อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ

อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ0%

อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ ผู้เขียน:
กลุ่ม: หลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 2

อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ

ผู้เขียน: อัลลามะฮฺ มุรฺตะฎอ อัสการีย์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 2
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 11134
ดาวน์โหลด: 533

รายละเอียด:

อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 2 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 11134 / ดาวน์โหลด: 533
ขนาด ขนาด ขนาด
อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ

อิมามในกุรอานและซุนนะฮฺ

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ
ประพันธ์โดย อายะตุ้ลลอฮฺ อัลลามะฮฺ มุรฺตะฎอ อัสการีย์


"อิมาม"ในเชิงภาษา
อิมาม ในภาษาอาหรับหมายถึง ผู้นำ เป็นธรรมชาติ และเป็นที่ยอมรับของสากลว่าไม่มีสังคมไหนบนโลกนี้จะปราศจากผู้นำได้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นสิ่งที่ควรจะกล่าวถึงคือ ผู้นำสังคมมนุษย์ใครคือผู้แต่งตั้ง ? อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้แต่งตั้ง หรือว่ามนุษย์ปุถุชนเฉกเช่นเราทั้งหลาย ?

เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ว่า ....

واذابتلي ابراهيم ربّه بكلمات فاتمّهنّ قال انّي جاعلك للنّاس اماما قال ومن ذرّيتي قال لاينال عهدي الظالمين
ความว่า “และจงรำลึกถึง เมื่อพระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยถ้อยคำบางประการ แล้วเขาได้ปฏิบัติอย่างครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะแต่งตั้งให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษยชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วยหรือ พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้าจะไม่แผ่ถึงบรรดาผู้อธรรม” (บะกอเราะฮฺ : ๑๒๔)

จากอัล-กุรอานจะพบว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำการแต่งตั้งอิมาม สำหรับประชาชาติด้วยพระองค์เอง ซึ่งอิมามนั้นต้องบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง และอิมามที่อัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งนั้นในบางครั้งเป็นรอซูล ที่มีบทบัญญัติอย่างเช่น ท่านศาสดานูห์ อิบรอฮีม มูซา อีซา และท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในบางครั้งวะศีย์ (ตัวแทน) ของบรรดาศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ เช่น ท่านซาม บุตรของศาสดา นูห์ (อ.) ท่านยูชิอ์ตัวแทนของท่านศาสดามูซา (อ.) และก่อนหน้านี้ยังมี ฮับตุ้ลลอฮฺ หรือ ชัยยัษ ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดา อาดัม (อ.) ซึ่งนามของบางท่านมีกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน และบางท่านนั้นไม่มี ซึ่งการที่นามของท่านไม่ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอานนั้นไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่ได้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา แต่มีความจำเป็นอันใดหรือที่บรรดาศาสดาก่อนหน้าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้แนะนำผู้เป็นตัวแทนของท่านสำหรับประชาชาติ ? ดังนั้นเป็นความชัดเจนเสียเหลือเกินสำหรับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องแนะนำผู้เป็นตัวแทนของท่านเอาไว้ทั้งในอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่าน.

แต่มีคำถามหนึ่งคนส่วนมากมักจะสงสัย และถามอยู่เป็นประจำว่า “ทำไมนามของท่านอะลีจึงไม่กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน”?
คำตอบ....สำหรับปุจฉานี้จำเป็นต้องมีบอารัมภบทดังนี้

ประการที่หนึ่ง: อัล-กุรอานกับซุนนะฮฺของท่านศาสดาคือความสมบูรณ์ของกันและกัน
ฐานรากของหลักความศรัทธา และหลักการปฏิบัติบัติทั้งหมดตลอดจนความรู้อิสลามด้านอื่นๆ นั้นขึ้นอยู่กับอัล-กุรอาน ส่วนคำอรรถธิบาย การนำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต้องอิงอาศัยพระวัจนะ และการปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นตัวกำหนด ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่าหะดีษ และแบบฉบับของท่านศาสดา นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงตรัสกับประชาชาติว่า การภักดีกับท่านรอซูลเท่ากับภักดีกับข้า ทรงตรัสว่า ..

اطيعواالله ورسولَه / اطيعوالله والرسولَ / اطيعواالله واطيعوالرسول / واطيعواالرسول[1]
ซึ่งความหมายโดยรวมนั้นหมายถึง “จงภักดีกับอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์”

บางครั้งพระทรงตรัสว่า การปฏิเสธคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เท่ากับปฏิเสธบัญชาของพระองค์ ทรงตรัสว่า....

ومن يعص الله ورسوله فانّ له نارجهنّم
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แท้จริงสำหรับ เขานั้นคือไฟนรก”

ومن يعص الله ورسوله فقدضلّ ضللا مبينا
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างอย่างชัดเจน”

ومن يعص الله ورسوله ويتعد حدوده يدخله ناراخالدافيها وله عذاب مهين [2]
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์ พระองค์จะทรงให้เขาเข้านรก โดยประจำอยู่ในนั้นตลอดกาล และเขาต้องได้รับการลงโทษที่อัปยศยิ่งแก่พวกเขา”

فانّ عصوك فقل انّي بريء ممّاتعملون[3]
ความว่า “หากพวกเขาฝ่าฝืน เจ้าจงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัวให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่”

เมื่ออยู่ต่อหน้าพระบัญชา และกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่พระองค์และรอซูลของพระองค์ได้นำออกมา บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกสรรอัล-กุรอานกล่าวว่า..

وماكان لمؤمن ولامؤمنة اذاقض الله ورسوله امراان يكون لهم الخيرة من امرهم ومن يعص الله ورسوله فقد ضلّ ضللامبينا
ความว่า “สำหรับศรัทธาชนทั้งชายและหญิง ไมีมีสิทธิที่จะเลือกการงานของพวกเขาเมื่ออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ได้ตัดสินแล้ว และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างอย่างชัดเจน” (อะหฺซาบ :๓๖)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้พระวัจนะและความประพฤติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นเหตุผลของพระองค์สำหรับประชาชาติทั้งหลาย ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้นำมวลมนุษย์ และได้เอาสัญญาจากมนุษย์ว่าต้องปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

فآمنوابالله ورسوله النبي الأمي الذي يؤمنوا بالله وكلماته واتبعوه لعلكم تهتدون[4]
ความว่า “ดังนั้นพวกท่านจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ นบีผู้ซึ่งอ่านเขียนไม่เป็น ผู้ซึ่งศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมวลพจนาถทั้งหลายของพระองค์ และจงปฏิบัติตามเขา เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับทางนำ”

อัล-กุรอานกล่าวอีกว่า قل ان كنتم تحبون الله فاتّبعوني
ความว่า “จงกล่าวเถิดว่า ถ้าพวกท่านรักอัลลอฮฺ ดังนั้นจงปฏิบัติตามฉัน”(อาลิอิมรอน :๓๑)

บางโองการกล่าวว่า لقدكان لكم في رسول الله اسوة حسنة
ความว่า “แน่นอนรอซูลนั้นคือแบบอย่างที่ดีสำหรับสูเจ้า”(อะอฺซาบ :๒๑)

وماينطق عن الهوى ان هو ا لاوحي يوحى
ความว่า “และเขามิได้พูดตามอารมณ์ คำพูดของเขามิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา”(อัล-นัจมุ :๓/๔)

ولوتقوّل علينا بعض الأقاويل لأخذنا منه با ليمين ثمّ لقطعنا منه الوتين
ความว่า “และหากเขา (มุฮัมมัด) เสกสรรคำพูดปดบางคำพาดพิงมายังเรา เราจะจับมือข้างขวาของเขา หลังจากนั้นเราจะตัดเส้นชีวิตของเขาให้ขาด”(อัล-หากเกาะฮฺ :๔๔/๔๖)

ประการที่สอง: การคาดการณ์ล่วงหน้าของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
สิ่งที่กล่าวมาแล้วล้วนเป็นถ้อยพจนาถของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้เช่นกันเกี่ยวกับผู้ที่ยึดมั่นเฉพาะคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แต่ได้ละทิ้งซุนนะฮฺของท่าน ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะบางหะดีษที่เชื่อถือได้และบันทึกอยู่ในตำราของอหฺลิซซุนนะฮฺอาทิเช่น

สุนันติรฺมิซีย์ อิบนุมาญะฮฺ ดาระมี มุสนัดอหฺมัดและสุนันอบูดาวูด ซึ่งบันทึกอยู่ใน บาบลุซูมุ้ลซุนนะฮฺ จาก กิตาบุ้ซซุนนะฮฺ ได้บันทึกไว้ว่า “รายงานจากท่านมิกดาม บิน มุอัดดี กุรฺบิ[5] ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กาล่าวว่า พวกท่านจงพึงสังวรไว้ว่า แท้จริงอัล-กุรอานได้ลงมาที่ฉัน สิ่งที่เคียงข้างกับอัล-กุรอานคือซุนนะฮฺของฉันและพวกท่านจงรู้ไว้ว่า ในไม่ช้าไม่นานจะมีผู้ที่ท้องของเขาเต็มไปด้วยอาหาร นั่งสบายอยู่บนตำแหน่งและเขาจะพูดว่า กุรอานอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว และสิ่งหะล้าลใดที่ท่านได้พบในนั้นจงรู้ไว้ว่าสิ่งนั้นเป็นหะล้าล สิ่งใดที่ท่านพบว่าหะร่ามมันก็เป็นหะร่าม.

