหมาย) จะพบว่ากฎหมายส่วนใหญ่ ถ้าปราศจากการจัดตั้งรัฐอิสลามไม่อาจดำเนินไปได้ อิสลามได้เชิญชวนประชาชาติสู่การสงคราม การปกป้องตนเอง การทำลายผู้กดขี่ การช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ การดำเนินบทลงโทษตามกฎหมายอิสลาม การเชิญชวนไปสู่ความดีและกำชับความชั่ว การจัดระบบการเงิน การสร้างเอกภาพในสังคมและอื่นๆ แน่นอนเป้าหมายที่ได้จัดตั้งไว้หากไม่มีรัฐอิสลามบริหารมันไม่อาจดำเนินการ ได้เด็ดขาด เพราะการปกป้องอิสลามและความศักดิ์สืทธิ์ต้องการกองทหารที่มีความเข็มแข็ง และมีความสามารถ ตลอดจนการลงโทษตามระบบอิสลามจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีรัฐรองรับ ประมวลความทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่าการจัดตั้งรัฐอิสลามมี ความจำเป็นหากเราต้องการดำเนินชีวิตตามนโยบายของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเท่าที่ผ่านมาเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่มีระบบใดสามารถแก้ไขปัญหาของสังคม ได้ดีเท่าระบบอิสลาม ฉะนั้น เมื่อรัฐอิสลามมีความจำเป็นแล้วการเมืองจะแยกออกจากศาสนาได้อย่างไรเพราะ ทั้งเป็นเหมือนฝาแฝดกัน

คำถามที่ ๒๒ : ทำไมชีอะฮฺจึงถือว่าบุตรของท่านอิมามอะลี (ฮะซันและฮุซัยนฺ)เป็นบุตรของท่านศาสดา?
คำตอบ : จากการค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ ตับซีรฺ ประวัติศาสตร์ และริวายะฮฺทำให้รู้ว่าการพูดเช่นนี้ไม่เฉพาะเจาะจงอยู่แค่ชีอะฮฺเท่านั้น ทว่าสามารถกล่าวได้ว่าบรรดานักค้นคว้ามุสลิมจากกลุ่มต่าง ๆ ได้มีความเห็นพร้องตรงกันในเรื่องนี้
จากการอ้างอิงถึงอัล-กุรอาน ฮะดีซ และคำพูดของนักอรรถธิบายอัล-กุรอานที่มีชื่อเสียงอันเป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึง เรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

โดยปกติอัล-กุรอานถือว่าบุตรหลานที่เกิดจากหน่อเนื้อเชื้อไขของตนเป็น บุตรของตน เช่นกันบุตรที่เกิดจากบุตรของตนไม่ว่าจะเป็นบุตรของบุตรสาวหรือบุตรของบุตร ชายถือว่าเป็นบุตรของตน และเมื่อพิจารณาอัล-กุรอาน และซุนนะฮฺจะพบหลักฐานจำนวนมากมายที่ยืนยันถึงความจริงดังกล่าวดังตัวอย่างต่อไปนี้

๑. อัล-กุรอาน โองการต่อไปนี้ถือว่า ท่านศาสดาอีซา (อ.) เป็นบุตรคนหนึ่งของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ขณะที่ศาสดาอีซา (อ.) คือบุตรของท่านหญิงมัรยัม ศาสดาอีซาสัมพันธ์กับท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทางสายมารดา

وَوَ
هَبْنَا لَهُ إِسْحَقَ وَيَعْقُوبَ كُلاًّ هَدَيْنَا وَنُوحًا هَدَيْنَا مِن قَبْلُ وَمِن ذُرِّيَّتِهِ دَاوُودَ وَسُلَيْمَانَ وَأَيُّوبَ وَيُوسُفَ وَمُوسَى وَهَارُونَ وَكَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ وَزَكَرِيَّا وَيَحْيَى وَعِيسَى وَإِلْيَاسَ كُلٌّ مِّنَ الصَّالِحِينَ
และเราได้ให้อิสหาก และยะอ์กูบแก่เขา เราได้ชี้นำทั้งหมด และเราได้แนะนำนูห์แล้วก่อนหน้า อิบรอฮีมและลูกหลานของอิบรอฮีมคือดาวูด สุลัยมาน อัยยูบ ยูซุฟ มูซาและฮารูน พวกที่ทำความดีเหล่านี้แหละที่เราจะตอบแทนรางวัลความดี และ (จากบุตรหลานของอิบรอฮีม) ซะกะรียา ยะห์ยา อีซา และอิลยาส ทุกคนนั้นอยู่ในหมู่คนดี [๑๗๑]

นักวิชาการของอิสลามได้ถือว่าโองการข้างต้นเป็นเหตุผลที่ชัดเจนที่บ่งบอก ว่า ท่านฮะซันและท่านฮุซัยนฺเป็นบุตรและเป็นเชื้อสายที่ใกล้ชิดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นขอหยิบยกคำพูดบางตอนของนักปราชญ์อิสลามที่ กล่าวว่า..

أرسل الحجاج الى يحي بن يعمر فقال : بلغنى انك تزعم ان الحسن والحسين من ذرية النبى تجده فى كتاب الله وقد قرأته من اوله الى آخره فلم أجده
قال ألست تقرأ سورة الانعام (وَمِنذريته داود و سليمان) حتى بلغ (و يحيى و عيسى) فال: بلى قال :
أليس عيسى من ذرية ابراهيم وليس له اب؟ قال : صدق

วันหนึ่งหัจญาจ ได้ส่งม้าเร็วไปหายะห์ยา บิน ยะอ์มุรฺ และได้พูดกับเขาว่า ได้มีรายงานมาถึงฉันว่า ท่านได้บอกว่า ฮะซันและฮุซัยนฺเป็นหลานและเป็นบุตรของท่านศาสดา ท่านเคยพบคำพูดเหล่านี้ในอัล-กุรอานหรือ ? ฉันได้อ่านอัล-กุรอานตั้งแต่แรกจนจบไม่เคยเจอคำพูดเหล่านี้เลย
ท่านยะห์ยา บิน ยะอ์มุรฺ กล่าวว่า ท่านไม่เคยอ่านโองการนี้ในซูเราะฮฺอันอามหรือ ? อัลลอฮฺตรัสว่า (และจากลูกหลานของเขาดาวูด และสุลัยมาน) จนถึงคำพูดที่ว่า (ยะห์ยา และอีซา) ตอบว่า ฉันเคยอ่าน
ยะห์ยา พูดว่าอัล-กุรอานไม่ได้บอกหรือว่าอีซาเป็นลูกหลานของอิบรอฮีม ขณะที่อีซานั้นไม่มีบิดา (ทางสายมารดาเท่านั้นที่อีซามีความสัมพันธ์กับอิบรอฮีม) หัจญาจตอบว่า ท่านพูดถูกแล้ว [๑๗๒]

จากโองการต่าง ๆ ที่ได้หยิบยกมาพร้อมทั้งคำอธิบายของนักตับซีรฺทั้งหลายทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เฉพาะชีอะฮฺเท่านั้นที่เชื่อว่าฮะซันและฮุซัยนฺเป็นบุตรหลานของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ทว่าบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายก็เชื่อเช่นนั้นเหมือนกัน

๒. อีกโองการหนึ่งที่ยืนยันไว้อย่างชัดเจนว่า ท่านอิมามฮะซันและฮุซัยนฺ เป็นบุตรหลานของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือโองการมุบาฮะละฮฺ (อาลิอิมรอน/๖๑) ความว่า

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْنَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنفُسَنَاوأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَتَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ
ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้าในเรื่องของเขา (อีซา) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงบอกเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเราและลูกของพวกท่าน และเรียกบรรดาผู้หญิงของเราและบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน และตัวของพวกเราและตัวของพวกท่าน หลังจากนั้นเราจะทำการสาปแช่ง และขอใหการสาปแช่งของอัลลอฮฺพึงประสบ แก่บรรดาผู้ที่พูดโกหก1 (อาลิอิมรอน/๖๑)

บรรดานักอรรถธิบายอัล-กุรอาน กล่าวว่า โองการข้างต้นคือโองการมุฮะละฮฺ เป็นการสาปแช่งกันระหว่างท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเหล่าบรรดาผู้นำชาวคริสเตียน นัจรอน และหลังจากที่พวกเขาได้แสดงความก้าวร้าวท่านศาสดา อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาแก่ท่านศาสดาให้ทำการวิงวอนกันระหว่างท่านศาสดากับพวกผู้นำคริสเต รียน โดยให้พาท่านอะลี ท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺออกไปเพื่อทำการมุบาฮะละฮฺ เมื่อพวกนัศศอรอได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอหฺลุลบัยตฺของท่านจริงจังกับเรื่องดังกล่าว พวกเขาจึงกลัวว่าชีวิตของพวกเขาจะเป็นอันตราย จึงได้ขอรัองท่านศาสดาให้ยกเลิกพิธีกรรมนั้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบรับคำขอร้องของพวกเขาและได้ลงนามในสัญญาเพื่อยกเลิกพิธีกรรมสาปแช่ง

นักอรรถธิบายอัล-กุรอานทั้งสุนีและชีอะฮฺตามมีความเห็นพร้องตรงกันว่า ในวันมุบาฮิละฮฺนั้นท่านอิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอิมามฮะซัน และท่านอิมามฮุซัยนฺ ได้ร่วมอยู่ในพิธีดังกล่าวด้วย ฉะนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจุดระสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่กล่าวว่า อับบะนาอะนา (บุตรของพวกเรา) หมายถึง อิมามฮะซัน และท่านอิมามฮุซัยนฺ ตาม ความหมายข้างต้นจะเห็นว่าโองการได้รับรองว่าอิมามทั้งสองเป็นบุตรของท่านศาสดา

