ขออยู่กับผู้สัจจริง

ขออยู่กับผู้สัจจริง0%

ขออยู่กับผู้สัจจริง ผู้เขียน:
กลุ่ม: หลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 27

ขออยู่กับผู้สัจจริง

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ตีญานี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 27
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63267
ดาวน์โหลด: 457

รายละเอียด:

ขออยู่กับผู้สัจจริง
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 27 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 63267 / ดาวน์โหลด: 457
ขนาด ขนาด ขนาด
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ขออยู่กับผู้สัจจริง

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
ขออยู่กับผู้สัจจริง ขออยู่กับผู้สัจจริง
ประพันธ์โดย ดร.มุฮัมมัด ตีญานี อัสสะมาวี
แปลโดย อุสตาซ อัยยูบ ยอมใหญ่



بسم الله الرحمن الرحیم คำนำ
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ซึ่งไม่มีขอบเขตใดๆ มาจำกัดพระคุณลักษณ์ของพระองค์ และไม่มีสภาพการณ์ใดๆ กำหนดสภาวะดำรงอยู่ของพระองค์

ขอได้โปรดประทานพร และความสันติสุขแด่ประมุขและนบีของเรามุฮัมมัด(ศ) และแด่วงศ์วานของท่าน(ศ) ผู้ประเสริฐ ผู้บริสุทธิ์ทั้งผอง

นับเป็นการสนองความต้องการอย่างหนึ่งแด่พี่น้องผู้ศรัทธาในแนวทางอิมามียะฮฺในประเทศไทย ที่เราได้เสนอผลงานแปลหนังสือ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง” อันเป็นเล่มสองต่อจากหนังสือ “ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ” ของท่าน ดร.มุฮัมมัด ตีญานี อัซ-ซะมาวี ที่ได้จัดพิมพ์ไปแล้วเมื่อ พ.ศ.2534 ปรากฎว่าพี่น้องผู้ศรัทธาตลอดทั้งผู้อ่านทั้งหลายได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดียิ่ง ทางสถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านทั้งหลายจะได้รับประโยชน์จากหนังสือชุดนี้อย่างเต็มที่ในการแสวงหาความจริงบางอย่างในหลักความเชื่อตามคำสอนที่แท้จริงของอิสลาม

ณ ที่นี้ เราขอแสดงความคารวะแด่ความอุตสาหะอย่างสูงของ อุซตาซ อัยยูบ ยอมใหญ่ ในการแปลต้นฉบับจากภาษาอรับมาเป็นภาษาไทย และแด่คณะผู้ตรวจทานทุกท่าน

เราขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้โปรดประทานความสัมฤทธิ์ผลแก่พี่น้องผู้ศรัทธาในการแสวงหาหลักความเชื่ออันเที่ยงแท้ของอิสลาม

แน่นอน ความสำเร็จลุล่วงของงานชิ้นสำคัญนี้ ก็เนื่องโดยความกรุณาของอุซตาซ ฮุจญะตุ้ลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮาจญ์ เชคอะฮฺมัด ชะอ์บานี ที่ได้เสียสละอย่างเต็มกำลังในการจัดการดำเนินงานจนผลงานแปลอันทรงคุณค่านี้สำเร็จเป็นรูปเล่ม จนมาอยู่ในมือของพี่น้องในประเทศไทย

อนึ่ง หากพบข้อผิดพลาด จุดบกพร่องใดๆ ทางสถาบันยินดีรับการทักท้วง และติติงด้วยความหวังดีจากผู้อ่านเสมอ

อินชาอัลลอฮฺ คงอีกไม่นานนัก เราจะจัดพิมพ์ผลงานอื่นๆต่อไป

วัสลาม

สถาบันดารุล-อิลม์ มัดเราะซะฮฺ อิมามคูอี

กรุงเทพฯ ประเทศไทย




ขออยู่กับผู้สัจจริง



บทนำ
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงประทานทางนำ และประทานจิตเจตนา อีกทั้งความสงบให้แก่เรา ผู้ทรงประทานความดีทุกประการ และความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์เพื่อได้เป็นผู้มีคุณธรรม บุคคลใดมอบหมายตนต่อพระองค์ พระองค์ก็จะทรงปกป้องและพิทักษ์เขาจนพ้นจากแผนการของพวกมารชัยฏอนและคนใดหันห่างจากหนทางของพระองค์ก็จะเป็นผู้ขาดทุน ขอความจำเริญและความสันติสุขพึงมีแด่ผู้ถูกแต่งตั้งให้เป็น “ความเมตตา” แก่สากลโลก เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ และผู้ถูกริดรอนสิทธิ เป็นที่รักของคนยากไร้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) โดยปรารถนาในสิ่งที่พระองค์ทรงสัญญาไว้แก่ปวงบ่าวผู้มีสัจจะของพระองค์

และแด่วงศ์วานของท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย ซึ่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ยกฐานะของพวกเขาให้สูงส่งเหนือมนุษย์ทั้งมวล เพื่อเขาได้เป็นผู้ชี้นำหมู่ชนผู้เรียนรู้ และเป็นดวงประทีปที่ให้ทางนำสำหรับทุกคนที่อยู่กับทางนำ เป็นลำนาวาที่ให้ความปลอดภัย คนใดที่ปฏิเสธก็จะพินาศ

หลังจากนี้ ขอความพึงพอพระทัยและความชื่นชมจากพระองค์แด่บรรดาสาวกของท่านผู้ซื่อสัตย์ที่ให้สัตยาบันและสนับสนุนท่าน อีกทั้งไม่เป็นผู้ผิดสัญญา และยึดมั่นสัญญาภายหลังจากท่าน ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่พลิกผันโดยพวกเขาเป็นหมู่ชนที่ขอบพระคุณ

และขอให้มีแด่ผู้ที่ปฏิบัติตามเขาเหล่านั้นโดยดี และดำเนินชีวิตตามการชี้นำของพวกเขา นับจากรุ่นแรกและรุ่นสุดท้าย นับจากวันที่ท่านนบี(ศ) วะฟาต และวงศ์วานของท่าน(ศ) จนถึงวันตัดสิน

ข้าแต่พระผู้อภิบาล ได้โปรดทำให้หัวใจของข้าพระองค์กระจ่างแจ้ง และได้โปรดทำให้งานของข้าสะดวก และได้โปรดทำให้เงื่อนปมที่ลิ้นของข้าคลี่คลาย ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจคำพูดของข้า ข้าแต่พระผู้อภิบาล ได้โปรดเปิดสายตาอันชัดแจ้งแก่ทุกคนที่อ่านหนังสือของข้า ให้พวกเขาได้เห็นความจริงที่พระองค์ชี้นำปวงบ่าวของพระองค์ผู้มีความบริสุทธิ์ใจ

หลังจากที่หนังสือของข้าพเจ้าเล่มแรก “ ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ ” ได้พบกับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากท่านผู้อ่าน ซึ่งเขาเหล่านั้นได้เสนอขอสังเกตที่สำคัญบางประการ อีกทั้งได้ขอร้องให้เพิ่มรายละเอียดในปัญหาต่างๆที่บรรดามุสลิมทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺยังขัดแย้งกันอยู่ เพื่อม่านบังตาจะได้ถูกถอดถอนออกไปจนไม่เหลือความคลุมเครือใดๆไว้ให้แก่ผู้ที่ต้องการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

ดังนั้นข้าพเจ้าจึงรวบรวมหนังสือเล่มนี้ด้วยแนวทางเดิม เพื่อสะดวกแก่ผู้ศึกษาที่มีใจเป็นธรรม ในการที่จะเข้าถึงความเป็นจริงจากวิถีทางต่างๆรวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกันที่ข้าพเจ้าได้นำกระบวนการวิเคราะห์และหลักฐานประกอบเข้ามาอ้างอิงด้วย และได้ให้ชื่อเพื่อให้แสวงหาความจำเริญจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ว่า

“ขออยู่กับผู้สัตย์จริง”

เพราะมีโองการของพระองค์ที่ว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และจงอยู่กับบรรดาผู้สัจจะ”

ไม่มีใครอีกแล้วที่จะมีความสัตย์ยิ่งกว่า มุฮัมมัด(ศ) และอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ของท่าน(ศ) ในหมู่มุสลิมจะมีใครบ้างที่จะปฏิเสธว่า ไม่ยอมอยู่กับบรรดาผู้มีความสัตย์เหล่านี้ ซึ่งจะพบว่าตัวเองนั้นห่างไกลเสียเหลือเกินจากหนทางอันเที่ยงตรง เพราะต้องเป็นผู้ที่ถูกกริ้วหรือจะต้องเป็นพวกที่หลงผิด

นี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้ายอมรับอยู่เป็นการส่วนตัวและเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าพยามอธิบายแก่บุคคลอื่นตามที่ข้าพเจ้ามีความสามารถจะกระทำได้ โดยปราศจากการยึดความคิดของตัวเองเป็นหลัก แต่จะประกอบไปด้วยการให้ความยอมรับต่อความคิดเห็นของคนอื่น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)องค์เดียวเท่านั้นทรงเป็นผู้ชี้นำและทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้มีคุณธรรม ขณะเดียวกันได้มีคนบางกลุ่มตอบโต้ชื่อหนังสือเล่มแรกของข้าพเจ้า “ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ” โดยอ้างว่าเป็นการลบหลู่แก่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ได้รับทางนำก็เท่ากับว่า พวกเขาอยู่ในความหลงผิด (ฎ่อลาละฮฺ) สำหรับการตอบโต้ดังกล่าวนี้ ข้าพเจ้าจะขอตอบ ณ ที่นี้

ประการที่ 1 ในอัลกุรอาน อันทรงเกียรติ ได้มีคำว่า “หลงผิด” (ฎ่อลาละฮฺ) ที่ให้ความหมายว่า “หลงลืม” โดยโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ว่า

“ เขากล่าวว่าความรู้ในเรื่องนั้น อยู่ ณ พระผู้อภิบาลของฉันในคัมภีร์ ซึ่งพระผู้อภิบาลของฉันไม่หลงผิดและไม่ลืม” ( ฏอฮา / 52 )

และอีกโองการหนึ่งที่ตรัสว่า

“ เพื่อว่าหากนางหนึ่งจากทั้งสองหลงลืม คนหนึ่งจะได้ช่วยเตือนความจำให้แก่อีกคนหนึ่งได้ “ (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 282 )

ขณะเดียวกัน ในอัลกุรอาน ใช้คำว่า “หลงผิด” ที่ให้ความหมายว่า “แสวงหาและตรวจสอบ” ตรัสเพื่อเป็นการบอกเล่าแก่ศาสนทูตของพระองค์(ศ)ผู้ทรงเกียรติว่า “และได้ทรงพบว่าเจ้านั้นเป็นผู้แสวงหา ดังนั้นจึงทรงชี้นำ”( อัฎ-ฎุฮา / 7 )

หมายความว่า พระองค์ทรงพบว่าเจ้ากำลังแสวงหาสัจธรรม จึงทรงชี้นำเจ้า เพราะเป็นที่รู้กันว่า ชีวประวัติของท่านศาสดา(ศ) นั้น ก่อนได้รับวะฮฺยูท่านผละจากพรรคพวกในเมืองมักกะฮฺ ไปอยู่ตามลำพังในถ้ำฮิรอฮ์ หลายคืนเพื่อแสวงหาสัจธรรม

ในความหมายนี้เช่นกัน ที่ท่านนบี(ศ) ได้กล่าวว่า “วิทยปัญญา คือของตกหล่นสำหรับมุอ์มิน ไม่ว่าเขาจะพบมันที่ใดเขาจะเอามันไว้เสมอ” ดังนั้น ชื่อของหนังสือนี้จึงถูกตีความไปตามความหมายนี้ “ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ” หลังจากที่ข้าพเจ้าได้แสวงหาสัจธรรม อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงชี้นำข้าพเจ้าไปยังสิ่งนี้

ประการที่ 2 ก็คือเมื่อเราได้อ่านโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ตรัสว่า

“และแท้จริงฉันเป็นผู้ให้การอภัยแก่ผู้กลับตัว และศรัทธา และการกระทำการงานที่ดี หลังจากนั้น เขาก็ได้รับทางนำ”

เราจึงไม่รู้ว่าความหลงผิดจะได้แก่คนที่ยังมิได้รับทางนำ เพราะว่าผู้ที่กลับตัวแล้วเป็นมุอ์มินแล้ว และกระทำความดีแล้ว จะถือว่าเขาเป็นคนหลงผิดมิได้ (ถึงแม้ว่าเขาจะยังมิได้รับการชี้นำในเรื่อง วิลายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ.) ก็ตาม)



ประการที่ 3 ตามสมมุติฐานที่ว่า ผู้ใดที่ยังมิได้รับทางนำในเรื่องของวิลายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ.) เขาจะเป็นคนหลงผิด ตามความหมายของความหลงผิดที่ตรงข้ามกับการชี้นำ อันควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว มันคือเรื่องที่คนส่วนมากหลีกเลี่ยงและไม่ต้องการจะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงนี้ ด้วยจิตใจที่มีความปิติยินดี และรับภาระต่อสัจธรรมถึงแม้ว่าจะขมขื่นก็ตามถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ความหมายจากคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตอนนี้จะเป็นอย่างไร?

“ฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่ของพวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื้อสายของฉัน อะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ทราบใดที่พวกท่านยึดถือสองสิ่งนี้ พวกท่านจะไม่หลงผิดเด็ดขาด”

ดังนั้น ฮะดีษนี้จึงอธิบายให้ความกระจ่างชัดว่า อันคนหลงผิดนั้นก็ได้แก่ผู้ที่ไม่ยึดถือสองสิ่งนั้นพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายอมรับว่าตนเป็นคนหลงผิดเสมอ และได้รับทางนำโดยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เมื่อได้ยึดคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และเชื้อสายของท่านศาสนทูต(ศ) ดังนั้น มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งทรงนำทางเราเข้าสู่สิ่งนี้ และเรามิอาจรับทางนำได้ หากมิใช่เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงนำทางเรา โดยแน่นอนยิ่ง บรรดาศาสนทูตแห่งพระผู้อภิบาลของเราได้นำสัจธรรมมาแล้ว

ดังนั้น หนังสือของข้าพเจ้าทั้งเล่ม 1 และ เล่ม 2 ได้รับการตั้งชื่อตามคัมภีร์อัลกุรอาน เพราะนั่นหมายถึงพจนารถที่มีสัจจะยิ่งและดียิ่ง ทุกประการที่ข้าพเจ้าได้รวบรวมไว้ในหนังสือทั้งสองเล่ม หากไม่เป็นความจริงโดยแท้ทั้งสิ้นก็ถือได้ว่า ใกล้เคียงความจริงที่สุด เพราะมันเป็นหลักฐานที่สอดคล้องกัน ทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺ และที่รับรองจากทั้งสองฝ่ายแล้วว่า “ศอฮีฮฺ” กล่าวคือได้ผลลัพธ์มาเป็นหนังสือสองเล่ม “ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ” และ “ขออยู่กับผู้สัตย์จริง” ด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ข้าพเจ้าขอว่า โปรดได้นำทางประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ) โดยรวมพวกเขาทั้งมวลเข้าด้วยกัน เพื่อได้เป็นประชาชาติที่ประเสริฐ และปฏิบัติตามการนำของผู้มีความรู้ เพื่อไปยังแสงสว่างและทางนำโดยการนำของท่านอิมามอัลมะฮฺดี (อฺ) ซึ่งปู่ทวดของท่าน(ศ) ได้สัญญาต่อพวกเราไว้ว่า ท่านจะมาทำให้โลกนี้เต็มไปด้วยความยุติธรรมและเที่ยงธรรม เหมือนดังที่ความอธรรมและความชั่วร้ายเคยเต็มอยู่แต่ก่อน เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะประทานความสมบูรณ์แก่แสงสว่างของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ถึงแม้ว่าพวกปฏิเสธจะชิงชังก็ตาม

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ ขอความจำเริญและความสันติพึงมีแด่ผู้ประเสริฐแห่งบรรดาศาสนทูต ท่าน ซัยยิดินา เมาลานา มุฮัมมัด(ศ) และแด่วงศ์วานของท่านผู้ประเสริฐ ผู้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งหลาย

ในเมื่อศาสนานั้น ในขั้นแรกขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อต่างๆที่ประกอบขึ้นมาเป็นกระบวนการความคิด และความรู้ซึ่งผู้ถือศาสนานี้หรือศาสนาไหนๆก็เลื่อมใสศรัทธาเช่นกัน เพราะมีความเชื่อบางประการที่ถูกยอมรับ ยอมจำนนโดยปราศจากหลักฐานใดๆทางวิชาการ หรือทางสติปัญญา ทั้งนี้ด้วยเหตุว่า วิชาการ และสติปัญญานั้น เป็นสิ่งถูกจำกัด ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นผู้ซึ่งไม่ถูกจำกัดอยู่ด้วยกาลเวลาและสถานที่ และวิชาการความรู้ของพระองค์มิได้ถูกล้อมขอบเขตไว้ อีกทั้งสติปัญญา ถือว่าจำเป็นแก่ผู้ปฏิบัติตามไม่ว่าศาสนาใดที่จะต้องศรัทธาและต้องเชื่อ ผูกมัดตนไว้ด้วยเรื่องต่างๆอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่รับกับมาตรการทางด้วยความรู้และสติปัญญา ยกตัวอย่างเช่น การที่ไฟเป็นสิ่งเย็น และให้ความสันติ ในขณะที่วิชาการและสติปัญญาให้ความเชื่อตรงกันว่ามันจะต้องร้อนและยังความเสียหาย หรือการสับนกเป็นชิ้นๆแล้วแยกส่วนนำไปกระจายไว้ตามภูเขา หลังจากนั้น มันถูกเรียก แล้วก็ได้บินมาอย่างอุตสาหะได้ ขณะที่วิชาการและสติปัญญายืนยันว่า มันคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย หรือการรักษาคนตาบอด คนเป็นโรคเรื้อน คนเป็นใบ้ ด้วยเพียงการลูบของท่านนบีอีซา(อฺ) ยิ่งกว่านั้น ยังมีการชุบชีวิตคนตายให้เป็นขึ้นมาอีก ในขณะที่วิชาการและสติปัญญาไม่สามารถหาคำอธิบายใดๆมากล่าวได้ ปัจจุบันนี้ จุดที่สติปัญญา และวิชาการเข้าถึงก็คือ จุดแห่งความแปรผันจากสายตาของคนดีเป็นคนสายตาที่ตายแล้ว หรือจากหัวใจที่ดีๆเป็นหัวใจที่ตายแล้ว หรืออวัยวะที่ดีๆเป็นอวัยวะที่ตายแล้ว นั่นคือ ดังที่เราได้ทราบว่า มีข้อแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองนั้น นี่คือการที่คนตายเปลี่ยนเป็นคนมีชีวิต ในขณะที่อีกด้านหนึ่งเปลี่ยนจากการมีชีวิตไปเป็นคนตาย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือฝ่ายหนึ่งได้รับการแก้ไขปรับปรุง แต่อีกฝ่ายหนึ่งถูกทำลาย ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเตือนสำทับแก่มนุษย์มาตลอดสมัยแล้วว่า

“โอ้มนุษย์เอ๋ย อุทาหรณ์หนึ่งได้ถูกหยิบยกมาแล้ว ดังนั้นจงฟัง แท้จริงสิ่งที่พวกสูเจ้าวิงวอนขอ นอกเหนือจากอัลลอฮฺนั้นไม่สามารถจะสร้างแมลงวันสักตัวได้เลย ถึงแม้นว่า พวกเขาจะร่วมกันทั้งหมดก็ตาม” (อัล- ฮัจญ์ / 73)

ตัวอย่างดังกล่าวนี้ มีความเกี่ยวพันกับทุกฝ่าย ทั้งมุสลิม ยิว และนะศอรอ ที่อยู่กับความเชื่อของตน นั่นคือ สิ่งที่ห่างไกลจากมาตรฐานทางวิชาการและสติปัญญา อย่างไม่ต้องสงสัย

อันที่จริงแล้ว ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแสดงปฏิหารย์และสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆแก่บรรดานบีของพระองค์ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์ ก็เพื่อให้มนุษย์มีความเข้าใจว่า สติปัญญาของพวกเขานั้น ถูกจำกัดต่อการรับรู้ และการเข้าถึงสิ่งต่างๆทั้งปวง เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้มอบวิชาความรู้อะไรให้แก่พวกเขาเลย นอกจากเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพื่อจะได้ใช้สิ่งนี้ในการให้เป็นประโยชน์และความสมบูรณ์ตามเหตุผลอันควรจะมีสำหรับพวกเขาเท่านั้น จึงมีคนเป็นส่วนมากที่ปฏิเสธความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และส่วนมากคัดค้านการมีอยู่ของพระองค์ พวกเขาลำพองใจว่าตนเองมากด้วยความรู้และสติปัญญาจนกระทั่ง เคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นี่คือทั้งๆที่มีความรู้เพียงเล็กน้อย และสติปัญญาอันถูกจำกัด แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าพระองค์ทรงประทานวิชาความรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่พวกเขา มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ พระผู้อภิบาลของเราผู้ทรงสูงสุดยิ่ง ผู้ทรงสร้าง และทรงทำให้สมดุล ผู้ทรงกำหนดและทรงนำทาง

ด้วยเหตุจากทุกประการเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงรวบรวมหนังสือของข้าพเจ้าเล่มนี้ขึ้นมา จากส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อในอิสลาม ที่มีบันทึกอยู่ให้ อัลกุรอาน อันทรงเกียรติ และซุนนะฮฺนบีอันประเสริฐ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความขัดแย้งในกลุ่มและนิกายต่างๆของอิสลาม ตามพื้นฐานวิชาการว่าด้วยการวิเคราะห์และวิชาการทางด้านปรัชญาที่วัฒนธรรมอรับได้ผลิตมาให้เป็นมรดกหนึ่ง ซึ่งเราจะไม่พบเห็นแนวทางอันนี้ปรากฏอยู่ในศาสนาอื่นๆ และมิใช่เฉพาะแต่เพียงของคนอรับเท่านั้น หากแต่บรรดามุสลิมทั้งหมด จะผ่านการดำเนินชีวิตด้วยการวิเคราะห์ การค้นหา และศึกษาดิ้นรน ในวิถีทางอันว่าด้วยหลักความเชื่อของมุสลิม

ข้าพเจ้ามิได้พูดเกินความจริง ในอันที่จะกล่าวว่า หลักความเชื่อของอิสลามตามกระบวนการของมันนั้น ย่อมเป็นที่ยอมรับของวิชาการและสติปัญญาทั้งสิ้น แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า ขัดแย้งกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาก่อนแล้ว ทั้งนี้เพราะสติปัญญาและวิชาการของมุสลิมจะยอมรับต่อข้อบัญญัติจาก อัลกรุอานและฮะดีษของท่านนบี(ศ) ที่เที่ยงแท้ในกิจการใดๆก็ตามที่สติปัญญาและวิชาการเข้าไม่ถึงด้วยการใช้หลักการเปรียบเทียบของพวกเขา

บทพื้นฐานอันหนึ่ง หนังสือของข้าพเจ้าจะนำรายละเอียดมาวิเคราะห์ในตอนแรกเฉพาะในหลักความเชื่อของอะฮฺลิซซุนนะฮฺและชีอะฮฺในอัลกุรอาน อันทรงเกียรติ และซุนนะฮฺนบี(ศ) หลังจากนั้น ก็จะอธิบายความเชื่อต่างๆที่พวกเขาขัดแย้งกันและประณามซึ่งกันและกันโดยไม่ยอมโอนอ่อนให้แก่กัน ขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้โปรดประทานความประสงค์ให้แก่เราทั้งมวลเพื่อสิ่งที่พระองค์ทรงรักและทรงพอพระทัย และทรงรวบรวมพลังของมุสลิมทั้งหมดเข้าเป็นเอกภาพ แท้จริงพระองค์มีความสามารถที่จะรวบรวมพวกเขาเหล่านั้นให้เข้ากันได้ หากพระองค์ทรงประสงค์



อัล-กุรอานในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ และชีอะฮฺอิมามียะฮฺ
อัลกุรอานในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ และชีอะฮฺ อิมามียะฮฺ หมายถึงพระพจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ถูกประทานลงมาแด่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และหมายถึงกุรอานที่ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆมากล้ำกลาย ไม่ว่าจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อันเป็นธรรมนูญสูงสุดของมวลมุสลิม ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ ในแง่ของการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า(อิบาดะฮฺ) และในแง่ของหลักศรัทธาทั้งหลาย ผู้ใดที่สงสัยหรือลบหลู่คัมภีร์นี้ถือว่า หมดสภาพจากการนับถือศาสนาอิสลาม ดั้งนั้น บรรดามุสลิมทั้งหลาย มีความเชื่อตรงกันในเรื่องของความบริสุทธิ์และให้ความเคารพต่อคัมภีร์ และถือว่า ไม่มีใครสัมผัสคัมภีร์ได้นอกจากผู้บริสุทธิ์

แต่บรรดามุสลิมทั้งหลาย มีความแตกต่างกันในด้านการตัฟซีรให้ความหมายและการตีความอัล-กุรอาน บรรดาชีอะฮฺถือว่า การตัฟซีร และการตีความนั้น ต้องย้อนกลับไปยึดถือตามแนวทางของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) แต่บรรดาอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ถือว่าให้ยึดถือตามแนวของศ่อฮาบะฮฺ หรืออิมามทั้งสี่ท่านใดท่านหนึ่ง ในสี่มัซฮับเป็นหลัก

เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่จะต้องเกิดความความแตกต่างกันในด้านอะฮฺกาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของหลักนิติศาสตร์ และในเมื่อปรากฏว่า ยังมีความแตกต่างกันระหว่างมัซฮับทั้งสี่ จากสำนักอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺอย่างแจ้งชัด แล้วจะแปลกอะไรกับการที่จะมีความแตกต่างกันในระหว่างมัซฮับเหล่านั้นกับสำนักชีอะฮฺอย่างชัดแจ้งขึ้นไปอีก

ดังที่ข้าพเจ้าได้เกริ่นไว้แต่ตอนต้นแล้วว่า จะไม่พยายามหยิบยกเรื่องใดๆมาตีแผ่ นอกเสียจากบางข้อเพื่อเป็นตัวอย่างเพื่อสรุป จึงเป็นหน้าที่สำหรับผู้สนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาอย่างลึกซึ้ง เพื่อแยกแยะสาระสำคัญต่างๆให้ได้อย่างถ่องแท้ตามความสามารถ

ชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ มีความเชื่อตรงกันที่เกี่ยวกับกรณีที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สาธยายอะฮฺกามต่างๆทุกประการในอัลกุรอาน และได้อธิบายทุกๆโองการของอัลกุรอานแก่บรรดามุสลิม แต่เขานั้นมีความขัดแย้งกันในประเด็นของตัวบุลคลที่ถ่ายทอดการตัฟซีร และการตีความให้แก่พวกเขาในสมัยหลังจากที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)วะฟาตแล้ว ดังที่ชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กล่าวว่า

“สำหรับเรื่องการตัฟซีรต้องถือว่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺทั้งหมด คือผู้มีสิทธิเป็นชั้นที่หนึ่ง ต่อจากนั้นก็ได้แก่บรรดานักปราชญ์ของประชาชาติอิสลาม ส่วนในเรื่องของการตีความ (ตะอฺวีล) นั้น ส่วนใหญ่ถือว่าไม่มีใครสามารถรู้เรื่องการตีความได้ นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เท่านั้น”

นี่คือประเด็นปัญหาของการสนทนาระหว่างข้าพเจ้ากับท่านเชค อัซซิฆวานี นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงยิ่ง ชาวตูนิซ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าขอให้ท่านอธิบายความเกี่ยวกับฮะดีษที่ว่า นบีมูซา(อ)ขัดขืนมะลาอิกะฮฺ ตามที่ท่านบุคอรี ท่านมุสลิม นำมาบันทึกไว้ (1) ปรากฏว่า เชค ซิฆวานี ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและอธิบาย “อัลบุครี” ตอบข้าพเจ้าทันควันเลยว่า

“ใช่ ฮะดีษนี้มีบันทึกอยู่ใน ศ่อฮีฮฺ อัลบุคอรี และเป็นเรื่องที่มีหลักฐานถูกต้องจริง (ศ่อฮีฮฺ) และเรื่องราวทั้งหมดที่ท่านบุคอรีรวบรวมไว้นั้นจะต้องไม่มีข้อสงสัย”

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่เข้าใจฮะดีษนี้เลย ท่านพอจะอธิบายให้แก่พวกเราได้ไหม ?” ท่านตอบว่า “ศ่อฮีฮฺบุคอรี ก็เหมือนกับกิตาบุลลอฮฺ (อัลกุรอาน) อันใดที่ท่านเข้าใจก็เข้าใจไป แต่ถ้าอันใดที่ท่านไม่เข้าใจ ก็ต้องยกเรื่องนั้นๆให้กับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “อะไรเป็นหลักฐานประกอบเรื่องนี้ ? ในเมื่อเราจำเป็นจะต้องเข้าใจกิตาบุลลอฮฺ” ท่านตอบ(โดยยกโองการอัลกุรอาน) ว่า “บิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรรอฮิม พระองค์ทรงได้ประทานคัมภีร์ให้แก่พวกสูเจ้าในนั้นมีโองการต่างๆอันมีข้อความแจ้งชัดเป็นแม่บทของพระคัมภีร์ และโองการที่เป็นนัยต่างๆ สำหรับพวกที่มีความพลิกแพลงในหัวใจ ก็จะพยายามติดตามข้อความที่เป็นนัยเพื่อแสวงหาข้อผิดพลาด และแสวงหาการตีความ แต่จะไม่มีใครรู้เรื่องการตีความโองการนั้นๆได้ นอกจากอัลลอฮฺ” (อาลิอิมรอน / 7 ) (2)

ข้าพเจ้าได้อ่านโองการนี้ไปพร้อมๆกับท่าน พอจะอ่านต่อจากคำว่า “อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ว่าและบรรดาผู้สันทัดในวิชาการ”

ท่านก็ร้องขึ้นว่า “หยุดตรงที่คำว่า “นอกจากพระองค์อัลลอฮฺ” เพราะหลังจากคำนี้มีเครื่องหมายให้หยุด”

ข้าพเจ้ากล่าวขึ้นว่า “โอ้ท่าน ก็ตัว “วาว” ตัวนี้เป็น “วาวอะฏอฟ” ซึ่งต้องเชื่อมต่อไปถึงคำว่า ผู้สันทัดในวิชาการด้วย”

ท่านกล่าวว่า “ไม่ได้ นั่นมันเป็นประโยคใหม่ นั่นคือ และบรรดาผู้สันทัดได้กล่าวว่า พวกเราศรัทธามั่นต่อมันทุกประการที่มาจากพระผู้อภิบาลของเรา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจเรื่องการตีความก็ตาม”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “โอ้ท่านผู้มีความรู้อันสูงส่ง ท่านยอมรับการอธิบายเช่นนี้ได้อย่างไร ?”

ท่านกล่าวว่า “ก็เพราะว่ามันเป็นการอธิบายที่ถูกต้องนะซิ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺจะทรงประทานถ้อยคำที่ไม่มีใครรู้ความหมายนอกจากพระองค์เอง? มีเหตุผลอะไรถึงเป็นอย่างนั้น? ก็ในเมื่อทรงบัญชาให้พวกเราศึกษาอัล-กุรอาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมัน ยิ่งกว่านั้นยังท้าทายมนุษย์ว่าให้แต่งเองขึ้นมาให้เหมือนอัล-กุรอานสักโองการ หรือสักบท ครั้นหากไม่มีใครสามารถเข้าใจความหมายของมันนอกจากพระองค์ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องท้าทาย”

เชคซิฆวานี ได้หันไปยังพรรคพวกที่มากันพร้อมกับข้าพเจ้า

ท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า “พวกท่านพาคนที่ต้องการจะเอาชนะฉัน มิได้ต้องการจะได้อะไรจากฉัน”

หลังจากนั้นท่านก็ได้ขอตัวกลับ พลางกล่าวว่า “ฉันป่วยอยู่ พวกท่านอย่ามาเติมอาการป่วยให้ฉันเลย”

ครั้นเมื่อพวกเราลาจากท่านมาแล้ว มีอยู่คนหนึ่งที่ขุ่นเคืองข้าพเจ้าในขณะที่สี่คนที่เหลือต่างเข้าข้างข้าพเจ้า เพราะการสนทนาเมื่อตะกี้นี้ ได้ทำให้พวกเขากระจ่างชัดขึ้นว่า ท่านเชค ไม่มีหลักฐานใดๆหักล้างได้ตามเหตุผลของพวกเขา

ขอกลับมาพูดถึงหัวข้อในประเด็นต่อไป คือชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้น เชื่อถือว่า ไม่มีการตีความอัล-กรุอาน เนื่องจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)องค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้จักการตีความ

ส่วนพวกชีอะฮฺนั้น ถือว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เป็นพวกที่ทรงสิทธิ์ในการอธิบายอัล-กุรอานและการตีความ กล่าวคือ อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เป็นบรรดาผู้สันทัดในวิชาการ และเป็น อะฮฺลุซซิกรฺ ตามที่อัลลอฮฺทรงบัญชาให้พวกเราย้อนกลับไปหา

ดังโองการที่ว่า “พวกสูเจ้าทรงถามอะฮฺลุซซิกรฺเถิด ถ้าหากพวกสูเจ้าไม่รู้” (อัน-นะฮฺลุ / 43)(3)

และถือว่า อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) คือพวกที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงคัดเลือกไว้และทรงมอบมรดกความรู้แห่งคัมภีร์ไว้กับพวกเขา ดังโองการที่ว่า

“ หลังจากนั้น เราได้มอบมรดกแห่งคัมภีร์แก่บรรดาผู้ที่เราได้คัดเลือกไว้จากปวงบ่าวของเรา” (อัล- ฟาฏิร / 32)


ขออยู่กับผู้สัจจริง

ทั้งนี้ ก็เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กำหนดให้พวกเขาเป็นรากฐานของอัลกุรอาน เป็นสิ่งสำคัญยิ่งอันดับสอง ที่ท่านได้ส่งให้บรรดามุสลิมยึดถือพวกเขา โดยได้กล่าวว่า

“ ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ คือ กิตาบุลลอฮฺ และเชื้อสายของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ตราบใดที่พวกท่านยึดถือสิ่งทั้งสอง พวกท่านจะไม่หลงผิดภายหลังจากฉันตลอดกาล”(4)

ในหนังสือมุสลิมได้บันทึกรูปประโยคว่า “กิตาบุลลอฮฺและอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” ฉันขอเตือนพวกท่านโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ท่านได้กล่าวประโยคนี้ ๓ ครั้ง(5)

ด้วยความเป็นธรรม และคำพูดที่สัจจริง ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำอธิบายของชีอะฮฺ เพราะเข้ากับสติปัญญามากกว่า และแน่นอน อัล-กุรอานมีข้อความที่ชัดเจนและเป็นนัย จะต้องมีการอธิบายและตีความ และแน่นอน อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) คือ บรรดาผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทั้งปวงของอัลกรุอาน โดยเฉพาะ เพราะว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทรงประทานความเข้าใจอัลกุรอานให้แก่มนุษย์ทุกๆคน คงจะเห็นได้จากโองการที่ว่า

“และไม่มีใครรู้เรื่องการตีความ นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และบรรดาผู้สันทัดในวิชาการ”

ดังนั้น ถึงแม้บรรดานักปราชญ์ของประชาชาติของอิสลามจะมีความขัดแย้งกันในการอธิบาย แต่บรรดาผู้สันทัดในวิชาการ (อัร-รอสิคูนะฟิล-อิลมิ )นั้น ล้วนมีความรู้ในเรื่องการตีความโดยการยืนยันของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ขัดแย้งกันเลยในการอธิบายอัล-กุรอาน

เป็นที่รู้กันอย่างแน่นอนยิ่งแล้วว่า อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เป็นมนุษย์ที่มีความรู้ มีความสำรวมและมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและมีเกียรติมากที่สุด ท่านฟัรซะดัก ได้กล่าวสดุดีพวกเขาไว้ว่า “ มาตรแม้นจัดลำดับผู้สำรวมตน พวกเขาก็จะเป็นผู้นำในพวกเขาเหล่านั้น และมาตรแม้นจะกล่าวถึงปวงชนที่ประเสริฐที่สุดในพื้นพิภพ ก็จะกล่าวได้ว่า พวกเขานั้นเอง”

และที่ข้าพเจ้าได้หยิบยกตัวอย่างหนึ่งมาเสนอ เพื่อยืนยันถึงคำสอนของชีอะฮฺในบทนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านอันมีเกียรติ เข้าใจอย่างชัดเจนว่า ชีอะฮฺนั้นมิได้กล่าวอย่างอื่น นอกเหนือจากที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ อันเป็นการยืนยันถึงซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) อันทรงเกียรติ

ดังนั้นเราลองมาอ่านโองการนี้พร้อมๆกัน

“ดังนั้น จงสนใจกับสถานที่ตกของดวงดาว และแท้จริงมันคือการสาบาน ถ้าหากพวกสูเจ้ารู้ถึงความยิ่งใหญ่ แท้จริงมันคืออัล-กุรอานอันทรงเกียรติ ในคัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ ไม่มีใครสัมผัสมันได้นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์” ( อัล-วากิอะฮฺ / 75-79)

โองการเหล่านี้ได้ให้ความหมายอย่างชัดเจนโดยปราศจากความคลุมเครือใดว่า อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) นั้นคือผู้ที่เข้าใจความหมายของอัล-กุรอานได้อย่างลึกซึ้ง

และถ้าหากเราจะพิจารณากันอย่างถ่องแท้ ในข้อสาบานที่องค์อภิบาลเรียกร้องให้สนใจนั้น แน่นอนเราจะเห็นได้ว่า เป็นข้อสาบานอันยิ่งใหญ่ ถ้าหากเรารู้ได้ กล่าวคือ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงเรียกร้องให้สนใจต่อกาลเวลา (อัล-อัศริ) ต่อปากกา (อัล-เกาะลัม) ต่อต้นมะเดื่อ (อัต-ตีน) ต่อต้นมะกอกเทศ (ซัยตูน) ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าสถานที่ตกของดวงดาวย่อมเป็นข้อสาบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะมันเป็นเรื่องลี้ลับ อันจะส่งผลกระทบต่อสากลพิภพ และในเมื่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสาบาน ก็หมายความว่า ข้อสาบานของพระองค์นั้น มิได้มีขึ้นเพื่อสั่งห้าม หากแต่มีขึ้นเพื่อการปฏิเสธ และเพื่อยืนยัน

หลังจากที่ทรงสาบานแล้วพระองค์ก็ได้เน้นว่าแท้จริงมันหมายถึงคัมภีร์อัล-กุรอานอันทรงเกียรติอยู่ในคัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ และของที่ถูกพิทักษ์ไว้นั้นจะต้องเป็นของที่อยู่ภายในและถูกปิดบังไว้

หลังจากนั้น พระองค์ได้ตรัสอีกว่า

“ไม่มีผู้ใดสัมผัสมันได้ นอกจากบรรดาผู้สะอาดบริสุทธิ์” คำว่า “ไม่มี” จะมีความหมายเป็นอย่างอื่นมิได้ นอกจากจะต้องหมายถึงการปฏิเสธ เพราะเหตุว่าคำๆนี้ถูกนำมากล่าวถึงหลังจากการสาบานและคำว่าสัมผัสกับมัน ในที่นี้หมายถึงการเข้าถึงและการมีความเข้าใจ โดยที่มิได้มีความหมายตามที่บางกลุ่มคาดคิดกันขึ้นมาว่าการจับต้องด้วยมือ เพราะว่า ระหว่างการจับต้องด้วยมือกับการสัมผัสนั้นมีความแตกต่างกันดังเช่นโองการที่ว่า

“แท้จริงบรรดาผู้สำรวมตนนั้นในเมื่อสมัครพรรคพวกของชัยฏอนได้มาสัมผัสกับพวกเขา พวกเขาก็จะรำลึกใคร่ครวญ ดังนั้น พวกเขาก็ได้มองเห็นชัดแจ้ง” (อัล-อะอฺรอฟ / 201)

และทรงมีโองการอีกว่า

“แท้จริงบรรดาผู้กินดอกเบี้ยจะดำรงอยู่มิได้ นอกจากจะดำรงอยู่อย่างคนที่ชัยฏอนสิ่งสู่เนื่องจากการสัมผัส” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 275)

ดังนั้น การสัมผัสตามความหมายตรงนี้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา การเข้าถึงมิได้หมายถึงการจับต้องด้วยมือ ถ้าเราจะถามกันว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทรงสาบานไว้ทำไมว่า ไม่มีใครจับต้องกุรอานได้นอกจากคนสะอาด ในเมื่อประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า นักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺได้ฉีกอัลกุรอาน จนกระทั่ง วะลีด ได้เคยกล่าวว่า

“เจ้าเคยขู่ต่อผู้หยิ่งทะนงทุกคนที่ดื้อดึง ณ บัดนี้ ข้าคือคนดื้อดึงที่หยิ่งทะนง ดังนั้นเมื่อเจ้าพบพระผู้อภิบาลของเจ้า ในวันตัดสินก็จงบอกพระองค์เถิดว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาล วะลีดได้ฉีกทำลายข้า”

และเราทั้งหลายก็เคยได้เห็นพวกอิสราเอลบดขยี้ด้วยเท้าและเผาทำลาย เมื่อตอนที่บุกเข้ายึดกรุงเบรุต โดยมีการแพร่ภาพให้เห็นทางจอโทรทัศน์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทรงสาบานแล้ว นอกเสียจากว่า จะปฏิเสธในเรื่องการเข้าถึงความหมายของอัลกุรอาน อันถูกพิทักษ์ไว้ ว่าไม่มีใครเข้าถึงได้ นอกจากกลุ่มบุคคลหนึ่งจากปวงบ่าวของพระองค์ที่ทรงคัดเลือกไว้ และทรงขจัดขัดเกลาพวกเขาให้มีความสะอาดบริสุทธิ์

สำหรับคำว่า ผู้สะอาดบริสุทธิ์ในโองการนี้ (มุเฏาะฮารูน) เป็น อิซม์มัฟอูล (คำนามที่ตกเป็นกรรม) หมายความว่า ได้มีการทำให้ความสะอาดมีขึ้นแก่พวกเขา แน่นอน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ก็ทรงมีโองการหนึ่ง ความว่า

“อันที่จริง อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดความมลทินให้เพียงแต่สูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์” (อัล-อะซาบ / 33)

ดังนั้น โองการที่ว่า ไม่มีใครสัมผัสมันได้ นอกจากผู้สะอาดบริสุทธิ์จึงหมายความว่า ไม่มีใครเข้าถึงสารัตถะที่แท้จริงของอัลกุรอานได้ นอกจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวถึงพวกเขาไว้ว่า

“ดวงดาวคือสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยของชาวโลกเพื่อให้พ้นจากความล่มจม และบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน คือความปลอดภัยสำหรับประชาชาติของฉันให้พ้นจากความขัดแย้ง ดังนั้น คนอรับกลุ่มหนึ่งขัดแย้งกับพวกเขาก็จะเกิดความแตกแยกกัน แล้วได้กลายเป็นพรรคหนึ่งของอิบลีซ” (6)

ดังนั้น คำอธิบายของชีอะฮฺ จึงมิได้เป็นเหมือนอย่างที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺกล่าวหาที่ว่า พวกเขากุเรื่องเท็จ คลั่งไคล้ ในเรื่องความรักต่ออะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ตราบใดที่หลักฐานต่างๆของพวกเขายังมีอยู่ในตำราศ่อฮีฮฺต่างๆของฝ่ายซุนนะฮฺอย่างครบถ้วน



ซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) ในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ และชีอะฮฺอิมามียะฮฺ
ซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) หมายถึงคำพูด การกระทำ และการแสดงออกของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) และหมายถึงหลักยึดสูงสุดอันดับสองรองจากอัล-กุรอาน อันทรงเกียรติ ทั้งในด้านบทบัญญัติ ด้านอิบาดะฮฺ และหลักความเชื่อของพวกเขา

ชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล ญะมาอะฮฺ ยังได้ผนวกซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ทั้งสี่ คือ อะบูบักรฺ อุมัร อุษมาน อะลี(อ) เข้ากับซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะมีฮะดีษบทหนึ่งรายงานว่า :

“หน้าที่ของพวกท่านคือยึดถือซุนนะฮฺของฉันและซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ผู้นำทางภายหลังจากฉัน พวกท่านจงยึดมั่นมันไว้ให้เข้มแข็ง”(7)

แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่า ให้พวกเขาปฏิบัติตามซุนนะฮฺของอุมัร บิน ค็อฏฏอบ ในเรื่องการนมาซตัรวีฮฺ ท่านนบี(ศ)ได้ห้ามไว้ และอีกส่วนหนึ่งในหมู่ของพวกเขา ก็ยังได้ผนวกซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺทั้งหมดเข้ากับซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) ทั้งนี้ก็เพราะมีฮะดีษบทหนึ่งที่รายงานว่า :

“ ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว ไม่ว่าพวกท่านจะปฏิบัติตามบุคคลใด พวกท่านก็จะได้รับทางนำ”

และอีกฮะดีษหนึ่ง ความว่า :

“ ศอฮาบะฮฺของฉัน คือหลักประกันความปลอดภัยสำหรับประชาชาติของฉัน”(9)

ความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้นั้น ก็คือว่า ฮะดีษที่กล่าวว่า ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว เป็นฮะดีษที่ถูกนำมากล่าวถึงในทางที่ตรงข้ามกับฮะดีษที่ว่า บรรดาอิมามจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ของฉันนั้นเปรียบเสมือนดวงดาว

“ไม่ว่าพวกท่านจะปฏิบัติตามบุคคลใด พวกท่านก็จะได้รับทางนำ” (10)

และนี่คือ สิ่งที่เข้ากับเหตุผลทางปัญญา เพราะว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) นั้น เป็นตัวอย่างสูงสุดในด้านวิชาความรู้ ความสำรวมตน และความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า จนกระทั่งศัตรูของพวกเขาเอง ก็ยังได้ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ นอกเหนือไปจากบรรดาผู้ปฏิบัติตาม และนักประวัติศาสตร์ที่ได้ตระหนักถึงความจริงในข้อนี้

สำหรับฮะดีษที่ว่า ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาวนั้น เป็นฮะดีษที่ไม่สอดคล้องกับสติปัญญา เพราะว่า ได้มีศ่อฮาบะฮฺบางคนที่ตระบัดสัตย์ภายหลังจากสมัยท่านนบี(ศ)(11) และพวกเขาได้ขัดแย้งกันในกิจการต่างๆอย่างมากมายด้วยเหตุที่มาจากความชิงชังในระหว่างกันและกัน(12) และบางพวกก็สาปแช่งกันและกัน ยิ่งกว่านั้นบางพวกยังได้เข่นฆ่ากันและกัน(13) และยังได้มีการลงโทษศ่อฮาบะฮฺบางคน เนื่องจากดื่มสุราทำผิดประเวณี (ซินา) ขโมย และอื่นๆ แล้วผู้มีสติปัญญาจะยอมรับฮะดีษนี้ได้อย่างไร ในฐานะที่สั่งว่าให้ทำตามบุคคลเหล่านั้น? คนที่ปฏิบัติตาม มุอาวิยะฮฺ ในการทำสงครามกับท่านอิมามอะลี(อ) จะเป็นผู้ได้รับทางนำได้อย่างไร? เมื่อเป็นที่รู้กันว่า ท่านศาสนทูต(ศ) เคยให้ฉายานามแก่เขาว่า “อิมามของพวกละเมิดศาสนา?”(14) และคนที่ปฏิบัติตาม อัมร์ บินอาศ และยอมรับ อัล-มุฆีเราะฮฺ บินชุอ์บะฮฺ ยอมรับ ยิซร์ บินอัรฏออะฮฺ จะเป็นผู้ได้รับทางนำได้อย่างไร? ในเมื่อพวกเหล่านั้นได้สังหารคนบริสุทธิ์ เพื่อสนับสนุนอำนาจของพวกอุมัยยะฮฺ ท่านผู้อ่านที่มีวิจารณญาณ

เมื่อท่าน(ศ) ได้อ่านฮะดีษที่ว่า

“ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว”

ก็ย่อมเข้าใจได้ในทันทีว่า เป็นฮะดีษที่แต่งขึ้น เพราะตามพฤติกรรมของศ่อฮาบะฮฺแล้ว จะเป็นไปได้อย่างไรที่ ท่านศาสนทูต(ศ) จะกล่าวว่า

“โอ้ ศ่อฮาบะฮฺของฉัน จงปฏิบัติตามศ่อฮาบะฮฺของฉันเถิด”

ส่วนฮะดีษที่ว่า “โอ้ ศ่อฮาบะฮฺของฉัน จำเป็นสำหรับพวกท่าน จะต้องปฏิบัติตามบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉันเถิด เพราะพวกเขาสามารถนำทางพวกท่านได้ ภายหลังจากฉัน”

ย่อมเป็นฮะดีษที่แท้จริงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่า มีสักขีพยายานยืนยันมากมาย ในซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) และชีอะฮฺอิมามียะฮฺ ที่พวกเขากล่าวถึงฮะดีษที่ว่า

“จำเป็นสำหรับพวกท่านที่ต้องยึดถือซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺ รอชิดีน ผู้ได้รับทางนำภายหลังจากฉัน”

นั่นคือความหมายที่ว่า ได้แก่บรรดาอิมาม สิบสองท่าน จากอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ซึ่งเป็นพวกที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) วางเป็นกฎไว้แก่ประชาชาติของท่านว่า ให้ยึดถือตามพวกเขา ให้ปฏิบัติตามพวกเขา ดังเช่นยึดถือและปฏิบัติตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)(15)

ข้าพเจ้าได้สัญญากับตัวเองว่า จะไม่แสดงหลักฐานใดๆนอกจากเท่าที่ชีอะฮฺถือหลักฐานตามที่มีอยู่ในตำราศ่อฮีฮฺของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เพราะเหตุว่า หลักฐานในตำราของชีอะฮฺนั้น มีมากมายที่ยืนยันในเรื่องนี้(16)

อย่างไรก็ตาม ชีอะฮฺมิได้สอนว่าอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เป็นพวกที่มีสิทธิในการออกกฎชะรีอัต ตามความหมายที่ว่าซุนนะฮฺของพวกเขาคือ ข้อวินิจฉัยความของพวกเขา หากแต่พวกเขาสอนว่า กฎเกณฑ์ของพวกเขาทุกประการนั้นมาจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้สอนท่านอะลี(อ) และท่าน(อ) ก็ได้นำเรื่องราวนั้นๆมาสอนบรรดาลูกหลานของท่าน ดังนั้นจึงหมายถึงวิชาความรู้ ที่พวกเขาสืบทอดมรดกกันมาจากกันและกัน และสำหรับเรื่องนี้มีหลักฐานมากมายจากบรรดานักปราชญ์ฝ่ายอะลิซซุนนะฮฺ และในตำรามุซนัด ตำราประวัติศาสตร์ต่างๆยังคงเหลือแต่คำถามอมตะที่ทวนถามกลับมา นั่นคือ แล้วทำไมชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จึงไม่ยึดถือตามความหมายของบรรดาฮะดีษศ่อฮีฮฺเหล่านี้ของพวกเขาเอง ???...

นอกจากนี้แล้ว พวกชีอะฮฺกับชาวซุนนียังมีความขัดแย้งกันในการอธิบายฮะดีษต่างๆที่มีจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เช่นเดียวกับที่อธิบายไปแล้วในบทก่อนเกี่ยวกับข้อขัดแย้งของพวกเขาในเรื่องการตัฟซีรอัล-กุรอาน ดังตัวอย่างในเรื่องนี้ก็มีในความหมายของฮะดีษของท่านนบี(ศ)ด้วย ซึ่งนอกเหนือไปจากที่อธิบายไปในบทก่อนแล้ว ก็ยังมีความขัดแย้งกันในความหมายของคำว่า “ค่อลีฟะฮฺรอชิดีน” ที่มีในรายงานบันทึกฮะดีษศ่อฮีฮฺของทั้งสองฝ่าย แต่ฝ่ายซุนนีได้อธิบายว่า ค่อลีฟะฮฺเหล่านี้คือ สี่คนที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ หลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ขณะที่ฝ่ายชีอะฮฺอธิบายว่าค่อลีฟะฮฺเหล่านั้นคือสิบสองคนในบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ขณะเดียวกันเราก็ยังเห็นความขัดแย้งเหล่านั้นมีปรากฎอยู่ในทุกๆเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล กลุ่มที่อัล-กุรอานหรือท่านศาสนทูต(ศ)ระบุอย่างเจาะจงไว้ หรือที่ได้ส่งให้บรรดามุสลิมปฏิบัติตามด้วย อย่างเช่น คำกล่าวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่ว่า

“นักปราชญ์ในประชาชาติของฉัน ประเสริฐกว่าบรรดานบีในบะนีอิสรออีล”

หรือฮะดีษที่ว่า “นักปราชญ์คือทายาทของบรรดานบี”(17)

สำหรับชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ นั้นได้ตีขลุมฮะดีษบทนี้ให้แก่บรรดานักปราชญ์ทั้งหมดในประชาชาตินี้ ในขณะที่บรรดาชีอะฮฺถือว่าฮะดีษนี้ชี้เฉพาะกับบรรดาอิมามสิบสอง ด้วยเหตุนี้ที่พวกเขายกย่องบรรดาอิมามเหนือกว่าบรรดานบีทั้งหลายยกเว้นจากบรรดาศาสนทูตระดับ อุลุล-อัซมิ



ความจริงสติปัญญาย่อมเห็นสอดคล้องกับการระบุอย่างนี้
ประการที่ 1 เนื่องจากอัล-กุรอานระบุไว้ว่า ความรู้ในเรื่องการตีความอัล-กุรอานนั้น เป็นของบรรดาผู้สันทัดในวิชาการเท่านั้น จะมิได้กับคนอื่น เช่นเดียวกัน ความรู้ในเรื่องคัมภีร์ที่ได้ตกเป็นมรดกของบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงคัดเลือกไว้จากปวงบ่าวของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นการระบุไว้อย่างเจาะจงเช่นกัน ขณะเดียวกันท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ระบุว่า อะฮฺลุลบัยตฺของท่านนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะที่ไม่มีใครเทียบได้แม้สักคนเดียวในเรื่องนี้ จนกระทั่งท่านได้ให้สมญานามพวกเขาว่า “นาวาแห่งความปลอดภัย” และให้ชื่อเรียกพวกเขาว่า อิมามแห่งทางนำอันถูกต้อง ดวงประทีปอันจรัสแสงและเป็นสิ่งสำคัญอันดับสองที่สามารถปกป้องมิให้หลงผิดได้

ประการที่ 2 เพราะเหตุว่า อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ นั้นได้ให้ความเห็นคัดค้านกันกับการชี้เฉพาะอย่างนี้ของอัล-กุรอาน ซุนนะฮฺของนบี(ศ) และการยอมรับทางสติปัญญา กล่าวคือความคิดเห็นเหล่านั้น ไม่อำนวยให้พ้นจากความคลุมเครือ และไม่มีทางที่จะรู้จักนักปราชญ์ที่แท้จริง กับนักปราชญ์จอมปลอม นักปราชญ์ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงขจัดความสกปรกมลทินให้ออกพ้นไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์กับนักปราชญ์ที่นักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺกำหนดขึ้นมาให้แก่ประชาชาติ จะกล่าวให้ชัดก็คือว่า มีความแตกต่างกันกับผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสอนวิทยปัญญาให้แก่พวกเขาและกับผู้ที่เรียนรู้มาในวิถีทางอันปลอดภัย

จากข้อนี้ได้ทำให้เราเข้าใจชัดเจนอีกเช่นกันว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ประวัติศาสตร์มิได้ระบุให้ทราบเลยว่า ใครเป็นครูของพวกเขาที่ได้เรียนมา นอกเหนือจากการที่ลูกเรียนจากบิดาของตนเอง ดังที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ได้กล่าวไว้ในตำราของพวกเขา นับเป็นรายงานบันทึกถึงความมหัศจรรย์และคุณสมบัติพิเศษของท่านอิมาม บาเก็ร(อ) ท่านอิมามศอดิก(อ) และท่านอิมามริฎอ(อ) ที่สามารถพิชิตคนมีความรู้ระดับกอฏีถึง 40 คน ด้วยความรู้ของท่านตามที่ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้เชิญคนเหล่านั้นมาเผชิญหน้ากับท่าน ทั้งๆที่ขณะนั้นท่านยังเป็นเด็กตัวเล็กๆอยู่(18)

ขณะเดียวกันเราก็ได้เข้าใจถึงความลับอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้นำมัซฮับทั้งสี่ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ มีความขัดแย้งกันเองในปัญหาด้านฟิกฮฺ(ศาสนบัญญัติ) ทุกๆหัวข้อในท่ามกลางที่ว่า บรรดาอิมามทั้งสิบสองจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) นั้นไม่มีความขัดแย้งใดๆต่อกันแม้เพียงสักปัญหาเดียว

ประการที่ 3 เพราะว่าถ้าหากเราจะยอมเชื่อตามคำสอนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ที่ตีขลุมว่า โองการและฮะดีษเหล่านั้น หมายถึงบรรดานักปราชญ์ของประชาชาติอิสลามทุกๆคน แน่นอนเท่ากับต้องยอมรับความคิดเห็นและมัซฮับต่างๆจำนวนมากเท่าที่กาลเวลาผ่านมาหลายต่อหลายยุคสมัย และเมื่อนั้นก็กลายเป็นว่า จะต้องมีมัซฮับจำนวนหลายพันมัซฮับ คงจะเป็นเพราะความคิดอย่างนี้กระมัง นักปราชญ์ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จึงหาทางสะกดความเสื่อมเสียและการทำลายเอกภาพในอะกีดะฮฺโดยรีบจัดการปิดประตูการอิจญ์ติฮาดโดยสิ้นเชิงไว้ที่สมัยของมัซฮับทั้งสี่

ส่วนคำอธิบายของชีอะฮฺนั้น อ้างถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความกลมกลืนของบรรดาอิมามดังกล่าวที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ) ได้แต่งตั้งไว้เกี่ยวกับวิชาการทุกแขนงที่บรรดามุสลิมทุกยุคทุกสมัยถือเป็นสิ่งจำเป็น จึงไม่บังควรที่ใครๆจะอ้างตัวกล่าวพาดพิงถึงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ) และที่จะก่อตั้งมัซฮับใดๆ แล้วบีบประชาชนให้ปฏิบัติตาม ดังนั้นความขัดแย้งของพวกเขาในปัญหานี้ยังคงมี เช่นปัญหาฮะดีษต่างๆ เรื่องอิมามมะฮฺดี(อ) ซึ่งถือว่าเป็นฮะดีษศ่อฮีฮฺบทหนึ่ง จากทั้งสองฝ่าย

แต่อัล-มะฮฺดี ตามทัศนะของชีอะฮฺนั้นเป็นที่รู้กันอย่างดี ทั้งบิดาและปู่ของท่าน ส่วนตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ นั้นยังคงไม่เป็นที่รู้อยู่ตลอดกาล แต่ว่าจะเกิดมาในช่วง “อาคิรซะมาน” (ยุคสุดท้าย) ด้วยเหตุนี้เราจึงจะเห็นได้ว่ามีคนในกลุ่มพวกเขามากมายเหลือเกินที่อ้างตนว่าเป็น อัล-มะฮฺดี ได้มีคนๆหนึ่งพูดกับข้าพเจ้า ชื่อท่าน เชคอิซมาอีล ว่า

“ท่านคืออัลมะฮฺดี ผู้ถูกรอคอย”

ท่านได้พูดอย่างนี้ต่อหน้าเพื่อนของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านคนหนึ่ง ต่อจากนั้นเขาได้รับชีอะฮฺในภายหลังจากที่สังเกตุได้ว่าคนส่วนมากในหมู่ชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่นั่น ตั้งชื่อลูกหลานตนเองว่า มะฮฺดี เผื่อว่าจะได้เป็นอิมามผู้ที่ถูกรอคอย และถูกสัญญาไว้

แต่ในส่วนของชีอะฮฺถือว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ลูกหลานของตนเองอ้างตัวอย่างนั้น แม้แต่การจะตั้งชื่อลูกของตนเองว่า มะฮฺดี ก็ตั้งขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อท่าน ศอฮิบบุซซะมาน(ท่านอิมามมะฮฺดี) เหมือนอย่างที่พวกเราตั้งชื่อลูกหลานของเราว่า “มุฮัมมัด” “อะลี” อย่างนี้เป็นต้น เพราะพวกเขาถือว่า การปรากฏตัวของ “อัล-มะฮฺดี” นั้น นับเป็นปาฏิหารย์อย่างหนึ่ง เพราะท่านได้ประสูติแล้วเมื่อสิบสองศตวรรษที่ผ่านมา แต่ได้หายตัวไป ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงวางเฉยและปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าใครๆจะอ้างตัวเองขึ้นมาก็ตาม

นอกเหนือจากทุกอย่างเหล่านี้แล้ว อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ยังได้ขัดแย้งในเรื่องความหมายของฮะดีษที่ถือว่าศ่อฮีฮฺ จากทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าฮะดีษนั้นๆจะไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลใดๆ ดังมีตัวอย่างในฮะดีษทำนองนี้เช่น

“ ความขัดแย้งในประชาชาติของฉัน ถือเป็นความเมตตาอย่างหนึ่ง(จากพระผู้เป็นเจ้า)”

ซึ่งอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ อธิบายว่าความขัดแย้งในเรื่องศาสนบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งนั้น ถือเป็นความเมตตาสำหรับมุสลิมเรา ซึ่งสามารถเลือกเอากฎใดกฎหนึ่งมาปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม สุดแต่จะพอใจ คือในข้อนี้ให้ถือเป็นความเมตตา เพราะถึงแม้ตัวเองจะถือมัซฮับมาลิกี แต่ถ้ามาลิกีคนเดียววินิจฉัยปัญหาหนึ่งๆไว้อย่างนั้น เขาก็ยังสามารถจะปฏิบัติตามแนวที่ อะบูฮะนีฟะฮฺ วินิจฉัยไว้ได้ เพื่อความสะดวกในเรื่องนั้นๆ ส่วนชีอะฮฺนั้นพวกเขาได้อธิบายความหมายฮะดีษนี้ไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งมิใช่อย่างนี้ พวกเขารายงานว่า : ท่านอิมามศอดิก(อ) เคยถูกถามเกี่ยวกับฮะดีษนี้(ความขัดแย้งในประชาชาติของฉันถือเป็นความเมตตาอย่างหนึ่ง)

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดด้วยความสัตย์จริง”

ผู้ตั้งคำถามจึงถามขึ้นว่า “ ถ้าหากความขัดแย้งของพวกเขาหมายถึงความเมตตา ก็แสดงว่าการรวมกันของพวกเขา ก็หมายถึงความเกลียดชังกันนะซิ”

ท่านอิมามศอดิก(อ) จึงกล่าวว่า มิได้หมายความตามที่ท่านว่าและที่พวกเขาว่า (ตามคำอธิบายนี้) อันที่จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)หมายความแต่เพียงว่า การสลับสับเปลี่ยน (อิคติลาฟ) ของคนบางกลุ่มในหมู่พวกเขาให้ไปอยู่กับคนอีกหมู่หนึ่ง หมายความว่า ให้คนหมู่หนึ่งของพวกเขาเดินทางไปหาคนอีกหมู่หนึ่งเพื่อแสวงหาความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อ หลักฐานในเรื่องนี้ คือ โองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“แล้วเพราะเหตุใดจากทุกๆกลุ่มจึงไม่มีใครในหมู่พวกเขาปลีกตนออกไปเพื่อหาความรู้ทางศาสนาแล้วจะได้ตักเตือนพรรคพวกของตนเองเมื่อได้กลับมา เพื่อพวกเขาจะได้ระมัดระวังตน” (อัต-เตาบะฮฺ /22)

หลังจากนั้นท่าน(อ) ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถ้าหากพวกเขาขัดแย้งกันในเรื่องศาสนา พวกเขาจะกลายเป็นพรรคพวกของอิบลิซ”

นี่คือ สิ่งที่เราเห็นด้วย นับเป็นการอธิบายที่ต้องยอมรับ เนื่องจากเป็นการเรียกร้องไปสู่เอกภาพด้านความเชื่อ มิใช่สู่ความขัดแย้งจนถึงกลายเป็นความคิดและมัซฮับอย่างหลากหลายที่มุ่งแก้ปัญหานี้ตามความเห็นของตน และห้ามการกระทำอย่างนั้น ด้วยการวินิจฉัยของตน ฝ่ายหนึ่งจะกล่าวว่าเป็นมักรุฮฺ(ข้อพึงรังเกียจ) ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าเป็นมุซตะฮับ(ความชอบ) อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ)(19)

ในแง่ของภาษาอรับนั้น มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง ระหว่างคำพูดของเรา เช่น “อิคตะลัฟตุ อิลัยกะ” และ “อิคตะลัฟตุ มะอะกะ” คือถ้าเราพูดว่า “อิคตะลัฟตุ อิลัยกะ” จะหมายถึง “ฉันมุ่งหมายมายังท่าน” แต่ถ้าเราพูดว่า “อิคตะลัฟตุ มะอะกะ” จะหมายถึง “ฉันไม่เห็นด้วยกับท่าน”


ขออยู่กับผู้สัจจริง

ต่อมาในความหมายของฮะดีษนี้ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ ให้เหตุผลในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะเป็นการอธิบายไปสู่ความขัดแย้ง และความแตกแยกทำให้มีทัศนะและมัซฮับกัน อย่างหลากหลายเป็นเอกภาพและสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกัน

ดังที่ตรัสว่า

“และแท้จริงประชาชาติของสูเจ้านี้ เป็นประชาชาติเดียวกัน และข้าคือพระผู้อภิบาลของสูเจ้าทั้งหลาย ดังนั้นจงสำรวมตนต่อข้า” (อัล-มุอ์มินูน / 52) ทรงมีโองการอีกว่า

“และพวกสูเจ้าจงยึดมั่นกระชับต่อสายเชือกของอัลลอฮฺด้วยกันทั้งหมดเถิด และจงอย่าแตกแยกกัน” (อาลิอิมรอน / 103) “...และจงอย่าขัดแย้งกัน เพราะสูเจ้าจะสูญเสียและเกียรติยศของพวกสูเจ้าก็จะสลายไป” (อัล-อัมฟาล / 46)

จะมีความขัดแย้งและความแตกแยกอะไรอีกที่ร้ายแรงเสียยิ่งกว่าการแบ่งแยกประชาชาติเดียวกันออกเป็นมัซฮับและพรรคต่างๆและเป็นกลุ่มต่างๆซึ่งขัดแย้งต่อกันและกัน ประณามต่อกันและกัน ยิ่งกว่านั้นยังกล่าวหาต่อกันและกันว่าเป็นกาฟิร จนถึงขนาดที่บางกลุ่มถือว่าเลือดบางกลุ่มเป็นที่อนุมัติให้หลั่งได้ซึ่งก็ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นี่คือผลลัพธ์อันขมขื่นที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงตักเตือนพวกเราให้ระมัดระวังมิให้ประชาชาติของเราตกอยู่ในสภาพอย่างนั้น เมื่อมีความแตกแยก พระองค์ทรงตรัสว่า

“และสูเจ้าจงอย่าเป็นเหมือนพวกที่แตกแยก และขัดแย้งกันหลังจากมีหลักฐานอันชัดแจ้งมายังพวกเขาแล้ว” (อาลิอิมรอน /105)

“แท้จริงพวกที่แบ่งแยกศาสนาของพวกตนแล้วได้เป็นพวกๆนั้น เจ้ามิใช่หนึ่งในพวกเขาแต่อย่างใด” (อัล-อันอาม / 159 )

“และพวกสูเจ้าจงอย่าเป็นอย่างพวกมุชริกที่แบ่งแยกในศาสนาของพวกตน แล้วได้เป็นพวกๆทุกพวกเหล่านั้นก็จะพอใจในสิ่งที่พวกเขามีอยู่” (อัร-รูม / 31-32)

เห็นจะต้องชี้แจงไว้ในตรงนี้เสียด้วยว่า ความว่า ชิยะอัน ในอายะฮฺเหล่านี้ มิได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่า ชีอะฮฺ เหมือนอย่างที่พวกบ้องตื้นบางคนโมเมทึกทักกัน เมื่อครั้งหนึ่งได้มีคนมาตักเตือนข้าพเจ้าว่า

“โอ้ พี่ชายเอ๋ย ท่านอย่าเชิญชวนพวกเราให้เป็นชีอะฮฺเลย เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงเกลียดชังพวกเขา และท่านศาสนทูตก็ยังเตือนพวกเราว่าอย่าได้เป็นพวกนั้น”

ข้าพเจ้าถามว่า “เรื่องมันเป็นอย่างไรหรือ ?”

เขาตอบว่า : มีโองการอัล-กุรอานความว่า

“แท้จริงพวกที่แบ่งแยกศาสนาของพวกตน แล้วเป็นพวกๆนั้นเจ้ามิใช่หนึ่งในพวกเขาแต่อย่างใด”

ข้าพเจ้าพยายามชี้แจงให้เขายอมรับว่า คำว่า “ชิยะอัน” ในโองการนี้หมายถึงพรรคหนึ่งๆ และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีอะฮฺที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยกย่องไว้เลย ดังความในโองการที่ว่า

“และแท้จริงส่วนหนึ่งจากพวกพ้องของเขา(นบีนุฮฺ) นั้นคืออิบรอฮีม เพราะเขาได้มาหาพระผู้อภิบาลของเขาด้วยดวงใจที่สงบมั่น”

และกับโองการของพระองค์ที่ว่า

“ดังนั้นเขา(มูซา) ก็ได้พบกับชายสองคนกำลังต่อสู้กันอยู่ คนหนึ่งเป็นพรรคพวกของเขา แต่อีกคนหนึ่งเป็นศัตรูของเขา”

ขอย้อนกลับเข้าสู่ประเด็นอีกครั้ง คือก่อนที่ข้าพเจ้ายอมรับแนวทางชีอะฮฺ ข้าพเจ้ารู้สึกหมดหวัง เมื่อได้อ่านฮะดีษที่ว่า “อิคติลาฟ(ความขัดแย้ง-การสับเปลี่ยน) ในประชาชาติของฉัน เป็นความเมตตา และข้าพเจ้าก็นำไปพิจารณาประกอบกับอีกฮะดีษหนึ่งที่ว่า

“ประชาชาติของฉันจะแตกแยกออกเป็น 72 พวก ทุกๆพวกจะลงนรก นอกจากเพียงพวกเดียว” ข้าพเจ้าถามตัวเองเสมอว่า “เป็นไปได้อย่างไรที่ว่า ความขัดแย้งในประชาชาติจะเป็นความเมตตา เมื่อในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่าลงนรก ?”

แต่หลังจากที่ได้อ่านตัฟซีรของท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อ) เกี่ยวกับฮะดีษนี้ ความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ ก็เป็นอันหมดสิ้นไป และหลังจากนั้นข้าพเจ้าได้รู้จักว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น เป็นอิมามที่นำทางอันถูกต้องเป็นดวงประทีปที่ให้แสงสว่าง พวกเขามีสิทธิ์ที่แท้จริงในการอรรถาธิบายอัลกุรอานและซุนนะฮฺ และสมแล้วกับคำกล่าวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กล่าวถึงพวกเขาว่า

“อุปมาอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน เปรียบเสมือนเรือนบีนุฮฺ ผู้ใดได้ขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดปฏิเสธก็จะจม พวกท่านอย่าได้ล้ำหน้าพวกเขา เพราะจะเกิดความพินาศ และจงอย่าสอนพวกเขาเพราะแท้จริงพวกเขารู้กว่าพวกท่าน”(20)

และสมตามความจริงที่ ท่านอิมามอะลี(อ) ได้กล่าวว่า

“จงพิจารณาอะฮฺลุลบัยตฺของพวกท่านเถิด ดังนั้นจงถือตามแบบแผนของพวกเขา และจงปฏิบัติตามร่องรอยของพวกเขา กล่าวคือ พวกเขาจะไม่นำพวกท่านออกจากทางที่ถูกต้องและจะไม่นำพวกท่านกลับไปสู่ความอัปยศ ดังนั้นหากพวกเขาหยุดยั้ง พวกท่านก็จงหยุดยั้ง ถ้าหากพวกเขายืนหยัด พวกท่านก็จงยืนหยัด และจงอย่าล้ำหน้าพวกเขา เพราะจะทำให้หลงผิดและอย่ารั้งหลังพวกเขา เพราะจะทำให้พวกท่านวิบัติ”(21)

ท่านอิมาม(อ) ยังได้กล่าวคำคุฏบะฮฺอีกครั้งหนึ่งเพื่อแนะนำให้รู้ถึงคุณค่าของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)(22)

“พวกเขาให้ชีวิตแก่วิชาการ และให้ความตายแก่ความโง่ ความสุขุมของพวกเขาสอนให้พวกท่านรู้ถึงวิชาการของพวกเขา และการแสดงออกของพวกเขาจะสอนพวกท่านให้รู้ถึงความในของพวกเขา ความสงบเงียบของพวกเขาจะสอนให้พวกท่านรู้ถึงวิทยาปัญญาในคำพูดของพวกเขา พวกเขาจะไม่ขัดกับสัจธรรม และจะไม่แย้งกันในสิ่งนั้น พวกเขาจะเป็นเสาหลักของอิสลามเป็นสายเชือกที่ให้ความกระชับ สัจธรรมจะคืนกลับสู่ที่ตั้งของมันได้เพราะพวกเขา และความอธรรมจะถูกขจัดไป โดยเมื่อความจริงได้ปรากฎ ความเท็จก็จะสลายไป พวกเขาจะคุ้มกันศาสนาไว้ด้วยพลังปัญญา และการดูแลรักษามิใช่พลังปัญญาที่ได้โดยการฟังและรายงานบอกเล่า เพราะแท้จริงนักรายงานบอกเล่าวิชาการนั้นมีมาก แต่ผู้ดูแลรักษานั้นมีน้อย”

ใช่แล้ว สมจริงตามที่ท่านอิมามอะลี(อ)ได้กล่าวไว้ เพราะท่านคือประตูแห่งเมืองวิชาการ กล่าวคือมีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างผู้คุ้มกันศาสนาโดยพลังปัญญาและการดูแลรักษากับพลังปัญญาที่ได้โดยการฟังและและรายงานบอกเล่า

พวกที่ได้ฟังและรายงานบอกเล่านั้นมีมากมายเพราะมีจำนวนมากมายเหลือเกินสำหรับศ่อฮาบะฮฺที่อยู่กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)และที่ได้ฟังคำสอนต่างๆจากท่านและที่ได้ถ่ายทอดสิ่งๆนั้นโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจ ดังนั้น ความของฮะดีษจึงเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงข้ามกับจุดประสงค์ของท่านศาสนทูต(ศ) และบางครั้งก็นำไปสู่การปฏิเสธ(กุฟรฺ)เนื่องจากความเข้าใจอันผิวเผินของศ่อฮาบะฮฺที่มีต่อความหมายตามความเป็นจริง(23)

สำหรับบรรดาผู้ที่เกื้อกูลวิชาการ และพิทักษ์รักษาวิชาการนั้นมีจำนวนน้อยเหลือเกิน และแน่นอน มนุษย์เรานั้นถึงแม้จะทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อการแสวงหาวิชาการความรู้ ก็ไม่อาจได้รับอะไรนอกจากเพียงเล็กน้อย และอาจมีความรู้เฉพาะเพียงแต่ด้านใดด้านหนึ่งของความรู้ หรือศิลปะหนึ่งๆ จากหลายๆ ด้านของความรู้นั้นเท่านั้น แต่เป็นที่ยอมรับว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)เป็นผู้รอบรู้อย่างครบครันในวิชาการด้านต่างๆ

และนี่คือสิ่งที่ท่านอิมามอะลี(อ) ได้ยืนยันไว้ ดังที่นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายได้ยืนยันไว้ และเช่นกันสำหรับท่านอิมามมุฮัมมัด บาเก็ร(อ) และท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อ) ซึ่งมีลูกศิษย์ในมือนับพันคนล้วนแต่เป็นผู้อาวุโสวิชาการสาขาต่างๆ และรอบรู้ในปรัชญาต่างๆ ทั้งทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาและอื่นๆ



หลักความเชื่อ(อะกออิด)ของชีอะฮฺและของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ
สิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าเพิ่มความมั่นใจว่า แนวทางชีอะฮฺอิมามียะฮฺเป็นพวกที่ปลอดภัย ก็เพราะหลักความเชื่อถือและเรียบง่ายแก่การยอมรับของผู้มีปัญญาอันชาญฉลาดและบริบูรณ์ เราจะเห็นได้ว่า ปัญหาทุกข้อของพวกเขา และหลักความเชื่อทุกประการของพวกเขาได้รับการอธิบายอย่างฉาดฉานครบถ้วนบริบูรณ์โดยพาดพิงไปถึงยังอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ท่านใดท่านหนึ่งแน่นอน เราจะไม่พบทางออกในเรื่องเหล่านี้จากอะฮฺลิซซุนนะฮฺและกลุ่มอื่นๆได้เลย

ในบทนี้ เรามาศึกษาถึงหลักอะกีดะฮฺบางข้อและข้อความสำคัญของมันในทัศนะของทั้งสองฝ่าย และพยายามทำความเข้าใจอย่างจริงจัง โดยที่ข้าพเจ้าขอมอบความอิสระทางความคิด และเอกสิทธิ์การวิเคราะห์ การวิจัย การยอมรับหรือการปฏิเสธให้แก่ท่านผู้อ่านอย่างเต็มที่

พร้อมกันนั้นก็มาพิจารณากันดูว่า หลักอะกีดะฮฺขั้นพื้นฐานสำหรับมุสลิมทั้งปวงอันเป็นอะกีดะฮฺเดียวกัน นั่นคือความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) มะลาอิกะฮฺ คัมภีร์ และบรรดาศาสนทูตของพระองค์ พวกเขาไม่แบ่งแยกศาสนทูตคนหนึ่งคนใดของพระองค์ ขณะเดียวกันก็มีเชื่อถือตรงกันว่า นรกสวรรค์เป็นเรื่องจริง และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงให้ผู้ที่อยู่ในสุสานฟื้นคืนชีพและรวบรวมพวกเขาทั้งหมดในวันแห่งการสอบสวน

ขณะเดียวกัน พวกเขาก็มีความเชื่อกันต่ออัล-กุรอาน และศรัทธาว่านบีของพวกเขานั้น คือมุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ทิศกิบละฮฺของพวกเขาก็เป็นทิศเดียวกัน และศาสนาของพวกเขาเป็นศาสนาเดียวกัน แต่ได้บังเกิดความขัดแย้งขึ้นในเนื้อหาหลักความเชื่อเหล่านี้ จนได้กลายเป็นสนามแห่งการศึกษาทางด้านอภิปรายทางด้านศาสนบัญญัติและการเมือง



หลักความเชื่อในเรื่องอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตามทัศนะของทั้งสองฝ่าย
ประเด็นสำคัญที่จะนำมากล่าวในข้อนี้คือเรื่องการมองเห็นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพราะแท้จริงอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺ ได้ยืนยันเช่นกันว่า บรรดามุอ์มิน(ผู้ศรัทธา) ทุกคนจะได้เห็นพระองค์ในวันปรโลก และเมื่อได้ศึกษาดูในหนังสือศ่อฮีฮฺหลายๆเล่มของซุนนะฮฺไม่ว่าจะเป็นบุคอรี หรือมุสลิม เราจะพบว่ารายงานเหล่านั้นยืนยันอย่างหนักแน่นถึงการมองเห็นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างแท้จริง มิใช่เป็นคำเปรียบเปรยแต่อย่างใด(24)

ยิ่งกว่านั้น เรายังพบว่าในตำรานั้นๆยังมีการนำความละม้ายคล้ายคลึงกับสิ่งใดๆให้แก่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่ง และถือว่าพระองค์ทรงหัวเราะ(25) ทรงเสด็จมา และทรงดำเนินและทรงลงมาชั้นฟ้าของโลกดุนยา(26) ยิ่งกว่านั้น ยังว่าพระองค์ทรงถลกหน้าแข้ง ซึ่งมีสัญลักษณ์ที่ทำให้รู้จักพระองค์(27) และทรงวางเท้าของพระองค์ลงในนรกญะฮันนัม นรกจึงเต็ม และมันพูดขึ้นว่า “พอแล้ว พอแล้ว” และอื่นๆนอกจากนี้อีกหลายประการ และหลายลักษณะที่องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงสูงสุดยิ่ง บริสุทธิ์เกินกว่าจะเปรียบเทียบเช่นนั้นได้(28)

ข้าพเจ้าจำได้ว่า เคยได้ไปยังเมืองลามูที่ประเทศเคนยา ภาคตะวันออกของแอฟริกา ข้าพเจ้าได้พบกับอิมามในสายวะฮาบี เขากำลังปราศรัยกับสมาชิกที่เข้ามานมาซในมัสยิดว่า “อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีมือสองมือ มีเท้าสองเท้า มีสองตาและมีใบหน้า”

เมื่อข้าพเจ้าได้คัดค้านเขาเรื่องนี้ เขาก็ลุกขึ้นยกหลักฐานโองการอัล-กุรอานว่า

“และพวกยะฮูดได้กล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺถูกพันธนาการไว้แล้ว มือของพวกเขานั่นแหละที่ถูกพันธนาการและถูกสาปแช่งเพราะสิ่งที่พวกเขากล่าว แต่ทว่า พระหัตถ์ของพระองค์นั้นแผ่ไพศาลทั้งสองข้างเสมอ” (อัล-มาอิดะฮฺ / 64 )

และเขาได้อ่านอีกโองการว่า

“และทรงสร้างเรือขึ้นต่อสายตาของเรา...” (ฮูด / 37 )

และอ่านอีกโองการว่า

“ทุกสิ่งที่อยู่บนมันย่อมมลายสิ้น แต่พระพักตร์แห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าเท่านั้น ที่ยังคงอยู่” (อัร-เราะฮฺมาน / 27)

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “โอ้พี่ชาย ทุกโองการเหล่านี้ที่ท่านหยิบยกมาอ้างและอื่นๆอีก เป็นเพียงข้อความเปรียบเทียบเท่านั้น มิได้หมายความอย่างนั้นจริงๆ”

เขาตอบว่า “ทุกๆข้อความของอัลกุรอานล้วนมีความหมายตามความเป็นจริง ไม่มีข้อความเปรียบเทียบในอัลกุรอาน”

ข้าพเจ้าจึงกลว่าว่า “ถ้าเช่นนั้นท่านจะอธิบายอย่างไรกับโองการที่ว่า :

“ ผู้ใดอยู่บนโลกนี้อย่างคนตาบอด ดังนั้นในโลกอาคิเราะฮฺ เขาก็จะตาบอด” (อัล-อิซรออ์ / 72)

หรือว่าท่านจะให้ความหมายโองการนี้ไปตามความหมายที่แท้จริง? คือทุกคนที่ตาบอดโลกนี้ก็จะเป็นคนตาบอดในปรโลก”

เชคผู้นั้นตอบว่า “เรากำลังพูดในเรื่องมือของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเรื่องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อย่านำเข้าไปพูดถึงเรื่องคนตาบอด

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เราจะไม่พูดถึงเรื่องคนตาบอด แต่ท่านมีคำอธิบายอย่างไรในโองการที่ท่านอ่านเมื่อตะกี้นี้ว่า :

“ทุกสิ่งที่อยู่บนมันย่อมมลายสิ้น เว้นแต่พระพักตร์แห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าเท่านั้น ที่ยังคงอยู่”

เขาหันไปดูบรรดาคนที่นั่งฟังอยู่ไปมา แล้วกล่าวกับพวกเขาว่า

“ในหมู่พวกท่านยังมีคนที่ไม่เข้าใจโองการนี้บ้างไหม? มันมีความหมายขัดแย้งเหลือเกิน ก็พระองค์ตรัสว่า :

“ทุกสิ่งจะเสียหายหมด ยกเว้นพระพักตร์ของพระองค์”

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “ท่านกำลังเติมความเปียกลงบนโคลน โอ้พี่ชาย อันที่จริงแล้วเราเพียงแต่ขัดแย้งกันในเรื่องอัล-กุรอานที่ท่านอ้างเมื่อตะกี้ว่า อัล-กุรอานนั้นไม่มีข้อความใดๆ เป็นคำเปรียบเปรย ทุกข้อความล้วนมีความหมายตามความเป็นจริง ส่วนข้าพเจ้าอ้างว่า ในอัล-กุรอานนั้นมีข้อความที่เป็นคำเปรียบเปรยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโองการต่างๆที่กล่าวถึงลักษณะเรือนร่างหรือความละม้ายคล้ายคลึงของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ถ้าท่านยังยืนกรานตามความเห็นของท่านก็แสดงว่า ท่านยอมรับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเสียหายหมด ยกเว้นพระพักตร์ของพระองค์ ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่า พระหัตถ์ของพระองค์ เท้าทั้งสองของพระองค์ และทุกส่วนในเรือนร่างของพระองค์ก็เสียหายจนหมดสิ้นไม่มีอะไรเหลืออยู่นอกจากพระพักตร์ของพระองค์เท่านั้น อัลลอฮฺทรงสูงส่งเกรียงไกรเกินกว่าเรื่องเหล่านี้”

หลังจากนั้น ข้าพเจ้าก็ได้หันไปทางผู้ที่นั่งฟังแล้วกล่าวว่า “พวกท่านพอใจในการอธิบายอย่างนี้ใช่ไหม?”

