อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
ผู้เขียน:
เว็บไซต์ อัชชีอะฮ์
ภาษาไทย
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ อรรถาธิบายซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ
ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน เชคมุฮฺซิน กิรออะตี
แปลโดย:เว็บไซต์อัชชีอะฮฺ
โองการแรก: بسم الله الرحمن الرحيم
ความหมาย: ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
คำอธิบาย: ในท่ามกลางกลุ่มชนและประชาชาติต่าง ๆ ถือเป็นประเพณีในการเริ่มงานที่สำคัญของตน ด้วยนามของบุคคลสำคัญหรือผู้อาวุโสที่ได้รับความเคารพนับถือและเป็นที่รักในหมู่พวกเขา เพื่อที่ว่างานนั้นจะได้เกี่ยวพันกับบุคคลดังกล่าวตั้งแต่เริ่มแรก แน่นอนที่สุดประเพณีดังกล่าวนี้วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อทั้งที่ถูกต้องและเป็นเท็จ กล่าวคืบางกลุ่มชนเริ่มต้นงานของตนด้วยกับนามของเทวรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของพวกเขา หรือผู้ปกครองที่ต่อต้านอัลลอฮ. (ซบ.) ในขณะที่ในบางกลุ่มชนงานของพวกเขาเริ่มต้นด้วยกับพระนามของอัลลอฮฺ. (ชบ.) และด้วยกับมือของมวลมิตรผู้เป็นที่รักของพระองค์ (เอาลิยาอฺ) ดังเช่นในสงครามคอนดักผู้ที่ลงมือขุดสนามเพลาะเป็นคนแรกคือท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ)
ตัวอย่างการเริ่มต้นงานด้วย بِسمِ اللّه
๑. คัมภีร์ของอัลลอฮฺ (กุรอาน) เริ่มต้นด้วย بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم
๒. ไม่เพียงแค่กุรอานเท่านั้น แต่ทว่าคัมภีร ์อื่น ๆ ของอัลลอฮฺ (ซบ) ก็เริ่มต้นด้วย بِسمِ اللّه เช่นกัน
๓. ภารกิจของศาสดาทุกท่านเริ่มต้นด้วย بِسم اللّه
๔. เมื่อเรือของท่านศาสดานุห์ (อ.)ุ เริ่มเคลื่อนตัวในท่ามกลางพายุคลื่น ศาสดานุห์ (อ.) ได้สั่งสหายของท่านว่า จงขึ้นเรือซึ่งการเคลื่อนและหยุดของเรือนี้ด้วยพระนามของอัลลอฮฺอัล-กุรอานกล่าวว่า
بِسم اللّهِ مَجرِيهَا وَ مُر سَهَا (๑)
๕.ในขณะที่ท่านศาสดาสุลัยมาน(อ.) เชิญชวนราชินีแห่งเมืองสะบาอฺให้ศรัทธาต่ออัลลฮฮฺ (ซบ.) นั้น ท่านได้ส่งจดหมายเชิญชวนไปถึงพระนางด้วยถ้อยคำ بِسم اللّهِ الرَّحمنِ الرَّحِيم (๒)
๖.ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) เริ่มภารกิจการเผยแผ่สาส์นของท่านด้วยพระนามของอัลลอฮฺอัล-กุรอานกล่าวว่า
اِقرَأ بِاسمِ رَبِّكَ
๗. ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวกับชายผู้หนึ่งที่เขียน بِسمِ اللّهว่า "จงเขียนให้ดี และสวยงามที่สุด
๘. การกล่าว بِسمِ اللّه ในการเริ่มงานต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งงาน การขี่พาหนะ การเริ่มออกเดินทางและงานอื่น ๆได้รับการแนะนำและให้ความสำคัญไว้ จนกระทั่งว่าถ้าหากสัตว์ถูกเชือดโดยไม่ได้กล่าวไม่ได้กล่าวبِسم اللّه การบริโภคเนื้อสัตว์ดังกล่าวถือเปิบสิ่งต้องห้าม และนี่คือรหัสที่เผยให้เห็นว่าผู้ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งเป็นผู้ที่มีทิศทางและเป้าหมายนั้น แม้แต่อาหารของพวกเขาก็จำเป็นต้องมีทิศทางและเป้าหมายเพื่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน
คำถามสองประการเกี่ยวกับ بِسمِ اللّه
๑. เพราะเหตุใดในการเริ่มงานต่าง ๆ ด้วย بِسمِ اللّه. จึงได้รับการแนะนำและให้ความสำคัญไว้ ?
ในทำนองเดียวกันกับที่ผลิตภัญฑ์หรือสินค้าของโรงงานหนึ่ง ๆ จะมีตราหรือเครื่องหมายของโรงงานั้น ๆ ปรากฏอยู่ ไม่ว่าผลิตภัญฑ์ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของชิ้น ส่วนเล็ก ๆ หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก็ตาม หรือดังเช่นธงชาติของทุกประเทศที่ติดอยู่ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามเรือสินค้าของประเทศนั้น ๆ และวางอยู่ตามโต๊ะในสำนักงาน
เครี่องหมายและสัญลักษญ์เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อทิศทางและเป้าหมายของโรง งานในการผลิตสินค้า หรือแนวทางและอุดมการณ์ของประเทศนั้น ๆ จะได้มีถูกเบี่ยงเบนออกไปและเครี่องหมายหรือสัญลักษณ์ดังกล่าวจะได้ไม่ถูก ลืมเลือนไปจากความทรงจำของประชาชน
พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ. ) และการรำลึกถึงพระองค์ก็เช่นเดียวกันถือเป็นสัญลักษณ์ของมุสลิม ด้วยเหตุนี้ได้มีรายงานในหะดีษบทหนึ่งว่า "จงอย่าลืม بِسمِ اللّه "แม้แต่ในการเขียนกลอน สักวรรคหนึ่งก็ตาม" และในหะดีษ อีกหลายบทได้ระบุถึงผลบุญของผู้ที่สอน بِسم اللّه ให้กับเด็ก ๆ เป็นครั้งแรก (ทั้งนี้เนื่องจากงานดังกล่าวเป็นการปลูกฝังเครื่องหมายของมุลลิมให้กับพวก เขาตั้งแต่เยาว์วัย) (๓)
นอกจากนี้ท่านอิมามอะลี (อ. ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของเริ่มงาน ด้วย بِسمِ اللّه ไว้ว่า بِسمِ اللّه เป็นที่มาของความจำเริญ (บะรอกะฮฺ) และการละทิ้งเป็นสาเหตุของการไม่สัมฤทธิผลกองกิจการงาน"
๒. بِسمِ اللّهِ الرَّحمنِ الرَّحِيم คืออายะฮฺของอัล-กุรอานใช่หรือไม่ ?
๒.๑ ) ตามทัศนะของอะหฺลุลบัยตฺ (อ ) ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล ฯ)(๔) ซึ่งมีช่วงชีวิตอยูก่อนหน ้าบรรดาผู้นำสำนักคิดทางนิติศาสตร์(มัซฮับ) ต่าง ๆ ประมาณ ๑๐๐ปี และเป็นผู้พลีชีพในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ. ) อีกทั้งเป็นกลุ่มชนที่กุรอานได้กล่าวถึงความบริสุทธิ์จากบาป ความผิดพลาด และความหลงลืม (อิศมัต) ของพวกเขาไว้อย่างชัดเจน บุคคลเหล่านี้ถือว่า بِسمِ اللّهِ الرَّحمن الرَّحِيم เป็นอายะฮฺหนึ่งของอัล-กุรอาน
๒.๒) ฟัครุรฺ-รอซี ได้นำเสนอหลักฐานไว้ ๑๖ ประการในตับสีรฺของเขาที่ยืนยันให้เห็นว่า بِسم اللّهِ الرَّحمنِ الرَّحِيم เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน
๒.๓) อาลูซี(๕) เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีทัศนะดังกล่าว
๒.๔) ในมุสนัดอะหฺมัด ได้บันทึกไว้เช่นเดียวกันว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺ(๖)
๒.๕) บุคคลที่ไม่ถือว่า بِسمِ اللّهเป็นส่วนหนึ่ง ของซูเราะฮฺ และทิ้งการอ่าน بِسمِ اللّه ในนมาซนั้นได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น วันหนึ่งในขณะที่มุอาวิยะฮฺกำลังนำนมาซและไม่ได้อ่าน بِسمِ اللّه ประชาชนได้ทักท้องเขาว่า اَسرَقتَ الصَّلاَةَ اَونَسِيتَ ท่านได้ขโมยนมาซหรือว่าหลงลืม(๗)
๒.๖) ท่านอิมามมุฮัมบากิรฺ (อ.) ได้กล่าวถึงบุคคลที่ไม่ได้อ่าน بِسمِ اللّه ในนมาซหรือบุคคลที่ไม่ถือว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺว่า "พวกเขาได้ขโมยอายะฮฺที่ประเสริฐที่สุดไปจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ" سَرَقُوااَكرَمَ آيَة فَى كِتَابِ اللّه (๘)
๒.๗) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (มะอฺศูม) จากครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) ได้ยืนกรานให้อ่าน بِسمِ اللّه ในนมาซด้วยเสียงดัง (ทั้งนี้เพื่อเป็นการทวบกระแสของสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในศาสนา)
(๒.๘) ในสุนันบัยฮะกี ได้บันทึกหะดีษบทหนึ่งไว้ซี่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ทำไมบางคนจึงไม่ถือว่า بِسمِ اللّه เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺ(๙)
๒.๙) ชะฮีดมุเฎาะฮะรี (๑๐ ) ได้กล่าวไว้ในตัฟสีรฺซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺว่า "อิบนุอับบาส, อาศิม, กะซาอีย์, อิบนุอุมัร, อิบนุชุบัยร์. อะฏออฺ ฏอวูส และซุยูฏีย์. และชุย ฎีย์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่า بِسمِ الله . คือส่วนหนึ่งของชูเราะฮ."
๒.๑๐) กุรฎุบียืได้ รายงานจากท่าบอิมามญะอฺฟัรฺ อัซ-ซอดิก (อ.) ซึ่งท่านอิมา (อ. ) กล่าวว่า بِسمِ اللّه " คือมงกุฎญของชูเราะฮฺ" ยกเว้นซูเราะฮฺเตาบะฮฺ (ซูเราะฮฺบะรออะฮฺ) เท่านั้นที่ไม่มี بِسمِ اللّه ทั้งนี้ตามคำอธิบายของท่านอิมามอะลี (อ. ) เนื่องจาก بِسمِ اللّه เป็นถ้อยคำที่ยังความปลอดภัยและความเมตตา ส่วนการ "บะรออะฮฺ" ซึ่งเป็นการประกาศความเกลียดชังและความเป็นศัตรูต่อผู้ปฏิเสธและผู้ตั้งภาคีนั้น ไม่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความเมตตา (๑๑ )
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮฺ
๑.بِسمِ اللّه คือเครื่องหมายบ่งชี้ถึง " สีของอัลลอฮฺ" (ศิบเฆาะตุลลอฮฺ) (๑๒ ) และเป็นเครื่องกำหนดทิศทางความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว(เตาฮีด) ของมนุษย์
๒ . คีอรหัสของการยอมรับความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ(ซบ. ) ส่วนนามของบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ. ) ถือเป็นรหัสของการปฏิเสธ และการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ควบคู่กับนามของบุคคลอื่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งภาคี (๑๓ ่) ความหมายของอายะฮฺ سَبِّحِ اسمَ رَبِّكَ ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่าพระนามชื่อของอัลลอฮ(ซบ.) จำเป็นต้องสะอาดบริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน
๓. بِسمِ اللّه คือรหัสของความเป็นนิรันดร์ เพราะสิ่งใดก็ตามที่ไม่มี "สีของอัลลอฮฺ" ล้วนมลายสิ้น (๑๔ )
๔. بِسمِ اللّه คือรหัสที่เผยให้เห็นว่า เนื้อหาของซูเราะฮฺได้ถูกประทานลงมาจากผู้ เป็นต้นกำเนิดของสัจธรรมและความ เมตตา
๕. بِسمِ اللّه คือรหัสของความรักและความไว้วางใจในพระองค์
๖. بِسمِ اللّه คือเครื่องหมายของการถอนตัวออกจากความยโสโอหัง และการแสดงความไร้ความสามารถ ณ พระองค์
๗. بِسمِ اللّه คือก้าวแรกของความเป็นบ่าว
๘. بِسمِ اللّه คือรหัสของการขับไล่ชัยฎอน (มารร้าย) บุคคลใดก็ตามที่อยู่กับอัลลอฮฺ (ซบ. ) ชัยฎอนจะไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อผู้นั้นได้
๙. بِسمِ اللّه คือหลักประกันและที่มาของความบริสุทธิ์ใน กิจการงานต่าง ๆ
๑๐.การกล่าว بِسمِ اللّه ประหนึ่งให้ความหมายว่า "โอ้อัลลอฮฺข้าพระองค์ไม่เคยลืมเสือนพระองค์"
๑๑. การกล่าว بِسمِ اللّه ประหนึ่งให้ความหมายว่า "โอ้อัลลอฮฺแรงบันดาลใจและเป้าหมายของข้าพระองค์คือพระองค์ มิใช้ประชาชน มิใช้ผู้ปกครองที่อธรรม มิไช่ความศิวิไลซ์ของโลกนี้ และมิใช่อารมณ์ใฝ่ต่ำ"
๑๒. بسمِ اللّه หมายถึง "การขอความช่วยเหลือของข้าพระองค์เฉพาะจากพระองค์เท่านั้น" และอาจกล่าวได้ว่า ความหมายของคำกล่าวที่ว่า "อัล-กุรอานทั้งหมดรวมอยู่ในซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ. และซูเราะฮฺฟาติหะรวมอยู่ใน บิสมิลลาฮฺ และบิสมิลลาฮฺรวมอยู่ในอักษรบอฺนั้น หมายถึงการสร้างสรรค์การชี้นำ และการย้อนกลับคืนของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายนั้น ล้วนเกิดขึ้นด้วยกับการแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์ทั้งสิ้น. (๑๕) (แต่อย่างไรก็ตามอัลลอฮฺ (ซบ. ) เท่านั้นที่ทรงรู้ความแท้จริงของมัน)
๑๓. بِسمِ اللّه คือรหัสที่เผยให้เห็นว่า การเริ่มงานต่าง ๆ นั้น ต้องการกำลังใจ ความหวังและความเมตตา ซึ่งที่มาและบ่อเกิดของพลังอำนาจ ความหวังและความเมตตาทั้งมวลคืออัลลอฮฺ (ซบ ) ด้วยเหตุนี้ اَلرَّحمن (ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ) และ اَلرَّحِيم (ผู้ทรงเมตตายิ่ง) จึงนำมาใช้หลังคำว่า اَللّه
๑๔. มนุษย์ก็เช่นเดียวกันจะต้องสร้างกำลังใจและความหวังโดยการรำลึกถึงอัลลอฮ. (ซบ.) ด้วยกับพระนามที่สมบูรณ์ และครอบคลุมที่สุด (๑๖) ควบคู่กับคุณลักษณะแห่งความเมตตาและความกรุณาปรานีของพระองค์ (๑๗) ด้วยการกล่าวว่า بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم
การเริ่มงานด้วยกับถ้อยคำที่หมายถึงความเมตตานั้น แสดงให้เห็นว่ารากฐานของทุกกิจการงาน วางอยู่บนความเมตตากรุณาและเป็นเครี่องหมายที่ชี้ให้เห็นว่า การแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เป็นต้นกำเนิดของความเมตตานั้นเหมาะสมและคู่ควรยิ่ง
เชิงอรรถ ๑. ซูเราะฮฺ ฮูด อายะฮฺที่ ๔๑
๒. ซูเราะฮฺ อัล-นัมลิ อายะฮฺที่๓๐
๓.ตับสีรฺ บุรฮาน เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๓
๔.บุคคลกลุ่มหนึ่งจากครอบครัวและสายตระกูลของท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่ได้รับการเลือกสรรจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ให้เป็นผู้นำประชาชาติมุสลิมหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บุคคลเหล่านี้ได้แก่ ท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ท่านอิมามฮุซัยนฮ (อ.) และผู้สืบสายตระกูลของท่านอิมามฮุซัยนฺอีก ๙ ท่าน
๕.อาลูซี เป็นนักปราชญ์ท่านหนึ่งของอะหฺลิซซุนนะฮฺ และเป็นผู้เขียนตับสีรฺ รูฮุ้ล-มะอานี
๖. มุสนัดอะหฺมัด เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๗๗ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๘๕
๗.มุสตัดร็อก ฮากิม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๓๓
๘. ตัฟสีรฺบุรฮาน เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๒ หะดีษที่ ๑๕
๙.สุนันบัยฮะกี เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๐
๑๐. ชะฮีดมุเฏาะฮะรี เป็นนักปราชญ์ร่วมสมัยผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งทีมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ มากมาย เช่น ปรัชญา ตรรกวิทยา ฯลฯ ท่านได้ถูกลอบสังหารโดยศัตรูของอิสลามในวันที่ ๑ พ.ค. ค.ศ. ๑๙๗๙
๑๑. มัจมะอุ้ล-บะยาน เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒ และฟัครุร-รอซี เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๑๖
๑๒. โดยปรกติแล้วจิตวิญญาณและธรรมชาติของมนุษย์จะปรับเปลี่ยนไปตามความเชื่อ ในแนวทางของศาสนา และแนวความคิดของตนเอง ประหนึ่งถูกย้อมด้วยสีสันของสิ่งเหล่านี้ ผู้ศรัทธาในอัลลอฮฺ (ซบ.) จะได้รับการย้อมด้วยสีสันของพระองค์ ซึ่งหมายถึง แนวทางอันบริสุทธิ์ของอิสลามกล่าวคือ อิสลามจะชำระขัดเกลาจิตใจ สติปัญญาและความคิดของผู้ศรัทธาให้สะอาดบริสุทธิ์จากมลทิน ความมืดมน และสีสันของความเท็จทั้งมวล
๑๓. แม้กระทั่งการเริ่มต้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ควบคู่กับนามของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก็ถือว่าไม่อนุญาตเช่นกัน (อิษบาตุ้ล-ฮุดา เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๘๒)
๑๔. كُلُّ شَىءٍ هَا لِكٌ اِلاِّ وَجهَهُ ทุกสรรพสิ่งพินาศสิ้น ยกเว้นแก่นแท้ (ซาต) อันบริสุทธิ์ของพระองค์ (อัล-เการะศ็อด ๘๘)
๑๕. เนื่องจากตามทัศนะนักวิชาการบางส่วน ความหมายหนึ่งของอักษร บาอฺในบิสมิลลาฮฺคือ "อิสติอานะฮฺ" (การแสวงหาความช่วยเหลีอ) ดังนั้น بِسمِ اللّه الرَّحمنِ الرَّحِيم จึงหมายถึง "ข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือด้วยกับพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ ผู้ทรงเมตตายิ่ง"
๑๖. พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในอัล- กุรอาน ๑๐๐ พระนาม ซึ่งอัลลอฮฺเป็นพระนามที่สมบูรณ์และครอบคลุมทีสุด
๑๗. اَلرَّحمن เป็นนามที่ใช้เฉพาะกับอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น ซึ่ง หมายถึงผู้ที่ความเมตตาของเขาแผ่กว้าง ไม่มีขอบเขตจำกัดและครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง ในขณะทีผู้อื่นนอกเหนือจากพระองค์นั้น ความเมตตาของเขาอยู่ในขอบเขตจำกัด หรือไม่ก็เป็นผู้ไร้ดวามเมตตาหรือมิเช่นนั้นก็เป็นผู้คาดหวังรางวัลตอบแทน โลกนี้หรือโลกหน้าจากการแสดงความเมตตาของตน
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๑
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
> โองการที่สอง: اَلحَمدُ لِلّهِ رَبِّ العَا لَمِين
ความหมาย: การขอบคุณและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
คำอธิบาย: อัลลอฮฺ (ซบ. ) คือพระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในฟากฟ้าแผ่นดิน และในระหว่างทั้งสองอัล-กุรอานกล่าวว่า
رَبُّ السَّمَاوَاتِ وَالأرضِ وَمَا بَينَهُمَا (๑)
และพระองค์คือ هُوَ رَبُّ كُلِّ شَيءٍ ( ๒)
ชึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ได้อธิบายอายะฮฺนี้ว่า "พระองค์คือพระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งสิ่งที่มีซิวตและไม่มีชีวิต"
ในบางครั้งคำว่า عَالَمِين หมายถึงมวลมนุษยชาติ แต่ทว่าคำนี้ส่วนใหญ่ใช้ในความหมายว่า "สรรพสิ่งทั้งมวล"
อายะฮฺนี้ชี้ให้เห็นว่าพระผู้อภิบาลและบริหารทุกสรรพสิ่งนั้นคืออัลลอฮฺ (ซบ.) มิใช้เทพเจ้าตามความเชื่อผิด ๆ ของบางกลุ่มชนและบางประชาชาติที่ว่าทุกสิ่งและทุกปรากฏการณ์นั้นมีเทพเจ้าองค์หนึ่งคอยดูแลบริหารอยู่
นอกจากซูเราะฮฺฟาติหะแล้ว อายะฮฺ اَلحَمدُ لِلّه ยังปรากฏอยู่ในต้นซูเราะฮฺอัล-อันอาม, อัล-กะฮฺฟิ,อัช-ซะบาอ.และอัล -ฟาฎิรฺ ด้วยอีก เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ว่าในซูเราะฮฺฟาติหะ رَبِّ العَالَمِين ได้ถูกกล่าวไว้หลังจากอายะฮฺข้างต้น
อนึ่ง การอภิบาลของอัลลอฮฺ (ซบ.) ก็คือวิถีทางในการชี้นำของพระองค์นั่นเอง กล่าวคือหลังจากการสร้างสรรค์สรรพสิ่งต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงตระเตรียมเส้นทางของการอภิบาลและการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ให้กับสรรพสิ่ง
เหล่านั้น ดังที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
رَبُّنَا الَّذى اَعطَى كُلَّ شَىءٍ خَلقَهُ ثُمَّّ هَدَى(๓)
ความว่า "พระผู้อภิบาลของเราคือผู้ทรงให้กำเนิดแก่ทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นทรงชี้นำเส้นทางแห่งความสมบูรณ์"
พระองค์ทรงสอนให้ผึ้งรู้ว่าจะต้องดูดน้ำหวานจากพืชชนิดใด ทรงสอนมดให้รู้ถึงวิธีเก็บสะสมอาหารกองตนไว้กินในฤดูหนาว และทรงสร้างร่างกายมนุษย์ในลักษณะที่ว่าเมื่อใดก็ตามที่เลือดไม่เพียงพอ ร่างกายจะสร้างเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน พระผู้เป็นเจ้าที่มีคุณลักษญะดังกล่าวนี้ย่อมเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการสรรเสริญและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
"ฮัมด." เป็นคุณลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของมนุษย์ที่ผสมผสานกันระหว่าง การสรรเสริญ และการขอบคุณ กล่าวคือโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์จะทำการสรรเสริญเยินยอความสวยงามและความสมบูรณ์ (แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ให้ประโยชน์ใด ๆ กับเขาก็ตาม) และในขณะเดียวกันมนุษย์จะขอบคุณต่อความโปรดปรานและความเอื้ออารีที่เขาได้รับ ดังนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงเป็นผู้ที่คู่ควรที่สุดต่อการกรรเสริญ เนื่องจากความงดงามและความสมบูรณ์ของพระองค์ และเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการกอบคุณเนื่องจากความโปรดปรานและความเอื้ออารีของพระองค์
อนึ่ง การขอบคุณและการสรรเสริญอัลสอฮฺ (ซบ. ) นั้น ไม้มีข้อขัดแย้งแต่ประการใดกับการขอบคุณเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขที่ว่า การขอบคุณดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามคำบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) และอยู่ในวิถีทางของพระองค์
اَلحَمدُ لِلّهِ คือปฎิกริยาหนึ่งที่เกิดมาจากภายในจิตวิญญาณของผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และถือเป็นวิธีการขอบคุญอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีที่สุดบุคคลใดก็ตามที่ทำการสรรเสริญทุก ๆ ความสมบูรณ์และความสวยงาม ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดและด้วยภาษาใดก็ตาม แท้ที่จริงแล้วเขากำลังสรรเสริญผู้เป็นต้นกำเนิดของสิ่งเหล่านั้นอยู่
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ.