สุนันติรฺมิซีย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมหะดีษข้างต้นว่า "ขณะที่พวกเขาไม่ได้คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านศาสดาได้ทำให้หะร่าม(สั่งห้าม) มันก็เหมือนกับอัลลอฮฺได้สั่งห้ามไว้เช่นกัน"

มุสนัดอหฺมัด บิน หันบัล ได้บันทึกรายงานของมิกดาม บิน มุอัดดี กุรฺบิว่า "ในสงครามคัยบัรฺท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กำหนดให้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นหะร่าม หลังจากนั้นกล่าวว่า ในไม่นานนี้จะมีบางคนในหมู่ของพวกท่านมาแอบอ้างคำพูดและโกหกพาดพิงถึงฉัน ขณะที่เขาเสวยอำนาจอย่างสบายเมื่อมีคนกล่าวหะดีษของฉันให้เขาฟัง เขาจะพูดว่า ท่ามกลางพวกเรามีอัล-กุรอานอยู่แล้วสิ่งใดที่พบว่าเป็นหะล้าลในอัล-กุรอานเราก็จะดำเนินต่อไป และสิ่งใดที่พบว่าเป็นหะร่าม เราก็จะถือว่ามันเป็นหะร่าม และจงรู้ไว้เถิดว่าสิ่งใดที่ท่านศาสดา ได้สั่งห้าม (หะร่าม) ก็เหมือนกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สั่งห้าม

๒. สุนันติรฺมิซีย์ อิบนุมาญะฮฺ มุสนัดอหฺมัด และสุนันอบุดาวุด ได้รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินอบีรอฟิอฺ[6] จากบิดาของท่านว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "พึงสังวรไว้ว่า ในหมู่ของพวกท่านจะมีบางคนที่นั่งเสวยสุขอยู่บนอำนาจ เมื่อนำสิ่งทีฉันได้กำหนดว่าเป็นหะล้าลและหะร่ามไปเสนอให้กับเขา ซึ่งเขาจะพูดว่า ฉันไม่รู้ ฉันจะทำเฉพาะสิ่งที่ถูกพบในอัล-กุรอานเท่านั้น."

ประโยคสุดท้ายของหะดีษข้างต้น ในมุสนัด อหฺมัดได้บันทึกไว้ว่า "เขาจะพูดว่า สิ่งนี้ฉันไม่เคยพบในอัล-กุรอาน"

๓. สุนันอบูดาวูด ในกิตาบ คิรอจ ได้บันทึกไว้โดยรายงานมาจาก อัรฺบาฎ บิน ซารียะฮฺว่า[7] "พวกเรากับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เข้าไปในคัยบัรฺด้วยกัน ขณะที่มีอัศฮาบหลายคนร่วมเดินทางไปด้วย ชายผู้เป็นหัวหน้าบรรดาคัยบัรฺทั้งหลาย เป็นคนที่แข็งกระด่าง ป่าเถื่อนและมีความดุร้ายได้เดินเข้ามาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และพูดว่า "มุฮัมมัดถูกต้องแล้วหรือที่ท่านได้เชือดสัตว์เลี้ยงของเรา กินผลไม้ของเรา กลั่นแกล้งสตรีของเรา ?

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โกรธมากเมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านได้หันมาหาอับดุรฺเราะหฺมาน บินเอาฟ์ และกล่าวว่า "เจ้าขึ้นม้าไปประกาศกับประชาชนว่า สวรรค์มิได้ถูกเตรียมไว้เฉพาะผู้ศรัทธาเท่านั้น และให้พวกเขามาร่วมกันนมาซ" อัรฺบาฎ พูดว่าประชาชนทั่วทุกจุดได้มารวมตัวกันเพื่อทำนมาซและรับฟังสุนทรพจน์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้ยืนขึ้นและกล่าวสุนทรพจน์ว่า "มีบางคนจากพวกท่าน เมื่อสุขสบายแล้วคิด เอาเองว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่เคยสั่งห้ามสิ่งใด นอกจากสิ่งที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอานเท่านั้น พวกท่านจงรู้ไว้ และฉันขอเตือนพวกท่านว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ฉันได้สั่งให้ปฏิบัติ และสั่งห้ามนั้นมันคืออัล-กุรฺอานและอยู่ในฐานะเดียวกับอัล-กุรฺอานจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติ อัลลอฮฺ ไม่ได้อนุมัติแก่พวกท่านให้เข้าไปสู่บ้านของชาวคัมภีร์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการเห็นชอบของเจ้าของบ้าน หรือกลั่นแกล้งสตรีของพวกเขา เก็บผลไม้ของพวกเขากิน ขณะที่สิ่งของเหล่านั้นยังเป็นของพวกเขาอยู่.

๔. มุสนัดอหฺมัดได้บันทึกโดยรายงานมาจากท่านอบูหุรอยเราะฮฺ[8]ว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า"จะมีบางคนจากพวกท่านเมื่อนำเอาหะดีษของฉันไปเสนอเขา เขาจะนั่งอย่างสบายบนอำนาจของเขาและกล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้จงอ้างอัล-กุรอานให้ฉันฟัง"

บทนำของสุนันดาระมี ได้รายงานจากท่าน หิซาน บิน ษาบิต อันศอรีย์[9]ว่า "เหมือนดั่งเช่นที่ท่านญิบรออีลได้นำอัล-กุรอานลงมา ท่านได้นำเอาซุนนะฮฺลงมาให้ท่านศาสดาด้วย"

สิ่งเหล่านี้เป็ตัวอย่างจากอัล-กุรอานและหะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่บ่งบอกว่าการปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นมีคามสำคัญและจำเป็อย่างยิ่ง ส่วนการปฏเสธได้ถูกสั่งห้ามเอาไว้ และสำหรับผู้ที่ยึดมั่นกับอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวโดยละทิ้งซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้ถูกท่านศาสดาเตือนสำทับอย่างรุนแรงไว้เช่นกัน

ฉะนั้นสรุปได้ว่าอิสลามมราท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้นำมาเผยแพร่นั้นไม่อาจยึดมั่นกับอัล-อานเพียงอย่างเดียวโดยทอดทิ้งซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เหตุผลของคำกล่าวอ้างข้างตนจะเห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

อัล-กุรอานได้กล่าวเน้นว่า สูเจ้าจงดำรงนมาซ แต่พระองค์ไม่ได้อธิบายว่านมาซควรจะทำอย่างไร ? และทำแบบไหน มีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้นถ้าท่านไม่ย้อนไปหาซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านจะไม่มีวันเข้าใจได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นเมื่อเราได้ย้อนกลับไปหาหะดีษ และแบบฉบับของท่านศาสดาจึงทำให้รู้ว่านมาซมีกี่ระอะอัต และควรจะอ่านอะไร ทำแบบไหน มีเงื่อนไขอย่างไร อะไรบ้างที่ทำให้นมาซเสีย

การประกอบพิธีหัจญ์เช่นเดียวกัน ด้วยกับการย้อนกลับไปหาแบบฉบับของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำให้รู้ว่าเนียตอิหฺรอมต้องเนียตอย่างไร ที่ไหนเป็นสถานที่ครองอิหฺรอม การเดินเฏาะวาฟเวียนรอบกะอฺบะฮฺ วุกูฟในอาระฟะฮฺ ในมัชอัรฺ การขว้างเสาหิน และอื่นๆ ตลอดจนสิ่งที่เป็นหะล้าล และหะร่ามในการประกอบพีหัจญ์

จากสองตัวอย่างทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการย้อนกลับไปหาซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการใชอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวโดยไม่พึงซุนนะฮฺของท่านศาสดานั้นเป็นไปไม่ได้ และท่านไม่อาจปฏิบัติอมั้ลสองประการข้างต้นได้อย่างแน่นอน ตลอดจนอหฺกามอื่นๆ ของอิสลามก็อยู่ในสภาพเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้เพื่อการเรียนรู้จักอิสลาม และปฎิบัติตามพระบัญชาของระผู้เป็นเจ้าจำเป็นต้องอิงอาศัยทั้งอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสาดา ฉะนั้นถ้ามีใครยึดมั่นเฉพาะอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียว หรือในทางกลับกันเท่ากับว่าเขาได้ปล่อยเงื่อนไขสำคัญของอิสลามไป กฏเกณฑ์ต่างๆ ของอิสลามเขาได้ตีความตามอำเภอน้ำใจตนเอง เพราะการตัดซุนนะฮฺ ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความเข้าใจอัล-กุรอานเมื่อถูกทอดทิ้งแล้วท่านจะเข้าใจอิสลามได้อย่างไร ฉะนั้นจึงพบว่าการอธิบาย และการตะอฺวีลอัล-กุรอานจึงเป็นไปตามรสนิยมของตนเอง

