อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์0%

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ผู้เขียน:
กลุ่ม: กรณีศึกษา
หน้าต่างๆ: 16

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

ผู้เขียน: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 16
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 124159
ดาวน์โหลด: 382

รายละเอียด:

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 16 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 124159 / ดาวน์โหลด: 382
ขนาด ขนาด ขนาด
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ
ประพันธ์โดย อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล อับดุลลอฮ์ บิน กอเซ็ม



คำนำผู้แปล
ถึงแม้การแปลหนังสือเรื่อง อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และนิยายต่างๆ จากต้นฉบับภาษาฟารซี (เปอร์เซีย) ซึ่งประพันธ์โดย ท่านซัยยิดมุรตะฎอ อัสการี ให้เป็นภาษาอังกฤษ โดยท่าน เอ็ม.เจ. มุก็อดดัส จะสิ้นเสร็จลงนับตั้งแต่ปี 2517 แล้วก็ตาม แต่หนังสือนี้ยังไม่เป็นที่แหร่หลายไปทั่วโลก จนกระทั่ง Islamic Thought Foundation แห่งเตหราน ได้เริ่มจัดพิมพ์เผยแผ่นับจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ในปี 2522 เป็นต้นมา จึงทำให้หนังสือนี้ได้รับการถ่ายทอดออกเป็นภาษาต่างๆ ของโลกอย่างมากมาย และภาษาไทยซึ่งถือเป็นภาษาหนึ่งของชาวอาเชี่ยน ก็ได้รับเกียรติถ่ายทอดหนังสืออันทรงคุณค่ายิ่งเล่มนี้ให้ชาวไทยได้ใช้ค้นคว้าศึกษาหาความรู้แจ้งเห็นจริงในประวัติศาสตร์อิสลาม ที่เคียงคู่อยู่กับมวลมุสลิมมานานนับพันกว่าปีแล้ว

ในฐานะที่ผู้แปลเคยได้ยินได้ฟังมาจากฝ่ายซุนนะฮ์ ตลอดสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ดังว่าชีอะฮ์ มีต้นกำเนิดมาจากการเผยแพร่ของชาวยิวคนหนึ่งชื่อ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เดินทางมาจากเยเมน และมาเข้ารับอิสลามในสมัยของคอลีฟะฮ์อุศมาน จากการเผยแพร่ลัทธิแนวคิดผิดๆที่เขาแทรกซึมเข้ามาในอิสลาม ทำให้สาวกชั้นนำของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)บางคน เช่น อบูซัร อัล กิฟารี เห็นดีเห็นงาม และใช้แนวคิดนี้เป็นแม่แบบเพื่อเผยแพร่แนวความเชื่อของชีอะฮ์ อะลี สืบต่อมา จนก่อให้เกิดสงครามอูฐขึ้นในที่สุด

เมื่อผู้แปลได้มีโอกาสเป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่หนึ่งเมื่อประมาณปี 2532 ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ปี 2521 โดย A Group Of Muslim Brothers ที่เตหราน และเมื่อได้ศึกษาอย่างจริงจัง จึงได้มารู้ความจริงว่า ข้อมูลฝ่ายซุนนะฮ์ ที่นำเสนอในเรื่องนี้มีความขัดแย้งกัน บ้างว่าชีอะฮ์ถือกำเนิดนับตั้งแต่วาระแรกที่ท่านนบี (ศ็อลฯ) ถึงแก่อสัญกรรม บ้างว่าเริ่มขึ้นในสมัยคอลีฟะฮ์อุศมาน ซึ่งมีเวลาห่างกันอยู่ถึงประมาณ 20 ปี

ด้วยแรงผลักดันที่ประสงค์จะได้เห็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมวลหมู่มุสลิมได้คลี่คลายสลายลง ผู้แปลจึงตัดสินใจที่จะแปลหนังสือนี้ให้สำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม และในที่สุดงานแปลได้มาเสร็จสิ้นลงเมื่อต้นปี 2543 จึงถือเป็นการต้อนรับปีแห่งการรณรงค์ เพื่อการศึกษาของสังคมอิมามียะฮ์ เพื่อรอคอยการมาของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ไปด้วยในตัว

ผู้แปลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สัจธรรมความจริงที่ปราฏกอยู่ในเนื้อหาของหนังสือนี้ จะเป็นคำตอบให้กับฝ่ายซุนนะฮ์ ได้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เป็นตัวละครที่ท่านฏอบารี และนักประวัติศาสตร์มุสลิมท่านอื่นๆ นำมาบรรจุไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม อันมีชื่อเสียงของพวกท่านได้อย่างไร

ผู้แปลขอขอบคุณ สำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่นของสถาบันฯ ที่ได้เอาเป็นธุระดำเนินการจัดพิมพ์ โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนสำเร็จลุล่วงเป็นสมบัติอันมีค่ายิ่งในบรรณพิภพของสังคมมุสลิมไทยสืบไป ขอวิงวอนให้ปากกาทุกด้ามของมวลมุสลิม ได้เขียนพระดำรัสอันอมตะดังว่า มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซบ.) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงประสพแด่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ผู้เป็นศาสดาองค์สุดท้าย และครอบครัวอันบริสุทธิ์สะอาดของท่าน(อ.)

อับดุลลอฮ์ บิน กอเซ็ม 15 มิถุนายน 2543
12 รอบิอุลเอาวัล 1421 กรุงเทพมหานคร



คำนำสำนักพิมพ์
หนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ซึ่งทางสำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลามจัดพิมพ์นั้น ขณะนี้มีด้วยกันสามแนวใหญ่ๆ คือ หนังสือที่เป็นตัวบทคำสอนของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และอะห์ลุลบัยต์(อ.) เช่น สุนทโรวาทอันตรึงใจของสิบสี่มะอ์ซูมีน(อ.) สนทโรวาทของอิมามอะลี(อ.) ช่อบุปผชาติฯ ที่เป็นประวัติศาสตร์อิสลามเชิงวิเคราะห์ เช่น ชีอะฮ์คือซุนนะฮ์ที่แท้จริง อบูฮุรอยเราะฮ์ อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ มหาบุรุษของโลก ชำระประวัติศาสตร์อิสลามและมุสลิม และที่เป็นหนังสือค้นคว้าในเชิงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็มี ดาราศาสตร์ อิสลาม มหานครมักกะฮ์ศูนย์กลางแห่งความมหัศจรรย์ของโลก เป็นต้น และในอนาคตอันใกล้นี้ อาจเพิ่มแนวปรัชญาอิสลามขึ้นอีกแขนงหนึ่ง (หากอัลลอฮ์(ซบ.) ทรงประสงค์)

ดังนั้น หนังสือ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และนิยายต่างๆ ในภาคภาษาไทยเล่มนี้ จึงถูกจัดให้อยู่ในแนวประวัติศาสตร์อิสลามเชิงวิเคราะห์ ซึ่งผู้อ่านที่เคารพคงจะได้สังเกตเห็นถึงแนวใหญ่ๆ สามแนวดังกล่าวที่ผู้จัดพิมพ์ได้นำเสนอต่อท่านอย่างเป็นระบบ และนำสู่ตลาดหนังสืออย่างต่อเนื่องเพื่อความสะดวกของท่านในการศึกษาค้นคว้า และการสะสมหนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม

สำนักพิมพ์ตระหนักดีอยู่เสมอว่า หนังสือแนวประวัติศาสตร์อิสลามเชิงวิเคราะห์นี้ มักจะเป็นเผือกร้อนที่ไม่มีผู้ใดอยากแตะต้อง แต่เมื่อมันหายร้อนเมื่อใด ผู้คนจึงจะเห็นคุณค่าของมัน สิ่งนี้เป็นจริงกับหนังสือแนวดังกล่าวนี้ของสำนักพิมพ์ทุกเล่ม มาบัดนี้ผู้คนเริ่มถามหาทั้งๆที่เราได้จัดพิมพ์หนังสือแนวนี้มาตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งบางเล่มจำเป็นจะต้องจัดพิมพ์เป็นครั้งที่สอง

เจตนารมณ์หลักของสำนักพิมพ์ ก็คือ ต้องการให้ท่านผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาค้นคว้า ทั้งที่เป็นมุสลิมและผู้คนโดยทั่วไป ได้อยู่ใกล้ชิดกับความจริงซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว และห่างไกลจากความเท็จที่ปรากฏอยู่ตามบรรทัดต่างๆของหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม ทั้งนี้เพราะแหล่งที่มาของประวัติศาสตร์อิสลามบางแหล่งนั้นเป็นเท็จ เช่นของ ซัยฟ์ อิบนิ อุมัร อัตตะมีมี มันจะเป็นไปได้อย่างในเมื่ออิสลามกับความสัตย์จริงนั้นเป็นของคู่กัน แต่เรากลับได้เห็นว่าหนังสือที่ได้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์อิสลามบางเล่มกลับใช้หลักฐานที่มาเป็นเท็จ ซึ่งไม่อาจทนทานต่อการถูกพิสูจน์ในเชิงวิชาการอย่างเข้มงวดกวดขันได้

ท่านอัลลามะฮ์ ซัยยิด อัสการี นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของโลกอิสลามที่มีชีวิตร่วมสมัยกับเรา ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงนี้อย่างไม่อาจโต้แย้งใดๆ ได้ ดังนั้นความปรารถนาของท่านที่ประสงค์จะได้เห็นพวกเราได้รับทางนำไปสู่ความสำเร็จ และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์(ซบ.) จึงถือได้ว่าสัมฤทธิผลไปส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อหนังสือเล่มนี้และเล่มอื่นๆ ของท่านได้รับการถ่ายทอดออกเป็นภาษาต่างๆไปทั่วโลก

สำนักพิมพ์ขอขอบคุณต่อผู้แปล และทุกท่านที่มีส่วนช่วยเหลืออันสำคัญที่ทำให้หนังสืออันทรงคุณค่ายิ่งเล่มนี้สำเร็จลงได้ดังหมาย พระองค์เท่านั้นที่เราสรรเสริญ และพระองค์เท่านั้นที่เราแสวงหาความช่วยเหลือ และพระองค์เท่านั้น ที่ทรงตอบแทนรางวัลของพระองค์ให้กับข้อทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์อย่างไม่อาจคำนวณนับได้

สำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันการส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม 15 มิถุนายน 2543 12 รอบิอุลเอาวัล 1421



ประวัติผู้เขียน : ซัยยิด มุรตะฏอ อัสการี
เกิดที่เมืองสมัรรออ์อันศักดิ์สิทธิ์(อิรัก) เมื่อวันที่ 8 ญะมาดิซซานี ฮ.ศ. 1332 ท่านได้รับการศึกษาในเฮาซะฮ์ (ศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลาม) และในเดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ. 1350 ท่านได้ย้ายไปยังเมืองกุมอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอิหร่านและอยู่ที่นั่นจนถึงปี ฮ.ศ. 1353

ในเมืองกุม ท่านและมิตรสหายของท่านอีกสองท่านคือ อยาตุลลอฮ์ เชค มุรตะฎอ เฮรีและซัยยิด อะห์มัด ซัจญาดี ได้ร่วมกันศึกษาวิชานิติศาสตร์และหลักนิติบัญญัติอิสลาม จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประสาทวิชาการศาสนาที่ยิ่งใหญ่ อาทิเช่น อยาตุลลอฮ์ ซัยยิด ชิฮาบุดดีน มัรอะชี นะญะฟี (รอ.) และอยาตุลลอฮ์ เชค มุฮัมมัด ฮูเซน ชารีอัต มะดารี เป็นต้น อัลลามะฮ์ซัยยิดมุรตะฏอ อัสการี ยังได้เคยเข้าศึกษาในชั้นเรียนเกี่ยวกับวิชาปรัชญาของอิมามโคมัยนี(รอ.) อยู่หลายครั้งเช่นกัน หลักสูตรการอรรถาธิบายอัล กุรอาน กับเชค มิรซา คอลีล คัมรี และวิชารหัสยศาสตร์กับอยาตุลลอฮ์ เชคมะฮ์ดี ชาฮิดี (ผู้บริหารสถานศึกษาริดวี) เป็นที่น่าสังเกตว่าอยาตุลลอฮ์ เชคมะฮ์ดี ชาฮิดี พำนักอยู่ในสถานศึกษาริดวีเป็นเวลาสองปี จากนั้นท่านเดินทางไปยังเฮาซะฮ์ซะฮ์ฟัยซิยะฮ์ ความจริงท่านได้แสดงบทบาทที่สำคัญในการสร้างบุคลิกภาพของ อัลลามะฮ์ อัสการี และเป็นที่ปรึกษาที่แท้จริงของท่าน

บุรุษแห่งความรู้และการปฏิวัติ นับตั้งแต่ท่านมีอายุ 15 ปี อัลลามะฮ์ อัสการีได้แสดงความสนใจอย่างแรงกล้าในวิชาประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวไปในโลกของการสำรวจตรวจสอบ เนื่องแต่ผลลัพธ์แห่งความพยายามของท่าน ท่านได้เพิ่มพูนความรู้ในขอบข่ายนี้ ซึ่งมากกว่าความรู้ระดับขั้นธรรมดาในหมู่เพื่อนร่วมชั้นเรียนของท่าน ภายหลังการศึกษางานเขียนของลูกศิษย์อยาตุลลอฮ์ชิราซี เกี่ยวกับกฎหมายยาสูบ และข้อมูลที่ชาวตะวันตกเขียนเกี่ยวกับประเทศมุสลิมในบันทึกของพวกเขา ท่านสามารถวิเคราะห์วันที่นักล่าอาณานิคมเริ่มบุกรุกประเทศมุสลิมได้ ด้วยความสามารถพิเศษและความมีสติปัญญาของท่าน ทำให้ท่านประจักษ์ถึงเป้าหมายที่ชั่วร้ายของนักล่าอาณานิคม ที่จะแพร่กระจายการครอบงำทางสติปัญญาและวัฒนธรรมไปทั่วทั้งโลกอิสลาม และเปิดเผยหลักฐานของพวกเขา การรุกรานทางสติปัญญาไม่ได้สิ้นสุดยุติลง ด้วยจุดจบที่การยึดครองโดยตรงของนักล่าอาณานิคมเหนือประเทศมุสลิม แต่มันยังคงดำเนินต่อไปอย่างลับๆ ท่านยังค้นพบเกี่ยวกับความพยายามอย่างจงใจที่เป็นอันตราย ในการผสมผสานความคิดและทัศนคติอิสลามที่บริสุทธิ์กับความคิดตะวันตกสมัยใหม่ ตลอดจนผลที่จะติดตามมาภายหลัง ในการผันแปรข้อมูลที่เป็นจริงของอิสลามในหัวใจของผู้คนยุคอนาคตอีกด้วย

อัลลามะฮ์ อัสการี อยู่ในหมู่นักวิชาการอิสลามคนแรกๆ ของอิรักที่ตรวจพบเหตุผลที่แท้จริงของหลักสูตรการศึกษาที่ตระเตรียมโดยที่ปรึกษาชาวตะวันตกในโรงเรียนรัฐบาล สำหรับเยาวชนในประเทศมุสลิม หลังจากการศึกษาตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ท่านได้อธิบายถึงความแตกต่างอย่างมากมาย ระหว่างหลักสูตรของประเทศต่างๆ อย่างเช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ กับหลักสูตรการศึกษาของประเทศที่เคยถูกยึดครอง และการอรรถาธิบายตำราเรียนประกอบการศึกษาของพวกเขา

จากความแตกต่างเหล่านี้ ท่านพบว่าเหตุผลหลักประการหนึ่งของการถดถอยของประเทศมุสลิม อยู่ที่หลักสูตรและแนวความคิดทางการศึกษาเหล่านี้ นั่นคือ เหตุผลที่ท่านขนานนามโรงเรียนของเราว่า “โรงงานจัดเตรียมลูกจ้างในอนาคต” เพราะโรงเรียนต่างๆ ในเวลานั้นได้ผลิตเสมียนประจำสำนักงาน ซึ่งจะกระทำทุกอย่างเพื่อให้คำสั่งของมหาอำนาจเป็นผลสำเร็จ และปฏิบัติงานในสังคมเป็นขั้นเป็นตอน โดยปราศจากการโต้แย้งหรือปฏิกิริยาใดๆ

อัลลามะฮ์ อัสการี ยังได้ค้นพบการขาดความสัมพันธ์ระหว่างเฮาซะฮ์และมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ อันเป็นเสาหลักทั้งสองที่สำคัญอย่างยิ่งนี้ของสังคมอิสลาม เฮาซะฮ์แยกตัวออกไปและหมกมุ่นอยู่กับการฝึกฝนนักเรียนเพื่อให้กลายเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในความรู้และผู้ประสาทวิชาการในอนาคตของเฮาซะฮ์เพียงเท่านั้น มหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกันมีความโอนเอียงไปทางตะวันตก และเป็นคนแปลกหน้าในสังคมอิสลาม

เพราะฉะนั้น จึงมีความต้องการต่อการเคลื่อนไหวในอันที่จะปัดเป่าความเฉื่อยชา และกำจัดการแยกตัวออกไปและความอ่อนแอ อัลลามะฮ์ อัสการี เริ่มการเคลื่อนไหว ในช่วงที่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองกำลังเป็นอันตรายต่อประเทศและประชาชนอิรัก กิจกรรมแรกของท่านคือ การตระเตรียมการประชุม เพื่อให้ความรู้และให้การศึกษาแก่ประชาชน ในขณะเดียวกัน ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนและวางสารัตถะทางแนวความคิดสำหรับพวกเขาด้วยตัวท่านเอง จากนั้นท่านได้แนะนำโรงเรียนนี้ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนหลัก ในโรงเรียนนี้ นักวิชาการหลายคนอย่างเช่น เชคมิรซา นัจมุดดีน ชารีฟ อัสการี เชคฮาซัน กุเมลี ซัยยิดญะอ์ฟัร ชะฮ์ริสตานี และเชคมะฮ์ดี ฮากีม ร่วมสอนอยู่ด้วย เช่นเดียวกับนักปฏิรูปคนอื่นๆในศตวรรษที่ผ่านๆมา ในขณะที่ก่อตั้งและวางแผนงาน อัลลามะฮ์ อัสการีก็เผชิญกับการต่อต้านขัดขวางจากฝ่ายตรงข้ามที่อวิชชาและมีความคิดล้าสมัย ดังนั้นท่านจึงเห็นว่า ควรเขียนหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตก และการรุกรานทางสติปัญญาในประเทศมุสลิม และวางโครงการต่างๆมากมายเพื่อเผชิญหน้ากับการรุกรานนี้ แผนงานบางอย่างเหล่านี้ คือ

ก) จัดตั้งโรงเรียนสมัยใหม่ เพื่อให้การศึกษาแก่คนรุ่นใหม่และให้การแนะนำพวกเขาสู่วัฒนธรรมและการศึกษาแบบอิสลาม

ข) จัดตั้งโรงเรียนที่ผลิตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในศาสนาอิสลาม ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้ของพวกเขาไปสู่สังคม

ค) จัดพิมพ์หนังสือและวารสารเกี่ยวกับอิสลาม

จากนั้นไม่นานท่านได้กลับไปยังอิรักและจัดตั้งโรงเรียน “มุนตะดา อัลนัชร์” ขึ้นที่กาซิมัยน์ร่วมกับ ดร. อะห์มัด อามีน เพื่อสอนวิชาการศาสนาและฝึกฝนวิชาการอย่างเป็นเอกเทศ ภายหลังจากเสร็จสิ้นแผนงานขั้นที่สองของโรงเรียนแล้ว อัลลามะฮ์ อัสการี ได้เริ่มชีวิตทางศาสนาระยะที่สองของท่าน ท่านกลับไปยังสะมัรรอฮ์ และใช้เวลาสองปีเพื่อศึกษาและได้รับความรู้ทางนิติศาสตร์อิสลาม อย่างเป็นการเฉพาะจากศาสนาจารย์ของท่าน คือ อยาตุลลอฮ์ อิชติฮารดี ขณะเดียวกันท่านได้เขียนและแก้ไขหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติแนวความคิดอิสลาม ท่านแบ่งการสืบค้นของท่านออกเป็นหลายส่วน ประกอบด้วยระยะที่แตกต่างกันของการก่อรูปแบบแนวความคิดอิสลาม จากจุดเริ่มต้นระยะแรกๆของการปรากฏขึ้นของอิสลาม จนกระทั่งจบสมัยการปกครองของราชวงศ์อับบาสิยะฮ์

อุปสรรคสำคัญของความก้าวหน้าในการวิจัยของท่านคือ วจนะ(ฮะดิษ) จำนวนมากที่ได้รับการยอมรับโดยมุสลิมส่วนใหญ่ ขาดความน่าเชื่อถือหลังจากศึกษาในรายละเอียด ตัวอย่างเช่น วจนะที่รายงานโดยอุมมุลมุอ์มินีน (อาอิชะฮ์) อบูฮุรอยเราะฮ์ อิบนิอับบาส อนัส บินมาลิก และคนอื่นๆ ผลลัพธ์ของการวิจัยและศึกษานี้สะอาดบริสุทธิ์ยิ่ง หลังจากอัลลามะฮ์ อัสการี ได้พบข้อผิดพลาดที่ไม่อาจโต้แย้งได้ในรายงานเหล่านี้ รายงานเกือบทั้งหมดที่ไร้หลักฐานคือฮะดิษของ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” และ “ซอฮาบะฮ์ที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นหนึ่งร้อยห้าสิบคน” ตามผลลัพธ์ของการสืบค้นวิจัยที่สำคัญนี้ ทำให้ข้อเท็จจริงอันเป็นที่รู้กันบางส่วน ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาชนตลอดหลายศตวรรษ ได้สูญเสียความน่าเชื่อถือของมันลงไป และรากฐานข้อเขียนและการรายงานของฏอบารี และนักประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ ไม่ได้รับการสนับสนุน หนังสือเล่มแรกของอัลลามะฮ์ อัสการี ที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับการวิจัยสืบค้นเหล่านี้ ในปี ฮ.ศ. 1375 คือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” และ “ร่วมมือกับ ด็อกเตอร์ อัล วัรดี”

ถึงแม้ว่า อัลลามะฮ์ อัสการี จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดของท่านทำการศึกษาและเขียนหนังสือ ท่านก็ไม่เคยละทิ้งกิจกรรมทางศาสนาและสังคมของท่าน เพียงเวลาสั้นๆหลังจากนั้น ท่านตัดสินใจที่จะดำเนินกิจกรรมของท่านอย่างมั่นใจ และจัดตั้งโรงเรียนศาสนาและเฮาซะฮ์ที่พิเศษหลายแห่ง แต่แผนงานที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของอัลลามะฮ์ อัสการี คือ การจัดตั้งโรงเรียนศาสนาในแบกแดดในปี ฮ.ศ. 1384 เพื่อเปิดมหาวิทยาลัยอิสลามที่กว้างใหญ่ขึ้น ด้วยความชำนาญในขอบข่ายวิชาการทั้งหมด

หลังจากการปรากฏขึ้นของพรรคบาธ ซึ่งเป็นผู้ปฏิเสธและปกครองเหนือกิจการอิรัก อัลลามะฮ์ อัสการี ภายใต้การนำของ อยาตุลลอฮ์ ฮากีม(รอ.) และแนวร่วมอื่นๆ ได้แสดงการต่อต้านการปกครองของพรรคบาธ ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ พรรคบาธได้ออกคำสั่งจับกุม อัลลามะฮ์ อัสการี และท่านต้องออกจากอิรักในปี ฮ.ศ. 1389 และเดินทางไปเลบานอน พร้อมด้วยผู้นำศาสนาคนสำคัญอื่นๆ ภายหลังเมื่อท่านพบว่าพรรคบาธต้องการจับกุมและลักพาตัวท่าน อัลลามะฮ์ อัสการี จึงตัดสินใจเดินทางมายังอิหร่าน

ปัจจุบันนี้ อัลลามะฮ์ อัสการี ได้อุทิศเวลาเกือบทั้งหมดของท่าน ให้กับการจัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสืออันมีค่า ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวางของท่านจำนวนมากกว่า 53 เรื่อง โดยไม่คำนึงถึงวัยอันชราภาพของท่าน เพื่อให้หนังสือเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการปกป้องอิสลาม และทำให้ธงชัยอันสูงส่งของอิสลามโบกสะบัดไหวอยู่เหนือประเทศมุสลิมทั้งมวล

คำวิจารณ์โดย ดร. ฮามิด ฮัฟนี ดาวูด ศาสตราจารย์ภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยไคโร

สัจธรรมเบื้องหลังเรื่องอุปโลกน์
อิสลามได้รับการเฉลิมฉลองวันเกิดครบ 1300 ปีไปแล้ว ระหว่างเวลานี้นักเขียนผู้รู้บางส่วนของเราได้ใส่ไคล้ชีอะฮ์ว่า ไม่มีทัศนะแบบอิสลาม นักเขียนเหล่านั้นได้แผ่อิทธิพลความเห็นของตนต่อส่วนรวมต่อต้านชีอะฮ์และสร้างช่องว่างความแตกต่างระหว่างพี่น้องมุสลิม นอกจากผู้มีวิทยปัญญาและการศึกษาแล้ว บรรดาศัตรูของชีอะฮ์ได้ดำเนินตามความเชื่อที่นักเขียนเหล่านั้นคิดขึ้นเอง และปกปิดสัจธรรมความจริงบางส่วนและใส่ไคล้ชีอะฮ์ว่าเป็นพวกที่มีความเชื่อผิดๆ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้วิชาการอิสลามได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะทัศนะของชีอะฮ์ถูกปิดบังอำพราง

ตามผลลัพธ์ของการใส่ไคล้เหล่านี้ ความเสียหายของวิชาการอิสลาม มีมากกว่าความเสียหายที่ชีอะฮ์เองได้รับเสียอีก เพราะแหล่งของนิติศาสตร์ แนวความคิดที่มีค่าและทรงคุณประโยชน์ของแนวทางนี้ได้ถูกทอดทิ้ง เป็นผลให้ความรู้ถูกจำกัด

ในอดีตผู้รู้ของเราได้สร้างความเสียหายไว้ มิเช่นนั้นแล้วเราจะได้รับประโยชน์จากทัศนะจำนวนมากของชีอะฮ์ ใครก็ตามที่ต้องการทำงานวิจัยเกี่ยวกับนิติศาสตร์อิสลาม จะต้องถือว่าชีอะฮ์เป็นแหล่งข้อมูลเช่นเดียวกับของซุนนี

ไม่ใช่ อิมามญะอ์ฟัร อัซ ซอดิก (เสียชีวิต ฮ.ศ. 148) ผู้นำของชีอะฮ์ดอกหรือที่เป็นครูของอิมามซุนนีสองท่าน? คือ อบูฮะนีฟะฮ์ อัล นุอ์มาน บิน ซาบิต (เสียชีวิต ฮ.ศ. 150) และอบูอับดุลลอฮ์ มาลิก บิน อนัส (เสียชีวิต ฮ.ศ. 179) อบูฮะนีฟะฮ์กล่าวว่า “หากไม่มีสองปีนั้น นุอ์มานจะต้องพินาศแน่นอน” หมายถึงสองปีที่เขาได้รับประโยชน์จากความรู้ของอิมามญะอ์ฟัร อัซ ซอดิก

มาลิก ก็เช่นกันได้สารภาพอย่างตรงไปตรงมาว่า “เขาไม่เคยพบเห็นใครมีความรู้ในนิติศาสตร์อิสลามมากกว่า อิมามญะอ์ฟัร อัซ ซอดิก(อ.)” โชคไม่ดีที่ผู้ที่เรียกกันว่า ผู้รู้ ไม่ถือกฏเกณฑ์สำหรับการวิจัยเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ของพวกเขา เนื่องจากความรู้ไม่ถูกเปิดเผยแก่พวกเขาทั้งหมด และพวกเขาได้สร้างช่องว่างที่กว้างใหญ่ระหว่างมุสลิมขึ้น อะห์มัด อามีนเป็นผู้หนึ่งที่ได้คร่าเอาแสงสว่างของความรู้ไป เหลือไว้เพียงความมืดมิด แต่กระนั้นเทียนของชีอะฮ์ก็ยังคงส่องสว่างอยู่เสมอและไม่มีแสงอื่นๆอีกแล้ว

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกรอยเปื้อนนี้บนเสื้อคลุมของอะห์มัด อามีน และพรรคพวกของเขา ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทาง (มัศฮับ) หนึ่งโดยเฉพาะอย่างมืดบอด ในความผิดพลาดจำนวนมากที่เขาได้สร้างขึ้นที่ฉกรรจ์ที่สุดคือการเล่าเรื่องราวของ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” นี่เป็นเรื่องโกหกที่เล่าเพื่อใส่ความชีอะฮ์ว่า เป็นพวกนอกรีตและเป็นเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว

ในหนังสือเล่มนี้ของนักค้นคว้าวิจัยที่ยิ่งใหญ่ในยุคปัจจุบัน ท่านซัยยิด มุรตะฎอ อัสการี ที่น่านับถือ ได้พิสูจน์ด้วยหัวข้อใหญ่ใจความที่ชัดเจนว่า “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” เป็นการอุปโลกน์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการโกหกที่ยิ่งใหญ่ที่จะกล่าวว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งแนวทางชีอะฮ์ ซัยยิด มุรตะฎอ อัสการี มีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้ง ในเรื่องประวัติศาสตร์ และได้พิสูจน์จากแหล่งข้อมูลซุนนีว่าศัตรูของชีอะฮ์เป็นผู้ผิดพลาด จากยุคสมัยแรกของอิสลามจนกระทั่งปัจจุบัน เรื่องราวที่เหมือนกันเกี่ยวกับ “อับดุลลอฮ์ อิบนะ สะบาอ์” ซึ่งเล่าโดยซัยฟ์ อิบนิ อุมัร ได้รับการเชื่อถือเหมือนกับมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นจริง แต่ในหนังสือเล่มนี้มีการศึกษาวิจัยที่กว้างขวางเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องทั้งหมด

พระเจ้าทรงบัญชาว่าผู้รู้บางคนจะเปิดเผยความจริง โดยไม่คำนึงถึงการกล่าวร้ายที่พวกเขาอาจจะได้รับ ผู้บุกเบิกในขอบข่ายนี้คือ ท่านผู้เขียนที่น่านับถือของหนังสือเล่มนี้ ผู้ที่ทำให้ผู้รู้ซุนนีที่ศึกษาวิจัย ต้องพิจารณาแก้ไขหนังสือประวัติศาสตร์ของฏอบารี (ประวัติศาสตร์ของประชาชาติและกษัตริย์) รวมทั้งเลือกเฟ้นเรื่องราวที่เชื่อถือได้ออกจากเรื่องราวที่ผิดพลาด เรื่องราวที่ยังคงไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขมานานหลายศตวรรษเสมือนเป็นวิวรณ์ของพระเจ้า

ท่านผู้เขียนอันทรงเกียรติ ได้ปลดเปลื้องม่าน หรือสิ่งเคลือบคลุมออกจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เหล่านั้น ด้วยหลักฐานอย่างมากมาย และเปิดเผยความจริงในวิถีทางที่ดีที่สุด ในขอบข่ายที่ความจริงบางประการดูประหนึ่งเป็นเรื่องน่าตกใจ แน่นอนบางเรื่องราวปรากฏออกมาว่า ขาดความน่าเชื่อถือ โดยที่เรื่องราวเหล่านี้ขัดแย้งกับความเชื่อในช่วงชีวิต และมรดกทางศาสนาในศตวรรษก่อนๆของเรา แต่เราต้องยอมรับสัจธรรมความจริง ไม่ว่ามันจะปรากฏขึ้นอย่างยากเย็นแสนเข็ญสักเพียงใด “สัจธรรมคือสิ่งที่ดีที่สุดที่จะดำเนินตาม”

เพื่อที่จะรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทั้งหมด บุคคลผู้หนึ่งต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ และพินิจพิเคราะห์เหตุการณ์ที่มีความเห็นแตกต่าง อาทิเช่น “กองทัพของอุซามะฮ์” “การสิ้นชีวิตของท่านศาสดา” “เรื่องราวที่สะกีฟะฮ์” เรื่องราวทั้งหมดได้รับการตรวจสอบจากผู้เขียน

เมื่อท่านศาสนทูตของพระเจ้าใกล้สิ้นชีวิต มีคนบางคนผละออกจากกองทัพของอุซามะฮ์โดยปราศจากการอนุญาต และเดินทางกลับนครมะดีนะฮ์ ด้วยความหวังว่าจะได้รับตำแหน่งที่ได้รับสิทธิพิเศษ ผู้เขียนได้แนะนำบุคคลเหล่านี้แก่เรา เมื่อใกล้สิ้นชีวิตท่านศาสดาต้องการเขียนคำสั่งเสีย แต่มีคนบางคนเมินเฉยต่อความต้องการนี้ และเรียกมันว่าเป็นอาการเพ้อของคนใกล้สิ้นชีวิต บางทีพวกเขาอาจหวั่นเกรงความเป็นไปได้ต่อการแนะนำอิมามอะลีในฐานะผู้สืบทอดของท่าน

ผู้เขียนได้เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ อุมัรมีอะไรอยู่ในหัวใจของเขา ในการปฏิเสธการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ? ทำไมเขาจึงคุกคามจะสังหารบรรดาผู้ที่แพร่กระจายข่าวการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ? ระหว่างเวลาที่ท่านอิมามอะลี ญาติของท่านศาสดา อับบาสลุงของท่านและผู้อาวุโสหลายคน กำลังอาบน้ำให้ร่างของท่านศาสดาอยู่นั้น อุมัร และอบูอุบัยดะฮ์รีบเร่งไปยังสะกีฟะฮ์ (ห้องที่หลังคาเป็นเพิง) และเรียกร้องให้ประชาชนให้สัตยาบันแสดงความภักดีต่อ อบูบักร กระนั้นหากพวกเขารอจนกระทั่งการฝังร่างของท่านศาสดาเสร็จเรียบร้อย อะลีก็เป็นผู้ที่น่าจะได้รับตำแหน่งผู้สืบทอดของท่านศาสดาเพียงผู้เดียว และบนีฮาชิมก็รู้ว่าไม่มีใครเลยแม้สักคนเดียว

ผู้เขียน ได้เลือกเฟ้นความจริงออกมาจากความผิดพลาด สิ่งที่ดีออกจากสิ่งที่เสียหาย ในสามหัวข้อที่กล่าวมาแล้ว จนกระทั่งท่านสามารถเข้าถึงความจริงที่ชัดแจ้ง และเป็นเพราะการศึกษาวิจัยของท่าน ประตูของความเข้าใจผิดและการหลอกหลวงได้ถูกปิดไปตลอดกาลสำหรับผู้วางแผนทั้งหลาย เนื้อหาอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ เผยให้เห็นถึงสัจธรรมอย่างชัดเจนยิ่งว่า ในอนาคตอันใกล้การปฏิรูปอย่างกว้างขวางในประวัติศาสตร์อิสลามจะเกิดขึ้น

ข้าพเจ้าขอเสนอคำถามสามข้อแก่ท่านผู้อ่านก่อนจบข้อวิจารณ์ของข้าพเจ้า สาวกผู้ใกล้ชิดของท่านศาสดาสามารถทำความผิดได้หรือไม่ ? เราสามารถวิจารณ์ผลงานของเขาได้หรือไม่ ? เราสามารถกล่าวว่า สาวกที่น่าเคารพของท่านศาสดาเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกหรือไร้ศรัทธาได้หรือไม่ ?

คำตอบของสองข้อแรกเป็นบวก แต่คำตอบข้อสุดท้ายเป็นลบ ไม่ใช่เพราะข้าพเจ้ามีใจอคติ และกล่าวบางสิ่งบางอย่างค้านต่อตรรกะ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ข้าพเจ้ามีเหตุผลที่ชอบและสมเหตุสมผล สำหรับการปฏิเสธและความกลับกลอกนั้นมาจากหัวใจ และไม่มีใครนอกจากอัลลอฮ์ที่รู้รายละเอียดในหัวใจของเรา และความลับของผู้คน ข้าพเจ้ายินดีที่จะให้การยกย่องอย่างมากมายแก่หนังสือเล่มนี้และแก่ซัยยิดมุร ตะฎอ อัสการี ผู้เขียนที่ทรงเกียรติ ซึ่งเป็นนักศึกษาวิจัยผู้ทรงความรู้ ข้าพเจ้ายังขอแสดงความยินดีต่อคุณมุรตะฎอ ริดวี กิชมิรี (ผู้จัดพิมพ์) ซึ่งผลิตหนังสือนี้ออกมาในรูปแบบที่น่าประทับใจ ท่านได้บรรลุภาระหน้าที่ของท่านแล้วในการรับใช้อิสลาม ความรับผิดชอบนี้นำไปสู่ความมีน้ำหนักอย่างมากมายในการกลับคืนมาของประวัติศาสตร์อิสลามที่แท้จริง ดร. ฮามิด ฮัฟนี ดาวูด 12 ตุลาคม ค.ศ. 1961 ไคโร อียิปต์

คำวิจารณ์โดย เชค มะฮ์มูด อบู รอยยะฮ์
เชค อบูรอยยะฮ์ นักวิชาการคนหนึ่งของอียิปต์ได้ส่งจดหมายต่อไปนี้ไปยัง อัลลามะฮ์ มุรตะฎอ อัสการี และถามถึงหนังสือ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

ศาสตราจารย์เชค มุรตะฎอ อัสการี นะญัฟ อิรัก

ขอความสันติและความเมตตาจาก อัลลอฮ์(ซบ.)จงมีแด่ท่าน

เมื่อเร็วๆนี้มีการอภิปรายถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการมุสลิม ด้วยหัวข้อที่หลากหลาย รวมทั้งข้อเขียนที่มีประโยชน์ของนักวิชาการ และนักเขียนซึ่งเป็นที่สนใจของบรรดามุสลิม ผู้แทนคนหนึ่งได้กล่าวถึงหนังสือที่มีคุณค่าชื่อ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ซึ่งท่านเป็นผู้เขียนและในหนังสือดังกล่าว นับเป็นครั้งแรกที่ท่านได้พูดอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับแนวความคิดที่เป็นนิยาย ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าพเจ้ามีความสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ และหวังว่าคงได้รับต้นฉบับโดยตรงจากท่าน ข้าพเจ้าจะเป็นหนี้ต่อท่านอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าท่านสามารถส่งต้นฉบับมายังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจมาล่วงหน้า ขอความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์(ซบ.) จงมีแด่ท่าน มะฮ์มูด อบู รอยยะฮ์ อียิปต์ อัล กอบิเราะฮ์ 20 รอญับ ฮ.ศ. 1380 11 มิถุนายน ค.ศ. 1960

หลังจากเขาได้รับ และศึกษาหนังสือตามจดหมายที่ส่งให้อยาตุลลอฮ์อัสการี และรับรองข้อมูลของหนังสือดังนี้

ศาสตราจารย์มุรตะฎอ อัสการี ที่รัก ความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์(ซบ.) และความโปรดปรานของพระองค์จงมีแด่ท่าน
ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้กล่าวคำพูดสักเล็กน้อยเกี่ยวกับหนังสือของท่านชื่อ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือนี้ครั้งหนึ่งจบแล้ว และตั้งใจว่าจะอ่านซ้ำอีกครั้งในเร็ววัน

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า ท่านได้ใช้วิธีการเริ่มต้นแนวใหม่และเป็นวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อในการศึกษาวิจัยนี้ และการอภิปรายถกเถียงของท่าน ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดเลยที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วยความจริงใจและอย่างแท้จริงต่อท่าน ที่อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงจัดเตรียมโอกาสให้ท่านในการสืบค้นการอภิปรายถกเถียงนี้ และนำทางไปสู่การเปิดเผยความจริงที่ไม่มีใครเคยพูดมาก่อนตลอด 14 ศตวรรษที่ผ่านมา

การค้นพบในการศึกษาวิจัยของท่านรับรองการยืนยันของเวลส์นักวิชาการตะวันตก ที่กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือความต่อเนื่องของการโกหกอย่างสมบูรณ์” โชคไม่ดีที่เข้ากันพอดีกับประวัติศาสตร์อิสลามที่เขียนโดยอคติและโอนเอียงไปตามความต้องการของยุคสมัยที่แตกต่างกัน นี่เป็นความจริงต่อขอบข่ายที่ว่า บัดนี้ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะเริ่มการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจังและลึกซึ้ง

อันที่จริง หนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ของท่านคือ จุดเริ่มต้นสำหรับความพยายามในการศึกษาวิจัยดังกล่าว มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซบ.)ที่ท่านมีโอกาสเช่นนี้ และข้าพเจ้าขอวิงวอนต่ออัลลอฮ์(ซบ.)ให้ประทานความมั่นคง และการผูกมัดที่จะดำเนินไปบนแนวทางนี้โดยปราศจากความหวาดกลัว เพื่อนำเสนอความจริง โดยไม่มีการสงวนไว้ และทรงนำทางท่านเพื่อใช้ข้อผูกมัดและความลึกซึ้งในการอภิปรายถกเถียงของท่าน และขอแนะนำให้ผู้อ่านหนังสือของท่านกระทำอย่างเดียวกัน ในการทำความเข้าใจประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับอบูบักรและอุมัร โดยเหตุที่เราไม่สามารถอดรนทนอยู่ได้ เมื่อได้เห็นความจริงอันแจ่มแจ้งของมันแล้ว

ในที่สุดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้มอบการแสดงความยินดีที่จริงใจที่สุดต่อท่าน ความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์(ซบ.)จงมีแด่ท่าน


ด้วยความจริงใจ มะฮ์มูด อบู รอยยะฮ์ อียิปต์ อัล กอฮิเราะฮ์





อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

คำวิจารณ์โดย เชค ญะวาด มุฆนียะฮ์ (นักวิชาการชีอะฮ์)
“ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นข้อเขียนที่โจมตีชีอะฮ์ ทุกๆการเริ่มต้นมีจุดสิ้นสุด ยกเว้นการใส่ไคล้ชีอะฮ์ ทุกๆคำตัดสินมีหลักฐานสนับสนุน ยกเว้นคำตัดสินต่อต้านชีอะฮ์ ทำไม ? ชีอะฮ์เป็นผู้สร้างความยุ่งยากหรือเป็นผู้ก่อกวนให้เกิดความรุนแรง ที่ต้องการเพียงสร้างความปั่นป่วนให้กับผู้คนกระนั้นหรือ ?”

นี่คือ คำตอบ ในศตวรรษที่สองของศักราชอิสลาม มีชายคนหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ มีนามว่า ซัยฟ์ อิบนิ อุมัร อัตตะมีมี เขาเขียนหนังสือสองเล่ม คือ อัล ฟุตูฮ์ วัลริดดะฮ์ และอัล ญะมาล วัลมะซีริ อาอิชะฮ์ วะอะลี

เขารับใช้วัตถุประสงค์สองประการในการเขียนหนังสือสองเล่มนี้ คือ เพื่อประดิษฐ์เรื่องราวโดยปราศจากมูลฐาน กับเพื่อบันทึกเหตุการณ์ในวิถีทางที่ทำให้สัจธรรมความจริงดูเผินๆแล้วเป็นสิ่งผิดพลาด และสิ่งที่ผิดพลาดเป็นสัจธรรมความจริง

เขาได้ประดิษฐ์สาวกให้กับท่านศาสดา อย่างเช่น ซุอิร ฮัซฮาซ ออต ฮุมัยซะฮ์ ฯลฯ เขาบันทึกเรื่องราวด้วยวิธีการที่ว่า เรื่องราวต่างๆ ปรากฏขึ้นด้วยการบอกเล่าจากผู้คนที่พบกับบรรดาสาวก (ปลอม) เหล่านี้ ในบรรดาวีรบุรุษที่เขาประดิษฐ์ขึ้นคือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ซึ่งเชื่อกันโดยทั่วไปว่า เป็นผู้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องโกหกเกี่ยวกับชีอะฮ์ เรื่องราวทั้งหลายที่โจมตีชีอะฮ์ ได้รับการบันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ทั้งหมด มีต้นกำเนิดมาจากซัยฟ์ผู้นี้

หลังจากซัยฟ์ นักประวัติศาสตร์ยอมรับหนังสือของเขาว่าเป็น เสมือนคัมภีร์แห่งสัจธรรม ฏอบารีเป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่เชื่อใจซัยฟ์ นักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ รวมทั้ง อิบนิ อะซีร และอิบนิ อซากิร ในหมู่พวกเขาดำเนินรอยตามฏอบารีอย่างตาบอด

ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์เรื่องราวขึ้นมา และเอาไปปะปนกับเหตุการณ์ที่เชื่อถือได้ แต่แหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียวของเรื่องราวทั้งหมดของเขาคือหนังสือ “อัล ฟุตูฮ์” และ “อัล ญะมาล”

หนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ได้พิสูจน์ว่า คำกล่าวข้างต้นเป็นความจริง และเป็นงานหนักของผู้เขียนที่เต็มไปด้วยความรอบรู้ เป็นการเปิดเผยความจริงตามที่มันเป็น ไม่มีผู้มีการศึกษาแม้แต่คนเดียวจะปฏิเสธหรือสงสัยสิ่งใดที่ซัยยิดมุรตะฎอ อัสการี เขียนไว้ได้ เพราะหนังสือวางอยู่บนข้อพิสูจน์ทางตรรก และไม่มีใครสามารถปฏิเสธตรรกและความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ได้

ข้าพเจ้าได้อภิปรายถกเถียงเรื่อง “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” กับผู้คนมากมาย แต่ข้าพเจ้าตอบพวกเขาเหมือนกับผู้รู้ในยุคที่ผ่านๆมา เว้นแต่ว่าข้าพเจ้าได้ทำให้มันง่ายต่อการที่พวกเขาจะเข้าใจว่าข้าพเจ้าเชื่อในการดำรงอยู่ของ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” มาบัดนี้ ซัยยิดมุรตะฎอ อัสการี ผู้ทรงความรู้ยิ่งได้เปลี่ยนแปลงเรื่องราวอย่างสิ้นเชิง และพิสูจน์ว่า “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” นี้คือเรื่องโกหก ข้าพเจ้าอาจกล่าวได้ว่านี่คือ หนังสือภาษาอาหรับเล่มแรก ที่สืบค้นประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนได้รับใช้อย่างยิ่งใหญ่ไม่เฉพาะแต่เพื่อศาสนา ความรู้และแนวทางชีอะฮ์เท่านั้น แต่เพื่ออิสลาม ท่านได้ปิดประตูใส่ผู้ที่ต้องการสร้างความยุ่งยากให้กับเอกภาพของมวลมุสลิม และแก่พี่น้องซุนนีที่ได้รับความกล้าจากเรื่องราวที่ผิดพลาดของพวกเขา นับจากวันนี้หลักฐานประการแรกและประการเดียวคือ เรื่องราวของอิบนิ สะบาอ์ และอิบนิ เซาดะฮ์ ที่ถูกอุปโลกน์โดยซัยฟ์นั้นได้รับการพิสูจน์ว่าผิดพลาด


มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮ์ เลบานอน


คำวิจารณ์โดย ศาสตราจารย์ เจมส์ โรบินสัน
(กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร)

ซัยยิดมุรตะฎอ อัล อัสการี ที่รัก
ข้าพเจ้าได้รับหนังสือสองเล่มจากท่านคือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” วะอะซาติร อุครอ และ “ค็อมซูน วะมิอะตุ ซอฮาบี มุดตะลัก อัลกิซมุ อัล อาวัล” เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่แล้ว ในเวลาที่ข้าพเจ้าเขียนจดหมายมาถึงท่าน ข้าพเจ้าต้องการบอกกล่าวว่าขณะนี้ข้าพเจ้าอยู่ในวัยชราและสุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องการเวลาในการศึกษาหนังสือเหล่านี้ ข้าพเจ้าใช้เวลามากกว่าที่คิดไว้ แต่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือดังกล่าวสองเที่ยวด้วยความสนใจอย่างมาก และมาตรว่าข้าพเจ้าต้องการจะเขียนอย่างละเอียดละอออยู่สักหน่อย ด้วยข้าพเจ้ารู้สึกว่าตัวข้าพเจ้าต้องเขียน เพื่อแสดงความนิยมยกย่องวิธีการใช้และความระมัดระวังของความเป็นนักวิชาการที่แสดงอยู่ในหนังสือทั้งสองเล่ม ด้วยอายุขนาดข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถมองไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจที่จะสามารถเขียนได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงรู้สึกว่าต้องประวิงเวลาต่อไป ในกรณีที่ข้าพเจ้าพบว่าไม่สามารถลงมือเขียนได้

ในหนังสือเล่มแรกข้าพเจ้าชอบรายละเอียดเรื่องราวตามธรรมเนียมของ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” และพวกสะบะอียีน ตามด้วยการอภิปรายถกเถียงที่ทรงคุณค่าของบรรดานักเขียน (ทั้งยุคเก่าและยุคใหม่) ในตะวันออกและตะวันตก และแนวทางที่พวกเขาเชื่อถือ ตารางในหน้า 43 (ตามต้นฉบับภาษาอาหรับ ในภาษาไทยตรงกับหน้า 56) นับว่าเป็นประโยชน์ในการแสดงแหล่งข้อมูลหลักของรายงานเกี่ยวกับซัยฟ์ และการรายงานของเขาและวิธีการที่นักเขียนในยุคหลังได้อาศัยรายงานหนึ่งหรือรายงานอื่นๆจากรายงานเหล่านี้

จากนั้นมาสู่บัญชีรายชื่อของจำนวนผู้เป็นต้นตำรับ ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าวจนะของซัยฟ์ จากอบูดาวูด (ตาย ฮ.ศ. 275) จนถึงอิบนิ ฮาญัร (ตาย ฮ.ศ. 852) ตามที่พวกเขาทั้งหมดได้กล่าวตำหนิ โดยใช้คำอย่างเช่นว่า “อ่อนหลักฐาน” “วจนะของเขาถูกละทิ้ง” “ไร้คุณค่า” “โกหก” “น่าสงสัยว่าจะเป็น ซินดีก(ผู้ปฏิเสธที่แสดงตนเป็นผู้ศรัทธา)” ฯลฯ พวกเขาเห็นพ้องกันในการสอดใส่สิ่งที่ไม่เป็นจริง หรือแม้แต่มีความผิดพลาดของวจนะต่างๆนี่คือ ข้อพิสูจน์อย่างล้นเหลือ ในการศึกษาความคิดเห็นของผู้เป็นต้นตำรับในวจนะต่างๆกัน ข้าพเจ้าสังเกตพบว่าทั้งหมดไม่เห็นด้วย แต่ ณ ที่นี้ไม่มีความขัดแย้ง ซึ่งทำให้ผู้หนึ่งต้องแปลกใจว่า ทำไมนักเขียนสมัยหลังจึงพร้อมเหลือเกินที่จะยอมรับวัตถุดิบของซัยฟ์

แต่ข้าพเจ้าต้องการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับฏอบารี ซึ่งไม่ลังเลในการอ้าง ซัยฟ์ หนังสือประวัติศาสตร์ของเขา ไม่ใช่งานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะการเขียนแบบปัจจุบัน ในส่วนของวัตถุประสงค์หลักของเขา ดูเหมือนว่าต้องการบันทึกรายงานทั้งหมดที่เขาครอบครอง โดยไม่มีความจำเป็นที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของรายงานเหล่านั้น เพราะฉะนั้นคนผู้หนึ่งจึงเตรียมพร้อมที่จะค้นหาว่า วัตถุดิบบางอย่างของเขา มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าของบุคคลอื่นๆ ดังนั้นบางทีต้องให้อภัยเขา เนื่องจากการใช้วิธีการที่ไม่ผ่านการรับรองในปัจจุบัน อย่างน้อยเขาก็ได้จัดเตรียมรายงานจำนวนมากมายไว้ให้ ก็เหลือแต่สำหรับนักวิชาการที่เฉียบแหลมเฉกเช่นตัวท่านที่จะแยกแยะระหว่างสิ่งที่มีคุณค่ากับสิ่งที่ผิดพลาด ในการอภิปรายถกเถียงจำนวนหัวข้อที่กล่าวถึงโดยซัยฟ์ ขั้นแรกให้รายละเอียดของซัยฟ์ก่อน จากนั้นจึงเปรียบเทียบรายละเอียดนั้นกับรายละเอียดที่ให้โดยบุคคลอื่นๆ การเปรียบเทียบอย่างระมัดระวังนี้ กระทำทั้งตัวผู้รายงานและสายรายงาน และมันได้แสดงให้เห็นว่าซัยฟ์อ้างถึงคนที่ไม่เป็นที่รู้จักอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมจึงไม่มีใครในพวกเขาถูกอ้างในผู้รายงานคนอื่นๆ และโน้มนำผู้นั้นต่อไปอีกที่จะชวนให้คิดว่าซัยฟ์ได้ประดิษฐ์พวกเขาขึ้นมา ข้อกล่าวหาที่รุนแรงนี้ เป็นข้อสันนิฐานที่สมเหตุสมผล โดยการเปรียบเทียบซัยฟ์กับบุคคลอื่นๆ

มันชี้ออกมาว่าซัยฟ์มีเรื่องประหลาดมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งยากที่จะเชื่ออย่างเช่น ทรายในทะเลทราย กลายเป็นน้ำสำหรับทหารมุสลิม ทะเลกลายเป็นทราย ปศุสัตว์พูดได้และแจ้งให้ทหารมุสลิมรู้ว่า พวกมันถูกซ่อนอยู่ที่ไหน ? ฯลฯ ในสมัยซัยฟ์เป็นไปได้สำหรับเขา ที่จะประสบความสำเร็จในการผ่านเรื่องราว และประวัติศาสตร์เช่นว่าออกไป แต่ปัจจุบันนักศึกษาที่พินิจพิเคราะห์ จะค้นพบโดยปกติธรรมดาว่า เรื่องราวเช่นว่าเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว การพิสูจน์ที่มีประสิทธิภาพก็ยังถูกใช้ เพื่อแสดงวิธีรายงานของซัยฟ์เกี่ยวกับอิบนิ สะบาอ์ และสะบะอียีน ว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง

ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่านักบูรพคดีบางคน ก็วางพื้นฐานการศึกษาของพวกเขาไว้ บนรายงานของซัยฟ์ ประเด็นอย่างเช่น ประชาชนจำนวนมากมายมหาศาลที่ถูกสังหารในสงครามยุคแรกๆของมุสลิม แนวความคิดที่ว่าอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ยิวนิรนามสามารถที่จะมีอิทธิพล ในการนำบรรดาสาวกของท่านศาสดา ให้หลงทางจากความศรัทธาของพวกเขาและมีอิทธิพลระดับนำ ในการยุยงปลุกปั่นประชาชน ให้ลุกฮือขึ้นต่อต้านอุศมาน และเป็นเหตุให้เขาถูกสังหาร และยุยงปลุกปั่นในการสู้รบระหว่างอะลีกับตอลฮะฮ์และซุเบร นี่อาจเป็นจริงบางส่วนแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด นี่คือสิ่งที่ปรากฏจากหัวข้อเกี่ยวกับอิบนิ สะบาอ์ในการพิมพ์ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองของสารานุกรมอิสลาม ซัยฟ์ใช้เวลาจำนวนมากหมดไปกับการสร้างวีรบุรุษจากตระกูลตะมีม ตระกูลที่เทือกเถาเหล่ากอของซัยฟ์สืบเชื้อสายมา แต่เซอร์วิลเลียมส์ มัวร์ ได้กล่าวไว้นานมาแล้ว ถึงวิธีที่ตะมีมได้ยอมสยบต่ออำนาจของระบบคอลีฟะฮ์ในยุคแรกๆ ในเวลาที่เรียกว่าการผละออกจากศาสนา เซอร์โทมัส อาร์โนลด์ อาจเป็นที่จดจำด้วยเช่นกัน ในฐานะที่มุ่งความสนใจ ไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า การพิชิตในยุคแรก ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการแผ่กระจายความศรัทธา มากเท่ากับเพื่อการขยายอาณาเขตการปกครองของมุสลิม

ในหนังสือเล่มที่สองความตั้งใจของผู้เขียน มุ่งไปยังความจริงที่ว่าซัยฟ์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในเสี้ยวแรกของศตวรรษที่สองของศักราชอิสลาม เป็นคนตระกูลตะมีม หนึ่งในเผ่ามูดาร ซึ่งอาศัยอยู่ในกูฟะฮ์ (อิรัก) สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ดำเนินการศึกษา ความโอนเอียง และอิทธิพลที่นำไปสู่ตำนานของเขา ได้มีการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับจิตวิญญาณของพวกซินดิก และพรรคแห่งความบ้าคลั่ง ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า ดำเนินต่อเนื่องมาจากสมัยท่านศาสดา จนกระทั่งถึงสมัยของอับบาสิยะฮ์ ซัยฟ์สนับสนุนเผ่าทางเหนือจึงประดิษฐ์วีรบุรุษ บทกวีสรรเสริญวีรบุรุษของเผ่า สาวกของท่านศาสดาจากพวกตะมีม สงครามและสมรภูมิที่ไม่มีอยู่จริง คนนับล้านถูกสังหารและมีนักโทษจำนวนมหาศาล เพื่อวัตถุประสงค์ในการยกย่องวีรบุรุษที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บทกลอนที่เชื่อว่าเป็นของวีรบุรุษในจินตนาการ ก็เป็นการสรรเสริญเผ่ามูดาร จากนั้นเป็นตะมีม จากนั้นเป็นอิบนิอัมร เผ่าย่อยที่ต้นตระกูลของซัยฟ์มีจุดเริ่มต้นอยู่ ซัยฟ์กล่าวถึงคนจากเผ่ามูดารในฐานะผู้นำในสมรภูมิ ซึ่ง (ความจริง) นำโดยคนจากเผ่าอื่น ผู้นำที่เขากุขึ้นบางครั้งเป็นที่มีอยู่จริง บางครั้งเป็นชื่อที่เป็นผลผลิตจากจินตนาการของเขา มันเป็นข้อพิสูจน์ว่า ความผิดพลาดในรายงานของเขา ทำให้ความศรัทธาเกิดความเสียหายอยู่บ้างในคนจำนวนมาก และให้แนวคิดที่ผิดพลาดแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมอยู่บางส่วน เขาเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการกุเท็จอย่างมากที่ทำให้คนเหล่านั้นยอมรับว่ามันเป็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริง

นี่คือ บทสรุปย่อๆ ของความผิดบางประการที่ซัยฟ์กระทำผิด ส่วนสำคัญของหนังสือลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับคน 23 คน เพื่อให้ตัวอย่างเนื้อหาของซัยฟ์ และแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่เขาทำให้ผิดไปจากต้นตำรับที่แท้จริง ไม่เฉพาะในเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังเข้าไปในสายรายงาน(สะนัด) อีกด้วย โดยใช้ชื่อของคนที่ไม่มีอยู่จริง เป็นงานที่กระทำด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน นำเสนอการโต้แย้งอย่างครอบคลุมในความเชื่อมั่นต่อซัยฟ์ แม้นักเขียนที่มีชื่อเสียงซึ่งรวมการรายงานไว้ในงานเขียนของพวกเขา หนังสือสองเล่มของซัยฟ์ที่ได้รับการอภิปรายถกเถียง แสดงให้เห็นว่าทั้งสองเล่มนั้นเชื่อถือไม่ได้เหมือนกับเนื้อหาอื่นๆที่นักเขียนในยุคหลังได้อ้างอิงไปจากเขา

นี่คือการศึกษาที่แทงทะลุ ซึ่งกระทำด้วยความเข้าใจอันแหลมคมและวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยคุณภาพระดับสูง ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสใช้เวลาพิจารณาอย่างจริงจัง ในการศึกษาข้อโต้แย้งที่เสนอแก่ข้าพเจ้าด้วยความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม และข้าพเจ้าแน่ใจว่าทุกคนที่ได้ศึกษาหนังสือนี้ ด้วยหัวใจที่เปิดกว้างย่อมพร้อมต่อการชื่นชม ในพลังของการโต้แย้ง

ด้วยความขอบคุณอย่างมาก สำหรับการส่งหนังสือนี้มาให้ข้าพเจ้าและขออภัยที่ทิ้งเวลาเนิ่นนานกว่าจะตอบ เนื่องด้วยอุปสรรคทางด้านอายุและความทุพลภาพอื่นๆ


ด้วยความจริงใจ เจมส์ โรบินสัน





บทนำ
เรื่องเล่าของ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์

นับเป็นเวลาหนึ่งพันปีมาแล้ว ที่นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆอันแปลกประหลาดที่เกี่ยวกับอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และสะบะอียีน ที่เป็นสานุศิษย์ของเขา

ก) ใครคือ อับดุลลอฮ์ และใครคือสะบะอียีนที่เป็นสานุศิษย์ของเขา ?
ข) อับดุลลอฮ์ได้กล่าวสิ่งใด และได้ทำอะไรไว้บ้าง ?

บทสรุปอันเป็นที่รู้จักจากนักประวัติศาสตร์
มีชาวยิวคนหนึ่งจากเมืองซอนอาอ์ (เยเมน) ทำทีว่าเป็นผู้มาเข้ารับอิสลามในสมัยของอุศมานผู้เป็นคอลีฟะฮ์ที่สาม และได้วางแผนร้ายต่ออิสลามและมุสลิม เขาเดินทางไปยังเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น กูฟะฮ์ บัสเราะฮ์ ดามัสกัสและไคโร เพื่อเผยแพร่ความเชื่อในเรื่องการฟื้นคืนชีพของท่านศาสดามุฮัมมัด เช่นเดียวกับการกลับคืนมาของศาสดาเยซูสู่โลกนี้ ก่อนที่จะถึงวันอวสาน เขาเผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับการเป็นศาสนทูตเช่นกันและกล่าวอ้างว่าอิมามอะลี(อ.) เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)กล่าวหาอุศมานว่า เป็นผู้ช่วงชิงตำแหน่งของอิมามอะลี(อ.)ไปอย่างอยุติธรรม เขาได้ยุยงผู้คนอย่างจริงจังให้สังหารคอลีฟะฮ์อุศมาน ซึ่งต่อมาได้ถูกลอบสังหาร บรรดานักประวัติศาสตร์ได้เรียกขานยิวคนนี้ว่า “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ในฐานะเป็นวีรบุรุษของเรื่องราวเหล่านี้ เขายังเป็นที่รู้จักกันในนาม อิบนิ อมาตุส เซาดาฮ์ ซึ่งหมายถึงผู้เป็นบุตรของทาสีนิโกรคนหนึ่ง อับดุลลอฮ์ส่งคณะของเขาไปยังหัวเมืองต่างๆหลายแห่ง ทำทีว่าเป็นการเผยแผ่การศรัทธาในอิสลามที่ให้ปฏิบัติการดีและหักห้ามจากความชั่วร้าย สนับสนุนให้ผู้คนก่อกบฏต่อเจ้าเมืองของพวกเขา และถึงกับให้สังหารพวกเขาเสีย รายชื่อของผู้ที่ตามแนวทางของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ มีซอฮาบะฮ์ชั้นดีรวมอยู่ด้วยสองสามท่าน ยกตัวอย่าง เช่น อบูซัร และตาบิอีนอีกสองสามคน เช่นกันคือ มาลิก อัซตาร

ในช่วงสมัยของอิมามอะลี(อ.) ตอลฮะฮ์และซุเบรสองคนที่ได้ก่อกบฏต่ออิมามอะลี โดยเรียกร้องให้อิมามอะลี(อ.) ลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ฆาตกรรมอุศมาน เพราะเหตุนี้สงครามญะมัลจึงถูกวางแผนขึ้น อิมามอะลีและคู่ต่อสู้ทั้งสองของท่าน เห็นด้วยว่าให้มีการเจรจาตกลงกัน แต่มีซอฮาบะฮ์บางคนที่มีชื่อร่วมอยู่ในกลุ่มที่มีความผิดฐานฆ่าสังหารอุศมาน ไม่ต้องการที่จะให้การทะเลาะเบาะแว้งนี้ยุติลง เพราะชื่อของพวกเขาจะต้องถูกเปิดเผย ดังนั้นซอฮาบะฮ์เหล่านั้นจึงแอบเข้าไปอยู่ในกองทัพของทั้งสองฝ่ายอย่างลับๆ คือ กองทัพของอิมามอะลีและกองทัพของฝ่ายกบฏในยามกลางคืน เมื่อทุกคนกำลังฝันถึงสัญญาสงบศึกที่จะได้มีการตกลงกันในวันรุ่งขึ้น ผู้วางแผนได้เริ่มยิงธนูเข้าใส่กันทั้งสองฝ่าย เพราะเหตุนี้สงครามอูฐจึงเริ่มขึ้นโดยปราศจากการได้รับอนุญาตหรือเป็นที่รับรู้ของผู้บัญชาการของทั้งสองฝ่าย

ก่อนที่จะได้วิจารณ์กันถึงเรื่องอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์อย่างละเอียด นับเป็นการคุ้มค่าที่จะตรวจสอบถึงลักษณะของผู้คนเหล่านั้น ที่ชื่อของเขาถูกระบุว่าเป็นซอฮาบะฮ์ ดังรายนามต่อไปนี้

1) อบูซัร อัล กิฟารี

2) อัมมาร อิบนิ ยาซีร

3) มุฮัมมัด อิบนิ อบู ฮุซัยฟะฮ์

4) อับดุรเราะฮ์มาน อุดัยส์ บัลวี

5) มุฮัมมัด อิบนิ อบูบักร บุตรของคอลีฟะฮ์คนแรก

6) เซาะซออะอ์ อิบนิ เซาฮาน อับดี

7) มาลิก อัชตาร อันนะคออี

1) อบูซัร (ญุนดุบ อิบนิ ญุนาดะฮ์) อัล กิฟารี

เขาเป็นบุคคลที่สามจากจำนวนสี่คน ที่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกและเป็นกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม เขาเป็นผู้ที่เชื่อศรัทธาในเอกภาพของพระเจ้าอยู่ก่อนที่เขาจะมาเข้ารับอิสลาม แล้วเขาได้ประกาศการศรัทธาของเขาในอิสลามที่ นครมักกะฮ์ ณ มัสยิดอัลหะรอม พวกเขากระทำทารุณกรรมต่ออบูซัรจนเกือบตาย แต่ก็รอดชีวิตมาได้ และจากการได้รับคำแนะนำของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เขาจึงเดินทางกลับไปยังเผ่าของเขาหลังจากสงครามบะดัรและอุฮุด เขาได้กลับคืนสู่นครมะดีนะฮ์ และพำนักอยู่ที่นั่น จนถึงวาระที่ท่านศาสดาวายชนม์ จากนั้นอบูซัรจึงถูกส่งตัวไปอยู่ที่เมืองชาม(ดามัสกัส) ซึ่งเขาเองได้ขัดแย้งกับมุอาวิยะฮ์ ต่อมาภายหลังมุอาวิยะฮ์ได้ร้องเรียนต่ออุศมานคอลีฟะฮ์ที่สามเกี่ยวกับตัวอบูซัรและได้เนรเทศอบูซัรไปอยู่ ณ ร็อบซะฮ์ และ ณ ที่นี้เองที่เขาได้เสียชีวิต

มีนักรายงานฮะดีษหลายท่านได้บันทึกเรื่องราวของอบูซัร จากท่านศาสดาเอาไว้ ครั้งหนึ่งท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ภายใต้ท้องฟ้าสีคราม และบนพื้นพิภพนี้ ย่อมไม่มีผู้ใดที่จะมีความตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์สุจริตมากไปกว่าอบูซัรได้อีกแล้ว”

2) อัมมาร อิบนิ ยาซีร

เขาเป็นที่รู้จักในนามอบูยักซอน เขาเป็นคนของเผ่าบนูสะอ์ละบะฮ์และเป็นพันธมิตรกับบนูมัคซูม มารดาของเขาชื่อ สุมัยยะฮ์ อัมมารและบิดามารดาของเขาเป็นผู้บุกเบิกไปสู่การเข้ารับอิสลาม และเขาเป็นคนที่เจ็ดที่ได้ประกาศการศรัทธา บิดามารดาของเขาถูกทรมานทรกรรมอย่างหนักจากพวกกุเรช และถูกสังหารในเวลาต่อมา เพราะเหตุที่พวกเขารับอิสลาม มีรายงานที่เป็นของจริงแท้ที่ท่านศาสดากล่าวถึงอัมมาร เป็นต้นว่า “อัมมารเปี่ยมล้นไปด้วยการศรัทธา” เขาได้เข้าร่วมรบเป็นทหารในกองทัพของอิมามอะลี(อ.) ณ การศึกแห่งญะมัลและซิฟฟิน และถูกสังหารลงในสนามรบ เมื่ออายุได้ 93 ปี

3) มุฮัมมัด อิบนิ อบูฮุซัยฟะฮ์ (รู้จักกันในนาม อบุลกอเซ็ม)

บิดาของเขาคือ อุตบะอ์ อิบนิ รอบีอะฮ์ อัล อับชะมี และมารดาของเขาชื่อซะฮ์ละฮ์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของสุเฮล อิบนิ อัมร อามิริยะฮ์ ถือกำเนิดที่เอธิโอเปียในสมัยของท่านศาสดา บิดาของเขาพลีชีพในสงครามญะมามะฮ์ อุศมานจึงนำเขามาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ในระหว่างการปกครองอุศมานได้อนุญาตให้เขาเดินทางไปยังอียิปต์ ซึ่งเขาได้ก่อกบฏต่ออุกบะฮ์ อิบนิ อามีร ในขณะที่เป็นผู้ช่วยเจ้าเมือง ซึ่งอับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีซัรฮ์ (เจ้าเมืองอียิปต์คนที่สิบ) เดินทางไปนครมะดีนะฮ์ จึงถูกห้ามไม่ให้เดินทางกลับเข้าอียิปต์ มุฮัมมัด อิบนิ อบูฮุซัยฟะฮ์ จึงเข้าดำรงตำแหน่งแทนในฐานะเจ้าเมือง จากนั้นเขาจึงระดมทัพพร้อมรี้พลหกร้อยคน ภายใต้การบังคับบัญชาของอับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุดัยส์ เพื่อไปสู้รบกับอุศมานที่มะดีนะฮ์ เมื่ออิมามอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ เขายังคงอนุญาตให้มุฮัมมัดเป็นเจ้าเมืองอียิปต์ต่อไป ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮ์ขณะเดินทัพไปยังซิฟฟิน เขาได้มุ่งตรงไปยังอียิปต์ก่อนมุฮัมมัดได้หยุดยั้งเขาไม่ให้เข้าสู่ ฟุสตอท แต่มุอาวิยะฮ์ได้ทำสัญญากับมุฮัมมัด ภายใต้ข้อสัญญานี้มุฮัมมัด อิบนิ อบูฮุซัยฟะฮ์ และอับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุดัยส์ พร้อมด้วยสหายอีก 29 คน และออกจากไคโร เพื่อหลบภัยจากมุอาวิยะฮ์ แต่ต่อมามุอาวิยะฮ์จับตัวได้และจองจำพวกเขาไว้ มุฮัมมัดถูกสังหารในคุกที่นครดามัสกัส โดยทาสของมุอาวิยะฮ์เองชื่อรุชดัยน์ มุฮัมมัด เคยพบเห็นท่านศาสดา

4) อับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุดัยส์ บัลวี

เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมอยู่ในสัญญาแห่งชะญะรอฮ์ เขาได้เข้าร่วมในกองทัพเมื่อคราวพิชิตอียิปต์ และมีที่ดินบางส่วนที่อียิปต์ที่อยู่ใต้การครอบครองของเขา เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ถูกมุอาวิยะฮ์จับตัวไปและส่งไปจองจำที่ปาเลสไตน์ หลังจากที่ได้หลบหนีออกจากคุก เขาก็ถูกจับตัวได้อีกและจึงถูกประหารชีวิต เขามีโอกาสได้พบกับท่านศาสดา

5) มุฮัมมัด อิบนิ อบูบักร

มารดาของเขาคือ อัสมาบุตรีของอุมัยส์ คอสอะมียะฮ์ ซึ่งเป็นภรรยาของญะอ์ฟัร อิบนิ อบีฏอลิบ หลังจากที่ญะอ์ฟัร พลีชีพไปในทางศาสนาแล้ว อัสมาจึงสมรสกับอบูบักร และมุฮัมมัดก็คือ บุตรของนาง อิมามอะลี(อ.)นำมุฮัมมัดมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากที่อบูบักรตายแล้ว มุฮัมมัดเป็นผู้บัญชาการกองทหารม้าในสงครามญะมัล เขาอยู่ร่วมรบในสงครามซิฟฟิน อิมามอะลี(อ.)แต่งตั้งเขาให้เป็นเจ้าเมืองอียิปต์ และเขาได้เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 15 เดือนเก้าปี ฮ.ศ. 37 มุอาวิยะฮ์ได้ส่งทหารกองทัพหนึ่งโดยมี อัมร อิบนิ อาส เป็นแม่ทัพมายังอียิปต์ ในปีที่ 38 ซึ่งได้เกิดการสู้รบกันและมุฮัมมัดถูกจับกุมและถูกสังหารในเวลาต่อมา ร่างของมุฮัมมัดถูกยัดใส่เข้าไปในท้องของลาที่ตายแล้วตัวหนึ่ง และถูกเผาไฟไปพร้อมกัน

6) เซาะซออะฮ์ อิบนิ ซูฮาน อับดี

ชายผู้นี้เป็นนักพูดที่เก่งกาจคนหนึ่ง เขาเข้ารับอิสลามในสมัยของท่านศาสดา เขาได้ร่วมรบอยู่ในสงครามซิฟฟิน เมื่อมุอาวิยะฮ์เข้ายึดกูฟะฮ์ มุอาวิยะฮ์เนรเทศเซาะซออะฮ์ไปยังบะฮ์เรน ซึ่งเขาเสียชีวิตที่นั่น

7) มาลิก อัชตาร อันนะคออี

เขาเกิดทันกับท่านศาสดาและเป็นตาบิอีน (รุ่นที่ถัดจากซอฮาบะฮ์)ที่น่าเชื่อถือ เขาเป็นหัวหน้าเผ่าของเขา และหลังจากที่ได้สูญเสียดวงตาไปข้างหนึ่ง ในการศึกที่ยัรมูก เขาจึงเป็นที่รู้จักกันในนามอัชตารในสงครามญะมัลและซิฟฟิน เขาอยู่ร่วมกับอิมามอะลี(อ.) และได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เมื่ออายุได้ 38 ปี เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองอียิปต์ แต่ในขณะเดินทางจะไปยังที่นั้น เมื่อไปถึงใกล้ๆ ทะเลแดง เขาได้เสียชีวิตลงเนื่องจากกินน้ำผึ้งผสมกับยาพิษ ซึ่งมุอาวิยะฮ์เป็นผู้วางแผน

ข้างต้นเป็นเพียงชีวประวัติอย่างย่อๆ ของมุสลิมผู้สูงส่งบางท่าน นับเป็นที่น่าหดหู่ใจ นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวหาว่า พวกท่านเหล่านี้ปฏิบัติตนไปตามแนวทางของยิวนิรนามคนหนึ่ง เมื่อได้รับรู้ถึงเรื่องนี้แล้ว เราก็ควรจะได้พยายามวิเคราะห์ดูถึงแรงผลักดันของเรื่องราวต่างๆ ของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เสียแต่บัดนี้

ต้นตอของนิยายและนักเล่านิยาย
นับเป็นเวลาสิบสองศตวรรษแล้ว ตั้งแต่นักประวัติศาสตร์ได้เขียนเรื่องราวของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก ย่อมเป็นการยากที่ผู้ใดจะหานักเขียนสักคนหนึ่ง ที่หากเขาเขียนถึงเรื่องราวของซอฮาบะฮ์แล้วจะไม่ได้พูดถึงชายผู้นี้ ซอฮาบะฮ์คือบรรดามุสลิมที่ได้พบกับท่านศาสดา ความแตกต่างระหว่างการเขียนประวัติศาสตร์อิสลาม ของคนยุคเก่ากับคนยุคปัจจุบัน ที่พูดถึงเรื่องนิยายของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ก็ตรงที่ว่า คนยุคใหม่จะเลือกเอาวิธีการเขียนวิเคราะห์แบบสมัยใหม่ ในขณะที่คนยุคเก่าเล่าเรื่องไปตามภาษาของฮะดิษ (การบันทึกคำพูดของท่านศาสดา) หากศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบเรื่องราวเหล่านี้อย่างเหมาะสมแล้ว เราก็จำเป็นจะต้องมองหาผู้เล่าเรื่องเหล่านี้ ที่ได้พูดถึงหรือเขียนถึงเรื่องราวของมัน


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

1) มุฮัมมัด รอชีด ริฎอ
ในหมู่นักเขียนของยุคนี้ ก็คือมุฮัมมัด รอชีด ริฎอ ผู้ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัสซุนนะฮ์ วัล ชีอะฮ์ (หน้า 4-6) ดังว่า “แนวทางของชีอะฮ์นั้น ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” เขาได้กล่าวอ้างว่าอับดุลลอฮ์ได้ปฏิเสธการศรัทธาในศาสนายูดาย และได้เปลี่ยนมาเข้ารับอิสลาม เขาได้กล่าวถึงอะลีผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดาท่านที่สี่ และได้ประดิษฐ์แนวทางชีอะฮ์ขึ้นมาในนามของอะลี การประดิษฐ์ลัทธิแนวคิดชีอะฮ์ขึ้นมา จึงถือเป็นการเริ่มต้นของการฉ้อฉลในศาสนา และกิจกรรมทางโลกของประชาชาติของมุฮัมมัด ด้วยการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในระหว่างมุสลิม จากนั้นริฎอก็ได้บิดเบือนเรื่องราวให้เป็นที่พอใจของตนเอง และหากผู้ใดปรารถนาที่จะรู้ถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ ตัวของมุฮัมมัด รอชีด ริฎอเองได้สารภาพเอาไว้ว่า “ผู้ใดที่อ้างอิงถึงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสงครามญะมัล ในหนังสือประวัติศาสตร์ ดังตัวอย่างของ อิบนิ อะซีร ย่อมจะพบเห็นได้ถึงขอบข่ายของอิทธิพลแห่งความชั่วร้ายของสะบะอียีน ในกองทัพ ของทั้งสองฝ่าย เมื่อกำลังคาดการณ์ว่าจะมีการเจรจาตกลงกัน (อ้างถึงเล่ม 3 หน้า 96-103)” ฉะนั้นแหล่งข้อมูลของอัล ซัยยิด รอชีด ก็คือหนังสือประวัติศาสตร์ของ อิบนิ อะซีร

2) อบุล ฟิดา (มรณะ ฮ.ศ. 732/ ค.ศ. 1331)
อบุล ฟิดาได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุคตะซอร ดังว่า “ฉันได้สรุปไว้ในหนังสือของฉันว่า ดังที่ท่านเชคอิซซุดดีน อะลี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามอิบนิ อะซีร ยะซะรีได้เขียนไว้ในหนังสืออันสมบูรณ์ของเขา” ดังนั้น แหล่งที่มาของหนังสือทั้งสองเล่มจึงเป็นของ อิบนิ อะซีร

3) อิบนิ อะซีร (มรณะ ฮ.ศ. 630 / ค.ศ. 1229)
อิบนิ อะซีรได้กล่าวถึงเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างปี ฮ.ศ. 30-36 เขาไม่ได้กล่าวถึงแหล่งของเรื่องเหล่านี้ ยกเว้นในคำนำของหนังสือของเขา ชื่อ ตารีค อัลกามิล (พิมพ์ที่อียิต์ ฮ.ศ. 1348) โดยกล่าวว่าฉันได้เห็นเรื่องเหล่านี้ ในหนังสือของอบูญะอ์ฟัร อัลฏอบารี หนังสือประวัติศาสตร์อันสมบูรณ์ของฏอบารี (17) นับเป็นตำราทางประวัติศาสตร์ของมุสลิม เป็นหนังสือเพียงเล่มเดียวที่น่าเชื่อถือในมวลหมู่มุสลิม ผู้ซึ่งจะต้องอ้างอิงกลับไปหาหนังสือนี้ เมื่อมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันในเรื่องใดๆ ที่จะต้องทำการตรวจสอบ ฏอบารีได้เขียน ฮะดิษ (วจนะ) ไว้เป็นจำนวนมากในส่วนต่างๆของหนังสือของเขาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่ง แต่ฉันได้จัดลำดับเรื่องเหล่านี้เสียใหม่ ภายใต้หัวเรื่องที่เหมาะสม และได้เลือกเรื่องที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับเรื่องซอฮาบะฮ์นั้น ฉันได้อ้างอิงเรื่องราวต่างๆของพวกเขาที่ฏอบารี (17) ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาทุกประการ และจะยกเว้นก็เฉพาะหมายเหตุต่างๆที่อธิบาย ซึ่งก็ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเนื้อหาที่อ้างอิงมา
นี่คือเรื่องของอิบนิ อะซีร (3) ซึ่งมุฮัมมัด รอชีด ริฎอ (1) และ อบุล ฟิดา (2) ได้ขอยืมเรื่องต่างๆ ของพวกเรามาจากแหล่งนี้ อิบนิ อะซีรผู้นี้ได้บันทึกไว้ตรงกับที่ฏอบารีได้เขียนไว้

4) อิบนิ กะซีร (มรณะ ฮ.ศ. 774 / ค.ศ. 1289)
ในหนังสือของอิบนิ กะซีร ชื่อ อัลบิดายะฮ์ วัลนิฮายะฮ์ เล่ม 7 อ้างถึงฏอบารี โดยกล่าวว่า ซัยฟ์ อิบนิ อุมัรได้กล่าวไว้ว่า สาเหตุแห่งการก่อกบฏต่ออุศมานก็คือ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ผู้ซึ่งเสแสร้งว่าเป็นมุสลิมและเดินทางไปอียิปต์เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เป็นเท็จ
จากนั้น อิบนิ กะซีร เขียนถึงอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ไว้ด้วยเรื่องราวที่ครบถ้วน รวมทั้งเรื่องสงครามญะมัล เขาได้กล่าวไว้ในหน้า 246 ว่า “นี่คือบทสรุปของเรื่องที่ อบูญะอ์ฟัร อิบนิ ญะรีร ฏอบารี(17) (ขอพระเจ้าประทานความจำเริญให้กับท่าน) ได้เขียนเอาไว้”

5) อิบนิ คอลดูน
นักปรัชญาแห่งแวดวงของนักประวัติศาสตร์ ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล มุบตะดา วัล คอบัร ได้กล่าวถึงสะบะอียีน ไว้ในเหตุการณ์ของบ้าน (การสังหารอุศมาน) และญะมัล จากนั้นในเล่ม 2 หน้า 425 ของหนังสือ ของเขากล่าวไว้ว่า “นี่คือบทสรุปของเหตุการณ์แห่งญะมัล จากหนังสือของ อบูญะอ์ฟัร ฏอบารี (17) เพราะว่าเขาเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้มากกว่านักประวัติศาสตร์คนอื่นๆรวมทั้งอิบนิ กุตัยบะฮ์ด้วย” ในหน้าที่ 457 เช่นกัน เขาเขียนไว้ว่า “นี่คือ คำพูดสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการสืบแทนตำแหน่งของอิสลามและของผู้พิชิตและสงครามต่างๆของพวกอุตริชนภายหลังจากนี้ก็จะเป็นการเจรจาตกลงและมีการประชุม(อัล ญะมาอัต) ในระหว่างมุสลิม ฉันได้นำเนื้อหาสาระเหล่านี้มาจากหนังสือของ มุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร อัล ฏอบารี(17) เพราะเป็นหนังสือที่น่าเชื่อถือที่สุด และไม่ได้วิจารณ์ซอฮาบะฮ์และตาบิอีน”

6) มุฮัมมัด ฟะรีด วัจดี
มุฮัมมัด ฟะรีด วัจดี ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ สารานุกรม ด้วยการอธิบายคำว่า อะซัมและคำว่าสงครามญะมัล ตลอดจนในเรื่องชีวประวัติของอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ เขาได้กล่าวถึงเรื่องของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และในหน้าที่ 160, 168 และ 169 บอกให้เราทราบว่า แหล่งข้อมูลของเขานำมาจากฏอบารี(17)

7) อัล บุสตานี
ในหนังสือสารานุกรมของเขา ได้กล่าวถึงความหมายของชื่อที่ว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ไว้ดังว่า “อิบนิ กะซีรกล่าวว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์...”

8) อะห์มัด อะมีน
นักประวัติศาสตร์ในสมัยปัจจุบันคนหนึ่ง ผู้ซึ่งได้ใช้วิธีเชิงวิเคราะห์ในการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ก็คือ อะห์มัด อะมีน ในหนังสือของเขาคือ ฟัจรุลอิสลาม ตอนที่เกี่ยวกับเปอร์เซีย (1) และผลกระทบที่มีต่ออิสลาม เขาเขียนไว้ว่า “ข้อแตกต่างอันเป็นประการสำคัญระหว่างศาสนาของมัซดัค และ ศาสนาอื่นๆ ก็คือความคิดที่เป็นสังคมนิยมของมัน ศาสนาของมัซดัคเชื่อในเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์นับแต่แรกเกิด และได้กล่าวเอาไว้ว่า เพราะฉะนั้นพวกเขาต้องมีโอกาสเท่าเทียมกันในการดำรงชีพของพวกเขา เขาได้เห็นถึงเรื่องที่เป็นประการสำคัญที่สุด ในความเสมอภาคของมนุษย์ว่าเป็นเรื่องราวของทรัพย์สินและสตรีเพศ ฉะนั้น เขาจึงกล่าวว่าสตรีเพศและทรัพย์สินเป็นของกลางสำหรับทุกคน ผู้ชายที่มาจากชนชั้นต่ำ จึงฉวยโอกาสในคำสอนของมัซดัค และได้สร้างความยุ่งยากไว้อย่างมากมาย บรรดาสาวกของเขาบุกรุกเข้าไปในบ้านเรือนของผู้คน เพื่อไปขอมีส่วนร่วมในสตรีเพศ สินค้าม้าขาย สิ่งนี้ดำเนินไปเป็นเวลานาน จนกระทั่งเด็กๆ ไม่รู้ว่าบิดาของพวกเขาเป็นใคร และบิดาก็ไม่อาจจำเด็กๆของพวกเขาได้” อะห์มัด อะมีน กล่าวต่อไปว่า “วิถีชีวิตเช่นนี้ได้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติกันถึงแม้ภายหลังจากที่อิสลามถือกำเนิดขึ้นมาแล้วก็ตาม ยังมีหมู่บ้านหลายแห่งในจังหวัดเคิรมาน(เปอร์เซียตอนใต้) ที่ศาสนานี้ยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่ในช่วงการปกครองของอาณาจักรอะมาวียะฮ์” อะห์มัด อะมีน กล่าวต่อไปว่า “จากนี้เราได้เห็นความคล้ายคลึงกันของความคิดต่างๆของอบูซัรและมัซดัค ที่เป็นเรื่องราวของการกระจายการถือครองทรัพย์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย” ฏอบารี ได้กล่าวไว้ว่า “อบูซัรตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นที่ดามัสกัส (ชาม) โดยกล่าวขึ้นว่า โอ้ ผู้คนที่มีทรัพย์สิน จงรวมทรัพย์สินเงินทองของพวกท่านกับคนยากจนเถิด” และได้อ่านโองการนี้ของอัล กุรอาน “และจงแจ้งข่าวการลงโทษอันเจ็บปวดแก่พวกเขาด้วยเถิด บรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในหนทางของอัลลอฮ์(ซบ.)” อบูซัรอ่านโองการนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งคนจนถือเอาว่าเป็นภาระหน้าที่ของคนรวยที่จะต้องบริจาคเงินของพวกเขา และสร้างความกวนใจให้กับคนร่ำรวย จนถึงกับพวกเขาต้องไปเรียนเรื่องอบูซัรกับมุอาวิยะฮ์ผู้เป็นเจ้าเมืองซีเรีย เขาจึงสั่งให้อบูซัรไปพบคอลีฟะฮ์อุศมานที่นครมะดีนะฮ์

อุศมานกล่าวว่า “ประชาชนชาวดามัสกัส ทำไมลิ้นของท่านถึงต้องร้องเรียนอะไรกันมากมายนัก ?” อบูซัรกล่าวตอบว่า “ ผู้คนที่ร่ำรวยนั้น ไม่สมควรที่จะเก็บเงินเอาไว้ใช้แต่เฉพาะตัวของพวกเขากันเอง” อะห์มัด อะมีน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ความคิดของอบูซัรในเรื่องทรัพย์สินนั้นใกล้เคียงกับของมัซดัค” แต่อบูซัรไปเอาทัศนะเช่นนี้มาจากที่ใด ? ฏอบารีให้คำตอบว่า “อิบนิ อัล เซาดาฮ์ พบกับ อบูซัร และได้แนะนำความคิดสังคมนิยมนี้ให้กับเขา ขณะที่ได้มีการประชุมกัน ซึ่งมีอบูดัรดาอ์(2) และอุบาดะฮ์ อิบนิ ซอมิต ร่วมอยู่ด้วย สองคนหลังนี้ไม่ได้ตกเป็นเหยื่อ และพวกเขาจึงพา อิบนิ อัล เซาดาฮ์ มาพบกับ มุอาวิยะฮ์ และกล่าวว่าชายคนนี้คือ ผู้ที่ยุยง อบูซัร เพื่อทำให้ท่านต้องเหนื่อยอ่อน” (3)

อะห์มัด อะมีนกล่าวต่อไปว่า “เรารู้ต่อไปอีกเช่นกันว่า อิบนิ อัล เซาดาฮ์ เป็นที่รู้จักกันคือ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ผู้ซึ่งเป็นยิวมาจากซอนอาอ์(เยเมน) เขาแสร้งทำเป็นมุสลิมในสมัยของอุศมาน และพยายามสร้างความเสียหาย ให้กับศาสนาของบรรดามุสลิม ด้วยการเผยแพร่ความคิดต่างๆที่เป็นอันตราย” เราจะได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ในภายหลัง

อะห์มัด อะมีน กล่าวเสริมต่อไปว่า “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เดินทางไปตามเมืองต่างๆ ในดินแดนคาบสมุทรอาหรับ เป็นต้นว่าบัสเราะฮ์ กูฟะฮ์ ดามัสกัสและไคโร เขาอาจได้รับความคิดในด้านสังคมนิยมมาจากสาวกของมัซดัคในอิรักหรือเยเมน จากนั้นอบูซัรจึงเรียนเรื่องนี้มาจากเขา”

อะห์มัด อะมีน บันทึกไว้ในเชิงอรรถของหนังสือของเขาคือ “อ้างถึงฏอบารี เล่ม 5 หน้า 66 เป็นต้นไป” ในหน้าที่ 112 อะห์มัดเขียนสรุปไว้ว่า “พวกชีอะฮ์ยึดถืออะลีและบุตรชายของเขาว่า เป็นผู้มีพระภาคเจ้า ดังเช่น บรรพบุรุษชาวเปอร์เซียของพวกเขา และพวกนอกศาสนาเหล่านี้ยึดถือกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซะซะนีดของพวกเขาว่ามีพระภาคเจ้าเช่นกัน” อะห์มัด อะมีนรักษาคำสัญญาของเขาเมื่อเขากล่าวว่า “เราจะกลับมาวิจารณ์ถึงความคิดต่างๆ ที่เป็นอันตรายของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ในภายหลัง”

ในหน้า 254 อะห์มัด อะมีน พูดถึงกลุ่มคนจำพวกต่างๆ ไว้ว่า “ในช่วงปลายสมัยการปกครองของอุศมาน มีกลุ่มลับบางกลุ่มกระจายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อการก่อกบฏต่ออุศมาน พยายามที่จะปล้นอำนาจไปจากเขา และมอบให้กับบุคคลบางคน ในระหว่างกลุ่มเหล่านี้มีบางกลุ่มให้การชักชวนสนับสนุนอะลี กองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดที่อยู่เบื้องหลังขบวนการนี้อยู่ที่บัสเราะฮ์ กูฟะฮ์และดามัสกัส คือกองกำลังของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” เขากล่าวว่า “ศาสดาทุกท่านล้วนมีผู้สืบตำแหน่ง และอะลีเป็นผู้สืบแทนท่านศาสดามุฮัมัด(ศ็อลฯ) ใครเล่าจะอยุติธรรมมากไปกว่าผู้ที่ช่วงชิงอำนาจไปจากอะลีอย่างอยุติธรรม?”

เขาได้ยืนยันถึงเรื่องนี้ จนกระทั่งอุศมานถูกสังหาร
อะห์มัด อะมีน กล่าวต่อไปอีกว่า “เราจำเป็นต้องวิจารณ์ถึงเรื่องนี้ เพราะมีมุสลิมกลุ่มย่อยอยู่สามกลุ่ม ได้ถือกำเนิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์หนึ่งของมัน พวกเขาคือ ชีอะฮ์ และกลุ่มอื่นๆ”

ในบทที่เกี่ยวกับชีอะฮ์ หน้า 266-278 เขากล่าวว่า ความคิดในเรื่องการกลับคืนมาของศาสดา อิบนิ สะบาอ์เรียนมาจากพวกยิว ชีอะฮ์รับความคิดนี้มาอีกทอดหนึ่งจากอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขาในเรื่องมะฮ์ดี(อ.) ผู้ซึ่งคาดว่าจะมาบรรจุโลกนี้ไว้ ด้วยความยุติธรรม ลัทธิชีอะฮ์ก็คือ สถานที่หลบหนีแห่งหนึ่ง เพื่อให้การคุ้มกันแก่บรรดาผู้ที่ปรารถนาจะทำลายล้างอิสลาม ภายใต้การอำพราง ประหนึ่งว่ามีความรักในครอบครัวของท่านศาสดา ยิวหรือคริสเตียนคนใดสามารถแสดงทัศนะของเขาเกี่ยวกับอิสลามโดยผ่านทางลัทธิชีอะฮ์ เช่นเดียวกัน ความคิดของยิวในเรื่องของการกลับคือมาของเอลลิยะฮ์ (4) ในหน้าที่ 277 เขากล่าวว่า “หากว่ากันตามแวลเฮาเซ็นแล้ว ชีอะฮ์มีที่มาจากพวกยิวมากกว่ามาจากความเชื่อของชาวเปอร์เซีย เพราะอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เป็นชาวยิว” ในอีกนัยหนึ่งอะห์มัด อะมีนกล่าวว่า ชีอะฮ์นำเอาความเชื่อของพวกเขาในเรื่องการเป็นผู้สืบแทนของอะลี และการกลับคืนมาอีกเป็นครั้งที่สองของนักบุญต่างๆ และมะฮ์ดีมาจาก อิบนิ สะบาอ์ นั่นคือ นำมาจากยิวนั่นเอง

อบูซัร รับเอาคำขวัญแบบคอมมิวนิสต์มาจากอิบนิ สะบาอ์ อิบนิ สะบาอ์เรียนรู้เรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์มาจากชาวมัซดัค ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยของราชวงศ์อะมาวียะฮ์ มัซดัคเป็นเปอร์เชียน และชาวเปอร์เชีย เคารพกราบไหว้กษัตริย์ของพวกเขา ชีอะฮ์ก็เช่นกันที่เคารพยกย่องบรรดาอิมามของพวกเขาไว้อย่างสูง ลัทธิชีอะฮ์เป็นเสื้อคลุมสำหรับผู้ที่ประสงค์จะทำลายอิสลาม ด้วยความเกลียดชังและอิจฉาริษยา ทั้งยังเป็นที่คุ้มกันให้กับผู้ใดก็ตามที่ปรารถนาจะแนะนำลัทธิความเชื่อของยูดาย คริสเตียนหรือโซโรแอสเตอร์เข้ามาในอิสลาม เราสังเกตเห็นแล้วว่าความคิดเห็นเหล่านี้มาจากอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ซึ่งอะห์มัด อะมีน นำมาจากฏอบารีและแวลเฮาเซ็น เราจะได้เห็นกันว่า แวลเฮาเซ็นก็เช่นกันได้บันทึกมาจากฏอบารี(17)

9) ฮาซัน อิบรอฮีม
นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยอีกคนหนึ่ง ที่ใช้วิธีเชิงวิเคราะห์ในหนังสือของเขาชื่อ Islamic Political History (ประวัติศาสตร์การเมืองอิสลาม) คือ ดร. ฮาซัน อิบรอฮีม หลังจากที่ได้พิจารณาดูถึงสถานการณ์ของมุสลิม ในช่วงสุดท้ายของคอลีฟะฮ์อุศมาน เขากล่าวว่า “บรรยากาศพร้อมที่จะยอมรับในขบวนการของสะบะอียีน มีสาวกคนหนึ่งของท่านศาสดา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในคุณธรรม และความเที่ยงธรรมของเขา และเป็นหัวหน้าคนหนึ่งของผู้รายงานวจนะต่างๆ ของท่านศาสดา เขาผู้นี้มีชื่อว่าอบูซัร กิฟารี เป็นเพราะชายคนนี้เป็นต้นเหตุของความยุ่งยาก เพราะเขาใกล้ชิดสนิทชอบกับคำโฆษณาชวนเชื่อของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และเขาได้ต่อต้านอุศมานและมุอาวิยะฮ์ผู้เป็นเจ้าเมืองที่ซีเรีย อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เป็นยิวที่เสแสร้งมาเป็นมุสลิม และได้เดินทางไปยังฮิญาซ กูฟะฮ์ ซีเรียและอียิปต์”

ดร. ฮาซัน อิบรอฮีมนำเรื่องนี้มาจาก ฏอบารี (17) เล่ม 1 หน้า 259 ในหน้าที่ 349 เขากล่าวว่า “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ นับเป็นคนแรกที่ได้นำผู้คนให้ต่อต้านอุศมาน ทำให้เขาต้องถูกโค่นอำนาจ”

ในเชิงอรรถของหนังสือของเขา อ้างอิงไปยังฏอบารีจำวนสี่ครั้งที่เกี่ยวกับเรื่องของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เขาได้อ้างอิงไปยังฏอบารีถึงเรื่องนี้ในหนังสือของเขาเป็นจำนวนสิบสองครั้ง ถึงกระนั้นเขาก็งดเว้นไว้ไม่อ้างอิงไปยังสิ่งที่ฏอบารีได้บันทึกไว้ในหนังสือของตนเองที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องสะบะอียีน ถึงแม้วีรบุรุษของเรื่องทั้งสองนี้จะเป็นคนๆเดียวกันก็ตาม นั่นคือ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์
จนถึงขณะนี้เราได้เห็นแล้วว่า นักประวัติศาสตร์มุสลิมอ้างอิงมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ของฏอบารี เกี่ยวกับเรื่องสะบะอียีนกันอย่างไร

10) แวน ฟลอตแทน (โวลเตน) (โจแฮนเนส ค.ศ. 1818-1883)
ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Arabian Rule and Shiah and Israiliyat in Amawid Time แปลโดย ดร. ฮาซัน อิบรอฮีม และมุฮัมมัด ซะกี อิบรอฮีม(พิมพ์ครั้งแรกในอียิปต์หน้า 79) ได้กล่าวถึงเรื่องชีอะฮ์ว่า “พวกสะบะอียีน ผู้เป็นสานุศิษย์ของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ยึดถืออะลีเป็นผู้ถูกต้องเที่ยงธรรม สำหรับการสืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดาในสมัยของอุศมาน” จากนั้นเขาได้อ้างไปยัง ฏอบารี(17) ที่ปรากฏอยู่ในเชิงอรรถหน้า 80 ในหนังสือของเขา

11) นิโคลสัน, เรย์โนลด์ อัลเลย์เน (1868-1945)
ในหนังสือของเขาชื่อ The History of Arabian Literature (เคมบริดจ์ หน้า 215) เขากล่าวไว้ว่าอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เป็นผู้ก่อตั้งชมรมของสะบะอียีน เขามาจากซอนอาอ์ในเยเมน เป็นที่กล่าวกันว่าเขาเป็นยิวซึ่งมาเข้ารับอิสลามในสมัยของอุศมาน จริงๆ แล้วเขาเป็นนักเผยแพร่ที่ชั่วร้ายชอบเดินทางไปทั่วเพื่อพยายามทำให้มุสลิมหลงทาง เขาเริ่มจากแผ่นดินฮิญาซ จากนั้นจึงไปบัสเราะฮ์ กูฟะฮ์และซีเรีย ในที่สุดเขามาพำนักอยู่ที่อียิปต์ เขามีความเชื่อ ในการกลับมาเป็นครั้งที่สองของศาสดา เขากล่าวว่า “ผู้คนเชื่อศรัทธาในการกลับคืนมาของศาสดา อีซา แต่ปฏิเสธในการกลับคืนมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ถึงแม้เรื่องนี้จะกล่าวไว้ในอัล กุรอานก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น พระเจ้าได้ทรงส่งบรรดาศาสดาเป็นจำนวนหนึ่งพันคน และแต่ละคนก็ล้วนแต่มีผู้ช่วยเหลือและผู้สืบทอดตำแหน่งคนหนึ่ง อะลี คือ ผู้สืบทอดของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ศาสดาท่านสุดท้าย” จากนั้นเขาได้กล่าวถึงฏอบารี(17)ไว้ในเชิงอรรถของหนังสือของเขา พร้อมทั้งระบุหน้าไว้ด้วย

12) สารานุกรมอิสลาม
ในหนังสือสารานุกรมเล่มนี้ ที่เขียนขึ้นโดยนักบูรพคดีบางคน ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ดังต่อไปนี้ “ถ้าหากเราประสงค์ที่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ฏอบารีและมักกรีซีได้บันทึกไว้ เราขอกล่าวว่าเรื่องที่อิบนิ สะบาอ์ได้เผยแพร่ก็คือการกลับคืนมาของมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ทฤษฎีเป็นอย่างนี้คือทุกๆศาสดานั้นย่อมมีผู้สืบแทนคนละหนึ่ง และอะลีคือผู้สืบแทนของมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เพราะฉะนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องช่วยเหลืออะลีทั้งด้านคำพูดและการกระทำ” เป็นที่กล่าวกันว่าอับดุลลอฮ์ อิบน สะบาอ์ ส่งนักเผยแพร่ของเขาไปทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่ทฤษฎีของเขา ตัวเขาเองพร้อมด้วยบุคคลเหล่านั้น ได้ออกเดินทางจากอียิปต์ไปยังมะดีนะฮ์ ในเดือน เซาวัล ฮ.ศ. 35 ตรงกับเมษายน ค.ศ. 656 สารานุกรมนี้อ้างอิงไปยัง ฏอบารีและมักกรีซี ฏอบารีมีชีวิตอยู่หลังจากเรื่องนี้ 300 ปี และมักกรีซี 800 ปี ฏอบารีได้กล่าวถึงบรรดาชื่อของผู้ที่เขาอ้างอิงมา แต่มักกรีซีไม่ได้ทำเช่นนั้น ฉะนั้นข้อเขียนของมักกรีซีจึงถือได้ว่าไม่เป็นที่น่าเชื่อถือเหมือนกับของฏอบารี ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนมักกรีซี 500 ปี เราจะได้เขียนถึงมักกรีซีในภายหลัง

13) โดเนลสัน, เอม. ดีไวท์
ในหนังสือของเขาชื่อ The Shiah Articles of Faith ฉบับแปลภาษาอาหรับหน้า 85 เขากล่าวไว้ว่า “หลักฐานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดแสดงให้เห็นว่า ข้ออ้างต่างๆ ของผู้ตามแนวทางของอะลีที่เกี่ยวข้องกับการสืบแทนตำแหน่งของเขานั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แต่พวกเขาเชื่อศรัทธาว่า การสืบแทนตำแหน่งของอะลีนั้น เป็นพระบัญชามาจากเบื้องบน ถึงกระนั้นก็มีชายลึกลับคนหนึ่งที่สามารถถือเอาว่า เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบอย่างมากกับการเชื่อศรัทธาเช่นนั้น ในช่วงระหว่างการสืบตำแหน่งของอุศมาน อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เริ่มขบวนการหนึ่งขึ้นมา เพื่อนำมุสลิมไปสู่ความพินาศ ดังที่ฏอบารีได้กล่าวไว้”

โดเนลสัน ไม่ได้อ้างอิงโดยตรงมาจากฏอบารี แต่ตามเชิงอรรถที่เขียนไว้ที่หน้า 59 ในหนังสือของเขาว่า อ้างอิงมาจากสารานุกรมอิสลาม ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว และจากหนังสือ History of Arabian Literature เราได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้นว่า พวกเขาเองได้อ้างอิงมาจาก ฏอบารี(17)

14) แวลเฮาเซ็น จูเลียส (ค.ศ. 1844-1918)
ในหน้า 56-57 ของหนังสือของเขาชื่อ Sabain and the Spirit of Prophethood เขากล่าวว่า “มีคณะหนึ่งถูกจัดตั้งขึ้นที่เมืองกูฟะฮ์ชื่อสะบะอียีน และบุคคลคณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงอิสลามไปอย่างรุนแรง โดยมิพักจะต้องพูดถึงคำสอนของอัล กุรอาน พวกเขาสอนถึงเรื่องราวการมีพระภาคของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) สะบะอียีนเชื่อศรัทธาว่า มุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ตายไปเฉพาะร่างกายเท่านั้น แต่ไม่ได้ตายในทางจิตวิญญาณ เพราะจิตวิญญาณของท่านมีพระภาค และยังคงมีชีวิตอยู่เป็นนิรันดร์”

ส่วนทฤษฎีของการกลับชาติมาเกิด พวกเขากล่าวว่าวิญญาณของพระเจ้าได้กลับมาจุติในตัวของศาสนทูตของพระองค์และผ่านไปยังศาสนทูตทั้งมวลของพระองค์ จากท่านหนึ่งไปสู่อีกท่านหนึ่ง และภายหลังจากมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) มันได้ถูกส่งต่อไปยังอะลี และจากนั้นก็ไปสู่บรรดาผู้สืบสายธารของเขา พวกเขาไม่ได้พิจารณาเห็นว่า อะลีมีความเท่าเทียมกับคอลีฟะฮ์ ที่มีมาก่อนหน้าเขา และคอลีฟะฮ์เหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) แต่พวกเขาถือว่า คอลีฟะฮ์เหล่านั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พวกเขาประกาศให้อะลีเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ที่มีพระภาค และชอบด้วยกฏหมายแต่เพียงผู้เดียว และการเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาถูกถือว่า เป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้า

แวลเฮาเซ็นกล่าวไว้เช่นกันว่า นับเป็นที่เข้าใจกันว่าสะบะอียีนสืบชื่อมาจากอิบนิ สะบาอ์ ผู้เป็นยิวชาวเยเมน และด้วยสมญานามนี้ที่ว่าสะบะอียีน จึงหมายถึง “พวกสุดโต่งและผู้เชื่อถือศรัทธาในการกลับชาติมาเกิด” เขากล่าวว่า “พวกสุดโต่งนี้มีชื่อต่างๆกันไม่เหมาะสมที่จะกล่าวถึงแต่ทุกชื่อนั้นพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาล้วนหลงทาง” ซัยฟ์ อิบนิ อุมัร อัล ตะมีมี กล่าวว่า “นับตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว สะบะอียีนเป็นพวกสร้างความยุ่งยาก เป็นผู้สังหารอุศมาน และเริ่มสงครามกลางเมือง... สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทาสที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ พวกเขามีความเชื่อในการผ่านวิญญาณจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณของมุฮัมมัดจุติอยู่ในอะลี เมื่อบุตรหลานของอะลีที่สืบมาจากฟาฏิมะฮ์บุตรีของท่านศาสดา ปฏิเสธลัทธิสะบะอียีน ดังนั้นพวกเขาจึงหันไปปฏิบัติตามมุฮัมมัด อัล ฮะนาฟียะฮ์ บุตรคนหนึ่งของอะลีที่ไม่ได้เกิดจากฟาฏิมะฮ์ สะบะอียีนปฏิบัติตาม อบา ฮาชิม บุตรของมุฮัมมัด อัล ฮะนาฟียะฮ์ เขาเป็นคนที่ไม่มีคุณค่าอันใดเหมือนกับบิดาของเขา อบาฮาชิมแต่งตั้งบุตรชายของเขาชื่อมุฮัมมัด อิบนิ อะลี อับบาซี เป็นผู้สืบแทน จากนั้นผู้สืบแทนของอะลีจึงสืบต่อไปถึงราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ อับบาสิยะฮ์ก็เหมือนกับสะบะอียีน ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กูฟะฮ์ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ก่อกบฏต่อบรรดามุสลิมอาหรับ และผู้สนับสนุนพวกเขาก็คือบรรดาทาสชาวอิหร่าน”

แวลเฮาเซ็นอ้างถึงซัยฟ์รวมสองครั้ง ในเรื่องนี้โดยเขียนไว้ที่เชิงอรรถของหนังสือของเขา ฉะนั้นจึงนับเป็นที่กระจ่างต่อเราว่า เขาได้นำเรื่องนี้มาจาก ฏอบารี(17) นักประวัติศาสตร์คนแรกที่กล่าวถึงซัยฟ์

ฉะนั้น เราจึงเขียนถึงนักประวัติศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงฏอบารี ทั้งโดยตรงและในทางอื่นๆ เมื่อพวกเขาเขียนถึงอิบนิ สะบาอ์ ยังมีนักเขียนอื่นๆอีกที่ไม่ได้กล่าวถึง นักเขียนผู้เป็นต้นตำรับเรื่องราวของอิบนิ สะบาอ์ แต่ในที่อื่นๆของหนังสือของพวกเขา ได้อ้างชื่อฏอบารีหรือหนังสือต่างๆซึ่งอ้างมาจากฏอบารี เป็นต้น

15) มีรคอนด์
ในหนังสือของเขาชื่อ เราฎอตุส ซอฟา

16) ฆิยาซุดดีน (มรณะ ฮ.ศ. 940 / ค.ศ. 1455)
เป็นบุตรชายมีรคอนด์ เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ ฮาบิบุส ซิร ได้อ้างอิงมาจากบิดาของเขา ดังที่ได้กล่าวถึงไว้ในบทนำของหนังสือของเขา นักประวัติศาสตร์ทั้งหมดข้างต้น ล้วนอ้างอิงมาจากฏอบารี(17)

17) ฏอบารีและแหล่งที่มาของเขา
อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร ฏอบารี อามุลี (มรณะ ฮ.ศ. 310 / ค.ศ. 825) ในหนังสือของเขา ชื่อ ตารีค อัลอุมัม วัลมุลุก (ประวัติศาสตร์ของประชาชาติและกษัตริย์) ฏอบารีพูดเรื่องราวของสะบะอียีน โดยนำมาจากซัยฟ์ อิบนิ อุมัร อัตตะมีมี เป็นการเฉพาะ เขาได้อ้างถึงเหตุการณ์บางเรื่องที่เกิดขึ้น ในปี ฮ.ศ. 30 เท่านั้น ดังเนื้อหาต่อไปนี้

ในปีเดียวกันนี้ (นั่นคือปี ฮ.ศ. 30) เรื่องราวเกี่ยวกับอบูซัรเริ่มต้นขึ้น มุอาวิยะฮ์ส่งอบูซัรจากชาม(ดามัสกัส)ไปมะดีนะฮ์ มีหลายเรื่องที่ได้เล่าขานไว้ถึงเหตุการณ์นั้น แต่ฉันไม่ปรารถนาที่จะบันทึกมันไว้ ซารีได้เขียนถึงฉันเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่ได้รับฟังมาจากบรรดาผู้คนที่หาข้อแก้ตัวให้กับมุอาวิยะฮ์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ อบูซัร ชุอัยบ์บอกกับ ซารีว่า ซัยฟ์ กล่าวว่า “เมื่อ อิบนิ เซาดาอ์ มาถึงมืองชาม (ดามัสกัส) เขาได้พบกับอบูซัร และรายงานให้เขาทราบถึงสิ่งที่ มุอาวิยะฮ์กำลังกระทำอยู่” และฏอบารีได้เล่าเรื่องสะบะอียีนว่า ตามที่ซัยฟ์บอกเล่าและจบเรื่องราวของอบูซัรด้วยประโยคต่อไปนี้ “ผู้อื่นได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างมากมาย(การเนรเทศอบูซัร) แต่ฉันลังเลใจที่จะรายงานถึงมัน”

เกี่ยวกับเหตุการณ์ของปี (ฮ.ศ. 30-36) ฏอบารีได้บันทึกเรื่องราวของอิบนิ สะบาอ์ และสะบะอียีน เรื่องการสังหารอุศมาน(คอลีฟะฮ์ที่ 3) และสงครามญะมัลจากซัยฟ์ ซึ่งกลายเป็นบุคคลคนเดียวที่เขาสามารถอ้างถึงฏอบารีรายงานเรื่องของเขาจากซัยฟ์ โดยผ่านทางบุคคลสองคนคือ 1) อุบัยดุลลอฮ์ อิบนิ ซะอีด ซุฮารี จากลุงของเขาชื่อยะอ์กูบ อิบนิ อิบรอฮีม และจากนั้นจึงนำมาจาก ซัยฟ์ จากแหล่งนี้เองเรื่องต่างๆ จึงเริ่มต้นขึ้นด้วยคำที่ว่า “ได้เล่าให้ฉันฟังหรือได้เล่าให้เราฟัง” 2) ซารี อิบนิ ยะฮ์ยา จาก ชุอัยบ์ อิบนิ อิบรอฮีม จากซัยฟ์ ฏอบารีบันทึกมาจากหนังสือสองเล่มคือ อัล ฟุตุฮ์ และอัล ญะมัลจาก ซัยฟ์ เขาเริ่มด้วย “เขาเขียนมาถึงฉัน” “เขาเล่าให้ฉันฟังว่า” และ “ในจดหมายของเขาที่มีมาถึงฉัน” ถึงขณะนี้เราได้พูดถึงเฉพาะแหล่งของฏอบารีเท่านั้น

18) อิบนิ อะซากิร (มรณะ ฮ.ศ. 571 / ค.ศ. 1086)
อิบนิ อะซากิร บันทึกมาจากแหล่งอื่นๆ ในหนังสือของเขาชื่อ ตารีค ดามัสกัส ขณะเขียนถึงประวัติของตอลฮะฮ์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เขาได้บันทึกเรื่องสะบะอียีนไว้เพียงบางส่วนโดยผ่านอบุล กอซิม ซะมัรกันดี จากอบูบักร อิบนิ ซัยฟ์ จากซารี จากชุอัยบ์ อิบนิ อิบรอฮีม จากซัยฟ์ เพราะฉะนั้น แหล่งกำเนิดของเรื่องนี้ก็คือซารี หนึ่งในสองแหล่งจากที่ฏอบารีได้บันทึกไว้

19) อิบนิ บัดรอน (มรณะ ฮ.ศ. 1346 / ค.ศ. 1852)
อิบนิ บัดรอน ได้บันทึกเรื่องต่างๆไว้ในหนังสือของเขาชื่อ ตะฮ์ซีบ โดยปราศจากการกล่าวถึงบรรดาชื่อของบรรดาผู้คนที่เขาได้อ้างอิงเอามา เขาได้เขียนเรื่องของอิบนิ สะบาอ์ไว้บ้างในหนังสือของเขา โดยปราศจากการกล่าวถึงต้นตอนั้น แต่ในชีวประวัติของซิยาด อิบนิ อะบีฮ์ เขาได้กล่าวถึงฏอบารี เมื่อได้กล่าวพาดพิงไปถึงเรื่อง ซัยฟ์ (เล่ม 5 หน้า 406)

20) อิบนิ อบีบักร (มรณะ ฮ.ศ. 741 / ค.ศ. 1256)
อิบนิ อบีบักร มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ อัล ตัมฮีด ซึ่งจากหนังสือนี้นักเขียนบางคนได้นำไปอ้างอิง หนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสังหารคอลีฟะฮ์อุศมาน และในบทนำมีชื่อหนังสือ อัล ฟุตูฮ์ ถูกกล่าวถึงไว้ ซึ่งเป็นหนังสือของซัยฟ์ และมีชื่อของอิบนิ อะซีรปรากฏอยู่ด้วยเช่นกัน อิบนิ อะซีร ได้อ้างอิงมาจากฏอบารี และฏอบารีนำมาจากซัยฟ์ ถึงขณะนี้เรื่องราวของซัยฟ์ มีแหล่งที่มาหลักๆ อยู่สามแหล่งคือ

1) ฏอบารี (มรณะ ฮ.ศ. 310 / ค.ศ. 825)
2) อิบนิ อะซากิร (มรณะ ฮ.ศ. 571 / ค.ศ. 1086)
3) อิบนิ อบีบักร (มรณะ ฮ.ศ. 741 / ค.ศ. 1256)

นักเขียนบางคนอ้างอิงมาจากแหล่งเดียว บางคนจากสองแหล่ง และบางคนจากทั้งหมดสามแหล่ง


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

21) ซะอีด อัฟกานี
ในหนังสือของเขาชื่อ อะอิชะฮ์กับการเมือง ซะอีด อัฟกานี ได้เขียนถึงเรื่องราวบางเรื่องที่เกี่ยวกับสะบะอียีน ภายใต้หัวเรื่องดังต่อไปนี้
“ท่านศาสดาค้านกับอุศมาน และผลกระทบของมัน”
“อิบนิ สะบาอ์ วีรบุรุษที่น่าหวาดหวั่นอันลี้ลับ”
“การสังเกตการณ์ของการปรองดองกัน” และ “การวางแผนร้าย” เขาได้กล่าวถึงสะบะอียีนในบทอื่นๆของเขาเช่นกัน แหล่งใหญ่ๆของเขาก็คือ ฏอบารี ตามมาด้วยอิบนิ อะซากิร จากนั้น อัลตัมฮีด ของอิบนิ อบีบักร เขาเชื่อถือ ฏอบารีมากกว่าบุคคลอื่นทั้งหมด โดยให้เหตุผลที่เขาไว้วางใจต่อฏอบารีไว้ว่า ฏอบารีเป็นผู้มีอิสระมากกว่าใครๆ และที่ว่านักประวัติศาสตร์ทั้งหมด ในยุคที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่เชื่อถือเขา จากนั้นเขาจึงกล่าวว่า “ฉันได้อ้างอิงจากหนังสือของฏอบารี ตามที่มีปรากฏอยู่จริงเท่าที่ฉันจะกระทำได้”

22) ซะฮาบี (มรณะ ฮ.ศ. 748 / ค.ศ. 1263)
ยังมีอีกช่องทางหนึ่ง ในเรื่องราวของอิบนิ สะบาอ์ นั่นคือ การบันทึกของซะฮาบี เขาได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้บ้าง ในหนังสือของเขาชื่อ ประวัติศาสตร์อิสลาม (เล่ม 2 หน้า 122-128) ซึ่งบันทึกถึงเรื่องการสังหารอุศมานเอาไว้ในเหตุการณ์ของปี ฮ.ศ. 35 เขาเริ่มต้นไว้ดังต่อไปนี้

“และซัยฟ์ อิบนิ อุมัร กล่าวไว้ว่า อะฏียะฮ์กล่าวว่ายะซีด อัล ฟักอะซี กล่าวว่า เมื่อ อิบนิ เซาดาอ์ ไปอียิปต์...” ซะฮาบีได้เขียนหนังสือไว้อีกเรื่องหนึ่ง บอกเล่าโดยซัยฟ์ ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าของฏอบารี ในตอนหลังเขาได้บันทึกบทสรุปหนึ่ง ในสิ่งที่ฏอบารีเขียนไว้ แหล่งดั้งเดิมของเรื่องราวต่างๆที่เขียนโดยซะฮาบีเกี่ยวกับสะบะอียีน และเรื่องอื่นๆนั้น อาจหาพบได้ในบทนำหนังสือของเขา

1) หนังสือต่างๆ เช่น อัลฟุตูฮ์ ซึ่งซะฮาบี ได้นำเอามาเป็นเนื้อหาที่สำคัญที่สุดสำหรับหนังสือของเขา
2) หนังสือจากที่เขาได้นำมา ที่ซึ่งเขาได้บันทึกไว้เป็นบทสรุป
3) หนังสือต่างๆ ที่เขาอ้างถึงไปหาอยู่บ่อยๆ เช่นของฏอบารี

เนื่องแต่ซะฮาบี ได้กล่าวถึงหนังสืออัลฟุตูฮ์ เขียนโดยซัยฟ์ และเขามีชิวิตอยู่ในศตวรรษที่ 8 แห่งศักราชอิสลาม ฉะนั้นหนังสือ อัลฟุตูฮ์ จะต้องมีอยู่ให้เห็นจนถึงขณะนั้น

เพื่อเป็นการสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่า นักประวัติศาสตร์เหล่านี้ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึง ได้นำเรื่องต่างๆ และนิยายของพวกเขา ในเรื่องของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ มาจากซัยฟ์ นักประวัติศาสตร์จำนวนสี่คนทั้งหมด นั้นคือ ฏอบารี อิบนิ อะซากิร อิบนิ อบีบักร และซะฮาบีได้นำเรื่องต่างๆของพวกเขามาจากซัยฟ์ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ นำเรื่องต่างๆ ของพวกเขามาจาก ซัยฟ์ โดยทางอ้อม

แผนภูมิหน้าถัดไป ชี้ให้เห็นว่าช่องทางที่เรื่องเล่าเกี่ยวกับสะบะอียีน สืบสายผ่านมาโดยการบันทึกต่อๆ กันมาจากนักเล่านิทาน ซึ่งเป็นต้นตอของเรื่อง เขาผู้นี้คือ ซัยฟ์

การสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับ ซัยฟ์ และคำบอกเล่าต่างๆ ของเขา
ซัยฟ์ คือใคร ?

ตามหลักฐานของฏอบารี เล่ม 1 หน้า 1749 ของสำนักพิมพ์ ยูร็อบและลุบาบุล อันซาบ เล่ม 1 หน้า 49 ชื่อเต็มของซัยฟ์ก็คือ ซัยฟ์ อิบนุ อุมัร อัตตะมีมี อัล อุซัยยะดี ตามหลักฐานของ ญัมฮะระตุล อันซาบ หน้า 199 และหนังสือของอิบนิ ดุรอยด์ ชื่อ อัล อิชติกอก หน้า 201-206 ผู้ที่ชื่ออุซัยยาด คือ อัมร อิบนิ ตะมีมี เพราะ ซัยฟ์ เป็นผู้สืบตระกูลของอัมร เขาได้อุทิศเรื่องราวที่เป็นวีรกรรมความกล้าหาญของบนูอัมร มากกว่าผู้อื่น ในหนังสือ ฟิฮ์เรสท์ ของ อิบนิ นาดิม เขียนไว้ว่า “อุซาดี” แทนที่จะเขียนว่า “อุซัยยัด”

ใน ตะฮ์ซีบ อัล ตะฮ์ซีบ ได้บันทึกไว้ว่า อัล บุรญุมี และซะอ์ดี หรือฏอบบี หากนี่เป็นเรื่องจริงก็ย่อมเป็นการเปิดเผยให้เห็นว่า เผ่าบุรญุมและอุซัยยัดมีข้อตกลงกันบางประการ(สัญญาสงบศึกและอื่นๆ) ระหว่างพวกเขากันเอง เนื่องจากบุรญุมและอุซัยยัดไม่ได้เป็นญาติสนิทกัน ถึงแม้เราจะเชื่อว่าเผ่าทั้งสองเป็นผู้สืบตระกูลของเผ่าบนูตะมีมก็ตาม
มีบันทึกอยู่ใน ตะฮ์ซีบ อัล ตะฮ์ซีบ, คุลาซอตุลตะฮ์ซิบ และฮิดายะ ตุลอารีฟีน ว่าซัยฟ์มาจากกูฟะฮ์ และมาอาศัยอยู่ที่แบกแดด

หากว่ากันตามหลักฐานใน คุลาซอตุล ตะฮ์ซิบ ซัยฟ์เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 170 มีบันทึกอยู่ใน อัล ตะฮ์ซีบ ว่า “ฉันได้เคยเห็นข้อเขียนด้วยลายมือของซะฮาบีกล่าวไว้ว่า ซัยฟ์เสียชีวิตในระหว่างการปกครองของฮารูณ อัร รอชีด” อิสมาอีล ปาชา เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล ฮิดาอ์ ดังว่า “เขา(ซัยฟ์)เสียชีวิตที่แบกแดด ในระหว่างการปกครองของฮารูณ อัร รอชีดในปี ฮ.ศ. 200 และ อัร รอชีดตายในปี ฮ.ศ. 193” ไม่มีผู้ใดกล่าวไว้เช่นนั้น อิสมาอีล ปาชา ก็ไม่ได้เปิดเผยแหล่งข้อมูลของเขาเช่นกัน

หนังสือต่างๆ ของซัยฟ์
ตามหลักฐานของ อัล ฟิฮ์เรสท์ และ อัล ฮิดาอ์ ซัยฟ์เขียนหนังสือไว้สองเล่ม 1) อัล ฟุตูฮ์ อัล กะบีร วัล ริดดะอ์ 2) อัล ญะมัล วะมะซีรุ อาอิชะฮ์ วะอะลี และตามหลักฐานของ อัล ลุบาบ, อัล ตะฮ์ซีบ และกัชฟุล ซุนูน ซัยฟ์ เขียนหนังสือเพียงเล่มเดียวคือ “อัล ฟุตฮ์”

ฏอบารีได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขา จากหนังสือเล่มของซัยฟ์ คือ อัล ฟุตูฮ์ และ อัล ญะมัล ตามลำดับ ชื่อของผู้คนที่มีบทบาทอยู่ในเหตุการณ์นี้แต่เขาไม่ได้อ้างอิงกลับไปยังหนังสือของ ซัยฟ์
ซะฮาบีในหนังสือประวัติศาสตร์ของเขาชื่อ อัล กะบีร และ อิบนิ อะซากิร ตามรายชื่อของผู้คนที่มีบทบาทอยู่ในเหตุการณ์นี้ และพวกเขาได้อ้างอิงกลับไปยังหนังสือของซัยฟ์

นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ผู้ซึ่งได้เขียนเรื่องราวของบรรดาสาวกของท่านศาสดาคือ อิบนิ อับดุล บัร อิบนิ อะซีร อิบนิ ฮะญัร และซะฮาบี นักประวัติศาสตร์เหล่านี้ได้บันทึกบรรดาชื่อของวีรบุรุษที่ซัยฟ์ได้สร้างขึ้นมา พร้อมไปกับรายชื่อของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่มีอยู่จริง (บรรดาสาวกของท่านศาสดา)
นักภูมิศาสตร์อย่างเช่น อัล ฮะมาวีในหนังสือ มุอ์ญัม ของเขา และ อัล ฮิมยะรีในหนังสือ อัล เราฎ์ ได้ให้ชื่อเมืองที่ไม่มีอยู่จริง ซึ่งซัยฟ์ได้สร้างเรื่องขึ้นมา อับดุลมุอ์มินได้บันทึกสถานที่ต่างๆของซัยฟ์มาจาก อัล ฮะมาวี บุคคลสุดท้ายที่เราพบ ผู้ซึ่งกล่าวว่าหนังสือของซัยฟ์ ที่เขามีเป็นเจ้าของอยู่ก็คือ อิบนิ ฮะญัร (มรณะ ฮ.ศ. 825) ผู้ประพันธ์หนังสือ อัล อิซอบะฮ์

คุณค่าของการบันทึกของ ซัยฟ์
1) ยะอ์ยา อิบนิ มุอีน (มรณะ ฮ.ศ. 233) “การเล่าเรื่องต่างๆของเขานั้นอ่อนหลักฐานและไร้คุณค่า”

2) นะซาอี (มรณะ ฮ.ศ. 303) ในซอเฮียะฮ์ของเขา “การเล่าเรื่องต่างๆของเขาอ่อนหลักฐาน พวกเขาไม่ควรไปเห็นด้วยกับมัน เพราะเขาเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่น่าไว้วางใจ”

3) อบู ดาวูด (มรณะ ฮ.ศ. 316) “ไม่มีคุณค่าใดๆเลย เขาเป็นคนโป้ปดมดเท็จ”

4) อิบนิ อบี ฮาตัม (มรณะ ฮ.ศ. 327) “พวกเขาละทิ้งการเล่าเรื่องต่างๆของเขา”

5) อิบนิ อัลซะกัน (มรณะ ฮ.ศ. 353) “อ่อนหลักฐาน”

6) อิบนิ อะดี (มรณะ ฮ.ศ. 353) “อ่อนหลักฐาน การเล่าเรื่องต่างๆบางเรื่องมีชื่อเสียง แต่กระนั้นการเล่าเรื่องส่วนใหญ่ของเขา เป็นเรื่องน่าอับอาย และไม่ต้องไปเชื่อตาม”

7) อิบนิ ฮิบบาน (มรณะ ฮ.ศ. 354) “ในเรื่องราวที่เขาได้แต่งขึ้น เขาได้กล่าวถึงบรรดาชื่อของผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ แต่พวกเขากล่าวว่า เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกอุตริ และปลอมการเล่าเรื่องต่างๆ

8) ฮากีม (มรณะ ฮ.ศ. 405) “การเล่าเรื่องต่างๆของเขาถูกโยนทิ้งไป เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกอุตริชน”

9) คอตีบ อัล บัฆดาดี

10) อิบนิ อัลดุลบัร (มรณะ ฮ.ศ. 463) เล่ามาจากอบี ฮัยยานว่า “การเล่าเรื่องของซัยฟ์ถูกโยนทิ้งไป เรากล่าวถึงมันเพื่อเห็นแก่ความรู้เท่านั้น”

11) ซอฟียุดดีน (มรณะ ฮ.ศ. 923) “พิจารณาว่าอ่อนหลักฐาน”

12) ฟิรูอาบาดี (มรณะ ฮ.ศ. 817) ในหนังสือ ตะวาลีฟ กล่าวไว้ว่า “ซัยฟ์ กับบุคคลอื่นๆเป็นที่กล่าวกันว่า พวกเขาอ่อนหลักฐาน”

13) อิบนิ ฮะญัร (มรณะ อ.ศ. 852) หลังจากที่ได้กล่าวถึงการเล่าเรื่อง “นั่นมาจากผู้เล่าต่างๆ ที่อ่อนหลักฐานที่อ่อนที่สุดในหมู่พวกเขาทั้งหมดก็คือของ ซัยฟ์”

เหล่านี้คือทัศนะของนักเขียนชีวประวัติเกี่ยวกับซัยฟ์และการเล่าเรื่องต่างๆของเขา ลำดับต่อไปขอให้พิจารณาดูถึงตัวเนื้อหาของเรื่องเล่านั้นๆและการจะทำเช่นนี้ได้ เราจำเป็นต้องอ้างอิงกลับไปยังประวัติศาสตร์ของฏอบารี ทั้งนี้เพราะของเขามีมาก่อนของผู้อื่นทั้งหมด และใช้อ้างอิงในหนังสือประวัติศาสตร์ต่างๆมากกว่าของผู้อื่นทั้งสิ้น

ฏอบารี ได้เล่าเรื่องมาจากซัยฟ์มากมายหลายเรื่อง โดยอ้างอิงมาจากหนังสือสองเล่มของเขาคือ อัลฟุตูฮ์ วัลริดดะฮ์ และอัล ญะมัล เขาได้เล่ามาจากเรื่องเล่าต่างๆของเขา (ซัยฟ์) เช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสะกีฟะฮ์และความตายของอุศมาน ฉะนั้นเรื่องเล่าต่างๆ ของซัยฟ์ที่สร้างขึ้นมานี้นับเป็นการอ้างอิงที่มีความสำคัญประการหนึ่ง ที่มีการอ้างอิงกันในประวัติศาสตร์อิสลามทั้งหมดมาจนถึงปัจจุบัน

เราจะพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ของฏอบารีเป็นอันดับแรก และจากนั้นจึงจะดูว่าผู้เล่าเรื่องคนอื่นๆ ที่จะต้องอาศัยเรื่องของซัยฟ์ ในการเล่าเรื่องของพวกเขาและเราจะเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นความแตกต่างในการเล่าเรื่องต่างๆ ของพวกเขากับของผู้อื่น เพื่อค้นหาวิธีการที่เขาใช้ในการปลอมแปลงเรื่องต่างๆ ตลอดจนคุณค่าของเรื่องราวต่างๆ ของเขา

1. กองทัพอุซามะฮ์
ฏอบารี (เล่ม 3 หน้า 212 เล่ม 1 หน้า 1849-50 EUR) และอิบนิ อะซากิร (เล่ม 1 หน้า 427) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของปีฮิจเราะฮ์ที่ 11 ประวัติศาสตร์จดบันทึกไว้ในเรื่องของกองทัพอุซามะฮ์ ที่บอกเล่าโดยซัยฟ์มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

การตรวจสอบหาความจริงของเรื่องต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮ์ ดังที่ ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้
1) ความซื่อสัตย์มั่นคง และบุคลิกลักษณะของบรรดาผู้เล่าเรื่อง
2) เนื้อหาของเรื่องเล่าของซัยฟ์

ก) ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องเล่าเรื่องแรกของเขามาจากเกาะกออ์ อิบนิ อัมร อัล ตะมีมี แต่เกาะกออ์เป็นตัวละครที่ซัยฟ์ได้แต่งเรื่องขึ้นมา และชื่อของเขาปรากฏอยู่ก็เฉพาะในหนังสือของซัยฟ์เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีชื่อของเกาะกออ์ในที่ใดอีก ยกเว้นก็แต่ในหนังสือต่างๆที่ผู้ประพันธ์ได้อ้างอิงมาจากซัยฟ์ นักประวัติศาสตร์และนักเขียนต่างก็เอ่ยถึงชื่อของสถานที่ สนามรบ บทกวี และกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกาะกออ์ และได้ระบุชื่อของเขาให้เป็นสาวกคนหนึ่งของท่านศาสดา (โปรดดูบรรดาสาวกที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา) ซัยฟ์ บันทึกเรื่องเล่าลำดับที่ 2.4 มาจาก มุบัชชิร ซึ่งชื่อของเขานั้นไม่อาจหาพบได้จากที่ใด นอกจากเรื่องเล่าของซัยฟ์เท่านั้น

ซ็อคร์เป็นตัวละครอีกตัวหนึ่ง ที่ซัยฟ์อุปโลกน์ขึ้นมา และชื่อของเขาปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าเรื่องสุดท้ายของซัยฟ์ ซัยฟ์แนะนำเขาในฐานะทหารคนสนิทของท่านศาสดา และเช่นกันชื่อของเขาไม่ปรากฏว่า “เขาเป็นใคร”

ข) เนื้อหาเรื่องเล่าของซัยฟ์ ซัยฟ์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำเสนอตัวละครให้เป็นเรื่องจริง และในการบิดเบือนเรื่องที่เกิดขึ้นจริงให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเขา ตัวอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเขากล่าวว่า “วันนั้นที่ท่านศาสนทูตของพระเจ้าวายชนม์ มีชายคนหนึ่งมาที่มัสยิดและกล่าวขึ้นว่า ผู้คนกำลังเลือกตั้งสะอัดให้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา และได้ละเมิดคำสั่งของท่านศาสดา เมื่อได้แต่งตั้งผู้สืบแทนขึ้นคนหนึ่งก่อนที่ท่านจะวายชนม์และชาวอันศอร (คณะผู้ช่วยเหลือ) กำลังจะหักหลังท่านศาสดา” ซัยฟ์กล่าวไว้เช่นกันว่า อุซามะฮ์ได้ส่งอุมัรมาพบกับอบูบักร ภายหลังจากที่เขาได้รับทราบข่าวสารการเสียชีวิตของท่านศาสดา จากการที่กล่าวเช่นนี้ก็เพื่อต้องการที่จะชักนำไปให้เชื่อว่า อบูบักรได้รับการแต่งตั้งให้ป็นคอลีฟะฮ์แล้ว ก่อนที่ท่านศาสดาจะวายชนม์

นักเล่านิทาน
การประชุมกันที่สะกีฟะฮ์มีความสำคัญ ซึ่งนำไปสู่การแต่งตั้งให้อบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ นับเป็นหลักหินแห่งอำนาจของคอลีฟะฮ์และ มุอาวิยะฮ์ ซัยฟ์ผู้เป็นนักเล่านิทานได้บิดเบือนผลของการประชุมในครั้งนี้ให้เหมาะกับความคิดเห็นของเราเอง เราจะได้ศึกษาดูถึงเหตุการณ์ของการประชุมในครั้งนั้นที่เขียนขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ซุนนีผู้คงแก่เรียนบางท่าน ก่อนที่จะตรวจสอบการบันทึกของซัยฟ์ถึงเรื่องนี้

สะกีฟะฮ์ กับนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆนอกเหนือจาก ซัยฟ์
สะกีฟะฮ์ กับ อบูบักร
การเตรียมการเพื่อการประชุมที่สะกีฟะฮ์ เกิดขึ้นก่อนที่ท่านศาสดาจะวายชนม์ ในวาระก่อนจะถึงความตาย ท่านศาสดาพยายามที่จะทำให้เมืองหลวงแห่งรัฐอิสลามปลอดพ้นไปจากบรรดาบุคคลชั้นนำ และให้อะลีอยู่เพียงคนเดียวในนครมะดีนะฮ์ ท่านออกคำสั่งซ้ำแล้วซ้ำอีกให้บรรดาหัวหน้าเหล่านั้น เดินทางออกจากนครมะดีนะฮ์และไปร่วมกับกองทัพ เพื่อออกสู่สนามรบที่ซีเรีย(ชาม) พวกเขาไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของท่านศาสดาและตั้งใจที่จะทำให้เกิดความล่าช้าในการนำกองทัพออกไป จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของท่านศาสดา ในระหว่างที่กำลังล่าช้ากันอยู่ได้เกิดเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าแห่งประวัติศาสตร์

ท่านศาสนทูตได้แสดงเจตจำนงของท่านด้วยการเขียนบันทึกหรือไม่ ?
ขณะที่วาระสุดท้ายของท่านศาสดากำลังจะเข้ามาถึง นครมะดีนะฮ์ตกอยู่ในสภาพตื่นตระหนก ทุกคนต่างรู้สึกว่าผู้นำแห่งมนุษยชาติกำลังจะจากโลกนี้ไปชั่วกาลนาน ท่านศาสดามีการวางแผนหนึ่ง สำหรับวาระนี้อย่างทันท่วงที ในใจของท่านนั้น ต้องการที่จะทำให้นครมะดีนะฮ์ปลอดไปจากคณะผู้นำ แต่พวกเขาปฏิเสธที่จะเดินทางออกไป พวกเขาก็มีแผนการหนึ่งเช่นเดียวกัน และกำลังเฝ้ามองสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด พวกเขาขัดขวางท่านศาสดาไม่ให้ละทิ้งคำสั่งเสียใดๆ ไว้ให้กับบรรดามุสลิม เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษยชาติ

ตามรายงานของ ฏอบะกอต โดย อิบนิ สะอัด เล่ม 2 หน้า 243-244 อุมัร อิบนิ ค็อตต็อบได้กล่าวด้วยตนเองว่า “เราอยู่ข้างๆท่านศาสดาและบรรดาสตรีอยู่กันหลังม่าน จากนั้นท่านศาสนทูตของพระเจ้า จึงกล่าวว่า “จงชำระล้างฉันด้วยถุงหนังใส่น้ำจนเต็ม จำนวนเจ็ดถุงและจงนำน้ำหมึกและกระดาษให้ฉัน เพื่อฉันจะได้เขียนคำสั่งเสียประการหนึ่งไว้ให้กับพวกเจ้าเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเจ้าต้องหลงทางตลอดไป” บรรดาสตรีจึงกล่าวขึ้นว่า “จงไปนำเอาสิ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าต้องการมาให้ท่าน” มักรีซี กล่าวว่า ซัยหนับบุตรสาวของญะฮัชภรรยาของศาสดาเป็นผู้กล่าวคำพูดนี้ พร้อมบรรดาสตรีที่อยู่กับนาง อุมัรกล่าวว่า “ฉันบอกพวกผู้หญิงให้เงียบเสียงลงเสีย พวกนางนั้นทำทีปิดตา และแสร้างว่าร้องไห้ เมื่อท่านศาสดากำลังเจ็บป่วย แต่พวกนางคอยค้ำคอท่านตอนที่ท่านยังดีๆอยู่” ในขณะนั้นเองท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าได้กล่าวกับบรรดาผู้ชายว่า “ผู้หญิงนั้น ดีกว่าพวกเจ้าเสียอีก”

ในหนังสือ ฏอบะกอต เล่ม 2 หน้า 242 อิบนิ สะอัด ได้บันทึกไว้ว่าญาบีร กล่าวว่า “ขณะที่ศาสนทูตกำลังจะถึงวาระสุดท้าย ได้ขอกระดาษกับปากกา เพื่อว่าท่านจะได้บันทึกคำสั่งเสียไว้ให้กับผู้คนของท่าน โดยให้คำแนะนำว่า พวกเขาควรจะทำอย่างไร เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่หลงทาง แต่ผู้คนที่ร่วมชุมนุมอยู่ที่นั้นได้สร้างความยุ่งยากขึ้น จนกระทั่งท่านศาสดาเลิกความคิดของท่านไป”

ในหนังสือ มุสนัด อิบนิ ฮัมบัล เล่ม 1 หน้า 293 (อรรถาธิบาย โดย อะห์มัด ซากิร ฮะดิษที่ 2676) อิบนิ อับบาสกล่าวว่า เมื่อวาระสุดท้ายของท่านศาสนทูตใกล้เข้ามาแล้ว ท่านกล่าวว่า “จงนำปากกาที่ทำด้วยกระดูกแกะมาให้ฉัน ฉันจะเขียนสั่งเสียไว้ให้กับพวกเจ้า ฉะนั้นหลังจากที่ฉันเสียชีวิตแล้ว จะไม่มีคนใดในสองคนจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน” ผู้คนที่อยู่ที่นั้นต่างส่งเสียงกันอึงคะนึง และสตรีคนหนึ่งได้ถามขึ้นว่า “พวกท่านไม่เห็นหรือว่า ท่านศาสดากำลังจะทำพินัยกรรม”

อิบนิ อับบาส ได้กล่าวไว้อีกที่หนึ่งว่า ระหว่างที่ท่านศาสดากำลังเจ็บเป็นครั้งสุดท้าย ดังว่า “จงนำกระดาษและน้ำหมึกมาให้ฉัน ฉันจะเขียนบันทึกไว้ให้พวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะได้ไม่หลงทาง ภายหลังฉันจากไปแล้ว” อุมัร อิบนิ ค็อตต็อบ กล่าวว่า “ยังมีเมืองเหลืออยู่มากมาย เมืองนั้นเมืองนี้ที่จะต้องพิชิต และท่านจะยังไม่ตายจนกว่าท่านจะได้พิชิตมันทั้งหมด หากในกรณีที่ท่านตาย พวกเขาก็จะรอการกลับคืนมา เฉกเช่นที่ชาวอิสรออีลรอคอยการกลับมาของมูซา” ซัยหนับผู้เป็นภรรยาของท่านศาสดาพูดขึ้นในขณะนั้นว่า “พวกท่านไม่เห็นหรือว่า ท่านศาสดากำลังจะทำพินัยกรรม ?” จากนั้นจึงมีเสียงดังอึงคนึงและวุ่นวายไปหมด ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “จงออกไปให้หมด” ในบัดดลนั้น ท่านศาสดาก็ถึงแก่กรรม...

จากเหตุการณ์ที่เราได้กล่าวถึงนี้ และในเรื่องที่เรากำลังจะเขียนถึง มันเป็นเรื่องที่กระจ่างแล้วว่า นอกเหนือจากความอ่อนล้าของท่านศาสดาก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ท่านได้ขอให้นำน้ำหมึกกับกระดาษมาให้ท่าน แต่บรรดาผู้ที่อยู่ที่นั่นได้สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น จนถึงกับท่านศาสดายกเลิกความตั้งใจของท่าน คำอธิบายของเราที่ติดตามมาแสดงให้เห็นว่า เพราะการโต้แย้งที่จงใจและไร้เหตุผล ท่านศาสดาไม่มีทางเลือก นอกจากยกเลิกความคิดของท่าน

ในหนังสือ ซอเฮียะฮ์บุคอรี อิบนิอับบาสกล่าวว่า “ โอ้ วันพฤหัสบดี มันเป็นวันอะไรกันนี่” เขามีความเศร้าระทมมาก จนกระทั่งน้ำตาไหลรินเป็นสายลงไปบนก้อนกรวดที่อยู่ที่เท้าของเขา เมื่ออาการป่วยของท่านศาสนทูตของพระเจ้าเริ่มทรุดลง ท่านศาสดากล่าวว่า “ จงนำเอากระดาษและหมึกมาให้ฉัน เพื่อว่าฉันจะได้เขียนคำสั่งหนึ่ง อันเป็นการปกป้องพวกเจ้าให้พ้นจากความหลงผิด เมื่อฉันได้จากไปแล้ว” จากนั้นจึงมีเสียงโต้แย้งและวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ผู้ที่รวมตัวอยู่นั้น บางคนกล่าวว่าท่านศาสดากำลังพูดเพ้อเจ้อ ท่านศาสดาจึงกล่าวขึ้นว่า “จงปล่อยฉันไว้ตามลำพัง ฉันต้องการความสงบเงียบในขณะนี้”

ในอีกที่หนึ่ง อิบนิ อับบาส ได้บอกชื่อของชายคนนั้น ที่ได้กล่าวประโยคนั้นออกมา เขาได้บอกกับเราไว้ในหนังสือ ซอเฮียะฮ์บุคอรี ว่าขณะที่ท่านศาสดากำลังจะถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านกล่าวว่า “จงอย่าได้เสียเวลาไปเลย จงให้ฉันเขียนบางสิ่งที่จะป้องกันพวกเจ้าให้พ้นไปจากความหลงผิด” อุมัรปรากฏตัวอยู่ในการชุมนุมนั้นด้วยกล่าวว่า “ความป่วยไข้ได้ครอบงำจิตใจของชายผู้นี้ เรามีอัล กุรอานคัมภีร์ของพระเจ้าอยู่กับเราแล้ว และย่อมถือเป็นความเพียงพอ” จากนั้นจึงมีเสียงอึงคนึงและการโต้เถียงเกิดขึ้น ท่านศาสดาจึงบังเกิดความรำคาญ และได้กล่าวขึ้นว่า “จงออกไป พวกเจ้าไม่ควรจะมาถกเถียงและขัดแย้งกันและกันต่อหน้าฉัน”

ในหนังสือ มุสนัด อิบนิ ฮัมบัล และฏอบะกอต มีกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ “พวกเขาพูดจาไร้สาระกันอย่างมาก ถึงกับทำให้ท่านศาสดาไม่สบายใจ” หลังจากนั้น อิบนิ อับบาสเคยกล่าวไว้ว่า “นับเป็นวาระแห่งความอับโชคอย่างมากมายที่ว่า เมื่อพวกเขาพูดเรื่องไร้สาระ พวกเขาได้หักห้ามท่านศาสดาไม่ให้เขียนข้อความนั้นไว้”

จากที่เล่ามาทั้งหมดข้างต้น ไม่มีใครนอกจากอุมัรคนเดียวที่ถูกระบุนามว่า เป็นคนหักห้ามท่านศาสดาไม่ให้เขียนบันทึกไว้ อุมัรคือผู้ที่บอกกับบรรดาสตรีว่า “พวกที่เป็นหญิง...” อุมัร คือ ผู้ที่กล่าวตำหนิบรรดาภรรยาของท่านศาสดาอย่างรุนแรงพูดจากับพวกนางด้วยท่าทีที่ไม่สุภาพเป็นอย่างยิ่ง “จงไปเอากระดาษและน้ำหมึกมาซิ ท่านศาสดาปรารถนาที่จะเขียน” อุมัรคือ บุคคลที่กล่าวว่า “ถ้าหากท่านศาสดาเสียชีวิต ใครเล่าจะไปพิชิตเมืองต่างๆของพวกโรมัน ?” อุมัรคือบุคคลผู้นั้นที่เมื่อได้พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วยที่จะให้กระทำไปตามคำขอร้องของท่านศาสดา และให้ไปนำกระดาษและน้ำหมึกมาให้ท่าน จึงได้กล่าวคำพูดที่ว่า “ความเจ็บป่วยได้ครอบงำชายผู้นี้ เขาพูดเพ้อไปแล้ว อัล กุรอานคัมภีร์ของพระเจ้าอยู่กับเรา นับเป็นความเพียงพอแล้ว” อุมัร คือผู้ที่กล่าวว่าท่านศาสดาพูดเพ้อเจ้อไปแล้ว

ด้วยการพูดเช่นนี้ เขาบรรลุสู่เป้าหมายของเขา เพราะว่าหากมีใครพูดว่า ทำไมท่านศาสดาจึงไม่ยืนยันที่จะแต่งตั้งใครบางคนด้วยการเขียนบันทึกเล่า ? เราขอกล่าวไว้ที่นี้ว่า ถึงแม้ว่าจะได้มีการเขียนเอกสารสักฉบับหนึ่ง ก็ไม่มีคุณค่าอะไรมากนัก เพราะจากการกล่าวหาของอุมัร พวกเขาก็จะพากันพูดว่าการเขียนบันทึกกระทำในขณะที่ท่านกำลังเพ้อ และไม่รู้ว่าท่านกำลังทำอะไรลงไป อิบนิ อับบาส ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ตามรายงานของอิบนิ อับบาส มีชายคนหนึ่งเข้ามาหาท่านศาสดาและได้ถามท่านว่า ท่านยังต้องการกระดาษและน้ำหมึกอยู่อีกหรือไม่ ? ท่านศาสดากล่าวตอบว่า “หลังจากนี้แล้วจะมีประโยชน์อันใด?” หมายความว่า ภายหลังจากที่คนบางคนได้พูดว่า ท่านกำลังพูดเพ้อ ซึ่งย่อมเป็นที่เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่ท่านเขียนย่อมเป็นโมฆะ เพราะมันถูกเขียนขึ้นขณะที่กำลังเพ้อ ย่อมเห็นได้ว่า อุมัรได้ดำเนินงานตามแผนการร้ายของเขา ด้วยการใช้เล่ห์กลเป็นอย่างมาก ด้วยการกล่าวคำพูดเช่นนั้นออกมา และที่เขาได้หักห้ามท่านศาสดาจากการเขียนบันทึก เพื่อปกป้องมุสลิมให้พ้นจากความหลงผิดหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว

ภายหลังจากที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น บางทีอุมัรควรจะถูกถามคำถามต่อไปนี้ “ท่านกล้ากล่าวหาท่านศาสดา ด้วยการพูดว่ากำลังเพ้อ ทำไมท่านถึงไม่ขัดขวางการทำพินัยกรรมของอบูบักร ซึ่งเขาบอกให้จดในระหว่างที่เขากำลังเพ้อเล่า ?”

ในหนังสือ ฏอบารี เล่ม 4 หน้า 52 ขณะที่อบูบักรใกล้จะตาย เขาอนุญาตให้อุศมาน เข้ามาพบเพียงคนเดียว เขาบอกให้อุศมานเขียนบันทึกดังว่า “ด้วยนามแห่งพระองค์ผู้ทรงเมตตาสูงสุด นี่คือพินัยกรรมของฉันเป็นคำแนะนำหนึ่งสำหรับบรรดามุสลิม จากฉันอบูบักร อิบนิ อบีกุฮาฟะฮ์” เมื่อกล่าวมาถึงคราวนี้เขาก็หมดสติไป จากนั้นอุศมานก็เขียนพินัยกรรมต่อไปในท่วงทำนองเดียวกันดังต่อไปนี้ “ฉันได้ตัดสินใจแต่งตั้งให้อุมัรเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนฉันเป็นคอลีฟะฮ์ของฉัน ฉันได้ทำอย่างดีที่สุดให้กับพวกท่านแล้ว” เมื่อมาถึงตรงนี้อบูบักรฟื้นคืนสติขึ้นมาอีก และกล่าวว่า “จงอ่านให้ฉันฟังอีกครั้งซิที่ได้เขียนไว้” อุศมานจึงอ่านให้ฟัง อบูบักรจึงกล่าวขึ้นว่า “พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ท่านเกรงว่าฉันจะตายไป โดยที่ฉันไม่ได้ฟื้นกลับคืนสติมาอีก บรรดามุสลิมก็จะอยู่กันโดยปราศจากคอลีฟะฮ์ และก็จะหลงทางไปในที่สุด” อุศมานเห็นด้วย และ อบูบักรจึงกล่าวขึ้นว่า “ขอพระเจ้าทรงตอบแทนท่านอย่างดีงาม สำหรับความช่วยเหลือที่ท่านได้มอบให้กับมุสลิมและอิสลาม”

ควรจะต้องถามอุมัรว่า “ท่านมีปฏิกิริยาอย่างไรกับการทำพินัยกรรมของอบูบักร ?” อุมัรอยู่ที่บ้านแวดล้อมไปด้วยเพื่อนฝูงของเขา แต่งองค์ทรงเครื่อง และรอคอยการมาถึงของทาสของอบูบักรที่จะนำเอาพินัยกรรมมามอบให้ ซึ่งเนื้อหาของมันนั้น จะได้ประกาศให้ทราบเป็นทางการ อุมัรได้รับหนังสือแล้วจึงนำไปประกาศให้ที่ประชุมได้รับทราบ “โอ้ ประชาชนจงฟังทางนี้ ! จงเชื่อฟังในสิ่งที่คอลีฟะฮ์ของพระเจ้าได้กล่าว คอลีฟะฮ์กล่าวว่า เขาได้ทำอย่างดีที่สุดสำหรับพวกท่านแล้ว” อุมัรคนเดียวกันนี้แหละที่ขัดขวางไม่ให้ท่านศาสดาเขียนพินัยกรรม เมื่อคราวที่ท่านป่วยเป็นครั้งสุดท้าย โดยกล่าวว่า “ชายคนนี้กำลังพูดเพ้อไปแล้ว คัมภีร์ของพระเจ้านั้นนับเป็นที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา” มาบัดนี้เขาได้เห็นด้วยกับคำสั่งเสียของ อบูบักร ซึ่งเขียนขึ้นในขณะที่เขากำลังเพ้อ อิบนิ อับบาส ทำถูกต้องอย่างแท้จริงแล้ว ที่ได้สะอื้นไห้จนน้ำตาหลั่งไหลลงไปเปียกชุ่มอยู่ที่ก้อนกรวดบนพื้นดิน

การจากไปของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)
ในวันจันทร์ตอนเที่ยงวัน ศาสนทูตแห่งพระเจ้าเสียชีวิตในห้องของท่าน ณ นครมะดีนะฮ์ อุมัรอยู่ที่นั่นด้วยและอบูบักรอยู่ที่บ้านของเขา ณ ตำบลซุนฮ์ ห่างจากนครมะดีนะฮ์ไปประมาณหนึ่งไมล์ อุมัรและมุฆีเราะฮ์ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในห้อง ที่ร่างของท่านศาสดานอนอยู่ อุมัรเปิดผ้าคลุมหน้าของท่านศาสดาออก พร้อมกับกล่าวว่า “ท่านศาสดากำลังนอนไร้สติอยู่” มุฆีเราะฮ์กล่าวกับอุมัรขณะที่ออกจากห้องว่า “ท่านก็รู้ดีอยู่นี่ว่าท่านศาสดาเสียชีวิตแล้ว” อุมัรกล่าวกับเขาว่า “เจ้าพูดโกหก ท่านศาสดายังไม่ตายเจ้าเป็นคนสร้างความยุ่งยาก ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าจะต้องไม่ตาย จนกว่าท่านจะได้ทำลายพวกหน้าไหว้หลังหลอกให้หมดสิ้น” อุมัรข่มขู่บรรดาผู้ที่กล่าวว่า ท่านศาสดาเสียชีวิตแล้ว ว่าพวกนั้นจะต้องถูกสังหารลง เขาประกาศก้องขึ้นว่า “มีพวกหน้าไหว้หลังหลอกบางคนคิดว่า ท่านศาสนทูตของพระเจ้าเสียชีวิตแล้ว แต่ท่านยังไม่ตาย ท่านกลับไปเฝ้าพระเจ้าเสมือนมูซากระทำเป็นเวลาสี่สิบวัน ผู้คนต่างคิดว่ามูซาได้ตายจากไปแล้วแต่เขาก็กลับมา และศาสนทูตแห่งพระเจ้าก็จะกลับมาเช่นกัน และท่านจะตัดมือและเท้าของผู้ที่คิดว่าท่านตายแล้ว”

อุมัรกล่าวว่า “ฉันจะตัดคอผู้ใดก็ตามที่กล่าวว่าท่านศาสดาตายแล้ว ศาสนทูตแห่งพระเจ้าได้ขึ้นสู่ฟากฟ้า” อิบนิ อุมมิมักตูม อัมร อิบนิ กอยส์ จึงได้อ่านโองการจากอัล กุรอาน ซึ่งมีความว่า “ มุฮัมมัดมิใช่อื่นใด นอกจากเป็นศาสนทูตคนหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้าเขาก็มีบรรดาศาสนทูตที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ฉะนั้นหากเขาตายหรือถูกฆ่า พวกเจ้าก็จะหันหลังกลับสู่สภาพเดิมของพวกเจ้ากระนั้นหรือ และใครก็ตามที่หันกลับสภาพเดิมของเขา เขาก็จะไม่ยังอันตรายต่ออัลลอฮ์แต่ประการใด และอัลลอฮ์จะทรงตอบแทนผู้กตัญญู” อับบาสผู้เป็นลุงของท่านศาสดาลกล่าวว่า “ศาสนทูตแห่งพระเจ้าได้ตายจากไปอย่างแน่นอนแล้ว ฉันเห็นใบหน้าของเขา และมันเหมือนกับใบหน้าของบรรดาบุตรชายของอับดุลมุตฏอลิบ เมื่อพวกเขาตายลง”

จากนั้นเขาได้ถามผู้คนว่า “ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้ากล่าวสิ่งใดกับท่านบ้างหรือเกี่ยวกับการวายชนม์ของท่าน ? ถ้าหากมีก็โปรดแจ้งให้เราได้รับทราบ” ผู้คนต่างกล่าวว่า พวกเขาไม่รู้เรื่องอันใด จากนั้นเขาได้ถามอุมัร “ท่านรู้เรื่องอะไรบ้างหรือเปล่า?” แต่อุมัรก็กล่าวตอบว่า เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย อับบาสจึงกล่าวกับผู้คนดังว่า “จงเป็นพยานเถิด ไม่มีผู้ใดรับรู้ในสิ่งใดๆที่ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ถึงเรื่องการเสียชีวิตของท่าน ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า ผู้ซึ่งเป็นพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ว่าศาสดาแห่งพระเจ้าได้เสียชีวิตแล้ว”

อุมัรยังคงโมโหโกรธอยู่ ส่งเสียงคำรามและข่มขู่ แต่อับบาสก็ยังคงพูดต่อไปว่า “ศาสนทูตแห่งพระเจ้าเหมือนกันกับปุถุชนคนโดยทั่วไป ที่ต้องตายและวายชนม์ลง และท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จงจัดการฝังท่านโดยเร็วไวเถิด พระเจ้าจะทรงเอาชีวิตเราเพียงครั้งเดียว และเอาชีวิตศาสนทูตของพระองค์ สองครั้งกระนั้นหรือ? ถ้าหากที่ท่านพูดเป็นความจริง พระเจ้าจักสามารถทำให้ท่านฟื้นขึ้นมาจากหลุมได้ ศาสนทูตแห่งพระเจ้าได้แสดงให้มนุษย์เห็นหนทางแห่งความเที่ยงตรง อันนำไปสู่ความจำเริญ และความรอดพ้นในช่วงชีวิตของท่าน” อุมัรยังคงตะโกนต่อไป และแสดงอาการโกรธเคืองจนน้ำลายฟูมปาก ซาลิม อิบนิ อุบัยด์ จึงออกไปหาอบูบักร และไปบอกเขาว่าอะไรเกิดขึ้น เขาจึงมายังนครมะดีนะฮ์และพบอุมัรยืนอยู่ที่นั่น กำลังข่มขู่ผู้คนโดยกล่าวว่า “ศาสนทูตแห่งพระเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ท่านยังไม่ตาย ท่านจะออกมาจากห้องของท่านและมาตัดศีรษะและมือของผู้คน ที่กระจายข่าวอันเป็นเท็จเกี่ยวกับตัวท่าน ท่านจะมาตัดศีรษะของพวกเขาและจะนำมาแขวนไว้”

เมื่ออุมัรเห็นอบูบักร เขาเริ่มสงบลงอบูบักรกล่าวสรรเสริญพระเจ้า พร้อมกับกล่าวว่า “สำหรับผู้ที่เคารพภักดีต่อพระเจ้า พระเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ แต่สำหรับบรรดาผู้เคารพภักดีต่อมุฮัมมัด มุฮัมมัดตายแล้ว”

จากนั้นเขาจึงอ่านจากอัล กุรอานดังว่า “มุฮัมมัดมิใช่อื่นใด นอกจากเป็นศาสนทูตคนหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้าเขาก็มีบรรดาศาสนทูตที่ได้ล่วงลับไปก่อนแล้ว” อุมัรถามว่ามันเป็นโองการจากอัล กุรอานหรือ? และอบูบักรได้ยืนยันว่า มันเป็นโองการหนึ่ง แต่คำพูดของมุฆีเราะฮ์ และการอ่านจากอัล กุรอานของอัมร อิบนิ กอยส์และอับบาส ผู้เป็นลุงที่ได้ให้เหตุผลไว้ ก็ไม่อาจทำให้อุมัรยอมเชื่อได้ว่า มุฮัมมัดตายแล้ว แต่เขากลับยอมฟังอบูบักรอย่างเงียบสงบ

ขอให้เราได้ฟังเรื่องที่อุมัรเล่าไว้ด้วยตนเองดังว่า “ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า เมื่อฉันได้ยินอบูบักรอ่านโองการนั้น เข่าทั้งสองของฉันทรุดลงจนฉันล้มลงไปนอนกับพื้น ไม่อาจจะลุกขึ้นได้ และฉันได้มาตระหนักว่าท่านศาสดาได้เสียชีวิตไปแล้ว” ในวันนั้นอุมัรรู้สึกเสียใจมาก ที่ต้องสูญเสียท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า จนถึงกับไม่อาจควบคุมตนเองได้กระนั้นหรือ ? และจริงหรือไม่ที่ว่า เขาได้กลายเป็นคนบ้าไปในวันนั้น ดังที่นักประวัติศาสตร์บางคนได้เขียนไว้ เราไม่เชื่อกับความคิดเหล่านี้ เพราะเรารู้ถึงเหตุผลเบื้องหลังการบิดเบือนความจริงของเขา

อิบนิ อบิล ฮะดีด กล่าวว่า “เมื่ออุรัมรับรู้การสิ้นชีวิตของท่านศาสดา เขามีความกังวลว่า ในกรณีที่มีการพิจารณาเกี่ยวกับผู้สืบทอด ของท่านศาสดาเขาหวั่นเกรงว่า ชาวอันศอรและกลุ่มอื่นๆ จะได้อำนาจ ดังนั้นเขาจึงสร้างความสงสัยให้เกิดขึ้น และแสดงความลังเลใจที่จะยอมรับว่า ท่านศาสดาได้สิ้นชีวิต เพื่อเป็นการรักษาแนวทางของเขาไว้ จนกว่าอบูบักรจะเดินทางมาถึง”

อิบนิ อบิล ฮะดีด กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว เพราะอุมัรมีความกริ่งเกรงว่าอะลีอาจได้รับการเลือกตั้ง เพราะมีตัวเลือกอยู่เพียงสามคนเท่านั้น ที่จะเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งได้ และอุมัรให้การสนับสนุนกับบุคคลที่สาม นั่นคือ อบูบักร ผู้มีสิทธิได้รับเลือกทั้งสามนี้ก็คือ

1) อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้ ก) บนูฮาชิม ครอบครัวของท่านศาสดา
ข) อบูซุฟยาน หัวหน้าของฝ่ายต่อต้าน ก่อนที่เขาจะเปลี่ยนมารับอิสลาม
ค) คอลิด อิบนิ สะอีด อะมาวี บัรรออ์ อิบนิ อาซิบ อันซอรี ซัลมาน อบูซัร มิกดาด และสาวกระดับอาวุโสของท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าท่านอื่นๆอีก

2) สะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ อันซอรี ผู้ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเลือกของเผ่าคอซรอจ (คณะของผู้ช่วยเหลือ)

3) อบูบักร ผู้ซึ่งมีคนช่วยเหลือก็คือ อุมัร มุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์ และอับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุฟ อะลีและอบูบักรนั้นมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งอย่างมากที่สุด ทั้งนี้เพราะผู้มีสิทธิได้รับเลือกคนที่สอง เป็นชาวอันศอร และไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้อพยพ ถ้าหากอะลีได้ปรากฏตัวอยู่ ณ สถานที่เลือกตั้ง หลังจากการฝังศพของท่านศาสดาแล้ว เขาย่อมได้เสียงสนับสนุนมากกว่าอบูบักร เพราะชาวอพยพ ชาวอันศอร และเผ่าของอับดุลมานาฟทั้งหมดล้วนอยู่ฝ่ายเขา ดังนั้น สิ่งที่อุมัรกระทำทั้งหมดทั้งก่อนและหลังการเสียชีวิตของท่านศาสดา ล้วนมีสาเหตุมาจากความหวั่นเกรงของเขาที่อะลีจะถูกนำมาสู่การเถลิงอำนาจ

ความจริงก็คืออย่างนี้ ถ้าหากการเสียชีวิตของท่านศาสดา ทำให้อุมัรต้องเสียใจเป็นอย่างมากแล้ว เขาก็ควรจะอยู่และช่วยเหลือจัดเตรียมงานศพ แทนที่จะพูดว่าศาสดายังไม่ตาย และวิ่งออกไปยังสะกีฟะฮ์ เพื่อไปเลือกตั้งผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา อิบนิ ฮิชามกล่าวว่า “เมื่ออุมัรและอบูบักร(เชคสองคนนี้)ทราบถึงการตายของท่านศาสดา อุมัรบอกกับอบูบักรว่า ขอให้เราไปดูกันซิว่า ชาวอันศอรกำลังทำอะไรกัน?” ร่างของท่านศาสดากำลังนอนอยู่ที่ห้องของท่าน และตามรายงานของฏอบารี อบูบักรและอุมัรปล่อยอะลีไว้ให้อยู่กับร่างของท่านศาสดา เพื่อการจัดเตรียมงานฝังศพและออกไปยังสะกีฟะฮ์ ขณะที่กำลังเดินทางไปนั้น พวกเขาได้พบกับอบูอุบัยดะฮ์ อัล ญัรรอฮ์ แล้วจึงไปกับพวกเขาด้วยที่สะกีฟะฮ์ ชาวอันศอรอยู่กันที่สะกีฟะฮ์ และชาวมุฮาญิรีนก็เข้าไปร่วมสมทบ จึงไม่มีใครเลย นอกจากครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ช่วยกันจัดเตรียมงานฝังศพของท่านศาสดา

อบูซุอัยบ์ ฮุซะลีกล่าวว่า “ฉันมาถึงนครมะดีนะฮ์ แต่ต้องพบกับผู้คนที่กำลังร้องไห้และสะอึกสะอื้น ซึ่งดูราวกับเป็นการเริ่มต้นของการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ฉันจึได้สอบถามถึงสาเหตุ พวกเขาบอกกับฉันว่า ท่านศาสดาเสียชีวิตแล้ว ฉันจึงรีบไปที่มัสยิด แต่กลับไม่พบใครที่นั่น ประตูห้องของท่านศาสดาปิดอยู่ ฉันถามครอบครัวของท่านที่กำลังเฝ้าดูอยู่ว่า ผู้คนหายไปไหนกันหมด และได้รับการบอกเล่าว่า พวกเขาไปกันที่สะกีฟะฮ์เพื่อไปร่วมกับชาวอันศอร ผู้คนที่อยู่ในห้องของท่านศาสดาเพื่อจัดเตรียมงานฝังศพของท่าน มีเพียงอับบาสลุงของท่าน อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ ฟัฎล์ อิบนิ อับบาส กุซัม อิบนิ อับบาส อุซามะฮ์ อิบนิ เซด และทาสของเขาที่ชื่อ ซอและฮ์ อะลีสวมเสื้อเพียงตัวเดียวยกท่านศาสดาขึ้นมาที่อกของเขา อับบาส ฟัฎล์และกุซัม ช่วยอะลีพลิกร่างของท่าน อุซามะฮ์และซอและฮ์เทน้ำให้ และอะลีเป็นผู้อาบน้ำให้ท่านศาสดา เอาส์ อิบนิ เคาลี อันซอรี ยืนมองดูอยู่”


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

บรรดาคู่แข่งขันก่อนการฝังศพท่านศาสดา(ศ็อลฯ)
การซาวเสียงเพื่อหาตัวผู้สืบแทนตำแหน่งท่านศาสดาเริ่มต้นก่อนการฝังศพของท่าน อะลีเป็นคู่แข่งคนหนึ่ง อิบนิ สะอัดเขียนไว้ในหนังสือฏอบะกอตว่า อับบาสกล่าวกับอะลีว่า “ฉันจะจับมือกับเจ้าในที่สาธารณะเพื่อเป็นสัญญาณหนึ่งของการให้สัตยาบัน และจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำเยี่ยงเดียวกัน”

มัสอูดีกล่าวว่า อับบาสกล่าวกับอะลีว่า “ให้ฉันจับมือเพื่อให้สัตยาบันกับเจ้า โอ้ ผู้เป็นบุตรของพี่ชายของฉัน เพื่อว่าจะได้ไม่มีการคัดค้านในเรื่องที่เจ้าจะเป็นผู้สืบตำแหน่งของท่านศาสดา” ซะฮาบีและคนอื่นๆ กล่าวว่า อับบาสพูดว่า “ขอให้ฉันได้จับมือ เพื่อเป็นการให้สัตยาบันกับเจ้า เพื่อว่าผู้คนจะได้กล่าวว่าลุงคนนั้น และครอบครัวของเขาได้จับมือกับหลานชายแล้ว และเมื่อครั้งหนึ่งการเลือกเสร็จสิ้นลงแล้วมันก็ไม่อาจยกเลิกได้” เญาฮะรี กล่าวว่า อับบาสกล่าวโทษอะลีในภายหลัง โดยพูดกับเขาว่า “เมื่อท่านศาสดาเสียชีวิต อบูซุฟยานและฉันได้มาหาเจ้า ต้องการที่จะให้เจ้าอนุญาตให้หัวหน้าของตระกูลและตัวฉันได้จับมือกับเจ้า ตระกูลบนู ฮาชิมก็จะกระทำเช่นเดียวกัน เมื่อตระกูลต่างๆของอับดุลมานาฟและบนู ฮาชิมมาอยู่กับฝ่ายเจ้าเสียแล้ว การเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนเจ้าก็จะสถาปนาขึ้นอย่างมั่นคง แต่เจ้ากลับบอกให้เราเลื่อนเรื่องนี้ออกไปจนกว่าการจัดการฝังศพของท่านศาสดาจะเสร็จสิ้น”

ฏอบารีกล่าวว่า อับบาสบอกกับอะลีว่า อย่าได้มัวชักช้าอยู่ แต่อะลีปฏิเสธที่จะรับฟังเขา อะลีไม่ได้ขาดคนสนับสนุน แต่สำหรับเขาการฝังศพของท่านศาสดาในขณะนั้นย่อมมีความสำคัญมากกว่าความจำเป็นที่ไปยึดอำนาจ เขารู้สึกตะขิดตำขวงใจที่สุด ที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ สำหรับการเลือกผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดา ในขณะที่ท่านนอนไร้ลมหายใจอยู่โดยยังไม่มีใครดูแล ความลังเลใจของอะลีที่จะยึด อำนาจเอามานั้น เป็นสาเหตุให้อับบาสกล่าวโทษเขาที่ได้เลื่อนเวลาออกไป แต่ความจริงแล้วข้อเสนอ และข้อกล่าวหานั้นไม่สมด้วยเหตุผลเพราะว่า

ก) ท่านศาสดาได้แต่งตั้งอะลีเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อของมุสลิมบางคน และถ้าหากบรรดามุสลิมต้องการที่จะเชื่อในสิ่งที่ท่านศาสดากล่าวไว้ พวกเขาจะต้องไม่พูดว่าท่านได้พูดในขณะที่มีอาการเพ้อ
ข) ถ้ากิจการของมุสลิม ได้ถูกท่านศาสดาปล่อยไว้ให้อยู่ในมือของพวกเขาเองแล้ว การเข้ามายุ่งเกี่ยวของอับบาส ย่อมจะเป็นการริดรอนสิทธิของมุสลิมที่จะเลือกผู้ใดก็ได้เป็นผู้นำ

คู่แข่งคนที่สองสำหรับการสืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)
คู่แข่งคนที่สองก็คือ สะอัด บิน อุบาดะฮ์ ถึงแม้เขาจะมีอาการป่วยไข้อยู่ แต่ก็ยังต้องถูกพามายังสะกีฟะฮ์ เขาได้รับคะแนนเสียงอย่างเป็นเอกฉันท์ในความไว้วางใจของชาวอันศอร เขาเริ่มกล่าวคำปราศรัยด้วยการสรรเสริญพระเจ้าและกล่าวเตือนผู้คนให้รำลึกถึงความดี และการช่วยเหลือที่ชาวอันศอรให้กับอิสลามและท่านศาสดานั้นเป็นอย่างไร และที่พวกเขาเคารพเชื่อถือกับท่านศาสดาก็เช่นกัน ท่านศาสดามีความมั่นใจในพวกเขา นับจากวันนั้นจนถึงวันตายของท่าน จากนั้นเขาได้พูดกับชาวอันศอรว่า “พวกท่านต้องดูในเรื่องของผู้สืบแทนตำแหน่งนั้นด้วย” เขาได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์จากชาวอันศอร แต่มีบางคนสงสัยถึงทางออกว่าจะเป็นอย่างไรหากชาวอพยพคัดค้านในเรื่องนี้ เพราะพวกเขามาจากมักกะฮ์พร้อมกับท่านศาสดา และยังเป็นญาติกับท่านอีกด้วย บางคนกล่าวตอบว่า ผู้นำจะถูกเลือกมาฝ่ายละหนึ่งคน และผู้นำของทั้งชาวอพยพ และผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนนี้จะทำงานร่วมกัน สะอัดประณามข้อเสนอนี้ โดยกล่าวว่ามันจะต้องล้มเหลวอย่างแน่นอน

คู่แข่งที่ประสบความสำเร็จ
เมื่อได้ยินข่าวว่า ผู้คนไปร่วมชุมนุมกันอยู่ที่สะกีฟะฮ์ อบูบักรและอุมัรจึงไปยังที่นั่น มีบรรดาสหายของพวกเขาร่วมเดินทางไปด้วยในระหว่างทาง เช่น อุซัยด์ อิบนิ ฮุดัยร์ อุวัยม์ อิบนิ ซาอิดะฮ์ อิซิม อิบนิ อี ซึ่งเป็นคนของเผ่าอัจลานชาวอันศอร มุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์ และอับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุฟ (เมื่ออบูบักรและอุมัรมีอำนาจ ผู้คนเหล่านี้ที่ร่วมเดินทางไปด้วยได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นอย่างดี)
อบูบักรชอบอุซัยด์ อิบนิ ฮุดัยร์ มากกว่าชาวอันศอรคนอื่นๆ และอุมัรชอบเรียกเขาว่าเป็นน้องชายของตน อบูบักรแสดงความรักใคร่ต่อเขาอย่างมากเมื่อเขาตาย

เมื่ออุวัยม์ตาย อุมัรไปนั่งที่หลุมศพของเขาและได้กล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดบนโลกนี้จะสามารถพูดได้ว่า เขาเป็นคนที่ดีไปกว่าชายคนที่กำลังนอนอยู่ในหลุมศพนี้” อบูอุบัยดะฮ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพส่งไปรบกับจักรวรรดิโรมัน เมื่ออุมัรต้องการจะแต่งตั้งผู้สืบแทนตำแหน่งให้กับตนเอง เขารู้สึกเสียใจที่อบูอุบัยดะฮ์ไม่ได้มีชีวิตอยู่ เพื่อที่จะได้แต่งตั้งให้เป็นคอลีฟะฮ์คนต่อไปของบรรดามุสลิม

สำหรับมุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์นั้น อุมัรปัดเป่าการลงโทษในข้อหาการละเมิดประเวณีให้พ้นไปจากตัวเขา และเขามักจะอยู่ร่วมกับผู้คนที่เป็นระดับหัวหน้า เมื่ออุมัรเป็นคอลีฟะฮ์เขาคอยให้การช่วยเหลืออับดุรเราะฮ์มาน บิน อุฟอยู่อย่างมากเช่นกัน และได้ใช้เขาเป็นกุญแจดอกสำคัญในการเลือกคอลีฟะฮ์คนที่สาม บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ละทิ้งร่างของทานศาสดา และไม่ได้อยู่ร่วมในงานฝังศพท่านศาสดา แต่พวกเขากลับวิ่งไปยังสะกีฟะฮ์ เพื่อการเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ที่หนึ่ง และปะทะกับชาวอันศอรในเรื่องการจัดการปกครองบรรดามุสลิม

ภายหลังจากทำให้อุมัรสงบลงแล้วที่สะกีฟะฮ์ อบูบักรกล่าวสรรเสริญพระเจ้า และกล่าวว่า “อิสลามได้รับการบุกเบิกโดยชาวอพยพ และพวกเขาเป็นกลุ่มแรกบนพื้นพิภพนี้ที่เคารพภักดีต่อพระเจ้า และศรัทธาในศาสดาพวกเขา เป็นสหายและญาติของท่านศาสดา ฉะนั้นพวกเขาจึงเป็นผู้เหมาะสมที่จะได้สืบแทนตำแหน่งของท่าน ไม่มีผู้ใดที่จะโต้เถียงกับพวกเขาได้นอกจากผู้ที่อยุติธรรมเท่านั้น” จากนั้นอบูบักรได้กล่าวยกย่องชาวอันศอรด้วยคำพูดที่ว่า “ไม่มีผู้ใดนอกจากชาวอพยพชุดแรกที่จะใกล้ชิดกับเรามากไปกว่าพวกท่าน พวกเขาจะได้เป็นผู้นำและท่านจะได้เป็นคณะรัฐมนตรี”

ฮุบาบ อิบนิ มุนซิรกล่าวว่า “โอ้ ชาวอันศอรจงยืนหยัดและสามัคคีกันไว้ เพื่อว่าผู้อื่นจะได้มารับใช้ท่าน และไม่มีผู้ใดกล้ามาขัดแย้งกับพวกท่านได้ หาไม่แล้วผู้คนเหล่านี้(ชาวอพยพ)จะปฏิบัติไปตามแผนการของอบูบักร ซึ่งพวกท่านก็ได้ยินแล้ว เราเลือกผู้นำของเราคนหนึ่งขึ้นมา และให้พวกเขาเลือกมาคนหนึ่งจากพวกเขาเอง”

อุมัรกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ผู้นำสองคนไม่อาจปกครองในเวลาเดียวกันในสถานที่หนึ่งเดียวกันได้ ชาวอาหรับจะไม่ยอมจำนนต่อพวกท่าน (ชาวอันศอร) เพราะท่านศาสดาเป็นชาวอพยพ และด้วยเหตุนี้ เรามีข้อพิสูจน์ที่แจ้งชัด เฉพาะบรรดาผู้ที่ละทิ้งอิสลามเท่านั้น จึงจะโต้แย้งกับเราในเรื่องการสืบทอดตำแหน่งในอำนาจของมุฮัมมัด” ฮุบาบ อิบนิ มุนซิร ลุกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมว่า

“โอ้ อันศอร อย่าได้ฟังคนเหล่านี้ คืออุมัรและพรรคพวกของเขา พวกเขาจะแย่งชิงสิทธิของพวกท่าน และปล้นเสรีภาพของการเลือกสรรของพวกท่านไป ถ้าหากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับพวกท่าน ก็จงส่งพวกเขากลับไปบ้านของพวกเขา และจัดตั้งรัฐบาลของพวกท่าน ด้วยพระนามของพระเจ้า พวกท่านมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองมากกว่าบุคคลใดๆ ผู้คนเหล่านี้ (ชาวอพยพ) เป็นผู้คนกลุ่มเดียวกันที่เคยไม่เชื่อในท่านศาสดามาก่อน และถ้าหากมิใช่ว่าเพราะพวกเขากลัวดาบของพวกท่านแล้ว พวกเขาก็จะไม่ยอมจำนนต่ออิสลามเลย” จากนั้นเขาได้พูดสนับสนุนชาวอันศอรว่า พวกเขาต้องการเรา เพราะเราเป็นเสมือนท่อนไม้ที่พาดไว้ให้อูฐใช้สำหรับถูไถตัวของมัน หรือเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ผู้คนใช้หลบภัยอยู่ใต้ต้นของมันในยามเกิดพายุ จากนั้นเขาได้กล่าวต่อไปว่า “เราจะทำสงครามหากจำเป็น และนำเอาความประสงค์ของเรา มาบังคับใช้กับบรรดาผู้ที่ต่อต้านพวกเรา”

อุมัรกล่าวว่า “ขอให้พระเจ้าสังหารเจ้า” พร้อมกับเข้าไปชกเขาจนล้มลงกับพื้น ตามเตะเขาซ้ำเข้าไปอีก และเอาดินยัดเข้าไปในปากของเขา อบูบักรจึงกล่าวขึ้นว่า “โอ้ ชาวอันศอร ท่านเป็นผู้ซึ่งช่วยเหลือกลุ่มแรกของอิสลาม จงอย่าได้เป็นกลุ่มแรกที่เป็นผู้หักหลัง”

จากนั้นบะซีร อิบนิ สะอัด เป็นคนของเผ่าคอซรอจและเป็นชาวอันศอรได้พูดขึ้น เพื่อเป็นการเข้าข้างฝ่ายผู้อพยพ และต่อต้านสะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ ผู้นำทั้งสองคนนี้เป็นชาวอันศอร เคยเป็นคู่ปรับกันมา ก่อนที่พวกเขาจะเข้ารับอิสลาม บะซีร อิบนิ สะอัดกล่าวว่า “โอ้ ผู้คนชาวอันศอร เราชาวอันศอรเป็นคนต่อสู้กับพวกกราบไหว้เทวรูป และได้ช่วยเหลืออิสลาม ไม่ใช่เพื่อเกียรติยศของโลกนี้ แต่ทำให้พระเจ้าพึงพอใจเรา จึงไม่ควรแสวงหาความมีลาภยศ สรรเสริญใดๆ มุฮัมมัดเป็นชาวกุเรช ชาวมุฮาญิรีนและญาติคนหนึ่งของเขา เหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านมากกว่า คนใดของพวกเรา ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะไม่โต้แย้งกับเขา (อะลี) ฉันหวังว่าพวกท่าน ก็จะไม่โต้แย้งเช่นกัน” อบูบักรจึงกล่าวขึ้นว่า “อุมัรและอบูอุบัยดะฮ์ พร้อมอยู่ที่นี่แล้ว จงให้การรับรองคนใดคนหนึ่ง” อบูอุบัยดะฮ์กล่าวตอบว่า ตราบใดที่ อบูบักร ยังคงอยู่กับพวกเรา พวกเขาคงไม่เห็นด้วยกับการเลือกเฟ้นตัวในครั้งนี้

อับดุรเราะฮ์มาน บิน อุฟกล่าวว่า “โอ้ ชาวอันศอร เราเห็นด้วยที่ท่านมีความสูงส่ง แต่ไม่มีใครในหมู่พวกท่านที่จะเหมือนกับอบูบักร อุมัร หรือ อะลี” มันซูร อิบนิ อัรกอม กล่าวว่า “เราไม่ได้ปฏิเสธความสูงส่งของบรรดาชื่อที่ท่านกล่าวถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลผู้นั้น ที่ไม่มีผู้ใดอาจปฏิเสธได้” เขาพูดถึงอะลี ในขณะนี้เองที่ชาวอันศอร และผู้คนอื่นๆ ต่างตะโกนว่า “เราไม่ต้องการใครนอกจากอะลี”

ตามรายงานของฏอบารีและอิบนิ อะซีร และเมื่อชาวอันศอรตระหนักว่า อบูบักรกำลังจะชนะการเลือกตั้ง ด้วยการช่วยเหลือสนับสนุนของอุมัรแล้ว พวกเขากล่าวว่า อะลีเป็นเพียงคนเดียวที่พวกเขาต้องการ ซุเบร อิบนิ บักการ์กล่าวในภายหลังว่า หลังจากที่ชาวอันศอรแพ้ในการเลือกตั้งแล้ว พวกเขาจึงรวมตัวเข้าด้วยกัน และตะโกนคำขวัญที่ว่า “เราต้องการอะลีเพียงคนเดียว”

ได้มีการบันทึกไว้ว่า อุมัร กล่าวในภายหลังว่า “มีเสียงอึกทึกและความวุ่นวายกันมากเหลือเกิน ซึ่งฉันก็เกรงว่าจะเกิดความแตกแยกกันขึ้น ดังนั้นฉันจึงไปจับมืออบูบักรและตั้งให้เขาเป็นคอลีฟะฮ์” ได้มีการบันทึกไว้เช่นกันว่า หลังจากนั้นอุมัรจึงกล่าวว่า “ฉันกลัวเหลือเกินว่า ถ้าผู้คนแยกย้ายกันออกไปแล้ว โดยยังไม่ได้มีการเลือกผู้สืบแทนตำแหน่งขึ้นสักคนหนึ่ง หากภายหลังจากนั้นพวกเขาอาจไปเลือกบุคคลผู้หนึ่งที่เราไม่เห็นด้วย ก็ย่อมจะก่อให้เกิดความแตกแยกกันใหญ่ หรือที่ว่าพวกเขาอาจจะให้การสนับสนุนบุคคลที่พวกเขาไม่เต็มใจ” อุมัรและอบูอุบัยดะฮ์ เดินเข้าไปหาอบูบักร แต่บะชีร อิบนิ สะอัด จากเผ่าคอซรอจ เข้าไปหาอบูบักรได้เร็วกว่า เพื่อเข้าไปจับมืออบูบักรก่อน จึงเป็นการยอมรับเขาให้เป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดา

ฮุบาบ อิบนิ มุนซิร ตะโกนใส่บะชีรว่า “โอ้บะชีร อิบนิ สะอัด โอ้ ผู้ที่เป็นคนโชคร้าย ถึงแม้บิดามารดาของเจ้าก็ย่อมจะไม่พอใจกับเจ้าด้วย เจ้าได้เมินเฉยต่อความสัมพันธ์ทางครอบครัว เจ้าไม่อาจอดทนที่จะเห็นญาติของเจ้า (คือสะอัด) ขึ้นเป็นผู้ปกครองได้” บะชีรกล่าวตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น แกผิดไปแล้ว ฉันไม่ปรารถนาที่จะขัดแย้งกันกับการเลือกสรรของผู้คนพระเจ้าประทานสิทธินี้ให้กับเขา”

เผ่าเอาส์เห็นว่าเผ่าคอซรอจ มีความพึงพอใจอย่างมั่นคงอยู่กับ สะอัด ผู้เป็นคู่แข่งคนสำคัญของพวกเขา เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจให้การสนับสนุนอบูบักร โดยคิดไปว่าหากสะอัดได้รับการเลือกตั้งแล้ว เผ่าเอาส์ก็จะไม่มีสิทธิเสียงอะไรในเรื่องของอนาคต เมื่อ บะชีรผู้เป็นญาติของสะอัดให้การสนับสนุนอบูบักรอย่างเปิดเผย โดยไม่สนใจข้อตัดสินของผู้คนของเผ่าของเขา จากนั้นเผ่าเอาส์จึงได้รับแรงกระตุ้นให้สนับสนุนอบูบักร และ อุซัยด์ อิบนิ ฮุดัยร์ ผู้เป็นหัวหน้าคนหนึ่งของเผ่าเอาส์ รีบเข้าไปจับมือกับอบูบักร

เมื่อผู้คนเห็นว่าเผ่าคอซรอจมีคู่ต่อสู้มากมาย พวกเขาจึงลุกขึ้นและไปให้สัตยาบันกับอบูบักร และตามรายงานของยะอ์กูบี พวกเขาได้จับมืออบูบักร ในช่วงเวลานี้เองที่ว่าสะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ เกือบจะถูกเหยียบอยู่ใต้ฝ่าเท้าของผู้คนที่กระโดดข้ามเสื่อที่เขาใช้นั่งอยู่ จนกระทั่งคนอารักขาของเขาตะโกนออกมาว่า “อย่าเข้ามา ขอที่ให้สะอัดหายใจบ้าง” ด้วยเหตุนี้ อุมัรจึงตะโกนขึ้นว่า “จงสังหารสะอัด ขอให้พระเจ้าสังหารเขาด้วย” จากนั้นจึงเข้ามาใกล้สะอัดพร้อมกับพูดว่า “ฉันต้องการเหยียบแกให้ตายคาเท้า” เมื่อเป็นดังนี้ กอยส์ อิบนิ สะอัด จึงกล่าวกับอุมัรว่า “ถ้าแกแตะต้องแม้เพียงเส้นผมเส้นหนึ่งบนหัวของสะอัด ฉันจะเลาะฟันที่ปากของแกออกให้หมด”

อบูบักรตะโกนขึ้นว่า “อุมัรจงเงียบเสียเถิด ในสถานการณ์อันอ่อนไหวนี้ เราต้องการความสุขุมเป็นที่สุด” อุมัรเดินห่างออกมา แต่สะอัดยังคงตะโกนไล่ตามหลังมาอีก “ถ้าหากฉันลุกขึ้นมาได้ละก็ ฉันจะสร้างความโกลาหลขึ้นในนครมะดีนะฮ์ จนทำให้แกและสหายของแกต้องหลบซ่อนตัวไปด้วยความกลัว จากนั้นฉันจะส่งแกกลับไปยังผู้คน ให้เป็นคนรับใช้ของพวกเขา ไม่ใช่ไปเป็นหัวหน้าของพวกเขา” จากนั้นเขาก็หันกลับมายังคนของเขา พร้อมกับกล่าวว่า “จงพาฉันออกไปจากที่นี่” และพวกเขาก็ได้พาสะอัดออกไป

เญาฮะรี ได้บันทึกไว้ว่า ในวันนั้นอุมัรแต่งตัวอย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ เขาวิ่งนำหน้าอบูบักรมาและตะโกนว่า “จงฟังทางนี้ ผู้คนได้จับมือให้สัตยาบันกับอบูบักรแล้ว พวกท่านก็จะต้องกระทำเช่นเดียวกัน”
อบูบักรจึงถูกผู้คนนำตัวมายังมัสยิด เพื่อว่าผู้อื่นจะได้เข้ามาสัมผัสมือ ในขณะนั้นอะลีกับอับบาสกำลังยุ่งอยู่กับการอาบน้ำศพของท่านศาสดาอยู่ เมื่อพวกเขาได้ยินเสียงตะโกน “อัลลอฮุอักบัร” (พระเจ้าทรงเกรียงไกร) มาจากมัสยิด อะลีจึงถามว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือ อับบาส กล่าวว่า ดูเหมือนมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้น แต่เขาก็ได้คาดการณ์ไว้แล้ว

คำเตือน
บัรรออ์ อิบนิ อาซิบ ไปยังบ้านของครอบครัวบนูฮาชิม พร้อมกับตะโกนว่า “โอ้ บนูฮาชิมมีผู้คนจำนวนมาก ได้จับมือกับอบูบักรเพื่อให้สัตยาบันแล้ว” ครอบครัวของบนูฮาชิมปรารภแก่กันและกันว่า “แต่เดิมนั้น มุสลิมไม่เคยปฏิบัติเช่นนี้ หากจะทำอะไรพวกเขาจะปรึกษาเราก่อนในฐานะที่เราเป็นญาติสนิทของท่านศาสดามุฮัมมัด” อับบาส กล่าวตอบว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้าแห่งกะอ์บะฮ์ ทุกอย่างมันจบสิ้นลงแล้ว” ยะอ์กูบี ได้บันทึกไว้โดยกล่าวตามรายงานของบัรรออ์ อิบนิ อาซิบว่า “อับบาสจึงกล่าวกับครอบครัวของบนู ฮาชิมว่า พวกเจ้าได้สูญเสียอำนาจของพวกเจ้าไปตลอดกาล ฉันแนะนำพวกเจ้าแล้วให้ระมัดระวัง แต่พวกเจ้าไม่สนใจคำเตือนของฉัน”

ฏอบารี บันทึกไว้ว่า เผ่าอัสลัมมายังนครมะดีนะฮ์ จนเต็มตรอกซอยไปหมด เพื่อมาสัมผัสมือกับอบูบักรเป็นการให้สัตยาบัน ต่อมาภายหลังอุมัรเคยกล่าวไว้ว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ภายหลังจากที่ฉันได้เห็นเผ่าอัสลัม มาให้การสนับสนุนต่ออบูบักร ฉันเชื่อเลยว่าเราได้รับชัยชนะแล้ว” เชค มูฟีด บันทึกไว้ในหนังสืออัล ญะมัล โดยกล่าวว่า มันเป็นเหตุบังเอิญ เพราะพวกเขามาซื้อปัจจัยยังชีพ พวกเขาได้รับการบอกเล่าว่า พวกเขาต้องการให้สนับสนุน ผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าเสียก่อนจึงจะขายสินค้าให้ พวกเขาจึงได้กระทำ ผู้สนับสนุน อบูบักรนำพวกเขามายังมัสยิด ที่ซึ่งอบูบักรนั่งอยู่บนแท่นเทศนาจนกระทั่งถึงเวลาเย็น คอยสัมผัสมือกับผู้ใดก็ตามที่เดินเข้ามาหา

การให้สัตยาบันในที่สาธารณะ
วันรุ่งขึ้น หลังจากเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮ์ อบูบักรนั่งอยู่ที่ขั้นบันไดแท่นเทศนาในมัสยิด อุมัรลุกขึ้นยืนสรรเสริญพระเจ้า และจากนั้นจึงกล่าวขึ้นว่า“คำพูดที่ฉันพูดไปเมื่อวานนี้ไม่ได้มาจากอัลกุรอาน และก็ไม่ใช่คำพูดของท่านศาสดา ฉันคิดว่าท่านศาสดา ควรจะดูแลทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้คน และท่านจะเป็นคนสุดท้ายที่จะตาย ท่านได้ทิ้งอัล กุรอานไว้ท่ามกลางพวกท่าน และถ้าหากท่าน ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของมันแล้ว มันจะนำทางท่านเหมือนกับที่มันนำทางท่านศาสดา บัดนี้การนำทางของท่านอยู่ในมือของคนที่ดีที่สุดในมวลหมู่สาวกของท่านศาสดา ผู้ซึ่งอยู่กับท่านในถ้ำ จงลุกขึ้นมาและจับมือกับเขา” บุคอรีกล่าวว่า บางคนเห็นด้วยกับการสืบตำแหน่งแทนของอบูบักร แต่ที่ประชาชนส่วนใหญ่มาแสดงการให้สัตปฏิญาณก็คือที่มัสยิด

อนัส บิน มาลิก กล่าวไว้ว่า อุมัรต้องกล่าวเชิญชวนให้อบูบักร ขึ้นมานั่งที่ขั้นบันไดแท่นเทศนา ซึ่งประชาชนต่างพากันมาสัมผัสมือของเขาหลังจากสรรเสริญพระเจ้าแล้ว อบูบักรกล่าวว่า “โอ้ประชาชน ท่านได้ให้สัตยาบันกับฉันแล้ว ฉันไม่ใช่เป็นคนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน แต่ถ้าหากฉันถูกต้องก็จงปฏิบัติตามฉัน ถ้าหากฉันผิดก็จงแนะนำฉันเถิด ถ้าหากฉันปฏิบัติตามพระเจ้า และศาสนทูตของพระเจ้าแล้วก็จงเชื่อฟังฉัน ถ้าหากฉันไม่เชื่อฟังพระเจ้าและศาสนทูตของพระองค์ก็คงอย่าเชื่อฟังฉัน จงลุกขึ้นยืนเพื่อการนมาซเถิด ขอพระเจ้าอภัยโทษให้กับพวกท่านด้วย”

หลังจากการให้สัตยาบัน
ในวันจันทร์ ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า (ขอความสันติจงมีแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) วายชนม์ แทนที่ผู้คนจะได้เข้ามาร่วมในงานฝังศพของท่าน กลับไปร่วมงานในสามเหตุการณ์ ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นก็ข้ามไปถึงตอนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันอังคาร

1) มีการชุมนุมกัน
2) มีการประกาศสัตยาบันในเบื้องแรกที่สะกีฟะฮ์
3) การประกาศการให้สัตยาบันเป็นทางการ ในครั้งสุดท้ายที่มัสยิดซึ่งจบลงด้วยการปราศรัยของอุมัร และด้วยการนำนมาซรวมของอบูบักร
ภายหลังจากที่เหตุการณ์ในขั้นตอนที่สาม เสร็จสิ้นลงในวันอังคาร ประชาชนจึงมาเยี่ยมที่บ้านของท่านศาสดา เพื่อนมาซให้ผู้ตายทีละคนๆ และทีละกลุ่มๆ

การฝังศพของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)
บรรดาสาวกของท่านศาสดา ปล่อยร่างของท่านไว้ ให้เป็นภาระของครอบครัวของท่าน มีรายงานหนึ่งกล่าวไว้ว่าอับบาส อะลี ฟัฎล์และ ซอและฮ์ (ทาสของท่านศาสดา) จัดเตรียมศพของท่านเพื่อฝัง และพวกเขาเป็นผู้ฝังร่างของท่าน รายงานอื่นๆกล่าวว่าอะลี ฟัฎล์ กุซัม บุตรชายสองคนของท่านอับบาสและชุกรอน (ทาสของท่านศาสดา) ทำหน้าที่ในการฝังศพของท่านศาสดา

ภายหลังจากเหตุการณ์ ที่ประชาชนมาให้การประกาศสัตยาบันของพวกเขาแล้ว เญาฮะรี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “สะกีฟะฮ์” ดังว่าอบูบักรถามอุมัร อบูอุบัยดะฮ์และมุฆีเราะฮ์ ถึงความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ พวกเขาเห็นพ้องต้องกัน แนะนำเขาให้ไปขอความเห็นชอบจากอับบาส ด้วยการจัดหารางวัลตอบแทนให้เขา จากนั้นเมื่ออับบาสได้ให้การยอมรับแล้ว อะลีก็ไม่อาจทำอะไรที่จะต่อต้านพวกเขาได้ ชายทั้งสามคนไปหาอับบาสในเวลากลางคืน อบูบักรได้เอ่ยขึ้นหลังจากกล่าวสรรเสริญพระเจ้า ดังว่า

“พระเจ้าทรงส่งวิวรณ์ของพระองค์ลงมาโดยผ่านทางมุฮัมมัดเพื่อมานำพวกเรา และมุฮัมมัดได้ปฏิบัติภารกิจของท่านจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และพระองค์จึงนำท่านกลับไปยังพระองค์ และทรงประทานรางวัลตอบแทนท่าน มุฮัมมัดได้ทิ้งประชาชนไว้ให้พวกเขาเลือกทางกันเอาเอง และผู้คนได้เลือกฉันให้เป็นผู้นำของพวกเขา

ฉันไม่กลัวอะไร ความสำเร็จของฉันพระเจ้าเป็นผู้ทรงอนุมัติให้ ฉันวางใจในพระองค์ และจะกลับคืนไปสู่พระองค์ มาบัดนี้ฉันได้ข่าวว่า ผู้คนบางกลุ่มได้อาศัยความได้เปรียบในสถานะของท่าน และได้วิจารณ์ฉัน ทั้งๆที่ประชาชนได้ให้การสนับสนุนฉัน เรามาขอร้องท่านให้ร่วมมือกับเรา เหมือนกับที่ผู้อื่นได้กระทำ หรือไม่ก็ช่วยขอร้องให้ฝ่ายต่อต้านหยุดการเคลื่อนไหวของพวกเขาเสีย เพื่อเป็นการตอบแทน เราจะมอบรางวัลให้กับท่าน ผู้คนรู้ถึงตำแหน่งของท่าน และบรรดาเพื่อนของท่านก็เช่นกัน แต่พวกเขาได้กีดกันออกไป โอ้ บนูฮาชิม จงสุขุมไว้เถิด ศาสนทูตของพระเจ้าเป็นของเรามากพอๆกับเป็นของท่าน”

อุมัร กล่าวเสริมว่า “จากการที่เราได้มาหาท่านไม่ได้หมายความว่า เราต้องการตัวท่าน เราต้องการเพียงสมานสามัคคีท่านเข้ากับผู้อื่นเพียงเพื่อผลประโยชน์ของท่าน หรือหาไม่แล้วท่านก็จะต้องเผชิญกับผลลัพธ์อันไม่พึงปรารถนา จงคิดไตร่ตรองดูเถิด”

หลังจากกล่าวสรรเสริญพระเจ้าแล้ว อับบาสกล่าวว่า “พระเจ้าทรงเลือกมุฮัมมัดมาเป็นศาสดา และเป็นผู้ช่วยเหลือให้กับบรรดาสหาย บรรดาสาวกและบรรดาผู้ศรัทธาที่ซื่อสัตย์ของท่าน พระเจ้าทรงพึงพอพระทัยบรรดามุสลิม จึงทรงส่งศาสดามุฮัมมัดลงมา ขณะนี้พระเจ้าได้นำท่านกลับคืนไปสู่พระองค์แล้ว และปล่อยให้มุสลิมจัดการกิจการต่างๆ ของพวกเขากันเองให้เลือกผู้นำที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันพวกเขาไม่ให้หลงทาง

เอาล่ะอบูบักร ถ้าหากท่านได้ตำแหน่งนี้ไปเพราะการเป็นญาติของท่านกับท่านศาสดาแล้ว เราต่างหากที่ใกล้ชิดกับท่านศาสดามากกว่า และถ้าหากท่านได้ตำแหน่งนี้ไปโดยอาศัยสิทธิของการเป็นสาวกของท่านแล้ว เราก็เป็นสาวกของท่านเช่นกัน ผู้ซึ่งท่านไม่เคยได้มาปรึกษาหารือ ถ้าหากท่านได้มันไปในฐานะเป็นหน้าที่หนึ่งในนามของบรรดามุสลิมแล้ว เราก็ไม่เคยได้มอบสิทธินี้ให้กับท่าน ท่านกำลังพูดขัดกันเองที่ว่าผู้คนได้เลือกท่านมา และในขณะเดียวกันก็กลับพูดว่า ผู้คนไม่ยินยอมให้กับการเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่าน

ในอีกด้านหนึ่ง ท่านบอกว่าผู้คนได้เลือกตั้งท่านมา ถ้าหากท่านจะเอาอะไรมาให้ฉัน ในสิ่งที่เป็นของบรรดาผู้ศรัทธาแล้ว ท่านก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้มัน และถ้าหากมันเป็นของเราโดยสิทธิแล้ว เราก็ต้องการมันทั้งหมดมิใช่เฉพาะบางส่วน เราเป็นกิ่งก้านของต้นไม้แห่งศาสดา ท่านเป็นเพียงบรรดาผู้มาอาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของมันเท่านั้น จงใจเย็นๆไว้” อบูบักรและบรรดามิตรสหายของเขาต่างพากันกลับไป โดยไม่บรรลุความประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้กับอับบาส


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ผู้หลบภัยอยู่ในบ้านของฟาฏิมะฮ์
อุมัรกล่าวว่า “ภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้วายชนม์แล้ว เราได้ทราบมาว่ามีผู้คนกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านของฟาฏิมะฮ์ เพื่อต่อต้านพวกเรา” ผู้คนกลุ่มนี้ประกอบด้วย อะลี ซุเบร อับบาส อัมมาร อินนี ยาซีร อุตบะฮ์ อิบนิ อบีละฮับ ซัลมาน ฟารซี อบูซัร มิกดาร อิบนิ อัสวัด บัรรออ์ อิบนิ อาซิบ อุบัยย์ อิบนิ กะอับ สะอัด อิบนิ อบีวักกอส และตอลฮะฮ์ อิบนิ อุบัยดิลละฮ์ บุคคลอื่นจากทั้งชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรได้ถูกระบุชื่อไว้เช่นกัน เนื่องจากบรรดามุสลิมมีความลังเลใจที่จะเอ่ยถึงความไม่ลงรอยกันของพวกเขา พวกเขาเพียงแต่เขียนว่า มีบุคคลบางคนได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่บ้านของฟาฏิมะฮ์ เพื่อการต่อต้าน โดยบังเอิญที่ว่ามีประโยคบางประโยคเกี่ยวกับการต่อต้านนี้ ได้ถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของบะลาซุรี ซึ่งกล่าวไว้ว่าเมื่อ อบูบักรถูกอะลีต่อต้าน จึงมีคำสั่งให้ไปนำตัวอะลีมาให้เขา อุมัรไปหา อะลีและได้ถกเถียงเรื่องนี้กับเขา อะลีกล่าวกับอุมัรว่า “ท่านกำลังรีดนมแห่งการสืบตำแหน่งแทน ครึ่งหนึ่งเป็นของอบูบักร และอีกครึ่งหนึ่งเป็นของท่าน ฉะนั้นเขาจึงกำลังทำให้ท่านเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของเขา” บะลาซุรี กล่าวไว้อีกเช่นกันว่า ในขณะที่อบูบักรกำลังนอนรอความตายอยู่นั้น เขาได้กล่าวคำพูดนี้ออกมา “มีอยู่ด้วยกันสามสิ่งที่ฉันเศร้าเสียใจ นั่นคือ..ฉันไม่ควรส่งคนไปค้นบ้านของฟาฏิมะฮ์เลย ถึงแม้พวกเขาจะเตรียมการที่จะต่อสู้กับเราก็ตาม...”