๑. رَبِّ العَالَمِين หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮฺ (ซบ.) กับสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและถาวร
๒. رَبِّ العَالَمِين หมายถึง ทุกสรรพสิ่งอยู่ภายใต้การอภิบาลของอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเอกะ
๓. رَبِّ العَالَمِين หมายถึง การพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ และการอภิบาลนั้นมีความเป็นไปได้อยู่ในทุกสรรพสิ่ง
๔. อายะฮฺ اَلحَمدُ لِلّهِ رَبِّ العَالَمٍِين ชี้ให้เห็นว่า พระผู้อภิบาลสรรพสิ่งต่าง ๆ นั้นคืออัลลอฮฺ (ซบ.) มิใช่เทพเจ้า เทวดา ผีสางนางไม้ หรือนักบวช นักพรต
๕. คำว่า رَبِّ ชี้ให้เห็น ว่าา อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นทั้งเจ้าของ ผู้มีอำนาจสิทธิขาดและเป็นทั้งผู้จัดการบริหารกิจการทั้งหมดของสิ่งที่อยู่ ใต้กรรมสิทธิ์ของพระองค์ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า رَبِّ นั้นหมายรวมถึงการ เป็นเจ้าของ และผู้บริหารกิจการด้วยเช่นกัน ดังที่อัล กุรอาน กล่าวว่า
لَهُ الخَلقُ وَ الأمرُ تَبَارَ كَ الَّلهُ رَبُّ العَالَمِين (๔)
ความว่า "การสร้างและการบริหารกิจการของโลกแห่งสรรพสิ่งถูกสร้างนั้นอยู่ในอำนาจ สิทธิขาดของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกนั้นทรงจำเริญยิ่ง"
๖. พระองค์คือพระผู้อภิบาลสรรพสิ่งทั้งมวล กล่าวคือ พระองค์ทรงอภิบาลมนุษย์ด้วยกับการชี้นำและการอบรมสั่งสอนของบรรดาศาสนทูต ซึ่งเรียกการอภิบาลประเภทนี้ว่า "การอภิบาลด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์และข้อบัญญัติ "ส่วนสัตว์พืชและสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น พระองค์ทรงอภิบาลด้วยการนำสิ่งเหล่านั้นไปสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ของความสมบูรณ์ ซึ่งเรียกการอภิบาลประเภทนี้ว่า "การอภิบาลด้วยกฎเกณฑ์ธรรมชาติของการสร้างสรรค์" เช่น เมล็ดพืชเจริญเติบโตด้วยไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดไว้จนกระทั่งให้ดอกผล
๗. اَلحَمدُ لِلَّهِ คือการเริ่มต้นของการขอพร (ดุอาอฺ) ในทุกรูปแบบ ดังที่ปรากฏในหะดีษบทหนึ่งว่า "การขอพรจะบกพร่องไม่สมบูรณ์ หากพวกท่านไม่เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.). (๕ )
๘. اَلحَمدُ لِلّهِ เป็นทั้งถ้อยคำของมวลผู้ศรัทธาที่พวกเขาจะกล่าวในบท เริ่มต้นคัมภีร์อัล-กุรอาน และการวิงวอนขอพรจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงสูงส่ง อีกทั้งยังเป็นถ้อยคำของชาวสวรรค์ ซึ่งพวกเขาจะกล่าวในบั้นปลายของกิจการงาน ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَآ خِرُ دَعواهُم اَنِ الحَمدُ لّلّهِ رَبِّ العَالَمِينَ
ความว่า "ถ้อยคำสุดท้ายของพวกเขาคือการสรรเสริญ และการขอบคุณเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก. (๖)
๙. ตามรายงานหะดีษคำว่า اَلحَمدُ لِلّهِ رَبِّ العَالَمِينَ ถือเป็นการขอบคุณอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีที่สุด
เชิงอรรถ
๑. ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ ๕๔
๒. ซูเราะฮฺ-อันอาม ๖๔
๓. ซูเราะฮฺฎอ ๕๐
๔.ซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ ๕๔
๕.ตัฟสีรฺอะฏีบุล-บะยาน
๖.ซูเราะฮฺยูนุส ๑๐
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๒
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการที่สาม: اَلرَّحمنِ الرَّحِيمِ
ความหมาย: (พระผู้เป็นเจ้า) ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ
คำอธิบาย: อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงถือเอาความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์อัล-กุรอานกล่าวว่า
كَتَبَ رَبُّكُم عَلَى نَفسِهِ الرَّحمَةَ(๑)
และความเมตตาของพระองค์นั้นครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า
وَرَحمَتِى وَ سِعَت كُلََّ شَىءٍ(๒)
และในทำนองเดียวกันบรรดาศาสดา และคัมภีร์ที่พระองค์ประทานลงมาก็เป็นความเมตตาด้วยเช่นกัน رَحمًَة ًلِلَّعَالَمِين(๓) การอภิบาลของพระองค์วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา และหากพระองค์ทรงลงโทษก็เนื่องจากความกรุณาปรานีของพระองค์ด้วยเช่นกัน การอภัยโทษ การตอบรับการสารภาพผิดของปวงบ่าว การปกปิดข้อบกพร่องของปวงบ่าว (จากสายตาของบุคคลอื่น)และการให้โอกาสแก้ตัวต่อพวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นความ เมตตากรุณาของพระองค์ทั้งสิ้น
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ
๑. การอภิบาลของอัลลอฮฺ (ซบ.) วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาและความกรุณาปรานี (ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า اَلرَّحمنได้ถูกกล่าวไว้เคียง ข้างคำว่า رَبِّ )
๒. ในทำนองเดียวกันกับที่การอบรมสั่งสอนต้องอาศัยความเมตตาอัล-กุรอานกล่าวว่า
َالرَحمنُ عَلَّمَ القُرآن (๔)
การอภิบาลและการขัดเกลาก็เช่นเดียวกันต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ด้วยเช่นกัน
رَبِّ العَا لَمِين الرَّحمنِ الرَّحِيم (๕)
เชิงอรรถ
๑. "พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงลิขิตให้ความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์" (อัล-อันอาม ๕๔)
๒. "และความเมตตาของข้าครอบคลุมทั่วทุกสรรพสิ่ง" ( อัล-อะอฺรอฟ ๑๕๖)
๓.(นบี) คือ "ความเมตตาสำหรับมนุษยชาติ" ( อัล-อัมบิยาอฺ ๑๐๗)
๔."พระผู้ทรงเมตตา ทรงสอนอัล-กุรอาน (อัร-เราะฮฺมาน ๑-๒)
๕.พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ (ฟาติหะ ๒-๓)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๓
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการที่สี่: مَالِكِ يَومِ الدِّين
ความหมาย: ผู้ทรงสิทธิ์ในวันตอบแทน
คำอธิบาย: คำว่า "ดีน"ใช้ในความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. ประมวลข้อบัญญัติ และกฎหมายของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังอายะฮฺที่ว่า
ِنَّ الدَِينَ عِندَ اللّهِ الا سلام(๑.)
๒.การปฏิบัติตามและการจงรักภักดี ดังอายะฮฺที่ว่า
لِلّهِ الدِّّينُ الخالِصُ (๒)
๓.การสอบสวนและการตอบแทนดังอายะฮฺที่ว่า مَا لِكِ يَوم ِالدّين
คำว่า يَوم ِ الدِّين ในอัล - กุรอานหมายถึงวันกิยามะฮฺซึ่งเป็นวันแห่งการโทษและตอบแทน ดังอายะฮฺที่กล่าว
يَسئَلُونَ اَيَّان يَومُ الدِّينِ(๓)
ความว่า "พวกเขาจะถามว่าเมื่อใดเล่าที่วันกิยามะฮฺจะอุบัติขึ้น"
หรือดังในอายะ ฮฺหนึ่งที่แนะนำวันกิยามะฮฺไว้ว่า
ثُمَّ مَا اَدْرَاكَ مَا يَومُ الدِّينِ اَلدِّيْنَ يَومَ لاَ تَمْلِكُ نَفْسُ لِنَفْسٍ شَيْئًا وَالأَمْرُ يَوْمَ ئِذٍ لِلَّهِ
ความว่า "สิ่งใดหรือที่ทำให้เจ้ารู้ว่าวันแห่งดีน (กิยามะฮฺ) คือวันอะไรเป็นวันที่ชีวิตหนึ่งไม่มีสิทธิที่จะยังประโยชน์ใด ๆ แก่อีกชีวิตหนึ่ง และในวันนั้นการตัดสินและการบัญชาการทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ"(๔)
ถึงแม้ว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) จะเป็นผู้ทรงสิทธิที่แท้จริงเหนือทุกสรรพสิ่งในทุกกาลเวลาก็ตาม แตทว่าการมีกรรมสิทธิ์ของพระองค์ในวันกิยามฮฺและวันแห่งการฟื้นคืนชีพนั้นมี ลักษณะที่แตกต่างออกไป กล่าวคือในวันกิยามะฮฺสื่อกลางเพื่อการเจรจาไกล่ เกลี่ยและสัมพันธภาพต่าง ๆจะขาดสะบั้นลงดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَ تَقَطَّعَتْ بِهِمُ الاَسْبَاب(๕)
สายตระกูลจะสิ้นสุดลง(๖)
فَلاَ اَنْسَابَ بَيْنَهُمْ
ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ใด ๆ(๗)
لاَ يَنْفَعُ مَالُ وَلاَ بَنُوْنَ
อีกทั้งเครือญาติก็ไม่อาจอำนวยประชยชน์ใด ๆ ได้เลย(๘)
لَن تَنْفَعَكُمْ اَرْحَامُكٌمْ
และในท้ายที่สุดแม้แต่ลิ้นก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้สรรหาถ้อยคำมาแก้ตัว และสมองก็จะไม่มีโอกาสในการวางแผนการใด ๆ ทางรอดทางเดียวเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่นั้น คือความเมตตาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในวันกิยามะฮฺ
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮฺ
๑. อายะฮฺนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเตือนสำทับ แต่ด้วยกับการที่อายะฮฺถูกใช้คู่กับอายะฮฺ اَلرَّحْمنِ الرَّحِيْمِ จึงทำให้รู้ว่าการแจ้งข่าวดีนั้นจำเป็นต้องควบคู่กับการเตือนสำทับ นัยดังกล่าวปรากฏอยู่ในอีกอายะฮฺหนึ่งที่ว่า
نَبِّئْ عِبَادِى أَنِّى أَنَا غَفُوْرُ الرَّ حِيْمُ وَ أنَّ عَذَا بِى هُوَ العَذَابُ الاَ لِيْمُ
ความว่า "เจ้าจงแจ้งแก่ปวงบ่าวของข้าให้รู้เถิดว่า แท้จริงข้าเป็นผุ้ให้อภัยอีกทั้งเมตตายิ่ง แต่ทว่าการลงโทษของข้าก็แสนสาหัสด้วยเช่นกัน" (๙)
ในทำนองเดียวกันอัลลอฮฺ (ชบ.) ได้ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะของพระองค์พระองค์ ไว้ในอีกอายะฮ.หนึ่งว่า
قَابِلِ التَّوْبَ شَدِيْدِ العِقَابِ
ความว่า "พระองค์คือผู้ทรงรับการลุกกะโทษ (จากปวงบ่าวผู้สำนึกผิด) และพระองค์คือผู้ทรงลงโทษอย่างรุนแรง (แก่เหล่าคนบาป) (๑๐)
๒. การครอบครองกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (ซบฺ) หมายรวมถึงการมีอำนาจอธิปไตยของพระองค์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ทรงสิทธิที่แท้จริงนั้นย่อมมีอำนาจสิทธิขาดในสิ่งที่ อยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของตนเอง ดังอายะฮฺที่ว่า
قُلِ اللَّهٌمَّ مَالِكُ المُلْكِ
ความว่า "จงกล่าวเถิด โอ้ อัลลอฮฺพระองค์คือผู้ทรงสิทธิ์ในอำนาจการปกครองทั้งมวล"(๑๑)
แต่ทว่ากรรมสิทธิ์ของมนุษย์ซึ่งถือเป็นกรรมสิทธิ์ที่สมมติขึ้นนั้นอยู่ นอกเหนืออำนาจสิทธิขาดของเขา
๓. การครอบครองกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ. (ชบ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺแรกของอัล กุรอาน مَا لِكِ يَوْمِ الدِّينِ ส่วนการมีอำนาจอธิปไตยของพระองค์นั้นได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺสุดท้าย مَلِكِ النَّاسِ
๔.อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงคู่ควรต่อการเคารพภักดี การกรรเสริญ และการขอบคุณในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ความสมบูรณ์ของแก่นแท้ (ซาด) และคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ เนื่องจากพระองค์คือ اَللَّه ความ เอื้ออารีและการอภิบาลของพระองค์เนื่องจากพระองค์คือ رَبِّ العَا لِمِيْنَ ความหวัง และการรอคอยของเราต่อการได้รับความเมตตาจากพระองค์เนื่องจาก พระองค์ คือ َلرَّحِمنِ الرَّحِيْمِ และพลังอำนาจอีกทั้งความน่าเกรงขามของพระองค์เนื่องจากพระอังค์คือ
مَالِكِ يَومِ الدِّينِ
เชิงอรรถ
๑." แท้จริง ดีน ณ อัลลอฮฺคืออิสลาม"(อาลิอิมรอน ๑๙)
๒. "ดีน อันบริสุทธิ์(การงานอันบริสุทธิ์) นั้นเพึ่ออัลลอฮฺ ( อัช-ซุมัรฺ ๓)
๓. ชูเราะฮฺ อัช-ชาริยาด๑๒)
๔.ชูเราะฮอัล . อินฟิฏอรฺ ๑๘-๑๙
๕.ชูเราะฮฺอัล - บะเกาะเราะฮฺ ๑๖๖
๖.ชูเราะฮฺ อัล มุอมินน ๑๐๑
๗. ซูเราะฮฺ อัช- ชุอะรออฺ ๘๘.
๘.ชูเราะฮฺอัล-มุมตะหินะฮฺ ๓
๙. ชูเราะฮฺอัล-หิจรฺ ๔๙-๕๐
๑๐ ซูเราะฮฺ.อัล-ฆอฟิรฺ( อัล-มุอฺมิน)๓
๑๑. ชูเราะฮฺ อาลิอิมรอน ๒๖
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๔
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการที่ห้า: اِيَّا كَ نَعْبُدُ وَاِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ
ความหมาย:(โอ้ อัลลอฮฺ) เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดีและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ
คำอธิบาย:ในท่ามกลางบรรยากาศของการตั้งภาคีในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการตั้งภาคีที่เกิดขึ้นในจิตใจเช่นความปรารถนาและอารมญ์ใฝ่ต่ำหรือการตั้งภาคีในรูปของอำนาจต่าง ๆ เช่น ผู้ปกครองทื่อยุติธรรม นักบวชหรีอนักพรตนั้น เราจะต้องผินหน้ามุ่งตรงไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) และเคารพภักดีเฉพาะพระองค์เท่านั้น อีกทั้งเราจะต้องขอความช่วยเหลือจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
การเพ่งพินิจและใคร่ครวญถึงคุณลักษณะต่าง ๆ แห่งความกรุณาปรานีความเมตตา การอภิบาล และการเป็นผู้ทรงสิทธิของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นก่อให้เกิดความรักต่อพระองค์ขึ้นในจิตใจของมนุษย์จนในที่สุดผู้เป็นที่ รักก็ได้กลายเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี และเพื่อความรอดพ้นจากการตั้งภาคีในรูปแบบดังกล่าวข้างต้น เราจะต้องพึ่งพิงและขอความคุ้มครองต่อผู้เป็นศูนย์รวมของพลังอำนาจและความเป็นเอกะ
ในนมาซขณะที่ผู้นมาซอ่านอายะฮฺนี้ ประหนึ่งว่าเขากำลังกล่าวแทนผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า โอ้ อัลลอฮฺลำพังข้าพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้นไม่คู่ควรที่จะทำการเคารพภักดี อันเหมาะสมใด ๆ ได้เลยเเต่ทว่าเราทุกคนล้วนเป็นบ่าวของพระองค์ ลำพังข้าพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้นไม่มีคุณค่าใด ๆ เลย แต่ทว่าเราทุกคนล้วนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ดังนั้นจึงเห็นได้วา พื้นฐานของการนมาซคือการปฏิบัติรวมกันเป็นหมู่คณะ (ญะมาอะฮฺ)
ในอายะฮฺต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ของซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ เราได้รับรู้ถึงเอกานุภาพของอัลลอฮฺ (ชบ.) ในเชิงทฤษฎี และในเชิงเหตุผลไปแล้ว ส่วนในอายะฮฺนี้เราจะเรียนรู้ถึงเอกภาพของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในด้านการเคารพภักดีและการปฏิบิตเพื่อที่ว่าในการเคารพภักดี และการขอความช่วยเหลือนั้นเราจะได้ไม่ผินหน้าไปหาผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่กลายเป็นทาสของตะวันออกและตะวันตก ไม่กลายเป็นทาสของทรัพย์สมบัติ อำนาจและผู้ปกครองที่อยุติธรรมทั้งหลาย แต่ทว่าเราจะกลายเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่เพียงพระองค์เดียว
โดยเหตุผลและการตัดสินของสติปัญญานั้นมนุษย์จำต้องยอมรับการเป็นบ่าวของอัล ลอฮฺ (ซบ.) ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์รักความสมบูรณ์อีกทั้งปรารถนาที่จะได้รับการอภิบาล และการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ และอัลลอฮฺ (ซบ. ) ทรงครอบคลุมความสมบูรณ์ทั้งมวล อีกทั้งทรงเป็นพระผู้อภิบาลของสรรพสิ่งทั้งหลาย หากมนุษย์ต้องการความรักและความเมตตา พระองค์ก็คือ ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ หากมนุษย์ห่วงใยต่ออนาคตอันยาวไกลของตน พระองค์ก็คือเจ้าของและผู้ทรงสิทธิ์ในวันนั้น ดังนั้นด้วยเหตุผลใดเล่าที่มนุษย์จะหันไปหาผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แน่นอนที่สุดสติปัญญาของมนุษย์ย่อมจะตัดสินว่า เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราจะต้องเคารพภักดีและขอความช่วยเหลือ
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮฺ
๑. ก่อนอื่นใดเราจะต้องตอบสนองสิทธิของอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยการทำความเคารพภักดีเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจึงขอในสิ่งที่ต้องการอัล-กุรอานกล่าวว่า اِيَّا كَ نَعْبُدُ وَ اِيَّاكَ نَسْتَعِيْن
๒. เรามิได้เคารพภักดีพระองค์เนื่องจากคำสัญญา (ด้วยรางวัลตอบแทน) หรือการเตือนสำทับ (ด้วยการลงโทษ) และมิใช่เนื่องจากความหวาดกลัวหรือความโลภ แต่ทว่าเนื่องจากเหตุผลที่พระองค์ทรงคู่ควรต่อการเคารพภักดี พระองค์คืออัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้อภิบาลและผู้ทรงสิทธิ เราจึงเคารพภักดีพระองค์
๓. เราแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์เท่านั้น และการกระทำดังกล่าวก็ด้วยกับสื่อของการเคารพภักดีที่พระองค์ทรงอนุมัติไว้ และเราจะเป็นผู้ต่อต้านคัดค้านต่อการขอความช่วยเหลือ และการแสวงหาความใกล้ชิดพระองค์ด้วยสิ่งที่เป็นความเพ้อฝันและเป็นเท็จ
๔. กฎเกณฑ์และสูตรต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ครอบคลุมอยู่เหนือทุกสรรพสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ละเมิดไม่ได้ แต่ทว่าเรามิได้เป็นผู้ยอมจำนนและเป็นเชลยของสิ่งเหล่านั้น เราถือว่าเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ครอบคลุมเหนือกฏเกณฑ์ทั้งมวล และกฎเกณฑ์เหล่านั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ (๑)
๕. แม้ว้าการเคารภักดี (อิบาดะฮฺ) จะเป็นหน้าที่ของเราก็ตาม แต่ทว่าในการปฏิบัตินั้น เราจำต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَمَا كُنَّا لِنَهْتَدِىَ لَوْلاَ اَنْ هَدَا نَ اللّهُ (๒)
๖. (เมื่อผู้นมาซอ่านอายะฮฺนี้ประหนึ่ง) บ่าวที่กำลังยืนอย่างนอบน้อมถ่อมตนต่อหน้านายผู้มีอำนาจสิทธิขาดโดยสมบูรณ์ ของเขา พร้อมกับกล่าวว่า "ข้าพระองค์เป็นเพียงบ่าว ส่วนพระองค์เท่านั้นที่เป็นนายของข้าพระองค์"
๗.โอ้ อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ไม่มีผู้ใดนอกจากพระองค์ ส่วนพระองค์นั้นทรงมีสิ่งอื่นนอกจากข้าพระองค์อย่างล้นเหลือ อีกทั้งสรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นข้าทาสของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
اِنْ كُلُّ مَنْ فِى السَّمَا وَاتِ وَالأَرْضِ اِلاَّ آتِى الرَّحْمنِ عَبْداً(๓)
ความว่า "ไม่มีผู้ใดในฟากฟ้าและแผ่นดินนอกเสียจากว่าเขาจะเป็นบ่าว และผู้ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้ทรงเมตตา"
๘.หากมนุษย์ไม่เคารพภักดีพระองค์แต่เพียงผู้เดียวแล้ว เขาย่อมจะกลายเป็นทาสของอารณ์ใฝ่ต่ำอย่างแน่นอนอัล-กุรอานกล่าวว่า مَنِ اِتَّخَذَ اِلَهَهُ هَوَاهُ (๔)
๙. ผู้ใดกล่าว่า اِيَّاكَ نَعْبُدُ อย่างจริงใจ เขาจะไมยโสโอหังและก่อกบฏกับอัลลอฮฺ (ซบ.)
๑๐. เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเมตตาต่อเราอย่างล้นเหลือ เราจึงแสดงความนอบน้อมถ่อมตนอย่างดีที่สุดต่อพระองค์ اِيِّا كَ نَعْبُدُ (๕)
๑๑. เราจะต้องเข้าร่วมอยู่ในกลุ่ม ของผู้มีคุณธรรม เพื่อที่จะสามารถกล่าวว่า اِيَّا كَ نَعْبُدُ อย่างบริสุทธิ์ใจร่วมกับพวกเขาได้
๑๒. ประโยคที่ว่า نَعْبُدُ ซึ่งหมายถึง "เราทำการเคารพภักดี" นั้นชี้ให้เห็นว่านมาซควรจะทำในรูปของหมู่คณะ (ญะมาอะฮฺ) อีกทั้งยังแสดงให้เห็นอีกเช่นกันว่า มวลมุสลิมเป็นพี่น้องกันและอยูในระดับชั้นเดียวกัน
๑๓. اِيَّا كَ نَعْبُدُ وَاِيَّا كَ نَسْتَعِيْنُ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มิใช่ผู้ที่ถูกกำหนดชะตากรรมไว้โดยปราศจากอำนาจเลือกสรร ใด ๆ ในการกระทำของตน และมิใช่ผู้ที่มีเสรีภาพอย่างสมูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อเรากล่าวว่า نَعْبُدُ ซึ่งหมายถึง "เราทำการเคารพภักดี" นั้น ชี้ให้เห็นว่าเรามีเจตนารมณ์เสรีและอำนาจเลือกสรร และเมื่อเรากล่าวว่า نَسْتَعِيْنُ ซึ่งหมายถึง "เราขอความช่วยเหลือ" ชี้ให้เห็นว่าเราจำต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ (ซบฺ) เนื่องจากการมีอยู่ของตัวเรา พละกำลังในการเคลื่อนไหวและแม้กระทั่งอำนาจเลือกสรรของเรานั้นล้วนเป็นพระ ประสงค์ และเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้น
๑๔. เนื่องจากรากฐานหลักคืออัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนการเคารพภักดี และการขอความช่วยเหลือของเราคือ แขนงและผลปลีกย่อยของรากฐานดังกล่าว ดังนั้น اِيَّاكَ ซึ่งหมายถึง (เฉพาะพระองค์เท่านั้น) จึงอยู่ก่อนหน้า نَعْبُدُ และنَسْتَعِيْن ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ฉันไม่เห็นสิ่งใดเลยนอกเสียจากว่าจะเห็นอัลลอฮฺอยู่ก่อนหน้าสิ่งนั้น ๆ). (๖)
๑๕. บ่าวที่ปรากฏตัวอยู่ (ต่อหน้านายของตน) ย่อมได้รับประโยชน์ก่อนผู้อี่น ดังนั้นด้วยกับคำว่า اِيَّاكَ ซึ่งเป็นสรรพนามบุรุษที่๒ (ผู้ที่เราพูดด้วย) นั้น เราจะรู้สึกว่าตนเองปรากฏตัวอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และวอนขอการชี้นำทางจากพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากการวอนขอของผู้ที่ปรากฏตัวอยู่นั้นย่อมมีผลมากกว่า
๑๖. มารยาทที่เหมาะสมในการเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ (ซบ.) คือการเข้าใกล้ชิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ดังนั้นในเบื้องแรกเราจึงต้องกล่าวว่า "อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาล ผู้ทรงสิทธิ ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง และผู้ทรงเมตตาเสมอ หลังจากนั้นจึงกล่าวว่า เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ"
๑๗. ลำดับขั้นตอนของการเติบโตและการพัฒนาของจิตวิญญาณประกอบด้วย การสรรเสริญ การสร้างสายสัมพันธ์ และการขอพร (ดุอาอฺ) ดังนั้นในตอนต้นซูเราะฮฺฟาติหะจึงเป็นการสรรเสริญ อายะฮฺเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ ส่วนอายะฮฺต่าง ๆ หลังจากนั้นเป็นการขอพร (ดุอาอฺ)
๑๘.เนื่องจากการสนทนากับคนรักที่แท้จริงคือความหวานชื่น ดังนั้นคำว่า نَعْبُدُ ซึ่งบ่งชี้ถึงคนรักที่แท้จริงนั้นจึงถูกกล่าวซ้ำในอายะฮ. اِيَّاكَ نَعْبُدُ وَاِيَّا كَ نَسْتَعِيْنُ
๑๙. ในตอนต้นซูเราะฮฺฟาติหะ เราจะรับรู้และคุ้นเคยกับคุณลักษะต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างเป็นลำดับและค่อย ๆ เข้าใกล้ชิดพระองค์ในที่สุด اِيَّاكَ
เพราะเหตุใด اِيَّا كَ نَعْبُدُ จึงถูกกล่าวไว้ก่อนหน้า . اِيَّا كَ نَسْتَعِيْنُ?
๑. เนื่องจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีความสำคัญเหนือความต้องการของปวงบ่าว ด้วยเหตุนี้การเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ซึ่งเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) (เพื่อการบรรลุความสมบูรณ์ของมนุษย์) จึงมีลำดับความสำคัญเหนือกว่าการขอความช่วยเหลือซึ่งเป็นความต้องการของมนุษย์
๒. เนื่องจากการเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) เป็นสื่อกลางของการขอความช่วยเหลือ ดังนั้นประโยค اِيَّاكَ نَعْبُدُ จึงอยู่ก่อนหน้า اِيَّا كَ نَسْتَعِيْنُ
๓. การให้ความสำคัญต่อความไพเราะของถ้อยคำ ถือเป็นคุณค่าประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ اِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ จึงถูกกล่าวไว้หลัง اِيَّاكَ نَعْبُدُ เพื่อที่คำท้ายอายะฮฺต่าง ๆ ของซูเราะฮฺฟาติหะจะได้กลมกลืนและคล้องจองกันแต่ถ้าหากอายะฮฺทั้งสองข้างต้น สลับที่กันลีลาและท่วงทำนองดังกล่าวจะสูญเสียไป
เชิงอรรถ
๑.ในระบบของการสร้างสรรค์ เราได้รับประโยชน์จากมูลเหตุปัจจัยและสื่อกลางต่าง ๆมากมาย แต่เราต่างทราบดีว่าการมีผลหรือการไร้ผลของทุก ๆมูลเหตุ และทุก ๆ สื่อกลางนั้นอยู่ในอำนาจของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นทั้งผู้กำหนดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นมูลเหตุและสื่อกลาง อีกทั้งทรงสามารถยับยั้งผลของมันได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงกำหนดให้ไฟเป็นมูลเหตุของความร้อน และเผาไหม้ แต่พระองค์ทรงยับยั้งผลของมันมิให้ทำอันตรายใด ๆ ต่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)
๒. "พวกเราจะไม่ได้รับการชี้นำอย่างแน่นอน หากอัลลอฮฺ มิทรงชี้นำพวกเรา" (อัล- อะอฺรอฟ ๔๓)
๓. ชูเราะฮอัล - มัรยัม ๙๓
๔.ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน ๔๓
๕. "เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราทำการเคารพภักดี"
๖. หมายถึง การเกิดขึ้นและการตำรงอยู่ของทุกสรรพสิ่ง นั้น จำเป็นด้องพึ่งพาต่อการมี อยู่ของอังลอฺ.(ชบ J และเจตนารมณ์ของพระองค์ในทุกขณะ
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๕
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการที่หก: اِهْدِنَا الصِّراطَ المُسْتَقِيْمَ
ความหมาย: (โอ้ อัลลอฮฺ) โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงคำอธิบาย
๑. คำว่า صِرَاط แนวทาง (๑ )ถูกกล่าวไว้ในอัล- กุรอานมากกวา ๑๐ ครั้งนั้นชี้ให้เห็นว่า การเลือกแนวทางความคิดและความเชื่อที่ถูกต้องถือเป็นเครื่องหมายแห่งบุคลิกภาพของมนุษย์
๒. อัล-กุรอานกล่าวถึงการชี้นำไว้ ๒ ประเภทกล่าวคือ
ก. การชี้นำด้วยกฎเกณฑ์ธรรมชาติของการสร้างสรรค์ (ฮิดายะฮฺตักวีนียะฮฺ) เช่น การชี้นำผึ้งให้รู้จักวิธีดูดน้ำหวานจากดอกไม้ และวิธีสร้างรวงรังของมันให้เป็นรูปหกเหลี่ยม หรือตัวอย่างเช่น การชี้นำนกในการอพยพย้ายถิ่นของมันในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน อัล-กุรอานได้กล่าวถึงการชี้นำประเภทนี้ว่า
رَبُّنَا الَّذِى اَعْطَى كُلَّ شَيْءٍ خَلْقَهُ ثُمَّ هَدَى
ความว่า พระผู้อภิบาลของเราคือผู้ทรงให้กำเนิดแก่ทุกสรรพสิ่งหลังจากนั้นพระองค์ทรงชี้นำทาง (ซูเราะฮ์ฎอฮา 10)
ข. การชี้นำโดยการบัญญัติ กฎเกณฑ์และข้อปฎิบัติต่าง ๆ (ฮิดายะฮฺตัชรีอียะฮฺ) ซึ่งได้แก่การชี้นำของบรรดาศาสนทูต (นบี) ของอัลลอฮฺ (ซบ.)
๓. ในชีวิตมนุษย์มีแนวทางหลากหลายอยู่เบื้องหน้าเขา ซึ่งเขาต้องเลือกเอาแนวทางใดแนวทางหนึ่งจากแนวทางเหล่านี้
- แนวทางของอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง
- แนวทางของความปรารถนาและความต้องการของประชาชน
- การกระซิบกระซาบของชัยฏอน
- แนวทางของผู้อธรรม
- แนวทางที่มนุษย์ไม่มีประสบการณ์ต่อมัน
- แนวทางของบรรพบุรุษอันเกิดจากการถือเผ่าพันธุ์
-แนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) และมวลมิตรผู้ที่เป็นที่รักของพระองค์ (เอาลิยาอฺ)
ผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) จะเลือกเอาแนวทางของพระองค์และมวลมิตรผู้เป็นที่รักของพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางดังกล่าวประกอบไปด้วยจุดเด่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ในแนวทางอื่น ๆ เช่น
- แนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นแนวทางที่มั่นคง ตรงกันข้ามกับแนวทางของผู้กดขี่ แนวทางของความปรารถนาและความต้องการของประชาชน และแนวทางของอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
-แนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีแนวทางเดียวในขณะที่แนวทางอื่น ๆมีอยู่อย่างดาษดื่น.
- มนุษย์จะมีความมั่นใจต่อการก้าวเดินในแนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากแนวทางนี้จะนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมาย อันได้แก่ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.) อีกทั้งมนุษย์จะไม่ประสบกับความพ่ายแพ้ในแนวทางดังกล่าว
๔.เนื่องจากทุกสรรพสิ่งกำลังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวทางที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประสงค์ ดังนั้น โอ้ อัลลอฮฺ โปรดบันดาลให้เราอยู่ในแนวทางที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัยด้วยเถิด
-แนวทางที่เที่ยงตรงคือ แนวทางของอัลลอฮฺ (ชบ.) ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า
اِنََّ رَبِّى عَلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيْمٍ
ความว่า แท้จริงพระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ทรงอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง" (ฮูด ๕๖)
- แนวทางที่เที่ยงตรงคือ แนวทางของบรรดาศาสนทูต (นบี) ดังที่อัล- กุรอานกล่าวว่า
اِنَّكَ لَمِنَ الْمٌرْ سَلِيْنَ عَلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيْمٍ
ความว่า แท้จริงเจ้าคือหนึ่งในบรรดาผู้ถูกส่งมาเป็นศาสนทูต ซี่งอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง (ยาซีน ๓-๕ )
- แนวทางอันเที่ยงตรงคือ แนวทางแห่งการเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังอายะฮฺที่ว่า
وَاَنِ اعْبُدُوْنِى هَذَا صِرَاطُ مُسْتَقِيْم
ความว่า และพวกเจ้าจงเคารพภักดีข้า ซึ่งแนวทางนี้คือแนวทางที่เที่ยงตรง" (ยาซีน ๖๑)
-แนวทางที่เที่ยงตรงคือ การมอบหมายไว้วางใจในอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังที่ อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَمَنْ يَعْتَصِمْ بِاللَّهِ فَقَدْ هُدِىَ اِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيْمٍ
ความว่า" และผู้ใดยึดมั่นในอัลลอฮฺเขาย่อมได้รับการชี้นำไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรงอย่างแน่นอน (อาลิอิมรอน ๑๐๑)
๕. มนุษย์จะต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลฮฮฺ (ซบ.) ทั้งในการเลือกแนวทางที่เที่ยงตรง และในการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในแนวทางนั้น ใช่แล้ว การอยู่ในแนวทางถือเป็นสิ่งสำคัญ และการอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงโดยปราศจากความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้อัล-กุรอานจึงกล่าวว่า
اِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ اِهْدِ نَا الصِّرَا طَ الْمُسْتَقِيْم
ความว่า "เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ (โอ้ อัลลอฮฺ)โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงด้วยเถิด (ฟาติหะ ๕-๖)
- การอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงคือ สิ่งเดียวเท่านั้นที่มุสลิมทุกคนต้องวอนขอจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ในทุก ๆ นมาซประจำวัน แม้กระทั่งท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เองก็ตาม
- การอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงนั้นครอบคลุมอยู่ในทุกกิจการงานดังนั้น ในทุกขณะ และทุกกิจการงานของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกแนวทาง เพื่อน คู่ครอง อาชีพการงาน สาขาการศึกษา จรรยามารยาท แนวความคิดและอื่น ๆ เขาจะต้องวอนขอให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงในกิจการเหล่านั้นจากอัลลอฮฺ (ซบ. ) ทั้งนี้เนื่องจากบางครั้งในเรื่องของความเชื่อ มนุษย์คิดได้อย่างถูกต้อง แต่ในการปฏิบัติเขาประสบกับความผิดพลาดหรือในทางกลับกัน บางครั้งมนุษย์เข้าใจหลักการกว้าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่ในการระบุสิ่งที่เป็นเป้าหมายและตัวบ่งชี้ของหลักการดังกล่าวนั้น เขาประสบกับความผิดพลาด ดังนั้น การวอนขอแนวทางที่เที่ยงตรงจากอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงถือเป็นความจำเป็นในทุกขณะ
-การอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงมีหลายระดับขั้นตอน ดังนั้นการวอนขอการชี้นำจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แม้กระทั่งสำหรับผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงแล้วก็ตาม ถือเป็นสิ่งจำเป็นดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَالَّذيْنَ اهْتَدَوْا زَادَ هُمْ هُدَى
ความว่า "และบรรดาผู้ได้รับการชี้นำนั้น (อัลลอฮฺ) จะทรงเพิ่มพูนการชี้นำแก่พวกเขา" (มุฮัมมัด ๑๗)
-แนวทางที่เที่ยงตรงคือ ทางสายกลาง ส่วนขวากับซ้ายคือความเฉไฉท่านอิมามอะลี (อ. ) ได้กล่าวไว้ในเรื่อง นี้ว่า
اَلْيَمِيْنُ وَ الْشِمَالُ مُضَلَّةُ وَ الطَّرِيْقُ الوُسطَى هِىَ الْجادَّةُ่
ความว่า "ขวาและซ้ายคือทางหลงผิด ส่วนทางสายกลางนั้นคือแนวทาง (ที่เที่ยงตรง)(๒)
๖. แนวทางที่เที่ยงตรงหมายถึง การหลีกเลี่ยงจากความสุดโต่งในทุกรูปแบบ กล่าวคือ แนวทางนี้มิใช่ทั้งการศรัทธาอย่างเลยเถิดและการปฏิเสธโดยสิ้นเชิง มิใช่ทั้งวัตถุนิยมและจิตนิยม มิใช่ทั้งการถือเอาการปฏิบัติหรือการศรัทธาแต่เพียงประการเดียวเป็นหลัก มิใช่ทั้งการประจบสอพลอ และอิจฉาริษยา มิใช่ทั้งการมีจิตใจกว้างอย่างไร้ขอบเขต และตระหนี่ถี่เหนียว มิใช่ทั้งการใส่ใจแต่เฉพาะโลกหน้าหรือเฉพาะโลกนี้อย่างเดียว มิใช่ทั้งการหลงลืมพระเจ้าและประชาชน มิใช่ทั้งการห้ามสิ่งที่ดีงามและอนุมัติสิ่งที่ต้องห้าม มิใช่เฉพาะการยึดถือเฉพาะสติปัญญาและความรู้สึกเป็นเกณฑ์
แนวทางที่เที่ยงตรงคือ แนวทางที่ปราศจากความเฉไฉและความสุดโต่งในทุกรูปแบบอย่างสิ้นเชิง ในการเลือกแนวทางจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางเต็มไปด้วยภยันตราย บางคนเลยเถิดออกไปนอกเส้นทางในแง่ของความเชื่อในขณะที่อีกบางส่วนเลยเถิดใน แง่ของการปฏิบัติและศิลธรรมจรรยา บางคนอ้างว่าการงานทั้งหมดของมนุษย์เป็นการกระทำของอัลลอฮฺ (ซบ.) ประหนึ่งมนุษย์ไม่มีเจตนารมณ์ใดๆ ในชะตากรรมของตนเลย ในขณะที่อีกบางคนถือว่าตนเองสามารถทำทุกสิ่งที่ต้องการได้โดยที่พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ถูกพันธนาการไว้
บางคนถือว่าผู้นำที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งก็คือประชาชนทั่วๆไป หรือในบางครั้งคือนักไสยศาสตร์ หรือคนเสียสติ ในขณะที่อีกบางคนจินตนาการว่า ผู้นำผู้ทรงเกียรติเหล่านั้นคือพระเจ้า บางคนสั่งห้ามการเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ในขณะที่อีกบางคนแสวงหาสื่อสัมพันธ์ แม้แต่ต้นไม้หรือจอมปลวก บางคนถือว่าเรื่องปากท้องเป็นประเด็นหลัก ในขณะที่บางคนมองข้ามกิจการทั้งหมดของโลกนี้ บางคนมีความหึงหวงอย่างไม่มีกาละเทศะ ในขณะที่อีกบางคนปล่อยภรรยาของตนออกไปตามถนนหนทางหรือร้านรวงโดยปราศจากฮิญาบ (๓)
การปฏิบัติและพฤติกรรมเหล่านี้คือ การเฉไฉ และหลงออกไปจากเส้นทางที่เที่ยงตรงของการชี้นำ อัลลอฮ. (ซบ. ) ได้ทรงแนะนำดีนอันมั่นคงของพระองค์ไว้ว่าเป็นแนวทางที่เที่ยงตรง (๔) นอกจากนี้ยังมีรายงานไว้ด้วยเช่นกันว่า บรรดาอิมามผู้บริสุทธ์ (อ.) กล่าวว่า "พวกเราคือแนวทางที่เที่ยงตรง" ซึ่งหมายถึงตัวอย่างที่เป็นประจักษ์พยานในเชิงปฏิบัติของแนวทางที่เที่ยงตรง อีกทั้งแบบอย่างสำหรับการก้าวเดินในแนวทางนี้คือบรรดาผู้นำของอัลลอฮ.(ซบ.)ดังกล่าว
พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงทัศนะและเสนอแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการทั้งหมดในการดำเนินชีวิตไว้ อาทิเช่น การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้อาหารการกิน การบริจาค การให้ทาน การวิพากษ์ วิจารณ์ การแนะนำ การตัดสัมพันธ์ การไกล่เกลี่ย ความรักต่อบุตรหลาน เป็นต้น นอกจากนี้บรรดาผู้นำดังกล่าวยังแนะนำเราให้มีดุลยภาพและความเป็นสายกลางด้วยเช่นกัน (๕)
ในอัล-กุรอานและรายงานหะดีษ มีตัวอย่างปรากฏอยู่มากมายที่เน้นถึงดุลยภาพและความพอดี และห้ามการสุดโต่งในทุก ๆ กิจการงาน เช่นกล่าวว่า
كُلُوا وَشْرَبُوا وَلاَتُسْرِفُوا
ความว่า "จงกินและจงดื่ม แต่จงอย่าฟุ่มเฟือย (อัล-อะอฺรอฟ ๓๑)
وَلاَ تَجْعَلْ يَدَ كَ مَغْلُوْلَةُ اِلَى عُنُقِكَ وَلاَ تَبْسُطْهَا كُلِّ البَسْطِ فَتَقْعُدَ مَلُومًا مَحْسُورًا
ความว่า "จงอย่าพันธนาการมือของเจ้าไว้ที่ต้นคอ (ด้วยความตระหนี่ถี่เหนียว) และจงอย่าแบมือของเจ้าจนสุดเหยียด (ด้วยการสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย) อันเป็นเหตุให้เจ้าต้องถูกตำหนิ และสิ้นเนื้อประดาตัว" (บะนีอิสรออีล ๒๙)
وَالَّذ ِيْنَ اِذَا اَنْفَقُوالَمْ يُسْرِفُوا وَلَمْ يَقْتُرُوا وَكَانَ بََيْنَ ذَلِكَ قَوَامًا
ความว่า "(ปวงบ่าวของพระผู้ทรงเมตตาคือ) ผู้ซึ่งในยามใช้จ่ายพวกเขาจะไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่แต่ทว่าพวกเขามี ดุลยภาพในระหว่างทั้งสองนั้น" (อัล-ฟุรกอน ๖๗)
وَلاَ تَجْهَر بِصَلاَ تِكَ وَلاَ تُخَا فِتْ بِهَا وَابْتَغِ بَيْنَ ذَلِكَ سَبِيْلاً
ความว่า "จงอย่าอ่านนมาซด้วยเสียงดังหรือค่อยจนเกินไป แต่ทว่าจงแสวงหาทางหนึ่ง (ที่มีความพอดี)ในระหว่างทั้งสองนั้น" (บะนีอิสรออีล ๑๑๐)
จงปฏิบัติดีต่อบิดามารดา อัล-กุรอานกล่าวว่า وَبِالْوالِدَيْنِ اِحْسَانًا (๖)
แต่ทว่าในยามที่บุคคลทั้งสองห้ามปรามเจ้าจากแนวทางของอัลลอฮฺ(ซบ.) การเชื่อฟังบุคคลทั้งสองถือว่าไม่จำเป็น อัล-กุรอานกล่าวว่า لاَ تُطِعْهُمِا (๗)ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล ฯ) มีหน้าที่เผยแผ่สาส์นทั้งต่อสาธารณ وَكَانَ رَسُوْلاً نَبِيًّا (๘) และต่อครอบครัว وَكَانَ يَأْمُرُ اَهْلَهُ بِالصَّلَوةِ (๙)
อิสลามได้แนะนำในเรื่องของการนมาซ ซึ่งเป็นสื่อสัมพันธ์กับพระผู้สร้าง และแนะนำให้จ่ายชะกาต(บริจาคทานตามศาสนบัญญัติ) ซึ่งเป็นสื่อสัมพันธ์กับประชาชน وَاَقِيْمُوالصَّلَواةَ وَآتُوالزَّكَوةَ (๑๐)
ความรักจะต้องไม่เป็นเหตุให้เราเบี่ยงเบนออกไปจากความถูกต้องอัล-กุรอานกล่าวว่า
يَايُّهَا الَّذ ِيْنَ أمَنُوْا كُوْنُوْا قَوَّامِيْنِ بِا لْقِسْطِ شُهَدَأءَ لِلَّهِ وَ لَوْ عَلَى اَنْفُسِكُمْ أَوِالْوَا لِدَيْنِ وَالاَقْرَبَيْنَ (๑๑)
และความเป็นศัตรูก็จะต้องไม่ทำให้เราละทิ้งความยุติธรรม
وَلاَ يَجْرِ مَنَّكُمْ شَنَئَانُ قَوْمٍ عَلَى اَلاَّ تَعْدِ لُوْا (๑๒)
ผู้ศรัทธาคือบุคคลที่มีทั้งพลังผลักไส أَشِدَّآءُ عَلَى الكُفَّارِ (๑๓) และพลังดึงดูด رُحَمَآ بَيْنَهُمْ (๑๓)
ความศรัทธาโดยจิตใจที่ควบคู่กับการกระทำความดีงามถือเป็นสิ่งจำเป็น وَالَّذِ يْنَ آمَنُوْا وَعَمِلُواالصَّلِحَاتِ (๑๔
) น้ำตาและการวิงวอนขอจากอัลลอฮฺ (ชบ.)เพื่อชัยชนะถือเป็นสิ่งจำเป็น رَبَّنَا أَفْرِغْ عَليْنَا صَبْرًا (๑๕)
ในขณะเดียวกันความอดทนอดกลั้น ในความทุกข์ยากก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันอัล-กุรอานกล่าวว่า
كَمْ مِنْ فِئِةٍ قَلِيْلَةٍ غَلَبَتْ فِئَةً كَثِيْرَةً بِأِذْ نِ اللَّهِ وَ اللَّهُ مَعَ الصَّابِرِيْنَ (๑๖)
ในค่ำอาชูรอท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ทั้งวิงวอนและคร่ำครวญต่ออัลลอฮฺ(ซบ.) อีกทั้งหมกมุ่นอยู่กับการตระเตรียมดาบและอาวุธ ในวันอาเราะฟะฮฺและค่ำวันอีดกุรบาน บรรดาหุจญาจ (ผู้ประกอบพิธีหัจญ์) จะวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮฺ (ชบ.) ในขณะที่ในวันรุ่งขึ้น (วันอีดกุรบาน) พวกเขาจะต้องสัมผัส กับบรรยากาศและกลิ่นคาวเลือด ณ สถานที่เชือดพลี
อิสลามให้การยอมรับการถือครองกรรมสิทธิ์แต่ในขณะเดียวกันอิสลามได้จำกัด ขอบเขตกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไว้โดยไม่อนุมัติให้สร้างความเสียหายต่อผู้อี่น
อัล-กุรอานกล่าวว่า "โลกนี้คือเเหล่งของเครื่องประดับอันสวยงาม"
اَلْمَالُ وَالْبًنُوْنَ زِيْنُةُ الحَيَوةِ وَ الدُّنْيَا (๑๗)
ในขณะเดียวกันอัล-กุรอานก็ถือว่าความคลั่งไคล้หลงใหลต่อโลกนี้เป็นความน่ารังเกียจ
وَاِنَّهُ لِحُبِّ الْخَيْرِ لَشَدِيْدًا (๑๘)
อิสลาม มิใช่ศาสนาที่มีเพียงด้านเดียวและเน้นหนักเฉพาะแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเท่านั้น แต่ทว่าอิสลามได้ให้การชี้นำในเรื่องดุลยภาพ ความพอดี และแนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงไว้ในทุกแง่มุมของชีวีตมนุษย์
เชิงอรรถ
๑.อนึ่ง صِرَاط ในวันกิยามะฮฺ คือชื่อ ของสะพานหนี่งที่ทอดอยู่เหนือนรก ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะต้องเดินข้ามสะพานดังกล่าว.