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวสนับสนุนและยืนยันว่าเหตุการณ์ตามโองการมุบาฮิ ละฮฺถูกต้อง ณ ที่นี้จะขอหยิบยกบางส่วนจากริวายะฮฺเหล่านั้น
ก. ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้เล่าจาก ฮากิม อิบนุ มุรูดียะฮฺ และ อบูนะอีม ซึ่งรทั้งสองรายงานมาจากท่านญาบีรฺ บิน อับดุลลอฮฺว่า

أنفسنا و أنفسكم : رسول الله وعلى و أبناءنا : حسن و الحسين و نساءنا : فاطمة
จุดประสงค์ของคำว่า อังฟุซะนา (ชีวิตของเรา) หมายถึงท่านศาสดากับท่านอะลี ส่วนคำว่า อับบะนาอะนา (บุตรของพวกเรา) หมายถึงอิมามฮะซันและอิมามฮะซัยนฺ และคำว่า นิซาอะนา (สตรีของเรา) หมายถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ[๑๗๓]

ข. ท่านฟัครุดดีน รอซีย์ ได้บันทึกไว้ในตัวซีรฺของตน หลังจากอธิบายริวายะฮฺแล้ว ท่านได้กล่าวว่า
واعلم ان هذه الرواية كالمتفق على صحتها بين اهل التفسير والحديث
แน่นอนริวายะฮฺดังกล่าวนี้ อยู่ในฐานะของฮะดีซที่บรรดานักอรรถาธิบายกุรอาน และนักฮะดีซมีเห็นพร้องกันในเรื่องความถูกต้อง [๑๗๔]

ท่านได้กล่าวเพิ่มอีกว่า

المسألة الرابعة : هذه الاية دالة على ان الحسن والحسين (ع) كانا ابنى رسول الله وعد أن يدعوا ابناءه فدع الحسن والحسين فوجب ان يكون ابنيه
โองการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้บ่งบอกว่าฮะซันและฮุซัยนฺเป็นบุตรของท่านศาสดา เนื่องจากได้ตกลงว่าให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เรียกบุตรของท่านออกมา ดังนั้น ท่านจึงเรียกฮะซันและฮุซัยนฺออกมา [๑๗๕]

ค. อบูอับดิลลาฮฺ กุรฺฏุบีย์ ได้บันทึกไว้ในตัยซีรฺของตนว่า

[أبناء نا] دليل على ان ابناء البنات يسمون أبناء نا
อับบะนาอะนา ตามโองการกุรอานที่กล่าวถึง เป็นเหตุผลที่ยืนยันว่าบุตรหลานที่เกิดกับบุตรสาว ถูกนับว่าเป็นบุตรของคนนั้นเช่นกัน [๑๗๖]

๓. คำกล่าวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นสิ่งยืนยันที่ดีที่สุด ด้วยการกล่าวว่า อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺป็นบุตรของท่านศาสดา ดังตัวอย่างบางคำพูดที่ว่า

هذان ابناى من أحبهما فقد أحبنى
ฮะซันและฮุซัยนฺ เป็นบุตรชายสองคนของฉัน ใครรักเขาทั้งสองเท่ากับรักฉัน [๑๗๗]

อีกครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ชี้ไปที่ฮะซันและฮุซัยนฺพร้อมกับกล่าวว่า

أن ابنى هذين ريحانتى من الدنيا
แท้จริงบุตรชายทั้งสองของฉัน เป็นที่รักยิ่งสำหรับฉันบนโลกนี้[๑๗๘]




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ชีอะฮฺมีคำตอบ

คำถามที่ ๒๓ : ทำไมชีอะฮฺจึงถือว่าค่อลิฟะฮฺต้องมาจากการแต่งตั้ง?
คำตอบ : เป็นที่ชัดเจนว่าอิสลามศาสนาที่บริสุทธิ์เป็นศาสนาแห่งสากลและต้องธำรงอยู่ ตลอดไป ช่วงที่ศาสดา (ศ็อลฯ) มีชีวิตอยู่ท่านคือผู้นำ แต่หลังจากที่ท่านได้อำลาโลกไปแล้วแน่นอนอำนาจการเป็นผู้นำต้องมอบให้เป็น หน้าที่ของผู้ที่ดีที่สุดในหมู่ประชาชาติ

ปัญหาอยู่ที่ว่าตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นการแต่งคตั้ง (หมายถึงเป็นบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยท่านศาสดาเป็นผู้เลือกสรร) หรือว่าเป็นตำแหน่งที่อาศัยการเลือกตั้งของประชาชน มีสองทรรศนะดังนี้…
- ชีอะฮฺ เชื่อว่าอิมามผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) หรืออีกนัยหนึ่งพระองค์คือผู้กำหนดผู้ที่จะมาดำรงตำดังกล่าว
- สุนนีย์ เชื่อว่าอิมามผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มาจาการเลือกตั้งมิใช่แต่งตั้ง ประชาชนคือผู้เลือกสรรอิมามให้ทำหน้าที่บริหารสังคมภายหลังจากท่านศาสดา

การดูแลรักษาสังคมเป็นสิ่งยืนยันว่าค่อลิฟะฮฺต้องมาจากการแต่งตั้ง

บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ได้รวบรวมหลักฐานจำนวนมากมายที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการแต่งตั้งอิมามไว้ใน ตำราหลักความเชื่อของตน แต่ในหนังสือเล่มนี้สิ่งที่ต้องการกล่าวถึงคือ การวิเคราะห์เงื่อนไขของผู้ปกครองในสมัยของการประกาศศาสนาเพื่อเป็นเหตุผล สนับสนุนแนวความคิดของฝ่ายชีอะฮฺ
การวิเคราะห์ถึง การเมืองภายในและภายนอกอิสลามในช่วงการเผยแพร่สาส์น เป็นที่ยอมรับกันถ้วนหน้าว่าตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยผ่านท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เนื่องจากทุกคนมองเห็นว่าอิสลามในยุคนั้นตกอยู่ท่ามกลางอันตรายสามด้านด้วย กันกาล่าวคือ อันตรายจากกษัตริย์แห่งกรุงโรม กษัตริย์แห่งอิหร่าน และบรรดาพวกกลับกลอกทั้งหลาย (มุนาฟิกีน) ทั้งหมดได้ทำการข่มขู่และคิดจะทำลายอิสลามตลอดเวลา ขณะเดียวกันเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำการแต่งตั้งตัวแทนทางการเมืองเพื่อเป็นผู้นำการต่อสู้กับศัตรูภายนอก และเพื่อนำประชาชนทั้งหมดให้ต่อสู้ไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งเป็นการทำลายแผนการของศัตรูที่คิดจะมีมีอิทธิพลเหนืออิสลาม

คำอธิบายข้อกล่าวอ้างข้างต้น

ด้านหนึ่งของอันตรายเกิดจากอำนาจที่มาจากโรม ถือว่าเป็นมหาอำนาจในยุคนั้น โรมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแคว้นอาหรับพวกเขาได้สร้างปัญหาให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องคิดตลอดเวลาและจนกระทั่งช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญท่านก็ไม่อาจหลุด พ้นความคิดของพวกโรมไปได้
การเผชิญหน้ากันเป็นครั้งแรกระหว่างทหารอิสลามกับทหารของคริสเตียนแห่งกรุง โรม เมื่อปี ฮ.ศ.ที่ ๘ บนพื้นแผ่นดินปาเลสไตน์ การเผชิญหน้ากันในครั้งนี้อิสลามได้สูญเสียบุคคลสำคัญไปถึงสามคนคือ ท่านญะอฺฟัรฺฎอยยารฺ ท่านซัยดฺ บินฮาริษะฮฺ และท่านอับดุลลอฮฺ บินเราะวาฮะฮฺ การต่อสู้จบลงด้วยความปราชัยของอิสลาม

การถอนกำลังล่าถอยของทหารอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับกองทหารฝ่ายผู้ปฏิเสธ ทำให้กองทหารของกษตริย์กัยศัรฺเกิดได้ใจและวางแผนที่จะโจมตีอิสลามตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เอง ในปี ฮ.ศ. ที่ ๙ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้ยกพลขนาดใหญ่เคลื่อนทัพไปยังชายแดนเมืองชาม เตรียมพร้อมการเผชิญหน้าในทุกรูปแบภายใต้การนำทัพของท่าน และในการเคลื่อนทัพครั้งนี้ฝ่ายอิสลามสามารถกอบกู้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของ ตนกลับคืนมาได้ เป็นการมอบชีวิตทางการเมืองใหม่ให้กับสังคมอิสลามแม้จะเป็นไปด้วยความยาก ลำบากก็ตาม

แม้ว่าอิสลามจะได้รับชัยชนะ แต่มันก็ไม่อาจทำให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สบายใจได้หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันท่านศาสดาได้ล้มป่วยลง ขณะที่ป่วยอยู่นั้นท่านได้สั่งให้เคลื่อนทัพไปตึงกำลังไว้ที่ชายแดนเมืองชาม อีกครั้ง ภายใต้การนำทัพของท่านอุซามะฮฺ
ศัตรูอีกด้านหนึ่งของอิสลามคือ กษัตริย์แห่งอิหร่านในสมัยนั้น คุสโรได้แสดงความรังเกียจเดียดฉันกับอิสลามมาตลอด ถึงขั้นฉีกสาส์นที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ส่งไปเชิญชวนสู่อิสลาม ขับไล่ทูตที่ศาสดาส่งไปพร้อมกับดูถูกเหยียดหยามออกจากพระราชวังอย่างไม่ใยดี อีกทั้งยังได้ส่งสาส์นไปถึงกษัตริย์แห่งเยเมนให้จับกุมท่านศาสดา ถ้าขัดขืนให้สังหารทิ้งเสีย