ทั้งหมดนิ่งเงียบ ผู้อาวุโสของพวกเขาเองก็ไม่พูดอะไรเลยแม้สักคำเดียว ข้าพเจ้าจึงขอลาจากพวกเขาไป และออกมาขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้รับทางนำ และความสัมฤทธิ์ผล(เตาฟิก)

ใช่แล้ว อะกีดะฮฺของพวกเขาในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ตามตำราศ่อฮีฮฺและคำบรรยายของพวกเขาเป็นอย่างนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มิได้พูดว่า นักปราชญ์บางคนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ไม่ปฏิเสธความเชื่ออย่างนี้ แต่ส่วนใหญ่ศรัทธาว่าต้องได้เห็นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในวันปรโลก และถือว่าพวกเขาจะได้เห็นพระองค์เหมือนอย่างเห็นเดือนอันปราศจากเมฆใดๆ และพวกเขายกหลักฐานตามโองการที่ว่า

“ใบหน้าทั้งหลายในวันนี้จะสดใส ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขาในฐานะผู้ที่มองดูอยู่”(อัล-กิยะมะฮฺ / 23)(29)

ขอให้ท่านได้ศึกษาถึงอะกีดะฮฺของชีอะฮฺอิมามียะฮฺในเรื่องเดียวกันดูแล้วจิตใจของท่านจะรู้สึกว่าปลอดโปร่ง สติปัญญาของท่านจะบังเกิดการยอมรับการตีความหมายโองการอัล-กุรอาน ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงเรือนร่างและความละม้ายคล้ายคลึงของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อันเป็นการใช้คำในลักษณะเปรียบเปรยและเทียบความอันหาใช่มีความเป็นจริงตามความหมายภายนอกของข้อความนั้นๆ ไม่เหมือนดังที่คนบางกลุ่มเข้าใจ

ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า

“ถึงจะเป็นผู้ที่มีความเข้าใจลึกซึ้งมากแค่ไหน ก็มิอาจเข้าถึงพระองค์ได้ถึงจะมีความฉลาดหลักแหลมสักแค่ไหน ก็มิอาจเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อพระองค์ ไม่มีขอบเขตใดๆจำกัดคุณลักษณะของพระองค์ ไม่มีสภาวะอันใดเทียบเคียงพระองค์ได้ ไม่มีกาลเวลาใดกำหนดพระองค์ได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ใดยึดเหนี่ยวพระองค์ได้”(30)

ท่านอิมามบาเก็ร(อ) ได้กล่าวตอบโต้พวกที่ถือว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีลักษณะคล้ายคลึงสิ่งอื่นไว้ว่า

“หามิได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจินตนาการมันขึ้นมาด้วยความเข้าใจของเราในความหมายที่ละเอียดที่สุดนั้น ยังถือว่าเป็นมัคลูกอันถูกสรรสร้างขึ้นเหมือนกับเรา มันเป็นสิ่งที่ย้อนกลับมายังตัวเราเอง”(31)

เราถือว่าเพียงพอแล้ว โดยการตอบของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เอง ในคัมภีร์ของพระองค์ที่ว่า

“ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์เลย”

และโองการที่ว่า

“ไม่มีสายตาใดเข้าถึงพระองค์ได้เลย”

และคำตรัสของพระองค์ต่อนบีมูซา(อ) ผู้สนทนาของพระองค์ เมื่อตอนที่ขอให้ได้มองเห็นพระองค์ว่า

“เขากล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลโปรดบันดาลให้ข้าได้เห็นยังพระองค์ด้วยเถิด”

พระองค์ตรัสว่า “เจ้าไม่อาจเห็นข้าได้เลย”

คำว่า “ลัน” (ไม่อาจ) หมายความว่า “ไม่อาจเห็นได้ตลอดกาล”

ทุกอย่างเหล่านี้เป็นหลักฐานขั้นเด็ดขาด ในการตัดสิ้นว่า คำสอนของชีอะฮฺนั้นถูกต้อง เพราะพวกเขาอ้างตามคำสอนของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ผู้เป็นรากฐานของวิชาการเป็นที่ตั้งคำสอนของศาสนา และเป็นผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พวกเขารับมรดกความรู้แห่งคัมภีร์

ถ้าใครต้องการจะศึกษาในประเด็นนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ก็ไม่มีทางอื่นนอกจาก ไปหาตำราที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น หนังสือ “กะลิมะตุ เฮาลิ้ลรุอ์ยะฮฺ” ของท่านซัยยิดชัรฟุดดีน เจ้าของหนังสือ “อัล-มุรอญะอาต”

หลักความเชื่อในเรื่องของนบี(ศ) ตามทัศนะของทั้งสองฝ่าย
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชีอะฮฺกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ในเรื่องนี้ก็คือเรื่องอิศมะฮฺ (สภาพที่ถูกปกป้องให้พ้นจากความผิด) กล่าวคือ ชีอะฮฺถือว่า “อิศมะฮฺ” เป็นคุณสมบัติของบรรดานบี(อ)ทั้งก่อนและหลังจากการถูกแต่งตั้ง ส่วนอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ถูกปกป้องให้พ้นจากความผิดเฉพาะในกรณีที่ทำงานเผยแพร่คำสอนของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้น

การตั้งข้อแม้ไว้อย่างนี้ ก็เพราะถือว่าบรรดาเขาเหล่านั้นก็เหมือนกับมนุษย์ทั่วๆไปที่มีความผิดและความถูกต้อง ได้มีรายงานบอกเล่าในเรื่องนี้ไว้เป็นจำนวนมากในหนังสือศ่อฮีฮฺของพวกเขา โดยยืนยันว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น มีความผิดพลาดในหลายๆวาระ และปรากฏว่า ศ่อฮาบะฮฺบางคนเสียอีกที่ช่วยทำให้ท่านถูกและแก้ไขให้ท่าน

อย่างในกรณีทำสงครามบะดัรที่ระบุว่า ท่านศาสนทูต(ศ)ตัดสินใจผิดพลาดในคราวนั้น และอุมัรเป็นผู้ทำให้เกิดความถูกต้อง และถือว่า “ถ้าหากไม่มี อุมัร แน่นอนท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)จะต้องพินาศไปแล้ว”(32) อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เมื่อท่าน(ศ)เข้าเมืองมะดีนะฮฺ ท่านพบชาวบ้านกำลังปลูกต้นอินทผลัมอยู่

ท่าน(ศ)กล่าวกับพวกเขาว่า “พวกท่านอย่ากลบดินในหลุม เพราะมันจะออกผลดี”

แต่ทว่าไม่นานอินทผลัมก็เหี่ยวตาย ชาวบ้านก็พากันมาอุทรณ์ต่อท่าน(ศ)ในเรื่องนี้

ท่านบอกคนเหล่านั้นว่า “พวกท่านรู้เรื่องดุนยาของพวกท่านดีกว่าข้าพเจ้า”

ในรายงานอื่นท่าน(ศ)ยังกล่าวอีกว่า

“ที่จริงฉันเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง ถ้าฉันสั่งอะไรพวกท่านอันเป็นเรื่องของศาสนาของพวกท่าน ก็จงเอาไปปฏิบัติ แต่ถ้าฉันสั่งอะไรพวกท่านอันเป็นความคิดเห็นของฉัน ก็ให้ถือว่าฉันเป็นเพียงปุถุชนคนหนึ่ง”(33)

อีกครั้งหนึ่งที่มีรายงานบอกว่า ท่านถูกเวทมนต์ทางไสยศาสตร์และอยู่ในสภาพที่ถูกเวทมนต์อยู่เป็นเวลาหลายวัน ถึงกับไม่รู้ว่าได้ทำอะไรลงไปบ้าง แม้กระทั่งท่านคิดว่าท่านได้เข้าหาภรรยาของท่านแต่จริงๆแล้วท่านมิได้เข้าหานางเลย(34) หรือได้เผอเรอคิดว่าทำในสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปแล้วโดยจริงแล้วมิได้ทำมัน(35)

อีกครั้งหนึ่งที่มีรายงานว่า ท่าน(ศ)เผอเรอในนมาซ จนไม่รู้ว่านมาซกี่ร็อกอะฮฺแล้ว (36)

และยังบอกด้วยว่า ท่าน(ศ)นอนหลับสนิทจนกระทั่งบรรดาศ่อฮาบะฮฺได้ยินเสียงกรนของท่านนบี(ศ) หลังจากนั้นท่าน(ศ)ตื่นนอนแล้วไปนมาซเลย โดยไม่ได้ทำวุฎูอ์ (37)

และยังได้รายงานอีกว่า ท่าน(ศ) เคยโกรธ เคยด่า และเคยสาปแช่งต่อบุคคลที่มิควรกระทำเช่นนั้นกับพวกเขา ด้วยเหตุนี้ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺที่จริงฉันเป็นเพียงปุถุชนคนหนึ่ง ดังนั้น ถ้าฉันเคยได้สาปแช่งคนมุสลิมคนใด หรือเคยด่าเขาแล้วไซร้ ได้โปรดบันดาลให้สิ่งๆนั้นเป็น ซะกาต(การขัดเกลา)และเป็นความเมตตาแก่เขาด้วยเถิด” (38)

ยังได้รายงานอีกว่า :

ท่านเคยนอนตะแคงในบ้านของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ในท่าที่เปิดเผยช่วงขาอ่อนทั้งสองข้าง ขณะนั้นอะบูบักรฺ ได้เดินเข้ามาหาและสนทนากับท่าน(ศ) ซึ่งท่าน(ศ)เองก็ยังอยู่ในสภาพเช่นนั้น ต่อมาอุมัรได้เข้ามาสนทนากับท่าน(ศ)อีก ซึ่งท่าน(ศ)ก็ยังอยู่ในสภาพนั้นเหมือนเดิม ครั้นเมื่ออุษมานขออนุญาติเข้าพบ ท่าน(ศ) ได้ลุกขึ้นนั่งและจัดผ้าของท่าน(ศ)ให้เสมอ

และในเมื่อท่านหญิงอาอิชะฮฺ ถามท่าน(ศ)ในเรื่องนี้ ท่าน(ศ)ตอบนางว่า “ฉันจะไม่ละอายต่อบุคคลที่มะลาอิกะฮฺยังต้องละอายได้อย่างไร ?..” (39)

พวกเขายังได้รายงานอีกว่า : ท่าน(ศ) เคยตื่นเช้าในเดือนรอมฎอนโดยมีญุนุบ(40) แล้วท่าน(ศ) ก็ขาดนมาซศุบฮฺ

และเรื่องอื่นๆอีกอันเป็นเรื่องเท็จ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับด้วยสติปัญญา ไม่เป็นที่ยอมรับทางศาสนา และไม่เป็นที่ยอมรับกันในแง่ของคุณสมบัติที่ดี(41) เบื้องหลังของเรื่องเหล่านี้ หาได้มีจุดประสงค์อันใดไม่ นอกจากต้องการที่จะลายบุคลิกภาพของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และละเมิดเกียรติของท่าน(ศ) และทำให้เห็นว่าตัวของพวกเขาเองพ้นจากความประพฤติที่เสื่อมเสียเหล่านั้น

ส่วนพวกชีอะฮฺนั้น มีหลักฐานที่สืบได้ไปถึงยังบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) กล่าวคือเขาเหล่านั้นยืนยันว่า บรรดานบีทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์หลุดพ้นจากพฤติกรรมที่น่าละอายเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นบีมุฮัมมัด(ศ)ของเราผู้ได้รับพรอันประเสริฐ สะอาดยิ่ง

พวกเขากล่าว่า ท่าน(ศ) เป็นผู้สะอาดปราศจากความบาปและความผิดพลาดทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดที่เล็กน้อย หรือที่ใหญ่หลวงก็ตาม ท่านคือ มะฮฺศูม พ้นจากความผิด การหลงลืม เผลอเรอและการถูกเวทมนต์คาถาและพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่เข้าสติปัญญา ยิ่งกว่านั้น ท่าน(ศ) คือผู้บริสุทธิ์พ้นจากการกระทำใดๆที่ขัดต่อความเป็นผู้ดี และจริยธรรมอันสูงส่ง

เป็นต้นว่าการกินบนถนนหนทาง หรือ การหัวเราะออกเสียงดัง หรือการหยอกเย้าที่ไม่ชอบธรรม หรือแม้จะเป็นพฤติกรรมใดๆก็ตามที่น่าตำหนิในทัศนะของผู้มีสติปัญญา และในสังคมทั่วไป แม้กระทั่งเรื่องการที่จะแนบแก้มของตนลงบนแก้มของภรรยาของตนต่อหน้าฝูงชน และให้โอกาสแก่นางเพื่อดูการเต้นรำของชาวซูดาน(42)หรือการที่จะนำภรรยาออกไปในสมรภูมิแล้วแข่งขันกัน บางครั้งท่าน(ศ)ก็ชนะนาง และบางครั้งนางก็ชนะท่าน(ศ)อย่างนี้เป็นต้น(43)






ขออยู่กับผู้สัจจริง

พวกชีอะฮฺถือว่า รายงานที่ถูกนำมาบันทึกเหล่านี้ที่เป็นการทำลายเกียรติยศของบรรดานบี ทุกรายงานล้วนเป็นเรื่องที่ถูกกุขึ้นมาโดยพวกในวงศ์ตระกูลอุมัยยะฮฺและสมุนบริวาร

ประการแรก เพื่อลบล้างคุณค่าอันสูงส่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ประการต่อมาก็เพื่อลบล้างคุณค่าของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เนื่องจากความเป็นศัตรูของพวกเขา

ประการที่สอง เพื่อเป็นการลดหย่อนผ่อนปรนให้กับพฤติกรรมอันชั่วร้าย และความผิดพลาดอย่างมหันต์ที่พวกเขาได้ก่อขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะถ้าหากแสดงให้เห็นได้ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยังทำผิดพลาดได้ และยังโอนอ่อนให้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำได้ เหมือนอย่างรายงานทำนองนี้ในเรื่อง ความพิสมัยของท่าน(ศ)ที่มีต่อนางซัยนับ บินติญะฮฺช เมื่อครั้งที่ท่าน(ศ)เห็นนางหวีผม ในขณะที่นางยังเป็นภรรยาของ ซัยด์ บินฮาริษะฮฺ อยู่

ท่าน(ศ) ถึงกับกล่าวว่า “มหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺผู้ทรงหมุนหัวใจกลับไปมา” (44)

หรือเหมือนอย่างเรื่องราวความเอนเอียงของท่าน(ศ)ที่มีต่อท่านหญิง อาอิชะฮฺ และไม่มีความยุติธรรมกับภรรยาอื่นๆ จนกระทั่งได้มีคำย้ำเรื่องนี้ครั้งหนึ่งกับ ฟาฏิมะฮฺ และอีกครั้งหนึ่งกับ ซัยนับ บินติญะฮฺช โดยเน้นให้ท่าน(ศ)ระวังเรื่องความยุติธรรม(45) ดังนั้นเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นคนเช่นนี้ก็ไม่ต้องตำหนิติเตียนคนอื่นหลังจากนี้อีก ไม่ว่า มุอาวียะฮฺ บินอะบีซุฟยาน, มัรวาน บินฮะกัม, อัมร์ บินอาศ, ยะซีด บินมุอาวียะฮฺ และค่อลีฟะฮฺทุกคนที่กระทำในสิ่งที่เลวร้ายและชอบในสิ่งที่ต้องห้ามต่างๆ และเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์

พฤติกรรมของพวกเขาเหมือนดังที่สุภาษิตกล่าวว่า

“ถ้าเจ้าของบ้านลงมือตีกลองเอง แล้วอย่าไปโทษเด็กๆที่เต้นรำตามจังหวะเลย”

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ซึ่งเป็นอิมามในสายชีอะฮฺนั้นได้พูดถึงเรื่อง“อิศมะฮฺ”ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)และอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ก็ทราบในเรื่องนี้ดี พวกเขาให้ความหมายอัล-กุรอานที่มีคนเข้าใจว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงตำหนิติเตียนนบีของพระองค์เช่น “อะบะซะ วะตะวัลลา” (เขาทำหน้าบึ้งตึงและหันหลังให้) หรือในอีกบางโองการที่คาดถึงความบาปของท่านเช่นโองการที่ว่า

“เพื่ออัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้เจ้า ที่ได้กระทำล่วงไปแล้ว และที่จะมีทีหลัง”

หรือโองการที่ว่า

“แน่นอนยิ่งอัลลอฮฺทรงให้อภัยแก่ท่านนบี”

และโองการที่ว่า

“และอัลลอฮฺทรงให้อภัยเจ้า เมื่อเจ้ายินยอมคนเหล่านั้น”

ทุกๆโองการเหล่านี้ มิได้ทำลายอิศมะฮฺของท่านนบี(ศ)เลย เพราะว่ามีบางโองการมิได้มีความหมายตามนั้น บางโองการให้ความหมายในเชิงเปรียบเทียบ มิใช่ความหมายตามข้อความในประโยค เหมือนกับคำพูดบางคำพูดของคนอรับทั่วๆไปที่พูดกันอยู่เสมอๆ “อัล-กะลามุ ละกิ วัสมะอี ยา ญาเราะฮฺ” ในขณะที่ภาษาอรับถูกนำไปใช้ได้ในหลายๆความหมาย พระองค์ก็ทรงนำหลักนั้นมาใช้ในอัล-กุรอานเช่นกัน

ผู้ใดประสงค์ที่จะได้รายละเอียด และความเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้องศึกษาตำราตัฟซีรของฝ่ายชีอะฮฺ เช่น อัล-มีซาน ฟี ตัฟซีร อัล-กุรอานของท่าน อัลลามะฮฺ ฏ่อบา ฏ่อบาอี “อัล- บะยาน” ของท่านซัยยิด อัล-คุอิ “ตัฟซีร อัล-กาชิฟ” ของท่านมุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮฺ และ “อัล-อิฮฺติญาจญ์” ของท่านฏ็อบรอซี และท่านอื่นๆอีกหลายท่าน เพราะว่าข้าพเจ้าต้องการอธิบายอย่างสรุป เพื่อเผยอะกีดะฮฺของทั้งสองฝ่ายโดยสังเขปเท่านั้น และหนังสือเล่มนี้ก็มิได้มีจุดประสงค์จะอธิบายเรื่องอื่นใด นอกจากอธิบายถึงความมั่นใจของข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว ในฐานะที่ได้ยอมรับแนวทางนี้ และตัดสินใจให้ตัวเองยอมรับมัซฮับที่กล่าวถึงอิศมะฮฺของบรรดานบี และบรรดาทายาทของคนเหล่านั้น และเป็นการให้โอกาสแก่ความคิดของข้าพเจ้าเอง ในการตัดปัญหาความสงสัย ความไม่แน่ใจ และความรู้สึกสับสนจากชัยฏอนที่เคยทำให้ข้าพเจ้าเห็นดีเห็นงามกับความผิด ความบาป และการกระทำอะมั้ลที่เสียหายไปของข้าพเจ้า โดยได้รับการปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้น ข้าพเจ้าเคยมีความสงสัยในพฤติกรรมของท่านศาสนทูต(ศ) และคำสอนของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าไม่มีความมั่นใจหลังจากนั้นได้อีกในเรื่องกฏเกณฑ์ต่างๆที่ท่าน(ศ)อธิบายออกมา และข้าพเจ้าเคยสงสัยแม้กระทั่งกับโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ตรัสว่า

“และอันใดที่ศาสนทูตนำมายังพวกสูเจ้า ดังนั้นพวกสูเจ้าจงรับมันไว้ และอันใดที่เขาห้ามพวกสูเจ้า ดังนั้นพวกสูเจ้าจงหยุดยั้งเถิด”

คือเคยสงสัยว่า เป็นคำพูดของท่านศาสนทูต(ศ)เอง หาใช่โองการของอัลลอฮฺไม่...?

คำสอนที่ว่าท่าน(ศ)เป็น “มะอฺศูม” เฉพาะในเวลาทำการตับลีฆ (เผยแพร่) พจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้น เป็นคำสอนที่เลื่อนเลย ไม่มีข้อพิสูจน์ใด พจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และคำพูดในส่วนนี้มาจากตัวของท่าน(ศ)เอง กล่าวคือ ถือว่าในครั้งแรกท่าน(ศ)เป็นมะอฺศูม แต่ในครั้งที่สองท่าน(ศ)มิใช่มะอฺศูม และกระทำในสิ่งที่ผิดพลาด

ข้าพเจ้าขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พ้นจากคำสอนอันบกพร่องเหล่านี้ ซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความสงสัย และข้อครหาต่อความบริสุทธิ์ผุดผ่องของศาสนา

ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงการสนทนาระหว่างข้าพเจ้ากับพรรคพวกเพื่อนฝูงหลังจากที่ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจแนวทางชีอะฮฺ ข้าพเจ้าพยายามจะพูดให้พวกเขายอมรับว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นมะอฺศูมในทุกๆอย่าง แต่พวกเขาพยายามที่จะทำให้ข้าพเจ้าน้อมรับว่าท่านเป็นมะอฺศูมเฉพาะในการตับลีฆอัล-กุรอานเท่านั้น พอดีในกลุ่มพวกเขามีครูสอนศาสนาชาว “ตูซัด” (ตั้งอยู่แถบเมืองญะรีด)(46) เป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า เมืองของคนฉลาดที่มีความรู้ เขาครุ่นคิดอยู่เล็กน้อย แล้วกล่าวว่า

“พี่น้องทั้งหลายข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้”

พวกเรากล่าว่า “ขอเชิญท่านให้ความเห็นเถิด”

เขากล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ตามที่ท่านตีญานีพี่น้องของเราพูดมานั้นเป็นคำพูดของฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งต้องถือว่าถูกต้องอย่างแท้จริง และจำเป็นที่เราจะต้องเชื่อมันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีอิศมะฮฺตลอดกาลอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเราต้องมีความสงสัยในอัล-กุรอานโดยปริยาย”

พวกเขากล่าวว่า “ทำไมถึงต้องอย่างนั้น ?”

เขาตอบทันทีว่า “พวกท่านเคยพบสักซูเราะฮฺไหม ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ลงลายเซ็นรับรองไว้ข้างล่างซูเราะฮฺของอัล-กุรอาน ?”

ความหมายของคำว่าลายเซ็นก็คือ ตราประทับเช่นที่ปรากฏในสาส์นต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าของให้การรับรองว่ามาจากตนจริง ทั้งหมดพากันหัวเราะคนที่เป็นแกนนำในหมู่คณะนี้ แต่ทว่านี่คือคำพูดที่มีความหมายอันล้ำลึก คนใดก็ตามถ้าไม่มีความคิดทิฐิ แล้วมีสติปัญญา ก็จะมองเห็นความจริงตามคำพูดนี้ได้ นั่นคือความเชื่อมั่นที่ว่าอัล-กุรอานเป็นพจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือคำเชื่อมั่นใน อิศมะฮฺของผู้เผยแพร่ อย่างเต็มรูปแบบโดยมิได้แบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เพราะไม่มีใครที่สามารถอ้างตนว่า ได้ยินอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พูด และไม่มีใครอ้างได้เลยว่า เคยเห็นท่านญิบรีลเมื่อตอนที่วะฮฺยูถูกประทานลงมา

ผลสรุปก็คือว่า คำพูดของฝ่ายชีอะฮฺที่ว่าท่านศาสนทูต(ศ) มีอิศมะฮฺตลอดกาลนั้น เป็นคำสอนที่มีเหตุผล ที่สามารถทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่นอย่างสงบได้ และเป็นการทำลายความรู้สึกสับสน กระซิบกระซาบจากชัยฏอน และเป็นการตัดหนทางการกล่าวหาของพวกที่ใส่ร้ายป้ายสีทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกศัตรูของศาสนา เช่น พวกยะฮูด พวกนะศอรอ และพวกปฏิเสธศาสนาที่แสวงหาจุดอ่อนเพื่อจะแทรกแซงเข้ามาทำลายความเชื่อและศาสนาของเรา และใส่ร้ายต่อท่านนบีของเรา และเราจะไม่พบจุดบกพร่องเหล่านั้นจากที่ใดนอกจากในตำราของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จะเห็นได้ว่าคนเหล่านั้นจะมีข้ออ้างมายังพวกเราเป็นส่วนมากก็เพราะรายงานที่มีในบุคอรี มุสลิม ทั้งจากคำพูด และการกระทำของนบี(ศ) ทั้งๆที่ท่านนบี(ศ)บริสุทธิ์ไปจากเรื่องเหล่านั้นโดยสิ้นเชิง(47)

เราจะยอมรับพวกเขาได้อย่างไรในเมื่อหนังสือบุคอรี และหนังสือมุสลิมนั้น มีความเท็จบางประการบันทึกอยู่ และนี่คือคำพูดที่มีปัญหาเป็นธรรมดา เพราะอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ มิได้ยอมรับตามนั้น เพราะพวกเขาถือว่า กิตาบบุคอรี คือหนังสือที่มีความถูกต้องรองจากอัลกุรอาน และเช่นเดียวกับหนังสือของท่านมุสลิม

**หลักความเชื่อในเรื่องอิมามตามทัศนะของทั้งสองฝ่าย ความหมายของตำแหน่งอิมามในบทนี้ หมายถึงตำแหน่งอิมามผู้เป็นใหญ่ที่สุดของบรรดามุสลิม หมายถึงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และผู้ปกครองสูงสุด ไม่ใช่แค่เพียงอิมามนำนมาซอย่างที่คนส่วนมากรู้จักกันในปัจจุบัน

โดยเหตุที่หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์ในการอธิบายประเด็นที่เกี่ยวข้องกันระหว่างมัซฮับซุนนะฮฺ วัล- ญะมาอะฮฺ กับ ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ จึงจำเป็นที่ข้าพเจ้าจะได้เปิดเผยถึงรากฐานของตำแหน่งอิมามของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้อ่าน และผู้ศึกษา เข้าใจว่าอะไรคือพื้นฐานและโครงสร้างที่ทั้งสองฝ่ายเกาะกุมยึดถืออยู่ และในขั้นต่อมาก็เพื่อจะได้ตระหนักถึงเหตุผลต่างๆที่ทำให้ข้าพเจ้ายอมรับการเปลี่ยนแปลงและสลัดทิ้งความเชื่อที่เคยมีอยู่ก่อน

กล่าวคือ ตำแหน่งอิมามในทัศนะของชีอะฮฺนั้น ถือเป็นรากฐานข้อหนึ่งของศาสนา(อุศูลุดดีน) เนื่องจากตำแหน่งนี้นับว่า มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงเพราะหมายถึงตำแหน่งประมุขของประชาชาติที่ประเสริฐ ซึ่งถูกนำออกมาเป็นตัวอย่างของมนุษยชาติทั้งหลาย สำหรับตำแหน่งประมุขสูงสุดนี้จะต้องประกอบด้วยความดีงามอย่างมากมายและต้องมีคุณสมบัติที่ดีเด่นเป็นพิเศษ กล่าวคือ ความรู้ ความกล้าหาญ ความสุขุม ความบริสุทธิ์ ความเอื้อเฟื้อ ความมักน้อย ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความมีคุณธรรม ฯลฯ

พวกชีอะฮฺเชื่อถือว่า : ตำแหน่งอิมามนั้นถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้า ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับบ่าวของพระองค์ที่ทรงเลือกสรรแล้วในหมู่ผู้มีคุณธรรม เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งบทบาทอันสำคัญยิ่ง เพียงแต่ว่าหมายถึงการเป็นผู้นำโลกภายหลังจากยุคนบี(ศ) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) จึงได้เป็นอิมามของบรรรดามุสลิมโดยการคัดเลือกของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยที่พระองค์วะฮฺยูมายังศาสดาของพระองค์ เพื่อแต่งตั้งท่าน(อ)จนเป็นที่รู้ในหมู่ประชาชน และแน่นอนท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้แต่งตั้งท่าน(อ) และแนะนำประชาชาติไว้กับท่าน(อ) หลังจากทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายที่เฆาะดีรคุม แล้วคนทั้งหลายก็มอบสัตยาบันให้แก่ท่าน(อ) (นี่คือ คำสอนของพวกชีอะฮฺ)

ส่วนอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น กล่าวเหมือนกันว่า : ตำแหน่งอิมามผู้นำประชาชาตินั้นเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) แต่พวกเขาถือว่าเป็นสิทธิของประชาชาติที่จะเลือกอิมามและผู้นำของพวกตนขึ้นมา ดังนั้น อะบูบักรฺ บินอะบีกุฮาฟะฮฺ จึงเป็นอิมามของบรรดามุสลิมโดยการคัดเลือกของบรรดามุสลิมเอง หลังจากวะฟาตของท่านนบี(ศ) ซึ่งท่านวางเฉยในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และไม่อธิบายสิ่งใดๆในเรื่องนี้ไว้สำหรับประชาชาติและปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปด้วยการลงมติของประชาชน ( นี่คือคำสอนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล ญะมาอะฮฺ)



ความจริงอยู่ที่ไหน?
เมื่อท่านผู้อ่านพิจารณาคำสอนของทั้งสองฝ่าย และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับหลักฐานของทั้งสองฝ่าย โดยปราศจากทิฐิ อวดดื้อถือดี ก็สามารถจะพบความจริงได้โดยไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าตอนใดที่ข้าพเจ้าพูดออกมาจากลำพังตัวของข้าพเจ้าเอง เนื่องจากว่าหนังสือของข้าพเจ้าเล่มนี้ บอกเล่าถึงเรื่องราวการเปลี่ยนและการเข้ารับแนวทางของข้าพเจ้า จึงจำเป็นที่ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายแก่ท่านผู้อ่านเกี่ยวกับแง่มุมที่เป็นความคิดและความเชื่อของข้าพเจ้า ซึ่งก็มิใช่อะไรทั้งสิ้น นอกจากว่าจะยอมรับหรือจะปฏิเสธก็ได้ เพราะความอิสระทางความคิดนั้นจำเป็นจะต้องคงอยู่ในทุกๆสภาพการณ์

“ดังนั้นผู้แบกภาระหนึ่ง จะต้องไม่รับภาระของบุคคลอื่น”

“และทุกๆชีวิตย่อมถูกจองจำไว้ด้วยสิ่งที่ได้กระทำไว้เอง” (อัล-กุรอาน)

ข้าพเจ้าได้สัญญากับตัวเองไว้ตั้งแต่ตอนแรกๆของหนังสือว่าในทุกบทตอน ข้าพเจ้าจะอ้างถึงคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) ที่สอดคล้องตรงกันของทั้งสองฝ่าย ทั้งซุนนีและชีอะฮฺ อันเป็นสิ่งที่เข้ากับสติปัญญาโดยดุษณี ซึ่งจะไม่ยอมเชื่อในสิ่งที่ขัดแย้งกัน

“และถ้าหากมันจากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺแล้ว แน่นอนพวกเขาจะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันอย่างมากมาย” (อัลกุรอาน)



1. ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอาน
อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“และจงรำลึก เมื่อพระผู้อภิบาลของเขาได้ทดสอบอิบรอฮีมด้วยถ้อยคำต่างๆแล้วเขาทำทุกอย่างเหล่านั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงฉันจะแต่งตั้งเจ้าขึ้นเป็นอิมามของมนุษยชาติ เขากล่าว่า และบางคนจากเชื้อสายของฉันด้วย พระองค์ตรัสว่า พันธสัญญาของข้าจะไม่แผ่ไปถึงพวกอธรรม” (อัล-บะก่อเราะฮฺ / 124 )

โองการอันทรงเกียรตินี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอธิบายให้เราได้เข้าใจว่า ตำแหน่งอิมามนั้นเป็นตำแหน่งจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในบรรดาบ่าวของพระองค์ โดยตรัสว่า

“แต่งตั้งเจ้าขึ้นเป็นอิมามของมนุษยชาติ”

ขณะเดียวกันโองการนี้ได้ให้ความกระจ่างว่า ตำแหน่งอิมามเป็นพันธสัญญาหนึ่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ซึ่งจะไม่แผ่ไปถึงใครนอกจากบ่าวของพระองค์ผู้มีคุณธรรมที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกพวกเขาไว้เพื่อจุดประสงค์อันนี้ โดยปฏิเสธตำแหน่งนี้จากบรรดาผู้อธรรม ซึ่งไม่มีสิทธิ์ได้รับพันธสัญญาของพระองค์ ซึ่งตรัสว่า

“และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมาม ที่ชี้นำตามคำบัญชาของเรา และเราได้วะฮฺยูแก่พวกเขาซึ่งการกระทำที่ดีงามและดำรงการนมาซ และจ่ายซะกาต และพวกเขาเป็นผู้ภักดีต่อเรา” (อัล-อันบิยาอ์ / 73)

อีกโองการหนึ่ง ความว่า “และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมาม ที่ชี้นำตามคำบัญชาของเรา เนื่องจากพวกเขาอดทน และมีความเชื่อมันอย่างแท้จริงกับสัญญาต่างๆของเรา” (อัซ-ซัจญิดะฮฺ /24)

และตรัสอีกว่า “และเราประสงค์จะประทานความสงบมั่นแก่บรรดาผู้อ่อนแอในหน้าแผ่นดิน และเราจะแต่งตั้งพวกเขาขึ้นเป็นอิมามและเราจะแต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้สืบมรดก(การปกครอง)” (อัล-ก่อศอศ / 5)

มีบางคนเข้าใจกันเองว่า โองการเหล่านี้ ตำแหน่งอิมามตามความหมายในโองการเหล่านี้ หมายถึงตำแหน่งนบีและคัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดจากความหมายโดยทั่วไปของตำแหน่งอิมาม เพราะว่าศาสนทูต(ศ)ทุกๆท่านเป็นทั้งนบีและอิมาม แต่ทุกๆอิมามมิได้เป็นศาสนทูตและนบีเสมอไป

ตามจุดมุ่งหมายอันนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้อธิบายไว้ชัดในคัมภีร์ของพระองค์อันทรงเกียรติว่า ปวงบ่าวผู้มีคุณธรรมของพระองค์ คือผู้ที่สมควรจะขอตำแหน่งอันสูงส่งนี้จากพระองค์ เพื่อชี้นำมนุษย์ และพวกเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่นี้ พระองค์ตรัสว่า

“และบรรดาผู้ที่ไม่เป็นพยานเท็จ และในเมื่อพวกเขาเดินผ่านสิ่งที่เหลวไหล พวกเขาก็จะเดินผ่านอย่างมีเกียรติ และพวกที่ถ้าโองการต่างๆของพระผู้อภิบาลได้ถูกอ่านขึ้นพวกเขาก็จะไม่แสดงอาการอย่างคนหูหนวกและตาบอด และพวกที่กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานให้แก่เราซึ่งภรรยาและลูกหลานของเราซึ่งเป็นที่ชื่นชมแก่สายตา และโปรดแต่งตั้งเราเป็นอิมามของผู้สำรวมตน(ต่ออัลลอฮฺ)ด้วยเถิด” (อัล-ฟุรกอน / 72-74)

ขณะเดียวกันอัล-กุรอานก็ยังได้ใช้คำว่าตำแหน่งอิมามเพื่อเป็นการแสดงหลักฐานสำหรับประมุขและผู้ปกครองสูงสุดของบรรดาผู้อธรรมอีกด้วย ซึ่งเขาเหล่านั้นทำให้ผู้ปฏิบัติตามหลงผิดและนำทางประชาชนของพวกเขาไปสู่ความเสียหาย และได้รับการลงโทษทั้งในโลกนี้และปรโลก ดังที่มีการนำตัวอย่างมากล่าวถึงในอัล-กุรอานเกี่ยวกับประวัติของฟิรเอาวนฺ และทหารของเขา ดังโองการที่ว่า

“ดังนั้น เราจึงลงโทษเขาและทหารของเขา กล่าวคือ เราได้ทำให้เขาจมดิ่งลงในทะเล ดังนั้นจงดูเถิด บั้นปลายของพวกอธรรมนั้นเป็นอย่างไร และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมามที่ชักชวนไปสู่นรก และในวันกิยามะฮฺพวกเขาจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ และเราได้นำเอาการสาปแช่งติดตามพวกเขาในโลกนี้ และในวันกิยามะฮฺพวกเขาจะถูกเกลียดชัง”(อัล-ก่อศอศ / 41-42 )

ตามพื้นฐานเหล่านี้ คำสอนของพวกชีอะฮฺ จึงเป็นคำสอนที่ถูกต้อง เพราะว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงอธิบายไว้ชัดเจน ไม่อาจตั้งเป็นข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าตำแหน่งอิมามนั้น มีที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงตั้งให้แก่ผู้ที่ทรงประสงค์และถือว่าเป็นพันธสัญญาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงปฏิเสธแก่พวกอธรรม โดยเหตุที่ อะบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน เคยเป็นผู้หลงผิดมาก่อน คือพวกเขาเคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในสภาพมุชริก กราบไหว้รูปปั้น ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์รับพันธสัญญาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

เหลือแต่คำอธิบายของชีอะฮฺที่อ้างหลักฐานที่ว่า ท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) คนเดียวในบรรดาศ่อฮาบะฮฺรุ่นนั้นที่คู่ควรต่อพันธสัญญาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยตำแหน่งอิมาม เพราะว่า ไม่เคยเคารพภักดีสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยกย่องให้เกียรติแก่ใบหน้าของท่านผู้เดียวในบรรดาศ่อฮาบะฮฺ (กัรเราะมัลลอฮฺ วัจญ์ฮะฮฺ) เพราะท่านไม่เคยกราบ(คือก่อนรับอิสลาม) เราขอตอบว่า ใช่ แต่ทว่ามีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างคนที่เคยเป็นมุชริกมาก่อน แม้จะเตาบะฮฺกลับตัวแล้ว กับคนที่สะอาด บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เคยรู้จักเคารพภักดีสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ



2. ตำแหน่งอิมามในซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเรื่องตำแหน่งอิมามไว้ในหลายๆวาระ ทั้งชีอะฮฺและซุนนีได้รายงานไว้ในตำราของตน บางครั้งจะพูดถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า อิมาม แต่บางครั้งก็ใช้คำว่า ค่อลีฟะฮฺ และบางครั้งใช้คำว่า วิลายะฮฺ หรือ อัล-อิมาเราะฮฺ (อำนาจบริหารการปกครอง)

ในเรื่องตำแหน่งอิมาม มีฮะดีษจากท่านนบี(ศ)ว่า

“อิมามที่ประเสริฐที่สุดของพวกท่าน ได้แก่พวกที่ท่านทั้งหลายรักและพวกเขาก็รักพวกท่าน พวกท่านขอพรให้พวกเขา(ศ่อละวาต) และพวกเขาก็ขอพรให้พวกท่าน ส่วนอิมามที่เลวของท่านได้แก่ พวกที่ท่านทั้งหลายโกรธเกลียด และพวกเขาก็โกรธเกลียดพวกท่าน พวกท่านสาปแช่งพวกเขา และพวกเขาก็สาปแช่งพวกท่าน”

บรรดาศ่อฮาบะฮฺถามว่า “ยาร่อซูลุลลอฮฺ พวกเราจะทำลายพวกเขาเสียด้วยคมดาบจะได้ไหม?”

ท่าน(ศ)ตอบว่า “ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขายังดำรงนมาซอยู่ในหมู่พวกท่าน”(48)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“หลังจากฉันแล้ว จะมีบรรดาอิมามที่มิได้ชี้นำไปในแนวทางของฉันและมิได้เอาแบบอย่างของฉัน และในหมู่พวกเขานั้น จะมีบุรุษหนึ่งที่จิตใจของพวกเขาเป็นจิตใจชัยฏอนในเรือนร่างของคน”(49)

ในเรื่องค่อลีฟะฮฺ มีฮะดีษจากท่านนบี(ศ)ว่า “จะมีค่อลีฟะฮฺสำหรับพวกท่านสิบสองคน ทุกคนล้วนเป็นชาวกุเรช” (50)

จากท่านญาบิร บินซะมุเราะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า

“อิสลามยังคงอยู่อย่างมีเกียรติ จนกว่าจะมีสิบสองค่อลีฟะฮฺ”

หลังจากนั้นท่าน(ศ) ได้กล่าวคำๆหนึ่ง ซึ่งฉันไม่เข้าใจจึงถามบิดาว่า “ท่านพูดอะไร”

ท่านบิดาตอบว่า “ทุกคนเป็นชาวกุเรช” (51)

ในเรื่องการบริหารกิจการปกครอง มีฮะดีษจากท่านนบี(ศ) ว่า :

จะมีผู้บริหารกิจการปกครอง ซึ่งพวกท่านจะมีการยอมรับและการปฏิเสธ ดังนั้น ผู้ใดยอมรับ ก็ถือว่าปฏิเสธโดยสิ้นเชิง และผู้ใดปฏิเสธก็จะปลอดภัย นอกจากผู้ที่พอใจและปฏิบัติตามเท่านั้น

พวกเขาถามว่า “เราจะฆ่าพวกเขาได้ไหม ?”

ท่าน(ศ)ตอบว่า “ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขานมาซ” (52)

ในเรื่องการบริหารกิจการปกครองอีกเช่นกัน ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า :

“จะมีสิบสองอะมีร(ผู้บังคับบัญชา) ทุกคนจะมาจากกุเรช” (53)

มีฮะดีษที่ท่านนบี(ศ) เตือนศ่อฮาบะฮฺว่า “พวกท่านจะทะเยอทะยานกันในเรื่องอำนาจบริหาร และจะเสียใจกันในวันกิยามะฮฺ” (54)

มีฮะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า “วิลายะฮฺ” คือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าว่า

“ผู้มีอำนาจปกครองที่ดูแลคนมุสลิมคนใดที่ตายลงขณะที่ฉ้อฉลต่อพวกเขาจะไม่ได้อะไรทั้งสิ้น นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงหวงห้ามมิให้เขาเข้าสวรรค์” (55)

มีฮะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า “วิลายะฮฺ” อีกว่า การปกครองยังคงผ่านไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้มีบุรุษจากพวกกุเรช สิบสองคนมาปกครองพวกเขา” (56)

นี่คือการแสดงความหมายโดยสรุปของคำว่าตำแหน่งอิมามหรือค่อลีฟะฮฺที่อัล-กุรอานเสนอไว้ และตามที่มีอยู่ในซุนนะฮฺของนบี(ศ)โดยปราศจากการอธิบาย และไม่มีการตะอ์วีล(ตีความ) ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้อ้างถึงเฉพาะจากตำราศ่อฮีฮฺของอะฮฺลิซซุนนะฮฺฝ่ายเดียว โดยไม่เกี่ยวกับหลักฐานจากชีอะฮฺเลย เพราะเรื่องนี้(ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นของสิบสองคนในตระกูลกุเรช) เป็นเรื่องที่ถูกยอมรับโดยดุษดีจากพวกเขาอยู่แล้ว และไม่มีใครขัดแย้งว่ามีเพียงสองคนจากพวกกุเรช เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่า นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮฺบางท่านยืนยันอย่างชัดเจนว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า “จะมีสิบสองค่อลีฟะฮฺ ภายหลังจากฉัน ทุกคนล้วนมาจากตระกูลบะนีฮาชิม” (57)

มีรายงานจาก อัช-ชุอบี จาก มัซรูก กล่าวว่า ในขณะที่พวกเราอยู่กับท่าน อิบนุมัซอูด นั้น เราได้เปิดคัมภีร์ขึ้นเสนอแก่ท่าน ทันใดนั้น มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งพูดกับเขาขึ้นว่า “นบีของพวกท่านเคยสัญญากับพวกท่านไหมว่า หลังจากท่านแล้วจะมีค่อลีฟะฮฺกี่คน ?”

ท่านตอบว่า “เธอนี่เป็นคนรุ่นใหม่ แท้จริงเรื่องนี้ยังไม่เคยมีใครถามฉันก่อนเธอเลยสักคนเดียว ใช่แล้ว นบีของเรา(ศ)เคยสัญญากับเราว่า หลังจากท่าน(ศ)แล้วจะมีสิบสองค่อลีฟะฮฺเท่ากับจำนวนหัวหน้าเผ่าในบะนีอิซรอเอล” (58)

ต่อจากนี้ เราควรจะได้เปิดเผยคำสอนของทั้งสองฝ่าย อันเป็นขออ้างที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย ประกอบด้วยหลักฐานอันแจ้งชัด ตามข้อบัญญัติทางศาสนา ขณะเดียวกันเราก็มาถกกันถึงการตีความของแต่ละฝ่ายในปัญหานี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความแตกแยกให้แก่บรรดามุสลิมมาตั้งแต่วันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลลอฮฺ(ศ)วะฟาตจนถึงวันนี้ และด้วยเรื่องนี้แหละ ที่ได้เกิดความขัดแย้งในหมู่มุสลิมเป็นมัซฮับต่างๆ พวกต่างๆ สำนักต่างๆ ทั้งในแง่คำพูดและความคิด ขณะที่พวกเขาเคยเป็นประชาชาติเดียวกันมาก่อน จึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดเป็นความขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างบรรดามุสลิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนบัญญัติ(ฟิกฮฺ)ในเรื่องการตัฟซีรอัลกุรอาน หรือในความเข้าใจซุนนะฮฺของนบีอันทรงเกียรติ

สาเหตุและที่มาของมันก็คือเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ แต่ท่านจะรู้หรือไม่ว่า อะไรคือความหมาย ค่อลีฟะฮฺที่ได้เกิดขึ้นหลังจากยุคซะกีฟะฮฺ อันเป็นปรากฏการณ์ที่ถูกปฏิเสธในที่มาของมัน โดยบรรดาฮะดีษศ่อฮีฮฺและโองการต่างๆอันชัดแจ้งและเป็นเหตุให้มีการอุปโลกน์ฮะดีษอื่นๆขึ้นมาเพื่อรองรับความถูกต้อง ทั้งที่พื้นฐานในเรื่องนี้ ไม่มีในซุนนะฮฺนบี(ศ)แท้จริง

เรื่องของประเทศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ทำให้ข้าพเจ้านึกขึ้นมาได้ว่า บรรดาผู้นำของโลกอรับ มีมติร่วมกันว่า จะไม่ยอมรับอิซราเอลและจะไม่เจรจาสันติภาพด้วย “คือตราบใดที่ยังคงถูกรุกรานด้วยการใช้กำลังอยู่จะตอบโต้โดยไม่ใช้กำลังมิได้” แต่พอเวลาผ่านไปไม่กี่ปี พวกเขาก็จัดประชุมกันใหม่ เพื่อตัดสัมพันธ์กับอียิปต์ ซึ่งไปทำความตกลงกับยิวไซออนนิสต์

หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี พวกเขาก็หันกลับไปมีความสัมพันธ์กับอียิปต์ และทั้งๆที่อิซราเอลนั้นไม่ยอมรับในสิทธิของประชาชนชาวปาเลสไตน์และยังไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนใดๆของตน มีแต่จะเพิ่มขีดความรุนแรงในการกดขี่ชาวปาเลสไตน์หนักยิ่งขึ้น กงล้อของประวัติศาสตร์หมุนกลับมาที่เดิมด้วยตัวของมันเอง นั่นคืออรับย่อมชินกับการยอมรับต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เสมอ






ขออยู่กับผู้สัจจริง



ทัศนะและการโต้แย้งของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ
ทัศนะของพวกเขาที่รู้ๆกันอยู่ คือถือว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)วะฟาตไปโดยมิได้แต่งตั้งคนใดไว้เป็นค่อลีฟะฮฺ แต่คนระดับผู้นำในหมู่ศ่อฮาบะฮฺได้ประชุมกันที่ซะกีฟะฮฺ บะนีซาอิดะฮฺ และได้มอบหมายตำแหน่งผู้นำให้แก่ อะบูบักรฺ ศิดดีก เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เพราะว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้มอบหมายให้อะบูบักรฺทำหน้าที่ของท่านในนมาซ เมื่อตอนที่ท่าน(ศ)เจ็บหนัก

พวกเขาจึงกล่าวว่า : เมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พอใจที่เขาทำหน้าที่ทางศาสนากับพวกเรา แล้วทำไมเราจะพอใจที่เขาทำหน้าที่ทางโลกกับพวกเราไม่ได้ ? คำพูดของพวกเขาสรุปได้ดังนี้

1. ท่านร่อซูล(ศ)ไม่เคยวางกฎแต่งตั้งใคร

2. ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ จะมีโดยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากโดยการประชุมหรือหารือ

3. การดำรงตำแหน่งของอะบูบักรฺ เป็นไปโดยการเห็นชอบของศ่อฮาบะฮฺรุ่นอาวุโส

ใช่แล้ว นี่คือความเห็นของข้าพเจ้า เมื่อครั้งที่เคยถือมัซฮับมาลิกี ซึ่งข้าพเจ้าเคยต่อต้านความคิดที่เคยถูกนำมาเสนอแก่ข้าพเจ้าในทุกรูปแบบอย่างเต็มกำลัง และด้วยการอ้างหลักฐานในเรื่องนี้ โดยโองการต่างๆว่าด้วยเรื่องการประชุมหรือหารือ และพยายามอย่างสุดความสามารถในการที่จะคุยโอ่ว่าอิสลามคือศาสนาแห่งประชาธิปไตย และถือว่าระบบนี้อิสลามได้นำมาเป็นพื้นฐานของมนุษย์มาก่อนซึ่งน่าภูมิใจในฐานะที่มีอำนาจรัฐที่รุ่งเรืองมาก่อน ข้าพเจ้าถือว่า ชาวตะวันตกมิได้รู้เรื่องการปกครองระบอบสาธารณรัฐมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่อิสลามซิ รู้ระบอบนี้ดีก่อนพวกเขา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 มาแล้ว

แต่หลังจากที่ข้าพเจ้าพบนักปราชญ์ชีอะฮฺ และอ่านตำราต่างๆของพวกเขาและศึกษาหลักฐานต่างๆของพวกเขาที่น่ายอมรับซึ่งมีอยู่ในตำราของเรา ในขั้นแรกความเห็นของข้าพเจ้าก็ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากมีหลักฐานที่รัดกุมเสนอในเรื่องนี้ เพราะด้วยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่พระองค์จะทอดทิ้งปวงบ่าวของพระองค์ ไว้โดยปราศจากผู้นำในขณะที่พระองค์ทรงมีโองการว่า

“อันที่จริง เจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือน ส่วนในทุกๆประชาชาตินั้นจะมีผู้นำทาง”

และด้วยความเมตตาของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก็เป็นไปไม่ได้อีกที่จะทอดทิ้งประชาชาติของท่านไว้โดยปราศจากผู้ดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราตระหนักว่า ท่านกังวลเหลือเกินต่อการที่ประชาชาติจะแตกแยกกัน(59) จะหันหลังกลับไปหาความเป็นอยู่แบบเดิม(60) ขัดแย้งกันในผลประโยชน์ทางโลก(61) แม้กระทั่งการที่กลุ่มหนึ่งจะทำลายอีกกลุ่มหนึ่ง(62) และการจะปฏิบัติตามแบบอย่างของพวกยิวและนัศรอนี(63)

แม้แต่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของผู้ศรัทธาเองก็ยังเคยบอกกล่าวไปยังท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ เมื่อตอนที่ท่านถูกแทง ท่านได้กล่าวว่า “ท่านจงดำเนินการแต่งตั้งค่อลีฟะฮฺแก่ประชาชาติของมุฮัมมัด และอย่าปล่อยพวกเขาให้อยู่อย่างเลื่อนลอย ภายหลังจากท่าน เพราะว่า ฉันกลัวความเสียหายจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา” (64)

และแม้แต่ อับดุลลอฮฺ บินอุมัร ยังได้เข้าพบบิดาเมื่อครั้งที่ถูกแทง โดยกล่าวกับท่านว่า

“แท้จริงประชาชนพากันเข้าใจว่าท่านไม่มีค่อลีฟะฮฺทำหน้าที่แทน และแท้จริงถ้าท่านมีคนเลี้ยงแกะให้หรือดูแลอูฐให้สักคน แต่แล้ว เขาได้มาหาท่านโดยละทิ้งฝูงสัตว์เหล่านั้นมาเฉยๆ ท่านก็เห็นแล้วว่า มันจะเสียหายแค่ไหน ดังนั้นการดูแลประชาชน ย่อมหนักหนายิ่งกว่านั้น” (65)

แม้แต่อะบูบักรฺเอง ผู้ซึ่งบรรดามุสลิมทั้งหลายแต่งตั้งท่านให้เป็นค่อลีฟะฮฺด้วยการประชุมหารือก็ยังตัดสินปัญหานี้ ด้วยการรีบแต่งตั้งอุมัรให้เป็นค่อลีฟะฮฺแทน เพื่อตัดหนทางที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและแตกแยกอันหายนะ เมื่อเรามองในสิ่งเหล่านี้ให้เป็นไปในแง่ดี ทำไมจะมองไม่ได้อีกว่า ท่านอิมามอะลี(อ)นั้น ท่านย่อมจะรู้ดีว่าเรื่องราวเกี่ยวกับความคลุมเครือต่างๆในเหตุการณ์ที่บ่งบอกว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺจะเปลี่ยนมือจากอะบูบักรฺไปยังอุมัร บินค็อฏฏอบ ด้วยเหตุนี้ เมื่อครั้งที่ท่านถูกบีบคั้นให้ยอมบัยอะฮฺ(ให้การรับรอง)แก่อะบูบักรฺ ท่านจึงกล่าวคำอุทรณ์เป็นหลักฐานไว้(66)

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า เมื่ออะบูบักรฺเองยังไม่ยอมรับเรื่องการประชุมหารือ แล้วเราจะยอมรับอย่างไรว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ปล่อยให้เรื่องการบริหารอันสำคัญไว้เฉยๆโดยปราศจากการแต่งตั้งคนรับช่วง หรือว่าท่านไม่รู้ ในเรื่องที่คนอย่างอะบูบักรฺรู้ ท่านหญิงอาอิชะฮฺก็รู้ อับดุลลอฮฺ บินอุมัร ก็รู้ และเรื่องที่คนทั้งหลายก็รู้โดยสัญชาติญาณ จากความเห็นที่แตกต่างกัน และจากอารมณ์อันหลากหลาย เมื่อภารกิจการเลือกทางเดินถูกมอบให้เป็นของพวกเขาเอง โดยเฉพาะเมื่อภารกิจนั้นเกี่ยวข้องกับผู้นำและตำแหน่งสูงอย่างค่อลีฟะฮฺ ดังที่เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นแล้วจนกระทั่งในการเลือกอะบูบักรฺ ที่ซะกีฟะฮฺ

ขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นความขัดแย้งของผู้นำชาวอันศอร เช่น ซะอัด บินอิบาดะฮฺ และบุตรชายของเขา ก็อยซฺ บินซะอัด, อะลี บินอะบีฏอลิบ, ซุบัยร์ บินเอาวาม, (67) อับบาซ บินอับดุลมุฏฏอลิบ และชาวบะนีฮาชิม คนอื่นๆ อีกทั้งศ่อฮาบะฮฺบางคนที่พวกเขาเห็นว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นสิทธิของ อะลี(อ) พวกเขาขัดขืนการบัยอะฮฺ จนกระทั่งถูกขู่ด้วยการเผาด้วยไฟ(68)

ข้าพเจ้าขอกล่าวเพิ่มเติมว่า เราไม่เคยพบเลยว่าตลอดระยะเวลาการทำงานของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น ท่านจะเคยปรึกษาศ่อฮาบะฮฺของท่านสักครั้งเดียวในการคัดเลือกตัวผู้นำของพวกเขา ไม่ว่าผู้นำในกองทัพหรือผู้นำในสงคราม ท่านไม่เคยขอคำปรึกษากับพวกเขา เมื่อตอนที่ท่านออกจากเมืองมะดีนะฮฺแล้วตั้งคนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมในการดูแลพวกเขาในเมืองและไม่เคยปรึกษาใครในยามมีแขกเข้ามาเพื่อยอมรับศาสนา กล่าวคือ ท่านจะแต่งตั้งคนใดคนหนึ่งให้ดูแลคนเหล่านั้นโดยมิได้ปรึกษาใคร

ในตอนสุดท้ายของการใช้ชีวิต ท่านนบี(ศ)ได้ทำอย่างนี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เมื่อท่านได้บัญชาให้ อุซามะฮฺ บินซัยดฺ เป็นแม่ทัพ ทั้งๆที่ท่านอายุยังน้อย แต่พวกเขาไม่ยอมรับและดูหมิ่นการแต่งตั้งของท่าน แต่ท่านนบี(ศ)ก็ได้สาปแช่งคนที่ขัดขืนในเรื่องนี้(69) อันเป็นการยืนยันว่าอำนาจการบริหาร อำนาจการปกครอง และตำแหน่งค่อลีฟะฮฺมิใช่เรื่องที่ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของประชาชนหากแต่จะต้องมาจากบัญชาของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เท่านั้น และถือว่าคำสั่งของท่าน(ศ)เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

เมื่อเรื่องมันเป็นแบบนี้ ทำไมเราจึงไม่พิจารณาหาหลักฐานดูจากกลุ่มที่สอง นั่นคือ พวกชีอะฮฺอิมามียะฮฺ ซึ่งพวกเขายืนยันในทางตรงกันข้ามกับคำพูดของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ และยืนยันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่งตั้งท่านอะลี(อ)ให้เป็นค่อลีฟะฮฺ และระบุเป็นข้อบัญญัติให้แก่เขาในวาระต่างๆหลายต่อหลายครั้งและเลื่องลือที่สุด ก็คือที่ ฆอดีรคุม

ในเมื่อความยุติธรรมหมายถึง ท่านจะต้องรับฟังเหตุผลของคู่กรณีเพื่อให้ได้พิสูจน์ด้วยความเห็นและหลักฐานของเขาในกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเขากับท่าน แล้วจะทำอย่างไรอีกถ้าหากว่าคู่กรณีของท่านสามารถยืนยันด้วยประจักษ์พยานที่ท่านเองก็ยืนยันในความจริงของเหตุการณ์นั้นๆ(70)

หลักฐานของฝ่ายชีอะฮฺ มิได้เป็นหลักฐานเลื่อนลอยหรืออ่อนใช้ไม่ได้จนสามารถหักล้างและมองข้ามเสียได้โดยง่าย หากแต่เป็นหลักฐานที่เกี่ยวพันกับโองการในอัล-กุรอาน ที่ถูกประทานลงมาในเรื่องนี้ และท่านศาสนทูต(ศ)ก็ให้ความหมายโองการนั้นๆไปด้วย เจตนารมณ์และเน้นถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งท่ามกลางเรื่องราวต่างๆที่ท่านแบกภาระมา และทั้งซุนนี ชีอะฮฺ ต่างก็บันทึกถ่ายทอดกันมาจนกระทั่งปรากฏเป็นหลักฐานเต็มไปหมดทั้งในตำราประวัติศาสตร์ ตำราฮะดีษ และยังได้มีการรายงานสืบต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า



อำนาจวิลายะฮฺของอะลี(อ) ที่ระบุอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรติ
พระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ว่า

“ความจริงแล้ว ผู้มีอำนาจเหนือพวกสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งดำรงการนมาซและบริจาคซะกาตเมื่อพวกเขาโค้งรุกูฮ์ และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของ อัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธานั้น แน่นอน พรรคของอัลลอฮฺ พวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ” (อัล-มาอิดะฮฺ / 55-56)

อิมามอะบี อิซฮาก อัษษะอ์ละบี รายงานไว้ใน ตัฟซีร “อัล-กะบีร” (71) โดยสายสืบผ่านไปถึง อะบูซัร อัล-ฆอฟฟารี ว่า :

ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดสองเรื่อง ไม่เช่นนั้น ฉันก็จะงมงายทั้งสองเรื่อง ไม่เช่นนั้นฉันก็จะมืดบอดทั้งสองเรื่อง คือท่านกล่าวว่า

“อะลีนั้นเป็นหัวหน้าของคนดี และเป็นผู้สังหารผู้เนรคุณ ผู้ที่ช่วยเหลือเขาจะได้รับการช่วยเหลือ และผู้ที่บั่นทอนเขาก็จะได้รับการบั่นทอน”

สำหรับข้าพเจ้านั้น วันหนึ่งได้ร่วมนมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้มีคนขอบริจาคคนหนึ่งเข้ามาขอในมัสญิด แต่ไม่มีใครให้อะไรแก่เขาสักคนเดียว ส่วนอะลี(อ) ขณะนั้นกำลังรุกูอ์อยู่ เขาได้ยื่นนิ้วก้อยของเขาซึ่งมีแหวนสวมอยู่ส่งไปให้ คนขอบริจาคก็ได้เข้ามา จนกระทั่งได้ถอดเอาแหวนจากนิ้วก้อยของท่านไป ดังนั้น ท่านนบี(ศ)จึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงมูซาพี่ชายข้า ได้เคยขอต่อพระองค์ว่า

-โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้เข้าใจ และโปรดบันดาลให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดคลี่คลายปมที่ปลายลิ้นของข้า ให้เขาทั้งหลายได้เข้าใจคำสอนของข้า และโปรดบันดาลให้ข้าได้มีผู้รับภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า ฮารูน พี่ชายข้า ได้โปรดให้ความหนักแน่นแก่ภารกิจของข้าด้วยเพระเขา และโปรดให้เขามีส่วนร่วมในภารกิจของข้า เพื่อเราจะได้สดุดีสรรเสริญพระองค์ให้มากมาย และเราได้รำลึกถึงพระองค์ให้มากมาย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลเราอยู่เสมอ-

แล้วพระองค์ก็ทรงมีวะฮฺยูแก่เขา(ศ)ว่า

–แน่นอนยิ่ง ข้าได้มอบให้แก่เจ้าตามที่เจ้าขอแล้วโอ้มูซาเอ๋ย- ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงข้าเป็นบ่าวและเป็นนบีของพระองค์ ดังนั้น ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้กว้างขวาง และโปรดให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดบันดาลให้ข้ามีผู้ร่วมภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า นั่นคือ อะลี โปรดให้ภารกิจของข้ามั่นคงด้วยเพราะเขา”

อะบูซัรเล่าต่อไปว่า : ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พอท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จบคำพูดเท่านั้นเอง มะลาอิกะฮฺญิบรออีลก็ได้เสด็จลงมา พร้อมกับโองการนี้ ซึ่งมีใจความว่า

“ ความจริงแล้วผู้มีอำนาจเหนือสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งได้ดำรงการนมาซและบริจาคซะกาต ในขณะที่พวกเขาโค้ง(รุกูอ์) และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของอัลลออฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาเหล่านั้น แน่นอนพรรคของอัลลอฮฺ และพวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ” (อัล-มาอิดะฮฺ / 55-56)

สำหรับชีอะฮฺ ไม่มีอะไรเป็นข้อขัดแย้งกันที่ว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของ อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) โดยริวะยะฮฺที่มาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น เป็นคำสอนที่ถูกยอมรับจากพวกเขาอยู่แล้ว ดังที่มีรายงานปรากฎอยู่ในหนังสือต่างๆหลายเล่มของชีอะฮฺ ยกตัวอย่างเช่น

1. บิฮารุล อันวาร ของท่านมัจญลิซี

2. อุษบาตุล-ฮุดา ของท่านฮุรรุล-อามิลี

3. ตัฟซีร อัล-มีซาน ของ อัลลามะฮฺ เฏาะบา เฏาะบาอี

4. ตัฟซีร อัล-กาชิฟ ของท่านมุฮัมมัด ญะวาด อัล-มุฆนียะฮฺ

5. อัล- เฆาะดีร ของอัลลามะฮฺ อัล-อามินี (และท่านอื่นๆอีกมาก)

ขณะเดียวกันนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺกลุ่มหนึ่ง ก็ได้รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ซึ่งข้าเจ้าจะกล่าวถึงเฉพาะกับนักปราชญ์สายตัฟซีรเท่านั้น

1. ตัฟซีร อัล-กิชาฟ ของท่านซะมัคซะรี เล่ม 1 หน้า 649

2. ตัฟซีร อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 6 หน้า 288

3. ซาดุล-มะซีร ฟีอิ้ลมิ้ลตัฟซีร ของอิบนุเญาซี แล้ว 2 หน้า 383

4. ตัฟซีร อัล-กุรฏฺบี เล่ม 6 หน้า 219

5. ตัฟซีร ฟัครุรรอซี เล่ม 12 หน้า 26

6. ตัฟซรี อิบนุกะซีร เล่ม 2 หน้า 71

7. ตัฟซีร อัน-นุซฟี เล่ม 1 หน้า 289

8. ชะวาฮิดุต-ตันซีล ของฮัซกานี อัน-ฮะนาฟี เล่ม 1 หน้า 161

9. อัด-ดุรรุล-มันซูร ของท่านซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 293

10. อัซบาบุล-นุซุล ของอิมามอัล-วาฮิดี หน้า 148

11. อะฮฺกามุล-กุรอาน ของท่านญัศศอศ เล่ม 4 หน้า 102

12. อัต-ตัซฮีล ลิอุลูมิต-ตันซีล ของท่านกัลบีเล่ม 1 หน้า 181

ที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวถึงในที่นี้ ยังมีอีกมากมายจากนักปราชญ์ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ที่มีความเชื่อตรงกันกับนักปราชญ์ชีอะฮฺว่าโองการนี้ถูกประทานมาในเรื่องอัล-วิลายะฮฺของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)



โองการว่าด้วย “อัล-บะลาฆ” เกี่ยวของกับเรื่องวิลายะฮฺของท่านอะลี(อ)อีกเช่นกัน
พระองค์ตรัสว่า

“โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศเรื่องที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าหากเจ้าไม่กระทำ ดังนั้น เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์” (อัล-มาอิดะฮฺ / 67)

นักมุฟัซซิรีนของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺบางท่านกล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในสมัยแรกๆของการเผยแพร่ศาสนา เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ซึ่งท่านดำรงอยู่ในฐานะที่ถูกปิดล้อม โดยที่กล่าวว่า ท่านจะถูกสังหาร ครั้นเมื่อโองการได้ถูกประทานลงมาว่า

“และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

ท่านก็กล่าวว่า “ จงออกไปเถิด เพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงปกป้องคุ้มครองฉัน”

ท่านอิบนุญะรีร ท่านอิบนุ มัรดุวียะฮฺ ได้รับรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินชะกีก ว่า

“แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น ถูกคุ้มครองโดยบางคนจากศ่อฮาบะฮฺของท่าน ครั้นเมื่อโองการได้ถูกประทานมาว่า

“และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

ท่านก็ออกมาประกาศว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ย จงกลับไปประจำอยู่ในสถานที่ประจำของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงปกป้องคุ้มครองฉันให้พ้นจากมนุษย์แล้ว” (72)

ท่านอิบนุฮิบบาน ท่านอิบนุ มัรดุวียะฮฺ ได้รับรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺว่า : เมื่อครั้งที่พวกเราติดตามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในการเดินทาง และเราได้ปล่อยพุ่มไม้พุ่มหนึ่งไว้ให้เป็นที่พักร่มของท่าน(ศ) ซึ่งท่านก็ได้เข้าไปพักใต้ร่มไม้นั้น วันหนึ่งท่าน(ศ) ได้แขวนดาบของท่านไว้ที่กิ่งไม้ ได้มีชายคนหนึ่งมายึดเอาไป แล้วกล่าว่า

“โอ้มุฮัมมัด ใครจะสามารถรักษาท่านให้พ้นไปจากฉันได้ ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“อัลลอฮฺทรงรักษาฉันให้พ้นจากท่านได้ จงวางดาบลงเสีย”

ก็ปรากฏว่าชายคนนั้นได้วางดาบลง ดังนั้น โองการจึงถูกประทานลงมาว่า

“และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”(73)

เช่นกัน ท่านติรมีซี, ท่านฮากิม, ท่านอะบูนะอีม ก็ได้รับรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า : ท่านนบี(ศ) เคยถูกคุ้มกันจนกระทั่งโองการได้ถูกประทานลงมาว่า

“และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

ดังนั้นท่าน(ศ)จึงชะโงกศีรษะออกมาจากกระโจมแล้วกล่าว่า

“โอ้ประชาชนเอ๋ย จงแยกย้ายออกไปเถิด เพราะว่าแท้จริงอัลลอฮฺทรงปกป้องฉันแล้ว”

ท่านฏ็อบรอนี ท่านอะบูนะอีมได้รายงานไว้ในหนังสือ อัด ดะลาอิล ท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานจากอิบนุอับบาซว่า ท่านนบี(ศ)เคยได้รับการคุ้มกัน กล่าวคือทุกๆวัน อะบูฏอลิบลุงของท่านจะส่งคนจากตระกูลบะนีฮาชิมมารักษาความปลอดภัยให้ท่าน(ศ)

จนท่านได้กล่าวว่า “โอ้ลุงเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺทรงปกป้องคุ้มกันฉันแล้ว ฉันไม่มีความจำเป็นอะไรจากคนที่ท่านส่งมา”

เมื่อเราได้พิจารณาดูฮะดีษต่างๆเหล่านี้ และการให้ความหมายทำนองนี้ เราจะพบว่า ไม่ถูกต้องตรงตามความหมายของโองการนี้ แม้กระทั่งจะพยายามเชื่อมโยงเข้าหากันก็ตาม ริวายะฮฺทั้งหมดเหล่านี้ล้วนให้ความหมายว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในตอนต้นๆของการเผยแพร่ จนบางคนระบุว่าถูกประทานมาในช่วงที่ อะบูฏอลิบยังมีชีวิตอยู่ หมายความว่า ก่อนการฮิจญ์เราะฮฺหลายปี โดยเฉพาะ อะบูร็อยเราะฮฺ ซึ่งกล่าวในเรื่องนี้ว่า

“พวกเราเคยติดตามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในการเดินทาง พวกเราได้ปล่อยพุ่มไม้ใหญ่หนึ่งไว้กับท่าน...”

ริวายะฮฺนี้ถูกกุขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะอะบูร็อยเราะฮฺนั้นยังไม่รู้จักศาสนาอิสลาม และยังไม่รู้จักท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เว้นแต่ในปีที่เจ็ด หลังจากฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบี(ศ)เป็นต้นมา ดังที่เขาได้ยืนยันไว้อย่างนี้ด้วยตัวของเขาเอง(74) เช่นกันท่านหญิงอะอิชะฮฺเองก็ยังไม่เกิด หรือว่าอายุของนางยังไม่ถึงสองขวบ เพราะเป็นที่รู้กันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) สมรสกับนางหลังจากฮิจญ์เราะฮฺแล้ว และคาดคะเนกันเป็นส่วนมากว่า แต่งานกันเมื่อนางอายุได้ 11 ปี ฉะนั้น การอธิบายอย่างนี้จะถูกต้องได้อย่างไร ในเมื่อนักมุฟัซซิรีนทุกฝ่ายทั้งซุนนีและชีอะฮฺ ร่วมกันลงมติว่า ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ ถูกประทานที่ มะดีนะฮฺ นั่นคือ เป็นซูเราะฮฺท้ายๆของอัลกุรอานที่ถูกประทานลงมา???

ท่านอะฮฺมัด ท่านอะบูอะบีด ได้รายงานไว้ในหนังสือ “ฟะฎออิล” ท่านนุฮาซ ได้รายงานไว้ในหนังสือ “นาซิค” ท่านนะซาอี ท่านอิบนุมันซุร ท่านฮากิม ท่านอิบนุมัรดุวียะฮฺ ท่านบัยฮะกี ได้รายงานไว้ในหนังสือซุนันต่างๆของพวกเขาว่า ท่านญุบัยร์ บินนะฟีร ได้กล่าวว่า : เมื่อฉันได้ทำฮัจญ์แล้วก็ได้เข้าเยี่ยมท่านหญิงอาอิชะฮฺ

นางกล่าวกับฉันว่า “โอ้ท่านญุบัยร์ ท่านเคยอ่านซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺหรือเปล่า ?”

ฉันตอบว่า “เคยอ่านครับ”

นางกล่าวว่า “มันเป็นซูเราะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานลงมา อันใดที่พวกท่านพบในซูเราะฮฺนี้ว่าฮะล้าล ก็ให้พวกท่านถือว่าฮะล้าล และอันใดที่พวกท่านพบว่าฮะรอม ก็ให้พวกท่านถือว่าฮะรอม”(75)

เช่นกัน ท่านอะฮฺมัด ท่านติรมีซี ที่ได้รายงานไว้ และท่านฮากิม ถือว่าถูกต้องเป็นเลิศ ท่านอิบนุมัรดุวียะฮฺ ท่านบัยฮะกี ก็ได้รายงานไว้ในซุนนันของท่านว่า ท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร กล่าวว่า

“ซูเราะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาคือ ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ”(76)

อะบูอะบีด ได้รายงานจาก มุฮัมมัด บินกะอับ อัล-กุรฏนีว่า : ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺถูกประทานมาแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในการทำ ฮัจญะตุ้ลวิดาอ์ ในช่วงเดินทางระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ ขณะที่ท่านอยู่บนหลังอูฐมันถึงกับทรุดตัวลง ดังนั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จึงลงจากหลังของมัน(77)

ท่านอิบนุญะรีร ได้รายงานจากเราะอ์ บินอะนัซว่า : ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺถูกประทานแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในการเดินทางทำ ฮัจญะตุ้ลวิดาอ์ ขณะที่ท่านขี่พาหนะอยู่ พาหนะของท่านถึงกับทรุดตัวลงหมอบเนื่องจากความหนักของมัน(78)

อะบูอะบีด ได้รายงานจาก ฏ็อมเราะฮฺ บิน ฮะบีบ และ อะฏียะฮฺ บินก็อยซฺ ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า อัล-มาอิดะฮฺ คือสิ่งสุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานมา ดังนั้น ขอให้พวกท่านถือว่าฮะล้าลตามที่ซูเราะฮฺนี้บอกว่าฮะล้าล และให้พวกท่านถือว่าฮะรอมตามที่ซูเราะฮฺนี้บอกว่าฮะรอม(79)

ผู้มีสติปัญญาอันเที่ยงธรรมจะยอมรับริวายะฮฺก่อนๆได้อย่างไร เมื่อได้มาพิจารณาริวายะฮฺเหล่านี้ ซึ่งริวายะฮฺก่อนหน้านี้ เป็นข้ออ้างที่กล่าวว่าโองการนี้ถูกประทานมาในช่วงแรกๆของการแต่งตั้งนบี(ศ) ทั้งนี้ก็เพื่อเบี่ยงเบนให้พ้นจากความหมายที่เป็นจริง ประกอบกับว่าทางชีอะฮฺนั้นมิได้มีความเห็นแตกต่างกันเลยในข้อที่ว่าซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ เป็นซูเราะฮฺสุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานมาและโองการนี้ก็เช่นเดียวกัน

“โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศเรื่องที่ถูกประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่กระทำก็เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

ตามข้อความแห่งโองการของอัลลอฮฺที่ว่า

“และหากเจ้าไม่กระทำ ก็เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย”

ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สาส์นนั้นได้ยุติแล้ว หรือไม่ก็เกือบจะถึงเวลายุติแล้ว ยังคงเหลือเรื่องสำคัญอยู่เรื่องเดียวเท่านั้นที่ศาสนายังไม่ครบสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องประกาศเรื่องนั้น

ขณะเดียวกันโองการนี้ ก็ให้ความรู้สึกว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีความกังวลใจต่อการปฏิเสธของประชาชน ถ้าเมื่อท่าน(ศ)ได้เรียกร้องพวกเขามายังคำสั่งที่สำคัญยิ่งข้อนี้ แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ไม่ทรงผ่อนผันให้ท่านประวิงเวลาอีกต่อไป เพราะวาระสุดท้ายใกล้เข้ามาแล้ว และโอกาสนี้นับเป็นช่วงจังหวะที่ดี และสถานการณ์นั้นก็นับว่ายิ่งใหญ่มากเมื่อศ่อฮาบะฮฺของท่าน(ศ)ยังอยู่กับท่านมากกว่าแสนคน ซึ่งพวกเขาได้ทำฮัจญ์พร้อมกับท่าน(ศ)เป็นครั้งสุดท้าย นับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้วที่พวกเขามีจิตใจเทิดทูนสัญลักษณ์ต่างๆของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ด้วยความอาลัยห่วงท่านศาสนทูต(ศ)ที่ท่านกล่าวด้วยความอาวรณ์ว่า

“บางทีฉันอาจไม่ได้พบกับพวกท่านอีก หลังจากปีนี้ผ่านไปแล้ว และบางทีทูตจากพระผู้อภิบาลของฉันจะมา แล้วฉันจะถูกเรียกซึ่งฉันก็จะตอบรับ”

ในขณะที่พวกเขาจะแยกย้ายกันเดินทางหลังจากจุดนี้เพื่อกลับสู่ภูมิลำเนาของพวกตน และบางทีพวกเขาจะไม่มีโอกาสเช่นนี้ที่จะพบกันอีกในจำนวนมากมายมหาศาลอย่างนี้ และเฆาะดีรคุมเป็นจุดแยกของเส้นทางสายต่างๆ ดังนั้นมุฮัมมัด(ศ)ไม่อาจปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านพ้นไปโดยมิได้ทำอะไรไว้เลยเป็นกรณีพิเศษ แน่นอนได้มีวะฮฺยูในลักษณะที่กำชับโดยที่ว่าทุกๆเรื่องราวของสาส์นแห่งศาสนานั้นก็มีวิธีเช่นเดียวกับการให้ประกาศในคราวนี้

แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรับรองความปลอดภัยให้ท่านพ้นจากมนุษย์ที่คิดร้ายอยู่แล้ว จึงมิใช่เรื่องที่จะอ้างว่าท่านกลัวการปฏิเสธของพวกเขา เพราะศาสนทูตก่อนหน้าท่าน(ศ)ได้เคยถูกปฏิเสธมาแล้ว แต่พวกเขาก็ไม่หยุดยั้งการประกาศศาสนาตามที่พวกเขาถูกบัญชามา เพราะศาสนทูตไม่มีหน้าที่อื่นนอกจากการประกาศ และถึงแม้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงทราบดีมาก่อนแล้วว่า พวกเขาส่วนมากจะต้องรังเกียจสัจธรรม ส่วนหนึ่งของพวกเขาจะมีผู้ปฏิเสธ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ยังไม่ละเลยในอันที่จะดำรงไว้ซึ่งข้อพิสูจน์อันเป็นหลักฐานไว้สำหรับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ไม่มีข้อแก้ตัวกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)หลังจากที่มีบรรดาศาสนทูตมาเผยแพร่แล้ว และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีเกียรติยิ่ง ทรงปรีชาญาณนัก

ในฐานะที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นผู้มีจริยธรรมอันดีเลิศท่ามกลางบรรดาศาสนทูตทั้งหลายซึ่งพวกเขาเคยได้รับการปฏิเสธมาแล้วจากประชาชาติของพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีโองการว่า

“และถึงแม้พวกเขาจะปฏิเสธเจ้า ก็แท้จริงได้มีการปฏิเสธกันมาก่อนหน้าพวกเขาอยู่แล้ว เช่นพวกของนูฮฺ พวกอาด พวกษะมูด และพวกอิบรอฮีม และพวกของลูฏ และอัศฮาบมัดยัน และมูซาก็เคยถูกปฏิเสธมาแล้ว แต่ข้าได้ยืดเวลาให้แก่พวกปฏิเสธ ต่อจากนั้นข้าจึงทำการลงโทษพวกเขา ดังนั้นผลของการปฏิเสธจะเป็นเช่นไร” (อัล-ฮัจญ์ / 42-44)

ถ้าเราละทิ้งการถือพรรคถือพวกอย่างมีอคติและชอบที่จะเข้าข้างมัซฮับกัน เราจะพบว่า การอธิบายอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เหมาะสมกันกับสติปัญญา และเป็นการเดินตามความหมายของโองการและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้เป็นอย่างดี

ได้มีนักปราชญ์ซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จำนวนมากที่รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุมในเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี(อ) เป็นอิมามและพวกเขาถือว่าริวายะฮฺเหล่านั้นถูกต้องและสอดคล้องตรงกันกับรายงานของพี่น้องชีอะฮฺ ข้าพเจ้าจะขอเอ่ยถึงรายชื่อของนักปราชญ์ซุนนะฮฺมาเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

1. ท่านฮาฟิซ อะบูนะอีม (หนังสือนุซูลุล-กุรอาน)

2. อิมามอัล-วาฮิดี (หนังสืออัซบาบุล-นุซูล หน้า 150 )

3. อิมามอะบูอิซฮาก อัษ-ษะอ์ละบี (ตัฟซีร อัล-กะบีร )

4. อัล-ฮากิม อัล-ฮัซกานี (หนังสือ ชะวาฮิด ตันซีลลิเกาะวาอิด ตัฟซีร เล่ม 1 หน้า 187)

5. ญะลาลุดดีนอัซ-ซะยูฏี (หนังสือ อัดดุร-รุลมันษูรฟีตัฟซีร บิ้ล-มะษูร (เล่ม 3 หน้า 117)

6. อัล-ฟัครุร-รอซี (ตัฟซีร อัล-กะบีร เล่ม12 หน้า 50)

7. มุฮัมมัด อับดุฮฺ (ตัฟซีร อัล-มะนาร เล่ม 2 หน้า 86 เล่ม6 หน้า 463)

8. อิบนุ ซากิร อัช-ชาฟิอี (ตารีค ดะมิชก์ เล่ม 2 หน้า 86)

9. ฟัตฮุล-เกาะดีร ของ อัช-เชากานี (เล่ม 2 หน้า 60)

10. มะฏอลิบุซ-ซุอูล ของ อิบนุฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟีอี เล่ม 1 หน้า 44

11. อัล-ฟุศูลุล มุฮิมมะฮฺ ของ อิบนุ อัศ-ศิบาฆ อัล-มาลิกี หน้า 25

12. ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ ของ ก็อนดูซี อัล-ฮะนะฟี หน้า 120

13. อัล-มิลัล วัน-นะฮัล ของ ชะฮฺริซาตานี เล่ม 1 หน้า 163

14. อิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี (หนังสือ อัล-วิลายะฮฺ)

15. อิบนุซะอีด อัซ-ซะญิซตานี (หนังสือ อัล-วิลายะฮฺ)

16. อุมดะตุล-กอริ ฟี ชัรฮิล-บุคอรี ของ บัดรุดดีน อัล-ฮะนาฟี (เล่ม8 หน้า 584)

17. ตัฟซีร อัล-กุรอาน ของอับดุล วะฮาบ อัล-บุคอรี

18. รูฮุลมะอานี ของ อาลูซี เล่ม 2 หน้า 384

19. ฟะรออิดุซ-ซัมฏัยน์ ของ ฮะมูวัยนี เล่ม 1 หน้า 185

20. ฟัตฮุล-บะยาน ฟีมะกอศิด อัล-กุรอาน ของอัลลามะฮฺ ซัยยิด ศิดดีก ฮะซันคาน เล่ม 3 หน้า 63






ขออยู่กับผู้สัจจริง

เหล่านี้เป็นเพียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยที่ข้าพเจ้าบันทึก แต่ยังมีจำนวนมากกว่านี้ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ในสายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ดังที่ท่าน อัลลามะฮฺ อัล-อะมินี ได้กล่าวถึงไว้ในหนังสือ อัล-เฆาะดีร

แล้วลองดูเถิด ท่านทั้งหลายว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ทำอย่างไร ในเมื่อพระผู้อภิบาลของท่านได้มีบัญชาให้ท่าน(ศ)ประกาศถึงเรื่องที่ถูกประทานลงมายังท่าน ??