๒. บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่มที่ ๘๗ หน้าที่ ๓
๓. การแต่งกายของสตรีตามหลักการอิสลาม ซึ่งจะต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้าและมือทั้งสองต่อหน้าสาธารณชน
๔. ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม ๑๖๑ صِرَاطٍ مُسْتَقِيْمٍ دِيْنًا قَيِّمًا
๕. ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ได้ในหนังสืออุศูลกาฟี บทที่ว่าด้วย "อิกฺติศอด ฟิล-อิบาดะฮฺ
๖.อัล-บะกอเราะฮฺ ๘๓
๗.ลุกมาน ๑๕
๘." ่และเขาเป็นศาสนทูตและเป็นศาสดา" มัรยัม ๕๔
๙. "และเขาได้กำชับครอบครัวของตนในการนมาซ" มัรยัม ๕๕
๑๐. "จงดำรงการนมาซและจงจ่ายซะกาต" บะกอเราะฮฺ ๔๓
๑๑. "โอ้ ผู้ศรัทธาทั้หลาย จงยืนหยัดต้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง จงเป็นสักขีพยานเพื่อ อัล-อัลลอฮฺเถิด แม้ว่า (การเป็นพยานนั้น)จะให้โทษแก่ตนเอง หรือแก่บิดามารดา หรือแก่บรรดาญาติสนิทของพวกเจ้าก็ตาม" (นิซาอฺ ๑๓๕)
๑๒. "จงอย่าให้ความเป็นศรัตรูทีมีกับกลุ่มชนหนึ่งชักนำพวกเจ้าไปสู่การละทิ้ง ความยุติธรรม" (อัล-มาอิดะฮฺ ๘)
๑๓. "พวกเขามีความแข็งกร้าวต่อผู้ปฎิเสธและมีเมตตาในระหว่างพวกเขา" (อัล-ฟัตหฺ ๒๙)
๑๔. "บรรดาผู้ศรัทธา และประกอบความดีงาม" (บะกอเราะฮฺ ๘๒)
๑๕. "โอ้ พระผู้อภิบาลของพวกเรา โปรดหลั่ง ความอดทนแก่พวกเราด้วยเถิด" (อัล-อะอฺรอฟ ๑๒๖)
๑๖.ตั้งเท่าไหร่แล้วที่ชนกลุ่มน้อยมีชัยชนะเหนือชนกลุ่มใหญ่ด้วยอนุมัติของ อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงอยู่กับผู้อดทน" (บะกอเราะฮฺ ๑๔๙)
๑๗. "ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือเครื่องประดับสำหรับชีวิตในโลกนี้" (อัล-กะฮฺฟิ ๔๖)
๑๘." แท้จริงมนุษย์(ผู้อกัญญูและตระหนีถี่ เหนียวในความโปรดปรานต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ) มีดวามหลงใหลในทรัพย์สมบัติอย่างคลั่งไคล้" ( อัล-อาดิยาต ๘)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๖
อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการสุดท้าย: صِرَاطَ الَّذِيْنَ اَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ غَيْرِ الْمَغْضُوْبِ عَلَيْهِمْ وَلاَ الضَّّآلِّيْنَ
ความหมาย: (โอ้ อัลลอฮฺโปรดชี้นำพวกเราสู่) "แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของบรรดาผู้ที่ถูกกริ้วและบรรดาผู้หลงผิด"
คำอธิบาย: ภายหลังจากความต้องการการชี้นำสู่แนวทางอันเที่ยงตรง มนุษย์จะวอนขอจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ให้พระองค์ทรงชี้นำเขาสู่แนวทางหนึ่งซึ่งบรรดาผู้ที่ได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ล้วนอยู่ในแนวทางดังกล่าว อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงกล่าวถึงตัวอย่างของกลุ่มบุคคลเหล่านั้นไว้ในอัล-กุรอานอันประกอบไป ด้วยบรรดาศาสดา (อัมบิยาอฺ) ผู้มีความสัตย์จริง (ศิตดีกีน) ผู้พลีชีพในแนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ. ) (ชุฮะดาอฺ) และกัลยาณชน (ศอลิฮีน) (๑)
การมีใจจดจ่อและมุ่งมั่นอยู่กับแนวทางของผู้ทรงเกียรติเหล่านี้ ความปรารถนาที่จะก้าวเดินในแนวทางดังกล่าว อีกทั้งการย้ำเตือนตนเองถึงความปรารถนานี้จะยับยั้งและสกัดกั้นมนุษย์จากภยันตรายของความเฉไฉ และการก้าวเข้าไปสู่เส้นทางที่หลงผิดทั้งหลาย
ภายหลังจากการแสดงความต้องการดังกล่าว มนุษย์จะวอนขอจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อมิให้พระองค์ทรงอนุมัติให้เขาย่างก้าวเข้าไปในแนวทางของผู้ที่ถูกกริ้วและผู้หลงผิด
ใครคือผู้ที่ถูกกริ้วและผู้หลงผิด
ในอัล-กุรอาน ผู้คนจำนวนหนึ่งได้ถูกกล่าวถึงไว้ในฐานะผู้ที่ถูกกริ้วเช่น ฟิรเอาน์ กอรูน อะบูละฮับ และกลุ่มชนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มชนอาด ษะมูดและบะนีอิสรออีล (ชาวยิว) เป็นต้น (๒)
เราจะวอนขอจากอัลลอฮฺ (ซบ.)ในทุก ๆ นมาซให้พระองค์ทรงโปรดประทานความสัมฤทธิ์ผลในอันที่จะ ไม่กลายเป็นผู้มีสภาพเหมือนดังกลุ่มชนที่ประสบกับความกริ้วโกรธของพระองค์ อันเนื่องมาจากความศรัทธาและพฤติกรรมของพวกเขา
บะนีอิสรออีล (ชาวยิว) ซึ่งเรื่องราวความเป็นมาและอารยธรรมของพวกเขาได้ถูกกล่าวไว้ไนอัล-กุรอานอย่างมากมายนั้นครั้งหนี่งเคยมีความประเสริฐเหนือกว่ากลุ่มชนทุกกลุ่มในอดีตกาลมาแล้ว อัล กุรอานได้กล่าวถึง พวกเขาว่า فَضَّلْتُكُمْ عَلَىالعَالَمِيْنَ (๓) แต่ทว่าภายหลังจากความประเสริฐ และความเลอเลิศดังกล่าว พวกเขาต้องประสบกับความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺ (ซบ.)อันเนื่องมาจากพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อีกครั้งหนึ่งว่า وَبَآ ئُوْبِغَضَبٍ مِنَ اللّهِ(๔) ชะตากรรมดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการปฏิบัติของพวกเขา อาทิเช่น นักปราชญ์ และผู้รู้ชาวยิวได้ทำการบิดเบือนคำสั่งและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของคัมภีร์เตารอฮฺ อัล-กุรอานได้กล่าวว่า يُحَرِّفُوْنَ الكَلِمَ عَنْ مَوَاضِعِهِ (๕) พ่อค้าเเละผู้มั่งคั่งในหมู่พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับดอกเบี้ย การบริโภคสิงต้องห้าม และความฟุ้งเฟ้อ وَاَخَذِ هِمُ الرِّبوا (๖ ) นอกจากนี้พวกเขาได้ปฏิเสธการเรียกร้องเชิญชวน ของศาสดาของตนในการเข้าสู่สนามรบ และการเข้าสู่แผ่นดินปาเลสไตน์อันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสาเหตุของความรักชีวิตอันสุขสบายหรือความหวาดกลัวมิหนำซ้ำยังได้ กล่าวกับศาสดาของพวกเขาว่า "พวกเราไม่มีอารมณ์ทีจะทำสงคราม" ดังทีปรากฏอยู่ ในอัล-กุรอาน ว่า
فَا ذْهَبْ اَنتَ وَرَبُّكَ فَقَاتِلاً اِنَّا هَهنَاكََ (๗)
เนื่องจากความบิดพลิ้ว และความผันแปรเหล่านี้ อัลลอฮฺ (ซบ. ) ได้ทรงนำพวกเขาลงมาจากสุดยอดของเกียรติยศและความเลอเลิศสู้ความต่ำต้อยและความอัปยศอดสู
ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ นมาซ เราจะวอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มิให้เป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่ถูกกริ้ว กล่าวคือมิใช่ทั้งผู้ที่บิดเบือนโองการของอัลลอฮฺ (ชบ.)และมิใช่ทั้งผู้ที่กินดอกเบี้ย หรือผู้ที่หนีการพลีชีพในหนทางของสัจธรรม และในทำนองเดียวกันเราจะวอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มิให้เป็นหนึ่งในกลุ่มชนผู้หลงผิดซึ่งได้แก่ ผู้ที่ละทิ้งแนวทางแห่งสัจธรรม และหันไปหาความมดเท็จอีกทั้งเป็นผู้ที่มีความเลยเถิดและสุดโต่งในศาสนาและ ความเชื่อของตน และเป็นผู้ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ ต่ำของตนเองและผู้อื่น (๘)ถ้าหากมนุษย์อยู่ในเส้นทางของบรรดาผู้ที่ได้รับความเมตตาและความโปรดปราน ของอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วไม่เพียงแต่เขาจะไม่หลงทางเท่านั้น แต่ทว่าเขาจะไม่เป็นผู้ให้การช่วยเหลือและเป็นมิตรกับผู้กดขี่ด้วยเช่นกัน (๙)
ในช่วงท้ายของซูเราะฮฺฟาติหะ มนุษย์จะเปิดเผยและแสดงความรักและความเป็นมิตรของตนต่อบรรดาศาสดา ผู้มีความสัตย์จริง ผู้พลีชีพในแนวทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) กัลยาณชนและต่อแนวทางของพวกเขาเหล่านั้น พร้อมกันนั้นมนุษย์จะแสดงความรังเกียจและปลีกตนออกจากผู้ถูกกริ้ว และผู้หลงผิดทั้งหลายตลอดหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และนี่คือความหมายของ "ตะวัลลา" และ "ตะบัรฺรอ"(๑๐)
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮฺ
๑.มนุษย์ต้องการแบบอย่างในการอบรมสั่งสอนและการขัดเกลา และแน่นอนว่าบรรดาศาสดา ผู้มีความสัตย์จริง ผู้พลีชีพในแนวทางของอัลลอฮ. (ซบ. ) และเหล่ากัลยาณชนถือเป็นแบบอย่างอันงดงามยิ่งในความเป็นมนุษย์
๒.สิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ได้รับจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ล้วนเป็นความโปรดปรานทั้งสิ้น ส่วนความโกรธกริ้วนั้นมนุษย์เป็นผู้สร้างมันขึ้นมาด้วยน้ำมือของตนเอง (๑๑)
๓. การแสดงความเกลียดชังต่อบรรดาผู้ที่ถูกโกรธกริ้ว และผู้หลงผิดในทุก ๆ นมาซนั้น จะเป็นเครื่องทัดทานและสกัดกั้นสังคมอิสลามจากการยอมรับการปกครองของบุคคล ดังกล่าว อัล-กุรอาน ได้ชี้แนะไว้ในเรื่องนี้ว่า
لاَ تَتَوَ لَّواقَوْمًا غَضِبَ اللَّهُ عَلَيْهِمْ
ความว่า "จงอย่ายอมรับอำนาจปกครองของกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงโกรธกริ้วพวกเขา" (๑๒)
๔. ความเกลียดชังต่อบรรดาผู้หลงผิด หมายถึง ความเกลียดชังต่อบรรดาผู้ที่มีความเชื่ออย่างเลยเถิด ผู้ที่มีพฤติกรรมอันเลวทราม ผู้ปฎิบิตตามอารมณ์ใฝ่ต่ำเป็นต้น
................