ถึงแม้ว่ากษัตริย์คุสโรแห่งอิหร่านจะสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่สมัยที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่ประเทศเยเมนก็ไม่ได้รับอิสระภาพยังคงเป็นเมืองขึ้นที่อยู่ในอาณัตของ อิหร่านต่อไป อิหร่านไม่ได้ยินดีกับอำนาจการเติบโตของอิสลามแม้แต่นิดเดียวเพราะอิสลาม ยิ่งเติบโตความยิ่งใหญ่ของอิหร่านก็ลดน้อยลงตามลำดับ อิหร่านจึงไม่สามารถอดทนได้

ศัตรูด้านที่สาม จัดว่าเป็นศึกภายในที่เกิดจากบรรดาพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน) กลุ่มชนนี้ได้แฝงตัวอยู่ในสังคมอิสลามมาตลอด เปรียบเสมือนเป็นสายเลือดเส้นที่ห้าที่คอยก่อกวน สร้างความเสื่อมเสีย และก่อกบถในหมู่มุสลิมจนถึงขั้นที่ว่าพวกเขาตั้งใจเอาชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยได้วางแผนลอบสังหารท่านระหว่างทางไปตะบูกกับมะดีนะฮฺ พวกเขาได้พูดกันว่าการตายของท่านศาสดาเท่านั้นที่จะทำให้ขบวนการอิสลามยุติลง และสร้างความเสียหายได้อย่างทั่วถึง อัล-กุรอานกล่าวว่า

أَمْ يَقُولُونَ شَاعِرٌ نَّتَرَبَّصُ بِهِ رَيْبَ الْمَنُونِ
หรือพวกเขากล่าวว่า มุฮัมมัดเป็นกวี เราคอยภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นแก่เขา [๑๗๙]

อำนาจการสร้างความเสียหายของพวกมุนาฟิกีน (กลับกลอก) ได้ตั้งรกรากอย่างมั่นคงในสังคม ถึงขนาดที่อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน นิซาอ์ มาอิดะฮฺ อันฟาล เตาบะฮฺ อังกะบูต อหฺซาบ มุฮัมมัด ฟัตห์ มุญาดะละฮฺ หะดีด มุนาฟิกีน และหัชร์ได้กล่าวถึงบทบาทของพวกเขาไว้[๑๘๐]

การมีศัตรูที่มีความแข็งแกร่งอยู่รอบด้าน ขณะอิสลามมีจำนวนน้อยนิดและเป็นสังคมที่เพิ่งจะเติบโตขึ้นมาใหม่ด้วยความยาก ลำบาก หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในฐานะผู้สถาปนาสังคมได้ทอดทิ้งสังคมไปโดยไม่มีการแต่งตั้งตัวแทนให้ทำ หน้าที่ปกครองทั้งศาสนจักรและอาณาจักร

นักสังคมวิทยากล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องทำการแต่งตั้งผู้นำภายหลังจากท่าน ให้ดำรงหน้าที่แทนเพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งภายใน และเป็นแกนนำที่แข็งแรงในการสร้างเอกภาพและยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู เหตุการณ์และภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม ดังนั้น หลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) การที่ทุกเผ่าได้ออกมาเสนอว่าผู้นำต้องเป็นคนจากเผ่าของเราถือว่าไม่ถูกต้อง และเป็นไปไม่ได้ที่ท่านศาสดาจะไม่แต่งตั้งผู้นำไว้

นักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า สิ่งเดียวที่ท่านมุฮัมมัดได้ละเลยและก่อให้เกิดผลเสียมิใช่น้อยได้แก่การมิ ได้แต่งตั้งผู้สืบต่อจากท่าน คำว่าผู้สืบต่อนี้ภาษาอาหรับเรียกว่า ค่อลิฟะฮฺ ซึ่งเราเคยเรียกเพี้ยนเป็นกาหลิบ การที่ท่านมุฮัมมัดไม่ได้แต่งตั้งค่อลิฟะฮฺไว้ก็อาจเป็นเพราะท่านมีความถ่อม ตน ถือว่าหน้าที่แต่งตั้งค่อลิฟะฮฺเป็นของอัลลอฮฺ มิใช่ของท่าน อย่างไรก็ตามเมื่อท่านสิ้นชีวิตลงโดยไม่มีผู้สืบทอดต่อก็ก่อให้เกิดปัญหาการ คัดเลือกผู้เหมาะสม แม้จะได้มีการลงมติเลือกให้ อบูบักร์ เพื่อนสนิทของท่านเป็นค่อลิฟะฮฺ แต่ก็มีผู้ไม่พอใจมตินี้และเห็นควรให้อะลีบุตรเขยของท่านดำรงตำแหน่งค่อลิฟะฮฺมากกว่า พวกนี้ได้ชื่อว่า พรรคของอะลี หรือ ชีอะฮฺ ซึ่งในที่สุดก็แตกแยกออกมาเป็นนิกายใหม่ของศาสนาอิสลาม การแตกแยกดังกล่าวคงจะไม่เกิดขึ้นหากท่านศาสดาได้สั่งออกมาเด็ดขาดว่าจะให้ผู้ใดสืบต่อจากท่าน[๑๘๑]

คำพูดของนักสังคมวิทยาได้สนับสนุนความคิดของเราที่ว่า ผู้นำภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องได้รับการแต่งตั้งไม่ใช่มาจากการเลือกตั้ง

หลักฐานการแต่งตั้งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้จะเห็นว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประกาศแต่งตั้งตัวแทนตั้งแต่วันแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาจน กระทั่งวันสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประกาศแต่งตั้งตัวแทนพร้อมกับประกาศการเป็นศาสดาของท่านท่ามกลางหมู่ เครือญาติชั้นใกล้ชิด และท่านได้ประกาศอีกครั้งท่ามกลางหมู่ชน ณ ฆ่อดีรคุม ดังนั้นตลอดอายุไขของท่านศาสดาท่านได้แต่งตั้งตัวแทนไว้เรียบร้อยแล้วดังที่กล่าวมาแล้วในบทต้น ๆ

เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขของสังคมในยุคแรกของอิสลาม และหลักฐานที่ท่านศาสดาได้แต่งตั้งท่านอะลีไว้ ทำให้รู้ว่า การแต่งตั้งตำแหน่งค่อลิฟะฮฺเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

คำถามที่ ๒๔ : การสาบานด้วยนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺเป็นชิริกหรือไม่?
คำตอบ : การอธิบายคำว่า เตาฮีด และ ชิริกต้องพิจารณาจากโองการและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เนื่องจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นแบบฉบับที่เข้าใจได้ง่ายที่ สุดต่อการจำแนกความจริงออกจากความเท็จ และเตาฮีดออกจากชิริก

บนพื้นฐานข้างต้นเป็นการดีหากเราจะใช้วะฮีย์ และแบบฉบับการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นหลักในการจำแนกแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นชิริกหรือไม่ เพื่อขจัดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความอคติทั้งหลาย
ลำดับต่อไปนี้จะนำเสนอหลักฐานที่ชัดเจนจาก อัล-กุรอาน และซุนนะฮฺที่อนุญาตให้สาบานต่อนามอื่น ที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.)

๑. อัล-กุรอานนอกจากกล่าวสาบานต่อความเป็นอมตะของตัวเอง และพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้ว ยังได้กล่าวสาบานต่อสิ่งถูกสร้างที่มีคุณค่ายิ่ง อาทิเช่น ชีวิตของท่านศาสดา จิตของมนุษย์ ปากกาอันเป็นแหล่งของการเขียน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว กลางวันและกลางคืน ท้องฟ้าและพื้นดิน เวลา ภูเขา และทะเล จะขอหยิบยกบางโองการเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

لَعَمْرُكَ إِنَّهُمْ لَفِي سَكْرَتِهِمْ يَعْمَهُونَ
ขอสาบานด้วยชีวิตของเจ้า แน่นอนแท้จริงพวกเขาอยู่ในการมึนเมาหลงทาง [๑๘๒]

وَالشَّمْسِ وَضُحَاهَاوَالْقَمَرِ إِذَا تَلَاهَا وَالنَّهَارِ إِذَا جَلَّاهَاوَاللَّيْلِ إِذَا يَغْشَاهَاوَالسَّمَاءِ وَمَا بَنَاهَا وَالْأَرْضِ وَمَا طَحَاهَا وَنَفْسٍ وَمَا سَوَّاهَافَأَلْهَمَهَا فُجُورَهَا وَتَقْوَاهَا
ขอสาบานด้วยดวงอาทิตย์ และแสงสว่างของมัน และด้วยดวงจันทร์เมื่อโคจรตามหลังมัน และด้วยเวลากลางวันเมื่อมันเจิดจรัส และด้วยเวลากลางคืนเมื่อความมืดปกคลุม และด้วยชั้นฟ้าพร้อมสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมัน และด้วยแผ่นดินที่พระองค์ทรงแผ่มัน และด้วยชีวิตที่พระองค์ทรงทำให้มันสมบูรณ์ แล้วพระองค์ทรงดลใจมันให้รู้ทางชั่วและทางสำรวมของมัน[๑๘๓]

وَالنَّجْمِ إِذَا هَوَى
ขอสาบานด้วยดวงดาวเมื่อมันคล้อยตกลงมา[๑๘๔]

