หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22575
ดาวน์โหลด: 5792

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22575 / ดาวน์โหลด: 5792
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



หมวดที่ ๑ อิจญฺติฮาด และ ตักลีด

อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด  บัญญัติต่าง ๆ ล้วนแต่มีความเหมาะสมและตรงกับสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ทั้งสิ้น หากผู้ใดนำเอาบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต ความสมบูรณ์ก็จะประสบกับเขาอย่างแน่นอน


ศาสนาอิสลามครอบคลุมอยู่บนหลัก ๓ ประการ กล่าวคือ

ประการที่หนึ่ง หลักความศรัทธา (อุซุลุดดีน) หมายถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อศรัทธา มุสลิมจะต้องยอมรับด้วยเหตุและผลอันเป็นพื้นฐานสำคัญแห่งอิสลาม ซึ่งจะต้องไม่เชื่อหรือคล้อยตามความเชื่อของบุคคลอื่น

 ประการที่สอง หลักการปฏิบัติ  (ฟุรูอุดดีน) หมายถึงหลักศาสนบัญญัติที่มุสลิมทั้งหลายต้องนำมาปฏิบัติหรือละเว้นการกระทำ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า บทบัญญัติ  สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นมุจญฺตะฮิด (ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดขั้นสูงสุด

ประการที่สาม จริยศาสตร์ (อัคลาก) หมายถึงการปฏิบัติตัวเองให้สอดคล้องกับหลักการศาสนา  โดยเน้นไปที่การพัฒนาและยกระดับจิตใจ



หลักความศรัทธา

หลักความศรัทธา คือ หลักการเกี่ยวกับการสร้างความคิดและความเชื่อของมนุษย์ให้มั่นคงแข็งแรง เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ต้องเชื่อมั่น และยอมรับสิ่งเหล่านั้นด้วยเหตุผลหลักความศรัทธาถือเป็นหลักศาสนา เป็นภารกิจเกี่ยวกับความเชื่อจึงต้องอาศัยความเชื่อมั่น ด้วยเหตุนี้ หลักความศรัทธาจึงไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามผู้ใด

 

หลักการปฏิบัติ

หลักปฏิบัติ หมายถึง กฎบัญญัติต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ ประกอบด้วยสิ่งจำเป็นและไม่จำเป็น ซึ่งการกระทำหรือการละเว้นต้องอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ถูกต้อง จึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์แล้ว

บุคคลที่มีหน้าที่ปฏิบัติ ถ้าต้องการรู้จักคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้สามารถกระทำได้ ๓ วิธี กล่าวคือ ค้นคว้าและวิจัยจากแหล่งข้อมูลเกี่ยวข้องเพื่อตีความปัญหาด้วยตัวเอง หรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดที่ค้นคว้ามาแล้ว หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยการอิฮฺติยาฏ

ฉะนั้น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติอาจเป็น ๑ ใน ๓ ประเด็น กล่าวคือ อิจญฺติฮาด ตักลีด หรืออิฮฺติยาฏ

ก่อนที่จะอธิบายหน้าที่สามประการข้างต้น ขอกล่าวถึงคำว่า มุกัลลัฟ เงื่อนไขของมุกัลลัฟ และการแบ่งบทบัญญัติก่อนเพื่อความไม่สับสนในการทำความเข้าใจ



เงื่อนไขการปฏิบัติ

พระผู้เป็นเจ้า ทรงมอบสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดแก่มนุษย์อันได้แก่ สติปัญญา การเลื่อกสรร และเจตนารมณ์เสรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่บ่งบอกว่ามนุษย์มีความพิเศษต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น และพระองค์ทรงมอบความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่มีต่อพระเจ้าแก่มนุษย์ ดังนั้น ถ้าบุคคลใดปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นด้วยความเคร่งครัดชีวิตของเขาจะพบกับความสุขนิรันดร์

มุกัลลัฟ หมายถึง บุคคลที่วาญิบ (จำเป็น) ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติโดยครบสมบูรณ์มิให้ขาดตกบกพร่อง มุกัลลัฟ คือบุคคลที่มีเงื่อนไข ๓ ประการ ดังต่อไปนี้