พวกชีอะฮฺกล่าวว่า ท่านได้จัดประชุมคนทั้งหลายให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันในสถานที่นั้น นั่นคือ ที่เฆาะดีรคุม แล้วท่านได้กล่าวคุฏเบาะฮฺกับคนเหล่านั้นเป็นเวลานาน และให้พวกเขาปฏิญาณตนด้วยตัวของพวกเขาเอง กล่าวคือ พวกเขาปฏิญาณตนว่า ท่านนบี(ศ)นั้นมีอำนาจต่อตัวของพวกเขา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง

แล้วจากนั้นท่าน(ศ)ก็ได้ยกมือของอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)ขึ้นแล้วกล่าวว่า

“ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อะลีผู้นี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรู ต่อผู้เป็นศัตรูของเขา และโปรดช่วยคนของเขา และบั่นทอนคนที่บั่นทอนเขา และโปรดให้ความถูกต้องอยู่กับเขาไม่ว่าเขาจะอยู่อย่างไร”(80)

หลังจากนั้นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก็เอาผ้าโพกศีรษะพันที่ศีรษะของอะลี(อ) และสั่งสาวกให้แสดงความยินดีต่อตำแหน่งผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งพวกเขาก็ได้กระทำตาม โดยมี อะบูบักรฺ และอุมัรเป็นคนเริ่มต้นนำ เขาทั้งสองกล่าวว่า

“ บัคคิน..บัคคิน ละกะ โอ้บุตรของอะบีฏอลิบ ทั้งยามเช้าและยามเย็น ท่านเป็นเมาลาของปวงผู้ศรัทธาทั้งชายหญิง” (81)

หลังจากเสร็จพิธีแล้ว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ลงโองการแก่พวกเขาว่า

“วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกสูเจ้าเป็นที่สมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว และฉันปิติยินดีต่อพวกสูเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสนา”

นี่คือเรื่องราวที่พวกชีอะฮฺกล่าวกันซึ่งนับได้ว่าที่พวกเขามีเรื่องเหล่านี้บอกเล่ากันอย่างเป็นระบบ และสำหรับพวกเขาไม่มีความแตกต่างกันออกเป็นสองแนวทาง แล้วเรื่องนี้ได้มีการกล่าวขานในหมู่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ กันบ้างหรือไม่ ? แน่นอนคำกล่าวของพวกเขาได้ให้ความแปลกใจแก่เราและอาจจะทำให้เราชื่นชม

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงเตือนเราไว้ว่า

“และส่วนหนึ่งจากมนุษย์นั้น ได้มีผู้ที่มีคำพูดอันทำให้เจ้ารู้สึกชื่นชมในเรื่องชีวิตบนโลกนี้ และอัลลอฮฺทรงยืนยันถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของพวกเขา ขณะที่เขาเป็นนักโต้แย้งที่ร้ายกาจ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 204)

จึงจำเป็นที่เราจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และวิเคราะห์เรื่องนี้ในทุกๆด้าน และต้องพิจารณาดูหลักฐานของทั้งสองฝ่ายกันอย่างจริงจังกันเลยทีเดียว ในฐานะผู้ที่แสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

คำตอบก็คือ ใช่แล้ว แท้จริงจำนวนมากในหมู่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ ในลักษณะที่มีรายละเอียดครบครัน และต่อไปนี้ก็คือพยานหลักฐานจากตำราของพวกเขาบางส่วน

1. รายงานโดยอิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล จากฮะดีษของ ซัยดฺ บินอัรก็อม กล่าวว่า :

“พวกเราได้หยุดพักพร้อมกับท่านศาสนทูต(ศ) ณ ที่ลุ่มแห่งหนึ่งที่คนเรียกกันว่า “วาดี คุม” ดังนั้นท่านจึงสั่งให้ทำนมาซ โดยท่านนมาซกลางแดดที่แผดเผาในยามกลางวัน

ท่าน(ศ)ได้กล่าว แล้วพวกเราก็พูด ได้มีการกั้นผ้าผืนหนึ่งเพื่อเป็นร่มเงาให้แก่ท่านศาสนทูต(ศ)

ท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “พวกท่านทราบแล้วหรือไม่ พวกท่านปฏิญาณตนแล้วหรือไม่ว่า ฉันนี้เป็นผู้มีอำนาจเหนือผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงทุกคนยิ่งกว่าตัวของเขาเอง ?”

พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว”

ท่านศาสนทูต(ศ) กล่าวว่า “ดังนั้นผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อะลี ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และจงเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา...” (82)

2. รายงานโดยอิมามนะซาอี ในหนังสือ “อัล-เคาศออิศ” จากท่านซัยดฺบินอัรก็อม ว่า เมื่อครั้งท่านนบี(ศ)กลับจากทำฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ นั้น ท่าน(ศ)ได้หยุดพักที่ “เฆาะดีรคุม” ท่าน(ศ)ได้สั่งให้ทำกระโจม

หลังจากนั้นท่าน(ศ)กล่าวว่า “ดูเหมือนว่า ฉันได้ถูกเรียก แล้วฉันก็ขานรับแล้ว และฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญสองประการ ประการหนึ่ง ยิ่งใหญ่กว่าอีกประการหนึ่ง นั่นคือ กิตาบุลลอฮฺและเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ดังนั้น จงพิจารณาดูเถิด พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในเรื่องทั้งสองนี้อย่างไร เพราะแท้จริงเรื่องทั้งสองนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะย้อนกลับไปยังฉันที่ อัล-เฮาฎ์”

หลังจากนั้นท่าน(ศ)กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮฺทรงเป็นเมาลาของฉัน และฉันก็เป็นวะลีของผู้ศรัทธาทุกคน”

หลังจากนั้นท่าน(ศ)ก็จับมือของท่านอะลี(อ)ชูขึ้น แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดที่ฉันเป็นวะลีของเขา ดังนั้น ผู้นี้ก็เป็นวะลีของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺโปรดได้คุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา”

อะบูฏฟัยลฺ กล่าวว่า ฉันเคยถามท่านซัยดฺว่า “ท่านได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดอย่างนี้หรือ?

ท่านกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้นต่างก็ได้เห็นท่าน และได้ยินท่านด้วยหูทั้งสองข้างของตนเองทั้งสิ้น”(83)

3.รายงานโดยท่านฮากิม อัน-นีชาบูรี จากท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม จากสองรายงานที่ถูกต้องตามเงื่อนไขของผู้อาวุโสทั้งสอง(บุคอรี-มุสลิม) ว่า : เมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กลับจากฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ และได้หยุดพักที่เฆาะดีรคุม

ท่าน(ศ)ได้สั่งให้ทำกระโจมแล้วได้กล่าวว่า “ดูเหมือนว่า ฉันได้ถูกเรียก ดังนั้นฉันก็ขานรับแล้ว และแท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ ประการที่หนึ่งสำคัญยิ่งกว่าอีกประการหนึ่ง นั่นคือ กิตาบุลลอฮฺและเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ดังนั้นจงพิจารณาดูเถิด พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในทั้งสองสิ่งนี้ได้อย่างไร ดังนั้น แท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แตกแยกกันจนกว่าจะได้ย้อนกลับมายังฉันที่อัล-เฮาฎ์”

หลังจากนั้นท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺเป็นเมาลาของฉันและฉันเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทุกคน”

หลังจากนั้นท่าน(ศ) ได้จับมือของท่านอะลี(อ) แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดที่ฉันเป็นวะลีของเขา ดังนั้น ผู้นี้ก็เป็นวะลีของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺโปรดได้คุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา” (84)

เช่นกันฮะดีษนี้ท่านมุสลิม ก็ได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่านซึ่งมีสายสืบฮะดีษนี้ไปถึงท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม แต่มีใจความสรุปว่า ในวันหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวปราศรัยกับพวกเราที่ลุ่มน้ำ ซึ่งมีชื่อว่า “คุม” ระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ ท่าน(ศ)ได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ ได้กล่าวสดุดีต่อพระองค์ และได้ให้คำตักเตือนต่อจากนั้น

ท่าน(ศ) ได้กล่าวว่า “โอ้ประชาชนทั้งหลาย อันที่จริงฉันเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ดูเหมือนว่า ทูตจากพระผู้อภิบาลของฉันได้มาหาฉันแล้ว ซึ่งฉันได้ตอบรับ และฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ ประการที่หนึ่งคือ กิตาบุ้ลลอฮฺ ในนั้นมีทางนำและแสงสว่าง ดังนั้นจงยึดถือกิตาบุลลอฮฺและจงยึดไว้ให้มั่นคง กล่าวคือจงเน้นหนักและแสวงหาคัมภีร์ของอัลลอฮฺ”

หลังจากนั้นท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “และอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ฉันขอเตือนพวกท่านให้รำลึกถึงอัลลอฮฺในเรื่องอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ฉันขอ....”(3 ครั้ง) (85)



หมายเหตุ
ถึงแม้อิมามมุสลิมจะสรุปเรื่องให้สั้นลงและมิได้รายงานเรื่องราวให้ครบสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามก็ขอกล่าวว่ามวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะบางทีการสรุปย่ออาจจะมาจากท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม เองก็ได้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้สร้างความกระทบกระเทือนบีบคั้นท่านจนถึงกับต้องปิดบังฮะดีษอัล-เฆาะดีร ที่เราเข้าใจเช่นนี้ก็เนื่องจากกระแสรายงานฮะดีษนั่นเอง ซึ่งผู้รายงานได้กล่าวไว้ว่า :

ข้าพเจ้าพร้อมกับท่านฮุศ็อยน์ อิบนุซีเราะฮฺ และอุมัร บินมุสลิม ได้ไปพบกับท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม ครั้นเมื่อเราได้นั่งลงแล้ว

ท่านฮุศ็อยน์ก็ได้กล่าวกับท่านว่า “แน่นอน ท่านซัยดฺเอ๋ย ที่ข้าพเจ้ามาพบท่านนี้นับว่าดีมากเลยทีเดียว โอ้ท่านซัยดฺ ได้โปรดเล่าให้เราฟังถึงเรื่องที่ท่านได้ยินมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เถิด”

ท่านกล่าวว่า “โอ้หลานชายเอ๋ย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺแน่นอน ฉัน อายุมากแล้ว และกาลเวลาก็ผ่านไปมากแล้ว ฉันเองได้ลืมบางเรื่องที่ฉันเคยได้ฟังมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้น อะไรที่ฉันได้เล่าพวกท่าน ก็จงรับเอาไปและอันใดที่ฉันมิได้เล่าก็ขออย่าได้บีบบังคับฉันเลย”

หลังจากนั้น ท่านกล่าวว่า “วันหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ยืนยันในหมู่พวกเราที่ลุ่มน้ำคุม...”

กล่าวคือ เริ่มต้นฮะดีษนี้ด้วยการกล่าวถึงท่านฮุศ็อยน์ที่ได้ถามท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม ถึงเรื่องราวที่อัล-เฆาะดีร และได้รายงานถึงคำถามเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นที่แน่ชัดอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า คำตอบที่ชัดเจนสำหรับเรื่องนี้สืบเนื่องจากปัญหาของท่านที่มีกับรัฐบาลซึ่งถือหลักปฏิบัติต่อประชาชนให้ประชาชนสาปแช่งท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่าท่านได้กล่าวออกตัวกับผู้ถามว่า “อายุมากแล้ว กาลเวลาผ่านไปนานแล้ว สำหรับบางส่วนที่ท่านเคยได้ยินมา” หลังจากนั้น ก็เสริมด้วยการขอร้องให้ผู้มาฟังรับเอาในส่วนที่ท่านได้บอกเล่า แต่อย่าสร้างภาระให้แก่ท่าน ในส่วนที่ท่านต้องการจะปิดเงียบไว้

ถึงแม้จะด้วยความกลัว ถึงแม้จะสรุปเรื่องราวให้สั้นลง แน่นอน ท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม ก็ได้ให้ความกระจ่างชัดถึงข้อเท็จจริงอย่างมากมายและเป็นการเปิดเผยให้รู้ถึงฮะดีษอัล-เฆาะดีร (ขอให้อัลลอฮฺตอบแทนความดีของท่านด้วยเถิด) นั่นคือ เขาได้กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ยืนขึ้นกล่าวคุฏบะฮฺในหมู่พวกเราที่ลุ่มน้ำอันได้ชื่อว่า “คุม” ระหว่างมักกะฮฺและมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่าน(ศ) ก็ได้กล่าวถึงเรื่องคุณงามความดีของท่านอะลี(อ) และให้ถือว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน

ในฮะดีษอัษ-ษะเกาะลัยน์ ได้กล่าวถึง กิตาบุลลอฮฺและอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน โดยมิได้กล่าวถึงชื่อของอะลี(อ) โดยปล่อยให้ผู้มาฟังเรื่องราวพินิจพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความมีไหวพริบของตนเองเพราะว่ามุสลิมทุกคนต่างรู้จักเป็นอย่างดีว่าอะลี(อ)นั้น คือประมุขของคนในครอบครัวท่านนบี(ศ) ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นได้ว่าแม้แต่อิมามมุสลิมเอง ท่านก็เข้าใจฮะดีษนี้เหมือนดังที่เราเข้าใจและรู้จัก เหมือนอย่างที่เรารู้จักดังจะเห็นได้ว่า ท่านรายงานฮะดีษนี้ไว้ในหมวดว่าด้วย “เกียรติคุณของอะลี บินอะบี ฏอลิบ” ถึงแม้ในฮะดีษนี้ จะไม่มีชื่อของอะลี(อ)ระบุอยู่ด้วยก็ตาม

4.ท่านฏ็อบรอนี ได้รายงานไว้ใน อัล-มุอฺญะมุล-กะบีร ด้วยสายสืบ ศ่อฮีฮฺ จากท่านซัยดฺ บินฮัรก็อม และจากฮุซัยฟะฮฺ บินอะซีด อัล-ฆ็อฟฟารี ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวปราศรัยที่ เฆาะดีรคุม ใต้ต้นไม้

ท่าน(ศ) กล่าวว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ย ดูเหมือนว่าฉันได้ถูกเรียก ดังนั้นฉันก็ขานรับ แท้จริง ฉันคือผู้รับผิดชอบ และพวกท่านก็คือผู้รับผิดชอบ พวกท่านจะว่าอย่างไร ?”

พวกเขากล่าวว่า “เราขอปฏิญาณตนว่าท่านได้ประกาศแล้วและต่อสู้แล้ว และได้ตักเตือนแล้ว ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตอบแทนท่านด้วยความดีงาม”

ท่าน(ศ)กล่าวว่า “พวกท่านปฏิญาณกันแล้วใช่ไหมว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์(ศ) และแท้จริงสวรรค์นั้นมีจริง และนรกนั้นมีจริง และความตายนั้นมีจริง และการเกิดใหม่นั้นมีจริงหลังจากตาย และยามอวสานนั้นมีอย่างไม่ต้องสงสัย และอัลลอฮฺจะทรงบันดาลให้ผู้อยู่ในสุสานฟื้นคืนชีพขึ้นมา”

พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว พวกเราปฏิญาณเช่นนั้น”

ท่าน(ศ)กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺโปรดเป็นพยาน”

หลังจากนั้นท่าน(ศ)กล่าวว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺเป็นเมาลาของฉัน และฉันคือเมาลาของบรรดาผู้ศรัทธา และฉันคือผู้มีอำนาจต่อพวกเขายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ดังนั้นใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ผู้นี้(หมายถึงอะลี) ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูของเขา”

หลังจากนั้นท่าน(ศ) กล่าวว่า “ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันต้องจากพวกท่าน และแท้จริงพวกท่านจะคืนกลับสู่ฉันที่อัล-เฮาฎ์ ซึ่งแผ่กว้างอยู่ระหว่าง บะศ่อรี ถึง ศ็อนอาอ์ ในนั้นมีดวงดาวมากมาย แพรวพราวราวกับเงิน แท้จริงฉันจะถามพวกท่าน เมื่อพวกท่านกลับไปพบฉันเกี่ยวกับสิ่งสำคัญสองประการ ท่านทั้งหลายจะขัดแย้งกับฉันในสิ่งทั้งสองอย่างไร สิ่งสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นคือ กิตาบุลลอฮฺ ด้านหนึ่งของมันเชื่อมโยงโดยอำนาจของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอีกด้านหนึ่งของมันนั้นอยู่ในมือของพวกท่าน

ดังนั้นจงยึดมันไว้ พวกท่านจะไม่หลงผิด และไม่เปลี่ยนแปลง และเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน แท้จริงพระผู้เป็นเจ้าทรงแจ้งให้ฉันทราบว่า สิ่งทั้งสองจะไม่พรากจากกันจนกระทั่งมันกลับคืนสู่ฉันที่อัล-เฮาฎ์” (86)

5.อิมามอะฮฺมัด ได้รายงานมาจากสายของอัล-บัรรออ์ บินฮาชิม ทั้งสองสายว่า :

พวกเราเคยอยู่กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แล้วพวกเราก็หยุดพักที่เฆาะดีรคุม พวกเราถูกประกาศให้ทำนมาซร่วมกันได้มีการทำพื้นรองสำหรับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ใต้ต้นไม้สองต้น

ท่าน(ศ)ได้นมาซดุฮฺริเสร็จแล้วก็จับมือของท่านอะลี(อ) แล้วกล่าวว่า “พวกท่านรู้กันแล้วใช่ไหมว่า ฉันนี้มีอำนาจต่อผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ?”

พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว”

ท่าน(ศ) กล่าวว่า “พวกท่านรู้กันแล้วใช่ไหมว่า ฉันนี้มีอำนาจต่อผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง?”

พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว”

เมื่อท่าน(ศ) จับมือของอะลี(อ)ขึ้น แล้วท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้นอะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูของเขา”

และหลังจากนั้น ท่านอุมัรก็เข้ามา พลางกล่าวกับท่านอะลี(อ) ว่า “ขอแสดงความยินดี โอ้บุตรของอะบีฏอลิบ ทั้งยามเช้าและยามเย็น ท่านเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงทุกคน” (87)

กล่าวโดยสรุป ฮะดีษอัล-เฆาะดีร ได้ถูกรายงานโดยนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺมากกว่าที่เรากล่าวถึง เช่น ติรมีซี อิบนุมาญะฮฺ อิบนุอะซากีร อิบนุ อัล-อะซีซ อัล-เคาะวาริซมี ซะยูฏี อิบนุฮะญัร อัล-ฮัยษุมี อิบนุศิบาฆ อัล-มาลิกี อัล-ก็อนดูซีอัล-ฮะนะฟี อิบนุอัล-มะฆอซะลี และอิบนุกะษีร อัล-ฮะมูวัยนี อัล-ฮัซกานี อัล-เฆาะซาลี และ อัล-บุคอรี ในหนังสือ ตารีค ของเขา

ตามที่ท่าน อัลลามะฮฺ อัล-อามินี เจ้าของหนังสือ อัล-เฆาะดีร และตามที่พวกเขาได้รายงานบันทึกไว้ในตำราของพวกเขาทั้งๆที่พวกเขามีฐานะ มีมัซฮับที่แตกต่างกันนับจากศตวรรษแรกของฮิจญ์เราะฮฺ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 14 จึงทำให้จำนวนของพวกเขาเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 360 ท่าน และผู้ใดสนใจใคร่รู้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ศึกษาดูได้จากหนังสือ อัล-เฆาะดีร(88)

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ยังสามารถจะกล่าวได้อีกหรือว่า ฮะดีษอัล-เฆาะดีร เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาจากฝ่ายชีอะฮฺ? จึงเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างที่สุดที่บรรดามุสลิมส่วนใหญ่ เมื่อได้ยินได้ฟังฮะดีษอัล-เฆาะดีรแล้วไม่มีใครเคยรู้เรื่องหรือรู้เพียงเล็กน้อย บ้างก็ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ที่น่าประหลาดยิ่งกว่านี้อีกก็คือ เป็นไปได้อย่างไร ที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺอ้างกันหลังจากมีฮะดีษนี้อีกว่า ที่ถูกต้องเป็นเอกฉันท์นั้น คือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มิได้แต่งตั้งค่อลีฟะฮฺสืบต่อ และท่านปล่อยให้เรื่องงานศาสนาเป็นไปโดยระบบการปรึกษาหารือ(ชูรอ)กันระหว่างบรรดามุสลิม หรือว่าสำหรับเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺนั้น ยังจะมีฮะดีษที่ชัดเจน ลึกซึ่งยิ่งไปกว่านี้อีก

โอ้ ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ??? ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงการถกเถียงของข้าพเจ้ากับนักปราชญ์ซัยตูนะฮฺในประเทศของเราคนหนึ่ง เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงฮะดีษเฆาะดีรกับเขา ว่าหลักฐานในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี(อ) ซึ่งเขาเองก็ยอมรับข้าพเจ้าให้อ่านตัฟซีรอัล-กุรอานที่เขารวบรวมขึ้นมาเอง ซึ่งในเล่มนั้นเขาได้กล่าวถึงฮะดีษ อัล-เฆาะดีร และเขาก็ระบุว่าเป็นฮะดีษที่ถูกต้อง

แต่หลังจากนั้น เขาได้กล่าวว่า “พวกชีอะฮฺแอบอ้างว่า ฮะดีษนี้เป็นหลักฐานในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของซัยยิดินาอะลี ซึ่งชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ถือว่าเป็นความผิดพลาด เพราะเป็นความเชื่อที่ขัดกันกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ซัยยิดินาอะบูบักรฺ ศิดดีก และซัยยิดินาอุมัร ฟารูก และซัยยิดินา อุษมาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตีความคำว่า เมาลานา ที่มีอยู่ในฮะดีษนี้ว่าหมายถึง ที่รักและผู้ช่วยเหลือ ดังที่มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ และอันนี้คือความหมายที่บรรดาค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ได้เข้าใจกันมา รวมถึงบรรดาศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีความพึงพอพระทัยทั้งมวล

และนี่คือความหมายที่บรรดานักปราชญ์ของบรรดามุสลิม ยึดถือมาจากพวกเขาจึงมิให้ถือเอาการตีความของพวกรอฟิเฎาะฮฺเป็นบรรทัดฐานสำหรับฮะดีษนี้ เพราะพวกเขาไม่ยอมรับการเป็นค่อลีฟะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีน และประฌามบรรดาศ่อฮาบะฮฺของศาสนทูต(ศ) และนี่คือหลักฐานเพียงประการเดียวที่เพียงพอในการตอบโต้กับการโกหกของพวกเขา และลบล้างการแอบอ้างของพวกเขา” คำพูดของเขาในหนังสือจบลงแค่นี้

ข้าพเจ้าได้ถามเขาว่า “เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เฆาะดีคุมจริงหรือไม่?

เขาตอบว่า “ถ้าไม่เกิดขึ้น บรรดานักปราชญ์และนักฮะดีษย่อมไม่อาจรายงานกันมาได้หรอก”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)หรือไม่ ที่ท่านจัดประชุมบรรดาศ่อฮาบะฮฺท่ามกลางอาทิตย์ที่แผดเผาร้อนระอุและกล่าวคำปราศรัยกับพวกเขาอย่างยืดยาว เพื่อที่จะบอกพวกเขาว่า อะลีนั้นเป็นที่รักของพวกท่าน และเป็นผู้ช่วยเหลือของพวกท่าน? พวกท่านพอใจการให้ความหมายอย่างนี้หรือ? เขาตอบว่า “เพราะว่ามันมีศ่อฮาบะฮฺบางท่านฟ้องท่านอะลี และในจำนวนคนเหล่านั้น มีผู้ที่เคียดแค้นและโกรธเคืองท่านอยู่ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จึงต้องการขจัดความแค้นเคืองของพวกเขาให้หมดสิ้นไป จึงกล่าวกับพวกเขาว่า อะลีคือที่รักของพวกท่าน และเป็นผู้ช่วยเหลือพวกท่าน เพื่อให้พวกเขารักท่านและไม่โกรธท่าน”

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่จำเป็นจะต้องหยุดทั้งหมดและทำนมาซกับพวกเขาและเริ่มต้นด้วยการกล่าวคุฏเบาะฮฺว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอำนาจเหนือพวกท่านยิ่งกว่าตัวของพวกท่านเองใช่หรือไม่ เพื่อยืนยันความหมายของคำว่า “เมาลา” ให้ชัดเจน ครั้นถ้าเรื่องเป็นเหมือนที่ท่านว่า ท่านก็ย่อมสามารถที่จะพูดกับคนที่ฟ้องร้องต่อท่านในเรื่องของอะลี(อ)ว่า

“แท้จริงเขาเป็นที่รักของพวกท่าน และเป็นผู้ช่วยเหลือพวกท่าน”

เรื่องราวก็จะยุติโดยไม่ต้องขังตัวเองกันท่ามกลางแสงอาทิตย์อย่างนั้น ด้วยจำนวนคนมากว่า 100,000 คน ทั้งคนชราและสตรี ผู้มีสติปัญญาจะไม่เห็นตามนี้ด้วยเด็ดขาด”

เขากล่าวว่า “คนมีสติปัญญา เชื่อว่าจำนวน 100,000 คนในหมู่ศ่อฮาบะฮฺ ไม่มีความเข้าใจเรื่องราวเหมือนที่ท่านและพวกชีอะฮฺเข้าใจกระนั้นหรือ ?

ข้าพเจ้ากลว่าว่า “ข้อที่หนึ่ง ในหมู่พวกเขาขณะนั้น มีผู้ที่พำนักอาศัยในมะดีนะฮฺเป็นส่วนน้อย ข้อที่สอง พวกเขาจะต้องเขาใจอย่างถูกต้องแน่เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าและพวกชีอะฮฺเข้าใจ ด้วยเหตุนี้แหละที่นักปราชญ์ทั้งหลายรายงานว่า อะบูบักรฺ และอุมัรต่างได้เข้าไปแสดงความยินดีต่อท่านอะลี(อ)โดยพูดว่า “บัคคินบัคคิน โอ้บุตรของอะบีฏอลิบเอ๋ย ยินดีด้วยที่ท่านได้เป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทุกคน ทั้งยามเช้าและยามเย็น”

เขากล่าวว่า “แล้วทำไมพวกศ่อฮาบะฮฺจึงไม่ทำการบัยอะฮฺ(ให้สัตยาบันรับรอง)ต่อท่านอะลี ภายหลังที่ท่านนบี(ศ)วะฟาต ? หรือท่านเห็นว่าพวกเขาขัดขืนและขัดแย้งคำสั่งของท่านนบี(ศ) ข้าขออภัยต่ออัลลอฮฺที่กล่าวประโยคนี้”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ เมื่อบรรดานักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺเองได้ยืนยันไว้ในตำราของพวกเขาว่า ศ่อฮาบะฮฺบางส่วนขัดแย้งกับคำสั่งของท่านนบี(ศ) ทั้งในสมัยที่ท่านมีชีวิต และในขณะที่ท่านจวนจะสิ้นใจ(89) ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรที่จะละทิ้งคำสั่งของท่านนบี(ศ)หลังจากที่ท่านได้วะฟาตแล้ว เมื่อพวกเขาส่วนใหญ่ประณามการดำรงตำแหน่งของอุซามาะฮฺ บินซัยดฺ แม้เพียงเป็นการดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาจำกัด ระยะสั้นๆเท่านั้น ไฉนเลย ที่พวกเขาจะยอมรับการดำรงตำแหน่งของท่านอะลี(อ) ซึ่งยังมีอายุน้อยในช่วงเวลาตลอดชีวิตและต่อตำแหน่งค่อลีฟะฮฺอันสมบูรณ์แบบ? ท่านก็ยืนยันด้วยตัวของท่านเองแล้วว่า พวกเขาบางคนโกรธเคืองและแค้นอะลี(อ)อยู่”

เขาตอบข้าพเจ้าอย่างอ้อมแอ้มว่า “ถ้าท่านอิมามอะลี รู้ตัวว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่งตั้งท่านให้เป็นค่อลีฟะฮฺ ท่านต้องไม่นิ่งเงียบในเรื่องสิทธิของท่านหรอก ท่านเป็นคนกล้า ไม่กลัวใครเลยสักคน และศ่อฮาบะฮฺทุกคนกลัวท่าน”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “โอ้ท่านซัยยิด นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่ต้องการจะเข้าสู่เรื่องนั้น เพราะว่าท่านไม่ยอมรับฮะดีษต่างๆของท่านบนี(ศ)ที่ถูกต้อง และพยายามจะตีความพลิกแพลงไปจากความหมายของมันเพื่อรักษาเกียรติของคนรุ่นก่อน แล้วข้าพเจ้าจะทำให้ท่านยอมรับอย่างไรกับการนิ่งเงียบหรือการประท้วงของท่านอิมามอะลี(อ) ต่อคนเหล่านั้นในสิทธิด้านตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ?”

เขายิ้มแล้วกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ข้าพเจ้าคือคนหนึ่งที่ให้เกียรติท่านอะลีเหนือกว่าคนอื่นๆ ถ้าหากเรื่องทั้งหมดอยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า แน่นอนข้าพเจ้าจะไม่เอาคนอื่นในหมู่ศ่อฮาบะฮฺขึ้นหน้าท่าน เพราะท่านเป็นประตูแห่งวิชาการ ท่านเป็นราชสีห์ของอัลลอฮฺที่มีชัยชนะ แต่ความประสงค์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์คือผู้ทรงให้ใครนำหน้าก่อนก็ได้สำหรับคนที่พระองค์ทรงประสงค์และจะให้ใครอยู่หลังได้สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอย่าถามในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ เพราะพวกเขาจะถูกถามเอง”

ข้าพเจ้ายิ้มบ้างแล้วกล่าวว่า “นี่ก็เช่นกัน ที่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นำเราไปพูดถึงฮะดีษเกาะฎอ-เกาะดัร แต่ก่อนนี้เราเคยพูดถึงเรื่องนี้มาแล้ว ต่างคนก็ต่างถือตามทัศนะของตัวเอง แต่ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจ โอ้ท่านซัยยิด ทำไมทุกครั้งที่ข้าพเจ้าสนทนากับผู้รู้ในสายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เมื่อข้าพเจ้าขอความเข้าใจในหลักฐานหนึ่งๆพลันเขาก็จะรีบหนีจากเรื่องนั้นไปยังเรื่องอีกเรื่องหนึ่งเสมอโดยไม่เกี่ยวพันกับเรื่องที่กำลังวิเคราะห์กันอยู่ด้วยเหตุผล”

เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้ายังมั่นคงอยู่กับความเห็นของข้าพเจ้าไม่เปลี่ยนแปลง แล้วข้าพเจ้าก็อำลาจากท่านเสีย โดยที่ยังครุ่นคิดตรึกตรองอยู่ว่า ทำไมข้าพเจ้าไม่เคยพบเจอผู้รู้ของเราสักคนที่ปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ให้สมบูรณ์แบบกับข้าพเจ้า และยืนหยัดกับหัวข้อเรื่อง เหมือนอย่างที่พูดที่กล่าวอย่างแพร่หลายในหมู่พวกเรา”

บางคนเริ่มต้นคำพูดในขณะที่พบว่าตัวเองอ่อนต่อการหยิบยกหลักฐานว่าประชาชาติเหล่านั้นผ่านพ้นยุคสมัยไปแล้ว พวกเขาจะได้ตามที่พวกเขาขวนขวายและพวกท่านก็จะได้ตามที่พวกท่านขวนขวาย

บางคนก็กล่าวว่า มิใช่เรื่องอะไรของเราที่จะขุดคุ้ยปัญหาฟิตนะฮฺและความแค้นเคือง ข้อสำคัญทั้งซุนนะฮฺ และชีอะฮฺต่างก็ศรัทธาพระเจ้าองค์เดียวกัน ร่อซูลคนเดียวกัน เท่านี้ก็พอ บางคนก็พูดแบบออมชอมว่าพี่น้องเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในเรื่องของศ่อฮาบะฮฺ ดังนั้นยังมีเหลือสำหรับการจะถกปัญหาทางวิชาการกับคนเหล่านี้อีกหรือ คงไม่มีแสงสว่างชี้นำทาง และคืนกลับสู่สัจธรรมได้ อีกซึ่งหลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร นอกจากความหลงผิดแนวทางจากอัล-กุรอาน สำหรับคนเหล่านั้นอยู่ที่ไหนที่สอนประชาชนว่าให้ดำรงไว้ซึ่งหลักฐาน

“และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกสูเจ้าจงนำหลักฐานของพวกสูเจ้ามาเถิด ถ้าหากสูเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีความสัตย์”

ทั้งๆที่รู้ว่า ถึงแม้พวกเขาจะหยุดยั้งจากการประณามและโจมตีชีอะฮฺ แต่พวกเขาก็จะไม่มาหาพวกเราเพื่อถกเถียงกันหรอก แม้กระทั้งด้วยวิธีการที่ดีงามก็ตาม






ขออยู่กับผู้สัจจริง



โองการว่าด้วยความสมบูรณ์ของศาสนาเกี่ยวข้องกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺด้วยเช่นกัน
ดำรัสขององค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ สูงสุดยิ่ง

“ วันนี้ฉันได้ให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าแก่พวกสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปรานของฉันแก่พวกสูเจ้าแล้ว และฉันยินดีต่อพวกสูเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสนา” (อัล-มาอิดะฮฺ/ 3)

พวกชีอะฮฺต่างมีความเห็นตรงกันว่าโองการนี้ถูกประทานที่ “เฆาะดีรคุม” หลังจากที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แต่งตั้งท่านอะลี(อ)ให้เป็นค่อลีฟะฮฺของบรรดามุสลิม และนี่คือรายงานจากบรรดาอิมาม ผู้สืบเชื้อสายอันบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงจัดให้เรื่องตำแหน่งอิมามเป็นส่วนหนึ่งของอุศูลุดดีน

แม้กระทั่งส่วนมากในหมู่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเอง ก็ยังได้รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุม หลังจากแต่งตั้งอิมามอะลี(อ)แล้ว ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงชื่อของเขาเหล่านั้นพอเป็นตัวอย่าง

1. ตารีค ดามิชก์ ของอิบนุ อะซากิร เล่ม 2 หน้า 75

2. มะนากิบอะลี อิบนุอะบีฏอลิบ ของ อิบนุอัล-มะฆอซะลี อัช-ชาฟิอี หน้า 19

3. ตารีค บัฆดาด ของ เคาะฏีบ อัล-บัฆดาดี เล่ม 8 หน้า 290

4. อัล-อิตกอน ของซะยูฏี เล่ม 1 หน้า 31

5. อัล-มะนากิบ ของ เคาะวาริซมี อัล-ฮะนาฟี หน้า 80

6. ตัซกิเราะตุล-คิวาศ ของ ซิบฏฺ อิบนุ อัล-เญาซี หน้า 30

7. ตัฟซีร อิบนุกะซีร เล่ม 2 หน้า 14

8. รูฮุล-มะอานี ของ อะลูซี เล่ม 6 หน้า 55

9. อัล-บิดายะตุวัน-นิฮายะฮฺ ของ อิบนุกะษีร อัด-ดะมัซกี เล่ม 5 หน้า 213

10. อัดดุรรุล-มันษูร ฟี ตัฟซีร บิล-มะษูร ของซะยูฏี เล่ม 3 หน้า 19

11. ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ ของ ก็อนดูซี อัน-ฮะนะฟี เล่ม 1 หน้า 115

12. ชะวาฮิดุต-ตันซีล ของฮัซกานี อัล-ฮะนะฟี เล่ม 1 หน้า 157

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า : ถึงกระนั้นแล้วก็ตาม จำเป็นที่นักปราชญ์สายอะฮฺลิซซุนนะฮฺจะต้องเบี่ยงเบนเรื่องราวของโองการนี้ให้เป็นเรื่องอื่นอยู่ดี ทั้งนี้ก็เพราะเพื่อปกป้องเกียรติของคนดีในอดีตรุ่นศ่อฮาบะฮฺ หาไม่แล้ว ถ้าหากยอมรับว่าโองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุม ก็เท่ากับต้องยอมรับโดยดุษดีว่า อำนาจการเป็นผู้นำ(วิลายะฮฺ)ของอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)นั้น คือสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานมาเพื่อยังความสมบูรณ์แก่ศาสนาและทรงให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปรานของพระองค์ด้วยสิ่งนั้นสำหรับบรรดามุสลิม

และแน่นอนตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของสามท่านที่เคยมีมาก่อนแล้ว จะต้องสูญสลาย และจะต้องกระทบกระเทือนถึงความชอบธรรมของพวกศ่อฮาบะฮฺ และสำนักวิชาการของค่อลีฟะฮฺและการวินิจฉัยความต่างๆของสำนักนั้นจะเกิดความเสียหาย แล้วฮะดีษที่นิยมยกย่องกันอยู่เป็นอันมาก จะต้องละลายหายสูญเหมือนเกลือที่ละลายไปกับแม่น้ำ และเจ้าของมัซฮับต่างๆรวมถึงบรรดาอิมามทั้งหลายของมัซฮับนั้น จะต้องกลายเป็นฝุ่นละอองล่องอยู่กลางอากาศ ความลับจะเปิดเผยไม่ได้ เพราะความเปล่าเปลือยจะปรากฏเปิดเผยออกมา และแน่นอนฐานภาพที่เคยมีก็จะสูญสิ้นไป นี่คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเกี่ยวข้องกับความเชื่อถือของคนส่วนใหญ่

ซึ่งประวัติความเป็นมา มีนักปราชญ์ว่าโองการนี้ถูกประทานในตอนเย็นที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺในวันศุกร์

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็กลายเป็นว่า รายงานที่มาในตอนแรกๆจึงเป็นเพียงความหลงผิดของพวกชีอะฮฺเท่านั้น ไม่มีพื้นฐานความถูกต้องใดๆเลย และกลายมาประณามต่อพวกชีอะฮฺก่อนเป็นอันดับแรก แทนการจะประณามคนเหล่านั้น เพราะพวกเขาล้วนเป็นมะอฺศูมที่ปราศจากความผิด(90) และไม่มีมนุษย์คนใดสามารถจะทำการวิพากวิจารณ์ความประพฤติและคำพูดของพวกเขาได้ ส่วนพวกชีอะฮฺนั้น เป็นพวกบูชาไฟ (มะญูสี) เป็นกาฟิร เป็นพวกนอกศาสนา เป็นพวกทรยศ

ผู้ก่อตั้งมัซฮับของพวกเขาคือ อับดุลลอฮฺ อิบนุซะบะอ์ ผู้เป็น ยะฮูดที่เข้ารับอิสลามในสมัยอุษมาน(91) เพื่อวางแผนทำลายมุสลิมและอิสลาม นี่คือการตัดสินที่ง่ายมากๆต่อประชาชาติที่ได้รับการอบรมเกื้อกูลกับศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ และให้เกียรติต่อศ่อฮาบะฮฺ (ตำแหน่งศ่อฮาบะฮฺสามารถเป็นได้แม้เพียงได้เห็นท่านนบี(ศ)ครั้งเดียวก็ตาม)

แล้วเราจะยอมรับพวกเขาได้อย่างไร ในเมื่อรายงานต่างๆเหล่านี้ มิได้เกิดขึ้นเพราะความหลงผิด บิดเบือนของพวกชีอะฮฺ เพียงแต่เป็นรายงานฮะดีษจากบรรดาอิมามทั้งสิบสอง ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้แต่งตั้งตำแหน่งให้แก่พวกเขา แน่นอนบรรดานักปกครองของอิสลามในศตวรรษแรกๆนั้น ได้ประสบชัยชนะด้วยการปลูกฝังเรื่องความรักศ่อฮาบะฮฺ และในขั้นต่อมาก็ทำการแยกประชาชาติออกจากท่านอะลี(อ) และลูกชายทั้งสอง จนกระทั่งได้ทำการสาปแช่งพวกเขาบนมิมบัร และยังได้ส่งคนไปล่าสังหารพวกชีอะฮฺ และเนรเทศ

จากเหตุนี้ ได้ก่อเกิดความชิงชังแค้นเคืองพวกชีอะฮฺทุกคน เมื่อได้มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์กันด้วยสื่อต่างๆในสมัยมุอาวียะฮฺ โดยการแทรกแซงและตั้งข้อหาว่าเป็นอะกีดะฮฺที่ผิดพลาด เพื่อต่อสู้กับชีอะฮฺโดยที่ถือเอาพวกเขาเป็นพรรคฝ่ายตรงข้าม ดังที่เรียกขานกันอยู่ในหมู่พวกเราปัจจุบันนี้ ผลที่สุดก็ได้มีการขจัดและทำลายล้างคนกลุ่มนั้นเสีย

ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า นักเขียน นักประวัติศาสตร์ ในสมัยนั้น ได้ตั้งชื่อเรียกพวกเขาว่า พวกรอฟิฎี(พวกละเมิด) กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธ ประกาศว่าเลือดของพวกเขาเป็นที่อนุญาตให้ทำลายล้างได้เพื่อความใกล้ชิดกับพวกนักปกครอง เมื่ออาณาจักรของราชวงศ์อุมัยยะฮฺได้สิ้นสุดลง อาณาจักรของอับบาซียะฮฺ ก็เข้ามารับช่วงต่อไป บรรดานักประวัติศาสตร์บางท่านก็ได้มาสืบสานเรื่องราวลงในตำราของพวกเขา ให้การยอมรับเป็นบางส่วนเกี่ยวกับความเป็นจริงของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)(92) จึงได้พยายามสร้างความถูกต้องชอบธรรม เช่น การรวมท่านอะลี(อ)เข้าไปอยู่ในจำนวนค่อลีฟะฮฺรอชีดีน แต่ก็ยังไม่ยอมชัดเจนถึงสิทธิที่แท้จริงของท่าน

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นได้ว่าพวกเขามิได้รายงานอะไรในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขาเลย นอกจากเรื่องเล็กๆน้อยๆจากเกียรติคุณด้านต่างๆของท่านอะลี(อ) และเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดกับผู้เป็นค่อลีฟะฮฺที่ได้รับตำแหน่งไปก่อน ขณะบางนักปราชญ์ก็ได้อุปโลกน์ฮะดีษต่างๆขึ้นมาในเรื่องเกี่ยวกับเกียรติยศของอะบูบักรฺ อุมัรและอุษมาน ตามสำนวนเดียวกับของท่านอะลี(อ) เพื่อเป็นการตัดหนทางแก่พวกชีอะฮฺที่จะกล่าวถึงเกียรติยศของท่านอะลี(อ)

ตลอดกระบวนความของการวิเคราะห์ ได้เปิดเผยให้เห็นว่าความเป็นผู้มีชื่อเสียง และมีเกียรติของบุคคลต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับอัตราความโกรธเคืองของพวกเขาที่มีต่อท่านอะลี(อ) กล่าวคือ พวกตระกูลอุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺ จะให้ความใกล้ชิดและยกย่องให้เกียรติกับทุกคนที่ต่อสู้กับท่านอิมามอะลี(อ) หรือที่มีจุดยืนตรงข้ามกันกับท่าน ไม่ว่าด้วยดาบหรือด้วยคำพูดก็ตาม ดังจะเห็นได้ว่า พวกเขายกย่องศ่อฮาบะฮฺบางคน และตำหนิบางคน และปรนเปรอทรัพย์สินเงินทองแก่นักกวีต่างๆและเข่นฆ่าคนอื่นๆในขณะเดียวกัน บางที อาอีชะฮฺ อุมมุลมุอ์มินีน เองอาจไม่ได้รับเกียรติอันสูงส่งเช่นนั้น ถ้าหากว่านางมิได้โกรธเคือง และมิได้ทำสงครามกับอะลี(อ)(93)

ด้วยเหตุนี้อีกเช่นกัน จะพบว่า ตระกูลอับบาซี ได้ให้เกียรติยกย่องบุคอรีและมุสลิม และให้เกียรติยกย่องอิมามมาลิก เพราะคนเหล่านั้นมิได้รายงานเรื่องเกียรติยศของท่านอะลี(อ)นอกจากเพียงเล็กน้อย ยิ่งกว่านั้นเรายังพบอีกว่า ในหนังสือเหล่านี้มีการอธิบายว่า อะลี บินอะบี ฏอลิบ นั้นไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีใดๆ ดังที่บุคอรีได้รายงานไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของท่าน หมวดว่าด้วยเกียรติคุณของอุษมาน

จากรายงานของอิบนิอุมัร ว่า : พวกเราเคยอยู่ในสมัยของท่านนบี(ศ) ไม่มีใครสักคนเดียวที่เทียบเทียมกับอะบูบักรฺได้ ต่อจากนั้นก็คืออุมัร ต่อจากนั้นก็คืออุษมาน ต่อจากนั้น เราละเว้นศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ) เพราะเรามิได้ยกย่องใครเลย(94) ส่วนอะลีนั้น เขาก็เหมือนกับคนอื่นๆ(ข้าพเจ้าอ่านด้วยความแปลกใจมาก)

เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในกลุ่มชนอื่นๆ เช่น พวกมุอ์ตะซิละฮฺ พวกคอวาริจญ์และพวกอื่นๆที่พูดไม่เหมือนที่ชีอะฮฺพูด เพราะตำแหน่งอิมามของท่านอะลี(อ) และลูกหลานของท่านนั้น ตัดหนทางของพวกเขามิให้เข้าสู่ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และไม่ให้เข้ามาสนุกสนานต่อแนวทางของพรรคมุสลิม เหมือนอย่างที่ตระกูลอุมัยยะฮฺ และตระกูอับบาซียะฮฺได้กระทำมาแล้ว ในสมัยศ่อฮาบะฮฺและสมัยต่างๆที่เข้าสู่อำนาจการปกครอง ไม่ว่าโดยการสืบทอดแบบกษัตริย์แบบเจ้าครองนคร หรือแม้กระทั่งผู้ที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา ก็จะไม่ชื่นชอบกับความเชื่ออันนี้

หมายความว่า การที่ผู้ศรัทธาจะเชื่อมันในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) พวกเขาจะหัวเราะเยาะความคิดทางอธิปไตยแบบนี้ที่ไม่มีใครพูดถึงนอกจากพวกชีอะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยถือว่าพวกชีอะฮฺมีสติปัญญาเลอะเลือนและมีทัศนะโง่เขลาซึ่งเชื่อถือในตำแหน่งอิมามของอัล-มะฮฺดี ผู้ถูกรอคอย ซึ่งจะมาสถาปนาความเป็นธรรมและความยุติธรรมในหน้าแผ่นดินของพวกเขา เหมือนดังที่ความอธรรมและความชั่วเคยเนืองนองมาก่อน

บัดนี้เราขอย้อนกลับมาถกกันเกี่ยวกับคำพูดของทั้งสองฝ่าย อย่างมีความตั้งใจจริง ปราศจากความลำเอียงอย่างมีอคติ เพื่อเราจะได้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกันแน่ และอะไรคือสาเหตุการประทานมาของโองการอันว่าด้วย “ความสมบูรณ์ของศาสนา” เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจในสัจธรรม และเราจะถือปฏิบัติกันตามนั้น นอกจากนี้แล้วเราไม่มีหน้าที่ต้องพอใจหรือโกรธเคืองกับใคร ตราบใดที่เรายังมั่นคงต่อความพอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และแสวงหาความปลอดภัยจากการลงโทษเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

“วันนั้น ทรัพย์สิน และลูกๆ จะไม่อำนวยประโยชน์ให้เลย นอกจากผู้ที่มาหาอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยหัวใจอันยอมจำนน”(อัช-ชุอะรออ์ / 88-89)

“วันนั้น หลายใบหน้าจะขาวนวลและหลายใบหน้าจะดำคล้ำ(จะถูกถามว่า) พวกสู้เจ้าปฏิเสธหลังจากที่มีความศรัทธาแล้วใช่ไหม? ดังนั้นจงลิ้มรสการลงโทษ ด้วยสิ่งที่พวกสูเจ้าปฏิเสธเถิด และสำหรับผู้ที่ใบหน้าของเขาขาวนวลก็จะได้อยู่ในความเมตตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พวกเขาจะอยู่ในที่นั่นชั่วนิรันดร” (อาลิอิมรอน / 106)



หลักฐานที่ว่าโองการนี้ถูกประทานที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ
ท่านบุคอรีได้รายงานไว้ในศ่อฮีฮฺของท่าน เล่ม 5 หน้า127 ว่า มุฮัมมัด บินยูซุฟ ได้กล่าวว่า : ซุฟยานได้เล่าเรื่องมาจากท่านก็อยซฺ บินมุสลิม จากท่านฏอริก บินชีฮาบ ว่า

มีคนพวกยิวกล่าวว่า “ถ้าโองการอย่างนี้ถูกประทานมาแก่พวกเรา แน่นอนพวกเราจะต้องถือวันนั้นเป็นวันอีด”

ท่านอุมัรกล่าวว่า “โองการอะไร ?”

พวกเขากล่าวว่า “วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกสูเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ทำให้ความโปรดปรานของฉันสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว และฉันพอใจต่อพวกสูเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสนา”

ท่านอุมัรกล่าวว่า “แท้จริงฉันรู้ดีว่าโองการนี้ถูกประทาน ณ ที่ใด มันถูกประทานในขณะที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อยู่ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ”

ท่านอิบนุญะรีร ได้รับรายงานจากท่านอีซา บินฮาริษะฮฺ อัล-อันศอรีว่า : พวกเราเคยนั่งชุมนุมกันอยู่ที่ลาน แล้วได้มีชาวคริสเตียนคนหนึ่งได้กล่าวกับพวกเราว่า

“โอ้ ชาวอิสลามได้มีโองการหนึ่งถูกประทานให้แก่พวกท่าน ถ้าหากได้ถูกประทานให้แก่พวกเราอย่างนั้น พวกเราจะถือเอาวันนั้นและชั่วโมงนั้นเป็นวันอีด แม้พวกเราจะยังเหลืออยู่สองคนก็ตาม นั่นคือ โองการที่ว่า

“วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว”

ในหมู่พวกเราไม่มีใครตอบเขาสักคน แล้วต่อมาฉันได้พบกับมุฮัมมัด บินกะอับ อัล-กุรฎุนี ฉันได้ถามเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้

เขาตอบว่า “แล้วพวกท่านตอบเขาไม่ได้หรือ?”

ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ กล่าวขึ้นว่า “เป็นโองการที่ถูกประทานแก่ท่านนบี(ศ) ขณะที่ท่านยืนอยู่ที่ภูเขาในวันอะเราะฟะฮฺ ดังนั้น วันนั้นจึงได้กลายเป็นวันอีดของบรรดามุสลิมตลอดมา ถึงแม้พวกเขาจะยังคงเหลือเพียงคนเดียวก็ตาม”(95)

วันอีดสำหรับมุสลิม ก็คือวันที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประทานความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกเขา และให้ความโปรดปรานของพระองค์สมบูรณ์แก่พวกเขา และทรงพอพระทัยแก่พวกเขาที่ได้อิสลามเป็นศาสนา

ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นได้ว่า ในริวายะฮฺที่2 ผู้รายงานได้เล่าถึงเรื่องที่คนคริสเตียนพูดกับเขาว่า “โอ้ ชาวอิสลาม ได้มีโองการหนึ่งได้ถูกประทานให้แก่พวกท่าน ถ้าหากมันได้ถูกประทานให้พวกเราอย่างนั้น เราจะถือเอาวันนั้นเป็นวันอีด ถึงแม้พวกเราจะมีเหลือเพียงสองคนก็ตาม”

ผู้รายงานกล่าวว่า : ในหมู่พวกเราไม่มีใครตอบเขาสักคนเดียว นี่ก็เพราะพวกเขาไม่รู้เรื่องความเป็นมา และฐานะของวันนั้น และแสดงให้เห็นว่าผู้รายงานเองมีความแปลกใจที่ว่าชาวมุสลิมจะลืมการชุมนุมในวันเช่นนี้ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นได้ว่า เขาได้ไปพบกับ มุฮัมมัด บินกะอับ อัล-กุรฏุนี แล้วได้ถามถึงเรื่องนี้

ดังนั้นในที่สุดท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ได้เล่าว่า “แท้จริงโองการนี้ถูกประทานแก่ท่านนบี(ศ) ขณะที่ท่านวุกูฟอยู่บนภูเขาที่อะเราะฟะฮฺ”

ดังนั้น ถ้าหากวันนั้น เป็นที่รู้กันในหมู่มุสลิมว่าเป็นวันอีด บรรดาผู้รายงานเรื่องนี้ จะต้องไม่มึนงงกับเรื่องของมันแน่ ไม่ว่าจะเป็นศ่อฮาบะฮฺหรือตาบิอีน เพราะเหตุว่า ที่แน่ชัดอันเป็นที่ยอมรับกันในหมู่พวกเขาก็คือ สำหรับบรรดามุสลิมนั้นมีวันอีดอยู่สองวัน คือ อีดิล-ฟิฏรฺและ อีดิล-อัฏฮา แม้กระทั้งบรรดานักปราชญ์ นักฮะดีษ เช่น บุคอรี มุสลิม และท่านอื่นๆ จะเห็นได้ว่าพวกเขารายงานไว้ในตำราเกี่ยวกับเรื่องวันอีดทั้งสอง การนมาซอีดทั้งสอง คุฏบะฮฺอีกทั้งสอง และอื่นๆในทำนองนี้ อันเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่ชีอะฮฺและซุนนะฮฺ คือไม่มีเรื่องราวสำหรับอีดที่สาม จึงตัดสินได้ว่า วันอะเราะฟะฮฺมิได้เป็นวันอีดสำหรับพวกเขาเลย

1.เราสังเกตเห็นว่า ตลอดข้อความในริวายะฮฺเหล่านี้ บรรดามุสลิมต่างไม่เคยรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของวันที่ถูกยืนยันกันนั้น และพวกเขามิได้ร่วมฉลองกันในวันนั้น ตามที่พวกยิวและคริสเตียนอ้างกับพวกเขา “ถ้าโองการนี้ถูกประทานลงมาแก่พวกเรา แน่นอนพวกเราจะถือเป็นวันอีด”

อันเป็นเหตุให้อุมัร บินค็อฏ ฏอบ ต้องถามว่า “โองการไหน?”

และเมื่อพวกเขากล่าวว่า “ วันนี้ ฉันได้ให้ศาสนาของพวกสูเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้าแล้ว”

เขาได้กล่าวว่า “แท้จริง ฉันรู้ดีว่าโองการนี้ถูกประทานที่ไหน มันถูกประทานแก่ท่านศาสดา(ศ)ในขณะที่ท่านอยู่ในทุ่งอะเราะฟะฮฺ”

ดังนั้น เรารู้สึกว่าเริ่มได้กลิ่นความบิดเบือน และปลอมแปลงเรื่องราวในริวายะฮฺนี้ และแท้จริงพวกที่ปั้นคำพูดให้เป็นของท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ในสมัยของบุคอรี ต้องการที่จะหยุดความเห็นของพวกยิวและพวกคริสเตียนที่ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ จำเป็นจะต้องถือเป็นวันอีด กับต้องการจะหยุดความพะวงใจที่ไม่มีการฉลองในวันนั้นเลย และไม่มีการกล่าวถึงมันเลย จนกระทั่งพากันลืมเลือนวันนั้นไป และน่าจะสันนิษฐานได้ว่า ต้องเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

แต่อีดแรกและที่ได้ชื่อว่า อีดเล็กหรือ อีดิล-ฟิฏรฺ อันได้แก่ การสิ้นสุดของเดือนรอมฎอนนั่นเอง ส่วนอีดที่สองที่ได้ชื่อว่าเป็นอีดใหญ่ หรือ อีดิล-อัฏฮา ตามประวัติศาสตร์คือ วันที่ 10 เดือน ซุล-ฮิจญะฮฺ

ทั้งนี้ก็เพราะว่า บรรดาฮุจญาจที่ไปยังบัยตุ้ลลอฮฺนั้นจะถอดชุดอิฮฺรอมมิได้ จนกว่าหลังจากเสร็จพิธีฏอวาฟ ซึ่งนั้นก็ต้องเสร็จจากขว้างเสาหินที่ ญัมเราะตุล-อุกบะฮฺ และหลังจากเชือดสัตว์เป็นพลี โกนผมแล้ว นั่นคือวันที่ 10 เดือน ซุล-ฮิจญะฮฺ จะเห็นได้ว่า พวกเขาแสดงความยินดี ด้วยตัวของพวกเขากับวันอีด วันที่ 10 ซุล-ฮิจญะฮฺ การครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญ์ มีค่าเหมือนกับเดือนรอมฎอนที่มีข้อห้ามแก่คนถือศีลอดหลายประการ ซึ่งจะไม่อนุญาตให้กระทำจนกระทั่งถึงวันอีด ฟิฏรฺ เช่นกัน สำหรับข้อห้ามในพิธีฮัจญ์ ซึ่งข้อห้ามนั้นๆจะไม่เป็นที่อนุญาต

กล่าวคือ ไม่อนุญาตแต่อย่างใด เป็นต้นว่า การมีเพศสัมพันธ์ กราพรมของหอม การประดับประดาตบแต่ง การสวมใส่เสื้อผ้าที่มีการเย็บ และไม่ให้ล่าสัตว์ ไม่ให้ตัดเล็บ ตัดผม จนกระทั้งถึงวันที่ 10 ซุล-ฮิจญะฮฺ หลังจากฏอวาฟ อิฟาเฎาะฮฺแล้ว กล่าวคือ เราต่างรู้กันอยู่ว่า ทั้งนี้ วันอะเราะฟะฮฺ คือ วันที่ 9 ซุล-ฮิจญะฮฺ นั้นมิได้เป็นวันอีด จะเป็นวันอีดก็คือเพียงวันที่ 10 และเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกต่างร่วมเฉลิมฉลองกันนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่แน่ชัดแก่เราว่า การพูดว่าโองการนี้ถูกประทานในวันอะเราะฟะฮฺ จึงยอมรับไม่ได้และห่างไกลจากความจริง

ที่น่าสงสัยมากที่สุด ก็คือบรรดาผู้พูดเกี่ยวกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺว่า ต้องมีที่มาจากชูรอ(ปรึกษาหารือ) และบรรดาผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ น่าจะเป็นพวกที่เบี่ยงเบนเรื่องการประทานโองการนี้ออกจากความเป็นจริง นั่นคือวัน “เฆาะดีร คุม” หลังจากแต่งตั้งท่านอะลี(อ)ขึ้นเป็นผู้นำ เพราะการผันแปรเรื่องการประทานโองการนี้ถือว่าเป็นวันอะเราะฟะฮฺ ย่อมสะดวกและง่ายดายแก่ผู้พูดตั้งไหนๆ เพราะวัน เฆาะดีรคุม มีฮุจญาจมากกว่าเรือนแสน

และไม่มีเหตุการณ์วาระใด ในฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ จะใกล้เคียงกับเหตุการณ์วาระที่ อัล-เฆาะดีร นอกจากวันอะเราะฟะฮฺ ในแง่ที่ว่ามีความเกี่ยวข้องตรงกัน เพราะบรรดาฮุจญาจมิได้ชุมนุมพร้อมเพรียงกันที่ตรงไหน นอกจากสองแห่งนั้นเป็นที่รู้กันว่า ประชาชนจะแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่างๆในทุกวันของพิธีทำฮัจญ์ และจะไม่รวมตัวกัน ณ ที่ใด นอกจากที่อะเราะฟะฮฺเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่า บรรดาผู้ที่พูดเกี่ยวกับโองการที่ว่าถูกประทานในวันอะเราะฟะฮฺ จะพูดว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาทันทีหลังจากนบี(ศ)กล่าวคุฏบะฮฺอันเลื่องลือ ตามที่นักฮะดีษต่างได้รายงานกัน

ค่อนข้างจะเป็นไปได้ว่า ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ เองนั้นแหละที่เบี่ยงเบนเรื่องว่าโองการนี้ถูกประทานในวันอะเราะฟะฮฺ เพราะท่านเป็นผู้คัดค้านล้มล้างตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี(อ) ขณะที่ท่านเป็นผู้จัดตั้ง และชี้นำการทำบัยอะฮฺ(มอบสัตยาบันรับรอง)ต่ออะบูบักรฺที่ซะกีฟะฮฺ จนกระทั่งมีเรื่องถึงขนาดบีบบังคับ ข่มขู่บรรดาผู้ที่ขัดขืนที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซ-ซะฮฺรอ(อ) ว่าจะเผาทั้งบ้านและคนที่อยู่ในบ้านเสีย ถ้าหากไม่ออกมาทำบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ(96) เพราะใครก็ตาม ที่มีความปรารถนาและความต้องการด้วยอำนาจและความรุนแรงอย่างนี้ย่อมไม่ยากเย็นอะไรแก่เขาในการสะกดให้คนทั้งหลายยอมรับว่า แท้จริงนั้น โองการนี้ถูกประทานที่อะเราะฟะฮฺ

ก็ในเมื่อข้อบัญญัติในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ยังถูกหันเหจากความเป็นจริง มีเพียงศ่อฮาบะฮฺบางท่านเท่านั้นที่ร่วมทำงานกับท่านอะลี(อ)เพื่อจัดแต่งศพของท่านศาสนทูต(ศ) และจัดการฝัง มิได้เขาทำบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ ที่ซะกีฟะฮฺ บะนีซะอีดะฮฺ ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความเผอเรอของผู้คน แล้วพวกเขาก็โยนเรื่องราวอันเป็นข้อบัญญัติแห่งเฆาะดีรคุมเสียที่ฝาผนัง แล้วทำเป็นลืมเลือนกันไป หลังจากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้แล้ว จะมีใครสักคนที่สามารถเถียงว่า โองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุม

ความหมายของโองการนี้ มิได้ชี้ชัดในเรื่องอื่นใด นอกจาก เรื่อง “อัล-วิลายะฮฺ” เพราะความหมายของมันมีเพียงเรื่องความสมบูรณ์ของศาสนา ความสมบูรณ์ของเนียะอฺมัด(ความโปรดปราน) และความพอพระทัยของพระผู้อภิบาล วันนั้นสำหรับท่านอุมัรพึงเป็นวันอีดในแง่ของความหมาย แต่มิใช่วันอีดตามความเป็นจริง

อีกเรื่องหนึ่งที่เพิ่มความมั่นใจให้เรามากขึ้นว่าความเชื่อถือเช่นนี้ถูกต้องคือรายงานของ อิบนุญะรีร จากท่านกุบัยศ่อฮฺ บินอะบีชุอัยบ์ ว่า

ท่านกะอับ กล่าวว่า “หากนอกเหนือไปจากประชาชาตินี้ ได้มีโองการนี้ถูกประทานลงมา แน่นอนพวกเขาจะคอยวันที่โองการนั้นถูกประทานมาในหมู่พวกเขา แล้วพวกเขาจะถือวันนั้นเป็นวันอีด ซึ่งพวกเขาจะชุมนุมกันในวันนั้น”

ท่านอุมัรกล่าวว่า “โองการอะไรที่ไหนหรือ ท่านกะอับ ?”

เขากล่าวว่า “วันนี้ฉันให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าสำหรับสูเจ้า”

ท่านอุมัรจึงกล่าวว่า “แน่นอนฉันรู้ดีว่าวันไหนที่โองการนี้ถูกประทานลงมา ณ สถานที่ไหนที่ถูกประทานโองการนี้ ถูกประทานในวันศุกร์ และในวันอะเราะฟะฮฺ ทั้งสองวันนี้ อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ เป็นวันอีดของเรา”

2.การพูดว่าโองการนี้ (วันนี้ฉันให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าสำหรับสูเจ้า) ถูกประทานที่อะเราะฟะฮฺขัดกับโองการที่ว่าด้วยการประกาศคำสั่งที่สำคัญ ถึงกับว่าสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าจะไม่สมบูรณ์หากไม่ประกาศเรื่องนั้น ตามที่ได้อธิบายอย่างชัดเจนไปแล้วว่า เป็นโองการที่ถูกประทานระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์อำลา อันเป็นเรื่องราวที่ศ่อฮาบะฮฺมากว่า 120 คนรายงาน และนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺมากว่า 360 คนบันทึก เป็นไปได้อย่างไร ที่อัลลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาและทรงให้ความสมบูรณ์แก่เนียะอฺมัต(ความโปรดปราน)ในวันอะเราะฟะฮฺ

แต่หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ขณะที่นบีของพระองค์เดินทางกลับไปมะดีนะฮฺ พระองค์ยังมีบัญชาให้ประกาศเรื่องราวที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่ประกาศจะเท่ากับสาส์นของพระองค์ไม่สมบูรณ์?? จะถูกต้องได้อย่างไร โอ้ท่านผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย???

3.นักวิเคราะห์ที่ชาญฉลาด ถ้าพิจารณาดูคุฏบะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ)ในวันอะเราะฟะฮฺแล้ว จะไม่พบเห็นเลยว่าในนั้นจะมีคำสั่งใหม่ๆที่บรรดามุสลิมไม่รู้มาก่อน และจะไม่พบเรื่องใดที่พอจะให้ถือว่าสำคัญจนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต้องทรงประทานความสมบูรณ์แก่ศาสนาเพราะเรื่องนั้นๆ และทรงให้ความสมบูรณ์ต่อความโปรดปรานของพระองค์ นอกเหนือจากใจความคุฏบะฮฺที่ประกอบด้วยการสั่งเสียบางเรื่องที่ อัล-กุรอานหรือท่านนบี(ศ) ได้เคยกล่าวถึงมาแล้วทั้งสิ้นในวาระต่างๆ แต่ท่านได้ย้ำอีกครั้งหนึ่งในวันอะเราะฟะฮฺ

ขอให้ท่านได้พิจารณาดูเรื่องราวในคุฏบะฮฺนั้น ตามที่นักรายงานได้บันทึกกันเถิด

• แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงหวงห้ามเลือดเนื้อของพวกท่าน และทรัพย์สินของพวกท่าน เช่นเดือนนี้ วันนี้ของพวกท่าน

• จงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอย่าฉ้อฉลมนุษย์ในสิ่งต่างๆของพวกเขา และอย่าได้ก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดินอย่างพวกที่ก่อความเสียหาย ดังนั้นคนใดที่มีสัญญาไว้ก็จงทำตามสัญญานั้นให้ครบถ้วน

• มนุษย์ในอิสลาม ล้วนเสมอภาคกัน คนอรับย่อมไม่ประเสริฐกว่าคนอาญัม (คนที่ไม่ใช่อรับ) นอกจากด้วยการมีตักวา

• การมีหนี้เลือดในสมัยญาฮีลียะฮฺ ล้วนเป็นเรื่องที่ตกอยู่ใต้ฝ่าเท้าของฉัน

• โอ้ประชาชนเอ๋ย อันที่จริงการลืมเลือน เป็นการเพิ่มความเป็นผู้ปฏิเสธ แน่นอน ยามอวสานนั้นได้ก่อตัวขึ้นแล้ว เหมือนลักษณะของวันที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างฟ้าและแผ่นดิน

• แท้จริงจำนวนเดือนสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มี 12 เดือน ตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในจำนวนนั้นมีเดือนต้องห้าม 4 เดือน

• ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ทำดีต่อสตรี ที่จริงเท่ากับพวกท่านครอบครองนางโดยพันธสัญญาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และให้พวกท่านรับอนุญาตเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับพวกนางได้ตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

• ฉันขอสั่งเสียพวกท่านเกี่ยวกับข้าทาสของพวกท่าน ดังนั้นจงให้อาหารแก่พวกเขาอย่างที่พวกท่านรับประทานและจงให้พวกเขาสวมเสื้อผ้าอย่างที่พวกท่านสวม

• แท้จริงมุสลิมเป็นพี่น้องของมุสลิม ไม่ฉ้อฉล ไม่คดโกง ไม่นินทา ไม่ถือว่าการหลั่งเลือดของเขาเป็นที่อนุญาต และแม้จะเป็นส่วนใดๆในทรัพย์สินของเขาก็ตาม

• แท้จริงชัยฏอนหมดหวังจะได้รับการเคารพภักดีอีกต่อไปหลังจากวันนี้ แต่มันจะได้รับการปฏิบัติตามในวิธีอื่นที่นอกเหนือจากนั้น โดยการงานของพวกท่านที่มีความเคียดแค้นชิงชังกัน

• ศัตรูของศัตรูแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น ย่อมเป็นผู้พิชิตที่ไม่มีใครพิชิตเขาได้ เป็นผู้ต่อสู้ที่ไม่มีใครต่อสู้เขาได้ และผู้ใดปฏิเสธความโปรดปรานของเจ้าผู้คุ้มครองเขาก็เท่ากับปฏิเสธสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานมายังมุฮัมมัด และใครที่ไม่กตัญญูบิดาของตน ก็จะได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มะลาอิกะฮฺ และมนุษย์ทั้งมวล

• ที่จริงฉันถูกบัญชามาให้ต่อสู้คนทั้งหลายจนกว่าพวกเขาจะกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และฉันเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ และเมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้แล้ว เลือดเนื้อของพวกเขาก็จะได้รับการปกป้องจากฉัน รวมทั้งทรัพย์สินของพวกเขาด้วย เว้นแต่ด้วยสิทธิและการชำระจากพวกเขาโดยอัลลอฮฺ

• หลังจากนี้พวกท่านอย่าหวนกลับไปเป็นผู้ปฏิเสธที่หลงผิดอีก ซึ่งส่วนหนึ่งของพวกเขาจะกดขี่อีกส่วนหนึ่ง




ขออยู่กับผู้สัจจริง

ทุกประการเหล่านี้คือถ้อยคำคุฏบะฮฺที่อะเราะฟะฮฺ ในเทศกาลฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้รวบรวมเนื้อหามาจากหนังสือที่ได้รับความเชื่อถือหลายๆเล่ม จนไม่มีคำสั่งเสียตอนใดของท่านนบี(ศ)ตามที่นักฮะดีษบันทึกไว้ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึง มีบ้างไหมเรื่องใหม่ๆสำหรับศ่อฮาบะฮฺในคุฏบะฮฺนี้? เปล่าเลย ทุกประการล้วนเคยได้รับการกล่าวถึงมาแล้วในอัลกุรอาน และในซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)

แน่นอนชีวิตของท่านนบี(ศ) ทั้งหมดตลอดเวลาที่ผ่านมา ท่านได้อธิบายให้แก่ประชาชนในสิ่งที่ถูกประทานมายังพวกเขา และสั่งสอนพวกเขาทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ดังนั้นนอกเหนือจากคำสั่งเสียเหล่านี้ที่มุสลิมทั้งหลายรับรู้กันอยู่แล้ว ก็ไม่เห็นจะมีมูลเหตุอันใดสำหรับการประทานโองการด้วย

“ความสมบูรณ์ของศาสนา และความสมบูรณ์ของเนียะอฺมะฮฺ และความพอพระทัยของอัลลอฮฺเลย”

เรื่องนี้เป็นเพียงการทบทวนแก่พวกเขาเพื่อตอกย้ำ เพราะว่า นับเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้รวมตัวกันในจำนวนมากมายมหาศาสเช่นนี้ และก็เป็นเพราะว่าท่านจะได้แจ้งให้พวกเขาได้รับทราบเรื่องราว ก่อนจะออกกันไปทำฮัจญ์ โดยเหตุทีว่า ฮัจญะตุ้ล-วิดาอ์ นั้น เป็นวาญิบสำหรับท่านที่จะต้องให้พวกเขาได้ยินคำสั่งเสียนั้นๆ

ส่วนถ้าเราจะเชื่อถือตามคำพูดที่ 2 ว่า โองการนี้ถูกประทานที่เฆาะดีรคุม หลังจากแต่งตั้งท่านอิมามอะลี(อ)เป็นค่อลีฟะฮฺของท่านนบี(ศ) และได้เป็นอะมีรุ้ลมุอ์มินีน จะเห็นได้ว่า ความหมายของเรื่องราวมีความถูกต้อง เที่ยงตรง เพราะตำแหน่งค่อลีฟะฮฺหลังจากท่าน นบี(ศ)เป็นเรื่องสำคัญและเป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงทอดทิ้งปวงบ่าวของพระองค์ให้ระหกระเหิน

และไม่สมควรสำหรับนบี(ศ) ที่จะจากไปโดยไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบต่อโดยทอดทิ้งประชาชาติของท่านให้อยู่อย่างเลื่อนลอยปราศจากคนดูแล ทั้งๆที่ในยามที่ท่านจะออกจากเมืองมะดีนะฮฺ ท่านยังต้องแต่งตั้งศ่อฮาบะฮฺคนใดคนหนึ่งไว้เป็นตัวแทนเสมอ แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่า ในยามที่ท่านจะคืนกลับสู่พระผู้อภิบาลแล้วท่านไม่มีความคิดในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ???

แม้กระทั่งพวกปฏิเสธพระเจ้าในสมัยเรายังเชื่อในกฎข้อนี้ ซึ่งจะรีบแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้นำต่อจากตนแม้กระทั้งก่อนที่ตนจะตาย เพื่อบริหารกิจการของประชาชน และไม่ทอดทิ้งประชาชน แม้เพียงวันเดียวโดยปราศจากผู้นำ

จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับศาสนาอิสลาม ซึ่งนับว่า เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดและมีพลังที่สุด ซึ่งอัลลอฮฺทรงวางกฎระเบียบมาในศาสนานี้ทุกประการโดยไม่มีความลึกซึ้งใดๆ ไม่มีความสมบูรณ์ใดๆ ไม่มีความยิ่งใหญ่ใดๆ และไม่มีความดีงามใดๆ มากไปกว่าศาสนานี้อีก พระองค์ทรงกล่าวไว้ในคัมภีร์ของศาสนานี้ว่า

“แท้จริงอัลกุรอานนี้ จะชี้นำไปทางที่เป็นความเที่ยงธรรม” (อัล-อิซรออฺ /9)

ใช่แล้ว เป็นไปไม่ได้สำหรับศาสนานี้ที่จะละเลยกิจการอันสำคัญยิ่งเช่นนี้ไปได้ เราทราบดีมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า อาอิชะฮฺ,อิบนิอุมัร และก่อนหน้าคนทั้งสอง คือ อะบูบักรฺและอุมัร ต่างก็ตระหนักดีกันทุกคนว่า จำเป็นจะต้องแต่งตั้งค่อลีฟะฮฺ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายแน่ๆ เช่นเดียวกับที่บรรดาค่อลีฟะฮฺทั้งหลายหลังจากคนเหล่านั้นที่ตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี

ดังนั้นทุกคนจึงแต่งตั้งคนที่จะมาต่อภายหลังจากพวกตน จะเป็นไปได้อย่างไรที่ฮิกมะฮฺ(วิทยปัญญา) อันนี้ถูกบิดบังแก่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ) ???

สำหรับคำพูดที่ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีวะฮฺยูยังศาสนทูตของพระองค์(ศ)ในโองการแรก (โองการสั่งให้ประกาศ) ขณะที่เดินทางกลับจากฮัจญะตุ้ลวิดาอ์ ว่าให้แต่งตั้งท่านอะลี(อ) เป็นค่อลีฟะฮฺ โดยโองการที่ว่า

“โอ้ ศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศเรื่องที่ถูกประทานลงมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่กระทำก็เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

นั้นหมายความว่า โอ้ มุฮัมมัด(ศ) ถ้าเจ้าไม่ประกาศเรื่องที่ฉันสั่งเจ้าว่าอะลี(อ)นั้น ต้องเป็นวะลีของบรรดาผู้ศรัทธาภายหลังจากเจ้า ก็เท่ากับเจ้าไม่ได้ทำหน้าที่อันสำคัญของเจ้าให้สมบูรณ์ ในฐานะที่เจ้าถูกแต่งตั้งมา...