ยะอ์กูบี ได้บันทึกไว้ในเล่ม 2 หน้า 115 ของหนังสือของเขาว่า อบูบักร กล่าวว่า “ฉันไม่ควรเลยที่จะได้ไปค้นบ้านของฟาฏิมะฮ์ และไม่ควรส่งคนไปรบกวนนาง ถึงแม้บ้านของนางจะถูกใช้เป็นที่หลบภัยซึ่งอาจจะก่อให้เกิดสงครามก็ตามที”

บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ระบุชื่อของบรรดาผู้ที่เข้าไปในบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เพื่อการขับไล่ผู้คนที่กำลังหลบภัยอยู่ในนั้นไว้ดังนี้

1) อุมัร อิบนิ ค็อตต็อบ
2) คอลิด บิน วะลีด
3) อับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ เอาฟ์
4) ซาบิต อิบนิ ชัมมาส
5) เซด อิบนิ ละบีด
6) มุฮัมมัด อิบนิ มัสลามะฮ์
7) ซะละมะฮ์ อิบนิ ซาลิม อิบนิ วักกอส
8) สะลามะฮ์ อิบนิ อัสลัม
9) อุซัยร์ อิบนิ ฮุเฎร
10) เซด อิบนิ ซาบิต

อะลี ซุเบร และชาวมุฮาญิรีนบางคน ที่ต่อต้านการสืบตำแหน่งแทนของอบูบักร ได้ไปรวมตัวกันอยู่ในบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์พร้อมด้วยอาวุธ มีรายงานไปถึงอบูบักรว่าฝ่ายต่อต้านกำลังรวมตัวกันเพื่อการให้สัตยาบันกับอะลี ดังนั้นเขาจึงส่งอุมัรพร้อมกับคนจำนวนหนึ่งเพื่อไปขับไล่พวกเขา โดยการใช้กำลังหรือในทางหนึ่งทางใด อุมัรถือคบเพลิงที่จุดจนลุกโพลงไว้ในมือ และมุ่งตรงไปยังบ้านของฟาฏิมะฮ์ และเมื่อฟาฏิมะฮ์ได้เห็นเปลวไฟของคบเพลิง นางได้ถามอุมัรว่า เขาจะเผาบ้านของนางให้เป็นจุณกระนั้นหรือ อุมัรกล่าวตอบว่า “ใช่แล้วถ้าหากท่านไม่ปฏิบัติตามบรรดามุสลิมคนอื่นๆ และให้สัตยาบันของท่านกับอบูบักร”

ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ “อัลอิมามะฮ์ วะอัลซิยาซะฮ์” ดังว่า อุมัรได้มีคำสั่งให้ผู้คนออกไปจากบ้านหลังนั้น แต่พวกเขาไม่สนใจคำสั่งของอุมัร เขาจึงมีคำสั่งให้ไปนำเอาฟืนมา และตะโกนบอกคนในบ้านว่า “ถ้าหากพวกท่านไม่ออกมาฉันจะเผาบ้านทิ้งเดี๋ยวนี้ ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าผู้ซึ่งกำดวงวิญญาณของฉันไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” มีบางคนบอกกับอุมัรว่า ฟาฏิมะฮ์กำลังอยู่ในบ้านหลังนั้น เขาจึงพูดขึ้นว่า “มันไม่มีผลที่แตกต่างอะไรกันหรอกสำหรับฉันว่าใครจะอยู่ในบ้านบ้าง”

ในหนังสือ อันซอบุลอัชรอฟ เล่ม 1 หน้า 586 เขียนไว้ว่า อบูบักรขอให้อะลีสนับสนุนเขา แต่อะลีปฏิเสธ อุมัรจึงเข้าไปหาอะลีที่บ้านพร้อมกับถือคบเพลิงที่จุดแล้วไปด้วย ที่ประตูเขาพบกับฟาฏิมะฮ์ซึ่งได้พูดกับเขาว่า “ท่านตั้งใจที่จะเผาประตูบ้านของฉันกระนั้นหรือ ?” อุมัรตอบว่า “ใช่แล้ว เพราะมันเป็นการเสริมศรัทธาให้กับศาสนาที่บิดาของท่านนำมาให้กับเรา” เญาฮะรี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “อุมัรพร้อมกับผู้คนจำนวนหนึ่ง ตรงไปที่บ้านของฟาฏิมะฮ์ เพื่อจะเผาบ้านและทุกคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามให้เป็นจุณ”

อิบนิ ชะฮ์นะฮ์กล่าวว่า “เพื่อการเผาบ้านและคนที่อยู่ในบ้านหลังนั้น” ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ กันซุลอุมมาล เล่ม 3 หน้า 140 ดังว่า อุมัรกล่าวกับฟาฏิมะฮ์ว่า “ฉันรู้ดีว่า ศาสนทูตแห่งพระเจ้าไม่รักใครมากไปกว่าตัวท่าน แต่นี่ไม่ได้เป็นเรื่องยับยั้งฉันที่จะทำไปตามการตัดสินใจของฉัน ถ้าหากผู้คนเหล่านี้อาศัยอยู่ในบ้านของท่าน ฉันก็จะเผาประตูหน้าบ้านต่อหน้าท่านเดี๋ยวนี้”

เมื่ออับดุลลอฮ์ อิบนิ ซุเบร กำลังต่อสู้เพื่ออำนาจ บนูฮาชิมได้หลบหนีเข้าไปอยู่ในช่องเขาแห่งหนึ่ง อับดุลลอฮ์ออกคำสั่งให้ไปเอาฟืนมาเพื่อเผาพวกเขาทั้งหมด อุรวะฮ์น้องชายของอับดุลลอฮ์ ได้แก้ตัวให้กับการกระทำอันผิดมนุษย์ของพี่ชายของเขาด้วยการกล่าวว่า “พี่ชายของฉันได้ข่มขู่พวกเขา ดังที่พวกเขาได้เคยถูกข่มขู่มาในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อพวกเขาไม่ยอมให้สัตยาบันของพวกเขา” เขาหมายถึงเหตุการณ์ที่บนู ฮาชิม ปฏิเสธอำนาจของอบูบักร

ฮาฟิซ อิบรอฮีม (นักกวีชาวอียิปต์) ได้แต่งบทกวีซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
“อุมัร ผู้ยิ่งใหญ่ ได้ข่มขู่
กับอะลี ผู้สูงใน เกียรติคุณ
บ้านของท่าน ฉันจะเผา ให้เป็นจุณ
หากไม่หนุน ลูกอบี กุฮาฟา

แม้ฟาฏิมะฮ์ ยังอยู่ ข้างในบ้าน
อุมัรนั้น ก็จะขอ เจรจา
กับอะลี วีรบุรุษ สุดโลกหล้า
ไม่ขอหา รือกับ คนอื่นใด
(อบูบักร อยู่อีกพัก ก่อนจะตาย
เฝ้าฟูมฟาย ไม่น่าเลย เอ่ยคำไป
จงเผาบ้าน ซะฮ์รอให้ วอดวายไป)”

ยะอ์กูบี กล่าวว่า “พวกเขามาเป็นกลุ่มและบุกเข้าจู่โจมบ้านของอะลี... และเขา (อุมัร) หักดาบของเขา (อะลี) ทิ้ง จากนั้น (กลุ่มนั้น) จึงบุกเข้าไปในบ้าน”

ฏอบารีกล่าวว่า “อุมัร อิบนิ ค็อตต็อบ มายังบ้านของอะลี ในขณะที่ตอลฮะฮ์และซุเบร และชาวมุฮาญิรีนอีกบางคนกำลังอยู่ในบ้าน ซุเบรออกมาและบุกเข้าจู่โจมอุมัร เขาลื่นล้มลงดาบจึงหลุดไปจากมือของเขา คนของอุมัรจับตัวเขาไว้ และจับตัวอะลีไว้ด้วย ในขณะที่เขาพูดขึ้นว่า “ฉันเป็นข้าทาสของพระเจ้าและเป็นน้องชายของท่านศาสดา” พวกเขาพาอะลีมาหาอบูบักร และบอกเขาให้จับมือกับอบูบักร อะลีกล่าวว่า “ฉันมีสิทธิในตำแหน่งมากกว่าเขา ท่านควรจะจับมือเพื่อแสดงสัตยาบันกับฉัน ข้อโต้แย้งของท่านกับชาวอันศอร เกี่ยวกับความเป็นญาติของท่านกับศาสดานั้น ฉันก็สามารถใช้ข้อโต้แย้งเช่นเดียวกันนั้น ในฐานะที่ฉันใกล้ชิดกับท่านศาสดามากกว่าตัวท่าน ชาวอันศอรยอมรับเหตุผลของท่าน ท่านก็ต้องยอมรับของฉันเช่นกัน หรือหาไม่แล้วท่านก็ตกเป็นผู้ละเมิด”

อุมัรกล่าวว่า “เราจะยังไม่ปล่อยท่านไปจนกว่าท่านจะเห็นพ้องด้วยกับเรา” อะลีกล่าวตอบว่า “จงรีดนมวัวตัวนี้เถิด และแบ่งมันคนละครึ่งกับอบูบักร จงทำงานให้กับเขาในวันนี้ และในวันรุ่งขึ้นเขาจะทำให้ท่านเป็นผู้สืบตำแหน่งแทนเขา ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าว่า ฉันจะไม่ยอมรับฟังท่านหรอกอุมัร และฉันก็จะไม่จับมือกับอบูบักร”

อบูบักรกล่าวกับอะลีว่า “ฉันจะไม่บังคับท่านให้เห็นพ้องด้วยกับฉัน” อบูอุบัยดะฮ์กล่าวกับอะลีว่า “ท่านยังเป็นหนุ่มอยู่ โอ้ อบุลฮาซัน ผู้คนเหล่านี้ล้วนเป็นผู้อาวุโสและพวกเขารู้ถึงวิธีการจัดการ ในการสืบตำแหน่งแทนท่านศาสดา จงปฏิบัติตามพวกเขาเสียเดี๋ยวนี้เถิด และถ้าหากท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็จะได้สืบทอดแทนพวกเขา เพราะความได้เปรียบของท่าน และเพราะท่านมีความใกล้ชิดกับท่านศาสดามากกว่า และเป็นผู้บุกเบิกแห่งอิสลามซึ่งท่านเองเป็นผู้สู้รบในสงครามศาสนา” อะลีกล่าวตอบว่า “โอ้ ชาวมุฮาญิรีน จงเกรงกลัวต่อพระเจ้าเถิด จงอย่าได้ฉกเอาอำนาจของมุฮัมมัดและครอบครัวของท่านไปจากวงศ์วานของท่านเลย จงอย่าได้เปลี่ยนจุดศูนย์รวมของอิสลาม จากสถานที่ที่เหมาะสมของมันไป โดยเอาไปไว้ที่บ้านของพวกท่านเลย

ขอสาบานต่อพระเจ้า ตราบเท่าที่มีคนที่มีความรู้ในอัล กุรอาน ในอรรถคดีอิสลามและแบบฉบับของท่านศาสดา ในหมู่พวกเราที่เป็นครอบครัวของท่านศาสดา เราเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะได้เป็นผู้สืบทอดของท่านมากกว่าผู้ใดทั้งสิ้น ขอสาบานต่อพระเจ้า ครอบครัวของเรามีทุกสิ่งที่ท่านต้องการ จงอย่าได้ตามความใคร่อยากของท่านเองเลย หรือหาไม่แล้วท่านจะเป็นผู้ที่หลงไกลลิบออกไป” บะชีร อิบนิ สะอัด จึงกล่าวขึ้นว่า “โอ้อะลี หากชาวอันศอรได้ยินในสิ่งที่ท่านพูดเมื่อกี้นี้ ย่อมไม่มีใครที่จะมาโต้แย้งกับท่านได้เลย แต่เรื่องมันจบสิ้นแล้ว เราได้จับมือให้สัตยาบันกับอบูบักรไปแล้ว” อะลีกลับบ้านโดยไม่ได้ให้สัตยาบันกับอบูบักร

อิบนิ อบิล ฮะดีด บันทึกมาจาก เญาฮะรี ว่า เมื่อฟาฏิมะฮ์เห็นว่าอะลีและซุเบรถูกกระทำย่ำยีอย่างเลวร้าย นางจึงออกมาที่ประตูและกล่าวขึ้นว่า “โอ้อบูบักร มันช่างรวดเร็วเหลือเกินที่ท่านหลอกหลวงครอบครัวของศาสนทูตของพระเจ้า ฉันจะไม่พูดกับอุมัรอีกตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่”

มีอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า ขณะที่ฟาฏิมะฮ์ร้องไห้ นางได้ออกมาและได้ไล่พวกเขาออกไป ยะอ์กูบี กล่าวว่า ฟาฏิมะฮ์ออกมาและกล่าวว่า “ออกไปจากบ้านของฉัน หรือไม่ก็ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะเปิดเผยศีรษะของฉันและจะคร่ำครวญต่อพระเจ้าด้วยกับผมที่ยุ่งเหยิงนี้แหละ” จากนั้นผู้คนจึงสลายตัวไปจากบ้านของนาง รวมทั้งผู้คนที่หลบภัยอยู่ในบ้านของนางด้วย นิซอม กล่าวไว้เช่นกันว่า “ในวันนี้ อุมัร ได้ตีไปที่ท้องของฟาฏิมะฮ์เป็นเหตุให้นางต้องแท้งบุตร พร้อมกับตะโกนสั่งให้เผาบ้าน” (เมื่อผู้อื่นได้ละออกไปหมดแล้ว คงเหลืออยู่เฉพาะอะลี ฮาซัน และฮูเซน บุตรทั้งสองของท่านที่อยู่ในบ้าน)

มัสอูดี กล่าวว่าภายหลังจากที่มีการให้สัตยาบันในวันจันทร์และอังคาร อะลีมาพบกับอบูบักรและกล่าวกับเขาว่า “ท่านได้ทำลายตำแหน่งของเรา เพราะท่านไม่ได้ใยดีกับเรา” อบูบักรกล่าวตอบว่า “มันก็จริงแต่ฉันเกรงว่ามันจะเกิดกลียุคและความไม่สงบ”

ยะอ์กูบี กล่าวไว้เช่นกันว่า มีบางคนมาหาอะลีเพื่อจับมือแสดงสัตยาบัน แต่อะลีบอกพวกเขาให้มาในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยการโกนศีรษะแต่มีเพียงสามคนเท่านั้นที่กลับมา หลังจากเหตุการณ์การให้สัตยาบันแล้ว อะลีมักจะไปกับฟาฏิมะฮ์ขี่ล่อไปด้วยกันเพื่อเรียกร้องการช่วยเหลือ แต่ผู้คนได้บอกกับฟาฏิมะฮ์ว่า “โอ้บุตรสาวของศาสนทูตของพระเจ้า หากญาติของท่านได้ขอให้เราสนับสนุนเสียก่อน เราก็จะไม่เลือกใครนอกจากตัวเขาเท่านั้น แต่เราได้จับมือให้สัตยาบันกับอบูบักรไปแล้ว” คำตอบของอะลีก็คือ “น่าละอายโดยแท้ เจ้าคาดว่าจะให้ฉันทิ้งร่างของท่านศาสดา และให้ฉันไปยุ่งอยู่กับการต่อสู้กันเพื่ออำนาจกระนั้นหรือ?” ฟาฏิมะฮ์มักกล่าวเสมอว่า อะลีได้กระทำไปอย่างเหมาะสมแล้ว และพวกเขาได้กระทำในสิ่งซึ่งพระเจ้าจะต้องสอบสวนพวกเขาถึงเรื่องเหล่านั้น

มุอาวิยะฮ์ ได้เขียนจดหมายถึงอะลี กล่าวถึงเรื่องราวข้างต้นไว้ดังว่า “มันดูเหมือนว่าเมื่อวานนี้เองที่ท่านเอาภรรยาของท่านขึ้นขี่ล่อ ผู้ซึ่งท่านควรจะให้เธออยู่เฉพาะในบ้าน พร้อมกับจูงมือฮาซัน ฮูเซนลูกชายสองคนของท่าน เคาะไปตามประตูบ้านของบรรดาผู้คนที่เคยร่วมรบในสงครามบะดัร และขอร้องพวกเขาอย่าได้ให้การสนับสนุนท่าน อย่างไรก็ตามมีเพียงสี่ห้าคนเท่านั้นที่เห็นด้วยกับท่าน ฉันขอสาบานด้วยกับวิญญาณของฉันว่า ถ้าหากท่านอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว พวกเขาก็จะต้องสนับสนุนท่าน ท่านกล่าวอ้างถึงสิ่งที่ไม่ได้เป็นของท่าน ท่านพูดถึงสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ฉันอาจมีความจำที่ไม่ดี แต่ฉันไม่เคยลืมคำพูดของท่านที่พูดกับอบูซุฟยานว่า “ถ้าหากฉันมีกำลังคนสักสี่สิบคน ฉันก็จะไปเอาสิทธิของฉันกลับคืนมาจากผู้คนเหล่านั้นด้วยกำลัง”

ในสงครามซิฟฟิน อัมร อิบนิ อาสได้กล่าวเตือนกับมุอาวิยะฮ์ว่า อะลี ได้พูดว่า “ถ้าหากฉันมีคนสี่สิบคน...” และอื่นๆ อัมร อิบนิ อาส หมายความว่าอะลีได้กล่าวเรื่องนี้ในวันที่บ้านของฟาฏิมะฮ์ถูกจู่โจม

สิ้นสุดเหตุการณ์การให้สัตยาบัน
อุซุดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 222 เขียนไว้ว่า “ฝ่ายต่อต้านเห็นด้วยที่จะยอมรับอบูบักร หกเดือนหลังจากประชาชนได้มาชุมนุมกันเพื่อให้สัตยาบันกับเขา” ยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 105 “อะลีจับมือกับอบูบักรหลังจากหกเดือนนับจากที่ประชาชนได้ให้สัตยาบัน” อิสตีอับ เล่ม 2 หน้า 244 และ อัล ตันบีฮ์ วัล อัชรอฟ หน้า 250 “อะลีไม่ยอมจับมือกับ อบูบักรจนกระทั่งฟาฏิมะฮ์วายชนม์” อัล อิมามะฮ์ วัล ซิยาซะฮ์ ได้บันทึกไว้ว่า “อะลีได้ให้สัตยาบันของเขากับอบูบักรหลังจากที่ฟาฏิมะฮ์เสียชีวิตแล้ว ซึ่งเป็นเวลา 75 วัน หลังจากที่ท่านศาสดาได้วายชนม์” ตามรายงานของซุเบรกล่าวว่า ภายหลังจากที่ฟาฏิมะฮ์ได้โต้แย้งกับอบูบักรเกี่ยวกับมรดกของท่านศาสดา เธอไม่ได้พูดกับเขาอีกเลย

อะลี นำร่างของฟาฏิมะฮ์ไปฝังในเวลากลางคืน โดยที่อบูบักรไม่รู้เรื่องเลย ตราบเท่าที่ฟาฏิมะฮ์มีชีวิตอยู่ผู้คนเคารพยกย่องอะลี และภายหลังจากที่นางเสียชีวิตแล้ว พวกเขาได้ละทิ้งอะลีไป ฟาฏิมะฮ์มีชีวิตอยู่อีกหกเดือน หลังจากท่านศาสดาเสียชีวิต ซุฮ์รี กล่าวไว้เช่นกันว่า อะลีไม่ยอมจับมือกับอบูบักรจนกระทั่งหกเดือนหลังจากที่ประชาชนได้ให้สัตยาบัน และบนูฮาชิมได้กระทำตามเช่นเดียวกัน

ในตัยซีร อัลวุซูล เล่ม 2 หน้า 46 ซุฮ์รี กล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า อะลีไม่เห็นด้วยกับอบูบักร จนกระทั่งหกเดือนผ่านพ้นไป และบนู ฮาชิมก็ได้กระทำตามเช่นเดียวกัน เมื่ออะลีเห็นว่าผู้คนกำลังละทิ้งเขา เขาจึงเป็นพันธมิตรกับอบูบักร”

บะลาซุรี ในหนังสือ อันซอบุล อัชรอฟ เล่ม 1 หน้า 587 กล่าวว่า “เมื่อพวกอาหรับปฏิเสธอิสลาม และถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกคอก อุศมานไปหาอะลีและชักชวนเขาให้สนับสนุนอบูบักร อะลีได้จับมือให้สัตยาบันกับอบูบักร และความยุ่งเหยิงระหว่างมุสลิมก็เงียบสงบลง จากนั้นกองกำลังของมุสลิมก็ได้เตรียมการเพื่อการต่อสู้กับพวกนอกคอก” อะลีได้ปรองดองกับอบูบักร หลังจากที่ฟาฏิมะฮ์เสียชีวิตแล้ว โดยเล็งเห็นว่าผู้คนได้เอาตัวออกห่างไปจากเขา และบรรดามุสลิมต่างก็แตกแยกกัน ตำแหน่งของอบูบักรก็ยังคงมั่นคงอยู่ อย่างไรก็ตามอะลีไม่เคยลืมเหตุการณ์เหล่านี้เลย ถึงแม้ในวาระที่เขาดำรงตำแหน่งผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา

ในคำเทศนาของเขาที่มีชื่อว่า ชัค ชะกียะฮ์ เขากล่าวว่า “ฉันจำต้องอดทนด้วยสามัญสำนึกแห่งคุณธรรม ฉันรอคอยด้วยความอดทน มันยากยิ่งประหนึ่งมีหนามทิ่มตำเข้าไปในตาของฉัน และกระดูกที่ตำอยู่ในคอของฉัน ฉันได้เห็นสิทธิแห่งการสืบมรดกของฉันจากท่านศาสดา ได้ถูกหยิบฉวยไปจากฉันอย่างยุติธรรม เมื่อวันเวลาของคนแรก (อบูบักร) หมดสิ้นลง และแสงสว่างแห่งชีวิตของเขาก็ดับลงด้วย เขาก็ได้ผ่านรางวัลแห่งการสืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาไปไว้ในมือของอิบนิ ค็อตต็อบ โอ้มันช่างแตกต่างกันเหลือเกิน ระหว่างการขี่อูฐตัวหนึ่ง (ไปเผชิญหน้ากับความยากลำบากแต่เพียงผู้เดียว) กับการนั่งอยู่บนบัลลังก์ของฮัยยาน ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและร่าเริงหรรษาในพระราชวังของญาบิรผู้เป็นพี่ชายของเขา

นับเป็นความประหลาดใจที่ว่าอบูบักรได้ขอให้ผู้คนถอนการให้สัตยาบันของพวกเขาออกไปจากตัวเขา ในฐานะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งแทนท่านศาสดา แต่ก่อนที่เขาจะตาย อบูบักรได้แต่งตั้งตำแหน่งอันมั่นคงให้กับอุมัรเป็นผู้สืบแทน ผู้ปล้นสะดมทั้งสองคนนี้ ได้แบ่งตำแหน่งผู้สืบแทนระหว่างพวกเขากันเอง ราวกับการแบ่งนมที่อยู่ในเต้าสองเต้าของอูฐตัวหนึ่ง”

ข้อวิจารณ์ที่กระทำโดยบุคคลต่างๆเกี่ยวกับการให้สัตยาบัน
ก) ฟัฎล์ อิบนิ อับบาส
ตามรายงานของยะอ์กูบี เมื่อครอบครัวของบนูฮาชิมทราบข่าวการแต่งตั้งให้อบูบักรเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา ฟัฎล์ อิบนิ อับบาส กล่าวกับชาวเผ่ากุเรชว่า “พวกท่านไม่อาจประสบกับความสำเร็จได้หรอก ที่จะสืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาด้วยกับการใช้เล่ห์กล เราสมควรที่จะได้รับตำแหน่งนี้ไม่ใช่พวกท่าน เราเป็นผู้ที่มีสิทธิอันชอบธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิตรของเราคือ อะลี” จากนั้น อุต บะฮ์ อิบนิ อบีละฮับ จึงอ่านบทกลอนดังต่อไปนี้คือ

ฉันไม่เคย คิดเลยว่า ประชาชน
จะละทิ้ง ทำตนได้ ไม่สนใจ
บนูฮาชิม ถูกละลืม ไร้เยื่อใย
ปล่อยอบุล ฮาซันไว้ ให้โดดเดี่ยว

แม้นว่าเขา เป็นคนแรก ที่แยกมา
เปี่ยมศรัทธา มุฮัมมัด เพียงคนเดียว
จากร่างท่าน คนสุดท้าย ใจห่อเหี่ยว
หมดแรงเรี่ยว โศกา แสนอาดูร

เพื่อมากูล เกื้อช่วยเหลือ แก่อะลี
สวรรค์ดี ส่งเทวทูต ปรูดลงมา
รีบเร่ง อย่างรวดเร็ว จากฟากฟ้า
สู่กายา ของศาสดา ที่อาสัญ

อุตบะฮ์ได้รับสารจากอะลีฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาหยุดอ่านบทกลอน เพราะมันเป็นความปรารถนาของอะลีที่มุสลิมทุกคนควรได้รับการชี้ชวนในลักษณะเดียวกัน

ข) อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส ได้มีการสนทนากันกับอุมัร
อุมัร: “อิบนิ อับบาส ท่านรู้หรือเปล่าว่า ทำไมผู้คนจึงไม่สนับสนุนครอบครัวของท่าน ผู้เป็นญาติของมุฮัมมัดให้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่าน ?” อับดุลลอฮ์ “ถ้าหากฉันไม่รู้ ดังนั้นหัวหน้าแห่งผู้ศรัทธา ก็จะช่วยบอกให้ฉันรู้ด้วยเถิด” อุมัร “บนู ฮาชิม ปรารถนาที่จะให้ท่านศาสดา และบรรดาผู้สืบทั้งหมดของท่านมาจากครอบครัวของพวกเขาเอง แต่เราชาวกุเรชได้เลือกผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านได้ด้วยความสำเร็จ” อับดุลลอฮ์ “อนุญาตให้ฉันพูดในบางสิ่งได้หรือไม่ ?” อุมัร “ถ้าหากจำเป็นก็เชิญได้ อิบนิ อับบาส” อับดุลลอฮ์ “หากชาวกุเรชรู้สึกพึงพอใจ กับสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานมาให้กับพวกเขา มันก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าแก่ตัวของพวกเขาเอง ฉะนั้นมันก็จะไม่มีการอิจฉาริษยาเกิดขึ้น

ท่านพูดว่ามันไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น ดังที่ว่า ชาวกุเรชไม่ข้องใจในสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานมาให้กับพวกเขา ผู้คนประเภทดังกล่าวนี้ อัล กุรอานได้กล่าวถึงไว้ว่า “เพราะว่าพวกเขาไม่ชอบโองการและพระบัญชาต่างๆของพระเจ้า กิจการงานของพวกเขาจึงมลายสิ้น” อุมัร “ฉันไม่อยากเชื่อเลยในสิ่งที่ฉันเคยได้ยินเกี่ยวกับตัวท่าน มันทำให้ฉันหมดความเคารพในตัวท่านตลอดไป” อับดุลลอฮ์ “ถ้าหากทุกสิ่งที่ฉันพูดเป็นสัจธรรมแล้ว ฉันก็ไม่เคยกลัวว่าใครจะไม่เคารพ และถ้าหากสิ่งใดที่ฉันพูดมันเป็นเท็จแล้ว ฉะนั้นคนอย่างฉันก็ย่อมแก้ไขตัวฉันเองได้” อุมัร “ฉันเคยได้ยินมาว่า ท่านเคยพูดว่า เรายึดอำนาจมาโดยการกดขี่บังคับผู้คนที่เรามีความอิจฉาริษยาในพวกเขา” อับดุลลอฮ์ “ทุกคนรู้ดีว่า ท่านใช้การกดขี่ข่มเหงอย่างไร และเกี่ยวกับการอิจฉาริษยาของท่าน ซาตานอิจฉาอาดัม และเราเป็นลูกหลานของอาดัมผู้ซึ่งตกเป็นเป้าของความอิจฉา”

ค) ซัลมาน ฟารซี
เญาฮะรี ได้บันทึกไว้ว่า ซัลมาน ซุเบร และชาวอันศอรต้องการที่จะจับมือประกาศสัตยาบันต่ออะลี และเมื่ออบูบักรได้เป็นคอลีฟะฮ์ ซัลมาน กล่าวว่า “ท่านได้ลูกของทองคำตัวเล็กๆ แต่ท่านได้สูญเสียแม่ของทองคำไป ท่านได้เลือกเอาชายชราและลืมครอบครัวของท่านศาสดา หากท่านปล่อยให้พวกเขาสืบทอดตำแหน่งของศาสดา ท่านก็จะได้ประโยชน์ที่มากมายกว่าและมันก็จะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างบรรดามุสลิม”

ง) อุมมุ มิสตะฮ์
“ความไม่ลงรอยกันของอะลีและอบูบักร ได้สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้กับบรรดามุสลิม” อุมมุ มิสตะฮ์ บุตรสาวของอุซาซะฮ์ไปยังหลุมฝังศพของท่านศาสดา และได้อ่านบทกวีดังต่อไปนี้...

ความขัดแย้ง ของมุสลิม เริ่มแตกหัก
เพียงศาสดา ที่รัก ได้จากไป
ไม่มีท่าน จิตวิญญาณ เราสูญหาย
ดุจดอกไม้ และใบหญ้า ที่หย่าฝน

จ) อบูซัร
เขาไม่ได้อยู่ในนครมะดีนะฮ์ เมื่อท่านศาสดาเสียชีวิต เมื่อได้ข่าวว่าอบูบักรได้เป็นผู้สืบแทนท่านศาสดา เขากล่าวว่า “ท่านได้รับรางวัลแต่เพียงน้อยนิดจากความพยายามของท่าน หากท่านได้ให้การสนับสนุนของท่านกับข้ออ้างของญาติท่านศาสดาที่จะดำรงตำแหน่งนี้ ท่านก็คงจะได้ผลประโยชน์อันมหาศาล และมันก็จะไม่มีความขัดแย้งกันในระหว่างบรรดามุสลิม”

ฉ) มิกดาด
ยะอ์กูบีได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขาถึงเรื่องๆหนึ่ง เล่ามาจากผู้เล่าคนหนึ่ง ผู้ซึ่งได้เห็นชายคนหนึ่งในมัสยิดแห่งมะดีนะฮ์ ตกอยู่ในสภาพที่สิ้นหวัง ราวกับว่าเขาได้ถูปล้นทรัพย์สินอันมหาศาลของเขาไป ชายคนนี้พูดขึ้นว่า “มันเป็นเรื่องแปลกประหลาดเสียจริงๆ ที่ตำแหน่งนั้นได้ถูกกระชากไปจากมือของผู้คนที่มีสิทธิ์”

ช) สตรีคนหนึ่งจาก บนูนัจญาร
ภายหลังจากที่อบูบักรได้ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไปแล้ว เขาได้ส่งเงินจำนวนหนึ่งไปยังบรรดาผู้หญิงแต่ละคนของชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร เซด บิน ซาบิตเป็นผู้นำเงินซึ่งเป็นส่วนของสตรีคนหนึ่งชาวบนูนัจญารไปให้กับนางแต่นางปฏิเสธที่จะรับมันไว้พร้อมกับกล่าวว่า “อบูบักรต้องการที่จะซื้อศาสนาของเรา ด้วยการให้สินบน”

ซ) อบูซุฟยาน
เขาคือซัคร์บุตรของฮัรบ์ บุตรของอุมัยยะฮ์ บุตรของอับดุชชัมส์บุตรของอับดุลมานาฟ เขาสู้รบกับท่านศาสดาจนถึงวาระที่ท่านศาสดาเข้าพิชิตนครมักกะฮ์ และท่านได้ยกโทษให้กับเขา ขณะที่ท่านศาสดาเสียชีวิต เขาไม่ได้อยู่ในนครมะดีนะฮ์ ในระหว่างการเดินทางกลับ อบูซุฟยานทราบถึงการเสียชีวิตของท่านศาสดา และการที่อบูบักรได้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่ง เขาถามว่า “อับบาสกับอะลีสองคนที่ถูกกดขี่มีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง” เขาได้รับการรายงานว่า เขาทั้งสองอยู่กับบ้านเฉยๆไม่ได้ทำอะไร อบูซุฟยานสบถพร้อมกับพูดว่า “ถ้าฉันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะช่วยพวกเขาให้ได้กลับไปอยู่ในที่ที่เป็นสิทธิอันถูกต้องของพวกเขา ฉันเห็นเมฆที่เต็มไปด้วยฝุ่นในอากาศ ซึ่งต้องการเลือดที่จะล้างมัน” เมื่อเขาเดินทางมาถึงมะดีนะฮ์ เขาเริ่มอ่านบทกวีดังต่อไปนี้...

โอ้บนู ฮาชิม อย่าปล่อยให้
ผู้ใดได้ ฉกฉวย โอกาสไป
ช่างอิจฉา ตาร้อน นี่กระไร
จะเป็นใคร หากไม่ใช่ ตัยม์และอดี(5)

อำนาจ อธิปไตย แห่งอิสลาม
เริ่มงดงาม สดใส เพราะท่านนี้
ผู้ปกครอง ต้องอบุล ฮาซัน(อะลี)สิ
หากท่านมี ความต้องการ ให้ยั่งยืน


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ตามรายงานของฏอบารี อบูซุฟยานกล่าวไว้ว่า “มีฝุ่นฟุ้งขึ้นไปในอากาศ ขอสาบานต่อพระเจ้า ฝนที่หลั่งเป็นเลือดเท่านั้นที่จะชะล้างมันได้ โอ้บุตรหลานของอับดุลมานาฟ ทำไมจึงปล่อยให้อบูบักรได้เป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดา อะลีและอับบาส ผู้ถูกกดขี่หายไปไหน” จากนั้นเขาต้องการจะจับมือประกาศสัตยาบันต่ออะลี แต่อะลีปฏิเสธอบูซุฟยาน จึงอ่านบทกลอนนี้

ลาหาใช่ ปัจเจกชน คนเสรี
ต้องยอมพลี แบกรับ ความต่ำต้อย
มีเครื่องชี้ บ่งบอก ถึงปมด้อย
ถึงมีน้อง สองประการ ควรขานไข

หนึ่งนั้นคือ เหล็กยึดเตนท์ ถูกกระหน่ำ
ถูกตอกย้ำ ด้วยฆ้อน สุดทนไหว
อีกหนึ่งคือ อูฐอาหรับ จากแดนไกล
หัวสั่นไป ด้วยน้ำหนัก พักบนหลัง

คำขวัญของอบูซุฟยาน
“โอ้ ลูกหลานของอับดุลมานาฟ”

เหตุการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์อิสลามได้หากอะลีไม่ได้เป็นนักปกครอง และหากถูกอบูซุฟยานชักชวนให้ก่อกบฏกับคอลีฟะฮ์ นับเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ได้พบว่า อบูซุฟยานผู้เป็นศัตรูอันแท้จริงของอิสลาม ซึ่งได้ต่อสู้กับท่านศาสดาจนกระทั่งเขาพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะสู้รบต่อไป จึงหันมาให้การสนับสนุนช่วยเหลืออะลี เขาตั้งใจจะช่วยจริงๆ หรือ ? หรือเพียงต้องการก่อกวนให้วุ่นวาย ?

ยิ่งประหลาดใจมากขึ้นไปอีกก็คือ อะลีปฏิเสธไม่ยอมรับการช่วยเหลือของอบูซุฟยานและอับบาสผู้เป็นหัวหน้าของเผ่าที่ทรงอำนาจ เมื่อเขาเองกลับไปแสวงหาการช่วยเหลือจากผู้คนในทุกมุมเมือง เท่าที่จะเป็นไปได้ ภายหลังจากที่ได้สำรวจตรวจสอบดูถึงจุดมุ่งหมายของอบู ซุฟยาน และอะลี เราจึงไม่เหลือข้อสงสัยใดๆไว้ เพราะลักษณะของแผนการของบุคคลทั้งสองนั้นแตกต่างกัน

บรรพบุรุษของท่านศาสดาและอบูซุฟยานเป็นญาติพี่น้องกัน ซึ่งครอบครัวมีการขัดแย้งกัน การต่อสู้ของครอบครัวทั้งสองนี้ จบลงด้วยกับครอบครัวของท่านศาสดาได้รับชัยชนะ จนได้เป็นหัวหน้าของเผ่า และทัศนะของเขาที่มีต่อท่านศาสดา ในฐานะผู้นำศาสนานั้น เป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้เมื่อท่านศาสดาเข้าพิชิตมักกะฮ์ อบูซุฟยานกล่าวกับอับบาสว่า “หลานของท่านได้สถาปนาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล” อับบาส กล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องของการเป็นศาสนทูตไม่ใช่เป็นเรื่องราชอาณาจักร” อบูซุฟยานยอมรับคำพูดนี้โดยปราศจากการท้วงติง ถึงแม้อบูซุฟยานจะพ่ายแพ้ต่อญาติของเขา แต่เขาก็ไม่ประสงค์ที่จะให้คนแปลกหน้ามีอำนาจ และปล่อยให้เผ่าของเขาต้องไปมือเปล่า

ท่านศาสดาพยายามที่จะป้องกันความสัมพันธ์ในทางเครือญาติ ไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของความยุติธรรม แต่ท่านก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เราจะเห็นได้เมื่อศึกษาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเครือญาติในช่วงชีวิตของท่านศาสดา ในเรื่องที่ว่าอับบาสผู้เป็นลุงของท่านศาสดา ได้ให้การคุ้มครองกับอบูซุฟยานอย่างไร ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเข้มแข็งในความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ

อิบนิ ฮิชาม บันทึกไว้ว่าคืนก่อนที่จะเข้าพิชิตมักกะฮ์ ค่ายพักของมุสลิมล้อมตัวเมืองอยู่ ลุงของท่านศาสดาขี่ล่อของท่านศาสดาออกไปมองหาไปทั่ว เพื่อว่าจะพบศัตรูบางคน เขาต้องการจะบอกพวกเขาถึงการเข้าโจมตีของบรรดามุสลิมที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้โอกาสแก่ศัตรูได้ขออภัยโทษ เขาได้พบอบุซุฟยานผู้ซึ่งกำลังสอดแนมฝ่ายมุสลิมอยู่ อับบาสกล่าวกับเขาว่า “ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันได้พบเจ้า อบูซุฟยานจงขึ้นลามา ฉันจะพาเจ้าไปพบกับท่านศาสดา เพื่อว่าเจ้าจะได้หาที่หลบภัย หรือหาไม่ในวันรุ่งขึ้นถ้าหากเจ้าถูกจับเจ้าก็จะถูกบั่นคอ”

อับบาสขึ้นขี่ฬ่อไปพร้อมกับอบูซุฟยานซึ่งนั่งอยู่ข้างหลัง เขาทั้งสองขี่ผ่านมุสลิมไปด้วยกันหลายกลุ่ม ซึ่งได้จุดไฟไว้อย่างมากมายเพื่อทำให้ศัตรูหวาดกลัว และเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ พวกมุสลิมกล่าวว่า “ดูลุงของท่านศาสดากำลังขี่ฬ่อของท่านมา” อุมัรบังเอิญไปเห็นอบูซุฟยานเข้า จึงตะโกนขึ้นมาว่า “ศัตรูของพระเจ้า ขอขอบคุณพระองค์ที่เจ้าได้มาอยู่ในกำมือของเราแล้ว และเจ้าก็ไม่มีใครสัญญาที่จะมาปกป้องให้” อุมัรวิ่งไปหาท่านศาสดา เพื่อขออนุญาตที่จะสังหารอบูซุฟยาน แต่อับบาสขี่ฬ่ออยู่จึงวิ่งแซงอุมัรและไปถึงท่านศาสดาก่อน อุมัรจึงเข้ามาและกล่าวว่า “โอ้ ศาสนทูตแห่งพระเจ้า เราได้ตัวอบูซุฟยานมาอยู่กับเราแล้ว โดยปราศจากการรับรองในความปลอดภัยของเขา จงอนุญาตให้ฉันได้บั่นคอของเขาเถิด” แต่อับบาสกล่าวขึ้นว่า “ฉันได้ให้ความปลอดภัยแก่เขา” อุมัรยังคงยืนกรานแต่อับบาสกล่าวว่า “ใจเย็นๆไว้ อุมัร หากอบูซุฟยานมาจากเผ่าอะดีของเจ้าแล้ว เจ้าก็คงจะไม่ยืนกรานที่จะสังหารเขา แต่เพราะเขามาจากตระกูลของอับดุลมานาฟ เจ้าจึงพูดจารุนแรง”

เรื่องนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ทางเครือญาติยังคงรุนแรงอยู่ในขณะนั้น ยังเป็นการแสดงให้เห็นอีกว่าแรงขับของ อับบาสเกิดมาจากความรักที่เขามีต่อเผ่าพันธุ์ของเขา สาเหตุของการแสดงออกของอบูซุฟยานที่ต่อต้านอบูบักรเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับเผ่าพันธุ์นิยม ความสูงส่งของตระกูลของอับดุลมานาฟ ซึ่งเป็นต้นตระกูลของบนู ฮาชิม (ครอบครัวของมุฮัมมัด) และบนูอุมัยยะฮฺ (ครอบครัวของอบูซุฟยาน) นับเป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีของทุกคน ดังนั้นเมื่อพ่อของอบูบักรทราบว่า บุตรชายของเขาได้เป็นคอลีฟะฮ์ เขาได้กล่าวขึ้นว่า “บนูฮาชิมและบนูอุมัยยะฮ์เห็นด้วยหรือเปล่า ?” เมื่อเขาได้รับคำตอบที่เป็นการยืนยัน เขาจึงกล่าวขึ้นว่า “นั่นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าไม่มีผู้ใดจะขัดขวางได้”

ความสงสารของอบูซุฟยานที่มีต่อครอบครัวของมุฮัมมัด หลังจากท่านเสียชีวิต นั้นสืบเนื่องมาจากความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันในทางเผ่าพันธุ์สำหรับอบูซุฟยานนั้น ได้สู้รบกับท่านศาสดาในทุกครั้งที่เขามีโอกาส คำกล่าวของเขาก็คือ “ถ้าหากฉันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะช่วยอะลีและอับบาสเพื่อให้ได้ตำแหน่งกลับคืนมา” มิได้หมายเป็นอย่างอื่นนอกจากความหลงใหลในเผ่าพันธุ์นิยม เพราะเป็นธรรมเนียมของอาหรับ ที่จะช่วยญาติใกล้ชิดต่อสู้กับคนแปลกหน้าที่ห่างไกล

อบูซุฟยาน อับบาสและอะลี มีต้นกำเนิดที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน นั้นคือเผ่ากุซอย ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีอิทธิพล นี้เองที่ว่าทำไมอบูซุฟยานจึงกล่าวว่า “ใครก็ตามที่มีเผ่ากุซอยเป็นผู้สนับสนุนของเขา ย่อมได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน” อบูบักรและอุมัรเป็นคนของเผ่าเล็กๆ ซึ่งไม่อาจมาท้าทายเผ่ากุซอยได้ (กุซอยซึ่งมีกำเนิดเดิมมาจากเผ่ากุเรช มีเผ่าของอับดุลมานาฟเป็นรากแก้วอันเป็นที่มาของตระกูลบนูฮาชิมและอบูซุฟยาน)

นับเป็นธรรมเนียมในสมัยก่อน สำหรับเผ่าหนึ่งที่จะลำเอียงเข้าข้างคนที่มาจากสมาชิกของเผ่าของตน อะลีได้รับการสนับสนุนจาก อบูซุฟยานและอับบาส ย่อมจะต้องเอาชนะอบูบักรได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่อะลีวีรบุรุษผู้เป็นบุตรของอบูฏอลิบ ปฏิเสธการช่วยเหลือจากอิทธิพลของเผ่าของเขา เพราะธรรมเนียมนี้มันขัดแย้งกันกับคำสอนของอิสลาม ดังนั้นเขาจึงพ่ายแพ้แก่อบูบักร โดยจริงๆ แล้วหลังจากที่ท่านศาสดาเสียชีวิต เหตุการณ์ทั้งหมดได้รับอิทธิพลจากอคติของเผ่าอื่นๆ ที่มีต่อเผ่าพันธุ์หรือครอบครัวของท่าน ชาวอันศอรเสนอว่าสะอัดควรได้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาเพียงเพื่อเป็นการคัดค้านต่อชาวมุฮาญิรีน พวกเขารู้ดีว่าชาวมุฮาญิรีนบางคนเป็นผู้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ในอิสลาม และเพราะฉะนั้นจึงเหมาะสมมากกว่าต่อการยอมรับ เผ่าเอาส์สนับสนุนอบูบักร เพื่อเป็นการต่อต้านสะอัด ผู้เป็นคู่แข่งของเผ่าคอซรอจ คำกล่าวของอุมัรที่สะกีฟะฮ์เป็นหลักฐานยืนยันที่แท้จริงของการโอนเอียงไปสู่เผ่าพันธุ์นิยม

การสนับสนุนของอบูซุฟยานที่มีต่ออะลี ก็มีเหตุเนื่องมาจากความลำเอียงในเผ่านิยม มีเพียงอะลีเท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงดูมาจากตักของท่านศาสดา นับตั้งแต่เยาว์วัยต้องการที่จะเชิดชูอิสลาม จึงต้องการการสนับสนุนช่วยเหลือ จากบรรดามุสลิมเหล่านั้น ที่ไม่มีความรู้สึกในความอคติในเผ่านิยม และไม่มีความผูกพันกับวงศาคณาญาติใดๆ ผู้คนเช่น อบูซัร มิกดาด และซัลมาน ผู้ซึ่งมีอารมณ์ความรู้สึกเพียงในเรื่องของความเชื่อศรัทธาในอิสลามของพวกเขาเท่านั้น ข้อสรุปของเรื่องข้างต้น ที่เกี่ยวกับการสนับสนุนของอบูซุฟยานที่มีต่ออะลีนั้น เพราะเขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าในเรื่องของความสูงส่งกว่าของเผ่าพันธุ์ของเขา ซึ่งมีอะลีเป็นสมาชิกคนหนึ่ง แต่ไม่ใช่เพราะมีอารมณ์ความรู้สึกของอบูซุฟยานที่มีต่อศาสดา ฉะนั้นด้วยเหตุนี้ จึงมีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่สนับสนุนอะลีให้ต่อต้านอบูบักร อบูซุฟยานจริงใจต่ออะลีในการต่อต้านอบูบักรก็เพราะอคติในทางการเป็นวงศ์ญาติ แต่ได้มีการให้ความจริงที่ผิดๆ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ดังที่ได้มีการบันทึกไว้ว่า อบูซุฟยาน และบุคคลทั้งหมด ที่เป็นผู้ต่อต้านอบูบักรนั้น ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกตกศาสนา และถูกเรียกว่าเป็นพวกสร้างความยุ่งยาก

เหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวข้องกับอบูซุฟยาน ทำให้เรื่องดังต่อไปนี้ง่ายที่จะเชื่อว่า ได้มีการบันทึกว่าอบูซุฟยานถามอะลีว่า “ทำไมท่านถึงปล่อยให้อบูบักรเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาเล่า ? ถ้าหากท่านต้องการ ฉันจะบรรจุถนนของเมืองมะดีนะฮ์ ด้วยทหารม้าและทหารราบ” เรื่องได้ดำเนินต่อไปด้วยคำตอบของอะลีดังว่า “อบูซุฟยานท่านเป็นศัตรูกับอิสลามมานานพอแล้ว ท่านย่อมไม่สามารถสร้างความเสียหายต่อไปได้อีกแล้ว ฉันต้องยอมรับว่าอบูบักรเหมาะสมในตำแหน่งของเขา” เรื่องนี้ดูจะไม่สมจริงเพราะผู้เล่าไม่ได้มีชีวิตอยู่ในขณะที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เรื่องเท็จเหล่านี้บางเรื่องเช่นกันที่เล่าโดย อะวานะฮ์ ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนไม่น่าเชื่อถือ เนื้อเรื่องก็เป็นไปอย่างไม่สมจริง เพราะหากอะลีพูดว่า “ฉันยอมรับว่า อบูบักร เป็นผู้เหมาะสมในตำแหน่ง” แล้ว อบูซุฟยานก็คงจะถามเขาต่อไปว่า “ทำไมท่านถึงไม่จับมือแสดงสัตยาบันกับเขาเสียเล่า ?” ที่อะลีกล่าวไว้อย่างแน่นอนก็คือ “ถ้าหากฉันมีผู้ศรัทธาที่แท้จริงสักสี่สิบคนที่มีความรู้สึกสำนึกที่ถูกต้อง ฉันก็จะต่อสู้กับเขา”

อะลีได้เขียนไว้ในจดหมายที่มีไปยังมุอาวิยะฮ์ดังว่า “บิดาของเจ้า (อบูซุฟยาน) เห็นคุณค่าในสิทธิของฉันมากกว่าที่เจ้ามีเสียอีก ถ้าหากเจ้ารู้จักฉัน ดังเช่นที่บิดาของเจ้ารู้จักแล้ว เจ้าก็จะเป็นคนที่ฉลาดกว่านี้” รัฐบาลมีความหวาดกลัวในตัวอบูซุฟยาน อุมัรกล่าวกับอบูบักรว่า “จงให้เงินเขาไปบ้างเพื่อให้เขาเงียบเสียงลง ท่านศาสดาก็เคยทำดีต่อเขาและทำให้เขาเงียบเสียงลง” อบูซุฟยานรู้สึกผิดหวังกับอะลี จึงยอมรับเงินที่ส่งมาให้ ฏอบารีบันทึกไว้ว่า “อบูซุฟยานยังไม่ยอมหยุดยั้งการก่อกวนจนกระทั่งยะซีดบุตรชายของเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพส่งไปรบที่ซีเรีย”

ฌ) มุอาวิยะฮ์
มุอาวิยะฮ์ เขียนจดหมายถึง มุฮัมมัดบุตรของอบูบักรดังว่า “บิดาของท่านรู้และเราก็รู้ดีว่า อะลีเหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา เราเคารพอะลีเป็นที่ยิ่ง เมื่อท่านศานทูตของพระเจ้า ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจของท่านได้กลับคืนสู่พระเจ้าแล้ว บิดาของท่าน (อบูบักร) และมือขวาของเขาคืออุมัร เป็นบุคคลสองคนแรกที่ร่วมมือกันละเมิดสิทธิของอะลี อะลีปฏิเสธ และพวกเขาได้วางแผนต่อต้านจนกระทั่งอะลีต้องยอมจำนน”

“พวกเขาไม่เคยยินยอมให้อะลีได้มีส่วนรู้ถึงความลับของพวกเขาจนกระทั่งพระเจ้าได้เอาชีวิตของเขากลับไป ขณะนี้เรากำลังอยู่บนแนวทางที่บิดาของท่านได้บุกเบิกไว้ ถ้าหากเขาอยู่บนหนทางที่ถูกต้อง เราก็จะตามแนวทางของเขา ถ้าหากเขาอยู่ในหนทางที่ผิด ก็จงกล่าวโทษบิดาของท่านเถิด นั่นคือ ไม่ใช่มากล่าวโทษเราที่ได้ไปต่อต้านเขา และการไม่ปล่อยตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้กับเขา ขอความสันติจงมีแต่บรรดาผู้ที่ขอลุแก่โทษ”

ญ) คอลิด อิบนิ สะอีด
คอลิดบุตรของสะอีด บุตรของอาส นับเป็นมุสลิมคนแรกๆคนหนึ่งที่เข้ารับอิสลาม อิบนิ กุตัยบะฮ์ ได้กล่าวไว้ว่าในหนังสือ มะอาริฟ หน้า 128 ของเขาว่า “คอลิดเข้ามาเป็นมุสลิมก่อนอบูบักร” คอลิดอพยพไปอบิสสิเนีย (เอธิโอเปีย) และเมื่ออิสลามเข้มแข็งแล้ว เขาจึงกลับมาจากที่นั่น เขาและน้องชายอีกสองคน คืออัมรและอะบานได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสดาให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บภาษี ผู้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บจากเผ่ามัซฮัจญ์ จากนั้นพวกเขาจึงถูกย้ายไปยังเมืองซอนอาอ์ที่เยเมน เมื่อท่านศาสดาเสียชีวิต พวกเขาจึงกลับมายังนครมะดีนะฮ์

อบูบักรได้สอบถามพวกเขาว่า ทำไมพวกเขาจึงละทิ้งหน้าที่นี้ของพวกเขา และพวกเขากล่าวตอบว่า “เราได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสดาให้ได้รับหน้าที่นี้ และเราจะไม่ทำให้กับผู้ใดอื่น เมื่อท่านศาสดาวายชนม์แล้ว” พวกเขาหาข้อแก้ตัวอื่นๆอีก และไม่ยอมจับมือให้สัตยาบันกับอบูบักร จนกระทั่งสองเดือนผ่านไปคอลิดกล่าวกับบนูฮาชิมว่า “พวกท่านเป็นผู้มีเกียรติและเป็นต้นไม้ที่ให้ผล และเราขอปฏิบัติตามพวกท่าน”

วันหนึ่งเขาไปพบกับอะลีและอุศมาน และกล่าวกับพวกเขาว่า “พวกท่านเป็นผู้สืบตระกูลของอับดุลมานาฟ ไม่ยอมรับเอาตำแหน่งไว้ให้จริงจัง จนกระทั่งคนอื่นมายึดเอาไป” เขาชื่นชมในอะลีและต้องการจะให้สัตยาบันกับเขา แต่มันสายเกินไปเสียแล้วเพราะอบูบักรได้เป็นคอลีฟะฮ์ ฉะนั้นคอลิดจึงยอมรับเขาเสมือนกับบรรดาบนูฮาชิม อบูบักรไม่ถือสากับการก่อกบฏของคอลิดด้วยวิธีที่นุ่มนวล แต่อุมัรกลับถือเอาเป็นเรื่องใหญ่โตต่อมาภายหลังอบูบักรได้แต่งตั้งให้คอลิดเป็นผู้บังคับกองพันของกองทหารที่ส่งไปยังแนวรบที่ซีเรียก็เหลือเอามาเรียบเรียง

อุมัรเถียงกับอบูบักร และยืนกรานให้ปลดคอลิดและให้แต่งตั้งยะซีดบุตรของอบูซุฟยานแทนตำแหน่งของเขา คอลิดไม่รังเกียจไม่ว่าเขาจะเป็นทหารหรือเป็นผู้บังคับกองพัน และเขาได้ออกรบในฐานะทหารคนหนึ่ง ณ แนวรบที่ซีเรีย จนกระทั่งได้พลีชีพไปในปีที่ 13 ของฮิจเราะฮ์ศักราช สองคืนก่อนจะถึงสิ้นเดือนญะมาดุลเอาวัล

ฎ) สะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์
สะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ เป็นหัวหน้าของเผ่าคอซรอจ เขาร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่อะกอบะฮ์ (ในฐานะเป็นผู้แทน ผู้ซึ่งเดินทางมาจากมะดีนะฮ์ เพื่อมายืนยันถึงความเต็มใจที่จะสนับสนุนท่านศาสดา หากท่านประสงค์ที่จะอพยพ จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์) สะอัดเข้าร่วมในสงครามทุกครั้งที่ท่านศาสดาได้ต่อสู้ ยกเว้นก็คงจะเป็นสงครามบะดัร ในวันที่จะเข้ายึดนครมักกะฮ์ เขาได้แสดงแนวโน้มของความเป็นปฏิปักษ์ ด้วยกับคำพูดที่ว่า “วันนี้เป็นวันแห่งการสู้รบ เป็นวันที่ผู้หญิงจะต้องถูกจับเป็นเชลย” วันนั้นท่านศาสดาจึงมอบธงชัยให้กับกอยส์บุตรชายของสะอัด และได้ลดตำแหน่งของสะอัดลง ให้เป็นเพียงคนทำฮัจญ์ธรรมดาคนหนึ่ง

สะอัดประสบความพ่ายแพ้ในความพยายามของเขาที่จะเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา เขาจึงถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่อย่างเดียวดายในระหว่างการให้สัตยาบัน

แต่หลังจากที่อบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์สองสามวัน สะอัดถูกขอร้องให้จับมือกับเขา ดังที่คนส่วนหนึ่งของเผ่าของเขาได้กระทำไปแล้ว แต่สะอัดปฏิเสธพร้อมกับกล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ตราบใดที่ฉันยังมีลูกธนูอยู่ในซองที่จะยิงเจ้า หอกที่จะย้อมสีมันด้วยเลือดของเจ้า ดาบและพละกำลังอยู่ในแขนของฉัน ฉันจะขอต่อสู้กับเจ้าพร้อมกับการสนับสนุนของผู้คนที่อยู่ในเผ่าของฉัน ผู้ที่เขายังเชื่อฟังฉันอยู่ ฉันจะไม่จับมือแสดงการให้สัตยาบันเจ้า ถึงแม้มนุษย์และญินจะประกาศกับฉัน โดยอยู่ข้างเจ้าก็ตาม จนกว่าฉันจะตาย และจะนำเรื่องของฉันนี้ไปยังศาลของพระองค์” อุมัรเร่งเร้าให้อบูบักรบังคับสะอัดให้ยอมจำนน

แต่บะชีร อิบนิ สะอัดกล่าวว่าเขารู้จักสะอัดว่าเป็นคนดื้อดึง และจะไม่ยอมเห็นพ้องด้วย เขายังมีอิทธิพลในหมู่ผู้คนของเขา และย่อมไม่อาจไปลอบสังหารเขาได้ จนกว่าผู้คนอีกจำนวนมากในเผ่าของเขาและเครือญาติของเขาจะต้องถูกสังหารให้หมดเสียก่อน สะอัดจึงถูกปล่อยไว้ให้อยู่คนเดียวตามคำแนะนำของบะชีร

(บะชีรซึ่งเป็นบุคคลคนแรกที่จับมือกับอบูบักรนั้น เป็นคู่ต่อสู้ของสะอัด) สะอัดไม่เคยเข้าร่วมกับกิจกรรมในทางศาสนาที่ทำรวมกัน ซึ่งจัดโดยเจ้าหน้าที่ราชการ และเดินทางไปทำฮัจญ์แยกต่างหากจากคณะที่นำโดยรัฐบาล เขาผ่านชีวิตของเขาไปแต่ละวัน จนกระทั่งอบูบักรตาย เมื่ออุมัรขึ้นดำรงตำแหน่งแทนอบูบักร เขามาพบสะอัดและได้มีการพูดจาไม่สู้จะดีต่อกัน สะอัดกล่าวว่า “อบูบักรมีความยิ่งใหญ่มากกว่าเจ้า ฉันไม่ชอบที่จะอยู่ร่วมกับเจ้า” อุมัร กล่าวตอบว่า “ถ้าหากผู้หนึ่งไม่ชอบที่จะอยู่ใกล้อีกคนหนึ่งแล้วเขาก็ควรจะออกห่างไปเสีย”

จากนั้นสะอัดจึงเดินทางออกมาจากมะดีนะฮ์ไปยังดามัสกัส อุมัรส่งเจ้าหน้าที่ไปเพื่อเอาความเห็นชอบของสะอัด หรือไม่ก็ให้กำจัดเขาทิ้งเสีย หากเขาไม่เห็นพ้องด้วย
เจ้าหน้าที่ได้ไปพบสะอัดที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง และได้เชิญชวนเขาให้เห็นพ้องด้วยกับอุมัร สะอัดปฏิเสธและชายคนนั้นก็ยังคงข่มขู่เขา แต่ก็ไม่มีผลอันใด ดังนั้นเขาจึงสังหารสะอัดทิ้งเสีย

มัสอูดบันทึกไว้ว่า สะอัดไม่ยอมจับมือให้สัตยาบัน และจึงอพยพไปอยู่ซีเรีย และถูกสังหารในเวลาต่อมา อิบนิ อับดุรอบบิฮ์บันทึกไว้ว่า สะอัดถูกมือมืดสังหาร และที่ว่าญินได้ใช้เสียงโหยหวนใส่เขา ดังที่ได้กล่าวไว้ในกลอนต่อไปนี้

“เราได้ฆ่า สะอัดแม้ เป็นหัวหน้า
ผู้บัญชา เผ่าคอซรอจ ต้องโศกเศร้า
ในวันนี้ ยิงสองครั้ง ตรงเข้าเป้า
หัวใจเขา ไม่อาจหนี ชีวีดับ”

ในฏอบารีได้มีบันทึกไว้ว่า สะอัดกำลังไปทำธุระส่วนตัวอยู่ เมื่อมีบางคนเข้าจู่โจมและสังหารเขาทิ้งเสีย เมื่อได้พบตัวของเขาในเวลาต่อมาปรากฏว่า ผิวหนังของเขาเปลี่ยนเป็นสีเขียว

ใน อุซุดุลฆอบะฮ์ มีบันทึกไว้ว่า สะอัดไม่ยอมมอบตนต่อ อบูบักรหรือ อุมัร เขาอพยพไปอยู่ซีเรียและเขาถูกฆ่าตายที่นั่น จากนั้นจึงมีเสียงดังมาจากบ่อลึกโดยบอกให้ผู้คนได้รู้ว่า สะอัดถูกฆ่าสังหาร ร่างของเขาถูกพบนอนตายอยู่ใกล้ๆ บ้านของเขาที่ฮูรอนในนครดามัสกัส ในสภาพเปลี่ยนไปเป็นสีเขียว อับดุลฟัตตาฮ์เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล อิมามอะลี อิบนิ อบี ฏอลิบ ดังความว่าชาวบ้านต่างพากันพูดว่า สะอัดตายเพราะถูกญินฆ่า แต่จริงๆ แล้ว คอลิด อิบนิ วะลีด และคู่หูของเขาอีกคนหนึ่งได้กระทำฆาตกรรม สะอัด และโยนเขาลงไปในบ่อลึกเสียงที่บอกว่าสะอัดถูกฆ่าสังหารนั้นเป็นเสียงของเพื่อนคอลิด ไม่ใช่ของพวกญิน บะลาซุรี บันทึกไว้ว่า อุมัรสั่งคอลิดและมุฮัมมัด อิบนิ มุสลิมะฮ์ ให้ไปสังหารสะอัด พวกเขาก็ได้กระทำเช่นนั้น

สมาชิกคนหนึ่งของชาวอันศอร ได้แต่งบทกลอนดังต่อไปนี้เกี่ยวกับการตายของสะอัด

สิ่งที่พวก เขากล่าว และเล่าขาน
สะอัดนั้น ถูกญินฆ่า น่าสงสัย
ฉันไม่เคย ประสบ ณ ที่ใด
เลห์กลใคร ผิดแปลก แหวกครรลอง

สะอัดปราศ จากบาป คราบความผิด
เพียงน้อยนิด ไม่เคยมี ให้ชื่อหมอง
และไม่เคย แม้แต่ จะปรองดอง
ไม่เคยหมอง ต้องจับมือ อบูบักร

นักประวัติศาสตร์ไม่ชอบที่จะบันทึก สาเหตุการตายของสะอัด บางคนไม่ยอมพูดถึงเหตุการณ์นี้เลย และบุคคลอื่นกล่าวโทษญิน ถ้าหากบรรดาผู้ที่พูดว่า ญินฆ่าสังหารสะอัด กล่าวว่า “บรรดาญินที่เป็นผู้ศรัทธาไม่ชอบสะอัดที่ไปต่อต้านอบูบักร ดังนั้นพวกเขาจึงสังหารเขาเสีย” ดังนั้นเรื่องอย่างนี้ย่อมจะเป็นที่น่าเชื่อได้ง่ายขึ้น

ฏ) อุมัร
เราได้กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆ ของเขาที่เข้าข้างอบูบักร ในระหว่างการประกาศสัตยาบัน อุมัรกล่าวว่า “บางคนเห็นล่วงหน้าว่าฉันกำลังจะตายและเดาว่าฉันจะตั้งใครเป็นผู้สืบแทน ขอให้ฉันได้แจ้งให้เป็นที่กระจ่างแก่พวกท่านถึงเรื่องนี้ การให้สัตยาบันกับอบูบักรเป็นเรื่องผิดพลาด แต่พระเจ้าปกป้องเราไว้ให้ปลอดภัยจากผลลัพธ์ของมัน”

วิวัตนาการในการบันทึกของ ซัยฟ์
เราได้เขียนไว้ก่อนหน้าแล้วถึงเหตุการณ์ของการให้สัตยาบันที่ซัยฟ์และบุคคลอื่นๆ ได้บันทึกไว้ ต่อไปนี้เราจะเปรียบเทียบดู ระหว่างการบันทึกของพวกเขา ซัยฟ์ได้บันทึกไว้ว่า

ก) ไม่มีผู้ใดที่ปฏิเสธการประกาศสัตยาบันให้กับอบูบักร ยกเว้นพวกตกศาสนาหรือใกล้จะตกศาสนา และบรรดาชาวมุฮาญิรีนทั้งหมดล้วนจับมือกับอบูบักรด้วยความเต็มใจ

ข) อะลีวิ่งออกมาจากบ้านของเขา โดยสวมเสื้อชุดนอนเพื่อไม่ให้เสียเวลา หลังจากที่เขาได้ยินว่า ผู้คนได้จับมือประกาศสัตยาบันกับ อบูบักรและเขาก็ได้จับมือกับอบูบักร เช่นเดียวกันพวกเขาได้นำเสื้อผ้าของเขามาให้จึงได้จัดการแต่งตัว

ค) เกาะกอฮ์กล่าวว่า “ฉันอยู่ในมัสยิดเพื่อการนมาซตอนเที่ยงวันเมื่อมีชายคนหนึ่งนำข่าวการเสียชีวิตของท่านศาสดา และการชุมนุมของพวกอันศอรที่สะกีฟะฮ์ เพื่อแต่งตั้งสะอัดให้เป็นผู้สืบตำแหน่งแทนของพวกเขา อันเป็นการขัดต่อคำสั่งของท่านศาสดา ข่าวนี้ได้สร้างความกังวลในใจให้กับชาวมุฮาญิรีนเป็นอย่างมาก”

ง) ฮุบาบ อิบนิ มุนซิร กำลังจะเข้ามาจู่โจมอบูบักรด้วยดาบ แต่อุมัรได้ปัดดาบจนหลุดจากมือของเขา จากนั้นชาวอันศอรได้รีบออกมาจับมือกับอบูบักร โดยโดดข้ามหัวสะอัดผู้ซึ่งกำลังป่วยอยู่เข้ามา และไปนั่งขวางทางพวกเขา ความผิดพลาดของชาวอันศอร นับเป็นความผิด พลาดในแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของความโง่เขลาป่าเถื่อน แต่อบูบักรได้ป้องกันไว้อย่างเหนียวแน่นไม่ให้เกิดผลลัพธ์เช่นนั้นอีก

จ) สะอัดกล่าวกับอบูบักรว่า “ท่านและคนในเผ่าของฉันบังคับให้ฉันยอมจำนนต่อท่าน” พวกเขาได้บอกกับสะอัดว่า “หากเราบังคับท่านให้ออกไปจากชุมชนท่านก็อาจจะมีข้อแก้ตัว แต่เราได้ทำให้ท่านอยู่ร่วมกับคนอื่นๆเขา ถ้าหากท่านขัดขืนต่อเสียงของประชาชนแล้ว หรือสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น เราจะตัดคอของท่าน”

ฉ) อบูบักรได้กล่าวคำปราศรัยอย่างยืดยาวรวมสองครั้ง

ช) คอลิด สะอีด อะมาวี สวมเสื้อที่ทำจากผ้าไหมในยามสงบ และอุมัรได้สั่งเขาให้ฉีกเสื้อทิ้ง ด้วยเหตุนี้คอลิดจึงกล่าวกับอะลีว่า “โอ้ ผู้เป็นบุตรหลานของอับดุลมานาฟ ท่านได้แพ้คดีความของท่านหรือ?” อะลี บอกกับคอลิดว่า “เจ้าเห็นว่ามันเป็นเรื่องของการละเล่นหรือ?” จากนั้นอุมัรจึงกล่าวกับคอลิดว่า “ขอพระเจ้าได้โปรดสวมบังเหียนที่ปากของเจ้าด้วย เจ้าได้พูดบางสิ่งที่พวกโป้ปดมดเท็จจะยึดเอาไปพูดต่อ (เพื่อเอาไปแต่งเรื่องเท็จ)”

เมื่อเราได้เปรียบเทียบดูถึงแนวทางที่ซัยฟ์ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้กับที่ผู้อื่นได้บันทึกไว้ เราได้เห็นว่าซัยฟ์ ได้ตบแต่งเหตุการณ์ไว้ด้วยวิธีที่ชาญฉลาดยิ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของเขา ยกตัวอย่างเช่น

ก) เขากล่าวว่าอะลีและสะอัด จับมือกับอบูบักรเพื่อให้สัตยาบันในวันแรกที่เขาได้สืบตำแหน่งแทนท่านศาสดา แต่กระนั้นนักประวัติ ศาสตร์คนอื่นๆ บอกเราถึงการเลื่อนข้อตกลงของอะลีและสะอัดกับ อบูบักรออกไป ซึ่งแตกต่างกับที่ซัยฟ์ได้พูด ซึ่งแตกต่างกันดังนี้คือ “อะลีได้ถามถึงเรื่องตำแหน่งของเขา ชาวมุฮาญิรีนและบนูฮาชิม ต่างก็เห็นพ้องกับอะลีที่ไม่ยอมให้สัตยาบันกับอบูบักร ผู้คนเหล่านี้ทั้งหมดต้องการจะจับมือกับอะลีเพื่อให้สัตยาบันและตราบเท่าที่บุตรีของท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ พวกเขาไม่ยอมเห็นพ้องด้วยกับอบูบักร” ถ้าหากเรื่องที่ซัยฟ์พูดไว้เป็นเรื่องจริงที่ว่า อะลีไปพบอบูบักรในวันแรกเลยทีเดียวนั้น ดังนั้นใครจะเป็นผู้จัดการเตรียมงานฝังศพของท่านศาสดาเล่า ?

ข) สะอัดไม่เห็นด้วยกับอบูบักร เขาจึงไปอาศัยอยู่ที่ดามัสกัส และญินได้สังหารเขาด้วยกับการยิงสองครั้ง เพราะเขาไม่จับมือกับ อบูบักร

ค) ด้วยคำกล่าวที่ว่าชาวอันศอร ต้องการที่จะละเมิดพันธสัญญาของท่านศาสดา และไปประกาศสัตยาบันกับสะอัด ซัยฟ์ต้องการจะพูดว่าท่านศาสดาได้แต่งตั้งอบูบักรไว้

ง) ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์คำพูดบางคำของเกาะกออ์ขึ้นมาดังต่อไปนี้ “ผู้คนจากคนแล้วคนเล่าได้เข้าสัมผัสมือกับอบูบักรด้วยความเต็มใจ” ถึงกระนั้นเกาะกออ์ไม่เคยมีชีวิตอยู่เลย เขามีชื่อปรากฏอยู่ก็เฉพาะในเรื่องเล่าของซัยฟ์เท่านั้น

จ) เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าชาวอันศอรต่อต้านอบูบักร เขากล่าวว่า ฮุบาบ ผู้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชาวอันศอรได้เข้าจู่โจมด้วยดาบ แต่จริงๆแล้วเขาคนนั้นคือ ซุเบร เป็นลูกพี่ลูกน้องของท่านศาสดา ซึ่งเป็นชาวมุฮาญิรีนคนหนึ่ง (ชาวอพยพเป็นพรรคพวกของอะลี) ที่ได้เข้าโจมตีด้วยดาบ

ฉ) อุมัรให้ข้อสังเกตว่าการเลือกตั้งอบูบักรเป็นความผิดพลาด ซัยฟ์เรียกการต่อต้านของชาวอันศอรว่า เป็นความผิดพลาดเช่นกันเพื่อเป็นการกลบเกลื่อนอุมัร และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อสังเกตของอุมัร ที่เป็นการต่อต้านกับชาวอันศอร

ช) ซัยฟ์กล่าวไว้ว่า อบูบักรได้กล่าวคำปราศรัยเป็นปฐมฤกษ์อย่างยืดยาวรวมสองครั้ง หลังจากที่ผู้คนได้ให้สัตยาบันต่อเขาแล้ว ลีลาและเนื้อหาของคำปราศรัยของทั้งสองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นของปลอม และคำปราศรัยของอบูบักรที่เป็นของจริงนั้น ย่อมมีความแตกต่างกับลีลาและเนื้อหาของคำปราศรัยที่เป็นของปลอมนั้น ไม่เหมือนกันกับคำปราศรัยของคอลีฟะฮ์ทั้งสาม ที่ตามมาภายหลังจากท่านศาสดา คำปราศรัยนี้ซัยฟ์ได้เขียนไว้ไม่ดีเท่ากันกับงานเขียนอื่นๆของเขา มันดูเหมือนว่าซัยฟ์ไม่มีความชำนาญในการแต่งคำปราศรัยในทางศาสนา อีกประการหนึ่งคำปราศรัยยาวๆนั้น นับเป็นเรื่องไม่ปกติในสมัยของท่านศาสดาและของอบูบักร คำปราศรัยยาวๆเหล่านี้ เริ่มต้นขึ้นในสมัยการเป็นคอลีฟะฮ์ของอุมัร และไปถึงจุดสุดยอดในยุคสมัยของอะลี คำปราศรัยแรกๆของผู้ปกครองคนใดก็ตามมักจะสั้น ซึ่งเป็นการกำหนดโครงเรื่องของแผนงานใหม่ๆ

ซ) คำแถลงที่อบูบักรใช้ที่ว่า มารร้ายได้อยู่อาศัยในตัวของเขานั้นฟังดูเป็นเรื่องชวนหัวและทำให้เสื่อมเสีย ซัยฟ์ต้องการที่จะเน้นย้ำความคิดของเขาที่ว่า ภายหลังจากท่านศาสดาผู้คนไม่ต้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับคุณธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ คำพูดเหล่านี้จากอบูบักรผู้เป็นคอลีฟะฮ์คนแรก เหมือนกันกับคำวิงวอนของเขาที่ขอให้กับกองทัพของ อุซามะฮ์ เป็นเหตุให้อิสลามต้องร่วงหล่นสู่ความเสียชื่อเสียง

ฌ) สิ่งที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับคำปราศรัยของอบูบักรที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นของเขานี้ก็คือมันได้นำเอาวิญญาณแห่งความตลกโปกฮาเข้ามาสู่ศาสนาอิสลามเพื่อว่าเมื่อผู้คนได้ฟังจากคำปราศรัยของผู้นำมุสลิมแล้วก็จะเข้าใจไปได้ว่าอิสลามไม่ได้เป็นศาสนาที่แท้จริงหรืออาจเลวร้ายไปกว่านั้นอีกก็คือ เป็นศาสนาที่ไม่มีพระเจ้าเหตุผลที่ซัยฟ์นำเสนอในเรื่องอิสลามอย่างผิดๆก็เพราะได้มีบันทึกไว้ว่า ซัยฟ์เป็นผู้ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้า


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ญ) ซัยฟ์กล่าวถึงคอดลิด อิบนิ สะอัด อะมาวี ว่า คอลิดสวมใส่เสื้อทำด้วยผ้าไหม และอุมัรสั่งให้ฉีกเสื้อนั้นทิ้งเสีย ซึ่งผลจากการนี้ทำให้ความรู้สึกของคอลิดที่มีต่ออบูบักรและอุมัรเป็นไปด้วยความเคียดแค้น คอลิดกล่าวกับอะลีว่า “เผ่าของท่าน (อับดุลมานาฟ) ถูกเผ่าของอบูบักร (ตัยม์) เอาชนะไปได้” อะลีกล่าวตอบว่า “ตำแหน่งของผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องกับอิทธิพลทางเผ่าพันธุ์ มันเป็นตำแหน่งอันศักดิ์สิทธิ์” คอลิดกล่าวกับอะลีอีกว่า “เผ่าของท่านสมควรที่จะได้รับตำแหน่งนี้” จากนั้นอุมัรจึงกล่าวกับคอลิดว่า “ขอให้พระเจ้าปิดปากเจ้าเสีย เจ้าพูดในสิ่งที่ทำให้พวกโกหกมดเท็จ หาเหตุประดิษฐ์เรื่องราวขึ้นมา” ณ ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งที่ซัยฟ์ ปรารถนาที่จะกล่าวว่าคอลิดคนเดียวเท่านั้นที่เชื่อว่า อิทธิพลทางเผ่าพันธุ์เป็นแรงกระตุ้นของผู้คนที่สนับสนุนคู่แข่งขัน หาไม่แล้วชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรเป็นผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ที่จะพยายามผสมกลุ่มคนเมืองกับเรื่องศาสนา ดังนั้นอะลีและอุมัรจึงไม่ยอมรับคอลิด ขณะที่นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ซัยฟ์ปรารถนาที่จะพิสูจน์ว่าไม่มีการต่อต้านที่อบูบักรได้เป็นคอลีฟะฮ์

ฎ) ซัยฟ์บอกกับเราว่าไม่มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างอะลีกับอุมัรและในกรณีที่มีความไม่ลงรอยกันที่พบเห็นได้ในภายหลัง ผู้คนจะได้คิดว่ามันเป็นเพราะคอลิด ฉะนั้นอุมัรจึงกล่าวกับคอลิดว่า “ภายหลังพวกโกหกมดเท็จจะสร้างเรื่องต่างๆ ขึ้นมาจากสิ่งที่เจ้าพูดได้” นี่คือจุดหนึ่งที่มีความสำคัญและควรแก่การสังเกต

ฏ) ท้ายที่สุดเราจะต้องไม่ลืมว่าซัยฟ์ได้เล่าเรื่องข้างต้นมาจากซัคร์ผู้ซึ่งเป็นผู้อารักขาของท่านศาสดา แต่ท่านศาสดาไม่มีคนอารักขาที่เป็นคนชื่อนี้

ฐ) การโจมตีอันรุนแรงที่สุดของซัยฟ์ที่มีต่อฝ่ายต่อต้านก็คือ คำกล่าวของเขาที่ว่า “ไม่มีผู้ใดต่อต้านอบูบักรยกเว้นคนที่ตกจากศาสนาไปแล้วหรือตั้งใจที่จะละทิ้งอิสลาม”

ข้อกล่าวหาของซัยฟ์เปิดช่องให้กับผู้อ่านได้เชื่อไปว่า มุสลิมต่างยอมรับอบูบักรเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ยกเว้นก็เฉพาะบรรดาผู้ที่หันห่างออกจากอิสลาม ณ ที่นี้เราจะได้แนะนำบรรดาผู้คนที่ต่อต้านอบูบักร และสนับสนุนอะลีอย่างจริงใจ ย่อมไม่มีผู้ใดสงสัยในทางใดได้ว่า จะมีใครในหมู่พวกเท่าเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาของซัยฟ์ว่าเป็น “คนตกศาสนา”

1) ซุเบร อิบนิ เอาวาม ญาติของท่านศาสดา
2) อับบาส ลุงของท่านศาสดา
3) สะอัด บิน อบีวักกอส ผู้พิชิตอิรัก
4) ตอลฮะฮ์ อิบนิ อุบัยดุลลอฮ์
5) มิกดาด บิน อัสวัด

บุคคลเหล่านี้คือ ผู้ที่ชุมนุมกันอยู่ที่ฟาฏิมะฮ์ เพื่อต่อต้านอบูบักร
6) อบูซัร กิฟารี
7) ซัลมาน อัลฟารซี
8) อัมมาร บิน ยาซีร
9) บัรรออ์ อิบนิอาซิบ อันซอรี
10) อุบัย อิบนิ กะอับ อันซอรี
11) ฟัฎล์ อิบนิ อับบาส ญาติของท่านศาสดา
12) อบูซุฟยาน ฮัรบ์ อะมาวี
13) คอลิด อิบนิ สะอีด อะมาวี
14) อะบาน อิบนิ สะอีด อะมาวี
นอกเหนือจากบุคคลทั้งหมดสิบสี่คนนี้ ไม่มีชาวบนูฮาชิมคนใดที่จับมือเพื่อให้สัตยาบันกับอบูบักร จนกระทั่งบุตรสาวของท่านศาสดาวายชนม์ การต่อต้านของพวกเขาเป็นไปก็เพราะการสนับสนุนของพวกเขาที่จะมอบให้กับอะลีโดยเฉพาะ นอกเหนือจากผู้คนเหล่านี้แล้ว ก็มี สะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ ที่ต่อต้านอบูบักร เนื่องจากตัวเขาเป็นคู่แข่งขันคนหนึ่ง... จะมีใครหรือที่เชื่อว่าคนใดคนหนึ่งของบุคคลทั้งหมดข้างต้น ได้เหินห่างออกจากการศรัทธาในอิสลาม? หรือว่าพวกเขาได้กลายเป็นคนตกศาสนา? เหล่านี้คือ ผู้ที่ต่อต้านอยู่ในนครมะดีนะฮ์ บัดนี้เราขออ้างอิงไปยังบรรดาผู้คนที่อยู่นอกนครมะดีนะฮ์ บางคนถูกสังหาร เพราะพวกเขาต่อต้านรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น มาลิก อิบนิ นุวัยรอฮ์ ซึ่งซัยฟ์ได้เรียกเขาว่าเป็นคนตกศาสนา การต่อสู้กับพวกเขา จึงถูกซัยฟ์เรียกว่าเป็นการทำสงครามศาสนากับพวกนอกคอกที่ตกศาสนาไปแล้ว

สรุป
ซัยฟ์ได้ตบแต่งประวัติศาสตร์อิสลามอย่างเชี่ยวชาญยิ่ง ในเรื่องราวที่เป็นนิยายต่างๆ ของเขา ถึงกับว่านักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และถึงแม้กับโลกมุสลิมเอง ได้ยอมรับในวีรบุรุษที่เขาจิตนาการขึ้นไว้ในหนังสือของตัวเองว่าเป็นซอฮาบะฮ์ (สาวกของศาสดา) และเป็นบุคคลที่มีอยู่ในอิสลามจริงๆ เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะได้เปิดเผยด้วยการค้นคว้าและการวิจารณ์ถึงความเป็นจริงที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอิสลาม และแนะนำศาสดาแห่งอิสลามผู้สูงส่งและครอบครัวอันมีเกียรติของท่านให้กับโลก ในสีสันที่เป็นของจริงแท้ของมัน มากกว่าที่ปกป้องเรื่องเล่าต่างๆ ของซัยฟ์ที่อาศัยชื่อของอิสลาม

3. ริดดะฮ์ (นอกรีต)
คู่ต่อสู้ของอบูบักรที่อยู่นอกเมืองหลวงถูกเรียกว่าเป็นพวก “นอกรีต” และการทำสงครามต่อต้านพวกเขา ถูกอำพรางว่าเป็นสงครามศาสนา

คำว่านอกรีตในอิสลาม
คำว่านอกรีตมาจากคำว่า “อิรติดาด” ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึง “หันกลับ” อัล กุรอาน กล่าวไว้ว่า “เมื่อผู้ทำหน้าที่แจ้งข่าวดีวางเสื้อของยูซุฟลงต่อหน้ายะอ์กูบ สายตาของเขาก็กลับคือ (อิรตัดดัด) มายังเขา” คำว่า “ริดดะฮ์” ถูกใช้ในอัล กุรอาน อีกเช่นกันที่ให้หมายถึง “การหันกลับออกไปจากศาสนา” ดังปรากฏอยู่ในโองการดังต่อไปนี้ “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาหากพวกเจ้าเชื่อฟังคนกลุ่มหนึ่ง ที่คัมภีร์ได้ถูกประทานมาให้กับพวกเขาก่อนหน้านี้ พวกเขาก็จะหันเหพวกเจ้า (ยะรุดดูกุม) ให้เป็นผู้ปฏิเสธภายหลังจากศรัทธาของเจ้า”

ในโองการนี้ได้กล่าวไว้อีกครั้งหนึ่งว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาถ้าหากคนใดคนหนึ่งของพวกเจ้าหัน (ยัรตัดดุ) ออกไปจากศาสนาของเขาแล้ว พระเจ้าก็จะทรงนำผู้คนที่พระองค์ทรงรักพวกเขา และพวกเขาก็รักพระองค์ออกมา พวกเขาทั้งหลายซื่อตรงต่อบรรดาผู้ศรัทธา และเข้มงวดกับบรรดาผู้ปฏิเสธ” เราได้อ่านพบในอัล กุรอานอีกว่า “พวกเขาจะยังคงสู้รบกับพวกเจ้าจนกว่าจะหันเหพวกเจ้า (ยะรุดดูกุม) ออกไปจากศาสนาของพวกเจ้า หากพวกเขาสามารถ และถ้าหากพวกเจ้าหันเหออกจากศาสนาของพวกเจ้าและจากนั้นก็ตายลง กิจการงานของพวกเจ้าก็จะมลายสิ้น” แต่คำว่า “อิรติดดาด” ได้ถูกผนวกให้หมายถึงการตกศาสนาอยู่บ่อยๆ จนกระทั่งคำนี้ไม่มีความหมายเป็นอื่น นอกจากจะหมายถึงนอกรีตหรือการตกศาสนา โดยจะผุดขึ้นในจิตใจในทุกครั้งที่มันถูกใช้ (ความหมายตามนัย)

การตกศาสนาในสมัยของท่านศาสดา
มีมุสลิมบางคนหันเหห่างออกจากอิสลามในสมัยของท่านศาสดา เช่น อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีซัรฮ์ เป็นต้น

อับดุลลอฮ์ เป็นอาลักษณ์คนหนึ่งของอัล กุรอานที่ “ถูกดล” ลงมาเขาหนีจากนครมะดีนะฮ์กลับไปยังนครมักกะฮ์ เขาชอบบอกกับพวกกุเรชว่าเขาได้เขียนคำอื่นที่แตกต่างจากคำที่มุฮัมมัดได้บอกให้จดลงไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมุฮัมมัดกล่าวว่า “พระเจ้าทรงรอบรู้และทรงปรีชาญาณยิ่ง” อับดุลลอฮ์ถามว่าเขาจะเขียนดังว่า “พระเจ้าทรงมหิทธาณุภาพและทรงปรีชาญาณจะได้ไหม” มุฮัมมัดจะกล่าวว่า “นั้นก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน” ในวันที่ท่านเข้าพิชิตมักกะฮ์ มุฮัมมัดกล่าวว่า “เลือดของอับดุลลอฮ์ไม่มีค่าอันใด และถึงแม้เขาจะเข้าไปหลบภัยอยู่ที่อัล กะอ์บะฮ์ เขาก็จะต้องถูกสังหาร” อุศมานนำตัวเขาไปซ่อนไว้ และต่อมาได้นำเขามาหาท่านศาสดาเพื่อขอการอภัยโทษ ซึ่งก็ได้รับอนุมัติ

คนนอกรีตอีกคนหนึ่งก็คือ อุบัยดุลลอฮ์ อิบนิ ญะฮัชสามีของอุมมะ ฮะบีบะฮ์ ซึ่งอพยพไปยังเอธิโอเปีย เขาได้เปลี่ยนไปเข้ารับคริสต์ศาสนาและเสียชีวิตในฐานะคริสเตียน อับดุลลอฮ์ อิบนิ คอฎอล เป็นคนนอกรีตอีกคนหนึ่งที่ถูกฆาตกรรม ขณะที่กำลังเหนี่ยวผ้าคลุมกะอ์บะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่ เพื่อหาที่หลบภัย

การตกศาสนาในสมัยของอบูบักร
ข่าวอันสะเทือนใจของการเสียชีวิตของท่านศาสดา ได้แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วทั่วดินแดนแห่งคาบสมุทรอาหรับ บรรดาเผ่าที่ยังไม่ได้เข้ารับอิสลามจนถึงขณะนั้น ต่างมีความยินดีปรีดา และคงดำเนินกิจกรรมในการต่อต้านอิสลามต่อไป เผ่าต่างๆที่เป็นมุสลิมก็รู้สึกระส่ำระสายเช่นกัน เพราะพวกเขาได้ยินว่า จากการจับกลุ่มทางการเมือง สาวกบางคนของท่านศาสดากำลังต่อสู้กันและกันเพื่อตำแหน่งคอลีฟะฮ์ การไม่เห็นพ้องด้วยของญาติของท่านศาสดาจากสายบนูฮาชิมและการต่อต้านของสะอัดหัวหน้าเผ่าคอซรอจต่ออบูบักร ในฐานะ คอลีฟะฮ์นั้น ทำให้เผ่ามุสลิมบางเผ่าสงสัยในตำแหน่งคอลีฟะฮ์นี้ พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธการศรัทธาหรือก็ไม่ได้ละทิ้งการนมาซของพวกเขา หรือคัดค้านต่อการจ่ายภาษีซะกาต พวกเขาเพียงแต่ปฏิเสธที่จะไม่จ่ายภาษีที่กำหนดให้รัฐบาลของอบูบักร

พวกต่อต้านเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็นพวก “นอกรีต” และพวกเขาจะต้องถูกกำจัดให้หมดไปด้วยสงครามที่พรางตาไว้ด้วยกับคำว่าศักดิ์สิทธิ์ หลังจากคู่ต่อสู้ของพวกเขาที่เป็นมุสลิมถูกทำลายล้างลงแล้ว รัฐบาลจึงเข้าต่อสู้กับเผ่าที่เป็นพวกกราบไหว้เจว็ด และพวกศาสดาจอมปลอมและองค์กรของพวกเขา ในที่สุดกองทหารจึงถูกส่งออกไปนอกแผ่นดินอาหรับ สงครามทั้งหมดที่กระทำในสมัย อบูบักร จึงถูกเรียกว่า ริดดะฮ์ (สงครามต่อต้านพวกนอกรีต) ฉะนั้นคู่ต่อสู้ที่เป็นมุสลิมของอบูบักรที่อยู่นอกเมืองมะดีนะฮ์ จึงถูกเรียกขานว่า “มุรตัดดีน” (พวกนอกรีต)

ดร. ฮาซัน อิบรอฮีมได้สนับสนุนความคิดนี้ไว้ในหนังสือของเขาชื่อประวัติศาสตร์การเมืองอิสลาม หน้า 251 ดังความว่า “ภายหลังจากที่ท่านศาสดาเสียชีวิตและเป็นที่ยืนยันเรียบร้อยแล้ว มีมุสลิมบางคนลังเลใจในสัจธรรมแห่งอิสลาม และบางคนมีความหวั่นเกรงว่าชาวกุเรช หรือจริงๆแล้วเผ่าใดก็ได้ อาจสามารถเข้ามามีอำนาจและตั้งรัฐเผด็จการรัฐหนึ่งขึ้นมา พวกเขาตระหนักดีว่า เฉพาะท่านศาสดาเท่านั้นที่ปราศจากบาปและบุคคลอื่นๆ ที่จะมานั้นเป็นผู้สืบแทนตำแหน่งท่าน ย่อมไม่มีคุณลักษณะเช่นนั้น ที่จะทำให้เขาดูแคลนทุกคนให้เท่าเทียมกัน ดังเช่นฟันของหวี เพราะฉะนั้นพวกเขาสงสัยว่า หากผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดาคนนั้น ลำเอียงไปสู่ความชอบพอใจในครอบครัวและเผ่าพันธุ์ของตนเอง และดูถูกเผ่าอื่นๆ มันก็เป็นการทำลายสังคมและความยุติธรรมของอิสลาม

เราคาดเดาเช่นนี้ เพราะเราเห็นว่าภายหลังจากท่านศาสดาแล้ว อาหรับแต่ละกลุ่มต่างสนับสนุนครอบครัวแห่งเผ่าของตนอย่างเห็นแก่ตัว และแนวทางอันเป็นธรรมชาติดั่งเดิมของอาหรับก็ได้หวนกลับมาอีก ในนครมะดีนะฮ์ชาวอันศอร(ผู้ช่วยเหลือ) มีความหวั่นเกรงว่าชาวมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ) และชาวกุเรชจะมีอำนาจ กลุ่มทั้งสองนี้ต่างมีความไม่ไว้วางใจต่อกัน ชาวอันศอรต้องการรัฐบาลผสม ชาวมุฮาญิรีนต้องการหัวหน้ามาจากฝ่ายตนและผู้ช่วยหัวหน้ามาจากชาวอันศอร เอาส์และคอซรอจซึ่งเป็นสองเผ่าย่อยของชาวอันศอรหักหลังกันเองในระหว่างการเลือกตั้งคอลีฟะฮ์”

“มักกะฮ์ก็ไม่ดีไปกว่ามะดีนะฮ์ เพราะการเลือกตั้งได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางเผ่าพันธุ์ขึ้นที่นั่นเช่นกัน บนูฮาชิมไม่เห็นด้วยกับ อบูบักรที่เป็นคอลีฟะฮ์ อะลีปฏิเสธที่จะสนับสนุนอบูบักร และอบูซุฟยานพยายามชักชวนอะลีให้ยึดอำนาจ”

“ในที่สุดชาวมุฮาญิรีนชาวอันศอรและชาวกุเรช ผู้ซึ่งล้วนเป็นผู้บุกเบิกอิสลาม และเป็นผู้สนับสนุนอิสลาม และญาติของท่านศาสดาไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อการจัดตั้งรัฐบาลได้ด้วยวิธีสันติ ทั้งนี้จึงเป็นเหตุให้อาหรับเผ่าอื่นๆ ได้เห็นถึงความจริง และในที่สุดพวกเขาจึงหมดหวังที่จะได้ออกเสียงหรือมีโอกาสใดๆในคณะรัฐบาล ฉะนั้น ส่วนใหญ่ของพวกเขาจึงคัดค้าน อบูบักรที่เป็นคอลีฟะฮ์ และปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีศาสนาให้เขา นักวิชาการต่างชาติถึงถือเรื่องนี้ว่าเป็นการกระทำนอกรีต และเป็นหลักฐานของการเผยแผ่อิสลามด้วยการใช้ดาบในดินแดนอาหรับ แต่การเข้าใจเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะบรรดาผู้คนที่ อบูบักร สู้รบในฐานะพวกนอกรีตนั้นยังคงซื่อสัตย์ต่ออิสลามอยู่” พวกเขามีด้วยกันสองกลุ่ม

1) กลุ่มหนึ่งผู้ซึ่งเชื่อว่า ภาษีศาสนาเป็นภาษีของท่านศาสดา และภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตแล้ว ย่อมไม่มีผู้ใดจะมีสิทธิ์มาขอเก็บได้ ฉะนั้นพวกเขาจึงปฏิเสธที่จะจ่ายมันให้กับอบูบักร และด้วยเหตุนี้เขาจึงสู้รบกับคนพวกนี้ อุมัรได้มาข้อร้องในนามผู้คนเหล่านั้นด้วยการกล่าวว่า “ท่านศาสดากล่าวว่า ฉันต่อสู้กับผู้คนจนกว่าพวกเขาจะศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว และผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาในพระเจ้า เลือดของเขาและทรัพย์สินของเขาย่อมได้รับการคุ้มครอง”

2) อีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ที่ไม่ศรัทธาในศาสนา “จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ใช่มุสลิม รัฐอิสลามในสมัยของอบูบักร ห่วงอยู่ก็เฉพาะเรื่องการจัดการตัดสินประหารชีวิตเท่านั้น และไม่ใยดีกับพวกนอกรีตที่กลับเข้ามารับอิสลาม”

ถึงกระนั้น ดังที่ ดร.ฮาซัน อิบรอฮีมได้ชี้แนะไว้ว่าตามหลักการอิสลามแล้ว “พวกนอกรีตคนใดต้องมีเวลาสามวันเพื่อถกเถียงทัศนะของเขากับเจ้าหน้าที่ในทางศาสนา ฉะนั้น จงอนุญาตให้ข้อกล่าวหาได้รับการพิสูจน์ ก่อนที่เขาจะถูกลงโทษ และเขาผู้ที่ได้รับความปลอดภัยก็ได้รับด้วยการพิสูจน์” เพื่อเป็นการทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง เราขออ้างอิงไปยังทัศนะของผู้นำทางสายซุนนี อิมามอบูฮะนีฟะฮ์ กล่าวว่า “ช่วงเวลาที่น้อยที่สุดที่จะอนุญาตให้บุคคลหนึ่งตัดสินใจนั้นมีเวลาสามวัน ถ้าหากพวกนอกรีตต้องการขอเวลาผ่อนผัน จงให้เขาสามวันเพื่อวิจารณ์กันในความเชื่อนั้น” อิมามมาลิกกล่าวว่า “พวกนอกรีตไม่ว่าจะเป็นทาสหรือเป็นไท ชายหรือหญิง จงให้เวลาเขาสามวัน นับจากวันที่เขาเป็นคนนอกรีต เขาย่อมได้รับอาหารและจะต้องไม่ได้รับการทรมาน”

อิมามชาฟิอีกล่าวว่า “พวกนอกรีตไม่ว่าจะเป็นชายหรือเป็นหญิงจะต้องได้รับการเคารพ เพราะเขาไม่ว่าชายหรือหญิงเคยเป็นมุสลิมมาก่อนบ้างแล้ว บางคนบอกว่าให้เวลาผ่อนผันแก่เขาทั้งชายหรือหญิงสามวัน” อิมาม ฮัมบาลีกล่าวว่า “พวกนอกรีตไม่ว่าชายหรือหญิง หากไม่เสียสติจะต้องเชิญชวนสู่อิสลามก่อนเป็นเวลาสามวัน”

“หากว่ากันตามทัศนะข้างต้นด้วยแล้ว ย่อมเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่า มุสลิมคนหนึ่งได้ปฏิเสธการศรัทธาของเขา ด้วยเพียงการคาดเดาเอาเอง นอกจากว่ามุสลิมทั้งหลายต่างพากันกล่าวว่า เขาเป็นคนนอกรีต นักวิชาการมุสลิมได้กล่าวไว้ว่า ถ้าหากชายคนหนึ่งเป็นมุสลิมอยู่เพียงหนึ่งในร้อย มันย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ที่จะยึดถือว่าชายคนนั้นเป็นคนนอกรีตนอกจากต้องพิสูจน์ว่าเขาเป็นคนเช่นนั้น” นี่คือคำกล่าวสุดท้ายของ ดร. ฮาซัน อิบรอฮีม ที่กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองอิสลาม อิบนิกะซีร กล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล บิดายะฮ์ วะอันนิฮายะฮ์ เล่ม 6 หน้า 311 ดังมีความว่า “นักเล่าวจนะทุกคนล้วนบันทึกไว้ จะยกเว้นก็เฉพาะอิบนิมาญะฮ์คนเดียว ดังว่าตามรายงานของอบูฮุรอยเราะฮ์นั้น

อุมัรคัดค้านอบูบักรที่สู้รบกับผู้คนโดยกล่าวไว้ว่า ท่านศาสดาปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของใครก็ตามที่ปฏิญาณถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าและการเป็นศาสนทูตของมุฮัมมัด นอกเสียจากว่าเขาถูกพบว่าได้กระทำผิด

อบูบักรกล่าวตอบว่า ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะต่อสู้กับบรรดาผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตให้กับฉัน ซึ่งได้เคยจ่ายให้กับท่านศาสานทูตของพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นอูฐสักตัวหนึ่งหรือเชือกผูกเท้าอูฐสักเส้นหนึ่ง ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะต่อสู้กับใครก็ตามผู้ซึ่งทำให้เกิดการแตกต่างกันระหว่างการจ่ายภาษีศาสนากับการนมาซ ฉันจะต่อสู้จนกว่าพวกเขาจ่ายภาษีศาสนาให้กับฉัน ซึ่งเขาได้เคยให้กับท่านศาสดา” อุมัรกล่าวว่า “เมื่อฉันได้เห็นความตั้งใจของอบูบักรที่จะต่อสู้ ฉันจึงมาเข้าใจได้ว่าเขาเป็นฝ่ายถูก”

ตามรายงานของฏอบารี (เล่ม 2 หน้า 474) กล่าวไว้ว่าพวกนอกรีตได้เข้าพบอบูบักรเป็นกลุ่มๆ พวกเขายืนยันในเรื่องการนมาซ แต่ยับยั้งการจ่ายภาษีศาสนา (ซะกาต) อบูบักรไม่ยอมรับความคิดเห็นของพวกเขา และให้พวกเขากลับไป อิบนิ กะซีรกล่าวไว้ใน อัลบิดายะฮ์ วะอันนิฮายะฮ์ เล่ม 6 หน้า 311 ดังว่า อาหรับเป็นกลุ่มๆ เดินทางมาที่มะดีนะฮ์ พวกเขายอมรับการนมาซแต่ปฏิเสธการจ่ายภาษีศาสนา มีบางคนที่ไม่ต้องการจ่ายภาษีศาสนาให้กับอบูบักร บางคนของพวกเขาอ่านบทกลอนดังต่อไปนี้

เมื่อศาสดา ยังอยู่ ในหมู่เรา
ทุกคนเฝ้า เคารพรัก ภักดีท่าน
ครั้นอบูบักร ปกครอง ได้ไม่นาน
มีเหตุการณ์ ไม่ธรรมดา พาวุ่นวาย

จนทำให้ พวกเรา ต้องหลังหัก
เราจะยืน ปักหลัก แม้เขาหมาย
ให้ลูกชาย สืบต่อ ยามพ่อดับ

ในฏอบารี (เล่ม 2 หน้า 48) ซัยฟ์ได้บันทึกมาจากอบูมักนัฟว่า ทหารม้าของเผ่าตัยได้แสดงทัศนะต่อทหารม้าของเผ่าอะซัดและฟะซาริอฮ์ เมื่อพวกเขาขี่ม้าสวนทางกันแต่ก็ไม่มีการสู้รบกัน แต่คนของเผ่าอะซัดและฟะซาริอฮ์ เคยกล่าวไว้ว่า “เราจะไม่ยอมเห็นด้วยกับอบูล ฟะซีล” (ชื่อเล่นของ อบูบักร) หมายความว่า พ่อลูกอูฐ ทหารม้าของเผ่าตัยจะกล่าวตอบโต้ว่า “เราเชื่อแน่ว่า พวกเจ้าจะต้องเห็นด้วยกับอบุลฟะฮ์ลิ อักบัร” (หมายถึงพ่อของอูฐตัวใหญ่ ผู้ยิ่งใหญ่)

จากเรื่องราวข้างต้น จึงย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า การเป็นคนนอกรีตในสมัยอบูบักรนั้น ไม่ได้เป็นการปฏิเสธการศรัทธา แต่เป็นการงดเว้นจากการจ่ายภาษีศาสนาให้กับอบูบักร เนื่องแต่ฝ่ายแพ้นั้น เป็นพวก เบดูอินและพวกป่าเถื่อน พวกเขาไม่มีโอกาสที่ได้ปกครอง แต่คู่ต่อสู้ของพวกเขาซึ่งเป็นผู้ปกครองอยู่ในขณะนั้น มีอำนาจอยู่ในมือเป็นเวลานาน รวมทั้งระยะเวลาที่ประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ได้ถูกเขียนขึ้นไว้ก็ตาม ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์นี้ก็เช่นกัน ซึ่งตกทอดมาถึงเรา ก็ได้ถูกบันทึกไว้โดยผู้มีอำนาจของพวกเขา มันขึ้นอยู่กับเราที่จะสอบสวนถึงความจริงของเรื่องต่างๆ เหล่านั้น ที่เขียนถึงผู้คนที่พ่ายแพ้เหล่านั้น

ฏอบารีเขียนไว้ในหนังสือของเขา (เล่มที่ 6 หน้า 461) ซึ่งบันทึกไว้โดยซัยฟ์ ดังว่า อาหรับปฏิเสธศาสนาของพวกเขา ภายหลังจาก อบูบักรได้เป็นคอลีฟะฮ์แล้ว การตกศาสนานับเป็นสิ่งปกติธรรมดาของช่วงเวลานั้น แต่ทว่ามีเผ่าต่างๆที่มีบางส่วนเท่านั้นที่ได้กระทำนอกรีต มีเพียงเผ่ากุเรชและเผ่าซะกีฟเท่านั้น ที่ยังคงความศรัทธาของพวกเอาไว้

ซัยฟ์ ได้ล้ำหน้า อันตารอฮ์ อิบนิ ชัดดาด และนักเขียนนวนิยายคนอื่นๆ ในด้านการจินตนาการ วีรบุรุษในเรื่องเล่าของซัยฟ์เดินบนน้ำ โดยเท้าของพวกเขาไม่เปียกน้ำเลย พวกเขาสนทนากับสัตว์ป่า และทูตสวรรค์มาเสวนากับพวกเขา พวกเขาทำให้น้ำพุขึ้นมาจากก้อนหินในทะเลทราย ยิ่งไปกว่านั้น ซัยฟ์ได้เล่าเรื่องราวของเขา ในวิธีการที่ว่าเพื่อเป็นการเอาใจบรรดาผู้ปกครองในขณะนั้น และเป็นการปิดบังความจริงที่ว่าพวกเขาไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรเลย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า ซัยฟ์ได้เขียนเรื่องเล่าต่างๆ ของเขาอย่างไร เราจึงจะขอนำบางเรื่องจากหนังสือของเขาที่ชื่อ อัล ฟุตูฮ์ วัล ริดดะฮ์ มาแสดงไว้ ดังที่บันทึกไว้ในหนังสือของฏอบารี

4. มาลิก อิบนิ นุวัยรอฮ์
ชายคนนี้เป็นสมาชิกของเผ่า ยัรบูอ์ ของเผ่าตะมีม เขาเป็นที่รู้จักกันในนาม อบู ฮันซะละฮ์ และชื่อเล่นของเขาก็คือญาฟุล

มัรซะบานี ได้บันทึกไว้ว่า มาลิก อิบนิ นุวัยรอฮ์ เป็นกวีที่มีความรู้และเป็นทหารม้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเผ่าของเขา หลังจากเข้ารับอิสลามท่านศาสดาได้แต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าหน้าที่เก็บภาษีศาสนาในตระกูลของเขา เมื่อศาสดาเสียชีวิตแล้ว มาลิกจึงไม่ได้ส่งมอบภาษีศาสนาที่เก็บมาส่งให้กับรัฐบาล แต่ได้แบ่งให้กับคนยากจนในตระกูลของเขา เขาเคยกล่าวไว้ว่า

เงินที่ท่าน ให้มา ฉันจะคืน
ปัญหาอื่น ตื่นวันพรุ่ง ยุ่งไม่ห่วง
บางคนสู้ เพื่ออิสลาม จนชีพร่วง
เราทั้งปวง ควรภักดี ต่อรัฐนั้น

ฏอบารีในเล่ม 2 หน้า 503 ได้บันทึกเรื่องราวจากอับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อบูบักร ไว้ดังต่อไปนี้ “เมื่อกองทัพของคอลิดเดินทางไปถึงบัตตอฮ์ เขาส่งทหารกลุ่มหนึ่งภายใต้การบังคับบัญชาของฎิรอร อิบนิ อัซวัร เพื่อไปโจมตีเผ่าของมาลิกในตอนกลางคืน อบูกอตาดะฮ์ สมาชิกคนหนึ่งของกองทหารนั้นได้กล่าวไว้ในภายหลังว่า “เมื่อเราได้ลอบเข้าโจมตีเผ่าของมาลิกโดยไม่รู้ตัวในคืนนั้นเราได้ทำให้พวกเขาตระหนกตกใจ พวกเขารีบสวมเสื้อเกราะในทันที และประกาศว่าพวกเขาเป็นมุสลิม ผู้บังคับกองถามพวกเขาว่า ทำไมถึงต้องติดอาวุธด้วย และพวกเขาก็ได้ถามกลับมาในทำนองเดียวกัน เราได้ขอให้พวกเขาวางอาวุธ หากพวกเขาเป็นมุสลิม และพวกเขาก็ได้ทำเช่นนั้น จากนั้นเราได้ทำนมาซ พวกเขาก็ทำเช่นเดียวกัน”

อิบนิ อบิล ฮะดีด ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “เมื่อพวกเขาได้วางอาวุธแล้ว ทหารได้เข้ามาใส่กุญแจมือพวกเขาและพาไปหาคอลิด” ในหนังสือ กันซุล อุมมาล เล่ม 3 หน้า 132 และในหนังสือยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 110 ได้บันทึกเรื่องราวข้างต้นไว้ดังนี้คือ “มาลิก อิบนินุวัยรอฮ์พร้อมกับภรรยาของเขามาหาคอลิด เมื่อคอลิดเห็นหน้านางจึงรู้สึกหลงรักนางและกล่าวกับสามีของนางว่า เจ้าจะไม่ได้กลับบ้าน ขอสาบานต่อพระเจ้าฉันจะสังหารเจ้า”

ในหนังสือ กันซุล อุมมาล เล่ม 3 หน้า 132 เขียนไว้ว่า คอลิดกล่าวหามาลิกว่าเป็นคนนอกรีต ซึ่งมาลิกเองปฏิเสธและอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัร และอบูกอตาดะฮ์ได้เขามาโต้แย้งแทนมาลิก แต่คอลิดกลับออกคำสั่งให้ ฎิรอร อิบนิ อัซวัร ตัดศีรษะของเขาสีย จากนั้นคอลิดได้ยึดเอา อุมมุตะมีม ภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของตน

ในหนังสือ อะบุลฟิดาอ์ หน้า 158 และใน อัลวะฟะยาต ได้บันทึกไว้ว่าอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัรพยายามพูดกับคอลิดในเรื่องราวของมาลิกแต่ไม่เป็นผล และมาลิกขอร้องให้ส่งตัวเขาไปยังอบูบักรเพื่อการตัดสิน คอลิดกล่าวว่า “พระเจ้าจะไม่อภัยโทษให้กับเจ้า ถึงแม้ฉันจะอภัยโทษให้กับเจ้าก็ตาม” และเขาได้สั่งให้ฎิรอรตัดศีรษะของเขา มาลิกมองดูภรรยาพร้อมกับกล่าวว่า “เธอเป็นเหตุให้ฉันต้องถูกฆ่า” คอลิดกล่าวว่า “พระเจ้าได้ทำให้เจ้าต้องตาย เพราะการเป็นคนนอกรีตของเจ้า” มาลิก กล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันเป็นมุสลิม และฉันศรัทธาในอิสลาม” แต่คอลิดก็ยังสั่งให้ ฎิรอร ตัดศีรษะของเขา

ได้มีบันทึกอยู่ใน อัล อิซอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 337 ดังว่า ซาบิต อิบนิ กอเซ็มได้เขียนไว้ใน อัล ลาอิล ว่าคอลิดหลงรักภรรยาของมาลิก เมื่อเห็นเธอในครั้งแรก เพราะนางเป็นผู้หญิงที่มีความสวยงามมาก มาลิก กล่าวกับภรรยาของเขาว่า “เธอได้ฆ่าฉันแล้ว”
ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ อัล อิซอบะฮ์ ว่า ซุเบร อิบนิ บักการ ซึ่งบันทึกมาจากอิบนิชะฮาบว่า คอลิดสั่งให้เอาศีรษะของมาลิกมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับทำอาหาร แต่ก่อนที่ไฟจะลามไปถึงหนังศีรษะของ มาลิก อาหารก็สุกพอดี เพราะมาลิกมีผมดก ในคืนเดียวกันนั้นคอลิดได้แต่งงานกับภรรยาของมาลิกผู้ถูกสังหาร

อบู นามีร ซะอ์ดี ได้แต่งบทกลอน ไว้ดังต่อไปนี้
ทหารม้า ควบมา ฝ่าความมืด
เข้าตียึด พวกเรา ยามราตรี
รู้หรือไม่ รุ่งอรุณ เราลาที
คอลิดมี ใจคดเคี้ยว ฆ่ามาลิก

หญิงของเจ้า เข้าดวงจิต คิดจะกอด
คอลิดไม่ ปลอดตัณหา ใจระริก
จิตนี้ช่าง อ่อนแอ ไม่หลบหลีก
ไม่ยอมปลีก จากบาป ไม่ทราบธรรม

ความมืดมิด มลายไป ฟ้าใสสด
เศร้าสลด สามีนาง เขากระทำ
ตัดหัวเขา ฆ่าทิ้ง ยังไม่หนำ
ข่มขืนซ้ำ คามือ ของคอลิด

มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อิซอบะฮ์ ว่า มินฮาล ได้เห็นร่างไร้ศีรษะของมาลิก และได้นำเสื้อของตนชุดหนึ่งมาห่อศพเขาไว้ นั่นคือเรื่องราวของมาลิก ต่อไปขอให้เราค้นคว้าดูซิว่ารัฐบาลมีปฏิกิริยาอย่างไร ต่อการกระทำของนายพลของเขา ยะอ์กูบี ได้บันทึกไว้ว่า อบูกอตาดะฮ์ ได้รายงานเหตุการณ์ให้อบูบักรรับทราบ พร้อมกับกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะไม่ไปไหนอีกแล้ว หากต้องอยู่ใต้การบัญชาการของคอลิด เขาได้สังหารมาลิก ถึงแม้เขาจะเป็นมุสลิมก็ตาม”


อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ฏอบารีบันทึกมาจาก อิบนิ อบีบักรว่า อบูกอตาดะฮ์รายงานว่า เขาจะไม่สู้รบหากมีคอลิดเป็นหัวหน้า ยะอ์กูบีได้บันทึกไว้ว่าอุมัร อิบนิ ค็อตต็อบ กล่าวกับอบูบักรว่า “โอ้ ผู้สืบตำแหน่งของท่านศาสนทูตของพระเจ้า คอลิดหลงรักภรรยาของมาลิก และได้สังหารเขาในวันเดียวกันนั้นทั้งๆที่เขายังเป็นมุสลิมอยู่” อบูบักรแจ้งให้คอลิดมาให้คำให้การ คอลิดจึงมาหาอบูบักรพร้อมกับชี้แจงว่า “โอ้ ผู้สืบตำแหน่งแทนของท่านศาสดา ในการสังหารมาลิกนั้น ฉันได้ตัดสินใจถูกต้องแล้ว แต่ฉันก็ได้กระทำผิดไปเช่นเดียวกัน” มุตัมมิม อิบนิ นุวัยรอฮ์ น้องชายของมาลิกได้แต่งกลอนไว้หลายบทด้วยกัน เพื่อแสดงความเศร้าโศกที่พี่ชายของเขาถูกสังหาร เขาไปที่นครมะดีนะฮ์และไปร่วมนมาซรวมกับอบูบักร หลังจากนมาซเสร็จมุตัมมิมยืนขึ้นพร้อมคันธนูที่เขาใช้ค้ำยันร่างของเขา พร้อมกับอ่านบทกลอนให้อบูบักรฟัง

โอ้อิบนิ อัซวัร ท่านได้โยน
ร่างของคน ที่สูงส่ง ลงกับพื้น
ลมยามเช้า พัดเอื่อย เรื่อยรมย์รื่น
แสนชื่นมื่น ผ่านประตู ดูสดใส

ท่านได้ทำ อดสู ข่มขู่เขา
ปากก็ปาว นามพระเจ้า ไม่ละอาย
แต่มาลิก ผู้ศรัทธา อย่างมันใจ
รักษาไว้ ซึ่งคำพูด อยู่เสมอ

อบุลฟิดาได้บันทึกไว้ว่า เมื่อข่าวของมาลิกมาถึงอบูบักรและอุมัร อุมัรกล่าวกับอบูบักรว่า “คอลิดได้ละเมิดประเวณีอย่างไม่ต้องสงสัย ท่านควรจะเอาเขาไปขว้างด้วยก้อนหิน”

อบูบักรกล่าวตอบว่า “ฉันจะไม่ทำเช่นนั้น” อุมัรจึงกล่าวกับ คอลิดว่า “เจ้าได้สังหารพี่น้องมุสลิม และฉะนั้นเจ้าจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต” อบูบักรกล่าวตอบว่า คอลิดได้ปฏิบัติหน้าที่ของเขา และเขาเข้าใจในสิ่งที่เขาทำ แต่เขาก็ได้กระทำผิดเช่นกัน อุมัรขอให้อบูบักรปลดคอลิดออก แต่อบูบักรกล่าวว่า “ฉันจะไม่เก็บดาบที่พระเจ้าทรงชักมันออกมาจากฝัก” ฏอบารีได้บันทึกมาจากอิบนิ อบีบักรว่า คอลิดได้แก้ตัวกับอบูบักร โดยกล่าวว่า มาลิกได้กล่าวกับเขาว่า “ฉันไม่เชื่อว่าสหายของท่าน (ท่านศาสดา) ได้กล่าวเช่นนั้นเช่นนี้” คอลิดถึงกล่าวตอบว่า “และท่าน (ท่านศาสดา) ไม่ได้เป็นสหายของท่านหรือ?” และเขาจึงมีคำสั่งให้ตัดศีรษะของเขา และคนทั้งหมดที่อยู่ร่วมกับมาลิกถูกตัดศีรษะเช่นเดียวกัน เมื่อข่าวได้มาถึงหูของอุมัร เขาปรึกษาหารือกับอบูบักร พร้อมกับกล่าวว่า “ศัตรูของพระเจ้าได้สังหารมุสลิม และเขาทำราวกับสัตว์ ที่ได้เอาภรรยา(ของมาลิก)มาเป็นคู่นอนของเขา”

คอลิดกลับบ้าน จากนั้นจึงไปยังมัสยิด สวมใส่เสื้อผ้าที่เปื้อนรอยสนิมจากเสื้อเกราะของเขา และเสียบขนนกไว้ที่หมวกเหล็กเหมือนกับทหารมุสลิมคนหนึ่ง เขาเดินผ่านอุมัรซึ่งตรงเข้ามาหาเขาอย่างโกรธเกรี้ยว พร้อมกับดึงขนนกออกจากหมวกเหล็กของเขาและกล่าวกับเขาว่า “เจ้าฆ่าสังหารมุสลิมคนหนึ่งเสมือนกับเจ้าไม่ใช่มุสลิม และรีบเร่งสมสู่ภรรยาของเขาทำราวกับเป็นสัตว์ ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะขว้างเจ้าด้วยก้อนหินจนตาย ซึ่งเป็นการเหมาะสมแล้วสำหรับการกระทำของเจ้า” คอลิดปิดปากเงียบ คิดว่าคอลีฟะฮ์อบูบักรควรจะกล่าวเช่นเดียวกันว่าเขาได้กระทำผิด แต่เมื่อคอลิดรายงานถึงผลสำเร็จในภารกิจของเขา และได้สารภาพความผิดของเขาแล้ว อบูบักรได้อภัยโทษให้เขา ในระหว่างที่เขาเดินกลับออกมาจากการพบคอลีฟะฮ์แล้ว คอลิดเดินผ่านอุมัรไปและตะโกนใส่อุมัรดังว่า “โอ้ ผู้เป็นบุตรของอุมมุชัมละฮ์ จงบอกมาเดี๋ยวนี้เลยซิว่า เจ้าต้องการจะพูดว่าอย่างไร” อุมัรรู้ได้ทันทีว่า อบูบักรได้อภัยให้กับคอลิดแล้ว เขาจึงเดินออกจากมัสยิด และกลับไปบ้านอย่างเงียบหงอย เรื่องราวของคอลิดและมาลิก ตามสายรายงานที่เป็นของจริงแท้ก็มาจบลงแต่เพียงเท่านี้ แต่ซัยฟ์เล่าเรื่องนี้ไว้รวมเจ็ดเหตุการณ์ และแต่ละเหตุการณ์ต่างก็มีเรื่องราวที่เอื้ออำนวยต่อกัน และฏอบารีได้บันทึกมันไว้ในเหตุการณ์ของปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 11 ดังต่อไปนี้

เรื่องราวของมาลิก ตามการรายงานของซัยฟ์
1) ฏอบารี เมื่อได้บันทึกคำกล่าวของซัยฟ์เกี่ยวกับบนีตะมีมและซะญาฮ์ จึงกล่าวไว้ว่า “เมื่อท่านศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้าเสียชีวิต ตัวแทนของท่านในก๊ก บนู ตะมีม มีความเห็นไม่ลงรอยกันว่า ควรจะจ่ายภาษีศาสนาที่เก็บรวบรวมมาให้กับใคร ว่ากันตามจริงแล้วประชาชนของก๊ก บนี ตะมีม มีการแบ่งแยกกัน บางคนยังมีศรัทธามั่นคงอยู่ และได้โต้เถียงกับบรรดาผู้ที่ไม่ยอมสยบกับอบูบักร มาลิกเป็นคนหนึ่งที่ต่อต้านและไม่ยอมจ่ายภาษีศาสนา ซึ่งเขาได้เก็บรวบรวมไว้ให้กับอบูบักร”

2) ซัยฟ์ ได้บันทึกความเป็นพวกนอกรีตของประชาชนชาว บะฮ์เรน โดยกล่าวว่า “อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี ถูกส่งไปจัดการกับพวกนอกรีตที่ญะมามะฮ์ พวกเขาได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายนอกรีตกับฝ่ายผู้ศรัทธาและมีการโต้แย้งซึ่งกันและกัน บรรดาผู้ศรัทธาเข้าร่วมกับ อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี มาลิกและมารดา สหายของเขาอยู่ที่บุฏอฮ์ และพวกเขามีการโต้เถียงกันกับ อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี”

3) ซัยฟ์ กล่าวถึงเหตุการณ์ข้างต้นเช่นกัน โดยกล่าวว่า “เมื่อซะญาฮ์ กลับบ้าน มาลิกรู้สึกสงสัยและเป็นกังวล วะกีย์ และซะมาอะฮ์ ยอมรับว่าพวกเขาผิดพลาด ดังนั้นจึงขอลุแก่โทษอย่างจริงใจ และมอบภาษีศาสนาที่ได้จ่ายล่าช้าไปให้กับคอลิด ไม่มีอะไรที่ไร้ระเบียบในจังหวัดของก๊ก บนีฮันซอละฮ์ นอกจากความประพฤติของมาลิก และผู้คนของเขาที่บุฏอฮ์ มาลิกเป็นคนที่ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ วันหนึ่งเขาก็ปกติดี แต่อีกวันหนึ่งเขากระทำในสิ่งแปลกๆ”

4) ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้อีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อคอลิดได้จัดการกวาดล้างพวกนอกรีตที่เมืองอะซัดและกอตาฟานแล้ว เขาจึงเดินทางมายังบุฏอฮ์ซึ่งเป็นเมืองของมาลิก ชาวอันศอรไม่ค่อยสู้มั่นใจกับคอลิดนัก จึงไม่ยอมร่วมเดินทางไปกับเขา โดยกล่าวว่า พวกเขาได้รับคำสั่งจากคอลีฟะฮ์ให้อยู่ที่บุซาเคาะฮ์ คอลิดกล่าวว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะติดต่อกับคอลีฟะฮ์ เพราะเขาเป็นผู้บัญชาการทัพ เขากล่าวไว้เช่นกันว่า เขาไม่บังคับใครให้ต้องร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อจัดการกับมาลิก จากนั้นเขาจึงเดินทางออกไป ชาวอันศอรสำนึกในความผิดของตนเอง จึงเดินทางตามคอลิดไปในที่สุดพวกเขาก็ไล่มาทัน คอลิดเดินทัพต่อไปจนกระทั่งมาถึงบุฏอฮ์ แต่ไม่พบว่ามีผู้ใดอยู่ที่นั่น

5) ซัยฟ์ เล่าเรื่องต่อไปอีกเช่นกันว่า มาลิกได้กล่าวคำปราศรัยกับผู้คนของเขาดังต่อไปนี้ “โอ้ ผู้เป็นชาวเผ่าของบนู ยัรบูอ์ เราได้ต่อต้านกับเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการทัพ แต่เราได้พ่ายแพ้ต่อพวกเขา ฉันแนะนำว่าขออย่าให้พวกท่านไปขวางทางพวกเขา จงกลับคืนไปยังเมือง และบ้านเรือนของพวกท่านเสีย ผู้ปกครองเหล่านี้ได้อำนาจมา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบของประชาชน” หลังจบคำปราศรัยนี้แล้วผู้คนจึงกระจัดกระจายกันออกไป และมาลิกได้เดินทางกลับบ้านของเขาเช่นกัน ฉะนั้นเมื่อคอลิดมาถึงที่บุฏอฮ์ เขาจึงไม่พบผู้ใดที่นั่น จากนั้นคอลิดจึงส่งคนของเขาไปในฐานะคณะผู้เผยแผ่อิสลาม เพื่อไปจับกุมบรรดาผู้ที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของพวกเขา และเพื่อสังหารผู้ที่ขัดขืน โดยจริงๆแล้ว คำสั่งของอบูบักรกล่าวไว้ว่า “จงเชิญชวนผู้คนมาสู่การนมาซ ในทุกๆที่ที่ท่านไป ถ้าหากผู้คนไม่มาเข้าร่วมการนมาซก็จู่โจมพวกเขาในทันที และจงเผาพวกเขาทิ้งเสียหรือในวิธีการใดก็ได้ ถ้าหากพวกเขาเข้ามาร่วมการนมาซ ก็จงทดสอบพวกเขาดู ถ้าหากพวกเขายอมตกลงจ่ายภาษีศาสนาของพวกเขา ก็จงรับการศรัทธาในอิสลามของเขา หากไม่แล้วผลลัพธ์ของพวกเขาก็คือ ความพินาศ”

ทหารของคอลิดนำ มาลิก ญาติของเขา และคนบางคนจากเผ่าของเขากลับมาจากภารกิจในครั้งนี้ อบู กอตาดะฮ์ และทหารอีกบางคนได้ยืนยันเป็นพยานว่า มาลิกและผู้คนของเขาได้เข้าร่วมการเชิญชวนมาสู่การนมาซและได้นมาซร่วมกันกับพวกเขา แต่เพราะมีความแตกต่างกันในเรื่องราวของทหารเกี่ยวกับมาลิก เขาจึงถูกจองจำอยู่ตลอดทั้งคืนพร้อมกับผู้คนของเขา แต่เนื่องจากเป็นคืนที่หนาวเหน็บอย่างมาก คอลิดได้สั่งให้ก่อไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่นักโทษ คำพูดที่คอลิดใช้ในการออกคำสั่งนี้มีความหมายว่าให้ “สังหาร” ในภาษาของชนบางเผ่านั้นคือ “อิดฟะอูซะรออะกุม” ฉะนั้นพวกเขาจึงได้สังหารมาลิก และบรรดาสหายของเขา ผู้ทำหน้าที่สังหารมาลิกก็คือ ฎิรอร อิบนิ อัซวัร เสียงร้องโหยหวนของผู้ที่กำลังจะตาย ทำให้คอลิดต้องออกมาจากที่พักของเขา และเขาจึงได้รับรู้ในการสังหารในครั้งนี้ เขากล่าวว่า “สิ่งใดที่เป็นบัญชาของพระเจ้า ย่อมต้องถูกกระทำให้เสร็จสิ้นไป”

หลังจากเหตุการณ์นี้แล้ว อบูกอตาดะฮ์ได้โต้แย้งกับคอลิด และได้เดินทางไปมะดีนะฮ์เพื่อรายงานต่อคอลีฟะฮ์อบูบักร แต่เขาได้แสดงความไม่พอใจกับอบูกอตาดะฮ์ อุมัรเข้ามาพูดแก้ตัวให้ อบูบักรจึงยกโทษให้อบูกอตาดะฮ์ และส่งเขากลับไปอยู่กับกองทัพคอลิดอีก ณ สนามรบ คอลิดสมรสกับอุมมุตะมีม บินติ มินฮาล ภรรยาของมาลิกที่ถูกสังหาร แต่ยังไม่ได้อยู่ร่วมกับนางจนกระทั่งครบระยะการรอคอย เพื่อไว้ทุกข์ให้กับสามีเก่าของนาง อุมัรกล่าวกับอบูบักรว่า “มีการละเมิดบางอย่างในดาบของคอลิด อย่างน้อยก็ในกรณีของมาลิก” อบูบักรไม่ให้ความสนใจใดๆ เพราะเขาไม่เคยตำหนิคนของเขาเมื่อพวกเขาทำผิดพลาด ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อุมัรหยุดการกล่าวร้ายต่อคอลิดเสีย พร้อมกับกล่าวว่า “คอลิดอาจแปลความในภารกิจของเขาผิดพลาดไป” อบูบักรจึงจัดการจ่ายเงินค่าทำขวัญให้มาลิกและเขียนจดหมายสั่งให้เขากลับมายังมะดีนะฮ์ คอลิดกลับมาและรายงานเหตุการณ์นี้ต่ออบูบักร ซึ่งได้อภัยโทษให้กับความผิดของคอลิด แต่ตำหนิเขาในเรื่องการที่สมรส เพราะมันเป็นการขัดต่อประเพณีของชาวอาหรับ

6) ซัยฟ์ กล่าวไว้ในอีกที่หนึ่งว่า ทหารบางคนได้เป็นพยานในการนมาซของมาลิก แต่บางคนกลับปฏิเสธว่าไม่เคยเห็น และว่าการประหารเขานั้นเป็นเรื่องชอบธรรมแล้ว น้องชายของมาลิกได้แต่งกลอนบางบทเพื่อไว้อาลัยและขอเงินค่าทำขวัญ และขอให้ปล่อยเชลยศึก อบูบักร อนุมัติให้ปล่อยเชลยศึกได้ อุมัรยืนยันให้ปลดคอลิดเสีย เพราะเขาไม่อาจควบคุมดาบของตัวเองได้ แต่อบูบักรกล่าวว่า เขาจะไม่เก็บดาบของพระเจ้าที่ถูกใช้เพื่อต่อต้านบรรดาผู้ปฏิเสธกลับเข้าฝัก

7) ซัยฟ์ ได้กล่าวไว้ในการเล่าเรื่องสุดท้ายของเขาว่า มาลิกเป็นคนมีผมดก เมื่อศีรษะของผู้ถูกประหารถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับทำอาหาร ไฟได้ไหม้มาถึงหนังศีรษะของคนทั้งหมด ยกเว้นศีรษะของ มาลิก เพราะเขาเป็นคนมีผมดก มุตัมมิมแต่งบทกลอนบทหนึ่ง และได้แสดงความชื่นชมกับท้องอันว่างเปล่าของมาลิก ให้เป็นตัวอย่างกับบรรดานักรบของเขาทุกคน อุมัรเคยเห็นมาลิกขณะอยู่ในที่ชุมนุมร่วมกับท่านศาสดา และยังได้กล่าวชมมาลิกเช่นกัน

นี่คือ การบันทึกสุดท้ายซึ่งพบอยู่ในข้อเขียนของซัยฟ์ เกี่ยวกับเรื่องของมาลิก

แหล่งที่มาของการเล่าเรื่องของซัยฟ์
ตามเรื่องที่ซัยฟ์เล่าแล้ว สามเรื่องแรกของทั้งเจ็ดเรื่องที่ได้กล่าวถึงข้างต้นรับฟังมาจาก ซาอับ บุตรของอตัยยะฮ์ ผู้ซึ่งได้รับฟังมาจากบิดาของเขา อตัยยะฮ์บุตรของบาลาล เรื่องที่ห้าและเรื่องที่เจ็ด ที่กล่าวถึงส่งทอดต่อมาจากอุศมาน บุตรของสุวัยด์ บุตรของมัตตาบะฮ์

ใครคือ ซออับ อะตียะฮ์ และอุศมาน ?
ไม่มีร่องรอยของซออับ อตียะฮ์และอุศมาน ผู้เป็นสามคนแรกที่เป็นต้นกำเนิดของผู้เล่าเรื่องดังกล่าวนั้น ซึ่งซัยฟ์ได้อ้างถึงไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของเขา ฉะนั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคคลทั้งสามคนนี้อยู่ในหมู่รายชื่อของซอฮาบะฮ์ (สาวกของศาสดา) จำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบคนที่ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา ในบางกรณีซัยฟ์ได้กระทำ โดยการแอบอิงตัวละครต่างๆ ตามจินตนาการเข้าไปในเรื่องเล่าของเขา เช่นในกรณีของอุศมาน ตามที่เขาได้บันทึกไว้ ปรากฏว่าไม่มีชื่อของอุศมานในหนังสือเล่มใดเลย ยกเว้นในหนังสือของซัยฟ์เท่านั้น สุวัยด์ บุตรของมัสอะบะฮ์ (ชุอ์บะฮ์) ปู่ของอุศมานมีชีวิตอยู่จริงๆ ส่วนในเรื่องของสุนัขที่เฮาอับ มีปรากฏชื่อของอุมมุ กุรฟะฮ์ ซึ่งเป็นมารดาของตัวละครในนิทานของเขา ชื่ออุมมุซะมัล และฮุรมูซะฮ์ก็เป็นคนที่มีชีวิตอยู่จริงๆ ซึ่งเป็นบิดาของกุมาซะบานผู้เป็นตัวละครตามจินตนาการที่ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา

ทำไม ? เรื่องเล่าของ ซัยฟ์ จึงต้องเป็นนิยายด้วย
นักเขียนชีวประวัติได้รวบรวมรายชื่อทั้งหมด และชื่อของผู้เล่าเรื่องแต่ละคนที่มีชีวิตอยู่นับจากสมัยของท่านศาสดา ไปไกลจนกระทั่งถึงราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ ผู้ซึ่งมีอำนาจปกครองหลังจากราชวงศ์อมาวียะฮ์ บรรดาผู้เล่าเรื่องที่ได้พบกับท่านศาสดา นับเป็นคนกลุ่มแรกที่เรียกชื่อกันว่าซอฮาบะฮ์ กลุ่มที่สองก็คือ บรรดาผู้ที่ได้พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์ และได้รับฟังเรื่องราวมาจากพวกเขากลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่าผู้ติดตามมา (ตาบิอีน) ซึ่งมีชีวิตอยู่จนกระทั่ง ปี ฮ.ศ. 126 ผู้ติดตามมาชุดสุดท้ายทำหน้าที่เพียงจัดการรวบรวมข้อเท็จจริงจากผู้ติดตามมาในชุดก่อน และพวกเขามีชีวิตอยู่จนกระทั่ง ฮ.ศ. 132 ผู้คนเหล่านี้มีอยู่ด้วยกันรวมทั้งหมดสิบสี่กลุ่มด้วยกัน และกลุ่มสุดท้ายอยู่ในสมัยของอัล มันซูร ผู้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ที่สองแห่งวงศ์อับบาสิยะฮ์

นักชีวประวัติบางคนได้ให้รายชื่อบรรดานักเล่าเรื่อง ผู้ซึ่งเสียชีวิตไปในรอบซึ่งแต่ละรอบมีเวลาสิบปีไว้เป็นประเภทหนึ่งๆ ฉะนั้นหากว่ากันตามนี้คนกลุ่มแรกก็คือผู้เป็นนักเล่าเรื่องที่เสียชีวิตไปในทศวรรษแรก และกลุ่มที่สองเสียชีวิตไปในทศวรรษที่สองและต่อๆกันไป ผู้เล่าเรื่องโดยตรงเรียกว่า “ผู้รู้” และบรรดาผู้ส่งทอดเรื่องราวต่างๆให้กับพวกเขาถูกเรียกว่า “เชค” ชีวิตของเชคและผู้รู้ทุกๆคนได้ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด นั่นคือ สถานที่พำนักของพวกเขา และที่ว่าพวกเขาเป็นชีอะฮ์หรือซุนนี พวกเขาเป็นพวกสุดโต่งที่ชอบอะลีหรือเป็นศัตรูกับอะลี พวกเขาเป็นพวกสนับสนุนหรือต่อต้านรัฐบาล หนังสือต่างๆที่รวบรวมไว้นี้ จัดหมวดหมู่เอาไว้ในรูปแบบต่างๆกัน บ้างก็เรียงตามลำดับอักษร เช่น ของฏารีคกะบีรและเล่มอื่นๆบางเล่ม จัดเรียงตามระยะเวลา เช่นของ อิบนิ อะซีร และอื่นๆ นักชีวประวัติบางคนได้จัดเรียงชื่อของบรรดานักเล่าเรื่อง โดยเป็นไปตามสถานที่พำนักของพวกเขาเช่น มักกะฮ์ และอื่นๆ

วิชาว่าด้วยการเล่าเรื่องเป็นวิชาที่น่าสนใจ และมีชื่อเสียงที่สุดในยุคสมัยนั้น และนักชีวประวัติต่างคนต่างก็แยกแยะรายชื่อของบรรดานักเล่าเรื่องไว้ในวิธีการที่แตกต่างกัน และได้ให้ความระมัดระวังอย่างที่สุด กับการบันทึกรายละเอียดนั้นๆ ถึงแม้ว่าจะมีหนังสือต่างๆที่เขียนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของบรรดานักชีวประวัติก็ตามที เช่นหนังสือชื่อ อัล มุคตะลัฟ และอื่นๆ ฉะนั้นจึงไม่มีข้อสงสัย แม้เพียงประการเดียวว่า บรรดาผู้เล่าเรื่องนั้นมีประวัติเป็นอย่างไร

เนื่องจากจำนวนของผู้เล่าเรื่องในสมัยของราชวงศ์อุมัยยะฮ์มีจำกัดและซัยฟ์ได้เขียนหนังสือสองเล่มของเขา เพื่อเอาใจผู้ปกครองในขณะนั้นซึ่งเป็นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เราจึงไม่อาจพบชื่อของบรรดาบุคคลที่ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องราวของเขามา จากพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น เราอาจกล่าวได้ว่า ซัยฟ์ ได้ประดิษฐ์บรรดาผู้เล่าเรื่องของเขาขึ้นมา และได้อ้างอิงจากตัวละครอันเป็นนิยายเหล่านี้

เนื้อหาของเรื่องเล่าต่างๆของซัยฟ์
ในบางกรณี ซัยฟ์ ได้ใช้ชื่อของผู้เล่าเรื่องบางคนที่มีชีวิตอยู่จริงในเรื่องราวต่างๆที่เป็นนิยายของเขา เช่นในตอนที่ห้าและตอนที่เจ็ด ดังที่เราได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้น จากการศึกษาอย่างระมัดระวัง และอย่างเป็นระบบ ตามกฎเกณฑ์ของหลักวิชาแห่งการเล่าเรื่อง ได้เปิดเผยให้เห็นถึงความไม่เป็นจริงของสิ่งต่างๆที่ได้กล่าวอ้างถึงเหล่านั้น

ข้อเปรียบเทียบ
เมื่อเปรียบเทียบดูระหว่างเรื่องเล่าของซัยฟ์กับผู้เล่าเรื่องคนอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องของคอลิดแสดงให้เห็นว่า ซัยฟ์ได้ตบแต่งเหตุการณ์ขึ้นเพื่อขจัดข้อกล่าวหาของคอลิดที่เขาได้ล่วงละเมิดมาลิก และได้ละเมิดต่อภรรยาของมาลิก เขาได้จัดเตรียมฉากซึ่งเป็นเบื้องหลังของเรื่อง ด้วยกับการกล่าวหามาลิกว่า มีความสงสัยในอิสลาม ซึ่งเป็นประการแรก ประการที่สองการโต้เถียงกันระหว่างบรรดาผู้ศรัทธากับตัวเขา ประการที่สามการกลับไปของซะญะฮ์และความลังเลใจของมาลิก แต่เป็นเพราะจากแหล่งอื่นๆนั้นได้รายงานว่ามาลิกอยู่เพียงคนเดียว ซัยฟ์ ชี้แนะว่า มาลิกมีกองทหารอยู่กับเขา แต่เขาได้สลายกองทหารไป ไม่ใช่เพราะสำนึกผิดเป็นเพราะความหวาดกลัวของเขา ซัยฟ์ จึงประกาศออกมาว่ามาลิกเป็นพวกนอกรีต ในเรื่องเล่าอื่นๆ ซัยฟ์ได้ชี้แนะความเป็นคนนอกรีตของมาลิก โดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อของคอลิดไว้เลย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของผู้อ่านไปจากคำสั่งของคอลิดที่ให้สังหารมาลิกและไปยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของเขา ซัยฟ์ประดิษฐ์ความขัดแย้งของทหาร ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของอบูบักรเพื่อทำลายมาลิก ในขณะอยู่ต่อหน้าคอลิด เพื่อเขาจะได้ทำให้อบูบักร และเช่นเดียวกับคอลิดพ้นผิดไป ซัยฟ์ต้องการจะแสดงให้เห็นว่า คอลิดไม่ปรารถนาที่จะสังหารมาลิก เขาเพียงแต่ออกคำสั่งให้ก่อไฟเพื่อให้ความอบอุ่นกับเชลยศึก แต่ทหารคิดเห็นไปว่า เขาหมายความให้ “สังหาร” เพราะความเข้าใจผิด เนื่องจากความยุ่งยากในภาษาท้องถิ่น ถึงกระนั้นผู้ออกคำสั่งและผู้ทำหน้าที่ประหาร พูดภาษาสำเนียงเดียวกัน (กุเรชกับบนีอะซัด) ข้อเท็จจริงยังคงเหลืออยู่อีกว่า หากสมมุติว่าความเข้าใจผิดได้ก่อให้เกิดการฆ่าสังหารขึ้นมา แต่ทำไมศีรษะของนักโทษจึงถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อทำอาหารเล่า

ฏอบารี ได้บันทึกเรื่องราวของมาลิกมาจากซัยฟ์ ส่วนอิบนิ อะซีร อิบนิ กะซีร มีรคอนด์ ได้อ้างอิงมาจาก “ข้อเท็จจริง” ที่บันทึกไว้โดยฏอบารี หากได้ตรวจสอบดูถึงข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ ที่รวบรวมโดยผู้ประพันธ์คนอื่นๆ ที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของมาลิกจากแหล่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากของคอลิดแล้ว ก็จะพบว่าความไม่ลงตัวกันระหว่าง “ข้อเท็จจริง” ของซัยฟ์กับความสัตย์จริงจะปรากฏให้เห็น แหล่งอื่นๆ ที่กล่าวไว้ว่าคอลิดได้ออกคำสั่งอย่างแจ้งชัดให้ฆ่าสังหารมาลิกนั้น มีดังต่อไปนี้

ฟุตูฮุล บุลดาน โดย บะลาซุรี หน้า 105
ตะฮ์ซีบ โดย อิบนิ อะซากิร เล่ม 5หน้า 105, 112
อัล คอมีส โดย ดิยาร บักรี เล่ม 2 หน้า 333
อัล นิฮายะฮ์ โดย อิบนิ อะซีร เล่ม 3 หน้า 257
อัล ซอวาอิก โดย อิบนิ ฮะญัร มักกี หน้า 21 (พิมพ์ที่อิยิปต์)
ตาจ อัลอะรูซ โดย ซุบัยดี เล่ม 8 หน้า 75

ข้างต้น คือสงคราม ครั้งหนึ่งที่สู้รบในนามของผู้ละทิ้งศาสนาหรือพวกนอกรีต (ที่อบูบักรได้ต่อสู้) สงครามครั้งนี้อาจใช้เป็นตัวอย่างหนึ่งได้อย่างดี

5. เรื่องราวของ อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี
อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี บุตรของอับดุลลอฮ์ บุตรของอิบาด บุตรของอักบัร บุตรของรอบีอะฮ์ บุตรของมาลิก บุตรของอุวัยฟ์ ฮัดรอมี บิดาของเขาเป็นพลเมืองชาวมักกะฮ์และเป็นเพื่อนสนิทของฮัรบ์ อิบนิ อุมัยยะฮ์ ท่านศาสดาแต่งตั้งเขาให้เป็นเจ้าเมืองบะฮ์เรน อบูบักรและอุมัรอนุญาตให้เขาดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปในปี ฮ.ศ. 14 หรือ 21 (อัล อิสตีอาบ พิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 146-148 และอัล อิสตีอาบ พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 491)

ซัยฟ์ เล่าให้เราฟังถึงเรื่องของ อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมิ ดังนี้
ในฏอบารี เล่ม 2 หน้า 522 และ 528 ซัยฟ์บันทึกมาจากมินญับ อิบนิ รอชิด ดังว่า อบูบักรมีคำสั่งให้อะลาอ์สู้รบกับพวกนอกรีตแห่งบะฮ์เรน มินญาบประจำอยู่ในกองทัพนั้นด้วย เขากล่าวว่า “เรามาถึงทุ่งราบแห่งดะฮ์นาอ์ เป็นที่ๆพระเจ้าทรงประสงค์ที่จะแสดงอภินิหารประการหนึ่งให้กับพวกเรา อะลาอ์และเราได้ลงมาจากหลังอูฐ ทันใดนั้นอูฐของเราวิ่งเตลิดออกไป และพาสัมภาระทั้งหมดของเราไปด้วย และทิ้งเราไว้ท่ามกลางทะเลทรายที่มีแต่โขดหิน ก่อนที่เราจะมีเวลากางกระโจมออกมาด้วยซ้ำ เรารู้สึกเศร้าใจและหมดหวัง ต่างก็สั่งเสียซึ่งกันและกัน มีเสียงเรียกมาจากอะลาอ์ให้ไปหาเขา เราจึงไปหาเขาด้วยกันทั้งหมด เขาถามเราถึงเหตุผลของความหมดอาลัยตายอยาก เราจึงตอบกับเขาไปว่า “ท่านจะไปหวังอะไรกับคนกลุ่มหนึ่ง ที่เขาไม่มีอะไรเหลือไว้เลยสำหรับวันพรุ่ง นอกจากจะกลายเป็นอดีตไป” เขาได้ปลอบใจพวกเราพร้อมกับกล่าวว่า “มุสลิมวางใจในพระเจ้า แน่แท้พระเจ้าจะไม่ละทิ้งบรรดาผู้ที่พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์เช่นพวกเรา” ในวันรุ่งขึ้นหลังจากนมาซตอนเช้าแล้ว อะลาอ์คุกเข่าลงและพวกเราก็กระทำเช่นเดียวกัน และเราได้วิงวอนต่อพระเจ้าเพื่อขอน้ำ อะลาอ์ จึงสังเกตเห็นมีระยิบน้ำเกิดขึ้น เขาได้ส่งคนไปดูว่ามีน้ำบ้างไหม แต่มันเป็นเพียงแค่เงาสะท้อน เงาสะท้อนเช่นนี้มีปรากฏให้เห็นอีกในครั้งที่สาม คนของอะลาอ์กลับมารายงานข่าวว่ามีน้ำปรากฎอยู่ ดังนั้นกองทหารจึงได้ดื่มกินและอาบชำระล้าง ทันใดนั้นอูฐของเราจึงปรากฏให้เห็น และมันได้กลับมาด้วยตัวของมันเอง พร้อมด้วยสัมภาระที่บรรทุกอยู่ก่อนที่พวกมันจะหลบหนีไป”

หลังจากที่เราได้ละออกมาจากสถานที่นั้นแล้ว อบูฮุรอยเราะห์ผู้เป็นสหายของเราได้สอบถามฉันว่า ฉันจำสถานที่นั้นได้อีกหรือไม่ หมายถึงสถานที่ๆเราพบน้ำ ฉันตอบว่า “ฉันรู้จักสถานที่นั้นได้ดีกว่าใครทั้งสิ้น” เขาได้ขอให้ฉันพาเขาไปยังสถานที่ตั้งบ่อน้ำนั้นอีก ฉันจึงพาเขาไปแต่มันกลับไม่มีบ่อน้ำใดๆ แต่กระนั้นเราได้พบเหยือกใบหนึ่งมีน้ำบรรจุอยู่ อบูฮุรอยเราะฮ์จึงกล่าวว่า มันเป็นเหยือกของเขาเอง ซึ่งเขาได้ทิ้งไว้ข้างๆบ่อน้ำนั้นอย่างตั้งใจ เพื่อดูว่ามันมีบ่อน้ำที่นั้นหรือไม่ หรือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างอัศจรรย์ มินญาบ สาบานว่าเขาไม่เคยเห็นบ่อน้ำนั้นมาก่อนเลย อบู ฮุรอยเราะฮ์จึงกล่าวขอบคุณพระเจ้าสำหรับความอัศจรรย์นี้ จากนั้น ซัยฟ์จึงกล่าวว่า อะลาอ์ได้รับชัยชนะจากการทำสงคราม (ต่อต้านพวกนอกรีต) ในตอนกลางคืน เมื่อพวกเขาทั้งหมด (พวกนอกรีต) กำลังเมามายกันอยู่

หลังจากอะลาอ์ แน่ใจในความพินาศของพวกนอกรีตแล้ว เขาจึงได้ออกเดินทางไปกับกองทหารของเขามุ่งสู่ดาดา แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทาง เขาได้กล่าวคำเทศนาให้กับบรรดาทหารหาญของเขา เขากล่าวว่าพระเจ้าทรงสำแดงสิ่งมหัศจรรย์ประการหนึ่งในแผ่นดิน เพื่อให้กำลังใจแก่พวกเขาด้วยกับบ่อน้ำ (เพื่อจะให้พวกเขาเข้าโจมตีพวกนอกรีตในสถานที่อื่นๆต่อไป) จากนั้นเขาจึงออกคำสั่งให้เข้าโจมตี พร้อมกับกล่าวว่า “ขอให้เรารุกคืบหน้าและข้ามทะเลไป พระเจ้าได้ทรงล้อมกรอบศัตรูให้กับพวกเจ้าไว้ในที่เดียวกันแล้ว” เหล่าทหารต่างตะโกนก้องขึ้นว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า เราจะไม่มีความหวาดกลัวอีกแล้ว เนื่องจากเราได้เห็นความอัศจรรย์ในทะเลทรายแห่งดะฮ์นาอ์” อะลาอ์ขึ้นขี่สัตว์ พร้อมด้วยกองทหารของเขาเดินเท้า พวกเขาต่างอ่านคำสรรเสริญพระเจ้าดังว่า “โอ้ผู้ทรงปรานี โอ้ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงขันติ ผู้ทรงเป็นนิรันดร์ ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงประทานชีวิต ผู้ทรงเพียงพอด้วยพระองค์เอง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ โอ้พระเจ้าของเรา” น้ำทะเลปรากฏให้เห็นว่ามีความตื้นเขิน มีความลึกแค่ข้อเท้าของอูฐ ถึงแม้ระยะทางจากชายฝั่งไปเกาะนั้น หากไปทางเรือต้องใช้เวลาเดินทางถึงหนึ่งวันเต็ม พวกเขาไปถึงเกาะนั้นและได้เข้าสู่สมรภูมิสู้รบกันอย่างดุเดือด (ระหว่างทหารของอะลาอ์และพวกนอกรีต) จนกระทั่งศัตรูถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไม่มีพวกนอกรีตคนใดหลงเหลือชีวิตอยู่ ที่จะนำข่าวของพวกเขากลับไปเล่าขานกัน ทรัพย์สินและครอบครัวของพวกเขาถูกจับกุมและแบ่งปันกัน ทหารขี่อูฐได้รับหกพันและทหารเดินเท้าได้รับสองพัน อะฟีฟ อิบนิ มุนซิร แต่งกลอนบทดังกล่าวต่อไปนี้ ให้กับเหตุการณ์ดังกล่าว

พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร
ทรงมอบทะเลนั้นไซร้ ให้เราควบคุม
เหตุการณ์อันมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่
เหลือล้ำกว่าครั้งของมูซา

พาวงศ์วานข้ามทะเลแดง
และแม่น้ำไนล์เสียอีก
ความกริ้วของพระองค์
ทรงมีกับผู้ไร้ศรัทธาทุกคน

น้ำพุหลั่งไหล
ออกจากใต้หิน และก้อนกรวด
และเราได้ยินกระดิ่ง ที่คออูฐของเรา
เสียงดังกังวาน หวนกลับมาอีก

บาทหลวงรูปหนึ่ง เดินทางไปกับกองทหารของอะลาอ์ด้วย ซึ่งได้เข้ารับอิสลามหลังจากที่กองทหารได้เดินทางกลับคืนสู่บะฮ์เรนด้วยชัยชนะและแผ่นดินปลอดพ้นจากพวกนอกรีต ผู้คนสอบถามบาทหลวงรูปนั้นว่าทำไมจึงเปลี่ยนศาสนา เขากล่าวว่าได้สังเกตเห็นสัญญาณของพระเจ้ารวมสามประการด้วยกัน และเขาเกรงว่าตัวเขาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัตว์ หากถ้าเขาไม่ได้เปลี่ยนมาเข้ารับอิสลาม เขาถูกถามถึงสัญญาณทั้งสามนั้น เขาจึงกล่าวถึงมันดังต่อไปนี้

1) น้ำพุที่พุ่งขึ้นมาจากใต้ก้อนหินก้อนกรวด
2) น้ำทะเลที่ปั่นป่วนเหือดแห้งลง
3) คำวิงวอนที่พวกทหารได้ใช้อ่านกันดังต่อไปนี้

“โอ้พระเจ้า พระองค์ทรงกรุณาปรานี ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์ทรงคงอยู่ด้วยพระองค์เอง ไม่มีสิ่งใดมาก่อนพระองค์ทรงนิรันดร์ ทรงตระหนักผู้ทรงดำรงชีพอยู่เป็นนิจ ทรงเป็นอมตะ ผู้ทรงสร้างทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ พระองค์ทรงควบคุมอยู่เป็นนิจ พระองค์ทรงรอบรู้โดยปราศจากการสั่งสอน”

บาทหลวงรูปนี้กล่าวว่า บรรดาทหารเหล่านั้นอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง ฉะนั้นเทวทูตจึงอยู่เคียงข้างพวกเขา เรื่องราวของบาทหลวงรูปนี้ได้มีการเล่าขานกันต่อมาอยู่บ่อยครั้ง อะลาอ์เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ถึงอบูบักรเล่าให้เขาฟังว่า หลังจากต้องประสบกับความยากลำบากในบางประการพระเจ้าได้ทรงช่วยเหลือพวกเขา ด้วยกับการให้น้ำพุพุ่งขึ้นมาจากใต้ก้อนหินกรวด ในจดหมายของอะลาอ์ เขาขอให้อบูบักรขอพรให้กองทหารมุสลิมที่กำลังต่อสู้ในหนทางของพระเจ้าและอบูบักรได้กระทำเช่นนั้น และได้เล่าว่าชาวเบดูอินมักพูดกันอยู่เสมอว่า “ลุกมานผู้ชาญฉลาดสั่งให้คนของเขาหยุดการขุดเจาะบ่อน้ำในทะเลทรายแห่งดะฮ์นาอ์ เพราะไม่มีเชือกยาวพอที่จะทิ้งลงไปให้ถึงแหล่งน้ำ ซึ่งมันจะอยู่ระดับต่ำกว่าแผ่นดินเป็นอย่างมาก” อบูบักรกล่าวว่า การปรากฏน้ำให้เห็นนับเป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และเขาไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนจากประชาชาติใดๆและเขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “โอ้พระเจ้า ขอพระองค์อย่าได้ทรงริบเอาความจำเริญของมุฮัมมัดออกไปจากพวกเราเลย” อิบนิ กะซีร ในหนังสือของเขา (เล่ม 6 หน้า 328-329) ได้บันทึกเรื่องราวข้างต้นมาจากซัยฟ์ในหนังสือ อัล อะฆอนี ของอบุลฟะรัจ ได้อ้างอิงมาจากฏอบารี ผู้ซึ่งได้บันทึกมาจากซัยฟ์อีกทอดหนึ่ง นักวิชาการคนอื่นๆได้บันทึกเรื่องราวนี้มาจากซัยฟ์


๑๐
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

แหล่งที่มาในเรื่องราวของซัยฟ์
ซัยฟ์ได้เล่าเรื่องราวของอะลาอ์มาจากซออับบุตรของอะตียะฮ์ บุตรของบิลาล นั้นคือ เล่าผ่านมาจากปู่มาถึงพ่อและถึงลูก เราได้แสดงให้เห็นแล้วเมื่อได้วิจารณ์ถึงเรื่องราวของมาลิกว่า สายธารของครอบครัวของผู้เล่าเรื่องข้างต้น ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือของซัยฟ์

เรื่องราวของ อะลาอ์ ที่เล่าโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ซัยฟ์
บะลาซูรี ในหนังสือ ฟุตูฮุล บุลดาน ของเขา (หน้า 92-93) กล่าวไว้ว่า ในสมัยการปกครองของอุมัร อะลาอ์ถูกส่งไปยังซาเราะฮ์ดาเรน เขาได้ทำสัญญาสงบศึกกับผู้คนแห่งชรา เพื่อริบเอาทองคำเงินและทรัพย์สินอื่นๆ ของเมืองเป็นจำนวนหนึ่งในสามบวกกับทรัพย์สินครึ่งหนึ่ง จากดินแดนที่อยู่นอกเมืองอัคนัส อิบนิ อามิรี ผู้แทนของเมืองนั้น กล่าวกับอะลาอ์ว่า สัญญาสงบศึกนี้มีผลเฉพาะกับผู้คนแห่งเมืองซาเราะฮ์เท่านั้น และไม่รวมถึงญาติของพวกเขาที่อาศัยอยู่นอกเมืองที่เป็นเพื่อนบ้านกัน ณ ดาเรน อะลาอ์พาการาซุลนุกรี ไปเป็นคนนำทางและข้ามทะเลไปตรงช่องแคบไปยังเมืองดาเรน เขาได้เข้าโจมตีผู้คนที่อยู่ ณ เมืองนั้น จัดการฆ่าสังหารนักรบของพวกเขาและจับกุมคุมขังครอบครัวของพวกเขา

สงครามกับพวกนอกรีต (ข้อเปรียบเทียบและบทสรุป)
ซัยฟ์ เขียนไว้ว่า

1) น้ำพุที่เกิดขึ้นอย่างอัศจรรย์ ซึ่งถึงแม้ลุกมานผู้ชาญฉลาดก็ไม่คาดว่าจะมีน้ำ
2) อูฐได้หวนกลับมาด้วยกับตัวของพวกมันเอง
3) ทหารเดินไปบนน้ำทะเลเสมือนเดินอยู่บนบก ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ จากการบอกเล่าว่าบาทหลวงรูปหนึ่งได้เข้ารับอิสลามเมื่อได้เห็นสัญญาณเหล่านี้ เขาได้เน้นย้ำว่าความมหัศจรรย์เหล่านี้เกิดขึ้นจากจดหมายที่อะลาอ์มีไปถึงอบูบักร เพื่อขอให้เขาวิงวอนขอดุอาอ์ให้

ฏอบารี ฮะมาวี อิบนิ อะซีร อิบนิ กะซีร และนักเขียนคนอื่นๆ ได้กล่าวคำพูดของซัยฟ์ซ้ำไว้อีกในหนังสือของพวกเขา และบรรดามุสลิมต่างก็ยอมรับในเรื่องราวนี้ ว่าเป็นประวัติศาสตร์อิสลามเรื่องหนึ่ง ถึงกระนั้นมันก็ไม่มีความมหัศจรรย์อันใดเกิดขึ้น เมืองนั้นมีทางผ่านไปสู่แผ่นดินใหญ่ได้โดย ผ่านทองช่องแคบ ซึ่งทหารได้เดินทัพผ่านไปอีกเช่นกัน ที่ว่าเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยของอบูบักร แต่ในสมัยการปกครองของอุมัร ซัยฟ์เพียงคนเดียวที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อการประดิษฐ์เรื่องเล่าเหล่านี้เพราะเขาเป็นคนเดียวที่นำเสนอมันเช่นเดียวกัน เป็นเพียงคนเดียวอีกเช่นกันที่กล่าวว่า ไม่มีศัตรูคนใดที่มีชีวิตรอดกลับไปแจ้งข่าวนี้ให้ชาวเมืองของตนเองได้รับทราบเลย

6. การเห่าของสุนัขที่ เฮาอับ
ฏอบารีเล่ม 3 หน้า 490-497 ได้บันทึกมาจากซัยฟ์ว่า อุมมุ ซิมัล ซัลมา เป็นเชลยศึกหญิงคนหนึ่ง ที่ถูกมอบให้อาอิชะฮ์ (ภรรยาของท่านศาสดา) เพราะเป็นส่วนของทรัพย์เชลย ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของนาง อาอิชะฮ์ได้ปล่อยนางให้เป็นไท แต่นางคงอยู่อาศัยในบ้านของอาอิชะฮ์ต่อไป

วันหนึ่งท่านศาสดากลับมาบ้านและพบพวกผู้หญิงกำลังชุมนุมกันอยู่ ท่านศาสดาได้ชี้ไปที่พวกเขาพลางกล่าวว่า “คนหนึ่งของพวกเจ้าจะทำให้สุนัขที่แผ่นดินแห่งเฮาอับเห่าใส่” หลังจากที่ท่านศาสดาวายชนม์แล้ว อุมมุ ซิมัล ซัลมา ได้จัดตั้งกองทัพขึ้นกองหนึ่งเพื่อการล้างแค้นมุสลิมที่ได้ฆ่าสังหารญาติของนาง ขณะที่นางกำลังรวบรวมกองทัพจากซ็อฟร์และเฮาอับ สุนัขได้เห่าใส่อูฐของนางที่เฮาอับ (ทำให้คำทำนายของท่านศาสดาเป็นจริง) คอลิด (ผู้เป็นแม่ทัพ) ทราบเรื่องของอุมมุ ซิมัล ซัลมา จึงออกไปสู้รบกับนาง ทหารของคอลิดได้ตัดขาอูฐที่นางใช้ขี่และจัดการสังหารนางลงได้
ในหนังสือ มุอ์ญะมุล บุลดาน ของฮะมาวี ได้บันทึกเรื่องราวข้างต้นมาจากซัยฟ์ ในหนังสือ อิซอบะฮ์ ของอิบนิ ฮะญัร เล่ม 2 หน้า 325 ได้บันทึกไว้โดยไม่ได้กล่าวถึงแหล่งที่มา

แหล่งที่มาในเรื่องราวของซัยฟ์
ซัยฟ์ ได้เล่าเรื่องข้างต้นมาจากซะฮ์ลิบุตรของยูซุฟ และอบูยะอ์กูบ ซึ่งประวัติของพวกเขาไม่มีการบันทึกไว้ อิบนิฮะญัร และอิบนิ อับดุลบัรร์ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าตัวของซะอ์ลิเองหรือยูซุฟผู้เป็นบิดาของเขาไม่เป็นที่รู้จักของผู้ใดทั้งสิ้น” อบูยะอ์กูบที่ปรากฏอยู่ในเรื่องของซัยฟ์ ก็คือ “ซะอีด อิบนิ อุบัยด์” ซึ่งซอฮาบีได้กล่าวว่า “เขาไม่เป็นที่รู้จัก” นักเขียนชีวประวัติบางท่านกล่าวว่า “มีคนชื่อซะอีด อิบนิ อุบัยด์ แต่ไม่เป็นที่รู้จักกันในนามของอบูยะฮ์กูบ”

สุนัขเห่าใส่ใครที่เฮาอับ ?
ในการเล่าเรื่องเฮาอับของซัยฟ์ เขาได้ผนวกเหตุการณ์จริงสองเรื่องเข้าด้วยกัน เหตุการณ์แรกคือ อุมมุกุรฟะฮ์ เหตุการณ์ที่สองคือ สุนัขที่เฮาอับ

1) อุมมุ กุรฟะฮ์ ตามรายงานของอิบนิ สะอัด และอิบนิ ฮิชาม พ่อค้ากองคาราวานคนหนึ่งเป็นชาวมุสลิม ขณะกำลังเดินทางไปยังนครดามัสกัส ในระหว่างทางเกิดถูกปล้นโดยคนของเผ่าฟะซาเราะฮ์ ที่วาดีล กุรอ ซัยด์ผู้เป็นมุสลิมทำหน้าที่ควบคุมกองคาราวาน ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการปล้น

ยะอ์กูบีกล่าวว่า ท่านศาสดากำลังจะจัดส่งกองทหารกองหนึ่งภายใต้การนำทัพของซัยด์ เพื่อปราบปรามชนเผ่าฟะซาเราะฮ์ อุมมุ กุรฟะฮ์ ผู้เป็นภรรยาของหัวหน้าเผ่า เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านศาสดากำลังเตรียมการจัดส่งกองทัพ นางจึงจัดส่งกองทัพกองหนึ่งภายใต้การนำทัพของลูกหลานของนางเองจำนวนสี่สิบคน เพื่อมาเผชิญศึกกับกองทัพมุสลิมใกล้กับนครมะดีนะฮ์ได้เกิดสู้รบกันอย่างดุเดือด โดยทหารของเผ่าฟะซาเราะฮ์ถูกสังหารลงจนหมด ส่วนผู้หญิงของพวกเขาถูกจับตัวเป็นเชลย ยกเว้นตัวของอุมมุ กุรฟะฮ์ และบุตรสาวคนหนึ่งของนางชื่อญาริยะฮ์ ส่วนทุกคนในครอบครัวของนางถูกสังหารสิ้น ผู้หญิงทั้งสองคนนี้ถูกจับตัวไว้ได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ ซัยด์ตัดสินให้ อุมมุ กุรฟะฮ์ ต้องโทษประหารชีวิต และนำบุตรสาวที่ชื่อญาริยะฮ์มามอบให้กับท่านศาสดา ผู้ซึ่งท่านได้มอบนางให้กับลุงของท่านเอง และต่อมานางได้คลอดบุตรชายคนหนึ่ง และตั้งชื่อให้กับเขาว่า อับดุรเราะฮ์มาน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 6 ในระหว่างช่วงชีวิตของท่านศาสดา

2) สุนัขที่เฮาอับ เฮาอับเป็นสถานที่ๆตั้งอยู่ใกล้ๆกับเมืองบัสเราะฮ์ ตามการรายงานของอิบนิ อับบาส ท่านศาสดาได้กล่าวกับบรรดาภรรยาของท่านว่า “คนหนึ่งในหมู่พวกเธอจะขี่อูฐที่มีขนดกตัวหนึ่ง ฝูงสุนัขจะเห่าใส่นางที่เฮาอับ ผู้คนจำนวนมากจะถูกสังหาร ทั้งทางด้านขวาและทางด้านซ้ายของนาง(6) นางจะถูกคุกคามด้วยความตาย แต่นางก็จะปลอดภัย”(7) ตามรายงานของท่านหญิงอุมมุ สะลามะฮ์ (ภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา) มีความว่า ท่านศาสดาได้กล่าวถึงการก่อกบฏของภรรยาคนหนึ่งผู้เป็นมารดาของบรรดาผู้ศรัทธา (ดังที่ได้เรียกกันเช่นนั้น) เมื่อได้ยินเช่นนั้นอาอิชะฮ์ (ภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา) หัวเราะ ท่านศาสดาได้กล่าวเป็นข้อสังเกตไว้กับนางดังว่า “มันดูเหมือนกับว่าฝูงสุนัขเห่าใส่เจ้าที่เฮาอับ ขณะที่เจ้ากำลังก่อกบฏอย่างอยุติธรรมต่ออะลี” จากนั้นท่านศาสดามองไปยังอะลีพร้อมกับกล่าวว่า “ถ้าหากเรื่องราวของอาอิชะฮ์ ต้องมาอยู่ในอำนาจของเจ้าแล้ว ก็จงอดทนกับนางเถิด”

ตามรายงานของฏอบารี ที่ปรากฏอยู่ในเล่ม 3 หน้า 475 และจากนักประวัติศาสตร์อีกบางท่านมีเรื่องเล่าไว้ดังต่อไปนี้
อุรานี คือคนที่ขายอูฐของเขาให้กับอาอิชะฮ์ กำลังเดินทางโดยขี่อูฐของเขาไป มีชายคนหนึ่งเข้ามาหาเขา และต้องการซื้ออูฐตัวนั้นของเขา อุรานี จึงกล่าวตอบว่า “มันมีราคาหนึ่งพันดิรฮัม” ชายคนนั้นจึงอุทานขึ้นว่า “เจ้าเสียสติไปแล้วหรือ? ใครเล่าจะจ่ายหนึ่งพันดิรฮัมเพื่อซื้ออูฐตัวหนึ่ง?” อุรานี จึงกล่าวตอบว่า “อูฐตัวนี้มีราคาหนึ่งพันดิรฮัม เพราะเมื่อฉันขี่มันแข่งกับคู่แข่งคนอื่น ฉันแซงเขาได้เสมอ และไม่มีใครมาไล่จับฉันได้ทันหรอก เมื่อฉันขี่อูฐตัวนี้” ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า “เจ้าจะต่อรองกับฉันได้ดีกว่านี้หากเจ้ารู้ว่าฉันต้องการอูฐตัวนี้ของเจ้าไปให้กับผู้ใด” อุรานี : ท่านต้องการจะเอาไปให้กับผู้ใดหรือ ? อาหรับ : ให้กับมารดาของเจ้า อุรานี : ฉันทิ้งแม่ไว้ที่บ้าน นางป่วยเป็นอัมพาต อาหรับ : ฉันต้องการอูฐของเจ้าไปให้กับมารดาของบรรดาผู้ศรัทธา ท่านหญิง อาอิชะฮ์ อย่างไรเล่า อุรานี : ถ้าอย่างนั้นก็จงรับมันไปเป็นของขวัญจากฉันเถิด อาหรับ : ไม่เอา เจ้ามากับฉันเถิด ฉันจะมอบอูฐตัวหนึ่งและเงินจำนวนหนึ่งให้กับเจ้า

อุรานี : ฉันจึงไปกับชายคนนั้น เขามอบอูฐเพศเมียตัวหนึ่งให้ฉัน ซึ่งเป็นของอาอิชะฮ์ และลูกอูฐอีกตัวหนึ่งพร้อมเงิน 400 หรือ 600 ดิรฮัม ให้อีกด้วย จากนั้นชายคนนั้นถามฉันว่า ฉันรู้จักถนนแถวนั้นหรือไม่ ฉันจึงตอบไปว่าฉันรู้ เขาจึงขอให้ฉันนำทางพวกเขาไป ฉันจึงบอกพวกเขาให้รู้จักทะเลทรายและแม่น้ำทุกแห่งที่เราผ่านไป เราผ่านไปยังแหล่งน้ำที่มีชื่อว่า เฮาอับ เมื่อฝูงสุนัขเริ่มเห่าหอน พวกเขาถามฉันว่า “แหล่งน้ำตรงนี้มีชื่อว่าอะไร ?” ฉันจะตอบไปว่า “เฮาอับ” อาอิชะฮ์จึงร้องเสียงลั่นออกมา และสั่งให้อูฐของนางนั่งลงพร้อมกับกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันเป็นหญิงคนนั้นที่สุนัขเห่าใส่ที่เฮาอับ จงพาฉันกลับไปเถิด” ผู้คนต่างนำอูฐของพวกเขามานั่งล้อมรอบอาอิชะฮ์ อาอิชะฮ์ไม่ได้ขยับเขยื้อนไปจากสถานที่ตรงนั้นเลย จนกระทั่งวันรุ่งขึ้น อิบนิ ซุเบรหลานของนางเข้ามาพร้อมกับบอกนางว่า “จงเคลื่อนย้ายไปโดยเร็วเถิด” ทั้งนี้เพราะอะลีกำลังติดตามพวกเขามาอย่างกระชั้นชิด และจะมาถึงพวกเขาในไม่ช้า อุรานีจึงกล่าวขึ้นว่า “พวกเขาจึงละออกจากสถานที่นั้นและกล่าวสาปแช่งฉัน”

ตามการรายงานในมุสนัด อิบนิ ฮัมบัล เล่ม 6 หน้า 97 อิบนิ ซุเบร บอกกับอาอิชะฮ์ว่า “ขณะนี้ไม่ใช่เป็นเวลาที่จะมาละทิ้งกัน บางทีพระเจ้าอาจจะประสงค์ให้ท่านเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างมุสลิมและนำสันติภาพมาสู่พวกเขา”
ในหนังสือของอิบนิ กะซีร เล่ม 7 หน้า 230 ได้บันทึกไว้ว่า เชคทั้งสอง (หมายถึง บุคอรีและมุสลิม) ไม่ได้บันทึกเรื่องราวนี้ไว้ในหนังสือซอเฮียะห์ของพวกเขา ถึงแม้จะมีหลักเกณฑ์ครบถ้วนในทุกประการ ที่จะยอมรับได้ว่าเป็นของจริงแท้สำหรับเขาทั้งสองก็ตาม

ในหนังสือของฏอบารี เล่ม 3 หน้า 485 ได้มีบันทึกจากซุฮ์รีว่า เมื่ออาอิชะฮ์ได้ยินฝูงสุนัขเห่า นางได้ถามขึ้นว่า “สถานที่นั้นมีชื่อว่ากระไร?” ภายหลังจากที่พวกเขาได้บอกนางว่ามันคือ “เฮาอับ” นางรู้สึกเศร้าระทม และกล่าวว่า “เราเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ และเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์” จากนั้นนางได้กล่าวต่อไปอีกว่า “ฉันเป็นคนที่ท่านศาสดาได้พูดถึงในหมู่ภรรยาของท่านอย่างแน่นอน โดยกล่าวว่าท่านอยากจะรู้ว่าใครกันที่ฝูงสุนัขเห่าใส่ที่เฮาอับ” อาอิชะฮ์ ต้องการที่จะเดินทางกลับไปจากสถานที่นั้น แต่อิบนิ ซุเบร ชักชวนนางให้เดินทัพต่อไปข้างหน้า

ในอีกที่หนึ่ง อิบนิ กะซีร เขียนไว้ในเล่ม 7 หน้า 230 และอบุลฟะรัจหน้า 173 ดังว่า อาอิชะฮ์รู้สึกเศร้าเสียใจพร้อมกับกล่าวว่า “ฉันคือผู้หญิงคนนั้น” แต่อิบนิ ซุเบรหักหลังนางพร้อมกับกล่าวว่า สถานที่นั้นไม่ใช่เฮาอับ ในหนังสือ มุรูญุซ ซะฮับ เล่ม 2 หน้า 248 ได้เขียนไว้ว่า อิบนิ ซุเบร และตอลฮะฮ์ กล่าวสาบานต่อพระเจ้าว่า สถานที่นั้นไม่ใช่เฮาอับและได้นำอาหรับจำนวนห้าสิบคนมากล่าวสาบานเช่นเดียวกัน และการสาบานนี้ถือเป็นการสาบานเท็จครั้งแรกในอิสาม

ในยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 157 และหนังสือ กันซุล อุมมาล เล่ม 6 หน้า 83-84ได้บันทึกไว้ว่า อาอิชะฮ์กล่าวว่า “ปล่อยให้ฉันกลับไปเถิด นี่คือแหล่งน้ำอันเดียวกับที่ท่านศาสดาพูดถึงโดยกล่าวเตือนฉันถึงเรื่องฝูงสุนัขเห่า” พวกเขาได้นำเอาอาหรับจำนวนห้าสิบคน มากล่าวสาบานในนามของพระเจ้าว่าสถานที่นั้นไม่ใช่เฮาอับ ในหนังสือ อัล อิมามะฮ์ วัลซิยาซะฮ์ เล่ม 1 หน้า 59-60 มีบันทึกไว้ว่า เมื่ออาอิชะฮ์ได้ยินสุนัข เห่าหอน นางได้สอบถามมุฮัมมัด อิบนิ ตอลฮะฮ์ ในเรื่องของสถานที่และเรื่องอื่นๆ มุฮัมมัดบอกกับนางว่า “ขอให้จิตวิญญาณของนางจงจำเริญเถิด จงลืมเรื่องนิยายเหล่านั้นเสียเถิด” อับดุลลอฮ์ อิบนิ ซุเบร ให้พยานหลักฐานที่เป็นเท็จ และพวกเขาได้นำพยานที่เป็นเท็จมากล่าว สาบายด้วย นับเป็นพยานเท็จครั้งแรกที่เกิดขึ้นในอิสลาม

นักประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆได้เล่าเรื่องข้างต้น จากศาสนทูตแห่งพระเจ้า เช่น อิบนิ อะซีร ในหนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฮะมาวี ในหนังสือ มุอ์ญะมุลบุลดาน ซะมัคชารีในหนังสือ อัล ฟาอิค อิบนิ ต็อกตอกี ในหนังสือ อัล ฟัครี หน้า 71 พิมพ์ที่ไคโร ซุไบดี เล่ม 1หน้า 195 ใต้คำว่า เฮาอับ มุสนัด อะห์มัด เล่ม 6 หน้า 52, 97 อะอ์ซัม หน้า 168-169 ซัมอานี ในหนังสือ อัลอันศอบ ซีรอฮ์ ฮาละบิยะฮ์ เล่ม 3 หน้า 320-321 และหนังสือ มุนตะคอบ กันส์ เล่ม 5 หน้า 444-445

สรุป
นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า อาอิชะฮ์(ภรรยาของท่านศาสดา) เป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่ฝูงสุนัขเห่าใส่ที่เฮาอับ ดังที่ท่านศาสดาได้กล่าวล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว และเหตุการณ์ก็บังเกิดขึ้นจริง สมกับเป็นสัญญาณหนึ่งแห่งการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด ซัยฟ์เพียงคนเดียวที่นำเหตุการณ์ของฝูงสุนัขเห่าใส่ไปโยงกับอุมมุ ซิมัล ซัลมา ซึ่งเป็นสตรีที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาในนิยายของเขา เพื่อเอาใจบรรดาผู้ที่มีความชื่นชอบในนิยายต่างๆของซัยฟ์ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง นับเป็นเรื่องโชคดีสำหรับกรณีนี้ ที่ว่าฏอบารี ได้บันทึกเรื่องราวนี้มาจากผู้เล่าเรื่องคนอื่นๆด้วยไม่ใช่จากซัยฟ์เพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นความตั้งใจของซัยฟ์ที่จะพลิกแพลงเรื่องราวต่างๆนี้ จึงถูกเปิดเผยออกมาจากการบันทึกเรื่องราวของอูรานี ผู้เป็นเจ้าของเดิมของอูฐตัวนั้น ที่มารดาของบรรดาผู้ศรัทธาใช้ขี่ และคำกล่าวของซุฮ์รีเกี่ยวกับฝูงสุนัขนั้น ฏอบารีได้แสดงให้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงของซัยฟ์ต่อผู้อ่านของเขา นอกเหนือจากเหตุการณ์อื่นๆอีกที่ฏอบารีได้บันทึกมาจากซัยฟ์ แต่เพียงแหล่งเดียว และได้ปิดบังซ่อนเร้นสัจธรรมความจริงเอาไว้

เท่าที่ได้เขียนบรรยายมาถึงเรื่องราวที่เล่าโดยซัยฟ์นั้น เป็นเรื่องเฉพาะในสมัยของอบูบักรเท่านั้น ต่อไปนี้ จงติดตามดูถึงเรื่องราวของเขาบางเรื่องที่อยู่ในสมัยของอุมัร

7. เพื่อการแก้ไขสายตระกูลของ ซิยาด
อบูมุฆีเราะฮ์ ซิยาด เป็นบุตรชายของทาสหญิงผู้หนึ่ง ชื่อสุมัยยะฮ์ นางเป็นลูกหลานชาวไร่เปอร์เซียคนหนึ่ง ผู้ซึ่งได้มอบนางให้กับนายแพทย์คนหนึ่งชื่อ ฮัรษ์ ษะกอฟี เพื่อเป็นการตอบแทนให้กับค่ารักษาพยาบาล สุมัยยะฮ์ ให้กำเนิดบุตรชายสองคน ชื่อนุฟัยอ์กับนาฟิอ์ ขณะที่นางอยู่รับใช้นายแพทย์ ฮัรษ์ผู้เป็นนาย ต่อมาภายหลังฮัรษ์ ได้จัดการแต่งงานสุมัยยะฮ์ ให้กับทาสชาวโรมันของเขาชื่อ อุบัยด์ เขาทั้งสองอาศัยอยู่ที่เมืองฏออิฟ อบูซุฟยานเดินทางไปที่ฏออิฟ และได้ขอให้คนคุมร้านเหล้า จัดโสเภณีให้กับเขาคนหนึ่ง คนคุมชื่อ อบีมัรยัม ซะลูลี ได้แนะนำสุมัยยะฮ์ให้กับอบูซุฟยานและต่อมานางได้ตั้งครรภ์นับจากคืนนั้น และต่อมาได้ให้กำเนิดซิยาดในปีแรกของการฮจเราะฮ์ ในขณะที่นางยังเป็นภรรยาของอุบัยด์อยู่

เมื่อท่านศาสดาเข้ายึดฏออิฟ บุตรชายคนหนึ่งของฮัรษ์ (นายแพทย์) ที่มีชื่อว่านุฟัยอ์ได้วิ่งมาหาท่านศาสดา ท่านจึงปล่อยเขาให้เป็นไทและเรียกเขาว่า อบูบักรอฮ์ ฮัรษ์บอกกับนาฟิอ์ว่าเขาเป็นพ่อของนาฟิอ์เอง ดังนั้นเขาจึงไม่วิ่งไปหาท่านศาสดาเหมือนดังกับพี่ชายของเขา พี่น้องทั้งสามคนนี้คือ อบูบักรอฮ์ นาฟิอ์ และซิยาด ต่อมาถูกเรียกขานว่า “ทาสที่ได้รับการปลดปล่อยจากท่านศาสดา” ผู้ซึ่งเป็นลูกของฮัรษ์ และอุบัยด์ตามลำดับ มุอาวิยะฮ์ชอบพอรักใคร่ จึงรับเอาซิยาดมาเป็นน้องชายของตน และได้เรียกเขาว่า ซิยาด อิบนิ อบูซุฟยาน แต่หลังจากมุอาวิยะฮ์และการล้มสลายของวงศ์อมาวิยะฮ์ ซิยาด ถูกเรียกกันในนามซิยาดบุตรของบิดาของเขา (หมายถึงลูกนอกสมรส) และบางครั้งก็เรียกเขาว่า ซิยาดบุตรของมุอาวิยะฮ์ นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของมุอาวิยะฮ์ที่ได้ยินยอมให้ซิยาดเป็นพี่น้องของเขา และได้วิจารณ์ถึงการกระทำเช่นนี้ของมุอาวิยะฮ์

ซัยฟ์ ตั้งใจที่จะช่วยมุอาวิยะฮ์ให้พ้นไปจากการถูกตำหนิและกำจัดรอยแปดเปื้อนของมลทินนี้ให้พ้นไปจากซิยาด จึงอุปโลกน์เรื่องราวหนึ่งขึ้นมา ซึ่งฏอบารี ได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขาเล่ม 3 หน้า 259 อันเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่อยู่ในปีฮิจเราะฮ์ที่ 23 ดังเรื่องราวต่อไปนี้

ชาวอาหรับคนหนึ่งมีชื่อว่า อันซี ได้มาร้องเรียนกับอุมัรว่า อบูมูซา ผู้เป็นเจ้าเมืองของเขา ได้นำเรื่องของเขาไปบอกกับซิยาด อิบนิ อบูซุฟยาน ผู้เป็นเลขาของเจ้าเมือง และเรื่องก็ดำเนินต่อไป อุมัรสอบถามซิยาดถึงรางวัลก้อนแรกที่เขามอบให้นั้น ใช้จ่ายไปอย่างไร ซิยาดตอบว่า เขาได้ใช้ไปเพื่อซื้อมารดาของเขาเพื่อปล่อยให้เป็นไท และเงินอีกจำนวนหนึ่ง เขาตอบว่า เขาใช้ไปเพื่อซื้ออุบัยด์ ผู้ปกครองของเขาและปล่อยให้เป็นไทเช่นกัน เรื่องข้างต้น ซัยฟ์ได้อุปโลกน์มันขึ้นมา โดยตั้งใจที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ซิยาดนั้นถูกเรียกขานกันว่า “ซิยาด บุตร ของ อบูซุฟยาน” จนถึงสมัยของคอลีฟะฮ์อุมัร และคอลีฟะฮ์ก็ไม่ได้คัดค้านการเรียกซิยาดว่าเป็น “บุตรของอบูซุฟยาน” ดังนั้นเป็นเพราะ มุอาวิยะฮ์บุตรของ อบูซุฟยานเองที่ได้เอื้อเฟื้อซิยาดให้เป็นพี่น้องของเขา (ดังที่ได้อธิบยไว้ข้างต้นว่ามุอาวิยะฮ์ถูกวิพากษ์ วิจารณ์จากนักประวัติศาสตร์จากการกระทำของเขาเช่นนี้) ยิ่งไปกว่านั้น ซัยฟ์พยายามปกปิดให้กับซิยาดในเรื่องราวของเขาเช่นกัน เมื่อซิยาดอ้างอิงถึงอุบัยด์ว่าเป็นผู้ปกครองของเขา ยิ่งไปกว่านั้น ซัยฟ์ได้เล่าเรื่องราวของเขาไว้ในสมัยของคอลีฟะฮ์อุมัร เพื่อให้มันเป็นที่ยอมรับมากขึ้นของบรรดามุสลิม

แหล่งที่มาในเรื่องราวของ ซัยฟ์
ซัยฟ์บันทึกเรื่องข้างต้นมาจาก มุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ และ มุฮัลลับ ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องไว้ทั้งหมด 216 เรื่อง ซึ่งฏอบารีได้บันทึกมาจากซัยฟ์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งเขาเองได้บันทึกมาจากมุฮัมมัด อิบนิ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะวาด อิบนิมาลิก อิบนิ นุวัยรอ ผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันในหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมดยกเว้นในอัล อิกมาล ซึ่งผู้เขียนได้บันทึกมาจากซัยฟ์ มีตอลฮะฮ์อยู่ด้วยกันสองคน คนหนึ่งคือ อบูซุฟยาน ตอลฮะฮ์ อิบนิ อับดุรเราะฮ์มาน ซึ่งไม่มีบุคคลอื่นอ้างถึงเขานอกจากซัยฟ์ ตอลฮะฮ์คนที่สองก็คือ อิบนิ อะอ์ลัม มีภูมิลำเนาอยู่ตำบลญิยานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเรย์ (เตหะราน) แต่ซัยฟ์ไม่ได้ระบุถึงเขาในเรื่องเล่าของเขา ซัยฟ์บันทึกมาจากมุฮัลลับ อิบนิ อุกบะฮ์ อัล อะซะดี เป็นจำนวน 67 เรื่อง ซึ่งปรากฏอยู่ในฏอบารี แต่ไม่มีร่องรอยของเขาปรากฏให้เห็นในหนังสือชีวประวัติเล่มใด

เรื่องเล่ามาจากผู้อื่นที่ไม่ใช่จาก ซัยฟ์
ในหนังสือ ชื่อ เรื่องยาว (อัลอัคบารุตตุวัล) ของอัลดินาวารี หน้า 14 กล่าวว่า “อบู มูซา ถือว่า ซิยาด อิบนิ อุบัยด์ เป็นทาสคนหนึ่งของเผ่าซะกีฟ เขาเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานและเฉลียวฉลาดอย่างน่าประหลาด และจึงได้ว่าจ้างเขาไว้เป็นเลขาของเขา ซิยาดเคยอยู่กับ มุฆีเราะฮ์ก่อนหน้านี้” อิบนิ อุบดุลบัร กล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล อิสตีอาบ เล่ม 1 หน้า 548 กล่าวว่า “ก่อนมุอาวิยะฮ์ จะให้ความเป็นพี่น้องกับซิยาด เขาเป็นที่รู้จักกันในนามซิยาด อิบนิ อุบัยด์ ษะกอฟี” ได้มีการเขียนบันทึกไว้เช่นกัน ซิยาด ซื้อความเป็นไทให้กับอุบัยด์ผู้เป็นบิดาของเขา ซึ่งเป็นการกระทำที่ดีมาก

ในหนังสืออัล อิสตีอาบ หน้า 549 จากอิบนิ อับดุลบัร มีข้อความว่า “ซิยาด เป็นที่รู้จักกันในนาม ซิยาด อิบนิ อุบัยด์ ก่อนที่เขาจะมาอยู่ร่วมกับ มุอาวิยะฮ์” จากนั้นจึงกล่าวต่อไปว่า “ซิยาดได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าคอลีฟะฮ์อุมัร ในงานชุมนุมที่จัดขึ้นอยู่ครั้งหนึ่ง คำปราศรัยของเขาทำให้ทุกคนประหลาดใจ” อัมร อิบนุ อาส ผู้เป็นแขกคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ถ้าหากเด็กคนนี้ (ผู้พูด) เป็นคนที่มาจากเผ่ากุเรชแล้ว เขาคงจะต้องเป็นผู้ปกครองอย่างแน่นอน” อบูซุฟยานจึงกล่าวขึ้นว่า “ฉันรู้จักที่มาของเขา” อะลีกล่าวว่า “ใครเป็นบิดาของเขา” อบูซุฟยานกล่าวว่า “ฉันเอง” อะลีจึงกล่าวขึ้นว่า “หยุดพูดเถิดอบุซุฟยาน (ที่กำลังจะพูดถึงความสัมพันธ์ของท่านที่มีกับมารดาของเขา)” จากนั้นอบูซุฟยานจึงแต่งกลอนบทหนึ่งดังต่อไปนี้

ถ้าหารฉันไม่กลับใคร(อุมัร)
ฉันนั้นไซร้ ต้องกล่าวว่า
ขอสาบานต่อพระเจ้า
ซ็อคร์ อิบนิ ฮัรบ์ ต้องหักหลัง

และอะลีมีหน้าที่ต้องตัดสิน
เพื่อชี้ขาด พลาดไม่ได้
ด้วยตนเองที่ซิยาด
บรรเลงเพลงวาทะ เขานั้นนะมาจากใคร

นักประวัติศาสตร์ ผู้มีนามดังต่อไปนี้ ได้บันทึกเรื่องราวความเป็นพี่เป็นน้องของซิยาดกับมุอาวิยะฮ์เอาไว้
อิบนิ อะซีร ในเหตุการณ์ต่างๆ ของปี ฮ.ศ. 44
อิบนิ อับดุลบัร ใน อัล อิสตีอาบ ในชีวประวัติของ ซิยาด
ยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 195
มัสอูดี ใน มุรูญุซซะฮับ เล่ม 2 หน้า 54
สุยูฏี ในเหตุการณ์ต่างๆ ของปี ฮ.ศ. 41
อิบนิ กะซีร เล่ม 8 หน้า 2
อบูล ฟิดา หน้า 194
ฏอบารี ในเล่มที่ 4 หน้า 259 และในเหตุการณ์ต่างๆของปี ฮ.ศ. 44 และในเหตุการณ์ต่างๆของปี ที่ 160 เช่นกัน หน้า 409-421
ซอเฮียะฮ์ มุสลิม เล่ม 1 หน้า 57
อุสดุล ฆอบะฮ์ และอัล อิซอบะฮ์ ภายใต้ชีวประวัติของซิยาด โดย อิบนิ อะซากิร เล่ม 5 หน้า 409-421
ยะอ์กูบี เล่ม 4 หน้า 160

นักประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆได้อ้างถึงไว้เช่นกัน แต่เราตัดสินใจตรงนี้ว่าจะตัดเรื่องให้มันสั้นเข้า

สรุป
นักประวัติศาสตร์ทุกคนต่างบันทึกไว้ว่า
ก) ซิยาดถือกำเนิดอยู่ในบ้านของอุบัยด์ จากสุมัยยะฮ์ภรรยาที่ไร้ศีลธรรมจรรยาของเขา ซึ่งตั้งครรภ์จากการสมสู่กับอบูซุฟยาน ในคืนวันที่นางถูกแนะนำให้พบกับเขา โดยชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า อบีมัรยัม ซะลูลี
ข) อบูซุฟยาน ไม่กล้าเปิดเผยเรื่องของ ซิยาด ต่อหน้าอุมัร
ค) มุอาวิยะฮ์ ยอมรับซิยาดว่าเป็นน้องชายของเขา
ง) บรรดามุสลิมได้วิจารณ์มุอาวิยะฮ์ ผู้ซึ่งไม่สนใจกับคำสั่งของศาสดา ดังที่ท่านได้กล่าวว่า “เด็กต้องเป็นของครอบครัวที่สามีและภรรยาอยู่กินด้วยกัน ถึงแม้ภรรยาจะตั้งครรภ์มาจากชายแปลกหน้าคนหนึ่งก็ตาม”
จ) หลังจากที่อาณาจักรอะมาวียะฮ์ล่มสลายแล้ว ในบางครั้งซิยาดถูกเรียกขานด้วยกับชื่อ “บุตรของบิดาของเขา” และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “บุตรของสุมัยยะฮ์(มารดาของเขา)”

ซัยฟ์ ต้องการที่จะปัดความรับผิดชอบให้พ้นไปจากมุอาวิยะฮ์ ผู้ซึ่งได้หยิบยื่นความเป็นพี่น้องให้กับซิยาด และจึงได้อุปโลกน์เรื่องหนึ่ง ซึ่งซิยาดถูกเรียกขานกันในนามบุตรของอบูซุฟยานตั้งแต่สมัยของอุมัร ก่อนที่จะถึงสมัยของมุอาวิยะฮ์อีกเป็นนาน แต่ในสมัยของอุมัรนั้นจริงๆแล้วอุบัยด์ถูกเรียกขานว่าเป็นผู้ปกครองของซิยาด ถึงกระนั้นเราก็ยังทราบอีกว่าในการกล่าวคำปราศรัยของซิยาด ครั้งหนึ่ง เขาสารภาพว่าเขาเป็นบุตรของอุบัยด์ ดังที่ได้บันทึกไว้โดยยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 195

8. เรื่องราวของ มุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์
มุฆีเราะฮ์เป็นชาวมุฮาญิรีน อุมัรแต่งตั้งเขาให้เป็นเจ้าเมืองบัสเราะฮ์ และได้ปลดเขาเมื่อถูกข้อกล่าวหาว่าละเมิดประเวณี เขาเป็นเจ้าเมืองกูฟะฮ์จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ในเรื่องราวต่อไปนี้ ซัยฟ์ตั้งใจที่แสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวหาในเรื่องของการละเมิดประเวณีนั้นไม่มีมูลความจริง ฏอบารีในเล่ม 3 หน้า 170-171 ได้บันทึกมาจากซัยฟ์ว่า เหตุผลที่มุฆีเราะฮ์ถูกกล่าวหาว่าละเมิดประเวณีนั้น เป็นเรื่องของการขัดแย้งกันระหว่างตัวเขากับอบูบักเราะฮ์(9) ผู้เป็นพยานคนหนึ่งที่ปรักปรำเขา อบูบักเราะฮ์กับมุฆีเราะฮ์ อาศัยอยู่ในห้องที่อยู่ตรงกันข้าม

วันหนึ่งลมได้พัดหน้าต่างห้องของอบูบักเราะฮ์เปิดออก เขาจึงเดินไปปิดและในขณะนั้นเขาได้มองผ่านหน้าต่างห้องตรงกันข้าม เห็นมุฆีเราะฮ์อยู่กับหญิงแปลกหน้าคนหนึ่ง อบูบักเราะฮ์มีเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้าน จึงได้เรียกพวกเขาออกมาดูว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นระหว่างมุฆีเราะฮ์กับผู้หญิงคนนั้น อบูบักเราะฮ์บอกกับแขกที่มาเยือนว่า นางคือ อุมมุญะมีลผู้เป็นสาวใช้คนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ราชการ แขกของอบูบักเราะฮ์มองเห็นบางอย่าง แต่ได้คอยจนกระทั่งพวกเขาเห็นผู้หญิงคนนั้นอย่างแจ้งชัด ก่อนที่จะตัดสินใจในสิ่งที่ตนเห็น ซัยฟ์จึงได้อ้างอิงถึงวิธีการในการตัดสินคดีความนี้ของศาลโดยกล่าวว่า มุฆีเราะฮ์ได้ขอร้องให้อุมัรซักค้านพยานทั้งสี่คน ผู้ซึ่งเป็นทาสและกล่าวกับพวกเขาว่า “พวกเจ้ามองเห็นฉันเพราะว่าฉันทำประเจิดประเจ้อ หรือว่าพวกเจ้าแอบมองดูเข้าไปในบ้านของฉันโดยไม่ได้รับอนุญาต ถึงกระนั้นฉันก็กำลังอยู่กับภรรยาของฉันที่ดูคล้ายกับอุมมุญะมีล” พยานสองคนเล่าเรื่องในทำนองเดียงกัน คนที่สามเล่าต่างไปจากคนที่สองและซิยาดผู้เป็นคนที่สี่ได้กล่าวว่า เขาได้เห็นต่างไปจากคนที่สาม พยานทั้งสามคนจึงถูกเฆี่ยน เพราะการเป็นพยานเท็จ

อุมัร (คอลีฟะฮ์) กล่าวกับมุฆีเราะฮ์ว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ถ้าหากเจ้ากระทำผิดแล้ว ฉันก็จะขว้างเจ้าด้วยก้อนหินจนตาย”


๑๑
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

นักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ
เรื่องราวนี้ที่เล่าไว้โดยบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากซัยฟ์นั้นถูกบันทึกไว้ใน ฟุตูฮุล บุลดาน ของ บะลาซุรี หน้า 423 กิตาบูลอะฮ์กาม ของมาวัรดี หน้า 280 ยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 124 ฏอบารี และอิบนิ อะซีร กล่าวถึงเหตุการณ์ของปี ฮ.ศ. 17 ไว้ดังว่า มุฆีเราะฮ์ได้มีเพศสัมพันธุ์กับสตรีคนหนึ่งชื่ออุมมุญะมีล บุตรสาวของอัฟก็อม อิบนิ มิฮ์ญัน อิบนิ อบี อัมร อิบนิ ชุอ์บะฮ์ นางเป็นภรรายาของฮัจญาจ อิบนิ อตีก จากเผ่าซะกีฟ วันหนึ่งอบูบักเราะฮ์ พบกับ มุฆีเราะฮ์บนถนนแห่งหนึ่ง และถามว่าเขาจะไปไหน มุฆีเราะฮ์ตอบว่าเขาจะไปพบกับคนบางคน อบูบักเราะฮ์กล่าวว่า “เจ้าเมืองควรจะอยู่กับบ้านและผู้คนต้องมาหาเขา” อบูบักเราะฮ์ มักจะกล่าวกับมุฆีเราะฮ์อยู่เสมอเมื่อพบเขาออกมานอกบ้านในเวลากลางวัน นักประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ผู้หญิงที่มุฆีเราะฮ์มักไปหาเป็นเพื่อนบ้านของอบูบักเราะฮ์

วันหนึ่ง อบูบักเราะฮ์ พร้อมกับนาฟิอ์และซิยาด พี่น้องสองคนของเขาและชายอีกคนหนึ่งชื่อ ซิบล์ อิบนิ มะอ์บัดได้มาพบปะพูดคุยกัน ทันใดนั้นลมได้พัดหน้าต่างจนเปิดออก และคนเหล่านี้ได้เห็นมุฆีเราะฮ์อยู่ในห้องตรงกันข้ามกับหญิงคนหนึ่ง อบูบักเราะฮ์ได้ขอให้เพื่อนของเขายืนยันสิ่งที่เห็นนี้ อบูบักเราะฮ์จนกระทั่งมุฆีเราะฮ์ออกไปจากบ้านของผู้หญิง และจึงบอกกับเขาว่า “ท่านไม่อาจเป็นเจ้าเมืองของเราได้อีกต่อไปแล้ว เราได้เห็นท่านอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง”(10)

ในตอนเที่ยงวัน อบูบักเราะฮ์ต้องการที่จะห้ามไม่ให้มุฆีเราะฮ์ไปนำนมาซ แต่ผู้คนได้เข้าขัดขวางและบอกให้อบูบักเราะฮ์เขียนจดหมายไปยังอุมัร (คอลีฟะฮ์) เพื่อรายงานถึงเรื่องมุฆีเราะฮ์ พวกเขาจึงเขียนหนังสือไปถึงอุมัร ซึ่งได้สั่งให้พวกเขาเดินทางไปที่มะดีนะฮ์ มุฆีเราะฮ์เตรียมตัวออกเดินทาง และส่งทาสหญิงชาวอาหรับคนหนึ่งไปยังมะดีนะฮ์พร้อมกับนายผู้หญิงของนาง เพื่อเป็นของขวัญมอบให้กับอบูมูซา (ผู้แทนของอุมัร) เมื่อพร้อมกันอยู่ที่ศาล อุมัรสอบถามอบูบักเราะฮ์ว่าเขาได้เห็นมุฆีเราะฮ์กำลังร่วมประเวณีกับผู้หญิงคนนั้นหรือเปล่า และอบูบักเราะฮ์ได้ให้การในรายละเอียด มุฆีเราะฮ์กล่าวว่า “เจ้ากำลังสอดแนมฉันอยู่” อบูบักเราะฮ์กล่าวว่า “ฉันไม่ยอมพลาดโอกาสที่พระเจ้าจะทำให้ท่านได้อับอาย”

อุมัรต้องการรายละเอียดมากกว่านั้นอีก อบูบักเราะฮ์จึงบรรยายถึงสิ่งที่เขาเห็น เมื่อพยานคนที่สองอธิบายเช่นเดียวกับคนแรก อุมัรกล่าวว่า “มุฆีเราะฮ์ ครึ่งหนึ่งของเจ้าหมดไปแล้ว” พยานคนที่สามให้การเหมือนกันกับสองคนแรก ฉะนั้น อุมัร จึงกล่าวว่า “มุฆีเราะฮ์สองส่วนสามของเจ้าหมดไปแล้ว” (มุฆีเราะฮ์ รู้สึกร้อนรนและเที่ยวไปขอความช่วยเหลือจากใครต่อใคร) มุฆีเราะฮ์ไปพบกับชาวมุฮาญิรีน และมารดาแห่งศรัทธาชน (บรรดาภรรยาของท่านศาสดา) และวิงวอนให้พวกเขาได้ช่วยเหลือเขา ทุกคนต่างมีความสงสารในตัวเขา อุมัรได้สั่งให้พยานทั้งสามคนแยกกันอยู่ จนกระทั่งซิยาดพยานคนที่สี่เดินทางมาถึงจากบัสเราะฮ์

บรรดาผู้นำของชาวมุฮาญิรีนและบรรดาสาวกของท่านศาสดาได้มารวมตัวกันอยู่ในมัสยิดทันทีที่ซิยาดมาถึง มุฆีเราะฮ์ได้เตรียมตัวเพื่อการต่อสู้คดี เมื่ออุมัรเห็นซิยาดกำลังเดินมา เขาจึงกล่าวขึ้นว่า “ฉันได้เห็นคนที่เขาจะไม่ปล่อยให้สมาชิกของชาวมุฮาญิรีนคนหนึ่งต้องพบกับความผิดหวัง ดังที่พระเจ้าได้ทรงบัญชาไว้” เขาพูดเช่นเดียวกันว่า “ฉันได้เห็นเด็กคนหนึ่งที่เขาจะให้การเป็นพยานเฉพาะที่เป็นความจริงเท่านั้น” ดังที่ปรากฏอยู่ในมุนตะค็อบ เล่ม 2 หน้า 413 และที่ปรากฏอยู่ใน อบุลฟิดา เล่ม 1 หน้า 171 อุมัรกล่าวกับซิยาดว่า “ฉันได้เห็นชายคนหนึ่ง ผู้ซึ่งฉันหวังว่า เขาคงจะไม่ทำให้สาวกคนใดของท่านศาสดาต้องได้รับความอับอาย”

ในหนังสือ อัล อะฆอนี ได้มีบันทึกไว้ว่า อุศมาน อัลนะฮ์ดี กล่าวว่า สีหน้าของอุมัรเปลี่ยนไปหลังจากที่พยานคนแรกให้การ และยิ่งบึ้งตึงมากขึ้นไปอีกเมื่อพยานคนที่สองให้การ และใบหน้าของเขาเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อมาถึงคนที่สาม และเมื่ออุมัรเห็นซิยาดสวมชุดสีขาวเดินมา เขาจึงตะโกนเข้าใส่ซิยาดด้วยคำพูดที่ว่า “เจ้ารู้อะไร โอ้เจ้ารังนกอินทรีย์” อบู อุศมาน ตะโกนเสียงลั่นเพื่อเลียนแบบอุมัร ทั้งนี้เพราะผู้เล่าคนนั้นตกใจอย่างสุดขีด มุฆีเราะฮ์กล่าวว่า “โอ้ ซิยาด จงรำลึกนึกถึงอัลลอฮ์ และวันตัดสินพิพากษา ศาสนทูตของพระองค์ คัมภีร์ของพระองค์ และอมีรุลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮ์อุมัร) ได้ช่วยชีวิตฉันไว้ จงอย่าได้ทำให้เสียหาย ในการให้การในสิ่งที่เจ้าไม่ได้เห็น”

ซิยาดกล่าวว่า “ฉันไม่ได้เห็นสิ่งที่พวกเขาได้ให้การ โอ้ อมีรุลมุอ์มินีน แต่ฉันได้เห็นภาพที่น่าละอายอย่างหนึ่ง และฉันได้เห็นมุฆีเราะฮ์กำลังเหนื่อยหอบหลังจากที่ได้สมสู่กับผู้หญิงคนนั้นแล้ว” ซิยาดปฏิเสธว่าเขาไม่ได้เห็นดังที่พยานสามคนนั้นเห็น อุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า “พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ มุฆีเราะฮ์จงยืนขึ้นและจัดการโบยตีพวกเขาเถิด” มุฆีเราะฮ์ โบยตีอบูบักเราะฮ์และพยานอีกสองคนคนละแปดสิบที

ฮากิมได้กล่าวไว้ในหนังสือ มุสตัดรอก และซะฮะบี กล่าวไว้ในเล่ม 3 หน้า 448 ว่า “อุมัรกล่าวว่า พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ และเขารู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก จึงได้โบยตีพยานทั้งสามคนนั้น แต่ไม่ได้โบยตีซิยาด” ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ ฟุตูฮุล บุลดาน ดังว่า ซิบล์ พยานคนที่สาม กล่าวว่า “พยานที่ซื่อสัตย์ต้องถูกโบยตีโดยไม่ได้เป็นไปตามพระบัญชาของพระเจ้า” หลังจากที่อบูบักเราะฮ์ถูกโบยตีแล้วเขากล่าวยืนยันอีกว่า “ฉันขอสาบานว่ามุฆีเราะฮ์ได้ล่วงละเมิดประเวณี” อุมัรได้สั่งให้จัดการโบยตีเขาอีก เพราะเขาให้การเป็นพยานเท็จ อะลี คัดค้านพร้อมกล่าวกับอุมัรว่า “ถ้าหากท่านโบยตีเขา ฉันจะจัดการขว้างสหายของท่าน (มุฆีเราะฮ์) ด้วยก้อนหินจนตาย” อะลีหมายความว่า หากการให้การของอบูบักเราะฮ์ในครั้งที่สองเป็นที่ยอมรับแล้ว ดังนั้นการให้การจำนวนสี่ครั้งย่อมเป็นการพิสูจน์ถึงความผิดของมุฆีเราะฮ์ ดังนั้นเขาก็จะต้องถูกขว้างด้วยหินจนตาย

อุมัรขอให้อบูบักเราะฮ์สารภาพผิดเสีย อบูบักเราะฮ์จึงถามว่า อุมัรต้องการจะรับเอาความรับผิดชอบของการให้การเท็จไปจากตัวเขา เพื่อทำให้เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ สำหรับการให้การในครั้งต่อไปของเขากระนั้นหรือ อุมัรกล่าวยืนยันเช่นกัน อบูบักเราะฮ์จึงกล่าวว่า เขาไม่ต้องการให้การเป็นพยานใดๆอีกแล้ว เมื่อการลงโทษเสร็จสิ้นลง มุฆีเราะฮ์จึงกล่าวกับบรรดาพยานเหล่านั้นว่า “ขอสรรเสริญพระเจ้าที่ทำให้พวกเจ้าต้องอับอาย” อุมัรกล่าวกับมุฆีเราะฮ์ว่า “จงเงียบเสียเถิด ขอพระเจ้าทรงทำให้สถานที่ๆพวกเขาเห็นเจ้าสกปรกโสมมเถิด”

อบูบักเราะฮ์ละออกไปจากสถานที่พร้อมกับกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้าฉันไม่อาจลืมภาพที่เห็นได้” พยานอีกสองคนได้สารภาพผิด ดังนั้นเขาทั้งสองจึงเป็นพยานต่อไปได้อีก อบูบักเราะฮ์ถูกขอร้องเพื่อให้การเป็นพยานในเรื่องอื่นๆอีก เขาจึงกล่าวตอบไปว่า “จงไปขอร้องคนอื่นเถิด อบูมุฆีเราะฮ์ได้ทำลายชื่อเสียงของฉันจนหมดสิ้นแล้ว” มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อัล อะฆอนี และคำอรรถาธิบายหนังสือ อัล นะฮ์ญุ ดังว่าร็อกฏออ์ผู้หญิงที่เป็นคู่กรณีของมุฆีเราะฮ์ ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่ บัสเราะฮ์นั้น มักมาหาเขาที่กูฟะฮ์เช่นกัน อุมัรเห็นร็อกฏออ์อยู่ครั้งหนึ่งในระหว่างการไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะฮ์ มุฆีเราะฮ์ก็อยู่ที่นั้นด้วยเช่นกัน

อุมัรถามมุฆีเราะฮ์ว่าเขารู้จักผู้หญิงคนนั้นไหม มุฆีเราะฮ์กล่าวตอบว่านางคือ อุมมุกัลโซม (ภรรยาของอุมัร) อุมัรจึงกล่าวกับมุฆีเราะฮ์ว่า “ความวิบัติจงมีแด่เจ้า เจ้ากำลังหลอกฉัน ขอสาบานต่อพระเจ้าฉันเชื่อแน่ว่า อบูบักเราะฮ์เป็นฝ่ายถูก เมื่อฉันได้เห็นเจ้า ฉันกลัวเหลือเกินว่าก้อนหินมันจะหล่นมาใส่ฉันจากฟากฟ้า” ฮัซซาน อิบนิ ซาบิต ได้แต่งกลอนไว้บทหนึ่ง ดังมีความว่า

เมื่อเอ่ยถึงความใจแคบ
ฉันแทบจะเชื่อได้เลย
เผ่าซะกีฟ นั้นไซร้
ใจช่างแคบเหลือประมาณ

ชายตาพิการคนนั้น
หันไปจากอิสลาม
จึงล้มคว้ำคะมำลง
เช้าวันหนึ่ง ไหล่ผึ่งอยู่บนร่าง

ของนางที่คลุมผม
เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้ใหญ่วัยเต็มตัว
ยิ้มเล่นหัวเหล่านาง
ทาสดาษกระสัน

บะลาซูรี ในหนังสือ ฟุตูฮุล บุลดาน หน้า 343 ได้บันทึกไว้ว่า เมื่ออุมัรต้องการที่จะแต่งตั้งมุฆีเราะฮ์ ให้เป็นเจ้าเมืองกูฟะฮ์ เขาได้ถามมุฆีเราะฮ์ว่า เขาจะกระทำให้เรื่องที่เขาเคยถูกฟ้องร้องอีกหรือไม่ มุฆีเราะฮ์ตอบว่า “ไม่” ฮะมาวี ในเล่ม 1 หน้า 642 มุสตัดรอก เล่ม 3 หน้า 449 วะฟะยาต เล่ม 2 หน้า 455 และ เล่ม 5 หน้า 406 และอิบนิ กะซีร เล่ม 7 หน้า 281 ได้กล่าวถึงการล่วงละเมิดประเวณีของมุฆีเราะฮ์

แหล่งที่มาในเรื่องราวของ ซัยฟ์
ซัยฟ์ บันทึกมาจากมุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ มุฮัลลับและอัมร เราได้วิจารณ์ถึงความไม่มีอยู่จริงของชายสามคนแรกนี้ไปแล้ว ในเรื่องที่ผ่านมา ซัยฟ์ได้เล่าเรื่องจำนวนหกเรื่องไปจาก อัมร อิบนิ ซิยาด หรือ อัมร อิบนิ รอยยาน ผู้ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายที่ซัยฟ์ได้สร้างขึ้น ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ มีซานุล เอี๊ยะติดาล

สรุป
ซัยฟ์ ต้องการที่จะปลดเปลื้องมุฆีเราะฮ์ให้พ้นไปจากการถูกกล่าวหาในเรื่องการละเมิดประเวณี เพราะเขาเป็นเจ้าเมืองที่ถูกแต่งตั้งไปจากคอลีฟะฮ์ เขาจึงจัดการตบแต่งเนื้อหาจากเหตุการณ์ของการละเมิดประเวณีที่เป็นจริง ซึ่งถูกบันทึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์จำนวนมากมายหลายท่านเขากล่าวว่าอบูบักเราะฮ์อาศัยอยู่ในห้องตรงกันข้ามกับห้องของมุฆีเราะฮ์และเขาได้เห็นผ่านทางหน้าต่างที่ว่าอุมมุญะมีล กำลังอยู่ใต้ร่างของมุฆีเราะฮ์ เขาจึงขอให้แขกที่อยู่ในห้องของเขาออกมาดูพื่อเป็นพยาน พวกเขาตัดสินใจที่จะกล่าวหามุฆีเราะฮ์ แต่มุฆีเราะฮ์และอุมัร ได้สอบสวนพยานแต่ละปาก และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พยานหลักฐานของพวกเขามีความแตกต่างกัน

ซัยฟ์กล่าวเช่นกันว่า อุมัรกล่าวกับมุฆีเราะฮ์ว่า “ถ้าความผิดของเจ้าถูกพิสูจน์ได้แล้วละก็ ฉันก็จะขว้างเจ้าจนตาย” นักประวัติศาสตร์ที่นอกเหนือไปจากซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องราวไปแล้ว เพื่อเป็นการตบแต่งเรื่องราวเข้าข้างมุฆีเราะฮ์ผู้เป็นเจ้าเมือง จึงทำให้ซัยฟ์ต้องสร้างผู้เล่าเรื่องขึ้นมาและฏอบารีได้บันทึกมาจากซัยฟ์อีกทอดหนึ่ง

9. การจองจำของ อบูมิฮ์ญัน
อบูมิฮ์ญัน บุตรของฮะบีบ อิบนิ อัมร อิบนิ อุมัยร์ เป็นคนของเผ่าซะกีฟ เขาเป็นกวีและเป็นคนกล้าหาญ เขาเข้ารับอิสลามเมื่อเผ่าของเขาเข้ารับอิสลาม เขาเป็นคนขี้เมาและอุมัรได้โบยตีเขาเจ็ดหรือเก้าครั้งด้วยกัน โทษฐานเมาสุรา ตามที่ปรากฏอยู่ใน อัล อะฆอนี เล่ม 21 หน้า 142 มีคนสองสามครถูกจับกุมเพราะเมาสุรา อุมัรกล่าวกับพวกเขาว่า “พวกเจ้าดื่มเหล้า และเจ้าก็รู้ดีว่าพระเจ้าและศาสนทูตของพระองค์ได้กำหนดไว้เป็นสิ่งต้องห้าม” พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าไม่ได้ห้ามการดื่มสุราและได้มีปรากฏอยู่ในอัล กุรอานว่า บรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติการดี ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานกินหรือดื่มสิ่งใดได้

อุมัรได้สอบถามความคิดเห็นของบรรดาสหายของเขา พวกเขาไม่อาจหาข้อสรุปในคำวินิจฉัยใดๆได้ เขาได้ส่งบางคนไปพบกับอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ เพื่อสอบถามถึงความเห็นของเขา อะลีกล่าวตอบว่า หากจำเลยอรรถาธิบาย อัล กุรอานไปในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้นไม่ว่าเลือดซากสัตว์ หรือเนื้อสุกรก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพวกเขา อุมัรถามอะลีว่า เขาควรจะจัดการอย่างไรกับจำเลยเหล่านี้ดี ? อะลีกล่าวว่า หากพวกเขากล่าวว่า สุราไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว พวกเขาก็จะต้องถูกประหารชีวิต แต่ถ้าหากพวกเขากล่าวว่าสุราเป็นที่ต้องห้าม แต่พวกเขาก็ยังคงดื่มมัน พวกเขาจะต้องถูกโบยตี บรรดาจำเลยเห็นด้วยว่าสุราเป็นของต้องห้าม ดังนั้นพวกเขาจึงถูกโบยตี

เมื่ออบูมิฮ์ญันถูกโบยตี เขาได้แต่งกลอนขึ้นบทหนึ่งดังต่อไปนี้:

ในโลกนี้ มนุษย์ไม่ อาจต่อสู้
เฝ้าร้องกู่ เหนือน้ำนม ไร้ประโยชน์
เสียน้องชาย ฉันทนได้ ไม่ร้องโอด
แต่ช่างโหด อย่างฉกาจ หากขาดเหล้า

แต่เมื่อเริ่ม รินสุรา มาใส่ปาก
เสียงสั่งจาก หัวหน้า ศรัทธาเจ้า
บั่นหัวใจ ฉันช้ำชอก ระทมเศร้า
รีบรุดเข้า ในห้อง มองเมรัย

เมื่ออบูมิฮ์ญันกล่าวว่า เขาไม่อาจทนที่จะงดดื่มสุราได้แม้แต่เพียงวันเดียว อุมัรกล่าวว่า “เจ้าได้เปิดเผยธาตุแท้ของเจ้าออกมา ฉันจะลงโทษให้มากไปกว่านี้อีก เพราะเจ้าอยากจะดื่มสุราเสียเหลือเกิน” อะลี กล่าวว่าผู้หนึ่งจะต้องไม่ถูกลงโทษในความผิดที่เขาไม่ได้กระทำ และได้อ่านโองการนี้จากอัล กุรอาน “พวกเขา (ชาวกวี) ยอมรับในบางสิ่งที่พวกเขาไม่ได้กระทำ” อุมัรจึงอ่านที่เหลือของโองการนั้น “ยกเว้นบรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติการดี” อะลี จึงกล่าวกับอุมัรว่า “ท่านคิดว่า พวกเขายังเป็นผู้ศรัทธาอยู่อีกหรือ ทั้งนี้เพราะศาสนทูตแห่งพระเจ้าได้เคยกล่าวไว้ว่า ขณะที่ผู้หนึ่งกำลังดื่มสุราเขาย่อมไม่ใช่มุสลิม”

ตามที่ปรากฏในหนังสือ อัล อัซอบะฮ์ กล่าวว่า ครั้งหนึ่งอุมัรคิดว่า อบูมิฮ์ญัน เมาสุรา และต้องการที่จะตรวจสอบกลิ่นเหล้าจากการหายใจของเขา อบูมิฮ์ญันจึงกล่วว่า “การสอดแนมเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต” อุมัรจึงปล่อยเขาไป ในหนังสือฏอบารี เล่ม 4 หน้า 152 กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปี ฮ.ศ. 14 โดยกล่าวว่า อุมัรได้ลงโทษสหายบางคน ของเขา บุตรชายของเขาและอบูมิฮ์ญัน เพราะพวกเขาดื่มสุรา ในหนังสือของอิบนิ กะซีร เล่ม 7 หน้า 48 กล่าวไว้ว่า “อบูมิฮ์ญัน ษะกอฟี ถูกโบยตีเจ็ดครั้งฐานดื่มสุรา” มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อักด์ อัลฟะรีด ว่าในหมู่ชนชั้นผู้นำที่ถูกลงโทษ ฐานดื่มสุรา คือ อบูมิฮ์ญัน ซึ่งเป็นคนติดเหล้างอมแงม

ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ อัล อิซอบะฮ์ และ อัล อะฆอนี อบูมิฮ์ญันรักผู้หญิงอยู่คนหนึ่งมีชื่อว่า ชะมูส เขาพยายามที่จะเข้าหานางแต่ไม่สำเร็จ เพื่อนบ้านของผู้หญิงคนนี้มีช่างก่อสร้างอยู่คนหนึ่งเพื่อซ่อมแซมบ้าน อบูมิฮ์ญันจึงสมัครเป็นคนงานของช่างก่อสร้างผู้นี้ ทำงานอยู่ในบ้านของเขา จึงทำให้อบูมิฮ์ญันสามารถมองเห็นผู้หญิงคนนี้ได้จากยอดของกำแพง จากนั้นเขาได้แต่งบทกลอนขึ้นบทหนึ่งดังนี้

ฉันแอบมองดู ชะมูส
สวยสุดพรรณนา
แม้ว่าพระเจ้า จะห้าม
ก็ตามที ดุจดังชาวไร่
ไปยังเมืองหลวง ในยามพักผ่อน
หลังขายพืชไร่ จิตใจเบิกบาน

สามีของชะมูสร้องเรียนต่ออุมัร อุมัรจึงเนรเทศอบูมิฮ์ญันไปอยุ่ที่ฮะดูดี(11) โดยการดูแลของญะฮ์รออ์ อันนัซรี และชายอีกคนหนึ่ง อุมัรบอกกับยามว่าอย่าได้อนุญาตให้อบูมิฮ์ญันพกดาบไปด้วย อบูมิฮ์ญันจึงซ่อนดาบไว้ในถุงแป้งของเขา และเมื่อไปถึงชายฝั่งก่อนที่จะลงเรือโดยสาร เขาไปหาซื้อแกะมาตัวหนึ่ง และจัดการทำอาหารเลี้ยงบรรดาทหารยามเหล่านี้ ก่อนที่จะเลี้ยงอาหาร อบูมิฮ์ญันทำทีว่าจะไปเอาแป้งมาทำขนมปัง เมื่อได้โอกาสเขากระชากดาบออกมาจากถุง เมื่อญะฮ์รออ์เห็นเข้าจึงวิ่งหนีไปที่อูฐของเขา ขึ้นขี่มันและรีบตะบึงไปรายงานให้อุมัรทราบถึงเรื่องดังกล่าว

ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ อัล อิซอบะฮ์ และ อิสตีอาบ หลังจากที่ อบูมิฮ์ญันถูกเนรเทศแล้ว เขาเดินทางไปยังชายแดนเปอร์เซียและถูกสะอัด อิบนิ อบีวักกอสจองจำ มุฮัมมัดบุตรของสะอัด เล่าว่าในสงครามกอดิซียะฮ์ บิดาของเขาล่ามโซ่อบูมิฮ์ญันไว้เพราะเขาเมาสุรา ในวันนั้นสะอัดไม่สบาย และคอลิด อิบนิ อุรฟุเฏาะฮ์ ทำหน้าที่บัญชาการกองทัพ ส่วนสะอัดยืนอยู่บนเนินเขาเพื่อเฝ้าดูการสู้รบ อบูมิฮ์ญัรขณะถูกตีตรวนอยู่ได้แต่งกลอนบทหนึ่ง

ช่างเศร้าเฝ้าเสียใจ
ไพล่ถูกล่ามโซ่
เห็นชายตัวโตๆ โห่ร้องทำศึก
แทงหอกฉึกๆ แทงแล้วแทงอีก

ดังนั้น เขาจึงขอร้องผู้เป็นภรรยาของสะอัดให้ปล่อยเขาเป็นอิสระและสัญญาว่า หากเขารอดชีวิตมาได้ เขาจะกลัวมาและยอมให้ล่ามโซ่อีก และถ้าหากเขาตายจะได้จบสิ้นกันไป ซัลมานจึงถอดโซ่ตรวนจากเท้าและมือให้อบูมิฮ์ญัน เขาจึงกระโดดขึ้นหลังม้าของสะอัดที่ชื่อบัลกออ์ พร้อมกับหอกที่กำแน่นอยู่ในมือของเขา เขาพุ่งทยานเข้าโจมตีศัตรู ข้าศึกต่างพากันคิดว่าเขาเป็นเทวดา สะอัดเห็นการสู้รบของทหารม้าคนหนึ่งพลางกล่าวว่า “การควบเหมือนกับการควบม้าของฉัน (บัลกออ์) และการโจมตีด้วยหอกเหมือนกับการโจมตีของอบูมอฮ์ญัน แต่อบูมิฮ์ญันถูกจองจำอยู่” เมื่อศัตรูพ่ายแพ้อบูมิฮ์ญันกลับมาตามสัญญา พวกเขาจึงล่ามโซ่มือและเท้าของเขาไว้อีก

ภรรยาของสะอัดได้เล่าเรื่องดังกล่าวของอบูมิฮ์ญันให้สะอัดฟัง จากนั้นสะอัดจึงกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะไม่ลงโทษคนที่ดื่มสุราในขณะที่เขานำชัยชนะกลับมาให้มุสลิม” เขาจึงสั่งให้ปล่อยอบูมิฮ์ญันเป็นอิสระ อบูมิฮ์ญัน กล่าวว่า “ฉันได้รับการลงโทษเพื่อเป็นการลบล้างความผิดไปแล้ว มาบัดนี้ท่านไม่ได้ลงโทษฉันอีกแล้ว ฉันก็จะไม่ดื่มสุราอีกต่อไป”

การเล่าเรื่องของซัยฟ์
ฏอบารี เล่ม 3 หน้า 43 กล่าวว่า สะอัดจองจำพวกคนที่ชอบดื่มสุรา และสร้างความวุ่นวาย สะอัดกล่าวดูถูกพวกเขาด้วยกับคำพูดที่ว่า “ถ้าหากพวกเราไม่ได้อยู่ในสนามรบแล้ว ฉันจะสังสองบทเรียนให้กับพวกเจ้า เพื่อว่าผู้อื่นจะได้บทเรียน” อบูมิฮ์ญัน เป็นคนหนึ่งของพวกนั้น ที่มือและเท้าของพวกเขาถูกล่ามโซ่ ฏอบารี ในเล่ม 3 หน้า 55-57 กล่าวว่าหลังจากภรรยาของสะอัดปล่อยอบูมิฮ์ญันให้เป็นอิสระ เขาก็ออกไปสู้รบกับข้าศึกและกลับมายังเรือนจำอีก และพวกเขาได้ล่ามโซ่อบูมิฮ์ญันไว้ ภรรยาของสะอัดถามเขาว่าทำไมจึงถูกจองจำ ? เขากล่าวตอบว่า “ฉันเคยดื่มสุรามาตั้งแต่ยังไม่ได้เข้ารับอิสลาม มาบัดนี้ฉันได้แต่งบทกลอนชื่นชมยินดีกับการดื่มสุรา สะอัดไม่ชอบเขาจึงจับฉันมาขังไว้”

ซัลมานบอกกับสะอัดสามีของนางในสิ่งที่อบูมิฮ์ญันได้พูด ดังนั้นสะอัดจึงปล่อยเขาออกจากคุกและกล่าวกับเขาว่า “ฉันจะไม่ลงโทษเจ้า เพียงเพราะเจ้าพูดถึงเรื่องการก่ออาชญากรรม” อบูมิฮ์ญันสาบานว่า เขาจะไม่พูดถึงเรื่องที่ไม่ดีอีกต่อไป

อบุลฟะรอจ ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ในหนังสือของเขา ชื่อ อัล อะฆอนี เล่ม 2 เล่าโดยซัยฟ์จากฏอบารี
อิบนิ ฮะญัร ในหนังสือ อัลอิซอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 175 กล่าวว่า อิบนิฟัตฮูนได้วิจารณ์ อบู อัมร ผู้ซึ่งได้เขียนไว้ใน อิสตีอาบ (ดังที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว) ดังว่า อบูมิฮ์ญันเมาสุราเป็นอาจิณ นับเป็นการเพียงพอที่จะพูดว่า เขาถูกลงโทษเพราะการดื่มสุรา นับเป็นการดีกว่าที่จะกล่าวดังที่ซัยฟ์ได้บันทึกไว้ จากนั้นอิบนิ ฮาญัรจึงกล่าวต่อไปว่า “ของซัยฟ์นั้นอ่อนหลักฐาน (ไม่น่าเชื่อถือ) แต่สิ่งที่เราเขียนไว้นั้นแข็งแรงกว่า และเป็นที่รู้จักกันดี” อิบนิ ฟัตฮูนปฏิเสธว่า สะอัดไม่ได้ละเลยที่จะลงโทษพวกเมาสุราคนใด และเขาได้เปลี่ยนในสิ่งที่สะอัดพูดไว้ว่า “ฉันจะไม่ลงโทษอบูมิฮ์ญัน เพราะการดื่มสุรา” เป็น “อบูมิฮ์ญัน จะไม่ดื่มสุราอีกเพื่อให้ถูกลงโทษ” มัศอูดีในเล่ม 2 หน้า 422-424 มุรูญุซ อัล ซะฮับ ได้อ้างถึงในสิ่งที่ซัยฟ์ได้เล่า โดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อของซัยฟ์ แต่เรารู้ว่า มัศอูดีได้บันทึกมาจากฏอบารี เพราะเขาได้ยกย่องฏอบารีได้อย่างสูงในคำนำหนังสือของเขา

ต้นกำเนิดของเรื่องราวของซัยฟ์
ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องราวมาจากมุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ ซิยาดและอิบนิ มิครอก สองคนแรกเป็นตัวละครที่แต่งขึ้น ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วในเรื่องที่ผ่านมา ซัยฟ์ ได้เล่าไว้เป็นจำนวน 53 ครั้ง ตามที่ปรากฏอยู่ในฏอบารี ซึ่งรับฟังมาจากซิยาด ผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของนักชีวประวัติ ดังเช่นคนชื่อ อิบนิ มิครอก

สรุป
ซัยฟ์ต้องการที่จะปลดเปลื้องสหายและเจ้าเมืองของคอลีฟะฮ์ จากการเพิกเฉยไม่ได้จัดการลงโทษในทางศาสนากับผู้ที่ดื่มสุราเป็นอาจิณ จากนั้นเขาจึงสร้างคำสนทนาขึ้น ระหว่างอบูมิฮ์ญันผู้เป็นขี้เหล้าเมายากับภรรยาของสะอัดผู้ซึ่งได้ปล่อยเขาออกมาจากคุก ซัยฟ์กล่าวว่าภรรยาของสะอัดได้ถามอบูมิฮ์ญันว่าทำไมสะอัดจึงจับเขาขังคุก อบูมิฮ์ญันตอบว่า เพราะเขาพูดไร้สาระแต่ไม่ใช่เพราะเขาดื่มสุรา ถึงกระนั้นมุฮัมมัดบุตรของสะอัดได้บันทึกไว้ว่า อบูมิฮ์ญันบอกกับมารดาของเขาว่า หากนางปล่อยเขาไป และเมื่อเขาถูกสังหารในสนามรบ พวกเขาก็จะได้กำจัดเขาให้หมดสิ้นไป เท่าที่ปราฏกภรรยาของสะอัดผู้เป็นแม่ทัพรู้ถึงประวัติในอดีตของอบูมิฮ์ญันและเป็นที่แน่นอนว่าการที่สามีของนางลงโทษอบูมิฮ์ญัน ก็เพราะเป็นคนขี้เมา

แต่ซัยฟ์กลับกล่าวว่าสะอัดปล่อยอบูมิฮ์ญันไปโดยการกล่าวว่าเขาจะไม่ลงโทษชายคนนี้เพราะเขาเพียงแต่พูดถึงเรื่องสุรา แต่เขายังไม่ได้ดื่ม จากนั้นอบูมิฮ์ญันจึงกล่าวว่า “ฉันจะไม่พูดเรื่องไร้สาระอีกแล้ว” อิบนิ ฟัตฮูน มีความชอบพอกับ คอลีฟะฮ์จึงชอบเรื่องของอบูมิฮ์ญันที่เล่าโดยซัยฟ์ มัศอูดี ผู้เป็นนักประวัติศาสตร์ที่ทรงความรู้เป็นที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ตาม ฏอบารีได้บึนทึกในสิ่งที่ซัยฟ์ได้เล่าไว้ “มนุษย์อาจทำผิดพลาดได้” แต่กระนั้น ซัยฟ์และบรรดาผู้ที่บันทึกมาจากเขาไม่อาจปิดบังสัจธรรมความจริงได้

10. วันต่างๆของซัยฟ์
ชาวอาหรับเรียกชื่อวันต่างๆไปตามเหตุการณ์ ดังเช่น วันแห่งอูฐ วันแห่งซิฟฟิน วันแห่งฮุดัยบียะฮ์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพียงวันเดียว หรือมากกว่าหนึ่งวัน ตามจำนวนวันนั้นๆ ที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นวันแห่งอูฐจึงหมายถึงเหตุการณ์ของสงครามอูฐ ซัยฟ์ได้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมา ซึ่งเขาได้บันทึกไว้ว่าเป็น “วันนั้นวันนี้” เช่น “วันแห่งวัว” วันแห่งอัรมาษ วันแห่งญะรอษีม

ก) วันแห่งวัว
ฏอบารี ในเล่ม 3 หน้า 12-14 ได้บันทึกมาจากซัยฟ์ว่า เมื่อสะอัดสู้รบกับชาวเปอร์เซีย กองทัพเดินทางไปถึงสถานที่หนึ่งมีชื่อว่า อุไซบุล ฮิญานาต ใกล้กับแม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) เขาส่งอาซิม อิบนิ อัมร เพื่อออกไปหาซื้อแกะหรือวัวที่เมืองมัยซานตั้งอยู่ใกล้ๆกับแม่น้ำ อาซิมไม่พบฝูงปศุสัตว์ ณ ที่ใดเลย เพราะผู้คนได้นำพวกมันไปหลบซ่อนไว้ แต่เขาได้พบชายคนหนึ่งที่ชายป่า และได้ถามเขาถึงเรื่องแกะและวัว ชายคนนั้นสาบานว่า เขาไม่รู้ว่าจะไปเอาจากที่ไหนมาให้ได้ ถึงแม้เขาจะเป็นคนเลี้ยงแกะก็ตาม ทันใดนั้นวัวตัวหนึ่งได้ส่งเสียงร้องขึ้นว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า เขาเป็นคนโกหก เราอยู่ที่นี่” ดังนั้น อาซิมจึงบุกเข้าไปในป่าและได้เห็นฝูงวัว จึงนำมันกลับมายังค่ายทหาร สะอัดจัดเตรียมอาหารเพื่อเลี้ยงกองทัพ ต่อมาฮัจญาจได้ยินเรื่องนี้เข้า จึงสั่งบางคนที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ ณ เวลาและสถานที่นั้นให้มาพบ

นะซีร อิบนิ อับดุชชัมส์ และซาฮิร กล่าวกับฮัจญาจว่า พวกเขาได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ด้วย ในตอนแรกฮัจญาจไม่ยอมเชื่อพวกเขา พวกเขากล่าวว่า พวกเขาก็ไม่อยากเชื่อเช่นเดียวกัน หากพวกเขาไม่เห็นมันด้วยกับตา ดังนั้นฮัจญาจจึงยอมเชื่อว่า พวกเขาพูดความจริงและได้ถามว่า ผู้คนพูดกันว่าอย่างไร ? พวกเขากล่าวว่า ผู้คนถือกันว่ามันเป็นสัญญาณหนึ่งของพระเจ้า ซึ่งหมายถึงความพึงพอพระทัยของพระเจ้า และชัยชนะเหนือศัตรู ฮัจญาจจึงกล่าวขึ้นว่า “เหตุการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นกับบุคคลผู้ทรงธรรมเท่านั้น” ซัยฟ์จึงกล่าวว่า “นี่คือวันแห่งวัว” มีนักประวัติศาสตร์เพียงท่านเดียวที่นอกเหนือไปจากซัยฟ์ ได้กล่าวอ้างอิงถึงโอกาสนี้ ก็คือบะลาซุรีซึ่งเขียนไว้ใน ฟุตูฮุล บุลดาน หน้า 314 ดังว่า เมื่อกองทัพของสะอัดต้องการเครื่องปัจจัยในด้านอาหาร เขาจึงส่งกองทหารกองหนึ่งไปยังแม่น้ำ เพื่อปล้นสะดมส่วนกำลังบำรุงอื่นๆมาจากคอลีฟะฮ์อุมัร ซึ่งส่งแกะและวัวมาให้จากนครมะดีนะฮ์

แหล่งกำเนิดของเรื่องราวของ ซัยฟ์
ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องราวมาจาก อับดุลลอฮ์ อิบนิ มุสลิม อัลอุกลี และ จาก กัรบ์ อิบนิ อบี กัรบ์ อัลอุกลี ซึ่งชื่อของพวกเขาไม่ปรากฏอยู่ในหนังสือชีวประวัติเล่มใด

สรุป
ซัยฟ์ สร้างเรื่องวัวนี้ขึ้นมา ด้วยการยืนยันจากการสอบสวนของฮัจญาจ และได้ประดิษฐ์ชื่อ โดยเรียกมันว่า วันแห่งวัว ซัยฟ์ไม่ยอมสูญเสียโอกาสที่จะประดิษฐ์ “วันต่างๆ” ที่มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์จริงๆขึ้นมา

ข) วันแห่ง อัรมาษ อัฆวาษ และ อิมาส
ได้มีการสู้รบกันอย่างหนักที่กอดิซียะฮ์ ระหว่างมุสลิมกับชาวเปอร์เซียเป็นเวลาสามวัน ซัยฟ์เรียกวันแรกว่าวันแห่งอัรมาษ เรียกวันที่สองว่าอัฆวาษ และวันที่สามว่า อิมาส เขาได้ประดิษฐ์วีรบุรุษของเผ่า ตะมีมของเขาขึ้นมาเอง เช่นพี่น้องสองคน ชื่อเกาะกออ์กับอาซิม ฏอบารีได้บันทึกเรื่องราวของซัยฟ์ไว้ และอิบนิ อะซีร และอิบนิ กะซีร ผู้เป็นนักประวัติศาสตร์ได้อ้างอิงมาจากฏอบารี ฮะมาวี ได้อ้างอิงมาจากหนังสือของฏอบารีเช่นกัน เพื่ออธิบายคำว่า อัรมาษ อัฆวาษ และอิมาส นักกวีเช่น อิบนิ อับดูน ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาและ “อิบนิ บัดรอน” ในคำอรรถาธิบายบทกวีเหล่านี้ และกัลป์กอ ชันดี ในหนังสือของเขาชื่อ วันแห่งอิสลาม ก็ได้ใช้เรื่องอุปโลกน์ของซัยฟ์ที่ได้แต่งเรื่องวันทั้งสามนี้ขึ้นมา ในหนังสือของฉันชื่อ “หนึ่งร้อยห้าสิบ ซอฮาบะฮ์ผู้ถูกอุปโลกน์” (สาวกของท่านศาสดา) ฉันได้ให้รายละเอียดของวันทั้งสามนี้ไว้ภายใต้หัวเรื่องของ อาซิมและเกาะกออ์

ที่มาของเรื่องราวของ ซัยฟ์
ซัยฟ์ได้บันทึกวันเหล่านี้ไว้จากการเล่าของมุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ ซิยาด อิบนิ มิครอก ซึ่งเล่ามาจากชายคนหนึ่งของเผ่าตัยและกูสน์ ซึ่งรับฟังการเล่า มาจากชายคนหนึ่งของเผ่ากะนานะ เราได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า มุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ มิฮ์รอค และซิยาด เป็นผู้เล่าเรื่องนิยายของซัยฟ์ ซัยฟ์ได้บันทึกเรื่องเล่าจำนวนสิบสามเรื่องจากกูสน์ ซึ่งเราไม่อาจหาพบร่องรอยใดๆของเขาในหนังสือชีวประวัติได้แม้เพียงสักเล่มเดียว และเราไม่อาจทราบถึงนามชื่อของชายที่ไม่ปรากฏนามจากเผ่ากะนานะนั้นได้


๑๒
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ค) วันแห่ง ญะรอษิม
ฏอบารี ได้บันทึกเรื่องราวไว้ถึงจำนวนสิบห้าเรื่องจากซัยฟ์ ที่เกี่ยวกับการข้ามแม่น้ำไตกรีสของสะอัด นี่คือเรื่องราวโดยย่อที่ถูกบันทึกไว้โดยซัยฟ์

หลังจากสงครามกอดิซียะฮ์ กองทัพของมุสลิมตั้งใจจะเข้ายึดมะดาอิน (เมืองหลวงของเปอร์เซีย) สะอัดในฐานะเป็นแม่ทัพได้กล่าวคำปราศรัยใกล้ๆกับแม่น้ำไตรกรีส (ดิจละฮ์) และเตือนมุสลิมถึงการถูกข้าศึกโจมตีจากริมแม่น้ำ เขาได้แจ้งให้กับทหารทราบว่า เขาได้ตัดสินใจที่จะข้ามแม่น้ำ เขาถามว่า “มีผู้ใดบ้างไหม ที่พร้อมจะนำกองกำลังเข้าโจมตี ?” อาซิบ อิบนิ อัมรกล่าวว่า เขาพร้อมที่จะเข้าโจมตีเป็นคนแรก อาซิมพร้อมกำลังคนจำนวนหกสิบคนว่ายข้ามแม่น้ำไปและได้เข้าสู้รบกับข้าศึก พร้อมกับยึดฝั่งแม่น้ำอีกด้านหนึ่งไว้ได้ จากนั้นกองทัพมุสลิมทั้งหมดจึงข้ามแม่น้ำไป แม่น้ำไหลเชี่ยวกราก ถึงกระนั้นบรรดาทหารยังสามารถพูดคุยกันเหมือนกับว่าพวกเขากำลังเดินอยู่บนพื้นดิน

เมื่อใดก็ตามที่ม้ารู้สึกเหนื่อยอ่อน พื้นดินใต้พื้นน้ำก็จะยกขึ้นมาเพื่อรองรับเท้าของม้า ให้ยืนพักจนหายเหนื่อยไม่มีสิ่งใดที่จะแปลกพิสดารไปกว่านี้ในวันแห่งการทำศึกที่มะดาอิน วันแห่งน้ำซึ่งถูกเรียกขานว่าเป็นวันแห่ง ญะรอษีม หมายถึงวันแห่งเนินเขาเล็กๆที่ถูกเรียกว่า ญะรอษีม ก็เพราะไม่มีผู้ใดเหนื่อยอ่อน และเพราะมีเนินเขาเล็กๆ ได้ยกขึ้นมารองรับอยู่ใต้เท้าของม้าจากก้นแม่น้ำ เพื่อให้ทหารได้พักผ่อน

ในอีกที่หนึ่ง ซัยฟ์กล่าวว่า ทั้งหมดต่างข้ามแม่น้ำไปได้ยกเว้น ชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ฆัรกอดะฮ์ (หมายถึงจมน้ำ) ได้พลัดตกจากหลังม้าของเขา ผู้เล่ากล่าวว่า มันดูเหมือนกับเขาได้เห็นม้าสะบัดน้ำออกจากขนที่แผงคอของมัน และชายคนนั้นก็ลอยขึ้นมา เกาะกออ์จึงดึงเขาขึ้นฝั่งและช่วยชีวิตเขาไว้ หลังจากที่เขาได้รับการช่วยเหลือแล้ว มารดาของเกาะกออ์กล่าวกับเกาะกออ์ว่า “ไม่มีหญิงใดที่ให้กำเนิดบุตรที่กล้าหาญเช่นท่าน” อบูนุอัยม์ได้กล่าวถึงบางส่วนของเรื่องดังกล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ สัญญาณต่างๆของการเป็นศาสนทูต และได้พิมพ์มันให้เป็นหลักฐานของการเป็นศาสนทูตของศาสดาแห่งอิสลาม

แหล่งที่มาในเรื่องราวของ ซัยฟ์
ซัยฟ์ได้บันทึกมาจาก มุฮัมมัด ตอลฮะฮ์ นัฎร์ อิบนิ รุฟัยล์ และชายคนหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จัก ผู้เล่าเรื่องบางคนเหล่านี้ เราได้กล่าวถึงไว้ก่อนแล้ว ฏอบารีได้บันทึกไว้เป็นจำนวนหกสิบเจ็ดเรื่องจากซัยฟ์ ที่เล่ามาจากมุฮัลลับ อิบนิ อุกบะฮ์ อะซะดี และอีกจำนวนยี่สิบเรื่องที่ซัยฟ์ บันทึกมาจาก อิบนิ รุฟัยล์ ผู้เล่าเรื่องเหล่านี้ไม่อาจหาร่องรอยได้ในหนังสือชีวประวัติเล่มใด เรื่องราวต่างๆของซัยฟ์ที่เล่ามาจากคนที่ไม่มีชื่อปรากฏ ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง

การศึกที่ มะดาอิน ตามการเล่าเรื่อง มาจากผู้อื่นที่ไม่ใช่ซัยฟ์ เช่น จาก ฮะมาวี ในเล่ม 4 หน้า 33 ชื่อ มุอ์ญะมัล บุลดาน กล่าวว่า “ชาวไร่เปอร์เซียได้ช่วยเหลือกองทัพมุสลิม ด้วยกับการแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของฝ่ายเปอร์เซีย และได้มอบของขวัญปัจจัยยังชีพให้คอลิด อิบนิ อัรฟะฏอฮ์ เริ่มการโจมตีฝ่ายเปอร์เซียก่อนแต่ล้มเหลว ต่อมาคอลิด ซาบาฏได้เข้าพิชิตมะดาอิน กองทัพมุสลิมถูกนำพาไปยังทางเดินที่ตื้นเขินของแม่น้ำ ดังนั้น พวกเขาจึงข้ามแม่น้ำจากจุดนั้น”

ในหนังสือ ฟุตูฮุล บุลดาน หน้า 323 กล่าวว่า “กองทัพเปอร์เซียยิงธนูเข้าใส่ฝ่ายมุสลิมแต่ไม่มีผู้ใดถูกสังหาร ยกเว้นทหารคนหนึ่งจากเผ่าตัย ชื่อ ซะลีล อิบนิ ยะซีด อิบนิ มาลิก ซันบิซี”

สรุป
ซัยฟ์กำหนดให้อาซิมเป็นคนที่มาจากเผ่าของเขา โดยแต่งนิยายขึ้นมาให้เขาเป็นวีรบุรุษของเรื่อง เขาได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “ม้าตัวใดที่เหนื่อยอ่อน เนินดินจะปรากฏขึ้นมาใต้ฝ่าเท้าของพวกมัน” แต่มีชายคนนึ่งพลัดตกจากหลังม้า แต่ก้นแม่น้ำได้ยกตัวขึ้นมารับเท้าของเขา ทั้งนี้เพราะเกาะกออ์ ผู้เป็นพี่ชายของอาซิมอยู่ในบริเวณนั้นเพื่อช่วยเหลือเขา ตามการเล่าของซัยฟ์ บรรดาทหารข้ามแม่น้ำไปได้อย่างอัศจรรย์ แต่ตามการเล่าของผู้อื่นมีคนนำทางมาชี้จุดที่มีน้ำตื้น ซึ่งเป็นช่องแคบหรือแผ่นดินที่ตื้นเขินของแม่น้ำ ความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ซัยฟ์ได้กระทำต่อประวัติศาสตร์อิสลามก็คือ การที่เขาประดิษฐ์ซอฮาบะฮ์ (สาวกของศาสดา) ขึ้นมา เขาได้กล่าวถึงชื่อของพวกเขาเหล่านี้ไว้ในเรื่องที่เป็นนิยายและที่เป็นจริง ด้วยการบิดเบือนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกชื่อของซอฮาบะฮ์ และเรื่องต่างๆที่ซัยฟ์ประดิษฐ์ขึ้นไว้ในหนังสือของพวกเขา และบรรดามุสลิมต่างยึดถือกันเป็นเรื่องจริงจัง และเชื่อกันว่าตัวละครในนิยายต่างๆเหล่านี้เป็นบรรดาสาวกของท่านศาสดาจริงๆ อิบนิ อับดุลบัร ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล อิสตีอาบ โดยระบุชื่อของบุคคลเหล่านี้ไว้และกล่าวว่า “ผู้คนเหล่านี้คือ สาวกของท่านศาสดา บางคนได้พบกับท่าน บางคนได้เขียนหนังสือถึงท่านหรือส่งภาษีให้กับท่าน บุคคลใดก็ตามที่ชื่อของเขาถูกเขียนบันทึกไว้ในเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับท่านศาสดาได้ถูกเขียนบันทึกไว้ เหตุการณ์ใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับท่านศาสดาได้ถูกทำรายชื่อ ณ ที่นี้ ถึงแม้บรรดาผู้ที่ชื่อของเขาและสายตระกูลของเขาไม่เป็นที่รู้จักและไม่มีผู้ใดรู้จักพวกเขานอกจากโดยผ่านทางญาติห่างๆของพวกเขาก็ตาม”

ซัยฟ์ได้แต่งชื่อของผู้คนจำนวนมากหลาย และได้เปลี่ยนชื่อหรือคุณสมบัติของผู้คนบางคนที่เป็นที่รู้จักกันดี เพื่อเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆคำสอนของท่านศาสดา และหลอกลวงนักค้นคว้าและนักวิชาการ ในความพยายามของพวกเขา ที่จะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นจริง

ภายหลังจากที่ได้ทำงานอย่างหนัก โดยผ่านทางการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาเป็นเวลาหลายปี จากหนังสือประวัติศาสตร์เกือบจะทุกเล่มที่ได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงต้นของอิสลาม ฉันจึงสามารถมาถึงข้อสรุปในเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นนิยายและชื่อที่ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา ชื่อของ ซอฮาบะฮ์ที่เป็นนิยายจำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบชื่อที่ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา ได้ถูกจัดเรียงลำดับรายชื่อไว้แล้วในหนังสือชื่อ “ซอฮาบะฮ์จำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบคนที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา”

11. การปรึกษาและการให้สัตยาบันต่ออุศมาน
มีบันทึกอยู่ในฏอบารี เล่ม 3 หน้า 292 กล่าวถึงเหตุการณ์ในปี ฮ.ศ. 23 อ้างอิงมาจาก ซัยฟ์ว่าอุมัรกล่าวว่า “ฉันแน่ใจได้ว่าคนที่มีชื่อเสียงที่สุดในหมู่มุสลิม ก็คือบุคคลสองคนนี้ (อะลีและอุศมาน) ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าเคยมีบัญชาให้พวกเขาจดในสิ่งที่ญิบรออีล ได้นำวิวรณ์จากพระเจ้ามาให้กับท่าน” ในหน้า 266 และ 305 กล่าวถึงเหตุการณ์ของ ปี ฮ.ศ. 24 มีเนื้อหาดังว่า “ในวันที่สามของเดือนมุฮัรรอม อุศมาน ชนะเสียงในการเลือกตั้งของการปรึกษากันในตอนกลางวัน ขณะที่การเชิญชวนสู่การนมาซกำลังดำเนินอยู่ อุศมานออกมาจากห้องประชุมและยืนขึ้นเป็นผู้นำนมาซ”

ฏอบารี บันทึกมาจากซัยฟ์เช่นกัน ดังปรากฏอยู่ในหน้าที่ 305 ดังว่าเมื่อสมาชิกที่ปรึกษาได้ออกเสียงให้กับอุศมาน เขาออกมาจากห้องประชุมดูเศร้าหมองอย่างที่สุด และจึงเดินขึ้นไปบนแท่นเทศนาของท่านศาสดา พร้อมกับกล่าวคำปราศรัยหลังจากได้สรรเสริญพระเจ้า และกล่าวสดุดีต่อท่านศาสดาแล้วเขาจึงกล่าวขึ้นว่า

“โอ้ประชาชน พวกท่านกำลังอยู่ในบ้านที่มีรากฐานทีง่อนแง่นเป็นอย่างมาก นั่นคือการดำเนินชีวิตที่เหลือของพวกท่านก่อนที่ความตายจะมาย่างกรายพวกท่าน จงปฏิบัติการดี เพราะความตายจะมาเยือนเราทั้งในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืน จงอย่าให้ชัยตอนมันล่อลวงพวกท่านได้ จงสนใจต่อบรรดาผู้ที่เขาได้ล่วงลับไปก่อนหน้าพวกท่านแล้ว จงอย่าให้ชีวิตของพวกท่านผ่านไปอย่างไร้ค่า จงพยายามทำให้ดีที่สุด พวกท่านจะไม่ถูกเพิกเฉย (ในสายพระเนตรของพระเจ้า) บรรดาบรรพบุรุษของพวกท่านที่ได้พลิกฟื้นแผ่นดิน ก่อนหน้าพวกท่านและทิ้งไว้นั้นหายไปไหนหมดแล้ว ? เป้าหมายของพวกท่านก็คือการรอดพ้น พระเจ้าทรงมอบแบบอย่างหนึ่งให้กับชีวิตในปัจจุบัน โดยที่ได้ทรงกล่าวว่า “จงยกอุทาหรณ์แก่พวกเขาเกี่ยวกับชีวิตในโลกนี้ มันเป็นประดุจดังน้ำฝนที่เราได้หลั่งลงมาจากฟากฟ้าจนทำให้รุกขชาติเขียวขจี” จากนั้นเขาก็อ่านไปจนจบโองการนี้ จากนั้นผู้คนจึงเดินออกมาข้างหน้าและสัมผัสมือกับเขา เพื่อให้การสนับสนุน

เรื่องราวที่เกี่ยวกับการปรึกษาหารือจากผู้อื่นที่ไม่ใช่มาจากซัยฟ์
(อุมัร คอลีฟะฮ์ที่สอง แต่งตั้งบุคคลหกคน เพื่อการปรึกษาหารือและเพื่อการเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ที่สามในหมู่พวกเขา)

อิบนิ ฮิชาม บันทึกไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัลซีเราะฮ์ เล่ม 4 หน้า 334-337 จาก อับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุฟ ว่าในระหว่างการทำฮัจญ์ที่มินา มีชายคนหนึ่งกล่าวกับอุมัรว่า บางคนบอกกับเขาว่า “ถ้าหากอุมัรตายเขาจะแต่งตั้งให้กับคนนั้นคนนี้เป็นคอลีฟะฮ์ และการเลือกตั้งของ อบูบักรเป็นไปอย่างรีบเร่งและผิดพลาดเช่นเดียวกัน ถึงแม้มันจะสำเร็จ ก็ตาม” อุมัรกล่าวตอบด้วยความโกรธว่า “ฉันจะดูถึงเรื่องนี้ในคืนนี้และจะเตือนบรรดาผู้ที่ต้องการจะแย่งชิงการสืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดา หากพระเจ้าทรงประสงค์” อับดุรเราะฮ์มาน แนะนำอุมัรให้เลื่อนการตัดสินใจของเขาออกไป จนกว่าพวกเขาจะเดินทางกลับไปยังมะดีนะฮ์แล้ว เพราะมีผู้คนมากมายหลายประเภทที่มาทำฮัจญ์ แต่บรรดาผู้มีเกียรติและนักวิชาการอาศัยอยู่ในนครมะดีนะฮ์

อุมัรเห็นพ้องด้วยและเมื่อพวกเขากลับมาถึงมะดีนะฮ์ในวันศุกร์แรก อุมัรยืนขึ้นกล่าวคำปราศรัย โดยกล่าวว่า “ฉันเข้าใจว่า บางคนพูดว่า หากอุมัรตาย เขาจะเลือกให้คนนั้นคนนี้เป็นคอลีฟะฮ์ จงอย่าให้คำพูดที่ว่า “การเลือกตั้ง อบูบักรนั้นเป็นไปอย่างเร่งด่วนและเป็นความผิดพลาดแต่ประสบกับความสำเร็จ” ล่อลวงเจ้า ถึงแม้มันจะเป็นเช่นนั้นจริงก็ตามแต่พระเจ้าได้คุ้มครองเรา จงจำไว้ว่าไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราจะมีชื่อเสียงเท่ากับอบูบักร บุคคลใดก็ตามที่จับมือให้สัตยาบันกับผู้ใดโดยปราศจากการปรึกษาหารือกับบรรดามุสลิมเสียก่อนแล้ว การแสดงสัตยาบันของเขาถูกถือว่าไม่มีคุณค่าอันใด และบุคคลทั้งสองจะต้องถูกสังหาร”

ส่วนหนึ่งของเรื่องราวข้างต้น และความเห็นของอุมัรได้กล่าวถึงไว้แล้ว ในตอนที่ผ่านมา ซึ่งเราได้บรรยายไว้ว่า “ผู้คนแสวงหารหลบภัยอยู่ที่บ้านของฟาฏิมะฮ์” อิบนิ อบิล ฮะดีด เล่ม 2 หน้า 123 บันทึกมาจากญาฮิซว่า อัมมาร อิบนิ ยาซีร กล่าวว่า หลังจากอุมัรเขาจะออกเสียงให้กับอะลี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อุมัรกล่าวคำปราศรัยกับผู้คนที่มะดีนะฮ์ โดยกล่าวว่า “บางคนกล่าวว่า ตอลฮะฮ์ อิบนิ อุบัยดุลลอฮ์ เป็นคู่แข่ง มันไม่ได้แตกต่างอะไรกันดอกว่าคู่แข่งจะเป็นใคร แต่สำคัญก็คือ ท่านศาสดาไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คนของท่านเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ แต่คอลีฟะฮ์คนแรกก็เช่นกัน มาสู่อำนาจด้วยการตัดสินใจที่เป็นการพิจารณาที่รีบเร่งและเสียหาย” พูดสั้นๆคำเดียวก็คือ การเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ไม่ถือเป็นธรรมเนียมในอิสลาม มีเพียงอุมัรเท่านั้นที่สรรหาบุคคลหกคน เพื่อให้เลือกคอลีฟะฮ์ที่สามในหมู่พวกเขา

การตัดสินใจของอุมัรได้ถูกวางแผนขึ้น หลังจากที่เขาถูกแทงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต เราจะได้เห็นในตอนหลังว่า อุมัรมีผู้ใดบางคนที่อยู่ในใจของเขา ที่จะให้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งต่อไปหรือไม่

การปรึกษาหารือและ อุมัร
ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อันซาบ อัลอัชรอฟ หน้า 15-16 ของบะลาซุรีและหนังสือ ตอบากอต ของอิบนิ สะอัด เล่ม 3 หน้า 243 ว่าอุมัรได้กล่าวคำปราศรัยในวันศุกร์ และภายหลังจากที่ได้สรรเสริญ พระเจ้า และสดุดีต่อศาสดาแล้วจึงกล่าวว่า “ฉันได้ฝันเห็นไก่ตัวผู้มันจิกฉัน ฉันคิดว่าความตายของฉันใกล้เข้ามาแล้ว ผู้คนได้ขอร้องฉันให้แต่งตั้งผู้สืบแทนตำแหน่ง พระเจ้าย่อมไม่ทรงปล่อยปละละเลยศาสนาของพระองค์หรือคอลีฟะฮ์ และเจตนาในการส่งศาสดาของพระองค์ลงมา ภายหลังจากฉันตายแล้ว คอลีฟะฮ์จะถูกเลือกมาจากสมาชิกที่ปรึกษารวมหกคน ศาสนทูตรู้สึกยินดีกับพวกเขาก่อนที่ท่านจะวายชนม์ ฉันรู้ดีว่ามีผู้คนบางคนจะกล่าวโทษฉันที่ได้ตัดสินใจเช่นนี้ พวกเขาจะเป็นพวกที่ฉันได้เชิญชวนพวกเขามาสู่อิสลาม บรรดาผู้ที่คัดค้านย่อมเป็นศัตรูต่อพระเจ้า”

มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อุกด์ อัล ฟะรีด เล่ม 3 หน้า 73 ว่า เมื่ออุมัรถูกแทง ผู้คนขอให้เขาแต่งตั้งผู้สืบแทน เขากล่าวว่า “บางคนที่เขาดีกว่าฉันยังไม่แต่งตั้งให้ใครเป็น และอีกคนหนึ่งที่ดีกว่าฉันได้แต่งตั้งบุคคลคนหนึ่ง (เขาหมายถึงท่านศาสดาและอบูบักร) หากอบูอุบัยดะฮ์ยังไม่ตาย ฉันก็แต่งตั้งเขา เพราะเขาเป็นคนที่ไว้วางใจได้ เพราะท่านศาสดากล่าวไว้เช่นนั้น หากซาลิมทาสผู้ถูกปลดปล่อยของอบูฮุซัยฟะฮ์ยังมีชีวิตอยู่ ฉันก็จะแต่งตั้งเขา เพราะเขารักพระเจ้ามากถึงกับว่าเขาไม่เคยได้กระทำบาปใดๆ ถึงแม้เขาจะไม่ได้กลัวการลงโทษจากพระเจ้าก็ตาม”

อุมัรได้รับการขอร้องให้แต่งตั้งบุตรชายของเขา เขากล่าวตอบว่า นับเป็นความเพียงพอแล้วที่ค็อตต็อบคนหนึ่งจะต้องไปรับผิดชอบต่อพระเจ้า เขาปรารถนาว่าเขาจะได้รับความปลอดภัยเมื่อต้องไปอยู่หน้าพระพักต์ของพระเจ้า ด้วยกับความดีและความชั่วที่สูสีกัน จากนั้นเขากล่าวว่า เขาต้องการที่จะแต่งตั้งบางคนให้นำทางพวกเขาไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง และเขาได้ชี้ไปที่อะลี แต่เขากล่าวว่าเขาไม่ควรจะกระทำเช่นนั้น เพราะอะลีไม่ต้องการที่จะรับผิดชอบอะไรในโลกนี้ และโลกหน้า

บะลาซุรีได้บันทึกไว้ใน อันซาบ อัลอัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 16 ว่า อัมร อิบนิ มัยนูน กล่าวว่า เขาได้เห็นตอนที่อุมัรถูกแทงและได้ยินเขาพูดว่า “จงไปเรียก อะลี อุศมาน ตอลฮะฮ์ ซุเบร อับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อุฟ และ สะอัด บิน อบีวักกอส มา” เขากล่าวกับอะลีว่า “ผู้คนอาจตระหนักว่า ท่านเป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่านศาสดา และเป็นบุตรเขยของท่าน และท่านเป็นผู้ทรงความรู้ในอิสลาม หากท่านปกครองผู้คนเหล่านี้ก็จงเกรงกลัวพระเจ้า และจงอย่าให้ครอบครัวแห่งมุอัยท์ (ญาติของท่าน) เป็นนายเหนือผู้คน” จากนั้นเขาได้เรียกสุฮัยบ์มาและกล่าวกับเขาว่า เขาควรนำนมาซเป็นเวลาสามวัน และปล่อยให้ผู้คนเหล่านี้ (หกคน) อยู่แต่ในห้องประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ ถ้าหากพวกเขาเลือกคอลีฟะฮ์คนหนึ่งโดยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ หากผู้ใดไม่สนับสนุนเขาผู้นั้นก็จะต้องถูกตัดศีรษะ

เมื่อพวกเขา (ทั้งหกคนและสุฮัยบ์) ละจากไป อุมัรกล่าวขึ้นว่า “ถ้าหารพวกเขาปล่อยคนหัวล้าน (เขาหมายถึง อะลีที่ไม่มีผมด้านหน้าของศีรษะ) ปกครองแล้วเขาก็จะนำผู้คนไปสู่ความพอดี” บุตรชายของเขา (อิบนิ อุมัร) จึงกล่าวกับเขาว่า “อย่างนั้นก็จงแต่งตั้งเขาซิ” เขาจึงกล่าวตอบว่า อะลีไม่ต้องการที่จะแบกรับความรับผิดชอบอันใด

ในหนังสือ ริยาฎุลนะฏิเราะฮ์ เล่ม 2 หน้า 72 ภายหลังจากที่ได้กล่าวคำพูดข้างต้นของอุมัรเกี่ยวกับอะลีแล้ว ยังได้เขียนบันทึกไว้ต่อไปดังว่า อุมัรกล่าวว่า “ถ้าหากผู้คนปล่อยให้คนที่มีหน้าผากกว้าง (เขาหมายถึงอะลี) นำพวกเขาไปสู่ทางที่ถูกต้องแล้ว เขาจะกระทำแม้จะต้องใช้ดาบ” มีคนถามเขาว่า “ทำไมจึงไม่แต่งตั้งเขาเสียเล่า” เขากล่าวว่า “คนหนึ่งที่เขาดีกว่าฉัน ไม่ได้แต่งตั้ง (ผู้สืบแทนของเขา)” บะลาซุรีได้บันทึกไว้ในหนังสือ อันซาบ อัล อัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 17 ว่า วากีดีได้กล่าวไว้ว่า เมื่ออุมัรได้พูดถึงผู้สืบแทนคนหนึ่ง ผู้คนได้เสนอ อุศมาน ซุเบร ตอลฮะฮ์ สะอัดหรืออับดุรเราะฮ์มาน เขากล่าวว่า อุศมานจะให้ตำแหน่งสูงๆ กับญาติของเขา ซุเบรเป็นผู้ศรัทธาเมื่อยามสงบ และเป็นผู้ปฏิเสธเมื่อยามโกรธ ตอลฮะฮ์เป็นคนสุดโต่ง สะอัดสามารถเป็นแม่ทัพได้ แต่ไม่สามารถแม้จะปกครองเพียงหมู่บ้าน และอับดุรเราะฮ์มานทำได้ก็แต่เพียงดูแลบ้านของเขาเท่านั้น

อิบนิ มัยนูน กล่าวว่า อุมัรได้ปล่อยให้การเลือกตั้งผู้สืบแทนตำแหน่งของเขาไว้กับบุคคลจำนวนหกคน และขอให้อับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัรบุตรชายของเขาอยู่ร่วมกับบุคคลทั้งหก แต่ห้ามมีสิทธิ์ได้รับเลือก บะลาซุรี ได้บันทึกไว้ใน อันซาบ อัล อัชรอฟ ว่า อบู มิคนัฟ กล่าวว่า เมื่อพวกเขามาแล้วอุมัรกล่าวว่า “ฉันได้ละทิ้งกิจการงานของพวกท่านไว้ในมือของบุคคลจำนวนหกคน ผู้ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกอิสลามและท่านศาสดาก็พอใจกับพวกเขา เมื่อท่านวายชนม์ลง พวกเขาจะต้องเลือกบุคคลผู้หนึ่งในหมู่พวกเขาให้เป็นผู้นำของพวกเจ้า (คอลีฟะฮ์)”

จากนั้นเขาจึงเอ่ยชื่อของบุคคลทั้งหกนี้ เขาได้ออกคำสั่งให้อบีตอลฮะฮ์ เซด อิบนิ ซะฮ์ลิ คอซรอญี นำทหารมาห้าสิบคน พร้อมเสมอที่จะบีบบังคับให้มีการสนับสนุนคอลีฟะฮ์คนใหม่ เขาได้ออกคำสั่งให้การเลือกตั้งจะต้องสำเร็จลง ตอลฮะฮ์ผู้เป็นหนึ่งในหกที่อยู่ในคณะเลือกตั้ง แต่ไม่อยู่ในนครมะดีนะฮ์ อุมัรกล่าวว่า พวกเขาไม่ควรต้องรอตอลฮะฮ์หากเมื่อสามวันผ่านไปแล้ว และใครก็ตามที่ถูกเลือกก็จะได้เป็นคอลีฟะฮ์และใครก็ตามที่ปฏิเสธจะต้องถูกตัดศีรษะ

จากนั้นอุมัรจึงส่งคนไปแจ้งให้ตอลฮะฮ์ทราบ แต่เมื่อตอลฮะฮ์มาถึงมะดีนะฮ์คอลีฟะฮ์อุมัรถึงแก่ความตาย และอุศมานได้ถูกเลือกให้เป็นคอลีฟะฮ์คนใหม่ไปแล้ว ตอลฮะฮ์คงอยู่ในบ้านของเขาเพื่อเป็นการประท้วง อุศมานไปหาเขา ตอลฮะฮ์กล่าวว่า “ท่านจะยกเลิกการเป็นคอลีฟะฮ์หรือไม่ หากฉันไม่เห็นด้วย” อุศมานกล่าวตอบเป็นการยอมรับ ดังนั้นตอลฮะฮ์จึงจับมือของอุศมานเพื่อยินยอมให้เป็นคอลีฟะฮ์เช่นเดียวกัน

ได้มีบันทึกอยู่ใน อุกด์ อัลฟะรีด หน้า 20 ว่า ตอลฮะฮ์กล่าวกับอุศมานว่า เขาพร้อมที่จะจับมือกับอุศมานในมัสยิดหรือในที่สาธารณะ อัลดุลลอฮ์ อิบนิ สะอัด อบีซัรฮ์ กล่าวว่า ก่อนที่ตอลฮะฮ์จะให้สัตยาบันของเขา ผู้คนต่างวิตกกังวล หากกรณีที่เขาไม่เห็นด้วย อุศมานเคารพ ตอลฮะฮ์อยู่เสมอ จนกระทั่งถึงวาระที่เขาถูกล้อมวัง และก่อนที่เขาจะถูกลอบสังหารในวาระนั้น ตอลฮะฮ์แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่ออุศมาน มากกว่าผู้ใดอื่นทั้งสิ้น บะลาซุรีได้เขียนไว้ใน อันซาบ อัล อัชรอฟ หน้า 18 ว่า อุมัรกล่าวว่า “คนส่วนน้อยควรต้องตามคนส่วนใหญ่ และใครก็ตามที่ต่อต้านเจ้าก็จงตัดศีรษะของเขาเสีย”

ได้บันทึกอยู่ในหน้า 19 เช่นกันว่า อุมัรได้มีคำสั่งให้สมาชิกที่ปรึกษาประชุมกันเป็นเวลาสามวัน และหากสองคนออกเสียงให้กับคนใดคนหนึ่ง และอีกสองคนออกเสียงให้กับคนที่เหลือแล้ว ก็ให้มีการออกเสียงกันใหม่ ถ้าหากสี่คนออกเสียงให้กับคนๆหนึ่ง และมีเพียงคนเดียวค้าน ฉะนั้นคนทั้งสี่ย่อมอยู่ในความถูกต้อง ถ้าหากเสมอกันสามต่อสาม สามคนที่เห็นด้วยกับอับดุรเราะฮ์มาน ย่อมอยู่ในความถูกต้อง เพราะสิ่งใดที่เขาเลือกให้กับบรรดามุสลิม ย่อมปลอดภัยกว่า บะลาซุรีกล่าวไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อันซาบ อัล อัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 15 ว่า อุมัรกล่าวว่า “บางคนกล่าวว่าการเลือก อบูบักรเป็นความผิดพลาดเพราะทำกันเร่งด่วน พระเจ้าทรงรักษาเราให้พ้นจากความเสียหายของมัน และอุมัรได้อำนาจมาโดยไม่ได้มีการออกเสียงเลือกตั้ง แต่ฉันได้ตัดสินใจว่า ผู้สืบตำแหน่งแทนของฉันจะได้รับเลือกจากการปรึกษาหารือ ถ้าหากสี่คนอยู่ฝ่ายหนึ่งและอีกคนอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง ก็จงอยู่กับฝ่ายสี่คน ถ้าหากมีสามเสียงเท่ากันก็จงเห็นพ้องด้วยกับฝ่ายสามเสียงที่มีอับดุรเราะฮ์มานร่วมอยู่ด้วย

ถ้าหากอับดุรเราะฮ์มานจับมือสองข้างของเขา เข้าด้วยกันก็จงตามเขา” มุตตะกีบันทึกไว้เช่นกันในหนังสือ กันซุล อุมมาล เล่ม 3 หน้า 160 ว่าอุมัรกล่าวว่า “หากอับดุรเราะฮ์มานจับมือทั้งสองข้างของเขาเข้าด้วยกัน พวกเจ้าก็จงยึดเขาไว้เป็นคอลีฟะฮ์” มุตตะกี บันทึกมาจาก อัสลัมเช่นกันว่า อุมัรกล่าวว่า “หากอับดุรเราะฮ์มานเอ่ยนามของผู้ใดในหมู่พวกเขาให้เป็นคอลีฟะฮ์ พวกเจ้าก็จงเชื่อฟังเขา หากผู้ใดงดเว้นไปจากการให้สัตยาบันก็จะต้องถูกตัดศีรษะ” เรื่องราวข้างต้นอธิบายให้เห็นว่าอุมัรได้ทิ้งกิจการต่างๆของบรรดามุสลิม ให้อยู่ในมือของอับดุรเราะฮ์มาน และการปรึกษากันของบุคคลหกคนที่เขาแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เลือกคอลีฟะฮ์ขึ้นคนหนึ่งนั้น เป็นเพียงมาตรการในความปลอดภัย เพื่อเป็นหลักประกันว่าทายาทหรือผู้สืบของเขาจะได้ขึ้นครองบัลลังค์

อะลี ตระหนักถึงแผนการของอุมัร ดังที่ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อันซาบ อัล อัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 19 ดังว่า อะลี ได้ยินอุมัรกำหนดให้อับดุรเราะฮ์มานมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเลือกคอลีฟะฮ์ เขาจึงกล่าวกับอับบาสลุงของเขาว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า เราแพ้การเลือกตั้งแล้ว” อับบาสจึงถามเขาว่า “เจ้ารู้ได้อย่างไร ?” อะลีกล่าวว่า “สะอัด มีความพึงพอใจต่ออับดุรเราะฮ์มาน เพราะเขาทั้งสองเป็นพี่น้องกัน อับดุรเราะฮ์มานเป็นบุตรเขยของอุศมาน และเป็นสหายของเขา ทั้งสามคนนี้อยู่ในฝ่ายเดียวกัน ถึงแม้ซุเบรและตอลฮะฮ์จะออกเสียงให้กับฉันก็ตามที พวกเขาก็ต้องชนะอยู่ดี และเราก็จะต้องแพ้เพราะอับดุรเราะฮ์มานอยู่ในหมู่พวกเขา” การสนทนาเช่นเดียวกันนี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน อักด์ อัล ฟะรีด เล่ม 13 หน้า 74

บะลาซุรีได้บันทึกไว้ใน อันซาบ อัลอัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 20 จาก อบูมิกนาฟ ว่าอะลี รู้สึกลำบากใจในกรณีที่สะอัด อับดุรเราะฮ์มาน และอุศมานเห็นพ้องด้วยกัน ฉะนั้นเขาจึงพาฮาซันและฮูเซนไปพบกับสะอัดและกล่าวกับเขาว่า “โอ้ อบาอิศฮาก ฉันไม่ได้มาขอให้ท่านออกเสียงให้กันฉัน แทนที่ท่านจะให้กับอับดุรเราะฮ์มาน แต่หากอับดุรเราะฮ์มานขอให้ท่านออกเสียงให้กับฝ่ายอุศมานแล้วก็จงอย่าทำเช่นนั้น เพราะฉันเป็นญาติกับท่านใกล้ชิดมากกว่าอุศมาน” อะลีกล่าวสิ่งนี้กับสะอัด และได้เตือนให้เขารำลึกถึงความเป็นญาติกันกับฮาซันและฮูเซน และ อามีนะฮ์มารดาของท่านศาสดากับสะอัด สะอัดกล่าวกับอะลีว่า “ท่านได้ตามที่ท่านขอร้องแล้ว” เมื่ออับดุรเราะฮ์มานถามสะอัดเพื่อการปรึกษาหารือ สะอัดกล่าวว่า “ฉันขอออกเสียงให้ท่านไม่ใช่ให้กับอุศมาน เพราะอะลีสมควรต่อตำแหน่งนี้มากกว่าอุศมาน”

อบูตอลฮะฮ์ (หัวหน้าองค์รักษ์) เข้ามาให้ห้องประชุมเพื่อเร่งเร้าให้พวกเขาลงมติให้เสร็จสิ้นไป และได้กล่าวกับสมาชิกที่ปรึกษาดังว่า “พวกท่านแสดงความกระตือรือร้นในการออกความเห็น แต่พวกท่านประวิงเวลาในการตัดสินใจ มันดูเหมือนว่าพวกท่านต่างก็อยากจะเป็นคอลีฟะฮ์ด้วยกันทุกคน” อบูตอลฮะฮ์ เมื่อได้เห็นสถานการณ์ จึงร่ำไห้และกล่าวว่า “ฉันคาดว่าพวกเขาจะไม่มีความปรารถนาในตำแหน่งหน้าที่ และฉันเกรงว่าจะไม่มีใครในหมู่พวกเขายอมรับที่จะรับเอาตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไปครอง และต่างคนต่างก็จะหยิบยื่นให้กันและกัน” อุมัรได้มอบหมายให้บุตรชายของเขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะที่ปรึกษา โดยไม่ให้มีสิทธิออกเสียง แต่บุตรชายของเขาไม่ได้เข้าร่วมในที่ประชุม ดังที่ได้บันทึกอยู่ในหนังสือ อันซาบ อัล อัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 21


๑๓
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

อบู มิคนัฟ กล่าวว่า อุมัรถูกนำไปฝังในวันอาทิตย์และซุฮัยบ์เป็นผู้นำนมาซญะนาซะฮ์ และอบูตอลฮะฮ์เป็นผู้นำนมาซญะมาอะฮ์ประจำวัน คณะที่ปรึกษาไม่ได้ปฏิวัติภารกิจของพวกเขาในเย็นวันนั้น และในเช้าวันรุ่งขึ้นพวกเขาได้ทำการตรวจสอบกองคลัง จากการขอร้องของอบูตอลฮะฮ์ ผู้เป็นหัวหน้าองครักษ์ อับดุรเราะฮ์มานตระหนักดีว่า คณะที่ปรึกษาต่างกระซิบกระซาบต่อกันและกัน เพื่อไม่สนับสนุนให้มีการแข่งขันกัน ฉะนั้นเขาจึงกล่าวขึ้นว่า “สะอัดกับฉันขอถอนตัวจากการแข่งขัน โดยมีเงื่อนไขว่าฉันเป็นผู้เลือกคอลีฟะฮ์ เพราะผู้คนกำลังรอคอยผลการเลือกตั้งและพวกเขาต้องการจะเดินทางกลับบ้านเรือนของพวกเขา ผู้มีสิทธิได้รับเลือกตั้งทุกคนเห็นพ้องด้วย ยกเว้นอะลีเพียงคนเดียวที่กล่าวขึ้นว่า “ฉันขอคิดดูถึงเรื่องนี้ก่อน”

อบูตอลฮะฮ์กับพวกเขา และอับดุรเราะฮ์มานบอกกับเขาถึงข้อเสนอของเขา และความไม่เห็นพ้องด้วยของอะลี อบูตอลฮะฮ์กล่าวกับอะลีว่า “ท่านมีความไว้วางใจในอับดุรเราะฮ์มาน เช่นเดียวกับมุสลิมคนอื่นๆ เขาเองก็ไม่ได้เป็นคู่แข่งขันแล้ว เพราะเขาไม่ชอบที่จะรับผิดชอบ ทำไมท่านจึงไม่เห็นด้วยกับ เขาเล่า ?” ดังนั้น อะลีจึงขอให้อับดุรเราะฮ์มานกล่าวสาบานว่า เขาจะไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและจะต้องให้สวัสดิภาพของบรรดามุสลิมมาก่อนความต้องการที่เป็นส่วนตัวของเขา อับดุรเราะฮ์มานได้ให้คำสัญญาของเขา จากนั้นอับดุรเราะฮ์มานจึงกล่าวกับอะลีว่า “จงอย่าได้อยู่ในความสงสัย” การประชุมนี้อาจมีขึ้นในท้องพระคลังหรือไม่ก็ที่บ้านของมิสวัร อิบนิ มักรอมะฮ์ ด้วยกับการขอร้องของอับดุรเราะฮ์มาน สมาชิกทั้งหมดต่างให้คำมั่นสัญญาของพวกเขาว่า ใครก็ตามที่เขาเลือกมาจะต้องได้รับการยอมรับ

อับดุรเราะฮ์มานชูมือของอะลีขึ้นพร้อมกับกล่าว “จงสาบานต่อพระเจ้าว่า หากฉันเลือกท่านให้เป็นคอลีฟะฮ์แล้ว ท่านจะต้องไม่เห็นแก่บนีอับดุลมุตฏอลิบ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านศาสดาอย่างครบถ้วน” อะลีกล่าวว่า “ใครจะไปเห็นด้วยที่จะกระทำในสิ่งที่ท่านศาสดากระทำในทุกกระเบียดนิ้ว ? ฉันเห็นด้วยก็แต่เพียงจะทำเท่าที่ฉันสามารถจะทำได้ให้ดีที่สุด” จากนั้นอับดุรเราะฮ์มานจึงชูมือของอุศมานขึ้นและกล่าวว่า “จงสาบานต่อพระเจ้าว่า หากฉันเลือกท่านให้เป็นคอลีฟะฮ์ ท่านจะต้องไม่เห็นแก่บนีอุมัยยะฮ์และตามแนวทางของท่านศาสดา อบูบักร และอุมัร” อุศมานกล่าวสาบานที่จะปฏิบัติไปตามนั้น และให้คำมั่นสัญญา อะลี กล่าวกับอุศมานว่า “ท่านได้สิ่งที่ท่านต้องการแล้ว”

จากนั้นอับดุรเราะฮ์มานกล่าวเช่นเดียวกันกับอะลี อะลีกล่าวว่า “ฉันสัญญาที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านศาสดา และกระทำในสิ่งที่ฉันคิดว่าถูกต้องตามครรลองของกฎหมายอิสลาม” ในขณะเดียวกัน อุศมานกล่าวยืนยันว่า “ฉันจะรักษาคำพูดของฉัน เสมือนดังที่บรรดาศาสดาได้ให้คำมั่นของพวกเขาต่อพระเจ้า ฉันจะปฏิบัติไปตามคำบัญชาของท่านศาสดา อบูบักรและอุมัร”

ด้วยเหตุนี้ อับดุรเราะฮ์มานจึงจับมือกับอุศมาน และประกาศเขาให้เป็นคอลีฟะฮ์ สมาชิกของคณะที่ปรึกษาทุกคนต่างจับมือของอุศมาน เพื่อแสดงการยอมรับเขาให้เป็นคอลีฟะฮ์ ยกเว้นอะลีที่ยังคงนั่งอยู่หลังจากที่ทุกคนได้ยืนขึ้นเพื่อยอมรับในตัวอุศมาน อับดุรเราะฮ์มานกล่าวกับอะลีว่า “จงยอมรับเสียเถิด หาไม่แล้วฉันก็จะตัดศีรษะของท่าน” ไม่มีผู้ใดพกดาบอยู่กับตัวยกเว้นอับดุรเราะฮ์มาน ได้มีการเล่าขานไว้ว่า อะลีได้ละออกไปจากห้องประชุมด้วยกับความโกรธเคือง สมาชิกคนอื่นๆได้ออกจากห้องเพื่อตามเขาไปโดยขอให้เขาเห็นพ้องด้วย หาไม่แล้วพวกเขาก็จะลงดาบเขาเสีย จากนั้นอะลีจึงกลับเข้ามาและได้จับมือให้สัตยาบันกับอุศมาน

บะลาซุรีได้บันทึกไว้ในหนังสือ อะซาบ อัลอัชรอฟ เล่ม 5 หน้า 24 จาก วากีดี ว่า ภายหลังจากที่อุศมานออกมาจากห้องประชุม เมื่อได้รับเลือกให้เป็นคอลีฟะฮ์แล้วเขาได้ขึ้นไปบนแท่นเทศนา เขากล่าวสรรเสริญต่อพระเจ้า และสดุดีต่อท่านศาสดาพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้ประชาชน การขึ้นพูดเป็นครั้งแรกนั้นมันเป็นเรื่องที่ยาก เรายังมีเวลารออยู่ข้างหน้าอีกนานนัก ถ้าหากฉันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะเตรียมสุนทรพจน์มากล่าวให้กับพวกท่านฟัง ฉันไม่เคยเป็นนักพูดมาก่อน แต่พระเจ้าจะทรงสอนฉันให้รู้จักการกล่าวคำปราศรัย”

ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อุกด์ อัล ฟะรีด เล่ม 2 หน้า 140 ว่า อุศมานเป็นบุคคลหนึ่งที่พบว่า เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวคำปราศรัย ได้มีบันทึกอยู่ในหนังสือ อัลบะยาน วัตตับยีน ว่าอุศมานพูดผิดพลาดไปในบางประการ เมื่อกำลังกล่าวอยู่บนแท่นเทศนา ดังว่า “โอ้ประชาชน อบูบักรและอุมัรเคยกล่าวบนแท่นเทศนาว่า “ฉันไม่ได้เตรียมคำปราศรัยมาและไม่เคยกล่าวคำปราศรัยมาก่อน ด้วยกับพระประสงค์ของพระเจ้าฉันจะกลับมาหาพวกท่านในไม่ช้า และจะกลับมาพูดกับพวกท่าน” ได้มีเรื่องเล่าไว้เช่นกันว่า อุศมานได้ขึ้นไปยืนบนแท่นเทศนาและกล่าวว่า “เราไม่คุ้นเคยกับการกล่าวคำปราศรัยต่อผู้คน ถ้าหากเรายังมีชีวิตอยู่ หากพระเจ้าทรงประสงค์พวกท่านจะได้ยินคำปราศรัยที่ดี ฉันจำเป็นจะต้องบอกกับพวกท่าน ณ ที่นี้ว่า ด้วยกับพระบัญชาของพระเจ้า อุบัยดุลลอฮ์บุตรของอุมัรได้ฆ่าสังหารฮุรมูซาน ซึ่งเป็นมุสลิมแต่เขาไม่มีทายาท ฉันในฐานะผู้นำและเป็นคอลีฟะฮ์ จึงจะอภัยโทษให้กับฆาตรกร พวกท่านอภัยโทษให้กับเขาหรือไม่ ?”

ผู้คนทั้งหมดต่างกล่าวยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน ยกเว้นอะลีที่ได้เสนอให้ลงโทษขั้นอุกฤษฏ์กับฆาตรกร และชี้นิ้วไปที่อุบัยดุลลอฮ์พร้อมกับกล่าวว่า “โอ้ เจ้าผู้เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ถ้าหากฉันมีอำนาจจัดการกับเจ้าได้เมื่อใด ฉันจะสังหารเจ้าเพื่อเป็นการแก้แค้นให้กับการสังหารฮุรมูซาน” ฏอบารีกล่าวไว้ในหนังสือของเขาเล่ม 3 หน้า 292-302 โดยสร้างเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่งจากเรื่องทั้งหมดที่ได้เล่าไว้ข้างต้นและย่อเรื่องบางส่วนของมันจนถึงกับว่า ไม่อาจบรรยายเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างครบถ้วน เขาได้บันทึกคำพูดของอุศมานจากการเล่าของซัยฟ์แต่เพียงผู้เดียว เราได้เขียนบันทึกไว้ ณ ที่นี้แต่เพียงเล็กน้อย ในเรื่องของการ “ปรึกษาหารือ” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆของซัยฟ์กับบุคคลอื่นๆ เราจะได้อธิบายถึงการปรึกษาหารือกันของคณะที่ปรึกษาในห้องประชุมให้มากกว่านี้ในภายหลัง

ซัยฟ์ไม่ได้ตบแต่งเรื่องของเหตุการณ์ข้างต้น แต่เขาได้สร้างนักเล่าเรื่องขึ้นมาเป็นจำนวนร้อยคนเพื่อปกป้องบรรดาผู้ปกครองที่มีอำนาจ และมีอิทธิพลอยู่ในขณะนั้น ฏอบารีได้แสดงออกถึงความต้องการเป็นพิเศษที่จะบันทึกจาก ซัยฟ์ หากผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของปี ฮ.ศ. 11-37 จากหนังสือของฏอบารี เขาย่อมต้องสำเหนียกได้ว่า เหตุการณ์ต่างๆนั้นได้มีการประดิษฐ์ และหรือสลับสับเปลี่ยนมากมายสักขนาดไหน

12.กุมมาซบาน บุตรของ ฮุรมูซาน ตามการรายงานของซัยฟ์
อบีมันซูรได้ยินกุมมาซบานกล่าวว่า “ชาวเปอร์เซียที่อาศัยอยู่ในมะดีนะฮ์ มักไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน ครั้งหนึ่งบิดาของฉันพบกับฟัยรูซ เขากำลังถือกริชเล่มหนึ่งที่มีคมสองด้านไว้ในมือ บิดาของฉันได้ถาม ฟัยรูซว่า ท่านต้องการกริชเล่มนี้ไปทำไม ? ฟัยรูซกล่าวว่า ฉันจะเอาไปเชือด หลังจากอุมัรได้รับบาดเจ็บ มีบางคนได้เห็นฮุรมูซานมอบกริชเล่มนี้ให้กับฟัยรูซ อุบัยดุลลอฮ์(บุตรของอุมัร) จึงออกไปฆ่าสังหารฮุรมูซาน (บิดาของฉัน) เมื่ออุศมานได้เป็นคอลีฟะฮ์ เขาได้บอกฉันให้แก้แค้นอุบัยดุลลอฮ์ และให้สังหารเขาเสียทุกคน ต้องการให้อุบัยดุลลอฮ์ถูกสังหาร ยกเว้นบางคนได้ขอร้องฉันให้ยกโทษให้เขา ฉันถามพวกเขาว่า ฉันมีสิทธิที่จะสังหารเขา (อุบัยดุลลอฮ์) หรือไม่

พวกเขาต่างกล่าวยืนยัน จากนั้นฉันจึงสอบถามพวกเขาว่า “พวกท่านสามารถหยุดยั้งฉันไม่ให้ประหารชีวิตฆาตรกรที่สังหารบิดาของฉันได้หรือไม่?” พวกเขาต่างพากันกล่าวตอบในเชิงปฏิเสธและกล่าวแช่งชักต่อ อุบัยดุลลอฮ์ ถึงกระนั้นฉันก็ได้ยกโทษให้กับอุบัยดุลลอฮ์ ทั้งหมดก็เพื่อเห็นแก่พระเจ้าและผู้คนเหล่านั้น จากนั้นผู้คนจึงแบกฉันขึ้นบ่าและพาฉันมายังบ้านของฉัน” (สิ้นสุดคำกล่าวของกุมมาซบาน)

ซัยฟ์ได้เล่าเรื่องไว้อีกกระแสหนึ่ง โดยบันทึกไว้ว่า อับดุรเราะฮ์มาน อิบนิ อบูบักรกล่าวว่า “เมื่อคืนนี้ฉันเห็นอบูลุลุ(ฟัยรูซ) กำลังพูดคุยกับญุฟัยนะฮ์และฮุรมูซาน เมื่อพวกเขาเห็นฉันพวกเขาต่างกระจัดกระจายกันออกไปอย่างรีบเร่ง โดยพวกเขาได้ทำกริชสองคมเล่มหนึ่งหล่นไว้ มันเป็นอาวุธที่ใช้สังหารอุมัร มีคนเพียงสองสามคนเท่านั้นที่อนุญาต ให้อยู่ในมัสยิดได้ หลังจากที่ได้มีการแทงกัน”

“ชายคนหนึ่งที่มาจากเผ่าตะมีม วิ่งตามอบูลุลุไปและจับตัวเขาไว้ได้พร้อมกับสังหารเขาทิ้ง และได้นำเอากริชเล่มนี้กลับติดตัวมาด้วย มันเป็นกริชตามที่ได้บรรยายไว้ อุบัยดุลลอฮ์บุตรของอุมัรคอยจนบิดาของเขาเสียชีวิต จากนั้นเขาจึงสังหารฮุรมูซานและญุฟัยนะฮ์ ผู้ซึ่งเป็นครูชาวคริสเตียน ซุฮัยบ์ผู้เป็นเจ้าเมืองมะดีนะฮ์ส่งอัมร อิบนิ อาส เพื่อไปตามจับตัวอุบัยดุลลอฮ์ อัมร อิบนิ อาส พยายามอยู่สองสามครั้ง จนกระทั่งเขาค้นหากริชดังกล่าวจนพบ และได้จับกุมตัวอุบัยดุลลอฮ์มา”

เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ซัยฟ์
ฏอบารีได้บันทึกมาจาก มิสวัร อิบนิ มัครอมะฮ์ว่าหลังจากอุบัยดุลลอฮ์ (บุตรของอุมัร) ได้สังหารฮุรมูซาน ญุฟัยนะฮ์และบุตรสาวของอบูลุลุแล้ว เขากล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ฉันจะสังหารบรรดาผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการฆ่าสังหารบิดาของฉัน” สะอัดยึดดาบมาจากอุบัยดุลลอฮ์และได้จองจำเขาไว้ในบ้านของเขา จนกระทั่งอุศมานออกมาจากบ้านของเขา และได้ถามชาวอันศอร และมุฮาญิรีน เกี่ยวกับความเห็นของพวกเขาที่มีต่ออุบัยดุลลอฮ์ในฐานะที่เป็นฆาตรกรสังหารผู้คนที่ปราศจากความผิด อะลีกล่าวว่าเขาจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต ชาว มุฮาญิรีนบางคนกล่าวว่า “อุมัรถูกสังหารไปเมื่อวานนี้เอง เราจะสังหารบุตรของเขาในวันนี้กระนั้นหรือ ?” อัมร อิบนิ อาส กล่าวกับอุศมานว่า “ท่านเป็นคนโชคดี ที่ได้มีการหลั่งเลือดกันก่อนที่ท่านจะได้เป็นคอลีฟะฮ์”

เราได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า บะลาซุรี ได้กล่าวไว้ในเรื่องของการปรึกษาหารือดังว่า อุศมานผู้เป็นคอลีฟะฮ์ได้กล่าวไว้ในวาระแรกที่เขาปรากฏตัวต่อสาธารณะ ดังว่า “ด้วยคำตัดสินของพระเจ้า อุบัยดุลลอฮ์ได้ฆ่าฮุรมูซาน ฉันขอนิรโทษกรรมให้กับ อุบัยดุลลอฮ์ ในนามของมวลมุสลิม เพราะเหตุว่าฮุรมูซานไม่มีทายาท” จากนั้นอุศมานจึงขอความเห็นชอบของบรรดามุสลิม ทุกคนต่างเห็นพ้องด้วยยกเว้นอะลีที่ได้กล่าวว่า “ชายผู้หน้าไหว้หลังหลอกคนนี้ต้องถูกสังหาร เพราะเขาได้ฆ่าสังหารมุสลิมที่ไม่มีความผิด” จากนั้นเขาจึงชี้ไปที่อุบัยดุลลอฮ์พร้อมกับกล่าวว่า “ฉันจะสังหารเจ้าเพื่อเป็นการแก้แค้นให้กับฮุรมูซาน” อุศมานกล่าวว่า “ฉันจะจ่ายค่าทำขวัญให้กับฮุรมูซาน” ซิยาด อิบนิ ละบีด บะยะฏี ได้แต่งกลอนบทหนึ่งกล่าวถึงการฆ่าสังหารฮุรมูซานได้ดังต่อไปนี้

อุบัยดุลลอฮ์ เจ้าช่างชั่วร้าย
ฆ่าได้แม้ฮุรมูซาน
เขาเป็นมุสลิมผู้บริสุทธิ์
ไร้เหตุที่สุด ที่เจ้ากระทำ

อุศมาน ซ้ำย้ำช่วยเจ้า ปัดเป่าให้
โทษนั้นไซร้ ไม่ต้องรับ
แต่เมื่อกลับ คืนพระเจ้า
ใครหน้าไหน หามีไม่
มาป้องเจ้า คราวลงทัณฑ์

อุบัยดุลลอฮ์ได้ไปร้องเรียนกับอุศมาน และเขาจึงขอร้องให้ซิยาดหยุดกล่าวบทกลอนนี้ จากนั้นซิยาดจึงแต่งกลอนดังต่อไปนี้เพื่อต่อต้านอุศมาน

อบาอัมร เมื่ออุบัยดุลลอฮ์กระชากดาบของเขา
เพื่อประกอบกรรมกระทำเข็ญ ขอสาบานต่อพระเจ้า
การอภัยโทษไม่ถือโกรธต่ออาชญากรรม
และการประกอบกรรมกระทำบาป จะเป็นม้าสองตัวควบขั้วสู่ปลายทาง

ดังที่หมายได้พร้อมกันกระนั้นหรือ
ท่านหมดสิทธิ์ คิดให้อภัยในอาชญากรรม
หากท่านกระทำ บาปกรรม ย่อมเป็นของท่านแน่

สรุป
ซัยฟ์กล่าวว่า ฮุรมูซานมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ กุมมาซบานเขาได้บันทึกเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งมาจากบุตรชายคนนั้นด้วย นักประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆกล่าวว่าเพราะฮุรมูซานไม่มีทายาท คอลีฟะฮ์อุศมานจึงอภัยโทษให้กับอุบัยดุลลอฮ์ไปในนามของมวลมุสลิม แทนการแก้แค้นที่เขาจะต้องกระทำให้กับเลือดของฮุรมูซาน ซัยฟ์กล่าวไว้เช่นกันว่าชายคนหนึ่งจากเผ่าตะมีมได้สังหารอบูลุลุ เพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงเกียรติยศให้กับเพื่อนเผ่าที่ไม่มีตัวตนของเขา

13. เมืองต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้น โดย ซัยฟ์
ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ชื่อเมืองบางเมืองขึ้นมาเช่น ดุลูษ ฏอวูซ อัลญะอ์ รอนะฮ์ รุอ์มานัลอิรัค อัลกุรดูดะฮ์ นะฮ์ริอุตต์ อัซซินย์ ษะนียะตุรริกาบ อัลกุดัยส์ อัลมักร์ วายะฮ์คุรด์ อัลวะละยะฮ์ และอัลฮะวาฟี ซึ่งได้มีกล่าวถึงไว้ โดย ฮะมาวี ในหนังสือ มุอ์ญะอุล บุลดาน โดยฏอบารี และโดยนักประวัติศาสตร์อื่นๆ

ยากูต ฮะมาวี เป็นผู้ที่สนใจอย่างมากที่จะบันทึกเรื่องราวที่หายากและแปลกพิสดารเอาไว้ในหนังสือของเขาชื่อ มุอ์ญะมุล บุลดาน เขาได้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆของซัยฟ์ไว้ในหนังสือของเขา เมื่อมีการบรรยายเรื่องแปลกๆเกี่ยวกับสถานที่หนึ่งหรือเมืองๆหนึ่ง เท่าที่ปรากฏ ฮะมาวีมีหนังสือที่เป็นต้นฉบับเล่มหนึ่งที่เขียนด้วยลายมือของซัยฟ์ เพราะสามารถสังเกตเห็นได้ เมื่อเขาอ้างอิงถึง ญุบาร ญะอ์รอนะฮ์ ชัรญะฮ์ และซอฮีดในหนังสือภูมิศาสตร์ของเขา ชื่อ มุอ์ญะมุล บุลดาน ต้นฉบับเขียนด้วยลายมือโดยอบีบักร มุฮัมมัด อิบนิ อะห์มัด อิบนิ อับดุลบากี อัลบัฆดาดี ฮาฟิซ (มรณะ อ.ศ. 489)(12)

เขาถูกเรียกขานในนาม อิบนิ คอฎิบะฮ์ และได้เขียนข้อสังเกตบางประการไว้ในเชิงอรรถเช่นกัน และได้เล่าเรื่องมาจากอบีบักร อัลคอฏีบ ในตอนท้ายของหน้าต่างๆ อบูบักร อิบนิ ซัยฟ์ ได้เขียนข้อสังเกตเอาไว้เช่นกัน ตัวเขานั้นน่าจะเป็น อบูบักร อะห์มัด อิบนิ บักร อิบนิ ซัยฟ์ ญิซซีนี หรือไม่ก็อบูบักร อะห์มัด อิบนิ อับดุลลอฮ์ อิบนิ ซัยฟ์ อิบนิ สะอีด ซาญิสตานี อิบนิ อะซากิร ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆทั้งหมดของซัยฟ์ และอิบนิ นะดีมได้เขียนชื่อของเขาไว้ในหนังสือของเขาชื่อ อัล ฟิฮ์เรสท์หน้า 119 ภายใต้นามชื่อที่ว่า อุบัยดุลลอฮ์ ซาญิสตานี

และฮะมาวีได้เขียนเรื่องราวบางเรื่องของซัยฟ์ไว้ในหนังสือของเขาในทำนองเดียวกับที่ฏอบารีกระทำ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ประการหนึ่งในระหว่างคนทั้งสอง ฏอบารีได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆในวิธีที่ว่าเหตุการณ์บางประการทำให้เรื่องทั้งหมดสมบูรณ์ เขาให้แหล่งที่มาของข้อมูลของเขาอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน แต่บางครั้ง ฮะมาวีได้บันทึกบางส่วนของเหตุการณ์หนึ่งเพราะเขาชอบเขียนในแนวบทกวีหรือบทกลอนในงานการเขียนของเขา เขาถึงกับไม่ยอมกล่าวถึงชื่อของซัยฟ์ในงานเขียนส่วนใหญ่ของเขา เราสามารถพบเรื่องราวของซัยฟ์ในฮะมาวี ซึ่งไม่ได้มีเขียนไว้ในงานของฏอบารี และในทางกลับกันนักประวิตศาสตร์ทั้งสองคนนี้ต่างก็ได้เลือกสรรเอาเรื่องต่างๆของซัยฟ์ที่แต่งขึ้นมานี้ ให้เหมาะสมกับความต้องการของตน ฮะมาวี ได้บันทึกงานเขียนต่างๆ มาจากซัยฟ์โดยมีชื่อเมืองเหล่านี้ปรากฏอยู่

1) ดุลูษ
จายคนหนึ่งจากเผ่าของอับดุลกอยส์มีชื่อว่า ซุฮารอ กล่าวว่า “ในสงครามแห่งฮุรมูซาน ซึ่งเกิดขึ้นที่อะฮ์วาสเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างดุลูษกับดุญัยล์ ฉันได้พบกับฮะริม อิบนิ ฮัยยานและได้เอาอินทผาลัม พวงหนึ่งมาจากเขา...และอื่นๆ”

ฏอบารีได้บันทึกไว้ในเล่ม 1 หน้า 2537 ถึงเหตุการณ์ในปี ฮ.ศ. 13 โดยกล่าวถึงเรื่องข้างต้นมาจนถึง “อินทผาลัมพวงหนึ่ง” ขณะที่ฮะมาวีได้บันทึกเพิ่มเติมต่อไปอีกมากกว่าเรื่องของฏอบารี เพราะฉะนั้นฮะมาวีจึงไม่ได้บันทึกมาจากฏอบารี และเชื่อว่าเขาจะต้องมีโอกาสเข้าไปดูต้นฉบับลายมือของ ซัยฟ์

2) ฏอวูซ
ฮะมาวีกล่าวไว้ว่า มันเป็นสถานที่หนึ่งอยู่ในจังหวัดของฟารซ์ (ในเปอร์เซีย) ซัยฟ์กล่าวไว้ว่า อะลาอ์ อิบนิ ฮัดรอมี ส่งกองทัพออกไปหนึ่งกองทัพทางทะเลเพื่อไปยังฏอวูซโดยที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากอุมัร ฮะมาวีได้บันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ซึ่งฏอบารีก็ได้บันทึกมาจากซัยฟ์เช่นกัน ดังปรากฏอยู่ในเล่ม1หน้า 2545-2551 ปี ฮ.ศ. 17 แต่ฮะมาวีได้บันทึกบทกวีบทหนึ่งที่แต่งโดย คอลีดอิบนิมุนซิร ซึ่งฏอบารีได้ละเว้นไว้ไม่บันทึก

3) ญะอ์รอนะฮ์ และ นุอ์มาน
ชื่อทั้งสองนี้ตามการบอกเล่าของซัยฟ์ เป็นสถานที่อยู่ในอิรักดังที่ฮะมาวีได้บันทึกไว้ ฮะมาวีได้กล่าวถึงชื่อของซัยฟ์ไว้เป็นสิบครั้งหรือมากกว่านั้นในหนังสือของเขา แต่ยังไม่ชื่อเมืองอีกมากหลายที่เขาได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือของเขา โดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อของซัยฟ์ ผู้อ่านที่ได้อ่านพบจากหนังสือของเขาอาจคิดไปได้ว่า ฮะมาวีได้แสดงทัศนะที่เป็นของตนเองเอาไว้ยกตัวอย่างเช่นชื่อ กุรดูดะฮ์

4) กุรดูดะฮ์
เมื่อตุลัยฮะฮ์ ผู้เป็นศาสดาจอมปลอมเดินทางมาถึงสุมัยรอฮ์ เขาได้รับสารจากษะมามะฮ์ อิบนิ เอาส์ อิบนิ ลามิตตออี กล่าวว่า “ฉันมีคนอยู่ห้าร้อยคน ถ้าหากท่านต้องการความช่วยเหลือ เราอยู่ที่กุรดูดะฮ์ และที่อันศุร ใกล้ๆกับทะเลทราย” ฮะมาวีได้นำเรื่องนี้มาจากฏอบารี(13) อิบนิฮาญัรได้เอาข้อมูลนี้มาจากฏอบารีเช่นกัน เมื่อเขาเขียนถึงชีวประวัติของษะมามะฮ์ ปรากฏว่าไม่มีร่องรอยของกุรดูดะฮ์และษะมามะฮ์ ณ ที่ใดยกเว้นในเรื่องราวของ ซัยฟ์

5) แม่น้ำ อุตต์
คอลิด อิบนิ วะลีด ส่งแม่ทัพของเขาคนหนึ่งชื่อ อุตต์ อิบนิ อบีอุตต์ ผู้ซึ่งมาจากเผ่าบนีสะอัดไปยังเดารากิสถาน แม่ทัพได้ตั้งค่ายที่ริมแม่น้ำและต่อมาแม่น้ำนี้จึงมีชื่อว่าแม่น้ำอุตต์ ตามชื่อของแม่ทัพ อีกครั้งหนึ่งผู้อ่านอาจคิดไปว่า ฮะมาวีได้เขียนเรื่องนี้ไปตามความรู้ความเข้าใจของเขา แต่กระนั้นเขาได้ยืมเรื่องนี้มาจากฏอบารี อิบนิ ฮาญัรได้บันทึกเรื่องเดียวกันนี้ไว้ เช่นกัน ซึ่งได้กล่าวบรรยายถึงคำว่า อุตต์ (จากฏอบารี)(14)

6) อัรมาษ อัฆวาษ และ อิมาส
ชื่อเหล่านี้ที่ได้บรรยายไว้โดยฮะมาวี ถูกขอยืมมาจากฏอบารีดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้น ณ สงครามแห่งกอดิซียะฮ์

7) อัล ซินย์ ษะนียะตุรริกาบ อัล กุไดส์ อัล มักร์วายะฮ์คุรด์ อัล วะลายะฮ์ และ อัล ฮะวาฟี
ชื่อข้างต้นเป็นชื่อที่ ฮะมาวี ได้ขอยืมมาจากฏอบารีเล่ม 1 หน้า 2026, 2648, 2230-33,43, 65, 88, 94, 2326-38, 2073-38 และ 2618-25 และหน้า 2169 เช่นกันตามลำดับ โดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อของซัยฟ์ ซึ่งเป็นผู้แต่งชื่อเหล่านี้ขึ้นมา ฮะมาวี ได้เขียนชื่อสถานที่และเมืองอื่นๆอีกในหนังสือของเขา ชื่อ มุอ์ญะอุล บุลดาน ไม่อาจสามารถหาพบได้ในหนังสือภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์เล่มใดๆที่อื่นไปจากนี้ ดังมีรายชื่อหนังสือดังต่อไปนี้

1. ซิฟัต ญะซีรอตุล อาหรับ โดย อบี มุฮัมมัด อัล ฮะซัน อิบนิ อะห์มัด อิบนิ ยะอ์กูบ อิบนิ ยูซุฟ อิบนิดาวูด ซึ่งรู้จักกันในนามอิบนิ ฮาอิก (มรณะ ฮ.ศ. 334- ค.ศ. 945-6)
2. ฟุตูฮุล บุลดาน โดยบะลาซุรี
3. มุคตะซอ บุลดาน โดยอบีบักร อะห์มัด อิบนิ มุฮัมมัด ฮัมดานี รู้จักกันในนามอิบนิ ฟะกีฮ์ มีชีวิตอยู่ในฮิจเราะฮ์ ศตวรรษที่ 3
4. อัล อาษารุลบากิยะฮ์ อะนิล กุรูนิล คอลิยะฮ์ โดย อบูรอยฮาน มุฮัมมัด อิบนิ อะห์มัด อัล บีรูนี คอวาริซมี (มรณะ ฮ.ศ. 440)
5. มุอ์ญัม มัสตุอ์ญิม โดยอบีอุบัยด์ อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบุล อะซีซ อิบนิ มัสอับ อัลบักรี อัลวะซีร (มรณะ ฮ.ศ. 478)
6. ตักวีมุลบุลดาน โดยอิสมาอีล ซอฮิบ ฮะมาฮ์ (มรณะ ฮ.ศ. 432)

นักภูมิศาสตร์ร่วมสมัยสองคนไม่เชื่อถือในฮะมาวี และไม่ได้กล่าวถึงสถานที่เหล่านั้นไว้ในหนังสือของเขาทั้งสอง
1. ละซีเรนจ์ หนังสือของเขาชื่อ เมืองต่างๆ ของคอลีฟะฮ์แห่งบูรพาทิศ
2. อุมัร ริฎอ กะฮาละฮ์ หนังสือของเขาชื่อ ภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรอาหรับ

14. ซัยฟ์ กับวันเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ
ซัยฟ์ไม่ใช่เป็นผู้แต่งเรื่องขึ้นมาเท่านั้น แต่เขายังได้เปลี่ยนแปลงวันเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย

1. ฏอบารีเล่ม 1 หน้า 553-56 เกี่ยวกับเรื่องราวของสงครามแห่ง อุบุลละฮ์(15)ได้บันทึกมาจากซัยฟ์ดังว่า อบูบักรส่งคอลิดไปยังอิรัก ฝ่ายศัตรูได้จัดตั้งค่ายอยู่ระหว่างแหล่งน้ำกับกองทัพของคอลิด พระเจ้าทรงส่งเมฆฝนลงมาช่วยเหลือฝ่ายมุสลิม ฝ่ายมุสลิมได้เข้าสู้รบและเป็นฝ่ายชนะในสงครามอุบุลละฮ์ คอลิดส่งทรัพย์เชลยหนึ่งในห้าส่วน (ในฐานะภาษี) และช้างหนึ่งเชือกไปยังมะดีนะฮ์ หญิงชาวบ้านคนหนึ่งในนคร มะดีนะฮ์ถามขึ้นว่า “ช้างเป็นสัตว์ที่พระเจ้าสร้างหรือคนทำมันขึ้นมา?” จากนั้นฏอบารี จึงกล่าวว่า “สงครามอุบุลละฮ์ มีการเล่าไว้แตกต่างกันมาก ตามที่นักประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้บันทึกกันเอาไว้ เพราะมันเกิดขึ้นในสมัยของอุมัรในปี ฮ.ศ. 14 และผู้บัญชาการกองทัพคือ อุตบะฮ์ อิบนิ กอซวาน แต่ไม่ใช่คอลิด”

ซัยฟ์กำหนดวันเวลาของเหตุการณ์ให้ผิดเพี้ยนไป เช่นเดียวกับให้ชื่อของผู้บัญชาการกองทัพ และคอลีฟะฮ์ไว้อย่างผิดพลาดอีกด้วย

2. ฏอบารีในเล่ม 2 หน้า 89 ได้เขียนไว้ว่า อุมัรส่งอุตบะฮ์ อิบนิ กอซวานไปยังบัสเราะฮ์ในปี ฮ.ศ. 14 แต่ซัยฟ์ได้บันทึกไว้ในปี ฮ.ศ. 16 อิบนิ กะซีร ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างนี้ไว้ในหนังสือของเขาเล่ม 47-48

3. เหตุการณ์ที่ ยัรมูก มีบันทึกไว้ในเล่ม 7 หน้า 61 โดย อิบนิ กะซีร ว่าเหตุการณ์ยัรมูกเกิดขึ้นเมื่อปี ฮ.ศ. 15 ตามการบันทึกของลัยษ์ อิบนิละฮีอะฮ์, อบูมะอ์ซัร, วะลีด อิบนิ มุสลิม, ยะซีด อิบนิ อุบัยดะฮ์ คอลีฟะฮ์ อิบนิ คอยยาต, อิบนิ กัลบี, มุฮัมมัด อิบนิ อาอิซ, อิบนิ อะซากิร และซะฮะบี ผู้ทรงคุณวุฒิของเรา แต่ซัยฟ์และฏอบารีกล่าวว่ามันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 13 อิบนิ กะซีรได้กล่าวไว้ในหลักฐานอ้างอิงของเขาว่าเหตุการณ์นี้เกิดในปี ฮ.ศ. 13 ในหนังสือของ อิบนิ อะซากิร เล่ม 1 หน้า 159 ว่า “ซัยฟ์กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 13 ก่อนการพิชิตดามัสกัสแต่ไม่มีผู้ใดเห็นพ้องด้วยกับเขา”

4. เหตุการณ์แห่งเฟฮล์ ได้บันทึกอยู่ในเล่ม 7 หน้า 25 ของอิบนิ กะซีร ดังว่า “เหตุการณ์แห่งเฟฮล์เกิดขึ้นก่อนการพิชิตดามัสกัส ตามหลักฐานของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ แต่อบูญะอ์ฟัร อิบนิ ญะรีร (ฏอบารี) กล่าวไปตามซัยฟ์ว่ามันเกิดขึ้นหลังจากการพิชิตดามัสกัส” บะลาซุรี ได้เขียนไว้ใน ฟุตูฮุล บุลดาน หน้า 137 ว่า “ได้มีกล่าวไว้ว่าเหตุการณ์แห่งเฟฮล์ ณ จอร์แดน เกิดขึ้นสองวันก่อนเดือนซุลกอดะฮ์จะสิ้นลง นั่นคือ ห้าเดือนหลังอุมัรขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์”

5. การเดินทางออกจากซีเรียของเฮราคลีอุส ฮิร็อกล์ ฏอบารี ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา เล่ม 3 หน้า 99 “เฮราคลีอุสออกจากซีเรียไปยังคอนแสตนติโนเปิล (กุสตอนตินียะฮ์) ในปี ฮ.ศ. 15 ตามการบันทึกของ อิบนิอิศฮาก แต่ตามหลักฐานของซัยฟ์มันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 16” อิบนิ กะซีร ได้กล่าวถึงความแตกต่างกันนี้ไว้ในหนังสือของเขา เล่ม 7 หน้า 53 บะลาซุรี แสดงความเห็นพ้องด้วยไว้ใน ณ ฟุตูฮุล บุลดาน หน้า 162 กับอบูอิศฮาก

6. การพิชิต อุรชีลีม (บัยตุลมักดิส) ฏอบารีเล่ม 3 หน้า 103 ได้บันทึกจากซัยฟ์ “การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอุมัรกับชาวปาเลสไตน์ เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 15” อิบนิ กะซีร เล่ม 7 หน้า 57 ได้เขียนบันทึกไว้ว่าการพิชิตปาเลสไตน์เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 16 ตามหลักฐานของนักประวัติศาสตร์ทั้งหมดยกเว้นซัยฟ์ บะลาซุรี ในหน้า 165-66 กล่าวว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 16-17

7. การพิชิตแห่งอัล ญะซีเราะฮ์ ฏอบารีได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาเล่ม 3 หน้า 155 ว่า “อัล ญะซีเราะฮ์ ถูกพิชิตในปี ฮ.ศ. 17 ตามการรายงานของซัยฟ์” แต่อิบนิ อิศฮากกล่าวว่า มันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 19 อิบนิ กะซีร ในเล่ม 7 หน้า 76 และฮะมาวีใน มุอ์ญะมุล บุลดาน เห็นพ้องกับปี ฮ.ศ. 19 ของอิบนิ อิศฮาก

8. กาฬโรคแห่งอะมาวาส ฏอบารีได้เขียนไว้ในเล่ม 3 หน้า 161-163 “อิบนิ อิศฮาก กล่าวว่า มันเกิดขึ้นในปีที่ 18 และ ซัยฟ์กล่าวว่ามันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 17” อิบนิ กะซีรได้เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับกาฬโรคนี้ไว้ในหนังสือของ 78 ดังว่า “มุฮัมมัด อิบนิ อิศฮาก และอบูมะอ์ชัร และบุคคลอื่นๆกล่าวว่ามันเกิดขึ้นในปีที่ 18”

9. เหตุการณ์ระหว่างชาวเปอร์เซียและชาวมุสลิม ฏอบารีบันทึกไว้ว่าหากว่าตามหลักฐานของซัยฟ์แล้ว มันเกิดขึ้นในปีที่ 15 แต่ตามหลักฐานของอิบนิ อิศฮากและวากีดี มันเกิดขึ้นในปีที่ 16 อิบนิ กะซีร ได้กล่าวถึงความแตกต่างนี้ไว้ในเล่ม 7 หน้า 60 ของหนังสือของเขา

10. การศึกสงครามที่ คุรอซาน ฏอบารี เล่ม 3 หน้า 244 และอิบนิ กะซีร ในเล่ม 7 หน้า 126 ได้บันทึกมาจากซัยฟ์ว่า มันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 18 แต่ผู้อื่นกล่าวว่ามันเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 22

11. การศึกสงครามที่ตาบริสถาน วากีดี อบูมะอ์ชัรและมาดาอินีได้บันทึกไว้ว่า สะอีด อิบนิ อาสเข้าสู่สมรภูมิ ที่ตาบริสถานในปี ฮ.ศ. 30 แต่ซัยฟ์ กล่าวว่า สุวัยด์ อิบนิ มุกัรรอนทำสัญญาสงบศึกแห่งตาบริสถานในสมัยของอุมัร (ก่อนปี ฮ.ศ. 30 เป็นเวลานาน)


๑๔
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

สรุป
นับเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่ฉันได้ศึกษาค้นคว้าถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์อิสลาม หนังสือฮะดิษและคำแนะนำต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) มาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในปี 2492 ฉันได้อ่านพบเรื่องราวต่างๆของมุสลิมที่น่าสงสัยบางเรื่อง ในหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม ฉันรู้สึกงุนงงว่าในวาระต่างๆอันมากหลาย ความสัตย์จริงได้ถูกเพิกเฉยและหรือละเลยไป แต่กลับได้เห็นเรื่องราวที่เป็นนิยาย และตัวละครที่ถูกแต่งเรื่องขึ้นมาปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีต้นๆของอิสลาม นั่นคือในยุคของคอลีฟะฮ์สี่คนแรก และราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุอาวิยะฮ์)

ฉันได้ติดตามเรื่องนิยาย และตัวละครที่ถูกแต่งเรื่องขึ้นมาเหล่านี้จากสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับนักประวัติศาสตร์อื่นๆ และนักประวัติศาสตร์ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์อิสลาม ภายหลังจากที่ได้ศึกษาอย่างระมัดระวัง ฉันจึงเชื่อตระหนักโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้นว่า บางเรื่องของมันนั้นถูกทำเทียมขึ้นมาเพื่อเจตนาพิเศษบางอย่าง แหล่งที่มาของนิยาย และตัวละครที่ถูกแต่งเรื่องขึ้น เหล่านี้ก็คือซัยฟ์ อิบนิ อุมัร อัลตะมีมี ผู้ประพันธ์หนังสือ อัล ฟุตุฮ์ อัลกะบีร วัลริดดะฮ์ และอัล ญะมัล วะมะซีร อาอิชะฮ์วะอะลี ซัยฟ์ไม่ได้แตกต่างจากแหล่งที่เป็นของจริงแท้เฉพาะในด้านเนื้อหาเท่านั้น แต่ในด้านสายรายงานด้วยเช่นกัน โดยการใช้ผู้เล่าเรื่องที่เป็นผู้คนที่ไม่มีอยู่จริง ซัยฟ์ได้แต่งเรื่องเหล่านี้ และผู้เล่าเรื่องที่ไม่มีอยู่จริง ก็เพื่อเอาใจบรรดาผู้ที่ปรารถนาที่จะปิดบังความจริง และนำเสนอเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ให้มันดูตรงกันข้ามกับที่มันได้เกิดขึ้นจริง

นักประวัติศาสตร์บางคนพบว่า เรื่องของซัยฟ์สอดคล้องกับรสนิยมของตนเอง เหตุผลง่ายๆก็เพราะเหตุว่าซัยฟ์ได้สร้างตัวละครที่มีมนุษยธรรมวีรบุรุษ และบุคคลที่มีความดีงามล้ำเลิศและมีเหตุผลจากบรรดาผู้ปกครอง เจ้าเมืองและผู้บัญชาการกองทัพขึ้นในเรื่องเล่าต่างๆของเขา เขาได้สร้างเรื่องที่ดูแปลกพิสดารขึ้นมาเช่นกัน และดูขัดกันกับกฎธรรมชาติที่เป็นจริง เพื่อทำให้มันดูราวกับเป็นเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ เช่นทรายกลายเป็นน้ำ ทะเล เปลี่ยนไปเป็นพื้นทราย และวัวพูดกับคน เพื่อบอกถึงเรื่องที่หลบซ่อนของพวกมันให้กับกองทัพมุสลิมได้รู้และอื่นๆ

ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ปกครองเจ้าเมืองแม่ทัพ และผู้คนที่อิทธิพลต่างๆในยุคแรกต้นของอิสลามได้เข้าไปพัวพันกับเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องราวต่างๆของซัยฟ์ ได้ช่วยปกปิดความผิดเหล่านี้ ด้วยข้อแก้ตัวที่ฟังดูง่ายๆ และฉะนั้นจึงเป็นการป้องกันไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกเขาเหล่านั้น

ดังตัวอย่างที่เราได้เห็นในข้อเขียนของซัยฟ์ ดังต่อไปนี้
1. ซัยฟ์ได้บันทึกไว้ว่า อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ ได้ให้สัตยาบันกับ อบูบักร ในวันเดียวกันกับบุคคลอื่นที่ได้ให้สัตยาบันของพวกเขา !! ในขณะที่อะลีปฏิเสธที่จะให้การยอมรับและให้สัตยาบัน จนถึงวาระที่ภรรยาของเขา (ฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวของท่านศาสดา) ได้วายชนม์ไปแล้ว

2. ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้ว่าสะอัด อิบนิ อุบาดะฮ์ได้ให้สัตยาบันโดยไม่เต็มใจ !! ในขณะที่เขาปฏิเสธที่จะให้สัตยาบัน และผลจากการกระทำเช่นนี้ เขาจึงถูกฆาตรกรรมในสถานที่ๆเขาถูกเนรเทศไป ณ เฮารอน

3. ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้ว่าผู้คนที่มาจากเผ่าพันธุ์ต่างๆทั้งหมดเหล่านั้น ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้ต้องถูกประหารชีวิต และบรรดาภรรยาของพวกเขาถูกจับตัวไปเป็นเชลยศึกตกเป็นมุรตัด (หมายถึง ได้ยอมรับอิสลามแล้ว ต่อมาได้ปฏิเสธศาสนา !! ) ในขณะที่ความจริงมีว่าพวกเขาปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันต่ออบูบักร

4. ซัยฟ์ ได้บันทึกคำกล่าวของท่านศาสดาที่ว่า ขณะที่ได้บอกกล่าวถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังขี่อูฐมาใกล้เฮาอับนั้นเป็น อุมมุ ซุมัล !! มาบัดนี้เราทราบแล้วว่านางคือ อาอิชะฮ์ อุมมุลมุอ์มินีน (บุตรสาวของอบูบักรและเป็นภรรยาของท่านศาสดา)

5. ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้ว่า มุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์ (เจ้าเมืองในสมัยของอุมัร) กำลังอยู่ในบ้านของเขา เมื่อเขาถูกแลเห็นว่ากำลังร่วมประเวณีกับผู้หญิงคนหนึ่ง บรรดาผู้ที่ได้เห็นเขานั้นไม่อาจเห็นผู้หญิงคนนั้นได้ และนางอาจเป็นภรรยาของเขาเอง !! เราได้ตั้งข้อสังเกตไว้แล้วว่า การบันทึกของนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ ขัดแย้งกับบันทึกของซัยฟ์โดยสิ้นเชิง มุฆีเราะฮ์ อิบนิ ชุอ์บะฮ์ กำลังอยู่ในบ้านของอุมมุ ญะมีล และกำลังร่วมประเวณีอยู่กับผู้หญิงคนนี้ในขณะที่มีผู้มาพบเห็น

6. ซัยฟ์ ได้บันทึกไว้ว่า อบูมิฮ์ญัน ษะกอฟี ถูกจองจำในสมัยของอุมัร เนื่องจากบทกวีที่เขาได้อ่าน ซึ่งแสดงออกถึงความโปรดปรานการดื่มสุรา !! แต่ความจริงเป็นว่า เขาดื่มสุราจนเป็นอาจิณ

บางทีนักประวัติศาสตร์ตะวันตกบางคนได้ค้นพบในสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาอยู่เช่นกัน ในเรื่องที่ซัยฟ์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา นั่นคือการสังหารหมู่และความประพฤติอันป่าเถื่อนของกองทัพ และบรรดาทหารแห่งอิสลาม เราได้เห็นจากเรื่องเล่าของซัยฟ์ที่ว่า คอลิด อิบนิ วะลีด ใช้เวลาอยู่ถึงสามวันสามคืน วุ่นอยู่กับการตัดคอเชลยศึกสงคราม ยิ่งไปกว่านั้นเราได้สังเกตเห็นว่า คอลิด ได้ตัดคอผู้คนที่บริสุทธิ์ปราศจากความผิดด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะคอลิดเคยสาบานไว้ว่า “เขาจะทำแม่น้ำขึ้นมาสายหนึ่งจากเลือดของพวกเขาเหล่านั้น !!” นับเป็นเรื่องที่ไร้สาระโดยสิ้นเชิง นักประวัติศาสตร์ตะวันตกได้อ่านเรื่องราวที่ซัยฟ์แต่งขึ้น ดังที่ว่ามีผู้คนเป็นจำนวนเรือนแสนต้องถูกสังหารลงในสงคราม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงต้นของอิสลาม เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงความประพฤติที่เป็นอมนุษย์และป่าเถื่อนของพวกเขา เพื่อทำลายล้างมนุษชาติ เช่นเดียวกับฮูลากูและมองโกล

พวกเขาได้ตั้งข้อสังเกตในการบันทึกของซัยฟ์ที่ว่า มุสลิมส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่รอบนอกของมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ได้ตกมุรตัดภายหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) และพวกเขาต้องถูกเปลี่ยนกลับมาอีก โดยใช้กำลังและโดยอาศัยดาบ เพื่อชี้ให้เห็นว่าอิสลามเผยแผ่ และขยายตัวออกไปโดยอาศัยกำลังบังคับ !!

และในท้ายที่สุดนักประวัติศาสตร์ตะวันตก ได้เรียนรู้มาจากการบันทึกของซัยฟ์ว่า ยิวคนหนึ่งชื่อ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อบรรดาสาวกผู้ใกล้ชิดของท่านศาสดา ด้วยการหันเหจิตใจของพวกเขาไปจากคำสอนหลักของอิสลาม และก่อให้เกิดการกบฏอันนำไปสู่การสังหารคอลีฟะฮ์ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามของยิวลี้ลับคนหนึ่ง !! และอื่นๆ

บางทีนักประวัติศาสตร์ตะวันตก ชอบเรื่องราวของซัยฟ์ถึงกับว่าพวกเขายึดเอางานวิเคราะห์ของพวกเขาไว้กับการบันทึกของซัยฟ์ และไม่สนใจไยดีที่จะขุดค้นไปสู่ความจริงที่บันทึกไว้โดยผู้อื่น และพวกเขาไม่ยอมกล่าวถึงการบันทึกอื่นๆที่น่าเชื่อถือมากกว่าของซัยฟ์

หลังจากที่ได้ค้นคว้าการบันทึกของซัยฟ์ อย่างละเอียดถี่ถ้วนจากหนังสือ อัล ฟุตูฮ์ วัลริดดะฮ์ และ อัล ญะมาล วะมะซีร อาอิชะฮ์วะอะลี เราจึงมาถึงความจริงแท้ข้อนี้คือ การบันทึกของซัยฟ์ มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อนักเขียนอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักเขียนผู้มีชื่อเสียงอย่างเช่น ฏอบารี อิบนิ อะซีร อิบนิ กะซีร และอิบนิ คอลดูน ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่เราเปรียบเทียบการบันทึกของซัยฟ์กับการบันทึกของผู้อื่น เราจึงมาถึงข้อสรุปดังนี้ว่า ผู้รู้ในสายของฮะดิษบางท่าน พูดไว้อย่างถูกต้องดังที่ว่า “ซัยฟ์เป็นคนมุสา และเป็นนักเขียนนิยาย”

เท่าที่ซัยฟ์เป็นคนซินดีกคนหนึ่ง (หน้าไหว้หลังหลอก) ซึ่งผู้ทรงความรู้ในทางฮะดิษและนักวิชาการบางท่านได้กล่าวหาเขาเอาไว้ เราจึงจะได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ ชื่อ “หนึ่งร้อยห้าสิบซอฮาบะฮ์ มุคตอลัฆ” (150 ซอฮาบะฮ์ ที่ไม่มีตัวตน) ในหนังสือเล่มสามเราพยายามจะวิจารณ์และวิจัยหนังสือของซัยฟ์ที่ชื่อ อัล ญะมัล ซัยฟ์เขียนหนังสือนี้ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายถึงสาเหตุของการก่อกบฏ ในสมัยของ คอลีฟะฮ์อุศมาน ปกป้องผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เช่น มุอาวิยะฮ์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีซัรฮ์ และอธิบายถึงเหตุผลต่างๆ ซึ่งบรรดามุสลิมในประเทศต่างๆมีความโกรธเคือง และสะอิดสะเอียนกับบรรดาผู้ปกครองแห่งอุมัยยะฮ์ และอื่นๆ เราจะพยายามวิจัยถึงฮะดิษเหล่านี้ แหล่งที่มาและบรรดาผู้เล่าไว้ในหนังสือเล่มที่สาม








.....................

ซัยยิด มุรตะฎอ อัสการี










ตอนจบของการแปล
หากไม่ใช่เป็นเพราะ “ความสิ้นหวังประดุจดังการปฏิเสธในพระเจ้าแล้ว” ฉันคงไม่มีหวังที่จะทำให้งานแปลนี้สำเร็จลงได้ ผู้หนึ่งย่อมเห็นได้จากความไม่ต่อเนื่องและความไม่ราบเรียบดังว่า งานนี้ไม่ใช่เป็นของบุคคลเพียงคนเดียว หลังจากที่ฉันได้อ่านหนังสือนี้ในฉบับพิมพ์ภาษาเปอร์เซีย ฉันจึงได้แนะนำให้กับเพื่อนคนหนึ่งที่คู่หมั้นของเขาเป็นผู้หญิงอังกฤษ เพื่อว่าพวกเขาจะช่วยแปลหนังสือนี้เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในไม่ช้าเขาทั้งสองสมรสกันและเปลี่ยนใจไม่รับงานนี้ เพราะฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจที่จะทำมันด้วยตนเอง ทั้งที่ตระหนักดีว่า งานนี้มันหนักหนาเกินไปสำหรับฉัน นั้นคือ “ทำท้องทะเลให้แห้งแล้ง ด้วยกับกระป๋อง” เวลา ! ภาษาอังกฤษ ! งานแปลของฉันนี้ ได้รับการแก้ไขจากบุคคลต่างๆและนี้คือ คำตอบถึงความไม่ราบเรียบของมัน

อย่างไรก็ตามฉันได้พยายามอย่างที่สุดที่จะเขียนหนังสืออ้างอิงให้ถูกต้อง แต่ฉันไม่ได้ใส่ใจมากนักกับคำสะกดของชื่อต่างๆ เพราะมีการเปลี่ยนการออกเสียงและคำสะกดตามไวยกรณ์อาหรับ (ตามต้นฉบับ) แล้วแต่กรณีและเป้าหมายของหนังสือนี้ ไม่ใช่เป็นหนังสือวรรณคดีแต่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ซัยฟ์ได้บิดเบือนประวัติศาสตร์อิสลามเพื่อเห็นแก่การเอาใจผู้ปกครอง คอลีฟะฮ์ และเจ้าเมืองในสมัยนั้น ผู้ซึ่งต้องการที่จะทำให้ผู้คนเชื่อถือว่าพวกเขาเป็นผู้มีความถูกต้อง และบรรดาผู้ตามแนวทางของอะลีอยู่ในหนทางที่หลงผิด ยิ่งไปกว่านั้น ฉันพยายามที่จะชี้ชวนให้เห็นถึงความคิดของผู้ประพันธ์ต้นฉบับของหนังสือให้กับผู้อ่านได้เห็นว่า ประโยคทั้งหมดที่ใช้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อิสลามเล่มต่างๆที่ได้ชื่อว่าเป็นของจริงแท้นั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องเสียทั้งหมด แต่ยังมีตัวละครที่ถูกแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อมารับบทบาทต่างๆของวีรบุรุษ ผู้ซึ่งมีการยอมรับกันว่า เป็นบุคคลที่มีอยู่จริงมาเป็นเวลานานนับสิบสี่ศตวรรษแล้ว เป็นต้นว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์




เจ. มุกอดดัส, รักบี่, 28 เมษายน 2517


หมายเหตุจากบรรณาธิการ
ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสตรวจทาน จัดรูปเล่มและได้ตรวจสอบคำแปลภาษาอังกฤษของหนังสือนี้ความจริงที่อยู่เบื้องหลังนิยาย อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ (การศึกษาถึงประวัติศาสตร์อิสลามในยุคต้น) กับคำแปลภาษาเปอร์เซีย

ขอขอบคุณเป็นการเฉพาะต่อคุณมุฮัมมัด อะลาวี ผู้ซึ่งได้กรุณาช่วยอ่านบางบทและเปรียบเทียบมันกับต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาเปอร์เซีย

บางตอนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยและบางตอนได้มีการแก้ไข หรือไม่ก็ได้มีการแปลใหม่ทั้งหมด นับเป็นความหวังด้วยความจริงใจว่า การศึกษาถึงเรื่องนี้จะเหนี่ยวนำและกระตุ้นนักวิชาการตะวันตกให้ดำเนินการค้นคว้ายิ่งขึ้น เพื่อการค้นหาความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังนิทาน ซึ่งดำรงอยู่มาเป็นเวลาอันยาวนานหลายศตวรรษแล้ว



ฮุซเซน ซาฮิบ


หมายเหตุ
1. ก่อนอะห์มัด อามีน รอชีด ริฎอ ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในหนังสือของเขา ชื่อ อัล ซุนนะฮ์ วัล ชีอะฮ์
2. พวกเขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสาวกของท่านศาสดา (ซอฮาบะฮ์)
3. เรื่องนี้เป็นเรื่องเท็จและแต่งขึ้นโดยใช้ชื่อ อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ อบูซัรไม่เคยเผยแพร่เพื่อเป็นการต่อต้านคนรวย คำพูดของเขามุ่งไปยังมุอาวิยะฮ์และราชวงศ์ของเขา ผู้ซึ่งได้ยึดเอาทรัพย์สินของผู้คนไปโดยใช้กำลัง และอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ถูกใช้เพื่อเป็นการปกปิดเรื่องนี้ ด้วยการแต่งเรื่องนิทานเหล่านี้ขึ้นมา
4. นับเป็นความอับโชคที่หนังสือของอะห์มัด อะมีน ที่มีชื่อว่า ฟัจรุล อิสลาม และของ ฮาซัน อี. ฮาซัน ชื่อ ประวัติศาสตร์การเมืองอิสลาม เป็นหนังสือเพียงสองเล่มที่เกี่ยวกับชีอะฮ์ ใช้สอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆของตะวันตก
5. เผ่าของ อบูบักรและอุมัร
6. อิบนิ กะซีร (เล่ม 6 หน้า 212)
7. สุยูฏี ในหนังสือ อัลคอซออิส (เล่ม 2 หน้า 137) และอิบนิอับดุลบัรในหนังสือ อัล อิสตีอาบ
8. อัล กามิล ของอิบนิ อะซีร เหตุการณ์ต่างๆของปี ฮ.ศ. 44 อัล อิสตีอาบ เล่ม 1 หน้า 548-555 อัล อิซอบะฮ์ เล่ม 1 หน้า 563
9. อบูบักรอฮ์ชื่อของเขาคือ นุฟัยอ์ บุตรของมัสรุฮ์ ฮะบาชี และมีกล่าวไว้ว่าบิดาของเขาชื่อ ฮาริษ อิบนิ กะละดะฮ์ อิบนิ อัมร อิบนิ อิลาจ อิบนิ อบี ซะละมะฮ์ อิบนิ อับดุลอุซซา อิบนิกอยส์
10. เรื่องราวของการละเมิดประเวณีของมุฆีเราะฮ์ ได้รับการบอกเล่าไว้โดย อิบนิ ญะรีร อิบนิ อะซีร และอบุลฟิดา อันเป็นเหตุการณ์ของปี ฮ.ศ. 17
11. ฮาซูวี เป็นชื่อของภูเขาลูกหนึ่ง อยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งซึ่งผู้คนที่ถูกเนรเทศต้องไปอยู่ที่นั้นในสมัยนั้น
12. ฏารีค อัล กามิล เล่ม 10 หน้า 178 ชะซะรอตุซซะฮับ เหตุการณ์ในปี ฮ.ศ. 489 ลีซานุล มีซาน เล่ม 6 หน้า 57. 479 และตัสกีรอตุล ฮุฟฟาซ อัล ซะฮาบี หน้า 1224
13. ฏอบารีเล่ม 1 หน้า 1892 เอรติดาด เฆตแพน ปี ฮ.ศ. 11
14. ฏอบารี เล่ม 1 หน้า 2052 ข่าวที่ตาม ฮัยเราะฮ์มา
15. อุบุลละฮ์ เป็นชื่อเมืองๆหนึ่งใกล้กับแม่น้ำไตกรีสกับบัสเราะฮ์ บัสเราะฮ์กลายมาเป็นเมืองเก่านั้น เป็นที่ตั้งของศูนย์บัญชาการกองทัพ โดยคำสั่งของคุสรอจาก มุอ์ญะมุล บุลดาน



ท้ายเล่มจากผู้ตรวจทาน
ในระหว่างที่ สำนักพิมพ์ 14 พับลิเคชั่น สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม กำลังจัดแปลและพิมพ์หนังสือเรื่อง “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และนิยายต่างๆ” ของท่านศาสตราจารย์ อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุรตะฎอ อัสการี ได้มีบทความปรากฏอยู่ในอินเตอร์เน็ต เวบไซต์ “มุสลิมไทย” หัวข้อเรื่อง “อิบนิ สะบาอ์เป็นนิทานหรือเป็นเรื่องจริง” ซึ่งแปลเป็นไทยมาจากหนังสือของ ดร. มุฮัมมัด ยูซุฟ อัล นากรามี เรื่อง Al-Shi’aa on The Scale แปลโดย อะห์มัด อิบรอฮีม อัชชะรีฟ 1989 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ไร้ชื่อ จากหน้า 48-64 ซึ่งผู้เขียนพยายามที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ท่านศาสตราจารย์ มุรตะฎอ อัสการี เป็นนักประวัติศาสตร์อิสลาม ร่วมสมัยที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อผู้เขียนตลอดจนสหายร่วมอุดมการณ์ของพวกเขา จะได้ยึดมั่นกับความเชื่อเดิมของพวกเขาที่ว่าชีอะฮ์มีที่มาจากอัลดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ผู้เป็นยิวดังรายละเอียดแจ้งอยู่ในบทความที่ปรากฏอยู่ในเวปไซต์ดังกล่าวแล้วนั้น

เนื่องจากผู้ตรวจทานได้อ่านเวปไซต์ ของบทความดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จึงเห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งยงของท่านศาสตราจารย์ มุรตะฎอ อัสการี ที่ท่านได้ตัดสินใจนำผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งของท่าน ที่ได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจัยและตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เพื่อการเผยแพร่เรื่องราวของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่เล่าสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะเขียนอธิบายเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของเรื่องนี้เป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้

1. เนื่องจาก ดร. มุฮัมมัดยูซุฟ อัล นากรามี ผู้วิจารณ์ได้อ่านหนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ” ของท่านศาสตราจารย์ มุรตะฎอ อัล อัสการี จากหนังสือฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย “กลุ่มพี่น้องมุสลิม” ซึ่งได้ถูกแปลออกไปเพียงภาคเดียว เหมารวมไปว่าท่านจงใจไม่พูดถึงรายงานอื่นๆ ในเรื่องของอิบนิ สะบาอ์ ว่ากันตามจริงต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับนั้นมีจำนวนสองเล่ม และในปัจจุบันได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 6 ในปี ฮ.ศ. 1413 โดยสำนักพิมพ์ นัชรุเตาฮีด เตหะราน

พิมพ์ครั้งแรก ณ เมืองนะญัฟ ประเทศอิรัค ปี ฮ.ศ. 1375
พิมพ์ครั้งที่สอง ณ เมืองไคโร ประเทศอียิปต์ ปี ฮ.ศ. 1381
พิมพ์ครั้งที่สาม ณ เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน ปี ฮ.ศ. 1388
และหนังสือทั้งสองเล่มถูกแปลเป็นภาษาเปอร์เซีย เสร็จสิ้นในปี ฮ.ศ. 1384 ซึ่งแบ่งออกเป็นสามภาค และปัจจุบันได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของสำนักพิมพ์ “กลุ่มพี่น้องมุสลิม” ดังกล่าวนี้ได้แปลต้นฉบับมาจากภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง

2. จริงๆแล้ว ท่านอัลลามะฮ์ อัสการีย์ ได้กล่าวถึง เรื่องอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ที่รายงานไว้ในหนังสือ มุสนัด ของ อะห์มัด อิบนิ ฮัมบัล (อิมามฮัมบาลี) ไว้ในเล่ม 1 หน้า 187 (ต้นฉบับภาษาอาหรับ พิมพ์ครั้งที่ 6) และกล่าวถึง “หนังสือรวมปกิณกะและกลุ่มคณะต่างๆ (อัลมะกอลาต วัลฟิรอก)” ของท่านสะอัด อิบนิ อับดุลลอฮ์ ไว้ในหน้า 174 และในหน้า 220-222 อ้างถึงหนังสือ “ฟิรอก อัล ชีอะฮ์” ของท่าน อบูมุฮัมมัด อัล ฮาซัน อิบนุ มูซา อัล เนาบัคตีย์ ไว้ในหน้าที่ 222

3. ได้อ้างถึงหนังสือ ลิซาน อัล มีซาน ของซัยฟิน อิบนิ ฮาญัร อัล อัซกอ ลานีย์ ไว้ในเล่ม 1 หน้าที่ 222
4. ได้อ้างถึง อิบนิ อะซากิร พร้อมสายรายงานอื่นของเขาที่มีอยู่ในหนังสือ ตารีค มะดีนะฮ์ ดิมิชก์ ไว้ด้วยในเล่มหนึ่ง เฉพาะในหน้าที่ 232ถึง 234 ได้ กล่าวถึงรายงานอื่นๆ ของอิบนิ อะซากิรไว้ถึง 6 รายงาน
5. ดังที่ได้กล่าวในข้อที่ (1) แล้วว่า เนื่องจากผู้วิจารณ์ได้อ่านเฉพาะภาคที่หนึ่ง ดังนั้นจึงไม่พบสิ่งที่ท่านศาสตราจารย์ อัล อัสการีย์ กล่าวถึงในเรื่องอื่น

ท่านศาสตราจารย์ อัสการีย์ ได้พูดถึงและวิเคราะห์ตำรับตำราทั้งของชีอะฮ์ และซุนนีไว้โดยละเอียด แม้กระทั่งรายงานทั้ง 5 รายงาน (หมายเลข 170-174) ของหนังสืออิคติยาร มะอ์ริฟัต อัร ริญาล ไว้ในหนังสือ เล่มที่หนึ่ง จากหน้าที่ 167-254 ในสองหัวข้อใหญ่คือ

1. อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ในหนังสือต่างๆของอะห์ลุลฮะดิษ
ในหัวข้อนี้ได้นำเสนอและวิจารณ์ริวายะฮ์ต่างๆที่ท่านอบู อัมร์ อัลกัชชีย์ ได้อ้างไว้ใน หนังสือ “อัรริญาล” ของตน โดยเฉพาะรายงานทั้งห้าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “อิคติยาร มะอ์ริฟัต อัร ริญาล” ของท่านอบูญะอ์ฟัร อัตตูซีย์ และยังกล่าวถึงริวายะฮ์จากหนังสือของผู้ทรงความรู้ด้านอื่นๆด้วย เช่น –อัล กาฟีย์ ของ เชคกุลัยนี -อิมาม อะห์มัด อิบนิฮัมบัล (อิมามฮัมบาลี -ตารีค อัล อิสลามี ของท่านซะฮะบี เป็นต้น

2. อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ในหนังสือต่างๆ ของ อะฮ์ลิลมะกอลาต (บรรดานักรวบรวมปกิณกะ)
เพียงหลังฐานที่ได้กล่าวมานี้ ก็คงจะเพียงพอเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าผู้วิจารณ์ (ดร. มุฮัมมัด ยูซุฟ อัล นากรามี) ยังไม่มีความรอบคอบพอในการวิจารณ์หนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ของท่าน อัลลามะฮ์ อัสการีย์ หรือมิเช่นนั้นคงมีเจตนาต้องการทำให้ผู้ที่อ่านบทวิจารณ์นี้เกิดความคลางแคลงสงสัยและเข้าใจ ท่านอัลลามะฮ์ อัสการีย์ ไปในทางลบว่าท่านไม่ใช่นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง

ในทางตรงกันข้ามดูเหมือนว่าตัวผู้วิจารณ์หนังสือเล่มนี้เสียเอง ที่ยังไม่รู้จักบรรดานักวิชาการอิสลามดีพอ หรืออาจจะด้วยเจตนาอื่นที่พยายามกล่าว ถึงนักวิชาการซุนนี บางท่านว่าเป็นชีอะฮ์ ตัวอย่างเช่น ดร. อะห์มัด อามีน ชาวอียิปต์ ซึ่งจริงๆแล้ว ดร. อะห์มัด อามีน ผู้นี้คือ ผู้ต่อต้านชีอะฮ์อย่างรุนแรงยิ่ง ผลงานที่สำคัญของท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีนั้นมี 3 ชุด ฟัจญ์รุลอิสลาม (รุ่งอรุณแห่งอิสลาม), ฎุฮา อัล อิสลาม (ยามสายแห่งอิสลาม), เยามุลอิสลาม (วันแห่งอิสลาม) ในหนังสือสองเล่มแรก ท่านได้โจมตีหลักความเชื่อของชีอะฮ์ อิมามิยะฮ์ อย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องการที่ท่านนบีได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลีเป็นผู้นำสืบต่อจากท่าน และได้อ้างว่าท่านนบี(ศ็อลฯ) ได้วางรากฐานในเรื่องของการชูรอและเลือกตั้งคอลีฟะฮ์ไว้

แต่ในเล่มสุดท้าย (เยามุลอิสลาม) ซึ่งท่านได้เขียนในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน โดยสารภาพถึงความผิดพลาดของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่ได้คัดค้านท่านนบี ขณะที่ท่านต้องการบันทึกคำสั่งเสียเกี่ยวกับผู้ซึ่งจะเป็นผู้นำภายหลังจากท่าน โดยเฉพาะการคัดค้านของท่านอุมัร ในวันพฤหัสบดีแห่งความอับโชคนั้น และการรวมตัวกันของซอฮาบะฮ์บางท่านที่ตำบลซะกีฟะฮ์ บนีซะอีดะฮ์ เพื่อแย่งชิงตำแหน่งคอลีฟะฮ์กัน ในวันที่ท่านนบีเสียชีวิต ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญแห่งความแตกแยกของมวลมุสลิม ในหนังสือข้างต้นยังได้กล่าวถึงสาเหตุของความเคียดแค้นที่ประชาชนมีต่อท่านอุศมาน จนทำให้อุศมานต้องถูกลอบสังหาร โดยกล่าวถึงสาเหตุดังกล่าวไว้ถึง 13 สาเหตุ ที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมของอุศมานและการเห็นแก่พวกพ้องและเครือญาติของตนเอง (โปรดดูหนังสือ “เยามุลอิสลาม” พิมพ์ ค.ศ. 1958 หน้า 41-64 อ้างจากหนังสือ “อัชชีอะฮ์ วะอัตตะชัยยุอ์” ของท่านมุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮ์ พิมพ์โดย “มักตะบะตุลมัดรอซะฮ์ อะดารุลกิตาบ อัล ลุบนานี” ณ กรุงเบรุต)

ส่วน ดร. ฏอฮา ฮูเซน ชาวอียิปต์ก็เป็นชาวซุนนี เช่นกัน

จากการที่ผู้แปลได้แปลบทวิจารณ์ดังกล่าวนี้ออกมาเป็นภาษาไทย บันทึกไว้ในเวบไซต์ดังกล่าวของอินเตอร์เน็ท ทำให้เรามั่นใจว่าผู้แปลก็มีแนวความคิดคับแคบเช่นเดียวกับเจ้าของบทวิจารณ์ และบางทีตนเองอาจจะยังไม่เคยได้สัมผัสกับหนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” เราจะจัดแปลและพิมพ์หนังสือดังกล่าวโดยสมบูรณ์ทั้งสามภาค เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้แปลบทวิจารณ์นี้ และแก่ผู้ที่ยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาดที่คิดว่าชีอะฮ์มีที่มาจากอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์จริงๆ

อัลลามะฮ์ อัสการีย์ ได้กล่าวว่า ท่านกัชชีย์ ภายหลังจากอ้างริวายะฮ์ทั้ง 5 บทแล้ว ท่านกล่าวว่า ท่านได้รายงานมาจากนักประวัติศาสตร์บางท่านว่า อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์เป็นชาวยะฮูดีต่อมาได้เข้ารับอิสลาม และได้กลายเป็นผู้หนึ่งที่มีความรักต่อท่านอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ (อ.) เขาคือผู้ซึ่งในขณะที่ยึดถือศาสนายิวได้มีความเชื่อถือที่เลยเถิด (ฆุลูว์) เกี่ยวกับยูชะอ์ อิบนินูน (ผู้เป็นวะศีย์ของท่านนบีมูซา(อ.)) เขาได้แสดงพฤติกรรมและความเชื่อที่เลยเถิด เช่นเดียวกันนี้เกี่ยวเกี่ยวกับตัวท่านอะลี และเขาคือบุคคลแรกที่กล่าวอ้างความเป็นอิมามของอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ(อ.) และการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านภายหลังจากท่านศาสนทูต(ศ็อลฯ) และแสดงตนออกห่างและเป็นศัตรูต่อบรรดาศัตรูของท่านอะลี และถือว่าพวกเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิเสธ และจากจุดนี้เองที่บรรดาฝ่ายตรงข้ามกับชีอะฮ์จึงพากันกล่าวว่าแนวทางชีอะฮ์มีต้นกำเนิดมาจากยิว (โปรดดุ สารอัตตักรีบ เล่ม 7)

ท่านอัลลามะฮ์ได้อธิบายต่อไปในการวิเคราะห์ริวายะฮ์ต่างๆว่า การอธิบายของท่านกัชชีย์ ภายหลังจากการอ้างถึงริวายะฮ์ทั้ง 5 บทดังกล่าวเป็นการสรุปเนื้อหาจากบรรดาริวายะฮ์ ซึ่ง “ซัยฟ์” ได้เล่าไว้เกี่ยวกับ “อับดุลลอฮ์ อิบ สะบาอ์” และฏอบรีย์ก็ได้อ้างมาจากนั้นเช่นกัน และบุคคลอื่นๆ ก็อ้างต่อมาจากฎอบรีย์อีกทอดหนึ่ง และเราได้วิเคราะห์ไปแล้วในหนังสือเล่มที่หนึ่ง และพวกท่านเองก็ยอมรับในเวปไซต์ของท่านแล้วว่า ซัยฟ์ เป็นนักเล่านิทานจอมโกหก เช่น เรื่องอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ เป็นต้น

ส่วนริวายะฮ์ ทั้ง 5 บทนี้ ที่ท่านกัชชีย์ได้อ้างถึงนั้น เราได้พบว่าเนื้อหาดังกล่าวนี้มีปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับ “อัล มิลัล วัน นิฮัล” (กลุ่มและแนวทางต่างๆ) ซึ่งมีอยู่ก่อนยุคสมัยของท่านกัชชีย์ หรือได้ถูกเขียนขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับท่านกัชชีย์ร่วมสมัยกับ อิบนิ เกาละวัยฮ์ (มรณะ ฮ.ศ. 369) และเนื้อหาริวายะฮ์ต่างๆของเขาที่มีในหนังสือ “อัลมะกอลาต” เรียบเรียงโดยซะอัด บิน อับดุลลอฮ์ อัล อัชอะรีย์ (มรณะ ฮ.ศ. 301) และ เช่นเดียวกันนี้ในหนังสือ “มะกอลาตุลอิสลามียีน” ของ อะลี บินอิสมาอีล (มรณะ ฮ.ศ. 330) ทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกอ้างรายงานไว้ก่อน ท่านกัชชีย์ และ อิบนิ เกาลาวัยฮ์ทั้งสิ้นจะต่างกันก็ตรงที่บุคคลเหล่านั้นได้อ้างริวายะฮ์ด้วยวิธีการเฉพาะแบบหนึ่งและปราศจากสายสืบ (สะนัด) แต่ในริญาลกัชชีย์ ได้อ้างไว้ในรูปต่างๆพร้อมด้วยสายสืบ ซึ่งเราจะทำการตรวจสอบสายสืบเหล่านั้นกันต่อไป

อัลลามะฮ์ อัสการีย์ กล่าวต่อไปอีกว่า ในการวิเคระห์ตรวจสอบบรรดาริวายะฮ์ต่างๆ ที่กล่าวถึงอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ที่มีปรากฏในบรรดาหนังสือของชีอะฮ์นั้นเราได้รับบทสรุปว่า บรรดาริวายะฮ์ทั้งหมดเหล่านั้นได้ถูกอ้างมาจากหนังสือ “ริญาล อัล กัชชีย์” ทั้งสิ้น


๑๕
อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ

ท่านได้อ้างหนังสือที่รายงานริวายะฮ์เหล่านั้นจากหนังสือ ริญาล อัล กัชชีย์ อีกทอดหนึ่งไว้จำนวน 11 เล่ม

จากนั้นท่านอัลลามะฮ์ได้เริ่มวิเคราะห์สายสืบและวิธีการรวบรวมฮะดิษ ของท่าน กัชชีย์ ซึ่งจะขอสรุปเป็นบางส่วนดังนี้
1. กัชชีย์ เป็นลูกศิษย์ของอัยยาชีย์ และได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายจากเขา ท่านนัจญาชีย์ได้กล่าวถึง อัยยาชี ว่า เขาเป็นบุคคลที่อ่อนแอ (ฎออีฟ) และชอบรายงานฮะดิษจากบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือจำนวนมาก และเริ่มแรกทีเดียวเขายึดถือมัซฮับอะห์ลิซซุนนะฮ์ และเขาได้รับฟังฮะดิษของอะห์ลิซซุนนะฮ์จำนวนมากมาย ด้วยเหตุนี้เขาจึงรายงานฮะดิษประเภทนี้ไว้อย่างมากมาย

2. ท่านนัจญาชีย์ได้กล่าวว่า กัชชีย์ มีหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับ “ริญาล” หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาต่างๆมากมาย แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อผิดพลาดต่างๆมากมายเช่นกัน

3. นัจญาชีย์ยังได้กล่าวเกี่ยวกับกัชชีย์ไว้เช่นนี้อีกว่า เขาเล่าฮะดิษจากบุคคลที่อ่อนแอ (ฏออีฟ) และไม่น่าเชื่อถือ

4. เจ้าของหนังสือ “กอมูซ อัรริญาล” ได้กล่าวว่า “จากหนังสือริญาลของกัชชีย์นั้น ไม่มีต้นฉบับที่ถูกต้อง(ซอเฮียะฮ์) ตกถึงมือใครอีกเลย แม้แต่ท่านเชคฏูซีย์และนัจญาชีย์” นัจญาชีย์เองได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ริญาล กัชชี มีเนื้อหาที่ผิดพลาดมากมาย” จากนั้นเจ้าของ “กอมูซ ริญาล” ได้กล่าวว่า “การถูกปลอมแปลง บิดเบือน ที่เกิดขึ้นในหนังสือริญาลของกัชชีย์นั้น มีมากเกินกว่าจะคำนวณนับได้ เนื้อหาที่ไม่ถูกบิดเบือนและปลอดภัย (ซาลิม) ในหนังสือเล่มนั้น เหลือน้อยมาก” ตัวอย่างเช่น จากนั้นท่านได้กล่าวถึงสาเหตุต่างๆของการถูกบิดเบือน

5. ริวายะฮ์ทั้งห้าบทดังกล่าว
5.1 บรรดาอุลามาอ์ส่วนมากนั้นไม่ยอมรับ ในริวายะฮ์เหล่านี้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าบรรดาเจ้าของ “อัล กุตุบ อัล อัร บะอะฮ์” คือ
1. อัลกาฟีย์ ของเชคกุลัยนี (มรณะ ฮ.ศ. 329)
2. มันลายะฮ์ฏูรุฮุลฟะกีฮ์ ของ เชคศุดูก (มรณะ ฮ.ศ. 381)
3. อัตตะฮ์ซีบ ของเชคฏูซีย์ (มรณะ ฮ.ศ. 460)
4. อัล อิศติบศอร ของเชคฏูซีย์ (มรณะ ฮ.ศ. 460)
จึงไม่กล่าวถึงริวายะฮ์เหล่านี้ไว้แต่อย่างใดเลย


5.2 ในริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์เอง มีริวายะฮ์อื่นๆอีกที่มีเนื้อหาขัดแย้ง (ตะนากุฎ) กับริวายะฮ์เหล่านี้ของกัชชีย์ ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความเท็จ (ตักซีบ) ของฮะดิษทั้ง 5 บทดังกล่าว จากนั้นอัลลามะฮ์ ได้ยกตัวอย่าง ฮะดิษสองบทที่ขัดแย้งกับฮะดิษทั้งห้านั้นมาอ้างไว้ (โปรดดูจากหนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ และนิยายต่างๆ” เล่ม 2 จากหน้า 168-214 สำนักพิมพ์นัชรุตเตาฮีด เตหะราน พิมพ์ปี ฮ.ศ. 1413 ครั้งที่ 6)

ฉะนั้น บุคคลที่จะนำฮะดิษของชีอะฮ์มาอ้างหรือวิเคราะห์นั้นจำเป็นต้องรู้ด้วยว่า วิธีการคัดเลือกฮะดิษและการยอมรับฮะดิษของชีอะฮ์นั้นเป็นอย่างไร? เราเชื่อว่าผู้วิจารณ์และผู้แปลข้อวิจารณ์คงไม่ปฏิเสธว่าหลักการสำคัญประการหนึ่งของอิสลามในการตรวจสอบฮะดิษนั้น คือการนำฮะดิษมาเทียบเคียงอัล กุรอาน และสิ่งใดก็ตามที่ขัดแย้งกับ อัล กุรอานจำเป็นที่จะต้องโยนทิ้งไป

ดังนั้นไม่ใช่ว่าทุกฮะดิษที่เราพบเห็นและอ่านพบนั้นจะสามารถนำไปอ้างเป็นหลักฐานได้โดยไม่ต้องวิเคราะห์ตรวจสอบ

ผู้วิจารณ์ไม่รู้เรื่องนี้จริงๆ หรือว่ามีเจตนาที่จะนำฮะดิษ และรายงานเหล่านี้มาอ้างอิง เพื่อสร้างภาพในทางเลวร้ายให้แก่ชีอะฮ์อิมามียะฮ์กันแน่ ท่านอัลลามะฮ์ ได้กล่าวในช่วงท้ายของหสังสือ โดยชี้ให้เห็นถึงความสับสนของบรรดานักรายงานฮะดิษ นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการ “ฟิร็อก” ทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องของ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า เนื้อหาเกี่ยวกับอิบนิ สะบาอ์ ในกุรุนที่ 5 (ในยุค 500 ปี) สามารถสรุปออกได้เป็น 3 ตัวละครคือ

1. อับดุลลอฮ์ อิบนิ วะฮับ อัสสะบาอี เป็นบุคคลระดับแนวหน้าของกลุ่มคอวาริจ เป็นบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จัก ยกเว้นในหมู่อุลามาอ์บางคนเท่านั้น (คนนี้มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์)
2. อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ ที่ถูกเรียกว่า อิบนิ เซาดะฮ์ ที่มีปรากฏในบรรดาริวายะฮ์ของ “ซัยฟ์” คือผู้ก่อตั้งแนวทาง “อัสสะบะอียะฮ์” (คนนี้คือตัวละครที่ซัยฟ์สร้างขึ้น)
3. อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ คือผู้ก่อตั้งแนวทาง “อัสสะบาอียะฮ์” ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องการเป็นพระเจ้าของท่านอะลี

(อับดุลลอฮ์ ผู้นี้เกิดจากระยะเวลายาวนานที่ผ่านไป และถูกเล่ากันต่อมาโดยประชาชนผู้ไร้ความรู้ (เอาวาม) ในเรื่องของอับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์ จนเนื้อหาของเรื่องได้เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นเรื่องที่งมงายไร้สาระและไร้แก่นสาร เป็นที่กล่าวขานกันอย่างแพร่หลายในทุกสังคมของมุสลิม และต่อมาบรรดานักวิชาการ “ฟิร็อก” (รวบรวมกลุ่มความเชื่อต่างๆ) จึงได้นำมาบันทึกไว้ในหนังสือ “ฟิร็อก” และ “อัลมิลัล วัลนิฮัล” ทั้งหลายของตน จะเห็นว่าหนังสือเหล่านี้จะเล่าเรื่องราวต่างๆโดยปราศจากการอ้างสายรายงาน (อิสนาด) ตัวอย่างเช่นหนังสือ

- อัล มิลัล วัลนิฮัล ของชาห์ริสตานี
- อัล ฟัรกุ บัยนัลฟิร็อก ของท่านอับดุลกอฮิร บัฆดาดี

(ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้จากหนังสือ “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์และนิยายต่างๆ” ในหัวข้อเรื่อง “อัสสะบาอียะฮ์ และอิบนิ สะบาอ์ในประวัติศาสตร์” เล่ม 1 จากหน้า 351-376 สำนักพิมพ์ นัชรุตเตาฮีด)

จากที่ได้ชี้แจงแถลงไขมาทั้งหมดข้างต้น ก็เพื่อให้ข้อเขียนของผู้ตรวจทาน ได้ปรากฏเป็นหลักฐานยืนยันไว้ในหนังสือซึ่งไม่อาจลบล้างให้หมดไปได้ แต่จะแตกต่างกันกับข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเวบไซต์มุสลิมไทยที่ท่านสามารถจะลบทิ้งไปเมื่อใดก็ได้ โดยหาผู้ใดมารับผิดชอบได้ไม่ ดุจดังความเท็จที่ต้องมลายหายไป เมื่อความสัตย์จริงมาปรากฏ ด้วยความจริงประการฉะนี้ จึงทำให้เราไม่สงสัยเลยว่า ทำไมพวกท่านที่จัดทำเวบไซต์มุสลิมไทยขึ้นมา จึงนำเอาข้อมูลที่ลำเอียงและผิดพลาดเกี่ยวกับชีอะฮ์และอิสลามมาบรรจุไว้ในเว็บไซต์ของท่าน เช่น เรื่อง “อับดุลลอฮ์ อิบนิ สะบาอ์” ดังกล่าวที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ และการที่ท่านกล่าวไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวว่า อัล กุรอาน มีจำนวนสองแสนกว่าคำ และมีจำนวนอักษรที่นับไม่ถ้วนซึ่งต้นฉบับภาษาอังกฤษของหนังสือที่ท่านนำมาแปลนั้น ก็อยู่ในห้องสมุดของสถาบันฯ แต่ท่านกลับไม่ยอมอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลเหล่านั้น ฉะนั้น พวกท่านคือ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดนี้เต็มประตูแต่เพียงผู้เดียว

สุดท้ายนี้ เราขอแนะนำให้พวกท่านอย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของพวกต่อต้านชีอะฮ์ มาแปลลงในเวบไซต์ มุสลิมไทยของท่านต่อไปอีกเลย แต่เราขอเรียกร้องให้ท่านเขียนหรือแปลหนังสือแล้วพิมพ์ออกมาเป็นเล่มๆ เพื่อเผยแผ่อิสลามตามที่เป็นจริงให้กับเพื่อนร่วมชาติของเราได้รับรู้สัจธรรมแห่งอิสลาม ดังที่สถาบันฯได้กระทำมาแล้ว และกำลังกระทำอยู่และกำลังจะกระทำต่อไป (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์) จะเป็นอามัลที่ดีเลิศมากกว่า และยิ่งไปกว่านั้นพวกท่านยังมีโอกาสที่จะได้ทุ่มเททรัพย์สินเงินทองและความรู้ได้อย่างมากมาย ปีละนับเป็นล้านๆ บาทได้อีกด้วย สรุปก็คือ สิ่งที่ท่านกำลังกระทำนั้นมันดูไร้ค่าและง่ายดายเหมือนสุกเอาเผากิน จงทำให้สมกับที่ท่านอ้างตนเองว่าเป็นผู้พิทักษ์ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เถิด

คำกล่าวสุดท้ายของเรา ณ ที่นี้ก็คือ มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ ขอความสันติสุขจากพระองค์จงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)และวงศ์วานแห่งอะห์ลุลบัยต์(อ.) ของท่านด้วยเถิด




วัสลาม

เชคมุฮัมมัด นะอีม ประดับญาติ
ผู้ตรวจทาน

ฝ่ายวิชาการ สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม


๑๖