๑. บาลิฆ หมายถึงบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

๒. ต้องมีสติสัมปชัญญะมิใช่คนวิกลจริต

๓. ต้องมีความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ

   ดังนั้น บุคคลที่มีเงื่อนไขครบ ๓ ประการ วาญิบต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติอย่างเคร่งครัด ถ้าดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า ต้องได้รับการลงโทษตามบทบัญญัติ แต่ถ้าบุคคลนั้นยังไม่ถึงเกณฑ์บาลิฆ หรือเป็นคนวิกลจริต หรือไม่มีความสามารถในการปฏิบัติ ถือว่าไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ การกระทำของเขาไม่เป็นวาญิบและไม่ฮะรอม ดังนั้น ถ้าคนวิกลจริตหรือเด็กที่ยังไม่บาลิฆพูดโกหก หรือไม่นะมาซจะไม่ถูกลงโทษ แม้ว่าการกระทำดีบางอย่างจะมีผลบุญมากก็ตาม เช่น ถ้าเด็กที่ยังไม่บาลิฆสามารถนะมาซได้อย่างถูกต้อง หรือ

สามารถบำเพ็ญฮัจญฺได้ ซึ่งการกระทำเหล่านี้มีผลบุญตอบแทนมากมาย แต่เขาไม่มีหน้าที่ต้องกระทำ และถ้าละเว้นถือว่าไม่ถูกลงโทษ

อย่างไรก็ตามผู้ปกครองเด็ก หรือคนวิกลจริต และรัฐอิสลามมีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำที่ไม่ถูกต้องของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เอง วาญิบสำหรับผู้ปกครองเด็กต้องคอยระวังมิให้เด็กล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่น และวาญิบสำหรับผู้ปกครองรัฐอิสลาม (ฮากิม) ต้องทำทานบนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความยุติธรรมแก่สังคม

แต่สำหรับบุคคลที่ไม่มีความสามารถ ในการปฏิบัติบทบัญญัติที่เป็นวาญิบหรือละเว้นสิ่งฮะรอม บางกรณีเท่านั้นที่หน้าที่ของเขาจะหมดไปโดยปริยาย เช่น คนป่วยเรื้อรังไม่มีหน้าที่ต้องถือศีลอด แม้ว่าบางกรณีที่ไร้ความสามารถในการปฏิบัติ จะมีหน้าที่อื่นตามมาก็ตาม เช่น กะฟาเราะฮฺ ศีลอดสำหรับผู้ป่วยเป็นต้น  รายละเอียดอธิบายไว้แล้วในหนังสือริซาละฮฺต่าง ๆ

ใครคือผู้บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

บุคคลที่มีสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ถือว่าบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑. อสุจิเคลื่อนออกมาไม่ว่าจะหลับหรือตื่นมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม

 ๒. มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ  

๓. มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์สำหรับเด็กชาย และ ๙ ปีบริบูรณ์สำหรับเด็กหญิง

การบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติไม่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ครบทั้ง ๓ ประการ อาจมีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เช่น ถ้าชายมีน้ำอสุจิเคลื่อนออกมาถึงแม้ว่าอายุจะยังไม่ถึงเกณฑ์กำหนดก็ตาม ถือว่าบาลิฆแล้ว จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนบัญญัติให้ครบสมบูรณ์



หลักการคำนวณนับอายุบาลิฆ

ทุก ๆ ปีจันทรคติจะน้อยกว่าปีสุริยคติ ๑๐ วัน กับ ๑๘ ชั่วโมง หมายถึงปีของจันทรคติจะมีแค่ ๓๕๔ วัน กับ ๖ ชั่วโมง

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเอาจำนวน ๙๖ วัน กับ ๑๘ ชั่วโมง ลบจำนวน ๙ ปี ของปีสุริยคติ จะได้ ๙ ปี บริบูรณ์สำหรับปีจันทรคติ หรือเอาจำนวน ๑๖๑ วัน กับ ๖ ชั่วโมง ลบจำนวน ๑๕ ปี ของปีสุรยคติ จะได้ ๑๕ ปี บริบูรณ์สำหรับปีจันทรคติ

ฉะนั้น บุคคลที่นับอายุตามปีสุริยคติจำเป็นต้องชดใช้สิ่งที่มิได้ปฏิบัติ เช่น ชายที่เริ่มปฏิบัตินมาซ เมื่ออายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ตามปีสุริยคติ ดังนั้น เขาต้องชดใช้นะมาซจำนวน ๑๖๑ วัน ศีลอดและบทบัญญัติอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน



การแบ่งบทบัญญัติ(บทบัญญัติ)

๑. วาญิบ หมายถึง สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติหากละเว้นถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษตามศาสนบัญญัติ เช่น นมาซ และศีลอด เป็นต้น

๒. ฮะรอม หมายถึง สิ่งจำเป็นต้องละเว้น ถ้าปฏิบัติถือว่ามีความผิดต้องถูกลงโทษ เช่น พูดโกหก หรือลักขโมยเป็นต้น

๓. มุซตะฮับ หมายถึง สิ่งที่สมควรปฏิบัติ หรือสนับสนุนให้ปฏิบัติมีผลบุญตอบแทน แต่ถ้าไม่ปฏิบัติถือว่าไม่มีความผิดและไม่ถูกลงโทษ เช่น นมาซยามดึก (เศาะลาตุลลัยนฺ)

๔. มักรูฮฺ หมายถึง สิ่งที่สมควรละเว้น แต่ถ้าปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ เช่น การรับประทานของร้อนจัด

๕. มุบาฮฺ   หมายถึง การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติมีค่าเท่ากัน คือ ไม่มีผลบุญและไม่ถูกลงโทษ เช่น การเดิน การนั่งโดยปกติทั่วไป



การแบ่งบทบัญญัติอีกลักษณะหนึ่ง

๑. รู้โดยทั่วไป (บะดีฮียฺ) เช่น การเป็นวาญิบของนมาซ หรือการฮะรอมสำหรับซินา (ผิดประเวณี) ซึ่งทุกคนทราบกฎเกณฑ์เป็นอย่างดี

๒. มิได้รู้โดยทั่วไป (ฆอยรุบะดีฮียฺ) ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ

- บทบัญญัติซึ่งเป็นไปได้ที่จะอิฮฺติยาฏ

- บทบัญญัติซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะอิฮฺติยาฏ หรือแนวทางของการอิฮฺติยาฎไม่ชัดเจน

ประเด็นแรก ไม่จำเป็นต้องตักลีด ส่วนประเด็นที่สองเป็นไปได้ที่จะอิฮฺติยาฏ ถ้าหากเข้าใจและรู้เรื่องการอิฮฺติยาฏ ดังนั้น สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏได้ แม้ว่าอนุญาตให้ตักลีดได้ก็ตาม *

อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี กล่าวว่า การปฏิบัตหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏ ต้องรู้จักประเด็นและวิธีการอิฮฺติยาฏ ซึ่งมีชนส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้ อีกด้านหนึ่งการอิฮฺติยาฏ โดยทั่วไปต้องใช้เวลามากกว่า

๓. ประเด็นสุดท้ายของบทบัญญัติ คือ มิได้เป็นบทบัญญัติที่รู้โดยทั่วไป (บะดีฮียฺ) และมิสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏได้ กล่าวคือ เป็นการอิจญฺติฮาดหรือตักลีด หมายถึง ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่อิจญฺติฮาด หรือตักลีดตามมุจญฺตะฮิดเท่านั้น

หลังจากอธิบายบทนำ ๒ ประการแล้ว (เงื่อนไขการปฏิบัติ การแบ่งบทบัญญัติ) ลำดับต่อไปจะอธิบายปัญหาการอิจญฺติฮาด ตักลีด และการอิฮฺติยาฏ