ดังนั้นความสมบูรณ์ของศาสนา จึงอยู่ที่ตำแหน่งอิมาม นั่นคือ วิลายะฮฺแห่งงานบริหาร อันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้มีสติปัญญาทุกคน ดังจะเห็นได้ว่าท่านนบี(ศ)มีความหวั่นใจต่อการขัดแย้งของพวกเขา หรือการปฏิเสธของพวกเขาต่อท่าน ตามที่มีรายงานในบางริวายะฮฺว่า ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า : แน่นอนญิบรออีลได้รับบัญชามาจากพระผู้อภิบาลของฉันว่า ให้ฉันยืนขึ้นในสถานที่ชุมนุมแห่งนี้ และให้ฉันประกาศแก่ชาวผิวดำและผิวขาวทุกคนว่า

“แท้จริงอะลี บินอะบีฏอลิบ เป็นพี่น้องของฉัน เป็นทายาทของฉันและเป็นค่อลีฟะฮฺของฉันและเป็นอิมามภายหลังจากฉัน”

แล้วฉันได้ถามญิบรออีลว่า “ขอให้พระผู้อภิบาลผ่อนผันแก่ฉันก่อนจะได้ไหม เพราะฉันรู้ดีว่ามีส่วนน้อยที่เป็นมุตตะกีน และส่วนมากนั้นเป็นผู้คิดร้ายและติเตียนฉัน เนื่องจากฉันให้ความสำคัญกับอะลีเป็นอย่างมากและยอมรับต่อเขาอย่างจริงจัง จนกระทั้งพวกเขาเรียกฉันว่า หู”

ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จึงมีโองการว่า

“และส่วนหนึ่งจากพวกเขามีผู้ที่ให้ร้ายต่อนบี และกล่าวว่า เขาคือ หู จงกล่าวเถิดว่า หู นั้น ดีสำหรับพวกท่าน”(อัต-เตาบะฮฺ / 61)

ถ้าฉันต้องการจะตั้งชื่อเรียกพวกเขา และแสดงหลักฐานแก่พวกเขา แน่นอนฉันก็ทำได้ แต่ในความลับของพวกเขาเหล่านั้นฉันให้เกียรติเสมอ เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงพอพระทัยสิ่งอื่นใด (ประกาศศาสนา) ของฉันจงรู้ไว้เถิดประชาชนทั้งหลาย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแต่งตั้งอะลีและอิมามแก่พวกท่านแล้ว และกฎแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตามเขานั้น มีสำหรับทุกคน...(97)

เมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานโองการแก่ท่าน(ศ)ว่า

“และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”

ท่านก็กระทำตามคำสั่งของพระผู้อภิบาลในเวลาเดียวกันนั่นเองอย่างไม่รอช้า โดยได้แต่งตั้งอะลี(อ)เป็นค่อลีฟะฮฺภายหลังจากท่าน และสั่งศ่อฮาบะฮฺของท่านให้แสดงความยินดีต่อผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งพวกเขาก็ทำตาม แล้วหลังจากนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ก็ทรงประทานโองการแก่พวกเขาว่า

“วันนี้ ฉันได้ให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าเพื่อพวกสูเจ้า และได้ให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปรานของฉันแก่พวกเจ้าแล้ว และฉันยินดีต่อพวกสูเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสนา”

นอกจากนี้แล้วเรายังพบว่า นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ บางส่วนยอมรับอย่างเปิดเผยว่าโองการว่าด้วยการประกาศถูกประทานมาในเรื่องตำแหน่งอิมามของท่านอะลี(อ) ดังที่พวกเขาได้รายงานมาจาก อิบนุมัรดุวียะฮฺ จากท่าน อิบนุมัซอูด ว่า ในสมัยท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเราอ่านโองการนี้

“โอ้ ศาสนทูตเอ๋ย จงประกาศเรื่องที่ถูกประทานลงมายังเจ้า(ต่อท้ายว่า “แท้จริงอะลีเป็นเมาลาของบรรดาผู้ศรัทธา) และถ้าหากเจ้าไม่กระทำก็เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสาส์น ของพระองค์เลย และอัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์”(98)

หลังจากนี้แล้ว ถ้าเรานำมาพิจารณาประกอบกับริวายะฮฺต่างๆของพวกชีอะฮฺที่มาจากบรรดาอิมามบริสุทธิ์ เราสามารถสรุปได้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพระองค์ด้วยตำแหน่งอิมาม ด้วยเหตุนี้เรื่องตำแหน่งอิมามในสายชีอะฮฺ จึงเป็นรากฐานประการหนึ่งของศาสนา(อุศูลุดดีน)

ด้วยตำแหน่งท่านอิมามอะลี(อ) นี่เองที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปรานของพระองค์สำหรับมุสลิมทั้งหลาย เพื่อพวกเขาจะไม่ระหกระเหินกันไปตามทางของอารมณ์ และภัยพิบัติก็จะไม่แผ้วพาน จนทำให้พวกเขาแตกแยกเหมือนฝูงแกะที่ปราศจากผู้ดูแล

พระองค์ทรงพอพระทัยที่อิสลามได้เป็นศาสนา เพราะว่า ได้ทรงเลือกบรรดาอิมามให้ ซึ่งพระองค์ได้ชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์และประทานวิทยปัญญาญาณให้แก่พวกเขา และทรงให้พวกเขาสืบมรดกในวิชาการแห่งคัมภีร์ เพื่อพวกเขาได้เป็นทายาทของมุฮัมมัด(ศ)

จึงวาญิบแก่มวลมุสลิมที่จะต้องพอใจต่อกฎเกณฑ์และการคัดเลือกของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจะต้องนอบน้อมอย่างยอมจำนน เพราะความหมายของคำว่า อิสลาม โดยทั่วไป หมายถึงการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์ทรงมีโองการว่า

“และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้างตามที่ทรงประสงค์และทรงคัดเลือก ซึ่งพวกเขาไม่มีสิทธิในการคัดเลือก มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ และทรงสูงสุดกว่าสิ่งต่างๆที่พวกเขาตั้งภาคี และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในหัวอกของพวกเขา และสิ่งที่พวกเขาเปิดเผย

และพระองค์คืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ ทั้งในโลกนี้และปรโลก และการวางกฎเกณฑ์เป็นสิทธิของพระองค์ และยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะย้อนคืนกลับ” (อัล-เกาะศ็อศ / 68-70)

ทั้งหลายเหล่านี้ได้ให้ความเข้าใจว่า วันเฆาะดีรคุมนั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ถือเป็นวันอีด เพราะหลังจากแต่งตั้งท่านอะลี(อ) และหลังจากโองการที่ว่า “วันนี้ฉันได้ให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าสำหรับพวกสูเจ้าแล้ว” ถูกประทานแก่ท่านแล้ว

ท่าน(ศ) ก็กล่าวว่า “มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) สำหรับการให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนา และให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปราน และพระผู้อภิบาลทรงพอพระทัยต่อสาส์นของฉันและวิลายะฮฺของอะลี บินอะบีฏอลิบ ภายหลังจากฉัน”(99)

หลังจากนั้น ท่านก็ได้พันผ้าโพกศีรษะให้ เพื่อแสดงความยินดี และท่านนบี(ศ) ก็ได้นั่งลงในที่พัก และให้ท่านอะลี(อ) นั่งลงข้างท่านด้วย และได้สั่งให้บรรดามุสลิมประกอบด้วยบรรดาภรรยาของท่าน เหล่ามารดาแห่งศรัทธาชนซึ่งมีอยู่ในหมู่พวกเขา ให้เข้าไปแสดงความยินดีเป็นหมวดหมู่ต่อท่านอะลี(อ) ด้วยการยืนตรงและกล่าวสลามต่อท่าน ในฐานะผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา

แล้วคนทั้งหลายก็ได้กระทำที่ท่านนบี(ศ)สั่ง และปรากฏว่า กลุ่มหนึ่งที่แสดงความยินดีต่อ อะมีรุล-มุอ์มินีน อะลี อิบนิอะบีฏอลิบ ในโอกาสนี้ คือ อะบูบักรฺ และอุมัร

ทั้งสองท่านเข้าไปหาท่านอะลี(อ) แล้วกล่าวว่า “บัคคิน บัคคิน ยินดีต่อท่านด้วย โอ้ บุตรของอะบีฏอลิบ ทั้งยามเช้าและยามเย็น ท่านเป็นเมาลาของเรา และเมาลาของผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงทุกคน”(100)

เมื่อนั้นเอง ฮัซซาน อิบนุษาบิต นักกวีสมัยท่านศาสนทูต(ศ)พอทราบว่าท่านนบี(ศ)มีความยินดีปรีดาในวันนั้น ก็กล่าวว่า “โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) อนุญาตให้ข้าพเจ้ากล่าวบทกวีในโอกาสนี้สักบทให้ท่านฟังเถิด”

ท่านศาสดา(ศ)กล่าวว่า “จงกล่าวไปเถิด เพื่อความสิริมงคลของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โอ้ อัซซานเอ๋ย สิ่งที่เจ้าช่วยเหลือเราด้วยวาจาของเจ้าจะถูกส่งเสริมตลอดกาลด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์”

แล้วเขาได้กล่าวบทกวีขึ้นว่า “นบีของพวกเขาเรียกร้องพวกเขาในวันเฆาะดีรคุม ดังนั้น จงสดับรับฟังศาสนทูตในฐานะผู้เรียก...” ตลอดไปจนจบบทกวีซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้รายงานไว้(101)

แต่ถึงแม้ว่าจะมีทุกสิ่งทุกประการอย่างนี้ พวกเราก็ยังคัดเลือกเพื่อพวกของตนเองและปฏิเสธที่จะให้มีนบีและค่อลีฟะฮฺในตระกูลบะนีฮาชิม ดังนั้นพวกเขาจึงปลุกปั่นพวกของตนอยู่เนืองๆ ดังที่ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ เปิดเผยอย่างชัดเจนกับท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุอับบาซ เมื่อทั้งสองได้สนทนากัน(102)

จึงไม่มีใครสักคนที่สามารถจัดงานชุมนุมในวันอีดนี้ หลังจากที่ได้มีพิธีไปแล้วในครั้งแรก ซึ่งท่านนบี(ศ)ได้จัดชุมนุมเอง

เมื่อข้อบัญญัติการแต่งตั้งค่อลีฟะฮฺ พวกเขาพากันลืมเลือนไปจากความทรงจำของพวกเขาได้

ทั้งๆที่เวลาผ่านไปเพียงสองเดือน กระนั้นก็ไม่มีใครพูดถึงอีกเลยแม้สักคนเดียว แล้วการรำลึกถึงวันเฆาะดีร ที่ได้ผ่านไปครบขวบปีจะจัดขึ้นได้อย่างไร โดยเหตุที่วันอีดนี้เกี่ยวพันกับการแต่งตั้งค่อลีฟะฮฺ เมื่อทำการสลายเรื่องการแต่งตั้งและขจัดสาเหตุนั้นไป ก็ไม่เหลือร่องรอยใดๆที่จะกล่าวถึงวันอีดนั้นเลย เหตุการณ์นี้ได้ดำเนินผ่านไปหลายปี สิทธิจึงได้คืนกลับสู่เจ้าของหลังจากผ่านพ้นไปแล้วถึง 1ใน 4 ของศตวรรษ ท่านอิมามอะลี(อ) ได้รื้อฟื้นเรื่องของมันขึ้นมาใหม่หลังจากที่เกือบถูกฝังให้จมไปแล้ว

นั่นคือการประชุมเราะฮฺบะฮฺ อันเป็นวาระที่ศ่อฮาบะฮฺของศาสดามุฮัมมัด(ศ) ทำพิธียืนยันเหตุการณ์ในวัน เฆาะดีร โดยที่แต่ละคนจะต้องยืนขึ้นกล่าวปฏิญาณต่อหน้าประชาชนถึงการบัยอะฮฺตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ได้มีศ่อฮาบะฮฺลุกขึ้นยืน 30 คนเป็นชาว บะดัร 16 คน พวกเขาปฏิญาณกัน(103) และบุคคลที่ไม่ยอมปฏิญาณและอ้างว่าลืมเรื่องราวไปแล้ว ได้แก่ อะนัซ บินมาลิก ซึ่งเขาได้รับดุอาอ์ของท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ในฐานะที่ไม่ยืนขึ้นปฏิญาณ ปรากฏว่า เขาเป็นโรคเรื้อน

ซึ่งเขาได้ร้องไห้แล้วกล่าวว่า “ดุอาอ์ของบ่าวศอลิฮฺได้ถูกฉันแล้ว เนื่องจากฉันปิดบังไม่ยอมปฏิญาณ” (104)

ด้วยเหตุนี้ อะบูฮะซัน (อิมามอะลี) จึงถือเอาเรื่องนี้เป็นหลักฐานต่อประชาชาติ และตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน และจวบจนถึงวันกิยามัต พวกชีอะฮฺทำพิธีรำลึกถึงวันเฆาะดีร ซึ่งในทัศนะของพวกเขาถือเป็นวันอีดใหญ่ที่สุด จะไม่ทำเช่นนั้นได้อย่างไร เมื่อมันเป็นวันที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาสำหรับเรา และให้ความสมบูรณ์แก่ความโปรดปรานสำหรับเราในวันนั้น และทรงพอพระทัยที่อิสลามได้เป็นศาสนาของเรา

มันคือวันที่ยิ่งใหญ่สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ศาสนทูตของพระองค์(ศ) และบรรดาผู้ศรัทธา นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺบางท่าน ได้กล่าวถึงรายงานของ อะบูฮุร็อยเราะฮฺ ซึ่งได้กล่าวว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้จับมือของท่านอะลี(อ)แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้นอะลีจึงเป็นเมาลาของเขาด้วย”

ตลอดจนจบคุฏบะฮฺ แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประทานโองการว่า

“วันนี้ฉันได้ให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาของพวกสูเจ้าสำหรับพวกสูเจ้า และฉันได้ให้ความสมบูรณ์ แก่ความโปรดปรานของฉันสำหรับสูเจ้าและฉันยินดีที่อิสลามเป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า”

อะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า : นั่นคือวัน “เฆาะดีร คุม” ผู้ใดถือศีลอดในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮฺ เขาจะถูกบันทึกว่า ได้ถือศีลอด 60 เดือน(105)

สำหรับริวายะฮฺต่างๆ ของพวกชีอะฮฺจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ.) ก็ได้เล่ากันไว้และไม่ขาดตกบกพร่อง มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ สำหรับทางนำของพระองค์ ที่ทรงทำให้เราได้เป็นผู้ยึดถือวิลายะฮฺของอะมีรุลมุอ์มินีน และเป็นผู้เฉลิมฉลองวันเฆาะดีร

สรุปฮะดีษ อัล-เฆาะดีร ที่ว่า

“ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้นอะลี ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อศัตรูของเขา โปรดช่วยเหลือคนที่ช่วยเหลือเขา และโปรดบั่นทอน คนที่บั่นทอนเขา สัจธรรมจะอยู่กับเขาเสมอ ไม่ว่าเขาจะอยู่อย่างไหน”

เป็นฮะดีษ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่ประชาชาติอิสลามได้ร่วมกันถ่ายทอดมา ดังที่กล่าวผ่านไปแล้วว่า

นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล- ญะมาอะฮฺ ได้รายงานฮะดีษนี้กันไม่น้อยกว่า 360 คน และยังมากกว่านี้อีกสำหรับนักปราชญ์ชีอะฮฺ และผู้ใดที่ต้องการจะศึกษาเพิ่มเติม ก็ดูได้จากหนังสือ อัล-เฆาะดีร ของอัลลามะฮฺ อัล-อามีนีในจำนวน 11 เล่ม ตำราซึ่งผู้เรียบเรียงได้ให้ข้อมูลอย่างละเอียดยิบครบครัน ตามสิทธิของเรื่องที่พึงมี จึงขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตอบแทนแก่ท่านให้ได้รับรางวัลอันดีงามจากประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ)

เมื่อเป็นเสียอย่างนี้ ก็ไม่เห็นจะเป็นเรื่องแปลก ที่ประชาชนอิสลามมีการแบ่งกันเป็นซุนนะฮฺ ชีอะฮฺ ซึ่งฝ่ายแรกก็ถือหลักการชูรอ (ปรึกษาหารือ) ซะกีฟะฮฺ บะนีซะอีดะฮฺ แล้วตีความข้อบัญญัติอันชัดแจ้งให้เป็นอื่นโดยขัดแย้งกับมติเอกฉันท์ของนักรายงานเรื่องฮะดีษเฆาะดีร และข้อบัญญัติอื่น แต่ฝ่ายที่สองยึดถือตามข้อบัญญัตินั้น โดยไม่พอใจที่จะเปลี่ยนแปลง และให้บัยอะฮฺต่อบรรดาอิมามทั้งสิบสองจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และไม่ปรารถนาเป็นอย่างอื่น

โดยส่วนตัวข้าพเจ้า เมื่อครั้งที่อยู่ในมัซฮับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ไม่เคยพบความมั่นใจในเรื่องใดๆ เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับความคิดและการวินิจฉัย เนื่องจากกฎเกณฑ์ในการเลือกตั้งมิใช่หลักฐานชี้ขาดว่าคนที่เราเลือกไปในวันนี้ จะดีเด่นกว่าคนอื่นๆ

เพราะเราไม่รู้ถึงสิ่งที่อำพรางสายตา และสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ในจิตใจ เนื่องจากในความเป็นจริง เราถูกครอบงำอยู่ด้วยกิเลส การถือพรรคถือพวก และความเป็นแก่ส่วนตัวอันซ้อนเร้นอยู่ในจิตใจของเรา และกิเสสเหล่านี้จะมาเล่นงานเรา ในเมื่อการเลือกตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดถูกมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของเรา

ข้อคิดอันนี้มิได้เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย เพราะผู้ที่ศึกษาค้นคว้าในความคิดอันนี้ หมายถึงความคิดเรื่องการเลือกตั้งค่อลีฟะฮฺ จะพบว่า หลักการอันนี้ยังไม่ประสบชัยชนะ และไม่มีวันจะประสบชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ อะบูบักรฺ ผู้นำของการชูรอ (ปรึกษาหารือ) ถึงแม้จะได้รับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺด้วยการเลือกตั้ง และการปรึกษาหารือแล้ว เราก็เห็นได้ว่า เมื่อเวลาสองปีเท่านั้นนับจากการก่อตั้งหลักการนี้ เขาก็รีบทำลายและยกเลิก เมื่อท่านจะถึงแก่กรรม กล่าวคือ ท่านรีบแต่งตั้ง ท่านอุมัร อิบนุค็อฏฏอบ ขึ้นเป็นค่อลีฟะฮฺของท่าน ทั้งนี้ก็เพราะตลอดเวลาในการปกครอง ท่านตระหนักดีว่าจิตใจจะปรารถนาและจะมุ่งอยู่แต่ในเรื่องผลประโยชน์ของมัน และจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชาติ (นี่คือข้อคิด)

ถ้าเราจะมองอะบูบักรฺในแง่ดี แต่ในความเป็นจริงนั้น ท่านรู้ตัวดีว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺจะต้องมีขึ้นโดยบัญญัติ ส่วนการชูรอที่ซะกีฟะฮฺ มิใช่อื่นใด นอกจากเครื่องมืออันหนึ่งที่เป็นสื่อนำไปยังเป้าหมายที่ให้โอกาส อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ส่วนท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ผู้ก่อตั้งและเสนอตำแหน่งค่อลีฟะฮฺให้อะบูบักรฺ ในวันซะกีฟะฮฺ ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมรู้ดีว่า หากไม่มีท่านไฉนเลยที่บุตรของกุฮาฟะฮฺ จะได้รับตำแหน่งเป็นค่อลีฟะฮฺ เราจะเห็นได้ว่า หลังจากเพื่อนของตนถึงแก่ชีวิต และในสมัยที่เพื่อนของเขายังดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ เขาจะยืนยันต่อหน้ามหาสมาคมว่า การบัยอะฮฺให้อะบูบักรฺนั้น เป็นเรื่องฉุกเฉิน ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงปกป้องบรรดามุสลิม ให้พ้นจากความชั่วร้ายของมันด้วยเถิด(106)

ไม่มีใครถามท่านอุมัร บินค็อฏฏอบสักคนว่า เขายอมรับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺที่อะบูบักรฺสั่งเสียไว้ให้เขาได้อย่างไร ทั้งๆ ที่การให้บัยอะฮฺกับอะบูบักรฺนั้น เป็นเรื่องบังเอิญที่ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงปกป้องบรรดามุสลิมให้พ้นจากความชั่วร้ายของมัน เท่าที่เขาได้ยืนยันไว้ด้วยตัวเอง เพราะในเมื่อตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของอะบูบักรฺเป็นความบังเอิญก็เท่ากับว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของเขาก็เป็นผลิตผลของความบังเอิญ หมายความว่า เป็นความบังเอิญที่เกิดขึ้นในความบังเอิญ

หลังจากนั้นต่อมา เราจะเห็นว่า เมื่อท่านอุมัรถูกแทง และแน่ใจว่าตนจะต้องถึงแก่ชีวิต เขาได้แต่งตั้งคน 6 คน เพื่อเลือกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มพวกเขาเองขึ้นเป็นค่อลีฟะฮฺ เพราะเขารู้ดีแก่ใจว่า ในหมู่คนจำนวนน้อยนี้ นี่แหละที่จะดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ เพราะถึงแม้จะเป็นศ่อฮาบะฮฺในยุคแรกของอิสลาม มีความสำรวมตน และมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า แต่ก็ยังมีกิเลสแฝงฝังอยู่ ตามวิสัยของปุถุชนซึ่งไม่สามารถบรรลุให้ผ่านพ้นไปได้ นอกจากมะอฺศูมเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเป็นได้ว่า เขาฝักใฝ่ที่จะให้ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺตกอยู่ในกำมือของอับดุรเราะฮฺมาน บินเอาว์ฟ

เขาจึงกล่าวว่า “เมื่อพวกท่านจะเลือกค่อลีฟะฮฺ ก็จงอยู่ในกลุ่มที่มีอับดุลเราะฮฺมาน บินเอาว์ฟ” แล้วหลังจากนั้น เรายังเห็นท่านอิมามอาลี(อ.) เพื่อเป็นค่อลีฟะฮฺแต่พวกเขามีเงื่อนไขว่า ท่าน(อฺ)จะต้องปกครองพวกเขาตามกิตาบุลลอฮฺ ซุนนะฮฺของศาสนทูต(ศ) และซุนนะฮฺของผู้อาวุโสทั้งสอง อะบูบักรฺกับอุมัร ท่านอะลี(อฺ)ยอมรับว่าจะทำตามกิตาบุลลอฮฺ ซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ) แต่จะไม่ยอมรับซุนนะฮฺของผู้อาวุโสทั้งสอง(107)

ส่วนอุษมานยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ พวกเขาจึงให้การบัยอะฮฺต่ออุษมานเป็นค่อลีฟะฮฺ

ในเรื่องนี้ท่านอะลี(อฺ) เคยกล่าวไว้ว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เรื่องการชูรอนับจากคนแรกในหมู่พวกเขาแล้ว ที่รู้สึกว่าความสงสัยเกิดขึ้นในตัวของฉัน จนกระทั่งฉันได้มาเห็นชัดถึงหลักเกณฑ์เหล่านี้ แต่ทว่าฉันต้องหุบปีกเมื่อพวกเขาหุบ และต้องกระพือปีกเมื่อพวกเขากระพือ ดังนั้น ชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขาก็ได้เข้าไปรับตำแหน่ง และทรัพย์สินของคนอื่นก็เป็นของผู้ที่เกี่ยวดองกับเขาพร้อมกับความอ่อนแอ” (108)

เมื่อปรากฏว่า คนเหล่านั้นซึ่งมีฐานะเป็นคนคัดเลือกของมุสลิมทั้งมวลและพวกเขากลุ่มเดียวล้วนๆ ที่ดำเนินบทบาทไปตามความเป็นชอบ ซึ่งในหมู่พวกเขายังมีการชิงชัง และการถือพรรคถือพวก ครั้งแล้วครั้งเล่าอีก

ท่านมุฮัมมัด อับดุฮฺ กล่าวไว้ในชะเราะฮฺของท่านตอนนี้ว่า :

ท่านอิมามอะลี(อฺ) ยังได้อธิบายชี้แจงในประเด็นอื่นๆ อีกว่าท่านรังเกียจที่จะกล่าวถึง สำหรับโลกดุนยานี้ หลังจากนั้นแล้ว ก็ยอมรับโดยสันติสำหรับอับดุรเราะมาน บินเอาวฟฺนั้น เสียใจในภายหลังได้เลือกไปแล้วและโกรธเคืองอุษมาน แล้วกล่าวหาว่าเขาคดโกงต่อสัญญา จนได้เกิดเหตุการณ์ในสมัยของเขาตามที่ศ่อฮาบะฮฺอาวุโสได้ กล่าวแก่เขาว่า

“โอ้อับดุรเราะฮฺมาน นี่คือ ผลงานจากน้ำมือของท่าน”

อับอุรเราะฮฺมาน กล่าวกับพวกเขาว่า “ฉันไม่คิดเลยว่า เขาจะเป็นอย่างนี้ แต่เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) หน้าที่ของฉันจะไม่พูดกับเขาอีกตลอดกาล”

หลังจากนั้นอับดุรเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ ได้เสียชีวิตในขณะที่กำลังโกรธเคืองกับอุษมานอยู่ ถึงขนาดมีรายงานว่า : อุษมานเคยเข้าไปเยี่ยมอาการป่วยของเขา แล้วต้องเดินกลับ เพราะเขาผินหน้าไปยังฝาผนัง และไม่ยอมพูดกับอุษมานเลย(109)

หลังจากนั้นมา ก็ได้มีการปฏิวัติโค่นล้มอุษมานและจบลงด้วยการถูกสังหาร ประชาชาติอิสลามในยุคนั้นได้ทำการเลือกตั้งกันใหม่ คราวนี้พวกเขาเลือกอะลี แต่ โอ้หนอ ความขาดทุนที่ประสบกับบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า อาณาจักรอิสลาม ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง และได้กลายมาเป็นศึกรบกับพวกมุนาฟิกีน และกับศัตรูของอิสลาม ที่มุ่งคิดทำลายวางอำนาจ และมุ่งมาดปรารถนาที่จะครอบครองตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ไม่ว่าโดยมูลค่าเท่าใด และไม่ว่าด้วยหนทางใด ถึงแม้จะต้องผลาญชีวิตของผู้บริสุทธิ์เท่าใดก็ตาม

แน่นอนบทบัญญัติของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์(ศ)ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นเวลาถึง 25 ปี ท่านอิมามอะลี(อฺ) ได้พบว่าตัวเองกำลังอยู่กลางทะเลที่ลึกล้ำและกระแสคลื่นจัด รวมทั้งความมืดดำสนิท ท่านดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺท่ามกลางสงครามเลือดที่ถูกกำหนดขึ้นมาให้แก่ท่านโดยพวกบ่อนทำลาย พวกเป็นกลางและพวกนอกศาสนา และท่านไม่อาจออกจากสถานการณ์นั้นได้เลย จนกว่าพลีชีพไป ในขณะที่ประชาชาติมุฮัมมัด(ศ) ต้องประสบความสูญเสียแน่นอน

มุอาวียะฮฺ บุตรของอะบูซุฟยาน และสมาชิก เช่น อัมร์บินอาศ มุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ มัรวาน บินฮะกัม และคนอื่นๆ อีกหลายคนเต็มไปด้วยความมุ่งมาดปรารถนาในโอกาสนั้น และสิ่งที่พวกเขาก่อการขึ้น ในสิ่งที่พวกเขากระทำ ก็หาใช่อื่นใดไม่ หากแต่เป็นเพราะความคิดในเรื่องชูรอ และการเลือกค่อลีฟะฮฺนั่นเอง

ประชาชาติของอิสลามได้จมลงสู่ทะเลเลือด คนโง่และคนเลวในหมู่พวกเขาเข้ามาทำการปกครอง กำหนดชะตากรรมของพวกเขา แล้วการชูรอก็ได้ผันแปรหลังจากนั้นอีกต่อไปเป็นระบบกษัตริย์ที่มีอาญาสิทธิ์ พัฒนาไปเป็นจอมจักพรรดิ์ จากสมัยของมุอาวียะฮฺ ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺก็ได้กลายเป็นระบบสืบทอดมรดกแบบลูกสืบต่อจากพ่อ

กาลเวลาในช่วงนั้นเอง ที่ได้มีการขนานนามเรียกตำแหน่งค่อลีฟะฮฺผู้ทรงคุณธรรมขึ้น โดยเรียกบรรดาค่อลีฟะฮฺทั้งสี่ว่า รอชิดีน ความจริงแล้ว แม้แต่ 4 คนนั้น ก็มิได้เป็นค่อลีฟะฮฺ โดยการเลือกตั้งและชูรอทุกคน นอกจากอะบูบักรฺและอะลี(อฺ)เท่านั้น และถ้าหากเราจะแยกอะบูบักรฺออกไปอีก เพราะเหตุว่า การบัยอะฮฺต่อท่านเป็นเรื่องฉุกเฉิน บังเอิญ ในขณะที่คนทั้งหลายเผลอเรอ

และ “พรรคผู้ปฏิเสธ” (ฮิซบุล-มุอาริฎ) ตามที่ถูกเรียกขึ้นในวันนั้น ก็มิได้เข้าร่วมด้วยทั้งๆที่พวกเขามีท่านอะลี(อฺ) และคนอื่นๆในตระกูลบะนีฮาชิมคนใดที่เห็นด้วยตามความคิดของพวกเขา ก็จะเห็นได้ว่า กฏการบัยอะฮฺโดยการชูรอและคัดเลือกอย่างแท้จริงนั้น มีเพียงอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)เท่านั้น ซึ่งบรรดามุสลิมให้บัยอะฮฺต่อเขาอย่างเปิดเผย แม้จะมีศ่อฮาบะฮฺบางคนปฏิเสธต่อเขา เขาก็มิได้กำหนดโทษ และมิได้ข่มขู่พวกนั้นเลย






ขออยู่กับผู้สัจจริง

แน่นอน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีความประสงค์ให้ อะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)เป็นค่อลีฟะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยข้อบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเช่นเดียวกับการเลือกตั้งของมวลมุสลิม ซึ่งประชาชาติของอิสลามกลุ่มหนึ่งทั้งซุนนีและชีอะฮฺต่างลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์สำหรับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี(อฺ) แต่จะมีความเห็นขัดแย้งกัน สำหรับการเป็นค่อลีฟะฮฺของบุคคลอื่นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย

ขอกล่าวว่า “โอ้หนอ ความสูญเสียของปวงบ่าวแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)หากพวกเขายอมรับตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงคัดเลือกให้ แน่นอน พวกเขาจะได้บริโภคทั้งของที่อยู่เหนือศีรษะและอยู่ใต้เท้าของพวกเขา และแน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงประทานความจำเริญจากฟากฟ้าแก่พวกเขา และแน่นอนบรรดามุสลิมปัจจุบันนี้ต้องเป็นผู้นำโลก ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ ถ้าพวกเขาเชื่อถือตามพระองค์”

“และพวกเจ้าจะสูงส่ง หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา” (อัล-กุรอาน)

แต่ชัยฏอนนั้น เป็นศัตรูของพวกเราอย่างเปิดเผย พระองค์ทรงมีโองการเกี่ยวกับคำพูดของมันต่อพระองค์ว่า

“ดังนั้นโดยที่ทรงให้ฉันหลงผิด แน่นอนฉันจะนั่งเฝ้าพวกเขาที่หนทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ หลังจากนั้น ฉันจะเข้าหาพวกเขาทั้งจากด้านหน้า และด้านหลังของพวกเขา จากทางขวาและทางซ้ายของพวกเขา และพระองค์จะไม่ได้พบเลยว่าส่วนมากพวกเขาจะเป็นผู้ขอบพระคุณ” (อัล-อะอฺรอฟ / 16-17) ปัญญาชนสมัยใหม่ พึงพิจารณาดูสภาพของบรรดามุสลิมในโลกนี้หรือที่เรียกกันว่า ประเทศในโลกที่สามเถิด เพราะพวกเขาล้าหลัง โง่เขลา ถูกควบคุมอยู่ตามแนวทางและมาตรการของคนเหล่านั้น พวกเขาตกต่ำ ไม่มีความสามารถในสิ่งใดเลย

เห็นไหมว่า พวกเขาต้องยอมจำนนอยู่ข้างหลังอำนาจรัฐที่ยอมรับอิสราเอล นั่นคือปฏิเสธการยอมรับพวกเขา ไม่ให้เกียรติพวกเขา แม้กระทั่งการเข้าไปในอัล-กุดส์ที่ได้กลายเป็นเมืองหลวงของคนเหล่านั้นไปแล้ว แล้วท่านก็เห็นแล้วว่า ประเทศมุสลิมปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร ท่านจะเห็นว่า พวกเขาอยู่ภายใต้ความเมตตาของอเมริกาและรัสเซีย

แน่นอนความยากจนได้เกาะกินประชาชนเหล่านั้น ความหิวและความเจ็บไข้ได้ป่วยกำลังเข่นฆ่าพวกเขาในขณะที่สุนัขในยุโรปได้กินเนื้อประเภทต่างๆ ปลาชนิดต่างๆ บรรดามุสลิมกำลังจะตายด้วยความหิวโหย ไม่พานพบแม้ข้าวโพดสักหนึ่งคำ หรือเศษขนมปังสักชิ้นในประเทศอิสลามบางประเทศ ขอกล่าวว่า ไม่มีพลัง และไม่มีอำนาจใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้ทรงสูงสุด ผู้ทรงยิ่งใหญ่

ประมุขของสตรี-ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซซะฮฺรอ (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)ได้ออกแถลงเมื่อตอนที่ท่านโต้แย้งกับอะบูบักรฺ ท่านหญิงได้กล่าวคุฏบะฮฺ ในที่ชุมนุมของมุฮาญิรีนและอันศอร ในตอนจบท่านได้กล่าวถึงความหันเหของประชาชาติว่า

“ขอสาบานด้วยอายุขัยของข้า แน่นอนขอยืนยันว่า ต้องมีปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อผลิตผลของมันสุกงอมหลังจากนั้นผู้คนระดับเจ้านายจะทำการดูดดื่มเลือดอย่างโหดเหี้ยม จะมีการกดขี่อย่างเผด็จการ เมื่อนั้นเองคนที่ทำผิดจะขาดทุน คนที่หันเหจะรับรู้ถึงผลกรรมที่คนรุ่นแรกก่อตั้งไว้ ต่อจากนั้นพวกเขาก็จะเสวยสุขจากโลกดุนยาอันหอมหวนของพวกท่าน และพวกเขาสงบมั่นอยู่กับความเสียหายอันขมขื่น

พวกเขาจะแจ้งข่าวดีด้วยคมดาบ และแส้ที่หวดลงมาอย่างพรั่งพร้อม และจะมีการข่มเหงรังแกจากผู้อธรรม กลุ่มหนึ่งของพวกท่านจะปล่อยปละละวางถือสันโดษ แต่การรวบรวมกลุ่มของพวกท่านเป็นการแสวงหาประโยชน์ โอ้หนอ ความสูญเสียของพวกท่าน พวกท่านจะเป็นฉันใด แน่นอนมันมืดมน แก่พวกท่านแล้ว จะให้เราดำเนินการกับมัน เพื่อพวกท่านกระนั้นหรือ ก็พวกท่านเป็นผู้ชิงชังรังเกียจกับมัน” (110)

ท่านประมุขของเหล่าสตรีให้ความสัตย์จริงเหมือนที่ท่านบอกเล่าไว้ เพราะท่านคือสายเลือดของท่านนบี(ศ) และเป็นที่ตั้งของศาสนา แน่นอน คำพูดของท่านได้กล่าวถึงรูปธรรมของประชาชาติ ใครจะรู้บ้างว่า บางครั้งผู้ที่รอคอยท่านอยู่จะนึกอดสูใจในสิ่งที่กระทำไปแล้วก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาชิงชังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานมา ดังนั้น ผลงานของพวกเขาจึงถูกลบล้าง



ข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์
ยังมีข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง สำหรับการวิเคราะห์เรื่องราวเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งควรแก่การพิจารณาและศึกษาอย่างยิ่ง บางทีอาจจะเป็นข้อเสนอเดียวที่ส่วนมากแล้วจะมีผลกระทบ ในยามที่ผู้โต้เถียงจนมุมต่อหลักฐานแล้ว แต่ยังไม่พบหนทางที่จะทำให้เกิดการยอมรับต่อข้อบัญญัติชัดแจ้งได้ ในที่สุดก็จะนำไปสู่ความอัศจรรย์ และเห็นว่าไกลเกินความจริง คนจำนวนแสนจากบรรดาศ่อฮาบะฮฺอยู่ร่วมในพิธีแต่งตั้งท่านอิมามอะลี(อฺ)

ต่อจากนั้น คนทั้งหมดกลับหวนมาขัดแย้งกับท่าน ปฏิเสธท่าน ทั้งๆที่ในจำนวนนั้นมีศ่อฮาบะฮฺที่ทรงธรรมและประชาชาติที่ดีเลิศอยู่ นี่คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้าเองในตอนแรกๆ ที่ทำการค้นคว้า ข้าพเจ้าไม่เชื่อและเป็นไปไม่ได้สักคนที่จะเชื่อในเมื่อปัญหาข้อนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเสนอ แต่พอเราศึกษาประเด็นของปัญหาจากแง่มุมในด้านต่างๆ ทั้งหมด

ความมหัศจรรย์ใจเช่นนั้นก็ค่อยๆ สูญหายไป เพราะปัญหาได้เป็นเหมือนอย่างที่เราสร้างมโนภาพ หรือเหมือนอย่างที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺเสนอมา โดยที่ใช้คำพูดอย่างคมคาย ฉะนั้น มาดูซิ ศ่อฮาบะฮฺ จำนวนแสนได้ขัดขืนคำสั่งของศาสนทูต(ศ) เรื่องนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

1. คนหนึ่งอยู่ในพิธีบัยอะฮฺแห่งอัล-เฆาะดีรนั้น มิได้เป็นคนที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺทั้งหมด หากแต่อาจคาดคะเนได้ว่าอย่างมากก็ประมาณ 3 ถึง 4,000 คน ที่อาศัยที่มะดีนะฮฺ เมื่อเราเคยทราบมาแล้วว่า ในจำนวนคนเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นคนรับใช้ เป็นข้าทาส เป็นผู้อ่อนแอที่มุ่งมาหาท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)จากที่ต่างๆ พวกเขาไม่มีเผ่าพันธุ์ และไม่มีญาติมิตรในเมืองมะดีนะฮฺ เช่น อะฮฺลุศสิฟฟะฮฺ จึงหมายความว่า พวกเขามีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นคือ สองพันคน

ถึงกระนั้น พวกเหล่านี้ก็ยอมจำนนต่อบรรดาหัวหน้าเผ่าและระบบเครือญาติที่กำลังเจริญรุ่งเรือง เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เคยกำชับพวกเขาในเรื่องนี้ กล่าวคือเมื่อมีแขกเมืองมาหาท่าน ท่านจะให้หัวหน้า และนายของคนเหล่านั้นจักการทำหน้าที่ดูแล ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบการปรับปรุงใหม่ขึ้นมา เพื่อมีการเรียกพวกเขาในอิสลามว่า อะฮฺลุล-ฮัล วัล-อักด์ (นักแก้ไขและวางหลักเกณฑ์)

2. เมื่อเรามาพิจารณาดูการจัดประชุมที่ซะกีฟะฮฺ ซึ่งมีขึ้นในขณะที่ท่านนบี(ศ)วะฟาตอย่างทันทีทันใด เราพบว่าผู้เข้าร่วมซึ่งรับหลักการในการเลือกอะบูบักรฺเป็นค่อลีฟะฮฺนั้นมีไม่เกิน 100 คน โดยประมาณเป็นอย่างมาก เพราะว่าชาวอันศอรมิได้เข้าร่วมเลยทั้งๆที่พวกเขาเป็นชาวมะดีนะฮฺ ทั้งนี้ยกเว้นคนระดับเจ้านายและหัวหน้าของพวกเขาเท่านั้น เช่นกันกับชาวมุฮาญิรีนที่ไม่เข้าร่วมด้วย ทั้งที่พวกเขาเป็นชาวมักกะฮฺที่อพยพมาพร้อมกับท่านนบี(ศ) นอกจากเพียง 3 หรือ 4 คนเท่านั้น ที่เป็นตัวแทนของชาวกุเรช

นับว่าพอเป็นหลักฐานให้เรามโนภาพถึงขนาดของซะกีฟะฮฺได้ กล่าวคือเราทั้งหลายทราบกันอยู่ว่า ในอดีตกาลที่ผ่านมานั้น ซะกีฟะฮฺเป็นสถานที่มีความหมายว่าอย่างไร กล่าวคือ มิใช่สถานที่สำหรับจัดประชุม และมิใช่ที่รโหฐานสำหรับการประชุม ฉะนั้น เมื่อเรากล่าวว่าจำนวนคนประมาณ 100 ที่ซะกีฟะฮฺ บะนี สาอิดะฮฺ ก็ให้ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดตามความเชื่อของเรา

เพื่อให้ผู้ค้นคว้าได้เข้าใจว่า 100,000 คนนั้น มิได้เข้าร่วมด้วยแต่อย่างใด พวกเขามิได้ยิน แม้กระทั่งจะมีเหตุการณ์ใดๆ ที่ซะกีฟะฮฺ นอกจากเมื่อเวลาได้ผ่านไปนานแล้ว เพราะในยุคนั้น ไม่มีการสื่อสาส์นทางอากาศ ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีโทรคมนาคม และไม่มีดาวเทียม

หลังจากที่คนระดับหัวหน้าเผ่าต่างๆ ตกลงกันแต่งตั้งอะบูบักรฺ เป็นคอลีฟะฮฺแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีผู้โต้แย้ง เช่นประมุขของชาวอัน-ศอร ซะอัด บิน อุบาดะฮฺ หัวหน้าเผ่าค็อซร็อจ และบุตรชายคือ “ก็อยซฺ” อย่างไรเสียคนส่วนใหญ่ที่เป็นแกนนำ (ตามที่เรียกกันในวันนั้น) ได้ให้การยอมรับในหลักการและยอมประนีประนอมด้วยในยามที่คนมุสลิมส่วนใหญ่ไม่รู้เห็นเรื่องราวแห่งซะกีฟะฮฺ

และส่วนหนึ่งก็กำลังสาละวนอยู่กับการจัดศพท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)หรือไม่ก็กำลังตื่นตะลึงอยู่กับข่าวการเสียชีวิตของท่าน และอุมัร บินค็อฏฏอบเองก็ได้ขูเข็ญ และสร้างความหวาดหวั่นแก่พวกเขาอยู่ หากพูดว่าท่านนบี(ศ)ตาย (111)

เสริมตรงนี้อีกนิดหนึ่งว่า ศ่อฮาบะฮฺส่วนใหญ่นั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้เกณฑ์ให้เข้าอยู่ในกองทัพของอุซามะฮฺ และส่วนมากคนเหล่านั้นเป็นนักการทหารที่เข้มแข็งไม่ได้เข้าดูการวะฟาตของนบี(ศ) และมิได้เข้าประชุมที่ซะกีฟะฮฺ

หลังจากนี้แล้ว คิดหรือว่าสมาชิกในเผ่าหรือในตระกูลนั้นๆ จะโต้แย้งหัวหน้าของพวกตนในกรณีที่ได้จัดการเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะกับงานที่กระทำขึ้น นั้นเป็นไปโดยบุคคลผู้มีเกียรติ มีความอาวุโส ซึ่งเป็นที่แสวงหาของทุกๆ เผ่าพันธุ์ในหมู่พวกเขา ใครจะรู้บ้างว่า บางทีตนก็อาจติดตามเขาเหล่านั้น ในวันหนึ่งข้างหน้า อย่างมีเกียรติในฐานะผู้นำมวลมุสลิมก็ได้ ตราบใดที่เจ้าของตำแหน่งตามหลักศาสนายังอยู่ห่างไกล

ผลที่สุดการชูรอก็ได้กลายเป็นจริงขึ้นมาซึ่งพวกเขาก้ได้รับประโยชน์ด้วยกัน จะมิให้พวกเขาดีใจด้วยอย่างไร และจะมิให้พวกเขาสนับสนุนด้วยอย่างไร ?

3. เมื่อนักแก้ไขและวางหลักเกณฑ์เป็นพลเมืองของมะดีนะฮฺ เมื่อพวกเขาได้พิชิตในกิจการหนึ่งสำเร็จลงแล้ว พลเมืองที่อยู่ไกลโพ้นตามหัวเมืองต่างๆ ของคาบสมุทรอรับ ก็ไม่มีทางจะโต้แย้งได้ เพราะพวกเขาไม่รู้ว่า อะไรเกิดขึ้นบ้างในยามที่พวกเขาไม่อยู่ที่นั่น เพราะการสื่อสาส์นในสมัยนั้นเพิ่งจะเริ่มต้น

จากนั้น พวกเขาก็คาดการณ์ว่า พลเมืองมะดีนะฮฺอาศัยอยู่กับท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ เพราะเขาย่อมเข้าใจย่อมรู้อะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับบทบัญญัติที่ถูกประทานมาโดยวะฮฺยูในเวลาหนึ่งเวลาใด วันหนึ่งวันใดก็ได้ หลังจากนั้นแล้วหัวหน้าเผ่าที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงก็มิได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺแต่อย่างใด

พวกเขาถือว่า เหมือนกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอะบูบักรฺ หรือ อะลี(อฺ) หรือใครก็ตาม ส่วนชาวมักกะฮฺนั้นที่ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับตนก็คือ ให้ได้อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าตระกูลของตน และอย่าได้มีใครขัดแย้งกับตนเลยสักคนเดียว

ใครจะรู้บ้างเล่า บางทีอาจมีบางคนซักถามไปมาระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ และต้องการที่จะเปิดเผยข่าวออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายปกครองได้เตรียมการปิดข่าวเงียบด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งปลอบและขู่ อาจเป็นไปได้ว่าถูกตามที่พวกชีอะฮฺกล่าวว่า ตามประวัติ มาลิก บินนุวัยเราะฮฺ เป็นคนที่งดการจ่ายซะกาตแก่อะบูบักรฺ (แต่อัลลอฮฺ องค์เดียวเท่านั้นที่รู้)

ส่วนผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามกับพวกที่ไม่จ่ายซะกาตในสมัยอะบูบักรฺ ก็พบกันอย่างมากมายว่าล้วนเป็นเรื่องที่บกพร่อง ไม่น่าจะยอมรับได้ ตามที่นักประวัติศาสตร์บางท่านรายงานไว้ เนื่องจากปกป้องเกียรติยศของศ่อฮาบะฮฺ โดยเฉพาะผู้ปกครองของพวกตน

4. มูลเหตุบังเอิญอันสำคัญยิ่งสำหรับกรณีการเล่นบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการยอมรับสิ่งที่ได้ชื่อว่า วันแห่ง “กิจการอันสำคัญปรากฏ” ก็คือการจัดประชุมที่ซะกีฟะฮฺนั้น มีขึ้นในขณะที่บรรดาศ่อฮาบะฮฺเผอเรอ นั่นคือ พวกเขากำลังสาละวนอยู่กับการจัดศพของท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในจำนวนคนเหล่านั้น มีท่านอิมามอะลี(อฺ) อับบาซ และคนอื่นๆ อีกในตระกูลบนีฮาชิม มิกดาด ซัลมาน อะบูซัร อัมมาร ซุเบร และนอกเหนือจากคนเหล่านี้อีกมาก

ครั้นเมื่อพวกซะกีฟะฮฺออกกันมาแห่แหนอะบูบักรฺไปยังมัสญิด เพื่อเชิญชวนให้ทำการรับบัยอะฮฺทั่วไป ประชาชนทั้งหลายก็ยอมรับการบัยอะฮฺกันเป็นหมวดหมู่ บ้างก็เต็มใจ และบ้างก็ฝืนใจ ปรากฏว่าอะลี(อฺ)และพรรคพวกยังไม่เสร็จสิ้นจากการทำหน้าที่ต่างๆ ของพวกตามหลักศาสนาที่วางข้อบัญญัติแก่พวกเขาในด้านจริยธรรมอันสูงส่ง

พวกเขาจึงไม่อาจทอดทิ้งท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยมิได้อาบน้ำฆุซุล ห่อกะฝั่น และจัดแจงในสิ่งต่างๆ รวมทั้งการฝังให้เพื่อจะรีบไปที่ซะกีฟะฮฺ เพื่อโต้แย้งเกี่ยวกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺได้

เมื่อพวกเขาเสร็จสิ้นจากการทำหน้าที่ก็พอดีกับการแต่งตั้งอะบูบักรฺก็ได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ท่านจึงกลายเป็นคนที่ขัดขืนการให้บัยอะฮฺอันถูกกำหนดว่า เป็นพวกก่อการฟิตนะฮฺ ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ทรยศต่อบรรดามุสลิม จึงจำเป็นสำหรับบรรดามุสลิมจะต้องลุกขึ้นต่อสู้กับท่าน หรือให้สังหารก็ได้ หากจำเป็นต้องกระทำด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่าอุมัร ได้คาดโทษต่อ ซะอัด บิน อุบาดะฮฺ ด้วยการประหารชีวิต เพราะไม่ยอมให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ และได้กล่าวว่า

“พวกท่านจงสังหารเขาเสียเถิด เพราะแท้จริงเขาเป็นพวกก่อฟิตนะฮฺ” (112)

หลังจากนั้น เขายังได้คาดโทษบรรดาคนที่ขัดขืนซึ่งอยู่ในบ้านของท่านอะลี(อฺ) โดยจะเผาบ้านรวมทั้งคนในบ้าน เมื่อเรารู้ซึ้งถึงความผิดของท่านอุมัร อิบนุค็อฏฏอบในเรื่องการให้บัยอะฮฺ เราจึงเข้าใจในภายหลังว่า ยังมีอีกมากที่นับว่าเป็นเรื่องชวนให้อนาถใจ

ท่านอุมัรเห็นว่า สำหรับการทำให้การบัยอะฮฺมีความถูกต้องนั้น ถือว่าใช้ได้โดยมีมุสลิมคนหนึ่งดำเนินล่วงหน้าไปก่อนแล้ว จำเป็นสำหรับอื่นๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามและถ้าใครขัดขืน ก็เท่ากับเขาเป็นคนทรยศต่ออิสลามและจำเป็นต้องประหารชีวิต

เราลองมาฟังดูท่านพูดเกี่ยวกับตัวของท่านเอง ในเรื่องการให้บัยอะฮฺตามที่ท่านบุคอรีรายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน(113)

ท่านกล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นที่ซะกีฟะฮฺ ได้ถูกเล่าขานดังนี้ : มีการเขม่นกันอย่างมาก และมีการใช้เสียงดัง (หมายถึงโต้เถียงกัน) จนกระทั่งฉันได้แยกตัวออกมาจากความขัดแย้ง

ฉันได้กล่าวว่า “ยื่นมือของท่านมาเถิด ท่านอะบูบักรฺ”

เมื่อเขายื่นมือมาฉันที่ทำการบัยอะฮฺทันที แล้วชาวอัล-มุฮาญิรีนก็ให้บัยอะฮฺ(114) และชาวอันศอรด้วย พวกเราคาดโทษต่อซะอัด บินอุบาดะฮฺ

มีคนหนึ่งในหมู่พวกเขากล่าวว่า “พวกท่านฆ่า ซะอัด บินอุบาดะฮฺ”

ฉันกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงสังหารซะอัด บินอุบาดะฮฺ”

อุมัรกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พวกเราไม่เคยพบเห็นกิจการใดๆ ที่พวกเราดำเนินกันมาว่าจะมีอะไรที่มีน้ำหนักมากกว่าการให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ พวกเรากลัว ถ้าหากว่าเราแตกออกจากพรรคพวกและไม่มีการให้บัยอะฮฺ พวกเขาจะให้บัยอะฮฺกับชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขา บางทีเราอาจให้บัยอะฮฺพวกเขาในสิ่งที่เราไม่พอใจ และบางทีเราขัดแย้งกับพวกเขาซึ่งจะเกิดความเสียหาย

ดังนั้น ที่ให้บัยอะฮฺกับบุคคลหนึ่งโดยมิได้เกิดจากการชูรอของมวลมุสลิม ก็อย่าได้ทำตามเขา และห้ามตามคนที่ให้บัยอะฮฺนั้น อันเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการที่เขาทั้งสองคนจะถูกสังหาร”

หลักใหญ่สำหรับท่านอุมัร มิใช่เรื่องการเลือกตั้ง ไม่ใช่เรื่องการชูรอ หากแต่ท่านถือเอาเพียงการที่คนๆ หนึ่งในหมู่มุสลิมรีบออกหน้าในการให้บัยอะฮฺ ก็จะเป็นหลักฐานสำหรับคนอื่น

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวกับอะบูบักรฺว่า “ยื่นมือของท่านมาเถิดอะบูบักรฺ”

เมื่อเขายื่นมือมา ท่านก็ให้บัยอะฮฺแก่เขาโดยไม่ต้องมีการชูรอ และไม่ลังเลใจโดยกลัวว่าจะมีคนอื่นกระทำล่วงหน้ากับการนั้น ท่านอุมัรอธิบายตรงนี้เกี่ยวกับความเห็นของท่านว่า เรากลัวว่า หากเราแตกออกจากพรรคพวกและไม่มีการให้บัยอะฮฺ พวกเขาจะต้องให้บัยอะฮฺกับบุคคลหนึ่งหลังจากเรา อุมัรกลัวว่าชาวอันศอรจะดำเนินการก่อน เพราะพวกเขาจะให้บัยอะฮฺแก่ชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เรายิ่งได้ความกระจ่างเพิ่มมากขึ้นเมื่อเขากล่าวว่า

“บางที่เราอาจให้บัยอะฮฺพวกเขาในสิ่งที่เราไม่พอใจ และบางทีเราอาจขัดแย้งกับพวกเขา อันจะเกิดความเสียหาย”(115)

ถึงแม้เราจะมีความยุติธรรมในการตัดสิน และมีความละเอียดในการค้นคว้า ก็จำเป็นแก่เราที่ต้องยอมรับว่า อุมัร บินค็อฏฏอบ ได้เปลี่ยนแปลงความคิดนเรื่องบัยอะฮฺ ในบั้นปลายของชีวิต ทั้งนี้จะเป็นได้เมื่อมีชายคนหนึ่งมาหาท่านโดยการนำมาของอับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ เมื่อตอนทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่าน

เขากล่าวว่า “โอ้ อะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะว่าอย่างไรกับคนๆ หนึ่งที่กล่าวว่า หากอุมัรตาย ฉันจะให้บัยอะฮฺกับคนๆ นั้น ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ การบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺหาใช่อื่นใด นอกจากความบังเอิญซึ่งได้จบไปแล้ว”

ปรากฏว่า ท่านอุมัรโกรธมาก ด้วยเหตุนี้เขาจึงขึ้นคุฏบะฮฺต่อประชาชนทันทีที่กลับไปถึงมะดีนะฮฺ ใจความตอนหนึ่งที่กล่าวในคุฏบะฮฺคือ :

“มีข่าวมาถึงฉันว่าคนๆ หนึ่งในหมู่พวกท่านพูดว่า ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ หากอุมัรตาย ฉันจะให้บัยอะฮฺกับคนๆ นั้น ดังนั้น เขาอย่าปล่อยให้กิจการใดหลอกลวงเขาเป็นอันขาด”

จนกระทั่งเขาพูดว่า “การบัยอะฮฺต่อ อะบูบักรฺเป็นความบังเอิญ แต่มันได้จบไปแล้ว แน่นอน เรื่องมันเป็นอย่างนั้นจริง แต่ทว่าอัลลอฮฺทรงปกป้องความชั่วร้ายของมันไว้ได้...”(116)

หลังจากนั้นเขากล่าวว่า

“ใครก็ตามที่ให้บัยอะฮฺกับบุคคลหนึ่งโดยไม่มีการชูรอจากมวลมุสลิมก็ไม่ถือว่าอันนั้นเป็นบัยอะฮฺ และผู้ที่ให้บัยอะฮฺนั้น ก็มิใช่ด้วย มันล่อแหลมต่อการที่เขาทั้งสองจะถูกสังหาร...” (117)

ทำไมอุมัรจึงไม่มีความคิดเช่นนี้ในวันซะกีฟะฮฺ เพื่อมิได้บังคับมวลมุสลิม ให้ทำบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ ซึ่งถือเป็นความบังเอิญ ที่อัลลอฮฺทรงปกป้องความชั่วของมันไว้ ตามที่ท่านอุมัรได้ยืนยันไว้เช่นนั้น แต่เป็นไฉนที่อุมัร จึงมีความคิดใหม่เช่นนี้ เพราะท่านได้ออกกฏพิพากษาตัวเอง และสหายของท่านด้วยการสังหาร ขณะที่เขากล่าวให้ความเห็นครั้งใหม่ว่า

“ใครก็ตามที่ให้บัยอะฮฺกับบุคคลหนึ่งโดยไม่มีการชูรอจากมวลมุสลิมก็ไม่ถือว่าอันนั้นเป็นบัยอะฮฺ และผู้ให้บัยอะฮฺก็มิใช่ด้วย มันล่อแหลมต่อการที่เขาทั้งสองจะถูกสังหาร...”

เราคงจะต้องรู้ให้ได้ว่าทำไมท่านอุมัรถึงเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเองในบั้นปลายของชีวิต เนื่องจากเป็นที่รู้กันโดยมากว่าความคิดใหม่ของท่านนั้นเป็นการอุทธรณ์ต่อการบัยอะฮฺแก่อะบูบักรฺนับจากพื้นฐานของมันเลยทีเดียว ทั้งที่ท่านเป็นคนที่ให้บัยอะฮฺต่อเขาล่วงหน้าโดยไม่มีการชูรอจากมวลมุสลิมแต่อย่างใด ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน

และท่านก็ได้อุทธรณ์ต่อการทำบัยอะฮฺแก่ท่านเองอีกด้วย เพราะว่าท่านเข้าสู่ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺโดยการบัยอะฮฺของอะบูบักรฺ เมื่อตอนใกล้จะตายโดยไม่มีการชูรอจากมวลมุสลิม จนกระทั่งมีศ่อฮาบะฮฺบางคนเข้าพบอะบูบักรฺ แล้วคัดค้านต่อเขาที่แต่งตั้งบุคคลที่ชอบความรุนแรงให้ปกครองพวกตน(118)

ครั้นเมื่ออุมัรได้ออกมาเพื่ออ่านหนังสือของอะบูบักรฺที่ให้ประกาศต่อประชาชน

มีชายคนหนึ่งถามว่า “โอ้ อะบูชฮัฟศ์(อุมัร) ในหนังสือนี้มีอะไรบ้าง?”

เขาตอบว่า “ไม่รู้ แต่ฉันจะเป็นคนแรกที่ยอมรับและปฏิบัติตาม”

ชายคนนั้นกล่าวว่า “แต่ทว่า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันรู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น ท่านให้เขาเป็นผู้ปกครองเมื่อปีก่อน ปีนี้เขาก็ให้ท่านเป็นผู้ปกครองอีก” (119)

นี่คือคำพูดที่คล้ายคลึงกับคำพูดที่ท่านอิมามอะลี(อฺ)เคยพูดกับอุมัร เมื่อตอนที่ท่านเห็นว่าอุมัร พยายามบังคับผู้คนให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺ

ท่านกล่าวว่า “จงดูดนมจากเต้าของเขาให้เต็มที่ และจงสนับสนุนงานของเขา วันนี้เป็นทีของเขาจะนำมันกลับมาให้ท่านเอง” (120)

ข้อสำคัญก็คือ ทำไมอุมัรจึงได้เปลี่ยนความคิดของตนในเรื่องการทำบัยอะฮฺ ข้าพเจ้าอยากจะเชื่อว่าเพราะเขาคงได้ยินศ่อฮาบะฮฺบางคนต้องการจะทำบัยอะฮฺให้แก่ท่านอะลี อิบนุ อะบีฏอลิบ(อฺ) หลังจากอุมัรตายและนี่คือสิ่งที่อุมัรไม่พอใจเลยตลอดกาล เพราะเขาเองเคยคัดค้านข้อบัญญัติอันชัดแจ้งและคัดค้านมิให้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เขียนข้อความนั้นให้แก่พวกเขา(121)

เพราะเป็นที่รู้กันว่า เขายับยั้งท่านนบี(ศ) จนกระทั่งกล่าวหาว่าท่านนบี(ศ) เพ้อเจ้อ และข่มขู่ประชาชนจนกระทั่งพวกเขาพูดว่าท่านนบี(ศ)ตาย(122) ทั้งนี้ก็เพราะไม่ให้ประชาชนคนใดทำการบัยอะฮฺล่วงหน้าแก่ท่านอะลี(อฺ) และได้ชิงทำการบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺเสียก่อนแล้วบังคับประชาชนให้ทำตามนั้นด้วย

อีกทั้งข่มขู่พวกเขาทุกคนที่ขัดขืนว่า ต้องประหารชีวิต ทุกอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นหนทางที่ทำให้ท่านอะลี(อฺ)ต้องถอยห่างจากตำแหน่งค่อลีฟะฮฺทั้งสิ้น เขาจะพอใจได้อย่างไร เมื่อมีคนมาพูดกับท่านว่า

“เขาจะให้บัยอะฮฺแก่ชายคนนั้นคนนี้ ถ้าหากอุมัรตายลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังได้มีการปกปิดชื่อของชายคนที่พูดคนนั้นจนไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องเป็นศ่อฮาบะฮฺคนสำคัญท่านหนึ่งแน่นอน”

เขาได้ทักท้วงสิ่งที่อุมัรกระทำลงไปในการบัยอะฮฺอะบูบักรฺนั้น โดยกล่าวว่า “ขอสาบายด้วยพระนามของอัลลอฮฺ การให้บัยอะฮฺแก่อะบูบักรฺ หาใช่อื่นใดไม่นอกจากเป็นเรื่องฉุกเฉิน ซึ่งมันก็จบไปแล้ว”

หมายความว่า ถึงแม้เรื่องของมันจะเกิดขึ้นในยามที่มวลมุสลิมวางเฉยโดยที่มิได้มีการชูรอจากพวกเขาเลยมันก็จบสิ้นลงแล้ว และมันก็ได้กลายเป็นความจริงไปแล้ว และเมื่อมีการผ่อนผันให้อุมัรกระทำอย่างนั้นกับอะบูบักรฺได้ จะเป็นอย่างไรที่ไม่ผ่อนผันให้เขากระทำอย่างเดียวกันนั้นกับคนนั้นคนนี้บ้าง

เราจะสังเกตเห็นที่ตรงนี้ได้เลยว่า ทั้งอิบนุอับบาซ อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ และอุมัร บินค็อฏฏอบ ต่างพากันปกปิดชื่อของคนพูดผู้นี้ เช่นเดียวกับปกปิดชื่อคนที่ต้องการจะทำบัยอะฮฺ และแน่นอน บุคคลทั้งสองนี้จะต้องเป็นคนสำคัญระดับสูงในหมู่มุสลิม

เราจะเห็นว่าท่านอุมัรโกรธคำพูดตรงนี้ และทันทีทันใด ในศุกร์แรกท่านก็กล่าวคุฏบะฮฺต่อประชาชน แล้วกล่าวถึงหัวข้อเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺแล้วได้เสนอความคิดใหม่ให้แก่พวกเขาในคราวนั้น เพื่อเป็นการตัดหนทางจากชายคนนี้ซึ่งต้องการใช้วิธีแบบฉุกเฉินอีก เพราะว่ามันจะเป็นโอกาสดีสำหรับคู่พิพากษ์ของท่าน โดยเหตุที่เราเข้าใจมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าคำพูดนี้มิใช่เป็นความคิดของคนๆ นี้ผู้เดียว หากแต่เป็นความคิดเห็นของศ่อฮาบะฮฺจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ท่านบุคอรีจึงกล่าวว่า :

แล้วท่านอุมัรก็โกรธ หลังจากนั้น เขากล่าว่า “อินชาอัลลอฮฺ ฉันจะต้องดักซุ่มอยู่ในหมู่ประชาชนตอนกลางคืนเพื่อคอยระมัดระวังคนเหล่านั้น ผู้ซึ่งต้องการจะกระทำมิชอบต่อพวกเขาในกิจการงานของพวกเขา...” (124)






๑๐
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ดังนั้น การเปลี่ยนความคิดของท่านอุมัร จึงเป็นผลลัพธ์และเป็นการตอบโต้กับพวกเหล่านั้นที่ต้องการจะกระทำมิชอบต่อกิจการของประชาชนด้วยการให้บัยอะฮฺต่ออะลี(อฺ) และนี่คือ สิ่งที่อุมัรไม่พอใจ เพราะเขาเชื่อมั่นว่าตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ คือกิจการของประชาชน และมิใช่สิทธิของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ถ้าหากความเชื่อนี้ถูกต้อง ทำไมเขาจึงยอมใหตัวเองกระทำการมิชอบต่อประชาชนในกิจการของพวกเขา หลังจากท่านนบี(ศ)เสียชีวิต ซึ่งเขารีบเร่งให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺโดยไม่มีการชูรอจากมวลมุสลิมเลย?

จุดยืนของอะบูฮัฟศ์(อุมัร)กับอะบูฮะซัน(อิมามอะลี)นั้นเป็นที่รู้ และเลื่องลือกันมาก และเขาเป็นผู้ที่พยายามทุกวิถีทางอย่างสุดความสามารถที่จะให้ท่านอิมามอะลี(อฺ)ห่างไกลจากอำนาจการปกครอง

ข้อสรุปอันนี้ เรายังมิได้พิจารณาประกอบกับคุฏบะฮฺในคราวก่อนของท่านเลย แต่ผู้ที่ติดตามศึกษาประวัติศาสตร์ ย่อมรู้ดีว่า อุมัร บินค็อฏฏอบนั้นเป็นผู้ปกครองตัวจริงตั้งแต่ในสมัยอะบูบักรฺ ทั้งนี้เพราะเราเห็นได้ว่าอะบูบักรฺ ได้ขออนุญาตต่อท่านอุซามะฮฺ บินซัยดฺ ให้ปล่อยตัวท่านอุมัร บินค็อฏฏอบมาช่วยเหลืองานของท่านในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ(125) พร้อมกันนี้เราได้เห็นว่า ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)นั้น ยังอยู่ห่างไกลจากความรับผิดชอบ

กล่าวคือ ท่านมิได้ถูกแต่งตั้งให้รับตำแหน่งใดๆ ไม่มีอำนาจใดๆ ไม่มีทั้งในด้านการทหาร และไม่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลการคลัง ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาอันยาวนานทั้งสมัยค่อลีฟะฮฺของอะบูบักรฺ และอุษมาน

เราทั้งหลายต่างรู้ดีว่า อะลี บินอะลีฏอลิบ คือใคร ?

ที่น่าแปลกว่าเรื่องนี้ทั้งหมดก็คือว่า เราได้อ่านหนังสือตารีคเล่มต่างๆว่า เมื่อตอนท่านอุมัรจะเสียชีวิตนั้น ท่านเสียใจที่อะบูอุบัยดะฮฺ อิบนุญัรรอฮฺ หรือซาลิม นายของเขาอะบูฮุซัยฟะฮฺ ไม่มีชีวิตอยู่เสียแล้วในเวลานั้น เพื่อที่ว่า ท่านจะได้มอบหมายหน้าที่การปกครองสืบต่อหลังจากท่าน แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ก่อนหน้าที่เขาจะเปลี่ยนความคิดเรื่องการบัยอะฮฺแบบนี้ที่ถือว่าเป็นความบังเอิญและเป็นการกระทำมิชอบต่อกิจการของมวลมุสลิมนั้น

แน่นอนท่านกำลังจะถางทางใหม่ในการบัยอะฮฺ เพื่อที่จะได้ตกอยู่ภายในหมู่พวกพ้องวงใน โดยที่ไม่มีใครดำเนินการล่วงหน้าในการบัยอะฮฺ แก่คนที่เขาเห็นว่าเหมาะสม และต้องให้ประชาชนทำบัยอะฮฺตาม เหมือนอย่างที่เขากระทำกับอะบูบักรฺ และที่อะบูบักรฺกระทำกับเขา หรือเหมือนอย่างที่คนๆ นั้นต้องการจะกระทำซึ่งกำลังรอให้อุมัรตายก่อน เพื่อจะได้บัยอะฮฺแก่พรรคพวกของตน ดังกล่าวนี้จะเป็นไปมิได้หลังจากที่อุมัรตัดสินว่า เป็นเรื่องฉุกเฉิน และเป็นการกระทำมิชอบ และเขาจะละทิ้งการชูรอจากมวลมุสลิมไม่ได้อีกเช่นกัน

เพราะเมื่อตอนที่เขาเข้าประชุมที่ซะกีฟะฮฺ หลังจากท่านนบี(ศ)วะฟาต เขาได้เห็นด้วยตาทั้งสองของเขาว่า ความขัดแย้งได้เกิดขึ้น เกือบจะสูญเสียและเกิดการนองเลือดกันมาแล้ว

ครั้งหลังสุด เขาได้เสนอแนวความคิดให้มีกลุ่มชูรอ หรือจำนวนหกคน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้จะได้ถูกเลือกเป็นค่อลีฟะฮฺ และจะไม่มีมุสลิมคนใดสามารถจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับพวกเขาในเรื่องนี้ได้เลย และท่านอุมัรรู้ดีว่า ความขัดแย้งระหว่างบุคคลทั้ง 6 ไม่แคล้วจะต้องเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้สั่งเสียว่า ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ให้พวกเขาเข้ากับฝ่ายที่มี อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ ถึงแม้จะต้องฆ่าฝ่ายสามคนที่ขัดแย้งกับอับดุลเราะฮฺมาน นี่คือรูปแบบของคำสั่งถ้าทั้งหกคนแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ซึ่งเป็นไปไม่ได้

เพราะท่านอุมัร รู้ดีว่า ซะอัด บินอะบีวักกอซนั้น เป็นหลายชายของอัลดุลเราะฮฺมาน คนทั้งสองมาจากตระกูลบะนี ซะฮฺเราะฮฺ และเขารู้ดีว่า ซะอัดนั้นไม่ชอบพอกับอะลี (อฺ) เพราะในจิตใจของเขายังมีความขุ่นเคืองอยู่ เพราะเหตุว่าอะลี(อฺ)เคยสังหารน้าอาเช่น อัลดุชัมส์ ขณะเดียวกัน อุมัรก็รู้ดีว่า อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ มีความเกี่ยวดองกันกับอุษมาน เพราะภรรยาของอับดุลเราะฮฺมานคือ กุลษูม น้องสาวของ อุษมาน และเขายังรู้ดีอีกว่า ฏ็อลฮะฮฺ นั้น มีใจโน้มในทางของอุษมานอยู่แล้ว เพราะทั้งสองมีความสัมพันธ์กันตามที่นักรายงานริวายะฮฺบางท่านเคยได้กล่าวถึง

แน่นอนการที่เขาเข้าข้างอุษมาน ก็เท่ากับหันเหจากอะลี(อฺ)อยู่แล้ว เพราะว่าเขาคือคนในตระกูลตัยมี เนื่องจากตระกูลบะนีฮาชิมกับตระกูลตัยมี มีความบาดหมางกันมาเมื่อครั้งที่ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺได้แก่อะบูบักรฺ(126)

อุมัรรู้เรื่องเหล่านี้ดีทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้เท่ากับว่า การคัดเลือกของบุคคลเหล่านี้ เป็นการคัดเลือกของอุมัรเอง เขาเหล่านี้ทั้งหก ล้วนเป็นชาวกุเรช ทุกคนล้วนเป็นชาวมุฮาญิรีน ในกลุ่มไม่มีชาวอันศอรเลยแม้สักคนเดียว ทุกคนทำหน้าที่และอยู่ในฐานะชี้นำเผ่าของตน และมีความสำคัญสำหรับเผ่า

1. อะลี บินอะบีฏอลิบ หัวหน้าตระกูลบะนีฮาชิม

2. อุษมาน บินอัฟฟาน หัวหน้าของตระกูลอุมัยยะฮฺ

3. อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ หัวหน้าตระกูลบะนีซะฮฺเราะฮฺ

4. ซะอัด บินอะบีวักกอศ เป็นคนจากตระกูลบะนีซะฮฺเราะฮฺ น้าอาของเขาคือตระกูลอุมัยยะฮฺ

5. ฏอลฮะฮฺ บินอุบัยดิลลาฮฺ เขาคือประมุขของบะนีตะมีม

6. ซุเบร บินอัล-เอาวาม เขาคือบุตรของศ่อฟียะฮฺ ป้าของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เขาคือสามีของอัซมาอฺ บุตรีของอะบูบักรฺ

คนเหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นอะฮฺลุล-ฮัล วัล-อักด์ (นักแก้ปัญหาและวางหลักเกณฑ์ในอิสลาม) การวางกฎเกณฑ์ของพวกเขามีผลบังคับต่อมุสลิมเสมอกันไม่ว่าจะอยู่ในมะดีนะฮฺ(เมืองหลวงของค่อลีฟะฮฺ) หรือนอกเหนือจากนั้นในโลกอิสลาม ทุกหนทุกแห่งมวลมุสลิมทั้งหลายจะเป็นอื่นมิได้ นอกจากจะต้องเชื่อฟังทำตาม (ฏออัต) โดยไม่มีการโต้แย้ง ผู้ใดที่ออกนอกแนวทางของพวกเขา ถือว่าจะต้องถูกหลั่งเลือด อันนี้เองที่เราต้องการจะสรุปแก่จิตสำนึกของท่านผู้อ่านเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงเกิดการยอมจำนนอย่างเงียบเชียบ ไม่มีการกล่าวถึงข้อบัญญัติอัล-เฆาะดีร ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

เมื่อปรากฏว่าท่านอุมัร รู้ซึ้งถึงความในใจ แรงปรารถนาและจุดมุ่งหมายของคนทั้งหกเป็นอย่างดี ก็หมายความอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาผลักดันให้อุษมานเป็นค่อลีฟะฮฺหรือความจริงแล้ว เขารู้ดีว่า ส่วนมากในจำนวนคนทั้งหกนี้ไม่พอใจต่ออะลี(อฺ)อยู่แล้ว มิฉะนั้น แล้วทำไม และโดยสิทธิอันใดที่เขาให้น้ำหนักไปทางอับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ มากกว่าอะลี อิบนุอะบีฏอลิบ(อฺ) ในขณะที่มวลมุสลิมทั้งหลาย นับตั้งแต่วันแรกที่มีจนกระทั่งถึงวันนี้ พวกเขาจะขัดแย้งกันในเรื่องของคุณงามความดีว่าใครเหนือกว่าระหว่างอะลี(อฺ) กับอะบูบักรฺเท่านั้น แต่ไม่เคยมีใครได้ยินการเปรียบเทียบอะลี(อฺ) กับ อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ สักคนเดียว

ตรงนี้ ถือว่าจำเป็นต้องหยุดคิดกันสักนิดหนึ่ง ข้าพเจ้าจะขอถามบรรดาอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ บรรดาผู้ที่ชอบคุยโวเกี่ยวกับเรื่องที่มาของการชูรอ และบรรดานักคิดอิสระทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถามคนเหล่านี้ทั้งหมดว่าพวกท่านจะยอมรับได้อย่างไร ระหว่างการชูรอกับข้อเสนอที่ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบมีขึ้น จากความคิดนี้ที่ว่า ถ้าหากจะบ่งชี้ถึงอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็จะหมายความแต่เพียง การเผด็จการทางความคิดนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะท่านเป็นคนเลือกคนเหล่านนั้นขึ้นมาเอง ไม่มีบรรดามุสลิมคนใดมีส่วนด้วยเลย และในเมื่อการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านคือเรื่องบังเอิญเป็นไปแบบฉุกเฉิน แล้วท่านมีสิทธิอะไรที่วางข้อกำหนดแก่มวลมุสลิมทั้งหลายให้ขึ้นกับคนเหล่านั้นทั้งหก?

อย่างน้อยที่สุด เราก็ยอมรับว่า ระบอบการปกครองในอิสลามตามความเห็นของคนเหล่านั้น มิได้เป็นระบอบประชาธิปไตย เหมือนอย่างที่ผู้สนับสนุนระบบการชูรอ และการเลือกตั้งพยายามเข้าข้างอยู่

บางทีท่านอุมัรเองก็มิได้เชื่อถือในหลักการชูรอบนพื้นฐานอันนี้แต่ประการใด หากแต่ท่านเห็นแต่เพียงว่าตำแหน่งค่อลีฟะฮฺนั้นเป็นสิทธิประการหนึ่งของบรรดามุฮาญิรีนฝ่ายเดียว และมิใช่สิทธิของบุคคลใดที่จะขจัดพวกเขาออกไปจากกิจการอันนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอุมัรก็ยังเชื่อเหมือนอย่างที่ท่านอะบูบักรฺเชื่อ นั่นก็คือเชื่อถือว่าตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวกุเรชเพียงพวกเดียวเท่านั้น เพราะว่าในบรรดาพวกมุฮาญิรีนมิได้เป็นชาวกุเรชทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นในหมู่พวกเขายังมีคนที่ไม่ใช่ชาวอรับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น จึงไม่ใช่สิทธิของซัลมาน อัล-ฟาร์ซี และมิใช่สิทธิของอัมมัร บินยาซิร

ไม่ใช่สิทธิของท่านบิลาล อัล-ฮับชี มิใช่สิทธิของศุฮัยบ อัร-รูมี และมิใช่สิทธิของอะบูซัร ฆ็อฟฟารี อีกทั้งมิใช่สิทธิของศ่อฮาบะฮฺอีกจำนวนหลายพันคนซึ่งเขาเหล่านั้นมิใช่ชาวกุเรช จึงไม่มีสิทธิ์ที่เขาเหล่านั้นจะพูดถึงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ

อันนี้มิใช่เป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้นหามิได้ อันที่จริงแล้วมันคือความเชื่อถือของพวกเขาที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้สำหรับพวกเขา และบรรดานักฮะดีษก็ได้กล่าวไว้อีกด้วย เราลองหวนกลับมาพิจารณาดูคำปราศรัยตอนหนึ่งที่ท่านบุคอรี และมุสลิมได้นำมาบันทึกไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของท่านทั้งสอง

ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าต้องการที่จะพูด ขณะที่ข้าพเจ้าได้เตรียมถ้อยคำที่น่าพอใจสำหรับข้าพเจ้าอยู่ประการหนึ่ง ข้าพเจ้าต้องการที่จะนำมันมาเสนอต่อท่านอะบูบักรฺ เพราะข้าพเจ้าต้องการที่จะปรึกษากับท่านในบางหัวข้อ ครั้นพอข้าพเจ้าต้องการจะพูด ท่านอะบูบักรฺได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านอยู่เฉยๆ เถิด ข้าพเจ้าไม่อยากจะโกรธเคืองท่าน” ครั้นแล้วท่านอะบูบักรฺก็ได้พูด ปรากฏว่าท่านมีความเฉลียวฉลาดกว่าข้าพเจ้า และท่านมีความสุขุมรอบคอบกว่า ขอสาบาน ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ท่านมิได้ทิ้งถ้อยคำใดๆ ที่ฉันมีความพอใจในการเตรียมคำพูดมาเลย คือท่านได้พูดตรงกันกับถ้อยคำที่ข้าพเจ้าเตรียมไว้ทุกอย่าง หรือดีกว่าด้วยซ้ำ จนกระทั่งข้าพเจ้านิ่งเงียบ โดยท่านกล่าวว่า

“สิ่งที่พวกท่านพูดกันในหมู่พวกท่านว่าพวกท่านมีสิทธิ์ในตำแหน่งนั้นไม่เป็นการดีแต่อย่างใดเลย(เป็นคำพูดที่มีต่อชาวอันศอร)จะไม่มีใครรู้จักภารกิจอันนี้ได้ นอกจากชาวกุเรช”(127)

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าท่านอะบูบักรฺและท่านอุมัร มิได้เชื่อถือในหลักการของชูรอ และการคัดเลือกแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า อะบูบักรฺได้ทักท้วงต่อชาวอันศอรด้วยฮะดิษหนึ่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า “ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺนั้นต้องอยู่ในตระกูลกุเรช”

นี่คือฮะดีษที่ถูกต้องและเป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย (ดังเช่นที่อัล-บุคอรีและมุสลิมได้ระบุในเรื่องนี้ ตลอดทั้งตำราศอฮีฮฺทุกเล่มจากสายซุนนะฮฺและชีอะฮฺ) ว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า “ค่อลีฟะฮฺหลังจากฉันมีสิบสอง ทั้งหมดนั้นมาจากตระกูลกุเรช”

ยังมีอีกคือท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า “กิจการนี้ยังคงอยู่ตลอดไปในพวกกุเรช ถึงแม้มนุษย์จะเหลือเพียงสองคนก็ตาม” (128)

อีกฮะดีษหนึ่งท่าน(ศ)กล่าวอีกว่า “มนุษย์คือ ผู้ปฏิบัติตามพวกกุเรชทั้งในแง่ดีและชั่ว” (129)

เพราะฉะนั้น บรรดามวลมุสลิมเมื่อยังเชื่อถือฮะดีษเหล่านี้อยู่ เขาจะพูดได้อย่างไร ท่านนบี(ศ)ปล่อยเรื่องศาสนาให้เป็นไปตามระบบชูรอระหว่างบรรดามุสลิมด้วยกันเอง เพื่อเลือกใครก็ได้ตามที่พวกตนต้องการ

การพูดเช่นนี้ถือเป็นความบกพร่องมิใช่หรือ โอ้ ท่านผู้มีปัญญา ???

เราไม่สามารถจะสรุปได้ว่า นี่คือความบกพร่อง เว้นแต่ ถ้าเราได้ยึดถือคำรายงานของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺและบรรดาชีอะฮฺของพวกเขา และคำรายงานของนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ บางท่านที่ยืนยันว่า ท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีข้อบัญญัติแต่งตั้งบรรดาค่อลีฟะฮฺ และได้ระบุถึงจำนวนที่แน่นอน และระบุถึงรายชื่อของพวกเขา ด้วยสิ่งนี้แหละที่ทำให้เราเข้าใจถึงจุดยืนของอุมัร และจัดตัวเองให้เป็นค่อลีฟะฮฺในตระกูลกุเรช ขณะที่ท่านอุมัร

เป็นที่รู้กันว่า ท่านเคยทำการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อบัญญัติที่บอกกล่าวไว้อย่างชัดแจ้งแม้กระทั่งในสมัยที่ท่านนบี(ศ)ยังมีชีวิตอยู่ เช่นในการทำสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ(130) การทำนมาซให้พวกมุนาฟิก(131) สร้างความมัวหมองให้เกิดขึ้นในพฤหัสบดี(132) ห้ามการแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับเรื่องสวรรค์ (133)

และเรื่องใหญ่ที่สุดได้แก่เรื่องที่เรากำลังกล่าวถึงจึงมิใช่เรื่องแปลก เมื่อท่านนบี(ศ)วะฟาต แล้วว่าเขาจะมีข้อวินิจฉัยในข้อบัญญัติจากฮะดีษที่ว่าด้วยตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ เขาจึงมองไม่เห็นความจำเป็นจะต้องยอมรับข้อบัญญัติการแต่งตั้ง อะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ(อฺ) ซึ่งเป็นคนอายุน้อยในตระกูล แต่เขาได้เจาะจงจะให้ฮะดีษนี้มีความหมายไปถึงชาวกุเรชโดยรวม จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ท่านอุมัรได้เลือกคนทั้งหกขึ้นมา ก่อนตัวเองจะตาย ซึ่งนับว่าล้วนเป็นผู้ใหญ่ของตระกูลกุเรช เพื่อจะได้ตรงตามความหมายของฮะดีษท่านนบี(ศ) และใครๆ ก็จะว่าอะไรเขามิได้

เพราะกิจการนี้ เป็นอภิสิทธิ์ของชาวกุเรชฝ่ายเดียวในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ บางทีการนำท่านอะลี(อฺ) เข้าไปรวมอยู่ในกลุ่มด้วย ก็เพราะท่านรู้อยู่แล้วว่าคนเหล่านี้จะไม่คัดเลือกท่านอะลี(อฺ)อย่างแน่นอน มันเป็นเหตุผลหนึ่งของท่านอุมัรที่บังคับท่านอะลี(อฺ)ให้เข้าสู่การเมืองเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เพื่อจะมิให้มีข้ออ้างใดๆ สำหรับพรรคพวกของท่านอะลี(อฺ) และผู้จงรักภักดีต่อท่าน ที่กล่าวว่าท่านคือผู้มีสิทธิอันดับหนึ่ง แต่ท่านอะลี(อฺ)ได้เล่าความเหล่านี้ทุกอย่างไว้ในคุฏบะฮฺของท่านต่อหน้าประชาชนทั้งหลาย โดยท่านกล่าวในเรื่องนี้ว่า

“ฉันต้องอดทนเป็นเวลายาวนาน และเป็นการทดสอบที่รุนแรงยิ่ง จนกระทั่งเหตุการณ์ได้ผ่านไปสำหรับวิถีทางของเขา แล้วเขาก็ดำเนินการให้เรื่องนี้อยู่ในความเห็นของญะมาอะฮฺหนึ่ง ซึ่งเขาอ้างว่าฉันก็เป็นหนึ่งในจำนวนคนเหล่านั้น ด้วยพระนามของอัลอฮฺ สำหรับการชูรอเป็นมาแต่เมื่อไหร่ที่พวกเขาสงสัยในตัวฉันโดยเทียบเสมอกับบุคคลแรกของพวกเขา จนกระทั่งต้องมาอยู่ในระดับเดียวกับบุคคลต่างๆ นี้ แต่อย่างไรก็ตามฉันได้แต่อดทน

ดังนั้น หนึ่งจากบรรดาพวกเขาได้หันเหออกจากสัจธรรมที่แท้จริง (ซะอัด บินอะบีวักกอศ) ส่วนอีกคนหนึ่งเนื่องจากเป็นน้องเขยของอีกคนหนึ่งก็เลยหันเหออกจากฉัน (หมายถึงอับดุลเราะฮฺมานที่เลือกอุษมาน) ส่วนที่เหลือก็อย่าให้กล่าวเลย”

5. ท่านอิมามอะลี(อฺ) ได้ประท้วงต่อพวกเขาในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เป็นการกระทำที่ปราศจากความรุนแรง และท่านอะลี(อฺ)ไม่เคยใช้ความพยายามบังคับคนที่ให้ทำการบัยอะฮฺ ในเมื่อคนเหล่านั้น มีจิตใจโน้มเอียงไปยังคนอื่นไม่ว่าจะด้วยความอิจฉาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความดีงามของพระองค์แก่ท่านหรืออาจเป็นไปด้วยความเคียยดแค้นต่อท่าน เพราะเหตุว่าท่านเคยสังหารบุคคลสำคัญในหมู่พวกเขาเหล่านั้น ท่านเคยล้มคนกล้าในหมู่พวกเขา ท่านเคยโจมตีแสกหน้าของพวกเขา

ท่านเคยทำให้พวกเขาตกต่ำ และเคยทำลายความองอาจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา ด้วยคมดาบและด้วยความกล้าหาญของท่าน จนกระทั่งพวกเขาต้องยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม และในขณะเดียวกันนั้น ท่านก็เป็นผู้รองรับดูดซับวิชาการจากท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นบุตรของท่านอา โดยมิเคยหวาดหวั่นต่อคำครหาของมนุษย์ และไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะทำลายความตั้งใจของท่านได้

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีด้วยความตระหนักในจิตใจ ในทุกโอกาสท่านจึงกล่าวถึงคุณงามความดีของพี่น้องของท่านและบุตรของลุงของท่าน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นรักต่อท่านโดยท่าน(ศ)กล่าวว่า

“ความรักที่มีต่ออะลีคือความศรัทธา ความโกรธเกลียดอะลี คือ การเป็นมุนาฟิก” (134)

ท่าน(ศ) กล่าวอีกว่า “อะลีมาจากฉัน และฉันมาจากอะลี” (135)

ท่าน(ศ) กล่าวอีกว่า “อะลีเป็นวะลีของผู้ศรัทธาทุกคนภายหลังจากฉัน” (136)

ท่าน(ศ) ยังกล่าวอีกว่า “อะลีคือประตูแห่งนครความรู้ของฉัน และเป็นบิดาของบุตรทั้งสองของฉัน(137) และท่านยังกล่าวอีกว่า อะลีคือประมุขของมวลมุสลิม...และเป็นอิมามของมุตตะกีน และเป็นผู้นำของบรรดาคนเคร่งครัดต่อศาสนา” (138)

แต่ยังมีเรื่องน่าเสียใจที่ว่า ยิ่งมีเรื่องเช่นนี้มาเท่าใด แรงริษยาอาฆาตของพวกเขาก็จะทวีคูณมากขึ้นเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จึงได้เรียกท่าน(อฺ)เข้าพบก่อนท่าน(ศ)จะถึงแก่กรรม โดยกอดคอท่าน(อฺ)ไว้แล้วร้องไห้

ท่าน(ศ) กล่าวกับท่านอะลี(อฺ) ว่า

“โอ้ อะลีเอ๋ย แท้จริงฉันรู้ดีว่า เจ้าเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางในจิตใจของคนพวกหนึ่งอยู่ พวกเขาจะเปิดเผยมันให้ปรากฏแก่เจ้าภายหลังจากฉันสิ้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าหากว่าพวกเขาให้บัยอะฮฺต่อเจ้า เจ้าก็จงยอมรับเถิด แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น เจ้าก็จงอดทน จนกว่าจะได้พบกับฉันในฐานะที่ได้รับความอธรรม” (139)

ดังนั้นเมื่อท่านอะลี(อฺ) จำเป็นต้องอดทนหลังจากมีการให้บัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะคำสั่งเสียของท่านศาสนทูต(ศ) ที่ให้ไว้กันท่าน และนี่คือฮิกมะฮฺอันหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย

6. นอกจากเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด สำหรับมวลมุสลิมนั้น เมื่อได้อ่าน อัล-กุรอาน และพิจารณาดูโองการต่างๆ ที่แนะนำให้รู้ดีถึงชีวประวัติของประชาชาติต่างๆ ในอดีตที่ล่วงมา ก็จะเห็นได้ว่า มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏมากกว่าที่ได้เกิดขึ้นในยุคของเราเสียอีก เช่นเรื่องของกอบีลที่สังหารฮาบีล พี่ชายของตัวเองด้วยความอธรรมและเป็นศัตรู เรื่องของนบีนูฮฺ(อฺ)ปู่ทวดของบรรดานบีที่ได้ต่อสู้มาเป็นเวลานับพันปี แต่พรรคพวกของท่านก็มิได้ปฏิบัติตาม นอกจากเพียงส่วนน้อย อีกทั้งภรรยาและบุตรของท่านก็ยังเป็นกาฟิร

เรื่องของนบีลูต(อฺ)ที่มิได้พบเลยว่าในญาติพี่น้องของตัวเองนั้น จะมีครอบครัวใดเป็นผู้ศรัทธานอกจากหลังเดียว เรื่องพวกฟิรเอาน์ที่หยิ่งผยองในหน้าแผ่นดินและกดขี่มนุษย์ก็ไม่มีใครเป็นผู้ศรัทธาเลย นอกจากมุอฺมินคนเดียวที่ซ่อนเร้นความศรัทธาไว้ เรื่องของพี่ๆ ของนบียูซุฟ(อฺ) บุตรของนบียากุ๊บ(อฺ) พวกเขาเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งพวกเขาวางแผนร้ายเพื่อสังหารน้องชายคนเล็ก ทั้งๆที่ไม่มีความผิดใดๆ ที่จะกล่าวหาเขาได้ แต่ด้วยความริษยาต่อเขา เพราะว่าบิดารักเขามากกว่าพี่น้องคนอื่นๆ

และเรื่องของบะนีอิซรออีลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้นบีมูซา(อฺ)ช่วยปลดปล่อยพวกเขา และนำพวกเขาผ่านพ้นทะเลแดง แล้วทรงบรรดาให้ศัตรูของพวกเขาและฟิรเอานฺจมน้ำ โดยที่พวกเขาไม่ต้องรับภาระในการทำสงครามและไม่ทันที่พวกเขาจะพ้นออกจากทะเลจนเท้าแห้ง พวกเขาก็ศิโรราบกราบกรานรูปปั้นเสียแล้ว

พวกเขากล่าวว่า “โอ้ มูซา จงสร้างพระเจ้าให้แก่เราเหมือนอย่างที่เขาเหล่านั้นมีพระเจ้ากันเถิด”

นบีมูซา(อฺ)กล่าวว่า “แท้จริงพวกท่านเป็นคนโง่เขลา”

และครั้นเมื่อนบีมูซา(อฺ)ได้เวลาที่ต้องเข้าเฝ้าต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และได้แต่งตั้งนบีฮารูน(อ.) ลูกผู้พี่ของท่านให้เป็นตัวแทน เขาเหล่านั้นก็ได้วางแผนการณ์ร้ายและคิดจะกำจัดท่าน(อฺ) และปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) แล้วเคารพรูปปั้น รูปวัว หลังจากนั้นพวกเขาได้สังหารนบีของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังที่พระองค์ตรัสว่า

“ในทุกครั้งที่ศาสนทูตได้นำเรื่องที่ไม่สบอารมณ์ของพวกสูเจ้ามายังพวกสูเจ้า พวกสูเจ้าก็หยิ่งยะโส โดยที่บางพวก พวกสูเจ้าก็ปฏิเสธ และบางพวก พวกสูเจ้าก็สังหารเสีย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 87)

ยังมีเรื่องของนบียะฮฺยา(อฺ) นบีซะกีรียา(อฺ) ซึ่งเป็นนบี และเป็นผู้มีคุณธรรมสูง พวกเขาต้องถูกเข่นฆ่า และถูกนำศีรษะไปสังเวยแก่จอมมารร้ายแห่งพวกบะนีอิซรออีล

ยังมีเรื่องของพวกยิว และพวกนะศอรอ ซึ่งวางแผนการณ์ร้ายเพื่อสังหารนบีอีซา(อฺ) บนไม้กางเขนและไหนยังมีเรื่องราวของประชาชาตินบีมุฮัมมัด(ศ)ที่ได้นำกองทหารร่วมสามหมื่นคน เข้าสังหารท่านอิมามฮูเซน(อฺ) หลานชายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์ ทั้งๆไม่มีใครเข้าร่วมกับท่านเลยนอกจากคนเพียงเจ็ดสิบสองคน พวกทหารเหล่านั้นฆ่าพวกเขาจนหมด ทั้งนี้รวมไปถึงทารกน้อยคนหนึ่งของท่านที่ยังไม่หย่านมอีกคนหนึ่งด้วย

หลังจากนี้แล้ว ยังจะมีอะไรที่ถือเป็นเรื่องแปลกอีก? แล้วจะแปลกอะไรในเมื่อท่านศาสนทูต(ศ)เองได้เคยกล่าวกับศ่อฮาบะฮฺของท่าน(ศ)ว่า

“พวกท่านจะเจริญรอยตามแบบอย่างของคนรุ่นก่อนหน้าพวกท่านทีละคืบๆ ทีละศอกๆ แม้ว่าพวกเขาจะเข้าไปในรูแย้ แน่นอน พวกท่านก็จะเข้าไปเหมือนกัน”

พวกศ่อฮาบะฮฺกล่าวว่า “ท่านหมายถึงพวกยิวและนะศอรอใช่ไหม?”

ท่าน(ศ) ตอบว่า “แล้วจะเป็นใครเสียอีก ?” (140)

จะแปลกอะไรในเมื่อเราเคยได้อ่านในบุคอรีและมุสลิมถึงคำกล่าวของนบี(ศ)ที่ว่า : ศ่อฮาบะฮฺของฉันในวันกิยามัตจะถูกนำไปยังทางทิศเหนือ

ฉันจึงกล่าวขึ้นว่า “จะไปยังนรก ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ”

ฉันจึงกล่าวอีกว่า “โอ้พระผู้อภิบาล เขาเหล่านั้นเป็นศ่อฮาบะฮฺของฉัน”

มีสุรเสียงดังขึ้นว่า “เจ้าไม่รู้หรอกว่า หลังจากสิ้นเจ้าแล้ว พวกเขาได้ก่อเหตุอันใดบ้าง”

ฉันจึงกล่าวอีกว่า “การลงโทษพึงประสบแด่คนที่พลิกแพลงภายหลังจากฉัน ดูเหมือนฉันเห็นว่า ไม่มีใครในหมู่พวกเขาจะคลาดแคล้วได้ นอกจากเพียงจำนวนน้อย” (141)

จะแปลกอะไร เมื่อท่านนบี(ศ)เคยกล่าวไว้ว่า “ประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็นเจ็ดสิบสามพวก ทั้งหมดจะตกนรกนอกจากพวกเดียวเท่านั้น” (142)

องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งยิ่ง มีความสัตย์จริงเสมอ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของมนุษย์ พระองค์ตรัสว่า

“มนุษย์ส่วนมากนั้นจะไม่เป็นผู้ศรัทธา ถึงแม้เจ้าจะปรารถนาเพียงใดก็ตาม”(ยูซุฟ / 103)

“ทว่า สัจธรรมได้มีมายังพวกเขาแล้ว แต่ส่วนมากพวกเขาเป็นผู้ชิงชังต่อสัจธรรม” (อัล-มุมินูน / 70)

“แน่นอนยิ่งเราได้นำสัจธรรมมายังพวกเจ้าแล้ว แต่ส่วนมากพวกเจ้าเป็นผู้ชิงชังต่อสัจธรรม” (อัซ-ซุครุฟ / 78)

“แน่นอน สัญญาของอัลลอฮฺนั้นคือสัจธรรม แต่ส่วนมากพวกเขาไม่รู้” (ยูนุซ / 55)

“พวกเขาทำให้พวกเจ้าพอใจต่อลมปากของพวกเขา แต่หัวใจของพวกเขาขัดขืน และส่วนมากของพวกเขาเป็นผู้ละเมิด” (อัตเตาบะฮฺ / 8)

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ประทานเกียตริยศแก่มวลมนุษย์ แต่ส่วนมากพวกเขาไม่กตัญญู” ( ยูนุซ / 60)

“พวกเขารู้จักความโปรดปรานของอัลลอฮฺ จากนั้นพวกเขาก็ปฏิเสธมันเสีย และส่วนมากพวกเขาเป็นผู้เนรคุณ” ( อัล-นะฮฺลุ / 83)

“แน่นอนยิ่ง เราได้แจกแจงสาธยายไว้ในระหว่างพวกเขาเพื่อพวกเขาได้รำลึก แต่แล้วส่วนมากมนุษย์ขัดขืน ยิ่งกว่านั้นยังเนรคุณด้วย” ( อัล-ฟุรกอน / 50) “ส่วนมากพวกเขาไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังเป็นผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ / 106)

“ยิ่งกว่านั้น ส่วนมากพวกเขาไม่รู้ถึงสัจธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นผู้บิดเบือน” (อัมบิยาอ์ / 24)

“เกี่ยวกับเรื่องนี้กระนั้นหรือที่พวกเจ้าแปลกใจ และหัวเราะเยาะในขณะที่พวกเจ้าเป็นคนหลงตามใจตัวเอง” (อัน-นัจมุ / 61)



ความสูญเสียและความขมขื่น
จะมิให้ข้าพเจ้ารู้สึกขมขื่นใจได้อย่างไร? จะมิให้คนมุสลิมทุกคนขมขื่นใจได้อย่างไร ในเมื่อได้อ่านความจริงต่างๆเหล่านี้เกี่ยวกับความสูญเสียของมวลมุสลิมเนื่องจากท่านอิมามอะลี(อ)ต้องห่างไกลจากตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ทั้งๆที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้แต่งตั้งท่าน(อ)แล้ว จนประชาชาติอิสลามต้องหมดโอกาสในการที่จะได้ปฏิบัติตามแนวทางอันประเสริฐ และวิชาการอันมากมายของท่าน

ถ้าหากคนมุสลิมได้พิจารณาให้ถ่องแท้โดยปราศจากความมีอคติ และไม่มีการใช้อารมณ์แล้วไซร้ ก็จะพบทันทีว่า ท่านอะลี(อ) คือผู้ที่มีความรู้มากที่สุดหลังจากท่านศาสนทูต(ศ) ประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้ว่า ผู้รู้ในหมู่ศ่อฮาบะฮฺทั้งหลายต่างมาขอคำวินิจฉัยจากท่าน(อ)ในทุกๆปัญหาที่ประสบแก่พวกเขา และคำพูดของอุมัร บินค็อฏฏอบเองมากกว่าเจ็ดสิบครั้งที่ว่า “หากไม่มีอะลี แน่นอนอุมัรต้องได้รับความพินาศ” (143)

ในขณะที่ท่านอะลี(อ)นั้น ไม่เคยถามปัญหาจากพวกเขาเลยแม้แต่ครั้งเดียว

เช่นเดียวกันกับที่ประวัติศาสตร์ได้ยอมรับว่า อะลี อิบนุอะบีฏอลิบ(อ)เป็นคนกล้าหาญที่สุดในหมู่ศ่อฮาบะฮฺ และเป็นคนแข็งแรงที่สุด แน่นอนคนกล้าหาญหลายคนในหมู่ศ่อฮาบะฮฺเคยหลบหนีในหลายๆสมรภูมิรบ เนื่องจากความกลัว ขณะที่ท่านอะลี(อ) ยังคงยืนหยัดในสมรภูมิเหล่านั้นทุกครั้ง หลักฐานที่พอเพียงสำหรับเรื่องนี้ ได้แก่กรณีที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ให้การยกย่องท่านไว้ เมื่อคราวที่ท่าน(ศ)กล่าวว่า

“วันพรุ่งนี้ฉันจะมอบธงของฉันให้กับชายคนหนึ่งที่รักอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์ และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)อีกทั้งศาสนทูตของพระองค์ก็รักเขา เขายืนหยัดมั่นคงไม่มีการหลบหนี อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงทดสอบหัวใจของเขาด้วยความมีอิหม่าน”

บรรดาศ่อฮาบะฮฺต่างก็มีความปรารถนาที่จะได้ในสิ่งนี้ แต่แล้วศาสนทูตก็ได้มอบธงนี้แก่ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(144)

กล่าวโดยสรุป เรื่องการมีความรู้ ความกล้าหาญ ความมีพลังที่มีเฉพาะอยู่ในตัวของท่านอะลี(อ)นั้น เป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่ชาวซุนนีและชีอะฮฺ และไม่มีใครขัดแย้งกันในเรื่องนี้ จึงสามารถนำมาตัดสินหาข้อยุติได้กับข้อบัญญัติในเรื่องอัล-วิลายะฮฺ ของท่านในวันเฆาะดีรคุม และอื่นๆ เพราะอัลกุรอานจะไม่ยอมรับความเป็นผู้นำ และความเป็นอิมามให้แก่ใครนอกจากคนที่มีความรู้ ความกล้าหาญ ที่ทรงพลัง อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีโองการว่า ให้ปฏิบัติตามผู้รู้

“ผู้ที่ได้ชี้นำสู่สัจธรรมนั้นทรงสิทธิ์ในการได้รับการปฏิบัติตามหรือว่าผู้ที่ไม่ได้ชี้นำอะไรเลย นอกจากต้องได้รับการชี้นำ(จะทรงสิทธิ์ในการได้รับการปฏิบัติตาม) ดังนั้นพวกเจ้าไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินอย่างไรก็ได้” (ยูนุซ / 35) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดเป็นวาญิบให้การนำนั้นเป็นของผู้รู้ที่กล้าหาญ ที่มีพลัง ดังโองการที่ว่า

“พวกเขากล่าวว่า จะให้เขามีอำนาจปกครองเราได้อย่างไร ในขณะที่พวกเรามีสิทธิ์ในอำนาจการปกครองมากกว่าเขา และเขามิได้รับทรัพย์สินอะไรมากมาย พระองค์ตรัสว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงคัดเลือกเขาไว้ให้แก่พวกสูเจ้า และทรงเพิ่มพูนความกว้างขวางในวิชาการและร่างกายให้แก่เขา และอัลลอฮฺทรงประทานอาณาจักรการปกครองแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺทรงแผ่ไพศาล ทรงรอบรู้ยิ่ง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 247)






๑๑
ขออยู่กับผู้สัจจริง

แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเพิ่มพูนให้แก่ท่านอิมามอะลี(อ)เหนือกว่าทุกๆศ่อฮาบะฮฺ นั้นคือการเพิ่มพูนวิชาการ จนท่านมีสิทธิ์ได้รับสมญานามว่า “ประตูแห่งนครความรู้”

ท่านคือประมุขสูงสุดทางวิชาการคนเดียวของบรรดาศ่อฮาบะฮฺ หลังจากการวะฟาตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) บรรดาศ่อฮาบะฮฺนั้น ทุกๆครั้งที่ประสบความลำบากจนสุดวิสัยในการแก้ปัญหาก็จะกล่าวว่า

“ปัญหาอุปสรรคนั้น ไม่มีใครที่จะแก้ไขได้เลยนอกจากอะบุลฮะซัน” (145)

พระองค์ทรงเพิ่มพูนพลังไว้ในเรือนร่างของท่านอะลี(อ) จนท่านได้รับสิทธิในสมญานาม ราชสีห์แห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิชิตพลังอันแข็งแกร่ง และความกล้าหาญชาญชัยของท่านได้ถูกหยิบยกมาเป็นเยี่ยงอย่างตลอดมาในหลายชั่วอายุคน จนกระทั้งบรรดานักประวัติศาสตร์ได้นำมารายงานบันทึกถึงเรื่องนี้ในเชิงของชีวประวัติที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างมากมาย เช่น การตีประตูเมืองคัยบัรออกได้ ทั้งๆที่บรรดาศ่อฮาบะฮฺ จำนวน 20 คน ก็ยังไม่สามารถทำให้มันขยับเขยื้อนได้ (146)

ท่าน(อ)ยังได้รื้อถอนเทวรูปฮูบัลอันใหญ่โต(146) ออกจากเพดานของกะอฺบะฮฺ และท่าน(อ) ยังได้เลื่อนก้อนหินอันใหญ่มหึมาที่บรรดาทหารทุกคนหมดความสามารถที่จะขยับเขยื้อนมัน(146) ได้ และอื่นๆนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีรายงานริวายัตอีกมากมาย

ท่านนบี(ศ)ได้ยกย่องท่านอะลี(อ)บุตรลุงของท่าน และได้อธิบายถึงคุณงามความดีของท่านอะลี(อ)ไว้ในทุกๆโอกาส ท่านได้แนะนำให้คนทั้งหลายรู้จักถึงคุณสมบัติพิเศษในด้านต่างๆของท่านอะลี(อ)อยู่เสมอ

ในครั้งหนึ่งท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “แท้จริง นี่คือพี่น้องของฉัน และทายาทของฉัน และค่อลีฟะฮฺของฉันภายหลังจากฉัน ดังนั้นจงปฏิบัติตามและเชื่อฟังเขาเถิด” (147)

ครั้งหนึ่ง ท่าน(ศ)กล่าวแก่ท่านอะลี(อ)ว่า “เจ้ากับฉันอยู่ในฐานะของฮารูนกับมูซา เพียงแต่ว่าจะไม่มีนบีภายหลังจากฉันอีก” (148)

อีกครั้งหนึ่ง ท่านได้กล่าวว่า

“ผู้ใดที่ต้องการจะมีชีวิตอย่างการมีชีวิตของฉัน และตายอย่างการตายของฉัน และพำนักในสวรรค์นิรันดรตามที่พระผู้อภิบาลของฉันได้สัญญาไว้กับฉัน ดังนั้น เขาพึงให้การยอมรับต่ออะลี บิน อะบีฏอลิบเถิด เพราะแท้จริงเขาจะไม่นำพวกท่านให้ออกจากทางนำ และจะไม่นำพวกท่านให้เข้าไปอยู่ในความหลงผิด” (149)

ผู้ที่ได้ศึกษาชีวประวัติของท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ(ศ)จะพบว่าท่านนบี(ศ)มิได้เพียงแต่ยกย่องด้วยคำพูดอย่างเดียวเท่านั้น ในเรื่องของท่านอะลี(อ) หากแต่ว่าคำพูดของท่านได้สำแดงถึงความเป็นจริงในเชิงปฏิบัติของท่านด้วย กล่าวคือท่านนบี(ศ) ไม่เคยออกคำสั่งให้ศ่อฮาบะฮฺคนหนึ่งคนใดมีอำนาจสั่งการท่านอะลี(อ)เลยตลอดชีวิตของท่าน ในขณะที่ท่านได้สั่งการให้คนบางส่วนอยู่ภายใต้การบัญชาของคนอีกบางส่วน กล่าวคือ ท่านได้สั่งการให้มีผู้บัญชาการสำหรับ อะบูบักรฺและอุมัร ในการทำสงครามหลายๆครั้งโดย อัมร์บินอาศ(150)

เช่นเดียวกันท่านนบี(ศ) ได้เคยสั่งการให้พวกเขาเหล่านั้นทั้งหมดอยู่ภายใต้บัญชาการของคนหนุ่มรุ่นเยาว์ผู้หนึ่งนั่นคือ อุซามะฮฺ บินซัยดฺ นั่นก็คือในกองทหารของอุซะมะฮฺ ก่อนที่ท่านนบี(ศ)จะถึงแก่กรรม สำหรับท่านอะลี(อ)นั้น ไม่เคยอยู่ในหมู่คนทหารแต่อย่างใดเลย เพียงแต่ว่าท่านคือผู้บัญชาการรบ แม้กระทั่งท่านนบี(ศ)ได้จัดกองพลทหารครั้งหนึ่งถึง 2 กองพล ท่านก็ยังได้ให้ท่านอะลี(อ)เป็นผู้บัญชาการกองทหารกองหนึ่ง และให้ คอลิด บินวะลีด เป็นผู้บัญชาการอีกกองหนึ่ง แล้วท่านยังได้กล่าวกับพวกเขาว่า

“ถ้าพวกท่านพรากจากกันก็ให้พวกท่านทุกคนอยู่ในกองทหารของเขาและถ้าพวกท่านพบกันก็ให้ถือว่า อะลี เป็นผู้บัญชาการของทหารทุกกอง”

นับจากเรื่องราวข้างต้นที่กล่าวมาแล้วทุกๆเรื่องเราสามารถจะสรุปได้ว่า ท่านอะลี(อ)นั้นเป็นผู้นำสูงสุดของบรรดาผู้ศรัทธาหลังจากท่านนบี(ศ)และไม่เป็นการสมควรสำหรับคนหนึ่งคนใดก็ตามที่จะกระทำการล้ำหน้าท่านอะลี(อ)

แต่ทว่านับเป็นสิ่งที่น่าเสียใจยิ่งนัก แน่นอนที่สุดบรรดามุสลิมได้ประสบกับความขาดทุนอย่างย่อยยับแม้จนกระทั่งถึงวันนี้ พวกเขาก็ยังอยู่ในฐานะที่ได้รับผลพวงมาจากสิ่งทั้งหลายที่เขาเหล่านั้นได้ก่อขึ้น และแน่นอนที่สุดคนรุ่นหลังกำลังได้ชิมรสความขมขื่นที่คนรุ่นแรกได้จัดตั้งกันไว้

ยังจะมีใครสักคนอีกหรือที่สามารถจะสร้างภาพความเป็นค่อลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมได้ เหมือนกับการเป็นค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี(อ) ถ้าหากประชาชาตินี้ได้ทำตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ)คัดเลือกไว้ให้ กล่าวคือท่านอะลี(อ) เป็นคนที่มีความสามารถในการนำประชาชาติเป็นเวลาอันยาวนานได้ถึง 30 ปี บนเส้นทางอันเดียวกันกับที่ท่านศาสนทูต(ศ)เคยได้ชี้นำไว้ โดยปราศจากความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ทั้งนี้ ก็เพราะว่า อะบูบักรฺและอุมัรนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงและใช้หลักวินิจฉัยตามความคิดเห็นของตนเอง ในลักษณะที่ขัดแย้งต่อข้อบัญญัติ จนถึงกับว่าพฤติกรรมของคนทั้งสองได้กลายมาเป็นซุนนะฮฺอันดับสองที่ติดตามมา ครั้นเมื่อมาถึงสมัยอุษมานเป็นค่อลีฟะฮฺ เขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไว้อย่างมากมาย จนกระทั่งมีการกล่าวว่า “เขาฝ่าฝืนพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และฝ่าฝืนซุนนะฮฺของท่านรอศูล(ศ)และซุนนะฮฺของอะบูบักรฺและอุมัร จนบรรดาศ่อฮาบะฮฺได้ปฏิเสธต่อเขา”

เพราะเหตุนี้ จนประชาชนได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านเขา จนทำให้เขาต้องเสียชีวิต และนับว่าเป็นเหตุการณ์ฟิตนะฮฺที่ร้ายแรงที่สุดในประชาชาติ ที่บาดแผลของมันมิได้สูญสลายแม้จนกระทั้งบัดนี้

สำหรับท่านอะลี(อ) ท่านได้ดำเนินการต่างๆไปตามพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของท่านศาสดา(ศ)อย่างชนิดที่มิได้หันเหออกจากหลักการทั้งสองนี้เลย ประจักษ์พยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับเรื่องนี้ นั่นคือการที่ท่านปฏิเสธตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเมื่อครั้งที่พวกเขาเหล่านั้นกำหนดเงื่อนไขให้แก่ท่านว่า จะต้องดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของค่อลีฟะฮฺสองคนแรก ควบคู่ไปกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของนบี(ศ)

นักตั้งคำถามน่าจะถามว่า เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี(อ) จึงยึดมั่นในการที่จะทำตามพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของศาสนทูต(ศ) ในขณะที่อะบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน ได้พยายามอย่างหนักหน่วงในการจะใช้หลักวินิจฉัยและการเปลี่ยนแปลง ?

คำตอบก็คือว่า ท่านอะลี(อ)เป็นผู้ที่มีความรู้พิเศษ ชนิดที่ไม่มีอยู่ ณ พวกเขาเหล่านั้นเลย และแท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้เคยสอนวิชาความรู้ให้แก่ท่านถึง 1000 ประตู ซึ่งสำหรับทุกๆ ประตูนั้น ท่านได้เปิดเผยให้อีกเป็นประตูละ 1000 ประตู(151)

ท่านนบี(ศ)ได้เคยกล่าวกับท่านอะลี(อฺ)ว่า “เจ้านั้น โอ้อะลีเอ๋ยจะได้อธิบายให้แก่ประชาชาติของฉันอย่างชัดแจ้ง ในสิ่งทั้งหลายที่พวกเขาขัดแย้งกันอยู่ภายหลังฉัน” (152)

ส่วนคอลีฟะฮฺอื่นๆ นั้น โดยมากแล้วจะไม่รู้ในกฎเกณฑ์ของอัล-กุรอานอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการตีความ กล่าวคือท่านบุคอรีและท่านมุสลิมได้บันทึกไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของท่านทั้งสอง ในหมวดว่าด้วยการทำตะยัมมุมว่า ชายคนหนึ่งได้ถามท่าน อุมัร บินค็อฏฏอบ ในสมัยที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นค่อลีฟะฮฺว่า

“โอ้ท่าน อะมีรุลมุอ์มินีน แท้จริงข้าพเจ้ามีญุนุบ แต่ข้าพเจ้าไม่มีน้ำจะให้ข้าพเจ้ากระทำอย่างไร?”

ท่านอุมัรพูดกับเขาว่า “เจ้าจงอย่านมาซ”

และในทำนองเดียวกันนี้ที่ท่านไม่รู้ในกฎว่าด้วยเรื่องอัล-กิลาละฮฺ จนกระทั่งตายโดยท่านกล่าวว่า

“ฉันดีใจมากถ้าหากได้ถามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เกี่ยวกับเรื่องอัล-กิลาละฮฺ”

ในขณะที่เรื่องนี้ได้ถูกกล่าวถึงในอัล-กุรอาน และถ้าหากอุมัรเป็นเหมือนอย่างชาวอะลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ พูดไว้ว่า เป็นผู้ได้รับการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้าจริงแล้ว เขาจะต้องไม่ถามคนอื่นๆ ที่ได้นำไปสู่ความคิดที่อุตริต่อศาสนาของอัลลอฮฺ โดยปราศจากวิชาความรู้ และไม่มีการชี้นำ และมิได้ทำตามพระคัมภีร์ที่มีแสงสว่าง หากแต่ได้มีการใช้หลักวินิจฉัยความตามทัศนะส่วนตัวทั้งสิ้น

สำหรับผู้พูดนั้นควรจะกล่าวว่า เมื่อเรื่องทั้งหมดเป็นอย่างนี้แล้วทำไมท่านอิมามอะลี(อฺ)จึงมิได้อธิบายความให้แก่ประชาชาติหลังจากท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในสิ่งที่พวกเขาทั้งหลายขัดแย้งกันอยู่?

คำตอบในเรื่องนี้ก็คือว่า ท่านอิมามอะลี(อฺ)ไม่เคยย่อท้อต่อการอธิบายความที่เป็นปัญหาสำหรับประชาชาติ ในขณะที่ท่านเองมีฐานะเป็นที่พักพิงที่ต้องย้อนกลับของศ่อฮาบะฮฺในยามที่พวกเขาเหล่านั้นประสบกับปัญหาทุกประการ ซึ่งท่านได้ให้คำอธิบายอันชัดแจ้ง และได้ให้คำแนะนำ ซึ่งเขาเหล่านั้นก็ได้นำเอาไปจากท่าน แต่แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่พอใจ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่คล้องจองกันกับสถานะทางการเมืองของพวกเขา พวกเขาเหล่านั้นจึงแสวงหาแนวทางอื่นๆจากนี้ หน้าประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ได้เป็นสักขีพยานมาแล้วสำหรับสิ่งที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่

ความเป็นจริงนั้นมีอยู่ว่า ถ้าหากไม่มีท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) และไม่มีบรรดาอิมามผู้เป็นลูกหลานของท่านแล้วไซร้ แน่นอน มนุษยชาติจะไม่มีวันรู้จักโครงสร้างทางวิชาการของศาสนาเลย แต่คนทั้งหลายนั้นตามที่อัล-กุรอานได้สอนให้เรารู้ก็คือว่า พวกเขาไม่รักในสัจธรรม พวกเขาจะปฏิเสธตามอารมณ์ และจะหาแนวทางปฏิบัติสำหรับตนเพื่อต่อต้านกับบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ที่เป็นเสมือนศูนย์ควบคุมวงจรชีวิตของพวกเขาไว้

ท่านอะลี(อฺ)เคยขึ้นมิมบัรแล้วพูดกับประชาชาติทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายจงถามฉันก่อนที่ฉันจะจากพวกท่านไป”

สำหรับท่านอะลี(อฺ)นั้น เพียงพอแล้วที่ท่านได้มอบหนังสือนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺไว้ให้ และบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ที่ได้มอบวิชาการอันเต็มเปี่ยมในแขนงต่างๆ ดังที่บรรดาผู้นำมุสลิมทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺต่างก็ยืนยันถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี

ข้าพเจ้าจะขอย้อนกลับไปกล่าวถึงพื้นฐานของหัวข้อเรื่องนี้ว่า ถ้าหากได้มีการกำหนดให้ท่านอะลี(อฺ)เป็นผู้นำประชาชาติ 30 ปี ตามเส้นทางชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แน่นอน อิสลามจะต้องแพร่หลายไปทั่วโลก อะกีดะฮฺจะต้องถูกปลูกฝังไว้ในหัวใจของมนุษย์อย่างมั่นคง และอย่างลึกซึ้งและจะต้องไม่ปรากฏเหตุการณ์ฟิตนะฮฺต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้อยใหญ่ก็ตาม และจะไม่เกิดเหตุการณ์กัรบะลาอฺและอาชูรอ

และถ้าเราได้พิจารณาไปถึงการนำของบรรดาอิมามทั้ง 11 ท่านหลังจากท่านอิมามอะลี(อฺ) ตามที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้วางข้อบัญญัติไว้สำหรับพวกเขาตลอดระยะเวลาใน 3 ศตวรรษ โลกนี้ทั้งหมดก็จะเหลือเพียงแต่บ้านเมืองของมวลมุสลิมเท่านั้น และทุกแผ่นดินในโลกนี้จะไม่เป็นอยู่เหมือนอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน แน่นอนที่สุด การดำเนินชีวิตของเราทั้งหลายก็จะเป็นไป ตามสภาพของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงในความหมายตามความเป็นจริงของมนุษย์

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“อะลิฟ ลาม มีม มนุษย์คิดหรือว่าเขาจะถูกปล่อยไว้เฉยๆ โดยมิได้รับการทดสอบใดๆ เพียงการที่เขาได้กล่าวเราศรัทธาแล้ว” (อัล-อันกะบูต / 2)

แต่ประชาชาติอิสลามทั้งหลายนั้นต่างประสบความพ่ายแพ้ในบททดสอบเช่นเดียวกับที่ประชาชาติต่างๆ ในอดีตได้เคยประสบกับความพ่ายแพ้มาแล้ว และแน่นอน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก็ได้วางข้อบัญญัติไว้อย่างนั้นในโองการต่างๆ หลายครั้ง(153) และทำนองเดียวกัน ที่อัล-กุรอานก็ได้กล่าวถึงไว้ในหลายโองการ(154)

“แท้จริงมนุษย์นั้น เป็นทั้งผู้อธรรม เป็นผู้โง่เขลา”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้เคยกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า

“จะไม่มีใครสามารถเข้าสู่สวรรค์ได้โดยผลงานของตนเองเลย นอกจากด้วยความเมตตาและคุณธรรมของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่อนุมัติให้แก่เขาเท่านั้น”(155)



หมายเหตุประกอบคำอธิบาย
ข้าพเจ้ามีความสลดใจเป็นอย่างมากกับการพูดถึงเรื่องการเสียตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ด้วยเหตุที่เคยได้พบกับกลุ่มนักวิชาการ ท่านครู ซึ่งมีท่านหนึ่งที่เคยแสดงการโต้แย้งกับข้าพเจ้าว่า

“ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ได้กระทำอย่างไรต่ออัล-อิสลาม และต่อบรรดามุสลิมบ้าง แท้จริงแล้วเขาเคยได้ใช้ชีวิตไปในทางที่อยู่เบื้องหลังตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ด้วยเหตุนี้เอง เขาได้สังหารคนมุสลิมจำนวนนับพันคน และการทำสงครามทุกครั้ง ก็สืบเนื่องจากสาเหตุนี้ ในขณะที่สามค่อลีฟะฮฺก่อนหน้าเขานั้นได้ใช้ชีวิตไปในหนทางการเผยแพร่อิสลาม เขาเหล่านั้นได้เปิดประตูอิสลามสู่โลกกว้าง และขยายดินแดนออกไปยังเมืองต่างๆ

ถ้าหากไม่มีอบูบักรฺ ศิดดีก แน่นอนคนอรับจะต้องหันกลับจากศาสนาอิสลาม หากไม่มีอุมัร บินค็อฏฏอบ ชาวเปอร์เซียและโรมัน จะไม่หันหน้าสู่ศาสนาอิสลาม และถ้าหากไม่มีอุษมาน แน่นอน ท่านจะมิได้เป็นมุสลิม(156) จากนั้นท่านครูก็ได้หันไปยังบรรดาลูกศิษย์แล้วกล่าวว่า ครั้นพอท่านอะลี(อฺ)เข้ามาเป็นค่อลีฟะฮฺ (มีส่วนร่วมบ้าง เข้ามามีบทบาทในบางครั้งบ้าง) ปรากฏว่า เรื่องราวทั้งหลายเริ่มสั่นสะเทือนและอิสลามเริ่มประสบความยุ่งยากและพ่ายแพ้ หลังจากที่เคยอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสมัยของค่อลีฟะฮฺที่ท่านตีญานีกล่าวตำหนิความสามารถของพวกเขา และตั้งข้อสงสัยในความเที่ยงธรรมของพวกเขา”

แล้วข้าพเจ้าจะให้คำตอบกับเขาอย่างไร โดยเฉพาะกับข้อหาที่เขาได้พ่วงเข้ามาในตอนท้ายคำพูด? ข้าพเจ้าต้องควบคุมความรู้สึก และต้องข่มความคิดส่วนตัว ขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาล แล้วกล่าวว่า

“พี่น้องผู้มีเกียรติทั้งหลาย พวกท่านเห็นด้วยกับท่านครูในสิ่งที่ท่านพูดไปกระนั้นหรือ?”

ส่วนมากพวกเขาตอบว่า “ใช่”

แต่มีบางส่วนที่ไม่ยอมตอบ อาจจะเป็นเพราะมีเจตนาดีต่อข้าพเจ้าหรือไม่ก็เพราะพวกเขาไม่เห็นด้วยกับที่ท่านครูได้กล่าวไปแล้ว

ข้าพเจ้าได้พูดกับพวกเขาว่า

“ได้โปรดอภัยให้แก่ข้าพเจ้าด้วยที่จะต้องโต้แย้งท่านครูเป็นข้อๆ เพื่อที่ว่าหลังจากนี้แล้ว พวกท่านจะได้เห็นด้วยกับข้าพเจ้า หรือตำหนิข้าพเจ้าก็ได้ แต่ข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านทั้งหลายรักความเป็นธรรม และอย่าได้มีความคิดเห็นเพื่อส่วนตัว”

พวกเขากล่าวว่า “เชิญได้เลย”

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “ประการแรก ถ้าหากท่านอะลีมิได้ใช้ชีวิตของท่านในทำนองที่อยู่เบื้องหลังตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเหมือนอย่างที่ท่านครูของเราได้อ้างไว้ หรือยิ่งกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ซึ่งมันก็คือความจริงกล่าวคือ ถ้าหากท่านอะลีได้ดำเนินชีวิตอยู่เบื้องหลังตำแหน่งค่อลีฟะฮฺจริงๆ แล้ว แน่นอนที่สุดท่านจะก็ต้องละทิ้งมัยยิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลอฮฺ(ศ) โดยจะมิได้มีการจัดแต่งตั้งตามหลักการ

และแน่นอนท่านจะต้องรีบรุดหน้าไปยังซะกีฟะฮฺ เช่นเดียวกับที่คนอื่นๆ ได้รีบเร่งกันไปที่นั่น และแน่นอนที่สุดข้อพิสูจน์ในตัวของท่านจะต้องมีน้ำหนัก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนมากในบรรดาหมู่ศ่อฮาบะฮฺนั้นจะต้องเห็นด้วยกับทัศนะของท่าน หลังจากนั้นเรายังเห็นได้อีกว่า ภายหลังที่อะบูบักรฺเสียชีวิตและได้มอบตำแหน่งค่อลีฟะฮฺให้แก่อุมัรนั้น ท่านอะลี(อฺ)อยู่อย่างอดทน และมิได้คัดค้านเลย

ต่อมาหลังจากที่อุมัรได้เสียชีวิตแล้ว ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺก็ได้ตกมาอยู่ที่ท่าน แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธเพราะเนื่องจากว่ามีเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งติดพันกับตำแหน่งในคราวนั้น และนี่คือหลักฐานอันยิ่งใหญ่ข้อหนึ่งสำหรับการโต้แย้งกับข้ออ้างของท่านครู เพราะเหตุว่าถ้าหากท่านปรารถนาในการที่จะได้มาซึ่งตำแหน่งค่อลีฟะฮฺก็ไม่เห็นจะมีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นเพียงการที่ท่านจะยอมรับเงื่อนไข ในการปฏิบัติหน้าที่ว่าจะเป็นไปตามแบบอย่างของค่อลีฟะฮฺสองคนแรก

หลังจากนั้นในเวลาต่อมาท่านก็สามารถกระทำการได้ตามที่ท่านต้องการเหมือนอย่างที่อุษมานได้กระทำมาแล้วมิใช่หรือ? แต่ทว่าเกียรติยศของท่านอะลี(อฺ)ที่ได้สำแดงออกมาในสถานการณ์อย่างนั้น ได้แสดงให้เห็นว่าตลอดชีวิตของท่าน ท่านไม่เป็นคนโกหก และไม่เป็นคนบิดพริ้วสัญญาเพื่อเอาชนะคนอื่น ทั้งๆที่ พวกเขาเหล่านั้นกระทำในทุกวิถีทางเพียงเพื่อการให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขา แต่สำหรับท่านอิมามอะลี(อฺ) นั้น”

ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้ารู้ดีว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้เป็นที่สมหวังสำหรับพวกท่าน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะทำให้พวกท่านสมหวังได้โดยวิธีการที่ทำร้ายตัวของข้าพเจ้าเอง”

ความยิ่งใหญ่ในเกียรติยศของท่านอิมามอีกประการหนึ่งที่บรรดานักประวัติศาสตร์ทั้งหลายกล่าวถึง นั่นก็คือว่า อะบูซุฟยานหัวหน้าชาวกุเรชได้เคยมาหาท่านอะลี(อฺ) และเสนอตำแหน่งค่อลีฟะฮฺให้ พร้อมกับทุ่มเททรัพย์สินและประชาชนให้แก่ท่านเพื่อต่อสู้กับอะบูบักรฺและพรรคพวก แต่ท่านอะลี(อฺ)ได้ปฏิเสธเขาทันทีว่า

“แท้จริงฉันรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของท่าน”

ฉะนั้นถ้าหากท่านมีจุดประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเพียงอย่างเดียวจริงๆ แล้วท่านก็สามารถที่จะยอมรับได้ แต่เพราะท่านเห็นกับความสันติสุขของประชาชาติอิสลามและมวลมุสลิม ท่านจึงยอมเสียสละและอดทน

ในขณะที่ท่านเคยกล่าวกับอิบนุอับบาซว่า

“แท้จริงสำหรับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของพวกท่านตามทัศนะของฉันนั้นเปรียบเสมือนใบไม้หนึ่งที่ติดอยู่ในปากของตั๊กแตน เพียงแต่ว่าฉันต้องการดำรงคงไว้ ซึ่งกฏเกณฑ์อันเป็นกฎมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

สำหรับคำกล่าวของท่านนั้น โอ้ท่านครูที่รัก ที่ว่าท่านอะลี(อฺ)เป็นผู้ที่ใช้ชีวิตติดตามอยู่เบื้องหลังตำแหน่งค่อลีฟะฮฺตลอดเวลานั้น นับว่าเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ที่เป็นจริง

ประการที่ 2 ข้ออ้างของท่านที่ว่า ท่านอะลี(อฺ) ได้สังหารบรรดามุสลิมจำนวนนับพันคนเพียงเพื่อการให้ได้มาซึ่งตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และท่านได้กล่าวว่า การทำสงครามของท่านอะลี(อฺ)ทุกครั้งสืบเนื่องมาจากสาเหตุอันนี้ นี่ก็คือข้ออ้างที่มดเท็จ และนับว่าเป็นการใส่ร้ายทั้งหมด และถือว่าเป็นการกลบเกลื่อนความเป็นจริง เพราะถ้าหากท่านยังจำได้ ท่านก็จะต้องขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลและต้องขอเตาบะฮฺต่อพระองค์

แต่ถ้าหากท่านนึกถึงเรื่องนี้ได้โดยมีความรู้ ก็ถือว่าความรู้ของท่านทั้งหมดนั้นเป็นโมฆะและเป็นการใส่ร้ายอันยิ่งใหญ่ เพราะเหตุว่าการทำสงครามของท่านอิมามอะลี(อฺ)ที่ได้กล่าวถึงนั้น ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นหลังจากท่านได้ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺแล้ว และเป็นสงครามที่ประชาชนบีบบังคับให้ท่านต้องยอมรับ จนกระทั่งพวกเขาเหล่านั้นข่มขู่ว่าจะสังหารท่าน

ประวัติศาสตร์ทุกตอนได้ยืนยันว่า ตลอดเวลา 25 ปี ท่านอิมามอะลี(อฺ) ได้เก็บตัวของท่านอยู่แต่ในบ้าน ท่านมิได้เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามใดๆ ตลอดชั่วระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งเป็นค่อลีฟะฮฺของสามคนแรก แล้วท่านจะอ้างได้อย่างไร?

โอ้ ท่านครูว่าการทำสงครามของท่านอะลี(อฺ)นั้นเป็นไปเพื่อการให้ได้มาซึ่งตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ? หลังจากนั้น ท่านจะพูดได้อย่างไรว่า เพราะเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺนี่เองที่ท่านต้องสังหารบรรดามุสลิมจำนวนนับพันคน ?

สงครามญะมัลที่อาอีชะฮฺ ฏ็อลฮะฮฺ และซุเบร ได้ก่อหวอดขึ้นมาสู้กับท่านนั้นก็เป็นเพราะว่าเขาเหล่านั้นได้เข้าไปยังเมืองบัศเราะฮฺ และได้ก่อความเสียหายขึ้นที่นั่น จนกระทั่งได้สังหารบรรดาผู้บริสุทธิ์อีกทั้งได้ปล้นสะดมทรัพย์สินบัยตุลมาล(157) และเหตุที่สงครามญะมัลได้รับฉายาว่าเป็นสงครามของผู้ที่ก่อความเสียหาย ก็เพราะเหตุว่าฏ็อลฮะฮฺและซุเบรได้ทำลายบัยอัตของตนเอง เมื่อครั้งที่ท่านอิมามอะลี(อฺ) ปฏิเสธให้คนทั้งสองปกครองเมืองกูฟะฮฺและบัศเราะฮฺ(158)

ส่วนสงครามศิฟฟีนนั้น คือสงครามที่มุอาวิยะฮฺ บุตรของอะบีซุฟยาน ได้ก่อหวอดขึ้น เขาเองคือผู้ที่ได้สังหารบรรดามุสลิมผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนนับพันคน ในจำนวนคนเหล่านั้น ก็มีซัยยิดินา อัมมาร บินยาซีร รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ก็เพราะความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ

โอ้พี่ชาย ทำไมท่านจึงเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงทั้ง ๆ ที่ประวัติศาสตร์ได้ยืนยันว่า มุอาวิยะฮฺได้ก่อสงคามขึ้นอย่างอธรรม โดยอ้างว่าจะแก้แค้นให้กับชีวิตของอุษมาน แต่แท้จริงแล้วเขาต้องการที่จะได้มาซึ่งอำนาจการปกครองขณะเดียวกัน มุอาวิยะฮฺเองก็ได้ยืนยันไว้ด้วยตัวเขาเองด้วย(159) เพราะหลังจากเสร็จจากสงครามล้างผลาญชีวิตของผู้บริสุทธิ์ และสังหารบรรดามุสลิมนับพันคนแล้ว เขาก็ได้เข้าไปยังเมืองกูฟะฮฺ และได้กล่าวคำปราศรัยว่า

“แท้จริงข้าพเจ้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า มิได้ต่อสู้กับพวกท่านเพื่อที่จะให้พวกท่านทำนมาซ และมิได้ต่อสู้เพื่อที่จะให้พวกท่านถือศีลอด และมิได้ต่อสู้เพื่อที่จะให้พวกท่านทำฮัจญ์ อีกทั้งมิได้ต่อสู้เพื่อที่จะให้พวกท่านจ่ายซะกาต เพราะแท้จริงพวกท่านได้กระทำอย่างนั้นกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าที่ข้าพเจ้าได้ต่อสู้พวกท่านก็เพราะข้าพเจ้าจะได้ปกครองพวกท่าน แน่นอนที่สุดอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้มอบสิ่งนี้แก่ข้าพเจ้า ในขณะที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้ชิงชัง”

สงครามศิฟฟีนนี้ได้รับสมญานามว่าเป็นสงครามพวกวางตัวเป็นกลาง และละเมิดส่วนส่งครามนะฮฺรอวานนั้น ก็คือสงครามคอวาริจญ์ มันก็เป็นสงครามหนึ่งอีกเช่นกันที่ได้ถูกก่อขึ้นมากับท่านอิมามอะลี(อฺ)จากฝ่ายของพวกที่นอกศาสนาทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นสงครามที่ได้ก่อขึ้นกับท่านอิมามอะลี(อฺ)และในทุกๆ สมรภูมิ ท่านจะเรียกร้องเชิญชวนเขาเหล่านั้นให้เข้าสู่คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และดำรงพวกเขาเหล่านั้นให้อยู่กับหลักฐาน หน้าที่ของท่านไม่มีอะไรอีกแล้ว

โอ้ ท่านครู นอกจากจะต้องอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ จนกว่าท่านจะไม่นำความเท็จมาสอดใส่ในความจริง และกล่าวร้ายต่อบรรดาเอาลิยาอฺของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ท่านครูคนที่ 2 ได้พูดในอีกลักษณะหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่า ท่านเป็นคนเชี่ยวชาญในเรื่องประวัติศาสตร์ ท่านกล่าวว่า

“ที่ท่านได้พูดไปทั้งหมดนั้น ถูกต้อง และเป็นไปมิได้ ที่ท่านอะลี กัรรอ มัลลอฮวัจญ์ฮะฮฺ จะมุ่งมาดปรารถนาต่อตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และเป็นไปมิได้ที่ท่านจะสังหารคนแม้สักคนเดียวพื่อเหตุนั้น แต่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็ตรงที่มุสลิมบางคน ไม่วายที่จะสงสัยในตัวของท่านอะลี ในขณะที่ว่า ชาวคริสเตียน นะศอรอ ก็ยังยกย่องสรรเสริญท่านอะลี แน่นอนเมื่อเร็วๆนี้ ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือที่มีชื่อว่า “อะลีกับเสียงเรียกหาความยุติธรรมของมนุษย์” โดยผู้เขียนเป็นคนคริสเตียน เขาพูดถึงท่านอะลี ไว้อย่างน่าประทับใจมาก คนที่อ่านหนังสือนี้จะรู้จักคุณค่าของท่านอิมามอะลี”

คนที่สาม ได้กล่าวขัดจังหวะขึ้นว่า

“แล้วทำไมท่านจึงไม่พูดอย่างนี้เสียตั้งแต่ตอนแรก ?”

เขากล่าวว่า “ความจริงแล้วข้าพเจ้าเคยได้ฟังท่านตีญานีมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกันมาก่อนเลย ดังนั้น ข้าพเจ้าต้องการจะได้ยินคำตอบของเขา และต้องการจะรู้ถึงระดับความรู้ของเขา มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาได้ทำให้เราอิ่มเอมไปกับหลักฐาน ประการทีสอง ตามความเชื่อถือของข้าพเจ้านั้น คิดว่าท่านครูจะต้องรู้ซึ้งถึงความเป็นจริงของท่านอิมามอะลี(อฺ) แต่ทว่าไฟแห่งความรักที่มีต่ออะบูบักรฺ และอุมัรได้กระหน่ำลงบนตัวเขาจนเขาต้องสบประมาทท่านอะลี(อฺ)ไป เหมือนกับเป็นการตอบโต้กับท่านตีญานี ไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว”

ท่านครูคนแรกค่อยมีอาการดีขึ้นกับคำพูดของลูกศิษย์ เพราะสามารถนำเขาออกพ้นจากบ่วงที่ตกลงมามัดตัวเขาต่อหน้าสาธารณชน แน่นอนสัจธรรมสามารถเอาชนะความเท็จได้ ทางที่ดีเขาน่าจะเป็นคนลำเอียงเข้าข้างศ่อฮาบะฮฺ เสียมากว่าจะเป็นคนโง่เขลา อย่างไม่รับรู้ความจริง เขาจึงกล่าวว่า

“ใช่แล้ว ข้าพเจ้าต้องการจะพูด เพราะว่าเกียรติยศของบรรดาค่อลีฟะฮฺที่มีต่ออิสลามและมวลมุสลิมนั้น ยิ่งใหญ่และสำคัญมาก พวกเขาได้กระทำไปแล้ว พวกเขาเป็นปุถุชนไม่เคยมีใครเลยที่อ้างว่าพวกเขาบริสุทธิ์ที่เราจะต้องกล่าวถึงความดีของพวกเขา ซึ่งมีอย่างมากมาย ส่วนพวกชีอะฮฺนั้นทุ่มเทความรักให้แก่ท่านอะลี(อฺ) แล้วพาลปฏิเสธค่อลีฟะฮฺคนอื่นๆ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ขออภัยเพื่อให้ข้าพเจ้าตอบท่านครูอย่างสมบูรณ์เถิด เพราะยังมีเรื่องที่จำเป็นจะต้องอธิบายให้ชัดแจ้ง เพื่อที่จะได้ไม่เหลือไว้ซึ่งข้อสงสัยใดๆ ในความรู้สึกของผู้ฟังบางท่าน คำพูดของท่านครูที่ว่าค่อลีฟะฮฺทั้งสามก่อนหน้าท่านอิมามอะลี(อฺ)ทุ่มเทชีวิตไปในงานเผยแพร่ศาสนาอิสลามและเปิดประตูดินแดนต่างๆ ด้วยชัยชนะ และถ้าหากไม่มีพวกเขาแล้วข้าพเจ้าก็จะมิได้ เป็นมุสลิมขอตอบดังนี้ :

1. ถ้าหากการพิชิตเมืองต่างๆ ที่กล่าวมานั้น มีจุดประสงค์เพื่อเอกองค์อัลลอฮฺ และเพื่อเกียรติยศของอิสลามแล้ว ก็ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานรางวัลแก่พวกเขา แต่ถ้าหากการกระทำเช่นนั้นเป็นไปเพราะการแสวงหาอำนาจ ล่าอาณานิคมเพื่อผลประโยชน์ ทรัพย์สิน และเพื่อเอาสตรีมาเป็นเชลย เพื่อให้มาอยู่ในอำนาจการครอบครองก็จะไม่ได้รับรางวัลและผลบุญใดๆ

ประวัติศาสตร์ได้บอกเล่าแก่เราว่าอุษมาน บินอัฟฟาน นั้น เมื่อมีคนต่อต้านคัดค้านมาก เขาได้ปรึกษาหารือกับมัรวาน บินฮะกัม และมุอาวิยะฮฺ พวกเขาได้ชี้แนะว่า ให้ส่งกองทหารไปรบเมืองอัฟริกา เพื่อให้พวกเขามีงานอันเป็นภารกิจไปเสีย เพราะจะมิได้มีใครตั้งข้อครหาเขาได้ นอกจากเพียงเล็กๆน้อยๆเหมือนตัวเหาที่ไต่อยู่บนหลัง(160)

แล้วอุษมาน ก็จัดส่งทหารซึ่งนำทัพโดย อับดุลลอฮฺ บินอะบีซะรีฮฺ เพื่อเดินทางไปทำการพิชิตเมืองอัฟริกา ครั้นพอเอาชนะได้สำเร็จก็ได้มอบทรัพย์สินต่างๆ ในเมืองอัฟริการให้แก่เขา โดยมิได้มีใครเข้ามามีส่วนร่วมกับเขาเลยแม้แต่คนเดียว เพราะอับดุลลอฮฺ บินอะบีซะรีฮฺ ผู้นี้เป็นพี่น้องร่วมน้ำนมกับอุษมาน เขาเป็นคนหากาฟิร และตกออกจากศาสนาหลังจากที่เคยศรัทธาแล้ว และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เคยยินยอมให้หลั่งเลือดเขาได้ เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มีชัยชนะต่อเมืองมักกะฮฺ

ท่านได้สั่งเสียบรรดาสาวกไว้ว่าให้สังหารบุคคลผู้นี้ ถึงแม้จะพบว่าเขาเกาะกุมอยู่กับอัล-กะอฺบะฮฺก็ตาม แต่อุษมานได้ช่วยปกปิดตัวของเขาไว้ ครั้นเมื่อได้ยึดครองมักกะฮฺแล้ว อุษมานก็ได้นำเขามาหาท่านศาสนทูต(ศ) และช่วยแก้ต่างแทนเขาต่อท่านนบี(ศ) ท่านนบี(ศ)มิได้พูดอะไรเลย ท่านได้แต่รอคอยเหมือนดังจะกล่าวว่า

“ให้มีคนใดคนหนึ่งลุกขึ้นมาสังหารเขาเสีย”

อุมัรจึงกล่าวกับท่านว่า “ทำไมท่านจึงไม่ส่งสัญญาณให้แก่ข้าพเจ้า โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ”

ท่านกล่าวว่า “พวกเราบรรดาอัมบิยาอฺนั้นไม่พึงจะมีสำหรับเราซึ่งการหลอกลวงทางสายตา”(161)

ด้วยเหตุนี้นี่เอง อัฟริกาจึงถูกพิชิต และในลักษณะเช่นนี้เองสำหรับความเป็นอิสลามของมัน และโดยวิธีนี้เองข้าพเจ้าได้เป็นมุสลิม อันนี้เป็นประการที่หนึ่ง

2. ผู้ใดที่กล่าวว่า หากไม่มีเหตุการณ์ที่ซะกีฟะฮฺ และการปฏิวัติ และแรงผลักไสของท่านอะลี(อฺ)แน่นอนอิสลามจะประสบชัยชนะอันยิ่งใหญ่ อย่างดีเยี่ยม และเป็นที่ยอมรับ และแน่นอน อิสลามในปัจจุบันนี้จะต้องเจริญไปในทุกๆด้าน??

ทั้งๆที่อินโดนีเซียซึ่งไม่เคยปรากฏว่าจะถูกบุกพิชิตจากบรรดาค่อลีฟะฮฺ หากแต่อาศัยวิธีทำการค้า ประชาชนได้ให้การยอมรับต่ออิสลามด้วยข้อพิสูจน์มิใช่ด้วยคมดาบ และในปัจจุบันนี้ปรากฏว่ามีมุสลิมจำนวนมากมายมหาศาลนั่นคือ ดีกว่าประเทศสเปน ที่เคยถูกพิชิตด้วยคมดาบจากบุคคลเหล่านั้น แล้วได้เกิดการปฏิวัติ นั่นคือในปัจจุบันนี้ ได้มีการต่อต้านอิสลาม และบรรดามุสลิม ข้าพจ้าขออนุญาตท่านครู เพื่อเล่าเรื่องๆ หนึ่งตามความหมายอันนี้แก่ท่านพอเป็นสังเขป






๑๒
ขออยู่กับผู้สัจจริง

มีเจ้าเมืองคนหนึ่งแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนก่อนจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเขาจะต้องใช้เวลาในสมัยนั้น ถึงหนึ่งปีเต็ม หลังจากที่เขาได้เดินทางไปแล้ว คนใกล้ชิดเขาบางคนวางแผนการณ์ที่จะสังหารผู้สำเร็จราชการคนนั้น แล้วก็ได้สังหารได้ในเวลาต่อมา แล้วก็ได้ดำเนินการแต่งตั้งคนของพวกเขาคนหนึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ดังนั้น คนผู้นี้ก็ได้ทำหน้าที่อย่างดี มีการพัฒนา ก่อสร้างมัสญิดต่างๆ จนหัวหน้าเผ่าต่างๆ ยินยอมสวามิภักดิ์โดยดี ทั้งๆที่เคยเป็นกบฏมาก่อน อาณาจักรนั้นก็ได้ขยายออกไปกว้างขวางกว่าแต่ก่อน

แต่ทว่า เมื่อเจ้าเมืองเดินทางกลับมา และได้รู้ว่า ผู้สำเร็จราชการของตนถูกสังหรณ์เสียแล้ว ก็มีความโกรธแค้นเป็นอย่างยิง และคาดโทษบรรดาผู้วางแผนด้วยการประหารชีวิต ดังนั้น จึงมีคนๆ หนึ่งในกลุ่มพวกเขาออกมาพูดว่า

“โอ้ ท่านเจ้าเมืองที่เคารพ ผลงานที่เราได้กระทำไว้ล้วนแต่เป็นความดีงาม และเป็นการรับใช้บ้านเมืองอย่างใหญ่หลวง และการขยายอาณาจักรออกไปแผ่ไพศาล พอจะช่วยอุทธรณ์ต่อท่านได้มิใช่หรือ?”

เจ้าเมืองคนนั้นกล่าวด้วยความโกรธว่า “โกหก เจ้าคนเลว พวกเจ้าสังหารผู้สำเร็จราชการของข้าที่ข้าตั้งขึ้นเพื่อปกครองพวกเจ้า พวกเจ้าถือดีกับข้าเป็นการส่วนตัว และยังไม่รักษาเกียรติยศของข้า เรื่องราวต่างๆ ที่พวกเจ้าถือว่าเป็นการรับใช้บ้านเมือง ล้วนเป็นเรื่องที่เขาคนเดียวก็สามารถกระทำได้มากกว่าหลายเท่า ทั้งๆที่พวกเจ้าทั้งหมดร่วมกันทำ...”

คนทั้งหมดพากันหัวเราะเยาะกับเรื่องเล่านี้

พวกเขากล่าวว่า “เราเข้าใจความหมายดีหรอก”

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “ฉะนั้น เราลองมาพิจารณากับถ้อยคำตอนหลังที่ท่านครูกล่าวว่า “ท่านอิมามอะลี(อฺ) ได้เข้ามามีส่วน มีบทบาทในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ...” ตลอดจนจบประโยคซิ...ตามที่ท่านได้กล่าวไปแล้ว”

เราทุกคนทราบดี และประวัติศาสตร์ก็ยืนยันว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอุษมาน บินอัฟฟานเป็นความอัปยศ และอุษมานเป็นคนที่นำเอาญาติสนิทของตนซึ่งเป็นคนฟาซิก ที่ละเมิดอย่างร้ายแรงต่อศาสนาเข้ามามีส่วนและยังได้แต่งตั้งคนเหล่านั้นให้ปกครองมวลมุสลิมทั้งๆที่บรรดาคนเหล่านั้นมีศ่อฮาบะฮฺที่ประเสริฐซึ่งพวกเขามิได้รับอะไรจากอุษมาน นอกจากการถูกเฆี่ยนตี(162) ถูกเนรเทศ (163)และถูกทุบตีจนกระดูกหัก(164) และอิสลามเริ่มได้รับการกระทบกระเทือนอย่างจริงจัง และต้องรับความพ่ายแพ้ เพราะบรรดามุสลิมได้กลายเป็นทาสของบะนีอุมัยยะฮฺเสียแล้ว

โอ้ท่านครู ทำไมท่านจึงไม่พูดความจริงกับประชาชนและลูกศิษย์ของท่าน เพื่อให้ความสว่างแก่สติปัญญา และนำทางพวกเขาไปสู่หนทางที่ถูกต้อง สำหรับท่านอะลี(อฺ)นั้น เมื่อท่านได้เข้ารับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ท่านก็พบว่าในหมู่ประชาชนทั้งหลายนั้น มีทั้งพวกผิดสัญญา หรือพวกวางตัวเป็นกลาง หรือไม่ก็เป็นพวกนอกศาสนา และส่วนหนึ่งยังคงเหลืออยู่ก็คือ พวกมุนาฟิก และไม่มีใครอยู่กับอิสลามเคียงข้างท่านอย่างแท้จริง นอกจากเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำการให้บัยอะฮฺต่อท่านเหมือนอย่างการให้บัยอะฮฺต่อท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ท่านได้พยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อแก้ไขเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาได้ก่อความเสียหายไว้ จนกระทั่งท่านต้องพลีชีพไปในวิถีทางของการแก้ไขนั้น และอิมามแต่ล่ะท่านจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ล้วนมิได้รับอะไรนอกจากว่า ทุกๆท่านเหล่านั้นจะต้องพบกับคมดาบ หรือไม่ก็ยาพิษ ทุกๆท่านล้วนพลีชีพไปในหนทางการแก้ไขสภาพการณ์ของประชาชาติแห่งปู่ทวดของพวกท่านเองทั้งสิ้น

แท้จริง สำหรับข้าพเจ้าในโอกาสนี้ จะขอกล่าวถึงแนวทางเพื่อบอกเล่าแก่ท่าน จนกระทั่งให้พวกท่านเข้าใจอย่างชัดแจ้ง ว่าฐานะภาพอันสูงส่งของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)นั้นเป็นอย่างไร

ได้มีชายคนหนึ่ง เข้าพบท่านอิมามอะลี(อฺ) แล้วพูดกับท่านว่า “โอ้ท่านอะมีรุ้ลมุอฺมินีน ข้าพเจ้าอยากถามท่านสักอย่างตามความข้องใจของข้าพเจ้า?”

ท่านอิมามกล่าวว่า “ถามข้อสงสัยของท่านมาเถิด”

ชายคนนั้นถามว่า “เหตุไฉน กิจการปกครองจึงราบรื่นสำหรับอะบูบักรฺ และอุมัร แต่มิได้ราบรื่นสำหรับท่าน ?”

ท่านอิมาม(อฺ) ตอบทันควันว่า “เพราะอะบูบักรฺและอุมัรนั้น ปกครองประชาชนอย่างข้าพเจ้า กิจการของพวกเขาจึงราบรื่น ส่วนฉันต้องมาปกครองอย่างท่าน จึงเพราะเหตุนี้ กิจการงานสั่นคลอน”

มันเป็นคำตอบที่คมคายที่สุดจากผู้รู้ที่ประวัติศาสตร์ไม่เคยรับรู้อย่างนี้มาก่อน หลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ผู้ฟังมีความประทับใจกับรายงานบทนี้

และพวกเขากล่าวว่า “แท้จริงท่านอะลี คือประตูของเมืองแห่งวิชาการ”

และข้าพเจ้าได้จบคำพูดของข้าพเจ้าลงด้วยคำพูดดังนี้

“สำหรับสิ่งที่ท่านครูได้กล่าวมานั้น ที่ว่าข้าพเจ้าตำหนิความสามารถของพวกเขาและตั้งข้อสงสัยในความเที่ยงธรรมของพวกเขา หมายถึงค่อลีฟะฮฺทั้งสามนั้น อันนี้ถือเป็นการจาบจ้วงและตั้งข้อกล่าวหา ซึ่งไม่ได้ยืนอยู่กับหลักฐานใดๆ เพราะข้าพเจ้ามิได้พูดอะไร นอกจากพูดตามที่ท่านบุคอรี และท่านมุสลิมพูดไว้ และที่นักประวัติศาสตร์สายซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺพูดไว้ ครั้นหากจะถือว่าอันนี้ คือ การตำหนิ และเป็นการประณามในเรื่องความเที่ยงธรรมของพวกเขา ก็จงติเตียนเขาเหล่านั้น อย่าได้มาติเตียนข้าพเจ้า

หน้าที่ของข้าพเจ้าสำหรับพวกท่านก็คือ การหยิบยกหลักฐานที่มั่นคงตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เท่านั้น สำหรับพวกท่านจึงไม่มีสิทธิที่ตั้งข้อกล่าวหาข้าพเจ้า นอกจากจะต้องย้อนกลับไปพิจารณาดูตัวบทต่างๆ ที่พวกเขาได้บันทึกไว้เท่านั้น ถึงจะมาติเตียนข้าพเจ้าคนเดียวได้ว่าโกหก”

พวกเขาทั้งหมดกล่าว่า “นี่คือความจริง การวิเคราะห์ปัญหาต้องกระทำกันอย่างนี้”

และพวกเขาก็ขอร้องให้ท่านครู ขออภัยต่อข้าพเจ้า ซึ่งท่านก็กระทำตาม มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก



หลักฐานอีกประการหนึ่งในเรื่องวิลายะฮฺของท่านอะลี(อฺ)
เหมือนกับว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ที่จะให้เรื่องวิลายะฮฺของท่านอะลี(อฺ) เป็นข้อทดสอบสำหรับมวลมุสลิมกล่าวคือ ทุกๆ บทตอน จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะเอกองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีความปรีชาเป็นเลิศต่อปวงบ่าวพระองค์ มิได้เอาโทษคนรุ่นหลังด้วยเหตุแห่งการกระทำของคนรุ่นแรก วิทยปัญญาของพระองค์ที่ประทานให้ในเหตุการณ์นั้น มีปรากฏการณ์อีกสิ่งหนึ่งซึ่งดูคล้ายกับเป็นเรื่องมุอฺญิซาต ที่อยู่เคียงข้างประชาชาตินี้ โดยบรรดาผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ถ่ายทอดต่อๆ กันมา เผื่อว่าอาจได้ชี้นำไปสู่สัจธรรมได้จากวิถีทางของการอธิบาย



หลักฐานที่ 1 เกี่ยวกับบทลงโทษผู้ปฏิเสธวิลายะฮฺของท่านอะลี(อฺ)
นั่นก็คือ หลังจากที่ข่าวที่เฆาะดีรคุมแพร่สะพัดออกไป ว่ามีการแต่งตั้งท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ขึ้นเป็นค่อลีฟะฮฺของบรรดามวลมุสลิม โดยท่านศาสนทูต(ศ)ได้กล่าวกับพวกเขาว่า

“ให้คนที่อยู่ในเหตุการณ์ประกาศต่อไปยังคนที่มิได้อยู่ในเหตุการณ์”

ข่าวนี้ได้แพร่ถึง ฮาริษ บินนุอฺมาน อัล-ฟะฮฺรี เขารู้สึกไม่พอใจกับข่าวนี้(165) เขาจึงได้เข้าพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เขาผูกสัตว์พาหนะของเขาไว้ที่หน้าประตูมัสญิด แล้วเข้าไปหาท่านนบี(ศ) เขากล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด แท้จริงเจ้าได้สั่งให้เราปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และแท้จริงเจ้าเป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เราก็ได้ยอมรับเจ้าในข้อนี้ไปแล้ว เจ้าได้สั่งเราให้นมาซห้าครั้งในวันกับคืนหนึ่งๆ ให้เราถือศีลอดในเดือนรอมฎอนให้เราทำพิธีฮัจญ์ ให้เราจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกเรา ซึ่งเราก็ได้ยอมรับในเรื่องนั้น ๆ จากเจ้าแล้ว เจ้าก็ยังไม่พอใจ เพียงแค่นี้จนถึงกับยกเอาบุตรของลุงของเจ้าขึ้นมาเป็นผู้นำเหนือประชาชนทั้งหลาย แล้วเขายังได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ข้าได้เป็นเมาลาของเขา ดังนั้ อะลี(อฺ) ก็คือเมาลาของเขาด้วย เรื่องนี้มันมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) หรือว่ามาจากเจ้ากันแน่ ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวในขณะที่ดวงตาของท่าน(ศ)แดงก่ำ “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ เรื่องนี้มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และมิได้มาจากฉันเลย”

ท่านกล่าวอย่างนี้ถึงสามครั้ง

ฮาริษได้ยืนขึ้นแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถ้าหากสิ่งที่มุฮัมมัด(ศ)พูดเป็นความจริง ก็ได้โปรดส่งก้อนหินให้ลงจากฟ้ามาถูกเราเถิด หรือให้มีการลงโทษอันแสนทรมานประสบแก่เราเถิด”

ท่านกล่าวว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่ทันที่เขาจะเดินไปถึงอูฐเลย อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงขว้างก้อนหินจากฟากฟ้ามาใส่เขาทันที ดังนั้น ก้อนหินจึงได้ตกลงมาถูกที่กระหม่อม แล้วก็พุ่งออกไปทางทวารและเสียชีวิตในทันที และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานโองการว่า

“ผู้ขอคนหนึ่งได้ขอให้มีการลงโทษ อันได้ปรากฏขึ้นแล้วต่อพวกปฏิเสธซึ่งไม่มีสิ่งปกป้องใดๆ สำหรับเขา”

เหตุการณ์นี้บรรดานักปราชญ์อะลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จำนวนหนึ่งนอกเหนือจากที่เรากล่าวถึงเขาไปแล้วได้ถ่ายทอดบอกเล่ากันไว้(166) ผู้ใดที่ต้องการจะศึกษาเพิ่มเติม ก็ขอให้อ่านดูในหนังสือ “อัล-เฆาะดีร” ของอัล-ลามะฮฺอามินี

*หลักฐานที่ 2 เกี่ยข้องกับบทลงโทษผู้ที่ปกปิดการยืนยันถึงเหตุการณ์ในเฆาะดีรและต้องประสบกับโทษทันฑ์ตามที่ท่านอิมามอะลี(อฺ)ขอ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อท่านอะลี(อฺ) ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นค่อลีฟะฮฺอันเป็นวันที่ประชาชนทั้งหลายชุมนุมกันในอัร-เราะฮฺบะฮฺ ท่านอะลี(อฺ)ได้ประกาศมาจากมิมบัรว่า

“จงยืยันต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เถิด สุภาพบุรุษมุสลิมทุกคนที่ได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวในวันเฆาะดีรคุมว่า :

“ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาเช่นกัน จะต้องลุกขึ้นยืนแล้วยืนยันในสิ่งที่ตนได้ยิน และอย่าได้มีใครลุกขึ้นยืนนอกจากคนที่ได้เห็นท่านด้วยตัวเอง”

จึงได้มีคนลุกขึ้นยืน 30 คนในบรรดาศ่อฮาบะฮฺส่วนหนึ่งนั้นเป็นชาวบัดรี(เคยร่วมรบในสมรภูมิบะดัร) พวกเขายืนยันว่า ท่านนบี(ศ)ได้จับมือของท่านอะลี(อฺ) แล้วกล่าวกับประชาชนว่า

“พวกท่านรู้หรือไม่ว่าฉันผู้มีอำนาจเหนือมวลผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ?”

พวกเขากล่าวว่า “ใช่แล้ว”

ท่านนบี(ศ) “ผู้ใดที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น ผู้นี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮฺ โปรดคุ้มครองผู้ที่จงรักภักดีต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา”

แต่ทว่ามีศ่อฮาบะฮฺบางคน ซึ่งเป็นคนที่เคยได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์วันเฆาะดีร กลับนั่งเฉยด้วยความอิจฉา หรือด้วยความชิงชังต่อท่านอิมาม(อฺ) พวกเขาไม่ลุกขึ้นยืนยัน บรรดาคนเหล่านี้ มีท่านอะนัซ บินมาลิก รวมอยู่ด้วย ท่านอิมามอะลี(อฺ) เดินลงมาจากมิมบัรมาหาเขา แล้วพูดกับเขาว่า

“ทำไมเล่าท่านอะนัซถึงไม่ยืนขึ้นพร้อมกับศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แล้วยืนยันไปในสิ่งที่ท่านได้ฟังมาจากท่านศาสดาในวันนั้น เหมือนอย่างที่พวกเขาเหล่านั้นยืนยันไปแล้ว ?”

เขากล่าวว่า “โอ้อะมีรุ้ลมุอฺมินีน อายุของฉันก็แก่มากแล้ว และฉันก็ลืมเลือนไปแล้ว

ท่านอิมามอะลี(อฺ)กล่าวว่า “หากท่านพูดโกหก ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงลงโทษท่านด้วยโรคเรื้อนที่ผ้าโพกศีรษะก็มิอาจปิดบังได้”

ทันทีที่เขาลุกขึ้นยืนก็ปรากฏว่าใบหน้าของเขามีสีขาวเพราะโรคเรื้อนหลังจากนั้นเขาก็ร้องไห้ แล้วกล่าวว่า

“คำขอดุอาอฺของบ่าวที่ศอลิฮฺได้มาประสบแก่ข้าพเจ้าแล้ว เพราะว่าข้าพเจ้าปกปิดการยืนยันเรื่องของเขา”

นี่คือประวัติที่เลื่องลือกันอย่างมาก โดยท่านอิบนุกุตัยบะฮฺได้บันทึกไว้ในหนังสือ “มะอาริฟ”(167) ซึ่งเขาได้จัดให้อะนัซเป็นศ่อฮาบะฮฺผู้ประสบความเสียหาย ในหมวดว่าด้วย “เรื่องโรคเรื้อน” และเช่นเดียวกับอิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ได้กล่าวไว้ในหนังสือมุซนัดของท่าน(168) ซึ่งท่านกล่าวว่า :

แล้วพวกเขาก็ยืนขึ้น ยกเว้นสามคนเท่านั้น ซึ่งคำขอดุอาฮฺของท่านอะลี(อฺ) ก็ได้ประสบกับพวกเขา

เราควรจะได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้เกี่ยวกับบุคคลทั้งสามที่อิมามอะฮฺมัด ได้เอ่ยถึงโดยริวายัตของบะลาซุรี(169) ท่านได้กล่าวหลังจากพูดถึงท่านอะลี(อฺ)ที่เรียกร้องให้ทำการยืนยันว่า ท่านอะนัซ บินมาลิก ท่านบัรรอฮฺ บินอาซิบ ท่านญะรีร บินอับดุลลอฮฺ อัล-บัจลี นั่งอยู่ข้างล่างมิมบัร แม้ท่านอะลี(อฺ) จะทบทวนคำถามซ้ำ เขาก็มิได้ตอบท่านเลยสักคน ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า

“โอ้อัลลอฮฺ ใครที่ปกปิดการเป็นพยานในเรื่องนี้ ทั้งๆที่รู้ดีแก่ใจเป็นอย่างดี ก็ขออย่าให้เขาตายจากโลกนี้ไปก่อน จนกว่าจะทรงบันดาลให้เกิดสัญญาณอย่างหนึ่งสำหรับเขาจนให้เป็นที่รู้กันด้วยเถิด”

ท่านได้เล่าว่า : ปรากฏว่าอะนัซ บินมาลิก เป็นโรคเรื้อน บัรรอฮฺ บินอาซิบ ต้องตาบอดส่วนญะรีร ได้เดินทางกลับบ้านเมืองหลังจากที่เคยอพยพมาแล้ว เขาได้ประสบภัยร้าย แล้วถึงแก่ความตายที่บ้านของมารดา

นี่คือประวัติอันเป็นที่เลื่องลือ ตามที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้บอกเล่าต่อๆ กันมา(170)

ขอให้คิดใคร่ครวญดูเถิด ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย

ผู้ที่ศึกษาตามเรื่องราว ย่อมจะรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี(171) ว่าตลอดเวลา 25 ปีที่ท่านอิมามอะลี(อฺ)ใช้ชีวิตนั้น ถึงแม้เกือบจะเป็นที่ลืมเลือนไปแล้ว สำหรับฐานะภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามอะลี(อฺ) และระดับความสำคัญอันสูงส่งของท่าน และจิตใจที่ประเสริฐของท่าน ในขณะที่ท่านต้องใช้ความอดทนอดกลั้นเป็นอย่างมาก ท่านได้แนะนำแก่ อะบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน ในสิ่งที่ท่านตระหนักว่า สิ่งที่ท่านแนะนำพวกเขานั้น จะเป็นผลดีแก่อิสลาม และมวลมุสลิม พร้อมกันนั้น ท่านก็รับภาระเรื่องราวในเหตุการณ์แห่งเฆาะดีรคุมไว้อย่างเต็มไปด้วยความหมาย

หมายความว่า ในส่วนที่ลึกท่านถือว่าเรื่องนี้ย่อมมีความสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของท่าน ดังนั้น เมื่อสบกับโอกาสที่เหมาะสมในการรื้อฟื้นเรื่องราวอันนี้ขึ้นมาใหม่ ท่านก็มอบให้เป็นภาระของคนอื่นเพื่อยืนยันเป็นสักขีต่อเรื่องนั้นโดยผู้ที่ได้ยินได้เห็นเหตุการณ์ในวันนั้น

ลองพิจารณาดูเถิดว่า วิธีการรื้อฟื้นเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเป็นอย่างไร มีวิทยปัญญาอันลึกล้ำซ่อนเร้นอยู่แค่ไหน สำหรับการหยิบยกหลักฐานแก่มวลมุสลิม ซึ่งมีทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์และที่มิได้อยู่ในเหตุการณ์ ครั้นถ้าหากว่าท่านอิมามอะลี(อฺ)จะกล่าวว่า

“โอ้ประชาชาชนทั้งหลาย แน่นอน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ทำพิธีมอบสัตยาบันแก่ฉันที่เฆาะดีรคุม สำหรับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ แน่นอน”

การทำอย่างนั้นย่อมจะเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมาในจิตใจของผู้ฟังและแน่นอนพวกเขาจะแย้งท่าน(อฺ)ได้ว่า แล้วทำไมท่าน(อฺ)ถึงเงียบอยู่ได้เป็นเวลานานเช่นนั้น แต่เมื่อท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ขอให้ยืนยันต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เถิด สุภาพบุรุษมุสลิมทุกคนที่ได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวในวันเฆาะดีรคุม”

ซึ่งปรากฏว่าเหตุการณ์อันนั้น ก็ได้ถูกถ่ายทอดจากปลายลิ้นของคนสามสิบคนที่เป็นศ่อฮาบะฮฺ ในจำนวนนั้นมีชาวบัดรีสิบหกคน

ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมาม(อฺ)ใช้เป็นวิธีการตัดปัญหาของผู้ปฏิเสธ และผู้ตั้งข้อสงสัยและผู้ที่แย้งในเรื่องที่ว่า ท่าน(อฺ)เงียบเฉยอยู่เป็นเวลานานในช่วงนั้นเพราะสามสิบคนที่นับว่าเป็นศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติต่างก็นิ่งเงียบ พร้อมกับท่าน(อฺ)จึงถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญประการหนึ่ง และถือว่าการนิ่งเงียบในยามนั้น เป็นผลดีต่ออิสลามอย่างไม่ต้องสงสัย



หมายเหตุสำหรับเรื่องการชูรอ
ในบทก่อนเราได้เห็นมาแล้ว ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ตามคำสอนของพวกชีอะฮฺนั้น ถือว่า มีขึ้นโดยการคัดเลือกของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการแต่งตั้งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) หลังจากที่ได้มีวะฮฺยูลงมายังท่านในเรื่องนั้นแล้ว

นี่คือคำสอนที่เดินตามปรัชญาของอิสลามในกฏเกณฑ์ต่างๆ และบทบัญญัติต่างๆ ทั้งหมด เพราะว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้สร้างตามที่พระองค์ทรงประสงค์ “และทรงคัดเลือกตามที่ประสงค์ สำหรับพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการที่จะเลือก” (อัล-เกาะศ็อส / 68)

โดยเหตุที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ให้ประชาชาติของศาสดามุฮัมมัด(ศ)เป็นประชาชาติที่ประเสริฐ อันถูกนำออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่มวลมนุษยชาติ จึงจำเป็นสำหรับประชาชาตินี้ ที่จะต้องมีผู้นำที่ประกอบด้วยวิทยปัญญาอันลึกซึ้ง เที่ยงธรรม รอบรู้ มีพลัง กล้าหาญ สะอาดบริสุทธิ์ สมถะ ที่อยู่ในระดับสูงส่งไป ด้วยความอีหม่าน บุคคลเช่นนี้จะมีมามิได้ นอกจากโดยการคัดเลือกจากเอกองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์ตรัสว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงคัดเลือกจากมวลมะลาอิกะฮฺให้เป็นทูตและจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงมองเห็น” (อัล-ฮัจญ์ / 75)

เช่นเดียวกับที่ว่า บรรดานบีนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงคัดเลือกมา บรรดาทายาทของศาสดาก็เป็นในทำนองเดียวกัน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เคยกล่าวไว้ว่า

“สำหรับทุกๆนบีนั้น มีทายาทสำหรับฉัน ทายาทของฉันคืออะลี บินอะบีฏอลิบ” (172)

อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า

“ฉันคือผู้มาให้ความสมบูรณ์แก่บรรดานบี ส่วนอะลีคือผู้มาให้ความสมบูรณ์แก่บรรดาทายาทของนบี”(173)

ตามพื้นฐานอันนี้ จะเห็นได้ว่าบรรดาชีอะฮฺ จะสบายใจและปลอดโปร่งใจที่สุด พวกเขายอมรับให้กิจการของพวกเขา เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์ จึงไม่มีใครในหมู่พวกเขาแม้สักคนเดียวที่จะพูดว่าตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นของตัวเขาเอง และเขาอยากได้ตำแหน่งนั้น ไม่ใช่ทั้งข้อบัญญัติ และไม่ใช่ทั้งการคัดเลือก ทั้งนี้เพราะว่า

1.ถ้าถือว่าเป็นข้อบัญญัติ ก็เท่ากับปฏิเสธการเลือกตั้ง และปฏิเสธระบบชูรอ

2.เพราะข้อบัญญัตินั้นมาจากท่านศาสนทูต แห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กำหนดลงมายังบุคคลจำนวนหนึ่งที่มีรายชื่อที่แน่นอนอยู่แล้ว(174) จึงไม่มีใครมุ่งมาดปรารถนาในตำแหน่งนี้อีกเลยในหมู่พวกเขา และถ้าใครทำ เช่นนั้น ก็จะถือว่าเป็นผู้ละเมิดและออกนอกศาสนา

ส่วนตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกและการชูรอ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเปิดประตูที่ไม่มีใครในประชาชาตินี้จะปิดมันลงไปได้สักคนเดียว พวกเขาทุกคนไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลต่างก็มีความปรารถนาในตำแหน่งนี้ได้ทั้งสิ้น จนกระทั่งว่า ตำแหน่งนี้ถึงกับเปลี่ยนมือไปจากชาวกุเรชไปเป็นของบ่าวทาส และเป็นของคนเก่งกล้าสามารถและของผู้ครองอาณาจักร ต่อๆกันไป

คุณค่าและเงื่อนไขต่างๆ ที่พวกเขาวางไว้ในตำแหน่งค่อลีฟะฮฺนั้น อบอวลล่อใจอย่างยิ่ง เพราะปุถุชนนั้นย่อมมีกิเลส มีความคิดเห็นแก่ตัวตามวิสัยโดยธรรมชาติ เพียงเพื่อการให้ได้เข้าสู่อำนาจการปกครอง ถึงจะต้องกลับคืนสู่สภาพเดิม และเป็นคนเลวกว่าที่เคยเป็นก็ยอม ทั้งนี้ประวัติศาสตร์ของอิสลามได้ยืนยันเป็นอย่างดีสำหรับเรื่องนี้ ดังนั้น จึงได้มีนักปกครองมวลมุสลิมประเภทที่ก่อความเสียหายและละเมิดศาสนา และมีทั้งคนที่ไม่มีความละอาย ไม่มีทั้งจริยธรรมและศาสนา

ข้าพเจ้าหวั่นใจว่า ท่านผู้อ่านจะหาว่าข้าพเจ้าพูดจนเกินเลย ถ้าเช่นนั้นก็ขอให้ได้อ่านดูประวัติศาสตร์ของตระกูลอุมัยยะฮฺ และตระกูลอับบาซียะฮฺ และอื่นๆ ดูเถิด เพื่อจะได้รู้ว่า “อะมีรุลมุอฺมินีน” เป็นคนดื่มสุราอย่างเปิดเผย เป็นคนหยอกเล่นกับลิง สวมใส่ทองคำ “อะมีรุลมุอฺมินีน” ให้ทาสหญิงสวมชุดแต่งกายของตนเพื่อนมาซกับมวลมุสลิม “อะมีรุลมุอ์มินีน” นั้น เมื่อนางสนมที่ตนรักยิ่งถึงแก่ความตาย สติปัญญาถึงกับเลอะเลือน “อะมีรุลมุอฺมินีน”รบกวนนักกวีให้ทำการสรรเสริญยกย่องตนเอง