ن وَالْقَلَمِ وَمَا يَسْطُرُونَ
นูน ขอสาบานด้วยปากกา และสิ่งที่พวกเขาขีดเขียน [๑๘๕]

وَالْعَصْر ِإِنَّ الْإِنسَانَ لَفِي خُسْرٍ
ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน [๑๘๖]

وَالْفَجْرِ وَلَيَالٍ عَشْرٍ
ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ [๑๘๗]

وَالطُّور وَكِتَابٍ مَّسْطُورٍفِي رَقٍّ مَّنشُورٍوَالْبَيْتِ الْمَعْمُورِوَالسَّقْفِ الْمَرْفُوعِوَالْبَحْرِ الْمَسْجُورِ ِ
ขอสาบานต่อภูเขาอัฏฏูร ขอสาบานต่อคัมภีร์ที่ถูกจารึกไว้ ในม้วนกระดาษหรือหนังที่กางแผ่ ขอสาบานต่ออาคารที่ถูกเยือนอย่างสม่ำเสมอ ขอสาบานต่อท้องฟ้าที่อยู่เบื้องสูง ขอสาบานต่อทะเลที่ลุกโชติช่วง [๑๘๘]

การสาบานต่อบรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ ของโลกและจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในซูเราะฮฺ อันนาซิอาต อัล-มุรฺสะลาต อัล-บุรุจญ์ อัฎ-ฏอริก อัล-บะลัด อัตตีน และอัฎฎุฮา
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากการสาบานต่อนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นสาเหตุของการนำไปสู่การเป็นชิริก หรือการเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ แน่นอนอัล-กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะจะไม่กล่าวถึงสิ่งนั้นอย่าง เด็ดขาด นอกเหนือจากนั้นถ้าหากการสาบานดังกล่าว เป็นการสาบานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮฺ จำเป็นอย่างยิ่งที่อัล-กุรอานต้องกล่าวไว้อย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

๓. บรรดามุสลิมทั้งหลายถือว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือแบบฉบับสำหรับการปฏิบัติตน จึงได้ยึดถือการกระทำและความประพฤติของท่านศาสดาเป็นตราชั่งในการแยกแยะสิ่งถูกผิด
บรรดานักวิเคระห์ ผู้เขียนหนังสือศิหาห์ และมะซานีดได้รายงานไว้ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สาบานต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.)
ท่านอหฺมัด บิน ฮัมบัล ผู้นำนิกายฮัมบะลีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือมุสนัดของท่าน โดยรายงานมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า

فلعمرى لأن تكلم بمعروف و تنهى عن منكر خير من ان تسكت
ขอสาบานด้วยชีวิตของฉัน ถ้าท่านทำการเชิญชวนไปสู่ความดีและกำชับความชั่วดีกว่าการนิ่งเฉย [๑๘๙]

มุสลิม บิน หัจญาจ ได้บันทึกไว้ในหนังสือศ่อฮีย์ของตน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในหกหนังสือศิหาห์ ดังนี้

جاء رجل الى النبى (ص) فقال يا رسول الله اىّ الصدقة اعظم اجراَ ؟ فقال: أما و أبيك لتنبانه ان تصدق وأنت صحيح شحيح تخشى الفقر وتأمل البقاء..
มีชายคนหนึ่งถามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า รางวัลของการศ่อดะเกาะฮฺใดยิ่งใหญ่ที่สุด ? ท่านศาสดากล่าวว่า ขอสาบานในนามแห่งบิดาของท่านว่า ท่านจะได้รู้อย่างแน่นอน ถ้าท่านบริจาคในสภาพที่ท่านสมบูรณ์ มีความละโมบ กลัวในความยากจน และมีความหวังที่จะอยู่ตลอดไป [๑๙๐]

ฉะนั้น ผู้ที่กล่าวหามุสลิมกลุ่มหนึ่งที่ถือว่าการสาบานด้วยนามอื่นที่นอกเหนือจาก อัลลอฮฺเป็นที่อนุญาต ว่าเป็นชิริกแล้ว ท่านจะอธิบายการกระทำของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ว่าอย่างไร ?

๓. นอกเหนือจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แล้วยังมีแบบอย่างของบรรดาศ่อฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิด เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงการอนุญาตให้สาบานต่อนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวสาบานด้วยชีวิตของท่านหลายต่อหลายครั้งดังประกฎในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺว่า

و لعمرى ليضعفنَ لكم التيه من بعدى أضعافا
ขอสาบานด้วยชีวิตของฉันว่า หลังจากฉันพวกท่านจะประสบกับความเฉไฉมากไปกว่านี้แน่นอน[๑๙๑]

لعمرى لان لم تنزع عن غيك و شقاقك لتعرفنّهم عن قليل يطلبونك
ขอสาบานด้วยชีวิตของฉัน ถ้าท่านไม่ถอนตัวจากความเฉไฉ และความขัดแย้งของท่าน ท่านจะได้รู้จักพวกเขาแน่นอนว่าพวกเขาต้องการท่าน[๑๙๒]

เป็นที่ประจักษ์ว่าหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งอัล-กุรอานและริวายะฮฺ เราไม่อาจทำการอิจติฮาด (วินิจฉัย) หรือทำการอิสติห์ซานได้ และไม่มีเหตุผลที่จะใส่ร้ายหรือกล่าวหาการกระทำของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน แบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และศ่อฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิดอย่างเช่นท่านอิมามอะลี (อ.) ว่าเป็นชิริก หรือเคารพสักการะสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลออฮฺ

บทสรุป

จากหลักฐานทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งอัล-กุรอาน แบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และศ่อฮาบะฮฺ ทำให้รู้ว่า การสาบานด้วยกับนามอื่นที่นอกเหนือจากพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นที่อนุญาตและไม่ขัดต่อความเชื่อที่มีต่อเตาฮีด (ความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ด้วยเหตุนี้ ถ้าริวายะฮฺที่ได้หยิบยกมาอ้างอิง ขัดแย้งกับความเชื่อที่ได้พิสูจน์แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการอธิบาย ตีความ หรือขยายความหมายของความเชื่อนั้นไม่ให้ขัดกับหลักฐานที่แจ้งชัดทั้งอัล-กุรอานและริวายะฮฺ

บางครั้งมีการกล่าวริวายะฮฺที่มีความหมายคลุมเคลือพร้อมทั้งกล่าวถึงตัวบท ของริวายะฮฺนั้น ขณะเดียวกันได้มีการอธิบายคำตอบไว้ด้วย อาทิเช่น

ان الرسول الله سمع عمر و هو يقول: وأبى فقال ان الله ينهاكم أن تحلفوا بآبائكم ومن كان حالفا فليحلف بالله أو يسكت
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยินท่านอุมัรฺสาบานด้วยนามของบิดาของท่าน ท่านศาสดา กล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺทรงห้ามพวกท่านไม่ให้สาบานในนามของบิดาของท่าน ใครที่ต้องการจะสาบาน ให้สาบานในนามของอัลลอฮฺ หรือนิ่งเฉยเสีย[๑๙๓]

แม้ว่าฮะดีษข้างต้นเมื่อเทียบกับริวายะฮฺ และอัล-กุรอานโองการที่อนุญาตให้สาบานด้วยนามอื่นได้ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามฮะดีษนั้นได้ หรือละทิ้งฮะดีษโดยสิ้นเชิง ทว่าสามารถรวมฮะดีษนี้เข้ากับอัล-กุรอานโองการที่อนุญาต และริวายะฮฺตามที่กล่าวมาแล้วได้ ซึ่งจะได้ความหมายว่า ผู้ห้ามท่านอุมัรฺไม่ให้สาบานด้วยนามแห่งบิดาของท่านคือท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตลอดจนท่านได้ห้ามสาบานเฉกเช่นท่านอุมัรฺแก่คนทุกคน ด้วยเหตุผลที่ว่า บิดาของท่านเหล่านั้นเป็นผู้เคารพรูปปั้น และเป็นชิริกโดยกำเนิดโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบุคคลที่เป็นการฟิรฺ ไม่มีค่าพอที่จะกล่าวสาบานในนามของเขา หรือสอนให้เขาทำการสาบาน

คำถามที่ ๒๕ : การขอผ่าน (ตะวัซซุล) ไปยังเอาลิยา (กัลยาณมิตรของพระองค์)เป็นสาเหตุทำให้เป็นชิริกและบิดอะฮฺหรือไม่?
คำตอบ :การตะวัซซุลถือเป็นวิธีการหนึ่งที่มีค่าที่สุด ที่ทำให้บ่าวไปถึงยังตำแหน่งใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า เป็นเพียงสื่อที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้าของตนเอง
ท่านอิบนิ มันซูรฺ ได้กาล่าวไว้ในหนังสือลิซานุล อาหรับว่า..

توسل اليه بكذا، تقرّب اليه بحرمة آصرةٍ تعطفه عليه
ได้สัมพันธ์กับเขาด้วยสิ่งที่มีอยู่ หมายถึง ได้ใกล้ชิดกับเขาด้วยเกียรติและฐานันดรที่ดึงดูดเขา[๑๙๔]

อัล-กุรอานกล่าวว่า.