เชิงอรรถ
๑. ในอายะฮฺ ที่ ๖๔ ชูเราะฮฺอัน-นิซาอฺ และอายะฮฺที่ ๕๘ ซูเราะฮฺ มัรยัม ได้ระบุถึงบรรดาผู้ได้รับความโปรดปรานไว้ ดังใ นอายะฮฺที ๖๔ ซูเราะฮฺอัน-นิซาอฺ ชึ่งมีใจความว่า
وَمَنْ يُطِعِ اللّهَ وَالرََّسُولَ فَأُولَئِكَ مَعَ الَّذِ يْنَ اَنْعَمَ اللّهُ عَلَيْهِمْ مِّنَ النَّبيِّيْنَ وَالصِّدِّيْقِيْنَ وَالشُّهَدآءِ وَالصَّالِحِيْنَ
ความว่า บรรดาผู้ทีสวามิภักต่ออัลลอฮฺและต่อศาสนทูต ย่อมจะได้อยู่ร่วมกับกลุ่มชนที่อัลลอฮฺทรงประทานความ โปรดปรานแก่พวกเขา อันได้แก่บรรดาศาสดา บรรดาผู้ที่มีความสัตย์จริงบรรดาผู้พลีชีพในแนวทางของอัลลอฮฺ และบรรดากัลยาณชน"
๒. คุณดักษณะของผู้ที่ถูกกริ้ว และผู้ที่หลงผิด และกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวได้ถูกระบุไว้หลายอายะฮฺ เช่น ผู้กลับกลอก (มุนาฟิกีน) ผู้ตั้งภาคี (มุชริกีน) และผู้ทีมีทัศนคติไม่ดีต่ออัลลอฮฺ(ซบ.) ดังทีอัล-กุรอานกล่าวว่า وَمَنْ يُشْرِكْ بِاللَّهِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَلاً بَعِيْدًا ความว่า "และผู้ใดตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮฺเขาย่อมหลงทางอย่างห่างไกลยิ่ง"( อัน-นิซาอฺ ๑๑๖)
وَيُعَذِّبَ المُنَا فِقِيْنَ وَالْمُنَا فِقَاتِ وَالْمُشْرِكِيْنَ وَالْمُشرِكَاتِ اَلظّآنِّينَ بِااللّهِ ظَنَّ السُُّوءِ عَلَيْهِمْ دآئِرَةُ السُّوءِ وَغَضَبَ اللّهُ عَلَيْهِمْ وَلَعَنَهُمْ وَاَعَدَّ لَهُمْ جَهَنَّمَ وَسَآ ئَتْ مَصِيْرًا
ความว่า และเพื่อ การลงโทษบรรดาผู้กลับกลอกทั้งชายและหญิง และบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งชายและหญิง ซึ่งเป็นพวกทีมีทัศนคติไม่ดีต่ออัลลอฮฺ สภาพการณ์อันเลวร้าย (ที่พวกเขารอคอยที่จะให้เกิดขี้นกับบรรดาผู้ศรัทธา กับหมุนเวียนมาประสบกับพวกเขา และอัลลอฮฺทรงกริ้วโกรธพวกเขา ทรงทำให้พวกเขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์ อีกทั้งทรงตระเตรียมนรกไว้สำหรับพวกเขา และมันช่างเป็นจุดจบที่เลวร้ายยิง่ ่( อัล-ฟัตหฺ ๖)
ผู้ปฏิเสธอายะฮฺต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ(ซบ.) และผู้ฆ่าสังหารบรรดาศาสนทูตดังที่อัล- กุรอาน กล่าวว่า
وَضُرِبَتْ عَلَيْهِمُ الذِّ لَّةُ وَالمَسْكَنَةُ وَبَآءُ وْ بِغَبٍ مِنَ اللَّهِ ذَلِكَ بِأَنِّهُمْ كَا نُوْا يَكْفُرُوْنَ بِئَيَاتِ اللَّهِ وَيَقْتُلُوْنَ النَّبِيّيْنَ بِغَيْرِالْحَقِّ
ความว่า ความอัปยศและความขัดสนได้ถูกตีตราลงบนพวกเขา และพวกเขาต้องประสบกับความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺอีกครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาปฏิเสธโองการของอัลลอฮฺ อีกทั้งยังฆ่าบรรดาศาสดาอย่างไร้ความชอบธรรม....(บะกอเราะฮฺ ๖๑)
ชาวคัมภีร์ทีขัดขวางและต้านทานการเชิญชวนสู่สัจธรรม ดังปรากฏในซูเราะฮฺอาลิอิมรอน (อายะฮฺ ที่ ๑๑๐-๑๑๒)
مِنْهُمُ الْمُئْو مِنُوْنَ وَاَكْثَرُهُمُ الغَا سِقُوْنَ لَنْ يَّضُرُّوْكُمْ اِلاَّ اّذى وَاِنْ يُّقَا تِلُوكُمْ يُوَلُّوكُمُ الاَدْ بَارَ ثُمََّ لاَيُنْصَرُوْنَ ضُرِبَتْ عَلَيْهِمُ الذِّ لَّةُ اَيْنَ مَا ثُقِفُوا اَلاَّ بِحَبْلٍ مِنَ اللَّهِ وَ حَبّلٍ مِنَ النّاسِ وَبَآئُوْ بِغَضَبٍ مِنَ اللَّهِ وَضُرِبَتْ عَلَيْهِمُ الْمَسكَنَ
ความว่า "(แต่ทว่าเฉพาะ) ส่วนน้อยของพวกเขา (ชาวคัมภีร) ์ เท่านั้นที่มีศรัทธา แต่ส่วนมากของพวกเขาเป็นผู้ประพฤติชั่ว และทรยศฝ่าฝืน พวกเขา (ชาวคัมภีร์โดยเฉพาะชาวยิว) ไม่อาจยังความเสียหายใด ๆ แก่พวกเจ้าได้เลย นอกจากการก่อกวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และถ้าหากพวกเขารบพุ่งกับพวกเจ้า พวกเขาย่อมจะหันหลังหนีจากพวกเจ้า (เละพ่ายแพ้) อย่างแน่นอน หลังจากนั้นพวกเขาจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ (จากผู้ใด) ทั้งสิ้นความอัปยศได้ถูกตีตราบนพวกเขาไม่ว่าพวกเขาจะถูกพบ ณ ที่ใดก็ตาม นอกเสียจากว่าด้วยกับการสร้างสายสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ(และปรับเปลี่ยนวิถีทาง อันน่ารังเกียจของพวกเขา) และด้วยกับการสร้างสายสัมพันธ์กับประชาชน และพวกเขาได้หวนกลับไปประสบกับกวามกริ้วโกรธของอัลลอฮฺอีกครั้ง อีกทั้ง ความขัดสนได้ถูกตีตราลงบนพวกเขา"
ผู้หนีทัพ ดังปรากฎในซูเราะฮฺ (อัล- อัมฟาล อายะฮฺที่ ๑๖)
وَمَنْ يُّوَ لِّهِمْ يَوْمَئِذٍ دُبُرَهُ إِلاَّ مُتَحَرِّ فًا لِقِتَالٍ اَومُتَحَيِّزًا اِلَى فِئَةٍ فَقَدْ بَآءَ بِغَضَبٍ مِّنَ اللَّهِ
ความว่า และผู้ใดก็ตามหันหลังหนีพวกเขา (ข้าศึก) ในช่วงเวลาดังกล่าว ยกเว้นผู้ที่เป้าหมายของเขาคือการปลีกตัวออกไปจากสนามรบ เพื่อการโจมตีอีกครั้งหรือด้วยเจตนาเพื่อการเข้าสมทบกับ(ทหารหาญมุญาฮิดีน) กลุ่มอื่น เขาย่อมประสบกับกวามกริ้วโกรธของอัลลอฮฺอย่างแน่นอน .
ผู้ทีเเลกเปลี่ยนความศรัทธาด้วยการปฏิเสธ (กุฟรฺ)ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَمَنْ يَتَبَدَّلِ الكُفْرَ بِالاِْيْمَانِ فَقَدْ ضَلَّ سُوآءَ السَّبِيلِ
ความว่า "และผู้ใดที่รับเอาการปฏิเสธแทนการการศรัทธา เขาได้หลงทางออกไปจาก แน วทางอันเที่ยงตรงอย่างชัดแจ้ง (บะกอเราะฮฺ ๑๐๘)
ผู้ที่เป็นมิตรกับศัตรูของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังทีอัล-กุรอานกล่าวว่า
تُسِرُّوْنَ اِلَيْهِمْ بِالمُوَدَّةِ وَاَنَا اَعْلَمُ بِمَا اَخْفَيْتُمْ وَمَا اَعْلَنْتُمْ وَمَنْ يَفْعَلْهْ مِنْكُمْ فَقَدْ ضَلَّ سَوآَءالسَّبِيْل
ความว่า พวกเจ้าสร้างมิตรภาพกับพวกเขา(ศัตรูของอัลลอฮฺ) โดยลับ ๆ ในขณะที่ข้ารู้ว่าในสิ่งที่พวกเจ้าปิดบังซ่อนเร้นหรือเปิดเผยมากกว่าผู้ใด ทั้งสิ้น และผู้ใดก็ตามในหมู่พวกเจ้ากระทำการดังกล่าว เขาได้หลงออกไปจากแนวทางอันเที่ยงตรงอย่างชัดแจ้ง (อัล-มุมตะหินะฮ)
๓. " ข้าได้ประทานความเลอเลิศแก่พวกเจ้าเหนือชาวโลกทั้งหลาย"(บะกอเราฮฺ ๔๗)
๔."และพวกเขาหวนกลับไปประสบกับ ความกริ้วโกรธของอัลลอฮฺ.อีกครั้ง" (บะกอเราะฮฺ ๖๑)
๕" พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำ (ของอัลลอฮฺ) จากที่ของมัน" (อัล-นิซาอฺ ๔๖)
๖." และเนื่องจากการกินดอกเบี้ยของพวกเขา" ( อัล-นิซาอฺ ๑๖๑)
๗." ดังนั้นท่าน (หมายถึงท่านศาสดามูซา(อฺ)) กับพระผู้อภิบาลของท่าน จงไปกันตามลำพังและสู้รบ (กับพวกเขา) เถิด ส่วนพวกเราจะนั่งอยู่ที่นี่ (อัล-มาอิดะฮฺ ๒๔)
๘. อัล-กุรอานได้กล่าวไว้ในอายะฮฺที่ ๗๗ ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ ว่า
قُلْ يَآ اَهْلَ الْكِتَابِ لاَ تَغْلُوْا فِى دِيْنِكُمْ غَيْرَالْحَقِّ وَلاَ تَتَّبِغُوْا اَهْوَآئَقَوْمٍ قَدْ ضَلُّوا مِنْ قَبْلَ وَاَضَلُّوْا كَثِيْرًا وَضَلُّوْا عَنْ سَوآءِ السَّبِيْلِ
ความว่า "จงกล่าวเถิด โอ้ ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย จงอย่าเลยเถิดในศาสนาของพวกเจ้า และจงอย่าแสวงหาความเท็จและจงอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ปรารถนาของกลุ่มชนทีได้ หลงผิดมาก่อนหน้านี้อีกทั้ง พวกเขาได้ทำให้คนจำนวนมากหลงผิด และ(ตนเอง) ได้หลงออกจากแนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรง
فَأَصْبَحَ فى المَديْنَةِ خَآئِفًا يَتَرَقَّبُ فَأِذَالَّذِى اِسْتَنْصَرَهُ بِالأَمْسِ يَسْتَصْرِخُهُ قَالَ لَهُ مُوسَى اِنَّكَ لَغَوِىٌّ مُّبِيْنٌ
๙. ความว่า "ครั้นต่อมาเขา (ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้อยู่ในเมือง(อียิปต์) อย่างกลัวและรอคอยฟัง (ข่าว) อยู่ในทุกขณะทันใดนั้นชายคนหนึ่งที่รอความช่วยเหลือจากเขาเมื่อวันวาน ได้ร้องเรียกเขาให้มาช่วยเหลืออีก มูซากล่าวว่า แท้จริงเจ้าเป็น (คนพาล) และผู้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง" (อัล-เกาะศ็อศ ๑๘)
๑๐. ตะวัลลา تَوَلَّى หมายถึง การให้ความรักต่อมวลมิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.) ตะบัรฺรอ تَبَرَّى หมายถึงการเป็นศัตรูกับเหล่าศัตรูของอัลลอฮฺ (ซบ.) จะเห็นได้ว่าประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับความศรัทธาในอิสลามได้ถูกรวบรวมไว้ใน ซูเราะฮฺ ฟาติหะ อันจำเริญนี้
๑๑. อายะฮฺ นี้ของซูเราะฮฺ ฟติหะ ได้ให้ความสำคัญและกล่าวเน้นถึงการอภัยและความเมตตาไว้เหนือความโกรธกริ้ว และการลงโทษ จะเห็นได้ว่าในเรื่องของความโปรดปรานนั้นอัล-กุรอานได้ใช้คำว่า ( اَنْعَمْتَ พระองค์ทรงประทานความโปรดปราน)ซึ่งเป็นประโยคที่ใช้กับบุรุษทีสองและกริยา "ประทานความโปรดปราน" ได้ถูกอ้างอิงไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยตรงส่วนในกรณีของการลงโทษนั้น อัล-กุรอานไม่ได้กล่าวว่า غَضَبْتَหมาย ถึง "พระองค์ทรงกริ้วโกรธ" โดยใช้สรรพนามบุรุษที่สองแต่อย่างใด
ในอายะฮฺ ที่ ๗๙ ซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า
َمااَصَابَكَ مَنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللَّهِ وَمَآبَكَ مِنْ سَيِّئَةٍ فَمِنَ نَفْسِكَ
ความว่า "ความดีงามใด ๆ ก็ตามที่ประสบแก่เจ้าล้วนมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น ส่วนความเลวร้ายใด ๆ ก็ตามที่ประสบแก่เจ้านั้นล้วนมาจากตัวเจ้าเอง"
๑๒. ซูเราะฮฺ อัล-มุมตะหินะฮฺ ๑๓
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ
๗