ประการที่สาม: ท่านศาสดาให้ความสำคัญต่อการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่าน
ในประเด็นนี้ต้องการกล่าวว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ให้ความนำคัญต่อการแต่งตั้งตัวแทนเอาไว้ตั้งแต่แรก
คำว่าอิมามัต หรือผู้นำ หลังจากท่านศาสดา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเรื่องนี้มิใช่เรื่องปิดบัง ณ ศาสดา หรือเหล่าบรรสาวกชั้นใกล้ชิด ทว่าเป็นเรื่องที่ชัดเจนและถูกเปิดเผยตั้งแต่เริ่มแรกของการประกาศอิสาลาม สิ่งนี้อยู่ในความคิดของท่านศาสดามาตลอด ดังที่เราจะเห็นว่าเมื่อเผ่า เศาะอ์เศาะอะฮ์ ได้เข้ารับอิสลามได้วางเงื่อนไขกับท่านศาสดาว่า ต้องให้คนจากเผ่าของตนเป็นหัวหน้าผู้นำภายหลังจากท่านศาสดาแต่ชนบางกลุ่ม เช่น ท่านเฮาซะฮฺ หะนะฟีย์ ปฏิเสธการรับตำแหน่งทุกตำแหน่งภายหลัจากท่านศาสดา

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ครุ่นคิดเรื่องผู้นำภายหลังจากท่านมาตลอดนับตั้งแต่วันแรกที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบุคอรี และมุสลิมได้บันทึกไว้ในเศาะฮีย์ของท่าน นิซาอีย์ อิบนุมาญะฮฺ ได้บันทึกไว้ในสุนันของตนเอง ท่านมาลิกได้บันทึกไว้ใน มุวัฏเฏาะอฺ ท่านอหฺมัดอบนุหันบัล ได้บันทึกไว้ในมุสนัดของท่าน และบุคคลอื่น อีกมาก ซึ่งจะขอหยิบยกคำพูดของท่านบุคอรีย์ จากหนังสือเศาะฮีย์ของท่าน

ท่านอิบาดะฮฺ บินศอมิตพูดว่า "พวกเราได้ให้บัยอัตกับท่านศาสดาก็เพราะเรื่องนี้เท่านั้น เรื่องสารทุกข์สุกดิบและอื่นๆ พวกเราขอเชื่อฟังท่านศาสดา ส่วนเรื่องผู้นำพวกเราจะไม่ขัดแย้งกับทายาทของท่าน"[10]

อิบาด บินศอมิตในวันบัยอัต อุกบะฮฺกุบรอ เขาเป็นหนึ่งใน นุกบาสิบสองคนที่มาจากอันศอรฺ ซึ่งในวันนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้บอกกับกลุ่มชนประมาณ ๗๐ กว่าคนที่ให้บัยอัตกับท่านว่า ให้หาตัวแทนของกลุ่มมา ๑๒ คนเพื่อคอยประสานงานกับท่านศาสดาและคอยดูแลกลุ่มของพวกเขา
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับกลุ่มชนที่ได้รับเลือกว่า "หน้าที่ความรับผิดชอบทั้งหมด (امور ) การเป็นผู้นำกลุ่ม และภารกิจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับพวกท่าน ซึ่งหน้าที่ของพวกท่านเหมือนกับบรรดาอัครสาวกของท่านศาสดาอีซา (อ.) (ตารีค ฏ็อบรีย์ พิมพ์ที่ยุโรป ๑/๑๑๒๑

อิบาด บินศอมิต เป็นหนึ่งในนุกบา ๑๒ คน เขาได้อธิบายว่ามูลเหตุที่พวกเราได้ให้บัยอัตกับท่านศาสดา ในวันอุกบะฮฺ ก็เพื่อที่ว่าพวกเราจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องผู้นำกับครอบของท่านภายหลังจากท่าน

จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับคำว่า (امر-امور ) ที่กล่าวในหะดีษ (ขณะเอาบัยอัตกับ ๗๒ คนทั้งหญิงและชายจากกลุ่มอันศอรฺ ในบัยอัตอุกบะฮฺกุบรอ และได้เน้นว่าอย่าขัดแย้งกับทายาทของท่าน) นั้นหมายถึง ผู้นำและการปกครองนั่นเอง ดังจะเห็นว่ามีมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ขัดแย้งกันที่บนีสะกีฟะฮฺ บนีซาอิดะฮฺ[11] ก็เพราะต้องการเป็นผู้นำทีมีอำนาจ ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงคุณสมบัติของผู้นำทั้งศาสนจักร และอาณาจักรที่จะขึ้นมาทำหน้าที่บริหารนาวาลำนี้สืบไปว่า

اطيعوالله واطيعواالرسول واولى الأمرمنكم
ความว่า "จงปฏิบัติตามอัลลอฮฺ จงปฏิบัติตามรอซูลและอูลิลอัมริ ในหมู่พวกเจ้า"

อิมามอะลีในอัล-กุรอานและซุนนะฮฺตามทรรศนะอหฺลิซซุนนะฮฺ
สิ่งที่จะอธิบายต่อไปคือ การวินิจฉัยท่านอิมามอะลีในทรรศนะอัล-กุรอานและหะดีษ

๑. ปีที่สามแห่งการแต่งตั้ง (บิอฺษัต)
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแนะนำผู้ที่เป็นตัวแทนของท่านตั้งแต่วันแรกที่ทำการประกาศอิสลามท่ามกลางเครือญาติชั้นใกล้ชิด
เกี่ยวกับเรื่องนี้นักหะดีษ และนักประวัติศาสตร์อย่างเช่นท่าน ฏ็อบรีย์ อิบนุอะซากีรฺ อาบนุอะษีรฺ อาบนุกะษีรฺ มุตตะกี ฮินดีย์ และคนอื่นๆได้บันทึกไว้ในตำราของตน

ท่านฏ็อบรีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของท่านโดยรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า "ขณะที่โองการ "وانذرعشيرتك الأقربين” ได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกฉันและกล่าวกับฉันว่า โอ้อะลีอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้มีบัญชาแก่ฉันว่าให้แจ้งกับเครือญาตชั้นใกลัชิดถึงความผิดพลาดของพวกเขา และให้พวกเขาหวาดกลัวต่อการหลงทางของพวกเขาฉันเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉันทราบดีว่าเมื่อไหร่ที่ฉันเอ่ยปากพูดออกมา ฉันก็จะได้เห็นปฏิกริยาของพวกเขาทันที ซึ่งฉันไม่ยากเห็นสิ่งนั้น ฉันเลยนิ่งเงียบจนกระทั่งพระองค์ได้ประทานญิบรออีลลงมาและบอกกับฉันว่า “โอ้มุฮัมมัดถ้าไม่ทำตามที่พระองค์ประสงค์ พระองค์จะลงโทษท่าน ฉะนั้นเจ้าจงรีบไปเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้พร้อม พร้อมกับเชิญบุตรหลานของอับดุลมุฏ็อลลิบมาให้หมด ฉันจะพูดกับพวกและแจ้งพระบัญชาของอัลลอฮฺให้พวกเขาทราบ

ฉันได้ทำตามคำสั่งของท่านศาสดา และได้เชิญบุตรหลานของอับอุลมุฏ็อลลิบทั้งหมดมา จำนวนของพวกเขาประมาณ ๔๐ คนาขาดเหลือประมาณหนึ่งคนซึ่งในหมู่ของพวกเขามีบรรดาลุงและอาของท่านศาสดาร่วมอยู่ด้วยเช่น ท่านอบูฏอลิบ ท่านฮัมซะฮฺ ท่านอับบาส และอบูละฮับ

เมื่อแขกได้มาครบกันทุกคนท่านศาสดาได้สั่งฉันให้ยกอาหารออกมา ฉันได้ทำตามและท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เป็นผู้เริ่มก่อนหลังจากนั้นท่านได้หันมาเชิญแขกและกล่าวว่า ด้วยพระนามของพระเจ้า เชิญรับประทานอาหารบรรดาแขกได้หยิบเอาส่วนของตัวเองไป พวกเขาได้รับประทานอาหารกันอย่างเต็มที่ อิ่มเสียจนไม่สามารถรับประทานต่อได้อีก จนเห็นรอยนิ้วมือประกฎอยู่บนอาหารนั้น ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าที่ชีวิตของอะลีอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงฉันได้ทำอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้นพวกเขากินคนเดียวก็หมด

หลังจากแขกได้รับประทานอาหารเป็นที่เรียบร้อย แล้วท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้ฉันหยกเครื่องดื่มออกมาเลี้ยง (ซึ่งทำด้วยนมเปรี้ยวผสมกับน้ำและเกลือ เป็นเครื่งดื่มที่นิยมดื่มกันแถบอาหรับ) ฉันขอสาบานด้วยพระนามของพระเจ้าว่า เครื่องดื่มในภาชนะนั้นดื่มคนเดียวก็หมด

เวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง แต่อบูละฮับผู้มีมารยาททรามได้แซงพูดขึ้นก่อนว่า “ญาติของท่านได้เล่นเวทมนต์กับพวเรา” ทำให้แขกลุกขึ้นและก่อนที่ท่านศาสดาจะพูดพวกเขาก็พากันออกไป หลังจากที่พวกเขาได้ออกไปแล้วท่านได้กล่าวกับฉันว่า “อะลีเจ้าเห็นไหมว่าชายคนนั้นเขาได้พูดอะไร เขาได้ชิงพูดก่อนที่ฉันจะพูด ทำให้แขกทั้งหมดต้องแยกย้ายกันออกไป ดังนั้นพรุ่งนี้เจ้าทำเช่นนี้ใหม่อีกครั้ง และเชิญพวกเขามารับประทานอาหารกลางวัน