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَابْتَغُواْ إِلَيهِ الْوَسِيلَةَ وَجَاهِدُواْ فِي سَبِيلِهِ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้บนทางของอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ [๑๙๕]

ท่านญูฮะรีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า (วะซีละฮฺ) ไว้ในศิฮาหุลลุเฆาะฮฺ ว่าหมายถึง

الوسيلة ما يتقرب به الى الغير
วะซีละหฺหมายถึง สิ่งที่ทำให้เราใกล้ชิดกับอิกสิ่งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มีค่ายิ่งที่เราได้สัมพันธ์ด้วยนั้น บางครั้งอาจเป็นความดีงาม หรือการเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสื่อที่ทรงพลังทำให้เราได้เข้าใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า และบางครั้งอาจเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยความดีงาม ณ พระองค์เขาคือผู้มีฐานันดรและมีเกียรติที่สูงส่ง

ประเภทของการตะวัสสุล
สามารถแบ่งการตะวัสสุลออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้

๑. ตะวัสสุล กับอะอ์มาลศอลิห์ (คุณงามความดี) ดังที่ท่าน ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ได้กล่าวอธิบายโองการที่ว่า และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ (وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ) โดยรายงานมาจากท่านกุตาดะฮฺว่า

عن قتادة فى قوله تعالى [وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ] قال : تقربوا إلى الله بطاعته و العمل بما يرضيه
ท่านกุตาดะฮฺ ได้อธิบายโองการข้างต้นที่ว่า (จงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์) ว่าหมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและพึงปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พึงพอพระทัย อันเป็นสื่อทำให้บ่าวใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า

๒. ตะวัสสุล กับดุอาอ์ของบ่าวที่ดีดังที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของพี่น้องของท่าน ศาสดายูสุฟไว้ว่า

قَالُواْ يَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا كُنَّا خَاطِئِينَقَالَ سَوْفَ أَسْتَغْفِرُ لَكُمْ رَبِّيَ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ
พวกเขากล่าวว่า โอ้พ่อของเรา! โปรดขออภัยโทษความผิดของเราให้แก่เรา แท้จริงเราเป็นผู้ผิดเขากล่าวว่า ฉันจะขออภัยโทษต่อพระเจ้าของฉันให้พวกเจ้า แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ [๑๙๖]

โองการได้อธิบายว่าบุตรของท่านศาสดายะอ์กูบ (อ.) ได้ตะวัสสุลกับดุอาอ์ที่บิดาได้ขออภัยให้กับพวกเขา และพวกเขาได้ถือว่าสิ่งนั้นเป็นสื่อที่ทำให้พวกเขาพบกับความผาสุกและพ้นจาก เคราะห์กรรม ท่านศาสดายะอ์กูบ (อ.) ไม่เพียงแต่มิได้ท้วงติงการตะวัสสุลของพวกเขาเท่านั้น แต่ท่านยังได้สัญญากับพวกเขาว่าจะวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าให้ แก่พวกเขาอีกต่างหาก

๓. การตะวัสสุล กับบุคคลที่มีเกียรติยศ และมีฐานันดรอันสูงส่ง ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระองค์โดยให้พวกเขาเป็นสื่อ
การตะวัสสุลเช่นนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมอิสลามตั้งแต่ยุคแรก และเป็นความประพฤติของบรรดาศ่อฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิดอีกต่างหาก ซึ่งลำดับต่อไปขอหยิบยกความประพฤติบางอย่างของเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺ

๑. ท่านอหฺมัด บิน ฮัมบัล ได้บันทึกไว้ในมุสนัดของท่าน โดยรายงานมาจาก อุสมาน บิน หะนีฟว่า

إن رجلا ضرير البصر أتى النبى (ص) فقال ادع الله أن يعافينى قال : إن شئت دعوت لك و إن شئت أخرت ذاك فهو خير فقال: أدعه فأمره أن يتوضأ فيحسن وضوئه فيصلى ركعتين و يدعو بهذا الدعاء اللهم انى اسئلك و اتوجه إليك بنبيك محمد نبي الرحمة يا محمد انى توجهت بك إلى ربى فى حاجتى هذه فتقضى لى اللهم شفعه فىّ
ได้มีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และพูดว่า โปรดวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้อภัยโทษแก่ฉัน ท่านศาสดา กล่าวว่า หากท่านปรารถนาฉันจะดุอาอ์ให้กับท่าน แต่ถ้าท่านปรารถนาให้ฉันประวิงเวลาออกไป มันจะเป็นการดี เขาได้พูดว่า ขอให้ท่านดุอาอ์เถิด ดังนั้น ท่านศาสดาได้สั่งให้เขาไปทำวุฏูอ์ ด้วยความตั้งใจหลังจากนั้นให้ทำนมาซสองร่อกะอัต เมื่อเสร็จแล้วให้ดุอาอ์ว่า โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ ข้าฯได้ผินหน้ามายังพระองค์โดยผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา โอ้มุฮัมมัด แท้จริงฉันได้วิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระผู้อภิบาลของฉันโดยผ่านท่านเพื่อ ให้การวิงวอนของฉันถูกตอบรับ โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้เขาเป็นผู้อนุเคราะห์แก่ฉันเถิด[๑๙๗]

ริวายะฮฺดังกล่าวอุละมาอ์ฮะดีซส่วนใหญ่ได้เห็นพร้องตรงกัน ถึงขนาดที่ว่าท่านฮากิมภายหลังจากได้รายงานฮะดีซแล้ว ท่านได้กล่าวยกย่องว่าเป็นฮะดีซศ่อฮีย์ ท่านอิบนะมาญะฮฺเช่นกันได้รายงานมาจากท่าน อบูอิสหาก และยกย่องว่าเป็นฮะดีซศ่อฮีย์ ท่านติรฺมิซีย์ ได้กล่าวสนับสนุนถึงความถูกต้องไว้ในหนังสือ อับวาบุลอัดอียะฮฺ
ท่านมุฮัมมัด นะซีบุรฺริฟาอีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัตตะวัศศุลุ อิลา หะกีก่อติตตะวัสสุลิ ดังนี้ว่า

لاشك أن هذا الحديث صحيح و مشهور...و قد ثبت فيه بلا شك ولا ريب ارتداد بصر الأعمى بدعاء رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم له
ไม่มีความสงสัยใด แท้จริงฮะดีซนี้ถูกต้อง และเป็นที่รู้จักกัน ในริวายะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ดุอาอ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำให้ดวงตาของชายตาบอดคนนั้นมองเห็น[๑๙๘]

ริวายะฮฺได้ให้ความเข้าใจอย่างาชัดเจนว่า การตะวัสสุลกับท่านศาสดา โดยมีเจตนาให้ดุอาอ์ถูกตอบรับอย่างรวดเร็วถือว่าอนุญาต ทว่าท่านศาสดาได้สั่งให้ชายตาบอดดุอาอ์เช่นนั้น โดยมอบให้ศาสดาเป็นสื่อกลางระหว่างตนเองกับอัลลอฮฺ การกระทำอย่างนี้ในความหมายก็คือ การตะวัสสุลกับบรรดาเอาลิยา (มวลมิตร) และผู้ที่เป็นที่รักยิ่ง ณ พระองค์

๒. อบูอับดิลลาฮฺ บุคอรีย์ ได้กล่าวไว้ในศ่อฮีห์ของตนว่า

إن عمر بن الخطاب رضى الله عنه كان إذا قحطوا إستسقى بالعباس بن عبد المطلب فقال : اللهم إنا كنا نتوسل إليك بنبينا فتسقينا و إنا نتوسل إليك بعم نبينا فاسقنا قال فيسقون
ทุกครั้งที่ประสบภัยบิบัตแห้งแล้ง ท่านอุมัรฺ บิน คัฎฎ็อบจะขอฝนผ่านท่านอับบาส บิน อับดุลมุฎ็อลลิบ ลุงของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ในยุคของท่านศาสดาเราจะขอผ่านท่าน และพระองค์ได้ประทานฝนแห่งเมตตาตกลงแก่พวกเรา ปัจจุบันเราได้ขอผ่านลุงของท่านศาสดาขอพระองค์โปรดประทานแก่พวกเราได้ ดังนั้นพวกเขาได้อิ่มสำราญ[๑๙๙]

สะวาบ บิน กอริบ ได้กล่าวกลอนบทหนึ่งแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งตอนหนึ่งของกลอนกล่าวว่า

و أشهد ان لا ربّ غيره و انك مأمون على كل غالب
وانك أذنى المر سلين و سيلة إلى الله يابن الأكرمين الاطانب
ขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ และแท้จริงท่านคือหลักประกันแก่สิ่งซ่อนเร้นทั้งหลาย
ท่านคือสื่อที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดในหมู่บรรดาศาสดา โอ้บุตรของผู้ที่มีเกียรติและมีความบริสุทธิ์[๒๐๐]

อย่างไรก็ตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยินกลอนดังกล่าวจาก สะวาบ บิน กอริบ และท่านมิได้ห้ามปรามหรือกล่าวหาว่า กอริบ ทำชิริกหรือสร้างบิดอะฮฺแต่อย่างไร
ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวกลอนที่บ่งบอกถึงแก่นแท้ไว้เช่นนี้ว่า

آل النبى ذريعتى هم إليه و سيلتى
إرجوبهم اعطى غدأ بيدى اليمين صحيفتى
ครอบครัวของท่านศาสดาเป็นสื่อไปสู่อัลลอฮฺสำหรับฉัน
ฉันหวังว่าโดยสิทธิของพวกเขาฉันจะถูกมอบบัญชีการกระทำทางมือขวา [๒๐๑]

จะเห็นได้ว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากอนุญาตให้ตะวัสสุลกับบรรดาเอาลิยา (มวลมิตร) ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และกล่าวยืนยันว่าการตะวัสสุลนั้นเป็นที่ยอมรับในทรรศนะของซุนนะฮฺ เป็นแบบอย่างของบรรดาศ่อฮาบะฮฺและนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมาวิพากวิจารณ์อีก

จากคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคำกล่าวหาของบางกลุ่มชนที่ว่า การตะวัสสุลกับบรรดาผู้ที่รักยิ่งของอัลลอฮฺเป็นชิริกนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ชีอะฮฺมีคำตอบ

คำถามที่ ๒๖ : การจัดฉลองวันเกิดบรรดาเอาลิยาของอัลลอฮฺเป็นชิริกหรือบิดอะฮฺหรือไม่?
คำตอบ :การให้เกียรติและรำลึกถึงบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ อาทิเช่น การจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวันเกิด ตามทรรศนะของนักปราชญ์แล้วเป็นที่ชัดเจน ทว่าเพื่อขจัดความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไคร่ขอนำเสนอเหตุผลเชิงตัวบทศาสนาบางประการ

๑. การจัดงานเฉลิมฉลองเป็นสื่อแห่งความรัก
อัล-กุรอานได้กล่าวเชิญชวนให้บรรดามุสลิมทั้งหลายมีความรักต่อบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (วงศ์วาน) ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า..

قُل لَّا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى
จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้ นอกเสียจากความรักที่มีต่อลูกหลาน[๒๐๒]

ไม่เป็นที่สงสัยว่าการจัดงานเฉลิมฉลองให้กับบรรดาเอาลิยาของอัลลอฮฺ เป็นภาพลักษณ์หนึ่งแห่งความรักของประชาชนที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น ซึ่งหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าเป็นที่ยอมรับอัล-กุรอาน

๒. การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
อัล-กุรอาน นอกจากจะให้ช่วยเหลือท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แล้วยังได้กล่าวยกย่องเกียรติยศของท่านศาสดาและถือว่า ตำแหน่งอันสูงส่งของท่านเป็นมาตรฐานของความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง

فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา ให้ความสำคัญและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามรัศมีที่ถูกประทานลงมาพร้อมกับเขา แน่นอนชนเหล่านี้แหละคือผู้ประสบความสำเร็จ [๒๐๓]

โองการข้างต้นได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าการให้เกียรติกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในทรรศนะของอิสลามเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อเป็นการรำลึกถึงความรุ่งเรืองที่ท่านเป็นผู้สถาปนาไว้ และพึงรักษาให้สิ่งนี้ดำรงอยู่ตลอดไปแน่นอนเป็นที่พึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากโองการข้างต้นได้อธิบายถึงคุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จไว้สี่ประการดังนี้

๑. มีศรัทธามั่นคง (อัลละซีนะอามะนู -บรรดาผู้ศรัทธา)
๒. เป็นผู้ปฏิบัติตามรัศมีทางนำของศาสดา (วัตตะบะอุนนูรอลละซีอุนซิละมะอะฮู - และปฏิบัติตามรัศมีที่ถูกประทานลงมาพร้อมกับเขา)
๓. เป็นผู้ให้การช่วยเหลือท่านศาสดา (วะนะศ่อรูฮุ - และช่วยเหลือเขา)
๔.เป็นผู้ให้ความสำคัญต่อตำแหน่งของท่านศาสดา (วะอัซซะรูฮุ - เทิดเกียรติ)

ด้วยเหตุนี้ การให้เกียรติและยกย่องฐานันดรของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นอกเหนือไปจากการช่วยเหลือ และการปฏิบัติตามคำสั่งของท่าน ถือว่าเป็นความจำเป็น ส่วนการให้ความสำคัญต่อท่านเท่ากับได้ปฏิบัติตามอัล-กุอานที่กล่าวว่า (วะอัซซะรูฮุ)

๓. การจัดงานเฉลิมฉลองเท่ากับเป็นการปฏิบัติตามพระผู้เป็นเจ้า
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้ความสำคัญแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า

وَ رَ فَعْنَا لَكَ ذِكْرَكَ
และเราได้ยกย่องการรำลึกแก่เจ้าแล้ว [๒๐๔]

โองการได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงต้องการให้ความรุ่งโรจน์และภาพลักษณ์ของท่านศาสดาขจรขจายกว้างไปทั่วทั้งโลก ดังนั้น จึงเห็นว่าพระองค์ได้ทำการยกย่องท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ด้วยพระองค์เอง

เมื่ออัล-กุรอานยืนว่าพระองค์ได้ยกย่องฐานันดรอันสูงศักดิ์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ และมีเกียรติยิ่งแก่ท่านศาสดา มุสลิมในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานของพระองค์ จึงได้แสดงการยกย่องท่านศาสดาตามแบบฉบับของพระองค์
เป็นที่ชัดเจนว่าจุดประสงค์ของบรรดามุสลิมในการจัดพิธีเฉลิมฉลองรำลึกถึง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการยกย่องเกียรติยศของท่าน

๔. การประทานอัล-กุรอาน มิได้เล็กน้อยไปกว่าการประทานอาหาร
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของท่านศาสดาอีซา (อ.) ว่า

قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ اللَّهُمَّ رَبَّنَا أَنزِلْ عَلَيْنَا مَآئِدَةًمِّنَ السَّمَاء تَكُونُ لَنَا عِيداً لِّأَوَّلِنَا وَآخِرِنَا وَآيَةً مِّنكَ وَارْزُقْنَا وَأَنتَ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
อีซาบุตรของมัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานอาหารจากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเรา เพื่อจะได้เป็นวันรื่นเริงแก่พวกเราทั้งหมดตั้งแต่คนแรกของพวกเราจนคนสุดท้าย และเพื่อเป็นสัญญาณหนึ่งจากพระองค์ โปรดประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเราพระองค์คือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลาย[๒๐๕]

ท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้เสนอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าให้พระองค์ประทานอาหารจากฟากฟ้าแก่พวกเขา เพื่อจะได้จัดให้วันนั้นเป็นวันอีด (วันรื่นเริง)

คำถาม ขณะที่ท่านศาสดอีซา (อ.) ได้รับริสกีซึ่งเป็นอาหารที่ถูกประทานจากฟากฟ้าและเป็นสาเหตุทำให้ร่างกาย เจิญเติบโตอิ่มหนำสำราญ ท่านศาสดาอีซาได้จัดเฉลิมฉลองวันนั้นให้เป็นวันอีดทันที และวันนี้เนื่องจากเป็นวันแห่งการประทานอัล-กุรอานหรือวันประสูติของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้ซึ่งได้ช่วยเหลือให้มนุษย์รอดพ้นจากสภาพของความเป็นเดรัจฉาน และได้ให้ชีวิตใหม่แก่สังคมมนุษย์ถ้าหากมุสลิมจะจัดพิธีเฉลิมฉลอง หรือมอบให้เป็นวันอีดแก่มวลมุสลิมทั้งหลายถือว่าเป็นชิริกและบิดอะฮฺหรือ ?

๕. แบบฉบับของมุสลิม
ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลามนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มาโดยตลอด อาทิเช่น
ท่านฮุซัยนฺ บิน มุฮัมมัด ดิยารฺบักรีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ตารีคุลค่อมีส ว่า

ولا يزال أهل الاسلام يحتفلون بشهر مولده عليه السلام و يعملون الولائم و يتصدقون فى لياليه بأنواع الصدقات و يظهرون السرو ويزيدون فى المبرات و يعتنون بقرائته مولده الكريم و يطهر عليهم من بركاته كل فصل عميم
บรรดามุสลิมได้จัพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในเดือนประสูติของท่านศาสดา ได้มีการเลี้ยงฉลอง มีการบริจาคทานในคืนนั้น สร้างความสนุกสนานรื่นเริง ได้ปกคลุมบรรยากาศด้วยการทำคุณงามความดีต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญต่อการอ่านสาส์นรำลึกถึงวันประสูติของท่าน ความเมตตาและความจำเริญต่าง ๆ ของเขาเป็นที่ประจักษ์แก่วิญญูชนทั้งหลาย[๒๐๖]

จากคำพูดข้างต้นบ่งชี้ถึงหลักการพื้นฐานที่ระบุว่าการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในทรรศนะของอัล-กุรอานและแบบฉบับของบรรดามุสลิมถือเป็นที่อนุมัติ ดังนั้น เป็นที่แน่ชัดว่าคำพูดที่กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวผิด เป็นชิริก และบิดอะฮฺจึงเป็นคำใส่ไคล้ที่เลื่อนลอย เนื่องจากว่า บิดอะฮฺ นั้นหมายถึงการกระทำที่ไม่ได้อิงอาศัยอัล-กุรอานแม้แต่นิดเดียว ขณะที่กฎเกณฑ์ของเรื่องที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ได้อิงอาศัยอยู่กับอัล-กุ รอานและแบบฉบับดั้งเดิมของบรรดามุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การจัดงานเฉลิมฉลองลักษณะเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงความเคารพและยกย่องเกียรติคุณของบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ และด้วยความเชื่อที่ว่าพวกเขาก็ต้องแสดงความเคารพภักดีและพึ่งพิงอัลลอฮฺ ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ การกระทำที่กล่าวมาถือว่าเข้ากันกับรากของความเป็นเอกภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้า และทำให้รู้ว่าคำกล่าวอ้างของบางคนที่ว่า การจัดพิธีเฉลิมฉาลองรื่นเริงเนื่องในวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นชิริกและบิดอะฮฺนั้น ไม่ถูกต้องและไม่มีรากที่มาของคำพูดเว้นเสียแต่ว่าอคติที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตใจ

คำถามที่ ๒๗ : ทำไมชีอะฮฺถึงนมาซห้าเวลาเหลือเพียงสามเวลา?
คำตอบ : สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงก่อนลำดับแรกคือ การนำเสนอทรรศนะของบรรดานักปราชญ์ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
๑. ทุกกลุ่มและทุกนิกายต่างมีความเห็นพร้องตรงกันว่า ในอาร่อฟะฮฺ นั้นสามารถนมาซซุฮรฺและอัสร์รวมกันโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป และเช่นกันในมุซดะละฟะฮฺ สามารถนมาซมัฆริบและอิชาอ์อ์รวมกันในช่วงเวลาของนมาซอิชาอ์ได้

๒. หะนะฟีย์ กล่าวว่า การนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์อ์รวมในเวลาเดียวกัน อนุญาตให้ทำได้เฉพาะอยู่ในอาร่อฟะฮฺและมุซดะละฟะฮฺเท่านั้น ส่วนในสถานภาพอื่นไม่อนุญาต

๓. ฮัมบะลีย์ มาลิกีย์ และชาฟิอีย์กล่าวว่า การรวมนมาซระหว่างซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์อ์เข้าด้วยกัน มิได้อนุญาตเฉพาะอยู่ในอาร่อฟะฮฺและมุซดะลิฟะฮฺเท่านั้น ทว่าในช่วงเดินทางไกลก็อนุญาตด้วยเช่นกัน และบางคนจากนิกายเหล่านี้ยังได้อนุญาตให้ทำนมาซสองเวลาเหลือเพียงเวลาเดียว ในช่วงที่มีความจำเป็น อาทิเช่น ช่วงที่มีฝนตก ผู้ทำนมาซไม่สบาย หรือหลบหนีศัตรู1(อัลฟิกฮฺ อะลัลมะซอฮิบิลอัรฺบะอะฮฺ กิตาบุศศ่อลาฮฺ อัลญัมอุบัยนัศศ่อลาตัยนฺ ตักดีมัน วะตะอ์คีรัน)

๔. ชีอะฮฺ กล่าวว่านมาซทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นนมาซซุฮรฺ อัศรฺ มัฆริบ และอีชามีช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงและช่วงเวลาร่วม

๔.๑. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาซุฮรฺชัรอีย์ ( บ่ายลงไป) ไปจนถึงช่วงเวลาที่ได้ทำนมาซสี่ร่อกะอัตเสร็จ ช่วงเวลานี้ได้ถูกจำกัดไว้ เฉพาะนมาซซุฮรฺเท่านั้นที่สามารถทำได้
๔.๒. ช่วงเวลเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำได้เฉพาะนมาซอัศรฺเท่านั้น
๔.๓. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซซุฮฺรฺกับนมาซอัศรฺ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺเป็นต้นไปจนถึงช่วงเริ่มต้น เวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ

คำกล่าวของชีอะฮฺคือ ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซซุฮรฺกับอัศรฺนั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อหฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่เริ่มเวลาซุฮรฺชัรอีย์ (บ่ายลงไป) จนกระทั่งเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมัน ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺเพียงอย่างเดียว จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอัศรฺในเวลานั้น และนับตั้งแต่ช่วงดังกล่าวไปจนถึงเวลามัฆริบเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ ดังนั้นไม่สามารถทำนมาซซุฮรฺได้

๔.๔. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลามัฆริบชัรอีย์จนกระทั่งทำนมาซสามร่อกะอัตเสร็จ ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้สำหรับนทำมาซมัฆริบเท่านั้น
๔.๕. ช่วงเวลเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงครึ่งคืนชัรฺอีย์ ซึ่งช่วงนั้นมีเวลาพอแค่ทำนมาซอิชาอ์เพียงอย่างเดียว ในเวลาเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถทำได้เฉพาะนมาซอิชาอ์ไม่อนุญาตให้ทำนมาซอื่น
๔.๖. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์

ชีอะฮฺเชื่อว่า ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์นั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อหฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปจนถึงช่วงแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกได้หมดลงเป็น ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอิชาอ์ในช่วงเวลาดังกล่าว และตั้งแต่ช่วงแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกหมดลงไปจนถึงครึ่งคืนชัรฺอีย์เป็น ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ ไม่สามารถทำนมาซมัฆริบได้

สรุป ตามทรรศนะของชีอะฮฺหลังจากเข้าสู่เวลาซุฮรฺชัรฺอีย์แล้ว เมื่อทำนมาซซุฮรฺเสร็จสามารถทำนมาซอัศรฺต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ล่าช้าออกไป หรือสามารถปล่อยเวลานมาซซุฮรฺให้ล่าช้าออกไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ หมายถึงนมาซซุฮรฺได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงทำนมาซอัศรฺ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรวมนมาซเข้าดัวยกัน ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำมาซซุฮรฺหลังจากเวลาบ่ายลงไป และทำนมาซอัศรฺเมื่อเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมันก็ตาม

ทำนองเดียวกันเมื่อเข้าเวลามัฆริบสามารถเริ่มนมาซโดยเมื่อเสร็จแล้วสามารถทำนมาซอิชาอ์ต่อได้ทันดีโดยไม่ต้องทิ้งช่วง และสามารถปล่อยเวลานมาซมัฆริบให้ล่าช้าออกไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ หมายถึงนมาซมัฆริบได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าวหลังจากนั้นจึงได้ทำนมาซอิชาอ์ ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์ ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำนมาซมัฆริบหลังเวลามัฆริบชัรฺอีย์และทำนมาซ อิชาอ์หลังจากแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกได้หมดลงก็ตาม

สิ่งเหล่านี้เป็นทรรศนะของชีอะฮฺ ขณะที่อหฺลิซซุนนะฮฺไม่อนุญาตให้รวมนมาซสองเวลาเข้าด้วยกันในทุก ๆ ที่และทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ ประเด็นที่พิพาทกันคือ การรวมนมาซสองเวลาไว้ในเวลาเดียวในทุกที่และทุกเวลา โดยที่นมาซทั้งสองได้ปฏิบัติตรงเวลาในเวลาเดียวกัน อาทิเช่น ในอาร่อฟะฮฺหรือมุซดะละฟะฮฺ

๕. มุสลิมทั้งหลายเห็นพร้องตรงกันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้รวมนมาซสองเวลาไว้ในเวลาเดียวกัน เพียงแต่ว่าการอธิบายริวายะฮฺนั้นได้แบ่งเป็นมีสองทรรศนะดังนี้
๕.๑. ชีอะฮฺ กล่าวว่าจุดประสงค์ของริวายะฮฺ นมาซเวลาแรกคือนมาซซุฮรฺ หลังจากเสร็จนมาซซุฮรฺแล้วให้ทำนมาซอัศรฺ ในทำนองเดียวกันนมาซเวลาแรกคือนมาซมัฆริบ หลังจากนมาซมัฆริบเสร็จให้ทำนมาซอิชาอ์ และการทำนมาซรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาหรือสถานที่หรือมีเงื่อนไขที่เฉพาะ เจาะจงแต่อย่างไร ทว่าอนุญาตให้ทำได้ทุกที่และทุกเวลา

๕.๒. มุสลิมอีกกลุ่มกล่าวว่า จุดประสงค์ของริวายะฮฺคือ นมาซซุฮรฺทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนมาซอัศรฺเริ่มต้นเวลา ทำนองเดียวกันนมาซมัฆริบทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนมาซอิชาอ์เริ่มต้นเวลา
ลำดับต่อไปจะทำการวิเคระห์ริวายะฮฺและพิสูจน์ให้เห็นว่าจุดประสงค์ของริวายะ ฮฺเป็นดังเช่นที่ชีอะฮฺเข้าใจ และกล่าวถึงคือ นมาซสองเวลาได้รวมทำในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่ว่านมาซหนึ่งทำในช่วงใกล้จะหมดเวลาและอีกนมาซหนึ่งทำตอนเริ่มต้นเวลา

และนี่คือริวายะฮฺ
๑. อหฺมัด บิน ฮันบัล ผู้นำนิกายฮันบะลีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือมุสนัดของตน โดยรายงานมาจากท่านญิบีรฺ บิน ซัยด์ว่า..

أخبرنى جابر بن زيد انه سمع ابن عباس يقول : صليت مع رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم ثمانيا جميعا و سبعا جميعا قال قلت له يا أبا الشعثاء اظنه أخر الظهر و عجل العصر و أخر المعرب و عجل العشاء قال و أ نا اظنذلك
ญาบีรฺ บิน ซัยด์ กล่าวว่า ฉันได้ยินอิบนุอับบาสกล่าวว่า ฉันได้ทำนมาซพร้อมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แปดร่อกะอัต (ซุฮรฺกับอัศรฺ) และเจ็ดร่อกะอัต (มัฆริบและอิชาอ์) พูดว่าฉันได้บอกกับ ท่านอบูชุอ์บาว่า ฉันคิดว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คงจะปล่อยเวลานมาซซุฮรฺให้ล่าช้าออกไป และทำนมาซอัศรฺเร็วขึ้น อบูชุอ์บา กล่าวว่า ฉันคิดเช่นนั้นเหมือนกัน[๒๐๗]

จากริวายะฮฺดังกล่าวเข้าใจได้ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันโดยไม่ได้ทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป

๒. อหฺมัด บิน ฮันบัล ได้รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน ชะกีกว่า

خطبنا ان عباس يوما بعد العصر حتى غربت الشمس و بدت النجوم و علق الناس ينادونه الصلاة و فى القوم رجل من نبى تميم فجعل يقول : الصلاة الصلاة : قال فغضب قال أتعلمنى بالسنة ؟ شهدت رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الظهر و العصر والمغرب و العشاء . قال عبدالله فوجدت فى نفسى من ذلك شيئا فلقيت أبا هريرة فسألته فوافقه
หลังจากนมาซอัศรฺ อิบนุอับบาส ได้กล่าวปราศรัยแก่พวกเราจนกระทั่งพระอาทิตย์อัสดง ทำให้มองเห็นดวงดาวระยิบระยับ ประชาชนได้ส่งเสียงว่านมาซ และในหมู่ของพวกเขาได้มีชายคนหนึ่งจากเผ่าบนีตะมีมตะโกนซ้ำว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสโกรธมากและได้กล่าวว่า เจ้าต้องการจะสอนซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แก่ฉันหรือ ? ฉันได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ มัฆริบและอิชาอ์รวมกัน
ท่านอับดุลลอฮฺ กล่าวว่า สำหรับฉันเรื่องนี้ยังมีความคลางแคลงใจอยู่ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงไปพบกับท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เพื่อถามความจริง ท่านได้ยืนยันคำพูดของท่านอิบนุอับบาส[๒๐๘]

ฮะดีษดังกล่าวมีศ่อฮาบะฮฺสองท่านคือ อับดุลลอฮฺบินอับบาส และอบูฮุรอยเราะฮฺ เป็นผู้ยืนยันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน และท่านอิบนุอับบาสยังเป็นผู้หนึ่งที่ยืนหยัดในซุนนะฮฺดังกล่าวนั้นของท่านศาสดา
๓. ท่านมาลิก บิน อนัส ผู้นำนิกายมาลิกีย์ บันทึกไว้ในหนังสื่อ อัล-มุวัฏเฏาะฮฺ ของตนดังนี้..

صلى رسول الله (ص) الظهر و العصر جميعا، والمغرب و العشاء جميعا فى غير خوف ولا سفر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน ทั้งที่ไม่ได้หวาดกลัวศัตรูหรือเดินทางไกล[๒๐๙]

๔. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานจากท่าน มะอาซ บิน ญุบัล ดังนี้ว่า ..

فكان رسول الله (ص) يجمع بين الظهر و العصر، والمغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺและมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน[๒๑๐]

๕. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานจากท่าน นาฟิอ์ และเขาได้รายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺว่า..

كان رسول الله (ص) إذا عجل به السير يجمع بين المغرب و العشاء
ทุกครั้งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีความรีบร้อนท่านจะทำนมาซมัฆริกับอิชาอ์รวมกัน[๒๑๑]

๖. มาลิก บิน อนัน ได้รายงานจากอบูฮุรัยเราะฮฺดังนี้ว่า..

إن رسول الله-صل الله عليه [وآله] وسلم كان يجمع بين الظهر و العصر فى سفره الى تبوك
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอศรฺรวมกันขณะเดินทางไปตะบูก[๒๑๒]

๗. มาลิก ด้าบันทึกไว้หนังสือของตน โดยรายงานมาจากนาฟิอ์ ดังนี้ว่า..

إن عبد الله بن عمر كان إذا جمع الامراء بين المغرب و العشاء فى المطر جمع معهم
ทุกครั้งที่ผู้นำทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันท่ามกลางฝนตก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺก็ทำนมาซทั้งสองรวมกันด้วยเช่นกัน[๒๑๓]

๘. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานมาจาก อลี บิน ฮุซัยนฺ ดังนี้ว่า..

كان رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم إذا أراد أن يسير يومه جمع بين الظهر و العصر و إذا أراد إن يسير ليله جمع بين المغرب و العشاء
ทุกครั้งหากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องการเดินทางในตอนกลางวัน ท่านจะทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺรวมกัน และถ้าท่านต้องการเดินทางในตอนกลางคืน ท่านจะทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน[๒๑๔]

๙. มุฮัมมัด ซัรฺกานีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชัรฺหุลมุวัฏเฏาะฮฺ โดยรายงานมาจาก อบีชุอ์ษา ดังนี้ว่า

إن ابن عباس صلى بالبصرة الظهر و العصر ليس بيهما شيئ و المغرب و العشاء ليس بيهما شيئ
อัลดุลลอฮฺ บิน อับบาส ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์ ที่บะศ่อเราะฮฺรวมกันโดยไม่ได้ปล่อยเวลาให้ห่างออกไป[๒๑๕]

๑๐. ซัรฺกานีย์ ได้รายงานมาจากฏ็อบรานีย์ และเขาได้รายงานมาจาก อิบนุมัสอูดว่า

جمع النبى صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظهر و العصر و بين المغرب و العشاء فقيل له فى ذلك،فقال: صنعت هذا لئلا تحرج أمتى
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน ได้มีผู้ถามท่านว่าทำเช่นนี้เพื่ออะไร ? ท่านกล่าวว่า ฉันไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของฉันต้องลำบาก[๒๑๖]

๑๑. มุสลิม บิน หัจญาจ ได้รายงานมาจาก อบู ซะบีรฺ จากสะอีด บิน ญุบีรฺ และจากอิบนุอับบาส ว่า..

صلى رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم الظهر و العصر جميعا بالمدينة فى غير خوف و لا سفر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺรวมกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือเดินทาง[๒๑๗]
หลังจากนั้นท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวว่าเป้าหมายของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก[๒๑๘]

๑๒. มุสลิมได้บันทึกไว้ในหนังสือศ่อฮี้หฺของตน โดยรายงานมาจาก สะอีด บิน ญุบีรฺ และเขารายงานมาจาก อิบนุอับบาสว่า

جمع رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظهر و العصر المغرب و العشاء فى المدينة من غير خوف و لا مطر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือมีฝนตก[๒๑๙]

ในเวลานั้น สะอีด บิน ญุบีรฺ กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาสว่า ทำไมท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงปฏิบัติเช่นั้น ? ตอบว่า ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก[๒๒๐]

๑๓. อบูอับดิลลาฮฺ บุคอรีย์ ได้เปิดภาคผนวกพิเศษขึ้นในหนังสือของตนชื่อว่า บาบุ ตะอ์คีริซซุฮรฺ อิลัลอัศรฺ[๒๒๑] หมวดดังกล่าวได้อธิบายว่า สมารถปล่อยเวลาซุฮรฺให้ล่าช้าออกไปจนถึงเวลาอัศรฺ และให้ทำนมาซทั้งสองรวมกัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงริวายะฮฺดังนี้ว่า.

إن النبى صل الله عليه [وآله] وسلم بالمدينة سبعا و ثمانيا الظهر و العصر، و المغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำนมาซเจ็ดร่อกะอัต (มัฆริบกับอิชาอ์) และแปดร่อกะอัต (ซุฮรฺกับอัศรฺ) ที่มะดีนะฮฺ

๑๔. ด้วยเหตุนี้ บุคอรีย์ได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า

قال ابن عمر و أبو أيوب و ابن عباس رضى الله عنهم : صلى النبى صل الله عليه [وآله] و سلم ا لمغرب و العشاء
อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ, อัยยูบ อันศอรีย์ และอับดุลลอฮฺ บิน อับบาส กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน [๒๒๒]
จากริวายะฮฺ ท่านบุคอรีย์ต้องการบอกว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน เพราะเป็นที่รู้กันอย่างชัดเจนว่าท่านศาสดาไม่เคยขาดนมาซ

๑๕. มุสลิม บิน หัจญาด ได้บันทึกไว้ในศ่อฮี้หฺของตนว่า

قال رجل لابن عباس الصلاة فسكت ثم قال الصلاة فسكت ثم قال الصلاة فسكت،ثم قال: لا ام لك أتعلمنا بالصلاة و كنا نجمع بين الصلاتين على عهد رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم
มีชายคนหนึ่งกล่าวกับท่านอิบนุอับบาสว่า นมาซ(สันนิษฐานว่าเป็นการเตือนให้อิบนุอับบาสนมาซ) อิบนุอับบาสไม่ได้พูดอะไร, เขาได้พูดอีกว่า นมาซ อิบนุอับบาสไม่ได้พูดอะไร และเขาได้พูดอีกว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสไม่ได้ตอบอะไร จนกระทั่งเขาพูดอีกเป็นครั้งที่สี่ว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสได้พูดว่า เจ้าคนไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เจ้าต้องการสอนนมาซแก่ฉันหรือ ? ฉันนี่แหละที่เคยทำนมาซรวมกันสองนมาซในสมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ)[๒๒๓]

๑๖. มุสลิมได้รายงานว่า

إن رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الصلاة فى سفرة سافرها فى غزوة تبوك فجمع بين الظهر والعصر، والمغرب و العشاء قال سعيد : فقلت لابن عباس : ما حمله على ذلك ؟ قال : أراد أن لا يحرج امته
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซสองนมาซรวมกันในระหว่างเดินทางและในสงครามตะบูก ท่านได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆมิบกับอิชาอ์รวมกัน ท่านสะอีดบินญุบัยร์พูดว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาสว่าทำไมถึงทำเช่นนี้ ? ตอบว่า เพราะท่านศาสดาไม่ต้องการให้ประชาชาติของท่านลำบาก[๒๒๔]

๑๗. มุสลิม บิน หัจญาจ ได้รายงานจากท่านมุอาซว่า

جرحنا مع رسول الله صل الله [عليه وآله] و سلم فى غزوة تبوك فكان يصلى الظهر و العصر جميعا والمغرب العشاء جميعا
ฉันได้ออกไปสงครามตะบูกร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน[๒๒๕]




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้ปรับเนื้อหาคำแปลบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่