อิจญฺติฮาด

อิจญฺติฮาด ตามหลักภาษาหมายถึง ความเพียรพยายามและความเหนื่อยยาก แต่ตามหลักศาสนิติศาสตร์อิสลามหมายถึง  การค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อวินิจฉัยและตีความบทบัญญัติจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนั้น บุคคลที่มีคุณสมบัติในการอิจญฺติฮาดได้เรียกว่า มุจญฺตะฮิด (หมายถึง ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนิคิศาสตร์อิสลาม)


แหล่งข้อมูลของบทบัญญัติ

๑. พระมหาคัมภีร์อัล-กรุอาน

๒. แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์ (อาจเป็นคำพูด การกระทำ หรือการนิ่งเฉย)

๓. สติปัญญา

๔. การอิจมาอฺ หมายถึงเห็นพร้องต้องกันของเหล่าบรรดานักปราชญ์ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาขั้นสูงสุด (ฟุเกาะฮา) เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติ



ปฐมบทการอิจญฺติฮาด

ความรู้อันเป็นพื้นฐานในฐานะของบทนำการอิจญฺติฮาด ซึ่งต้องเรียนรู้ก่อนที่จะไปถึงขั้นการอิจญฺติฮาดได้แก่

๑. ความรู้ภาษาอาหรับ ซึ่งประกอบด้วย

- อิลมุล ซะรอฟ วิชาที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะลี

- อิลมุลนะฮฺวุ การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา

- อิลมุลมะอานี ศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหารได้อย่างถูกต้อง (วาทศาสตร์) หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน

-อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง

๒. อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง (ตรรกศาสตร์)

๓. อิลมุลอุซูล หลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ

๔. อิลมุลริญาล วิชาที่สอนให้รู้จักบุคคล ฮะดีซ สายสืบ และผู้รายงานฮะดีซ

๕.อิลมุลดิรอยะฮฺ วิชาที่สอนให้รู้จักความหมาย และความเข้าใจเกี่ยวกับฮะดีซ และการแยกแยะระหว่างฮะดีซแท้กับฮะดีซปลอม

๖. อุลูมกุรอาน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอาน การอธิบายอัล-กุราอน (ตัฟซีร) และสาเหตุของการประทานโองการ

๗. นอกจากนั้นยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคม ภาษาของประชาชนที่อัล-กุรอานและซุนนะฮฺกล่าวถึง

๘. ต้องเข้าใจทัศนะของนักปราชญ์รุ่นก่อน เพื่อมิให้เกิดความแตกต่างในสังคม

๙. ต้องศึกษาและวิเคราะห์คำวินิจฉัยของนักปราชญ์ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มีความแตกต่างกัน

๑๐. มีความเพียรพยายามสูงในการศีกษาค้นคว้าและพิสูจน์บทบัญญัติ จนกลายเป็นความสามารถพิเศษที่เคยชิน

การศึกษาวิชาการข้างต้นเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่จะเป็นมุจญฺตะฮิด และบุคคลที่เป็นมุจญฺตะฮิดแล้ว ต้องปฏิบัติตามการวินิจฉัยของตนไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามทัศนะของบุคคลอื่น แต่ถ้าหากว่ามุจญฺตะฮิดผิดพลาดในการพิสูจน์หลักฐาน หรือการวินิจฉัยของตน ถือว่าตกการเป็นมุจญฺตะฮิด



ประเภทของการอิจญฺติฮาด

การอิจญฺติฮาด  หรือการวินิจฉัยปัญหาศาสนาของมุจญฺตะฮิด แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

๑. การวินิจฉัยสมบูรณ์ หมายถึง บุคคลที่สามารถวิเคราะห์หาเหตุผลของบทบัญญัติได้ทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า มุจญฺตะฮิดมุฏลัก   (ผู้เชี่ยวชาญครบสมบูรณ์)

๒. การวินิจฉัยในระดับไม่สมบูรณ์ หมายถึง บุคคลที่สามารถวิเคราะห์วิจัยบทบัญญัติได้เพียงบางส่วน ซึ่งเรียกว่า มุจญฺตะฮิดมุตะยัซซียฺ (ผู้เชี่ยวชาญไม่ครบสมบูรณ์)

สองปัญหาสำคัญ

๑. การอิจญฺติฮาด เป็นวาญิบกิฟายะฮฺ หมายถึง ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งกระทำแล้ว หน้าที่นี้จะหมดไปจากคนอื่นโดยปริยาย

๒. บุคคลที่ไม่มีสิทธิออกฟัตวา (คำวินิจฉัยปัญหาศาสนา) หากเขาได้ออกฟัตวา ถือว่าฮะรอม



การตักลีด

การตักลีด ในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การปฏิบัติศาสนกิจตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยของตน

๑. มุกัลลัฟทุกคน ถ้าไม่ได้อยู่ในระดับของการอิจญฺติฮาด และไม่รู้แนวการอิฮฺติยาฏ ดังนั้น เกี่ยวกับบทบัญญัติ วาญิบต้องตักลีด (ปฏิบัติ) ตามมุจญฺตะฮิด

๒. การตักลีดในบทบัญญัติ มิได้เฉพาะเจาะจงแค่ปัญหาวาญิบหรือฮะรอมเท่านั้น ทว่าครอบคลุมไปถึงปัญหาที่เป็นมุซตะฮับ มักรูฮฺ และมุบาฮฺด้วย

๓. มุจญฺตะฮิด ที่มีผู้อื่นปฏิบัติตาม เรียกว่า มัรญิอฺตักลีด

๔. ผู้ที่เป็นมัรญิอฺตักลีดต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

มีความยุติธรรม

มีสติสัมปะชัญญะที่สมบูรณ์

- ต้องเป็นมุจญฺตะฮิด

- ต้องมีชีวิต

- ต้องเป็นชาย

- ต้องบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

- บิดามารแต่งงานถูกต้องตามหลักการของศาสนา

- ต้องเป็นมุสลิมนิกายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ

- อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องเป็นผู้มีความรู้สูงสุดสมัยของตนและต้องไม่หลงโลก *

*อายะตุลลอฮฺอะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏวาญิบต้องสามารถควบคลุมอำนาจใฝ่ต่ำ และการละเมิดของตนได้ กรณีที่ฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดขัดแย้งกับหลักการอิฮฺติยาฏวาญิบ แต่ฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่มิได้มีความรู้สูงสุดสอดคล้องกับหลักอิฮฺติยาฏ ในกรณีเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจณฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด

๕. อาดิล หมายถึงบุคคลที่พลังยุติธรรมในตัว ความยุติธรรม คือ พลังจิตที่ส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีตักวา (ยำเกรง) ต่อพระผู้เป็นเจ้า ระวังความประพฤติของตน ปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนาบัญญัติด้วยความเคร่งครัด และไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อาดิล หมายถึงผู้หลีกเลี่ยงตนถึงขั้นที่ว่าไม่กระทำบาปด้วยความตั้งใจ (อิซติฟตาอาต หน้า ๑ คำถามที่ ๒)

๖. อะอฺลัม หมายถึง ผู้มีความรู้ขั้นสูงสุดหมายถึงผู้ที่รอบรู้ที่สุดในเรื่องกฏเกณฑ์และแหล่งข้อมูล รู้ข้อมูลของปัญหาและรายงานดีกว่าคนอื่น ตลอดจนเข้าใจฮะดีซ (รายงาน) ดีกว่าคนอื่น สรุป อะอฺลัมหมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาศาสนาได้ดีกว่าบุคคลอื่น *

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ผู้มีความรู้สูงสุด (อะอฺลัม) หมายถึงบุคคลที่รู้จักบัญญัติของพระเจ้า และวินิจฉัยหน้าที่ ๆ มีต่อพระเจ้าจากหลักฐานด้วยเหตุผลที่ดีกว่ามุจญฺตะฮิดท่านอื่น สามารถนำเอาสถานการณ์ปัจจุบันเข้ามามีส่วนร่วมในการวินิจฉัย ถึงขั้นที่ว่าสามารถแบ่งประเด็นปัญหาของบทบัญญัติ และออกทัศนะในการอธิบายหน้าที่เกี่ยวกับบทบัญญัติได้อย่างชัดเจน ในอีกความหมายหนึ่ง คือ มีความรู้ครอบคลุมทั้งทางโลกและทางธรรม

๗. ไม่อนุญาตให้เริ่มตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมแล้ว* *(อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฎวาญิบ ไม่อนุญาต) หมายถึงผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วัยบาลิฆ หรือจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยตักลีดมาก่อน ไม่สามารถตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้วได้ ทว่าต้องเริ่มตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตอยู่

แต่ถ้าสำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติตามคำวินิจฉัย (ฟัตวา) บางส่วนของมุจญฺตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้วมาก่อนหน้านี้ สามารถคงสภาพการตักลีดต่อไปได้ แม้ว่าบางปัญหาในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่จะไม่เคยปฏิบัติก็ตาม ก็ยังสามารถตักลีดต่อไปได้ อย่างไรก็ตามการคงสภาพการตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ต้องได้รับอนุญาตจากมุจญฺตะฮิดที่ยังมีชีวิตอยู่ หมายถึง ถ้ามุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตอนุญาต จึงจะสามารถคงสภาพการตักลีดกับผู้ตายได้

 

๘. สำหรับบุคคลที่คงสภาพการตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ในปัญหาที่ท่านไม่ได้ฟัตวาไว้ ปัญหานั้นต้องตักลีดตามมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตอยู่

๙. เป็นหน้าที่สำหรับมุกัลลัฟ ต้องค้นหาเพื่อรู้จักมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยตน 

๑๐. หน้าที่ของบุคคลทั่วไป (ที่มิใช่มุจญฺตะฮิด) ช่วงที่ค้นหามุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดนั้น

- ช่วงเวลาที่สืบหามุจญฺตะฮิดต้องปฏิบัตหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏ

- หลังจากรู้จักมุจญฺตะฮิดแล้ว ในช่วงที่สืบหาผู้ที่มีความรู้สูงสุด ต้องปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่ใกล้เคียงกับหลักอิฮฺติยาฏมากที่สุด เช่น มีมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้ใกล้เคียงกันสองสามคน และหนึ่งในนั้นต้องเป็นผู้มีความรู้สูงสุดแน่นอน ดังนั้น ให้เลือกปฏิบัติตามฟัตวาที่ใกล้เคียงหลักอิฮฺติยาฏมากที่สุด

๑๑. หน้าที่ของผู้ปฏิบัติตาม กรณีที่มีมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด ๒ คน และไม่สามารถจำแนกได้ว่าผู้ใดมีความรู้มากกว่าให้ปฏิบัติดังนี้

- ปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏ หรือคำกล่าวที่ใกล้เคียงการอิฮฺติยาฏ หรือกล่าวว่า อิฮฺติยาฏวาญิบต้องเป็นเช่นนี้

- ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏได้ ให้เลือกปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคนหนึ่งคนใดก็ได้

๑๒. ถ้าหากมุจญฺตะฮิด ๒ ท่าน ซึ่งมีความรู้เท่าเทียมกัน ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามสามารถเลือกปฏิบัติตามท่านใดท่านหนึ่งได้ หรือสามารถปฏิบัติตามบางเรื่องกับท่านหนึ่ง และในเรื่องอื่นสามารถปฏิบัติตามอีกท่านหนึ่งได้

๑๓. ถ้าหากมีมุจญฺตะฮิด ๒ ท่าน ท่านหนึ่งเชี่ยวชาญบทบัญญัติด้านการปฏิบัติ (อิบาดาต) ส่วนอีกท่านหนึ่งเชี่ยวชาญด้านการค้าขาย อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ปฏิบัติตามผู้มีความรู้สูงสุดในแต่ละส่วน *

อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี เฉพาะในกรณีที่มีความเห็นแตกต่างกัน (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๑๐ คำถามที่ ๗)

หรือแม้แต่ในเรื่องการค้าขาย ถ้ามุจญฺตะฮิดท่านหนึ่งมีความรู้มากกว่าในบางเรื่อง และอีกท่านหนึ่งก็มีความรู้มากกว่าในบางเรื่องเช่นกัน อิฮฺติยาฏวาญิบ ในเรื่องนั้นให้ตักลีดกับผู้ที่มีความรู้สูงสุด

๑๔. ทุกคนมีอิสระในการตักลีด ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกัน ดังนั้น ในเรื่องตักลีดภรรยาไม่จำเป็นต้องกระทำตามสามี ผู้ใดเชื่อมั่นว่ามุจญฺตะฮิดคนใดมีความรู้สูงกว่า สามารถปฏิบัติตามได้ แม้ว่าจะเป็นคนละคนกันก็ตาม 


วิธีพิสูจน์มุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด 


มุจญฺตะฮิด ที่มีความรู้สูงสุด สามารถพิสูจน์ได้ ดังนี้

๑.  การรู้จักด้วยตัวเอง กรณีที่บุคคลนั้นเป็นผู้รู้ และสามารถแยกแยะระหว่างมุจญฺตะฮิดและผู้รู้ได้

๒. ด้วยการยืนยันของผู้รู้ที่อาดิล ๒ ท่าน ซึ่งสามารถแบ่งแยกแยะระหว่างการวินิจฉัยกับความรู้สูงสุดได้ โดยมีข้อแม้ว่าผู้รู้ที่อาดิล ๒ คน อื่นต้องไม่มีความเห็นที่ต่างไป

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี เพียงแค่มั่นใจว่าบุคคลนั้นมีความรู้สูงสุด ถือว่าเพียงพอแล้ว (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๑๑)

๓. การมีชื่อเสียงอันเป็นประโยชน์ต่อความรู้ หมายถึง เป็นที่รู้กันในผู้รู้ถึงเรื่องการค้นคว้าและความรู้ของเขา


แนวทางการรู้จักฟัตวา (คำวินิจฉัย) ของมุจญฺตะฮิด

๑. ได้ยินฟัตวาจากมุจญฺตะฮิด

๒.ได้ยินจากผู้มีความอาดิล ๑ หรือ ๒ คน

๓. ได้ยินจากผู้ที่เชื่อถือได้ในคำพูดของเขา ๑ คน

๔. เห็นฟัตวาในหนังสือริซาละฮฺของมุจญฺตะฮิด

การเปลี่ยนตักลีด  (อุดูล) จากมุจญฺตะฮิดคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง

๑. อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดที่มิได้เป็นอะอฺลัม (ผู้ที่มีความรู้สูงสุด) ไปยังมุจญฺตะฮิดที่อะอฺลัม

๒. ไม่อนุญาต ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดที่อะอฺลัม ไปยังมุจญฺตะฮิดที่ไม่อะอฺลัม

๓.ไม่อนุญาต ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่ง ซึ่งมีความรู้เท่าเทียมกัน* และไม่อนุญาต กรณีที่เคยปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดท่านนั้นมาก่อนแล้ว

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฎวาญิบ ตราบที่มุจญฺตะฮิดที่ตนตักลีดยังมีชีวิตอยู่ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนตักลีดไปยังท่านอื่น เว้นเสียแต่ว่าขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดไป (อิซติฟตาอาต หน้า ๑ คำถามที่ ๑ / ๔๗)

๔. วาญิบ ต้องเปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดที่ขาดคุณสมบัติการเป็นมัรญิอฺ เช่น เสียสติ หรือความจำเสื่อมไปสู่มัรญิอฺที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์

๕. อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องเปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิด จนถึงขณะนั้นเป็นผู้มีความรู้สูงสุด ไปสู่มุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงกว่าในปัจจุบัน

๖. อนุญาต ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดที่ตักลีดอยู่ แต่ขณะนั้นถึงแก่กรรมแล้ว ไปยังมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิต ทว่าเป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ*