นี่คือวิถีสัจธรรม

นี่คือวิถีสัจธรรม0%

นี่คือวิถีสัจธรรม ผู้เขียน:
กลุ่ม: เสวนาปัญหาศาสนา
หน้าต่างๆ: 6

นี่คือวิถีสัจธรรม

ผู้เขียน: มุกอติล อิบนุ อะฏียะฮ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 6
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30362
ดาวน์โหลด: 679

รายละเอียด:

นี่คือวิถีสัจธรรม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 6 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 30362 / ดาวน์โหลด: 679
ขนาด ขนาด ขนาด
นี่คือวิถีสัจธรรม

นี่คือวิถีสัจธรรม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
นี่คือวิถีสัจธรรม นี่คือวิถีสัจธรรม
บันทึกโดย มุกอติล อิบนุ อะฏียะฮ์
แปลโดย: เชคอบูนัสรีน



بسم الله الرحمن الرحيم
เกริ่นนำ
หนังสือ “การถกระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ ณ กรุงแบกแดด” ที่ท่านผู้มีเกียรติกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้กษัตริย์ “มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์” ได้รับสั่งให้ “นิซอมุลมุลก์” ประธานองคมนตรี และเป็นนักปราชญ์ผู้คงแก่เรียน ให้เชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺมาถกทางวิชาการ โดยเขาเป็นพิธีกรดำเนินรายการ และมีกษัตริย์เป็นประธานในพิธี

เรื่องราวมีอยู่ว่า กษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ เป็นนักปกครอง นักบริหารที่มีโลกทัศน์เปิดกว้าง เป็นคนรุ่นใหม่ (ในยุคนั้น) ที่ชอบค้นคว้าแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง ท่านจะไม่ยอมปล่อยให้อำมาตย์ข้าราชบริพาล ชี้นำโดยปราศจากหลักตรรก อย่างไรก็ตามถึงแม้พระองค์จะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่พระองค์ยังรักชอบการพักผ่อนหย่อนใจและการล่าสัตว์เป็นชีวิตจิตใจอีกด้วย

นี่คือวิถีสัจธรรม
การเสวนาระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ ณ กรุงแบกแดด

ผู้บันทึก: นักประวัติศาสตร์นาม “มุกอติล อิบนุ อะฏียะฮฺ”

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ ศานติจากพระองค์จงประสบแด่มุหัมมัด (ศ) ศาสดาผู้ถูกส่งลงมาเพื่อความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง และบรรดาทายาทผู้สะอาดบริสุทธิ์ และกัลยาณมิตรผู้มีความสวามิภักดิ์และจงรักภักดีต่อท่าน
หนังสือที่ท่านผู้มีเกียรติกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้มีชื่อว่า “การถกเถียงระหว่างอุละมาอ์สุนนีกับชีอะฮฺ ณ กรุงแบกแดด” ซึ่งกษัตริย์ “มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์” ได้ทรงรับสั่งให้ “นิซอมุลมุลก์” ประธานองคมนตรี ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้คงแก่เรียนให้เชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺให้มาร่วมถกทางวิชาการ โดยที่เขาได้รับเกียรติจากกษัตริย์ให้เป็นพิธีการดำเนินรายการ และมีกษัตริย์เป็นประธานในพิธี

เรื่องราวมีอยู่ว่ากษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ ผู้นี้ นอกจากจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของข้าราชบริพารอย่างไม่ลืมหูลืมตาแล้ว ท่านยังเป็นคนหนุ่มที่มีโลกทัศน์เปิดกว้าง เป็นนักบริหาร นักพัฒนาที่ยอดเยี่ยม และยังเป็นคนรุ่นใหม่ (ในยุคนั้น) ที่เป็นผู้แสวงหา ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และยังเป็นคนหนุ่มที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พระองค์จะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่ด้วยวัยหนุ่ม พระองค์จึงยังรักชอบการพักผ่อนหน่อยใจและการล่าสัตว์อีกด้วย

สำหรับนิซอมุลมุลก์ ประธานองคมนตรีนั้น ท่านเป็นนักปราชญ์ผู้มีจริยธรรมสูงส่ง สมถะและรักความสันโดษ เป็นกัลยาณชนที่ประกอบคุณงามความดี รักที่จะแสวงหาความรู้ และยังเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวและทายาทของศาสดา (ศ) อีกด้วย ท่านเป็นผู้สถาปนาสถาบันการศึกษาศาสนา “นิซอมียะฮฺ” กรุงแบกแดด และจ่ายเงินเดือนแก่นักศึกษาผู้ใฝ่หาความรู้ นอกจากนี้ ท่านยังมีความเอื้ออาทรและให้ความช่วยเหลือคนขัดสน คนอนาถาอีกด้วย

วันหนึ่ง อาลิม (นักปราชญ์) ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวชีอะฮฺ ผู้มีนามว่า “หุสัยนฺ บินอะลี อะลาวีย์” (กุดดิสสะ สิรฺรุฮฺ) ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์มะลิกชาฮฺ ภายหลังจากท่านได้อำลาจากไปแล้ว ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งแสดงท่าทางเย้ยหยัน และตลกขบขันในการมาของท่านครั้งนี้

กษัตริย์ จึงถามขึ้นว่า :- ทำไมเจ้าจึงแสดงท่าทีเย้ยหยันเขาเช่นนั้น ?

เขาจึงกล่าวว่า :- ข้า ฯ แต่ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์มิทรงทราบหรอกหรือว่า เขาคือผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ) ที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว และทรงสาปแช่งพวกเขา ?

กษัตริย์ จึงกล่าวด้วยความฉงนว่า :- ทำไมหรือ ? เขามิได้เป็นมุสลิมหรอกหรือ ?

อำมาตย์ผู้นั้น จึงกล่าวว่า :- เขาจะเป็นมุสลิมอย่างไรเล่า ในเมื่อเขาคือหนึ่งจากพวกชีอะฮฺ !

กษัตริย์ :- เป็นชีอะฮฺแล้วทำไมหรือ ? พวกชีอะฮฺมิได้เป็นมัซฮับ (แนวทาง) หนึ่งของอิสลามกระนั้นหรือ ?

อำมาตย์ จึงกล่าวว่า :- ช่างห่างไกลยิ่งนัก ! เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าพวกชีอะฮฺไม่ยอมรับว่า ท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน เป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนโดยชอบธรรมของท่านศาสดา (ศ)

กษัตริย์ :- ยังมีมุสลิมที่ไม่ยอมรับ ว่าท่านทั้งสามเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านศาสดา (ศ) หรือ ?

อำมาตย์ :- ใช่แล้ว ! เฉพาะพวกชีอะฮฺเท่านั้นที่มีความเชื่อเช่นนี้

กษัตริย์ :- ทั้ง ๆ ที่ชีอะฮฺไม่เชื่อว่าเศาะหาบะฮฺทั้งสามเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านศาสดา (ศ) เหตุใด มุสลิมจึงคงเรียกพวกเขาว่าเป็นมุสลิม ?

อำมาตย์ :- ด้วยสาเหตุนี้แหละที่ข้า ฯ กล่าวว่า อาลิมผู้นั้นคือกาฟิรฺ !

กษัตรย์ได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงกล่าวว่า :- เห็นทีจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จาก นิซอมุดดีน ประธานองคมนตรี
ดังนั้น กษัตริย์จึงได้เชิญ นิซอมุดดีน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงว่าพวกชีอะฮฺ มิได้เป็นมุสลิมหรืออย่างไร ?

ประธานองคมนตรี ได้ตอบพระองค์ว่า :- ในกรณีดังกล่าว ชาวสุนนีมีทัศนะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ บางส่วนถือว่าชีอะฮฺเป็นมุสลิม ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขามีความศรัทธา และกล่าวปฏิญาณตนถึงความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ และมุหัมมัด (ศ) คือปัจฉิมศาสดาของพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่เป็นฟุรูอุดดีน เช่น นมาซ ถือศีลอด หัจญ์ เป็นต้น ในขณะที่ชาวสุนนีบางส่วนชี้ขาดว่า พวกชีอะฮฺเป็นกาฟิรฺ (ผู้ปฏิเสธ)

กษัตริย์ จึงถามว่า :- ชาวชีอะฮฺมีจำนวนเท่าไร ?

ประธานองคมนตรี :- ข้าพเจ้าไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของพวกเขา แต่ประมาณว่าเกือบจะครึ่งหนึ่งของมุสลิมทั้งหมด

กษัตริย์ :- มุสลิมเกือบห้าสิบเปอร์เซ็นต์เป็นกาฟิรฺกระนั้นหรือ ? !

ประธานองคมนตรี :- ดังที่ข้าพเจ้าได้เรียนไปแล้วว่า มุสลิมบางส่วนเชื่อว่าพวกเขาเป็นกาฟิรฺ แต่สำหรับตัวข้าพเจ้าเองเชื่อว่า พวกเขาคือมุสลิม

กษัตริย์ :- ท่านประธานองคมนตรี ! เป็นไปได้ไหมที่เราจะเชื้อเชิญอุละมาอ์ทั้งฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺมาถกกันเพื่อเราจะได้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริง ?

ประธานองคมนตรี :- ช่างเป็นภารกิจที่แสนจะหนักอึ้งและเต็มไปด้วยอุปสรรค และข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่า ผลลัพท์บั้นปลายจะเป็นสิ่งเลวร้ายต่อพระองค์ และราชอาณาจักรของพระองค์

กษัตริย์ :- เพราะเหตุใดหรือ ? !

ประธานองคมนตรี จึงตอบว่า :- เพราะปัญหาสุนนี – ชีอะฮฺ หาใช่เรื่องตื้น ๆ และจบลงอย่างง่ายดายไม่ แต่ทว่ามันเป็นประเด็นระหว่างสัจธรรมกับความเท็จที่มีผลให้เลือดของทั้งสองฝ่ายต้องหลั่งชะโลมดินมาแล้ว หนังสือ ห้องสมุดอีกมากมายถูกเผาผลาญในกองเพลิง เด็กและสตรีต้องตกเป็นเชลยสงคราม และการรบราฆ่าฟันนับครั้งไม่ถ้วนที่เกิดจากสาเหตุนี้ ดังที่มีสารานุกรมจำนวนมากที่ได้บันทึกถึงเรื่องราวดังกล่าว !!

กษัตริย์หนุ่มถึงกับตกตะลึง เมื่อได้ฟังเรื่องราวดังกล่าวจากประธานองคมนตรี ภายหลังจากพระองค์ได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงกล่าวว่า :- ท่านประธานองคมนตรี ! ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วว่าอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงประทานราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล กองทัพที่เข้มแข็ง ยุทโธปกรณ์ที่พร้อมสรรพให้แก่เรา ด้วยเหตุนี้เราจะต้องขอบคุณและสรรเสริญต่อความโปรดปราน ที่พระผู้อภิบาลได้ประทานให้แก่เรา

การขอบคุณของเราที่มีต่อพระองค์ ก็ด้วยการแสวงหาสิ่งที่เป็นสารัตถะ ความจริง หลังจากนั้นภาระหน้าที่ของเราก็คือการเรียกร้องเชิญชวนและชี้นำบรรดาผู้ที่หลงผิดให้ไปสู่วิถีแห่งสัจธรรม ซึ่งแน่นอนว่า ความเชื่อของชนสองกลุ่มนี้ (สุนนีกับชีอะฮฺ) จะต้องมีฝ่ายหนึ่งที่อยู่กับสัจธรรมความจริง และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นโมฆะและเป็นความเท็จ ดังนั้น เราจึงมีหน้าที่จะแสวงหาความจริงและยึดมั่นกับมัน ในขณะเดียวกัน เราจะต้องละทิ้งความมดเท็จและสิ่งที่เป็นโมฆะ

เมื่อท่านได้เชื้อเชิญอุละมาอ์ทั้งฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺ เพื่อให้พวกเขาทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์ในหลักความเชื่อของตน เราจะตระเตรียมความพร้อมในด้านการรักษาความปลอดภัย ตลอดทั้งนักเขียน นักบันทึกของรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และถ้าหากเราได้ประจักษ์ว่าสัจธรรมอยู่กับฝ่ายสุนนี เราจะต้องพยายามให้พวกชีอะฮฺมาสู่วิถีทางสุนนีให้หมด

ประธานองคมนตรี :- ถ้าหากพวกเขาไม่ยินยอมล่ะ พระองค์จะทำอย่าง ?

กษัตริย์ :- เราจะสังหารพวกเขา !

ประธานองคมนตรี :- พระองค์จะสังหารมุสลิมครึ่งหนึ่งเชียวหรือ ?

กษัตริย์ :- แล้วยังจะมีหนทางอื่นใดอีกเล่า ?

ประธานองคมนตรี :- ได้โปรดปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นไปตามยถากรรมเถิด

การสนทนาระหว่าง กษัตริย์กับประธานองคมนตรีผู้เปรื่องปราชญ์ได้สิ้นสุดลง แต่ทว่าในค่ำคืนนั้น กษัตริย์หนุ่มได้เฝ้าครุ่นคิดด้วยความวิตกกังวลจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ โดยพระองค์มิอาจจะหลับตาลงได้เลย

กษัตริย์ตัดสินใจจัดให้มีการเสวนาสุนนีชีอะฮฺขึ้น
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เรียก “นิซอมุลมุลก์” เข้าพบและกล่าวกับเขาว่า :-
ฉันยอมรับทัศนะของท่าน โดยเราจะเชื้อเชิญอุละมาอ์ฝ่ายสุนนีและชีอะฮฺให้มาถกด้วยการนำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์จากหลักความเชื่อของตน และเราจะเป็นผู้ฟังและใช้วิจารณญาณว่าสัจธรรมอยู่กับฝ่ายใด และมาตรว่าสัจธรรมอยู่ข้างฝ่ายสุนนี เราจะใช้วิทยปัญญา เรียกร้องเชิญชวนชาวชีอะฮฺมาสู่สัจธรรม และทุ่มเทงบประมาณทรัพย์สิน และใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเราดึงดูดพวกเขาให้มาสู่แนวทางของเรา ดังเช่นที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เคยมีวัตรปฏิบัติกับกาฟิรฺมุชริกีนมาก่อน เพื่อให้หัวใจของพวกเขาโน้มเอียงมาสู่อิสลาม ด้วยภารกิจนี้ เท่ากับเราได้ทุ่มเทรับใช้อิสลามและมวลมุสลิม ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ของเรา

ประธานองคมนตรี :- ช่างเป็นความคิดที่แหลมคมอะไรเช่นนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังหวั่นเกรงต่อผลลัพท์ในการถกเถียงทางวิชาการครั้งนี้

กษัตริย์ :- มีเหตุอันใดที่ทำให้ท่านหวั่นเกรงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่า หลักฐานและข้อพิสูจน์ของฝ่ายชีอะฮฺจะเหนือกว่า และพวกเขาจะเป็นฝ่ายพิชิตชัยชนะเหนือเราในที่สุด และจะมีผลทำให้ประชาชนตกอยู่ในความคลางแคลงใจ งุนงง สงสัย

กษัตริย์ :- เป็นไปได้หรือที่ชีอะฮฺจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ? !

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว ! ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขามีหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แข็งแรงทั้งจากคัมภีร์อัลกุรฺอานและหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ที่บ่งบอกถึงแนวทางและหลักความเชื่อที่เป็นสัจธรรม
คำตอบของประธานองคมนตรี มิอาจทำให้กษัตริย์คล้อยตามได้ พระองค์ได้กล่าวว่า :- เราจะต้องเลือกเฟ้นนักปราชญ์และผู้รู้ของทั้งสองฝ่าย มาทำความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ เพื่อเราจะได้จำแนกสัจธรรมออกจากความเท็จ

ในที่สุด ประธานองคมนตรีได้ขอโอกาสจากกษัตริย์เป็นเวลาหนึ่งเดือน แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย .... จนกระทั่งได้ลดลงมาเหลือ 15 วัน

ในช่วงเวลา 15 วันดังกล่าว ประธานองคมนตรีได้พิจารณาคัดเลือกอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺ ผู้มีชื่อเสียงทั้งในด้าน ตารีค (ประวัติศาสตร์) ฟิกฮฺ (ศาสนบัญญัติ) หะดีษ อุศูล กะลาม (หลักศรัทธา) วิภาษวิธี และเป็นผู้มีวาทศิลป์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม จำนวน 10 ท่าน และได้เชื้อเชิญอุละมาอ์ชีอะฮฺ จำนวน 10 ท่านเช่นกัน

ปฐมฤกษ์ในการถกเถียงทางวิชาการครั้งนี้ ได้เริ่มขึ้นในเดือนชะอฺบาน (ประมาณปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 480) ณ โรงเรียนนิซอมียะฮฺ กรุงแบกแดด โดยกษัตริย์มะลิกชาฮฺ ชัลญูกีย์ เป็นผู้กำหนดกติกาและเงื่อนไขของการถกไว้ดังนี้ คือ :-

1. การถกจะเริ่มดำเนินตั้งแต่เช้าถึงค่ำ โดยจะหยุดพักเฉพาะช่วงเวลานมาซ อาหาร และเวลาพักผ่อนเท่านั้น
2. การสนทนาจะต้องอาศัยหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ห้ามหยิบยกเรื่องเล่าและข่าวลือมาเป็นหลักฐาน
3. จะต้องมีเจ้าหน้าที่ – อาลักษณ์คอยจดบันทึกการถกเถียงทางวิชาการในครั้งนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

ประธานกล่าวเปิดการเสวนา
และแล้ว เมื่อวันเวลาแห่งการนัดหมายได้มาถึง สักขีพยานที่ประกอบไปด้วย กษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ นิซอมุลมุลก์ประธานองคมนตรี อำมาตย์ ข้าราชบริพาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺทั้งสิบคน นั่งทางด้านขวาของกษัตริย์ และอุละมาอ์ชีอะฮฺทั้งสิบคน นั่งทางด้านซ้ายของพระองค์ โดยนิซอมุลมุลก์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้กล่าวเปิดการสนทนาทางวิชาการในครั้งนี้ว่า :-

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสดุดีและสันติจงประสบแด่ศาสดามุหัมมัด (ศ) ครอบครัวและกัลยาณมิตรผู้ซื่อสัตย์ของท่าน

การสนทนาเชิงวิชาการในครั้งนี้ จะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานที่จะให้บรรลุสู่สัจธรรม โดยให้หลีกเลี่ยงจากการใช้คำหยาบคาย ก้าวร้าว ส่อเสียด หรือมีเจตนาจะหยามเหยียดฝ่ายตรงข้าม และหลีกเลี่ยงจากการด่าทอหรือประณามเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

การกล่าวหาบรรดาเศาะหาบะฮฺ
หัวหน้าอุละมาอ์สุนนี ผู้มีนามว่า “เชคอับบาสีย์” เป็นผู้เริ่มก่อน โดยท่านได้กล่าวว่า :- “ความจริงแล้ว ข้าพเจ้าไม่อยากที่จะร่วมสนทนากับกลุ่มชนที่สังกัดมัซฮับซึ่งเชื่อว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูสุลลอฮฺ (ศ) เป็นกาฟิรฺ”

หัวหน้าอุละมาอ์ชีอะฮฺ ผู้มีนามว่า “สัยยิดหุสัยนฺ บินอะลี อะละวีย์” จึงตอบว่า :- พวกที่กล่าวหาว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นการฟิรฺ คือกลุ่มชนใดหรือ ? !

อับบาสีย์ :- ก็พวกท่านทั้งหลายที่เป็นชีอะฮฺไงเล่าที่กล่าวหาว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดเป็นการฟิรฺ

สัยยิดอะละวีย์ :- สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้นไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด หรือว่า อะลี (อ) อับบาส สัลมาน อิบนุอับบาส มิกดาด อบูซัรฺ ฯลฯ มิได้เป็นเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ท่านกำลังกล่าวหาว่า เราชาวชีอะฮฺถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นกาฟิรฺด้วยกระนั้นหรือ ? !

อับบาสีย์ :- เจตนารมณ์ของคำว่า “เศาะหาบะฮฺทั้งหมด” ของฉันในที่นี้หมายถึง อบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ อุษมาน และผู้ที่ดำเนินรอยตามบุคคลทั้งสามต่างหากเล่า

สัยยิดอะละวีย์ :- ถ้างั้นเท่ากับท่านกำลังปฏิเสธถ้อยคำของท่านเอง
ครั้งแรกท่านเป็นผู้กล่าวขึ้นเองว่า :- “ชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นกาฟิรฺ” แล้วต่อมาท่านกลับอ้างว่า :- “ชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺบางส่วนเป็นกาฟิรฺ” !

ในระหว่างนั้น ท่านนิซอมุดดีนต้องการจะพูดขัดจังหวะ แต่สัยยิดอะละวีย์ไม่เปิดโอกาสให้เขา โดยกล่าวว่า :-
โอ้ ท่านประธานองคมนตรี ! ตราบเท่าที่เรายังมีความสามารถจะตอบคำถามและข้อข้องใจได้อยู่ บุคคลอื่นไม่มีสิทธิ์จะสอดแทรกความคิดใดเข้ามา มิฉะนั้น การสนทนาของเราจะผสมปนเปทำให้ออกนอกประเด็นที่กำลังถกเถียง และไม่สามารถหาบทสรุปในประเด็นนั้น ๆ ได้

แล้วสัยยิดอะละวีย์ ได้กล่าวต่อไปว่า :- โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ ! ด้วยเหตุนี้เอง ย่อมเป็นที่ชัดเจนในคำกล่าวหาของท่านที่ว่า พวกชีอะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดเป็นกาฟิรฺ เป็นการโกหกโดยปราศจากมูลความจริงอย่างสิ้นเชิง
คำชี้แจงของสัยยิดอะละวีย์ ทำให้เชคอับบาสีย์ หมดหนทางตอบโต้ และมีสีหน้าแดงก่ำด้วยความอับอาย และกล่าวว่า :- ขอให้เราผ่านเรื่องนี้ไปก่อน แต่ทว่าจากคำพูดของท่านเอง ย่อมเป็นที่ประจักษ์ได้เป็นอย่างดีว่า พวกชีอะฮฺได้ประณามสาปแช่ง เคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน จริง

สัยยิดอะละวีย์ :- ชีอะฮฺบางพวกได้ประณามสาปแช่งพวกเขาจริง แต่บางพวกก็มิได้ประณาม

เชคอับบาสีย์ :- แล้วท่านอยู่ในจำพวกไหน ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ข้าพเจ้าคือหนึ่งในจำนวนที่มิได้ประณามสาปแช่งพวกเขา แต่ทว่า ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า กลุ่มชีอะฮฺที่ประณามสาปแช่งพวกเขามีหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่มีเหตุผลเพียงพอ และที่เหนือไปกว่านั้น การประณามสาปแช่งของชีอะฮฺที่มีต่อบุคคลทั้งสาม มิได้เป็นสาเหตุที่จะทำให้พวกเขาเป็นกาฟิรฺ หรือพวกที่ทรยศ หรือสับปลับกลับกลอก หรือแม้กระทั่งเป็นความผิดบาปแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เชคอับบาสีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดพิจารณาเถิดว่าชายผู้นี้ได้กล่าวอะไรออกไป ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ ! การที่ท่านพยายามเบี่ยงเบนประเด็นสนทนาของเราไปหากษัตริย์ เขาเรียกว่าเป็นวิธีการสร้างความไขว้เขวเมื่อจนตรอก กษัตริย์ได้เชื้อเชิญเราทั้งสองฝ่ายเพื่อนำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์ จนกว่าจะได้ผลลัพท์ในบั้นปลายว่า ใครคือฝ่ายสัจธรรม เพื่อจะได้ยอมจำนน และเรียกร้องเชิญชวนฝ่ายที่เป็นโมฆะให้เข้ามาสู่สัจธรรม

กษัตริย์ :- ถ้อยคำของสัยยิดอะละวีย์ ถูกต้อง โอ้ ท่านเชคอับบาสีย์ ! ท่านจะตอบคำกล่าวข้างต้นของเขาว่าอย่างไร ?

อับบาสีย์ :- ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ใครก็ตามที่ประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺ เขาย่อมตกอยู่ในฐานะของผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ)

สัยยิดอะละวีย์ :- ข้อสรุปดังกล่าวอาจจะเป็นที่ชัดเจนสำหรับท่าน แต่ไม่เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับข้าพเจ้า ไหนท่านลองอธิบายมาซิว่า ด้วยเหตุผลกลใดที่ผู้ที่ประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺ บางส่วนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ด้วยหลักฐานและข้อพิสูจน์จึงต้องตกอยู่ในฐานะของกาฟิรฺ ?
อีกประการหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับหรือว่าใครก็ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประณามสาปแช่งเขา เป็นการคู่ควรที่ศรัทธาชนทุกคนจะต้องประณามสาปแช่งเขาด้วย ?

เชคอับบาสีย์ :- แน่นอน ข้าพเจ้าก็มีความเชื่อและยอมรับในสิ่งนี้

ท่านนบีเคยประณามเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและท่านที่สอง!?
สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านไม่เคยทราบมาก่อนหรือว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เคยประณามสาปแช่ง ท่านอบูบักรฺ และท่านอุมัรฺ มาก่อน ?

เชคอับบาสีย์ :- ท่านกำลังใส่ร้ายป้ายสี ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างน่าชิงชังรังเกียจที่สุด ท่านนบี (ศ) เคยประณามสาปแช่งเขาทั้งสองที่ไหน ? เมื่อไร ?

สัยยิดอะละวีย์ :- นักประวัติศาสตร์สายสุนนีต่างได้บันทึกตรงกันว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้ง “อุสามะฮฺ” ให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพ โดยให้ อบูบักรฺ กับ ท่านอุมัรฺ อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเขา และท่าน (ศ) ได้กล่าวเตือนสำทับว่า :-

“ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งบุคคลที่ฝ่าฝืน ไม่ยอมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอุสามะฮฺด้วยเถิด”

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกต่อไปว่า ในที่สุดทั้งอบูบักรฺและท่านอุมัรฺได้ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามอุสามะฮฺ ด้วยเหตุนี้ คำสาปแช่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะต้องประสบกับพวกเขา และใครก็ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) สาปแช่ง ย่อมเป็นการคู่ควรที่มุสลิมทุกคนจะดำเนินรอยตามท่านด้วยการประณามเขาด้วย

จากคำตอบดังกล่าว ทำให้เชคอับบาสีย์ ก้มหน้าโดยไม่กล่าวสิ่งใด

กษัตริย์ จึงได้ถามประธานองคมนตรีว่า :- ที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวมานั้นเป็นความจริงหรือ ?

ประธาน :- นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนี้ (เฏาะบะกอต อิบนุสะอัด ส่วนที่สอง เล่ม 2 หน้า 41 – ตารีคอิบนุอะสากิรฺ 2 / 391 – กันซุลอุมมาล 5 / 312 – อัลกามิล อิบนุอะษีรฺ 2 / 129)

สัยยิดอะละวีย์ ได้กล่าวต่อไปว่า :- ถ้าหากการประณามสาปแช่งเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) และเป็นการปฏิเสธอิสลาม (กุฟรฺ) แล้ว เหตุใดพวกท่านจึงไม่กล่าวหา “มุอาวิยะฮฺ อิบนุอบีสุฟยาน” ว่าเป็นกาฟิรฺบ้างเล่า ? และเหตุใดพวกท่านจึงมิได้กล่าวหาว่าเขาเป็นคนชั่วช้าสามานย์ เป็นผู้ทรยศ ทั้ง ๆ ที่เขาได้ประณามสาปแช่งท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ผู้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นเวลาติดต่อกันถึง 40 ปี และหลังจากมุอาวิยะฮฺได้เสียชีวิตแล้ว การประณามสาปแช่งดังกล่าวได้ดำเนินไปถึง 70 ปี !

กษัตริย์ :- ขอให้พวกท่านผ่านประเด็นดังกล่าว และหยิบยกประเด็นอื่นบ้าง

ประเด็นการรวบรวมอัลกุรอานของท่านอุษมาน
เชคอับบาสีย์ :- บิดอะฮฺ (สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่มีในศาสนา) หนึ่งที่ชาวชีอะฮฺได้ยึดถือปฏิบัติก็คือ การไม่ยอมรับในคัมภีร์อัลกุรฺอาน

สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว พวกท่านต่างหากเล่าที่ไม่ยอมรับในคัมภีร์อัลกุรฺอาน หลักฐานและข้อพิสูจน์ของข้าพเจ้าในกรณีดังกล่าวก็คือ พวกท่านเชื่อว่า :- “ อุษมานเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรฺอาน ” พวกท่านต้องการจะกล่าวหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ว่ามีความรู้ ความเชี่ยวชาญในคัมภีร์อัลกุรฺอานไม่เทียบเท่ากับท่านอุษมาน และมิได้บัญชาให้เศาะหาบะฮฺคนใดทำการรวบรวมอัลกุรฺอานเมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนต้องปล่อยให้เป็นภาระของอุษมานในภายหลังกระนั้นหรือ ?

นอกจากนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่อัลกุรฺอานมิได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในเมื่อท่าน (ศ) ได้สั่งให้ญาติสนิทและกัลยาณมิตรของท่านอ่านทบทวนมันตั้งแต่สูเราะฮฺแรกถึงสูเราะฮฺสุดท้าย โดยท่านได้วจนะว่า :- บุคคลใดที่อ่านอัลกุรฺอานจบสมบูรณ์ เขาจะได้รับมรรคผลและรางวัลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ เป็นต้น

จะเป็นไปได้อย่างไรกันที่คำสั่งให้อ่านอัลกุรฺอานตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่มันยังมิได้ถูกรวบรวมไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ?
หรือว่ามุสลิมในสมัยท่านนบี (ศ) ต่างหลงทาง จนต้องรอให้ท่านอุษมานมาชี้นำและปลดปล่อยพวกเขาในภายหลัง ? !

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวว่าชาวสุนนีถือว่าท่านอุษมานเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรฺอาน เป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีมูลความจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- มุฟัสสิรีน (บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรฺอาน) และนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! ณ ที่นี้ เป็นการสมควรที่พระองค์จะทรงทราบไว้ด้วยว่า ชาวชีอะฮฺมีความเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ถูกรวบรวมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ในสมัยที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ยังมีชีวิต โดยมีเนื้อหาสาระ ดังเช่นอัลกุรฺอานที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน และพระองค์ (กษัตริย์) ทรงประจักษ์แล้วว่า ไม่มีคำใดที่ถูกตัดทอนหรือเพิ่มเติมเข้ามาแม้แต่อักษรเดียว ในขณะที่พวกท่านกลับกล่าวว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานมีส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา และมีส่วนที่ขาดหายไป และมีบางอายะฮฺที่ถูกสลับสับเปลี่ยนที่กัน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไม่ได้เคยรวบรวมมาก่อน แต่ทว่า ท่านอุษมาน คือบุคคลแรกที่ได้ดำเนินการรวบรวมมัน ภายหลังจากที่เขาได้เถลิงอำนาจขึ้นเป็นกษัตริย์

เชคอับบาสีย์ จึงได้ฉกฉวยโอกาสนี้กล่าวขึ้นว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! พระองค์ทรงได้ยินแล้วใช่ไหมว่า ชายผู้นี้มิได้เรียกขานท่านอุษมานในฐานะของเคาะลีฟะฮฺ แต่กลับเรียกเขาว่า “กษัตริย์” ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ใช่แล้ว เพราะแท้จริงท่านอุษมานมิได้เป็นเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใด

กษัตริย์ จึงถามสัยยิดอะละวีย์ ว่า :- ทำไม ? !

วิเคราะห์การขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์
สัยยิดอะละวีย์ :- ตามความเชื่อของฉัน ถือว่าการขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน เป็นสิ่งโมฆะ (บาฏิล) อย่างสิ้นเชิง

กษัตริย์ จึงถามด้วยความฉงนสนเท่ห์ว่า :- ทำไม ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ทั้งนี้ ก็เพราะว่าท่านอุษมานได้เป็นเคาะลีฟะฮฺจากแผนการของท่านอุมัรฺที่ได้กำหนดตัวบุคคลในคณะที่ปรึกษา (ชูรอ) จำนวน 6 คน ในขณะที่บุคคลทั้งหกมิได้มีมติเลือกท่านอุษมานให้เป็นเคาะลีฟะฮฺอย่างเป็นเอกฉันท์ แต่ทว่า มีเพียงสองหรือสามคนเท่านั้นที่ได้เลือกเขาขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง ความชอบธรรมในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอุษมานจึงขึ้นอยู่กับท่านอุมัรฺเพียงคนเดียว !





นี่คือวิถีสัจธรรม

ส่วนตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอุมัรฺนั้นเล่า ก็ได้รับมาเพราะคำสั่งเสีย (วะศียะฮฺ) ของอบูบักรฺเพียงคนเดียว ดังนั้น ความชอบธรรม (มัชรูอียะฮฺ) แห่งการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอุมัรฺ จึงขึ้นอยู่กับท่านอบูบักรฺเพียงคนเดียวเช่นกัน

ในขณะที่ตัวของท่านอบูบักรฺเอง ซึ่งได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจากการเลือกตั้งของคนเพียงหยิบมือเดียว และยิ่งไปกว่านั้นบางส่วนของพวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคมดาบและการใช้กำลังข่มขู่คุกคาม ดังนั้น ความชอบธรรมในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักรฺ จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคมดาบและกฎหมู่ !

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้เอง ที่ในเวลาต่อมาท่านอุมัรฺได้กล่าวสารภาพด้วยตนเองว่า :-
“การให้สัตยาบัน (บัยอะฮฺ) ของประชาชนต่อท่านอบูบักรฺ เป็นเหตุการณ์คับขันและฉุกละหุก ปราศจากการตระเตรียมการที่ดี และเป็นการกระทำตามแบบฉบับญาฮิลียะฮฺ ขออัลลอฮฺได้ทรงโปรดขจัดปัดเป่าความชั่วร้ายออกจากมวลมุสลิมด้วยเถิด ดังนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใครก็ตามที่ลอกเลียนแบบอย่างการขอสัตยาบันเช่นนั้นอีก พวกท่านจงจัดการสังหารเขาเสีย”

นอกจากนี้ ท่านอบูบักรฺเองก็สารภาพเช่นกันว่า :- “พวกท่านจงปล่อยฉันให้ไปตามยถากรรมของฉันเถิด และจงยึดการให้สัตยาบันของพวกท่านคืนไปเถิด เพราะตราบใดที่อะลี (อ) ยังอยู่ในท่ามกลางพวกท่าน ฉันย่อมมิใช่ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน”

จากหลักฐานและข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้เอง ที่ชาวชีอะฮฺมีความเชื่อว่า รากเหง้าแห่งการได้มาซึ่งตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของบุคคลทั้งสามเป็นสิ่งโมฆะและผิดครรลองคลองธรรมมาตั้งแต่ต้น

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวถึงท่านอบูบักรฺและท่านอุมัรฺ มีมูลความจริงและเป็นสิ่งที่ถูกต้องกระนั้นหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนั้นจริง

กษัตริย์ จึงถามว่า :- แล้วเหตุใดพวกเราชาวสุนนีจึงยกย่องให้เกียรติบุคคลทั้งสาม ? !

ประธานองคมนตรี :- เป็นการปฏิบัติตามบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมของพวกเรา

สัยยิดอะละวีย์ จึงกล่าวกับกษัตริย์ว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดถามท่านประธานองคมนตรีเถิดว่าระหว่างการดำเนินตามสัจธรรมกับบรรพชน อันไหนเป็นสิ่งวาญิบ (จำเป็น)กว่ากัน ? มาตรว่าการลอกเลียนแบบบรรพชนขัดแย้งกับสัจธรรมความจริงแล้ว จะมิตกอยู่ในฐานะที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้ตรัสไว้หรอกหรือว่า :-

﴾ إِنَّا وَجَدْنَا آبَاءَنَا عَلَى أُمَّةٍ وَإِنَّا عَلَى آثَارِهِم مُّقْتَدُونَ ﴿
“แท้จริง พวกเราได้ประจักษ์ว่าบรรพบุรุษของพวกเราอยู่ในวิถีทางนี้มาก่อน ดังนั้น พวกเราจึงดำเนินตามร่องรอยของพวกเขาด้วย” (สูเราะฮฺซุครุฟ 43 : 23)

กษัตริย์ จึงกล่าวกับสัยยิดอะละวีย์ว่า :- ถ้าบุคคลทั้งสามมิได้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้วใครคือเคาะลีฟะฮฺของท่าน ?

อะลี อิบนิ อบีฎอลิบคือเคาะลีฟะฮ์ท่านศาสดาเพียงผู้เดียว
สัยยิดอะละวีย์ จึงตอบว่า :- เฉพาะอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เท่านั้นที่เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

กษัตริย์ :- อะไรคือหลักฐานและข้อพิสูจน์ของท่าน ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้งเขาให้เป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนภายหลังจากท่าน โดยท่าน (ศ) ได้ประกาศอย่างชัดเจนต่อหน้าประชาชนในต่างกรรมต่างวาระกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ “เฆาะดีรฺคุม” ตำบลที่ตั้งอยู่ระหว่างนครมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ เมื่อท่าน (ศ) ได้บัญชาให้พวกเขาชุมนุมกัน ณ สถานที่แห่งนั้น และได้ชูมือของอะลี (อ) ขึ้น พร้อมกับประกาศด้วยเสียงก้องกังวานว่า :-
“ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครอง (เมาลา) ของเขา อะลี (อ) ก็เป็นผู้ปกครอง (เมาลา) ของเขาด้วย

โอ้ อัลลอฮฺ ! ได้โปรดมอบความรักและให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่รักอะลี และยืนยันฐานภาพแห่งการเป็นผู้ปกครองของเขาด้วยเถิด

และโปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเขาด้วยเถิด
และโปรดให้การสนับสนุนผู้ที่สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเขาด้วยเถิด
และบุคคลใดที่ละทิ้งไม่ให้ความช่วยเหลือเขา ขอพระองค์โปรดละทิ้งเขา (ให้ระหน) ด้วยเถิด”

หลังจากนั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ลงมาจากมิมบัรฺ และกล่าวกับประชาชนที่ร่วมชุมนุมอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้นซึ่งมีจำนวน 120,000 คน ว่า เฉพาะอะลี (อ) เท่านั้นที่มีเกียรติคุณคู่ควรต่อการที่พวกท่านจะเรียกขานเขาว่า “อมีรุลมุอ์มินีน” (ผู้ปกครองของศรัทธาชน)

หลังจากนั้น มุสลิมได้ค่อย ๆ ทยอยเข้าไปแสดงความปิติยินดีกับอะลี (อ) ด้วยการกล่าวประโยค :- “ความสันติจงประสบแด่ท่าน โอ้ อมีรุลมุอ์มินีน !”

โดยเฉพาะท่านอบูบักรฺ และท่านอุมัรฺ ก็ได้เข้าไปแสดงความยินดีต่ออะลี (อ) โดยเรียกขานสมญานามของเขาว่า :- “อมีรุลมุอ์มินีน” ท่านอุมัรฺได้กล่าวว่า :- “ความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ อมีรุลมุอ์มินีน ! ความจำเริญจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของอบูฏอลิบ นับจากนี้ไป ท่านคือผู้ปกครอง (เมาลา) ของฉัน และคือผู้ปกครอง (เมาลา) ของศรัทธาชนชายและหญิง)

จากหลักฐานดังกล่าวนี้เองที่พิสูจน์ให้ประจักษ์ว่า เฉพาะอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เท่านั้นที่เป็นเคาะลีฟะฮฺที่ถูกครรลองคลองธรรมของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

กษัตริย์ จึงได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ถ้อยคำของสัยยิดอะละวีย์ มีมูลความจริงกระนั้นหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว นักประวัติศาสตร์และนักอรรถาธิบายอัลกุรฺอานได้บันทึกเช่นนั้นจริง

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้น ขอให้ทั้งสองฝ่ายจบประเด็นนี้ และเริ่มต้นประเด็นอื่นต่อไปเถิด

ชีอะฮฺเชื่อว่าอัลกุรอานถูกเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
เชคอับบาสีย์ :- พวกชีอะฮฺมีความเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรฺอาน ถูกสังคายนา เปลี่ยนแปลง แก้ไข (ตะหฺรีฟ)

สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ แต่ทว่า เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในหมู่พวกท่าน ถึงความเชื่อในเรื่องการถูกสังคายนาและเปลี่ยนแปลง แก้ไขคัมภีร์อัลกุรฺอาน

เชคอับบาสีย์ :- ช่างเป็นคำพูดที่โป้ปดมดเท็จอย่างชัดเจนที่สุด

สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านเชคไม่เคยอ่านตำราของพวกท่านที่กล่าวว่า โองการที่เกี่ยวกับ “เฆาะรอนีก” (พหูพจน์ ของ “ฆุรฺนูก” และ “ฆุรนัยก” ตามตัวแปลว่า นกกระสา หรือคนหนุ่มที่มีรูปร่างสัดทัด = ผู้แปล) ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) หลังจากนั้น โองการเหล่านี้ได้ถูกยกเลิก (นัสคฺ) และถูกลบทิ้งออกไปจากคัมภีร์อัลกุรฺอาน ?

กษัตริย์ จึงได้ถามประธานองคมนตรีว่า :- คำกล่าวอ้างของสัยยิดอะละวีย์มีมูลความจริงหรือ ?

ประธาน :- ใช่แล้ว มุฟัสสิรีนได้กล่าวเช่นนั้นจริง

กษัตริย์ จึงถามว่า :- ถ้าเช่นนั้น อัลกุรฺอานที่ถูกสังคายนาจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือได้อย่างไร ?

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! เป็นการสมควรที่พระองค์จะทรงทราบว่า เราชาวชีอะฮฺมิได้มีความเชื่อในสิ่งนี้ (ตะหฺรีฟ) เฉพาะพวกท่านเท่านั้นที่มีความเชื่อเช่นนี้ ด้วยเหตุนี้ อัลกุรฺอานสำหรับเราชาวชีอะฮฺคือคัมภีร์ที่มีความน่าเชื่อถือเสมอ แต่พวกท่านกลับถือว่าเป็นคัมภีร์ที่ไม่มีคุณค่าต่อการเชื่อถือแต่อย่างใด

เชคอับบาสีย์ :- เกี่ยวกับการตะหฺรีฟกุรฺอาน มีหะดีษจำนวนหนึ่งที่อุละมาอ์ของพวกท่านได้บันทึกไว้ในตำราของพวกท่านเอง

สัยยิดอะละวีย์ :- หะดีษจำนวนเล็กน้อยเหล่านั้นถูกอุปโลกน์และเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา ภายใต้แผนการณ์และเล่ห์เพทุบายของเหล่าศัตรูของชีอะฮฺ เพื่อที่จะสร้างกระแสล้มล้างวิถีทางของชีอะฮฺ และให้ประชาคมรุมประณามสาปแช่งชีอะฮฺ ในขณะที่นักรายงานหะดีษ (รอวีย์) และสายสืบของหะดีษเหล่านั้นล้วนแล้วแต่อ่อนแอและขาดความน่าเชื่อถือ เพราะอุละมาอ์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงของเรามิได้มีความเชื่อในเรื่องของการตะหฺรีฟ และพวกเขาก็ไม่ยอมรับในสิ่งที่พวกท่านกล่าวว่า :-
อัลลอฮฺ ทรงประทานโองการบางส่วนลงมาเพื่อสรรเสริญบรรดาเจว็ด (โดยแน่นอนยิ่ง อัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน ในสิ่งที่พวกเขาได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาใส่ร้ายพระองค์) ว่า :- เหล่าเจว็ดที่มีฐานภาพสูงส่งเท่านั้น ที่จะช่วยให้การขอชะฟาอะฮฺ (การไถ่โทษ) ของพวกเจ้าสัมฤทธิ์ผล”

กษัตริย์ :- ขอให้ทั้งสองฝ่ายได้จบประเด็นนี้ และเริ่มต้นประเด็นต่อไปเถิด

การปรักปรำพระผู้เป็นเจ้าว่าพระองค์มีเรือนร่าง
สัยยิดอะละวีย์ :- พวกท่านได้ปรักปรำตำหนิอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ซึ่งถือเป็นการลดฐานภาพและฐานันดรศักดิ์อันสูงส่งของพระผู้อภิบาลผู้ทรงคู่ควรต่อการได้รับการสรรเสริญ

เชคอับบาสีย์ :- ลองหยิบยกตัวอย่างซิว่ามีอะไรบ้าง ?

สัยยิดอะละวีย์ :- อาทิเช่น พวกท่านมีความเชื่อว่า อัลลอฮฺทรงมีเรือนร่าง (ญิสม์) ทรงสนทนาและหัวเราะเหมือนมนุษย์ มีมือ เท้า ดวงตา และอวัยวะ และในวันกิยามะฮฺ พระองค์จะแหย่เท้าข้างหนึ่งลงในขุมนรก และจะทรงเสด็จจากฟากฟ้าเบื้องบนลงมาสู่ฟากฟ้าของโลกดุนยา และจะทรงขี่ฬ่อหรือลาของพระองค์ลงมา..........

เชคอับบาสีย์ :- มิได้เป็นสิ่งแปลกประหลาดแต่อย่างใด ในเมื่อคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า :- وَجَاء رَبُّكَ “ และพระผู้อภิบาลของเจ้า (มุหัมมัด) จะมาพร้อมกับมลาอิกะฮฺเป็นแถว ๆ” (สูเราะฮฺฟัจญ์รุ 89 : 22)

* * อัลกุรฺอานฉบับแปลภาษาไทยของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับได้อธิบายในฟุตโน๊ท ภายใต้อายะฮฺดังกล่าวนี้ว่า :- ... พระเจ้าของเจ้า โอ้ มุฮัมมัด เอ๋ย ก็จะเสด็จมาปรากฎตัว เพื่อพิพากษาตัดสินระหว่างปวงบ่าว ....... โปรดดูหน้า 1698 = ผู้แปล) หรือ يَوْمَ يُكْشَفُ عَن سَاق “วันที่หน้าแข้งจะถูกเผยออกมา” (สูเราะฮฺเกาะลัม 68 : 42) ** อัลกุรฺอานฉบับแปลภาษาไทยของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับได้อธิบายในวงเล็บภายใต้อายะฮฺนี้ว่า (ในวันกิยามะฮฺ พระเจ้าจะมาตัดสินคดี หน้าแข้งของพระองค์จะถูกเลิกขึ้น โปรดดูหน้า 1546 = ผู้แปล) หรือ يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِم “พระหัตถ์ของอัลลอฮฺอยู่เหนือมือของพวกเขา”(สูเราะฮฺฟัตหฺ 48 : 10)

นอกจากนี้ ยังมีหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้อีกว่า ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺจะทรงแหย่เท้าของพระองค์ลงในขุมนรก !

อบูฮุร็อยเราะฮฺถูกท่านอุมัรเฆี่ยนตี!
สัยยิดอะละวีย์ :- ตามหลักศรัทธาของเราชาวชีอะฮฺถือว่า หะดีษในทำนองนี้ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อปรักปรำ ใส่ร้ายพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ ทั้งนี้เนื่องจาก อบูฮุร็อยเราะฮฺ และผู้ที่มีคุณสมบัติเยี่ยงเขาได้รายงานเท็จและเสกสรรปั้นแต่งว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นผู้วจนะ อบูฮุร็อยเราะฮฺได้เพียรพยายามในการนี้ จนในที่สุด ท่านอุมัรฺได้ออกคำสั่งให้เฆี่ยนตีโทษฐานที่รายงานหะดีษและยังสั่งห้ามมิให้เขารายงานหะดีษอีกต่อไป

กษัตริย์ จึงได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ท่านอุมัรฺได้ออกคำสั่งห้ามมิให้ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺรายงานหะดีษจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว เขาได้สั่งห้ามจริงดังที่ถูกบันทึกไว้ในตำราประวัติศาสตร์

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้น เราจะให้ความเชื่อถือหะดีษที่รายงานโดยท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺได้อย่างไร ? !

ประธานองคมนตรี :- บรรดาอุละมาอ์ได้ให้การยอมรับและเชื่อถือมาก่อน

กษัตริย์ :- แสดงว่าอุละมาอ์เหล่านั้นต้องมีความรู้เหนือกว่าท่านอุมัรฺ ? เพราะท่านอุมัรฺ ได้ออกคำสั่งห้ามมิให้อบูฮุร็อยเราะฮฺรายงานหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เพราะการโกหกของเขา แต่อุละมาอ์ของเรากลับนำหะดีษที่เขาได้อุปโลกน์มาเผยแพร่และสั่งสอนพวกเรา

เชคอับบาสีย์ :- โอ้ อะลาวีย์ ! เอาละ ถึงแม้ว่าหะดีษที่พาดพิงถึงอัลลอฮฺจะถูกอุปโลกน์ขึ้นมา แล้วในกรณีโองการแห่งคัมภีร์อัลกุรฺอานท่านจะว่าอย่างไร ?

ชี้แจงเกี่ยวกับโองการที่กล่าวถึงสรีระพระองค์
สัยยิดอะละวีย์ :- โองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. โองการที่ชัดเจน (อายะตุลมุหฺกะมะฮฺ) ซึ่งถือเป็นโองการพื้นฐานของคัมภีร์
2. โองการที่คลุมเครือ (อายะตุลมุตะชาบิฮะฮฺ) ซึ่งต้องอาศัยโองการที่ชัดเจนมาอรรถาธิบาย จึงจะได้ความหมายตรงตามเจตนารมณ์ของพระผู้อภิบาล

และอัลกุรฺอานยังมีลักษณะด้านนอก (ซอฮิรฺ) และด้านใน (บาฎิน) อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ เราสามารถเข้าใจโองการซอฮิรฺที่ชัดเจน และถือปฏิบัติตามได้ แต่ในกรณีโองการบาฏินที่คลุมเครือหรือซ่อนเร้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยวิชาวาทศาสตร์ (อิลมุลบะลาเฆาะฮฺ) และจะต้องวินิจฉัยถึงอุปมาน (กินายะฮฺ) หรืออุปมัย (มะญาซ) ว่ามีรหัสนัยแฝงเร้นหรือไม่อย่างไร ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว นัยหรือความหมายจะไม่เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของผู้ทรงประทานคัมภีร์ นอกจากนี้ ยังจะไม่กินกับสติปัญญาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น :- ถ้าท่านเชคตีความหมายของโองการ ...

وَجَاء رَبُّكَ

ว่าหมายถึง “และพระผู้อภิบาลของเจ้าจะเสด็จลงมา” ตามตัวบทตัวอักษรอย่างเคร่งครัด (ซอฮิรฺ) แล้วไซร้ นัยของมันจะขัดแย้งทั้งต่อสติปัญญาและต่อเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้าทันที ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสติปัญญาและบทบัญญัติถือว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงดำรงอยู่ในทุกสภาวการณ์และสถานที่ ไม่มีที่ใดที่จะปราศจากพระองค์ ในขณะที่ตามซอฮิรฺของอายะฮฺนี้ถือว่า พระองค์ทรงมีเรือนร่าง ซึ่งย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สรรพสิ่งที่มีเรือนร่างจำเป็นต้องอาศัยสภาวะการณ์และสถานที่เสมอ

ดังนั้น ผลลัพท์ของความหมายซอฮิรฺของอายะฮฺนี้ก็คือ
“มาตรว่า พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่บนฟากฟ้า บนพื้นโลกย่อมไม่มีพระองค์อยู่ ในทางกลับกัน ถ้าพระองค์ทรงเสด็จลงมาบนพื้นโลก บนฟากฟ้าก็จะว่างเว้นจากการมีอยู่ของพระองค์”

ซึ่งนอกจากจะสวนทางกับศาสนบัญญัติของพระองค์แล้ว และยังสวนทางกับสติปัญญาอีกด้วย
คำตอบที่เต็มไปด้วยหลักตรรกะนี้เอง ทำให้เชคอับบาสีย์จนแต้มไม่สามารถหาหลักฐานมาโต้แย้งได้

การตีความตามความหมายทั่วไปของโองการอัลกุรอาน
ในที่สุด ท่านเชคจึงกล่าวขึ้นว่า :- ข้าพเจ้าไม่อาจยอมรับเหตุผลของท่านได้ เพราะถึงอย่างไรก็ตาม เราจะต้องยึดถือตามความหมายซอฮิรฺของโองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอานอยู่ดี

**เผอิญว่าในการสนทนาทางวิชาการครั้งนี้หนึ่งในอุละมาอ์สุนนีที่นั่งเคียงข้างเชคอับบาสีย์ ดวงตาทั้งสองของท่านบอดสนิท
สัยยิดอะละวีย์ :- ถ้าเช่นนั้น ท่านเชคจะยึดถือและปฏิบัติตามโองการที่คลุมเครือ (อายะตุลมุตะชาบิฮฺะฮฺ) อย่างไร ในเมื่อด้านหนึ่ง ท่านไม่สามารถที่จะยึดถือความหมายแห่งโองการที่เป็นซอฮิรฺของอัลกุรฺอานได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว ท่านเชคอะหฺมัด อุษมาน เพื่อนของท่านก็จะตกอยู่ในฐานะของชาวนรกอย่างไม่ต้องสงสัย

เชคอับบาสีย์ :- ทำไมท่านจึงกล่าวเช่นนี้ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ทั้งนี้ เนื่องจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า :-

وَمَن كَانَ فِي هَذِهِ أَعْمَى فَهُوَ فِي الآخِرَةِ أَعْمَى
وَأَضَلُّ سَبِيلاً

“และบุคคลใดที่บอดในโลกนี้ ดังนั้น เขาจะบอดในปรโลกด้วย และเป็นการหลงทางอันไกลลิบ” (สูเราะฮฺอิสรออ์ 17 : 72)

ถ้าท่านตีความไปตามความหมายซอฮิรฺของอายะฮฺข้างต้น ดังนั้น ในเมื่อดวงตาของเชคอะหฺมัด อุษมาน บอดในโลกดุนยา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในโลกอาคิเราะฮฺ ดวงตาของเขาจะต้องบอดด้วยอย่างแน่นอน และยิ่งไปกว่านั้น เขาจะต้องเป็นผู้หลงทางอย่างไกลลิบ นั่นก็หมายความว่าเขาต้องเป็นชาวนรกนั่นเอง

โอ้ ท่านเชคอะหฺมัด ! ท่านเห็นด้วยและพึงพอใจกับความหมายนี้หรือ ?

เชคอะหฺมัด อุษมาน :- เป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะนัยของคำว่า “บอด” ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่หลงออกจากวิถีทางที่เที่ยงธรรมต่างหาก

สัยยิดอะละวีย์ :- ดังนั้น ย่อมเป็นข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า มนุษย์ไม่สามารถยึดถือและปฏิบัติตามความหมายซอฮิรฺของโองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ทั้งหมด
การถกเถียงทางวิชาการในประเด็นดังกล่าวได้ดำเนินต่อไปอย่างเผ็ดร้อน แต่ด้วยหลักฐาน ข้อพิสูจน์ และหลักตรรกที่แข็งแรง ทำให้ สัยยิดอะละวีย์ สามารถพิชิตชัยชนะเหนือ เชคอับบาสีย์ ในที่สุด

กษัตริย์ :- ขอให้ท่านผู้มีเกียรติทั้งสองฝ่ายได้ผ่านประเด็นนี้ไป และเริ่มประเด็นใหม่ต่อไปเถิด

ถกประเด็นการกำหนดสภาวะ
สัยยิดอะละวีย์ :- ความเชื่อที่ผิดพลาดและหลงทางประการหนึ่งของพวกท่านก็คือ การที่พวกท่านกล่าวว่า :- อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ปวงบ่าวของพระองค์ประกอบอกุศลกรรมความผิดบาปและสิ่งต้องห้าม และในวันกิยามะฮฺ พระองค์จะทรงลงโทษพวกเขา จากสาเหตุที่พวกเขาได้ประกอบกรรมชั่วและสิ่งต้องห้ามนั้น ๆ

เชคอับบาสีย์ :- ใช่แล้ว นี่เป็นหลักความเชื่อที่เป็นไปตามโองการที่อัลลออฺได้ทรงตรัสในคัมภีร์ของพระองค์ เช่น :-

وَمَن يُضْلِلِ اللّهُ
“และบุคคลใดที่อัลลออฺทรงให้เขาหลงทาง” (สูเราะฮฺนิสาอ์ 4 : 88)

﴿ وَطَبَعَ اللّهُ عَلَى قُلُوبِهِمْ ﴾
“และอัลลอฮฺทรงประทับตราบนหัวใจของพวกเขา” (สูเราะฮฺเตาบะฮฺ 9 : 93)

สัยยิดอะละวีย์ :- สิ่งที่ท่านเชคกล่าวว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ตรัสไว้เช่นนี้ ดังที่ท่านเพิ่งประจักษ์ไปแล้วว่า โองการจำนวนมากที่จำเป็นต้องอาศัยกินายะฮฺ (อุปมาน) และมะญาซ (อุปมัย) และต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถ่องแท้ ตัวอย่างเช่น นัยของ “บุคคลที่อัลลอฮฺทรงทำให้เขาหลงทาง” ในที่นี้ หมายถึงพระองค์จะทรงปล่อยให้มนุษย์ที่หยิ่งยะโส ดื้อด้าน ระหนไปในทางหลงตามที่พวกเขาปรารถนา อุปมัยดังเช่นประชาชนที่กล่าวว่า :- “รัฐบาลทำให้ประชาชนประพฤติผิดศีลธรรมและสร้างความเสื่อมเสีย” ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้ประชาชนก่ออาชญากรรม โดยมิได้มีมาตรการใด ๆ กับพวกเขานั่นเอง

ในขณะเดียวกัน ท่านเชคไม่เคยอ่านโองการที่อัลลอฮฺทรงตรัสหรอกหรือว่า :-

﴿ إِنَّ اللّهَ لاَ يَأْمُرُ بِالْفَحْشَاءِ ﴾
“แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงบัญชาให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจหรอก” (สูเราะฮฺอะอฺรอฟ 7 : 28)

และที่พระองค์ทรงตรัสว่า :-

﴿ إِنَّا هَدَيْنَاهُ السَّبِيلَ إِمَّا شَاكِرًا وَإِمَّا كَفُورًا ﴾
“แท้จริง เราได้ชี้นำวิถีทางแก่เขาแล้ว (ขึ้นอยู่กับตัวเขาเองว่าจะ) เป็นผู้กตัญญู หรือ (จะ) เป็นผู้เนรคุณ” (สูเราะฮฺอินสาน 76 : 3)

หรือดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า :-

﴿ وَهَدَيْنَاهُ النَّجْدَيْنِ ﴾
“และเราได้ชี้นำวิถีทางทั้งสอง (ความดีและความชั่ว) แก่เขาแล้ว” (สูเราะฮฺบะลัด 90 : 10)

กอปรกับสติปัญญาไม่อาจจะยอมรับได้ว่าอัลลอฮฺ ผู้ทรงวิทยปัญญา ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จะทรงบัญชาใช้ให้ปวงบ่าวของพระองค์ประพฤติปฏิบัติความผิดบาป ชั่วช้าเสื่อมทราม แต่แล้ว พระองค์กลับเป็นผู้คิดบัญชีความผิดบาปด้วยการลงทัณฑ์พวกเขา ทั้ง ๆ ที่พวกเขาปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ ซึ่งแม้แต่ปุถุชนทั่วไปก็ยังห่างไกลจากการประพฤติเช่นนี้ นับประสาอะไรกับอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยวิทยาปัญญาและทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และบริสุทธิ์จากข้อบกพร่องทั้งปวง และพระองค์ยังทรงอยู่เหนือคำติฉินนินทาและการเสกสรรปั้นแต่งของพวกบูชาเจว็ด และพวกฉ้อฉลทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง

กษัตริย์ได้กล่าวด้วยเสียงอันดังว่า :- เป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง พระองค์จะทรงบังคับให้มนุษย์ประกอบอกุลกรรมความผิดบาป แล้วทรงจัดการชำระบัญชีพวกเขาในภายหลัง เพราะเป็นการอธรรมและฉ้อฉลอย่างชัดเจนที่สุด และพระองค์ทรงบริสุทธิ์และห่างไกลจากคุณลักษณะแห่งความอธรรมทั้งปวง ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้เองว่า :-

﴿وَأَنَّ اللَّهَ لَيْسَ بِظَلَّامٍ لِّلْعَبِيدِ﴾
“และแท้จริง อัลลอฮฺ จะไม่ทรงอธรรมต่อปวงบ่าว (ของพระองค์)” (สูเราะฮฺหัจญ์ 22 : 10)

แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺทั้งหมดจะมีทัศนะและความเชื่อเช่นเดียวกับ ท่านเชคอับบาสีย์

กษัตริย์ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- อุละมาอะฮ์ของเรามีความเชื่อเช่นนี้จริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้วขอรับ เป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่พวกเรา !

กษัตริย์ :- พวกเขาเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่สติปัญญาไม่อาจจะยอมรับได้อย่างไรกัน ? !

ประธานองคมนตรี จึงตอบว่า :- พวกเขาตีความ (ตะอ์วีล) ไปตามหลักฐานบนพื้นฐานแห่งหลักความเชื่อของพวกเขา

กษัตริย์จึงแสดงทัศนะต่อไปว่า :- ถึงแม้ว่าพวกเขาจะตีความหรือนำหลักฐานที่แข็งแรงมาเสนอก็ตาม แต่สติปัญญาก็มิอาจจะยอมรับได้อยู่นั่นเอง ตามทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว เห็นว่าลำพังหลักฐานและเหตุผลที่ สัยยิดอะละวีย์ ได้นำเสนอมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องชัดเจนว่าอัลกุรฺอานจะไม่ทรงบังคับมนุษย์คนใดให้ทำบาป แล้วพระองค์ทรงจัดการลงโทษเขาในภายหลัง

นบีสงสัยในสถานภาพของตนเอง?!
สัยยิดอะละวีย์ :- นอกจากนี้ พวกท่านมีความเชื่ออีกว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เคลือบแคลงสงสัยในความเป็นศาสดา (นบี) ของท่านเอง !

เชคอับบาสีย์ :- นี่ช่างเป็นการโกหกที่ร้ายกาจที่สุด

สัยยิดอะละวีย์ :- อุละมาอ์ของพวกท่าน มิได้รายงานในตำราของพวกเขาหรอกหรือว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :- “ไม่มีครั้งใดที่ท่านญิบเราะอีล (อ)ลงมาหาฉัน นอกจากฉันจะเข้าใจว่าท่านอาจจะลงมาหาอุมัรฺ อิบนุ ค็อฏฏอบ !

หะดีษในทำนองนี้ซึ่งอุละมาอ์ของพวกท่านได้รายงานไว้กลับขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับคัมภีร์อัลกุรฺอานหลายโองการ ที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า มุหัมมัด (ศ) ผู้เป็นศาสนทูตของพระองค์ได้ให้สัตยาบันและพันธสัญญาต่อพระองค์ว่า จะแบกรับภารกิจดังกล่าวอย่างไม่อิดเอื้อน

กษัตริย์ จึงได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- สิ่งที่สัยยิดอะละวีย์ได้หยิบยกมานี้มีมูลความจริงหรือ ? และตำราของชาวสุนนีได้บันทึกไว้เช่นนี้หรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ตำราของชาวสุนนีบางเล่มได้บันทึกไว้เช่นนี้จริง (อิบนุอบิลหะดีด มุอฺตะซิลีย์ ใน ชัรฺหฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ และอุละมาอ์อื่น ๆ ได้รายงานมาจากเขา)

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้น ถือเป็นการปฏิเสธ (กุฟรฺ) อย่างชัดเจนที่สุด

สัยยิดอะละวีย์ :- นอกจากนี้ อุละมาอ์พวกท่านยังได้รายงานหะดีษในตำราของพวกเขาอีกว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺขึ้นขี่คอของท่านเพื่อชมการแสดงดนตรีและการเต้นระบำของเหล่านักแสดงสตรี พวกท่านคิดว่าหะดีษในทำนองนี้คู่ควรต่อฐานภาพและเกียรติคุณอันสูงส่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) หรือ ?

เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะไปเกี่ยวข้องกับฐานภาพและเกียรติยศของท่านแต่อย่างใด

สัยยิดอะละวีย์ :- ในฐานะที่ท่านเป็นสามัญชนคนหนึ่ง ท่านกล้าที่จะประพฤติเช่นนั้นไหม ?

กษัตริย์ :- บุคคลที่มีสามัญสำนึกและความละอายอยู่ในหัวใจแม้เพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง เขาจะไม่หาญกล้าที่จะกระทำสิ่งที่น่าอับอายเช่นนั้นเป็นอันขาด นับประสาอะไรกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ผู้ซึ่งคือแบบฉบับอันงดงามทั้งในด้านความศรัทธาและความละอายต่อบาป และการกระทำที่ไร้สาระและน่าตลกขบขัน

แล้วกษัตริย์ ได้ถามประธานองคมนตรีว่า :- ตำราของเราได้บันทึกในทำนองนี้ไว้จริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้วขอรับ ! มีตำราบางส่วนได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้น พวกเราจะศรัทธาต่อศาสดาที่มีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นศาสดาของตนได้อย่างไร ? และเราจะมีความภาคภูมิใจในแบบฉบับอันงดงามและดำเนินตามท่านได้อย่างไร ?

เชคอับบาสีย์ :- ในที่นี้ เราจำเป็นจะต้องตีความ (ตะอ์วีล) หะดีษในทำนองนี้

สัยยิดอะละวีย์ :- หะดีษที่รายงานชัดเจนเช่นนี้ยังจะมีช่องโหว่ให้สามารถตีความได้อีกกระนั้นหรือ ? โอ้ กษัตริย์ ! พระองค์ทรงเป็นสักขีพยานแล้วว่า พวกท่านมีหลักความเชื่อและศรัทธาที่เหลวไหลไร้สาระและเต็มไปด้วยโมฆะอย่างไร ?

เชคอับบาสีย์ :- อะไรคือสิ่งที่ท่านกล่าวหาว่าเป็นความเชื่อที่เหลวไหลไร้สาระและเต็มไปด้วยโมฆะ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ :-

1. อัลลอฮฺ ทรงมีคุณลักษณะเหมือนมนุษย์ คือ มีมือ มีเท้า ดวงตา และ ........
2. คัมภีร์อัลกุรฺอานถูกสังคายนาและแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยมีทั้งในส่วนที่ถูกเพิ่มเติม และส่วนที่ถูกตัดทอน
3. ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มีวัตรปฏิบัติที่แม้แต่สามัญชนหรือปุถุชนทั่วไป ๆ ไปยังมีความละอายใจที่จะปฏิบัติเช่นนี้ โดยให้ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ขึ้นขี่คอของท่านเพื่อชมมหรสพ
4. เราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นศาสดาของท่าน
5. บุคคลที่เสวยอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺก่อนท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ล้วนแล้วแต่อาศัยอิทธิพลแห่งคมดาบ หรือได้มาด้วยวิธีการที่ไม่ชอบธรรมตามศาสนบัญญัติทั้งสิ้น
6. ตำราของอุละมาอ์พวกท่าน ที่ได้บันทึกหะดีษจากการรายงานของ อบูฮุร็อยเราะฮฺ และนักอุปโลกน์หะดีษคนอื่น ๆ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่คดในข้องอในกระดูก ขาดความน่าเชื่อถือ ...... นอกจากนี้ยังมีหลักความเชื่อที่โมฆะและเฉไฉออกจากวิถีที่เที่ยงธรรม





นี่คือวิถีสัจธรรม

กษัตริย์ :- ขอให้ท่านผ่านประเด็นนี้ และเริ่มต้นประเด็นอื่นต่อไปเถิด

ท่านนบีเบือนหน้าหนีสาวกตาบอดของตนจริงหรือ?
สัยยิดอะละวีย์ :- หลักความเชื่อของพวกท่านได้กล่าวพาดพิงถึงบุคลิกภาพของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ที่แม้แต่ปุถุชนทั่วไปยังไม่คู่ควรต่อบุคลิกภาพดังกล่าว

เชคอับบาสีย์ :- หมายความว่าอย่างไร ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ตัวอย่างเช่น พวกเขามีความเชื่อว่า สูเราะฮฺอะบะสะ 80 : 1 ﴿ عَبَسَ وَتَوَلَّى ﴾ “ เขาได้ทำหน้าบึ้งและผินหน้าไปทางอื่น ” ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะเสียหายตรงไหน !

สัยยิดอะละวีย์ :- ความเสียหายย่อมมีอย่างแน่นอน เพราะเป็นความเชื่อที่ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับโองการที่อัลลอฮฺได้ทรงค้ำประกันถึงบุคลิกภาพที่งดงาม ของศาสนทูตของพระองค์ (ศ) ว่า :-

وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ
“และแท้จริง เจ้าคือผู้มีจริยธรรมที่สูงส่ง” (สูเราะฮฺเกาะลัม 68 : 4)

หรือโองการที่พระองค์ทรงตรัสว่า :-
وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ
“และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจาก เพื่อความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง” (สูเราะฮฺอัมบิยาอ์ 21 : 107)

ท่านคิดว่าสติปัญญาของวิญญูชนจะจำนนหรือว่า ศาสนทูตที่อัลลอฮฺได้ทรงค้ำประกันทั้งในด้านศีลธรรม จริยธรรมของเขาว่ายิ่งใหญ่ สูงส่งและงดงาม และยังถูกประทานมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง จะกลับกลายเป็นผู้ที่ไร้มารยาท ไร้มนุษยธรรม ประพฤติไม่เหมาะสมต่อผู้ศรัทธาเพียงแค่เขาเป็นผู้มีดวงตาบอดทั้งสองข้าง ? !

กษัตริย์ :- สิ่งนี้ย่อมไม่กินกับสติปัญญาอย่างแน่นอน ที่ศาสนทูตผู้ชี้นำประชาชาติ และศาสดาแห่งความเมตตาจะมีวัตรปฏิบัติเช่นนี้
ถ้าเช่นนั้น ตามหลักความเชื่อของชาวชีอะฮฺถือว่าสูเราะฮฺดังกล่าวถูกประทานลงมาเกี่ยวกับใครหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- มีหะดีษเศาะหี๊หฺที่ได้รับการรายงานผ่านบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) (ซึ่งอัลกุรฺอานได้ถูกประทานลงมา ณ บ้านของพวกเขา) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สูเราะฮฺ “อะบะสะ” ถูกประทานลงมาเพื่อตำหนิ “อุษมาน บินอัฟฟาน” เมื่อครั้งที่ “อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมมิมักตูม” ได้ไปหาเขา แต่แล้วอุษมานได้ทำหน้าบึ้งตึงใส่เขา และได้แสดงความรังเกียจด้วยการผินหน้าออกไปจากเขา

เมื่อ สัยยิดอะละวีย์ กล่าวจบ สัยยิดญะมาลุดดีน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุละมาอ์ชีอะฮฺที่เข้าร่วมสนทนาทางวิชาการในครั้งนี้ด้วย ได้ขออนุญาตที่ประชุมกล่าวเสริมขึ้นว่า :-
เกี่ยวกับสูเราะฮฺอะบะสะนี้ ข้าพเจ้ามีเรื่องเล่าที่ใคร่จะเรียนกับท่านผู้มีเกียรติ ณ ที่นี้ว่า ครั้งหนึ่ง บาทหลวงชาวคริสเตียนคนหนึ่งได้สำแดงความภาคภูมิใจในศาสดาของเขาให้ข้าพเจ้าฟังว่า :- ท่านเยซู (อ) ผู้เป็นศาสดาของเราชาวคริสเตียนมีบุคลิกภาพและจริยธรรมสูงส่งเหนือกว่าศาสดามุหัมมัด (ศ) ของพวกท่าน”

ข้าพเจ้าจึงถามเขาว่า :- ท่านพอจะหยิบยกหลักฐาน และข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ไหม ?

บาทหลวงคริสเตียน :- เนื่องจากศาสดาของพวกท่านเป็นบุคคลที่ไร้มารยาทในวัตรปฏิบัติต่อชายตาบอด เมื่อเขาได้แสดงความรังเกียจทำสีหน้าบึ้งตึงและผินหน้าออกจากชายตาบอดผู้นั้น ในขณะที่ศาสดาเยซู (อ) ของเราเป็นผู้ที่มีมารยาทงดงาม และยังเป็นผู้ที่มีวัตรปฏิบัติด้วยการช่วยเหลือคนเจ็บป่วยอย่างมากมายอีกด้วย

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกับเขาว่า :- โอ้ ท่านบาทหลวง ! เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะได้รับทราบว่า ตามหลักความเชื่อของเราชาวชีอะฮฺถือว่า สูเราะฮฺอะบะสะที่พวกท่านเชื่อว่าถูกประทานลงมา เพื่อตำหนิมารยาทที่ไม่เหมาะสมของท่านศาสดามุหัมมัด (ศ) นั้น แท้ที่จริง บุคคลผู้นั้นคือ อุษมาน บินอัฟฟาน ต่างหากเล่า ทั้งนี้ เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะได้ทรงประทานโองการมากมายที่เป็นการรับรองผู้เป็นศาสดาสุดท้ายของพระองค์ ว่าเป็นผู้ที่มีแบบฉบับอันงดงาม และมีจริยธรรมอันสูงส่ง และท่านถูกส่งลงมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่ชาวโลกทั้งผอง

บาทหลวงผู้นั้นจึงกล่าวกับข้าพเจ้าว่า :- สิ่งที่ฉันกล่าวกับท่านนั้น ฉันได้ฟังมาจากคำปราศรัยในมัสญิดกรุงแบกแดดนี้เอง

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกับเขาว่า :- ตามหลักความเชื่อของชาวชีอะฮฺ ถือว่าหะดีษในทำนองนี้ถูกรายงานจากบุคคลที่มีประวัติเสื่อมเสีย และเป็นคนโป้ปดมดเท็จ ทั้งนี้ พวกเขาปรารถนาจะประพันธ์นิยายขึ้นมาเพื่อดับรัศมีของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และปิดบังโฉมหน้าที่เต็มไปด้วยมลทินและความมัวหมองของท่านอุษมานให้พ้นไปจากการประณามสาปแช่งของประชาคมมุสลิม

ข้าพเจ้า ได้กล่าวกับบาทหลวงต่อไปว่า : - พวกเขาพยายามใส่ร้ายท่าน เราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เพียงเพื่อที่จะช่วยกันปกปิดมลทินและความเสื่อมเสียให้พ้นจากระบบราชวงศ์และบรรดาเคาะลีฟะฮฺของตนนั่นเอง

กษัตริย์ :- ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มประเด็นต่อไปเถิด

เคาะลีฟะฮ์บางท่านถูกศาสดาประณามจริงหรือ?
เชคอับบาสีย์ :- เหตุผลที่พวกชีอะฮฺปฏิเสธต่อเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสามเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าบุคคลทั้งสามมิได้เป็นผู้ศรัทธาแล้วไซร้ ท่านศาสดา (ศ) จะยอมยกบุตรีให้สมรสกับพวกเขา และตัวท่านเองจะยอมสมรสกับบุตรีของพวกเขาได้อย่างไร ?

สัยยิดอะละวีย์ :- บุคคลทั้งสามมิได้มีศรัทธาจากก้นบึ้งของหัวใจถึงแม้ว่ารูปภายนอกและลิ้นของพวกเขาจะเปล่งวาจาและสำแดงอิสลามออกมาก็ตาม แต่หน้าที่ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ก็คือ ใครก็ตามที่ปฏิญาณตนต่อปฏิญญาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง(กะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์) ท่านศาสดาก็จะปฏิบัติต่อเขาเหมือนมุสลิมทั่วไป ถึงแม้ว่าในความเป็นจริง บุคคลผู้นั้นจะไม่จริงใจก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ การที่ท่าน (ศ) ยกบุตรีให้แต่งงานกับพวกเขา หรือการที่ท่านสมรสกับบุตรีของพวกเขา จึงเป็นไปด้วยเหตุผลดังกล่าว

เชคอับบาสีย์ :- ท่านมีหลักฐานและข้อพิสูจน์อะไรที่กล่าวหาว่า ท่านอบูบักรฺ มิใช่ผู้ศรัทธาอย่างมั่นคง ?

ท่านอบูบักรเคยหนีทัพ
สัยยิดอะลาวีย์ :- หลักฐานและข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้มีอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่นบ่อยครั้งที่ อบูบักรฺ ได้สำแดงความเป็นผู้ทรยศต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ดังที่เขาได้หนีทัพภายใต้การบังคับบัญชาของอุสามะฮฺ ซึ่งเท่ากับเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า ใครก็ตามที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่าน (ศ) เขาผู้นั้นมิได้มีความศรัทธา :-

فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ
بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُواْ فِي أَنفُسِهِمْ حَرَجًا مِّمَّا قَضَيْتَ
وَيُسَلِّمُواْ تَسْلِيمًا
“หาใช่เช่นนั้นไม่ ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า พวกเขาจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะมอบหมายให้เจ้าตัดสินข้อพิพาทระหว่างพวกเขา หลังจากนั้น พวกเขาจะไม่ประสบกับความคับแค้นใด ๆ ในหัวใจของพวกเขาจากที่เจ้าได้ตัดสิน และพวกเขายอมมอบหมายโดยดุษฎี”(สูเราะฮฺนิสาอ์ 4 : 65)

จากหลักฐานดังกล่าว ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ท่านอบูบักรฺ ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และตกอยู่ในฐานะของผู้ที่โองการดังกล่าวได้สาธยายไว้

นอกจากนั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ยังได้สาปแช่งบุคคลที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอุสามะฮฺ ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ท่านอบูบักรฺได้หนีทัพกลับสู่นครมะดีนะฮฺกับท่านอุมัรฺ
ท่านเชคคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะประณามสาปแช่งผู้ศรัทธา ? !
แน่นอนย่อมเป็นสิ่งที่ห่างไกลและเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้นถ้อยคำของ สัยยิดอะละวีย์ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่กล่าวว่าท่านอบูบักรฺ มิได้เป็นผู้มั่นคงในศรัทธา

ประธานองคมนตรี :- อุละมาอ์ชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺได้ตีความและมีคำอธิบาย เกี่ยวกับการฝ่าฝืนและบ่ายเบี่ยงของ ท่านอบูบักรฺ

กษัตริย์ :- การตีความและคำอธิบายจะสามารถขจัดสิ่งต้องห้าม (หะรอม) ให้ตกไปกระนั้นหรือ ? มาตรว่า เราประสงค์จะเปิดประตูของการตีความ โดยไม่ใส่ใจต่อหลักการแล้วไซร้ อาชญากรและผู้สร้างความเสื่อมทรามบนหน้าแผ่นดิน ย่อมจะมีข้ออ้างที่จะหยิบยกมาปกป้องอาชญากรรมของตนอย่างไม่ต้องสงสัย ! หัวขโมยจะอ้างว่า เพราะความยากจนข้นแค้น ฉันจึงต้องยึดอาชีพโจร !

พวกขี้เหล้าก็จะพากันกล่าวว่า :- เพราะความกลัดกลุ้มในปัญหาที่รุมเร้า จนไม่สามารถหาทางออกอย่างอื่นได้ เราจึงต้องตั้งวงสุราเมรัย
พวกที่ประพฤติผิดประเวณี ก็จะอ้างว่า :- เพราะเหล่าหญิงสาวยั่วยวนใจ
พวกที่ชอบเล่นการพนัน ก็จะอ้างว่า :- เพราะว่างไม่รู้จะทำอะไร หรือเพราะอยากรวยทางลัด ดังนี้เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ สังคมก็จะเต็มไปด้วยความไร้ระเบียบวินัย และประชาชนจะกล้าที่จะประพฤติผิดศีลธรรมและก่ออาชญากรรม ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เชื่อว่าการยึดถือการตีความและหาข้ออ้างให้อยู่เหนือหลักการจะใช้ได้ผลกับคำสอนของศาสนา

สีหน้าของ เชคอับบาสีย์ แดงก่ำและเต็มไปด้วยความระส่ำระสายจนไม่รู้ว่าจะกล่าวอย่างไร แต่หลังจากครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง เขาจึงตั้งคำถามต่อไปว่า :-
ความเคลือบแคลงของท่านอุมัร
แล้วหลักฐานและข้อพิสูจน์ว่า ท่านอุมัรฺ มิได้เป็นผู้ศรัทธาอย่างสนิทใจล่ะ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- แน่นอน กรณีการไม่มั่นคงในศรัทธาของท่านอุมัรฺ ก็มีหลักฐานและข้อพิสูจน์อย่างมากมายเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านอุมัรฺเป็นผู้สารภาพถึงการไม่ศรัทธาของเขา !

เชคอับบาสีย์ :- ที่ไหน ? เมื่อไร ?

สัยยิดอะลาวีย์ :- เมื่อครั้งที่เขากล่าวว่า :- “ฉันไม่เคยมีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นศาสดา (นบี) ของมุหัมมัด (ศ) เท่ากับวันแห่ง “สงครามหุดัยบียะฮฺ” เลย

ถ้อยคำของ ท่านอุมัรฺข้างต้นถือเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า ตลอดระยะเวลาเขาไม่เคยมีความศรัทธาในความเป็นศาสดาของท่าน (ศ) มาก่อน และความเคลือบแคลงสงสัยของเขาได้เดินทางไปสู่จุดเดือดเหนือกรณีอื่นใดทั้งหมดในวันแห่งหุดัยบียะฮฺนั่นเอง

โอ้ เชคอับบาส ! ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ! ขอให้ท่านได้ตอบข้าพเจ้าเถิดว่าบุคคลที่มีความเคลือบแคลงสงสัยในความเป็นศาสดาของมุหัมมัด (ศ) ท่านจะยังถือว่าเขาเป็น “มุอ์มิน” อยู่หรือ ?

เชคอับบาสีย์ นั่งนิ่งเงียบและก้มหน้าลงต่ำด้วยความอับอาย

กษัตริย์ จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- คำชี้แจงของสัยยิดอะละวีย์ เกี่ยวกับท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ มีมูลความจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- นักรายงานหะดีษได้รายงานเอาไว้เช่นนั้นจริง

กษัตริย์ :- มันช่างเป็นสิ่งที่น่าพิศวงงงงันยิ่งนัก ! ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ท่านอุมัรฺ คือหนึ่งในชนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม และเป็นผู้ที่มีความศรัทธาอย่างมั่นคง แต่ทว่า ณ บัดนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ความศรัทธาต่ออิสลามของเขาเป็นสิ่งที่น่าคลางแคลงยิ่งนัก

เชคอับบาสีย์ :- ขอให้ท่านอดทนเถิด โอ้ กษัตริย์ ! ขอให้ยืนหยัดอย่างมั่นคงในหลักศรัทธาของท่านต่อไปเถิด อย่าให้ถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความโป้ปดมดเท็จของสัยยิดอะละวีย์ทำให้ท่านหันเหไปจากสัจธรรมเลย

กษัตริย์ จึงหันไปทาง เชคอับบาสีย์ และกล่าวด้วยความโกรธกริ้วว่า :- ท่านนิซอมุลมุลก์ ประธานองคมนตรีได้ยืนยันแล้วว่า :- คำชี้แจงของท่านสัยยิดอะละวีย์มีมูลความจริงตามที่ตำราหะดีษได้บันทึกไว้ แต่ท่านเชคกลับกล่าวหาว่าเขาโกหก จะไม่ถือว่าท่านเป็นผู้ที่ถือทิฐิ (ตะอัศศุบ) หรอกหรือ ?

ความเงียบได้ปกคลุมสถานที่ประชุมนั้นเป็นเวลานาน ในขณะที่กษัตริย์ยังคงอยู่ในอารมณ์ขุ่นเคือง .... เชคอับบาสีย์กับอุละมาอ์สุนนีต่างก้มหน้านิ่งเงียบ ...... ส่วนประธานองคมนตรีก็ไม่ต่างอะไรกับพวกเขา .. ในขณะที่สัยยิดอะละวีย์ได้เงยหน้าขึ้นมองกษัตริย์เพื่อรอฟังผลลัพท์ว่าจะเป็นเช่นไร

ช่วงวินาทีวิกฤติได้ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า จนดูประหนึ่งว่าเชคอับบาสีย์ อยากจะแทรกแผ่นดินหนีจากธารกำนัน หรือให้พื้นธรณีสูบพวกเขาไปเสีย หรือไม่ก็ให้ทูตมรณะ (มลิกุลเมาตฺ) รีบลงมาปลิดวิญญาณของพวกเขาไปโดยพลัน พวกเขาต่างได้รับความอับอายและประสบกับภาวะคับขันนั้นอย่างลำเค็ญ โมฆะกรรมแห่งหลักศรัทธาได้ถูกแฉท่ามกลางสาธารณชน พวกเขาจะหาทางออกในภาวะคับขันนี้อย่างไร ?

สถานภาพของท่านอุษมาน
ในที่สุด กษัตริย์จึงได้ทำลายความเงียบด้วยการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการสนทนาต่อไปเพื่อให้สัจธรรมกับความเท็จได้ประจักษ์ชัดยิ่งขึ้น และแล้วเชคอับบาสีย์ ได้รวบรวมความกล้าเชิดหน้าถามขึ้นว่า :-

โอ้ สัยยิดอะละวีย์ ! ท่านกล้าใส่ร้ายท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ว่ามิได้ศรัทธาจากก้นบึ้งของหัวใจ ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ยก “รุก็อยยะฮฺ” และ “อุมมุกุลษูม” บุตรีทั้งสองของท่านให้สมรสกับเขา ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- มีหลักฐานและข้อพิสูจน์มากมายที่บ่งบอกว่าท่านอุษมานมิได้มีความศรัทธาอย่างแท้จริง และย่อมถือเป็นการเพียงพอแล้วที่เศาะหาบะฮฺและมุสลิมในสมัยนั้นต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าเขาสมควรจะถูกฆ่า ซึ่งในที่สุด พวกเขาก็ได้ร่วมกันสังหารเขาในที่สุด

พวกท่านเองเป็นผู้รายงานหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มิใช่หรือว่า ท่าน (ศ) ได้วจนะว่า :-

“ประชาชาติของฉันจะไม่ร่วมลงมติในสิ่งที่เป็นโมฆะ“

ด้วยเหตุนี้ ท่านคิดว่ามุสลิมในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เศาะหาบะฮฺชั้นนำหลายท่านรวมอยู่ด้วย จะมีทัศนะที่ตรงกันในการสังหารเศาะหาบะฮฺผู้มีอีมานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) กระนั้นหรือ ?

ในขณะเดียวกัน ท่านหญิงอาอิชะฮฺเองยังได้เปรียบเปรยท่านอุษมาน ว่าเป็นยะฮูดีย์ (ยิว) และได้ออกคำสั่งให้สังหารเขา โดยนางได้กล่าวว่า :-
“ท่านทั้งหลายจงจัดการสังหาร “นะอฺษัล” (ชื่อของชาวยิวคนหนึ่ง) เพราะเขาได้ตกอยู่ในฐานะของผู้ปฏิเสธ (กาฟิรฺ) เสียแล้ว จงสังหารนะอฺษัลเสีย และขออัลลอฮฺ ทรงสังหารเขาด้วยเถิด ขอให้นะอฺษัลจงพินาศ และห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์”

นอกจากนี้ เขายังสบประมาทและแสดงความเหยียดหยามด้วยการสั่งให้เฆี่ยน ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอูด เศาะหาบะฮฺผู้ทรงเกียรติคนหนึ่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จนเนื้อตัวของเขาแตกและระบมไปทั้งตัวและต้องจบชีวิตจากพิษของการเฆี่ยนตีดังกล่าว !
ยิ่งไปกว่านั้น อุษมาน บินอัฟฟาน ยังได้ออกคำสั่งเนรเทศ ท่านอบูซัรฺ ฆิฟารีย์ กัลยาณมิตรผู้สัตย์จริงของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ออกจากนครมะดีนะฮฺ มุเนาวะเราะฮฺ ถึงสองครั้งสองครา และได้ขับไล่เขาไปอยู่ที่ชาม (ซีเรีย) ถึงสองครั้งเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อจะทำลายเสี้ยนหนามและก้างขวางคอจากการใช้อำนาจอันอธรรมของเขา และครั้งสุดท้าย เขาได้เนรเทศท่านอบูซัรฺให้ไปตกระกำลำบาก และทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ยังทะเลทราย “รุบซะฮฺ” (ตั้งอยู่ระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ) ที่เต็มไปด้วยความทุรกันดาร ปราศจากน้ำ และสิ่งมีชีวิตทั้งธัญพืชและสัตว์ จนกระทั่ง ท่านอบูซัรฺ ต้องจบชีวิตลงเพราะความหิวโหย ณ ท้องทะเลทรายแห่งนั้น ในขณะที่ตัวของเขาและเครือญาติที่เป็นบริวารห้อมล้อม ทั้งจากราชวงศ์อะมาวีย์และมัรฺวานีย์ ต่างเสวยสุขด้วยการคอรัปชั่นจากบัยตุลมาล (กองคลัง) ของมุสลิมอย่างสุขเกษมเปรมปรีย์ อิ่มหมีพีมัน ในขณะที่ท่านอบูซัรฺ คือบุคคลที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เคยวจนะเกี่ยวกับเขาไว้ว่า :-

“ท้องฟ้ามิได้ปกคลุมผู้ใด และแผ่นดินก็มิได้รองรับผู้ใดที่จะมีความสัตย์จริงไปกว่าอบูซัรฺ” (หมายถึงบนพื้นปฐพีนี้ไม่มีใครที่จะสัตย์จริงยิ่งกว่าอบูซัรฺ) (ค้นคว้าเพิ่มเติมใน อัลเฆาะดีรฺ 8 / 294, 299, 305, 306)

หลังจากนั้น กษัตริย์ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- คำตอบของสัยยิดอะละวีย์มีมูลความจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชูรอ(คณะกรรมการ)สรรหาเคาะลีฟะฮ์หลังท่านอุมัร
กษัตริย์ :- แล้วเหตุใดมุสลิมในยุคนั้นจึงเลือกเขาขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ

ประธาน องคมนตรี:- ที่ประชุม (ชูรอ) ได้ลงมติเลือกเขาขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ ท่านประธาน ! ข้าพเจ้าขออนุญาตทักท้วง ได้โปรดอย่ากล่าวในสิ่งที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเลย

กษัตริย์ ! หมายความว่าอย่างไรหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- สิ่งที่ท่านประธานองคมนตรีได้กล่าวไปข้างต้นนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้ เนื่องจากเริ่มแรก ท่านอุษมานได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจากคำสั่งเสีย (วะศียะฮฺ) ของท่านอุมัรฺที่ให้จัดการเลือกเคาะลีฟะฮฺสืบต่อจากเขา โดยใช้ระบบชูรอ 6 คน หลังจากนั้น คนจำนวน 3 คน ได้เลือกเขาขึ้นมา

ท่านคิดว่าการตัดสินใจของคนทั้งสามจะสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานแทนเสียงของประชาคมมุสลิมทั้งหมดได้กระนั้นหรือ ?

นอกจากนั้น ตำราประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกอีกว่าหลังจากที่พวกเขาทั้งสามได้ประจักษ์ชัดถึงความไม่ดำรงในธรรมของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน กอปรกับการที่เขาปฏิบัติต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺ ผู้เป็นกัลยาณมิตรของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างลบหลู่ดูแคลน และยังได้แต่งตั้ง “กะอฺบุลอะหฺบารฺ” ชาวยิวขึ้นเป็นที่ปรึกษาแทนเศาะหาบะฮฺชั้นนำ ซึ่งถือเป็นการหยามศักดิ์ศรีมุสลิม และยังเล่นพรรคเล่นพวกในการจัดสรรปันส่วนบัยตุลมาล (ทรัพย์สินจากกองคลัง) เฉพาะในวงศ์ตระกูลมัรฺวานแล้ว พวกเขาจึงได้สนับสนุนประชาชนให้ร่วมกันสังหารอุษมาน !

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานว่า :- สิ่งที่สัยยิดกล่าวมาเป็นความจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง

กษัตริย์ :- แล้วเหตุใดท่านจึงกล่าวว่า ท่านอุษมาน ได้รับเลือกตั้งให้เป็น เคาะลีฟะฮฺจากมติที่ประชุม (ชูรอ) ?

ประธานองคมนตรี :- ที่ประชุมในที่นี้ ข้าพเจ้าหมายถึงมติของคน 3 คน

กษัตริย์ :- การตัดสินใจของคนเพียง 3 คน (จากจำนวน 6 คน) ในการเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ ถือว่าเป็นมติของที่ประชุม (ชูรอ) อย่างนั้นหรือ ? !

ประธานองคมนตรี :- ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แจ้งข่าวดีว่าคนทั้งสามคือชาวสวรรค์

ผู้ได้รับการแจ้งว่าเป็นชาวสวรรค์ก่อสงครามกันเอง?!
สัยยิดอะละวีย์ จึงกล่าวขึ้นว่า :- โอ้ ประธานองคมนตรี ! ข้าพเจ้าขออนุญาตท้วงติงว่าท่าน อย่าได้กล่าวในสิ่งที่ไม่มีมูลความจริงเลย เพราะหะดีษที่กล่าวว่า :-
“บุคคลทั้งสิบที่ได้รับแจ้งข่าวว่าเป็นชาวสวรรค์” นั้นเป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา และยังเป็นการโกหกใส่ร้ายท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อีกด้วย

เชคอับบาสีย์ :- ทำไมท่านจึงกล้าพูดเช่นนั้น ในเมื่อผู้ที่รายงานหะดีษดังกล่าว เป็นผู้ที่ได้รับความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- มีหลักฐานและเหตุผลมากมายที่สามารถใช้เป็นข้อพิสูจน์ว่าหะดีษข้างต้นถูกอุปโลกน์ขึ้นมา ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าจะขอหยิบยกมาเพียง 3 ข้อกล่าวคือ :-

1.เป็นไปได้อย่างไร ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะแจ้งข่าวดีว่า บุคคลที่ประทุษร้ายต่อท่านจะได้เข้าสู่สวรรค์ ? ทั้งนี้ เนื่องจากบรรดามุฟัสสิรีน (นักอรรถาธิบายอัลกุรฺอาน) และนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ตรงกันว่า “ฏ็อลหะฮฺ” ได้เคยกล่าวว่า :-
“มุหัมมัดสิ้นชีวิตเมื่อไร ฉันจะแต่งงานกับภรรยา (คนหนึ่ง) ของเขาอย่างแน่นอน”

หรือที่เขาได้กล่าวประโยคนี้อย่างชัดเจนว่า :-
“ฉันจะต้องแต่งงานกับอาอิชะฮฺอย่างแน่นอน”

จากคำพูดดังกล่าว เท่ากับเขาได้ประทุษร้ายต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างเปิดเผยและไม่ยี่หระต่อกฎเกณฑ์ใด ๆ ในขณะที่อัลลอฮฺ ทรงตรัสในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :-

وَمَا كَانَ لَكُمْ أَن تُؤْذُوا رَسُولَ اللَّهِ وَلَا أَن تَنكِحُوا
أَزْوَاجَهُ مِن بَعْدِهِ أَبَدًا إِنَّ ذَلِكُمْ كَانَ عِندَ اللَّهِ عَظِيمًا
“ไม่เป็นการสมควร (อย่างยิ่ง) ที่พวกเจ้าจะประทุษร้ายต่อเราะสูลุลลอฮฺ และพวกเจ้าจะต้องไม่แต่งงานกับบรรดาภริยาของเขา ภายหลังจากเขา (ได้เสียชีวิต) โดยเด็ดขาด แท้จริง การกระทำเช่นนี้ ณ อัลลอฮฺ ถือเป็นความผิดอันมหันต์” (สูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ 33 : 53)

2. ฏ็อลหะฮฺกับซุบัยรฺ ได้ร่วมกันก่อสงครามกับท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ในสงครามญะมัล ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวถึงเขาว่า :-

“โอ้ อะลี ! การทำสงครามกับเจ้า หมายถึง การทำสงครามกับฉันนั่นเอง และการเป็นพันธมิตรกับเจ้า ก็คือการเป็นพันธมิตรกับฉันนั่นเอง” (อิหฺกอกุลหักก์ 6 / 440 และ 7 / 296)

“บุคคลใดที่เชื่อฟังปฏิบัติตามอะลี แท้จริง เขาได้เชื่อฟังปฏิบัติตามฉัน และใครก็ตามที่ต่อต้านเขา แท้จริง เขาได้ต่อต้านฉันนั่นเอง” (อิหฺกอกุลหักก์ 6 / 419 และ 16 / 621)

“อะลี จะเคียงคู่กับกุรฺอาน และกุรฺอานจะเคียงคู่กับอะลี ทั้งสองจะไม่มีวันพรากจากกัน จนกว่าจะไปพบฉัน ณ สระน้ำเกาษัรฺ” (บิหารุลอันวารฺ 38 / 35)

“อะลีจะอยู่คู่สัจธรรม และสัจธรรมจะอยู่คู่อะลี สัจธรรมอยู่ที่ไหน อะลีจะอยู่ที่นั่นเสมอ” (อิหฺกอกุลหักก์ 4 / 27)

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ทำสงครามกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และฝ่าฝืนคำสั่งของท่าน จะได้เข้าสู่สวรรค์กระนั้นหรือ ? และบุคคลที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับสัจธรรมและอัลกุรฺอาน จะเป็นผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) กระนั้นหรือ ? !

3. ฏ็อลหะฮฺกับซุบัยรฺได้เพียรพยายามอย่างหนักในการสังหารท่านอุษมาน จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จะเป็นไปได้อย่างไรกันที่บุคคลทั้งสามจะได้อยู่ร่วมกันในสรวงสวรรค์ เพราะสองในสามได้ร่วมกันก่ออาชญากรรมสังหารอีกหนึ่งที่เหลือ ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-

“ทั้งผู้สังหารและผู้ถูกสังหารจะอยู่ในไฟนรก” ? !

กษัตริย์จึงถามด้วยความตะลึงงันว่า :- สิ่งที่ สัยยิดอะละวีย์ กล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริงหรือ ? !

ประธานองคมนตรี ได้แต่นั่งเงียบไม่ยอมกล่าวถ้อยคำใด ๆ ออกมา
ทางด้าน เชคอับบาสีย์ และคณะต่างก็ตกอยู่ในความเงียบงันเช่นกัน

พวกเขาจะพูดอย่างไรดี ? จะพูดความจริงออกมากระนั้นหรือ ?
ชัยฏอนจะเปิดโอกาสให้สามารถพูดในสิ่งที่เป็นสัจธรรมกระนั้นหรือ ? จิตสำนึกที่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำอยู่ตลอดเวลา จะกล้ายืนหยัดเผชิญหน้ากับ สัจธรรมความจริงได้อย่างไร ?

ท่านผู้มีวิจารณญาณคิดหรือว่า การยอมรับในสัจธรรมเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ?
หามิได้ ช่างเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เพราะนั่นหมายถึงการสลัดทิ้งสิ่งที่เป็นโมหคติ (ตะอัศศุบ) อวิชชา (ญาฮิลียะฮฺ) และการฝืนต่อนัฟซูที่เคยมีมาก่อนหน้านั้นอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่มนุษย์มักจะนิยมชมชอบที่จะปฏิบัติตามอำนาจแห่งอารมณ์ร้ายและสิ่งที่เป็นโมฆะกรรมทั้งหลาย ยกเว้น กลุ่มชนจำนวนเพียงเล็กน้อยที่เป็นผู้ศรัทธา

สัยยิดอะละวีย์ ได้ทำลายความเงียบด้วยการกล่าวขึ้นว่า :-
โอ้ กษัตริย์ ! ท่านประธานองคมนตรี เชคอับบาสีย์ และอุละมาอ์ผู้มีเกียรติที่นั่งอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ ท่านทั้งหลายต่างตระหนักถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปข้างต้นว่าคือสัจธรรมความจริงทั้งหมด และถ้าหากท่านเหล่านี้จะปฏิเสธคำพูดของข้าพเจ้า พวกเขาสามารถเรียกบรรดาอุละมาอ์ในกรุงแบกแดดเพื่อมาร่วมเป็นสักขีพยานในความสัตย์จริงนี้ได้ ในขณะเดียวกัน ห้องสมุดซึ่งถือเป็นขุมคลังแห่งความรู้ในโรงเรียนแห่งนี้ (นิซอมียะฮฺ) มีหนังสือและตำรับตำราที่ถือเป็นหลักฐานอ้างอิงที่ได้รับความเชื่อถือมากมายที่สามารถตรวจสอบความจริงจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหมด ...... ถ้าหากพวกเขายอมรับว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวมาว่าเป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นข้อยุติและยอมรับโดยปริยาย แต่ถ้าหากพวกเขาปฏิเสธ ข้าพเจ้าพร้อมที่จะนำตำราและหลักฐานอ้างอิงมาเสนอให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของท่านเดี๋ยวนี้

กษัตริย์ ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ท่านจะยืนยันในสิ่งที่สัยยิดอะละวีย์กล่าวมาทั้งหมดว่ามีหลักฐานปรากฎอยู่จริงในหนังสือและตำราหะดีษหรือไม่ ? !

ประธานองคมนตรี :- ใช่ครับ

กษัตริย์ :- แล้วเหตุใดในตอนแรกท่านจึงนิ่งเงียบ ? !

ประธานองคมนตรี:- ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาที่จะกล่าวพาดพิงในสิ่งที่เป็นอัปมงคลเกี่ยวกับเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

สัยยิดอะละวีย์ :- ช่างน่าพิศวงยิ่งนัก ! ท่านห่วงกังวลในสิ่งที่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์มิได้ห่วงกังวล อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงกล่าวถึงเศาะหาบะฮฺบางคนว่าเป็นมุนาฟิก และยังได้บัญชาให้เราะสูลของพระองค์ทำสงครามกับพวกเขา เฉกเช่นเดียวกับที่ได้ทำสงครามกับพวกกาฟิรฺ ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ก็ยังได้สาปแช่งเศาะหาบะฮฺของท่านด้วยเช่นกัน

ประธานองคมนตรี :- โอ้ สัยยิดอะละวีย์ ! ท่านไม่เคยได้ยินคำพูดของบรรดา อุละมาอ์ที่กล่าวว่า :- เศาะหาบะฮฺทั้งหมดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและความสัตย์จริง ?





นี่คือวิถีสัจธรรม

บรรดาเศาะฮาบะฮ์เป็นผู้ทรงธรรมทุกคนหรือไม่?
สัยยิดอะละวีย์ :- ทำไมข้าพเจ้าจะไม่เคยได้ยิน เพียงแต่ข้าพเจ้าตระหนักดีว่ามันเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อที่เต็มไปด้วยการปกปิดความจริง ทั้งนี้เนื่องจากจะเป็นไปได้อย่างไรกันที่เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลฮฺ (ศ) จะมีคุณธรรมและความสัตย์จริงทุกคน มิเช่นนั้น อัลลอฮฺจะทรงประณามสาปแช่งบางส่วนพวกเขาได้อย่างไร และท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เองก็ได้สาปแช่งพวกเขาด้วยเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการสาปแช่งและทำสงครามในระหว่างพวกเขากันเองอีกด้วย โดยฝ่ายหนึ่งด่าประณามอีกฝ่าย และหรือได้ฆ่าสังหารอีกฝ่ายหนึ่ง

เมื่อถึงตรงนี้ เชคอับบาสีย์ จึงตระหนักว่าไม่มีทางที่จะโต้แย้งสัยยิดอะละวีย์ ได้ เขาจึงคิดหาหนทางใหม่ โดยกล่าวว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดถาม สัยยิด อะละวีย์เถิดว่า มาตรว่า เคาะลีฟะฮฺทั้งสามมิใช่ผู้ศรัทธาแล้วไซร้ ด้วยเหตุใดที่มวลมุสลิมจึงพร้อมใจกันเลือกพวกเขาขึ้นเป็นผู้นำ และยอมเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขาโดยดุษฏี ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ประการแรก มุสลิมมิได้มีมติเป็นเอกฉันท์ยอมรับเคาะลีฟะฮฺทั้งสาม จะมีก็เพียงเฉพาะพวกท่านเท่านั้น
ประการต่อมา กลุ่มชนที่ให้การยอมรับคนทั้งสามเป็นเคาะลีฟะฮฺ มี 2 จำพวกคือ ประเภทไม่มีความรู้ หรือไม่ก็ตั้งตนเป็นศัตรูกับสัจธรรม

สำหรับกลุ่มชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง พวกเขาไม่เคยล่วงรู้ความจริงในสิ่งที่บุคคลทั้งสามได้ประพฤติมิชอบ โดยเข้าใจว่าเคาะลีฟะฮฺของพวกเขาเป็นผู้ทรงคุณธรรมและสะอาดบริสุทธิ์
ส่วนพวกที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับสัจธรรม พวกเขาไม่มีหลักฐานและข้อพิสูจน์ใด ๆ นอกจากความลุ่มหลงมัวเมา ดื้อด้านและความอคติเท่านั้น

อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า :-

﴿ وَإِن يَرَوْاْ كُلَّ آيَةٍ لاَّ يُؤْمِنُواْ بِهَا ﴾
แม้ว่าพวกเขาจะมองเห็นสัญญาณทั้งหมด พวกเขาก็จะไม่ศรัทธาต่อมันอยู่นั่นเอง” (สูเราะฮฺอะอฺรอฟ 7 : 146)

และพระองค์ยังตรัสอีกว่า :-

﴿سَوَاءٌ عَلَيْهِمْ أَأَنذَرْتَهُمْ أَمْ لَمْ تُنذِرْهُمْ لاَ يُؤْمِنُونَ﴾
“แท้จริง บรรดาผู้ปฏิเสธนั้น ย่อมเท่าเทียมกันสำหรับพวกเขา (ไม่ว่า) เจ้าจะเตือนสำทับพวกเขาหรือมิได้เตือนสำทับ พวกเขาก็ไม่ศรัทธา (หรอก)” (สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ 2 : 6)

ประการที่สาม กลุ่มชนที่เลือกบุคคลทั้งสามขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺล้วนได้ก่อความผิดบาปอย่างมหันต์ เฉกเช่นที่ชาวคริสต์ได้เคยก่อความผิดบาปมาแล้ว เมื่อพวกเขากล่าวว่า :- “เยซูคือบุตรของพระเจ้า” และที่ชาวยิวได้กล่าวว่า :- “อุซัยรฺ คือ บุตรของพระเจ้า”

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และอยู่ในวิถีแห่งสัจธรรม มิใช่ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างความผิดพลาดและเคยหลงทางมาก่อน ดังที่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งทรงตรัสว่า :-

أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ
“จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสนทูต” (สูเราะฮฺนิสาอ์ 4 : 59)

กษัตริย์ :- ขอให้ท่านปล่อยประเด็นนี้ให้ผ่านไป และเริ่มต้นประเด็นใหม่ต่อไปเถิด

การละทิ้งท่านอะลีเพื่อเชิดชูบุคคลอื่น
สัยยิดอะละวีย์ :- ความผิดพลาดอย่างมหันต์ของพวกท่านอีกประการหนึ่งก็คือการที่พวกท่านละทิ้งท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) แล้วหันไปปฏิบัติตามวิถีทางของบุคคลอื่น

เชคอับบาสีย์ :- ทำไม ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)ได้แต่งตั้งและสถาปนา อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ (อ) ให้เป็นตัวแทนและผู้ปกครองสืบต่อจากท่าน ในขณะที่ไม่เคยแต่งตั้งทั้ง อบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน ให้เป็นตัวแทนของท่านแต่อย่างใด หลังจากนั้น สัยยิดอะละวีย์ได้กล่าวกับกษัตริย์ว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! มาตรว่าท่านได้แต่งตั้งหรือกำหนดตัวบุคคลหนึ่งให้สืบราชสมบัติต่อจากท่าน ข้าราชบริพารและบุคคลชั้นนำจำเป็นต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านด้วยหรือไม่ ?

หรือพวกเขามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธบุคคลที่ท่านได้แต่งตั้งขึ้นมา และหันไปเลือกใครก็ได้ตามอำเภอใจของพวกเขา ?

กษัตริย์ :- เป็นสิ่งที่ชัดเจนที่พวกเขาจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ที่ฉันได้แต่งตั้ง ซึ่งเท่ากับพวกเขาได้ปฏิบัติตามฉันนั่นเอง

สัยยิดอะละวีย์ :- ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงขอยืนยันว่าชาวชีอะฮฺได้ยึดมั่นในกฏกติกานี้อย่างเคร่งครัดตลอดมา พวกเขาเชื่อฟังปฏิบัติตามตัวแทนที่อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งได้ทรงบัญชาให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แต่งตั้งและสถาปนา กล่าวคือ อะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เท่านั้น โดยพวกเขาปฏิเสธบุคคลอื่นที่มิได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากท่านอย่างสิ้นเชิง

เชคอับบาสีย์ :- อะลี อิบนุอบีฏอลิบ ไม่มีคุณสมบัติคู่ควรต่อการขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ทั้งนี้เนื่องจากเขายังมีอายุน้อย ในขณะที่ท่านอบูบักรฺ เป็นผู้อาวุโสกว่า นอกจากนั้น อะลียังได้สังหารบุคคลชั้นแนวหน้าชาวอาหรับผู้มีความองอาจกล้าหาญในสมรภูมิต่าง ๆ อย่างมากมาย ทำให้เป็นผู้ที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบและพึงประสงค์ของชาวอาหรับต่อการขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ในขณะที่ท่านอบูบักรฺ ไม่เคยมีประวัติเช่นนี้มาก่อน !

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! ท่านได้ยินแล้วใช่ไหมว่า เชคอับบาสีย์ ได้กล่าวอะไรออกไป ? นัยแห่งถ้อยคำของเขาก็คือ ประชาชนมีความเหนือกว่าทั้งอัลลอฮฺและเราะสูลุลลอฮฺของพระองค์ ในการกำหนดบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ! ทั้งนี้ เนื่องจากท่านเชคไม่ยอมรับในพระบัญชาของอัลลอฮฺและสิ่งที่เราะสูลของพระองค์ได้แต่งตั้ง อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ (อ) เป็นตัวแทนต่อจากท่าน แต่กลับให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของชาวอาหรับบางกลุ่มที่เล็งเห็นว่า ท่านอบูบักรฺ มีความเหมาะสมกว่า !

ประหนึ่งว่า ท่านเชคมิได้มีความยะกีนว่าอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง คือผู้ทรงรอบรู้และทรงวิทยปัญญาที่จะทรงสถาปนาบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมและมีความประเสริฐ จนต้องปล่อยให้ประชาชนผู้โง่เขลาจัดการเลือกตั้งผู้ที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ ? !

อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งมิได้ทรงตรัสหรอกหรือว่า :-

﴿ وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلَا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَمْرًا
أَن يَكُونَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ وَمَن يَعْصِ اللَّهَ
وَرَسُولَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا مُّبِينًا﴾
“ไม่บังควรสำหรับผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว พวกเขาไม่มีทางเลือก (เป็นอย่างอื่น) ในระหว่างพวกเขาเอง และบุคคลใดดื้อดึงต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ โดยแน่นอนยิ่ง เขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง “ (สูเราะฮฺอะหฺซาบ 33 : 36)

พระองค์มิได้ทรงตรัสหรอกหรือว่า :-

﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اسْتَجِيبُواْ لِلّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا
دَعَاكُم لِمَا يُحْيِيكُمْ ﴾
“โอ้ ศรัทธาชน ! จงตอบรับอัลลอฮฺและศาสนทูตเมื่อเขาได้เรียกร้องพวกเจ้าสู่สิ่งที่ช่วยชุบชีวิตของพวกเจ้า (ให้ได้รับทางนำที่สว่างไสว)” (สูเราะฮฺอันฟาล 8 : 24)

เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าไม่เคยกล่าวว่าประชาชนมีความรู้เหนือกว่าอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์

สัยยิดอะละวีย์ :- ถ้าเช่นนั้น คำพูดของท่านก็ย่อมไร้ความหมาย เพราะในเมื่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้กำหนดตัวบุคคลขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺและอิมามแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาไม่ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะยอมจำนนหรือเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม

ท่านอะลีมีคุณสมบัติไม่คู่ควรต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺกระนั้นหรือ?!
เชคอับบาสีย์ :- แต่ในขณะนั้น ท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ ยังมีคุณสมบัติที่ไม่คู่ควรต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ

สัยยิดอะละวีย์ :- ประการแรก คำพูดของท่านมีนัยว่าอัลลอฮฺทรงรู้จัก อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ (อ) น้อยไป และพระองค์ไม่ทรงตระหนักว่าเขามีคุณสมบัติที่ยังไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งดังกล่าว แต่กลับทรงบัญชาให้เราะสูลของพระองค์แต่งตั้งเขาขึ้นมา คำพูดของท่านดังกล่าวได้สำแดงการปฏิเสธ (กุฟรฺ) ออกมาอย่างชัดเจน
ประการที่สอง คุณสมบัติ เกียรติคุณ และฐานภาพของ อะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺและอิมามนั้น มีอย่างสมบูรณ์แบบและครอบคลุมที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีบุคคลใดที่จะมีความเหมาะสมคู่ควรเทียบเท่ากับเขา

เชคอับบาสีย์ :- ไหนท่านลองยกตัวอย่างมาซิว่ามีอะไรบ้าง ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ฐานภาพ เกียรติคุณ และคุณสมบัติต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของเขามีอย่างมากมาย เช่น

ประการแรก :- เขาได้รับการสถาปนาและแต่งตั้งจากอัลลอฮฺและเราะสูลุลของพระองค์
ประการต่อมา เป็นที่ยอมรับอย่างเอกฉันท์ว่า เขาเป็นผู้ที่มีความรู้สูงสุดเหนือกว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหมด ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“ผู้ที่มีความรู้สูงสุดและมีความเที่ยงธรรมที่สุดในหมู่พวกเจ้าคือ อะลี” (อิหฺกอกุลหักก์ 4 / 321 และ 15 / 370)

ท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ กล่าวว่า :- “ผู้ที่มีความเที่ยงธรรมที่สุดในหมู่พวกเราคืออะลี” 1
1. เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ – ตัฟสีรฺอายะฮฺ” มานันสัคมินอายะฮฺ .............. “เฏาะบะกอต อิบนุสะอฺดฺ 6 / 102 – อัลอิสตีอาบ 1 / 8 และ 2 / 164 – หิลยะตุลเอาลิยาอ์ 1 / 65 – อิหฺกอกุลหักก์ 8 / 61 และ 66

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะอีกว่า :- “ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูของมัน ดังนั้น บุคคลใดที่ประสงค์จะเข้าสู่นครและวิทยปัญญา เขาจะต้องเข้าทางประตูนี้เท่านั้น” (อิหฺกอกุลหักก์ 4 / 376 และ 5 / 52)
ท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เองได้กล่าวไว้ว่า :- “เราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ถ่ายทอดความรู้แก่ฉันถึงหนึ่งพันประตู แต่ละประตูจะมีประตูอื่นที่ถูกเปิดแก่ฉันอีกถึงหนึ่งพันประตู” (อิหฺกอกุลหักก์ 4 / 342 และ 6 / 40)

ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านักปราชญ์หรือผู้รู้นั้นย่อมขึ้นหน้าและมาก่อนผู้โง่เขลาเบาปัญญา ดังที่อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า :-

﴿ هَلْ يَسْتَوِي الَّذِينَ يَعْلَمُونَ وَالَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ ﴾
“จงกล่าวเถิด บรรดาผู้ที่มีความรู้จะเท่าเทียมกับผู้ไม่รู้กระนั้นหรือ ?” (สูเราะฮฺซุมัรฺ 39 : 9)

คุณสมบัติที่เหมาะสมประการที่สาม :- กล่าวเฉพาะในด้านของความรู้ อะลี (อ) ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงบุคคลอื่นใด ในขณะที่บุคคลอื่นต่างจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเขา ดังที่ท่านอบูบักรฺเป็นผู้กล่าวสารภาพเองว่า :- “ท่านทั้งหลายจงปล่อยฉันไปเถิด เพราะตราบใดที่อะลีอยู่ในท่ามกลางพวกท่าน ฉันจะไม่ใช่ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน” (อิหฺกอกุลหักก์ 8 / 240)

หรือที่ท่านอุมัรฺได้กล่าวสารภาพถึงความไม่เหมาะสมคู่ควรของตนในต่างกรรมต่างวาระกันไม่น้อยกว่า 70 ครั้ง ดังถ้อยคำที่ว่า :- “มาตรว่าปราศจากอะลีแล้วไซร้ ท่านอุมัรฺจะต้องประสบกับความพินาศอย่างแน่นอน” (มุสตัดร็อกหากิม กิตาบุศเศาะลาฮฺ 1 / 358 – อัลอิสตีอาบ อิบนุอับดิร็อบบะฮฺ 3 / 39 – มะนากิบคอรัซมีย์ 48 – ตัซกิเราะฮฺ อิบนุเญาซีย์ 87 – ตัฟสีรฺนีชาบูรีย์ สูเราะฮฺอะหฺกอฟ)

หรือที่เขากล่าวว่า :- “ขออัลลอฮฺอย่าให้อุปสรรคปัญหาแผ้วพานมาสู่ฉันโดยไม่มีท่านคอยขจัดมันออกไป โอ้ อบัลหะสัน ! (ตัซกิเราะฮฺ อิบนุเญาซีย์ 87 – มะนากิบคอรัซมีย์ 60 – ฟัยฎุลเฆาะดีรฺ 4 / 357)

หรือ ที่ท่านอุมัรฺได้สั่งสำทับไว้ว่า :- “ตราบใดที่อะลีอยู่ในมัสญิด พวกท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินพิพากษาข้อพิพาทใด ๆ”

คุณสมบัติที่เหมาะสมประการที่สี่ :- กรณีที่อะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ไม่เคยฝ่าฝืนอัลลอฮฺด้วยการประกอบความผิดอย่างสิ้นเชิงทั้งที่เป็นบาปเล็กและบาปใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น เขาไม่เคยเคารพสักการะเจว็ดใด ๆ นอกจากอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ตลอดชั่วชีวิต เขาไม่เคยก้มกราบต่อเจว็ดและพระเจ้าจอมปลอมทั้งหลาย ในขณะที่ทั้ง อบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน ล้วนต่างเคยฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺและกระทำความผิดบาป และเคยก้มกราบและเคารพสักการะบูชาเจว็ดมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า :-
﴿ لاَ يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ ﴾
“พันธสัญญาของข้าจะไม่ตกถึงบรรดาผู้อธรรม”(สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ 2 : 124)

เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่ประกอบกรรมความผิดบาป ก็คือผู้อธรรมนั่นเอง ด้วยสาเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่มีฐานภาพคู่ควรที่จะได้รับพันธสัญญาจากอัลลอฮฺ ต่อการรับตำแหน่งศาสดา (นบี) และตัวแทน (เคาะลีฟะฮฺ) ของศาสดา

คุณสมบัติที่เหมาะสมประการที่ห้า :-
อะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เป็นผู้ที่มีความคิด สติปัญญา และโลกทัศน์ที่บริสุทธิ์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดและเจริญเติบโตภายใต้อ้อมกอดของอิสลาม ในขณะที่ทั้งอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺ และอุษมาน ล้วนต่างมีความคิด สติปัญญา และโลกทัศน์มาจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความโสมมและป่วยไข้ของสังคม และคนทั้งสามยังเติบโตภายใต้อ้อมแขนของชัยฏอน ดังที่ท่านอบูบักรฺ ได้สารภาพเองว่า :-

“ในตัวของฉันมีชัยฏอนสิงสถิตย์อยู่ ซึ่งมันคอยหลอกหลอนฉันอยู่ตลอดเวลา” ในขณะที่ท่านอุมัรฺมักจะเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อยู่เสมอ ส่วนท่านอุษมานนั้นเล่า เป็นบุคคลที่มีอุดมการณ์ที่เฉไฉไปจากอิสลาม มีโลกทัศน์ที่คับแคบ และยังมีข้าราชบริพารที่มีความประพฤติเสื่อมเสียด้านศีลธรรมและจริยธรรม และคนเหล่านี้เองที่มีอิทธิพลทั้งด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการตัดสินปัญหาสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของเขา และมีผลต่อชะตากรรมของประชาชาติมุสลิม เฉกเช่น “วะซัม อิบนุวะซัม” ผู้ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้สาปแช่งทั้งตัวเขาและบุตรที่อยู่ที่ไขสันหลังของเขา ซึ่งจะถือกำเนิดในภายหลัง หรือ “มัรฺวาน บินหะกัม” และ “กะฮฺบุลอะหฺบารฺ” ชาวยะฮูดีย์ เป็นต้น

กษัตริย์ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- เป็นความจริงหรือที่ ท่านอบูบักรฺ เคยกล่าวว่า :- ในตัวของฉันมีชัยฏอนสิงสถิตย์อยู่ ซึ่งมันจะคอยหลอกหลอนฉันอยู่ตลอดเวลา” ? !

ประธานองคมนตรี :- มีรายงานในตำราหะดีษไว้เช่นนั้นจริง

ท่านอุมัรเคยฝ่าฝืนเราะสูลุลลอฮฺกระนั้นหรือ?!
กษัตริย์ :- เป็นความจริงหรือที่ท่านอุมัรฺได้ฝ่าฝืนต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ? !

ประธานองคมนตรี :- คงจะต้องถามสัยยิดอะละวีย์ว่า .... หมายถึงอะไร ?

สัยยิดอะลาวีย์ :- เป็นความจริงที่อุละมาอ์พวกท่านได้บันทึกในหนังสือหรือตำราที่เชื่อถือได้ของพวกเขาว่า ท่านอุมัรฺได้ฝ่าฝืนและคัดค้านคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ครั้งแล้วครั้งเล่า ต่างกรรมต่างวาระกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :-

1. เมื่อครั้งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะร่วมนมาซญะนะซะฮฺ (ศพ) อับดุลลอฮฺ อิบนุอุบัย ท่านอุมัรฺได้คัดค้านท่านด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวและไร้มารยาท ซึ่งถือเป็นการประทุษร้ายจิตใจของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ดังที่อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า :-
﴿ وَالَّذِينَ يُؤْذُونَ رَسُولَ اللّهِ لَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ ﴾
“บรรดาผู้ที่ประทุษร้ายต่อศาสนทูตของอัลลอฮฺ พวกเขาจะถูกลงโทษอย่างเจ็บปวด” (สูเราะฮฺเตาบะฮฺ 9 : 61)

2. เมื่อครั้งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) บัญชาให้เว้นช่วงเวลาระหว่างอุมเราะฮฺตะมัตตุ๊อฺ กับหัจญ์ตะมัตตุ๊อฺ และอนุญาตให้สามีภรรยาสามารถร่วมหลับนอนกันได ระหว่างหัจญ์กับอุมเราะฮฺ ทำให้ท่านอุมัรฺแสดงความไม่พอใจและคัดค้านท่าน (ศ) ด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า “ท่านจะให้น้ำอสุจิหลั่งออกจากอวัยวะเพศ ในขณะที่พวกเราครองชุดอิหฺรอมอยู่หรืออย่างไร ? ! “
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จึงตอบเขาไปว่า :-
“โดยธาตุแท้แล้วเจ้ามิได้มีความศรัทธาต่อสิ่งนี้อย่างสิ้นเชิง”

ประโยคดังกล่าว ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ต้องการจะประกาศให้สาธารณชนได้ประจักษ์ว่า ท่านอุมัรฺเป็นผู้ที่ปฏิเสธบทบัญญัติบางอย่างของอิสลาม

3. ท่านอุมัรฺ ยังต่อต้านการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) อีกด้วย โดยเขามิได้ศรัทธาต่อบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องนี้แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาได้ขึ้นสู่บัลลังก์กษัตริย์เขาได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่า :-
“มีมุตอะฮฺ 2 ประเภทที่เคยเป็นสิ่งอนุมัติ (หะลาล) ในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) บัดนี้ ฉันขอประกาศให้เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) ในสมัยของฉัน และใครก็ตามที่ฝ่าฝืน ฉันจะจัดการลงโทษเขา”

ในขณะที่ อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกริกเกียรติเกรียงไกร ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :-
فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ
“ดังนั้น สตรีคนใดที่พวกเจ้าเสพสุขกับนาง ก็จงมอบสินตอบแทนแก่นางเถิด”(สูเราะฮฺนิสาอ์ 4 : 24)

มุฟัสสิรีนได้อรรถาธิบายว่าอายะฮฺนี้ได้กล่าวถึงการอนุมัติให้มุตอะฮฺกับสตรี และภายหลังท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้ว บรรดามุสลิมได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงสมัยการปกครองของท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ และผลพวงจากการที่ท่านอุมัรฺได้ประกาศให้การมุตอะฮฺกับสตรีเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) นี้เอง ที่ทำให้การประพฤติผิดประเวณี (ซินา) ในหมู่มุสลิมเริ่มระบาดและแพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา )

อิมามอะลี (อ) กล่าวว่า :- “ถ้าท่านอุมัรฺไม่สั่งห้ามให้การมุตอะฮฺเป็นสิ่งหะรอมแล้ว จะไม่มีมุสลิมคนใดประพฤติผิดประเวณี (ซินา) นอกจากคนชั่วช้าบัดซบเท่านั้น”

ด้วยคำสั่งดังกล่าว เท่ากับ ท่านอุมัรฺ ได้สั่งยกเลิกและเพิกถอนชะรีอะฮฺหรือบทบัญญัติของอัลลอฮฺและแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จนกระทั่งการ ซินาและการประพฤติเสื่อมทรามในทางเพศได้กลายเป็นสิ่งที่แพร่หลายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งคัมภีร์อัลกุรฺอานได้สำทับไว้ว่า :-
﴿ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللّهُ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ ﴾
“และบุคคลใดที่ไม่ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา ชนเหล่านี้คือ الظَّالِمُونَ ผู้ปฏิเสธ
الْفَاسِقُونَ คือผู้อธรรม คือผู้ละเมิด” (สูเราะฮฺมาอิดะฮฺ 5 : 44, 45, 47)

4. ในการทำสนธิสัญญาหุดัยบียะฮฺ ก็เช่นกันที่ท่านอุมัรฺได้จาบจ้วงและล่วงละเมิดคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างเปิดเผยโดยไม่เกรงกลัวความผิดบาปใด ๆ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีอื่น ๆ อีกมากมายที่เขาได้ฝ่าฝืนและขัดคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และยังประทุษร้ายด้วยการใช้วาจาสามหาวและก้าวร้าวกับท่าน (ศ)

มุตอะฮฺเป็นสิ่งต้องห้ามจริงหรือ?
กษัตริย์ :- โดยส่วนตัว ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นด้วยกับการมุตอะฮฺกับบรรดาสตรี

สัยยิดอะละวีย์ :- ก่อนอื่น ท่านให้การยอมรับไหมว่า หลักการมุตอะฮฺ คือ ชะรีอะฮฺหรือศาสนบัญญัติในอิสลาม ?

กษัตริย์ :- ข้าพเจ้าไม่ยอมรับ

สัยยิดอะละวีย์ :- แล้วอายะฮฺข้างต้นที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้จะมีความหมายว่าอย่างไร ? !
“ดังนั้น สตรีคนใดที่พวกเจ้าเสพสุขกับนาง ก็จงมอบสินตอบแทนแก่นางเถิด”

นอกจากนี้ ถ้อยคำของท่านอุมัรฺที่กล่าวว่า :- มุตอะฮฺ 2 ประเภทที่เคยเป็นสิ่งหะลาลในสมัยเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ฉันได้ออกคำสั่งให้มันทั้งสองเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)” จะมีความหมายว่าอย่างไร ? !
คำพูดของเขามิได้บ่งบอกหรือว่าการมุตอะฮฺกับสตรีทั้งที่เป็นไทและและเชลย เคยเป็นที่อนุมัติและถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จนกระทั่งเข้าสู่ยุคสมัยการปกครองของอบูบักรฺ และสืบเรื่อยมาจนถึงช่วงการปกครองของท่านอุมัรฺ แต่ในที่สุดเขาได้สั่งยกเลิกและห้ามมุตอะฮฺอย่างสิ้นเชิง ?

โอ้ กษัตริย์ ! ท่านอุมัรฺเองก็เคยนิกาหฺมุตอะฮฺกับสตรีมาก่อน นอกจากนั้น อับดุลลอฮฺ อิบนุซุบัยรฺ ก็คือผลพวงของการแต่งงานแบบมุตอะฮฺ ด้วยเช่นกัน !

กษัตริย์ :- โอ้ นิซอมุลมุลก์ ! ท่านมีทัศนะอย่างไรในเรื่องนี้ ?

ประธานองคมนตรี :- หลักฐานและข้อพิสูจน์ที่สัยยิดอะละวีย์ได้หยิบยกมานั้นเป็นสิ่งถูกต้อง และไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ แต่เนื่องจากท่านอุมัรฺเป็นผู้ออกคำสั่งห้ามมัน ดังนั้น จำเป็นที่เราจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม

สัยยิดอะละวีย์ :- ระหว่าง อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ กับท่านอุมัรฺ ท่านคิดว่าใครที่คู่ควรต่อการเชื่อฟังและปฏิบัติตามมากกว่า ?

โอ้ ประธานองคมนตรี ! ท่านไม่เคยอ่านโองการนี้หรอกหรือ ? :-
مَا آتَاكُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ
”และสิ่งใดที่เราะสูลุลลอฮฺได้นำมายังพวกเจ้า ก็จงยึดถือปฏิบัติตามเถิด”(สูเราะฮฺหัชรฺ 59 : 7)

وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ
“และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะสูลเถิด”(สูเราะฮฺนิสาอ์ 4 : 59)

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ
“โดยแน่นอนยิ่ง ในศาสนทูตของอัลลอฮฺ มีแบบฉบับที่งดงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว” (สูเราะฮฺอะหฺซาบ 33 : 21)

และท่านไม่เคยได้ยินหะดีษที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนี้หรอกหรือ ? :-
“หะลาล (ข้ออนุมัติ) ของมุหัมมัด (ศ) จะเป็นสิ่งที่หะลาลจนถึงวันกิยามะฮฺ และหะรอม (ข้อห้าม) ของมุหัมมัด (ศ) จะเป็นสิ่งที่หะรอมจนถึงวันกิยามะฮฺ (เช่นกัน)”

กษัตริย์ :- ข้าพเจ้าศรัทธาและยอมจำนนต่อชะรีอะฮฺหรือบทบัญญัติแห่งอิสลามอย่างสิ้นเชิง แต่สำหรับกรณีของการนิกาหฺแบบมุตอะฮฺแล้ว ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีบทบัญญัติเช่นนี้ด้วย ? มีใครในหมู่พวกท่านที่ยินดียกบุตรีหรือน้องสาวของตนให้แต่งงานชั่วคราวกับผู้ชาย ? นี่จะไม่ถือเป็นบทบัญญัติที่น่ารังเกียจและน่าอับอายขายหน้ากระนั้นหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! แล้วในกรณีที่ผู้ปกครอง (วะลีย์) ยกลูกสาวหรือน้องสาวของตนให้แต่งงานแบบถาวรกับชายคนหนึ่ง โดยที่เขาตระหนักดีว่าภายหลังจากทั้งคู่ได้ร่วมหลับนอนกันไม่นาน ฝ่ายสามีจะหย่า (เฏาะล๊าก) ภรรยาของเขา ?

กษัตริย์ :- ข้าพเจ้าก็ไม่ยอมรับกรณีนี้เช่นกัน

สัยยิดอะละวีย์ :- ในขณะที่พวกท่านถือว่าการแต่งงานถาวรโดยที่ฝ่ายชายสามารถหย่าภรรยาของตนภายหลังจากได้เสพสุขกับนางนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้น แล้วจะมีข้อแตกต่างอันใดระหว่างการแต่งงานถาวรดังกล่าว กับการแต่งงานชั่วคราว เพียงแต่การแต่งงานชั่วคราวจะมีเงื่อนไขเวลาที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้เป็นข้อยุติ ในขณะที่การแต่งงานแบบถาวรจะมีคำหย่าของสามีเป็นที่สิ้นสุดแห่งความเป็นสามีภรรยากันเท่านั้น

ดังนั้น หลักชะรีอะฮฺของมุตอะฮฺจึงถือเป็นบทบัญญัติที่ถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยขจัดความต้องการทางเพศของมนุษย์ ในขณะที่ชะรีอะฮฺของนิกาหฺดาอิม ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการเฏาะล๊าก ก็เป็นบทบัญญัติที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพื่อช่วยบรรเทาความปรารถนาทางธรรมชาติของมนุษย์เช่นเดียวกัน
โอ้ กษัตริย์ ! ต่อไปนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาตถามท่านบ้างว่าในกรณีของหญิงหม้ายที่ขาดไร้สามี และไม่มีชายใดมาสู่ขอเป็นภรรยาอย่างถาวร ท่านจะมีคำตอบและแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

ท่านคิดว่าจะมีวิธีการใดที่จะปกป้องนางให้พ้นจากการประพฤติผิดประเวณีและสร้างความเสื่อมเสียต่อสังคม นอกจากวิถีแห่งมุตอะฮฺ ? !
ด้วยวิถีทางมุตอะฮฺ จะไม่เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพวกนาง ตลอดจนลูกกำพร้าที่พวกนางต้องให้การเลี้ยงดูหรอกหรือ ? !

ในกรณีของคนหนุ่ม วัยรุ่น หรือผู้ชายที่ยังไม่สามารถจะแต่งงานแบบถาวรได้ ท่านจะมีคำตอบในเรื่องนี้อย่างไร ?
การนิกาหฺมุตอะฮฺมิใช่หนทางที่จะช่วยแก้ปัญหาความต้องการทางเพศ และปกป้องพวกเขาให้พ้นจากการประพฤตินอกลู่นอกทางหรอกหรือ ? !

การมุตอะฮฺจะไม่ดีกว่าการทำซินา ซึ่งถือเป็นบาปมหันต์ หรือรักร่วมเพศ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรอกหรือ ?
โอ้ กษัตริย์ ! โดยข้อเท็จจริงแล้ว สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้มีการประพฤติผิดประเวณี การทำรักร่วมเพศ และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองกลายเป็นสิ่งแพร่หลายในสังคม ก็คือคำสั่งห้ามมิให้มีมุตอะฮฺของท่านอุมัรฺนั่นเอง และไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ท่านอุมัรฺจะต้องมีส่วนรับผิดชอบและมีภาคีในความผิดบาปที่ประชาชนในยุคหลังได้ประพฤติผิดประเวณีด้วยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เนื่องจากเขาเป็นผู้ออกคำสั่งให้สิ่งหะลาลกลายเป็นสิ่งหะรอมนั่นเอง

มีรายงานมากมายที่ได้กล่าวว่าการประพฤติผิดประเวณีได้แพร่ระบาดในสังคมก็เนื่องจากคำสั่งห้ามมิให้มีการมุตอะฮฺของท่านอุมัรฺนั่นเอง

โอ้ กษัตริย์ ! คำตอบต่อกรณีที่ท่านได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติในเรื่องมุตอะฮฺ .... นั้นก็คือ อัลลอฮฺมิได้ประทานบทบัญญัติในเรื่องมุตอะฮฺลงมาเพื่อบังคับให้บ่าวทุกคนต้องปฏิบัติตาม เช่นเดียวกับกรณีของการนิกาหฺแบบถาวร ท่านก็มิได้ถูกบีบบังคับว่าจะต้องยกธิดาของท่านให้แต่งงานถาวรกับบุรุษคนใด โดยที่ท่านตระหนักดีว่าเขาอาจจะหย่าขาดจากธิดาของท่านภายหลังจากได้แต่งงานผ่านพ้นไปเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ นอกจากนั้น การที่ท่านหรือประชาชนไม่เห็นด้วยในบทบัญญัติใดบทบัญญัติหนึ่งนั้น หาใช่เหตุผลที่จะนำมาหักล้างหรือถือว่าบทบัญญัตินั้น ๆ เป็นสิ่งไม่ถูกต้องหรือเป็นสิ่งต้องห้ามแต่อย่างใดไม่ ทั้งนี้เนื่องจากชะรีอะฮฺหรือคำสั่งของอัลลอฮฺนั้นเป็นสิ่งมั่นคงถาวรและจะไม่มีผลกระทบหรือเปลี่ยนแปลงเพียงเพราะทัศนคติ การไม่ชอบหรือไม่ยอมรับของประชาชนอย่างแน่นอน !

กษัตริย์จึงได้หันไปถามประทานองคมนตรีว่า :- หลักฐานและข้อพิสูจน์ของสัยยิดอะละวีย์ในกรณีข้ออนุมัติให้มุตอะฮฺได้นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ ?

ประธานองคมนตรีมิได้ตอบคำถามนี้โดยตรง แต่เขากลับเลี่ยงด้วยการกล่าวว่า :- บรรดาอุละมาอ์ได้ถือปฏิบัติตามทัศนะของท่านอุมัรฺ

สัยยิดอะละวีย์ จึงกล่าวว่า :-
ประการที่หนึ่ง :- เฉพาะอุละมาอ์ของสุนนีเท่านั้นที่ถือปฏิบัติตามทัศนะของท่านอุมัรฺ มิใช่อุละมาอ์ทั้งหมด
ประการที่สอง :- พระบัญชาของอัลลอฮฺคู่ควรต่อการเชื่อฟังและปฏิบัติตามมากกว่า หรือว่าคำสั่งของท่านอุมัรฺ ? !
ประการที่สาม :- อุละมาอ์ของพวกท่านเองที่เป็นผู้ฝ่าฝืนและทำลายคำสั่งของท่านอุมัรฺ !





นี่คือวิถีสัจธรรม

ประธาน :- ท่านหมายความว่าอย่างไร ?

สัยยิดอะละวีย์ :- เพราะท่านอุมัรฺได้กล่าวไว้ว่า :- มุตอะฮฺ 2 ประเภทที่เคยเป็นสิ่งหะลาลในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ซึ่งฉันขอประกาศให้บทบัญญัติทั้งสองเป็นสิ่งหะรอม นั่นคือมุตอะฮฺหัจญ์ และมุตอะฮฺสตรี

ดังนั้น ถ้าหากอุละมาอ์เหล่านั้นยึดถือคำสั่งห้ามของท่านอุมัรฺเป็นสรณะและเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว เหตุใดพวกเขาจึงไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามในกรณีของมุตอะฮฺหัจญ์ ? พวกเขาได้ละเมิดและฝ่าฝืนคำสั่งของท่านอุมัรฺด้วยการกล่าวว่า :- “มุตอะฮฺหัจญ์ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง” ทั้ง ๆ ที่ท่านอุมัรฺได้สั่งห้ามและถือเป็นสิ่งหะรอม !
แต่ถ้าหากอุละมาอ์เหล่านั้นถือว่าคำสั่งห้ามของท่านอุมัรฺเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง ทำไมพวกเขาจึงยอมเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของเขาในเรื่องมุตอะฮฺสตรี ด้วยการคล้อยตามทัศนะของเขาอย่างเป็นเอกฉันท์ ? !

ประธานองคมนตรีได้แต่นิ่งเงียบไม่สามารถกล่าวสิ่งใดออกมา

กษัตริย์จึงได้หันไปทางอุละมาอ์ของสุนนีและถามขึ้นว่า :- ทำไมพวกท่านจึงไม่ยอมตอบคำถามของสัยยิดอะละวีย์ ? !

เชคหะสัน กอสิมีย์ ผู้เป็นอุละมาอ์คนหนึ่งของชีอะฮฺที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนั้นจึงกล่าวขึ้นว่า :- เพราะหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่สัยยิดอะละวีย์ได้นำเสนอเพื่อหักล้างคำสั่งห้ามของท่านอุมัรฺ และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามเขาตรงประเด็นทุกประการนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ บรรดาอุละมาอ์ของฝ่ายท่านจึงไม่มีหลักฐานและข้อพิสูจน์ใด ๆ ที่จะโต้แย้งหรือคัดค้าน

กษัตริย์ :- ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านผ่านประเด็นนี้ไป และเริ่มต้นประเด็นอื่นต่อไป

ความชอบธรรมของท่านอุมัรในฐานะผู้ขยายอาณาจักรมุสลิม
เชคอับบาสีย์ :- กรณีที่พวกชีอะฮฺกล่าวหาว่าท่านอุมัรฺไม่มีฟะฏีละฮฺหรือคุณงามความดีใด ๆ ทั้ง ๆ ที่เขาคือผู้ที่ขยายอาณาเขตอิสลามออกสู่แว่นแคว้นต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนี่แค่เพียงคุณความดีหนึ่งเท่านั้น

สัยยิดอะละวีย์ :- คำตอบของเราต่อกรณีดังกล่าว คือ :-
1. บรรดากษัตริย์หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างก็พยายามที่จะขยายอาณาเขตหรือดินแดนออกไปให้กว้างขวางทั้งสิ้น ดังนั้น จะมีข้อแตกต่างอันใดระหว่างท่านอุมัรฺกับพวกเขาเหล่านั้น ? !
2. มาตรว่าเราให้การยอมรับว่าการสามารถขยายดินแดนให้กว้างขวางว่าเป็นฟะฎีละฮฺหรือคุณงามความดีของเขาแล้ว ท่านคิดว่ามันจะสามารถนำมาทดแทนกับพฤติกรรมที่เขาได้ล่วงละเมิดและปล้นตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กำหนดเอาไว้กระนั้นหรือ ? !

ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ให้เป็นเคาะลีฟะฮฺอย่างชัดเจน โดยท่านไม่เคยเอ่ยปากแต่งตั้งเขามาก่อนเลย
โอ้ กษัตริย์ ! มาตรว่าท่านได้ประกาศแต่งตั้งตัวแทนเพื่อสืบราชสมบัติต่อจากท่าน แต่ทว่า ในเวลาต่อมาได้มีบุคคลอื่นช่วงชิงราชบัลลังก์ไปจากเขา และสามารถแผ่ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง ท่านจะมีความยินดีต่อกรณีดังกล่าวหรือไม่?

กษัตริย์ :- ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ข้าพเจ้าจะต้องมีความโกรธกริ้วเขาอย่างแน่นอน และผลงานที่เขาได้สร้างเอาไว้ไม่อาจจะลบล้างความผิดของเขาได้

สัยยิดอะละวีย์ :- ในทำนองเดียวกัน ท่านอุมัรฺได้ละเมิดคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ด้วยการปล้นตำแหน่งไปจากตัวแทนของท่าน (ศ) และได้ทำการปกครองและบริหารแผ่นดินโดยมิได้ผ่านการเห็นชอบของท่าน (ศ) มาก่อน

3. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทำสงครามของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) กับท่านอุมัรฺแล้ว เราจะประจักษ์ว่าท่านอุมัรฺได้ทำสงครามเพื่อขยายดินแดน ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติภารกิจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ และยังสร้างภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียต่ออิสลาม ทั้งนี้ เนื่องจากประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไม่เคยทำสงครามรุกรานประเทศใดมาก่อน แต่ทว่าสงครามที่อุบัติขึ้นทุกครั้งเป็นไปเพื่อปกป้องอิสลาม หรือภายหลังจากถูกศัตรูรุกรานเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ท่าน (ศ) จึงสามารถพิชิตชัยชนะเหนือหัวใจของประชาชน ทำให้พวกเขามีความประทับใจอิสลาม และเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งศาสนาของอัลลอฮฺเป็นหมู่เหล่า

ในขณะที่ท่านอุมัรฺกลับใช้วิธีการรุกรานแผ่นดินต่าง ๆ ด้วยสาเหตุดังกล่าว ที่ทำให้พวกเขามีอคติต่ออิสลามและก่นด่าประณามศาสนาอันสูงเกียรติว่าเผยแผ่หลักธรรมคำสอนโดยอาศัยสงครามและคมดาบ แทนที่จะเป็นศาสนาแห่งตรรกะและความนอบน้อมถ่อมตน ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ศัตรูของอิสลามเพิ่มจำนวนมากขึ้น

มาตรว่าท่านอบูบักรฺ อุมัรฺ อุษมาน มิได้ริบตำแหน่งของอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ผู้มีสิทธิอันชอบธรรมต่อตำแหน่งผู้นำแล้ว เป็นที่มั่นใจได้ว่าท่านจะสามารถธำรงรักษาสุนนะฮฺหรือแบบฉบับอันงดงามของท่าน (ศ) ในท่ามกลางประชาชนไว้อย่างเคร่งครัดอย่างแน่นอน และด้วยการดำเนินภารกิจที่ถูกครรลองคลองธรรม จะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีงามแก่อิสลาม และทำให้ประชาชนเข้าสู่ร่มเงาคำสอนอันสัจจริงนี้ด้วยความจำนนและภาคภูมิใจ และเมื่อนั้น ธงชัยแห่งอิสลามจะโบกสะพัดเหนือแผ่นดินต่าง ๆ อย่างสมภาคภูมิ

แต่ทว่า “ลาเหาละวะลากู วะตะอิลลาฮฺบิลลาฮฺ อัลอะลียิลอะซีม...”

กษัตริย์ จึงหันไปถามเชคอับบาสว่า :- ท่านมีคำพูดที่จะโต้แย้งสัยยิดอะละวีย์ ไหม ?

เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินสิ่งเหล่านี้มาก่อนเลย

สัยยิดอะละวีย์ :- บัดนี้ ความจริงได้ประจักษ์ต่อท่านแล้ว ดังนั้น ขอให้ท่านสลัดความเชื่อต่อเคาะลีฟะฮฺที่เป็นโมฆะทิ้งเสียเถิด และให้การยอมจำนน เชื่อฟังและปฏิบัติตามเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงสิทธิของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั่นคือ อะลี อิบนุ อบีฏอลิบ (อ) เถิด

สัยยิดอะละวีย์กล่าวต่อไปว่า :- โอ้ พี่น้องทั้งหลาย ! พวกท่านได้ทำในสิ่งที่น่าพิศวงด้วยการหลงลืมสารัตถะ และหันไปยึดถือสิ่งที่เป็นโมฆะแทน

เชคอับบาสีย์ :- หมายความว่าอย่างไร ?

การพิชิตของท่านอะลี
สัยยิดอะละวีย์ :- พวกท่านยินดีปรีดาต่อการสามารถขยายดินแดนของท่านอุมัรฺ แต่กลับหลงลืม “ฟุตูหาต”(การพิชิต) ของท่านอะลี

เชคอับบาสีย์ :- อะลี (อ) เคยพิชิตชัยชนะที่ไหน ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ชัยชนะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้รับมาเกือบทุกสมรภูมิเกิดจากฝีมือของอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ทั้งในสงครามบะดัรฺ ฟัตหฺ ค็อยบัรฺ หุนัยนฺ อุหุด ค็อนดัก ถ้ามิใช่ชัยชนะในสมรภูมิเหล่านี้ จะไม่มีอิสลามและความศรัทธาหลงเหลือจนถึงทุกวันนี้ หลักฐานและข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือ วจนะของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เมื่อท่านได้กล่าวในขณะที่ส่งอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ออกไปเผชิญหน้ากับ “อัมรฺ อิบนุอับดะวุด” ในสงคราม “ค็อนดัก” (หรืออะหฺซาบ) ว่า :-

“(พลังแห่ง) ความศรัทธาทั้งหมดกำลังจะเผชิญหน้ากับ (กองทัพแห่ง) การตั้งภาคีทั้งหลาย โอ้ อัลลอฮฺ ! มาตรว่าพระองค์ทรงประสงค์ให้การเคารพภักดีต่อพระองค์ผู้ทรงเอกะได้ดำเนินต่อไปแล้วไซร้ ขอพระองคืได้ทรงโปรดประทานชัยชนะแก่อะลีด้วยเถิด”

นัยดังกล่าวก็คือ มาตรว่าอะลีต้องถูกสังหารในสงครามค็อนดักแล้ว จะเป็นการเสริมสร้างความเหิมเกริมให้พวกบูชาเจว็ดที่จะฆ่าสังหารฉันและมุสลิมทั้งมวล และเมื่อนั้นอิสลามและความศรัทธาจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป และท่าน (ศ) ยังได้กล่าวอีกว่า :-

“การฟันของอะลี (อ) เพียงหนึ่งครั้งในวันแห่งค็อนดัก มีความประเสริฐ (อัฟฎ็อล) กว่าการอิบาดะฮฺของษะเกาะลัยน ฺ (ญินและมนุษย์รวมกันทั้งหมด)” 1
1. นิฮายะตุลมะอฺกูล ฟัครุรฺรอซีย์ 104 – มุสตัดร็อกหากิม 3 / 32 – ตารีคบัฆดาด 3 / 19 – ตัลคีศุลมุสตัดร็อก ซะฮะบีย์ 3 / 32 – เอาญะฮุลมะฏอลิบ 481 - อิหฺกอกุลหักก์ 6 / 4 และ 16 / 402

ด้วยเหตุนี้ จึงถือเป็นสิ่งชอบธรรมที่เราจะกล่าวว่า :-
“อิสลามถูกอุบัติขึ้นมาเพราะมุหัมมัด (ศ) และสามารถยืนหยัดเพราะอะลี (อ)”

ดังนั้น เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ และการธำรงคงอยู่ของอิสลามก็เนื่องจากอัลลอฮฺได้ทรงประทานผ่านภารกิจของอะลี (อ) นั่นเอง

เชคอับบาสีย์ :- เอาละ มาตรว่าพวกเรายอมรับหลักฐานและข้อพิสูจน์ของท่านว่าสอดคล้องกับความเป็นจริง และท่านอุมัรฺมีความผิดพลาดจากการปล้นตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ และได้เปลี่ยนแปลงดีนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้ว ท่านจะชี้แจงข้อครหาที่ท่านมีต่อท่านอบูบักรฺอย่างไร ? !

ท่านอบูบักรกับคอลิด อิบนุวะลีด
สัยยิดอะละวีย์ :- เรามีหลักฐานและข้อพิสูจน์ต่อการที่ชาวชีอะฮฺไม่ให้การยอมรับอบูบักรฺ ดังนี้ :-

1. กรณีที่เขาได้ละเมิดต่อสิทธิอันชอบธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซซะฮฺรออ์ (ส) ผู้เป็นบุตรีของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และเป็นหัวหน้าสตรีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
2. กรณีที่เขาไม่ยอมตัดสินและจัดการลงโทษการกระทำอันเป็นอาชญากรของ “คอลิด อิบนุวะลีด”

กษัตริย์จึงถามด้วยความประหลาดใจว่า :- คอลิด อิบนุวะลีดเป็นอาชญากร กระนั้นหรือ ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ใช่แล้ว

กษัตริย์ :- เขาได้ทำความผิดอันใดหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- อาชญากรรมของเขาก็คือ เมื่อครั้งที่ท่านอบูบักรฺได้ส่งเขาไปพบกับ “มาลิก อิบนุนุวัยเราะฮฺ” ผู้เป็นกัลยาณมิตรคนหนึ่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และท่าน (ศ) ยังได้เคยแจ้งข่าวดีถึงเกียรติคุณแห่งความเป็นชาวสวรรค์ของเขามาก่อน แต่แล้วอบูบักรฺได้ออกคำสั่งให้คอลิดจัดการสังหารเขาและกลุ่มชนของเขา ในขณะที่กองทหารของคอลิดได้ยาตราทัพเข้าใกล้เมืองของมาลิกนั้น เขากำลังอยู่นอกเมืองมะดีนะฮฺ และเมื่อเขาได้มองเห็นคอลิดยกกองทัพมาเพื่อทำสงครามกับเขา เขาจึงสั่งให้กลุ่มชนของตนเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับกองทัพของคอลิด แต่เมื่อคอลิดได้เห็นการตระเตรียมการที่ดีของมาลิก จึงได้ใช้กลอุบายด้วยการสาบานเท็จว่า เขามิได้มีเจตนาร้ายในการมาครั้งนี้ว่า :-

“เรามิได้มาเพื่อทำสงครามกับท่าน เราจะขอเป็นอาคันตุกะของท่านเพียงแค่คืนเดียวเท่านั้น”

หลังจากที่คอลิดได้กล่าวสาบานในนามของอัลลอฮฺแล้ว ทำให้มาลิกเชื่ออย่างสนิทใจว่าเขามิได้มีเล่ห์เพทุบายอื่นใด จึงได้สั่งให้กลุ่มชนของตนเก็บอาวุธ แต่แล้วในขณะที่มาลิกและกลุ่มชนของเขากำลังยืนนมาซอยู่นั้น ทันใดนั้นเอง คอลิดและทหารของเขาได้จู่โจมเข้าจับพวกเขาทั้งหมด !

ภารกิจอันชั่วร้ายของคอลิดยังไม่ยุติเพียงแค่นั้น หลังจากเขาได้ฆ่ามาลิก อิบนุ นุวัยเราะฮฺแล้ว ในค่ำคืนนั้นเองเขาได้จัดการข่มขืนภรรยาของมาลิก ซึ่งเป็นสตรีที่มีความสง่างาม หลังจากนั้นเขาได้สั่งให้ทหารตัดศีรษะของมาลิกและกลุ่มชนของเขาใส่ลงในกระทะอาหาร และพวกเขาได้ร่วมสำรับอาหารมื้อนั้นด้วยศีรษะมนุษย์ !

ภายหลังจากคอลิดและทหารของเขาได้เดินทางกลับสู่มะดีนะฮฺแล้ว ท่านอุมัรฺได้แสดงเจตน์จำนงที่จะให้พิพากษาและลงโทษจอมอาชญากรคอลิดในข้อหาร่วมกันฆ่าสังหารมุสลิม และยังข่มขืนภรรยาของผู้เป็นหัวหน้าเผ่า แต่แล้ว อบูบักรฺ ผู้ศรัทธาในทัศนะของพวกท่านได้ทัดทานอย่างรุนแรง จากกรณีนี้เองที่เขาได้ปล่อยให้เลือดของผู้ศรัทธาต้องหลั่งลงมาโดยมิได้จัดการตัดสินพิพากษาเหล่าอาชญากรให้เป็นไปตามกระบวนการแห่งพระบัญชาของอัลลอฮฺ !

กษัตริย์จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- สิ่งที่สัยยิดอะละวีย์ได้กล่าวเกี่ยวกับคอลิด อิบนุวาลีด และอบูบักรฺ เป็นความจริงกระนั้นหรือ ?

ประธานองคมนตรี:- นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนั้น

กษัตริย์ :- แล้วเหตุใดคอลิดจึงได้รับสมญานาม ว่า “ดาบที่ถูกดึงจากฝักของอัลลอฮฺ” เล่า ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ ในทางกลับกัน เขาคือ “ดาบที่แกว่งไกวเพื่อชัยฏอน” ต่างหาก เพราะเขาคือศัตรูตัวฉกาจของอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) และเคยเป็นหนึ่งในสหายของท่านอุมัรฺที่บุกรุกเข้าไปเผาบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ซะฮฺรออ์ (ส) ผู้ที่ประกอบอาชญากรรมเฉกเช่นคอลิดนี้หรือที่สมควรจะได้รับสมญานามว่าเป็น “ดาบของอัลลอฮฺ” ? ! !

กษัตริย์ :- ชาวสุนนีทั้งหมดตั้งตนเป็นศัตรูกับอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) กระนั้นหรือ ?

การเชิดชูผู้กรรโชกสิทธิอันชอบธรรมของท่านอะลี
สัยยิดอะละวีย์ :- ถ้าหากพวกเขามิได้เป็นศัตรูกับอะลี (อ) แล้วเหตุใดพวกเขาจึงพากันยกย่องสรรเสริญผู้ที่ปล้นสิทธิอันชอบธรรมของเขา และไปร่วมมือกับผู้ที่เป็นศัตรูของเขา ในทางกลับกัน พวกเขาได้ปฏิเสธเกียรติคุณและความประเสริฐของอะลี และยังอิจฉาริษยา และอาฆาตมาดร้ายต่อเขาและช่วยกันโฆษณาชวนเชื่อเพื่อลวงโลกว่า :-
“ท่านอบูฏอลิบตายในสภาพของผู้ปฏิเสธ !”

ทั้ง ๆ ที่ท่านอบูฏอลิบคือผู้ศรัทธาและคือผู้ที่ให้การสนับสนุนอิสลามในขณะที่กำลังตกอยู่ภายใต้วงล้อมของเหล่าศัตรู ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤตการณ์ที่รุนแรงที่สุด และยังเป็นผู้ที่ปฏิบัติภารกิจให้การปกป้องท่านศาสดา (ศ) ในช่วงที่กำลังเผยแผ่สาส์นแห่งวิวรณ์ด้วยการทุ่มเททุกอย่าง

กษัตริย์ :- อบูฏอลิบเข้ารับอิสลามด้วยหรือ ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ ! ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอบูฏอลิบไม่เคยเป็นผู้ปฏิเสธมาก่อนที่จะเข้ารับอิสลาม ท่านคือ มุวะหิด (ผู้ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว) ตั้งแต่เริ่มแรก แต่ได้อำพรางความศรัทธาของตน จนกระทั่งเมื่ออัลลอฮฺได้ทรงสถาปนามุหัมมัด (ศ) ให้เป็นศาสนทูตของพระองค์ ท่านจึงได้สำแดงศรัทธาออกมาอย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ อบูฏอลิบ (อ) คือมุสลิมคนที่สามแห่งโลกอิสลาม กล่าวคือบุคคลแรกคือ ท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ)บุคคลที่สองคือท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ ภรรยาของท่านศาสดา (ศ) และบุคคลที่สามคือ อบูฏอลิบ อิบนุอับดิลมุฏเฏาะลิบ

กษัตริย์จึงถามประธานองคมนตรีว่า :- เป็นความจริงหรือที่ว่าอบูฏอลิบคือผู้ศรัทธา ?

ประธานองคมนตรี :- นักประวัติศาสตร์บางส่วนได้กล่าวไว้เช่นนั้น

กษัตริย์ :- แล้วเหตุใดในสายของเราจึงรู้จักกันแพร่หลายว่าอบูฏอลิบจากโลกดุนยาไปในฐานะผู้ปฏิเสธ ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ไม่มีเหตุผลที่สลับซับซ้อนอื่นใดแฝงไว้ทั้งสิ้น นอกจากสาเหตุที่ท่านอบูฏอลิบเป็นบิดาของอมีรุลมุอ์มินีน อะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) และความอาฆาตพยาบาทของบุคคลชั้นหัวกะทิของพวกท่านที่มีต่ออะลี (อ) นั่นเอง ที่ทำให้พวกเขาพยายามหาสาเหตุที่จะลดคุณค่า เกียรติคุณและฐานภาพของอะลี (อ) ให้ตกต่ำในสายตาของมุสลิมทั่วไป เฉกเช่นที่พวกท่านได้มีความอิจฉาริษยาอะลี (อ) จนทำให้ท่านอิมามหะสันและอิมามหุสัยนฺ (อลัยฮิมัสลาม) บุตรชายทั้งสองของท่าน ผู้ที่ท่านศาสดา (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :- “เขาทั้งสองคือหัวหน้าชายหนุ่มในสรวงสวรรค์”

ท่านถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกท่านได้ร่วมมือกันเพื่อที่จะจัดการสังหารท่านอิมามหุสัยนฺ (อ) ณ แผ่นดินกัรฺบะลาอ์นั้น พวกเขาได้กล่าวกับท่านว่า :- “พวกเราจะสังหารเจ้าเพราะความเป็นศัตรูที่พวกเรามีต่อบิดาของเจ้า และผลงานในสงครามบะดัรฺ และหุนัยนฺที่เขาได้ฆ่าบรรพชนของพวกเรา”

กษัตริย์จึงได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ฆาตรกรที่สังหารอิมามหุสัยนฺ (อ) ได้กล่าวเช่นนั้นจริงหรือ ? !

ประธานองคมนตรี :- นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนั้นจริง

กษัตริย์จึงได้หันไปถามเชคอับบาสว่า :- ท่านมีหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่จะหักล้างต่อกรณีของคอลิด อิบนุลวะลีดอย่างไรบ้าง ?

เชคอับบาสีย์ :- ท่านอบูบักรฺคงจะมีเหตุผลบางอย่างที่ไม่ปฏิบัติตามคำฟ้องของท่านอุมัรฺ

สัยยิดอะละวีย์จึงกล่าวออกมาด้วยความพิศวงว่า :- สุบหานัลลอฮฺ ! เหตุผลอะไรกันจนถึงกับทำให้เขากล้าให้น้ำหนักและเข้าข้างคอลิด ผู้ก่ออาชญากรรมสังหารประชาชนที่ไม่มีความผิดบาป และยังข่มขืนภรรยาของเขาให้อยู่เหนือกว่าการปฏิบัติไปตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ ด้วยการจัดการลงโทษอาชญากร ยิ่งไปกว่านั้น อบูบักรฺยังได้ปูนบำเหน็จความดีความชอบด้วยการแต่งตั้งคอลิดให้เป็นผู้บัญชาการทหารอีกเป็นคำรบสอง และยังได้กล่าวยกย่องคอลิดว่าเป็น :- “ดาบที่อัลลอฮฺได้ดึงออกจากฝัก”

ท่านคิดว่าดาบของอัลลอฮฺสมควรจะห้ำหั่นกับผู้ศรัทธาหรือผู้ปฏิเสธ ?
ท่านคิดว่าดาบของอัลลออฺคู่ควรจะเป็นผู้พิทักษ์ศักดิ์ศรีและเกียรติยศของมุสลิม หรือว่าเป็นผู้ที่ทำซินาข่มขืนสตรีมุสลิม ?

เชคอับบาสีย์ :- เอาละ ท่านอบูบักรฺ มีความผิดพลาดในเรื่องนี้ แต่การที่ท่านอุมัรฺได้ฟ้องร้องให้เขาจัดการลงโทษท่านคอลิด ย่อมถือว่าเป็นความดีของท่านอุมัรฺ

สัยยิดอะละวีย์ :- ใช่ เป็นความจริงที่ท่านอุมัรฺประสงค์จะให้พิพากษาและลงโทษคอลิดในข้อหาฆ่าสังหารมุสลิม และข่มขืนภรรยาของพวกเขา แต่ในที่สุดเขาก็มิได้ดำเนินการใด ๆ ให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ ท่านอุมัรฺย่อมมีส่วนร่วมในความผิดกับอบุบักรฺด้วยเช่นกัน

ผู้ใดประทุษร้ายต่อท่านหญิงฟาฎิมะฮ์?
กษัตริย์ :- โอ้ สัยยิดอะละวีย์ ! ก่อนหน้านั้น ท่านได้กล่าวว่าท่านอบูบักรฺได้ประทุษร้ายต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ซะฮฺรออ์ (ส) ธิดาของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) การประทุษร้ายที่ว่านั้นคืออะไรหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- หลังจากที่อบูบักรฺกับอุมัรฺได้ใช้วิธีการข่มขู่คุกคามให้ประชาชนถวายสัตย์ปฏิญาณต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอบูบักรฺแล้ว อุมัรฺพร้อมด้วยสมุนบริวารของเขาซึ่งประกอบด้วย กุนฟุซ, คอลิด อิบนุวะลีด, อบูอุบัยดะฮฺ อิบนุญัรฺรอหฺ และพวกมุนาฟิกได้บุกไปที่บ้านของอะลีกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ โดยอุมัรฺได้สั่งให้สมุนของเขานำไม้ฟืนมากองสุมที่หน้าประตูบ้านหลังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เคยยืนที่นั่นเสมอ ๆ และเคยเรียกขานผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นว่า :- ขอความสันติจงประสบแด่พวกท่าน โอ้ สมาชิกแห่งครอบครัวของศาสดา ! และท่าน (ศ) ไม่เคยเข้าไปในบ้านหลังนั้นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน

อุมัรฺเป็นผู้สั่งการเผาประตูบ้านหลังนั้น และเมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้ออกมาที่ประตูบ้านเพื่อที่จะห้ามเขาและสมุนของเขาให้ยุติการกระทำดังกล่าว อุมัรฺได้ถีบประตูอย่างรุนแรงไปกระแทกท้องของเธอ จนทำให้กุลสตรีผู้สูงเกียรติต้องแท้งบุตรที่อยู่ในครรภ์ และตะปูได้ตำทะลุหน้าอกของเธอ จนกระทั่งเธอได้ร้องตะโกนขึ้นว่า :-
โอ้ พ่อจ๋า ! โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ ! ได้โปรดพิจารณาดูเถิดว่าหลังจากพ่อแล้ว ลูกของค็อฏฏอบ กับลูกของอบีกุหาฟะฮฺได้ประทุษร้ายกับเราเช่นไร !

อุมัรฺจึงได้ออกคำสั่งกับสมุนของเขาว่า :- จงจัดการฟาฏิมะฮฺ ซิ !

สมุนของอุมัรฺได้สนองคำบัญชาของเจ้านายด้วยการกระหน่ำตีไปที่ผู้เป็นสุดที่รักของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จนกระทั่งร่างของเธอชุ่มโชกไปด้วยเลือดจากร่องรอยของปลอกดาบที่กระหน่ำอย่างรุนแรง โดยเพชรฆาตจิตทมิฬหินชาติ ทำให้ลำตัวของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) เต็มไปด้วยบาดแผลฉกาจฉกรรจ์และต้องล้มป่วยลง จนในที่สุดเธอได้อำลาจากโลกนี้ไปภายหลังจากบิดาของนางเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) จึงเป็นสตรีที่ได้รับชะฮีดคนแรกแห่งครอบครัวของท่านศาสดา (ศ) โดยคำบงการของอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ

กษัตริย์ :- ได้หันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- เรื่องราวที่สัยยิดกล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นความจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว ข้าพเจ้าเคยอ่านชีวประวัติของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ตรงกับที่สัยยิดได้กล่าวมา

สัยยิดอะละวีย์ :- และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ชาวชีอะฮฺมิได้เชิดชูท่านอบูบักรฺและอุมัรฺ

สัยยิดอะละวีย์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :- สิ่งหนึ่งที่ท่านจะประจักษ์ถึงอาชญากรรมและการประทุษร้ายของอบูบักรฺและท่านอุมัรฺที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ก็คือ :- ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้จากโลกดุนยานี้ไปในสภาพที่มีความโกรธกริ้วต่ออบูบักรฺและอุมัรฺ ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“แท้จริง อัลลอฮฺจะทรงพึงพอพระทัย เพราะความพึงพอใจของฟาฏิมะฮฺ และจะทรงกริ้ว เพราะความโกรธของนาง” (บิหารุลอันวารฺ 26 / 43)

“แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงจำเริญและทรงสูงส่ง จะทรงกริ้วเนื่องจากความโกรธของฟาฏิมะฮฺ และทรงพึงพอพระทัยเนื่องจากความพึงพอใจของนาง” (บิหารุลอันวารฺ 43 / 26)
ซึ่งหะดีษในทำนองนี้ได้ถูกบันทึกไว้อย่างมากมาย

โอ้ กษัตริย์ ! ท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่าผลลัพธ์บั้นปลายของผู้ที่อัลลอฮฺทรงโกรธกริ้วจะเป็นเช่นไร ? !

กษัตริย์จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- เป็นความจริงหรือที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้จากโลกนี้ไปในสภาพที่โกรธแค้นท่านอบูบักรฺและอุมัรฺ ? !

ประธานองคมนตรี :- ใช่แล้ว ! นักบันทึกหะดีษและนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง

สัยยิดอะละวีย์ :- นอกจากนี้ เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าคำพูดของข้าพเจ้ามีความสัตย์จริง ท่านสามารถที่จะพิจารณาจากวะศียะฮฺที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้สั่งเสียกับท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ว่าห้ามมิให้อบูบักรฺกับอุมัรฺและกลุ่มชนที่ฉ้อฉลและประทุษร้ายต่อนางเข้าร่วมในพิธีศพของนาง และไม่อนุญาตให้พวกเขานมาซญะนาซะฮฺของนาง

ยิ่งไปกว่านั้น นางยังได้วะศียะฮฺกับท่านอิมามอะลี (อ) ไว้อีกว่าให้จัดการฝังศพของนางโดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ว่าอยู่ ณ สถานที่ใด ทั้งนี้ เพื่อมิให้พวกเขาสามารถสัมผัสสุสานอันบริสุทธิ์ของนางได้ ซึ่งท่านอิมามอะลี (อ) ก็ได้ปฏิบัติตามวะศียะฮฺของเธอทุกประการ

กษัตริย์ :- ช่างเป็นสิ่งที่น่าพิศวงยิ่งนัก ! อะลี (อ) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้ทำในสิ่งดังกล่าวจริงหรือ ? !

ประธานองคมนตรี :- นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนั้นจริง

สัยยิดอะละวีย์ :- นอกจากนี้ อบูบักรฺกับอุมัรฺยังได้ทำร้ายจิตใจท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) อีก

เชคอับบาสีย์ :- ยังมีอะไรอีกหรือ ? !

เรื่องราวของสวนฟะดัก
สัยยิดอะละวีย์ :- ทั้งสองได้ละเมิดด้วยการช่วงชิงกรรมสิทธิ์ในสวนฟะดักของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส)

เชคบับบาสีย์ :- ท่านมีหลักฐานและข้อพิสูจน์หรือ ที่มากล่าวหาว่าท่านอบูบักรฺ กับท่านอุมัรฺละเมิดกรรมสิทธิ์ในสวนฟะดักของนาง ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้มอบสวนฟะดักให้เป็นมรดกแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ และมันก็ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเธอเรื่อยมา จนกระทั่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้จากโลกนี้ไป หลังจากนั้น อบูบักรฺได้ส่งอุมัรฺพร้อมสมุนของเขาให้ใช้กำลังบีบบังคับและยึดกรรมสิทธิ์ในสวนฟะดักไปจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส)

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ได้พยายามชี้แจงด้วยการใช้หลักตรรกะและหลักฐานทั้งต่ออบูบักรฺและอุมัรฺ แต่คนทั้งสองก็มิได้แยแสต่อคำชี้แจงของนาง มิหนำซ้ำยังขับไล่ไสส่งนางอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) จึงไม่พูดกับคนทั้งสอง และได้อำลาจากโลกนี้ไปในสภาพที่โกรธกริ้วพวกเขา !

เชคอับบาสีย์ :- ถึงอย่างไรก็ตาม ในสมัยของท่านอุมัรฺ อิบนุอับดิลอะซีซขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ เขาได้คืนกรรมสิทธิ์แห่งสวนฟะดักให้แก่ทายาทของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) แล้ว

สัยยิดอะละวีย์ :- จะมีประโยชน์อันใดเล่า ? ถ้าหากมีใครมาช่วงชิงกรรมสิทธิ์ในบ้านของท่าน และภายหลังจากท่านได้ตายไป มีบุคคลอื่นได้คืนบ้านให้แก่ทายาทของท่าน การกระทำของบุคคลนั้นจะสามารถลบล้างความผิดบาปของผู้ล่วงละเมิดในกรรมสิทธิ์ของท่านกระนั้นหรือ ?

กษัตริย์ :- บทสรุปจากคำชี้แจงของท่านทั้งสอง (เชคอับบาสีย์กับสัยยิดอะละวีย์) ก็คือ ท่านอบูบักรฺกับอุมัรฺได้ร่วมสมคบกันช่วงชิงสวนฟะดักไปจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ?

เชคอับบาสีย์ :- ใช่ เป็นไปตามที่นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้

กษัตริย์ :- มีสาเหตุอันใดที่ท่านทั้งสองต้องทำเช่นนั้นด้วย ?

สัยยิดอะละวีย์ :- เพราะตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกับกรรมสิทธิ์ในสวนฟะดัก เมื่อพวกเขาได้แย่งชิงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺไปจากสามีของเธอแล้ว ถ้าหากยังขืนปล่อยให้ฟะดักตกอยู่ในกำมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) อยู่ต่อไป รายได้ที่ครอบครัวของเธอเคยได้รับเป็นกอบเป็นกำและได้นำไปบริจาคแก่ประชาชนผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า และคนอนาถานั้น จะสามารถโน้มน้าวหัวใจของพวกเขาให้อยู่กับอะลี (อ) อย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยเหตุนี้เองที่อบูบักรฺกับอุมัรฺจึงจำเป็นต้องตัดไฟแต่ต้นลม ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางส่วนได้บันทึกไว้ว่าสวนฟะดักสามารถทำรายได้ให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ถึงปีละมากกว่า 120,000 ดีนารฺทองคำ

กษัตริย์ :- ถ้าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริง การได้มาซึ่งตำแหน่งผู้ปกครองของคนทั้งสามย่อมเป็นสิ่งน่าสนเท่ห์อย่างแน่นอน ! และถ้าหากตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของพวกเขาไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว ท่านคิดว่าเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนที่แท้จริงของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) คือใคร ?





นี่คือวิถีสัจธรรม

ใครคือตัวแทนทั้งสิบสองท่านของท่านเราะสูลุลเลาะฮ์ (ศ)?
สัยยิดอะละวีย์ :- หลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ก็คือ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งตัวแทนผู้สืบทอดเจตนารมณ์แห่งริสาละฮฺของท่านภายใต้พระบัญชาของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ดังหะดีษที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งถูกบันทึกไว้ในตำราหะดีษทั่วไปว่าท่าน (ศ) ได้วจนะว่า :-
“ตัวแทนภายหลังจากฉันมีทั้งหมด 12 คน เท่ากับนะกีบ (ตัวแทน) ของบนีอิสรออีล และทั้งหมดล้วนมาจากกุร็อยชฺ”

กษัตริย์จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะเช่นนี้จริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่ครับ !

กษัตริย์ :- ทั้งสิบสองท่านมีใครบ้าง ?

เชคอับบาสีย์ได้ชิงตอบขึ้นทันทีว่า :- สี่ท่านแรกดังที่โลกได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ อบูบักรฺ อุมัรฺ อุษมาน และอะลี

กษัตริย์ แล้วที่เหลือมีใครอีก ?

เชคอับบาสีย์ :- สำหรับอีก 8 ท่านที่เหลือนั้น อุละมาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกัน

กษัตริย์ :- ไหน ท่านลองเอ่ยนามทั้งหมดของพวกเขาซิ

เชคอับบาสีย์ได้แต่นั่งเงียบไม่ตอบคำถามของกษัตริย์

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! ข้าพเจ้าขออนุญาตเอ่ยนามตัวแทนที่ชอบธรรมของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ทั้ง 12 ท่าน ตามที่ตำราหะดีษของพวกท่านได้บันทึกว่าท่าน (ศ) ได้เคยวจนะเอาไว้ ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้ คือ :-
1. อะลี 2. หะสัน 3. หุสัยนฺ 4. อะลี 5. มุหัมมัด 6. ญะอฺฟัรฺ 7. มูสา 8. อะลี 9. มุหัมมัด 10. อะลี 11. หะสัน และ 12. มะฮฺดีย์ (อลัยฮิมุศเศาะลาตุวัสลาม)

เป็นไปได้อย่างไรที่อิมามมะฮฺดีมีอายุยืนยาวกว่าพันปี?
เชคอับบาสีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! ถ้าหะดีษข้างต้นเป็นความจริง ขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาเรื่องเหลวไหลไร้สาระที่พวกชีอะฮฺพากันเชื่อว่า มะฮฺดีย์ (อ) ได้ถือกำเนิดตั้งแต่ปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 255 จนถึงปัจจุบันนี้ที่เขายังคงมีชีวิตอยู่ ท่านคิดว่าเป็นสิ่งที่กินกับสติปัญญากระนั้นหรือ ?

นอกจากนี้ พวกเขายังมีความเชื่อที่แปลกประหลาดอีกด้วยว่า ในยุคสุดท้าย (อาคิรุซซะมาน) มะฮฺดีย์ (อ) ผู้นี้จะปรากฎกาย และจะมาสถาปนาโลกให้มีสันติภาพอย่างแท้จริง ภายหลังจากที่มันเคยเต็มไปด้วยความอธรรมและความฉ้อฉล

กษัตริย์จึงหันไปถามสัยยิดอะละวีย์ว่า :- พวกท่านมีความเชื่อเช่นนั้นจริงหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- ใช่ครับ ถูกต้องทุกประการ เป็นไปตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ และนักรายงานหะดีษทั้งสุนนีและชีอะฮฺต่างได้รายงานในเรื่องนี้สอดคล้องตรงกัน

กษัตริย์ :- จะเป็นไปได้อย่างไรกันที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีอายุขัยยืนยาวถึงขนาดนั้น ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- ขอให้เราคิดคำนวณอย่างง่าย ๆ ว่าท่านอิมามมะฮฺดีย์ (อ) มีชีวิตยังไม่ถึงหนึ่งพันปี ในขณะที่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับศาสดานูหฺ (อ) ไว้ในคัมภีร์อัลกุรฺอานว่า :-
فَلَبِثَ فِيهِمْ أَلْفَ سَنَةٍ إِلَّا خَمْسِينَ عَامًا
“และโดยแน่นอนยิ่ง เราได้ส่งนูหฺไปยังกลุ่มชนของเขา และเขาได้อยู่ร่วมกับพวกเขาหนึ่งพันปี ยกเว้นห้าสิบปี (950 ปี) ดังนั้น อุทกภัยได้คร่าพวกเขาขณะที่พวกเขาเป็นผู้อธรรม” (สูเราะฮฺอังกะบูต 29 : 14)

อัลลอฮฺ มิเป็นผู้ทรงเดชานุภาพที่จะบันดาลให้มนุษย์คนหนึ่งมีอายุขัยยืนยาวกระนั้นหรือ ?
การดำรงชีวิต และความตายมิได้อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์หรอกหรือ ?

อัลลอฮฺไม่ทรงเดชานุภาพที่จะบันดาลให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์หรือ ?
ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ก็ยังได้ยืนยันถึงการมีอายุที่ยืนยาวของท่านอิมามมะฮฺดีย์ (อ) ไว้อีกด้วย และท่าน (ศ) มิได้รับการขนานนามว่า “อัลอะมีน” (ผู้มีความสัตย์จริง) กระนั้นหรือ ?

กษัตริย์ จึงได้หันไปถามประธานว่า :- มีหลักฐานว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวถึงมะฮฺดีย์เช่นนั้นจริงหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่ครับ !
*(มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับกรณีนี้ เช่น :- “อัลมะลาหิม วัลฟิตัน” บาบ 19 – อักดุดดุรุรฺ หะดีษที่ 66 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 491 – ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ อิบนุเญาซีย์ บาบ 6 – อัรฺญิหุลมะฏอลิบ หน้า 378 – หิลยะตุลเอาลิยาอ์ – ซะคออิรุลอุกบา ชาฟิอีย์ ฯลฯ)

กษัตริย์จึงกล่าวถามเชคอับบาสีย์ว่า :- เพราะเหตุใดท่านจึงปฏิเสธสารธรรมคำสอนที่ถูกบันทึกโดยอุละมาอ์ของพวกเราเอง ?

เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่าความศรัทธาของประชาชนจะสั่นคลอน และหัวใจของพวกเขาจะโน้มเอียงไปสู่พวกชีอะฮฺ !

สัยยิดอะละวีย์ :- ถ้าเช่นนั้น ท่านก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เข้าอยู่ในขอบข่ายของอายะฮฺ :-

إِنَّ الَّذِينَ يَكْتُمُونَ مَا أَنزَلْنَا مِنَ الْبَيِّنَاتِ وَالْهُدَى مِن بَعْدِ مَا بَيَّنَّاهُ لِلنَّاسِ فِي الْكِتَابِ أُولَئِكَ يَلعَنُهُمُ اللّهُ وَيَلْعَنُهُمُ اللَّاعِنُونَ

“แท้จริง บรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจน และทางนำอันถูกต้องในสิ่งที่เราได้ประทานลงมา ภายหลังจากเราได้สาธยายในคัมภีร์สำหรับมนุษย์ ชนเหล่านี้แหละที่อัลลอฮฺจะทรงสาปแช่งพวกเขา และบรรดาผู้สาปแช่งทั้งหมดก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วยเช่นกัน” (สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ 2 :159)

ดังนั้น คำสาปแช่งของอัลลอฮฺย่อมจะรวมถึงท่านด้วยเช่นกัน

สัยยิดอะละวีย์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดถามเชคอับบาสีย์เถิดว่า ระหว่างคัมภีร์ของอัลลอฮฺและวจนะของศาสนทูตของพระองค์ กับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่หลงไปจากทางนำแห่งอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺ สิ่งไหนเป็นวาญิบที่อุละมาอ์แห่งโลกอิสลามจำต้องพิทักษ์รักษาไว้อย่างมั่นคง ?

ความเชื่อของชีอะฮฺเป็นบิดอะฮฺจริงหรือ?
เชคอับบาสีย์ :- ข้าพเจ้าจำเป็นต้องพิทักษ์หลักศรัทธาของประชาชนมิให้หัวใจของพวกเขาโน้มเอียงไปสู่แนวทางของพวกชีอะฮฺ ทั้งนี้ เนื่องจากความเชื่อของชีอะฮฺนั้นเป็นบิดอะฮฺ ! !

สัยยิดอะละวีย์ :- หามิได้ แต่ทว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ตำราที่น่าเชื่อถือได้บันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บุคคลแรกที่สร้างบิดอะฮฺขึ้นมาในอิสลามก็คือหัวหน้าของพวกท่านเอง โดยที่ตัวเขาเองก็ยอมรับอย่างเปิดเผยว่า :-
“นี่คือบิดอะฮฺหะสานะฮฺ (การประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาที่ถือเป็นสิ่งที่ดีงาม)” เมื่อเขาได้กำชับให้ประชาชนร่วมนมาซตะรอวีหฺในรูปญะมาอะฮฺ ทั้ง ๆ ที่เขาก็ทราบดีอยู่แล้วว่าอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ถือว่าการนมาซสุนัต(อาสา)ในรูปของญะมาอะฮฺนั้นเป็นสิ่งหะรอม ด้วยเหตุนี้ การสร้างบิดอะฮฺของท่านอุมัรฺจึงเป็นการต่อต้านอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์อย่างเปิดเผยและชัดเจนที่สุด (เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ บาบุศเศาะลาติตตะรอวีหฺ – อัศเศาะวาอิก อิบนุหะญัรฺ – อัสกิลานีย์ กิตาบอิรฺชาดอัสสารีย์ ฟีชัรฺหิเศาะหี๊หิลบุคอรีย์ เล่ม 5 หน้า 4 ภายใต้คำพูดของท่านอุมัรฺที่ว่า :-

“ช่างเป็นบิดอะฮฺที่ประเสริฐอะไรเช่นนี้ !” โดยได้บันทึกว่า :- อุมัรฺได้ขนานนามสิ่งนี้ว่าเป็นบิดอะฮฺด้วยลมปากของเขาเอง ทั้งนี้เนื่องจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไม่เคยสร้างสุนนะฮฺ (แบบฉบับ) เช่นนี้มาก่อน และแม้แต่ในสมัยของอบูบักรฺก็ไม่เคยมีวัตรปฏิบัติดังกล่าวด้วย .........)

นอกจากนั้น ท่านคิดว่านี่มิใช่เป็นการสร้างบิดอะฮฺในอะซานหรอกหรือ เมื่ออุมัรฺได้ใช้อำนาจโดยพลการสั่งให้ตัดถ้อยคำ “หัยยะอะลาค็อยริลอะมัล” (จงเร่งรีบไปสู่ภารกิจที่ประเสริฐสุดเถิด) ออกจากตัวบทอะซาน แล้วสั่งให้บรรจุถ้อยคำ “อัศเศาะลาตุค็อยรุมมินัลเนาวมฺ” (การนมาซดีกว่าการนอน) ซึ่งไม่เคยมีในตัวบทอะซานเข้ามาแทนที่ ? !

แล้วในกรณีที่เขาได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกส่วนแบ่งในซะกาตประเภท “มุอัลละฟะตุกุลูบุฮุม” ที่เคยแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่ยังมิได้น้อมรับอิสลามในสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ท่านคิดว่าอุมัรฺมิได้ประดิษฐ์สิ่งที่เป็นบิดอะฮฺขึ้นมาหรือ ? !
ท่านอุมัรฺมิได้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ (ศ) หรอกหรือเมื่อเขาได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกมุตอะฮฺหัจญ์ ?

และการกระทำเช่นนั้นมิถือว่าเป็นการสร้างบิดอะฮฺหรอกหรือ ? !
ท่านอุมัรฺมิได้ขัดขืนต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์กระนั้นหรือ เมื่อเขาได้สั่งยกเลิกมุตอะฮฺสตรี และสิ่งนี้ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรอกหรือ ? !

ท่านอุมัรฺมิได้ประดิษฐ์สิ่งบิดอะฮฺหรอกหรือ เมื่อเขาไม่ยอมตัดสินพิพากษาฆาตรกรที่ฆ่าสังหารคนบริสุทธิ์และจัดการข่มขืนภรรยาของผู้ตาย และการเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามชะรีอะฮฺ ทั้ง ๆ ที่พวกเขามีอำนาจอยู่ในมือ จะไม่ถือว่าพวกเขาฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์หรือ ? !
และยังมีบิดอะฮฺอีกมากมายที่พวกท่านพวกท่านได้ประดิษฐ์มันขึ้นมา

โอ้ ผู้ที่ดำเนินตามสุนนะฮฺของท่านอุมัรฺ !
บัดนี้ คงจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าในระหว่างเรากับพวกท่านใครกันแน่ที่สร้างบิดอะฮฺขึ้นมา ? !
กษัตริย์จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ท่านอุมัรฺ ได้ประดิษฐ์บิดอะฮฺดังที่สัยยิดกล่าวมาทั้งหมดจริงหรือ ? !

ประธานองคมนตรี :- อุละมาอ์ส่วนหนึ่งได้บันทึกในตำราของพวกเขาเช่นนั้น

กษัตริย์ :- เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุใดพวกเรายังคงปฏิบัติตามบุคคลที่ประดิษฐ์บิดอะฮฺขึ้นมาในศาสนาอีกเล่า ?

สัยยิดอะละวีย์ :-ดังที่ท่านได้ปุจฉา การปฏิบัติตามบุคคลที่ทำบิดอะฮฺถือเป็นสิ่งหะรอม ทั้งนี้เนื่องจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“ทุก ๆ บิดอะฮฺ คือการหลงทาง และทุก ๆ การหลงทางจะถูกโยนสู่ไฟนรก”

ด้วยเหตุนี้ ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามบิดอะฮฺที่ท่านอุมัรฺได้ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยเขาตระหนักดีว่าสิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺ เขาจะต้องเป็นชาวนรกอย่างไม่ต้องสงสัย

อิมามสี่มัซฮับ
เชคอับบาสีย์ :- ท่านจะว่าอย่างไรในเมื่อหัวหน้ามัซฮับทั้งสี่ได้รับรองการกระทำของท่านอุมัรฺว่าเป็นสิ่งถูกต้อง ?

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! นี่ถือเป็นบิดอะฮฺเท่าทวีคูณ !

กษัตริย์ :- หมายความว่าอย่างไร ? !

สัยยิดอะละวีย์ :- เพราะผู้นำของมัซฮับทั้งสี่ นับตั้งแต่ท่านอบูหะนีฟะฮฺ, มาลิก อิบนุอนัส, อะหฺมัด อิบนุหัมบัล และชาฟิอีย์ มิได้มีชีวิตร่วมสมัยกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แต่ทว่า พวกเขาเพิ่งเกิดภายหลังจากเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ถึงอสัญกรรมแล้วถึง 200 ปี

คำถามจึงติดตามมาว่า ถ้าเช่นนั้นบรรดามุสลิมที่มีชีวิตระหว่างยุคสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) กับผู้นำมัซฮับทั้งสี่จะมิกลายเป็นกลุ่มชนที่มีหลักศรัทธาที่เป็นบาฏิล (โมฆะ) และอยู่ในทางหลงหรอกหรือ ? !
และคำถามต่อมาก็คือ มีหลักฐานอะไรหรือที่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ว่าในอิสลามมีเพียงสี่มัซฮับนี้เท่านั้น โดยมุกัลลัฟไม่สามารถปฏิบัติตามฟะกีฮฺ(ผู้รู้)หรือมุจญ์ตะฮิด(ผู้เชี่ยวชาญศาสนบัญญัติ)ผู้อื่นได้ ?

หรือว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วะศียะฮฺไว้เช่นนั้น ?

กษัตริย์ :- โอ้ เชคอับบาสีย์ ! ท่านจะตอบคำถามนี้อย่างไร ?

เชคอับบาสีย์ :- ฟะกีฮฺทั้งสี่มีความรอบรู้เหนือกว่าอุละมาอ์ทั้งหมด

กษัตริย์ :- หมายถึงอุละมาอ์ท่านอื่นมีความรู้ไม่เทียบเท่าพวกเขากระนั้นหรือ ?

เชคอับบาสีย์ :- ใช่แล้ว แต่สำหรับชาวชีอะฮฺนั้น พวกเขาปฏิบัติตามมัซฮับของอิมามญะอฺฟัรฺ อัศศอดิก (อ)

สัยยิดอะลาวีย์ :- สาเหตุที่ชาวชีอะฮฺปฏิบัติตามมัซฮับอิมามญะอฺฟัรฺ (อ) เนื่องจากมัซฮับของท่านดำเนินตามสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และเพราะอิมามญะอฺฟัรฺคือสมาชิกจากครอบครัวของท่าน (ศ) ที่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ ได้ทรงตรัสว่า :-

إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا
“โดยแน่นอนยิ่ง อัลลอฮฺประสงค์จะขจัดมลทินจากพวกเจ้า (โอ้) อะฮฺลุลบัยตฺ !และทรงชำระขัดเกลาพวกท่านให้สะอาดบริสุทธิ์” (สูเราะฮฺอะหฺซาบ 33 : 33)

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว เราชาวชีอะฮฺถือปฏิบัติตามอิมามทั้งสิบสองท่าน แต่เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองในยุคสมัยของท่านอิมามศอดิก (อ) เอื้ออำนวยต่อลูกหลานของท่านศาสดา (ศ) ทำให้ท่านสามารถเผยแผ่และสำแดงศักยภาพเชิงวิชาการอิสลาม เช่น วิชาตัฟสีรฺ วิชาหะดีษ ฯลฯ ให้แก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปได้มากกว่าอิมามมะอฺศูม (อ) ท่านอื่น ๆ โดยมีลูกศิษย์ที่ร่ำเรียนวิชาการจากท่านถึง 4,000 คน (อัลอิมามุศศอดิก (อ) วัลมะซาฮิบุลอัรฺบะอะฮฺ – ตารีคบัฆดาด ฯลฯ)

และท่าน (ศ) ยังสามารถปูพื้นฐานทางวิชาการอิสลามให้มั่นคง ภายหลังจากที่ได้ถูกราชวงศ์อะมาวีย์และอับบาสีย์บิดเบือนทำลาย และจากสาเหตุนี้เองที่ชาวชีอะฮฺได้ขนานนามมัซฮับนี้ว่า “ญะอฺฟะรีย์” และถือว่าท่านอิมามญะอฺฟัรฺ ศอดิก (อ) คือผู้ฟื้นฟูและปฏิรูปอิสลามให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

กษัตริย์ :- โอ้ เชคอับบาสีย์ ! ท่านมีคำตอบในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ?

เชคอับบาสีย์ :- พวกเราชาวสุนนีได้ตักลีดและปฏิบัติตามผู้นำแห่งมัซฮับทั้งสี่มาเป็นเวลาเนิ่นนานจนกลายเป็นความเคยชินแล้ว

สัยยิดอะละวีย์ :- หาใช่เช่นนั้นไม่ แต่ทว่า ผู้ปกครองจากราชวงศ์ต่าง ๆ ได้บีบบังคับพวกท่านให้ถือปฏิบัติตามด้วยเหตุผลทางการเมือง และพวกท่านก็ได้ถือปฏิบัติตามพวกเขาอย่างหลับหูหลับตาโดยปราศจากหลักฐานและข้อพิสูจน์ !

เชคอับบาสีย์จึงนั่งเงียบ

สัยยิดอะละวีย์จึงกล่าวต่อไปว่า :- โอ้ กษัตริย์ ! ณ วินาทีนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าถ้าหากท่านเชคอับบาสีย์ได้ตายไปในสภาพเช่นนี้ เขาจะต้องตกเป็นชาวนรกอย่างแน่นอน

กษัตริย์ :- อะไรที่ทำให้ท่านมั่นใจเช่นนั้น ? !

การตายในสภาพญาฮิลียะฮ์
สัยยิดอะละวีย์ :- เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“บุคคลใดที่ตายไปโดยไม่รู้จักอิมามในยุคสมัยของตน เขาได้ตายไปเฉกเช่นผู้ที่ตายในยุคสมัยญาฮิลียะฮฺ”

โอ้ กษัตริย์ ! ได้โปรดถามท่านเชคอับบาสีย์เถิดว่า อิมามของเขาคือใคร ?

เชคอับบาสีย์ :- นี่มิใช่หะดีษจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

กษัตริย์จึงหันไปถามประธานองคมนตรีว่า :- ข้อเท็จจริงของหะดีษดังกล่าวเป็นอย่างไรหรือ ?

ประธานองคมนตรี :- ใช่ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะเช่นนั้นจริง
*(หาฟิซ นีชาบูรีย์ได้บันทึกในเศาะหี๊หฺของเขา เล่ม 8 หน้า 107 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 117 – นะฟะหาตุลลาฮูต หน้า 3 – เศาะหี๊หฺมุสลิม ฯลฯ)

กษัตริย์จึงกล่าวด้วยความกริ้วว่า :- โอ้ เชคอับบาสีย์ ! ข้าพเจ้าเคยเชื่อมั่นว่าท่านเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือมาก่อน แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าเพิ่งประจักษ์ว่าคำพูดของท่านขาดความน่าเชื่อถือเสียแล้ว เพราะท่านได้กล่าวคำเท็จออกมานั่นเอง

เชคอับบาสีย์ :- แน่นอน ข้าพเจ้ารู้จักอิมามในยุคสมัยของข้าพเจ้าดี

สัยยิดอะละวีย์ :- ใครหรือ ?

เชคอับบาสีย์ :- ก็ท่านกษัตริย์ไงเล่า

สัยยิดอะละวีย์ :- โอ้ กษัตริย์ ! เป็นความจริงที่ท่านได้กล่าวว่าเขาเป็นคนที่พูดจาโกหก และสิ่งที่เขากล่าวมานั้นไม่มีสารัตถะใด ๆ นอกจากเพียงแค่จะประจบสอพลอท่านเท่านั้น

กษัตริย์ :- แน่นอน ข้าพเจ้ารู้ดีว่าเขากำลังกล่าวโกหกคำโตออกมา และข้าพเจ้ายังรู้จักตัวเองดีว่าไม่มีคุณสมบัติคู่ควรที่จะเป็นอิมามชี้นำประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าไม่มีความสันทัดในวิชาการศาสนา นอกจากความสามารถในการบริหารบ้านเมืองแล้ว ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาให้หมดไปกับการล่าสัตว์

หลังจากนั้นกษัตริย์ได้ถามสัยยิดว่า :- แล้วอิมามซะมาน (อิมามแห่งยุคสมัย) คือใครหรือ ?

สัยยิดอะละวีย์ :- จากหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อิมามซะมาน (อ) ก็คือ “มะฮฺดีย์” (อัรฺวาหุนาละฮุลฟิดาอ์) ด้วยเหตุนี้ บุคคลใดที่รู้จักท่าน เขาจะตายในสภาพของมุสลิมและเป็นหนึ่งจากชาวสวรรค์ และใครก็ตามที่ตายไปโดยมิได้รู้จักท่าน เขาจะตายในสภาพญาฮิลียะฮฺ (อนารยชน) และจะเข้าอยู่ในไฟนรกร่วมกับประชาชนในยุคญาฮิลียะฮฺ

เมื่อการสนทนาได้ดำเนินมาถึงประเด็นนี้ ใบหน้าของกษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์เริ่มสดใส มีความสุข และมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม และแล้ว โดยที่ไม่มีใคร ณ สถานที่นั้นจะคาดฝันมาก่อน ท่านได้กล่าวกับผู้ที่ชุมนุมด้วยเสียงดังกังวานว่า :-
โอ้ พี่น้องทั้งหลาย ! โปรดรับรู้ด้วยเถิดว่า การสนทนาและถกเถียงทางวิชาการที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลา 3 วันเต็ม ๆ นั้น ได้ทำให้ข้าพเจ้ามีดวงตา ดวงใจที่ใสสว่างสามารถจำแนกความจริงออกจากความเท็จได้อย่างมั่นใจว่า หลักฐานและข้อพิสูจน์ของอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺเต็มไปด้วยตรรกะและสัจธรรม ในขณะที่หลักความเชื่อถือศรัทธาที่ฝ่ายเราได้นำเสนอนั้นล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยความโมฆะและปราศจากสาระแห่งหลักตรรกศาสตร์และสัจธรรมอย่างสิ้นเชิง และเนื่องจากโดยบุคลิกภาพและสัญชาติญาณของข้าพเจ้าแล้ว เป็นผู้ที่ไม่ตะอัศศุบ (มีโมหคติ) ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ประจักษ์ในสัจธรรมแล้ว ย่อมไม่มีหนทางอื่นใดนอกจากจะต้องยอมจำนนต่อมัน ข้าพเจ้ามิใช่บุคคลที่แสวงหาโมฆะธรรมในโลกดุนยา เพื่อที่จะกระโจนไปสู่นรกญะฮันนัมในโลกอาคิเราะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงขอถือโอกาสนี้ประกาศกับท่านทั้งหลายว่า บัดนี้ ข้าพเจ้าคือชีอะฮฺคนหนึ่ง และบุคคลใดที่ประจักษ์ว่าชีอะฮฺคือสัจธรรม เขาย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของเขาเอง มาตรว่า เขาเป็นผู้แสวงหาความเมตตา ความจำเริญ และความโปรดปรานอันอสงไขยของอัลลอฮฺ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าเขาจะต้องเข้ามาสู่วิถีทางแห่งสัจธรรมที่เต็มไปด้วยรัศมี และละทิ้งวิถีแห่งความมืดมนอนธกาลแห่งความโมฆะอย่างไร้เยื่อใย

หลังจากนั้น นิซอมุลมุลก์ ประธานองคมนตรี ได้ประกาศเป็นคนต่อมาว่า :- ข้าพเจ้าทราบดีว่าชีอะฮฺคือวิถีแห่งสัจธรรมเพียงหนึ่งเดียว และความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดจากการศึกษาค้นคว้าจนกระทั่งได้บรรลุสู่ความจริง ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอประกาศเช่นกันว่า ข้าพเจ้าคือชีอะฮฺคนหนึ่ง

ในที่สุด บรรดาอุละมาอ์ รัฐมนตรี ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เข้าร่วมรับฟังการสนทนาในครั้งนั้นประมาณ 70 คน ก็ได้น้อมรับวิถีสัจธรรมนั้นด้วยเช่นกัน

กระแสข่าวการเข้ารับชีอะฮฺของกษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ และนิซอมุลมุลก์ ประธานองคมนตรี และเจ้าหน้าที่ชั้นนำของประเทศได้แพร่ขจายไปทั่วแผ่นดินอิสลาม และมีผลทำให้ประชาชนจำนวนมากได้หันมาน้อมรับแนวทางชีอะฮฺ จนกระทั่งท่านนิซอมุลมุลก์ (ซึ่งเป็นพ่อตาของข้าพเจ้า) ได้ประกาศให้ครูบาอาจารย์ทั่วกรุงแบกแดดจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนมัซฮับชีอะฮฺขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุละมาอ์สุนนีบางส่วนที่ยังคงยืนหยัดอยู่บนวิถีทางแห่งโมฆะและไร้หลักฐานของพวกเขาต่อไป ซึ่งคัมภีร์อัลกุรฺอานได้กล่าวว่า :-
فَهِيَ كَالْحِجَارَةِ أَوْ أَشَدُّ قَسْوَةً
“(หัวใจของพวกเขา) แข็งกระด้างประดุจดังหิน หรือแข็งกระด้างยิ่งกว่า”(สูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ 2 : 74)

และในที่สุด กลุ่มชนดังกล่าวนี้เองที่ได้เริ่มวางแผนการณ์อันชั่วร้ายเพื่อก่อการรัฐประหารล้มล้างกษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ และนิซอมุลมุลก์ โดยในขั้นแรกพวกเขาได้จับตัวประธานองคมนตรี ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน และในวันที่ 12 เดือนรอมฎอน ปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 485 พวกเขาได้จัดการสังหารนิซอมุลมุลก์ และหลังจากนั้นก็เป็นของกษัตริย์มะลิกชาฮฺ สัลญูกีย์ ที่ต้องประสบชะตากรรมถูกสังหารในที่สุด

อินนาลิลลาฮฺ วะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน
เพราะจำนนต่อสัจธรรม ท่านทั้งสองจึงถูกฆ่าสังหาร

เราขอขับลำนำเพื่อรำลึกถึงความเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของผู้มีเกียรติ ท่านเชคนิซอมุดดีน :-

นิซอมุดดีน อัญมณีอันล้ำค่า
อัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาเทอดเกียรติเขาให้สูงส่ง
ฐานภาพของท่านนั้นยิ่งใหญ่
แต่จะมีคุณค่าอะไรกับคนเนรคุณ
พวกมันได้ส่งท่านไปสู่ผู้เป็นเจ้าแห่งกรรมสิทธิ์
ทันทีที่ประจักษ์ถึงสัจธรรม
ท่านจึงยอมจำนนอย่างไร้เงื่อนงำ
วิถีแห่งอะฮฺลุลบัยต์เต็มไปด้วยสารัตถะ
ในขณะที่วิถีทั้งหลายล้วนคือภาพลวงตา
จิตสำนึกแห่งมาร

ได้ผลาญคร่าชีวิตให้กลายเป็นดวงเดือน
ที่ส่องไสวให้กลางคืนที่มืดมนต์
ศานติจากเจ้าของสันติพึงมีแด่ท่าน
สรวงสวรรค์อันสถาพร
ได้โปรดรับดวงวิญญาณของท่านอย่างถาวรเถิด

ข้าพเจ้าผู้จดบันทึกการสนทนาได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ตั้งแต่วินาทีแรกจนวินาทีสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เนื้อหาที่ได้นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นเพียงบทสรุปของการถกเถียงเชิงวิชาการที่ข้าพเจ้าได้คัดย่อมาเท่านั้น

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์
ขอความศานติ ความจำเริญพึงมีแด่ศาสดามุหัมมัด (ศ)
และครอบครัวผู้สะอาดบริสุทธิ์ของท่าน (อ)


มุกอติล อิบนุอะฏียะฮฺ
มัดเราะสะฮฺ อิลมียะฮฺ (สถาบันสอนศาสนา) นิซอมียะฮฺ
กรุงแบกแดด


นี่คือวิถีแห่งสัจธรรม
หนังสือเล่มนี้ได้ถูกถ่ายทอดจากภาษาต้นฉบับและจัดพิมพ์เป็นภาษาต่าง ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้จะเป็นแค่เพียงหนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่แน่นไปด้วยเนื้อหาสาระจนสามารถชี้นำผู้แสวงหาให้เข้ามาสู่วิถีแห่งสัจธรรมกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า

มวลการสรรเสริญย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
ผู้ทรงเอกะเพียงผู้เดียว


แปลและเรียบเรียงโดย เชคอบูนัสรีน

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้ปรับเนื้อหาคำแปลบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่