เพราะเหตุใดที่เราลืมเลือนเรื่องของบุคคลเหล่านี้ผู้ซึ่งเคยได้ปกครองมวลมุสลิม เป็นเพราะว่าพวกเขามิได้ทำตัวเป็นอย่างอื่น นอกจากทำตัวเป็นจักพรรดิ์ที่ดุดัน และไม่ทำตัวเป็นค่อลีฟะฮฺ ด้วยเหตุนี้จึงมีรายงานฮะดีษบอกเล่ากันมา นั่นคือ คำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่ว่า

“ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ จะมีภายหลังจากฉันเพียงสามสิบปี หลังจากนั้นตำแหน่งนี้ก็จะกลายเป็นระบบกษัตริย์ที่เผด็จการ”

ข้าพเจ้าได้ตอบคนเหล่านั้นว่า โปรดพิจารณาดูค่อลีฟะฮฺที่สามในบรรดาค่อลีฟะฮฺรอชิดีนดูเถิด เขาผู้นั้น คือคนที่มีฐานะภาพประเสริฐกว่าท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) เสียอีกตามทัศนะของพวกเขา พวกเขาให้ฉายานามแก่คนผู้นั้นว่า “ซุล-นูรัยน์” (ผู้มีสองรัศมี) ซึ่งมะลาอิกะฮฺของ อัร-เราะฮฺมาน ยังต้องให้ความคารวะ แต่เขาก็ถูกโค่นล้มด้วยพลังของการปฏิวัติอิสลาม เพราะความประพฤติตัวของเขา คนทั้งหลายให้ความชิงชังในตัวเขา จนกระทั่งขับเขาออกจากกรอบของอิสลาม ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการอนุมัติให้สังหารเขา และให้ฝังเขาในสุสานอื่นที่มิใช่ของมุสลิม โดยไม่มีการอาบน้ำฆุซุล ไม่มีการห่อกะฝั่น และถมทับ มัยยิต ของเขาด้วยก้อนหิน

ใครที่ได้อ่านประวัติศาสตร์ ก็จะรู้สึกแปลกใจต่อพฤติกรรมของค่อลีฟะฮฺแห่งมวลมุสลิม ที่สร้างความน่าเกลียดยิ่งกว่าคนสามัญทั่วไป

ข้อสำคัญ เรามิได้ทำการวิเคราะห์กันถึงหัวข้อนี้ ดังนั้น ผู้ใดที่ต้องการศึกษาเรื่องนี้ ก็ขอให้ย้อนไปศึกษาหนังสือประวัติศาสตร์ ตารีค ฏ็อบรี ตารีคอัล-กะษีร อะบูอัล-ฟิดาฮฺ อิบนุ กุตัยบะฮฺ และอื่นๆ

ข้าพเจ้าเพียงแต่ต้องการจะอธิบายเกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องการคัดเลือกและเท้าความถึงทฤษฎีจากรากฐานเดิมของเรื่อง เพราะว่าคนที่เราเลือกขึ้นมาในวันนี้ เราก็เคยเกลียดชังเขาในวันพรุ่งนี้ และเป็นที่แน่ชัดแก่เรา ว่าเราผิดพลาดไปแล้ว และเราไม่สามารถทำการเลือกให้ดีได้ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับอับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ เอง เมื่อเขาเลือกให้ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นของอุษมาน บินอัฟฟาน แล้วเขาก็ต้องเสียใจในภายหลัง แต่ว่าความเสียใจของเขานั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดแก่ประชาชาติ ในเมื่อมันเป็นการผูกมัดจนแน่นไปแล้ว

ในเมื่อปรากฏว่า ศ่อฮาบะฮฺผู้มีเกียรติในรุ่นแรก อย่างอุษมานเองก็ยังไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้แก่ อับดุลเราะฮฺมาน บินเอาวฺฟ ยังไม่สามารถทำการเลือกให้ดีที่สุดได้ สำหรับผู้มีสติปัญญาก็ไม่อาจที่จะปล่อยเลยตามเลยกับทฤษฎีที่เป็นหมันนี้ได้อีกต่อไป และผลิตผลที่ก่อเกิดมาจากทฤษฎีนี้ก็ไม่มีอะไร นอกจากความยุ่งยาก ไม่มีความสงบ มีแต่การนองเลือด ก็ในเมื่อการให้บัยอะฮฺแก่อะบูบักรฺ ถือเป็นเรื่องฉุกเฉิน ตามที่ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ กล่าวไว้

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงปกป้องความชั่วร้ายของมันมิให้ประสบแก่มวลมุสลิม และปรากฏว่า ศ่อฮาบะฮฺกลุ่มใหญ่ขัดแย้งและขัดขืน และในเมื่อการให้บัยอะฮฺต่อท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ที่มีในภายหลังจากนั้นมีขึ้นโดยคนระดับหัวหน้ากลุ่มต่างๆ แต่ก็ยังมีศ่อฮาบะฮฺบางคนลบล้างการให้บัยอะฮฺ ต่อจากนั้น ก็สานต่อเป็นสงครามญะมัล สงครามศิฟฟิน สงครามนะฮฺรอวาน และทำให้ชีวิตของผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียเป็นจำนวนมาก

บรรดาผู้มีสติปัญญาจะคล้อยตามหลักเกณฑ์อันนี้ต่อไปอีกได้อย่างไร ในเมื่อมันให้แต่ความพ่ายแพ้สูญเสียอย่างยับเยิน เป็นค่าตอบแทนนับตั้งแต่ต้น และมันได้กลายเป็นความขมขื่นของมวลมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราได้รู้ว่าบรรดาผู้ที่ยืนยันถึงหลักการชูรอนั้น พวกเขาจะเลือกค่อลีฟะฮฺกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือขับเขาออกจากตำแหน่งได้อีกเลยแน่นอน มวลมุสลิมเคยใช้ความพยายามขับอุษมานออกจากตำแหน่ง แต่อุษมานก็ได้ปฏิเสธ แล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าจะไม่ถอดเสื้อที่อัลลอฮฺสวมมันให้แก่ข้าพเจ้า”

ข้อสังเกตเพิ่มเติมสำหรับเราจากทฤษฎีนี้ก็คือว่า ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่าอารยธรรมของโลกตะวันตกที่อ้างตนว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตยในการเลือกผู้นำของประเทศ จะเห็นได้ว่ามีพรรคการเมืองอย่างมากมาย ต่างต่อสู้ ช่วงชิงกับองค์กรต่างๆ และแข่งขันกันเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งในรัฐบาลได้มีการใช้เงินเพื่อการนี้เป็นจำนวนนับล้านดีนาร ซึ่งใช้เฉพาะเพื่อการโฆษณาโดยสื่อต่างๆทุกแขนงและจะทุ่มเทความสามารถอย่างมากตามความรู้สึกของผู้ถูกกดขี่จากมวลหมู่ประชาชนผู้ยากไร้ที่มีความปรารถนา ความต้องการเป็นอย่างยิ่ง

แต่ทันทีที่คนๆ หนึ่งในหมู่พวกเขาได้เข้าสู่ตำแหน่งผู้นำโดยวิธีเล่นการเมืองที่พวกเขายอมรับ นั่นคืออาศัยการตัดสินใจโดยเสียงส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นหนทางเดียวในการหยุดปัญหาได้ ความเห็นแก่ตัวก็เข้ามาครอบงำทันทีโดยมีการมอบตำแหน่งให้ผู้สนับสนุนตนเอง และสมาชิกพรรค มิตรสหายญาติพี่น้อง ทำหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบต่องานใหญ่ๆ และควบคุมองค์กรสำคัญๆ เพื่อบริหาร แล้วปล่อยให้อีกพวกหนึ่งทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสมัยที่เขาเป็นผู้นำ

ทั้งนี้โดยความเห็นตรงกันอีกด้วย โดยพวกเขาก็จะสร้างปัญหาที่ยุ่งยากพิสดาร โดยจะใช้ความพยายามจนสุดความสามารถในการเปิดโปงและห้ำหั่นเขาทุกวิถีทางเพื่อให้พ่ายแพ้จนประชาชนหมดความไว้วางใจต่อการทำงานของเขา

ตั้งเท่าไหร่มาแล้วที่คุณค่าของมนุษย์ตกต่ำลงไป ตั้งเท่าไหร่มาแล้วที่ความต่ำต้อยของมารร้ายได้หยิบยกเอานามคำว่าเสรีภาพและประชาธิปไตยมาเชิดชู ภายใต้คำขวัญต่างๆ อันสวยหรู จนเรื่องรักร่วมเพศ(ลิวาฎ)ได้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย การละเมิดประเวณี(ซินา) วิธีแลกเปลี่ยนผัวเมียกัน ถูกถือเป็นเรื่องทันสมัย วิเศษสุด เรื่องเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่มีอุปสรรคใดๆ






๑๓
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ส่วนความเชื่อถือของชีอะฮฺนั้นยังคงความยิ่งใหญ่ และมั่นคง ด้วยการยืนยันว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ คือรากฐานหนึ่งของศาสนา เพราะสภาพสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของปัจเจกชนจะดำเนินอยู่ในวิถีทางที่เที่ยงธรรมได้ ก็เพราะสิ่งนี้

คำยืนยันของพวกเขาที่ว่าตำแหน่งนี้ ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของอัลลอฮฺ นับเป็นคำยืนยันที่มีเหตุมีผล เป็นที่ยอมรับของสติปัญญา และส่วนลึกในจิตใจ และยังมีการสนับสนุนโดยข้อบัญญัติจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้คิดคล้อยตามแรงปรารถนาทะยานอยาก โดยผู้ก่อความเสียหายและทำลายพันธสัญญา และโดยพวกมุนาฟิก ตลอดทั้งผู้แสวงหาอำนาจเผด็จการทั้งหลาย

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“พวกหนึ่งนั้นจะอยู่กับทางนำ และพวกหนึ่งความหลงผิดจะตกแก่พวกเขา แท้จริงพวกเขาถือเอามารร้ายเป็นพันธมิตรนอกเหนือจากอัลลอฮฺ และพวกเขาคิดว่า แท้จริงพวกตนเป็นผู้รับทางนำแล้ว” (อัล-อะรอฟ / 30)



กฎลิขิตและการกำหนดสภาวะ(เกาะฎอ-เกาะดัร)
ความเชื่อของพวกซุนนะฮฺในเรื่องเกาะฎอ-เกาะดัร
เรื่องกฎลิขิตและการกำหนดสภาวะ(เกาะฎอ-เกาะดัร)เป็นเรื่องหนึ่งที่ยังความสับสนปั่นป่วนตลอดชีวิตของข้าพเจ้าที่ผ่านมาในอดีต เพราะยังไม่พบคำอธิบายที่ลึกซึ้งและยังไม่เพียงพอแก่การยอมรับตามความคิดของข้าพเจ้า และยังไม่เกิดความยอมรับในจิตใจของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ายังคงกระวนกระวายใจในขณะที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนอะฮฺลิซซุนนะฮฺว่ามนุษย์เรานั้น มีเส้นทางหนึ่งอยู่แล้ว สำหรับพฤติกรรมของตนเอง(ทุกคนจะดำเนินไปตามเส้นทางที่ถูกสร้างมาให้กับเขา) และเชื่อว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ส่งมะลาอิกะฮฺสององค์ไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยจะบันทึกเรื่องวาระสุดท้ายของเขา ริซกีของเขาและการงานของเขาไว้อย่างเสร็จสรรพ ไม่ว่าจะเป็นคนเลวหรือคนดี(175)

ข้าพเจ้ามีความรู้สึกขัดแย้งอยู่เสมอระหว่างความเชื่อเหล่านี้กับสติปัญญาและส่วนลึกภายในจิตใจของข้าพเจ้าที่เป็นไปในเรื่องความยุติธรรมของอัลลอฮฺ และความไม่อยุติธรรมของพระองค์ต่อสรรพสิ่งทั้งมวลของพระองค์(มัคลูก)ที่ทรงสร้างมา เป็นได้อย่างไรที่พระองค์ทรงบังคับให้พวกเขามีพฤติกรรมหนึ่ง แล้วพระองค์มิได้สอบสวนพวกเขาในเรื่องนั้น และจะทรงลงโทษพวกเขาโดยสิ่งที่พระองค์ทรงบันทึกไว้ในวิถีชีวิตของพวกเขา และกำหนดให้พวกเขาเป็นอย่างนั้น

ข้าพเจ้าเองก็เหมือนกับคนหนุ่มชาวมุสลิมทั้งหลาย ที่ดำเนินชีวิตอยู่กับความเชื่ออันบกพร่องทางความคิดอันนั้น โดยที่ข้าพเจ้าเชื่อว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือผู้ทรงมีอำนาจเด็ดขาด ซึ่งพระองค์จะไม่ถูกสอบสวนในสิ่งที่ทรงกระทำ แต่พวกเขาเองต่างหากที่จะถูกสอบถาม(176) พระองค์คือผู้ทรงกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์(177) แน่นอนพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ และกำหนดให้ส่วนหนึ่งในหมู่พวกเขาเข้าสวรรค์ และให้อีกส่วนหนึ่งลงนรก

ต่อจากนั้นก็เชื่อว่าพระองค์คือ อัร-เราะฮฺมาน ฮิรเราะฮีม ผู้มีความเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์ไม่มีความอธรรมแม้เพียงอณูเดียว(178)

“และพระผู้อภิบาลของเจ้าไม่มีความอธรรมใดๆต่อปวงบ่าว” (ฟุศศิลัต / 46)

“แท้จริงอัลลอฮฺมิทรงอธรรมต่อมนุษย์สักสิ่งเดียว แต่มนุษย์เองที่อธรรมต่อตัวของพวกเขา” (ยูนุซ / 44)

หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงให้พวกเขามีความรัก มีความเป็นห่วงต่อสตรี เพื่อบุตรของนาง ดังที่มีบอกอยู่ในฮะดีษ(179) ยังมีอีกมากมายที่ความบกพร่องเหล่านี้ปรากฏให้เห็นในความเข้าใจของข้าพเจ้าที่มีต่อโองการต่างๆ ของอัล-กุรอาน ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่า มนุษย์นั้นโดยตัวเขาเอง จะมีทางนำอันชัดแจ้ง เขาคือผู้รับผิดชอบคนเดียวจากการงานของเขา

“ดังนั้นผู้ใดที่กระทำความดี แม้เพียงธุลีหนึ่งเขาก็จะได้เห็นและผู้ใดที่กระทำความชั่วเพียงธุลีหนึ่ง เขาก็จะได้เห็น” (อัซ-ซัลซะละฮฺ / 7-8)

บางครั้งก็เข้าใจว่ามีเส้นลิขิตหนึ่งอยู่แล้ว และสำหรับมันจะไม่มีการแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น และไม่มีพลังใดๆ อีก จะไม่มีคามสามารถควบคุมสิ่งมีประโยชน์ใดๆ เพื่อตัวเอง และสิ่งที่เป็นอันตรายใดๆ และไม่มีริซกีใดๆ

“และพวกสูเจ้าจะมิได้ประสงค์สิ่งใด นอกจาก(สิ่งนั้น)อัลลอฮฺทรงประสงค์” (อัล-อินซาน / 30)

“ดังนั้น แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้หลงผิดต่อผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์” (ฟาฏิร / 8)

ใช่แล้ว ไม่ได้เพียงข้าพเจ้าคนเดียว แต่มวลมุสลิมส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิตอยู่กับความบกพร่องทางความคิดอันนี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เราจะพบว่า บรรดาอาวุโสและนักปราชญ์ส่วนใหญ่ เมื่อถูกถามเกี่ยวกับเรื่องเกาะฎอเกาะดัร พวกเขาจะไม่มีคำตอบที่ควรแก่การยอมรับแม้ตัวของเขาเอง ก่อนที่จะทำให้คนอื่นๆ เกิดการยอมรับ

พวกเขากล่าวว่า “นี่คือเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปศึกษา”

บางคนห้ามมิให้ศึกษาในเรื่องนี้ไปเลย โดยกล่าวว่า

“จำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องเชื่อถือในเรื่องเกาะฎอเกาะดัร ทั้งในด้านความดีและความชั่ว และให้ถือว่า สิ่งเหล่านี้มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

หากมีคนแข็งข้อถามพวกเขาว่า

“เป็นไปได้อย่างไรว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดให้บ่าวของพระองค์ประพฤติกรรมชั่ว ต่อจากนั้นแล้ว พระองค์ก็นำเขาเข้าสู่นรกญะฮันนัม?”

ผู้อาวุโสเหล่านั้นก็จะตั้งข้อกล่าวหาทันทีว่าเป็นกาฟิร เป็นพวกนอกศาสนา และอื่นๆ อีกสารพัดที่เป็นข้อหา ดังนั้น สติปัญญาจึงดับด้านความศรัทธาก็จะกลายเป็นว่า เรื่องแต่งงานก็ถูกกำหนดไว้แล้ว การหย่าก็ถูกกำหนดไว้แล้ว แม้กระทั่งการทำซินา ก็คือสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้ว โดยพวกเขาจะกล่าวว่า

“ได้ถูกบันทึกไว้แล้วสำหรับอวัยวะเพศของคนทุกคนเกี่ยวกับชื่อคู่ครองของตน และเช่นเดียวกันกับเรื่องการดื่มสุรา การฆ่าชีวิตคน แม้กระทั่งการกิน การดื่ม เพราะท่านจะไม่ได้กิน ไม่ได้ดื่ม นอกจากตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดไว้ให้ท่าน”

ข้าพเจ้าเคยพูดกับนักปราชญ์ของเราบางท่านหลังจากที่เขาเสนอปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทุกประการแล้วว่า

“แท้จริงอัล-กุรอาน ปฎิเสธการแอบอ้างอย่างนี้ และเป็นไปไม่ได้สำหรับฮะดีษที่จะมาหักล้างอัล-กุรอาน พระองค์ทรงมีโองการในเรื่องการแต่งงานว่า

“และจงแต่งงานกับสตรีที่ดีสำหรับสูเจ้า” (อัน-นิซาอ์ / 3)

อันนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความมีเสรีภาพในการเลือก ส่วนในเรื่องการหย่า ทรงมีโองการว่

า “การเฏาะลากนั้น มีสองครั้ง กล่าวคือให้ครองเรือนอย่างมีคุณธรรม หรือไม่ก็ให้หย่าร้างแต่โดยดี” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 229)

นี่ก็เช่นกันสำหรับการให้อิสระในการเลือกในเรื่องการทำซินา พระองค์ตรัสว่า

“และจงอย่าเข้าใกล้การซินา แท้จริงมันคือความชั่วและเป็นวิถีทางที่เลวยิ่ง” (อัล-อิซรออฺ / 32)

นี่ก็อีกเช่นกัน ที่เป็นหลักฐานในเรื่องการให้เลือกโดยอิสระ ในเรื่องสุราตรัสว่า

“แท้จริงชัยฏอนประสงค์จะก่อความเป็นศัตรูและความเกลียดชังระหว่างพวกสูเจ้าในเรื่องสุราและการพนัน และขัดขวางพวกสูเจ้าออกจากการรำลึกอัลลอฮฺ และออกจากการนมาซ ดังนั้น พวกสูเจ้าเป็นผู้หยุดยั้งแล้วหรือ” (อัล-มาอิดะฮฺ / 91)

นี่ก็คือสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม หมายความว่า ให้ทางเลือกนั่นเองส่วนการฆ่าชีวิตคน พระองค์ตรัสว่า

“และจงอย่าสังหารชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงหวงห้าม นอกจากเป็นความชอบธรรม” (อัล-อันอาม / 151)

พระองค์ตรัสอีกว่า

“และผู้ใดที่สังหารผู้ศรัทธาโดยเจตนา ก็จะได้รับผลตอบแทนคือ ญะฮันนัม จะอยู่ตลอดกาลในนั้น และอัลลอฮฺจะทรงพิโรธเขา และทรงสาปแช่งเขา และทรงกำหนดไว้สำหรับเขาคือการลงโทษอย่าสาหัส” (อัน-นิซาอ์ / 93)

นี่ก็อีกเช่นกัน ที่ให้ความหมายในทางด้านการมีสิทธิเลือก แม้กระทั่งในเรื่องการกินการดื่ม พระองค์ก็ยังมีคำสอนพื่อเป็นกฎสำหรับเรา ตรัสว่า

“จงกิน จงดื่ม แต่อย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่รักบรรดาคนฟุ่มเฟือย” (อัล-อะอฺรอฟ / 31)

นี่ก็ทรงให้สิทธิในการเลือกเช่นกัน

โอ้ท่าน จะเป็นไปได้อย่างไรว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)สำหรับบ่าวนั้น เป็นคนเดินตามเส้นทางในพฤติกรรมต่างๆ ทุกประการในเมื่อหลักฐานจากอัล-กุรอาน เป็นอย่างนี้ ????

เขาตอบข้าพเจ้าว่า “เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นองค์เดียวที่บริหารกิจการในจักรวาล โดยหลักฐานจากดำรัสของพระองค์ว่า

“จงกล่าวเถิด ข้าแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเป็นเจ้าของอาณาจักร ทรงประทานอำนาจการครอบครองแก่ผู้ที่ทรงประสงค์ และทรงถอดถอนอำนาจการครอบครองอาณาจักรจากผู้ที่ทรงประสงค์และทรงให้อำนาจแก่ผู้ที่ทรงประสงค์ และทรงให้ความตกต่ำเกิดแก่ผู้ประสงค์ ความดีงามนั้นอยู่ในอำนาจของพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง” (อาลิอิมรอน / 26)

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เรามิได้ขัดแย้งกันในเรื่องความประสงค์ของอัลลอฮฺ ถ้าอัลลอฮฺทรงประสงค์จะทรงกระทำสิ่งใด ทั้งมนุษย์และญิณ และมัคลูกทั้งมวลก็ไม่มีความสามารถจะคัดค้านความประสงค์ของอัลลอฮฺได้ เพียงแต่ว่าความขัดแย้งของเราอยู่ในเรื่องการกระทำของปวงบ่าวว่า มันมาจากพวกเขาเอง หรือว่าจากอัลลอฮฺ ??”

เขาตอบว่า “สำหรับท่านก็ศาสนาของท่าน สำหรับฉันก็ศาสนาของฉัน”

เขาปิดประตูการซักไซ้กันเพียงแค่นี้ นี่คือเรื่องราวในหลายๆ ครั้งที่นักปราชญ์ของเรามักจะนำมาใช้เพื่อหยุดการสนทนาลงเพียงแค่นั้น พวกเขาไม่เปลี่ยนแปลง และถือว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ทุกเรื่องเป็นบิดอะฮฺ จำได้ว่า ข้าพเจ้าได้กลับไปหาเขาอีก ในสองวันต่อมา ข้าพเจ้ากล่าวกับเขาว่า

“ถ้าหากความเชื่อของท่านหมายถึงว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นผู้กระทำในทุกๆ สิ่งและปวงบ่าวทั้งหลายไม่มีสิทธิในการเลือกเองแม้แต่สิ่งเดียว แล้วทำไมท่านถึงไม่กล่าวยืนยันในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺอย่างเดียวกับคำพูดนั้นด้วยเล่าว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงเลือกในสิ่งที่ทรงประสงค์ ไม่ใช่หน้าที่สำหรับพวกเขาที่จะเลือก ?”

เขากล่าวว่า “ใช่ ข้าพเจ้าพูดอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นผู้คัดเลือกอะบูบักรฺ ต่อมาก็อุมัร ต่อมาก็อุษมาน ต่อมาก็อะลี และถ้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ให้อะลีเป็นค่อลีฟะฮฺคนแรก มนุษย์และญินก็ไม่สามารถจะยับยั้งได้”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ตอนนี้ท่านพลาดไปแล้ว”

เขากล่าวว่า “ฉันพลาดอย่างไร ?”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ที่ท่านกล่าวนั้นหมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกเฉพาะแต่ค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ทั้งสี่คนแล้วหลังจากนั้นพระองค์ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนให้เลือกกันเองตามใจชอบนะซิ”

ก็ในเมื่อท่านกล่าวว่า : อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้ปล่อยให้มนุษย์เลือกเอง พระองค์ก็ต้องเลือกค่อลีฟะฮฺทั้งหมดนับจากการวะฟาตของศาสนฑูต(ศ)จนถึงวันกิยามะฮฺ ใช่ไหม ?

เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าขอกล่าวโองการนี้เป็นครั้งที่สอง “ข้าแต่อัลลอฮฺผู้ทรงเป็นเจ้าของอาณาจักรทรงประทานอำนาจการครอบครองแก่ผู้ที่ทรงประสงค์ และทรงถอดถอนอำนาจการครอบครองจากผู้ที่ทรงประสงค์”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น หมายความว่า ผู้กระทำการผิดพลาดและหลงผิดทุกคน คนกระทำความชั่วทุกคนที่ปรากฏขึ้นมาในอิสลาม โดยสาเหตุของการมีอำนาจปกครอง และเป็นเจ้านายคนก็มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะว่าพระองค์ทรงกำหนดให้ คนเหล่านั้นขึ้นครองอำนาจเหนือมวลมุสลิมกระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า “ต้องเป็นอย่างนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลายได้อ่านโองการหนึ่งที่ว่า

“และเมื่อเราต้องการจะทำลายเมืองใด เราก็จะให้บรรดาผู้ที่ฟุ้งเฟ้อในเมืองนั้น เป็นผู้ปกครองมัน” คือ ให้เป็นเจ้าเมือง”

ข้าพเจ้าพูดด้วยความประหลาดใจว่า

“ถ้าเช่นนั้น แสดงว่า การสังหารท่านอะลี โดยน้ำมือของ อิบนุ มุลญิม และการสังหารท่านอิมามฮุเซน บุตรของท่านอะลี ก็เป็นไปตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นะซิ ??”

เขาตอบอย่างผู้มีชัยชนะ

“ใช่แน่นอน ท่านไม่เคยได้ยินฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ)หรือที่ท่านกล่าวกับอะลีว่า : “คนเลวที่สุดในยุคสุดท้าย คือคนที่ฟาดฟันเจ้า ตั้งแต่ตรงนี้ถึงตรงนี้ (จะนองด้วยเลือด)” พลางท่านก็ชี้ไปยังศีรษะและเคราของท่านอะลี กัรเราะมัลลอฮฺฯ เช่นเดียวกัน ท่านซัยยิดินาฮุเซน ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทราบดีว่าจะถูกสังหารที่กัรบะลาอฺ ท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺได้เล่าไว้อย่างนั้น

เช่นกันท่านทราบดีว่าซัยยิดินาฮะซันนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงแบ่งประชาชาติออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ เพราะท่าน ดังนั้นทุกอย่างถูกขีดเส้นไว้แล้ว และถูกบันทึกไว้แล้วมนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตรงนี้ท่านเองนั่นแหละที่พลาดไม่ใช่ฉัน”

ข้าพเจ้านิ่งเงียบไปเล็กน้อย สังเกตดูว่าเขาพึงพอใจกับคำพูดนี้เป็นอย่างยิ่ง และคิดว่า สามารถเอาชนะข้าพเจ้าได้ ทำอย่างไร จะให้ข้าพเจ้ายอมรับกับคำพูดของเขา เพราะความรอบรู้ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มิได้หมายความเสมอไปว่าพระองค์ทรงกำหนดเรื่องนั้นๆ และจะบังคับมนุษย์ให้เป็นอย่างนั้น ข้าพเจ้ารู้มาก่อนแล้วว่า ความคิดของเขาจะไม่สามารถรับได้กับความเชื่อถืออย่างนี้ จึงได้ถามเขาใหม่ว่า

“ถ้าเช่นนั้นบรรดาผู้นำทุกคน และผู้ปกครองในอดีต จนถึงปัจจุบันทุกคน รวมทั้งพวกที่ทำสงครามกับอิสลามและมวลมุสลิมทั้งหมดนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้แต่งตั้งพวกเขามาใช่ไหม ?”

เขาตอบว่า “ใช่โดยไม่ต้องสงสัย”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “แม้แต่การล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสยังเมืองตูนิเซีย อัล-ญิเรีย มอรอคโคก็ล้วนมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ?”

เขากล่าวว่า “ใช่ จนถึงระยะเวลาตามกำหนด ฝรั่งเศสก็ออกไปจากดินแดนเหล่านั้น”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ ทำไมแต่ก่อนนี้ท่านสนับสนุนความคิดของอะฮฺลุลบัยตฺที่ว่าท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตายแล้วปล่อยให้ภารกิจเป็นเรื่องชูรอกันระหว่างมวลมุสลิม เพื่อให้พวกเขาเลือกกันเองตามความประสงค์ ?”

เขากล่าวว่า “ใช่แล้ว บัดนี้ฉันก็ยังคงพูดเช่นนั้น และยังจะพูดต่อไป อินชาอัลลอฮฺ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านสามารถยอมรับคำพูดสองอย่างในคราวเดียวกันได้คือ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกเอง และประชาชนก็เลือกเองกับการชูรอ ?”

เขากล่าวว่า “โดยเหตุที่ว่า มวลมุสลิมนั้นได้คัดเลือกอะบูบักรฺ ดังนั้นเท่ากับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงคัดเลือกเขานั่นเอง”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ได้มีวะฮฺยูลงมายังพวกเขาที่ซะกีฟะฮฺ เพื่อเป็นหลักฐานว่าให้พวกเขาเลือกค่อลีฟะฮฺกระนั้นหรือ ?

เขากล่าวว่า “อัซตัฆฟิรุลลอฮฺ ไม่มีวะฮฺยูที่ไหนถูกประทานหลังจากมุฮัมมัด(ศ) เหมือนดังความเชื่อของพวกชีอะฮฺหรอก”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เราทิ้งเรื่องชีอะฮฺและการตำหนิพวกเขาก่อนเถิด แต่โปรดช่วยทำให้เรายอมรับความรู้ของท่านดีกว่าว่า ท่านทราบอย่างไรว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกอะบูบักรฺ ?”

เขาตอบว่า “ถ้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์จะขัดแย้งในเรื่องนั้น มวลมุสลิมและคนทั้งโลกก็ไม่อาจขัดขืนในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ได้”

ข้าพเจ้ารู้ในบัดนั้นเองว่า พวกเขาไม่ได้คิดใคร่ครวญ และไม่ได้พิจารณาต่ออัล-กุรอาน และตามความเห็นของพวกเขานั้น จะไม่มีวันเที่ยงตรงไม่ว่ากับทฤษฎี ทางปรัชญาหรือทางวิชาการใดๆ

ตรงนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องราวอีกตอนหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยได้เดินกับเพื่อนคนหนึ่งในสวนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอินทผลัมอยู่มากมาย และข้าพเจ้ากับเขาได้สนทนากันถึงเรื่อง “เกาะฎอ-เกาะดัร” ได้มีผลไม้ข้างบนศีรษะข้าพเจ้าผลหนึ่งตกลงมา ข้าพเจ้าหยิบมันมาจากกอหญ้าเพื่อจะรับประทาน พอจะใส่ลงไปในปาก เพื่อนของข้าพเจ้าก็พูดด้วยความชอบใจว่า

“ท่านจะไม่ได้กิน นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะบันทึกสิ่งนั้นๆ ให้แก่ท่าน ผลไม้นี้ตกลงมาในชื่อของท่าน”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ตราบใดที่ท่านยังเชื่อว่ามันถูกกำหนดมา ข้าพเจ้าก็จะไม่กินมัน”

ว่าแล้วข้าพเจ้าก็คายออกมาจากปาก

เขากล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ ถ้าสิ่งนี้มิได้ถูกกำหนดมาเพื่อท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงนำมันออกมา แม้กระทั่งว่ามันจะอยู่ในท้องของท่าน”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นฉันจะกินมัน”

แล้วข้าพเจ้าก็เอาเข้าไปในปากใหม่ เพื่อจะชี้ให้เขาเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเองทั้งการจะกินมันเข้าไป หรือจะทิ้งมัน เพื่อนของข้าพเจ้าก็ยังคงเกาะที่คอข้าพเจ้าจนกระทั่งดูว่าข้าพเจ้าได้กลืนมันลงไปแล้ว บัดนี้เองเขากล่าวว่า

“ใช่แล้ว ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ มันถูกกำหนดมาเพื่อท่าน เขาเอาชนะข้าพเจ้าได้ด้วยวิธีนี้เอง เพราะข้าพเจ้าไม่สามารถอีกแล้ว ที่จะทำให้ผลไม้นั้นออกมาจากท้องของข้าพเจ้าได้”

ใช่ นี่คือความเชื่อของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ โดยเฉพาะในเรื่อง “เกาะฎอ เกาะดัร” หรือ จงกล่าวเถิดว่า นี่คือความเชื่อของข้าพเจ้าเองเมื่อครั้งยังเป็นซุนนี

เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อข้าพเจ้าใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อแบบนี้ ความคิดก็สับสนระหว่างความขัดแย้งที่มีทั้งสองด้าน และเป็นธรรมดาที่ว่าเราจะต้องดักดานอยู่ตลอดไป และคอยว่าเมื่อไหร่ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงเปลี่ยนแปลงเราแทนที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองก่อน เพื่อให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนแปลงตัวเรา เราหลีกหนีจากปัญหาความรับผิดชอบที่เราต้องรับภาระและผลักเรื่องเหล่านั้นให้กับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ดังนั้น ถ้าท่านกล่าวกับคนทำซินา หรือกล่าวกับโจรผู้ร้าย หรือแม้กระทั่งกับคนที่ก่ออาชญากรรมที่ข่มขืนเด็กแล้วฆ่าหลังจากสำเร็จความใคร่แล้ว

เขาก็จะตอบท่านว่า “อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีอำนาจบังคับ พระผู้อภิบาลของข้าได้กำหนดให้ข้าอย่างนั้น”

“มหาบริสุทธิ์แด่องค์อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลนี้กระนั้นหรือที่สั่งให้มนุษย์ฝังลูกสาวของตัวเองทั้งเป็น”

แล้วถามเขาว่า “เขาถูกฆ่าเพราะความผิดอันใด? มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ อันนี้มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการกล่าวร้ายอันยิ่งใหญ่ ?”

เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่นักปราชญ์ตะวันตกต้องลบหลู่ดูแคลนและหัวเราะเยาะสติปัญญาของเรา ยิ่งกว่านั้นพวกเขายังล้อเลียนพวกเราด้วยฉายานามที่พวกเขาให้ชื่อว่า : พวกอรับที่ถูกลิขิต จนทำให้พวกเขาเป็นผู้นำของเราเนื่องจากความโง่เขลาและล้าหลังของเรา

เป็นธรรมดาอีกเช่นกันที่ผู้ทำการศึกษาจะต้องรู้ว่าความเชื่ออันนี้ ถูกสร้างขึ้นมาโดยอำนาจรัฐของตระกูลอุมัยยะฮฺ ซึ่งเป็นพวกที่พอใจที่จะกล่าวว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นผู้ประทานอำนาจการปกครองให้กับพวกเขา และทรงให้พวกเขาเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประชาชน จึงจำเป็นแก่ประชาชนที่จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขา มิให้มีการขัดขืน

เพราะการปฏิบัติตามพวกเขาเท่ากับปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การออกนอกคำสั่งของพวกเขาเท่ากับขัดขืนอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จึงจำเป็นต้องประหารชีวิต สำหรับเราในเรื่องนี้มีพยานหลักฐานมากมายในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม

อุษมาน บินอัฟฟาน เป็นคนหนึ่ง เมื่อประชาชนขอร้องต่อเขาว่าให้ถอนตัวออกจากตำแหน่ง ก็ได้ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า

“ฉันจะไม่ถอดเสื้อคลุมที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสวมใส่ให้แก่ฉัน”(180)

ตามความเห็นของเขาถือว่าตำแหน่งค่อลีฟะฮฺคือ อาภรณ์ของเขาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสวมใส่ให้แก่เขาโดยเฉพาะ จึงไม่เป็นการบังควรสำหรับใครๆ ในหมู่ประชาชนที่จะถอดมันออกจากเขา นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้น หมายถึงโดยการเสียชีวิต

มุอาวียะฮฺ ก็เป็นคนหนึ่ง เขาเคยกล่าวว่า

“ฉันมิได้ต่อสู้กับพวกท่านเพื่อให้ถือศีลอด และมิใช่เพื่อให้จ่ายซะกาตหากแต่ที่ฉันต่อสู้กับพวกท่าน ก็เพื่อจะได้ปกครองพวกท่าน แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประทานสิ่งนี้ให้แก่ฉันแล้ว ในขณะที่พวกท่านชิงชัง”

อันนี้ ยังไปไกลกว่า อุษมาน เพราะเขากล่าวหาพระผู้อภิบาลผู้ทรงเกียรติว่าทรงช่วยเหลือสนับสนุนเขาให้สังหารมวลมุสลิม เพื่อจะได้ปกครองพวกเขา

คำคุฏบะฮฺของมุอาวิยะฮฺ ตอนนี้เป็นที่เลื่องลือกันมาก(181)

แม้กระทั่งในการที่เขาเลือกยะซีดบุตรชายขึ้นมา แล้วมอบอำนาจการปกครองประชาชนให้ มุอาวิยะฮฺ ก็อ้างว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นผู้ทรงแต่งตั้งยะซีดบุตรชายของตนให้ปกครองประชาชน ดังกล่าวนี้มีรายงานบันทึกโดยบรรดานักประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่เขาบันทึกการให้สัตยาบันไปยังเมืองต่างๆ ปรากฏว่า ข้าหลวงของเขาที่ประจำอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺ คือ มัรวาน บินฮะกัม โดยเขาได้เขียนบันทึกว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอนุมัติให้ปลายลิ้นของเขาทำการบัยอะฮฺแก่ยะซีด(182)

เช่นเดียวกันนี้ อิบนิซิยาด ผู้ละเมิดศาสนาก็ได้กระทำเช่นกัน ในเมื่อพวกเขาได้นำท่านอะลี ซัยนุลอาบิดีน(อฺ) เข้าพบเขาในสภาพที่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน

เขาได้ถามคนเหล่านั้นว่า “นี่คือใคร ?”

พวกเขาตอบว่า “อะลี ซัยนุลอาบิดีน”

เขากล่าวว่า “อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังมิได้สังหารอะลี บินฮุเซน อีกหรือ ?”

ท่านหญิงซัยนับ ผู้เป็นอาได้ตอบเขาไปว่า “หามิได้ ศัตรูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศัตรูของท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)ต่างหากที่สังหารเขา”

อิบนุซิยาด กล่าวกับนางว่า “ท่านเห็นแล้วหรือยัง ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกระทำอย่างไรกับครอบครัวของท่าน”

นางกล่าวว่า “ข้ามิได้เห็นอะไร นอกจากความดีงาม เขาเหล่านั้น คือ พวกที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันทึกไว้ว่า การสังหารจะมีแก่พวกเขา ดังนั้น พวกเขาก็จะแสดงความกล้าเพื่อเผชิญหน้า และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงรวบรวมระหว่างท่านกับพวกเขา แล้วจะมีการขัดแย้ง พิพาทกัน ดังนั้นจงคอยดูเถิดว่าใครกันแน่ที่จะประสบความเสียหาย ขอให้มารดาของเจ้า ยังความวิบัติให้เกิดแก่เจ้าเถิด โอ้ บุตรของคนเลว” (183)

เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของความเชื่ออันนี้ ที่มาจากตระกูลอุมัยยะฮฺ และสมุนของพวกเขา และเป็นเรื่องที่ลึกลับสำหรับประชาชาติอิสลามโดยเฉพาะกับชีอะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)



ความเชื่อของพวกชีอะฮฺ ในเรื่องเกาะฎอ เกาะดัร
จนกระทั่งข้าพเจ้าได้มาทำความรู้จักกับนักปราชญ์ชีอะฮฺ(184) และได้อ่านตำราของพวกเขา ข้าพเจ้าก็ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ให้ความกระจ่างชัดในเรื่อง “เกาะฎอ-เกาะดัร”

ท่านอิมามอะลี(อฺ) ได้อธิบายเรื่องนี้อย่างชัดแจ้งและสมบูรณ์ที่สุด โดยที่ท่านได้กล่าวกับคนที่ถามท่านถึงเรื่อง “เกาะฎอ-เกาะดัร” ว่า

“ท่านเอ๋ย บางทีท่านอาจคิดว่า กฎสภาวะ หมายถึง การกำหนดอย่างตายตัว การจำกัดอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าหากมันเป็นอย่างนั้น ก็เท่ากับว่ารางวัลการตอบแทน และการมีบทลงโทษ ล้วนเป็นเรื่องไร้สาระ การสัญญาและการวางข้อผูกพันย่อมหมดความหมาย

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงบัญชาปวงบ่าวของพระองค์ ในรูปแบบที่ให้อิสระ ทรงห้ามพวกเขาอย่างคาดโทษ ทรงมอบภาระให้แต่สิ่งที่ง่ายดายและไม่ทรงมอบภาระในสิ่งที่ลำบาก ทรงประทานแก่สิ่งเล็กน้อยโดยสิ่งที่มากมาย ไม่ทรงละเมิดต่อผู้พ่ายแพ้ ไม่ทรงรับการฎออัตอย่างผู้ขัดขืน ไม่ส่งบรรดานบีอย่างละเล่น ไม่ประทานคัมภีร์แก่ปวงบ่าวอย่างไร้สาระ ไม่สร้างฟ้าและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองอย่างไร้สาระ “นี่คือสิ่งที่บรรดาผู้ปฏิเสธสงสัย ดังนั้น ความวิบัติจึงประสบแด่บรรดาผู้ปฏิเสธด้วยไฟนรก...”(185)

นับว่าเป็นการอธิบายอย่างชัดเจนยิ่งนัก ข้าพเจ้าไม่เคยอ่านคำพูดใดๆ ในเรื่องนี้อย่างได้ความหมายล้ำลึกและเป็นข้อพิสูจน์มากกว่านี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงที่สุดสำหรับชาวมุสลิมจะต้องยอมรับว่าการงานของตนนั้น คือสิ่งที่มาจากเจตนารมณ์ของตนเอง เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบัญชาเรา แต่พระองค์ทรงปล่อยให้เรามีความอิสรเสรี นั่นคือคำยืนยันของอิมาม(อฺ)ที่ว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบัญชาปวงบ่าวในรูปแบบที่ให้ความอิสระ”

ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงห้ามเรา และคาดโทษต่อเรา ถ้าฝ่าฝืนพระองค์ ซึ่งคำพูดของท่านยืนยันว่า สำหรับมนุษย์นั้นมีเสรีภาพที่จะผันแปรและสามารถจะขัดขืนคำบัญชาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในลักษณะเช่นนี้ จำเป็นต้องมีบทลงโทษ นั่นคือคำยืนยันของท่านอิมามอะลี(อฺ)ที่ว่า

“ทรงห้ามพวกเขาอย่างคาดโทษ”

ท่านอิมามอะลี(อฺ) ยังได้มีการอธิบายปัญหานี้เพิ่มเติมอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงละเมิดต่อผู้แพ้พ่าย”

ข้อนี้หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น ถ้าหากพระองค์ต้องการจะบีบบังคับปวงบ่าวของพระองค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ความสามารถของพวกเขาทั้งหมดที่มีอยู่ไม่อาจเอาชนะคำบัญชาพระองค์ได้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า พวกเขามีอิสระเสรีในการเคารพภักดี และในการละเมิดได้เอง ซึ่งตรงกับความจริงตามโองการของพระองค์ที่ว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) สัจธรรมนั้นจากพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้า ดังนั้น ผู้ใดที่ประสงค์ก็ให้เขาศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็ให้เขาปฏิเสธ” (อัล-กะฮฺฟี / 29)






๑๔
ขออยู่กับผู้สัจจริง

หลังจากนั้นแล้ว ท่านอิมามอะลี(อฺ) ก็ได้พูดกับมนุษย์เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยได้ให้หลักฐานยืนยันว่า ถ้าหากมนุษย์ถูกบังคับจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในพฤติกรรมต่างๆ ของเขาที่มีดังที่คนบางกลุ่มเข้าใจแล้ว แน่นอน เท่ากับว่า การส่งบรรดานบีมาและการประทานคัมภีร์ต่างๆ มาก็เพียงเป็นการเล่นตบตาและเป็นเรื่องเหลวไหลซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นมหาบริสุทธิ์ ปลอดพ้นสิ่งเหล่านี้โดยสิ้นเชิง เพราะการดำเนินงานของบรรดานบี(อฺ)ทั้งหมด และการประทานคัมภีร์มา ก็เพื่อปรับปรุงมนุษยชาติ และนำพวกเขาออกจากความมืดสู่แสงส่วางและมอบหมายหนทางบำบัดเยียวยาที่มีประโยชน์สำหรับโรคร้ายทางจิตใจ และอธิบายถึงแนวทางในการไปสู่วิถีชีวิตอันบรมสุข

พระองค์ตรัสว่า

“แท้จริง อัล-กุรอานชี้นำไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง” (อัล-อิชรอฮฺ / 9)

ท่านอิมามอะลี(อฺ)ได้ลงท้ายคำอธิบายว่าความเชื่อในเรื่องการถูกกำหนดบังคับอย่างเด็ดขาด เป็นอันเดียวกับความเชื่อที่ว่างานสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองเป็นสิ่งไร้สาระ คือ การปฏิเสธ ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญากับบรรดาผู้กล่าวอย่างนั้นด้วยไฟนรก

และเมื่อเราพิจารณาอย่างถ่องแท้กับคำกล่าวของชีอะอฺ ในเรื่อง”เกาะฎอ-เกาะดัร” เราจะพบว่าเป็นคำยืนยันที่มีเหตุผล และเป็นทัศนะที่เที่ยงธรรม ขณะเดียวกับในระหว่างที่มีพวกหนึ่งกล่าวว่า “หมายถึงการถูกกำหนดมาอย่างตายตัว(จากพระผู้เป็นเจ้า)” ก็ยังมีอีกพวกหนึ่งที่กล่าวว่า “หมายถึงการมอบอำนาจให้ทั้งหมด (คือพระองค์มอบอำนาจให้แก่มนุษย์ ซึ่งหลังจากนั้นมนุษย์จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเองโดยไม่มีพระองค์มาเกี่ยวข้อง)”

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)มาเพื่อสอนวิชาและความรู้ที่ถูกต้องและนำคนเหล่านั้นกลับไปหาสัจธรรม

พวกเขากล่าวว่า “ไม่ใช่ทั้งการบังคับอย่างเป็นกฎตายตัว และไม่ใช่ทั้งการมอบอำนาจให้โดยสิ้นเชิง หากแต่หมายถึงสภาพการณ์ที่อยู่ระหว่างสองอย่างนี้นั่นเอง”(186)

ท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) ได้ยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบในเรื่องนี้อย่างเรียบง่ายที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ตามขีดสติปัญญาของพวกเขา คือท่านได้กล่าวกับคนที่ถามท่าน เมื่อถามว่า

“คำพูดของท่านที่ว่า มิใช่การถูกกำหนดอย่างบังคับ และมิใช่การมอบอำนาจให้อย่างสิ้นเชิง แต่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างสองเรื่องนี้ มีความหมายอย่างไร ?”

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) ตอบว่า “การเดินของท่านบนดินและการตกของท่านไม่เหมือนกัน”

ประโยคนี้หมายความว่า เราเดินบนดินด้วยการตัดสินใจของเรานั่นเอง แต่ถ้าเราตกลงบนดิน ก็หมายความว่าไม่ใช่ด้วยการตัดสินใจของเรา และในหมู่พวกเราจะมีใครบ้างอยากจะตกลงบนพื้นดิน จนเป็นเหตุให้อวัยวะบางส่วนแตกหัก จนต้องกลายเป็นคนพิการ

ดังนั้น “เกาะฎอ-เกาะดัร” จึงเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างสองเรื่องนี้ หมายความว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่มาจากเราเอง และโดยการตัดสินใจของเรา และเรากระทำมันขึ้นโดยเจตนารมณ์ของเรา

อีกส่วนหนึ่ง อยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์ของเรา และเราต้องยอมจำนวนกับมัน และไม่สามารถจะผลักไสมัน ดังนั้น เราจะถูกสอบสวนเฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนที่หนึ่ง แต่เราจะไม่ถูกสอบสวนในเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนที่สอง

คนเราจึงอยู่ในสภาพการณ์อย่างนี้ และอยู่ท่ามกลางที่ตนสามารถตัดสินใจได้เอง ส่วนหนึ่งกับการอยู่ในเส้นทางเดินที่ถูกกำหนดมาแล้วส่วนหนึ่งในเวลาเดียวกัน

ก. ความมีอิสรเสรีในพฤติกรรม หมายถึง สิ่งที่ปรากฏออกมาจากเขาหลังจากที่มีการใช้ความคิด และพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว โดยได้ผ่านขั้นตอนของการตัดสินใจและการขับเคี่ยวระหว่างการก้าวไปข้างหน้ากับการถอยหลัง ผลที่สุดก็คือ เขาอาจจะกระทำ หรืออาจละเว้นก็ได้ และนี่คือเรื่องที่พระองค์ทรงมีโองการไว้ว่า

“และ (จงสนใจ) ชีวิต และที่ทำให้มันมีความสมดุลแก่มัน ดังนั้นพระองค์ทรงดลให้แก่มัน ทั้งความดื้อรั้น และความยำเกรงของมัน แน่นอนยิ่ง ผู้ชำระชีวิตจนสะอาด เขาย่อมได้รับชัยชนะ และผู้หมักหมมกับมัน เขาย่อมขาดทุน” (อัช-ชัมส์ / 6-10)

ดังนั้น การซักฟอกจิตใจให้สะอาด และการหมักหมม ทั้งสองประการนี้ คือ ผลิตผลของการตัดสินใจจากส่วนลึกของคนเราทุกคน

ข. เส้นทางเดินที่ถูกกำหนด ในทุกๆ สิ่งอันได้แก่ระบบของจักรวาล และการโคจรของมันอย่างยอมจำนนนั้น ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทุกเสี้ยวส่วน ทุกองค์ประกอบ และทุกๆ อณูของมัน ดังนั้น มนุษย์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเพศของตน จะเป็นชาย จะเป็นหญิง ไม่มีสิทธิจะเลือกสีผิวของตน ไม่มีสิทธิจะเลือกบิดามารดา เพื่อจะได้อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของบิดา มารดาที่ร่ำรวย แทนที่จะอยู่กับบิดา มารดาที่ยากจน ไม่มีสิทธิที่จะเลือกขนาดความสูงต่ำของร่างกาย และลักษณะของเรือนร่าง

มันเป็นเรื่องที่จำนนอยู่กับอำนาจอันยิ่งใหญ่ (เช่นโรคทางกรรมพันธุ์เป็นต้น) และกับระบบธรรมชาติ อีกเป็นอันมาก ที่ให้คุณค่าแก่ตนและที่คุ้มครองป้องกันตนโดยปราศจากการรับภาระใดๆ กล่าวคือ จะนอนหลับเมื่ออ่อนเพลีย จะตื่นนอนเมื่อสบายตัว จะกินเมื่อหิว จะดื่มเมื่อกระหาย จะยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อดีใจ จะร้องไห้และหดหู่ใจเมื่อเศร้าหมอง และภายในร่างกายซึ่งทำหน้าที่ของมัน และผลิตฮอร์โมน บำรุง ผลิตอสุจิเพื่อการแปรสภาพ ในขณะเดียวกับที่ร่างกายของเขาได้อยู่ในตราชูอันสมดุลอย่างน่าพิศวง และตัวเขาเองกับสิ่งเหล่านี้ ไม่มีการรับรู้อะไรเลย ทั้งนี้เพราะเป็นเจตนารมณ์ของพระเจ้า ที่ขีดเส้นไว้แล้วในทุกๆ เสี้ยววินาทีของชีวิต ยิ่งกว่านั้น แม้จะตายไปแล้ว ในความหมายตรงนี้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“มนุษย์คิดหรือว่าเขาจะถูกทอดทิ้งอย่างไร้ความหมาย เขาเองก็เคยเพียงหยดหนึ่งจากอสุจิที่ถูกหลั่งออกมามิใช่หรือ ? หลังจากนั้น อสุจินั้น กลายเป็นก้อนเนื้อ แล้วทรงบันดาลและทรงจัดระบบการกำเนิดอย่างสมบูรณ์ จากนั้น ทรงบันดาลมาจากนั้น คู่ทั้งสอง คือ ชายและหญิง พระองค์ผู้ทรงอานุภาพบันดาลสิ่งนั้น จะไม่ทรงอานุภาพที่จะประทานแก่คนตายให้มีชีวิตขึ้นอีกกระนั้นหรือ ?” (อัล-กิยามะฮฺ / 36-40)

ใช่แล้ว มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ด้วยการสรรเสริญพระองค์ พระผู้อภิบาลของเรา ทรงสูงสุดยิ่ง พระองค์ทรงสร้าง แล้วทรงจัดให้สมดุล พระองค์ทรงกำหนด แล้วทรงนำทาง พระองค์ทรงบันดาลให้ตาย หลังจากนั้นทรงให้มีชีวิต พระองค์ทรงมีความจำเริญ และพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง ดังนั้น พระองค์ทรงแผ่พลังอย่างไพศาล และความหลงทางอย่างไกลลิบย่อมตกแก่ผู้ที่ขัดแย้งพระองค์ และเขาไม่อาจจำกัดสิทธิ์ที่แท้จริงแห่งการกำหนดพระองค์ได้เลย

เราจะขอสรุปการอธิบายเรื่องนี้โดยถ้อยคำพูดของท่านอิมามอะลี บินมูซา(อฺ) นั่นคืออิมามที่ 8 แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ซึ่งวิชาการของท่านเป็นที่เลื่องลืออย่างยิ่งในสมัยของมะอฺมูน ขณะที่ท่านมีอายุได้ 14 ปี จนกระทั่งท่านได้เป็นคนมีความรู้มากที่สุดในยุคนั้น(187) มีชายคนหนึ่งถามท่านเกี่ยวกับความหมายของคำพูดของท่านอิมามศอดิก(อฺ) ปู่ของท่านที่ว่า

“มิใช่การถูกกำหนดอย่างถูกบังคับ และมิใช่การมอบอำนาจ ให้อย่างสิ้นเชิง แต่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างกลางสองเรื่องนั้น”

ท่านอิมามริฎอ(อฺ) ตอบว่า “ใครที่อ้างว่าอัลลอฮฺ ทรงกระทำพฤติกรรมของเราโดยพระองค์เอง หลังจากนั้น พระองค์ก็ลงโทษเราเพราะการกระทำนั้น เท่ากับพูดว่า “ถูกกำหนด อย่างถูกบังคับ” และใครที่อ้างว่า อัลลอฮฺทรงมอบอำนาจอย่างสิ้นเชิงในกิจการ สรรพสิ่ง และริซกีแก่บรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์(หมายถึงบรรดาอิมาม)เท่ากับพูดว่าเป็น “การมอบอำนาจให้อย่างสิ้นเชิง” คนที่ยืนยันว่า “เป็นการถูกกำหนดอย่างถูกบังคับ” ย่อมเป็นกาฟิร ส่วนคนที่ยืนยันว่า “เป็นการมอบอำนาจให้อย่างสิ้นเชิง” ย่อมเป็นมุชริก

สำหรับความหมายของคำว่า “เป็นเรื่องหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างกลางเรื่องทั้งสอง” นั้นหมายความว่า “ยังมีวิถีทางหนึ่งอันนำไปสู่การปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลอฮฺ และละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความสามารถแก่เขาในการกระทำความชั่วและละเว้นเช่นเดียวกับที่ทรงให้ความสามารถแก่เขาในการกระทำความดีและละเว้นพระองค์ทรงบัญชาอันนี้แก่เขา และห้ามเขาจากอันนั้น”

นี่คือ คำอธิบายอันแหลมคมที่ให้ความเข้าใจได้อย่างเพียงพอสำหรับระดับสติปัญญา และสามารถเข้าใจได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมีวิชาการหรือไม่ใช่นักวิชาการก็ตาม

เป็นจริงตามที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวไว้โดยท่านได้กล่าวถึงสิทธิของพวกเขาว่า

“พวกท่านอย่าได้กระทำการล้ำหน้าพวกเขา เพราะจะทำให้พวกท่านเสียหาย และอย่าล้าหลังพวกเขา เพราะจะทำให้พวกท่านเสียหาย และพวกท่านจงอย่าสอนสั่งพวกเขา เพราะพวกเขารู้ดีกว่าพวกท่าน” (188)

**ความเกี่ยวพันระหว่าง “ค่อลีฟะฮฺ” กับความนัยของ “เกาะฎอ-เกาะดัร” ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ถึงแม้จะมีความเชื่อเรื่อง “เกาะฎอ-เกาะดัร” ในแง่ของการเป็นกฎตายตัว และเชื่อว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงขีดเส้นทางเดินสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ในเชิงพฤติกรรมของเขา และพวกเขาไม่มีสิทธิที่จะตัดสินใจเลือกเองได้เลยก็ตาม

แต่ทว่า ในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ พวกเขากลับพูดว่า

“ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตายไปโดยปล่อยให้กิจการนี้เป็นหน้าที่การชูรอระหว่างประชาชนกันเอง เพื่อพวกเขาจะได้เลือกกันเพื่อตัวของพวกเขาเอง”

พวกชีอะฮฺ กลับตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ถึงแม้ว่าความเชื่อของพวกเขามีอยู่ว่า มนุษย์นั้น มีอิสระในการประพฤติของตนเองทุกประการ และถือว่าบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น กระทำได้ตามที่พวกเขาต้องการ นอกเสียจากว่าในกิจการเรื่องค่อลีฟะฮฺ

พวกเขากล่าวว่า “พวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการคัดเลือก”

ดูเหมือนว่า ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นจากสองฝ่ายทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺนับจากเริ่มต้นกันเลยทีเดียว แต่ความจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่

ฝ่ายซุนนะฮฺนั้น เมื่อพวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นผู้กำหนดเส้นทางเดินแก่ปวงบ่าวของพระองค์ในแง่พฤติกรรมของพวกเขา พวกเขาต่างพากันขัดแย้งกับความจริงอันนั้น ทั้งๆตามทัศนะของพวกเขานั้นถือว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือผู้ทรงคัดเลือกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่พระองค์ก็ทรงละทิ้งให้พวกเขาเลือกกันไปตามความรู้สึก เพราะว่า ผู้ที่เลือกอะบูบักรฺ ในวันแห่งซะกีฟะฮฺนั้นคือท่านอุมัร ต่อมาก็เป็นศ่อฮาบะฮฺบางท่าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาเป็นผู้ล่วงละเมิดต่อกิจการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ทรงกำหนดให้พวกเขาเป็นสื่อกลางตาม เหตุผลอันนี้ที่อ้างขึ้น หาไม่แล้ว ต้องไม่เป็นอย่างนั้น

ส่วนพวกชีอะฮฺ เมื่อพวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้สิทธิในการตัดสินใจแก่ปวงบ่าวของพระองค์ในแง่พฤติกรรมของพวกเขา ก็ไม่มีใครขัดแย้งต่อคำยืนยันของพวกเขาที่ว่า : ค่อลีฟะฮฺ เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เองเพียงองค์เดียว

“พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้าง และทรงคัดเลือกตามที่ทรงประสงค์”

พวกเขาไม่มีสิทธิที่จะเลือก เพราะตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ก็เหมือนกับตำแหน่งนบี คือมันมิใช่งานการของปวงบ่าว และมิได้อยู่ในอำนาจของพวกเขา ดังเช่นที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกศาสนทูตของพระองค์(ศ)มาจากหมู่มวลมนุษยชาติก็เป็นเช่นเดียวกันกับค่อลีฟะฮฺของศาสนทูต(ศ) สำหรับมนุษย์มีสิทธิที่จะปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และมีสิทธิที่จะละเมิดคำสั่งของพระองค์ดังเช่นที่เคยปรากฏมาแล้ว ในวิถีชีวิตของบรรดานบีในยุคก่อนๆ มา

ดังนั้น มนุษย์จึงมีเสรีภาพแม้กระทั่งในเรื่องที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกไปแล้ว สำหรับผู้ศรัทธาที่มีคุณธรรม ก็จะยอมรับในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือก ส่วนผู้ปฏิเสธต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ก็จะผลักไสสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกให้แก่เขา และขัดขืนต่อพระองค์

พระองค์ทรงมีโองการว่า

“แล้วผู้ใดประพฤติตามสิ่งชี้นำของข้า แน่นอนเขาจะไม่หลงผิด และเขาจะไม่ลำเค็ญ ส่วนผู้ใดหันเห ออกจากคำเตือนของข้า แน่นอน เขาจะต้องพบกับการดำรงชีพอันคับแค้น และเราจะรวบรวมเขา ในวันฟื้นคืนชีพ ในสภาพตาบอด เขา(ผู้หันเห)กล่าวว่า : โอ้องค์อภิบาล เพราะเหตุใดพระองค์จึงต้องรวบรวมข้าพเจ้าในสภาพตาบอด ทั้งๆ ที่แต่เดิมข้าพเจ้าตาดี พระองค์ตรัสว่า “เช่นนั้น” (เพราะ) เมื่อโองการต่างๆ ของเราได้มาสู่เจ้า เจ้าก็ลืมเลือนโองการเหล่านั้น และเช่นนั้นในวันนี้ เจ้าจึงถูกลืมด้วย” (ฏอฮา / 123-125)

หลังจากนั้น จงพิจารณาดูตามทฤษฎีของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺในปัญหานี้เองเถิด ท่านไม่อาจกล่าวตำหนิใครได้เลยสักคน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังเกิดขึ้นโดยสาเหตุของเรื่องค่อลีฟะฮฺ และหยาดเลือดทุกๆ หยด ที่ได้หลั่งไป ชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียไป ทั้งหมดนั้นล้วนมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

พวกเขาคนหนึ่งกล่าวกับข้าพเจ้าอย่างมีความรู้ว่า

“ถ้าพระผู้อภิบาลของท่านประสงค์แล้ว พวกเขาจะทำอะไรมันไม่ได้”

แต่สำหรับทฤษฎีของฝ่ายชีอะฮฺถือว่า ทุกคนที่เป็นตัวต้นเหตุของความผิดพลาดจะต้องแบกความรับผิดชอบ และทุกคนที่ละเมิดคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และทุกคนล้วนขึ้นอยู่กับภารกิจที่เขากระทำไว้ และจะต้องรับภาระของคนที่ปฏิบัติตามการอุตริของเขา จนถึงวันกิยามัต ทุกๆท่านล้วนเป็นผู้รับผิดชอบในสิ่งที่อยู่ในความดูแลของตนเอง

พระองค์ทรงมีโองการว่า

“และพวกเจ้าจงหยุดพวกเขาไว้ แท้จริงพวกเขาเป็นผู้ถูกสอบสวน” (อัศ-ศอฟาต / 24)



ข้อขัดแย้งในเรื่องสิ่งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ละทิ้งไว้
ในบทก่อนเราได้ทราบมาแล้ว ตลอดคำอธิบายจากบทนำในทัศนะของชีอะฮฺ และอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และสิ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กระทำไว้เบื้องหน้าของประชาชาติตามคำอธิบายของทั้งสองฝ่าย

มีหรือไม่ สิ่งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ละทิ้งไว้ให้ประชาชาติของท่านยึดถือและย้อนกลับไปยังสิ่งนั้นๆ ในยามที่เกิดความขัดแย้งที่จำเป็นจะต้องมีหลักเกณฑ์อันนั้นเป็นข้อยุติ และที่คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้กล่าวไว้ว่า

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสนทูต และผู้ทรงสิทธิในกิจการงานของพวกสูเจ้า ครั้นหากพวกสูเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องใดๆ ก็จงย้อนกลับไปหาอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ ถ้าหากพวกสูเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก อันนี้ดีที่สุดและเป็นการให้ความหมายที่ดีงาม” (อัน-นิซาอฺ / 56)

ใช่แล้ว จำเป็นสำหรับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่จะต้องละทิ้งหลักการใดๆ ไว้เพื่อให้ประชาชาติได้ยึดถือ เพราะอันที่จริงท่านถูกแต่งตั้งให้เป็นเราะฮฺมะฮฺสำหรับสากลโลก และท่านปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้ประชาชาติของท่านเป็นประชาชาติที่ดีที่สุด และอย่าได้ขัดแย้งกันภายหลังจากท่าน ด้วยเหตุนี้ บรรดาสาวกและนักฮะดีษรายงานว่า

ท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการ ตราบใดที่พวกท่านยึดถือกับสองสิ่งนี้ ก็จะไม่หลงผิดภายหลังจากข้าพเจ้าอย่างเด็ดขาด นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอะฮฺลุลบัยตฺของข้าพเจ้า และสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกระทั่งได้คืนกลับสู่ข้าพเจ้า ณ อัล-เฮาฏ์ ดังนั้น จงพิจารณาดูเถิด พวกท่านขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร”(189)

นี่คือฮะดีษค่อฮีฮฺ ที่แน่นอน รายงานโดยนักฮะดีษของทั้งสองฝ่าย ซุนนีและชีอะฮฺ พวกเขารายงานไว้ในตำรามุซนัดทั้งหลายของพวกเขา และในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขา จากสายรายงานมากกว่าจำนวนสามสิบคนในหมู่ศ่อฮาบะฮฺ

โดยเหตุที่ว่าข้าพเจ้า ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ที่จะไม่อ้างหลักฐานจากตำราทั้งหลายของฝ่ายชีอะฮฺ และไม่นำคำพูดของนักปราชญ์ชีอะฮฺมาอ้างจึงถือเป็นความจำเป็นสำหรับข้าพเจ้าที่จะกล่าวถึงเฉพาะแต่นักปราชญ์สายซุนนีเท่านั้น ซึ่งนำฮะดีษนี้มารายงาน ในฐานะที่ยอมรับถึงความถูกต้อง เพื่อที่จะให้คำอธิบายในหัวข้อนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่เสมอ (ถ้าจะให้เป็นธรรมอย่างแท้จริงแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอ้างหลักฐานจากฝ่ายชีอะฮฺด้วย) และเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่สรุปมาอย่างสังเขปจากผู้รายงานฮะดีษนี้จากนักปราชญ์ซุนนะฮฺ

1. ศ่อฮีฮฺมุสลิม กิตาบ ฟะฎออิล อะลี บินอะบีฏอลิบ เล่ม 7 หน้า 122

2. ศ่อฮีฮฺติรมีซี เล่ม 5 หน้า 328

3. อิมาม อัน-นะซาอี ในเคาะศออิศ หน้า 21

4. อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล เล่ม 3 หน้า 17

5. มุซตัดร็อก ฮากิม เล่ม 3 หน้า 109

6. กันซุล-อุมมาล เล่ม 1 หน้า 154

7. อัฏ-เฏาะบากอต อัล-กุบรอ ของอิบนุซะอัด เล่ม 2 หน้า 194

8. ญามิอุล-อุศูล ของอิบนิ อัล-อะซีซ เล่ม 1 หน้า 187

9. ญามิอุล-ศ่อฆีร ของซะยูฏี เล่ม 1 หน้า 353

10. มัจมุอุซซะวาอิด ของฮัยษุมี เล่ม 9 หน้า 163

11. อัล-ฟัตฮุล-กะบีร ของนับฮานี เล่ม 1 หน้า 451

12. อะซะดุล-ฆอบะฮฺ ฟี มะอฺริฟะติศ-ศ่อฮาบะฮฺ ของอิบนิ อัล-อะซีซ เล่ม 2หน้า 12

13. ตารีค อิบนุ อะซากิร เล่ม 5 หน้า 436

14. ตัฟซีร อิบนุ กะษีร เล่ม 4 หน้า 113

15. อัต-ตาญุล-ญามิอฺ ลิล-อุศูล เล่ม 3 หน้า 308

รวมทั้งท่านอิบนุฮะญัร ซึ่งได้กล่าวถึงฮะดีษนี้ในหนังสือ “ศ่อวาอิก” ของท่าน โดยยอมรับว่าเป็นฮะดีษศ่อฮีฮฺ และท่านซะฮะบี ในหนังสือ “ตัลคีศ” ก็ยอมรับว่า ฮะดีษนี้ศ่อฮีฮฺตามเงื่อนไขของบุคอรี-มุสลิม ท่านเคาะวาริซมี อัล-ฮะนะฟี อิบนุ อัล-มะฆอซะลี อัช-ชาฟิอี ท่านฏ็อบรอนีในหนังสือ “อัล-มัอฺญัม” และเช่นเดียวกับเจ้าของหนังสือ “ซีเราะตุน-นุบูวะฮฺ” ในภาคผนวก “ซีเราะฮฺอัล-ฮะละบียะฮฺ” และเจ้าของหนังสือ “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” และอื่นๆ

หลังจากนี้แล้วจะมีใครอ้างได้อีกหรือว่า “ฮะดีษอัษ-ษะเกาะลัยน์”(กิตาบุลลอฮฺ และเชื้อสายของฉัน) พวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ไม่รู้จัก หากแต่เป็นเพียงฮะดีษที่อุปโลกน์ขึ้นมาโดยชีอะฮฺเท่านั้น ? อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสาปแช่งพวกลำเอียงด้วยอคติ และด้านทางสติปัญญา และเร่าร้อนอย่างพวกญาฮิลียะฮฺ

เราขอละเว้นการกล่าวถึงคนเหล่านั้น เพื่อการวิเคราะห์ของเราจะได้สัมพันธ์กับบรรดาผู้มีเสรีภาพที่วิเคราะห์ในสัจธรรม เพื่อขึ้นตรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) บางทีพระองค์อาจทรงชี้นำหนทางอันถูกต้องแก่พวกเขาได้

ดังนั้น ฮะดีษ อัษ-ษะเกาะลัยน์ที่ท่านนบี(ศ)ได้สั่งเสียไว้ว่า ให้ยึดถือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื่อสายอันบริสุทธิ์ของท่าน เป็นฮะดีษศ่อฮีฮฺ ตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ดังที่เราได้กล่าวผ่านไปแล้ว และตามทัศนะของชีอะฮฺนั้น ถือเป็นฮะดีษที่มีสายงานมุตะวาติร ตรงกันหลายสาย และหลายผู้รายงาน จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ แล้วทำไมที่บางคนยังตั้งข้อสงสัยในฮะดีษนี้ โดยพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะเปลี่ยนฮะดีษนี้ไปเป็น “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของฉัน”

และถึงแม้ว่าเจ้าของหนังสือ “มิฟตาฮุ กุนูซุส-ซุนนะฮฺ” จะรายงานไว้ในหน้า 478 หัวข้อเรื่อง “คำสั่งเสียของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในเรื่องคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของศาสนทูต(ศ)” โดยอ้างจากอัล-บุคอรี มุสลิม ติรมีซี และอิบนุมาญะฮฺ อย่างไรก็ดีถ้าท่านศึกษาในหนังสือเหล่านี้ทั้งสี่เล่มดังกล่าว ท่านจะไม่พบการชี้แนะไปยังฮะดีษนี้เลยไม่ว่าจะใกล้หรือจะไกลก็ตาม แต่ในหนังสือบุคอรีได้มีหัวข้อเรื่อง “การให้ยึดถือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺ”(190) แต่ทว่าท่านจะไม่พบว่าจะมีฮะดีษนี้อยู่ในหนังสือเลย

อย่างมากที่สุด เท่าที่เราพบในศ่อฮีฮฺบุคอรี และในหนังสือดังกล่าวว่า ฏ็อลฮะฮฺ บินมุศร็อฟ ได้กล่าวว่า :ข้าพเจ้าได้ถามท่านอับดุลเลาะฮฺ บินอะบีเอาฟา(รอฎิยัลลอฮฺ) ว่า

“ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สั่งเสียไว้บ้างหรือ ?”

ท่านตอบว่า “ไม่มี”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เป็นไปได้อย่างไร ถูกกำหนดคนทั้งหลายให้มีการสั่งเสีย หรือคนทั้งหลายถูกสั่งบัญชาให้มีการสั่งเสีย ?”

ท่านกล่าวว่า “ท่านสั่งเสียโดยคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”(191)

จึงไม่ปรากฏว่าจะมีฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กล่าวว่า

“ฉันได้ละทิ้งสิ่งทำคัญสองประการในหมู่พวกท่าน คือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของฉัน”

ถึงแม้จะสมมุติว่ามีในตำราบางเล่ม แต่ก็ไม่ถือเป็นหลักเพราะอิจมาอฺ(ความเชื่อถือโดยส่วนรวมของบรรดานักปราชญ์) มีความขัดแย้งกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

หลังจากนั้น ถ้าหากเราได้ศึกษาฮะดีษที่ว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของฉัน” เราก็จะพบว่า ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งในด้านการรายงานและในด้านสติปัญญา และเรามีบางประเด็นที่สามารถคัดค้านได้ดังนี้

1. นักประวัติศาสตร์ และนักฮะดีษต่างมีความเชื่อถือตรงกันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ห้ามการบันทึกคำพูดของท่าน และมิได้มอบหมายให้คนใดทำหน้าที่บันทึกซุนนะฮฺนบี(ศ)ในสมัยที่ท่านนบี(ศ)มีชีวิตอยู่ ดังนั้น คำพูดของท่านศาสนทูต(ศ)ที่ว่า

“ฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน”

จึงไม่สอดคล้องในส่วนของคัมภีร์ที่ถูกวะฮฺยูลงมา และถูกจดจำไว้ในใจของคนทั้งหลายที่ศ่อฮาบะฮฺคนใดก็สามารถจะย้อนกลับไปหาคัมภีร์ได้ ถึงแม้จะไม่จดจำก็ตาม

แต่ในส่วนของซุนนะฮฺท่านนบี(ศ)นั้น ไม่ได้เป็นหนังสือที่ถูกบันทึกไว้แต่อย่างใด คือไม่เป็นตำรา หรือเป็นหนังสือที่ถูกรวบรวมไว้ในสมัยของท่านนบี(ศ) ดังนั้น ซุนนะฮฺนบี(ศ)ซึ่งเป็นที่รู้กัน และเชื่อถือตรงกันก็คือ ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ท่านศาสนทูต(ศ)ได้พูดไว้ ได้กระทำไว้ หรือได้แสดงออกไว้ และเป็นที่รู้กันอีกเช่นกันว่า ท่านศาสนทูต(ศ)ไม่เคยจัดประชุมศ่อฮาบะฮฺของท่านเพื่อสอนซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) แต่ท่านจะพูดในทุกๆโอกาส และบางทีก็จะมีพวกเขาบางคนมาหา และมักจะไม่มีใครอยู่พร้อมกับท่าน นอกจากศ่อฮาบะฮฺของท่านคนเดียว แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรสำหรับท่านศาสนทูต(ศ)ในสภาพการณ์เช่นนั้นที่จะกล่าวกับพวกเขาว่า

“ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งซุนนะฮฺของฉัน” ??






๑๕
ขออยู่กับผู้สัจจริง

2. เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ป่วยหนัก นั่นก็คือ ก่อนการวะฟาต สามวัน ท่านได้ขอกระดาษและปากกาจากพวกเขาเพื่อจะบันทึกข้อความไว้ให้พวกเขา ซึ่งจะไม่ทำให้พวกเขาหลงผิดภายหลังจากท่านตลอดกาล ดังนั้นอุมัร บิน ค็อฏฏอบ ก็ได้กล่าว่า

“ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้มีอาการเพ้อไปแล้ว เรามีคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้วก็พอ”(192)

ถ้าหากว่าก่อนหน้านั้นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เคยได้พูดกับพวกเขาว่าฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่าน คือ “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน” ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ก็ย่อมไม่กล้าจะพูดออกมาว่า

“เรามีคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็พอแล้ว”

เพราะการพูดเช่นนั้น เท่ากับว่าท่านศ่อฮาบะฮฺที่พูดตามคำพูดของท่านปฏิเสธต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และถือว่าการปฏิเสธต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นกาฟิรอย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องสงสัยเลย อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น กลับพอใจในเรื่องนี้ (ขอเสริมตรงนี้ว่า ท่านอุมัรเป็นผู้ที่ยับยั้งศ่อฮาบะฮฺ จากรายงานฮะดีษนี้)

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเข้าใจว่าฮะดีษนี้ได้ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาโดยคนรุ่นหลังบางกลุ่มที่ขัดขวางบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ได้ขจัดพวกเขาออกพ้นตำแหน่งค่อลีฟะฮฺไปแล้วดูเหมือนว่าผู้อุปโลกน์ฮะดีษ “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน” ต้องการจะให้ประชาชนยึดถือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และละทิ้งเชื้อสายนบี(ศ) แล้วเอาบุคคลอื่น นอกเหนือจากคนเหล่านั้นเป็นผู้นำ โดยเขาคิดว่าการปลอมฮะดีษขึ้นมาจะช่วยส่งเสริมเส้นทางเดินของพวกเขา และทำให้ห่างไกลจากการวิพากษ์วิจารณ์ศ่อฮาบะฮฺ ที่ขัดขืนคำสั่งเสียของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

3. เป็นที่ยอมรับกันว่า ตอนแรกๆ ที่เกิดเหตุการณ์ต่อต้านท่านอะบูบักรฺในช่วงแรกของการเป็นค่อลีฟะฮฺนั้น ได้มีการคาดโทษเพื่อทำสงครามกับผู้ไม่ยอมจ่ายซะกาต จนท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ต้องคัดค้านและแสดงหลักฐานฮะดีษแก่เขาว่า:

ท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า “ผู้ใดกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ มุฮัมมัดเป็นร่อซุลของอัลลอฮฺแล้ว ถือว่าเลือดเนื้อและทรัพย์สินของเขาย่อมถูกปกป้องสำหรับฉันนอกจากโดยสิทธิอันชอบธรรม และหน้าที่ในการสอบสวนเขาเป็นสิทธิสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

ดังนั้นถ้าหากซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ)เป็นที่รู้กัน อยู่อย่างแน่นอนย่อมเป็นไปไม่ได้ที่อะบูบักรฺจะไม่รู้ เพราะท่านคือประชาชนคนแรกสุดสำหรับการรู้จักสิ่งนั้น

แต่ถายหลังจากนั้นปรากฏว่าอุมัรต้องยอมรับการตีความของอะบูบักรฺ สำหรับฮะดีษนี้ที่เขารายงานมา และคำพูดของอะบูบักรฺก็คือว่าซะกาตถือเป็นสิทธิในแง่ของทรัพย์สมบัติ แต่ทว่าพวกเขาลืมเลือน หรือต่างพากันลืมซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ)ในเชิงปฏิบัติที่ไม่ยอมรับการตีความ นั่นก็คือประวัติของษะฮ์ละบะฮฺที่ไม่ยอมจ่ายซะกาตแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และได้มีโองการอัล-กุรอานประทานมาในเรื่องของเขา ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็มิได้สังหารเขา และมิได้บีบบังคับให้จ่ายซะกาตนั้น อะบูบักรฺกับท่านอุมัรอยู่ที่ไหน ในประวัติของอุซามะฮฺ บินซัยดฺที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่งตั้งเขาเป็นผู้นำทัพ ครั้นเมื่อสามารถจับชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึกได้

ชายคนนั้นกล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ”

แต่อุซามะฮฺก็ได้สังหารเขาเสีย เมื่อเรื่องทราบไปถึงท่านนบี(ศ)

ท่านได้กล่าวว่า “โอ้ อุซามะฮฺ เจ้าได้ฆ่าเขาหลังจากที่เขากล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ? ปรากฏว่า เขาขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทันที”

เขาบ่นเรื่องนี้อยู่เสมอมา จนเขาถึงกับตั้งใจไปเลยว่า

“ข้าพเจ้ายังมิได้เข้ารับอิสลาม ก่อนเหตุการณ์ในวันนั้น”(193)

ด้วยเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด เราไม่อาจเชื่อฮะดีษ “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน” ได้ เพราะศ่อฮาบะฮฺในรุ่นแรกก็ยังไม่รู้เรื่องซุนนะฮฺนบีแล้วคนรุ่นหลังจากพวกเขาอีกจะเป็นอย่างไร และจะเป็นอย่างไรอีกกับผู้ที่อาศัยนอกเมืองมะดีนะฮฺ ?

4. เป็นที่ยอมรับกันอีกว่า พฤติกรรมเป็นส่วนมากของบรรดาศ่อฮาบะฮฺหลังจากท่านศาสนทูต(ศ)ขัดแย้งกับซุนนะฮฺ อาจเป็นไปได้ว่า ศ่อฮาบะฮฺเหล่านั้นรู้เรื่องซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)ดี แต่พวกเขาขัดแย้งกับมันโดยเจตนา ด้วยการวินิจฉัยความของพวกเขาเองที่เป็นในทางตรงกันข้ามข้อบัญญัติของท่านนบี(ศ) และพวกเขาได้อ้างว่าขึ้นตรงต่อคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“ไม่มีสิทธิสำหรับมุอฺมินชายและหญิง ถ้าอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ทรงกำหนดกิจการใดๆ ในอันที่พวกเขาจะเลือกเองได้ และผู้ใดที่ละเมิดต่ออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์เท่ากับเขาหลงผิดโดยการหลงอย่างชัดแจ้ง” (ซูเราะฮฺ อัล-อะฮฺซาบ / 36)

หรืออาจเป็นเพราะว่าพวกเขาไม่รู้เรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ) เลย ดังนั้น ถือว่าไม่เหมาะสมสำหรับท่านศาสนทูต(ศ)ที่จะกล่าวในสภาพการณ์ที่เป็นที่อยู่อย่างนั้นกับพวกเขาว่า ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านซึ่งซุนนะฮฺของฉัน ในเมื่อท่านทราบดีว่าศ่อฮาบะฮฺและบุคคลที่ใกล้ชิดท่านมากที่สุดมิได้รอบรู้ในเรื่องนี้เลย แล้วคนที่มาทีหลังจากพวกเขาจะเป็นอย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่รู้จักและไม่เคยเห็นนบี(ศ)เลย จึงจำเป็นแก่ท่านและในสภาพการณ์อย่างนั้นที่จะต้องสั่งให้พวกเขาบันทึกซุนนะฮฺของท่านไว้ เพื่อที่ว่าจะได้เป็นเสาหลักประการที่สองสำหรับบรรดามุสลิม

ส่วนคำพูดของพวกเขาที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กลัวว่าซุนนะฮฺจะปะปนกับอัล-กุรอาน อันนี้ถือว่า เป็นความผิดพลาดอย่างชัดแจ้ง เพราะท่านสามารถที่จะทำหนังสือเล่มหนึ่งสำหรับซุนนะฮฺ ดังเช่นที่ทำหนังสือเล่มหนึ่งสำหรับบันทึกวะฮฺยู และรวบรวมแต่ละเล่ม ให้เป็นเล่มหนึ่งๆ โดยเฉพาะกันไป เหมือนอย่างที่เป็นอยู่กับพวกเราในปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนั้นจึงจะถือว่าถูกต้องแล้ว ที่ท่าน(ศ)กล่าวว่า

“ฉันได้ละทิ้งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉันไว้ในหมู่พวกท่าน”

5. เป็นที่รู้อีกว่า ซุนนะฮฺมิได้มีการถูกบันทึกแต่อย่างใด นอกจากเมื่อมาถึงสมัยของอาณาจักรอับบาซียะฮฺ และหนังสือเล่มแรกที่มีการบันทึกฮะดีษก็คือ “มุวัฏเฏาะฮฺ” ของอิมามมาลิก นี่คือหลังจากที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใหญ่หลวงไปแล้ว โดยผ่านเหตุการณ์ฮิจญ์เราะฮฺหลังจากเมืองมะดีนะฮฺมีอิสรภาพ ศ่อฮาบะฮฺได้ถูกสังหารในเหตุการณ์นั้นอย่างทารุณ แล้วประชาชนจะให้การยอมรับอย่างสนิทใจกับรายงานบอกเล่าของผู้ที่ใกล้ชิดกับนักปกครองที่เดินในเส้นทางของโลกดุนยาได้อย่างไร

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการโจมตีฮะดีษ ตำหนิติเตียนกันและกัน และประชาชาติได้แบ่งแยกกันออกไปเป็นมัซฮับ นิกายต่างๆ ดังนั้น อะไรที่มีการยืนยันอย่างแน่นอนในมัซฮับนี้ ก็จะไม่มีการยืนยันไว้ในมัซฮับอื่น อะไรที่ศ่อฮีฮฺในมัซฮับนี้ ก็จะเป็นเรื่องเท็จในมัซฮับอื่น

เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดว่า “ฉันได้ละทิ้งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉันไว้ในหมู่พวกท่าน” จริงในขณะที่ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วว่าพวกมุนาฟิก พวกสร้างปัญหาที่ผิดพลาดจะกุเรื่องขึ้นมาใส่ท่าน ซึ่งท่านเคยได้กล่าวไว้ว่า

“คนที่โกหกใส่ฉันจะมีมากมาย ดังนั้น ผู้ใดที่โกหกใส่ฉันก็ให้เขาเตรียมที่นั่งของเขาไว้ในไฟนรก”(194)

เพราะในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้มีคนโกหกใส่ท่านมากมาย หมายความว่าศ่อฮาบะฮฺของท่านบางคน บอกเล่าฮะดีษของท่านด้วยการใส่ความเท็จแล้วอ้างอิงท่านนบี(ศ)เข้าไป แล้วท่านจะมอบภาระให้อุมมะฮฺของท่านปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่สามารถจะรู้ถึงความถูกต้องที่ไม่มีการทำให้บกพร่องสำหรับฮะดีษนั้นๆ

6. อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ได้รายงานไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขาว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ละทิ้งสิ่งสำคัญสองประการ หรือสองค่อลีฟะฮฺ หรือสองสิ่งก็ตาม

ครั้งหนึ่งพวกเขารายงานว่า : คัมภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)

ครั้งต่อมารายงานว่า : หน้าที่ของพวกท่านคือซุนนะฮฺของฉันและซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีนหลังจากฉัน

จำเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียวที่จะต้องยอมรับว่า ฮะดีษถัดมานั้น ผนวกต่อกับกิตาบุลลอฮฺ(คัมภีร์ของอัลลอฮฺ)และซุนนะฮฺของศาสนฑูตของพระองค์(ศ) นั่นก็คือซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีน จึงเป็นอันว่า ได้มีหลักยึดตามศาสนบัญญัติขึ้นมาสามประการ แทนที่จะเป็นสองประการ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าขัดกับฮะดีษษะเกาะลัยน์ ที่เป็นศ่อฮีฮฺและเชื่อถือตรงกันทั้งฝ่ายซุนนะฮฺของชีอะฮฺ

แน่นอนฮะดีษที่ว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอิฏเราะตี(เชื้อสายบริสุทธิ์ของฉัน)” นั่นเอง และเป็นฮะดีษที่เราได้นำมาเสนอไว้ก่อนแล้ว ภายใต้การบันทึกโดยตำราจำนวนมากกว่า 20 เล่มของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ อันเป็นที่เชื่อถือ นอกเหนือไปจากตำราต่างๆ ของสายชีอะฮฺ ซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึง

7.ในเมื่อท่านศาสนทูต(ศ)รู้ดีอยู่แก่ใจโดย “อิลมุล-ยะกีน” ว่าศ่อฮาบะฮฺของท่านที่อัล-กุรอานประทานลงมาในภาษาของตนเอง และในสำเนียงของตนเองนั้น มิได้รู้อะไรมายมายในการตัฟซีรและในการตีความอัล-กุรอาน แล้วจะเป็นอย่างไรสำหรับผู้ที่มาทีหลัง และจะเป็นอย่างไรกับคนที่เพิ่งเข้ายอมรับอิสลามในเมืองโรมัน ในเปอร์เซีย และในเมืองเอธิโอเปีย และทุกๆ แว่นแคว้นที่ไม่เข้าใจภาษาอรับและที่พูดอรับไม่ได้

ได้มีการยืนยันมาในประวัติศาสตร์ว่าอะบูบักรฺ เคยถูกถามเกี่ยวกับโองการที่ว่า “วาฟากิฮะ วะอับบัน”(และผลไม้และจนกระทั่งหญ้า)-(อะบะซะ / 31)

ท่านกล่าวว่า “ฟ้าที่ไหนจะให้ร่มเงาแก่ข้าพเจ้า แผ่นดินไหนจะรองรับข้าพเจ้า หากข้าพเจ้ากล่าวถึงคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยที่ไม่รู้”(195)

เช่นเดียวกับท่านอุมัร บิน ค็อฏอบ อีกเหมือนกัน ที่ไม่รู้ความหมายของโองการนี้ รายงานจาก อะนัซ บินมาลิกว่า : แท้จริงอุมัร บิน ค็อฏฏอบ อ่านบนมิมบัรว่า (โองการที่ 27-31 ซูเราะฮฺ อะบะซะ) แล้วกล่าวว่า ทั้งหมดนี้เรารู้ความหมาย แต่คำว่า “อัลอับ” หมายถึงอะไร ?

ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระนามของอัลลอฮฺ มันเป็นภาระหนัก เมื่อท่านไม่มีความสามารถจะรู้ความหมายของคำว่า อัล-อับ ก็จงปฏิบัติตามแต่สิ่งที่ชัดแจ้งสำหรับพวกท่าน อันเป็นทางนำของพระองค์จากคัมภีร์ ดังนั้น จงปฏิบัติตามมันและเรื่องใดที่ท่านไม่รู้ ก็จงมอบหมายเรื่องนั้นๆ ยังพระผู้เป็นเจ้า” (196)

อะไรที่ท่านกล่าวในเรื่องการตัฟซีรคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านก็จะกล่าวอย่างนั้น ในเรื่องตัฟซีรซุนนะฮฺของนบี(ศ)อันทรงเกียรติเช่นกัน ฮะดีษที่ว่ามาจากท่านนบี(ศ)ตั้งเท่าไรที่ยังคงเป็นเรื่องขัดแย้งกันอยู่ระหว่างศ่อฮาบะฮฺ ขัดแย้งระหว่างมัซฮับ ขัดแย้งระหว่างซุนนะฮฺกับชีอะฮฺ ทั้งนี้ก็เหมือนกันไม่ว่าจะขัดแย้งเพราะเกิดจากการตัดสินให้ฮะดีษนั้นศ่อฮีฮฺ หรือจะเกิดจากการตัดสินว่าฎออีฟก็ตาม หรือเกิดจากการอธิบายและเข้าใจฮะดีษและเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะขอเสนอตัวอย่างเหล่านี้แก่ท่านผู้อ่านต่อไป



1.ความขัดแย้งระหว่างศ่อฮาบะฮฺว่าฮะดีษนั้นถูกต้องหรือเป็นความเท็จ
นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นกับอะบูบักรฺในช่วงแรกสมัยของท่าน เมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซ-ซะฮฺรอ(อฺ)มาพบท่านเพื่อขอร้องให้ท่านมอบที่ “ฟะดัก” ซึ่งอะบูบักรฺได้ยึดไปจากนาง หลังจากที่บิดาของนางวะฟาต อะบูบักรฺ จึงปฏิเสธนางในเรื่องนี้ โดยอ้างว่า

บิดาของนางคือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า “เราชาวอัมบิยาอฺไม่มีการสืบมรดก สำหรับสิ่งที่เราละทิ้งไว้ถือเป็นทานทั้งสิ้น”

ดังนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อฺ) ก็ได้ปฏิเสธต่ออะบูบักรฺ อีกต่อหนึ่ง ในแง่ที่ว่าฮะดีษนี้จะเป็นของบิดาของนาง นางคัดค้านด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งนางได้ตายลงในขณะที่ยังโกรธต่ออะบูบักรฺ โดยไม่พูดด้วยเลยดังที่มีรายงานเรื่องนี้ในศ่อฮีฮฺบุคอรีและมุสลิม

ทำนองเดียวกันกับความขัดแย้งที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ อุมมุล-มุอฺมินีน มีกับอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ในเรื่องที่ว่าผู้ที่ตื่นตอนเช้าโดยมีญุนุบในเดือนรอมฎอน กล่าวคือนางเห็นว่า อันนี้ถือว่าถูกต้องได้ ในขณะที่อะบูฮุร็อยเราะฮฺ เห็นว่าผู้ใดที่ตื่นเช้ามาในสภาพมีญุนุบ การถือศีลอดย่อมเป็นโมฆะ ขอให้ท่านดูประวัติอย่างละเอียด

รายงานโดยอิมามมาลิกในหนังสืออัล-มุวัฎเฎาะอฺ และอัล-บุคอรี ได้บันทึกไว้ในศ่อฮีฮฺ จากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺ และอุมมุซะละมะฮฺ ภรรยาทั้งสองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทั้งสองกล่าวว่า

ท่าน(ศ)ตื่นมาในสภาพมีญูนุบโดยการร่วมประเวณี มิใช่การฝันในเดือนรอมฎอน ต่อจากนั้นท่าน(ศ)ก็ถือศีลอด

และจากอะบูบักรฺ บินอับดุรเราะฮฺมาน ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้ากับบิดาเคยอยู่กับมัรวาน บินฮะกัน ขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมะดีนะฮฺ บิดาได้กล่าวกับเขาว่า

อะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า “ใครที่ตื่นเช้ามาในสภาพญุนุบถือว่าการถือศีลอดเป็นโมฆะ”

ในวันนั้น มัรวาน กล่าวว่า “ข้าขอยืนยันกับท่าน โอ้ อับดุรเราะฮฺมาน ท่านจะต้องไปหาท่านหญิงอาอิชะฮฺ อุมมุล-มุอฺมินีน และท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺอย่างแน่นอน ขอให้ท่านถามคนทั้งสองในเรื่องนี้”

แล้วอับดุรเราะฮฺมานได้ไป ข้าพเจ้าก็ได้ไปพร้อมกับเขาด้วย จนกระทั่งเราได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮฺ เมื่อให้สลามแก่นางแล้ว

ท่านได้กล่าวว่า “โอ้ท่าน อุมมุล-มุอ์มินีน พวกเราเคยอยู่กับมัรวาน บินฮะกัม แล้วได้มีการกล่าวแก่เขาว่า : อะบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า “ใครที่ตื่นเช้าในสภาพมีญุนุบ ถือว่าศีลอดเป็นโมฆะ”

ในวันนั้นท่านหญิงอาอิชะฮฺ กล่าวว่า “ไม่เหมือนที่อะบูฮุร็อยเราะฮฺหรอก โอ้อับดุรเราะฮฺมาน หรือว่าชิงชังในสิ่งที่ท่านศาสนฑูตกระทำ”

อับดุรเราะฮฺมานกล่าวว่า “ไม่เลย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ”

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ กล่าวว่า “ดังนั้นฉันขอยืนยันว่า ท่านศาสน-ทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เคยตื่นเช้าในสภาพญุนุบจากการร่วมประเวณี มิใช่จากการฝัน จากนั้น ท่านก็ถือศีลอดในวันนั้น”

ท่านกล่าวว่า : หลังจากนั้น เราก็ได้เข้าพบท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ แล้วได้ถามนางในเรื่องนั้น นางก็ได้พูดเหมือนท่านหญิงอาอิชะฮฺพูด

ท่านกล่าวว่า : แล้วเราก็ออกมา ขณะนั้นมัรวานได้เข้ามา อับดุรเราะฮฺมานก็กล่าวกับเขาถึงเรื่องที่ท่านหญิงทั้งสองกล่าว

มัรวานได้กล่าวว่า “ฉันได้ยืนยันกับท่านแล้วใช่ไหม โอ้ อะบูมัฮัมมัด แน่นอนท่านจะต้องขี่พาหนะของข้าพเจ้า เพราะอันนี้ย่อมเป็นประตู ดังนั้นท่านจะต้องไปหาอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ที่อัล-อะกีก แล้วท่านก็บอกเขาในเรื่องนี้”

ดังนั้น อับดุรเราะฮฺมานก็ได้ขี่พาหนะไป และข้าพเจ้าก็ได้ขี่พาหนะไปด้วย จนกระทั่งเราเข้าพบอะบูฮุร็อยเราะฮฺ แล้วอับดุรเราะฮฺมานก็ได้สนทนากับเขาเป็นเวลาชั่วโมงหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็กล่าวถึงเรื่องนี้

อะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวกับเขาว่า “ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ หากแต่ได้มีคนหนึ่งบอกเล่าเรื่องนี้กับฉัน” (197)

จงดูเถิด ผู้อ่านทั้งหลาย ศ่อฮาบะฮฺอย่างอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ซึ่งในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ถือว่าเป็นนักรายงานฮะดีษคนหนึ่งของอิสลาม เป็นอย่างไรที่เขาวินิจฉัยความกฏเกณฑ์ศาสนาตามความนึกคิด และอ้างเรื่องนั้นให้ท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในขณะที่ท่านเองก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนบอกท่านในเรื่องนั้น ดังนั้นเท่ากับท่านเตรียมหลักการศาสนาไว้ให้แก่พวกเขาทั้งๆ ที่ท่านเองก็ไม่รู้จักถึงที่มาของเรื่องนั้นๆ



เรื่องที่อะบูฮุร็อยเราะฮฺขัดแย้งกับตัวเองอีกครั้งหนึ่ง
ท่านอับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัดได้รายงานว่า : ท่านฮิชาม บินยูซุฟ ได้เล่าเราว่า : ท่านมุอัมมัรได้เล่า : เราจากรายงานของท่านดุฮฺริ จากรายงานของอะบีซะลามะฮฺ จากอะบีฮุร็อยเราะฮฺ(ร.ฎ.) กล่าวว่า :

ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า “ไม่มีการถือเรื่องอาเพศ ไม่มีการถือเรื่องโชคลาง และไม่มีการถือเรื่องแก้เคล็ด”

ชาวอรับคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทำไมเล่าในเมื่อปัสสาวะของอูฐก็ดี กวางก็ดี ตกลงไปอยู่ในพื้นทราย ครั้นถ้าหากอูฐซึ่งเป็นโรคเรื้อนมาคลุกเคล้ากับทรายนั้น โรคเรื้อนก็จะติดไปถึงอูฐ (ตัวที่ถ่ายปัสสาวะ)”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า “เป็นเพราะว่ามันติดมาจากทรายในครั้งก่อน”

รายงานจากท่านอะบีซะลามะฮฺ กล่าวว่า : ท่านได้ยินอะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวหลังจากที่ได้พูดถึงฮะดีษของท่านนบี(ศ)ที่ว่า

“ท่านอย่าให้คนป่วยคลุกคลีกับคนที่มีสุขภาพดี”

ซึ่งท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปฏิเสธรายงานฮะดีษในครั้งแรกของท่าน

พวกเราจึงกล่าวว่า “ท่านเคยบอกเล่าไว้มิใช่หรือว่าให้ถือเรื่องการเกิดอาเพท ซึ่งได้สลายไปแล้วในเมืองฮับชะฮฺ”

อะบูซะลามะฮฺ กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นว่าเขา (อะบูฮุร็อยเราะฮฺ) จะลืมฮะดีษบทใดนอกเหนือจากนี้อีก” (198)

ตรงนี้ขอให้ท่านผู้มีความเข้าใจในเรื่องซุนนะฮฺของท่านนบนี(ศ) หรืออย่างน้อยในเรื่องที่ถูกอ้างถึงท่านศาสนทูต(ศ)พิจารณาดูเอาเอง ครั้งหนึ่งอะบูฮุร็อยเราะฮฺพูดว่า เขาไม่เคยรู้เรื่องฮะดีษที่หนึ่งของเขา เขากล่าวแต่เพียงว่าคนบอกเล่าผู้หนึ่งได้เล่าเขา แต่อีกครั้งหนึ่งเมื่อเขาถูกติติงว่า การรายงานของเขาบกพร่อง เขาก็มิได้ให้คำตอบแก่คนเหล่านั้นแต่อย่างใด

ข้าพเจ้าไม่ทราบเลยว่าผู้รายงานฮะดีษของอิสลามนี้จะกลายไปเป็นอย่างไรในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ



ความขัดแย้งของท่านหญิงอาอิชะฮฺกับท่านอิบนุ อุมัร
ท่านอิบนุญะรีลได้รายงานว่า : ข้าพเจ้าได้ยินท่านอะฏอฮฺเล่าว่า : ท่านอุรวะฮฺ ซุบัยรฺได้บอกเล่าแก่ข้าพเจ้าว่า : ฉันและอิบนุอุมัรอยู่ตรงกับหน้าห้องของท่านหญิงอาอิชะฮฺ และเราได้ยินเสียงแปรงของนางกระทบกับฟัน อุรวะฮฺ บินซุบัยรฺ ได้กล่าวว่า :

ฉันได้พูดขึ้นว่า “โอ้อะบู อับดุรเราะฮฺมาน(อิบนุอุมัร) ท่านนบี(ศ)ได้ทำอุมเราะฮฺในเดือนเราะอฺญับกระนั้นหรือ”

เขาตอบว่า “ใช่แล้ว”

แล้วฉันก็ได้พูดกับท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า “โอ้มารดาของเรา ท่านได้ยินเรื่องที่อะบู อับดุรเราะฮฺมานพูดหรือไม่ ?”

นางตอบว่า “เขาพูดว่าอย่างไร ?”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เขาพูดว่าท่านนบี(ศ)ทำอุมเราะฮฺในเดือนเราะอฺญับ”

นางกล่าวว่า “ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)อภัยโทษแก่อะบู อับดุรเราะฮฺมานด้วยเถิด ขอสาบานด้วยอายุขัยของฉันว่า ท่านไม่เคยทำอุมเราะฮฺในเดือนเราะอฺญับเลย และเขาก็ไม่เคยทำอุมเราะฮฺใดๆสักครั้งหนึ่ง เว้นแต่จะต้องทำพร้อมกับท่านเสมอ”

ท่านอุรวะฮฺ บินซุบัยรฺ กล่าวว่า “ท่านอิบนุอุมัรฟังเฉยๆ คือเขาไม่ได้กล่าวปฏิเสธว่า “ไม่” และมิได้กล่าวยอมรับว่า “ใช่” เขานิ่งเงียบไปเฉยๆ” (199)



ความขัดแย้งของท่านหญิงอาอีชะฮฺกับภรรยาทั้งหลายของท่านนบี(ศ)
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ กล่าวว่า : ท่านซะฮฺละฮฺ บุตรสาวของ ซุฮัยล์ ซึ่งเป็นภรรยาของอะบูฮุซัยฟะฮฺ นางเป็นคนชาวตระกูลอามิร ได้มาหาท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

นางได้กล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เราถือว่าซาลิมนั้นเป็นบุตร และเขาก็เข้ามาเยี่ยมฉันเสมอ ในขณะที่ฉันอยู่ในสภาพที่เปิดเผย และเราก็ไม่มีบ้านหลายหลังจากเพียงหลังเดียวเท่านั้น ท่านมีความเห็นอย่างไร ในเรื่องของเขา”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า “จงให้นมแก่เขาเถิด”

นางกล่าวว่า “ฉันจะให้นมแก่เขาได้อย่างไร ในเมื่อเขาเป็นผู้ชายที่โตแล้ว มีหนวดเคราแล้วด้วย ?”

ท่านศาสนทูต(ศ) กล่าวว่า “เธอจงให้นมกับเขาเถิด”

แล้วความไม่พอใจในสีหน้าของอะบูฮุซัยฟะฮฺก็หายไป ท่านหญิงอาอีชะฮฺ มารดาของศรัทธาชนก็ได้ถือเอาเรื่องนี้ปฏิบัติกับคนที่นางชอบจะให้เข้ามาเยี่ยมบ้านของนางในบรรดาคนผู้ชาย แล้วนางก็ยังเคยสั่งให้อุมมุกุลซูมบุตรของอะบูบักรฺ อัศศิดดีก น้องสาวของนาง และสั่งหลายๆ ของนางว่า

“ให้ทำการให้นมแก่คนที่พวกนางชอบที่จะให้เข้าสู่บ้านเรือนของนางที่เป็นผู้ชาย”

แต่บรรดาภรรยาอื่นๆ ของท่านนบี(ศ) ในหมู่บรรดามารดาแห่งศรัทธาชนนั้นได้ปฏิเสธและไม่ยอมรับในการที่จะให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้ามาในบ้านเรือนของนางด้วยวิธีการให้นมอย่างนั้น

พวกนางกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เราไม่เคยเห็นว่าเรื่องที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)สั่งซะฮฺละฮฺ บุตรสาวของซุฮัยล์ ให้กระทำนั้นจะเป็นอื่นใด นอกจากว่าเป็นเพียงการอนุโลมจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในเรื่องการให้นมแก่ซาลิมคนเดียวเท่านั้น หามิได้ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ จะไม่มีใครได้เข้ามาหาสู่กับพวกเราสักคนเดียว เพราะการให้นมในวิธีนี้กล่าวคือบรรดาภรรยาของท่านนบี(ศ)นั้นมีทัศนะอย่างนี้ในการให้นมคนที่มีอายุมากแล้ว”(200)

ผู้ที่ทำการวิเคราะห์ เมื่อได้อ่านถึงรายงานริวายัตประเภทนี้ สายตาของเขาจะไม่ยอมเชื่อ จะไม่ยอมรับ และจะปฏิเสธความจริงในสิ่งที่เขาได้แลเห็น และในเรื่องที่เขาได้อ่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันคือเรื่องที่ทำลายความสะอาดบริสุทธิ์ของท่านศาสนทูต(ศ)และเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านกลายเป็นคนที่ถูกเยาะเย้ย ลบหลู่ในเกียรติยศ ในจริยธรรมอันสูงส่งของท่าน และยังเป็นการทำให้ศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีกฏเกณฑ์อันน่าขำเหมือนกับเรื่องราวของคนวิกลจริต

ผู้มีสติปัญญาย่อมไม่สามารถที่จะยอมรับได้ มันเป็นเรื่องของคนที่ไม่มีสติ ไม่มีความคิด ไม่มีความละอาย ไม่มีความสุภาพ และไม่มีอีหม่าน คนมุสลิมจะยอมรับฮะดีษที่น่ารังเกียจเหล่านี้ได้อย่างไร ว่าเป็นเรื่องที่มาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้ซึ่งได้กำหนดให้เรื่องการหวงแหนภรรยาและความละอาย เป็นรากฐานหนึ่งของความศรัทธา

ผู้ศรัทธาใดจะยอมรับบ้างหรือว่าจะยอมให้ภรรยาของตนควักเต้านมของนางออกมาให้ชายหนุ่มดูด เพื่อจะได้เป็นบุตรบุญธรรมทางด้านการให้นมและหลังจากนั้นนางได้กลายเป็นแม่ของหนุ่มคนนั้น ???

มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ แท้จริงแล้ว มันเป็นการใส่ร้ายอย่างชัดแจ้ง อย่างใหญ่หลวง ข้าพเจ้าคิดไม่ออกว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทรงห้ามและถือเป็นฮะรอมแก่เราที่สัมผัสมือสตรีที่เป็นบุคคลภายนอก แต่กลับยินยอมให้เราดูดนมของนางได้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่เข้าใจความหมายของการกุเรื่องแบบนี้ขึ้นมาเป็นฮะดีษ แต่ปัญหามิได้หยุดแค่เพียงขอบเขตของฮะดีษ หากแต่ยังพัวพันต่อไปอีก และกลายเป็นว่ามันคือซุนนะฮฺหนึ่งที่ต้องปฏิบัติตาม

กล่าวคือปรากฏว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ ได้ส่งผู้ชายที่นางชอบให้เข้าไปหานาง ไปหาอุมมุกุลซูม น้องสาวของท่านหญิงอาอิชะฮฺเอง แล้วให้พวกเขาดูดนมของนาง ท่านผู้อื่นไม่มีหน้าที่อย่างอื่นนอกจากจะต้องยอมรับว่าจำเป็นจะต้องมีการดูดนมจนอิ่มถึง 5 ครั้ง ท่านหญิงอาอิชะฮฺจึงยอมให้พวกเขาเข้ามาหาสู่กับนางได้

ได้มีรายงานฮะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺเองกล่าวว่า “ในข้อความที่ถูกประทานมาในอัล-กุรอานนั้นให้กำหนดการให้นมสิบครั้ง จึงเป็นที่ต้องห้าม ต่อจากนั้นได้มีการยกเลิกเป็นห้าครั้ง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้วะฟาตไปในขณะที่พวกเราก็ยังคงอ่านอยู่อย่างนั้น” (201)






๑๖
ขออยู่กับผู้สัจจริง

โดยพื้นฐานอันนี้ จำเป็นที่ผู้ชายจะต้องไปๆ มาๆ หาท่านอุมมุกุลซูม คนละ 5 ครั้ง และนางจะต้องให้นมแก่เขาในทุกครั้ง จนกระทั่งเขาได้กลายเป็นหลานชายของอุมมุล-มุอฺมินีน แล้วท่านหญิงอาอิชะฮฺก็ยินยอมให้เขาพบกับนางได้ หลังจากที่เขาเคยเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนางมาก่อน

คงเป็นด้วยเหตุนี้ดอกกระมังที่ผู้คนต่างชื่นชอบกับนาง โดยจะแข่งขันกันไปหานาง และชอบที่จะเข้าหานาง ชมเชยและยกย่องนาง จนกระทั่งยกตำแหน่งฐานะของนางอีกหนึ่งที่ศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติก็ยังลดน้อยจากนาง โดยพวกเขากล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของศาสนาอยู่ที่นาง ดังนั้นผู้ชายคนใดบ้าง ? โดยเฉพาะคนในสมัยนั้นไม่ชอบที่จะเข้าใกล้ชิดกับอุมมุล-มุอฺมินีน ภรรยาของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) บุตรสาวของอะบูบักรฺ โดยวิธีการนั้น ? นั่นคือวิธีการได้ดูดนมอุมมุกุลซูม บุตรสาวของอะบูบักรฺ และบรรดาลูกสาวของนาง

ริวายะฮฺอันเสื่อมเสียเหล่านี้ ถูกนำมาอ้างถึงบุคคลสำคัญอันเป็นที่รู้จักในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษชาติ ขอให้ท่านพิจารณาการรายงานดูเถิด เป็นไปได้อย่างไร ที่นางซะฮฺละฮฺ จะคัดค้านท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

เมื่อท่าน(ศ)กล่าวกับนางว่า “จงให้นมแก่เขาเถิด”

นางกล่าวว่า “ฉันจะให้นมเขาได้อย่างไร ในเมื่อเขาเป็นผู้ชายที่มีหนวดเคราแล้ว”

นางกล่าวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)หัวเราะ แล้วกล่าวว่า “ฉันรู้แล้วว่าเขาเป็นชายอายุมากแล้ว”(202)

จงดูต่อไปอีกคนรายงานเรื่องนั้น เกรงใจไม่กล้าเล่า ท่านอิบนุ รอฟิอ์ ได้กล่าวหลังจากรายงานฮะดีษนี้ว่า : ฉันนิ่งเงียบอยู่หนึ่งปี โดยไม่กล้าเล่าเรื่องนี้ หลังจากนั้นก็ได้พบกับท่านกอซิม

จึงได้พูดกับเขาว่า “แน่นอน นางได้เล่าฮะดีษบทหนึ่งแก่ฉัน ซึ่งฉันไม่เคยเล่าใครเลย”

เขาถามว่า “อะไรหรือ ?”

ฉันจะเล่าเรื่องนี้แก่เขา

เขากล่าวว่า “ดังนั้นจงเล่าเรื่องนี้จากฉันเถิดว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้บอกเรื่องนี้แก่ฉัน” (203)

อาจเป็นไปได้ว่า มารดาแห่งศรัทธาชน อาอิชะฮฺเป็นเพียงคนเดียวที่รายงานฮะดีษนี้ ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาภริยาทั้งหลายของท่านนบี(ศ) อันได้แก่บรรดามารดาแห่งศรัทธาชน ได้กล่าวว่า “ไม่มีเลย”

ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ไม่มีใครสักคนในหมู่ประชาชนจะได้เข้าหาพวกเราด้วยวิธีการให้นมแบบนี้ ดังที่ได้กล่าวผ่านไปแล้ว และข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า คำพูดของพวกนางที่ว่า : “เราเห็นว่าเรื่องที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺสั่งซะฮฺละฮฺให้กระทำนั้นเป็นเพียงการผ่อนปรนให้แก่ซาลิมคนเดียวเท่านั้น” ต้องเป็นการต่อเติมเสริมประโยคนี้เข้าไปโดยบรรดานักรายงานฮะดีษเองแน่นอน เพราะพวกเขาตัดปัญหาที่ว่าบรรดาภริยาทั้งหลายของท่านนบี(ศ)จะปฏิเสธว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ รายงานเท็จ และพวกนางคัดค้านต่อท่านหญิงอาอิชะฮฺ อย่างในฮะดีษนี้

พวกนางมีสิทธิที่จะคัดค้านเรื่องนี้ เพราะต่างก็รู้จักท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ดีกว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ เพราะพวกนางมีถึงแปดคนในจำนวนนั้นก็ยังมีท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ สตรีผู้ประเสริฐที่มีอายุสูงและมีสติปัญญาบริบูรณ์รวมอยู่ด้วย นี่แหละคือข้อคิดที่ควรแก่การยอมรับ เพราะท่านศาสนทูต(ศ)เป็นคนมีความหวงแหน และไม่ผ่อนผันในสิ่งที่เป็นของฮะรอมอย่างง่ายๆ แบบนี้

บางทีท่านหญิงอาอิชะฮฺเองก็ยอมรับตรงกันกับบรรดามารดาแห่งศรัทธาชนที่ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ไม่ยินยอมในเรื่องแบบนี้ ดังที่เราสามารถรับฟังได้จากรายงานที่นางบอกเล่าด้วยตัวของนางเอง

นางกล่าวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้เข้ามาหาฉัน ในขณะที่มีชายคนหนึ่งนั่งอยู่กับฉัน ท่านโกรธในเรื่องนี้อย่างรุนแรง และฉันได้เห็นความโกรธปรากฏที่ใบหน้าของท่าน

นางกล่าวว่า : ดังนั้น ฉันจึงพูดว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แท้จริงเขาเป็นน้องชายของฉันโดยการให้นม”

นางกล่าวว่า : แล้วท่านได้กล่าว “จงตรึกตรองดูเถิด (พี่น้องของพวกเธอ)โดยการให้นมนั้น จะเป็นจริงได้ก็เพียงแต่การให้นมอันสืบเนื่องจากความหิวเท่านั้น”(204)

บางทีนางอาจเป็นคนวินิจฉัยความเรื่องนี้อีกเช่นกัน ในสมัยที่ท่านศาสนทูต(ศ)ยังมีชีวิตอยู่ กล่าวคือ นางเห็นว่า การให้นมคนมีอายุมากแล้ว ก็ถูกต้องได้ และโดยรายงานริวายัตนี้แหละ ที่ยืนยันว่านางยินยอมในเรื่องอย่างนี้ ในสมัยที่ท่านนบี(ศ)ยังมีชีวิต แต่ท่านศาสนทูต(ศ)มิได้ยอมรับนางในเรื่องนี้ ท่านโกรธอย่างรุนแรงในเรื่องนี้อีกด้วย โดยได้กล่าวกับนางว่า

“อันที่จริงแล้ว ที่แท้จริง ก็เพียงแต่การให้นมในตอนที่มีความหิวเท่านั้น”

หมายความว่า จะไม่เรียกว่าเป็นการให้นม นอกจากแก่เด็กทารกที่ยังไม่สามารถรับประทานอาหารใดๆ ได้ นอกจากดูดนมอย่างเดียว ฮะดีษนี้จึงถือได้ว่า หักล้างเรื่องการให้นมแก่คนมีอายุมากแล้วได้อย่างโดยมิต้องสงสัย



2.ความขัดแย้งของมัซฮับต่างๆ ในเรื่องซุนนะฮฺของนบี(ศ)
ดังนั้นเมื่อท่านอุมัร และท่านอะบูบักรฺ ต่างก็ขัดแย้งกันในเรื่องซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)(205) และในเมื่ออะบูบักรฺก็ขัดแย้งกับท่านหญิงฟาตีมะฮฺ(ฮฺ) ในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ)(206) บรรดาภริยาของท่านนบี(ศ) ก็ขัดแย้งกันในเรื่องซุนนะฮฺของนบี(ศ)(207) อะบูฮุร็อยเราะฮฺก็ขัดแย้งกับท่านอาอิชะฮฺ ในเรื่องของซุนนะฮฺนบี(ศ) (208) อับดุลลอฮฺ บินอุมัร(อิบนุอุมัร) ก็ขัดแย้งกับท่านหญิงอาอิชะฮฺในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ) (209) อับดุลลอฮฺ อิบนุอับบาซ และอิบนุซุบัยร์ ต่างก็ขัดแย้งกันในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ) (210)

และในเมื่อท่านอะลี บินอะบีฏอลิบกับท่านอุษมานก็ขัดแย้งกันในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ)

(1) เมื่อบรรดาศ่อฮาบะฮฺต่างมีความขัดแย้งกันเองในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ)

(2) จนกระทั่งหลังจากพวกเขาแล้ว ในบรรดาตาบิอีน ก็จึงมีมากกว่าเจ็ดสิบแนวทาง กล่าวคือ อิบนุมัซอูด ก็ได้เป็นเจ้าของมัซฮับหนึ่ง และเช่นกัน อิบนุอุมัร, อิบนุอับบาซ, อิบนุซุบัยร์, อิบนุอัยยินะฮฺ, อิบนุญุรัยจ์, ฮะซัน บะศ่อรี และซุฟยาน อัษ-เษารี มาลิก, อะบูฮะนีฟะฮฺ, อัช-ชาฟิอี, อะฮฺมัด ฮัมบัล และ ฯลฯ แต่ทว่าเจ้านายในตระกูลอับบาซียะฮฺ ได้ขจัดสำนักวิชาการของคนเหล่านี้ทั้งหมด จึงไม่เหลือของใคร นอกจากมัซฮับทั้งสี่อันเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว ตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺ

แต่ถึงแม้ว่าจำนวนมัซฮับจะลดน้อยลงแล้ว แต่พวกเขาก็ยังมีความขัดแย้งกันในปัญหาทางฟิกฮฺ ทั้งนี้ก็เพราะความขัดแย้งของพวกเขาในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ)ได้มีคนๆ หนึ่งอธิบายเหตุผลของเขาแก่ข้าพเจ้าในปัญหาข้อหนึ่งตามแนวทางที่เขารับรองว่าถูกต้อง จากฮะดีษของท่านนบี(ศ) ขณะเดียวกับที่อีกคนหนึ่งได้พยายามวินิจฉัยอีกปัญหาหนึ่งด้วยทัศนะของเขา หรือด้วยหลักกิยาศ(เปรียบเทียบ) ในเมื่อไม่มีข้อบัญญัติที่แน่ชัด

ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นได้ว่า พวกเขาขัดแย้งกันในปัญหาเรื่องการให้นม โดยเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างมโหฬาร มากมายหลายฮะดีษที่บกพร่อง คนหนึ่งถือว่าการให้นมเพียงหยดเดียวถือว่าเป็นมะฮฺรอม(ต้องห้ามการสมรสด้วยกัน)แล้ว ขณะที่คนอื่นๆ ถือว่ายังไม่เป็นที่ต้องห้าม เว้นแต่จะต้องดูดนมถึงสิบหรือสิบห้าครั้ง



ความขัดแย้งของซุนนะฮฺและชีอะฮฺในเรื่องซุนนะฮฺนบี(ศ)
สำหรับกรณีของความขัดแย้งระหว่างซุนนะฮฺกับชีอะฮฺในปัญหานี้ สืบเนื่องจากสาเหตุใหญ่ๆ สองประการ ประการแรกคือ ฮะดีษนั้นตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่า ไม่ศ่อฮีฮฺ ถ้าหากคนหนึ่งคนใดในจำนวนผู้รายงาน ถูกครหาในเรื่องความเที่ยงธรรม ถึงแม้ว่าคนๆ นั้นจะเป็นศ่อฮาบะฮฺ เพราะชีอะฮฺ ไม่ยืนยันว่าศ่อฮาบะฮฺทั้งหมดเป็นผู้มีความเที่ยงธรรม เหมือนอย่างที่ถือกันอย่างนั้นในหมู่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ

นอกจากนี้ พวกเขายังปฏิเสธฮะดีษนี้อีก ถ้าหากขัดกับรายงานของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เพราะพวกเขาจะยึดริวายัตของคนเหล่านั้น ก่อนริวายัตของบุคคลอื่น ด้วยเพราะฐานภาพของบุคคลเหล่านั้นสูงส่งยิ่ง และพวกเขามีหลักฐานอย่างนี้ในอัล-กุรอานและ ซุนนะฮฺยืนยัน ถึงแม้ในฝ่ายตรงข้ามกับพวกเขาก็ยังมี ดังที่ได้อธิบายบางหลักฐานผ่านมาแล้ว

ส่วนประการที่สองในเรื่องความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย ก็คือ ผลสรุปจากความเข้าใจฮะดีษนั้นๆ โดยที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺอธิบายไม่เหมือนกับการอธิบายของชีอะฮฺ เช่นฮะดีษที่เราได้ชี้แจงผ่านไปแล้ว นั่นคือฮะดีษที่ว่า

“ความขัดแย้งในประชาชาติของฉัน ถือเป็นความเมตตา”

ขณะที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ สำหรับมวลมุสลิม ในการขัดแย้งกันของมัซฮับต่างๆ ทั้ง 4 กับประเด็นปัญหาฟิกฮฺนั้น ถือว่าเป็นเราะฮฺมะฮฺสำหรับมวลมุสลิม ในขณะที่ชีอะฮฺอธิบายว่า หมายถึงการเดินทางที่คนส่วนหนึ่งไปมาหาสู่กับคนอีกส่วนหนึ่ง เพื่อปรารถนาจะรับความรู้จากกันและกัน คราวก่อน เราได้อธิบายเรื่องนี้ไปแล้วว่าท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ)ได้อธิบายฮะดีษนี้อย่างไร (โปรดย้อนไปพิจารณาดู)

หรือความจริงแล้ว ความขัดแย้งระหว่างชีอะฮฺกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มิได้อยู่ที่ความหมายฮะดีษของนบี(ศ) หากเพียงแต่อยู่ที่บุคคลๆ หนึ่ง หรือหลายๆ คนที่ให้ความหมายฮะดีษนี้ เช่นคำพูดของท่านศาสน-ทูต(ศ)ที่ว่า

“หน้าที่ของพวกท่าน จะต้องถือตามซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺของฉัน”

กล่าวคืออะฮฺลิซซุนนะฮฺให้ความหมายว่า หมายถึงอะบูบักรฺ อุมัร อุษมาน และอะลี และชีอะฮฺ ให้ความหมายว่า อิมามสิบสองคน นับเริ่มจากอะลี บิน อะบีฏอลิบ(อฺ) จนถึง อัล-มะฮฺดี มุฮัมมัด บินฮะซัน อัล-อัซกะรี

หรือดังเช่นคำพูดของท่านนบี(ศ)ที่ว่า “ค่อลีฟะฮฺภายหลังจากฉันมีสิบสองคน ทุกๆ คนล้วนมาจากตระกูลกุเรช”

สำหรับชีอะฮฺให้ความหมายฮะดีษนี้ว่า หมายถึงอิมามสิบสองคน จากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ในขณะที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ไม่มีคำใดๆ สำหรับฮะดีษนี้ พวกเขาขัดแย้งกันแม้กระทั่งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับท่านนบี(ศ) ดังเช่นในเรื่องวันประสูติของท่านนบี(ศ)ผู้ทรงเกียรติ อะฮฺลิซซุนนะฮฺจะจัดงานเมาลิดนบี(ศ)กันในวันที่ 12 เดือนรอบีอุล-เอาวัล (แต่สำหรับในประเทศไทย นิยมจัดเมาลิดกันในต้นปี หรือไม่ก็ปลายปี ทางสุริยคติ ไม่เกี่ยวว่าจะตรงกับเดือนประสูติที่แท้จริงหรือไม่-หมายเหตุ-ผู้แปล)

ในขณะที่ชีอะฮฺจะจัดในวันที่ 17 เดือนรอบีอุล-เอาวัล ขอยืนยันด้วยอายุขัยของข้าพเจ้า ความขัดแย้งเหล่านี้ในอะฮฺลิซซุนนะฮฺถือเป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อไม่มีมัรญีอฺ (ผู้นำสูงสุดทางศาสนา) ที่คนทั้งหมดขึ้นตรงต่อเขา ซึ่งหลักเกณฑ์ในการตัดสินของเขามีผลบังคับโดยที่ความเห็นของเขาเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหมด ซึ่งให้ความสำคัญต่อเขาดุจดังที่ท่านศาสนทูตเคยตัดสินปัญหาความขัดแย้ง และขจัดการโต้แย้ง และตัดสินไปตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ แล้วพวกเขาก็ให้การยอมรับถึงแม้ว่าในจิตใจของพวกเขาจะมีบาดแผลอยู่ก็ตาม

กล่าวคือ การมีอยู่ของบุคคลผู้นี้ ถือว่า เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการดำเนินชีวิตของประชาชาติตลอดชั่วกาลเวลาอันยาวนาน อันนี้คือกฎแห่งสติปัญญา และเป็นไปมิได้ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)จะละเลยเรื่องนี้ในเมื่อท่านรู้ในสิ่งที่พระผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับสอนท่านให้รู้ว่า อุมมะฮฺของท่านจะตีความพจนารถของอัลลอฮฺกันเองภายหลังจากท่าน จึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องนำมามอบให้แก่พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อได้นำประชาชาติไปสู่ความถูกต้องจนไม่ผันแปรเปลี่ยนไปจากหนทางอันเที่ยงตรง

แน่นอนท่านได้ตระเตรียมอย่างเป็นกิจจะลักษณะให้ประชาชาติของท่านมีผู้นำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งท่านได้ทุ่มเทวิริยะอุตสาหะของท่านทั้งหมดในการอบรมสั่งสอน นับตั้งแต่เขาผู้นั้นเกิดจนมีอายุบรรลุสู่วัยตามศาสนบัญญัติที่สมบูรณ์และมีฐานะต่อท่านเหมือนฮารูน(อฺ)ที่มีต่อมูซา(อฺ) แล้วท่านได้มอบหมายภารกิจอันสำคัญนี้แก่เขาด้วยการพูดว่า

“ฉันต่อสู้กับเขาเหล่านั้นในเรื่องการประทานมาของอัล-กุรอาน ส่วนเจ้าจะต่อสู้กับพวกเขาในเรื่องการตีความหมายของมัน” (211)

และคำพูดของท่านที่ว่า “เจ้านั้น โอ้อะลี จะได้อธิบายแก่ประชาชาติของฉันในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกันภายหลังจากฉัน” (212)

ดังนั้นเมื่ออัล-กุรอาน อันเป็นคัมภีร์ของอัลลอฮฺ อันทรงเกียรติ จำเป็นต้องมีผู้ที่ต่อสู้ในหนทางแห่งการตัฟซีรและอธิบายความ เพราะว่า มันเป็นคัมภีร์ที่ปราศจากสุรเสียง พูดเองไม่ได้ และเป็นคัมภีร์ที่ประกอบด้วยหัวข้อเรื่องอันหลากหลายในนั้นมีทั้งข้อความอันเปิดเผย และข้อความอันมีความเป็นนัยแล้วฮะดีษนบี(ศ)อันเป็นข้อความแยกแยะละเอียดลงไปอีกเล่า จะเป็นอย่างไร

เมื่อเรื่องราวเป็นอย่างนี้ ทั้งในคัมภีร์และในซุนนะฮฺ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)จะทิ้งสิ่งที่สำคัญสองประการอันปราศจากสุรเสียงพูดไม่ได้ทั้งสองอย่างไว้ให้แก่ประชาชาติโดยบรรดาผู้ที่มีความหันเหในจิตใจจะอดเสียมิได้ต่อการตีความสิ่งทั้งสองนี้ให้ไปตามจุดประสงค์อย่างใดย่างหนึ่ง แล้วปฏิบัติกันไปตามนั้น อันเป็นสิ่งเคลือนแคลงจากสิ่งทั้งสองด้วยความปรารถนาในสิ่งฟิตนะฮฺ และปรารถนาในทางโลก

และพวกเขาจึงเป็นต้นเหตุสำหรับความหลงผิดของผู้ที่เกิดมาในภายหลังพวกเขา เพราะคนเหล่านั้น จะมีทัศนคติที่ดีงามต่อพวกเขา และเชื่อถือในความเที่ยงธรรมของพวกเขา แต่ในวันกิยะมะฮฺพวกเขาจะเสียใจ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“และวันนั้นใบหน้าของพวกเขาจะถูกพลิกกลับลงสู่ไฟนรก พวกเขากล่าวว่า โอ้ ความวิบัติของเราเอ๋ย เราน่าจะปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และปฏิบัติตามศาสนทูต และพวกเขากล่าวต่อไปอีกว่า โอ้ องค์อภิบาลของเรา แท้จริงเราได้ปฏิบัติตามต่อหัวหน้าของพวกเราและผู้อาวุโสของเรา แต่แล้วพวกเขาก็ทำให้เราหลงทาง โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดลงโทษพวกเขาเป็นสองเท่า และโปรดสาปแช่งพวกเขาด้วยการสาปแช่งอันยิ่งใหญ่ด้วยเถิด” (อัล-อะฮฺซาบ / 66-68)

“ทุกครั้งที่มีประชาชาติหนึ่งเข้าสู่(นรก) พวกเขาก็จะสาปแช่งพี่น้องของพวกเขา จนกระทั่งเมื่อพวกเขาได้รวมตัวกันอยู่ในนั้นโดยพร้อมเพรียงกัน แล้วกลุ่มสุดท้ายของพวกเขาก็กล่าวแก่คนกลุ่มของพวกเขาว่า :

“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พวกเหล่านี้แหละที่ทำใหเราหลงผิด ดังนั้นขอพระองค์ได้ประทานการลงโทษอันเป็นทวีคูณจากไฟนรกแก่พวกเขาด้วยเถิด”

พระองค์ตรัสว่า

“สำหรับทุกกลุ่มต้องถูกทวีคูณ แต่ทว่าพวกเจ้าไม่รู้” (อัล-อะอฺรอฟ / 38)

ความหลงผิดจะมีมาจากทางอื่นนอกเหนือจากทางนี้อีกหรือ ? กล่าวคือไม่มีประชาชาติใดที่อัลลอฮฺไม่ส่งศาสนทูต(ศ)มาในหมู่พวกเขา เพื่ออธิบายถึงแนวทางให้แก่พวกเขาอย่างแจ้งชัด และให้ความสว่างแก่แนวทางสำหรับพวกเขา แต่ว่าหลังจากสิ้นนบี(ศ)ของพวกเขาแล้ว พวกเขาก็หันเหและตีความ อีกทั้งทำการเปลี่ยนแปลงพจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เสีย จะมีคนที่มีสติปัญญาคนใดคาดคิดหรือว่า ท่านนบีอีซา(อฺ) ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จะสอนพวกนะศอรอว่า “ท่านเป็นพระเจ้า” มันเป็นไปไม่ได้เลยอย่างเด็ดขาด

เพราะท่านได้กล่าวไว้ว่า “ฉันไม่เคยกล่าวกับพวกเขานอกจากตามที่พระองค์ได้บัญชาแก่ฉันเท่านั้น”

แต่ทว่าอารมณ์ต่ำ และความปารารถนาอย่างลุ่มหลง อีกทั้งความรักต่อโลกดุนยาเท่านั้นเองที่หันเหพวกนะศอรอให้เป็นอย่างนั้น ท่านนบีอีซา(อฺ) มิได้บอกข่าวดีแก่พวกเขาในเรื่องของนบีมุฮัมมัด(ศ)ดอกหรือ ? และนบีมูซา(อฺ) ก่อนหน้านั้นอีกเช่นกันด้วย แต่ทว่าเขาเหล่านั้นตีความหมายให้กับชื่อ “มุฮัมมัด” และ “อะฮฺมัด” ว่าเป็น “ผู้ปลดปล่อย” จึงทำให้พวกเขายังคงรอคอยกันอยู่จนถึงทุกวันนี้

ประชาชาติของศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้แตกแยกออกไปเป็นมัซฮับต่างๆมากมายถึง 73 มัซฮับ ซึ่งเขาเหล่านั้นทั้งหมดจะต้องตกอยู่ในไฟนรก นอกจากพวกเดียวเท่านั้น ก็มิใช่เป็นเพราะเหตุใด นอกจากเพราะเหตุของการตีความหมาย ปัจจุบันที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ท่ามกลางความแบ่งแยกเหล่านี้ จะมีสักกลุ่มบ้างไหมที่อ้างว่าตัวเองเป็นพวกหลงผิด ? หรืออีกนัยหนึ่ง จะมีสักกลุ่มไหมที่อ้างว่าตนขัดแย้งกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต ? ตรงกันข้าม ทุกกลุ่มจะกล่าวว่าตนนี่แหละคือผู้ยึดมั่นต่อคัมภีร์และซุนนะฮฺเมื่อเป็นเช่นนี้เราจะแก้ปัญหาอย่างไร ?

หนทางแก้ไขได้ถูกปกปิดเป็นความลับแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กระนั้นหรือ เพราะแท้จริง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นบ่าวที่ถูกบัญชา ดังโองการที่ว่า

“ดังนั้นจงตักเตือนเถิด อันที่จริงเจ้าคือผู้ตักเตือนเจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขาในการบังคับ” ข้าขออภัยต่อเอกองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์คือผู้ทรงเอ็นดูต่อปวงบ่าวและทรงรักที่จะให้พวกเขาได้รับคุณงามความดี จึงจำเป็นที่พระองค์จะต้องวางหนทางแก้ไขไว้แก่พวกเขา เพื่อพระองค์จะได้ทำลายผู้ซึ่งทำลายหลักฐานอันชัดแจ้ง และไม่เป็นการบังคับควรแก่พระองค์ที่จะปลดปล่อยและละเลยมวลมนุษย์ที่พระองค์สร้างมา และทอดทิ้งเขาเหล่านั้นโดยปราศจากการชี้นำ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า หาไม่เช่นนั้นแล้ว

เราก็น่าจะเชื่อถือได้ว่า พระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้พวกเขามีความขัดแย้ง และแตกแยกออกเป็นกลุ่ม และให้พวกเขาหลงผิด เพื่อจะได้นำพวกเขาเข้าสู่ไฟนรกของพระองค์ ซึ่งก็นับว่าเป็นความเชื่อที่เหลวไหลไร้สาระอันเสียหายอย่างยิ่ง ข้าขออภัยโทษต่อพระองค์ และขอกลับตัวต่อพระองค์ที่ได้นำคำนี้มากล่าว อันเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่เกรียงไกร และวิทยปัญญาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ดังนั้น คำพูดของท่านศาสนทูต(ศ)ที่ว่า “ท่านได้ละทิ้งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺนบี(ศ)ของพระองค์” จึงมิใช่หนทางแก้ไขอันเป็นที่ถูกยอมรับสำหรับกรณีของเรา หากแต่มันจะยิ่งให้เราเพิ่มการผูกมัดและเพิ่มการตีความหมายยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งยังไม่สามารถตัดปัญหาของผู้นำการล่อลวงและทำการพลิกแพลงจนเสียหายได้เลย ท่านมิได้เห็นดอกหรือว่า เมื่อเขาเหล่านั้นได้ออกไปสู้รบกับอิมามของพวกตน พวกเขาได้หยิบยกคำขวัญขึ้นมาประกาศว่า

“อำนาจการตัดสินมิได้เป็นของท่านหรอก โอ้อะลี หากแต่อำนาจการตัดสินนั้นเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แท้จริงคำขวัญอันนี้ถือเป็นประกาศิตหนึ่งที่สามารถตรึงผู้ฟังให้หยุดคิดได้ เพราะจะต้องคาดคะเนได้ว่าคนที่พูดอย่างนี้มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะทำตามหลักเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และปฏิเสธหลักเกณฑ์ต่างๆ ของบุคคลอื่นที่เป็นปุถุชน แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่”

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“และส่วนหนึ่งจากมนุษย์นั้น มีผู้ที่ทำให้เจ้าประทับใจกับคำพูดของเขาในชีวิตทางโลก แต่อัลลอฮฺทรงรู้อย่างชัดแจ้งถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเขาโดยที่เขานั้นเป็นนักโต้เถียงตัวฉกาจ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 204 )

ใช่แล้ว มีคำขวัญอันเป็นประกาศิตอยู่มากมายเหลือเกินเท่าที่เราได้พบ แต่เราไม่รู้ว่ามีอะไรซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังบ้าง แต่ทว่า ท่านอิมาม อะลี(อฺ) รู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพราะท่านคือประตูของนครแห่งความรู้

ท่านจึงตอบพวกเขาว่า “แท้จริงอันนั้นคือถ้อยคำที่เป็นสัจธรรม แต่ความหมายที่อยู่กับมันนั้นเป็นสิ่งโมฆะ ใช่แล้ว มีมากมายเสียเหลือเกินสำหรับถ้อยคำต่างๆ ที่เป็นสัจธรรม แต่ความหมายที่มีอยู่กับมันนั้นเป็นสิ่งโมฆะ อันนี้หมายความว่าอย่างไร ?”

เมื่อครั้งที่พวกเคาะวาริจญ์พูดกับท่านอิมามอะลี(อฺ)ว่า

“อำนาจการตัดสินเป็นของอัลลอฮฺ ไม่ใช่เป็นของท่านหรอกโอ้อะลี”

นั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงลงมาปรากฏพระองค์ในหน้าแผ่นดินแล้วจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขาในเรื่องราวที่พวกเขาขัดแย้งกันอยู่กระนั้นหรือ ? หรือว่าพวกเขารู้กันอยู่ว่า อำนาจการตัดสินของอัลลอฮฺนั้นอยู่ในอัล-กุรอาน แต่ท่านอะลี(อฺ)กลับตีความหมายไปตามความคิดเห็นของท่านเอง ? ดังนั้นอะไรบ้างเล่าที่เป็นข้อพิสูจน์ของพวกเขา และใครบ้างเล่าที่จะยืนยันว่าพวกเขาคือ กลุ่มบุคคลที่สามารถตีความหมายกฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้

ในขณะที่ท่านอิมามอะลี(อฺ)มีความรู้ดีกว่าพวกเขาเหล่านั้น และมีความซื่สัตย์กว่า อีกทั้งอยู่กับอิสลาม จะมีคนอื่นนอกเหนือจากท่านอีกหรือ ?

เพราะฉะนั้น คำขวัญอันทรงอานุภาพที่มีขึ้นก็เพื่อที่จะมอมเมาสติปัญญาของบุคคลที่โง่เขลา ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถเรียกร้องการสนับสนุนของคนเหล่านั้นได้ เพื่อช่วยเหลือพวกเขาในการทำสงครามกับท่านอะลี(อฺ) และท่านก็จำเป็นต้องทำการสงครามเพื่อแก้ไขปรับปรุงพวกเขาเหล่านั้นเหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันนี้ กล่าวคือกาลเวลาในยุคนั้นก็เหมือนกับกาลเวลาในยุคนี้ ผู้คนในยุคนั้นก็เหมือนกับผู้คนในยุคนี้ ความชั่วร้ายและสิ่งน่ารังเกียจก็หาใช่ว่าจะถูกตัดขาดให้สิ้นไปได้เลย

หากแต่มันจะยิ่งเพิ่มพูนและเจริญเติบโตงอกงามมากขึ้น เพราะความชั่วร้ายในยุคปัจจุบันนี้ได้อาศัยประสบการณ์ของคนในยุคก่อน ดังนั้น ถ้อยคำที่เป็นสัจจะตั้งเท่าไหร่ ที่ความหมายในตัวของมันเป็นความผิดพลาดในยุคสมัยของเรานี่คำขวัญต่างๆ อันทรงอานุภาพ เช่น คำขวัญที่บรรดาพวกวะฮาบีได้หยิบยกขึ้นมากล่าวต่อเบื้องหน้าของมวลมุสลิม นั่นคือ “หลักเตาฮีด(เอกภาพของอัลลอฮฺ) และไม่มีการภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)” จะมีมุสลิมคนใดบ้างที่ไม่เห็นด้วยกับคำขวัญนี้ ?

และเช่นการตั้งกลุ่มของมุสลิมว่าตัวเองเป็นพวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จะมีมุสลิมคนใดบ้างที่ไม่เห็นพ้องต้องกันว่าจะอยู่กับญะมาอะฮฺที่ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของนบี(ศ) ? และเช่นคำขวัญของพวกพรรคบะอัษ “ประชาชาติอรับเป็นหนึ่งเดียว มีคัมภีร์ที่อมตะนิรันดร” จะมีมุสลิมคนใดบ้างที่ไม่ชื่นชมกับคำขวัญนี้ ก่อนที่จะรู้ซึ้งถึงความลี้ลับภายในพรรคบะอัษ และองค์กรของมัน ที่ผู้ก่อตั้งเป็นชาวนัศรอนี ชื่อ มีชาล อัฟลัก (ไมเคิล อัฟลัก)?

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงอยู่กับท่าน โอ้อะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)

แท้จริงวิทยปัญญาของท่านยังคงดำรงอยู่ และจะยังคงดำรงไปตลอดสำหรับผู้เชื่อฟังทุกยุคทุกสมัย เพราะมีถ้อยคำมากตั้งเท่าไหร่ซึ่งเป็นความจริงแต่ความหมายที่อยู่ในตัวของมันนั้นผิดพลาด ได้มีนักปราชญ์คนหนึ่งก้าวขึ้นไปบนแท่นปราศรัย แล้วกล่าวอย่างเสียงดังฟังชัดว่า

“ผู้ใดที่กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นชีอะฮฺ เราจะขอกล่าวกับเขาว่า “ท่านเป็นกาฟิร” และผู้ใดที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นซุนนี” เราก็ขอกล่าวว่า “ท่านเป็นกาฟิร” เราไม่ต้องการชีอะฮฺ และเราไม่ต้องการซุนนี หากแต่เราต้องการเพียงอิสลามเท่านั้น”

แท้จริงนี่คือถ้อยคำที่เป็นสัจธรรม แต่ความหมายที่อยู่ในถ้อยคำนี้มีความเป็นโมฆะ กล่าวคือ อะไรที่เป็นอิสลามตามจุดประสงค์ของผู้รู้ท่านนี้ ? เพราะในโลกของเราปัจจุบันนี้ อิสลามมีมากหลายกลุ่ม แม้กระทั่งว่าจะกล่าวถึงศตวรรษแรกก็ปรากฏว่าอิสลามยังแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม นั่นอิสลามแบบอะลี(อฺ) โน่นอิสลามแบบมุอาวียะฮฺ ต่างฝ่ายต่างก็มีผู้ปฏิบัติตาม และผู้สนับสนุนทั้งคู่จนเรื่องราวถึงขั้นเข่นฆ่าสังหารกัน

และนั่นอิสลามของฮุเซน(อฺ) และโน่นอิสลามของยะซีดที่ฆ่าฟันอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ในนามของอิสลามและอ้างว่าฮุเซนออกนอกศาสนาอิสลาม โดยเหตุที่ทำสงครามกับตน และนั่นก็คืออิสลามของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และชีอะฮฺของพวกตน และโน่นอิสลามของบรรดานักปกครองและประชาชนของพวกเขา ที่ผ่านมาในหน้าของประวัติศาสตร์ เราจะพบความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างมวลมุสลิม

และโน่นก็ยังมีอิสลามของผู้ที่ยอมจำนนอย่างเช่นที่ชาวตะวันตกได้ให้สมญานามกับเขา เพราะการเชื่อฟังปฏิบัติตามจนได้ชื่อว่าพวกเขามอบความจงรักภักดีแก่พวกยิว และนัศรอนี และพวกเขาได้แสดงความคารวะต่อบาทหลวงผู้ยิ่งใหญ่ของทั้งสองฝ่าย และก็ยังมีอิสลามที่แข็งกร้าวตามคำสมญานามของชาวตะวันตก อันได้แก่อิสลามที่ฝักใฝ่ในชาตินิยมอย่างอคติ แข็งกระด้าง หรือบ้าคลั่งในอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และที่สำคัญก็คือว่า ผู้รู้ที่พูดไปท่านนี้ได้ย้อนกลับมาพิจารณาในภายหลัง

นอกเหนือจากทุกอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มีอะไรที่เหลือไว้ให้เราเชื่อถือฮะดีษที่ว่าด้วย “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน” โดยเหตุผลต่างๆตามที่ข้าพเจ้าได้หยิบยกมากล่าว

ยังคงเหลือความเป็นจริงสิ่งเดียวที่ถ่องแท้ในฮะดีษที่สอง ซึ่งมวลมุสลิมได้ลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในการยอมรับ นั่นคือฮะดีษที่ว่าด้วย “คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื้อสายของฉัน แห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” เพราะเหตุว่าฮะดีษนี้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทุกประการได้ จนไม่มีความขัดแย้งใดๆ หลงเหลืออยู่ในการตีความหมายโองการหนึ่งๆ ในเมื่อเราได้นำโองการนั้นๆ ย้อนกลับไปพิจารณายังอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ที่เราถูกบัญชาให้ย้อนกลับไปหา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อเรารู้ว่าเขาเหล่านั้นคือ บุคคลที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงสิทธิ์ในเรื่องนี้ ไม่มีมุสลิมคนใดจะสงสัยในความสูงส่งทางวิชาการของพวกเขา และจะสงสัยในความสมถะ ความมีตักวาของพวกเขา เพราะพวกเขาคือบุคคลที่ล้ำหน้าในเกียรติยศทุกประการ แน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงขจัดความมลทินมัวหมองออกไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขาอีกทั้งยังได้ให้พวกเขาเป็นทายาทสืบทอดมรดกทางวิชาการแห่งคัมภีร์

เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงไม่ขัดแย้งกับพระองค์ และไม่ขัดแย้งกันในเรื่องของคัมภีร์ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาจะไม่พรากจากคัมภีร์ จนกระทั่งถึงวันกิยามะฮฺ

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) กล่าวว่า “แท้จริง ฉันได้ละทิ้งคอลีฟะฮฺสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อันเป็นสายเชือกที่เชื่อมโยงจากฟากฟ้าสู่แผ่นดิน และเชื้อสายของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน เพราะแท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แตกแยกจากกัน จนกระทั่งจะย้อนคืนกลับสู่ฉัน ณ อัล-เฮาฎ์”

แน่นอน ข้าพเจ้าจะอยู่กับผู้มีความสัตย์ ซึ่งจำเป็นที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าวในสิ่งที่เป็นสัจจะ ซึ่งการติเตียนใดๆ ในเรื่องนี้ไม่สามารถครอบงำข้าพเจ้าได้ เพราะเป้าหมายของข้าพเจ้าอยู่ที่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความพึงพอใจในส่วนลึกของข้าพเจ้าเอง อันเป็นสิ่งที่มาก่อนความพึงพอใจของมนุษย์ที่มีต่อข้าพเจ้า เพราะว่ามีโองการว่า

“และพวกยิวนั้น และพวกนะศอรอนั้น จะไม่พึงพอใจต่อเจ้าเลยจนกว่า เจ้าจะปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขา”






๑๗
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ความเป็นจริงในการวิเคราะห์บทนี้ก็อยู่ที่ฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งได้ปฏิบัติตามคำสั่งเสียของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในเรื่องเชื้อสายของท่าน พวกเขาถือว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องมาก่อนตัวของพวกเขาเอง และพวกเขาถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นบรรดาอิมามของพวกเขา ซึ่งพวกเขาแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยความรักที่มีต่อบุคคลเหล่านั้น และโดยการปฏิบัติตามทางนำของบุคคลเหล่านั้น

ดังนั้น ความผาสุก สงบสุขอย่างมีชัยชนะ จึงเป็นของพวกเขา ทั้งในโลกนี้และปรโลกในเมื่อมนุษย์นั้นจะถูกนำให้ไปอยู่รวมกันกับบุคคลที่เขารัก ดังนั้นจะเป็นอย่างไรอีกหรือสำหรับผู้ที่มอบความรักแก่พวกเขา และปฏิบัติตามการชี้นำของพวกเขา ?

ท่านซะมัคชะรี ได้กล่าวไว้ในประเด็นนี้ว่า : ความสงสัยและขัดแย้งล้วนมีมาก ทั้งหลายหลากล้วนแอบอ้างว่าตนอยู่ในหนทางที่เที่ยงธรรม

ดังนั้นฉันจึงยึดมั่นกับ “ลาอิลาฮะ อิลลัล-ลอฮฺ” และความรักของฉันหมายมั่นมอบแด่ อะฮฺหมัด(ศ) และอะลี(อฺ)

สุนัขยังมีชัยชนะได้ด้วยเหตุแห่งความรักต่อเจ้าของแห่งกะฮฺฟุ(ชาวถ้ำ) แล้วฉันจะอับโชคอย่างเลวร้ายได้อย่างไร ในเมื่อรักภักดีต่ออะลี(อฺ)ของนบี(ศ)

โอ้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้โปรดบันดาลให้เราเป็นผู้ยึดมั่นกับสายเชือกแห่งความรักต่อพวกเขา และบุคคลอื่นๆ ที่อยู่กับแนวทางของพวกเขาและต่อบรรดาผู้ซึ่งได้ขึ้นลำนาวาของพวกเขา และต่อบรรดาผู้ซึ่งยืนยันในตำแหน่งอิมามของพวกเขา และต่อบรรดาที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกเขา แท้จริงพระองค์ทรงชี้นำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์สู่วิถีทางอันเที่ยงตรง



อัล-คุมซฺ
นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พวกชีอะฮฺและซุนนะฮฺมีความเห็นขัดแย้งกัน แต่ก่อนที่จะตัดสินว่าใครถูกใครผิดนั้น จำเป็นที่เราจะต้องวิเคราะห์ถึงข้อสรุปในเรื่องคุมซ์สักเล็กน้อยก่อน กล่าวคือ เราจะเริ่มต้นด้วย อัล-กุรอาน อันทรงเกียรติ

พระองค์(ซ.บ.)ตรัสว่า

“และจงรู้ไว้เถิดว่า อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามที่พวกสูเจ้าริบมาได้นั้น แท้จริงสำหรับอัลลอฮฺคือหนึ่งในห้าของมัน และมันเป็นของศาสนทูต และของญาติสนิท และของลูกกำพร้า และของคนยากจน และของคนขัดสนที่เดินทาง” (อัล-อัมฟาล / 41)

แน่นอนยิ่ง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวว่า

“ฉันได้มีบัญชาต่อพวกท่านสี่ประการดังนี้ การมีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การดำรงนมาซ และการจ่ายซะกาต และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน อีกทั้งจะต้องทำหน้าที่จ่ายให้แก่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งจำนวนหนึ่งในห้าจากสิ่งที่พวกท่านริบมาได้”(214)

พวกชีอะฮฺ โดยการชี้นำของอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) พวกเขาจึงจ่ายคุมซฺออกไปจากรายได้ที่พวกเขาแสวงหามาในเวลาหนึ่งปีของพวกเขา เพื่อมอบแก่อิมาม พวกเขาอธิบายความหมายของคำว่า “ฆอนีมะฮฺ” (สิ่งของที่ริบมาได้) ว่าหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราแสวงหามาเป็นผลกำไร ไม่ว่าจะโดยลักษณะใดๆ ก็ตาม

แต่สำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น พวกเขาร่วมกันทำการจำกัดความหมายของ “อัล-คุมซฺ” สิ่งของที่ยึดมาได้จากสงครามโดยเฉพาะเท่านั้น และพวกเขาได้อธิบายโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“และจงรู้เถิดว่า อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามที่พวกเจ้าริบมาได้นั้น” หมายถึง สิ่งที่พวกสูเจ้าแสวงหามาได้ทั้งหมดในสงคราม

นี่คือข้อสรุปแห่งคำสอนของทั้งสองฝ่ายในเรื่องคุมซฺ แน่นอนที่สุดนักปราชญ์ของทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้เขียนคำอธิบายไว้อย่างมากมายในปัญหานี้ ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ข้าพเจ้า หรือบุคคลอื่นยอมรับต่อความเห็นของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าจะต้องเป็นความเห็นที่ขึ้นตรงกับคำสอนของนักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺ โดยมีมุอาวิยะฮฺ บุตรอะบีซุฟยาน เป็นหัวหน้า

เขาผู้ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของมวลมุสลิม โดยการกระทำของตัวเขาเองและวงศ์วานว่านเครือกับคนทั่วไปทั้งพวกผิวขาวและผิวเหลือง สืบต่อมาภายหลังจากนี้ก็คือ ยะซีด บุตรชายของเขาซึ่งเป็นคนสวมสร้อยทองคำให้สุนัข และสิ่งที่เอามาเลี้ยงไว้ในขณะที่เวลาเดียวกัน มวลมุสลิมบางส่วนต้องตายด้วยความอดยาก

มันมิใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด ในเรื่องการตีความหมายว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในกรณีของการทำสงคราม เพราะนำหน้าโองการนี้ด้วยโองการต่างๆที่ให้ความหมายในเรื่องการสงครามและการต่อสู้ ตั้งมากมายเท่าไหร่แล้ว ที่พวกเขาตีความหมายโองการต่างๆ โดยอาศัยแนวทางจากโองการก่อนๆ หรือไม่ก็อาศัยโองการหลังๆ เป็นหลัก เมื่อมีทางสอดคล้องกับความต้องการแก่พวกเขาโดยเฉพาะในการตีความอย่างนั้น

กล่าวคือ พวกเขาตีความโองการว่าด้วยการขจัดมลทิน และทำความสะอาดบริสุทธิ์ ว่าเป็นโองการที่ชี้เฉพาะแก่บรรดาภริยาของท่านนบี(ศ) เพราะก่อนและหลังโองการนั้น กล่าวถึงภริยาของท่านนบี(ศ)

ขณะเดียวกับที่พวกเขาตีความโองการที่ว่า

“และพวกที่กักเก็บทองคำ และเงินนั้น และมิได้แจกจ่ายมันไปในวิถีทางแห่งอัลลอฮฺ ดังนั้น จงแจ้งแก่พวกเขาเถิดว่าจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัส” ว่าเป็นโองการที่ระบุเฉพาะแก่พวกอะฮฺลุล-กิตาบ เรื่องราวของ อะบี ซัร อัล-ฆ็อฟฟารี(ร.ฎ.) กับมุอาวียะฮฺ และอุษมาน บินอัฟฟาน และการขับไล่เขาไปยังเมืองรอบะซะฮฺ ก็เพราะสาเหตุจากเรื่องราวอันอื้อฉาวนี้ โดยเหตุที่ทรัพย์สิน ทั้งทองคำและเงินได้หายไปอยู่ในกองคลังของพวกเขา อะบูซัรก็อ้างโองการนี้ขึ้นมา เพื่ออุทธรณ์ต่อพวกเขา

แต่ท่านอุษมานได้ปรึกษาหารือกับกะอฺบุล อะฮฺบาร เกี่ยวกับเรื่องนี้ กะอฺบุล อะฮฺบารได้อธิบายแก่อุษมานว่า โองการนี้หมายถึงพวก อะฮฺลุล-กิตาบเท่านั้น อะบูซัร อัล-ฆ็ฟฟารี ได้ด่าประณามเขาอย่างรุนแรง และได้กล่าวแก่เขาว่า

“มารดาของท่านได้สร้างความเสียหายแก่ท่านแล้ว โอ้บุตรของยิวเอ๋ย ท่านนะหรือจะมาสอนศาสนาของเราให้แก่เรา ?”

อุษมาน โกรธการพูดอย่างนี้ และได้เนรเทศให้ไปอยู่รอบะซะฮฺ ท่านได้ตายที่นั่นเพียงลำพังในฐานะผู้ถูกเนรเทศ ไม่มีโอกาสได้พบบุตรสาว ไม่มีแม้คนจะอาบน้ำฆูซุลให้ ห่อผ้ากะฝั่นให้

“ลา เฮาละวะลากูวะตะ อิลลาบิลลาฮฺ”

พวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ มีศิลปะอันเป็นที่ยอมรับและมีจุดเด่น “เป็นที่เลื่องลือ” อยู่ประการหนึ่งในการตีความโองการต่างๆ ของอัลกุร-อาน และฮะดีษนบี(ศ) นั่นก็คือ อาศัยแนวทางในการตีความโดยค่อลีฟะฮฺรุ่นแรกๆ และศ่อฮาบะฮฺผู้มีชื่อเสียง ในเรื่องข้อบัญญัติอันชัดแจ้งจากอัล-กุรอาน และซุนนะฮฺ(215)

หากเราต้องการจะกล่าวถึงเรื่องนี้ให้จบสิ้น แน่นอน จะต้องทำหนังสือได้อีกเล่มหนึ่งต่างหาก แต่ท่านที่ศึกษาย่อมสามารถย้อนกลับไปพิจารณาหนังสือ “อัล-นัศ วัล-อิจญ์ติฮาด” ได้ เพื่อจะได้รู้ว่า พวกตีความโองการทั้งหลายแหล่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น ได้พากันทำเล่นกันอย่างไร

ข้าพเจ้าเองก็เฉกเช่นคนที่กำลังศึกษาอยู่คนหนึ่ง หาใช่ว่าจะมีสิทธิตีความโองการ อัล-กุรอาน และฮะดีษตามใจของข้าพเจ้าได้ หรือตามแนวโน้มของข้าพเจ้าที่มีต่อมัซฮับที่ข้าพเจ้ากำลังเข้าไปสู่ ก็หาใช่เช่นนั้นไม่

แต่เรื่องที่ยังความพิศวงแก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งก็คือ ปรากฏว่าอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเองนั่นแหละที่รายงานไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขาเกี่ยวกับกฏบังคับให้จ่ายคุมซฺในกรณีนอกเหนือจากการทำสงคราม แต่การตีความและมัซฮับของพวกเขาเองกระทำการขัดแย้งในเรื่องนี้เสีย

ปริศนาที่ยังคงดำรงอยู่โดยมิได้รับคำตอบก็คือว่า

“ทำไม พวกเขาพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่กระทำ ?”

ท่านจะเห็นได้เลยว่า พวกเขาพูดไว้ในตำราและในหนังสือศ่อฮีฮฺของพวกเขาด้วยคำพูดประโยคเดียวกันกับของชีอะฮฺ ที่ยืนยันไว้ในเรื่องนี้ แต่พวกเขาไม่นำมาปฏิบัติ เป็นเพราะเหตุใดหรือ ? คำถามนี้ยังมิได้รับคำตอบ และเรื่อง “อัล-คุมซฺ” นั้น มีอยู่ว่า ได้มีบันทึกอยู่ใน อัล-บุคอรี บทว่าด้วย “กองคลังแห่งอัล-คุมซฺ”

ท่านมาลิก และอิบนุอิดรีส กล่าวว่า “คลังสมบัติต่างๆ ได้ถูกฝังไว้ในสมัยญาฮีลียะฮฺน้อยบ้าง มากบ้าง นั้นเป็นอัล-คุมซฺ และมิถือว่าแร่ธาตุอยุ่ในส่วนของกรุสมบัติแน่นอน

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวไว้ว่า “ในส่วนของแร่ธาตุนั้นมีกฎบังคับ ส่วนในเรื่องกรุสมบัตินั้นมีกฎของอัล-คุมซฺ” (216)

ในบทว่าด้วย “สิ่งของนำออกมาจากทะเล” ท่านอิบนุ อับบาซ(ร.ฎ.) กล่าวว่า “แร่ธาตุใต้ทะเล มิได้ถือว่าอยู่ในส่วนของกรุสมบัติ มันคือสิ่งของที่ทะเลได้ระบายออกมา”

ท่านฮะซัน(อฺ) กล่าวว่า “ในเรื่องของแร่ธาตุใต้ทะเล และไข่มุก ต้องจ่ายคุมซฺ อันที่จริงแล้ว ท่านนบี(ศ)ได้กำหนดให้ของในกรุสมบัติเท่านั้นที่ต้องจ่ายคุมซฺ แต่ไม่มีในของที่ปรากฏอยู่ในน้ำ”(217)

ผู้ที่ทำการศึกษาย่อมเข้าใจได้ว่าความหมายของฮะดีษเหล่านี้นิยามคำว่า “สิ่งของที่ริบมาได้” ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบัญญัติไว้ในเรื่องอัล-คุมซฺนั้น ไม่เฉพาะแต่ที่ได้มาจากสงคราม เพราะกรุสมบัติอันเป็นคลังเก็บสมบัติที่ถูกนำออกมาจากใต้ดิน ในขณะที่ถือว่า อยู่ในกรรมสิทธิ์ของคนที่ขุดเอาออกมา แต่ทว่าจะเป็นที่เขาจะต้องจ่ายคุมซฺ ในส่วนนั้น เพราะถือว่า มันเป็นของที่เขาริบมาได้เช่นเดียวกันกับแร่ธาตุใต้ทะเลและไข่มุก ถ้าใครได้นำเอาออกมา ก็ถือว่าต้องจ่ายคุมซฺ เพราะว่ามันคือ “เฆาะนีมะฮฺ” (สิ่งของที่ริบมาได้) เช่นกัน

จากรายงานที่ท่านบุคอรีได้บันทึกไว้ในศ่อฮีฮฺของท่านอันได้แก่ฮะดีษเหล่านี้ได้อธิบายให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ นั้นมีคำสอนที่ขัดกันกับการกระทำของตัวเอง เพราะอัล-บุคอรี คือเสาหลักของบรรดานักรายงานฮะดีษในทัศนะของพวกเขา

ส่วนความเห็นของพวกชีอะฮฺนั้น ยังคงอยู่กับความเป็นจริงเสมอมา นั่นคือ ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องนี้และไม่คัดค้านกันเลย ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขายกการอธิบายหลักเกณฑ์และความเชื่อถือต่างๆ ของพวกเขากลับไปให้บรรดาอิมามผู้ชี้ทางนำ ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงขจัดความมลทินออกไปจากพวกเขา และชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ พวกเขาคือผู้อธิบายอัล-กุรอาน ที่ไม่ทำให้คนที่ยึดถือพวกเขาหลงผิด และให้ความปลอดภัยแก่บุคคลที่เข้าหาพวกเขา

โดยเหตุที่เราไม่อาจยึดการทำสงครามมาเป็นหลักในการดำรงไว้ซึ่งอาณาจักรอิสลาม ทั้งนี้ก็เพราะขัดกันกับเกียรติภูมิของอิสลาม และคำประกาศของอิสลามที่เรียกร้องสู่สันติภาพ เพราะอิสลาม มิใช่อาณาจักรแบบจักรวรรดินิยม ซึ่งดำรงอยู่ได้ด้วยการล่าอาณานิคมประชาราษฎร์ แล้วปล้นสะดมทรัพยากรของพวกเขา นั่นคือสิ่งที่พวกตะวันตกพยายามใส่ไคล้พวกเราเมื่อพวกเขาพูดถึงนบี(ศ)แห่งอิสลามชนิดที่เต็มไปด้วยการดูหมิ่นเหยียดหยาม

พวกเขากล่าวว่า “ท่านขยายอาณาจักรด้วยการใช้กำลังอำนาจ และใช้คมดาบเพื่อเข้ายึดครองประชาชน”

โดยเหตุที่ว่าเงินทองคือ ปัญหาอันหนักหน่วงที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในทัศนะทางด้านเศรษฐกิจของอิสลามให้ความหมายอย่างดีเยี่ยม ตามคำที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า หลักประกันของสังคม และเป็นหลักประกันให้แก่ปัจเจกชนทุกคนที่ได้รับทั้งในรายเดือนหรือรายปีก็ตาม ดังเช่นที่ให้หลักประกันสำหรับบรรดาผู้ตกทุกข์ได้ยาก และคนไร้สมรรถภาพให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรี

ดังนั้น รัฐอิสลามไม่อาจยึดถือคำสอนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺในเรื่องซะกาตมาเป็นหลักได้ นั่นคือ ให้จ่ายในอัตรา 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยนิด ย่อมเยา จนไม่สามารถนำมาใช้ในกิจการจำเป็นของรัฐ การจัดกองกำลัง การจัดระบบการศึกษา สร้างโรงพยาบาล บูรณะ ก่อสร้างถนนหนทาง นอกจากนี้ก็ยังมีหน้าที่ให้หลักประกันแก่ปัจเจกชนในฐานะ ผู้จัดการให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และให้หลักประกันในการดำเนินชีวิต

ขณะเดียวกันรัฐอิสลาม ก็มิอาจยึดเอาการทำสงคราม การเข่นฆ่าประชาชนอย่างต่อเนื่องมาเป็นหลัก เพื่อจะได้เป็นหลักประกันในการดำรงอยู่ การเจริญรุ่งเรือง และวิวัฒนาการของพลเมืองของตน และการดำรงอยู่ของสถาบันต่างๆ ของตน โดยค่าที่ได้มาจากผู้ถูกสังหารซึ่งเขาเหล่านั้นมิได้มีความรักความปรารถนาต่ออิสลาม

ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่า ประเทศมหาอำนาจได้กำหนดอัตราภาษีในค่าของอุปโภคทุกประเภท ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากับอัตราเงินคุมซฺที่อิสลามกำหนดไว้แก่ผู้นับถือของตน โดยได้ใช้ชื่อเรียกภาษีนี้ตามทัศนะของพวกเขาว่า T.V.A. คือ 18.5% ถ้านำมารวมกับภาษีเงินได้ในรายปีก็จะตกในราว 20% หรือมากกว่าด้วยซ้ำ

สำหรับบรราดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น พวกเขาย่อมรู้ความหมายของอัล-กุรอานที่สุด ทำไมจะไม่รู้ในเมื่อพวกเขาเป็นล่ามของอัล-กุรอาน และพวกเขาเป็นผู้วางโครงการเศรษฐกิจให้แก่รัฐอิสลาม และวางโครงสร้างทางสังคม ถ้าหากว่าพวกเขาเป็นที่ได้รับการยอมรับปฏิบัติตาม แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งว่า อำนาจการปกครอง และการชี้นำได้ตกไปอยู่ในอุ้งมือของบุคคลอื่นที่ฝักใฝ่อย่างรุนแรงกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺที่ได้มาด้วยการใช้กำลังและอำนาจด้วยการประหัตประหารบรรดาศ่อฮาบะฮฺผู้มีคุณธรรม

ดังเช่นการกระทำของมุอาวียะฮฺ พวกเขาเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้เป็นไปตามแนวทางเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขาทางการเมืองและในทางโลก พวกเขาจึงหลงผิด และยิ่งหลงผิดมากขึ้น และพวกเขาได้ทอดทิ้งประชาชาตินี้ให้ตกอยู่ภายใต้อุ้งเท้าจนไม่สามารถลุกขึ้นมายืนตรงได้จนถึงทุกวันนี้

คำสอนของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) คงเหลือแต่เพียงเป็นแนวคิด และเป็นทฤษฎีที่พวกชีอะฮฺเท่านั้นให้ความศรัทธา และพวกเขาก็ไม่สามารถจะพบแนวทางที่จะปฏิบัติตามเรื่องนี้ให้ครบถ้วนได้ ด้วยเหตุว่าพวกเขาถูกเนรเทศ ไปอยู่ทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศตะวันตกบ้าง และแน่นอน พวกตระกูลอุมัยยะฮฺ และอับบาซียะฮฺ ประจำยุคแห่งปัจจุบัน ก็ยังติดตามพวกเขาอยู่เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม ยังมีชีอะฮฺเป็นกลุ่มสังคมอยู่สองประเทศ พวกเขายังปฏิบัติหน้าที่จ่ายคุมซฺอยู่เหมือนดังที่พวกเขา ได้เคยจ่ายให้แก่บรรดา อิมาม(อฺ)ของพวกเขาอย่างลับๆ ในยุคก่อนๆ ในปัจจุบันนี้ พวกเขาทำการจ่ายให้แก่มัรญีอฺผู้ที่พวกเขาให้การยอมรับปฏิบัติตาม (ตักลีด) ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนของท่านอิมามอัล-มะฮฺดี(อฺ) พวกเขากำลังทำหน้าที่ด้วยการจ่ายคุมซฺเพื่อให้เป็นไปตามบัญญัติศาสนา

เช่น การก่อตั้งสถาบันศึกษาบำรุงกิจกรรมทางด้านสาธารณประโยชน์ ห้องสมุดสำหรับบุคคลทั่วไป และดูแลบรรดาเด็กกำพร้า และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้อีกในกิจกรรมใหญ่ๆ เช่น การจ่ายเงินเดือนแก่นักศึกษาวิชาการศาสนาและสามัญ และอื่นๆ

เราพอจะสรุปตรงนี้ได้ว่า นักปราชญ์ชีอะฮฺเป็นอิสระจากนักปกครองที่จะควบคุมบังคับ เพราะอัล-คุมซฺ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็นของพวกเขา และเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลอื่น มิใช่พวกเหล่านั้น โดยส่งมอบยังผู้ที่ทรงไว้ซึ่งสิทธิในการรับเท่านั้น และไม่ยอมมอบความใกล้ชิดให้แก่นักปกครอง

ส่วนนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น พวกเขาคลุกคลีกับนักปกครอง กล่าวคือ เป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ปกครองอำนาจและผู้ปกครองในประเทศ และผู้ปกครองก็ให้พวกเขาใกล้ชิดตามประสงค์ ไม่ว่าใกล้หรือไกล ต่างได้ทำงานกับเขา และวินิจฉัยความศาสนาเพื่อพวกเขาได้รับประโยชน์ คนมีความรู้ก็จะกลายเป็นที่ใกล้ชิดของผู้ครองอำนาจยิ่งกว่าใครๆ

ผู้อ่านที่รัก โปรดพิจารณาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชาติ เพราะการตีความหมายอย่างนี้เถิด และดูความเสียหายของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่มีข้อตำหนิใดๆ แก่คนหนุ่มของอิสลามที่พวกเขาได้ปฏิเสธอิสลาม และเชื่อถือในลัทธิคอมมิวนิสต์ที่พวกเขาลงความเห็นว่า คำสอนในลัทธินั้นมีความยุติธรรมในการกระจายผลประโยชน์แก่ปัจเจกชนทั้งมวล ดังที่มีอยู่ในประเทศอิสลามบางแห่ง

เพราะที่นั่นชนชั้นนายทุนจะได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆในประเทศอย่างสมบูรณ์ และได้ทอดทิ้งความพ่ายแพ้และการถูกกดขี่ให้อยู่ในหมู่ชนที่ยากจนและพวกเขาเห็นว่าคนร่ำรวยที่เกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แล้ว ในปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายซะกาตทรัพย์สินของคนเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นี่คือส่วนแบ่งที่คนยากจนได้รับ ซึ่งนับว่าไม่เพียงพอสำหรับความจำเป็นต่างๆ ของพวกเขาในรอบปี



การตักลีด
พวกชีอะฮฺกล่าวว่า ในส่วนของฟุรอุดดีนอันได้แก่ อะฮฺกาม(หลักการทางศาสนบัญญัติ) อันเกี่ยวข้องกับภาคปฏิบัติอิบาดะฮฺ เช่น การนมาซ การถือศีลอด การจ่ายซะกาต และการบำเพ็ญฮัจญ์นั้น จะต้องอาศัยหลักการที่จำเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งในสามประการต่อไปนี้

1. จะต้องสามารถวินิจฉัยความศาสนา และสามารถพิจารณาในหลักฐานต่างๆ ทางด้านศาสนบัญญัติได้ในเมื่อเป็นคนที่มีสิทธิต่อหน้าที่อันนี้

2. จะต้องมีความรอบรู้ในการปฏิบัติศาสนกิจ ทั้งนี้ถ้าหากเขามีความสามารถในการใช้หลักอิฮฺติยาฏ(มีความเข้าใจในคำวินิจฉัยความของมุจญ์ตะฮิดอย่างครบถ้วน แต่ยังไม่ถึงขั้นจะทำหน้าที่วินิจความเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม)

3. จะต้องเชื่อถือปฏิบัติตามมุจญ์ตะฮิด ผู้มีคุณสมบัติพร้อมมูล โดยจะต้องเชื่อถือตามมุจญ์ตะฮิดผู้มีชีวิตอยู่ มีสติปัญญา มีความเที่ยงธรรม มีความรอบรู้ มีความสามารถควบคุมจิตใจตนเอง มีความสามารถพิทักษ์ศาสนา มีความสามารถหักล้างอารมณ์ต่ำของตน เป็นผู้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าของตนได้

การวินิจฉัยความในหลักศาสนบัญญัติข้อปลีกย่อยต่างๆ นั้น เป็นวาญิบกะฟีอีสำหรับบรรดามุสลิมทั้งมวล ดังนั้น ถ้ามีบุคคลผู้ทรงไว้ซึ่งความสามารถและมีคุณสมบัติเพรียบพร้อมทางวิชาการขึ้นมาทำหน้าที่อันนี้แล้ว ให้ถือว่าภารกิจอันนี้ก็ได้เป็นอันตกไปจากบรรดามุสลิมทั้งหลาย และเป็นการเพียงพอสำหรับบรรดามุสลิมที่จะปฏิบัติตามผู้รู้ที่ใช้ชีวิตของเขา เพื่อแสวงหาวิชาการในระดับของผู้มีความสามารถในการอิจญ์ติฮาด

ดังนั้นจึงอนุญาตให้พวกเขาตักลีด และย้อนกลับไปได้ในข้อปลีกย่อยต่างๆ ทางศาสนา เพราะว่าระดับความสามารถในการวินิจฉัยความมิได้เป็นกิจการงานที่ง่ายดาย และมิได้อยู่ในวิสัยของคนทั้งหมดที่จะเข้าถึง หากแต่จำเป็นจะต้องใช้เวลาอย่างมากมาย จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ ความพากเพียรและความแม่นยำในการศึกษาอย่างมาก

ที่ตรงนี้มิได้ถูกจัดเตรียมไว้ให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย นอกจากแก่คนที่มีความจริงจังและมั่นคงเด็ดเดี่ยว และได้ทุ่มเทชีวิตของตนเองไปในเรื่องของการศึกษา วิเคราะห์และเรียนรู้ ฐานะของการอิจญ์ติฮาดจึงมิอาจแผ่ไปถึงใครได้ นอกจากผู้มีวาสนาอันใหญ่หลวงเท่านั้น

ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ต้องการจะให้ได้รับความดีงาม พระองค์ก็จะประทานความเข้าใจในศาสนาให้แก่เขา”

คำสอนของชีอะฮฺในเรื่องนี้มิได้มีข้อแตกต่างแต่ประการใดจากคำสอนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เว้นแต่ในเงื่อนไขข้อเดียวที่ว่า มุจญ์ตะฮิดจะต้องเป็นผู้มีชีวติอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ยังมีความขัดแย้งอย่างชัดแจ้งระหว่างพวกเขาอยู่ประการหนึ่ง ในการปฏิบัติตามหลักการตักลีด โดยที่ฝ่ายชีอะฮฺเชื่อถือว่า มุจญ์ตะฮิดผู้มีความเพียบพร้อมตามเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวแล้วนั้นคือ ตัวแทนของท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ) ในช่วงสมัยที่ท่านอยู่ในสภาพที่เร้นลับ ดังนั้นเขาคือผู้ปกครองประมุขโดยแท้จริง เขาจะได้สิทธิในด้านต่างๆ อันเป็นสิทธิของอิมาม เช่น ในการตัดสินความในการพิพากษา และในการวางระเบียบกฏเกณฑ์ระหว่างประชาชน และถือว่าการปฏิเสธต่อเขาก็เท่ากับปฏิเสธต่อท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ

) ดังนั้น มุจญ์ตะฮิดผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมครบถ้วนตามเงื่อนไขในทัศนะของชีอะฮฺ จึงมิได้เป็นเพียงมัรญีอฺที่มีไว้เพื่อย้อนกลับไปยังท่านในเรื่องของคำวินิจฉัยความทางศาสน บัญญัติเท่านั้น หากแต่ท่านยังมีอำนาจในกิจการทั่วๆไปสำหรับผู้ที่การตักลีดต่อท่านอีกด้วย กล่าวคือเขาเหล่านั้นจะต้องย้อนกลับไปยังท่าน ทั้งในเรื่องของศาสนบัญญัติ และในเรื่องการตัดสินพิพากษาระหว่างพวกเขา ในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาขัดแย้งกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทใดๆ ก็ตาม พวกเขาจะต้องส่งมอบซะกาตและคุมซฺจากทรัพย์สินของตัวแทนท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ)

ส่วนตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น มุจญ์ตะฮิดไม่ได้รับสิทธิในระดับนี้ กล่าวคือพวกเขามิได้เชื่อถือว่าอิมามเป็นตัวแทนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แต่พวกเขาสามารถย้อนกลับไปหาอิมามคนใดคนหนึ่งในสี่มัซฮับนั้นได้ ในปัญหาต่างๆ ทางด้าน ศาสนบัญญัติ พวกเขาเหล่านั้นคือ อะบูฮานีฟะฮฺ ท่านมาลิก ท่านชาฟิอี และท่านอะฮฺมัด บินฮัมบัล และบรรดานักวิชาการในสมัยปัจจุบันของอะฮฺลิซซุนนะฮฺก็มิได้มีความเคร่งครัดในการตักลีดกับคนหนึ่งคนใดในจำนวนบุคคลเหล่านี้อย่างแน่นอน

กล่าวคือ บางปัญหา พวกเขาจะถือตามอิมามคนใดคนหนึ่ง แต่ในอีกบางปัญหา พวกเขาจะถือตามบุคคลอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นไปอีกสุดแล้วแต่จะสอดคล้องกันกับสภาวการณ์ของพวกเขาเอง เช่นเดียวกันกับที่ผู้อาวุโสได้กระทำมาแล้วในกาลก่อน ซึ่งเขาจะรวบรวมข้อมูลทางศาสนบัญญัติที่ได้รับมาจากสี่มัซฮับ เพราะอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเชื่อถือว่า ความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในความขัดแย้งของพวกเขาเหล่านั้น กล่าวคือ ผู้ถือนิกายมาลิกีเคยยอมรับควาเห็นของอะบูฮานีฟะฮฺ ในเมื่อพบว่าเป็นหนทางแก้ไขปัญหาของตัวเอง ซึ่งเขาไม่สามารถที่จะพบจากท่านมาลิกได้

ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างในเรื่องนี้สักตัวอย่างหนึ่ง เพื่ออธิบายให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อครั้งที่เราอยู่ในประเทศตูนีเซีย (สมัยนักปกครองเผด็จการ) ได้มีผู้หญิงคนหนึ่งรักชอบกับผู้ชายคนหนึ่ง และนางต้องการจะแต่งงานด้วย แต่ทว่าบิดาของนางปฏิเสธ ไม่ยอมจัดการแต่งงานให้กับชายหนุ่มคนนี้ ด้วยสาเหตุประการใดก็สุดแล้วแต่ ปรากฏว่าหญิงสาวคนนั้นได้หนีออกจากบ้านของบิดาและได้แต่งงานกับชายหนุ่มคนนั้น โดยมิได้รับการอนุญาตจากบิดาของตน ฝ่ายบิดาก็ได้นำเรื่องไปฟ้องเพื่อขอให้คัดค้านการแต่งงาน

เมื่อผู้หญิงคนนั้นพร้อมกับสามีของนางได้ถูกนำตัวมาพบกับผู้พิพากษา ผู้พิพากษาก็ได้ถามนางถึงสาเหตุที่ต้องหนีออกจากบ้านและแต่งงานโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครอง

นางตอบว่า “ข้าพเจ้ามีอายุ 25 ปีแล้ว ข้าพเจ้าต้องการแต่งงานกับชายคนนี้ตามกฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์(ศ) แต่เนื่องจากบิดาของข้าพเจ้าต้องการจะจัดการแต่งงานข้าพเจ้ากับผู้ที่ข้าพเจ้ารังเกียจ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงแต่งงานตามทัศนะของอะบูฮานีฟะฮฺที่ให้สิทธิแก่ข้าพเจ้าในการแต่งงานกับคนที่ข้าพเจ้ารัก เนื่องจากข้าพเจ้าอยู่ในวัยบรรลุตามศาสนบัญญัติแล้ว”

ท่านผู้พิพากษา (ขอให้อัลลอฮฺประทานความเมตตา) ผู้ซึ่งได้เล่าเรื่องนี้ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยตัวท่านเองกล่าวว่า : แล้วเราก็ได้ถกกันถึงปัญหานี้ ดังนั้น เราก็ได้พบว่า นางมีสิทธิโดยชอบธรรม และข้าพเจ้าเชื่อถือว่าจะต้องมีนักปราชญ์คนใดคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถสอนนางในเรื่องนี้ว่านางจะต้องพูดอย่างไร

ผู้พิพากษาท่านนี้กล่าวต่อว่า ดังนั้น ข้อเรียกร้องของบิดาก็ได้ถูกปฏิเสธ นางก็ได้ผ่านการแต่งงานไป ดังนั้นบิดาของนางก็ได้ออกไปด้วยความโกรธ เขาได้ใช้มือตบไปที่ตัวของนาง แล้วกล่าวว่า

“เจ้าถือมัซฮับฮะนาฟีไปแล้วหรือลูกสุนัข”

หมายความว่า บุตรของตนละทิ้งอิมามมาลิก และไปปฏิบัติตามอิมามอะบูฮะนีฟะฮฺ และคำว่า “ลูกสุนัข” ในประโยคนี้ เป็นการแสดงความดูแคลนต่อบุตรสาวของตนเอง ซึ่งเขาได้กล่าวออกมาหลังจากที่เขาถือว่าได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ตัดขาดจากบุตรสาวของตน ปัญหานี้อยู่ที่ความขัดแย้งในเรื่องการอิจญ์ติฮาดของมัซฮับต่างๆ

กล่าวคือ มาลิกีเห็นว่าหญิงสาวบริสุทธ์นั้นจะไม่สามารถแต่งงานได้นอกจากจะต้องมีผู้ปกครอง แม้กระทั่งนางจะเป็นหม้ายก็ยังจะต้องมีผู้ปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการแต่งงาน กล่าวคือ ไม่ยินยอมให้นางใช้สิทธิแต่ฝ่ายเดียว หากแต่จำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครองด้วย

ส่วนอะบูฮะนีฟะฮฺเห็นว่า หญิงสาวที่มีอายุบรรลุสู่วัยทางศาสนบัญญัติแล้วนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงบริสุทธิ์หรือหญิงหม้ายก็ตาม นางมีสิทธิ์โดยอิสระในการที่จะจัดการแต่งงานได้ตามลำพัง นางสามารถกล่าวประโยคสัญญา “อักด์” ด้วยตัวของนางเองได้

กล่าวคือปัญหาทางศาสนบัญญัติข้อนี้ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างบิดาและบุตรสาว จนกระทั่งได้มีการตัดขาดจากกัน และมีเป็นจำนวนมากเลยทีเดียวที่ปรากฏว่า บิดาตัดขาดจากลูกสาวของตนด้วยสาเหตุที่มีการหนีออกจากบ้านกับผู้ชายที่ตนชอบเพื่อไปแต่งงานด้วยกัน

และการตัดขาดอย่างนี้ จะก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาในภายหลัง เพราะส่วนใหญ่แล้ว บิดามักจะดำเนินการถึงขั้นที่ไม่ยอมมอบมรดกให้กับลูกสาวของตนเอง ในที่สุดหญิงสาวผู้นั้นก็ได้กลายเป็นศัตรูกันกับพี่น้อง ซึ่งต่างก็ได้ตัดขาดจากความเกี่ยวข้องใดๆ ในฐานะพี่น้อง ซึ่งนางก็จะมีความอาฆาตพยาบาทพวกเขาเหล่านั้นกันอีกต่อไป






๑๘
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ดังนั้น เรื่องของความขัดแย้งในหมู่พวกเขาจึงมิได้เป็นความเมตตาแต่ประการใด ดังที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺกล่าว หรืออย่างน้อยที่สุดก็ถือว่าในทุกๆกรณีของปัญหาความขัดแย้ง มิใช่ความเมตตาอย่างแน่นอน ในเมื่อเรามีความจำเป็นที่จะต้องยึดถือหลักเกณฑ์ทางด้านสังคม และจำเป็นที่จำต้องมีหลักการปฏิบัติ เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ฉันพี่น้อง

ดังนั้น เราไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์สังคมให้มีจริยธรรมขึ้นมาได้เลยตามแนวความคิดของมาลิกี กล่าวคือ สำหรับสตรีในทัศนะของพวกเขานั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะหนีและจัดการแต่งงานตัวเองโดยมิได้รับความเห็นชอบจากบิดา

ดังนั้น ผู้หญิงคนใดที่กระทำอย่างนี้ก็เท่ากับนางปฏิเสธศาสนาอิสลามหรือเท่ากับว่า นางได้ประพฤติผิดอย่างร้ายแรง โดยไม่สามารถได้รับการอภัยโทษได้ในขณะที่นางมิได้กระทำสิ่งใดๆ เว้นแต่ที่เป็นไปตามศาสนบัญญัติ และเป็นไปตามสิทธิของนางเท่านั้น

สำหรับสังคมของอิมามฮะนาฟี ก็ได้แสดงให้เห็นว่าได้มีการอนุโลมให้โดยเหตุผลที่เกิดขึ้นจากสังคมของอิมามมาลิกี และสิทธิของสตรีเป็นจำนวนมากที่ได้ถูกสกัดกั้นไว้ในกรอบของความขัดแย้งทางมัซฮับ เพราะผู้หญิงคือทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับอิสลาม เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ตำหนิเด็กสาวในยุคปัจจุบันบางส่วนที่ปฏิเสธศาสนาของตนเอง อันเนื่องมาจากความแข็งกร้าว และการกดขี่จากผู้เป็นบิดาทั้งหลายโดยมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามหลักศาสนา

เราจะขอกลับไปพิจารณายังหัวข้อเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง เราได้กล่าวมาแล้วว่า การตักลีดตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น มิได้ถือว่าอิมามผู้รับการตักลีดมีคุณสมบัติเช่นนั้นตามที่ชีอะฮฺได้กล่าวไว้ นั่นคือ ความเป็นตัวแทนท่านศาสนทูต(ศ) และตรงนี้เองที่ทำให้พวกเขามีความจำเป็นจะต้องใช้ทฤษฎีของการชูรอ และการตัดสินใจเลือกเอง สำหรับคอลีฟะฮฺ หรือตำแหน่งอิมาม

เพราะในเมื่อพวกเขามอบสิทธิการเลือกให้แก่ตัวเองได้แล้ว เขาจะเชื่อถือคนใดคนหนึ่งก็ได้ กล่าวคือในทำนองเดียวกันนี้ พวกเขาเห็นว่าตนมีสิทธิ์ในการที่จะถอดหรือจัดและเปลี่ยนแปลงอิมามได้ตามที่พวกเขาเห็นว่าสมควรจะกระทำ

กล่าวคือ ในความเป็นจริงก็เท่ากับพวกเขาเป็นอิมามของอิมาม ซึ่งข้อนี้นับเป็นความขัดแย้งกันกับหลักการที่ชีอะฮฺเชื่อถือโดยสิ้นเชิง

ถ้าหากเราย้อนกลับไปหาอิมามคนแรกตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ นั่นคือ อะบูบักรฺ ศิดดีก เราก็จะพบว่า เขาได้กล่าวกับประชาชาติในคุฏบะฮฺครั้งแรกของเขาว่า

“โอ้ประชาชนทั้งหลายแน่นอนที่สุด ฉันได้ปกครองพวกท่านแล้ว แต่ฉันก็มิใช่คนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน เพราะฉะนั้น ถ้าหากฉันปฏิบัติได้ถูกต้องก็ขอให้พวกท่านสนับสนุนฉันและถ้าหากฉันปฏิบัติละเมิด ก็ขอให้พวกท่านชี้นำให้กับฉันด้วย”

กล่าวคือ เขาเองก็ยอมรับอีกเช่นเดียวกันแก่บรรดาผู้ที่ได้คัดเลือกและได้ให้บัยอะฮฺต่อเขาว่ามีสิทธิ์ในการที่จะต่อต้านเขาในยามที่เขาทำผิดพลาด และละเมิด แต่ถ้าเราได้ย้อนกลับไปพิจารณาถึงอิมามคนแรกตามทัศนะของชีอะฮฺ นั่นคือท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)

เราได้พบว่าบรรดาผู้ที่ได้ยืนยันถึงตำแหน่งอิมามของท่านยอมรับโดยสิ้นเชิงต่อข้อบัญญัติแต่งตั้งโดยเป็นผู้จำนนกับการปกครองอย่างเด็ดขาดของท่าน ดุจดังอำนาจของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์ กล่าวคือ เป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ศาสนทูตของพระองค์คัดเลือกที่จะกระทำความผิดหรือละเมิด ขณะเดียวกันก็เป็นไปไม่ได้สำหรับประชาชาติที่จะขัดแย้งหรือต่อต้านคำสั่งของเขา

เพราะพระองค์ตรัสว่า

“ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง ไม่มีสิทธิ์ในการที่จะเลือกกิจการใดๆ ในเมื่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ได้ตัดสินในกิจการนั้นๆ ไปแล้ว และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ แน่นอนที่สุด เขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง”

และในเมื่อการเลือกท่านอะลี(อฺ)ขึ้นเป็นอิมามของมวลมุสลิมเป็นเรื่องที่มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ)จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขัดขืนต่อท่าน ขณะเดียวกันก็เป็นไปไม่ได้สำหรับอิมามในอันที่จะประพฤติตัวในทางที่ละเมิด ด้วยเหตุนี้เอง ท่านศาสนทูตแห่งอลลอฮฺ(ศ)จึงได้กล่าวว่า

“อะลีอยู่กับสัจธรรม และสัจธรรมอยู่กับอะลี ทั้งสองจะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะย้อนกลับยังฉันที่อัล-เฮาฎ์”(218)

ตามพื้นฐานของสองทฤษฎีดังกล่าวนี้ คือหมายถึงหลักเกณฑ์ในการชูรอ(การปรึกษาหารือ)ตามทัศนะของซุนนะฮฺ และหลักเกณฑ์ที่ถือตามบทบัญญัติตามทัศนะของชีอะฮฺ ได้ให้ความหมายจนเป็นประจักษ์อย่างครบถ้วนด้วยกันจากทั้งสองฝ่าย ในเรื่องวิธีการของการตักลีด หลังจากนี้ยังคงมีปัญหาขัดแย้งอีกประการหนึ่งระหว่างทั้งสองฝ่าย นั่นก็คือการตักลีดต่อผู้ที่ตายไปแล้ว

กล่าวคือ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ พวกเขาได้ทำการตักลีดกับรรดาอิมามที่เสียชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายศตวรรษ ประตูแห่งการวินิจฉัยความทางศาสนาได้ถูกปิดตายสำหรับพวกเขาไปตั้งแต่สมัยนั้น และบรรดานักปราชญ์ทุกท่านที่ได้มีขึ้นหลังจากบุคคลเหล่านั้น ก็มีฐานะแค่เพียงการทำหน้าที่อธิบายความ และรวบเรื่องราวต่างๆของศาสนา เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของวิชาการทางศาสนบัญญัติของมัซฮับทั้งสี่

แน่นอนได้มีเสียงเรียกร้องจากบรรดานักปราชญ์สมัยใหม่บางท่านที่ตะโกนขึ้นมาเพื่อให้เปิดประตูและมีการย้อนกลับไปสู่การใช้หลักอิจญ์ฮาด เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆตามยุคสมัย เพราะเนื่องจากว่าได้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้นอย่างมากมายในขณะที่เป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นที่รู้กันแต่อย่างใดเลยในสมัยของอิมามทั้งสี่

สำหรับชีอะฮฺนั้น กล่าวคือ พวกเขาไม่อนุญาตให้ตักลีดต่อผู้ที่ตายแล้วและให้ย้อนกลับไปตักลีดมุจญ์ฮิดที่มีชีวิตอยู่ อันเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข ดังที่เราได้กล่าวมาแล้ว นี่คือหลักการหลังจากที่อิมามมะอฺศูม(อ)ได้หายตัวไป และภารกิจของพวกเขาคือการย้อนกลับไปหานักปราชญ์ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยที่อิมามมะอฺศูมยังหายตัวอยู่ จนกระทั้งท่านจะปรากฎตัว

ฝ่ายซุนนี : มาลิกี กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นฮะลาลบ้าง สิ่งนี้เป็นฮะรอมบ้างตามคำสอนของอิมามมาลิก ทั้งๆที่ท่านได้ตายไปแล้วถึง สิบสี่ ศตวรรษ ขณะเดียวกัน ซุนนี ฮะนาฟี ชาฟีอี และฮัมบาลี ก็ได้กล่าวอย่างนี้เช่นกัน เพราะอิมามเหล่านั้นได้ใช้ชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกันเป็นลูกศิษย์ของกันและกัน

เช่นเดียวกับที่ชาวซุนนีนั้นมิได้เชื่อถือในบทว่าด้วยความบริสุทธิ์ของบรรดาผู้เป็นอิมามเหล่านั้น ซึ่งพวกเขามิเคยได้อ้างสิ่งนั้นให้แก่ตัวเองเลย หากแต่พวกเขาเหล่านั้นยังมีโอกาสที่จะทำความผิดพลาด และทำถูกต้องก็ได้ พวกเขากล่าวว่า บุคคลเหล่านั้นจะได้รับรางวัลตอบแทนในทุกๆคำวินิจฉัยความของพวกเขากล่าวคือ พวกเขาจะได้รับรางวัลสองเท่า ถ้าหากวินิจฉัยความถูกต้องและพวกเขาจะได้รับรางวัลเดียวถ้าหากวินิจฉัยความผิดพลาด

ส่วนชีอะฮฺอิมามียะฮฺนั้น ในเรื่องการตักลีดสำหรับพวกเขามีอยู่สองระยะ

ระยะแรก คือสมัยของอิมามสิบสอง สำหรับระยะแรกนี้มีเวลานานถึงสามศตวรรษครึ่งโดยประมาณ และในยุคนั้นชีอะฮฺที่ปฏิบัติตามอิมามมะอฺศูมผู้ซึ่งมิได้สอนตามทัศนะและหลักวินิจฉัยความของตน หากแต่โดยวิชาการ และโดยริวายะฮฺที่เป็นมรดกสืบทอดกันมา จากปู่ทวดของพวกท่าน นั่นคือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ดั้งนั้นอิมามจะกล่าวในปัญหาหนึ่งๆว่า บิดาของข้าพเจ้าได้รับรายงานมาจากปู่ทวดของข้าพเจ้า ซึ่งได้รับรายงานมาจากญิบรีลซึ่งได้รับโองการมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ระยะที่สอง คือสมัยที่ท่านอิมามมะฮฺดี(อ)หายตัวไป ซึ่งระยะเวลามีมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นชีอะฮฺจึงกล่าวว่า นี่คือสิ่งที่ฮะลาล และนั่นคือสิ่งที่ฮะรอม ตามทัศนะของซัยยิดคูอี หรือ ซัยยิดโคมัยนี อย่างนี้เป็นต้น(219) ท่านทั้งสองยังคงมีชีวิตอยู่ ทัศนะท่านทั้งสองไม่แยกจากหลักการอิจญ์ติฮาดในการที่จะถอดรายละเอียดต่างๆทางด้านศาสนบัญญัติจากข้อบัญญัติในอัลกุรอานและซุนนะฮฺออกมาประกอบกับริวายะฮฺของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)เป็นประการที่หนึ่ง

หลังจากนั้นก็ได้อาศัยแนวทางของบรรดาผู้อาวุโสที่ทรงสิทธิทางวิชาการเป็นประการที่สอง เขาเหล่านั้นในเมื่อวิเคราะห์รายงานใดๆของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)พวกเขาจะทำการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ในขั้นแรก ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลเหล่านั้นเป็นอิมามผู้ซึ่งปฏิเสธการใช้ความคิดเห็นในศาสนบัญญัติ

และพวกเขากล่าวว่า “ไม่มีเรื่องใดๆเกิดขึ้นเลยนอกจากจะต้องมีกฎเกณฑ์จากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มาตัดสินทั้งสิ้น ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ”

เพราะถ้าหากว่าเราไม่สามารถค้นหากฎเกณฑ์ใดๆที่จะนำมาแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงละเลยเรื่องนั้นๆหากแต่เป็นเพราะความด้อยทางวิชาการของเรา และความโง่เขลาของเราต่างหากที่ไม่อำนวยให้เราเข้าถึงวิชาการความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์นั้นๆกล่าวคือ ความโง่เขลาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การไม่มีความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มิใช่หลักฐานที่จะแสดงว่ากฎเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องนั้นๆจะไม่มีเสียเลยทีเดียว หลักฐานสำหรับเรื่องนี้ก็คือโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ทรงตรัสว่า

“และเรามิได้ทำให้บกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดในคัมภีร์เลย” (อัล-อันอาม / 38)



ความเชื่อที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺจงเกลียดจงชังต่อชีอะฮฺ
มีความเชื่อถือบางประการที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺจงเกลียดจงชังเหลือเกินต่อชีอะฮฺ ซึ่งนับว่าเป็นผลพวงของการถือฝักฝ่ายโดยมีอคติอย่างร้ายแรงที่นักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺได้สร้างให้เกิดขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ของอิสลาม โดยที่เขาเหล่านั้นเกลียดชังต่อท่านอะลี(อ)โกรธจนกระทั่งสาปแช่งท่านอิมาม(อ)บนมิมบัรเป็นเวลาถึง 80ปี

จึงมิใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาจะด่าประณามคนที่เข้าสู่แนวทางชีอะฮฺทุกคน พวกเขาจะโจมตีคนที่เป็นชีอะฮฺอย่างเสียๆหายๆจนถึงกับกล่าวว่าเป็นยิวเสียดีกว่าที่จะพูดว่าเขาเป็นชีอะฮฺ สมุนที่ติดตามเขาเหล่านั้นได้ดำเนินแนวทางอันนี้มาในทุกสมัยและทุกประเทศ และคนที่เป็นชีอะฮฺก็ได้กลายเป็นที่ถูกสับโขลกของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เพราะขัดแย้งกับพวกเขาในเรื่องความเชื่อถือและออกห่างจากสมาคมในหมู่พรรคพวก

ดังนั้น พวกเขาจึงปรักปรำผู้เป็นชีอะฮฺไปตามที่พวกเขาประสงค์จะโจมตี และจะตั้งข้อหาทุกๆวิถีทางอีกทั้งยังได้ตั้งชื่อเรียกคนที่เป็นชีอะฮฺด้วยสมญานามต่างๆ และพวกเขาจะขัดแย้งในทุกๆคำพูด และทุกๆพฤติกรรมของคนที่เป็นชีอะฮฺ

ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่า นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺผู้มีชื่อเสียงบางท่านกล่าวว่า

“จะต้องสวมใส่แหวนที่มือขวา เพราะเป็นซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) แต่จำเป็นจะต้องละทิ้งหลักการอันนี้เพราะพวกชีอะฮฺถือว่าเรื่องนี้เป็นเครื่องหมายที่สำคัญสำหรับพวกตน”(220)

ท่านฮุจญะตุล-อิสลาม อะบูฮามิด อัล-ฆอซาลี กล่าวว่า

“แท้จริงการปรับสุสานให้เรียบถือเป็นกฏเกณฑ์ตามศาสน-บัญญัติแต่ในเมื่อพวกรอฟะเฎาะฮฺได้ถือมาปฏิบัติเป็นเครื่องหมายที่สำคัญสำหรับพวกตนพวกเราก็เปลี่ยนไปทำเป็นโหนกสูง”

อิบนุ ตัยมียะฮฺ นักฟื้นฟูสังคมในศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวกับบางคนในหมู่พวกเขาว่า

“ด้วยเหตุนี้เอง ส่วนหนึ่งของบรรดาฟะกีฮฺได้ให้ทัศนะว่าต้องละทิ้งหลักมุซตะฮับบางประการ ถ้าหากว่ามันได้เป็นเครื่องหมายอันสำคัญของพวกเขา(หมายถึงชีอะฮฺ)”

เพราะถ้าหากไม่ละทิ้งเสีย ประเดี๋ยวเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นวาญิบ แต่ในการให้ความหมายอย่างคลุมเครือนี่ สำหรับพวกเขาคือต้องการจะแยกแยะซุนนีออกจากพวกรอฟิฎิ และเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการแบ่งแยกออกจากเขาเหล่านั้น โดยสาเหตุของความเกลียดชังและขัดแย้งกับพวกเขาเท่านั้นเอง ซึ่งอันนี้นับว่าเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญยิ่งกว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องมุซตะฮับอย่างนี้(221)

ท่านฮาฟิซ อัล-อะรอกี ได้กล่าวเมื่อถกถามกับวิธีการโพกผ้าอะมามะฮฺว่า

“ฉันไม่เคยเห็นหลักฐานที่ระบุว่าให้พันจากทางด้านขวา นอกจากในฮะดีษฎออีฟ ซึ่งรายงานโดยฏ็อบรอนี แต่คาดการณ์ได้ว่า บางทีที่เขายอมรับการโพกโดยเริ่มจากทางด้านขวา ต่อจากนั้นเขาก็กลับเปลี่ยนไปเริ่มจากทางด้านซ้าย เหมือนกับที่คนบางกลุ่มได้กระทำ ก็ไม่ใช่เพราะเหตุอย่างอื่น หากแต่เพราะว่ามันได้เป็นเครื่องหมายที่สำคัญของพวกอิมามิยะฮฺ เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่จะต้องหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติให้คล้ายคลึงกับพวกเขา” (222)

มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ ไม่มีอำนาจใดๆ และไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เท่านั้น ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดู การถือฝักฝ่ายอย่างงมงายเช่นนี้เถิด เป็นไปได้อย่างไรที่บรรดานักปราชญ์เหล่านี้ยินยอมให้มีการฝ่าฝืนซุนนะฮฺท่านนบี(ศ)เพียงเพราะเหตุว่าชีอะฮฺยึดถือซุนนะฮฺนั้นๆ มาปฏิบัติจนกลายเป็นเครื่องหมายสำหรับพวกเขา หลังจากนั้นพวกเขายังไม่ละอายแก่ใจต่อการที่จะยอมรับในเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ พระองค์คือผู้ซึ่งบันดาลให้ความจริงในเรื่องนี้ ว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้ยึดถือซุนนะฮฺ โอ้บรรดาผู้อ้างตนว่าอยู่กับซุนนะฮฺทั้งหลาย ? ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงบันดาลให้เป็นที่ประจักษ์แก่เราว่า ชีอะฮฺคือผู้ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทั้งนี้ก็เพราะคำยืนยันของพวกท่านเองที่มีอยู่

ขณะเดียวกัน พวกท่านก็ยืนยันกับตัวเองว่าได้ละทิ้งซุนนะฮฺของท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ) โดยเจตนา เพื่อที่จะทำในสิ่งนั้นๆ ให้ขัดแย้งกับบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)และชีอะฮฺของพวกเขาผู้มีความบริสุทธิ์ใจ แต่พวกท่านได้ปฎิบัติตามซุนนะฮฺของ มุอาวิยะฮฺ บุตรของอะบีซุฟยาน

ดังที่อิมามซะมัคชะรีได้ยืนยันไว้อย่างแน่ชัดว่า บุคคลแรกที่สวมแหวนมือซ้ายเพื่อให้ผิดเพี้ยนไปจากซุนนะฮฺนบี(ศ)นั้นได้แก่ มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน (223)

พวกท่านปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านอุมัร ในการทำบิดอะฮฺของเขา ให้แก่การนมาซตะรอวีฮฺ อันเป็นการขัดแย้งกับซุนนะฮฺของนบี(ศ)ที่สั่งให้บรรดามุสลิมทำนมาซนาฟิละฮฺในบ้านเรือนของพวกตนแต่เพียงลำพังมิใช่ทำเป็นญะมาอะฮฺ ดังเช่นท่านบุคอรีได้ยืนยันอย่างนี้ไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน(224)

ขณะเดียวกัน ท่านอุมัรก็ได้ยอมรับด้วยตัวเขาเองว่า มันเป็นเรื่องบิดอะฮฺที่เขาได้อุตริมันขึ้นมา ทั้งๆที่เขาก็มิได้ทำนมาซนั้น เพราะเขามิได้ศรัทธาตามนั้น

ดังที่ได้มีบันทึกอยู่ในอัล-บุคอรี จากรายงานของอับดุรเราะฮฺมาน บินอับดุลกอริก ว่า : ข้าพเจ้าได้ออกไปยังมัสญิดพร้อมกับอุมัร บินค็อฏฏ็อบ (ร.ฎ.) ในคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอน ขณะนั้นประชาชนได้แยกย้ายกันนมาซเป็นการส่วนตัว และเมื่อคนหนึ่งก็ทำให้การนมาซของเขาหลากหลั่นกันเป็นกลุ่มๆ

อุมัรจึงได้กล่าวว่า “แท้จริงฉันเห็นว่าถ้าหากได้รวบรวมคนเหล่านี้ให้ทำนมาซร่วมกันกับนักอ่านคนเดียวก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี”

หลังจากนั้นเขาก็ได้พยายามรวบรวมคนเหล่านั้นให้ทำนมาซกับท่านอุบัยด์ บินกะอับ หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้ออกมาพร้อมกับเขาในคืนต่อมา ประชาชนก็ได้ทำนมาซตามการนมาซของคนที่เป็นนักอ่านคนหนึ่งของพวกเขา

ท่านอุมัรกล่าวว่า “อันนี้ถือเป็นบิดอะฮฺที่ดีเลิศ” (225)

ทำไมท่านถึงได้ทำบิดอะฮฺในเรื่องนี้ไว้ แต่ท่านเองกลับหนีไปจากมันเสียเล่า โอ้ท่านอุมัร ? ที่จริงท่านน่าจะทำนมาซกับพวกเขาด้วยตัวท่านเอง เพราะเหตุว่าท่านเป็นอะมีร (ผู้บัญชาการสูงสุด) ของพวกเขาไม่ควรที่ท่านจะปลีกตัวออกไปจากพวกเขา แล้วกล่าวว่า “เป็นบิดอะฮฺที่ดีเลิศ”

มันจะเป็นสิ่งที่ดีเลิศได้อย่างไรในเมื่อท่านศาสนทูต(ศ)เคยได้ห้ามสิ่งนี้ไว้แล้ว ? นั่นก็คือเมื่อครั้งที่พวกเขาส่งเสียงดังที่ประตูบ้านของท่านเพื่อเรียกท่านให้ไปทำนมาซนาฟิละฮฺในเดือนรอมฎอนกับพวกเขา ท่านนบี(ศ)ได้ออกมาหาพวกเขาด้วยความโกรธ แล้วกล่าวกับพวกเขาว่า

“ถ้าพวกท่านกระทำกันอย่างนี้ตลอดไป ฉันเชื่อเหลือเกินว่านมาซนี้จะต้องถูกกำหนดเป็นข้อบังคับแก่พวกท่าน ดังนั้น หน้าที่ของพวกท่านก็คือ ให้ทำนมาซนี้ที่บ้าน เพราะแท้จริง การนมาซที่ดีที่สุดของคนคนหนึ่งนั้นอยู่ที่บ้านของตน นอกจากการนมาซที่ถูกบังคับ” (226)

ขณะเดียวกัน พวกท่านก็ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของอุษมาน บิน อัฟฟาน ที่ได้ทำบิดอะฮฺของตนขึ้นมาโดยทำนมาซเต็มในยามเดินทาง อันเป็นการขัดกับซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ) ที่ท่านได้ทำนมาซย่อ(227) และถ้าท่านผู้อ่านต้องการจะนับจำนวนเรื่องราวความขัดแย้งที่พวกท่านกระทำไว้กับซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แน่นอนคงจะต้องทำหนังสือขี้นมาในเรื่องนี้โดยเฉพาะอีกเล่มหนึ่งต่างหาก แต่เท่านี้ก็เป็นประจักษ์พยานที่เพียงพอแล้วสำหรับพวกท่าน

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ในการที่พวกท่านได้ยืนยันกับตัวเองกับการยืนยันอีกครั้งหนึ่งของพวกท่านที่ว่า ชีอะฮฺ ร่อวาฟิฎนั้น คือพวกที่ยึดถือซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)มาเป็นเครื่องหมายที่สำคัญสำหรับพวกตน

หลังจากนี้แล้ว ยังจะมีหลักฐานใดหลงเหลืออยู่อีกสำหรับคำกล่าวของพวกที่โง่เขลา ที่อ้างว่าชีอะฮฺนั้นปฏิบัติตามที่ท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)แต่สำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้น พวกเขาปฏิบัติตามศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ? หรือว่าเขาเหล่านั้นต้องการที่จะยืนยันว่า อะลี(อฺ)ขัดแย้งกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แล้วอุตริตั้งศาสนาใหม่ขึ้นมา ?

นับเป็นถ้อยคำที่รุนแรงอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเปล่งออกมาจากลมปากของพวกเขา ก็ในเมื่อท่านอะลี(อฺ)นั้น คือผลิตผลของซุนนะฮฺนบี(ศ) ท่านคือผู้อรรถาธิบาย และเป็นหลักฐานที่ยืนหยัดสำหรับซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ) ดังที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

“อะลีกับฉันนั้น มีฐานะเหมือนอย่างเช่นฉันกับพระผู้อภิบาลของฉัน”

หมายความว่า มุฮัมมัด(ศ) คนเดียวเท่านั้นที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อพระผู้อภิบาล ดังนั้น อะลี (อฺ) ก็คือคนเดียวที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แต่ความผิดของอะลี(อฺ)อยู่ตรงที่ว่า เขามิได้ให้การยอมรับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของบุคคลที่มาก่อนท่าน และความผิดของชีอะฮฺของท่านก็คือว่าพวกเขาปฏิบัติตามท่านในเรื่องนั้น ดังนั้น พวกเขาจึงได้ปฏิเสธในอันที่จะยอมตนให้อยู่ภายใต้ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของอะบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน ด้วยเหตุนี้แหละที่เขาเหล่านั้นได้เรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นพวก “รอฟิฎี”

ดังนั้น ในเมื่ออะฮฺลิซซุนนะฮฺปฏิเสธหลักความเชื่อต่างๆ ของชีอะฮฺตลอดจนคำสอนของพวกเขาก็หมายความว่า ขึ้นอยู่กับสาเหตุสองประการ ประการแรกคือความเป็นศัตรูที่นักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺได้จุดชนวนไว้ด้วยการกล่าวเท็จ การแอบอ้าง และการปลอมแปลงริวายะฮฺอันเหลวไหลอย่างมากมายหลายประการ

ข้อสองก็คือว่าความเชื่อต่างๆ ของชีอะฮฺนั้น ขัดกันกับทัศนะที่พวกเขาเชื่อถือ อันได้มาจากพลังในด้านการสนับสนุนเกื้อกูลบรรดาค่อลีฟะฮฺ และการแก้ต่างข้อผิดพลาดและหลักวินิจฉัยความทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับข้อบัญญัติทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮฺ โดยมี มุอาวียะฮฺ บินอะบีซุฟยาน เป็นหัวหน้า

ณ จุดนี้ ผู้อ่านสามารถจะพบว่า ความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างชีอะฮฺกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่วันแห่งซะกีฟะฮฺ แล้วความขัดแย้งต่างๆ ทุกประการที่มีมาภายหลังจากนั้นคือ ผลพวงที่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์นั้นทั้งสิ้น

หลักฐานอันยิ่งใหญ่ในเรื่องนี้ก็คือ ความเชื่อที่ได้รับการจงเกลียดจงชังจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺที่มีต่อพี่น้องชีอะฮฺนั้น เกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นกับเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และผลลัพธ์ที่ติดตามมา เช่น เรื่องจำนวนของบรรดาอิมาม ข้อบัญญัติเกี่ยวกับอิมาม ความบริสุทธิ์ปลอดพ้นจากบาป(อิศมะฮฺ) ความรู้ของบรรดาอิมาม เรื่องอัล-บิดาอฺ(ความสามารถในการเปลี่ยนกฏเกณฑ์โดยอัลลอฮฺ) การปกป้องตนเองให้พ้นจากอันตราย(ตะกียะฮฺ) และเรื่องท่านอิมามมะฮฺดี ผู้ถูกรอคอย ตลอดจนถึงเรื่องอื่นๆ

เมื่อเราได้วิเคราะห์ถึงคำสอนของทั้งสองฝ่ายโดยปราศจากความอคติ เราจะไม่พบเลยว่าจะมีความห่างไกลกันอย่างลิบลับระหว่างความเชื่อของพวกเขา และเราจะไม่พบว่าผลดีอันใดที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปรักปรำเหล่านี้ และแก่การจงเกลียดจงชังอย่างนี้ เพราะถ้าท่านอ่านหนังสือของฝ่ายซุนนะฮฺที่โจมตีชีอะฮฺ ท่านจะเกิดความรู้สึกว่าชีอะฮฺนั้นขัดแย้งกับศาสนาอิสลาม และปฏิเสธตั้งแต่พื้นฐานของศาสนา และการวางหลักศาสนบัญญัติ และเหมือนกับว่าพวกเขาประดิษฐ์ศาสนาอื่นขึ้นมาศาสนาหนึ่ง(221)

ในขณะที่ผู้วิเคราะห์ด้วยใจเป็นธรรมจะพบว่า ในหลักความเชื่อของชีอะฮฺทุกประการนั้น ถูกต้องตรงตามอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ แม้กระทั่งในหนังสือของพวกที่ขัดแย้งในหลักความเชื่อนั้นๆ และจงเกลียดจงชังกับพวกเขาก็ตาม

หลังจากนั้น มิใช่ว่าในหลักความเชื่อต่างๆเหล่านั้นจะมีสิ่งที่ขัดแย้งกับสติปัญญา หรือรายงานบอกเล่า หรือหลักจริยธรรม และเพื่ออธิบายให้ท่านเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ข้าพเจ้าจะเปิดเผยความเชื่อต่างๆ เหล่านั้นให้แก่ท่านผู้อ่านเพื่อเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของท่านเองว่า การจงเกลียดจงชังพวกเขานั้นที่แท้เป็นเพียงกลลวงและภาพหลอนเท่านั้น



อัล-อิศมะฮฺ (ความบริสุทธิ์ปราศจากบาป)
ชีอะฮฺกล่าวว่า เราเชื่อถือว่าอิมามนั้นเหมือนกับท่านนบี(ศ)ตรงที่จำเป็นต้องมีสภาพมะอฺศูม (ถูกปกป้องให้ปลอดพ้นจากความบาป ปลอดพ้นจากความชั่วช้าทุกประการ ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย) นับตั้งแต่ยังเป็นทารก จนกระทั่งตาย จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ขณะเดียวกันก็จำเป็นจะต้องมีสภาพมะอฺศูมพ้นจากความเผลอไผล ความผิดพลาด และการลืมเลือน เพราะบรรดาอิมามคือผู้พิทักษ์รักษาบทบัญญัติ และเป็นผู้ดำรงตนให้อยู่ในหลักการนั้น

เช่นเดียวกับสภาวะของท่านนบี(ศ) และหลักฐานที่ทำให้เราเชื่อถือว่า บรรดานบี(ศ)มีสภาพอิศมะฮฺนั้น คือหลักฐานตัวเดียวกันที่ทำให้เราเชื่อในเรื่องสภาพอิศมะฮฺของบรรดาอิมาม โดยไม่มีการแบ่งแยกแต่อย่างใดเลย(229)

ใช่แล้ว ตามที่เรารู้เห็น ก็อันนี้แหละ คือทัศนะของชีอะฮฺ ในหัวข้อเรื่องอิศมะฮฺ ในนั้น ได้มีอะไรที่อัล-กุรอานปฏิเสธ และที่ซุนนะฮฺปฏิเสธ หรือ ? หรือว่ามีอะไรที่สติปัญญายืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ ? หรือว่ามีอะไรที่สร้างความเสื่อมเสียและความเลวร้ายต่ออิสลาม หรือมีอะไรที่ทำลายฐานะภาพของนบี(ศ) หรือของอิมาม(อฺ) ?

เป็นไปไม่ได้ และไม่มีวันเป็นไปได้เลย ในคำพูดเหล่านี้ เราไม่พบอะไรนอกจากการสนับสนุนต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของนบี(ศ)ของพระองค์ และพบแต่สิ่งที่เป็นไปตามสติปัญญาอันใสสะอาด และไม่บกพร่องและพบแต่สิ่งที่มีผลต่อภาพของนบี(ศ) และของอิมาม(อฺ) และยกย่องเทิดทูนด้วยการให้เกียรติ

แต่คนที่โง่เขลาและต่ำต้อยกลับพูดในทางตรงกันข้าม นั่นคือคำพูดของพวกที่อ้างว่า นบี(ศ)มีความผิดจนมีคนบางคนแก้ไขให้ท่าน



เราจะเริ่มวิเคราะห์ด้วยการอัญเชิญโองการจากอัล-กุรอาน ดังนี้
“อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺประสงค์จะขจัดความมลทินออกไป ก็เพียงแต่จากพวกสูเจ้าเท่านั้น โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาพวกสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์” (อัล-อะฮฺซาบ / 33)

ดังนั้นถ้าหากการขจัดมลทินอันหมายถึงความชั่วต่างๆ ทั้งหมดให้พ้นออกไปและการชำระขัดเกลาให้สะอาดปราศจากความบาปทุกประการ มิได้หมายความถึงสภาพอิศมะฮฺ แล้วมันจะหมายความว่าอย่างไร ?

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“แท้จริง บรรดาผู้ที่ยำเกรงนั้น ในเมื่อส่วนหนึ่งจากชัยฏอนมาสัมผัสพวกเขา พวกเขาจะรำลึกได้เมื่อนั้นพวกเขาจะเป็นผู้มองเห็นอย่างชัดเจน” (อัล-อะอฺรอฟ / 201)

ดังนั้น เมื่อผู้ศรัทธาที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังทรงคุ้มครองเขาให้พ้นจากแผนการของชัยฏอนที่พยายามจะเอาชนะเขา และจะทำให้เขาหลงผิด กล่าวคือเขารำลึกได้และมองเห็นสัจธรรมดังนั้นเขาจึงปฏิบัติตามสัจธรรม แล้วจะเป็นเช่นไรกับบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกพวกเขาไว้ และขจัดมลทินบาปให้พ้นไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ ?

พระองค์ทรงกล่าวว่า

“หลังจากนั้น เราได้มอบมรดกแห่งคัมภีร์ให้ตกทอดไปยังบรรดาผู้ที่เราได้คัดเลือกไว้ จากบรรดาปวงบ่าวของเรา” (ฟาฏิร / 32)

และผู้ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกไว้นั้นจะต้องไม่สงสัยเลยว่า เขาคือผู้ได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากความผิดพลาด และโองการเดียวกันนี้เองที่ท่านอิมามริฎอ(อฺ) หนึ่งในบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ได้นำมาอ้างกับบรรดานักปราชญ์ที่ค่อลีฟะฮฺ มะอ์มูน บินฮารูน ในตระกูลอับบาซียะฮฺเรียกมาประชุม

ท่านได้ยืนยันให้บรรดานักปราชญ์เหล่านั้นยอมรับว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั่นเอง คือกลุ่มบุคคลที่ถูกหมายถึง ตามความหมายของโองการนี้ และนั่นก็คือว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงคัดเลือกพวกเขาเหล่านั้น และทรงมอบมรดกทางวิชาการแห่งคัมภีร์ให้ตกทอดมายังพวกเขา ซึ่งบรรดานักปราชญ์เหล่านั้นก็ได้ยอมรับต่อท่านในเรื่องนี้(230)

ตัวอย่างบางประการเหล่านี้จากโองการอัล-กุรอาน เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีโองการอื่นๆ อีกมากที่ให้ความหมายถึงสภาพอิศมะฮฺของบรรดาอิมาม เช่น โองการที่ว่า

“บรรดาอิมามนั้น พวกเขาจะชี้นำไปตามคำสั่งของเรา”

และอื่นๆ อีก แต่เราถือว่าเพียงแค่นี้ก็พอแล้ว เพราะต้องการที่จะเสนอเพียงสังเขป ดังที่เราได้สัญญาไว้กับผู้อ่าน

หลังจากเสนอตัวบทจากอัล-กุรอานอันทรงเกียรติแล้ว ก็ขอให้ท่านพิจารณาดูในซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)ต่อไป

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“โอ้ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านถึงสิ่งที่ถ้าหากพวกท่านยึดถือไว้ พวกท่านก็จะไม่หลงผิดอย่างเด็ดขาด นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื้อสายของฉันแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” (231)






๑๙
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ดังที่ท่านได้เห็นมาแล้วอย่างแจ่มชัดว่า นี่คือหลักฐานที่แสดงว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น คือผู้ได้รับการปกป้องให้พ้นจากความผิดบาป

1.เพราะเหตุว่า คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นมะอฺศูม ไม่มีความผิดพลาดกล้ำกลาย ไม่ว่าจากทางเบื้องหน้า และไม่ว่าจากทางเบื้องหลังก็ตาม เพราะนั่นคือพจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และผู้ใดก็ตามสงสัยในเรื่องนี้เท่ากับเขาเป็นผู้ปฏิเสธศาสนา

2.เพราะเหตุว่าผู้ยึดถือสิ่งทั้งสองนี้ (คัมภีร์และเชื้อสายนบี) จะปลอดภัยจากความหลงผิด ดังนั้นฮะดีษนี้จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่า ทั้งคัมภีร์อัล-กุรอาน และเชื้อสายของท่านนบี(ศ)นั้น ไม่บังควรแก่สิ่งทั้งสองที่จะมีความผิดพลาด

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวว่า “อันที่จริงแล้ว อุปมาอะฮฺลุลบัยตฺของฉันในหมู่พวกท่าน อุปไมยดังเช่น ลำนาวาของ นบีนูฮฺ ผู้ใดที่ได้ขี่มันก็จะปลอดภัย และผู้ใดที่ขัดขืนจากมัน ก็จะจม” (232)

ตามที่ท่านได้เห็นอย่างชัดเจนมาแล้ว แสดงว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น เป็นผู้ถูกปกป้องให้พ้นจากความบาป ด้วยเหตุนี้เอง ทุกคนที่ขึ้นขี่ลำนาวาของพวกเขาจะได้รับความปลอดพ้นและปลอดภัย แต่ทุกคนที่รั้งตัวเองไว้ไม่ยอมขึ้นขี่ลำนาวาของพวกเขาก็จะจมอยู่ในความหลงผิด

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ผู้ใดรักที่จะใช้ชีวิตอย่างชีวิตของฉัน และได้ตายอย่างการตายของฉัน และได้เข้าสวรรค์ที่พระผู้อภิบาลของฉันได้สัญญากับฉันไว้ นั่นคือญันนะฮฺแห่งความเป็นนิรันดร์ เขาก็จงได้ให้การยอมรับในความเป็นผู้นำต่ออะลี และลูกหลานของเขา ภายหลังจากเขา เพราะแท้จริงเขาเหล่านั้นจะไม่นำพวกสูเจ้าออกจากประตูแห่งทางนำ และจะไม่นำพวกสูเจ้าเข้าประตูแห่งความหลงผิด” (233)

ดังที่ท่านได้เห็นอย่างชัดเจนไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันประกอบด้วยท่านอะลี(อฺ) และเชื้อสายของท่าน ล้วนเป็นผู้ถูกคุ้มครองให้พ้นจากความผิด เพราะพวกเขาจะไม่นำมนุษย์ที่ปฏิบัติตามพวกเขาเข้าประตูแห่งความผิด จึงเป็นที่ควรแก่การยอมรับว่า ผู้ที่มีโอกาสที่จะกระทำความผิดนั้น เป็นไปมิได้สำหรับเขาที่จะให้ทางนำอันถูกต้องแก่มวลมนุษย์ได้

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ฉันคือผู้ตักเตือนและอะลีคือผู้ชี้นำ โอ้อะลีเอ๋ย ภายหลังจากฉันแล้ว ผู้ที่จะได้รับทางนำก็จะถูกนำทางด้วยเจ้านี้แหละ” (234)

นี่คือฮะดีษอีกบทหนึ่งที่มีความชัดแจ้ง เกี่ยวกับเรื่องอิศมะฮฺของอิมามอย่างไม่มีความคลุมเครือแต่ประการใดเลยสำหรับผู้มีสติปัญญา

ท่านอิมามอะลี(อฺ)เองก็ยังได้ยืนยันถึงสภาพอิศมะฮฺของตัวท่านเองและของบรรดาอิมามจากลูกหลานของท่าน ในขณะที่ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“พวกท่านจะไปทางไหนกัน พวกท่านจะแอบอ้างกันเองได้ไฉน ? ในเมื่อวิชาการที่ชัดแจ้งนั้นยืนหยัดอยู่แล้ว และโองการต่างๆ นั้น ก็ชัดแจ้งอยู่แล้ว และดวงประทีปที่ให้แสงสว่างนั้นก็ถูกแต่งตั้งไว้แล้ว ดังนั้น พวกท่านจะหลีกลี้กันไปทางไหน ยิ่งไปกว่านั้น เป็นอย่างไรที่พวกท่านเมินเฉยในขณะที่ระหว่างพวกท่านนั้นยังมีเชื้อสายของนบี(ศ)ของพวกท่านอยู่

พวกเขาคือสัญลักษณ์แห่งสัจธรรม และเป็นธงนำของศาสนา และปลายลิ้นเป็นสัจจะ ดังนั้น พวกท่านจงให้การยอมรับพวกเขาในฐานภาพที่ดีงามเยี่ยงฐานภาพของอัล-กุรอาน และจงย้อนกลับไปหาพวกเขาให้เหมือนกับอูฐที่กระหายน้ำย้อนกลับไปหาแอ่งน้ำ โอ้ประชาชนเอ๋ย จงยึดถือสิ่งนี้จากคอตะมุลนะบียีน(ศ)ด้วยเถิด แท้จริงท่านได้ตายไปแล้ว

บุคคลใดก็ตามในหมู่พวกเราที่ได้ตายไปแล้ว เขามิได้เหมือนกับคนตายทั่วไป และผู้ใดในหมู่พวกเราที่สูญสลาย ก็มิได้สูญสลายอย่างคนทั่วไป ดังนั้นพวกท่านจงอย่าพูดในสิ่งที่พวกท่านไม่รู้แจ้ง เพราะแท้จริงส่วนมากของสัจธรรมที่มีอยู่นั้น พวกท่านกลับปฏิเสธ พวกท่านแก้ตัวโดยปราศจากข้อพิสูจน์ใดๆ สำหรับพวกท่าน แต่ฉันเองคือข้อพิสูจน์นั้น ฉันยังมิได้กระทำตามสิ่งสำคัญอันเป็นหลักใหญ่ (อัล-กุรอาน) ในหมู่พวกท่าน แล้วได้ละทิ้งสิ่งสำคัญประการที่รองลงมาไว้ในหมู่พวกท่านกระนั้นหรือ และฉันได้ชูธงแห่งความศรัทธาไว้ในหมู่พวกท่าน” (235)

ผู้มีสติปัญญาคนใดบ้างที่ปฏิเสธสภาพอิศมะฮฺของบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกให้เป็นผู้นำ ? คำตอบก็คือว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่ผู้มีสติปัญญาจะปฏิเสธเช่นนั้น ในทางตรงกันข้าม ผู้มีสติปัญญาจะกล่าวว่า จำเป็นจะต้องมีสภาพอิศมะฮฺเหล่านั้น เพราะผู้ใดก็ตามที่ถูกมอบหมายภารกิจอันสำคัญในด้านการนำและการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องแก่มวลมนุษยชาตินั้น ไม่อาจจะเป็นคนธรรมดาที่มักจะมีอาการแสดงออกว่าผิดพลาด และหลงลืม และมิอาจจะเป็นคนที่มากไปด้วยความบาปได้เลย

เพราะจะเป็นที่ปฏิเสธและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของมนุษย์ หากแต่ผู้มีสติปัญญาจะต้องลงความเห็นว่า เขาผู้นั้นจะต้องเป็นคนที่มีความรู้มากที่สุดในสมัยของตน และจะต้องเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรมที่สุด มีความกล้าหาญที่สุด และมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุด นั่นคือคุณสมบัติต่างๆ ที่ถูกวางไว้เกี่ยวกับตัวของผู้นำ และผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือในสายตาของมนุษย์ และเป็นผู้ที่คนทั้งหมดยินดีที่จะให้เกียรติ และแสดงความนับถือต่อพวกเขาเหล่านั้น

และในขั้นต่อมาก็จะให้การเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขาด้วย โดยปราศจากความเคลือบแคลงและไม่มีความกระอักกระอ่วนใจแต่อย่างใด

ในเมื่อเรื่องราวมันเป็นอย่างนี้ แล้วทำไมความจงเกลียดจงชังทุกๆอย่างเหล่านั้นจึงต้องตกแก่ผู้ที่มีความเชื่อถืออย่างนี้ ?

สมมุติว่าท่านจะฟังและอ่านวิพากษ์ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ในหัวข้อเรื่องอิศมะฮฺว่าชีอะฮฺนั้นคือพวกที่เชื่อถือปฏิบัติตามและมอบความเป็นอิศมะฮฺให้แก่คนที่พวกเขารัก หรือคนที่พูดในเรื่องอิศมะฮฺเขาได้พูดในสิ่งที่เป็นความชั่วร้าย และในสิ่งที่ทำให้เป็นกาฟิร และเสมือนหนึ่งว่าผู้ที่พูดถึงสภาพอิศมะฮฺได้ยืนยันว่า มะฮฺศูมนั้นไม่มีความง่วงและไม่มีการหลับนอน ซึ่งก็ไม่ใช่อย่างนี้แต่ประการใดเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่ใช่เรื่องน่าพิศวง และไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้

หากแต่สภาพอิศมะฮฺตามทัศนะของชีอะฮฺนั้น หมายถึงผู้ถูกคุ้มครองปกป้องโดยเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า และโดยการพิทักษ์รักษาของพระผู้อภิบาล จึงไม่มีทางที่ชัยฏอนจะเข้าไปยั่วยุเขาได้ และไม่มีทางที่จิตอันถูกควบคุมไว้ด้วยความชั่วจะสามารถเอาชนะสติปัญญาเขาได้ ดังนั้นการเชื่อถือว่ามีผู้ที่สามารถเอาตัวรอดจากความละเมิดได้ มิได้ มิใช่เป็นเรื่องที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงหวงห้ามว่าสิ่งนั้นจะเกิดไม่ได้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ผู้มีความยำเกรง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในโองการที่ว่า

“บรรดาผู้สำรวมตนนั้นในเมื่อแผนของชัยฏอนมาสัมผัสพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจะรำลึกได้ เมื่อนั้น พวกเขาก็จะเป็นผู้มองเห็นสัจธรรม”

สภาพอิศมะฮฺอันนี้ได้ถูกกำหนดให้แก่ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในสภาวการณ์หนึ่งๆ ที่ถูกจำกัดไว้อย่างแน่นอน ซึ่งมันจะสูญสลายไปก็ต่อเมื่อว่างเว้นจากสาเหตุของมัน สิ่งนั้นก็คือ การมีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า(ตักวา) กล่าวคือบรรดาปวงบ่าว ถ้าหากเป็นคนที่ห่างเหินจากการตักวาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะไม่คุ้มครองปกป้องเขา แต่สำหรับอิมามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกเขาไว้นั้น เขามิได้หันเหและมิได้หย่อนยานจากการมีตักวาและความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)แต่ประการใด

ในโองการอัล-กุรอาน ได้มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงประวัติของท่านนบี ยูซุฟ(อฺ)ว่า

“แน่นอนยิ่ง นางก็ได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับตัวเขาและเขาก็มีความครุ่นคิดในตัวนาง ถ้าหากไม่เป็นเพราะว่าเขาได้แลเห็นข้อพิสูจน์อันชัดเจนประการหนึ่งของพระผู้อภิบาลของเขา เช่นนั้นแหละ เพื่อเราจะได้ผันแปรความเลวร้ายและความชั่วให้พ้นไปจากเขา แท้จริงเขาคือคนหนึ่งจากปวงบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ใจของเรา” (ยูซุฟ / 24)

เนื่องจากว่าท่านนบียูซุฟ(อฺ)มิได้ครุ่นคิดที่จะทำซินาดังเช่นบรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านอธิบาย ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับบรรดานบีของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่จะกระทำการอันน่าเกลียดเช่นนี้ แต่ทว่าท่านนบียูซุฟ(อฺ)ครุ่นคิดถึงการที่ผลักไสและตบตีนางถ้าหากถึงคราวที่จำเป็นจะต้องกระทำ แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงปกป้องท่านให้พ้นจากความประพฤติที่ผิดพลาดเช่นนี้ เพราะเหตุว่าถ้าหากท่านกระทำอย่างนั้นไปแล้ว

แน่นอนที่สุดก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งในการที่ท่านจะถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความชั่ว เพราะหลักฐานของนางจะหนักแน่นยิ่งขึ้นสำหรับการตอบโต้กับท่าน แล้วท่านก็จะถูกปรักปรำจากพวกเขาเกี่ยวกับความชั่วอันนี้

ได้มีอีกโองการหนึ่งที่ตรัสว่า

“และฉันมิได้คิดว่าตัวเองเป็นผู้หมดมลทินเลย เพราะความจริงอารมณ์นั้นมักยุยงในด้านชั่วเสมอ ยกเว้นในกรณีที่พระผู้อภิบาลของฉันทรงเมตตาเท่านั้น” (ยูซุฟ / 53)

กล่าวคืออัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น เมื่อพระองค์ทรงคัดเลือกบรรดาเอาลิยาอ์ จากบรรดาบ่าวของพระองค์ พระองค์ก็ทรงสอนเขาเหล่านั้น และทรงบันดาลให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความชั่วร้ายและความเลวทั้งปวงเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเมตตาต่อจิตใจของพวกเขา กล่าวคือจะไม่มีความหันเห และจะไม่ถูกชักนำด้วยอำนาจแห่งความชั่วร้ายทุกประการเพราะพวกเขาคือปวงบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ใจในทุกประการที่อยู่ในถ้อยคำเหล่านี้ล้วนมีความหมาย

ผู้ใดที่ต้องการจะไม่เชื่อในเรื่องอิศมะฮฺที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ผู้มีความบริสุทธิ์ใจ และที่พระองค์ทรงประทานให้แก่บรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์ ผู้ทรงคุณธรรมก็ได้ เพราะเขามีอิสระ และเราไม่สามารถที่จะบีบบังคับให้เขายอมรับอย่างนี้ได้เลย นอกจากโดยการประจักษ์แก่ใจเท่านั้น และเราขอแสดงความคารวะต่อความคิดเห็นของเขา

แต่หน้าที่ของเขานั่นก็คือจะต้องให้เกียรติกับความคิดเห็นของบุคคลอื่นที่ยืนยันถึงสภาพ “อิศมะฮฺ” เพราะพวกเขาก็มีหลักฐาน แต่จะไม่กระทำการใดๆ ให้เลื่องลือเหมือนอย่างที่นักปราชญ์คนหนึ่งในหมู่พวกเขาได้กระทำไปแล้ว เมื่อครั้งที่ได้ไปกล่าวปราศรัยในกรุงปารีส โดยได้ทำการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ที่กล่าวถึงเรื่องสภาพอิศมะฮฺ หรือไม่เหมือนอย่างที่นักเขียนอะฮฺลิซซุนนะฮฺส่วนมากเขียนถึงเรื่องนี้ในลักษณะที่เต็มไปด้วยการเยาะเย้ยและดูหมิ่นเหยียดหยามล้วนๆ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียใจ



จำนวนอิมาม 12
ชีอะฮฺได้กล่าวว่า จำนวนอิมามมะอฺศูมีนหลังจากนบี(ศ) นั้นก็คือ 12 ท่าน ไม่มากไปกว่านี้ และไม่น้อยไปกว่านี้อีก และแน่นอนที่สุด ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวถึงรายนามของพวกเขา และระบุจำนวนของพวกเขาไว้ดังนี้(236)

1. ท่านอิมามอะลี อิบนิอะบีฏอลิบ

2. ท่านอิมามฮะซัน อิบนิ อะลี

3. ท่านอิมามฮุเซน อิบนิ อะลี

4. ท่านอิมามอะลี อิบนิ ฮุเซน (ซัยนุลอาบิดีน)

5. ท่านอิมามมุฮัมมัด อิบนิ อะลี (บาเก็ร)

6. ท่านอิมามญะอฺฟัร อิบนิ มุฮัมมัด (ศอดิก)

7. ท่านอิมามมูซา อิบนิ ญะอฺฟัร (กาซิม)

8. ท่านอิมามอะลี อิบนิ มูซา (ริฎอ)

9. ท่านอิมามมุฮัมมัด อิบนิ อะลี (ญะวาด)

10. ท่านอิมามอะลี อิบนิ มุฮัมมัด (ฮาดี)

11. ท่านอิมามฮะซัน อิบนิ อะลี (อัซกะรี)

12. ท่านอิมามมุฮัมมัด อิบนิฮะซัน (อัล-มะฮฺดี มุนตะซ็อร)

บุคคลเหล่านี้ คืออิมามสิบสองที่ชีอะฮฺยืนยันในสภาพอิศมะฮฺของพวกท่าน เพื่อที่ว่า แผนการร้ายจะไม่ขยายขอบเขตยังบรรดาชาวมุสลิมบางส่วน เพราะพวกชอบใส่ร้าย บางคนมักจะกล่าวแก่พวกเขาว่า

“แท้จริงชีอะฮฺนั้น กล่าวยืนยันในสภาพอิศมะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ดังนั้น จงพิจารณาดูกษัตริย์ฮุเซนแห่งจอร์แดนดูเถิด เพราะท่านคือคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และเช่นกันกับกษัตริย์ฮะซันที่ 2 ซึ่งท่านก็เป็นอีกคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)”

ปัจจุบันนี้พวกเขาใส่ไคล้เพิ่มเข้ามาอีกว่าชีอะฮฺกล่าวยืนยันสภาพอิศมะฮฺของท่านอิมามโคมัยนี

นี่คือการใส่ร้าย ป้ายความเท็จ ความเสื่อมเสีย เพราะจะไม่มีใครพูดอย่างนั้น แม้จะเป็นคนโง่ในพวกชีอะฮฺก็ตาม อย่าว่าแต่นักปราชญ์และปัญญาของพวกเขาเลย อันที่จริงแล้ว คนหลอกหลวงเหล่านั้นคิดเพียงแต่จะให้ประชาชนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวผู้ศรัทธาตื่นตกใจกับการโฆษณาชวนเชื่อเหล่านี้ เมื่อได้พบเห็นเข้าดังนั้นชีอะฮฺทั้งในอดีตปัจจุบัน ไม่เคยยอมรับสภาพอิศมะฮฺให้แก่ใครนอกจากท่านเหล่านั้น

บรรดาอิมามที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ให้รายนามไว้ และจะไม่มีใครเกิดมาภายหลังจากนี้อีก นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺบางท่านได้นำรายชื่อของพกวเขามารายงาน ดังเช่นที่เราได้กล่าวผ่านไปแล้ว และท่านบุคอรีและมุสลิมเองก็ได้รายงานไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของท่านทั้งสองเกี่ยวกับฮะดีษว่าด้วยบรรดาอิมามตามจำนวนของพวกเขา คือพวกเขามีสิบสองท่าน ทุกคนล้วนมาจากตระกูลกุเรช(237)

ฮะดีษต่างๆ เหล่านี้จะไม่ถูกต้อง และไม่เที่ยงตรงได้เลย นอกจากว่าเราได้อธิบาย ด้วยบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ที่ชีอะฮฺอิมามียะฮฺกล่าวถึงชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺพยายามที่จะแก้ปัญหานี้ เพราะว่า เรื่องจำนวนอิมามสิบสองนั้น ถูกรายงานไว้ในตำราของพวกเขา จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบใดๆ พวกเขาจะยอมรับในสิ่งที่พวกชีอะฮฺเชื่อถือได้อย่างไร ?



ความรู้ของบรรดาอิมาม
สิ่งหนึ่งที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จงเกลียดจงชังต่อชีอะฮฺ ก็คือคำพูดของเขาที่ว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประทานวิชาความรู้แก่พวกเขามากเป็นพิเศษ โดยที่ไม่มีคนอื่นในหมู่มนุษย์มีส่วนร่วมในเรื่องนี้เลย และถือว่าอิมาม คือผู้มีความรู้ที่สุดประจำยุคสมัยของตน จนไม่มีใครอาจท้าท้ายท่านได้เลย เพราะยอมจำนนต่อคำตอบ



ข้ออ้างเหล่านั้นมีหลักฐานหรือไม่ ?
เราจะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หลักฐานจากอัล-กุรอานอันทรงเกียรติเหมือนอย่างเคย

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า

“ต่อจากนั้น เราได้มอบมรดกแห่งคัมภีร์ให้ตกทอดแก่บรรดาผู้ที่เราได้คัดเลือกมาจากปวงบ่าวของเรา” (ฟาฏิร / 32)

โองการนี้เป็นหลักฐานที่ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกบ่าวจำนวนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ และพระองค์ทรงมอบมรดกทางวิชาการแก่คัมภีร์ให้ตกทอดแก่พวกเขา แล้วเรารู้จักบ่าวผู้ถูกคัดเลือกเหล่านี้แล้วหรือยัง ?

ในตอนที่ผ่านมา เราได้กล่าวแล้วว่า อิมามที่แปดจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ท่านอะลี บิน มูซา อัร-ริฎอ(อฺ) ได้ชี้แจงว่าโองการนี้ถูกประทางลงมาเกี่ยวกับพวกท่าน ด้วยเหตุนี้ เมื่อครั้งที่ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้จัดประชุมผู้พิพากษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการตัดสินคดีความ จำนวน 40 คน ให้แต่ละคนตั้งคำถาม ถามท่านคนละ 40 คำถาม ท่านได้ตอบคนเหล่านั้น จนถึงกับทำให้พวกเขางุนงงและยืนยันว่า ท่านเป็นผู้รู้มากที่สุดจริง(238)

ขณะนั้น อายุของอิมามที่แปด ยังไม่ครบสิบสี่ปีบริบูรณ์ เมื่อการถกปัญหาได้มีขึ้นระหว่างท่านกับนักวิชาการทางศาสนากันแล้ว ซึ่งคนเหล่านั้นได้ยืนยันว่า ท่านมีความรู้ที่สุดจริง จะแปลกอะไร ในภายหลังจากนี้กับคำยืนยันของชีอะฮฺที่ว่า พวกเขามีความรู้มากที่สุด ในเมื่อนักปราชญ์ซุนนะฮฺและบรรดาอิมามของพวกเขาก็ได้ยอมรับต่อพวกเขาอย่างนี้

แต่ถ้าเราต้องการจะอธิบาย อัล-กุรอาน ด้วยอัล-กุรอานนั่นเอง เราก็จะพบว่า มีหลายโองการที่นำไปสู่ความหมายเดียวกัน และอธิบายให้เห็นว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และวิทยปัญญาอันสูงส่งได้เจาะจงจะให้บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของนบี(ศ)มีความรู้โดยตรงจากพระอค์ในฐานะสิ่งที่ถูกประทานลงมาจนกระทั่งได้เป็นอิมามที่ชี้นำทางและเป็นดวงประทีปอันจรัสแสง

พระองค์ตรัสว่า

“ทรงประทานฮิกมะฮฺ แก่ผู้ที่ทรงประสงค์ และผู้ใดที่ทรงมอบฮิกมะฮฺให้แล้ว แน่นอนเท่ากับเขาได้รับความดีงามอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครคิดใคร่ครวญได้ นอกจากปวงผู้มีปัญญา” (อัล-บะเกาะฮฺเราะฮฺ / 269)

ทรงมีโองการอีกว่า

“ดังนั้น ขอสาบานต่อตำแหน่งที่ตกของดวงดาว และแท้จริงมันเป็นการสาบานอย่างหนึ่ง ถ้าหากพวกสูเจ้ารู้ว่ามันใหญ่หลวงนัก แน่นอนมันคืออัล-กุรอานอันทรงเกียรติ อยู่ในพระคัมภีร์ได้รับการพิทักษ์ ไม่มีใครสัมผัสได้ นอกจากบรรดาผู้ถูกชำระให้สะอาดบริสุทธิ์” (อัล-วากิอะฮฺ / 75-79)

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสาบานในโองการนี้ด้วยการสาบานอันยิ่งใหญ่ว่า อัล-กุรอานอันทรงเกียรติ มีความหมายอันลี้ลับ และมีความนัยอันถูกพิทักษ์รักษาไว้ จะไม่มีใครเข้าถึงความหมายของมัน และความเป็นจริงต่างๆ ของมันได้ นอกจากบรรดาผู้ได้รับการชำระขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์ พวกเขานี่เองอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) คือผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงขจัดมลทินออกไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์

โองการนี้ยังให้ความหมายอีกว่า สำหรับอัล-กุรอาน นั้น มีวิชาการเป็นความนัย ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประสงค์ประทานให้เฉพาะแต่กับอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) คนอื่นนอกจากพวกเขาแล้ว ไม่สามารถรู้ได้นอกจากอาศัยแนวทางจากพวกเขาเท่านั้น

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“พระองค์ คือผู้ประทานคัมภีร์ลงมายังเจ้า ในนั้น มีโองการต่างๆ อันชัดแจ้ง อันเป็นแม่บทแห่งคัมภีร์ อีกส่วนหนึ่งนั้นความเป็นนัย ดังนั้น พวกที่ในหัวใจของพวกเขามีความรวนเร พวกเขาก็จะปฏิบัติตามส่วนที่เคลือบแคลงจากมัน เพื่อแสวงหาความเสียหาย และแสวงหาการตีความหมายมัน แต่ไม่มีใครรู้การตีความหมายมันได้ นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้สันทัดจัดเจนในวิชาการ

พวกเขากล่าวว่า เราศรัทธาต่อพระองค์แล้ว ทุกประการล้วนมาจากพระผู้อภิบาลของเรา แต่ไม่มีใครคิดใคร่ครวญได้ นอกจากปวงผู้มีปัญญา” (อาลิอิมรอน / 7)

โองการอันทรงเกียรตินี้ให้ความหมายว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความรู้ที่ลี้ลับไว้ในอัล-กุรอาน และไม่มีใครตีความหมายได้ นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และบรรดาผู้สันทัดจัดเจนทางวิชาการ เหมือนกันกับความหมายที่ได้เข้าใจไปแล้วในโองการก่อน เพราะเหตุว่า บรรดาผู้สันทัดจัดเจนทางวิชาการนั้นคือ อะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยเหตุนี้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จึงได้ชี้แจงความคิดตรงนี้ว่า

“พวกท่านอย่าได้กระทำการล้ำหน้าพวกเขา และอย่าทำให้บกพร่องไปจากพวกเขา เพราะจะทำให้พวกท่านเสียหาย และจงอย่าสอนสั่งพวกเขา เพราะพวกเขานั้นรู้ดีกว่าพวกท่าน”(239)

ขณะเดียวกัน ท่านอิมามอะลี(อฺ)ได้กล่าวถึงตัวท่านเองว่า

“ไหนเล่าคนที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้สันทัดจัดเจนในวิชาการ นอกเหนือไปจากพวกเรา นับเป็นการปฏิเสธและละเมิดต่อพวกเรา แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยกย่องพวกเราและทำให้พวกเขาตกต่ำ พระองค์ทรงประทานให้พวกเรา และทรงหวงห้ามให้พวกเขา พระองค์ทรงนำให้เราเข้าไปและทรงนำพวกเขาออกมา เพราะเรานี่เอง ทางนำจึงสัมฤทธิ์ผล และคนตาบอดก็จะได้รับแสงสว่าง : แท้จริงบรรดาอิมามจากพวกกุเรชนั้น ถูกปลูกฝังไว้ในท้องนี้อันมาจากฮาชิม ไม่มีใครปกครองได้ นอกจากพวกเขา และอำนาจการปกครองจะสำเร็จมิได้นอกจากพวกเขา...” (240)

ดังนั้น ถ้าหากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) มิใช่บรรดาผู้สันทัดจัดเจนทางวิชาการแล้ว ใครเล่าที่เป็นบรรดาคนเหล่านั้น ? สำหรับข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีใครในประชาชาตินี้ ทั้งคนรุ่นก่อนและคนรุ่นใหม่ จะหาญกล้าอ้างว่าตนรู้มากกว่าพวกเขา

พระองค์ตรัสว่า “ดังนั้นจงถามผู้รู้เถิด ถ้าหากพวกสูเจ้าไม่รู้” (อัน-นะฮฺลุ / 43)

โองการนี้ได้ถูกประทานมาเกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)อีกเช่นกัน (241)

เป็นอันว่า ประชาชาตินั้น จำเป็นจะต้องย้อนกลับไปหาบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ภายหลังจากขาดท่านศาสดาไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ความจริงต่างๆ แน่นอนบรรดาศ่อฮาบะฮฺ(ร.ฎ.) ต่างย้อนกลับไปหาท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ(อฺ) เพื่อท่านจะได้อธิบายปัญหาต่างๆ ให้แก่พวกเขา เช่นเดียวกับที่ประชาชนได้ย้อนกลับไปหาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ต่อมาเป็นเวลาหลายปี เพื่อเรียนรู้ในเรื่องของฮะลาลและฮะรอม และเพื่ออาศัยวิชาการของพวกท่าน ความรู้และจริยธรรมของพวกท่านมาเป็นแนวปฏิบัติ

เมื่อปรากฏว่าอะบูฮะนีฟะฮฺ เองยังกล่าวว่า

“ถ้าหากไม่มีสองปีนี้ แน่นอน นุอฺมาน (ตัวท่านเอง) จะต้องเสียหาย”

อันนี้หมายความว่า สองปีที่ท่านได้รับการศึกษาจากท่านอิมาม ญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) และเมื่อปรากฏว่าอิมามมาลิก บินอะนัซ กล่าวว่า

“สายตาฉันไม่เคยเห็น หูฉันไม่เคยได้ยิน จิตใจฉันไม่เคยสั่นระรัวกับมนุษย์คนใดในด้านคุณงามความดีที่มากกว่า ท่านญะอฺฟัร ศอดิก ทั้งในด้านเกียรติ ด้านความรู้ และด้านการสำรวมตน” (242)

เมื่อเรื่องราวเป็นอย่างนี้ โดยการยอมรับของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเอง แล้วทำไมหลังจากที่มีหลักฐานอย่างนี้แล้ว และหลังจากที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ยืนยันอย่างนี้แล้วว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เป็นผู้รู้สูงสุดประจำยุคสมัยของพวกท่าน ยังจะมีการจงเกลียดจงชัง และการปฏิเสธในลักษณะนี้อีก ? แล้วมันจะแปลกประหลาดอะไร ตรงไหนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงมอบวิทยปัญญาและวิชาความรู้อันลึกซึ้งแก่บรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์ “ที่ทรงคัดเลือกพวกเขาไว้” และทรงแต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำของมวลผู้ศรัทธา และเป็นอิมามของมวลมุสลิม

ถ้าหากบรรดามุสลิมศึกษาหลักฐานของกันและกัน แน่นอนจะต้องยอมรับโดยคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ) และแน่นอนพวกเขาจะต้องเป็นประชาชาติเดียวกันที่กระชับมั่นต่อกันและกัน และจะไม่มีความขัดแย้งใดๆ ไม่มีสำนักวิชาการใดๆ ไม่มีมัซฮับใดๆ ไม่มีนิกาย ไม่มีพวกนั้นพวกนี้

แต่จำเป็นที่ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามนี้ เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะได้ทรงตัดสินกิจการหนึ่งอย่างเป็นกิจจะลักษณะดังโองการที่ว่า

“เพื่อพระองค์จะทำลายผู้ทำลายหลักฐานอันชัดแจ้งและทรงให้ชีวิตแก่ผู้ที่ให้ชีวิตแก่หลักฐานอันชัดแจ้งแท้จริง อัลลอฮฺทรงได้ยิน ทรงรอบรู้เสมอ” (อัล-อัมฟาล /42 )






๒๐