จริยธรรมในอิสลาม

จริยธรรมในอิสลาม0%

จริยธรรมในอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ตำราจริยศาสตร์
หน้าต่างๆ: 5

จริยธรรมในอิสลาม

ผู้เขียน: เว็บไซต์ อัชชีอะฮ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 5
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 51903
ดาวน์โหลด: 605

รายละเอียด:

จริยธรรมในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 5 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 51903 / ดาวน์โหลด: 605
ขนาด ขนาด ขนาด
จริยธรรมในอิสลาม

จริยธรรมในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
จริยธรรมอิสลาม จริยธรรมอิสลาม
แปลและเรียบเรียงโดยเว็บไซต์อัชชีอะฮฺ



อารัมภบท
ปัจจัยต่างๆ ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีมากมาย มนุษย์เพียรพยายามทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อขวนขวายหาปัจจัยยังชีพ แรกเริ่มนั้นปัจจัยเหล่านี้มิได้เป็นกรรมสิทธิของมนุษย์ แต่เพราะการขวนขวายของมนุษย์ทีละเล็กทีละน้อยทำให้สิ่งเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมนุษย์และเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์มีอารยธรรมนั้น ยังคงเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อการจัดหาปัจจัยในการดำรงชีพ เพราะสิ่งที่พิสูจน์ว่ามนุษย์ยังคงมีชีวิตอยู่ก็คือการเพียรพยายามของเขานั่นเอง ถ้าองคาพยพของมนุษย์หยุดนิ่ง มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรไปจากร่างที่ไร้วิญญาณ

จากจุดนี้เองจึงเห็นได้ว่ามนุษย์จำเป็นต้องขวนขวายและต่อสู้ต่อไป สติปัญญาและจิตใต้สำนึกก็กระตุ้นเตือนเสมอว่า ต้องทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จแม้จะด้วยวิธีใดก็ตาม จะต้องผลักดันตนเองให้มีความสุขและเจริญรุ่งเรือง ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องขวนขวายต่อสู้เพื่อให้บรรลุความตั้งใจของตน อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ใดมีวิสัยทัศน์แคบอยู่เพียงเท่านี้ เท่ากับเขาปล่อยให้ชีวิตของเขาตกอยู่ในดงแห่งกิเลส วิสัยทัศน์ที่นิยมวัตถุเช่นนี้ส่งผลให้เขายินดีที่จะอยู่ในสังคมทุกประเภทโดยไม่คำนึงว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมที่มีกลิ่นอายของศาสนาหลงเหลืออยู่หรือไม่ เป็นสังคมที่มีกฎระเบียบหรือไร้ซึ่งกฎระเบียบ เป็นสังคมเมืองหรือชนบท รู้แต่เพียงว่าตนมีหน้าที่ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ความหวังทางโลกเป็นจริงขึ้นมา และปณิธานสูงสุดของเขาก็คือการประสบความสำเร็จในชีวิต(ในแง่วัตถุ)

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่มนุษย์ได้ทุ่มเทและขวนขวายทุกอย่างมิใช่เพียงเพื่อความสำเร็จและความสุขของชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีเจตนาเพื่อยกระดับคุณค่าของการเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น สิ่งนี้เองถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตที่ไม่อาจมีสิ่งใดมาแลกเปลี่ยนหรือแทนที่ได้เด็ดขาด

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ อันเป็นเหตุที่ทำให้ชีวิตของเขาประสบความสำเร็จก็คือ "การรู้จักหน้าที่ของตนเอง" การให้ความสำคัญต่อหน้าที่ก็เท่ากับการให้ความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์ เพราะใครก็ตามที่ละทิ้งหน้าที่หรือแสร้งไม่ให้ความสำคัญ เท่ากับว่าเขาจงใจปล่อยความเป็นมนุษย์ของตนให้พุ่งดิ่งลงสู่ความตกต่ำ ยอมจำนนต่อความต่ำทราม เพราะเหตุนี้เองที่หากมนุษย์ละเมิดหรือละเลยหน้าที่ของตนมากเท่าใดก็เท่ากับได้ทำลายตนเองและสังคมมากเท่านั้น อัลลอฮฺตรัสว่า

"แท้จริงมนุษย์คือผู้ที่ขาดทุน ยกเว้นมวลผู้ศรัทธาและประพฤติคุณงามความดีเท่านั้น และพวกเขาตักเตือนกันในเรื่องความถูกต้องและพวกเขาตักเตือนกันในเรื่องความอดทน" (ซูเราะฮฺ อัล-อัศร :๓)
"ความชั่วได้ปรากฏขึ้นแล้วบนหน้าแผ่นดินและพื้นน้ำ เพราะการกระทำของมนุษย์" (ซูเราะฮฺ อัร-รูม : ๔๑)

ทรรศนะที่ขัดแย้งในการจำแนกหน้าที่
การให้ความสำคัญต่อหน้าที่ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว วิถีสังคมก็ดำเนินอยู่บนพื้นฐานของการรู้จักหน้าที่ของคนในสังคมโดยไม่มีใครปฎิเสธ เพราะหน้าที่ของมนุษย์เกี่ยวข้องโดยตรงกับความสำเร็จในชีวิตของเขา ในประเด็นนี้เกิดความขัดแย้งกันอย่างชัดเจนระหว่างทัศนคติของผู้ที่นิยมสารธรรมศาสนากับผู้นิยมทางโลก เพราะโดยปกติแล้วความประพฤติของผู้มีศาสนากับผู้ไม่สนใจศาสนานั้นค่อนข้างจะแตกต่างกันอย่างมาก ฝ่ายนิยมศาสนาเชื่อว่าแท้จริงแล้วชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นอมตะและถือว่าความตายไม่ใช่จุดจบของมนุษย์ เพราะมนุษย์ยังต้องเดินทางต่อไป เสบียงและสัมภาระที่ต้องนำไปก็คือ ความศรัทธาที่ถูกต้องและคุณงามความดีที่เขาได้ขวนขวายในโลกนี้ ฉะนั้น การกำหนดบทบาทและหน้าที่ของมนุษย์ตามครรลองศาสนานั้นจึงคำนึงถึงชีวิตในโลกนี้และโลกหลังจากตายด้วย

ศาสนาได้วางกฎเกณฑ์ให้มนุษย์รู้จักพระผู้เป็นเจ้าของตน หลังจากนั้นจึงเคารพสักการะพระองค์เพียงผู้เดียว ซึ่งผลของกุศลกรรมนี้จะปรากฏชัดเจนหลังจากที่มนุษยอำลาโลกนี้ไป จวบจนวันที่เขาฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเพื่อรอการสอบสวนและตอบแทนผลรางวัลหรือลงโทษไปตามผลกรรม

ส่วนแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ที่ไม่นิยมศาสนาและไม่เชื่อในการฟื้นคืนชีพนั้น จะยึดถือเฉพาะชีวิตบนโลกนี้เพียงอย่างเดียว ฉะนั้นเมื่อพวกเขาวางกฎเกณฑ์หรือกำหนดบาทหน้าที่ให้กับชีวิตจึงมีการกำหนดขอบเขตไว้เพียงชีวิตในโลกนี้ โดยมุ่งเน้นอยู่ที่ความสำราญทางวัตถุและผลประโยชน์และคำนึงแต่เพียงว่าพวกเขาต้องได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งกิเลสดังกล่าวเป็นมิไช่สิ่งที่สามารถจำแนกมนุษย์ออกจากสัตว์เดรัจฉานต่างๆได้เลย

ถ้ามนุษย์วางแผนชีวิตและกำหนดแนวทางของตนเองในแง่วัตถุแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพที่แท้จริงของมนุษย์อันประกอบด้วยจิตวิญญาณอันเป็นอมตะแล้ว มนุษย์จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร? ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญรุดหน้าของมนุษย์ในสังคมที่ไม่นิยมศาสนากำลังประสบกับวิกฤติการณ์รุนแรงที่ไม่อาจหาทางแก้ไขได้ แต่กลับเริ่มถดถอยสู่ความล้าหลังทางจริยธรรมแม้ว่าวิวัฒนาการทางวัตถุของพวกเขาจะเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสูงแล้วก็ตาม ตัวอย่างเช่นกรณีที่อิสลามได้ห้ามเรื่องการรักร่วมเพศ เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างมากและขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ แต่สำหรับสังคมที่ไม่นิยมศาสนากลับให้การสนับสนุนและส่งเสริม

บางทรรศนะกล่าวอ้างว่า วิธีของศาสนาก็คือการปลูกฝังให้ศาสนิกปฏิบัติตามโดยดุษณี ต้องไม่ถามว่าทำไม เพื่ออะไรและเพราะอะไร ศาสนาได้กำหนดกรอบหน้าที่ตายตัวไว้แล้วสำหรับมนุษย์
ผู้กล่าวเช่นนี้คงลืมประเด็นสำคัญไปประเด็นหนึ่งคือ โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายที่ควบคุมสังคมต่างๆก็มิได้ขึ้นอยู่กับการที่ทุกคนในสังคมจะต้องรู้เหตุผลทุกแง่ทุกมุมจึงจะยอมปฎิบัติตาม รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้ในนานาประเทศต้องไม่ถูกวิพากษ์วิจารย์จากนักวิชาการเลยหรืออย่างไร แม้ประชาชนบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจแนวคิดพื้นฐานของรัฐธรรมนูญบางมาตรา แต่หน้าที่ของเขาคือการยอมรับและปฏิบัติตามหลังจากที่มีการบังคับใช้แล้ว จากจุดนั้นเอง สมมติว่ามนุษย์อาจจะไม่เข้าใจคำสอนบางประการของศาสนา แต่วิถีของสังคมที่ไม่นิยมศาสนาก็มีสภาพดังกล่าวเช่นกัน

แม้จะศึกษาค้นคว้าถึงสภาพแวดล้อมของสังคมต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้วก็ตาม แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเข้าใจถึงปรัชญาของรัฐธรรมนูญของประเทศหรือสังคมนั้นๆอย่างละเอียดทุกมาตรา

ทำนองเดียวกับคุณลักษณะธรรมนูญของศาสนา สามารถศึกษาและค้นคว้าได้จากการสร้างและความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์สามารถเข้าใจถึงปรัชญาโดยทั่วไปของคำสอนศาสนาเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะวิสัยความคิดของมนุษย์บางคนไม่อาจเข้าใจทุกคำสอนศาสนาได้
อัล-กุรอานและริวายะฮ์จำนวนมากมายที่เรียงร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การตรึกตรองและการครุ่นคิด แม้ในบางครั้งบทบัญญัติบางประการระบุเหตุผลไว้กว้าง ๆ เท่านั้นโดยไม่มีรายละเอียดใด ๆ แต่ทั้งนี้ก็เพราะรายละเอียดและเหตุผลเชิงลึกนั้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) จะเป็นผู้อธิบาย

การรู้จักหน้าที่
ดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่ต้นว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่วางโครงสร้างเพื่อส่วนรวมและเพื่อทุกยุคทุกสมัยอย่างแท้จริง พระองค์ทรงแต่งตั้งศาสดาท่านต่าง ๆ เพื่อชี้นำมวลมนุษย์ให้ทราบว่าเขาต้องดำเนินชีวิตอย่างไรในโลกนี้และโลกหน้า และเพื่อนำพามนุษย์ให้หลุดพ้นจากความมืดบอดแห่งความโง่เขลาไปสู่โลกแห่งปัญญาอันสว่างไสว

อิสลามได้แสดงทัศนะว่า ศาสนานั้นก็คือแนวทางในการดำเนินชีวิตส่วนคำสอนของศาสนาเป็นครรลองในการเลือกสรรปัจจัยยังชีพที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตน โดยศาสนาจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่ให้กับมนุษย์และพึ่งหวังการปฏิบัติจากเขา ดังนั้น ศาสนาจึงกำหนดหน้าที่โดยกว้าง ๆ ของมนุษย์ไว้ ๓ ประการดังนี้
หน้าที่ของมนุษย์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ในฐานะที่พระองค์คือผู้ทรงสร้างเขาและประทานปัจจัยยังชีพแก่เขา ดังนั้น การเรียนรู้จักพระผู้เป็นเจ้าจึงมีความจำเป็นหนือความจำเป็นทั้งหลาย

หน้าที่ของมนุษย์กับตัวเอง
หน้าที่ของมนุษย์กับคนอื่น หรือกับสังคมส่วนรวมที่เขาอาศัยอยู่ ซึ่งในแต่ละสังคมต้องการความสัมพันธ์ การประสานงานและการร่วมมือต่อกัน ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่ามนุษย์มีหน้าที่หลักโดยรวมอยู่ ๓ ประการ ดังกล่าวไปแล้วข้างต้นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

หน้าที่ของมนุษย์ที่มีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)
การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า
หน้าที่ของมนุษย์ที่มีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือการรู้จักพระองค์ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญที่สุด และเป็นหน้าที่อันดับแรกสำหรับมนุษย์ การเรียนรู้จักพระองค์ต้องมีใจสะอาดและเจตนาที่บริสุทธิ์ การมีอยู่ของพระองค์คือต้นกำเนิดของมวลสรรพสิ่งทั้งหลายและปัจจัยทั้งปวง การรู้จักพระองค์คือนูรรัศมีแห่งปัญญาที่ส่องผ่านจิตใจทั้งหลายที่ยังมืดมิดอยู่ในโลกของความจริง ส่วนการไม่ใส่ใจที่อยากจะรู้จักก็คือบ่อเกิดแห่งความโง่เขลาทั้งหลาย ที่ปิดบังจิตให้มืดมิดจากการรู้จักหน้าที่ของตน และใครก็ตามที่ไม่สนใจต่อการรู้จักพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ดับแสงแห่งปัญญาของตนให้มืดสนิทและหมดหนทางที่จะไขว่คว้าหาความสำเร็จและความสุขที่แท้จริงของการเป็นมนุษย์มาไว้ในครอบครองได้

ดังที่เราได้ประสบพบอยู่ทุกวันนี้ว่า ประชาชนได้หันหลังให้กับการเรียนรู้จักพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงของตน และตลอดชั่วอายุไขก็ไม่เคยคิดที่จะใส่ใจในเรื่องนี้ ในความเป็นจริงแล้วเขาได้ละทิ้งธาตุแท้ของความเป็นมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง ส่วนธาตุแท้ที่ยังหลงเหลืออยู่ในตัวเขาคือธาตุแห่งความเป็นอมนุษย์ ซึ่งไม่แตกต่างอะไรไปจากเดรัจฉาน อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
"ดังนั้น เจ้าจงหันออกจากบุคคลที่หันเหออกจากคำเตือนของเรา เพราะเขามิได้มุ่งหวังสิ่งใดนอกจากชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น และนั่นแหละเป็นความรู้ที่บรรลุที่สุดแล้วของพวกเขา " (ซูเราะฮฺ อัน-นัจมุ : ๒๙)

ในความเป็นจริง การรู้จักพระผู้เป็นเจ้าสำหรับมนุษย์แล้ว ถือเป็นธรรมชาติและเป็นสัญชาตญาณของพวกเขาที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ เพียงมนุษย์พิจารณาหรือสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเอง ก็จะพบหลักฐานอย่างดาษดื่นที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงเมตตา ปรีชาญาณและทรงอำนาจยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ความหมายของการรู้จักพระผู้เป็นเจ้ามิได้หมายถึงการที่มนุษย์ได้รู้จัก พระองค์เป็นการส่วนตัว แต่หมายถึงวัฏจักรแห่งชีวิตของสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ การตอบรับคำเชิญชวนของพระองค์ด้วยกับจิตใต้สำนึกและสลัดความสงสัยที่มีต่อพระองค์ออกจากจิตใจ

การเคารพสักการะต่อพระเจ้าองค์เดียว
หลังจากได้รู้จักพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ลำดับต่อมาคือการเคารพภักดีต่อพระองค์ เพราะความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองซึ่งเป็นเป้าหมายเพียงประการเดียวของเรานั้น อยู่ที่การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ผู้ทรงเมตตา ที่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การปฏิบัติและแนวทางในการดำเนินชีวิตให้กับพวกเราโดยผ่านบรรดาศาสดาและศาสนทูตของพระองค์ที่ได้มาทำหน้าที่เผยแผ่แก่เรา ฉะนั้น การภักดีและปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ถือเป็นหน้าที่เพียงประการเดียวของมนุษย์ที่ไม่มีหน้าที่อันใดจะมาเทียบเคียงหรือยิ่งใหญ่ไปกว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
"คำบัญชาของพระองค์ผู้อภิบาลของเจ้าคือ จงอย่างเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นนอกจากพระองค์" (ซูเราะฮฺ บนีอิสรออีล : ๒๓)

"ข้ามิได้สัญญากับพวกเจ้ามาก่อนหรือว่า โอ้ลูกลานของอาดัม พวกเจ้าทั้งหลายจงอย่านมัสการชัยฏอนมารร้าย เพราะเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งสำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าจงนมัสการเฉพาะข้า และนี่คือแนวทางที่เที่ยงตรง" (ซูเราะฮฺ ยาซีน : ๖๐)

ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องรู้จักความเป็นบ่าว การภักดีและความต้องการของตัวเอง ขณะเดียวกันต้องรำลึกถึงความยิ่งใหญ่และความเกริกก้องเกรียงไกรของพระองค์เสมอ พร้อมทั้งมอบหมายให้พระองค์เป็นผู้ชี้นำการดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องไม่เคารพภักดีต่อสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์ และต้องไม่ปฏิบัติตามใครนอกจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอิมามผู้นำผู้บริสุทธิ์ที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำชับและเตือนสำทับอยู่ตลอดเวลาว่า ต้องปฏิบัติตามพวกเขาเท่านั้นและจงอย่าได้ปฏิบัติตามผู้อื่น พระองค์ตรัสว่า
"จงภักดีต่ออัลลอฮฺ จงภักดีต่อรอซูลและผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า" (ซูเราะฮฺ อัน-นิสาอ : ๕๙)

แน่นอน ผลพวงประการหนึ่งที่เกิดจากการภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและผู้นำนั้นก็คือ การให้ความเคารพต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมพันธ์ไปยังพระองค์ เช่น นามอันจำเริญของพระองค์และนามต่าง ๆ ของผู้นำที่ต้องจดจำด้วยความนอบน้อม ต้องแสดงความเคารพต่ออัล-กุรอาน อัล-กะอบะฮ มัสญิดต่าง ๆ และสถานที่ฝังศพของเหล่าบรรดาผู้นำศาสนาของพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
"ใครก็ตามที่ยกย่องสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ ดังนั้น การทำเช่นนี้เป็นลักษณ์ของผู้มีจิตใจยำเกรง" (ซูเราะฮฺ อัล-ฮัจญ์ : ๓๒)

หน้าที่ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
การที่มนุษย์ได้ขวนขวายหาวิธีการและแนวทางต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของตนนั้น ซึ่งแก่นแท้ของมิใช่เพื่ออื่นใดนอกไปจากความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองของ ชีวิต และเนื่องจากว่าการได้รับความสำเร็จและรู้จักนั้น ถือเป็นกิ่งแขนงหนึ่งของการรู้จักตนเอง กล่าวคือ ตราบใดก็ตามที่มนุษย์ยังไม่รู้จักตัวเอง เมื่อนั้นเขาก็ไม่มีวันรู้จักความต้องการที่แท้จริงของตนที่มีความสำเร็จ เป็นจุดหมายปลายทางได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก่อนอื่นใด คือการรู้จักกับตัวเองเพื่อให้สิ่งนี้เป็นบันไดก้าวขึ้นไปสู่การเรียนรู้และ เข้าถึงความสำเร็จ โดยใช้สื่อช่วยเหลือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในมือเป็นเครื่องมือช่วยขจัดความต้องการขั้นพื้นฐานและความสงสัย ทั้งมวล อย่าปล่อยให้ชีวิตที่มีค่าซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนเพียงประการเดียวของตนต้องหลุดมือไป

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "ใครก็ตามที่รู้จักตัวเองเท่ากับไดรู้จักพระผู้เป็นเจ้าของตน"
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวเช่นกันว่า "ใครก็ตามที่รู้จักตัวเองเท่ากับได้ถึงตำแหน่งที่สูงที่สุดของการหยั่งรู้"

เมื่อมนุษย์ได้รู้จักตัวเองจะทำให้เกิดความเข้าใจทันทีว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่ของเขาก็คือการให้เกียรติต่อคุณค่าสูงสุดในการเป็นมนุษย์ของตนซึ่งเขาต้องรักษาคุณค่าอันสูงส่งนี้ให้เจิดจรัสอยู่เสมอ หมั่นรักษาพลานามัยทั้งภายนอกและภายในให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อจะได้มีชีวิตที่มีความสุขตลอดกาล

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ใครก็ตามที่ให้เกียรติตัวเอง อารมณ์ใฝ่ต่ำและจิตใจที่ต่ำทรามจะหมดความหมายไปทันที"
ดังกล่าวไปแล้วว่า การมีอยู่ของมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องปกป้องรักษาให้ทั้งสองสมบูรณ์แข็งแรงและ ปลอดภัยตลอดเวลา อิสลามจึงได้นำเสนอแนวทางในการรักษาสุขภาพอนามัยของร่างกายและจิตวิญญาณแก่ มนุษย์ เพื่อเป็นครรลองในการปฏิบัติ

พลานามัยของร่างกาย
จงออกห่างจากอันตรายต่าง ๆ
อิสลามแนวทางอันบริสุทธิ์ ได้วางกฎเกณฑ์ไว้เพื่อเป็นการสนับสนุนสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ เช่น อิสลามห้ามรับประทานเลือด ซากสัตว์ เนื้อสัตว์บางประเภทและอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกาย ห้ามดื่มของมึนเมาทุกประเภท น้ำที่ไม่สะอาดหรือดื่มน้ำมากจนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย และคำสั่งห้ามอื่น ๆ อีกมากมายดังที่ระบุอยู่ในหนังสือริซาละฮ (ตำราที่ว่าด้วยศาสนบัญญัติภาคปฎิบัติ)

การรักษาความสะอาด
ความสะอาด ถือว่าเป็นหนึ่งในคำสอนที่มีความสำคัญยิ่งของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องอนามัย อิสลามได้ให้ความสำคัญไว้อย่างมาก โดยสามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีแนวทางใดให้ความสำคัญยิ่งไปกว่าอิสลาม
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา" ซึ่งคำกล่าวของท่านศาสดาย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นว่า อิสลามได้ให้ความยิ่งใหญ่และให้ความสำคัญยิ่งต่อความสะอาดจริง

ท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) ได้กล่าวแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการอาบน้ำไว้ดังนี้ว่า "การอาบน้ำทุกวันจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์"
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "การอาบน้ำทุกวันช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง"
อิสลาม นอกจากจะเน้นหนักความสะอาดของส่วนรวมแล้ว ยังเน้นหนักในเรื่องของส่วนตัวอีกต่างหาก เช่น แนะนำว่าต้องหมั่นดูแลตัดเล็บมือและเท้าอยู่เสมอ ต้องตัดผมและขนในที่ต่าง ๆ ให้สะอาดหมดจด ต้องหวีผมให้เรียบร้อย ต้องแปรงฟันทุกวัน ต้องล้างมือก่อนและหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้ง ต้องล้างรูจมูกวันละหลาย ๆ ครั้ง ต้องเก็บกวาดเช็ดถูบ้านเป็นประจำ หมั่นรักษาความสะอาดทางเดินเข้าบ้าน ประตูบ้านและใต้ต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณบ้าน

นอกจากนี้ อิสลามยังได้เน้นความสะอาดเกี่ยวกับหลักการศาสนาโดยตรง เช่น ร่างการและข้าวของเครื่องใช้ในการทำอิบาดะฮ (อุปกรณ์ประกอบการนมัสการต่อพระผู้เป็นเจ้า) ต้องให้สะอาดอยู่เสมอ เช่น ต้องรักษาร่างกายและเสื้อผ้าให้สะอาดจากสิ่งโสโครกอยู่ตลอดเวลา (นะญิสต่าง ๆ ) ต้องทำวุฎูวันละหลายครั้งเพื่อทำนะมาซ ต้องทำฆุสล (การอาบน้ำตามหลักศาสนาหลังจากหมดรอบเดือนหรือหลังจากการร่วมหลับนอน) เพื่อทำนมาซและคือศีลอด ซึ่งการทำวุฎูและฆุสลนั้นจะต้องให้น้ำถูกผิวหนังด้วย ถ้ามีคราบไขหรืออื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคกีดขวางน้ำมิให้ถูกผิวหนังจำต้องขจัดออกก่อน ฉะนั้น จึงเห็นว่าสิ่งที่อิสลามเน้นคือให้มุสลิมรักษาร่างกายให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา

การรักษาความสะอาดเสื้อผ้า
เรื่องการรักษาความสะอาดเสื้อผ้าอาภรณ์ในอิสลามนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของการประกาศอิสลาม ดังจะเห็นได้จากโองการของอัล-กุรอานที่ประทานลงมาในช่วงต้น ๆ ของการแต่งตั้งศาสดา ได้กำชับเรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้าไว้ดังนี้
"ส่วนเสื้อผ้าของเจ้านั้น เจ้าจงทำความสะอาด " (ซูเราะฮฺ อัล-มุดดัษษิร : ๔)

การรักษาเสื้อผ้าให้สะอาดช่วงทำนมาซนั้น หมายถึง เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ในทางฟิกฮ แต่อย่างไรก็ตาม อิสลามถือว่าการรักษาเสื้อผ้าอาภรณ์ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นมุสตะฮับ (สิ่งที่ดีควรปฏิบัติ) ซึ่งบรรดามะอซูมีนได้กล่าวแนะนำไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยอ้างจากคำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ว่า "การสวมใส่เสื้อผ้า ต้องสวมใส่เฉพาะเสื้อผ้าที่สะอาดเท่านั้น"

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "การซักเสื้อผ้าให้สะอาดจะช่วยขจัดความทุกข์โศรกและเป็นเหตุให้นมาซถูกยอมรับ"
ได้มีรายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.) และท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) ว่า "การมีเสื้อผ้าหลายชุดเพื่อสับเปลี่ยนเวลาสวมใส่ ไม่ถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือย"
นอกเหนือจากเสื้อผ้าต้องสะอาดแล้ว ยังต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและดูดีเมื่อเวลาสวมใส่ โดยเฉพาะเวลาที่จะออกไปพบปะกับผู้คนหรือแข็งผู้มาเยือนนั้น ตองงสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดและมีความสง่างาม

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าว่า "จงสวมใส่เสื้อผ้าที่มีราคา และจงตบแต่งตัวเองให้สวยงาม เพราะอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นผู้สง่างามและทรงรักผู้ที่มีความสง่างาม แต่ต้องเป็นที่อนุมัติ" หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้อ่านโองการนี้
"จงบอกซิว่า ใครกล้าที่จะวางกฎห้างเครื่องประดับของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ไดทรงนำออกมาให้แก่ข้าทาสขอพระองค์" (ซูเราะฮฺ อัล-อะอรอฟ : ๓๒)

การบ้วนปากและแปรงฟัน
ปากเป็นเหมือนกับโรงงานย่อยอาหารเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับหนึ่ง และเนื่องจากว่าอาหารต้องผ่านไปทางปากจึงทำให้ปากสกปรกมีเศษอาหารติดอยู่ตาม ซอกฟันและในที่ต่างๆ ของปาก เป็นเหตุทำให้มีกลิ่นปาก และบางคนต้องหายใจทางปากประกอบกับปากมีกลิ่นเท่ากับเป็นการทำลายบรรยากาศและ สร้างความรบกวนแก่ผู้อื่น

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "ถ้าฉันไม่เกรงว่าจะเป็นความยากลำบากสำหรับบรรดามุสลิมแล้วละก็ ฉันจะกำหนดให้การแปรงฟันเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) สำหรับพวกเขา" ในบางครั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "ญิบรออีลได้แนะนำเรื่องการแปรงฟันตลอดเวลา ซึ่งในบางครั้งฉันคิดว่าหลังจากนี้ต่อไปคงเป็นวาญิบ"

การล้างจมูก
การหายใจเป็นความจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะสถานที่อยู่อาศัยของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนอาศัยอยู่แถบที่มีฝุ่นละอองมาก มีอากาศไม่บริสุทธิ์หรือมีมลภาวะที่หนาแน่น ซึ่งการหายใจเอาอากาศจำพวกนี้เข้าไปมาก ๆ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงสร้างมนุษย์ย่อมปรีชาญาณกว่าเสมอ พระองค์จึงไดสร้างระบบป้องกันเบื้องต้นให้กับมนุษย์ โดยให้มีขนขึ้นในรูจมูกเพื่อกลั่นกรองฝุ่นละอองมิให้เข้าไปถึงปอดได้ง่าย เมื่อเวลามนุษย์หายใจเข้าไป ในบางครั้งจึงพบว่า ภายในรูจมูกจะมีฝุ่นละอองจับตัวกันอยู่เป็นก้อน ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามจึงได้แนะนำบรรดามุสลิมทั้งหลายว่า ในวันหนึ่ง ๆ ก่อนทำวุฎูควรล้างจมูกเสียก่อน ซึ่งการล้างจมูกด้วยกับน้ำสะอาดนั้นเป็นการช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจ




จริยธรรมอิสลาม จริยธรรมอิสลาม

พลานามัยของจิตวิญญาณ
การขัดเกลาจริยธรรม
ธรรมชาติโดยทั่วๆ ไปของมนุษย์นั้นชอบคนที่มีมารยาทที่ดีงาม มีความประพฤติที่เรียบร้อย และมักจะเอาใจใส่ต่อความดีงามเหล่านั้นทั้งส่วนตัวและสังคม ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยพบเจอคนที่มีมารยาทที่ดีงามแต่ไม่มีผู้ให้ความเคารพหรือเกรงใจ

ความใส่ใจของมนุษย์ต่อมารยาทที่ดีงามนั้น ไม่ต้องการคำอธิบาย ทั้งนี้เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ส่วนคำแนะนำของอิสลามเกี่ยวกับมารยาทนั้นเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นคำสอนที่สูงส่ง เพราะผู้ให้การอบรมและสอนสั่งมารยาทในอิสลามคือท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครสามารถค้นหาข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดของท่านได้ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเล็กเท่าผงธุลีก็ตาม อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า

"ขอสาบานกับดวงจิต (และพระเจ้า) ผู้ซึ่งได้สร้างขึ้นมาและหลังจากนั้น ทรงดลให้เขารู้ถึงความดีและความชั่วทั้งหลาย แน่นอนคนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่ทำการขัดเขลาจิตใจ และคนที่ขาดทุนคือคนที่หมักหมม"

(ซูเราะฮฺ อัชชัมช : ๑๐)
ท่านอิมามศอดิก (อ.) ได้กล่าวอธิบายโองการข้างต้นว่า "แท้จริงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสอย่างชัดเจนแก่มนุษย์ทั้งปวงว่า : การงานใดที่ดีพวกเจ้าจงปฏิบัติ ส่วนการงานที่ไม่ดีพวกเจ้าจงละเว้น"

การศึกษาหาความรู้
คุณสมบัติประการหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่ว ๆ ไปคือ ความรู้และความประเสริฐของความรู้ที่มีอยู่เหนือความโง่เขลาทั้งหลาย ซึ่งแจ่มแจ้งยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน
ในวิชาปรัชญาได้กล่าวว่ามนุษย์กับสัตว์นั้นเหมือนกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างของทั้งสองได้อย่างเด่นชัดที่สุดคือสติปัญญากับความรู้ สรรพสัตว์จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวอยู่คือความต้องการ อันเป็นความต้องการเหมือนกันทั้งหมด และอยู่บนพื้นฐานของความต้องการ ไม่มีความหวังในชีวิตที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่พระผู้เป็นเจ้า ไม่เข้าใจความรู้สึกเจ็บปวดและผิดหวังของสัตว์อื่น เฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีการวิวัฒนาการในทุก ๆ ด้านด้วยพลังแห่งสติปัญญาของตน มีการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับกฎแห่งธรรมชาติและสัจจะภาวะ ทำให้มนุษย์มีความรู้และได้รับสิ่งมีค่าใหม่ ๆ เสริมเข้ามาในการดำรงชีวิตของตน พร้อมกับนำเอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตของตนเองและสังคม

อิสลามเป็นศาสนาเดียวที่ให้การสนับสนุนเรื่องการแสวงหาความรู้มากกว่าสำนักคิดอื่นใดทั้งหมด และมากกว่าทุก ๆ ระบอบทั้งเก่าและใหม่ อิสลามถือว่าการแสวงหาความรู้นั้นเป็นรากฐานอันสำคัญของสังคมที่มีอารยธรรมที่ดีงาม และเรียกสังคมที่มีการศึกษาว่าเป็นสังคมที่มีชีวิต ในทางกลับกัน เรียกสังคมที่ปราศจากการศึกษาและมีความล้าหลังว่าเป็นสังคมที่ตายแล้วและเป็นสังคมของอนารยชน ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้กำหนดว่า การแสวงหาความรู้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และเกี่ยวกับเรื่องการแสวงหาความรู้นี้ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอิมามท่านอื่น ๆ (อ.) ได้มีคำสั่งกำชับไว้อย่างมากมาย อาทิเช่น

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "การแสวงหาความรู้เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) สำหรับมุสลิมทุกคน" ซึ่ง ความรู้ในความหมายของท่านศาสดาตามที่กล่าวมานั้น หมายถึงความรู้ของทุกแขนง มิได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และในการแสวงหาความรู้นั้น ไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวอีกว่า "การแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน แน่แท้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรักผู้แสวงหาความรู้"

ท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา กล่าวว่า "โอ้ประชาชน พึงรู้ไว้เถิดว่าวุฒิภาวะของศาสนานั้นตั้งอยู่บนการแสวงหาความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ แท้จริงการแสวงหาความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับท่านมากกว่าความพยายามในการแสวงหาเครื่องยังชีพ สำหรับเครื่องยังขีพของท่านได้รับการจัดสรรและค้ำประกันโดยองค์แห่งความยุติธรรม และจะส่งมอบมาให้แก่ท่านอย่างแน่นอน ความรู้ถูกเก็บรักษาไว้กับเจ้าของและท่านถูกบัญชาให้แสวงหาจากพวกเขา"

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวอีกว่า "หลายคนอ้างถึงความรู้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าของกำนัลที่สมบูรณ์ที่สุดของพระเจ้าคือ ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความรู้"

"มีคนโง่จำนวนมากมายที่ทำให้ผู้รู้เกิดความกลัวอย่างมาก"

"ผู้รู้ย่อมเข้าใจในความเขลา เพราะครั้งหนึ่งเขาเคยมีความเขลามาก่อน"

"ผู้มีความเขลาย่อมไม่เข้าใจในผู้รู้ เพราะเขามิได้เคยเรียนรู้ด้วยตนเอง"

"ผู้รู้ย่อมมีชีวิตอยู่ท่ามกลางมวลชนที่โง่เขลา"

"ความรู้ให้ชีวิตแก่วิญญาณ"

"ความรู้ (ในพระเจ้า) เพียงเล็กน้อยย่อมทำลายความประพฤติ"

"ไม่มีสิ่งใดสามารถที่จักทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ได้ เว้นแต่แสงสว่างที่แท้จริง"

"การให้ความเคารพต่อผู้รู้ คือการเคารพพระผู้เป็นเจ้า"

"ความรู้ย่อมก่อกำเนิดความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า"

"การฝึกฝนตนในการปฏิบัติ ทำให้ความรู้เกิดความสมบูรณ์"

ท่านอิมาม ญะอฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงเรื่องการแสวงหาความรู้ไว้ว่า
"เป็นหน้าที่ของท่านต่อการเข้าใจเป็นอย่างดีในศาสนาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น จงอย่าเป็นเยี่ยงบุคคลที่ระหกระเหินกลางทะเลทราย ในวันแห่งการตัดสินอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่เหลียวแลพวกเขาผู้ซึ่งมิได้ทำความเข้าใจต่อศาสนาของพระองค์ และจะไม่ทรงเพิ่มน้ำหนักใด ๆ เลยต่อการกระทำ"

"บรรดานักปราชญ์คือทายาทของบรรดาศาสดา สำหรับท่านศาสดามิได้ทิ้งไว้ซึ่งความมั่งมีทางทรัพย์สมบัติ แต่ทว่าท่านได้ละทิ้งไว้ซึ่งจารีตประเพณี และผู้ใดก็ตามรับไว้เขาจะเป็นผู้มั่งมี แต่พึงระวังไว้ว่า ท่านได้รับจากใคร แท้จริงในทุก ๆ ยุคสมัยย่อมมีผู้ยุติธรรมคนหนึ่งจากพวกเรา ครอบครัวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะเป็นผู้คุ้มครองศาสนาให้พ้นจากความบิดเบือนที่บ้าคลั่ง นักโกหกที่ชอบขโมยความคิดของผู้อื่น และนักตีความไร้สาระ"

"บุคคลที่แสวงหาความรู้แล้วนำไปปฏิบัติและสั่งสอนคนอื่น ๆ เพื่อพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะยกเขาขึ้นสู่สถานภาพที่ศักดิ์สิทธิ์และกล่าวว่า : เจ้าเรียนเพื่ออัลลอฮฺ ปฏิบัติเพื่ออัลลอฮฺและอบรมสั่งสอนผู้อื่นเพื่อพระองค์"

“ผู้รู้คือผู้ปฏิบัติเพื่อส่งเสริมคำพูดของเขา"

"การสนทนากับนักปราชญ์บนกองขยะ ย่อมดีกว่าการสนทนากับคนเขลาบนพรมชั้นดี"

"จงระวังสองสิ่งที่ทำลายมนุษย์ การใช้ทัศนะทางคดีความในเรื่องที่เป็นความนึกเอาเดาว่า และผูกติดอยู่กับบางสิ่งด้วยกับความเชื่อ (ในศาสนา) โดยปราศจากความรู้"

"ความตายของบุคคลผู้ไร้ศรัทธา มิได้ทำให้ชัยฏอนยินดีเหมือนกับนักปราชญ์คนหนึ่ง"

ฉะนั้น การแสวงหาความรู้จึงเป็นสุดยอดของการขวนขวายและพากเพียรทั้งหลาย อิสลามถือว่าเป็นภาระของทุกคน โดยไม่ได้กำหนดว่าเป็นหญิงหรือชาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแสวงหาความรู้ก็คือ มาตรการของสังคมนั่นเอง

ขณะเดียวกัน อิสลามไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของการแสวงหาความรู้เอาไว้ ดังคำกล่าวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ที่ว่า "จงศึกษาตั้งแต่ในเปลนอนจนถึงหลุมฝังศพ"

ทุก ๆ ข้อบังคับในศาสนานั้น จะมีเวลาที่เฉพาะของ ซึ่งผู้ที่จะปฏิบัติมีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ ถ้ามิเช่นนั้นก็ถือว่าไม่เป็นข้อบังคับใด ๆ สำหรับเขา และในบางครั้งกฎและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นวาญิบก็ถูกยกเว้นสำหรับเด็ก คนชราและผู้ที่ไร้ความสามารถ แต่เรื่องการแสวงหาความรู้นั้นไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งให้เริ่มการศึกษาตั้งแต่คลอดออกจากครรภ์ของมารดาเป็นต้นไปจนถึงวันตาย กล่าวคือ การศึกษาความรู้เป็นข้อบังคับตลอดอายุไขของตน และทุก ๆ วันต้องมีความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังได้กำชับอีกว่า "จงแสวงหาความรู้ไม่ว่าจะอยู่ไกลถึงเมืองจีนก็ตาม"

อิสลามได้แนะนำให้ทำการเรียนรู้ถึงความเร้นลับของการสร้างท้องฟ้าแผ่นดิน ธรรมชาติของมนุษย์ ประวัติศาสตร์ของบรรพชนในอดีต (ปรัชญา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา) และทำการครุ่นคิดถึงให้มาก ขณะเดียวกันต้องเรียนรู้และจดจำจริยธรรมและกฎมายของอิสลาม ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ถึงวิธีการหาปัจจัยเพื่อการดำรงชีพ จะเห็นได้ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาหาความรู้อย่างมากซึ่งในครั้งหนึ่งในสงครามบะดัร บรรดาทหารมุสลิมได้จับพวกปฏิเสธ (ทหารฝ่ายตรงข้าม) เป็นเชลย ต่อมาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มีคำสั่งว่า ถ้าพวกศัตรูได้นำเงินมาไถ่ตัวเชลยก็จงรับและปล่อยตัวเขาไป ยกเว้นเชลยที่อ่านออกเขียนได้ ไม่ต้องเสียค่าไถ่ตัว แต่มีเงื่อนไขว่าเชลยหนึ่งคนต้องสอนหนังสือให้กับมุสลิม ๑๐ คน

ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของชั้นเรียนครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ได้เกิดขึ้นโดยคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และถือเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับมุสลิม ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์โลก แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ ถือเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในโลกที่มีการไถ่ตัวเชลยสงครามด้วยการเรียน การสอน ซึ่งก่อนหน้าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และหลังจากนั้นไม่ได้มีการทำเช่นนั้นอีกเลย สิ่งนี้ถือว่าเป็นเกียรติยศและความน่าภาคภูมิใจของโลกอิสลาม

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เดินทางไปเองพร้อมกับผู้รู้หนังสือและสั่งให้เขาทำการทดสอบเด็ก ๆ เพื่อจะได้จัดชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม และเด็กคนใดที่ท่านพบว่ามีความฉลาดไหวพริบดี จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากท่าน

นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งบันทึกไว้ว่า มีสตรีคนหนึ่งนามว่า "อัช-ชะฟาอ" ซึ่งได้ทำการเรียนรู้หนังสือตั้งแต่ยุคญาอลิยะฮ (ยุคสมัยก่อนการมาของอิสลาม) และเธอเป็นผู้มาสอนหนังสือให้แก่ภรรยาของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ณ ที่บ้านของท่าน ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเต็มที่

การให้ความสำคัญต่อการศึกษาในทัศนะอิสลาม
การเพียรพยายามเพื่อให้ไปถึงยังเป้าหมายต่างๆที่ตั้งใจไว้นั้นมีความสำคัญเทียบเท่ากับตัวเป้าหมายเอง การให้ความสำคัญกับการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มนุษย์ถือว่าสูงส่งและเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล อิสลามซึ่งเป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติของมนุษย์ได้ถือว่าการศึกษามีค่าที่สุด ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "ผู้ที่กำลังขวนขวายศึกษาเป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปราน"

การทำสงครามศาสนาถือว่าเป็นหนึ่งในหลักการอิสลาม หากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอิมาม (อ.) ได้ออกคำสั่งเมื่อใด จะถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนต้องออกไปทำสงคราม ยกเว้นบุคคลที่กำลังทำการศึกษาหาความรู้เท่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าอิสลามให้ความสำคัญต่อการศึกษาไว้อย่างมาก จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่ต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน ของตนได้รับการศึกษาสูง ๆ อัล-กุรอานกล่าวว่า

"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายไม่ควรออกไปทำสงครามพร้อมกันทั้งหมด แต่ควรให้แต่ละกลุ่มส่งคณะของตนออกไปเพื่อทำการศึกษาข้อเท็จจริงของศาสนา และเมื่อพวกเขาได้กลับมายังกลุ่มพวกพ้องของตนจะได้สั่งสอนชี้แจงอิสลามแก่พวกของตน โดยหวังว่าพวกเขาจะได้สังวรตน" (ซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮ : ๑๒๒)

ความสำคัญของครู
ครูถือว่าเป็นศูนย์รวมของความรู้ ที่ได้สั่งสมวิชาการและความรู้จากนูรรัศมีที่มีความประเสริฐ เพื่อทำการขจัดความโง่เขลาชนิดขุดรากถอนโคนให้สิ้นซากไปจากแผ่นดิน ครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการและแสงสว่างแก่ผู้ที่โง่เขลาให้เป็นผู้ที่ มีความรู้และเฉลียวฉลาด ครูเป็นผู้จุดประกายความรู้ให้สว่างขึ้นเพื่อเป็นประทีปส่องนำทางไปสู่ความสำเร็จ

จากความสำคัญนี้เอง อิสลามจึงได้กล่าวว่าเป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ที่ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ และถือว่าครูคือบุคคลที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในสังคม ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ใครก็ตามที่ได้สอนสั่งฉัน เท่ากับได้ทำให้ฉันกลายเป็นทาสของเขา"

คำพูดขอท่านอิมาม (อ.) ได้เพิ่มพูนความยิ่งใหญ่และทำให้มองเห็นคุณค่าที่สูงส่งของการเป็นครู ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวอีกว่า "ประชาชนแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ หนึ่ง ผู้รู้นักปราชญ์ สอง คือ กลุ่มชนที่ได้ทำการศึกษาเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้รอดปลอดภัย สาม คือ กลุ่มชนที่หลีกเลี่ยงความรู้ ซึ่งพวกเขาไม่ต่างอะไรไปจากแมลงที่บินว่อนตามทิศทางลม"

การให้เกียรติแก่ผู้รู้และนักปราชญ์
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงตำแหน่งของผู้รู้และนักปราชญ์ผู้ทรงเกียรติไว้ดังนี้ว่า
"อัลลอฮฺทรงยกย่องบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่ของพวกเจ้า และ(ยกย่อง)บรรดาผู้ที่ได้รับความรู้ไว้ในหลายฐานันดรด้วยกัน (ซูเราะฮฺ อัล-มุญาดะละฮ : ๑๑)

ฐานันดรและเกียรติยศที่สูงส่งของผู้รู้และนักปราชญ์ ในทัศนะของผู้นำอิสลามซึ่งท่านเหล่านั้นได้กล่าวว่า : อัล-กุรอานกล่าวว่า
"บรรดาผู้รู้กับผู้ไม่รู้นั้นจะเท่าเทียมกันหรือ แท้จริงผู้ที่มีวิจารณญาณเท่านั้นที่จะสำนึก" (ซูเราะฮฺ อัช-ชุมัร :๑๐)

หมายถึงผู้รู้กับคนโง่เขลานั้น ไม่มีวันที่จะเท่าเทียมกันอย่างเด็ดขาดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รู้ที่ใช้ ประโยชน์จากความรู้ของตน ถือว่าโดยตัวตนแล้วดีกว่าอย่างสิ้นเชิง ประเด็นสำคัญที่ได้รับจากโองการนี้คือ ความรู้ในทัศนะของอัล-กุรอาน ไม่ได้หมายถึงความรู้เกี่ยวกับศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงความรู้ของศาสตร์ทุกแขนงที่ทำให้มนุษย์เกิดความสว่างไสว และสามารถช่วยเหลือมนุษย์ในภาระกิจต่าง ๆ ทั้งโลกนี้และโลกหน้าได้

ตำแหน่งของผู้รู้และนักปราชญ์ สูงส่งกว่าตำแหน่งของผู้บำเพ็ญอิบาดะห์แต่เพียงอย่างเดียว ดังที่ท่านอิมามมุฮัมมัดบากิร (อ.) กล่าวว่า "ผู้รู้ที่ใช้ประโยชน์จากความรู้ของตน ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะห์ถึง ๗๐,๐๐๐ คน"

มาตรฐานของบรรดาอิมาม (อ.) ที่ใช้วัดบุคลิกภาพและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คือความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "ผู้ที่มีความรู้ที่สุดในหมู่ของประชาชน คือผู้ที่นำเอาประโยชน์จากความรู้ของผู้อื่นมาเสริมความรู้ของตน เพราะคุณค่าของความเป็นมนุษย์คือความรู้ ดังนั้นผู้ใดมีความรู้มากคุณค่าของเขาย่อมมากตามไปด้วย ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่มีความรู้น้อย คุณค่าของเขาก็ลดน้อยตามไปด้วยเช่นกัน"

หน้าที่ของครูและศิษย์ อัล-กุรอานได้ยกย่องความรู้ว่าเป็นธาตุที่แท้จริงแห่งชีวิต เพราะถ้าไม่มีความรู้ มนุษย์กับสรรพสัตว์หรือก้อนหินก็จะมิได้มีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้นักเรียนจะต้องสำนึกตลอดเวลาว่า ผู้เป็นครูคือศูนย์กลางแห่งชีวิตของตน เพราะอนาคตที่แท้จริงได้เจริญงอกงามมาจากน้ำมือของผู้เป็นครู ครูจังเป็นเสมือนชีวิตที่สองของนักเรียนซึ่งพวกเขามีหน้าที่ในการให้ความ เคารพยกย่องเชิดชูเกียรติยศ และยอมรับคำแนะนำสั่งสอนของครู แม้ว่าในบางครั้งจะแฝงไว้ด้วยความร้ายกาจก็ตาม นักเรียนต้องไม่แสดงความแข็งกระด้างก้าวร้าว ดูถูกเหยียดหยามหรือทำลายคุณค่าของความเป็นครูทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือแม้ว่าครูจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่เป็นครูต้องสำนึกเหมือนกันว่า เขาคือผู้รับผิดชอบชะตากรรมและอนาคตของนักเรียน ตราบใดก็ตามที่ครูยังไม่สามารถสอนให้นักเรียนคนหนึ่งยืนอยู่บนเท้าทั้งสอง ข้างแห่งความเป็นมนุษย์ได้ เขาจะต้องไม่แสดงความเหน็ดเหนื่อยหรือท้อถอยเด็ดขาด แม้ว่าในบางครั้งนักเรียนจะยอมรับคำอบรมสั่งสอนของครูไม่ได้ก็ตาม ครูจะต้องไม่แสดงท่าทีของคนหมดกำลังใจ ถ้าหากมีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในการสั่งสอน ก็จงอย่างแสดงความดีใจอย่างออกหน้าออกตากับนักเรียนและผู้เป็นครูต้องระมัด ระวังตลอดเวลา อย่าให้คำพูดหรือกริยาท่าทางของตนเป็นเหตุทำให้นักเรียนต้องเสียใจ ท้อถอยหรือหมดกำลังใจในที่สุด

ผลงานชิ้นสำคัญสองประการในคำสอนอิสลาม
คุณค่าที่พบเห็นในสังคมต่างๆ ของมนุษย์นั้น ในความเป็นจริงแล้วยังปิดบังความจริงหนึ่งเอาไว้ ซึ่งถ้าความจริงนั้นถูกนำมาตีแผ่ต่อหน้าสาธารณชน แน่นอนจะสร้างความปั่นป่วนและความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่หน้าที่การงานและ การปกครองของเหล่าทรราชย์ทั้งหลายบนแผ่นดิน พวกเขาจึงผิดบังความจริงต่อสังคมเอาไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายและธรรมนูญที่ร่างขึ้นมานั้นลัวนแต่มาจากสมองของพวก เขา จึงซ่อนเงื่อนงำและหมกเม็ดเอาไว้มากมาย ซึ่งขัดต่อสติปัญญาและความถูกต้องทั้งส่วนตัวและส่วนรวมของสังคม พวกเขาวิตกอยู่ตลอดเวลาว่าเมื่อใดที่ประชาชนได้พบเงื่อนงำที่แท้จริง กระแสแห่งการต่อต้านและเรียกร้องความถูกต้องจะหลั่งใหลและสาดซัดเข้ามายัง พวกเขา ผลประโยชน์มหาศาลของพวกเขาต้องได้รับความกระทบกระเทือน จึงเห็นได้ว่าโบสถ์และศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้ประชาชนคิดอะไรได้ตามเสรีภาพของตน การเปลี่ยนแปลงคำอธิบายของศาสนาและคัมีร์เป็นหน้าที่ของพวกเขาและตามที่พวก เขาต้องการ ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องมีคำถามว่า "ทำไมและเพื่ออะไร" ซึ่งต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปราศจากการค้นคว้าและวิเคราะห์วิจัย การทำเช่นนี้ได้สร้างความเสื่อมเสียอย่างมากแก่ศาสนานั้น ๆ

ศาสนาอิสลามมีความเชื่อมั่นต่อหลักการและคำสอนของตนว่า ไม่มีจุดใดที่ปกปิดและซ่อนเร้นอยู่ซึ่งต่างไปจากคำสอนของศาสดาอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

อิสลามเชื่อมั่นว่าไม่มีสัจธรรมข้อใดที่ยังปกปิดอยู่ ขณะเดียวกัน ผู้ปฏิบัติตามอิสลามก็ไม่อนุญาให้ปิดบังความจริงเอาไว้ เพราะอิสลามเป็นศาสนาที่ถูกกำหนดมาบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์และธรรมชาติของมนุษย์ โดยไม่มีความจริงข้อใดของอิสลามสามารถปฏิเสธได้

อิสลามสอนว่า การปิดบังความจริงถือว่าเป็นความผิดบาปอย่างร้ายแรง (บาปใหญ่) ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร ได้ทำการสาปแช่งผู้ปิดบังความจริงเอาไว้ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

"แท้จริง บรรดาผู้ที่ปิดบังความชัดแจ้งและทางนำในสิ่งที่เราประทานลงมา หลังจากที่เราได้อธิบายแก่ประชาชนแล้วในคัมภีร์ อัลลอฮฺและผู้สาปแช่งคนอื่น ๆ ไดทำการแช่งพวกเขา" (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮ : ๑๕๙)

อิสลามได้กำชับว่า ให้ใช้สติปัญญาคิดอย่างเสรีเกี่ยวกับความจริงและความรู้ และเมื่อเกิดความลังเลหรือไม่เข้าใจแม้เพียงจุดเล็กน้อย ให้หยุดก่อนและอย่าปล่อยผ่านไป จงทำการศึกษาจนกว่าจะเข้าใจด้วยกับสติปัญญาที่เป็นกลางที่ใฝ่อยากรู้ความ จริงนั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
"และเจ้าจงอย่าทำตามในสิ่งที่เจ้าไม่รู้" (ซูเราะฮฺ บะนีอิสรออีล : ๓๖)

การหลีกเลี่ยงความคิดที่เสรีและเปิดเผยความจริง
การรับความจริงด้วยกับสติปัญญาและความคิดนั้น ถือเป็นมรดกล้ำค่าที่สุดที่กลั่นกรองออกมาจากมนุษย์และเป็นลักษณะพิเศษ ประการเดียวที่บ่งบอกว่ามนุษย์นั้นดีกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นเกียรติยศที่สูงส่งที่สุด ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ที่สติปัญญาของมนุษย์จะอนุญาตให้ปฏิบัติตามใครหรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปล่อยวางความคิดและสติปัญญาของตน หรือปกปิดความจริงเอาไว้โดยปล่อยให้จิตใจใฝ่ต่ำนำพาตนให้หลงทาง และในที่สุดแล้ว ไดละทิ้งสติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้มา ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมความจริงที่ว่า ที่ใดก็ตามประชาชนไม่พร้อมที่จะทำความเข้าใจหรือไม่มีประโยชน์อันใดเลยที่จะ พูดความจริง และเมื่อพูดความจริงแล้วอาจเกิดอันตรายกับทรัพย์สินหรือชีวิตของตนได้ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดซึ่งสติปัญญาจะบอกกับเราเช่นนั้นเหมือนกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการดำรงสัจธรรมความจริงและความศักดิ์สิทธิ์ของให้คงอยู่ และเป็นการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนให้รอดพ้นจากอันตราย จึงอนุญาตให้ทำการปกปิดความจริงได้

บรรดาอิมาม (อ.) ได้กำชับตลอดเวลาว่า ที่ใดก็ตามที่ประชาชนไม่พร้อมที่จะยอมับความจริง ก็จงอย่าได้เปิดเผย อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อนุญาตให้ทำการปกปิดและอำพรางความจริงไว้เช่นกัน

"บรรดาผู้ศรัทธาต้องไม่เอาผู้ปฏิเสธมาเป็นมิตรสหายแทนผู้ศรัทธาด้วยกัน เอง และถ้าผู้ใดปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺอีก ยกเว้นในกรณีที่อำพรางความจริงจากพวกเขา (เนื่องจากเกรงกลัวอันตรายจากพวกเขา) " (ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : ๒๘)

"ผู้ใดปฏิเสธอัลลอฮฺหลังจากที่เขาได้ศรัทธาแล้ว (แน่นอนพวกเขาต้องได้รับโทษ) ยกเว้นบุคคลที่ถูกบังคับซึ่งจิตใจของเขายังศรัทธามั่นอยู่ แต่ถ้าบุคคลใดเปิดใจกว้างกับการปฏิเสธ ย่อมได้รับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺและต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง" (ซูเราะฮฺ อัน-นะหลิ : ๑๐๖)

บทสรุป
อิสลามอนุญาตให้ปกปิดหรืออำพราง (ตะกียะฮ) ความจริงได้ในสามกรณี ซึ่งถือเป็นความจำเป็นด้วยซ้ำที่ต้องทำเช่นนั้น

กรณีที่ไม่มีความหวังเลยว่าความจริงจะได้รับการตอบรับ และถ้าเปิดเผยความจริงก็เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับชีวิตและทรัพย์สินของตน
ในที่ซึ่งประชาชนไม่พร้อมที่จะยอมรับความจริง หรือสร้างความเข้าใจต่อ และถ้าเปิดเผยความจริงแล้วอาจทำให้ผู้คนหลงทางมากยิ่งขึ้น เป็นการดูถูกเหยียดหยามและทำลายความศักดิ์สิทธิของความสัจจริง

ในที่ซึ่งประชาชนที่มีความคิดอิสระ แต่ไม่มีความพร้อมหรือคิดไม่เป็น ซึ่งการเปิดเผยความจริงจะเป็นเหตุทำให้หลงทาง

การวินิจฉัยกับการปฏิบัติตาม
ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ต้องได้รับการสนองตอบมีอยู่มากมายเหลือคณา เราจึงพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องต่างๆมากมายในสังคม

ขณะที่มนุษย์ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ตาม เขาจะทำอยู่บนพื้นฐานของความคิดและความจำเป็นของแต่ละคน และในปัญหาที่เขาต้องแก้ไข เขาจำเป็นต้องมีข้อมูลเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอก็ไม่อาจจะตัดสินใจได้ ดังนั้นในทุก ๆ ภารกิจที่มนุษย์ต้องทำ เขาต้องอยู่ในหนึ่งในสองสภาวะนั่นคือสภาวะผู้รู้หรือสภาวะผู้ไม่รู้ที่ต้องถามไถ่จากผู้รู้ แล้วจึงนำเอาคำตอบมาเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติ ซึ่งสัญชาติญาณของมนุษย์ก็ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าว

สรุปได้ว่า ในชีวิตของเราจะโดยบังเอิญหรือตั้งใจก็ตาม เราได้ทำการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้อื่นมาโดยตลอด ดังนั้น การที่มีผู้พูดว่าชีวิตของฉันจะไม่ขอปฏิบัติตามใคร แสดงว่าเขาอาจจะไม่เข้าใจ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะความคิดอ่านของเขาบกพร่องอย่างรุนแรง

อิสลามซึ่งเป็นศาสนาที่มีกฎเกณฑ์วางอยู่บนธรรมชาติของมนุษย์นั้นได้ยึดถือกฎของการปฏิบัติตามเช่นกัน โดยอิสลามกำชับต่อผู้ปฏิบัติตามเสมอว่า จงเรียนรู้อะหกามและความรู้ต่าง ๆ ของอิสลามอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งต้นกำเนิดของความมรู้นั้นอยู่ที่อัล-กุรอาน ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) และอธิบายความรู้ของศาสนาจากอัล-กุรอานและซุนนะฮของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ไม่ใช่หน้าที่ของทุก ๆ คนและใช่ว่าทุกคนจะทำได้ แต่ทว่าเป็นหน้าที่ของคนบางกลุ่มและบางคนเท่านั้นที่ได้รับมอบหมายมา

ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงของกฎเกณฑ์ จะมีประชาชนกลุ่มหนึ่งไม่มีความสามารถในการค้นคว้าหาเหตุผลและวินิจแยะศาสนบัญญัติเองได้ จึงจำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้ที่มีความสามารถในการกระทำดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือเพื่อให้รู้ชัดเจนว่าหน้าของตนที่ต้องทำคืออะไร
นักปราชญ์ของอิสลามที่สามารถค้นคว้าหาเหตุผลและวินิจฉัยอะหกามของศาสนา ได้เรียกว่า “มุจตะฮิด” ส่วนการค้นคว้าของท่านเรียกว่า “การอิจติฮาด” ผู้ที่ย้อนกลับไปหามุจญตะฮิดเพื่อตรวจสอบหน้าที่ของตนนั้นเรียกว่า “มุก้อลลิด” ส่วนการย้อนไปหามุจตะฮิดนั้นเรียกว่า “การตักลีด”

ดังนั้น การตักลีดจึงหมายถึงการปฏิบัติตามมุจตะฮิดเฉพาะในเรื่องฟุรูอุดดีน (ศาสนบัญญัติ) การค้าขายและรวมไปถึงอะหการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่รวมไปถึงเรื่องอุศูลุดดีน (หลักความศรัทธา) เพราะไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามใคร ซึ่งต้องเกิดจากพลังแห่งความเชื่อมั่นและไม่สงสัยของตนเอง มิใช่เกิดจากการกระทำและความเชื่อมั่นของคนอื่นและนำมาเป็นเหตุผลของตน

ฉะนั้น มุสลิมคนหนึ่งจึงไม่สามารถพูดได้ว่า การเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะบิดาหรือปู่ย่าตายายหรือผู้รู้ได้พูดไว้เช่นนั้น หรือพูดว่า มะอาดเป็นความจริงเพราะมุสลิมส่วนมากมีความเชื่อดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องค้นหาเหตุผลให้กับความเชื่อและความศรัทธาของตน แม้ว่าจะเป็นเหตุผลที่ง่าย ๆ ก็ตาม




จริยธรรมอิสลาม จริยธรรมอิสลาม

หน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดามารดา
บิดามารดาอยู่ในฐานะของปัจจัยหลักในการสรรสร้างบุตรและเป็นครูคนแรกที่ให้การอบรมสั่งสอนกิริยามารยาทแก่บุตร บิดามารดาจึงมีบุญคุณอย่างล้นเหลือแก่บุตรและธิดาของตน ซึ่งเป็นบุญคุณที่มิอาจทดแทนได้อย่างหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงได้กำชับไว้อย่างหนักแน่นว่า บุตรทุกคนมีหน้าที่ต้องให้เกียรติเคารพยกย่องและปฏิบัติตามบิดามารดาอย่างเคร่งครัด ถึงขนาดที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวถึงการให้เกียรติต่อบิดามารดาหลังจากการกล่าวถึงการเคารพสักการะต่อพระองค์โดยทันทีนั่นย่อมแสดงว่า บิดามารดานั้นอยู่ในตำแหน่งที่สูงส่งอันแท้จริง อัล-กุรอานกล่าวว่า

“พระผู้อภิบาลของเจ้าได้มีบัญชาว่า เจ้าจงอย่าเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอฮฺ และจงทำดีกับบิดามารดาทั้งสองท่าน” (ซูเราะฮฺ บะนีอิสรออีล : ๒๓)

มีรายงานจำนวนมากมายที่กล่าวถึงบาปใหญ่หลังจากการตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ คือ การประพฤติที่ไม่ดีกับบิดามารดา อัล-กุรอานได้กล่าวอีกว่า
“และถ้าหากคนหนึ่งจากทั้งสองหรือทั้งสองท่าน ได้ถึงวัยชราภาพเจ้าก็จงอย่ากล่าวแก่ทั้งสองด้วยคำพูดที่ไม่ดี “อุฟ” เจ้าจงอย่าขู่ตะคอกแก่ทั้งสอง จงพูดกับทั้งสองท่านด้วยคำพูดที่อ่อนโยน นอบน้อมและอ่อนหวาน” (ซูเราะฮฺ บะนีอิสรออีล : ๒๓)

สิทธิของบิดามารดา
ฐานันดรของบิดามารดาที่มีต่อบุตรและครอบครัวนั้น เปรียบเป็นต้นไม้ก็คือรากแก้วที่ทำหน้าที่ยึดลำต้นมิให้ล้มทลาย และเป็นที่มาของกิ่งก้านและดอกใบ บิดามารดาคือผู้ที่สร้างฐานอันมั่นคงแก่บุตรและเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่แท้จริงให้กับครอบครัวและเป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคม

การประพฤติไม่ดีหรือแสดงมารยาทที่ต่ำทรามหรือทำการกลั่นแกล้งท่านทั้งสอง คือเป็นคนอกตัญญูที่สุดที่ไม่รู้จักบุญคุณของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุญคุณของบิดามารดาที่ไม่มีวันตอบแทนได้หมดสิ้น การแสดงกริยาไม่ดีกับบิดามารดา ประหนึ่งได้สลัดความเป็นมนุษย์ออกไปจากตนจนหมดสิ้น เป็นการทำลายคุณค่าของความเป็นคนและสังคมให้พินาศย่อยยับ เพราะบรรดาเยาวชนคือทรัพยากรที่ดีได้อย่างไรซึ่งต้นเหตุมาจากการที่พวกเขา ประพฤติไม่ดีกับบิดามารดา จนทำให้ท่านทั้งสองเหนื่อยล้าและหมดกำลังใจที่จะสั่งสอน แต่โดยปรกติแล้วไม่มีบิดามารดาท่านใดบนโลกนี้ที่ไม่มีความปรารถนาดีกับบุตรของตน บิดามารดาทุกท่านปรารถนาจะเห็นบุตรและธิดาของตนมีความก้าวหน้า มีการพัฒนาเป็นผู้มีหน้ามีตาในสังคม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีและมีอนาคตที่สูงส่งและก้าวไกล โดยธรรมชาติของผู้เป็นบิดามารดา สามารถอดทนต่อความประพฤติที่ไม่ดีของบุตรได้เสมอ มีความเจ็บปวดแทนและความห่วงใยพวกเขาตลอดเวลา แม้ว่าพวกเขาจะเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวหรือเป็นผู้ใหญ่ไปแล้วก็ตาม จึงเห้นได้ว่าไม่มีพลังแห่งความรักใดที่จะยิ่งใหญ่เกินไปกว่าพลังแห่งความรักของบิดามารดาที่มีต่อบุตร สิทธิของท่านทั้งสองที่มีต่อบุตรจึงมากมายเสียเหลือเกิน แม้ว่าท่านทั้งสองจะจากไปแล้วก็ตาม

สิทธิของบุตรที่มีต่อบิดามารดา
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเป็นของตนเองมากน้อยเป็นไปตามลำดับ แต่มิได้หมายถึงว่าเขามีสิทธิเสรีภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยผู้หนึ่งผู้ใดจะมายุ่งกับเขาไม่ได้อีก ในอีกความหมายก็คือ ทุกคนมีสิทธิแต่อยู่ภายใต้กรอบและเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้

มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาให้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ชั่วคราว และมีอายุไขสั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้นเขาก็จะต้องจากไป ด้วยเหตุนี้พระผู้เป็นเจ้าจึงได้จัดวางระบบการเจริญพันธุ์และระบบสืบวงศ์ ตระกูลเอาไว้ในหมู่ประชาชติ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มนุษย์สูญพันธ์ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์อันดีงามในสังคมจากบรรพชนมาสู่ ลูกหลาน

โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วย่อมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า บุตรและธิดาคือส่วนหนึ่งของเขา การคงอยู่ของบุตรคือการคงอยู่ในฐานะตัวแทนของเขา มนุษย์จึงได้เพียรพยายามทุกอย่างเพื่อสร้างอนาคตและฐานะภาพอันมั่นคงทั้งทาง โลกและทางธรรมเพื่อบุตรของตน เพราะเขารู้ดีว่าชื่อเสียงและเกียรติยศของตนจะสูญสิ้นไปก็ต่อเมื่อบุตรและ ธิดาได้สร้างความเสื่อมเสียภายหลังจากนั้น ในขณะที่ผู้เป็นบิดามารดาไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น ท่านทั้งสองปรารถนาให้ชื่อเสียงและวงศ์ตระกูลดำรงสืบต่อไป ฉะนั้นสาเหตุสำคัญทีจะทำให้ความหวังเป็นจริง จึงขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของบิดามารดาที่ทมีต่อบุตรซึ่งถือเป็นภาระ หน้าที่ที่สำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นสิทธิของบุตรที่พึงจะได้รับสิ่งเหล่านี้จากบิดามารดา อาทิเช่น

บิดามารดาต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของกริยามารยาท และความประพฤติ ซึ่งสิ่งนี้ต้องถูกแสดงออกมาด้วยกับความจริงใจ มิใช่ภาพลวงตา เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าตนไม่ได้สร้างแนวทางที่เฉไฉให้กับบุตร บิดามารดาต้องออกห่างจากการกระทำที่ไม่ดีอย่างสิ้นเชิง เช่น ต้องไม่โกหก ด่าทอ พูดคำหยาบคาย นินทาและว่าร้ายผู้อื่น บิดามารดาต้องสรรสร้างแต่สิ่งที่ดีงามต่อหน้าบุตร เพื่อจะได้ให้เขาจดจำและลอกเลียนแบบ เช่น มีความตั้งใจและจริงจังต่อการงาน มีความอดทนอดกลั้น มีความยุติธรรม มีความเมตตาปรานีและรู้จักโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น บิดามารดาต้องออกห่างจากสิ่งที่ไร้สาระ มารยาทที่ต่ำทรามและความเห็นแก่ตัว

บิดามารดาต้องดูแลรักษาความสะอาดด้านสุขภาพพลานามัยของบุตรตลอดเวลาเพื่อจะได้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง สติปัญญาที่เฉลียวฉลาดพร้อมที่จะทำการศึกษาหาความรู้ต่อไป และต้องจัดหาปัจจัยยังชีพที่พอเพียงแก่พวกเขา

เมื่อบุตรเข้าสู่วัยที่ต้องเรียนรู้อย่างเต็มที่ (โดยปกติจาก ๗ ขวบเป็นต้นไป) ผู้ปกครองต้องส่งบุตรเข้าโรงเรียนและฝากให้อยู่ในการดูแลของครูที่ดีมีคุณภาพ เพราะคำพูดและการสอนของครูนั้นมีอิทธิพลและมีผลต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นคำพูดที่ดี คำพูดเหล่านั้นก็จะฝังอยู่ในจิตใจของเด็กตลอดไปและเป็นบรรทัดฐานสำหรับเด็กที่จะจำไปปฏิบัติและขัดเกลากริยามารยาทของเขาในวันข้างหน้า เพราะวัยนี้คือวัยของการจดจำ ถ้าเขาจดจำสิ่งที่ดีและอยู่กับคนดี เขาก็ย่อมเป็นคนดี แต่ถ้าไม่เช่นนั้นเขาก็คือมารร้ายของสังคมในอนาคต จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องสอดส่องดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

เมื่อบุตรเข้าสู่วัยของการเป็นวัยรุ่นซึ่งต้องพบปะกับผู้คนมากขึ้นเป็น หน้าที่ของผู้ปกครองงที่จะต้องพาเขาไปสู่สังคมที่มีบรรยากาศของคุณธรรมความ ดี คอยให้คำแนะนำคำปรึกษาและปลูกฝังความคิดที่ดีแก่เขา สอนให้เขารู้จักการใช้เหตุผลและการจำแนกแยกแยะว่าสิ่งใดควรไม่ควร
เป็นหน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่บุตร ทั้งหลักความศรัทธา (อุศูลุดดีน) หลักการปฏิบัติ (ฟุรุอุดดีน) และสอนให้เขารู้จักการอ่านออัล-กุรอาน

สิทธิระหว่างพี่น้อง
อัล-กุรอานได้กำชับไว้มากมายเกี่ยวกับเรื่องของครอบครัวและการเป็นพี่น้องกัน อัล-กุรอานปฏิเสธการตัดความสัมพันธ์ฉันพี่น้องออกจากกันและกัน และถือว่าญาติชั้นใกล้ชิดที่สุดหลังจากบิดามารดา คือ พี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องต้องมาก่อนและอยู่เหนือความสัมพันธ์อื่นใดทั้งสิ้น ถือเป็นหน้าที่ของพี่น้องที่ต้องเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันให้กระชับและแน่นแฟ้นอยู่ตลอดไป ต้องให้ความช่วยเหลือจุนเจือแก่กันและกันตามความสามารถ ผู้เป็นพี่ต้องรู้จักเสียสละคอยค้ำจุนส่งเสริมและเป็นห่วงเป็นใยน้อง ผู้เป็นน้องต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณและให้ความเคารพต่อที่ตลอดเวลา

การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่

การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่เสมือนเป็นการให้ความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า”

หน้าที่ของเราต่อเพื่อนบ้าน
เพื่อนบ้าน หมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันหรือยู่ในละแวกเดียวกัน มีบ้านพักอยู่ติดกันและไปมาหาสู่ถึงกันตลอดเวลาซึ่งเปรียบเสมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง ฉะนั้น การแสดงไมตรีจิตและมารยาทที่ดีหรือไม่ดีต่อกัน ย่อมเกิดผลสะท้อนมากกว่าการกระทำของคนอื่น คนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกันนั้น ในเวลากลางคืนต้องไม่ก่อเหตุวุ่นวายจนอึกทึกครึกโครมไปหมด และเป็นเหตุทำให้เพื่อนบ้านไม่ได้หลับนอนหรือพักผ่อนตามสิทธิ์ของเขา

เพื่อนบ้านต้องถามสารทุกข์สุกดิบ แสดงความเป็นห่วงใยต่อกันและกัน มิใช่ต่างคนต่างอยู่เหมือนคนที่ไม่เคยรู้จักกัน หรือคอยจ้องแต่จะให้ความห่วงใยต่อคนที่อยู่ห่างไกลกว่า ส่วนคนที่อยู่ใกล้ตัวกลับมีท่าทีเฉยเมยไม่แสดงความยินดีเมื่อเขาประสบโชคดี และไม่แสดงความเสียใจเมื่อเขาประสบโชคร้ายหรือสูญเสีย คนประเภทนี้วันหนึ่งเขาต้องถูกลงโทษแน่นอน เพราะไม่ใช่วิสัยของเพื่อนบ้านที่ดี

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ญิบรออีลได้แนะนำฉันเกี่ยวกับเพื่อนบ้านถึงขนาดที่ฉันคิดว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) คงจะให้เพื่อนบ้านเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิรับมรดก”
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวอีกว่า “ใครก็ตามที่ยอมรับว่าวันกิยามะฮฺนั้นมีจริง เขาจะไม่กดขี่รังแกเพื่อนบ้านเด็ดขาด เมื่อเพื่อนบ้านเอ่ยขอความช่วยเหลือเขาก็จะให้การช่วยเหลือ เมื่อเพื่อนบ้านมีความสุขและทุกข์หมองเขาก็จะสุขและทุกข์ตามไปด้วย และแม้ว่าเพื่อนบ้านเป็นผู้ปฏิเสธเขาก็จะไม่กลั่นแกล้ง”

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวอีกว่า “ใครก็ตามที่กลั่นแกล้งเพื่อนบ้านเขาจะไม่ได้รับไออุ่นของสวรรค์ และใครที่ไม่ใส่ใจต่อสิทธิของเพื่อนบ้านเขาไม่ใช่พวกของเรา และใครที่อิ่มหนำสำราญส่วนเพื่อนบ้านต้องหิวโหยโดยไม่แบ่งปันอาหารให้ ถือว่าเขาไม่ได้เป็นมุสลิม”

หน้าที่ของเรากับผู้อยู่ใต้การดูแลและผู้ด้อยโอกาส
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการสร้างสังคมขึ้นมานั้น ก็เพื่อขจัดปัญหาความต้องการของสมาชิกภายในสังคม ซึ่งหน้าที่สำคัญยิ่งของสังคมก็คือการให้ความช่วยเหลือดูแลแก่ผู้ด้อยโอกาส ไร้ซึ่งความสามารถ โดยที่ไม่อาจตอบสนองความต้องการให้กับตนเองได้

อิสลามกำชับตลอดเวลาว่า ผู้ที่มีความสามารถทางกำลังกายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางกำลังทรัพย์ ภายในหนึ่งปีจะต้องแบ่งปันรายได้ของตนบางส่วนเพื่อจุนเจือสัคมช่วยเหลือคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสในรูปแบบของ “ซะกาต” หรือ “คุมส์” หรือ “การบริจาคทาน” แม้ว่าจะช่วยขจัดความต้องการของเขาไม่ด้ทั้งหมดก็ตาม แต่เป็น “มุลตะฮับ” ที่ได้ช่วยต่ออนาคตให้กับเขา อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

“และเจ้าจะไม่บรรลุสู่คุณธรรม จนกว่าจะไดบริจาคบางสิ่งที่ตนรักออกไป” (ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : ๙๒)
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “คนที่ดีที่สุด คือคนที่ให้ประโยชน์กับคนอื่นมากที่สุด”
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวอีกว่า “ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพนั้น คนที่มีเกียรติและมีตำแหน่งสูงสุด ณ อัลลอฮฺ คือคนที่ทำดีและหวังดีต่อผู้อื่นเสมอ”

หน้าที่ของเราต่อสังคม
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกคนในสังคมจะต้องช่วยเหลือกันทำงาน เป็นเสมือนกิจกรรมแห่งชีวิต ซึ่งผลของการเพียรพยายามก็คือผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน และนำเอาสิ่งนั้นมาเป็นปัจจัยยังชีพเพื่อขจัดความต้องการของแต่ละคน สังคมจึงเปรียบเสมือนคนร่างใหญ่คนหนึ่ง และสมาชิกแต่ละคนก็คืออวัยวะของร่างนั้น ที่มีหน้าที่ปฏิบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปแต่มีความสอดคล้องและ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การงานของจะเป็นประโยชน์ต่อตัวและขณะเดียวกันก็จะให้ความสมบูรณ์กับอวัยวะ ส่วนอื่นด้วย ดังนั้น ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่ทำงาน จะส่งผลกระทบไปถึงอวัยวะส่วนอื่นทันที เช่น มือและเท้าทำหน้าที่ของแต่ตาไม่ประสานงานด้วย ปากทำหน้าที่เคี้ยวอาหารอย่างเอร็ดอร่อยแต่ไม่ยอมกลืนลงสู่กระเพาะ ซึ่งในที่สุดแล้วร่างกายนั้นจะอยู่ได้อย่างไร

หน้าที่ของบุคลากรในสังคมก็เช่นกัน ไม่แตกต่างอะไรไปจากหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย กล่าวคือ ขณะที่ทำประโยชน์ให้ตนเองก็ต้องเป็นประโยชน์กับสังคมด้วย ความเพียรพยายามของตนที่ได้ทุ่มเทลงไป ต้องไม่เป็นการกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเอง ต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ของตนจะต้องไม่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของคนอื่นและของ สังคม ขณะที่ตนปกป้องสิทธิของคนอื่น สิทธิของตนก็จะต้องไม่สูญเสียไปในทางกลับกัน

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “มุสลิมเป็นพี่น้องกัน อยู่ในฐานะเรือนร่างเดียวกัน มีจิตใจและเป้าหมายเดียวกัน”
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวอีกว่า “มุสลิม คือบุคคลที่ให้ความปลอดภัยกับคนอื่นทั้งวาจาและการกระทำ”
และกล่าวอีกว่า “ใครก็ตามที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า แต่ไม่สนใจต่อภาระกิจของมุสลิมคนอื่น เขาไม่ใช่มุสลิม”
ด้วยเหตุนี้ ในสงครามตะบูกจะเห็นได้ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เคลื่อนทัพออกไปเพื่อทำสงครามกับพวกโรม ขณะที่มีมุสลิมจำนวน ๓ คน ไม่ยอมเข้าร่วมสงคราม เมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยกทัพกลับ พวกเขาทั้งสามได้ออกมาต้อนรับและกล่าวสลามต่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แสดงท่าทีไม่สนใจต่อเขาและมุสลิมคนอื่น ๆ ก็ทำเช่นนั้นด้วย และเมื่อพวกเขาเสียใจมากและออกไปนอกเมืองยังภูเขาแถบนั้น เพื่อทำการขอลุแก่โทษ หลังจากนั้นไม่นานเมื่อการวิงวอนของพวกเขาได้รับการยอมรับ พวกเขาจึงกลับเข้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง

ความยุติธรรม
อัล-กุรอานและรายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กล่าวว่า “ ความยุติธรรมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ยุติธรรมต่อตนเองและสังคม”

ความยุติธรรมต่อตนเอง
หมายถึง การที่มนุษย์ไม่ทำบาป เช่น ได้หลีกเลี่ยงการโกหก การนินทาว่าร้ายและการทำบาปใหญ่ ๆ ตลอดจนความผิดบาปอื่น ๆ ดังนั้นใครก็ตามที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จะถือว่าเป็นผู้มีความยุติธรรม และถ้าหากพิจารณาตามหลักการของอิสลามแล้ว คนที่มีความยุติธรรมสามารถเป็นผู้พิพากษา เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้นำ เป็นมุจญตะฮีด (ผู้วินิจฉัยศาสนา) และมีอาชีพอื่น ๆ ทางสังคมได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวนั้นไม่อาจเป็นอะไรได้ทั้งสิ้น

ความยุติธรรมต่องคม
หมายถึง การที่มนุษย์ได้เคารพในสิทธิของผู้อื่นและของสังคมโดยเสมอภาคกัน และ ณ กฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีการเอาเปรียบและล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และในแง่ของการนำเอากฎหมายมาปฏิบัติ ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังหรือเบี่ยงเบนไปจากความยุติธรรม อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

“แท้จริง อัลลอฮฺทรงบัญชาให้มีความยุติธรรม” (ซูเราะฮฺ อัน-นะหลิ : ๙๐)
ยังมิโองการและริวายะฮอีกจำนวนมากมาย ได้มีบัญชาให้มนุษย์มีความยุติธรรม ขณะเดียวกัน พระองค์ได้ทรงสาปแช่งผู้กดขี่และไร้ความยุติธรรม

วิชาจริยธรรมได้ให้ความหมายคำว่า “ยุติธรรม” หมายถึง การปฏิบัติตัวอยู่ในสายกลางอันเป็นคุณสมบัติและความเคยชินของจิตใจ ซึ่งผู้ใดก็ตามที่มีคุณสมบัติดังกล่าว เขาจะให้ความยุติธรรมกับตนเองและสังคมเสมอ

การพูดความจริง
คำพูด คือ สื่อในการสร้างความสัมพันธ์และการติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกันมาช้านาน หรืออาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่มนุษย์คนแรกของโลกจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้น การพูดความจริงจึงถือว่าเป็นการปกป้องแก่นแท้ของความสัจจริงทั้งหลาย และถือว่าเป็นกฎเงื่อนไขที่จำเป็นของสังคม ความสมบูรณ์ของสังคมขึ้นอยู่กับการพูดความจริง ดังนั้น การพูดความจริงจึงมีคุณประโยชน์นานัปการ อาทิเช่น

การพูความจริง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กันและกัน และทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์จากคำพูดของตน
การพูดความจริง เป็นเหตุทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และไม่ต้องเดือดร้อนเพราะการพูดปด
คนที่พูดจริงเท่านั้นที่ซื่อสัตย์และไม่บิดพลิ้วต่อสัญญา เพราะคนที่มีความสัจจริงจะแสดงออกทั้งการกระทำและคำพูด
การพูดความจริง เป็นสื่อช่วยป้องกันและขจัดปัญหาความขัดแย้งให้หมดไป เพราะส่วนมาของความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสอง ฝ่ายปฏิเสธความจริง
ข้อบกพร่องและความเสื่อมเสียที่ร้ายแรงทีสุดที่ามีต่อจริยธรรมและการ กระทำที่ผิดกฎหมาย ได้เกิดขึ้นเพราะประชาชนส่วนมากมักจะเป็นผู้พูดปดทั้งสิ้น

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “มุสลิมที่แท้จริง คือ คนที่พูดความจริงแม้ว่าจะขมขื่น และความจริงจะสร้างความเสียหายให้กับตนส่วน การพูดปดจะยังผลประโยชน์เอาไว้ก็ตาม ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้จิตใจเป็นสุข”

อันตรายของการพูดปดมดเท็จ
เมื่อเข้าใจว่าการพูดความจริงคืออะไร การพูดปดก็จะปรากฏชัดเจนขึ้นมาเอง ซึ่งถือว่าการพูดปดนั้นเป็นศัตรูตัวฉกาจของสังคม ส่วนคนพูดปดคือฆาตรกรที่น่ากลัวที่มุ่งหวังแต่ทำลายล้างสังคม เพราะคำพูดปดถ้าจะเปรียบแล้วคือวัตถุดิบหรือสารเคมีประเภททำลาย ที่มักทำลายและสึกร่อนพลังแห่งการนึกคิดและสติปัญญาของสังคม อีกทั้งเป็นการปกปิดความจริงเอาไว้ ในอีกมุมหนึ่ง คำพูดปดนั้นไม่แตกต่างอะไรไปจากสุราที่เมื่อดื่มเข้าไปแล้วต้องเมาไม่ได้ สติ ไม่สามารถจำแนกได้ว่าสิ่งดีและไม่ดีคืออะไร

ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงถือว่าการพูดปดมดเท็จเป็นความผิดร้ายแรงประการหนึ่ง (บาปใหญ่) และถือว่าคนพูดปดเป็นคนที่ไม่มีศาสนาซึ่งพวกเขาต้องได้รับโทษอย่างสาหัสจากพระผู้เป็นเจ้าแน่นอน การพูดปดมดเท็จไม่ใช่เป็นการกระทำที่ชัดต่อชัรอีย(ศาสนบัญญัติ)เพียงอย่างเดียว หากเราพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าสิ่งดังกล่าวขัดกับสติปัญญาและเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจที่สุด เพราะเพียงแค่เวลาชั่วพริบตาเท่านั้น สามรถทำลายความเชื่อมั่นที่เป็นสายโยงใยของคนในสังคมให้ขาดสะบั้นลงได้ และผันแปรสภาพการมีชีวิตอยู่แบบสังคมให้กลายเป็นชีวิตที่โดดเดี่ยวและเห็นแก่ตัว แม้ว่าพวกเขาจะยังร่งมชีวิตกันอยู่ในสังคมก็ตาม

ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่า “มีคนอยู่สามกลุ่มที่ถึงแม้ว่าเขาจะดำรงการนมาซและถือศีลอด แต่ก็ยังถือว่าเป็นพวกมุนาฟิกีน (พวกกลับกลอก) ได้แก่ คนพูดปดมดเท็จ คนที่บิดพริ้วสัญญา คนที่ไม่รักษาอะมานะฮ"
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “คนที่ได้ลิ้มรสชาดที่แท้จริงของความศรัทธา คือคนที่ละเว้นการพูดปดแม้ว่าจะล้อเล่นก็ตาม”

การพูดนินทาและใส่ร้าย
การพูดถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่นแม้ว่าจะเป็นความจริงก็ตาม ถือว่าเป็นการนินทา แต่ถ้าเป็นความเท็จถือว่าเป็นการใส่ร้าย
แน่นอน นอกจากบรรดาศาสดาทั้งหลายและอิมามผู้บริสุทธิ์แล้ว อัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงสร้างใครให้เป็นผู้บริสุทธิ์อีกเลย และเนื่องจากความบกพร่องที่มีอยู่ในตัวนั้นเอง ทำให้มนุษย์ไม่อาจรอดพ้นจากความผิดพลาดไปได้แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ปกปิดเอาไว้อย่างมิดชิด และถ้าหากม่านบังตาที่ปกปิดความบกพร่องของแต่ละคนได้ถูกดึงออกไป แต่ละคนก็จะได้เห็นความน่าขยะแขยงของกันและกันและจะแสดงความรังเกียจออกมา เมื่อเป็นเช่นนั้นสังคมจะดำรงอยู่ได้อย่างไร ความพินาศย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงห้ามการนินทาว่าร้าย และตรัสว่าเป็นฮะรอมที่ร้ายแรง หากจะพูดถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่น การปล่อยให้เขาสำนึกและปรับปรุงแก้ไขตัวเองจะดีกว่า เพื่อที่เขาจะได้พบกับชีวิตใหม่ที่มีความสว่างไสวทั้งภายนอกและภายใน พระองค์ตรัสว่า

“พวกเจ้าอย่ามุ่งจับผิดผู้อื่นและอย่านินทาซึ่งกันและกัน พวกเจ้าชอบหรือที่จะกินเนื้อจากซากศพของพี่น้องของเขา” (ซูเราะฮฺ อัล-หุญรอต : ๑๒)

ส่วนใส่ร้ายผู้อื่นนั้น อิสลามถือว่ารุนแรงกว่าการนินทามากมายนัก เพราะทำให้ชีวิตของคน ๆ หนึ่งต้องตกอยู่ในสภาพที่ตายทั้งเป็น ซึ่งความน่ารังเกียจและความเลวร้ายของนั้นย่อมประจักษ์ชัด ณ ผู้พูดเสมอ

อัล-กุรอานกล่าวว่า
“ความจริงแล้ว ผู้ที่ทำการเสกสรรความเท็จขึ้นมานั้น คือพวกที่ไม่ศรัทธาในโองการของอัลลอฮฺ และพวกเหล่านั้นเป็นพวกมุสาทั้งสิ้น” (ซูเราะฮฺ อัน-นะหลิ : ๑๐๕)

การทำลายชื่อเสียงของคนอื่น
การทำลายชื่อเสียงและเกียรติยศของผู้อื่น อิสลามถือว่าเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ ซึ่งมีโทษทัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่กรณี ในบางครั้งโทษนั้นอาจเป็นการลงโทษทั่ว ๆ ไป และในบางครั้งคือการฆ่าให้ตายตกไปตามกัน การทำลายเกียรติของผู้อื่นนอกจากจะก่อให้เกิดโทษมหันต์แล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้สายสัมพันธ์ฉันเครือญาติที่อิสลามได้เน้นไว้อย่างมาก เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องได้รับการกระทบกระเทือนและส่งผลถึงข้อบัญญัติ (อะหกามอิสลาม) บางเรื่อง อาทิเช่น มรดกและทายาทผู้รับต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ความรักและความผูกพันธ์ทางครอบครัวซึ่งสถาบันครอบครัวนั้นอิสลามถือว่าเป็นแก่นและรากฐานที่แท้จริงของสังคมต้องพลอยด่างพร้อยและล่มสลายไปด้วย

การกระทำในทำนองนี้ อิสลามถือว่าเป็นวิธีการที่ต่ำทรามที่สุดและเป็นความผิดขั้นรุนแรง ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาไว้แล้วว่าพวกเหล่านี้ต้องถูกลงโทษอย่างสาหัสที่สุด และแม้ว่าจะเป็นความผิดเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้ชื่อเสียงและ เกียรติยศของเขาสูญสิ้นไปจากสังคม
คนที่ได้ทำความผิดซึ่งเป็นบาปใหญ่นั้น เท่ากับได้ทำลายความยุติธรรมของตนเองและสูญเสียสิทธิต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับจากสังคมไปอย่างสิ้นเชิง อิสลามถือว่าจนจำพวกนี้ไม่มีสิทธิประกอบอาชีพหลายอย่างภายใต้การปกครองของ อิสลามได้ พวกเขาไม่สามารถเสนอตัวเป็นผู้นำได้เลย ไม่อาจเป็นอิมามนำนมาซได้เด็ดขาด การเป็นพยานของเขาไม่ถูกยอมรับจนกว่าเขาจะทำการขออภัยโทษ กลับตัวกลับใจ สร้างความศรัทธาและขัดเกาจิตใจให้กลับกลายเป็นผู้มีความยุติธรรมอีกครั้ง

การติดสินบน
ทรัพย์สินหรือของกำนัลอื่น ๆ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลเพื่อเบี่ยงเบนหรือจูงใจให้ผู้นั้นกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ก็ตาม เรียกว่า “สินบน”
อิสลามถือว่าการให้และรับสินบนเป็นบาปใหญ่ และเป็นการทำลายความมั่นคงของสังคมศาสนาและความยุติธรรมของตนเอง ซึ่งต้องถูกลงโทษทัณฑ์อย่างรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า อัล-กุรอานและวัจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ให้ ผู้รับและผู้เป็นสื่อในการติดสินบน ล้วนต้องประสบคำสาปแช่งทั้งสิ้น”

ท่านอิมาม ญะอฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) กล่าวว่า “การรับสินบนในการพิจารณาคดีความร้ายแรงเท่ากับการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า”
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โทษทัณฑ์ที่กล่าวมาเป็นของพวกที่รับสินบนเพื่อทำตามความถูกต้องหรือเพื่อคาวมยุติธรรม ซึ่งถ้ารับสินบนเพื่อทำผิดกฎหมายหรือเพื่อการกดขี่แล้วละก็ โทษของรุนแรงและหนักยิ่งกว่านี้หลายเท่านัก

การลักขโมย
ขโมย เป็นอีกพวกหนึ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงของสังคม เป็นธรรมดาที่ในชีวิตของคน ๆ หนึ่งได้พยายามทำงานและขวนขวายหาเงินทองด้วยหยาดเหงื่อของตนเอง และพร้อมที่จะปกป้องด้วยชีวิตเพื่อให้รอดจากน้ำมือของพวกขโมยและพวกฉ้อฉล ทั้งหลาย ก็เพื่อที่จะให้ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตและเป็นหลักประกันทางสังคม ซึ่งถ้าทรัพย์สินของเขาไม่มีความปลอดภัย ก็ย่อมเกิดความปั่นป่วนและวุ่นวายไปทั้งระบบ และไม่ยุติธรรมเลยสำหรับชีวิตของคน ๆ หนึ่งที่ได้ทุ่มเทหยาดเหงื่อแรงกายตลอดอายุไขของตนเพื่อทำงานแลกเงิน แต่ต้องมาสูญสิ้นไปเพราะน้ำมือของพวกขโมยหรือพวกฉ้อฉล

อิสลามจึงวางโทษที่รุนแรงสำหรับขโมยไว้ว่า พวกเขาต้องถูกตัดนิ้วมือขวาสี่นิ้วด้วยกัน อัล-กุรอาน กล่าวว่า
“ขโมยทั้งหญิงและชาย มือขวาของเขาทั้งสองต้องถูกตัดเพื่อตอบแทนการกระทำที่ทั้งสองได้ก่อขึ้น และเป็นบทลงโทษให้หลาบจำจากอัลลอฮฺ” (ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮ : ๓๘)

สังคมที่ดี
ผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ไม่อาจหลีกเลี่ยงการพบปะกันได้ ซึ่งการพบปะกันนั้นก็เพื่อรักษาสถานภาพของสังคมให้คงอยู่ เพื่อความก้าวหน้า การพัฒนาทางวัตถุและจิตใจ หรืออย่างน้อยสุดก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการแก้ไขปัญหาในการ ดำเนินชีวิตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ฉะนั้น การคบค้าสมาคมกับคนอื่นต้องเป็นไปเพื่อการสร้างสรรและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรสหาย รักใคร่กลมเกลียวกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งความสัมพันธ์นั้นจะต้องดีขึ้นและจำนวนเพื่อนฝูงก็จะต้องเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ถ้าการคบเพื่อนเป็นไปอย่างเย็นชาและแล้งน้ำใจต่อกัน ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่ความเห็นแก่ตัวและการมีจิตใจคับแคบ ซึ่งในที่สุดแล้วเขาก็จะถูกโดดเดี่ยวให้อยู่ตามลำพังแต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งยังถูกสังคมรังเกียจ สภาพชีวิตเช่นนี้ไม่แตกต่างอะไรไปจากคนแปลกหน้า เป็นสภาพชีวิตที่ขมขื่นที่สุด เพราะเขาจะถูกยกเป็นตัวอย่างของคนไม่ดีตลอดไป




จริยธรรมอิสลาม จริยธรรมอิสลาม

อิสลามจึงได้เน้นกำชับไว้อย่างหนักว่าให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น พร้อมกับแนะนำมารยาทและกฏเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคมเอาไว้ เช่น มุสลิมเมื่อพบกันต้องให้สลามกัน และผู้ที่กล่าวสลามก่อนย่อมมีความประเสริฐมากกว่า

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จึงเป็นคนเดียวที่กล่าวสลามก่อนคนอื่นเสมอ เมื่อเจอกันไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้หญิง แต่ถ้าผู้นั้นได้กล่าวสลามก่อน ท่านก็จะตอบรับสลามของเขาอย่างสมบูรณ์

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
“เมื่อพวกเจ้าได้รับการคารวะก็จงคารวะตอบให้ดีงามกว่า หรือตอบคารวะนั้นโดยเท่าเทียมกัน” (ซูเราะฮฺ อัน-นิสาอ : ๘๕)

และทรงกำชับอีกว่า เจ้าจงแสดงความอ่อนน้อมเมื่อเจอกันและจงให้ความเคารพต่อผู้อื่นเสมอ พระองค์ทรงตรัสว่า
“บ่าวที่ดีสุดของพระองค์ คือ ผู้ที่เดินบนแผ่นดินด้วยความนอบน้อม” (ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน : ๖๓)

ความนอบน้อมไม่ได้หมายถึงการปล่อยวางอุดมคติและทัศนวิสัยของตน จนเกิดผลกระทบในเชิงลบต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การให้ความเคารพต่อประชาชนไม่ได้หมายความถึงให้ความเคารพถึงขั้นประจบสอพลอหรือให้การสรรเสริญจนเกินความเป็นจริง แต่หมายถึงการให้เกียรติและให้ความเคารพเท่าที่ศาสนาและสังคมอนุญาต เช่น การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ให้ถือตามอาวุโสของท่าน ส่วนบุคคลอื่น ๆ นั้นให้พิจารณาตามความเหมาะสม

การเคารพและให้เกียรติผู้คนไม่ได้หมายความว่า เมื่อเห็นความไม่ถูกต้องและความไม่ชอบมาพากลแล้วเราต้องนิ่งเงียบ ในห้องประชุมหากเราได้พบผู้ร่วมประชุมกำลังทำในสิ่งที่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง ปฏิบัติตนขัดกับกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎเกณฑ์ของศาสนาแล้ว เรายังต้องนั่งร่วมประชุมอีกทั้งทำตัวเป็นสมัครพรรคพวก โดยเกรงกลัวในอำนาจหรืออิทธิพลของพวกเขา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเคารพให้เกียรติประชาชนก็คือ การที่เราได้เคารพในความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี และการเป็นผู้มีศาสนา ไม่ได้เคารพในรูปพรรณสันฐานหรืออำนาจของเขา ถ้าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการเป็นผู้มีศาสนาได้หมดไปจากเขา การเคารพและการให้เกียรติต่อเขาถือว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “เจ้าจงอย่าทำผิดต่ออัลลอฮฺอันเนื่องมาจากการยอมจำนนต่อผู้อื่น”

การสานมิตรภาพกับคนดี
และเนื่องจากการที่ต้องอยู่ร่วมสังคมกับคนอื่น ๆ อีกมากมาย ฉะนั้นเราจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกวิถีชีวิตให้กับตนเอง และสามารถที่จะเลือกคบค้าสมาคมกับใครก็ได้ซึ่งพวกเขาอยู่ในฐานะของเพื่อน แต่สิ่งที่ต้องระวังอยู่ตลอดเวลา คือการลอกเลียนแบบบุคลิกและนิสัยใจคอซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถ่ายทอดโดยอัตโนมัติ ถ้าเพื่อนเป็นคนดีก็ย่อมไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเพื่อเป็นคนไม่ดีนั่นคือปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อิสลามจึงเน้นไว้อย่างมากว่า จงเลือกคบแต่เพื่อนที่ดี เพราะสิ่งที่เพื่อนควรจะได้รับจากเพื่อนคือมารยาทที่ดีงาม ความปรารถนาดี ความจริงใจและความมั่นคงในการเป็นมิตรสหายต่อกัน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ เราจะได้กลายเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนอื่นและเป็นฐานรากที่มั่นคงของสังคมในวันข้างหน้า

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “เพื่อนที่ดีที่สุดของท่านคือ เพื่อนที่ชี้นำให้ทำในสิ่งที่ดีงาม”

การคบคนไม่ดี
การคบคนไม่ดีคือการเลือกสรรสิ่งที่จะมาเสริมพลังแห่งความชั่วร้ายให้กับตัวเอง เป็นการปล่อยเวลาและโอกาสให้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดายที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถปฏิเสธสัจธรรมข้อนี้ไปได้เลย เพราะชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าเราลองถามคนไม่ดี เช่น ฆาตกร นักเลงการพนัน ขโมยหรืออันธพาลว่าโดยทั่วไปแล้ว การคบกับคนไม่ดีนั้นจะทำให้มีอนาคตอย่างไร พวกเขาก็จะตอบโดยสามัญสำนึกเหมือนกันว่า แน่นอนว่าการคบคนไม่ดีก็ย่อมทำให้กลายเป็นพวกเดียวกับคนเหล่านั้นในที่สุด ยังไม่พบว่ามีผู้ที่เป็นคนเลวเพราะตั้งปณิธานที่จะเป็นคนเลวไว้ตั้งแต่แรก

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “จงออกห่างจากการคบหากับคนไม่ดีเพราะเขาจะชักนำท่านให้เป็นเช่นเดียวกับเขา และตราบใดที่ยังครอบงำท่านให้เป็นเช่นเขาไม่ได้ เขาจะไม่เลิกคบกับท่าน”
ท่านอิมาม (อ.) ยังกล่าวอีกว่า “จงออกห่างจากเพื่อนที่ไม่ดี เพราะเขาจะขายท่านด้วยราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

เกียรติยศกับความซื่อสัตย์
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สร้างมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในรูปแบบของสังคมและต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยไม่มีใครสามารถอยู่ตามลำพังคนเดียวโดยไม่คบค้าสมาคมกับผู้อื่น จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้ไม่สงสัยเลยว่าเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งชีวิต นั้น ได้มาด้วยกับการต่อสู้และขวนขวายจนไปถึงยังเป้าหมายของตน โดยปราศจากการพึ่งพาคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของมนุษย์

เกียรติยศแห่งชีวิตคือการที่มนุษย์สามารถนำพาชีวิตของตนให้หลุดพ้นจาก สภาพของความเป็นเดรัจฉาน การตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและความบ้าคลั่งในตัณหาทั้งหาย ตรงกันข้ามบุคคลที่ไม่มีเกียรติยศ ซึ่งได้แก่ คนที่สอดส่องสายตาของตนเพื่อแสวงหาสิ่งตอบสนองให้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำ หรือขายศักดิ์ศรีความเป็นคนด้วยกับเศษสตางค์เพียงเล็กน้อยเพื่อสนองความบ้า คลั่งในตัณหา หรือยอมจำนนต่ออำนาจทุก ๆ อำนาจและก้มหัวเยี่ยงทาสที่จงรักภักดีต่อนาย เพียงเพื่อการมีชีวิตที่สะดวกสบายบนโลกนี้เท่านั้น

โดยทั่วไปแล้ว ถ้าหากเรากล่าวถึงอาชญากรย่อมหมายถึง บุคคลที่ก่ออาชญากรรม เช่น ฆาตกร ขโมย และอาจรวมไปถึงผู้ประพฤติผิดกฎหมายที่ร้ายแรงคนอื่น ๆ ด้วย ขณะเดียวกันพวกนักเลงวิ่งราว นักต้มตุ๋นที่ใช้วาทะในการพูดปดมดเท็จ พวกประจบสอพลอ พวกขายชาติ พวกครอบครัวนิยมและอื่น ๆ อีกมากมาย ล้วนเป็นมรดาตกทอดมาจากการกระทำที่ไม่ดีและการชอบขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ตลอดเวลา โดยไม่ยอมเป็นตัวของตัวเอง

แต่คนที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติยศอันเป็นอาภรณ์ที่สูงส่งสำหรับชีวิตนั้น เขาจะไม่ยอมก้มหัวให้กับสิ่งใดและใครทั้งสิ้นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกริกก้องเกรียงไกรแต่เพียงผู้เดียว และเขาจะไม่ยอมถอยหลังให้กับศัตรูที่บุกโจมตีเข้ามาอย่างหนักหน่วงและน่า กลัว และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาถือพวกที่ปกป้องสัจธรรมและคุณธรรมที่สูงส่ง ฉะนั้นศักดิ์ศรีคือสื่อที่ดีที่สุดในการค้นหาสัจธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการปกป้อง

การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อ่อนแอกว่า
การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ด้อยโอกาสกว่านั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นมาตรการของสังคมทั่วไป ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของคนที่มีความสามารถที่ต้องช่วยเหลือพวกเขา สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิอันชอบธรรม อิสลามได้กำชับถึงหน้าที่และสิทธิตรงนี้ อีกทั้งเตือนสำทับตลอดเวลาให้คนที่มีความสามารถดูแลคนที่ด้อยโอกาสกว่า

อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สัญญากับผู้ที่ประกอบคุณงามความดีและผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารีไว้ว่า
“พระองค์จะอยู่เคียงข้างและพิทักษ์ผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์”

“สิ่งที่เจ้าได้บริจาคไปเป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงของเจ้า”

“สิ่งที่สูเจ้าบริจาคไป จะย้อนกลับมาหาสูเจ้าซึ่งเจ้าจะไม่ขาดทุนใด ๆ เลย”

เป็นธรรมดาของสังคมที่ภายในสังคมหนึ่งนั้น ย่อมมีชนกลุ่มหนึ่งที่มีความสามารถในการทำงานและอีกกลุ่มไร้ซึ่งความสามารถ ซึ่งกลุ่มที่ไร้ความสามารถนั้นหากไม่ได้รับการดูแล พวกเขาก็จะกลายเป็นตัวถ่วงของสังคมและทำให้สังคมเกิดความล้าหลัง แต่ถ้าพวกเขาได้รับการดูแลช่วยเหลือจากกลุ่มที่มีความสามารถ แน่นอน สังคมย่อมได้รับบทสรุปที่ดีกว่าโดยอาจกล่าวได้ว่า

การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เป็นการสร้างสายใยแห่งความรัก และความสัมพันธ์ให้แก่จิตใจของผู้ด้อยโอกาส เป็นการปิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
เป็นการลงทุนที่น้อยนิด แต่ได้รับผลกำไรจากการให้เกียรติและเคารพยกย่องมากมาย
เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงให้กับตัวอง ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ว่าบุญคุณนั้นต้องทดแทน

เป็นการสร้างความปลอดภัยและความปลาบปลื้มแก่ชนกลุ่มหนึ่งที่หมดหวังใน ชีวิตและเผชิญกับภยันตรายรอบด้าน ให้มีความหวังขึ้นมา
จากการบริจาคที่บางคนอาจมองไม่เห็นคุณค่านั้น ในความเป็นจริงเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมให้หมุนไปและ ฟื้นคืนชีพขึ้นจากความอ่อนแอ ซึ่งบรรดาศาสดาและอิมามได้กล่าวถึงความประเสริฐของไว้อย่างนับไม่ถ้วน

การร่วมมือ
การร่วมมือกันถือว่าเป็นฐานรากที่สำคัญยิ่งของสังคม เพราะแก่นแท้ของสังคมเกิดจากการประสานมือกันของผู้คน และด้วยกับการช่วยเหลือกันในกิจการต่าง ๆ นั่นเอง ทำให้ภาระกิจทั้งหลายสำเร็จลุล่วงไปเป็นอย่างดี การดำรงชีพของแต่ละคนมีความมั่นคงขึ้น และความต้องการของพวกเขาก็ถูกขจัดไปอย่างหมดสิ้น จะต้องไม่คิดว่าอิสลามเป็นศาสนาที่บริสุทธิ์นั้น เมื่อพูดถึงการทำความดีจะหมายถึงการช่วยเหลือด้านทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อิสลามหมายถึงการช่วยเหลือและสนับสนุนกันทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความรู้และการแสวงหา เพราะอิสลามถือว่าการศึกษาคือปัจจัยที่สำคัญสำหรับชีวิต ตราบที่มนุษย์ยังเป็นคนโง่เขลาและไร้ซึ่งการศึกษา ชีวิตการเป็นอยู่ของเขาจะพัฒนาได้อย่างไร

การส่งเสริมคุณธรรมความดี
คำยกย่องสรรเสริญ คือ บทสรุปประการหนึ่งที่เกิดจากการทำความดี ซึ่งตามความเป็นจริงในการสร้างความดีนั้น หากมีการร่วมมือและมีการสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างเต็มรูปแบบ คุณธรรมความดีนั้นก็จะบรรลุผลในระดับสูงสุดตามมา เหมือนกับการรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยคนหนึ่งถือเป็นการทำความดีอย่างมาก มาย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาคนไข้จำนวนนับร้อยคนในโรงพยาบาลไม่อาจเที่ยบ กันได้เลย เช่นเดียวกับการสอนให้นักศึกษาคนหนึ่งประสบความสำเร็จ อาจารย์ผู้สอนย่อมได้รับคำชมเชยอย่างออกหน้าออกตา แต่อาจารย์ท่านนั้นไม่อาจเทียบได้กับอาจารย์ที่สอนให้นักศึกษาทั้ง มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นความดีที่เกิดจากการสนับสนุนส่งเสริมที่ถูกต้อง และถือว่าเป็นคุณธรรมความดีขั้นสูงสุดประการหนึ่ง

ภาษาธรรมได้เรียกการส่งเสริมคุณธรรมความเหล่านี้ว่า เป็นการ “เศาะดะเกาะฮที่มีผลต่อเนื่อง” (การบริจาค) ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่า “มีอยู่ด้วยกัน ๒ ประการที่เป็นเหตุทำให้มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรื่องคือ การมีบุตรที่ดีและการบริจาคธรรมที่มีผลต่อเนื่อง”

ดังที่เราพบหลักฐานมากมายทั้งจากอัล-กุรอาน และซุนนะฮของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ที่กล่าวว่า “เมื่อมนุษย์ได้ทำความดีประการหนึ่ง พระองค์จะบันทึกความดีของเขาไว้อย่างมากมาย”

การล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินของเด็กกำพร้า
ผู้สร้างคุณธรรมความดี เป็นที่ยอมรับและย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ ในทำนองเดียวกัน การก่อกรรมชั่วเป็นสิ่งถูกปฏิเสธและได้รับการประณามสาปแช่ง อิสลามได้สั่งห้ามการก่อกรรมชั่วและการกดขี่ทุกประเภทอย่างเด็ดขาด และได้เน้นไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับการกดขี่บางประเภทเช่น การล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินของเด็กกำพร้า ซึ่งการละเมิดดังกล่าวนี้อิสลามถือว่าเป็นหนี่งในบาปใหญ่และต้องได้รับโทษ ทัณฑ์อย่างสาหัส อัล-กุรอานเน้นว่าผู้ที่กินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า แท้จริงเขาได้กลืนกินไฟนรกลงไป ซึ่งในไม่ช้าเขาจะถูกจับโยนลงไปในไฟนั้น

บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้อธิบายว่าสาเหตุที่ผู้ล่วงละเมิดทรัพย์สินของเด็กกำพร้าต้องได้รับโทษอย่างรุนแรง เป็นเพราะว่าถ้าหากพวกเขาได้ล่วงละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น เจ้าของทรัพย์ยังสามารถปกป้องทรัพย์สินของตนได้ แต่สำหับเด็กกำพร้าจะไปป้องกันและสู้รบตบมือด้วยได้อย่างไร

การฆ่าชีวิตผู้อื่น
อีกประหนึ่งของการกดขี่ที่อิสลามได้สั่งห้ามเอาไว้คือ การฆ่าชีวิตของผู้อื่น และอิสลามได้ประณามสาปแช่งไว้อย่างรุ่นแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตบริสุทธิ์ของผู้ศรัทธา
การฆ่าชีวิตผู้อื่นเป็นบาปใหญ่ ดังที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า การฆ่าชีวิตแม้เพียงชีวิตเดียวก็เหมือนกับได้ฆ่าชีวิตทั้งหมด เพราะฆาตกรก็ยังพัวพันอยู่กับสังคม มีการไปมาหาสู่สร้างความบั่นทอนและหดหู่ใจแก่ผู้พบเห็น อิสลามถือว่าความเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ที่คนเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม มนุษย์ก็คือมนุษย์ที่เหมือนกัน

การหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า
บาปที่อันตรายที่สุดในอิสลามคือ การหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่า
“จงประกาศเถิด โอ้มวลข้าทาสของข้าที่หลงระเริงอยู่กับการทำบาป พวกเจ้าอย่าหมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงอภัยโทษทั้งมวล พระองค์ทรงเป็นผู้อภัยและเมตตายิ่งเสมอ” (ซูเราะฮฺ อัซ-ซุมัร : ๕๓)

อิสลามถือว่าการหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า คือต้นเหตุที่ทำให้กลายเป็นผู้ปฏิเสธทันที เพราะผู้ที่หมดหวังในความเมตตาและการอภัยของพระองค์ จะทำให้จิตใจของพวกเขาห่อเหี่ยวเหมือนจิตใจที่ตายด้านที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ดีใจเมื่อได้กระทำความดีและไม่เสียใจเมื่อกระทความผิดทั้งที่เป็นบาปใหญ่ หรือความน่ารังเกียจอื่น ๆ ทั้งหลาย เพราะกำลังใจที่แท้จริงของสิ่งเหล่านี้ คือความหวังในความเมตตาและการช่วยเหลือให้รอดพ้นจากไฟนรก แต่ความหวังเช่นนั้นมิได้มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา ฉะนั้น จะแตกต่างอะไรกันกับผู้ปฏิเสธคนหนึ่งที่จิตใจของเขาไม่เคยมีความหวังในความ เมตตาและไม่เคยภักดีต่อคำสอนของศาสนา

การหลบหนีการทำสงครามศาสนา
การหลบหนีการทำสงครามศาสนาหรือหันหลังให้กับศัตรู หมายถึง คนที่คิดว่าชีวิตของตัวเองมีเกียรติและมีค่ามากกว่าที่จะมาทุ่มเทและเสียสละ เพื่อสังคม ในที่สุดแล้วก็คือการ่ยอมจำนนให้ศัตรูมาบังคับขู่เข็ญและมีอิทธิพลเหนือ ศาสนาชีวิตและทรัพย์สินของตน ด้วยเหตุนี้ การหนีสงครามหรือหลีกเลียงการปกป้องศาสนาจึงถือว่าเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ (ซบ.)ได้ตรัสถึงพวกที่หนีสงครามศาสนาว่า พวกเขาจะต้องได้รับการลงโทษในไฟนรกอย่างแน่นอน

“และผู้ใดหันหลังหนีศัตรูในวันนั้น ยกเว้นผู้ที่ทำเป็นหนีเพื่อลวงศัตรูในการรบหรือบุคคลที่ผละไปสมทบกับอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น พวกเขาได้กลับไปสู่ความกริ้วของอัลลอฮฺ ที่อยู่ของพวกเขาคือไฟนรกซึ่งเป็นที่อยู่ที่เลวร้ายยิ่งนัก” (ซูเราะฮฺ อัล-อัมฟาล : ๑๖)

การปกป้องมาตุภูมิ
การปกป้องสังคมหรือดินแดนอิสลามอันเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดามุสลิม เป็นหนึ่งในข้อบังคับ (วาญิบ)ที่สำคัญยิ่งของอิสลาม อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
“และเจ้าทั้งหลายจงอย่าได้กล่าวแก่บุคคลที่ถูกฆ่าตายในหนทางของอัลลอฮฺว่าพวกเขาคือผู้ตาย ความจริงพวกเขายังมีชีวิตอยู่แต่พวกเจ้าไม่สำนึก” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮ : ๑๕๔)

ตั้งมากมายจากบรรดาบรรพชนก่อนหน้านี้ที่พวกเขาได้เข้ารับอิสลามและทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อปกป้องศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของตน พวกเขาได้สู้รบในสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า เลือดของพวกเขาได้หลั่งรินและในที่สุดพวกเขาก็ได้พลีชีพในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า(ชะฮีด)เพื่อธำรงไว้ซึ่งอิสลาม แม้ว่าจะเป็นความยากลำบากและต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการจากศัตรู แต่พวกเขามิได้เคยย่อท้อเลยแม้แต่นิดเดียว สิ่งเหล่านั้นเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าที่สุดแก่ชนรุ่นหลัง เพื่อย้ำเตือนให้สำนึกว่าศาสนาของพวกเขาถูกปกป้องไว้ด้วยเลือดและอุดมการณ์จึงแข็งแรงและดำรงอยู่สืบจนถึงปัจจุบัน

การปกป้องสัจธรรม
การปกป้องสัจธรรม ถือว่ามีความล้ำลึกและสำคัญมากกว่าการปกป้องมาตุภูมิของตนเอง ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นเครื่องหมายและอุดมการณ์ที่แท้จริงของอิสลาม อิสลามได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะวางรากฐานและปลูกฝังจิตวิญญาณให้บรรดา มุสลิมมีความรักและหวงแหนต่อสัจธรรม ด้วยเหตุนี้ จึงได้ถูกเรียกว่าเป็นศาสนาที่เที่ยงธรรม เพราะมีกำเนิดและดำรงอยู่เพื่อสัจธรรมเพียงอย่างเดียว อัล-กุรอานกล่าวว่า

“ อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์ที่ชี้นำสู่สัจธรรมและแนวทางที่เที่ยงตรง” (ซูเราะฮฺ อัล-อะหกอฟ : ๓๐)
ฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุสลิมทั้งหลายที่จะต้องปฏิบัติตาม ทำและพูดเพื่อสัจธรรมเท่านั้น และจะต้องทำทุกอย่างเพื่อปกป้องแม้ว่าต้องเสียสละชีวิตก็ตาม

ความโกรธ
ความโกรธ คือสภาพของจิตใจที่เกิดจากความไม่พอใจหรือขุ่นเคืองอย่างรุนแรงและคิดที่จะทวงคืนหรือล้างแค้นตลอดเวลา ซึ่งตราบใดก็ตามที่ยังไม่ได้ชำระแค้นจะไม่สบายใจ คนเราถ้าอยู่ในห้วงอารมณ์ความโกรธจะปราศจากการยับยั้งชังใจ ควบคุมสติไม่อยู่ อารมณ์จะอยู่เหนือสติสัมปชัญญะ นึกอะไรได้ก็อยากจะทำทันทีไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตามสภาพจิตใจในเวลา นั้นมีความร้ายกาจกว่าสัตว์ร้าย และมีความร้อนแรงกว่า เพลิงที่กำลังลุกฉาน จึงมีการเปรียบเปรยความโกรธว่าเป็นความโง่ โมโหคือความบ้า

อิสลามได้แนะนำไว้อย่างมากว่า มนุษย์จะต้องรู้จักอดทนอดกลั้นต่อความโกรธ และกล่าวประณามผู้ที่พลิกทุกอย่างเพื่อความโกรธแค้นในขณะเดียวกัน ได้กล่าวชมเชยผู้ที่มีความอดกลั้นและกลืนความโกรธแค้นลงในทรวงอกและพร้อมที่ จะให้อภัยวฝ่ายตรงข้าม ขณะที่ตนยังโกรธอยู่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
“สวรรค์ของพระองค์ที่มีความกว้างเท่ากับฟากฟ้าและปฐพี ได้ถูกเตรียมไวเพื่อปวงบ่าวที่ยำเกรง ซึ่งพวกเขาได้ทำการบริจาคทรัพย์ทั้งในยามสุขและยามเดือดร้อน และเป็นผู้ระงับความโกรธและให้อภัยแก่ผู้อื่น ซึ่งอัลลอฮฺทรงรักผู้ประพฤติดีทั้งหลาย” (ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน : ๑๓๔)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่แท้จริงประการหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาว่า
“เมื่อพวกเขามีความโกรธ พวกเขาก็จะให้อภัย” (ซูเราะฮฺ อัช-ชูรอ : ๓๗)

การให้ความสำคัญต่ออาชีพการงาน
อิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องการงาน และความอุตสาหะในการประกอบอาชีพเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งตามหลักการของอิสลามแล้วมนุษย์ต้องทำงานและต้องหลีกห่างจากความเกียจคร้าน ความวิริยะอุตสาหะถือเป็นฐานรากที่มั่นคง ซึ่งระบบการสร้างของพระผู้เป็นเจ้าก็วางอยู่บนฐานรากดังกล่าว พระองค์ได้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งขึ้นมาตามความเหมาะสมของสรรพสิ่ง ทรงประทานปัจจัยในการหาเลี้ยงชีพเพื่อเป็นเครื่องมือแก่ประชาชาติ เพื่อพวกเขาจะได้หาประโยชน์และขจัดความเดือดร้อนต่าง ๆ

มนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด มีความละเอียดอ่อนและมีความต้องการในทุก ๆ ด้านมากกว่าสิ่งอื่น ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงต้องอุตสาหะมากกว่าใครทั้งหมด เพื่อที่ให้ผลของความอุตสาหะนั้นพอเพียงกับความต้องการของตนและครอบครัว อิสลามเป็นศาสนาที่มีคำสอนครอบคุลมในทุก ๆด้านของชีวิตและสังคม ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการงานและความอุตสาหะ อิสลามถือว่าความเกียจคร้านในการประกอบอาชีพเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และถือว่าคนที่เกียจคร้านนั้นเป็นตัวถ่วงดุลทำให้สังคมเกิดความล้าหลังและ ปราศจากการพัฒนาไปสู่ความเจริญ

อิสลามถือว่าอาชีพสุจริตทุกประเภทล้วนมีเกียรติทั้งสิ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ที่จะต้องประกอบอาชีพตามความเหมาะสมและความถนัดของตัวเองเพื่อให้ได้ปัจจัย ในการยังชีพ และขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นการแบ่งภาระรับผิดชอบแทนสังคม ทำให้สังคมไม่เกิดปัญหาการว่างงาน

อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงตรัสว่า
“มนุษย์จะไม่ได้รับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เขาได้อุตสาหะเอาไว้” (ซูเราะฮฺ อัน-นัจมุ : ๓๙)

หมายถึง มนุษย์ทุกคนสามารถไปถึงยังเป้าหมายของตนได้ด้วยกับความพยายามและอุตสาหะ เกียจคร้านหรือเป็นคนประเภทหนักไม่เอาเบาไม่สู้นั้น จึงได้ถูกห้ามปรามไว้อย่างเด็ดขาด

การว่างงาน
จากคำอธิบายที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่า ความอุตสาหะเท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์พบกับความเจริญและมีชีวิตที่สุขสบาย ขณะเดียวกันหนทางในการดำเนินชีวิตก็จะต้องไม่เฉไฉออกไปจากแนวทางที่เที่ยงธรรม ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เป้าหมายของความเจริญคือ ชีวิตที่เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้านั้น หมายถึงว่าขณะที่มนุษย์ทำงานหาเลี้ยงชีพ เขาก็ต้องประกอบอิบาดะฮควบคู่ไปด้วย เพราะอาชีพการงานจะมีความหมายก็ต่อเมื่ออยู่คู่กับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) และการดำรงหลักการในเรื่องความยุติธรรมด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอานจึงได้ยกย่องบุคคลที่อาชีพการงานของเขามิทำให้เขาหลงลืมอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงอำนาจยิ่ง

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “เมื่อท่านยุ่งอยู่กับการทำงานและเวลาของการทำนมาซมาถึง ท่านควรต้องละจากการงานของท่านและเร่งรีบสู่การทำนมาซ การงานจะต้องไม่ทำให้ท่านติดบ่วง อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยกย่องคนกลุ่มหนึ่งโดยตรัสว่า ผู้ซึ่งอาชีพการงานหรือผลกำไรไม่ทำให้เขาออกห่างจากการรำลึกถึงพระองค์ คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพแต่เมื่อได้เวลานมาซพวกเขาก็ได้ผละจากงานและมายังมัสญิด รางวัลด้านจิตวิญญาณและการตอบแทนแก่บุคคลเหล่านั้น มากมายเสียยิ่งกว่าที่มีแก่บุคคลที่ทิ้งการประกอบอาชีพและมุ่งทำแต่การ สักการะภักดีและการทำนมาซเท่านั้น”

จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของมุสลิมมิใช้มุ่งแต่ทำการสักการะภักดีอย่างเดียว โดยมุ่งหวังรางวัลตอบแทนสำหรับโลกหน้าและละทิ้งการประกอบอาชีพการงานสำหรับ โลกนี้ โดยทำตัวเป็นพวกกาฝากศาสนา หรือไม่เอาทั้งสองอย่างเพราะกลัวความลำบากหรือความเหน็ดเหนื่อย จึงกลายเป็นผู้ไม่มีอาชีพการงาน

ท่านอิมามอะลีริฎอ (อ.) กล่าวว่า “ในการประกอบอาชีพจงอย่าแสดงความเหน็ดเหนื่อยและอ่อนแอ มิฉะนั้นท่านจะสูญเสียทั้งโลกนี้และโลกหน้า”
ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้สาปแช่งผู้ที่ทำตัวว่างงานและประพฤติตนเป็นกาฝากสำหรับผู้อื่น




จริยธรรมอิสลาม จริยธรรมอิสลาม

อาชีพเกษตรกรรม
เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่สร้างคุณประโยชน์มหาศาลแก่มนุษย์และสังคม เพราะการเกษตรนี้เองที่ทำให้มนุษย์มีอาหารและปัจจัยยังชีพ ด้วยเหตุนี้ การเกษตรจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่อิสลามให้การสนับสนุนและกล่าวว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่ดีที่สุด

ท่านอิมามญะอฟัรอัศศอดิก (อ.) กล่าวว่า “ในทัศนะของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่มีอาชีพใดที่จะดีไปกว่าการเกษตร”
มีชายผู้หนึ่งกล่าวแก่ท่านอิมาม (อ.) ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินคนพูดว่าการเกษตรเป็นอาชีพที่น่ารังเกียจและน่าชิงชัง”
ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวแก่เขาว่า “พวกเขาคิดผิด ท่านจงนำตัวของทานเข้าสู่การทำเกษตรและการเพาะปลูก ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าไม่มีอาชีพใดที่จะเป็นที่น่าชื่นชอบไปกว่าการเกษตร”

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอีกว่า “ในวันกิยามะฮตำแหน่งของบรรดาเกษตรกรนั้นสูงกว่าตำแหน่งอื่น ๆ”
ท่านอิมามมุฮัมมัดบากิร (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีอาชีพใดที่จะดีไปกว่าการทำเกษตรกรรม เพราะทั้งคนเลวและคนดีตลอดจนสัตว์บางชนิดต่างได้รับประโยชน์จากการเกษตรทั้งสิ้น และพวกเขาล้วนขอพรให้กับเกษตรกร”

ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่า “ผลิตผลที่ดีที่สุดคือผลิตผลทางการเกษตร ที่บุคคลคนหนึ่งได้เพาะปลูกมาด้วยตนเองและจ่ายภาษี (ซะกาต) ตามภาคบังคับอันเนื่องจากผลที่ได้แล้ว”

การเชื่อมั่นในตนเอง
หลักการโดยทั่วไปของอิสลามคือ บรรดาผู้ศรัทธาจะต้องไม่เคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ต้องไม่เกรงกลัวอำนาจอื่นนอกจากพระองค์ ผู้ซึ่งเป็นผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และต้องมอบหมายความไว้วางใจแก่พระองค์เท่านั้น

บรรดาสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระองค์ พระองค์คือผู้ประทานเครื่องยังชีพแก่มนุษย์และสัตว์ ด้วยเหตุนี้ ณ พระองค์และไม่มีใครดีกว่าใคร ยกเว้นผู้ที่มีความยำเกรงต่อพระองค์
มนุษย์จะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองและรู้จักใช้ประโยชน์จากเสรีภาพที่พระองค์ได้ประทานให้มา ต้องรู้จักเลือกสรรอาชีพการงานตามความสามารถและความถนัด มีความเชื่อมั่นต่อการช่วยเหลือของพระองค์ อย่าฝากความหวังไว้กับผู้อื่นและอย่าคิดว่านอกจากพระองค์แล้วยังมีคนอื่นที่คอยช่วยเหลือได้โดยไม่พึ่งพระองค์ เพราะความคิดและการทำเช่นนั้นเป็นการตั้งภาคีกับพระองค์

การเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะนำพามนุษย์ไปสู่เป้าหมาย และความสำเร็จ และตราบใดที่บุคคลนั้นไม่มีความมั่นใจในตัวเองก็อย่างหวังเลยว่าเขาจะประสบความสำเร็จ ฉะนั้น ต้องมั่นใจตลอดเวลาว่าเมื่อใดก็ตามที่ลงมือทำงาน อัลลอฮฺ (ซบ.) จะให้ความช่วยเหลือและประทานความสำเร็จ ซึ่งบุคคลอื่นไม่ใช่ที่พึ่งสำหรับตน พวกเขาเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น และถ้ายังฝากความหวังไว้กับพวกเขาอีกก็เท่ากับว่าเราพยายามที่จะอกตัญญูต่อพระองค์

การโกงตราชั่ง
อิสลามสั่งห้ามการโกงตราชั่งไว้อย่างเด็ดขาด และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สาปแช่งพวกที่โกงไว้ว่า
“ขอความหายนะจงประสบแก่บรรดาผู้โกงตราชั่ง และเมื่อพวกเขาตวงเอาจากผู้อื่นเขาจะตวงจนเต็ม แต่เมื่อพวกเขาตวงหรือชั่งให้กับคนอื่นพวกเขาจะทำให้พร่องลง ไม่คิดหรือว่าพวกเขานั้นจะถูกทำให้ฟื้นในวันที่ยิ่งใหญ่” (ซูเราะฮฺ อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน : ๑-๕)

การโกงตราชั่งนอกจากจะเป็นการเอาเปรียบแล้ว ยังถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นขาดความมั่นใจและลูกค้าก็จะลดน้อยลงในที่สุด ซึ่งตนนั่นแหละเป็นผู้ขาดทุนเพราะไม่มีลูกค้าเข้าร้านและต้องเลิกกิจการ

การเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ตรัสถึงการเอารัดเอาเปรียบไว้ในอัล-กุรอานมากมายหลายโองการด้วยกัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้มนุษย์ได้ยั้งคิดและออกห่างการเอารัดเอาเปรียบทุกประเภท เป็นที่ยอมรับกันถ้วนหน้าว่าการกดขี่และเอารัดเอาเปรียบนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ดีและเป็นที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเคยประสบด้วยตนเองว่าการกดขี่นั้นมีผลเสียต่อสภาพจิตใจและสังคมอย่างรุนแรงตั้งมากมายเพียงใด การสูญเสียอิสระภาพ ผลประโยชน์ทรัพย์สินเงินทองชีวิตเลือดเนื้อและมาตุภูมิของตน เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นเพราะการกดขี่และเอารัดเอาเปรียบ

การกดขี่เฉพาะภายนอกเท่านั้นที่ดูว่ามั่นคงแข็งแรง แต่ภายในของอ่อนแอเพราะฐานรากไม่มั่นคง ซึ่งต้องพบกับความพินาศย่อยยับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺ ไม่ทรงชี้นำกลุ่มชนที่กดขี่” (ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม : ๑๔๔)

บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) กล่าวว่า “บรรดาผู้ปกครองและกษัตริย์จะคงสภาพของผู้ปฏิเสธ ส่วนผู้กดขี่จะไม่คงไว้ซึ่งสภาพใดเลย”
ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงถือว่าการกดขี่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจและผิดปกติวิสัยของมนุษย์ทั่วไป เป็นการอธรรมทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นซึ่งการกดขี่นั้นถือว่ามิใช้คุณสมบัติของมนุษย์ เป็นคุณสมบัติของมารและสัตว์เดรัจฉาน

การสร้างความเดือดร้อนและพฤติกรรมที่ชั่วร้าย
พฤติกรรมทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมาก เพราะเมื่อเอ่ยถึงการสร้างความเดือดร้อน ย่อมเป็นที่เข้าใจกันทุกคนว่า หมายถึงพฤติกรรมของคนไม่ดีที่ชอบรังแกหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบางครั้งอาจจะกลั่นแกล้งด้วยวาจา โดยการพูดจาเสียดสีทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องเสียหน้าและอับอายผู้อื่น หรือกล่าวประจานต่อหน้าสาธารณชน หรือพูดจาในเชิงล้อเล่นแต่มีเจตนาให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และในบางครั้งก็แสดงพฤติกรรมที่ชั่วร้ายออกมา เพื่อให้ผู้อื่นหวาดกลัวหรือได้รับความเดือดร้อน และในบางครั้งตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา เพื่อให้เกิดความระสำระส่ายในสังคม เป็นการสร้างบรรยากาศโดยมีเจตนาโน้มนำผู้อื่นไปสู่การกระทำที่เหมือนตัวเอง

อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะสองประการข้างตนนี้ คือประเด็นที่อยู่ตรงกันข้ามกับความหวัง ซึ่งมนุษย์ส่วนมากร่วมมือกันสร้างสังคมขึ้นมา ก็เพื่อที่จะใช้เป็นสื่อในการก้าวสู่ความหวังและความฝันของตน สังคมจึงมีความหมายต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงให้ความสำคัญกับสังคมและการปรับปรุงแก้ไขไว้ในลำดับแรก และห้ามกระทำการใด ๆ ที่เป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า
“และบรรดาผู้ที่กลั่นแกล้งมุสลิมทั้งที่เป็นชายและเป็นหญิงอย่างไร้เหตุผล แน่นอนพวกเขาย่อมต้องแบกความเท็จและบาปอันยิ่งใหญ่เอาไว้” (ซูเราะฮฺ อัล-อะหซาบ : ๕๘)
ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่กลั่นแกล้งมุสลิมเท่ากับได้กลั่นแกล้งฉัน และการกลั่นแกล้งฉันก็เหมือนกลั่นแกล้งพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคนพวกนี้ได้ถูกสาปแช่งเอาไว้ทั้งในคัมภีร์เตารอต อิลญีลและอัล-กุรอาน”




จบบริบูรณ์

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้ปรับเนื้อหาคำแปลบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่