ฉันได้ทำตามประสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเชิญพวกเขามารับประทานอาหารกลางวัน บรรดาแขกได้ร่วมวงรับประทานอาหารและเครื่องดื่มจนอิ่มหนำสำราญ หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้เริ่มพูดว่า “โอ้บุตรหลานของท่านอับดุลมุฏ็อลลิบทั้งหลาย ฉันขอสาบานในพระนามของพระผู้เจ้าว่า ฉันยังไม่เคยเห็นว่ามีชายหนุ่มอาหรับคนไหนนำสิ่งที่ดีกว่าฉันได้นำยังพวกท่าน ฉันได้นำเอาคุณความดีทั้งโลกนี้และโลกหน้ามามอบให้พวกท่าน พระผู้เป็นเจ้าได้มีพระบัญชาต่อฉันว่า ให้แจ้งข่าวดีนี้แก่พวกท่าน และทำการเชิญชวนพวกท่านไปสู่พระองค์ จะมีใครช่วยเหลือฉันในเรื่องนี้บ้างไหม ? ซึ่งฉันจะยกย่องให้เขาเป็นพี่น้อง เป็นวะศีย์ และเป็นตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน

ไม่ใครในที่นั้นตอบรับข้อเสนอของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทุกคนนั่งนิ่งเงียบกันหมด อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่าขณะนั้นฉันเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในที่ประชุมและมีอายุน้อยที่สุด ฉันมองท่านศาสดาด้วยความสงสารที่จับใจพร้อมกับพูดว่า “โอ้รอซูลุ้ลลอฮฺ ฉันพร้อมที่จะช่วยท่านทุกอย่างในกิจการดังกล่าวนี้”
ในเวลานั้นท่านศาสดาได้จับที่ต้นคอฉันให้หันไปหาบรรดาแขกที่อยู่ ณ ที่นั้น พร้อมกับพูดว่า

انّ هذا اخي ووصيي وخليفتي فيكم فاسمعواله واطيعوا
“แท้จริงเขาคือพี่น้องของฉัน เป็นตัวแทนของฉัน และเป็นเคาะลิฟะฮฺของฉันในหมู่ของพวกท่านจงฟังและปฏิบัติตามเขา”

บรรดาแขกทีนั่งเคร่งเครียดกันอยู่ต่างพากันหัวเราะและได้ลุกขึ้น เมื่อจะออกจากบ้านพวกเขาได้หันมาหาท่านอบูฏอลิบและพูดถากถางว่า “เขาสั่งให้ท่านเชื่อฟังและปฏิบัติตามบุตรชายของท่าน”[12]




ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ


๒. สงครามตะบูก
ในหนังเศาะฮีบุคอรีย์ มุสลิม มุสนัดฏะยาลิซซีย์ อหฺมัดบินหันบั้ล สนันติรฺมิซีย์ อิบนุมาญะฮฺ และหนังสืออ้างอิงอื่นๆได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ แต่จะเลือกกล่าวเฉพาะคำพูดของ ท่านบุคอรีย์ ซึ่งได้บันทึกไว้ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอิมามอะลี ว่า

انت مني بمنزلة هارون من موسي الاّانّه ليس نبي بعدي
“ท่านกับฉันอยู่ในฐานะเดียวกันกับฮารูนและมูซาเว้นเสียแต่ว่าภายหลังจากฉันจะไม่มีนบีอีก”

ในตอนท้ายของหะดีษเศาะฮีมุสลิมบันทึกไว้ว่า “الاّانّه لانبي بعدي”
อิบนุสะอฺด์ได้บันทึกไว้ใน เฏาะบะกอตของเขาจากคำพูดของ บัรฺรอ บินอาซิบ และซัยดฺบินอัรฺกอมว่า “เมื่อสงครามตะบูกได้เริ่มต้นขึ้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า “คงต้องเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดให้ฉันอยู่ในมะดีนะฮฺ หรือว่าท่าน” แต่ทว่าท่านศาสดาได้เลือกให้ท่านอะลีเป็นตัวแทนของท่าน ส่วนท่านได้ออกไปเผชิญกับบรรดามุชริกีน

หลังจากการตัดสินใจของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มีบางคนพูดว่า ท่านศาสดาไม่พอใจท่านอะลีจึงปล่อยให้อยู่ในมะดีนะฮฺ ไม่อนุญาตให้ออกสงคราม เมื่อท่านอะลีได้ยินคำพูดเช่นนั้น ท่านจึงไปหาท่านศาสดา เมื่อท่านศาสดาได้เห็นท่านอะลีจึงถามขึ้นว่า เกิดอะไรขึ้นหรือ ? ท่านอะลีตอบว่า ไม่มีอะไรหรอก เพียงแต่ฉันได้ยินคนพูดว่า ท่านไม่พอใจฉันจึงไม่อนุญาตให้ฉันออกไปสงครามด้วย ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยิ้มและกล่าวว่า “โอ้อะลีเจ้าไม่ชอบหรอกหรือที่ฐานะของเจ้าสำหรับฉัน อยู่ในฐานะเดียวกันกับฮารูนสำหรับมูซาเพียงแต่ว่าภายหลังจากฉันจะไม่มีนบีอีก” อะลีตอบว่า ฉันปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น
ยารอซูล ท่านศาสดา ได้กล่าวต่ออีกว่า แน่นอนฐานะของท่านเป็นเช่นนั้น[13]

จุดประสงค์ของคำว่า มินนี (مِنّي) ในหะดีษของศาสดา
คำว่า มินนี ที่ปรากฏในหะดีษ “اَنْتَ مِنّي بِمَنْزِلَةِ هَارُوْنَ مِنْ مُوسي” นั้นสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของท่านศาสดาได้อย่างชัดเจนในหะดีษบทอื่นๆ ของท่าน ซึ่งในความหมายคือ ท่านฮารูนมีส่วนร่วมในตำแหน่งการเป็นศาสดาของท่านศาสดามูซา (อ.) มีส่วนร่วมและเป็นเพื่อนท่านศาสดามูซา ในการเผยแพร่อหฺกามของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอะลีก็เช่นเดียวกันเนื่องจากว่าหะดีษมันซิลัต ได้บ่งบอกฐานะภาพของท่านสำหรับท่านศาสดาว่าอยู่ในฐานะเดียวกันกับท่านฮารูนและมูซายกเว้นตำแหน่งนุบูวัต ฉะนั้นฐานะภาพของท่านอะลีเมื่อเทียบกับท่านฮารูนก็ คือ การเป็นเพื่อนผู้ช่วยเหลือท่านศาสดา ในการเผยแพร่สารธรรมคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า

เหมือนกันจุดประสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ใช้คำว่า มินนี เมื่อตอนกล่าวสุนทรพจน์ ณ ทุ่งอะรอฟะฮฺ ในหัจญตุ้ลวะดาได้ให้ความชัดเจนเป็นอย่างดีท่านกล่าวว่า

علي مني وانا من علي لايؤدي عني الا انا وعلي
“อะลีมาจากฉัน และฉันมาจากอะลี หน้าที่ของฉันนอกจากฉันและอะลีแล้วไม่มีใครทำได้”[14]

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้ชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า มินนี ในหะดีษว่าแท้จริงแล้วท่านอะลีนั้นอยู่ในฐานะของผู้เผยแพร่อหฺกามของอัลลอฮฺ (ซบ.) อยู่ในฐานะเดียวกับนบีซึ่งทำหน้าที่เผยแพร่อหฺกามแก่ประชาชนโดยไม่ตรงผ่านสื่อกลาง นอกจากนี้แล้วยังมีหะดีษบทอื่นๆที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ใช้คำว่า มินนี กับท่านอะลีอีกซึ่งชี้ให้เห็นความหมายตามกล่าวได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นอย่างเช่น รายงานที่กล่าวว่า บุรีดะฮฺได้มาร้องเรียนท่านอะลีกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวกับเขาว่า ....

لاتقع في علي فانّه مني “ท่านอย่ายุ่งกับอะลีแท้จริงเขามาจากฉัน”[15]

หรือริวายะฮฺของ อิมรอน บิน หะศีน ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับเขาว่า “ انّ عليا منّي”
“แท้จริงอะลีมาจากฉัน”[16]

ริวายะฮฺทั้งหมดที่กล่าวมาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องการกล่าวว่า “พวกท่านพึงสังวรไว้เถิดว่า แท้จริงหน้าที่ของอะลีและบรรดาอิมามผู้เป็นลูกหลานของอะลีคือผู้เผยแพร่อหฺกามและความรู้ต่างๆ ของอัลลอฮฺ (ซบ.) แก่ประชาชนโดยตรงไม่ต้องผ่านสื่อกลางใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนกับหน้าที่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)” ด้วยเหตุนี้พวกเขาทั้งหมดจึงมาจากท่านศาสดา และท่านศาสดาก็มาจากพวกเขา หมายความว่า ท่านศาสดา ได้รับอหฺกามและกฏเกณฑ์ต่างๆของอัลลอฮฺโดยตรงไม่ต้องผ่านสื่อกลางจากวะฮีย์ซึ่งมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาอิมามได้รับสิ่งเหล่านี้จากท่านศาสดาโดยตรง ดังนั้นบรรดาอิมามจึงเป็นผู้เผยแพร่อิสลามในนามของท่านศาสดา ซึ่งอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ได้ตระเตรียมบรรดาอิมามไว้ล่วงหน้าเพื่อการนี้โดยตรง ดังที่โองการ ๓๓ ซูเราะฮฺ อัล-อะหฺซาบได้อธิบายไว้ โองการกล่าวว่า อัลลอฮฺพึงประสงค์ทีจะขจัดมลทินให้ออกจากบรรดาอหฺลุลบัยตฺ ให้พวกเขามีความสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกโสมมและความผิดบาปต่างๆ คงไว้ซึ่งความสะอาดบริสุทธิ์ (มะอฺซูม)

นอกจากนี้แล้ว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังได้รับพระบัญชาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ให้ทำการขัดเกลาและสอนสั่งอะลีเป็นพิเศษ และให้ลูกหลานของเขาเป็นผู้รับมรดกอันมีค่ายิ่งจากบิดาของพวกเขา (อะลี) ดังจะเห็นได้จากริวายะฮฺต่อไปนี้

บรรดาอิมามเป็นผู้รับมรดกทางความรู้ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
ตับสีรฺรอซีย์ และกันซุ้ลอุมาลของมุตตะกีย์ ฮินดีได้บันทึกไว้ว่า..ท่านอะลี ได้กล่าวว่า “ท่านศาสดาได้สอนวิชาการแก่ฉัน ๑๐๐๐ ประตูและทุกๆ ประตูยังมีอีก ๑๐๐๐ ประตูของความรู้แฝงอยู่”[17]

ตับสีรฺฏ็อบรีย์ ฏอบะกอต อิบนุสะอฺด์ ตะฮฺซีบุตตะฮฺซีบ กันซุ้ลอุมาล และฟัตหุ้ลบารีได้บันทึกริวายะฮฺที่จะนำเสนอต่อไปนี้ไว้ ซึ่งขอหยิบยกริวายะฮฺที่บันทึกอยู่ในหนังสือฟัตหุ้ลบารีมาเป็นตัวอย่าง
ท่านอบูฏุฟัยล์ เล่าว่าครั้งหนึ่งฉันได้อยู่ร่วมฟังการกล่าวสุนทรพจน์ของท่านอะลี (อ.) ซึ่งท่านได้กล่าวว่า “พวกท่านต้องการรู้สิ่งใดจงถามฉันมา แม้ว่าท่านจะถามสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจนถึงวันกิยามะฮฺ ฉันก็จะตอบคำถามนั้นและจะให้ความรู้แก่ท่านในเรื่องดังกล่าว และถ้าท่านถามฉันเกี่ยวกับอัล-กุรฺอาน ฉันขอสาบานในพระนามของอัลลอฮฺว่าฉันรู้ทุกโองการของอัล-กุรอาน แม้กระทั่งว่าโองการไหนลงตอนกลางวัน และตอนกลางคืน ลงการทะเลทราย หรือว่าลงที่หุบเขา....”[18]

ด้วยเหตุนี้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้กล่าวถึงสิทธิของท่านอะลี (จากรายงานของญาบีรฺ บินอับดุลลฮฺ) ว่า “ฉันคือนครแห่งความรู้ส่วนอะลีเป็นประตูของมันใครก็ตามที่ต้องการความรู้เขา ต้องเข้าหาประตู”
ท่านฮากิมพูดว่า ริวายะฮฺบทดังกล่าว[19] เศาะฮีฮุล-อัสนาด (สะนัดสายรายงานถูกต้อง) และตอนท้ายของหะดีษข้างบนกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ต้องการความรู้ต้องเข้าทางประตู”[20]

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายงานอื่นๆอีกมากมาย เช่น ตอนสงคราม หุดัยบียะฮฺ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือของท่านอะลีพร้อมกับกล่าวว่า “ซายผู้นี้คือผู้นำความจำเริญมาสู่ผู้ที่มีความอิสระภาพทั้งหลาย เขาคือผู้ทำลายล้างเจว็ดทั้งหลาย ผู้ที่ช่วยเหลือเขาคือผู้ที่ประสบชัยชนะ ส่วนผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาคือผู้ที่ได้รับความหายนะ” ตรงนี้ท่านศาสดาได้เสียงดังขึ้นและกล่าวต่อไปอีกว่า “ ฉันคือนครแห่งความรู้ส่วนอะลีเป็นประตูของมันใครต้องการความรู้เขาต้องเข้าทางประตู”[21]

ริวายะฮฺของท่านอิบนุอับบาส ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวเช่นนี้ว่า “ฉันคือนครแห่งความรู้อะลีเป็นประตูของมันใครต้องการความรู้ต้องเข้าทางประตู” [22]

ริวายะฮฺที่มาจากท่านอิมาม ได้กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

“انا دار العلم وعلي بابها”[23]
ฉันคือนครแห่งความรู้และอลีคือประตูแห่งนครนั้น

หรือริวายะฮฺที่ท่านอิบนุอับบาสได้รายงาน

انا مدينة الحكمة وعلي بابها فمن اراد الحكمة فليأت الباب [24]
ฉันคือนครแห่งวิทยปัญญาและอลีคือประตูแห่งนครนั้น และใครก็ตามที่ต้องการจะเข้าสู่นครดังกล่าว จงผ่านมาทางประตู

อีกริวายะฮฺหนึ่งท่านอิมามได้กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “انا دار الحكمة وعلي بابها”[25]
ฉันคือบ้านแห่งวิทยปัญญาและอลีคือประตูของบ้านนั้น

ท่านอบูซัรฺได้กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงสิทธิของอะลีว่า...

علي باب علمي ومبين لأمتي ما ارسلتُ به بعدي[26]
อลีคือประตูแห่งความรู้ของฉัน และจะเป็นผู้อรรถาธิบายถึงภารกิจของฉันภายหลังจากฉัน


หมายถึง อะลีเป็นประตูแห่งความรู้ของฉันและเป็นผู้อธิบายแก่ประชาชาติของฉันภายหลังจากฉัน ในสิ่งที่ถูกประทานมาและฉันได้ปฏิบัติไป” ริวายะฮฺรายงานโดยท่านอนัสบินมาลิกว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

انت تبين لأمتي مااختلفوافيه بعدي
หมายถึง “เจ้าคือผู้แก้ไขปัญหาขัดแย้งสำหรับประชาชาติของฉันหลังจากฉัน”
ท่านฮากิมได้บันทึกว่า หะดีษข้างต้นถือตามเงื่อนไขของชัยคัยน์ถือว่าถูกต้อง [27]

อีกริวายะฮฺหนึ่งกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า..

انت تؤدي عني وتسمعهم صوتي وتبين لهم ما اختلفوا فيه بعدي
หมายถึง “เจ้าคือผู้ที่มาดำเนินสาสน์ของฉัน และทำให้พวกเขาสำเนียกเสียงของฉัน และเป็นผู้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งสำหรับพวกเขาหลังจากฉัน” [28]

๓. ณ เฆาะดีรฺคุม
เรื่องรางเกี่ยวกับเฆาะดีรฺคุมในทรรศนะของอหฺลิซซุนนะฮฺได้บันทึกไว้ว่า ในวันที่ ๑๘ เดือนซีหัจญะตุ้ลหะรอม[29] ปีที่ ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เดินทางกลับจากการทำหัจญ์ครั้งสุดท้าย[30] เมื่อมาถึงยังสถานที่หนึ่งนามว่า เฆาะดีรฺคุม ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของ ญุอฺฟะฮฺ[31] อันเป็นทางแยกสามแพร่งที่จะไปสู่มะดีนะฮฺ อียิปต์ และซูเรีย[32] โองการดังต่อไปนี้ได้ถูกประทานที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) พอดี

يايهاالرسول بلّغ ماانزل اليك من ربك وان لم تفعل فما بلّغت رسالته والله يعصمك من الناس[33]
หลังจากโองการได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้กองคาราวานหยุดเดินทาง และพักที่นั้นเพื่อรอพวกที่ยังเดินทางมาไม่ถึงให้มาสมทบ และให้เรียกพวกที่เดินทางไปล่วงหน้าแล้วให้กลับมา[34]

ในเวลานั้นเหล่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺได้เข้าไปหลบแดดใต้ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่กลางทะเลทราย ท่านศาสดาได้สั่งว่า “อย่าเพิ่งแยกย้ายไปไหน ให้คอยก่อน”หลังจากนั้นประชาชนได้ร่วมกันนมาซญะมาอะฮฺ[35]

บรรดาอัศฮาบของท่านได้เอาผ้าพาดไปบนกิ่งไม้เพื่อบังแดดให้กับท่านศาสดา[36] และท่านศาสดาได้ทำนมาซซุฮรฺร่วมกับประชาชนท่ามกลางความร้อนระอุนั้นเอง หลังจากนั้นท่านศาสดาได้ลุกขึ้นยืนเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ โดยเริ่มจากการสรรเสริญอัลลอฮฺ และเชิญชวนประชาชนไปสู่ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า “ไม่มีศาสนทูตคนใดที่มีอายุยืนถึงครึ่งหนึ่งของอายุขัยของศาสนทูตคนก่อน ซึ่งฉันได้รับคำเชิญแล้วและฉันก็ตอบรับคำเชิญนั้นแล้ว ฉันและพวกท่านต่างมีภาระต้องรับผิดชอบ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ ในวันนั้นฉันเป็นผู้ถูกสอบสวนและพวกท่านก็ถูกสอบสวนด้วย พวกท่านจะกล่าวเรื่องนี้กันอย่างไร” ?

พวกเขาได้พูดว่า.... “พวกเราขอยืนยันกับพระองค์ว่าท่านได้ประกาศสาสน์ของพระองค์อย่างดีที่สุดแล้ว ท่านได้ชี้แนะและตักเตือนพวกเราแล้ว ท่านได้เพียรพยามอย่างเต็มที่แล้ว และขอพระองค์ทรงตอบแทนผลรางวัลที่ดีงามแก่ท่าน.”

ในเวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “พวกท่านจะไม่ยืนยันถึงความเป็นเอกะของพระองค์ และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์ สวรรค์และนรกนั้นมีจริง ความตายมีจริง วันกิยามะฮฺที่กำลังจะมานั้นไม่มีความสงสัยใดๆต่อการอุบัติของมัน และอัลลอฮฺ (ซบ.) จะให้ทุกคนฟื้นออกมาจากหลุมฝังศพใช่หรือไม่ ?

พวกเขาพูดว่า “แน่นอนพวกเราขอปฏิญาณยืนยันในสิ่งเหล่านี้.

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺโปรดเป็นพยานในคำพูดเหล่านี้

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ถามอีกว่า “พวกท่านได้ยินเสียงของฉันไหม ? พวกเขาตอบว่า พวกเราได้ยิน หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ฉันคงต้องอำลาจากพวกท่านไปล่วงหน้าก่อน ซึ่งพวกท่านจะเดินทางมาพบกับฉัน ณ สระน้ำเกาษัรฺ อันเป็นสระที่มีความกว้างอยู่ระหว่างเมืองบัศรี และ ซันอาอ์[37] รอลๆ สระน้ำนั้นจะมีถ้วยน้ำที่ทำมาจากเงินบริสุทธิ์ตั้งวางเรียงรายรอบสระนั้น และในเวลานั้นฉันจะถามพวกท่านถึงสองสิ่งที่มีค่ายิ่งที่ฝากเป็นอะมานะฮฺไว้ในหมู่ของพวกท่าน พวกท่านจงตระหนักให้ดีว่าพวกท่านได้ปฏิบัติอย่างไรกับสองสิ่งนั้น ?

เวลานั้นได้มีผู้ตะโกนถามท่านศาสดาว่า “ยารอซูลสองสิ่งที่มีค่ายิ่งนั้นนั้นคืออะไร ?

ท่านศาสดา ตอบว่า “สิ่งหนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน ซึ่งต้องยึดเหนี่ยวสิ่งนั้นไว้ให้ดี ต้องปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆ และอย่านำเอากุรอานไปผสมปนเปกับสิ่งอื่น เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ท่านหลงทาง ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือ อิตระตีอหฺลุบัยตี ผู้เป็นทายาทและเชื้อสายของฉัน อัลลอฮฺพระผู้ทรงเกรียงไกรได้รับสั่งกับฉันว่า ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำเกาษัรฺ ซึ่งสิ่งนี้ฉันได้ทูลขอต่อพระองค์ ดังพวกท่านจงอย่าได้ล้ำหน้าและหล้าหลังจากทั้งสอง เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้พวกท่านหลงทางตลอดไป และจงอย่าสอนสั่งสิ่งใดกับทั้งสอง เพราะทั้งสองนั้นรู้ดีกว่าพวกเจ้า

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า [38] พวกท่านทราบดีว่าในหมู่มนุษย็นั้นฉันเป็นผู้ทรงสิทธิ์เหนือบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาใช่ไหม ? ตอบว่า ถูกต้องแล้วยารอซูล[39] ...ท่านศาสดา ได้ถามต่อว่า พวกท่านยืนยันใช่ไหมว่าฉันนั้นดีกว่าบรรดามุอฺมินทุกคน ? ตอบว่า ถูกต้องแล้วยารอซูล[40]

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือของท่านอะลีชูขึ้นจนเห็นสีขาวใต้รักแร้ของทั้งสอง[41] และท่านได้กล่าวว่า “โอ้ประชาชนแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ปกครองของฉัน และฉันเป็นผู้ปกครองพวกท่าน [42] และใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย” [43] หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยกมือขอดุอาอฺว่า “โอ้อัลลอฮฺโปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับอะลี โปรดเป็นศัตรูกับผู้ทีเป็นศัตรูกับอะลี โปรดช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือเขา โปรดทำลายผู้ที่ทำลายเขา โปรดรักผู้ที่รักเขา โปรดโกรธเกลียดผู้ที่โกรธเกลียดเขา[44] ในตอนสุดท้ายท่านศาสดาได้กล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดเป็นพยาน[45] รอวีได้พูดว่า ตอนนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กับท่านอะลียังไม่ได้แยกออกจากกันทันใดนั้นโองการนี้ได้ถูกประทานลงมา

اليوم اكملت لكم دينكم واتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الأسلام دينا[46]
ในเวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัรฺ นี่คือความสมบูรณ์ของศาสนา ความบริบูรณ์ของความโปรดปราน พระผู้อภิบาลทรงพึงพอพระทัยต่อการเผยแพร่สาสน์ของฉันและวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน”[47] (วิลายะฮฺ//อำนาจการปกครอง)

หลังจากนั้นประชาชนได้เข้ามาแสดงความยินดีกับท่านอะลีกันอย่างถ้วนหน้า ซึ่งบุคคลลำดับต้นๆ ที่เข้ามาแสดงความยินดีคือท่านอบุบักรฺ และท่านอุมัรฺ
ยะกูบีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านตามที่บางทรรศนะได้กล่าวว่า โองการดังกล่าวนั้นได้ถูกประทานที่มะดีนะฮฺว่า “โองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือโองการ อิกมาล

(اليوم اكملت لكم دينكم) ริวายะฮฺดังกล่าวถือว่าถูกต้อง ส่วนโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาในวันซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประการแต่งตั้งท่านอะลี ให้เป็นผู้นำสืบต่อจากท่านในวันเฆาะดีรฺคุมท่ามกลางผู้คนจำนวนมากมายที่ได้ยินและเห็นเหตุการณ์”[48]

หลังจากพิธีการแต่งตั้งท่านอะลีได้จบลง ท่านอุมัรฺ บินคัฏฏอบ ได้เห็นท่านอะลี ท่านได้พูดกับท่านอะลีว่า “โอ้บุตรของอบูฏอลิบ ขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งอันทรงเกียรติ บัดนี้ท่านได้กลายเป็นผู้นำมวลศรัทธาทั้งหลายแล้ว”[49]

บางริวายะฮฺได้กล่าวว่า ท่านอุมัรฺ ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า ًبخ بخ لك يا ابن ابي طالب ً หมายถึง “ขอแสดงความยินดีด้วยโอ้บุตรของอบูฏอลิบ”[50]
บางริวายะฮฺที่กล่าวว่า “ยินดีด้วยโอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้กลายเป็นผู้นำของมวลผู้ศรัทธทั้งหลายาแล้ว”[51]

มงกุฏผ้าที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สวมให้ท่านอะลีในวันนั้น
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีผ้าโพกศีรษะสีดำนามว่า “สะหาบ”[52] ท่านจะสวมใส่เฉพาะวันสำคัญเท่านั้น เช่นวันฟัตหุ้ลมักกะฮฺ[53] แต่ในวันเฆาะดีรคุมท่านได้สวมให้กับท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอับดุล อะอฺลา บิน อะดีย์อัล-บะฮฺรอนีย์ ได้เล่าว่า “ในวันเฆาะดีรฺคุมท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกท่านอิมามอะลีเข้ามาหา และท่านได้เป็นผู้สวมอิมามะฮฺ ให้กับท่านอิมามอะลี (อ.)[54]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ในวันอีดเฆาะดีรคุม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สวมอิมามะฮฺสีดำของท่านแก่ฉัน และท่านได้ปล่อยชายของมันไว้บนไหล่ของฉัน”[55]
ในมุสนัด ฏะยาลีซซีย์ และสุนั้นบัยฮะกีย์ ได้บันทึกคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ไว้ว่า “ในวันเฆาะดีรฺคุมท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สวมอิมามะฮฺให้กับฉัน และปล่อยชายของมันไว้บนไหล่ของฉัน” และท่านได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงประทานมลาอิกะฮฺให้มาช่วยฉันในสงครามหุนัยน์ และบดัรฺขณะที่ฉันสวมอิมามะฮฺสีดำผืนนี้ และด้วยกับอิมามะฮฺนั้นเองที่เป็นสาเหตุแบ่งแยกระหว่างมุสลิมกับผู้ปฏิเสธ”[56]

เชิงอรรถ
[1] ซูเราะฮฺอันฟาล:๑/๒๐/๔๖ , มุญาดะละฮฺ:๑๓ , อาลิอิมรอน :๓๒/ ๑๓๒ , นิซาอ์:๕๙ , มาอิดะฮฺ:๙๒ , นูร:๕๔/๕๖, มุฮัมมัด:๓๓ ,ตะฆอบุน:๑๒
[2] ซูเราะฮฺญิน:๒๓ , นิซาอ์:๑๔ , อะหฺซาบ:๓๖
[3] ซูเราะฮฺชุอฺรอ: ๒๑๖
[4] ซูเราะฮฺอะอฺรอฟ :๑๕๘ โองการที่คล้ายคลึงกันอย่างนี้มีมากในอัล-กุรอาน
[5] มิกดาม มุอัดดี กุรฺบิ กันดี ได้ร่วมเดินทางมาพบท่านศาสดาพร้อมกับพวกกันดีคนอื่นๆ มิกดามได้รายงานหะดีษจำนวน ๔๗ หะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งหะดีษเหล่านั้นบันทึกอยู่ในศิหาห์ และสุนัน ยกเว้นมุสลิม มิกดาม เกิดที่ชาม (ซีเรีย) เมื่อ ฮ.ศ. ๘๗ เสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๙๐ ปี (อะสะดุลฆอบะฮฺ ๔/๑๑๔ , ญะวามุอุรฺซีเราะฮฺ หน้าที่ ๒๘๐ , ตักรีบุตตะฮฺซีบ ๒/๒๘๒)
[6] อับดุลลอฮฺ บิน อบีรอฟิอฺ เป็นบุตรของ รอฟิอฺ ทาสผู้ซึ่งถูกปลดปล่อยโดยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อับดุลลอฮฺ เป็นหนึ่งในเรขาของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีหน้าที่จดบันทึก เป็นริญาลที่ษิกเกาะฮฺ (เชื่อถือได้) อยู่ในชั้นที่ ๓ หะดีษของเขาถูกบันทึกอยู่ในหนังสือหะดีษส่วนใหญ่ (ตักรีบุตตะฮฺซีบ ๑/๕๓๒ ลำดับที่ ๑๔๔๑)
[7] อบูนะญีอฺ อัรฺบาฎ บินซารียะฮฺ สะละมี ได้รายงานหะดีษจากท่านศาสดา จำนวน ๓๑ หะดีษ ซึ่งอัศฮาบศิหฺหะฮฺ ส่วนใหญ่ได้บันทึกหะดีษของเขาเอาไว้ ยกเว้น บุคคอรี และมุสลิม อัรฺบาฎ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ๗๕ อะสะดุลฆอบะฮฺ ๓/๓๙๓ ญะวามิอุซซีเราะฮฺ หน้าที่ ๒๘๑)
[8] อบูหุรอยเราะฮฺ กะห์ฏอนี ซึ่งรู้จักดีในฉายานามว่า อบูหุรอยเราะฮฺ (บิดาของแมว) ฉายานามดังกล่าวได้มาเพราะ อบูหุรอยเราะฮฺ ชอบเลี้ยงแมว และจะมีแมวอยู่ในมือตลอดเวลา หรืออาจเป็นเพราะว่าครั้งหนึ่งอบูหุรอยเราะฮฺได้ไปพบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ในมืออุ้มแมวอยู่ หรือว่าได้ซ่อนแมวไว้ในเสื้อ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้เรียกเขาว่า อบูหุรอยเราะฮฺ
อบุหุรอยเราะฮฺได้เข้ารับอิสลามเมื่อตอนสงคราม คัยบัรฺ ได้รายงานหะดีษจากท่านศาสดา จำนวน ๕๓๗๔ หะดีษ ซึ่งอัศฮาบส่วนใหญ่ได้รายงานหะดีษของเขาเอาไว้ (อะสะดุลฆอบะฮฺ ๕/๓๑๕ ญะวามิอุรฺซีเราะฮฺ หน้าที่ ๒๗๕
[9] อบูอับดุรฺเราะหฺมาน หรือ อบูวะลีด หิซานบินษาบิต อันศอรีย์ คัซระญีย์ เป็นนักวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เขาจะอ่านบทกลอนเกี่ยวกับท่านศาสดาในมัสญิดเสมอ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึง หิซานว่า “อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้เกียรติหิซานว่าเป็นผู้มีดวงวิญญาณบรีสุทธิ์(รูหุ้ลกุดุส) ตราบที่เขาทำการปกป้องท่านศาสดา” หิซานเป็นคนขี้ขลาดด้วยเหตุนี้เขาไม่เคยเข้าร่วมสงครามเลยแม้แต่รั้งเดียว เขาได้รายงานหะดีษจากท่านศาสด (ศ็อลฯ) เพียงหะดีษเดียวเท่านั้น หนังสือหะดีษส่วนไหญ่ได้บันทึกหะดีษของเขาเอาไว้ ยกเว้นติรฺมีซีย์ หิซานได้เสียชีวิตเมื่อปี ฮ.ศ.๔๐ หรือ ๕๐ หรือ ๕๔ มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี(อะสะดุลฆอบะฮฺ ๒/๕-๗ ญะวามิอุรฺซีเราะฮฺ หน้าที่ ๓๐๘ ตักรีบุตตะฮฺซีบ ๑/๑๖๑)
[10] เศาะฮีย์บุคอรีย์ กิตาบุ้ลอหฺกาม ในหมวด กัยฟะ ยุบายิอุ้ล อิมามุนนาซ ๔/๑๖๓ หะดีษที่ ๑ คำว่า อัลอัสรฺ วัลยุสรฺ, เศาะฮีย์มุสลิม กิตาบุลอิมาเราะฮฺ ในหมวด วุญูบฏออะตุลอุมะรออฺ ฟีฆัยริ มะอฺศียะฮฺ วะตะรีมุฮา ฟิล มะอฺศียะฮฺ หะดีษที่ ๔๑/๔๒ , สุนันนะซาอีย์ กิตาาบุ้ลบัยอะฮฺ บาบุ้ลบัยอะฮฺ อะลา อัน ลา นุนาซิอุ้ล อัมริ อะฮฺลิฮี , สุนันอิบนุมาญะฮฺ กิตาบุ้ลญิฮาด บาบุ้ลบัยอะฮฺ หะดีษที่ ๒๘๖๖ , มุวัฏเฏาะฮฺ มาลิก กิตาบุ้ลญิฮาด บาบุต ตัรฺฆีบ ฟิลญิฮาด หะดีษที่ ๕ , มุสนัดอหฺมัด ๕/๓๑๔/๓๑๙/๓๒๑ , ๔/๔๑๑ และในซีเราะฮฺอิอฮลามุนนุบลาอฺ ๒/๓ ตะฮฺซีบุ อิบนุ อะซากิรฺ ๗/๒๐๗-๒๑๙
[11] เกิดความขัดแย้งในประเด็นเผ่านิยม ระหว่างเผ่าอันศอรฺ กับมุฮาญิรีน หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก หมวด สะกีฟะฮฺ วะ บัยอะฮฺอบูบักรฺ จากหนังสือ มักตะบัยนิ ฟิล อิสลาม ๑/๑๗๔
[12] ตารีคฏ็อบรีย์ พิมพ์ที่ยุโรป ๑/๑๑๗๑-๑๑๗๒ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๒/๒๒๒, นะฮฺญุ้ลบะลาเฆาะฮฺอิบนุอบิ้ลหะดีด ๓/๒๖๓ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ-๓/๓๙ ซึ่งได้ตัดคำพูดของท่านศาสดาที่เกี่ยวข้องกับท่านอะลีออก และแทนที่ด้วยคำว่า كذا وكذا , กันซุ้ลอุมาล มุตตะกีย์ฮินดี ๑๕/๑๐๐-๑๑๕/๑๑๖ ส่วนใสหน้าที่ ๑๓๐ ได้ใช้ประโยคว่า اخي وصاحبي ووليكم بعدي หมายถึง “พี่น้องของฉัน เพื่อนของฉันคือผู้ปกครองพวกท่านภายหลังจากฉัน” , ซีรอตุ้ลหะละบียะฮฺ พิมพ์ที่ อิสลามียะฮฺ เบรุต ๑/๒๘๕
[13] ฏอบะกอตอิบนุสะอฺด์ ๓/๑๕ ق – ๑ , มัจมะอุซซะวาอิก ฮัยษัมมีย์ ๙/๑๑๑ ซึ่งบันทึกแตกต่างกันเล็กน้อย
[14] อิบนุมาญะฮฺได้นำหะดีษบทนี้บันทึไว้ใน กิตาบ อัลมุก็อดดิมะฮฺ หมวด ฟะฎออิลุศเศาะฮาบะฮฺ หน้าที่ ๙๒ หนังสือสุนัน เล่มที่ ๑ , กิตาบมะนากิบ ติรฺมิซีย์ ๓/๑๖๙ หะดีษที่ ๒๕๓๑ , กันซุ้ลอุมาล ๖/๑๕๓ พิมพ์ครั้งแรก , มุสนัดอหฺมัดหันบั้ล ๔/๑๖๔/๑๖๕ โดยรายงานมาจากหลายสายสืบ
[15] หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ มักตะบัยนฺ ฟิล อิสลาม ๑/๖๐๘ และหน้าหลังจากนั้น
[16]หนังสืออ้างอิงเล่มเดิม
[17] ตับสีรฺรอซีย์ ตอนอธิบายโองการ ( ان الله اصطفي آدم و... ) , กันซุ้ลอุมาล ๖/๓๙๒,๔๐๕)
[18] ตับสีรฺฏ็อบรีย์ ๒๖/๑๑๖ , ฏะบะกอตอิบนุสะอฺด์ ๒/๑๐๑ ق ๒ , ตะฮฺซีบุตตะฮฺซีบ ๗/๓๓๗ , ฟัตหุ้ลบารีย์ ๑๐/๒๒๑ , หิ้ลลียะตุ้ลเอาลิยาอฺ ๑/๖๗/๖๘ , กันซุ้ลอุมาล ๑/๒๒๘)
[19] มุสตัดร็อกเศาะฮีฮายน์ ๓/๑๒๖ หน้าที่ ๑๒๘ ได้รายงานมาจากสายรายงานอื่น , ตารีคบัคดาด ๔/๓๔๘ , ๗/๑๗๒ , ๑๑/๔๘ ส่วนหน้าที่ ๔๙ ได้รายงานมาจากยะหฺยา บิน มุอีน ซึ่งสะนัดของมันถูกต้องเช่นกัน , อะสะดุ้ลฆอาบะฮฺ ๔/๒๒ , มัจมะอุซซะวาอิด ๙/๑๑๔ , ตะฮฺซีบุตตะฮฺซีบ ๖/๓๒๐ , ๗/๔๒๗ , ฟัยฎุลกะดีรฺ ๓/๔๖ , กันซุ้ลอุมาล พิมพ์ครั้งที่ ๒ ๑๒/๒๐๑ หะดีษที่ ๑๑๓๐ , อัศเศาะวาอิกุมุหฺเราะกะฮฺ หน้าที่ ๗๓
[20] มุสตัดร็อก อัศเศาะฮีฮายน์ ๓/๑๒๗-๑๒๙
[21] ตารีคบัคดาด คอฏีบ ๒/๓๗๗
[22] กันซุ้ลอุมาล พิมพ์ครั้งที่ ๒ ๑๒/๒๑๒ หะดีษที่ ๑๒๑๙ , กะนูซู้ลหะกออิก อัลมะนาวี หน้าที่ ๑๘๘
[23] อัรฺริยาฎุล นุฎเราะฮฺ ๒/๑๙๓
[24] ตารีคบัคดาด คอฏีบ ๑๑/๒๐๔ เศาะฮีย์ติรฺมิซีย์ กิตาบุลมะนากิบ บาบุมะนากิบอะลี บินอบีฏอลิบ ๑๓/๑๗๑
[25] เศาะฮีย์ติรฺมิซีย์ ๑๓/๑๗๑ กิตาบุลมะนากิบ บาบุมะนากิบอะลี บินอบีฏอลิบ , หิ้ลลียะตุ้ลเอาลิยาอฺ อบูนะอีม ๑/๖๔ , กันซุ้ลอุมาล มุตตะดีย์ฮินดี พิมพ์ครั้งแรก ๖/๑๕๖
[26] กันซุ้ลอุมาล มุตตะดีย์ฮินดี พิมพ์ครั้งแรก ๖/๑๕๖
[27] มุสตัดร็อกเศาะฮีฮายน์ ๓/๑๒๒ , กันซุ้ลอุมาล มุตตะดีย์ฮินดี พิมพ์ครั้งแรก ๖/๑๕๖ , กะนูซู้ลหะกออิก อัลมะนาวี หน้าที่ ๑๘๘
[28] หิ้ลลียะตุ้ลเอาลิยาอฺ อบูนะอีม ๑/๖๓
[29] ฮากิม หัสกานีย์ ๑/๑๙๒-๑๙๓
[30] มัจมะอุซซะวาอิด ๙/๑๐๕/๑๖๓-๑๖๕
[31] มัจมะอุซซะวาอิด ๙/๑๖๓-๑๖๕ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๑๐๙/๒๑๓
[32]คำว่า الجحفه ในปทานุกรม المعجم البلدان
[33] “โอ้รอซูลจงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า หากเจ้าไม่ปฏิบัติ เท่ากับเจ้าไม่เคยประกาศสาสน์ของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากมวลมนุษย์” (อัล-มาอิดะฮฺ ๖๗)
[34] ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๑๓
[35]มุสนัดอหฺมัดหันบั้ล ๖/๒๘๑ , สุนันอิบนุมาญะฮฺ บาบฟัฏลิอะลี , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๐๙-๒๑๐
[36] มุสนัดอหฺมัดหันบั้ล ๔/๒๘๒ ,สุนันอิบนุมาญะฮฺ บาบฟัฏลิอะลี, ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๔/๒๑๒
[37]บัศรีย์เป็นเมืองๆ หนึ่งที่อยู่ใกล้กับดามัสกัส ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ใกล้กับแบกแดด ซึ่งในความเป็นจริงท่านศาสดา(ศ็ลฯ) ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมัน
[38]มัจมะอุซซะวาอิด ๙/๑๖๒-๑๖๓-๑๖๕ , บางคำพูดมีในริวายะฮฺของ ฮากิม หัสกานีย์ ๓/๑๐๙-๑๑๐ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๐๙
[39]มุสนัดอหฺมัด ๑/๑๑๘/๑๑๙ , ๔/๒๘๑ , สุนันอิบนุมาญะฮฺ ๑/๔๓ หะดีษที่ ๑๑๖ , มุสนัดอหฺมัด ๔/๒๑๘,๓๖๘, ๓๗๐, ๓๗๒, ได้ใช้คำว่า بلي แทนคำว่า نعم , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๐๙ และในเล่มที่ ๕/๒๑๐ ใช้ประโยคว่า
الست اولى بكل امرئ من نفسه
[40] มุสนัดอหฺมัด ๔/๒๑๘,๓๖๘,๓๗๐,๓๗๒ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๙/๒๐๙,๒๑๒
[41] ริวายะฮฺของฮากิม หัสกานีย์ ๑/๑๙๐ ได้บันทึกว่า (فرفع يديه حتي يرى بياض اطيه) ในหน้าที่ ๑๙๓ ได้บันทึกว่า (حتي بان بياض ابطيهما)
[42] ชะวาฮิดุตตันซีล ๑/๑๙๑ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๐๙ ได้บันทึกประโยคหนึ่งไว้ว่า (انامولىكل مؤمن)
[43] เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในหนังสืออ้างอิงทั้งหมดที่กล่าวมา
[44] ชะวาฮิดุลตันซีล ๑/๑๙๑ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๑๐
[45] ชะวาฮิดุลตันซีล ๑/๑๙๐
[46] “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าสมบูรณ์แล้วสำหรับสูเจ้า และได้ให้ความโปรดปรานของข้าครบถ้วนแก่สูเจ้า และได้พึงพอใจ (เลือก) ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่สูเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ :๓)
[47] หัสกานีย์ ได้รายงานหะดีษบทนี้จาก อบูสอีด คัดรีย์ บันทึกใน ชะวาฮิดุลตันซีล ๑/๑๕๗-๑๕๘ หะดีษที่ ๒๑๑-๒๑๒ ,และรายงานโดยอบูหุรอยเราะฮฺ หน้าที่ ๑๕๘ หะดีษที่ ๒๑๓ , ตารีคอิบนุกะษีรฺได้บันทึกหะดีษดังกล่าวนี้ไว้โดยสรุป
[48] ตารีคยะอฺกูบีย์ ๓/๔๒
[49] มุสนัดอหฺมัด หันบั้ล ๒/๒๘๑
[50] ชะวาฮิดุนตันซีล ๑/๑๕๗-๑๕๘
[51] มุสนัดอหฺมัด หันบั้ล๔/๒๘๑ , สุนันอิบนุมาญะฮฺ บาบ ฟัฎลฺ อะลี อัรฺริยาฏุนนุฎเราะฮฺ ๒/๑๖๙ , ตารีคอิบนุกะษีรฺ ๕/๒๑๐
[52] อิมามะฮฺสีดำของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือมงกุฏที่ท่านสวมให้กับท่านอิมามอะลี (อ.) ในวันนั้น
[53] เศาะฮีย์มุสลิม กิตาบุ้ลหัจญ์ หะดีษที่ ๔๕๑-๔๕๒ , สุนันอบูดาวูด ๔/๕๔ , บาบุ้ลอะมาอิม , ชัรฺหุ้ลมะวาฮิบ ๕/๑๐ คัดลอกมาจาก มะอฺริฟะตุศ เศาะฮาบะฮฺ อบูนะอีม
[54] อัรฺริยาฎุน นุฎเราะฮฺ ๒/๒๘๙ (في ذكر تعميمه اياه بيده ) อะสะดุ้ลฆอบะฮฺ ๓/๑๑๔
[55] อัล-อะศอบะฮฺ ๒/๒๗๔ ตอนที่กล่าวถึงสภาพของอับดุลลอฮฺ บิน บะชัรฺ
[56] กันซุ้ลอุมาล ๒๐/๔๕ , มุสนัด ฏะยาซีย์ ๑/๒๓ , สุนันบัยฮะกีย์ ๑๐/๑๔



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮ์