หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22609
ดาวน์โหลด: 5801

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22609 / ดาวน์โหลด: 5801
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

๓. ถ้าเอาอวัยวะบางส่วนทำวุฎูอฺแบบอิรติมาซียฺ และบางส่วนวุฎูอฺแบบตัรตีบี ไม่เป็นไร

จำเป็นต้องใส่ใจต่อขั้นตอนของวุฎูอฺอิรติมาซียฺ หมายถึง ไม่สามารถนำใบหน้าและแขนทั้งสองจุ่มลงน้ำพร้อมกันได้ ทว่าอันดับแรกให้เอาใบหน้าจุ่มลงน้ำก่อน หลังจากนั้นแขนขวาและแขนซ้ายตามลำดับ



เงื่อนไขของวุฎอฺ

เงื่อนไขที่จะกล่าวต่อไปนี้ ถือว่าวุฎูอฺถูกต้อง ฉะนั้น ถ้าเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดขาดหายไป วุฏูอฺบาฏิล

๑. เงื่อนไขของน้ำและภาชนะใส่น้ำวุฎูอฺ

- น้ำต้องสะอาด (ไม่เป็นนะญิซ)

- น้ำต้องได้รับอนุญาต (ไม่ใช่น้ำขโมยมา)

- น้ำต้องบริสุทธิ์ (ไม่ใช่น้ำผสม)

- ภาชนะใส่น้ำต้องได้รับอนุญาต

-ภาชนะใส่น้ำต้องไม่ใช่เงินหรือทองคำ

๒. เงื่อนไขของอวัยวะวุฎูอฺ

- ต้องสะอาด

- ต้องไม่มีอุปสรรคกีดขวางน้ำ

๓. เงื่อนไขการทำวุฏูอฺ

- ต้องทำตามขั้นตอนตามลำดับดังที่กล่าวไปแล้ว

- ต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทิ้งระยะให้ห่างจนเกินไประหว่างวุฎูอฺ

- ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง (โดยไม่พึ่งคนอื่น)

๔. เงื่อนไขผู้วุฏูอฺ

-  การใช้น้ำไม่เป็นอุปสรรคหรือสร้างปัญหาแก่เขา

- ต้องเนียตเพื่อแสวงหาความใกล้ชิด (กุรบัต) ไม่ใช่เพื่อโอ้อวด

 เงื่อนไขของน้ำและภาชนะที่ใช้วุฏูอฺ

๑. การวุฏูอฺด้วยน้ำนะญิซหรือน้ำผสม วุฎูอฺบาฏิล (โมฆะ) ถึงแม้จะรู้ว่าน้ำนะญิซหรือน้ำผสมหรือไม่รู้หรือหลงลืมก็ตาม

๒.น้ำที่ใช้วุฎูอฺต้องได้รับอนุญาต ดังนั้น ประเด็นต่อไปนี้ วุฏูอฺ บาฏิล

- วุฏูอฺด้วยน้ำที่เจ้าของไม่อนุญาต (ซึ่งการไม่อนุญาตเป็นที่รู้กัน)

- วุฏูอฺด้วยน้ำที่ไม่แน่ใจว่าเจ้าของอนุญาตหรือไม่

- วุฏูอฺด้วยน้ำที่ถูกวะกัฟ (อุทิศ) ให้คนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สระน้ำภายในโรงเรียน หรือสถานที่ทำวุฏูอฺเฉพาะของโรงแรม หรือสถานที่อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

๓. วุฏูอฺด้วยน้ำจากแม่น้ำที่ไม่แน่ใจว่าเจ้าของอนุญาตหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่ถ้าเจ้าของขัดขวางไม่ให้วุฏูอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ไม่ให้วุฏอฺ 

๔. ถ้าน้ำที่ใช้วุฎูอฺอยู่ในภาชนะที่ขโมยมา และได้วุฎูอฺด้วยน้ำนั้น วุฏูอฺบาฏิล



เงื่อนไขของอวัยวะวุฏูอฺ

๑. อวัยวะวุฏูอฺ ขณะล้างหรือเช็ดต้องสะอาด

๒. ถ้ามีสิ่งกีดขวางบนอวัยวะที่ต้องล้าง หรือเช็ดขณะวุฏูอฺ ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางน้ำไม่ให้ไปโดนผิวหนัง หรืออยู่บนอวัยวะที่ต้องเช็ด แม้ว่าไม่ได้กีดขวางน้ำเวลาเช็ดก็ตาม เวลาวุฏูอฺต้องขจัดออก

๓. ลายเส้นปากกา ดินสอ สี จาระบี หรือครีม ถ้าสีไม่มีน้ำมันผสมถือว่าไม่เป็นอุปสรรคสำหรับวุฏูอฺ แต่ถ้ามีน้ำมันผสมอยู่ (เมื่อเวลาใช้จะติดที่ผิวหนัง) ดังนั้น ต้องขจัดออก



เงื่อนไขและวิธีทำวุฏูอฺ

๑. ต้องทำเป็นขั้นตอน หมายถึง วุฏูอฺต้องทำไปตามลำดับต่อไปนี้

- ล้างหน้า

- ล้างแขนขวา

- ล้างแขนซ้าย

- เช็ดศีรษะ

- เช็ดหลังเท้าขวา

- เช็ดหลังเท้าซ้าย

ถ้าไม่วุฏูอฺไปตามขั้นตอนหรือทำสลับกัน วุฏูอฺบาฏิล

๒. มุวาลาต

๑. มุวาลาต หมายถึง การทำอย่างต่อเนื่อง โดยต้องไม่ทิ้งระยะให้ห่างจนเกินไประหว่างการทำวุฏูอฺ

๒. ขณะวุฏูอฺ ถ้าทิ้งระยะเวลาให้ห่างออกไปหมายถึงก่อนที่จะทำขั้นตอนต่อไป อวัยวะส่วนที่ล้างหรือเช็ดแล้วก่อนหน้านี้แห้งลง วุฏูอฺบาฏิล

๓. ต้องไม่พึ่งคนอื่น

๑. ผู้ที่สามารถวุฏูอฺได้ด้วยตัวเองต้องไม่พึ่งผู้อื่น ฉะนั้น ถ้ามีคนอื่นล้างหน้าหรือล้างมือ หรือเช็ดศีรษะและเท้าให้เขา วุฏูอฺบาฎิล    

๒. ถ้าไม่สามารถวุฏูอฺได้ด้วยตนเอง ต้องหาตัวแทนวุฏูอฺให้เขา ถ้าเขาเรียกค่าจ้างและสามารถจ่ายได้ต้องจ่ายให้เขาแต่ตนต้องเนียตวุฏูอฺเอง



เงื่อนไขของผู้ทำวุฏูอฺ

๑. ผู้ทำวุฏูอฺรู้ว่า ถ้าเขาทำวุฎูอฺจะไม่สบายหรือกลัวว่าจะไม่สบายต้องตะยัมมุมแทน ถ้าทำวุฏูอฺถือว่าบาฏิล แต่ถ้าไม่รู้ว่าน้ำเป็นอันตรายต่อตัวเอง และได้วุฏูอฺ หลังจากนั้นรู้ว่าน้ำเป็นอันตราย วุฏูอฺถูกต้อง

๒. วุฏูอฺต้องเนียตเพื่อแสวงหาความใกล้ชิด (กุรบัต) หมายถึง เพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกจึงได้วุฏูอฺ

๓. การตั้งเจตนา (เนียต) ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด หรือตั้งมั่นอยู่ในใจตลอดเวลา เพียงแค่รู้ว่ากำลังวุฎูอฺเท่านั้นก็พอ หมายถึงถ้ามีใครถามว่ากำลังทำอะไร สามารถตอบได้ทันทีว่า กำลังทำวุฏูอฺ



ประเด็นสำคัญ

กรณีที่เวลานมาซเหลือน้อยมาก ถ้าเขาทำวุฎูอฺจะทำให้นมาซทั้งหมดหรือบางส่วนต้องออกนอกเวลา ดังนั้น ต้องตะยัมมุมแทน



วุฎูอฺญะบีเราะฮฺ (วุฎูอฺเมื่อมีบาดแผล)

 ญะบีเราะฮฺ หมายถึงยาใส่แผล หรือสิ่งที่ใช้พันแผล

๑. ถ้าอวัยวะวุฎูอฺเป็นแผลหรือหัก ถ้าสามารถวุฎูอฺได้เหมือนปกติธรรมดา ให้วุฎูอฺเช่นนั้น เช่น

- บาดแผลเปิดและน้ำไม่เป็นอันตรายต่อแผล

- แผลปิด แต่สามารถเปิดได้และน้ำไม่เป็นอันตรายต่อแผล

 ๒.หากเป็นแผลที่ใบหน้าหรือแขน ซึ่งไม่ได้ปิดบาดแผลแต่ถ้าราดน้ำลงไปจะเป็นอันตราย ดังนั้น ให้ล้างบริเวณรอบ ๆ บาดแผลก็พอ*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏ ถ้าหากเอามือเปียกลูบลงไปแล้วไม่เป็นอันตราย ต้องลูบ 

๓. ถ้าบริเวณหลังเท้าหรือศีรษะเป็นแผลหรือแตก (บริเวณที่เช็ด) แต่ไม่ได้ปิดบาดแผล ถ้าไม่สามารถเช็ดลงบนนั้นได้ ให้หาผ้าที่สะอาดปิดบาดแผลและเอามือที่เปียกน้ำวุฎูอฺเช็ดลงไป*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี บริเวณบาดแผล ที่ไม่สามารถเอามือเปียกเช็ดลงไปได้ ต้องทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ แต่ถ้าสามารถเอาผ้าที่สะอาดปิดบนแผลแล้วเอามือที่เปียกเช็ดลงบนนั้นได้ อิฮฺติยาฎ นอกจากทำตะยัมมุมแล้ว ต้องทำวุฎูอฺในลักษณะดังกล่าวด้วย



วิธีการทำวุฎูอฺที่มีบาดแผล

การทำวุฎูอฺที่มีบาดแผล บริเวณที่ต้องล้างหรือเช็ดถ้าเป็นไปได้ให้ทำตามปกติ แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ให้เอามือที่เปียกลูบไปบนบาดแผล

สองสามประเด็นสำคัญ

๑. ถ้าผ้าพันแผลใหญ่กว่าปกติและครอบคลุมบริเวณรอบ ๆ บาดแผล ซึ่งไม่สามารถเปิดออกได้ ต้องทำวุฎูอฺแบบมีบาดแผล และอิฮฺติยาฏวาญิบให้ทำตะยัมมุมด้วย

๒.บุคคลที่ไม่รู้หน้าที่ของตนว่าต้องทำตะยัมมุม หรือต้องวุฏูอฺแบบมีบาดแผล อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ทำทั้งสองอย่าง

๓. ถ้าใบหน้าหรือแขนข้างใดข้างหนึ่งมีบาดแผลทั่วไปหมด ให้วุฎูอฺแบบมีบาดแผ ถือว่าเพียงพอ

๔. บุคคลที่มีบาดแผลที่ฝ่ามือหรือนิ้วขณะวุฎูอฺให้เอามือที่เปียกลูบลงไปบนบาดแผล   และสามารถใช้มือที่เปียกนั้นเช็ดศีรษะและหลังเท้าได้ หรือลูบน้ำจากบริเวณนั้นมาเช็ด

๕. ถ้าบนใบหน้าหรือแขนมีบาดแผลอยู่สองสามที่ เวลาวุฎูอฺต้องล้างบริเวณระหว่างบาดแผลด้วย หรือมีบาดแผลบนศีรษะหรือหลังเท้า ต้องเช็ดบริเวณระหว่างบาดแผล ส่วนบริเวณแผลให้ทำตามเงื่อนที่กล่าวมาแล้ว



เงื่อนไข  ๒ ประการเกี่ยวกับผ้าพันแผลกล่าวคือ 

ประการแรก ต้องมีความสะอาด กล่าวคือถ้าเฝือกหรือผ้าพันแผลเปื้อนนะญิซและไม่อาจเปลี่ยนเฝือกหรือผ้าพันแผลใหม่ได้ ไม่เป็นวาญิบต้องวุฏูอฺ แต่เป็นวาญิบให้ตะยัมมุมแทน หรือบางครั้งต้องตะยัมมุมควบคู่กับการวุฏูอฺแบบมีบาดแผล

ประการที่สอง เฝือกหรือผ้าพันแผลต้องได้รับอนุญาต กล่าวคือ ไม่อนุญาตให้ใช้มือที่เปียกลูบบนเฝือกหรือผ้าพันแผล ถ้าเป็นของที่ไม่ได้รับอนุญาต   ดังนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนเฝือกหรือผ้าพันแผลใหม่หรือต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของเสียก่อน

  

 

ความสงสัยเกี่ยวกับวุฎูอฺ

๑. ถ้าสงสัยว่าวุฎูอฺแล้วหรือยัง ให้วุฎูอฺใหม่

๒.ระหว่างนมาซถ้าสงสัยว่าวุฎูอฺหรือไม่ นมาซบาฏิล ต้องวุฎูอฺและเริ่มนะมาซใหม่ตั้งแต่ต้น

๓. หลังจากนะมาซเสร็จเรียบร้อยแล้ว สงสัยว่ามีวุฎูอฺหรือไม่ นะมาซที่ทำแล้วถูกต้อง ส่วนนะมาซที่จะทำต่อไปต้องวุฎูอฺใหม่

๔. มั่นใจว่าวุฎูอฺแล้ว แต่สงสัยว่าวุฎูอฺบาฏิลแล้วหรือยัง (เช่นไม่รู้ว่าได้ผายลมหรือปัสสาวะออกมาหรือไม่) ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับความสงสัย ถือว่าวุฎูอฺถูกต้อง

๕. รู้ว่าวุฎูอฺแล้วและรู้ว่าได้ผายลมหรือปัสสาวะแล้วด้วยเช่นกัน แต่ไม่รู้ว่าทำสิ่งใดก่อน ฉะนั้น ถ้าไม่รู้สถานภาพก่อนวุฏูอฺและผายลมว่าเป็นอย่างไร ต้องวุฎูอฺใหม่ แม้จะรู้ว่าได้วุฎูอฺเมื่อไหร่ แต่ไม่รู้ว่าผายลมก่อนหรือหลังวุฎูอฺ แต่ถ้ารู้สภาพก่อนวุฎูอฺและผายลมว่าเป็นอย่างไร ให้ปฏิบัติตรงกันข้าม

๖. ระหว่างวุฎูอฺสงสัยว่าอวัยวะก่อนหน้านี้ทำแล้วหรือยัง สิ่งใดที่สงสัยต้องย้อนกลับไปทำใหม่ เช่น ระหว่างที่เช็ดเท้าสงสัยว่าเช็ดศีรษะแล้วหรือยัง

๗. หลังจากวุฎูอฺเสร็จแล้ว สงสัยว่าได้ทำรายละเอียดปลีกย่อยหรือวุฎูอฺถูกต้องไหม ไม่จำเป็นต้องใส่ใจในความสงสัย ถือว่าวุฎูอฺถูกต้อง เช่น หลังจากวุฏูอฺสงสัยว่าได้ล้างแขนขวาหรือไม่

๘. หลังจากวุฎูอฺ สงสัยว่ามีสิ่งกีดขวางน้ำบนอวัยวะที่ต้องวุฎูอฺหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องสนใจ วุฎูอฺถูกต้อง

๙.รู้ว่ามีสิ่งหนึ่งติดอยู่บนอวัยวะส่วนที่ต้องวุฎูอฺ แต่สงสัยว่าสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคขวางน้ำหรือไม่ จำเป็นต้องขจัดออก หรือล้างให้ถึงข้างใต้ของสิ่งนั้น

๑๐. ก่อนวุฎูอฺรู้ว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่บนอวัยวะที่ต้องวุฎูอฺ แต่หลังจากวุฎูอฺสงสัยว่าล้างไปถึงบริเวณนั้นหรือไม่

- รู้ว่าขณะวุฏูอฺได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวางนั้น วุฎูอฺถูกต้อง

-ไม่รู้ว่าขณะทำวุฎูอฺ ได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวางหรือไม่ วุฎูอฺถูกต้อง

- รู้ว่าขณะทำวุฎูอฺ ไม่ได้ใส่ใจต่อสิ่งกีดขวาง ต้องวุฎูอฺใหม่

๑๑. ถ้ามีสิ่งกีดขวางน้ำบนอวัยวะวุฎูอฺ บางครั้งน้ำจะไปถึงบริเวณดังกล่าวเอง และบางไปไม่ถึง หลังวุฎูอฺสงสัยว่า น้ำไปถึงบริเวณนั้นหรือไม่ อยู่ในกฎเดียวกันกับข้อที่ผ่านมา

๑๒. หลังจากวุฎูอฺได้เห็นสิ่งกีดขวางน้ำอยู่บนอวัยวะวุฎูอฺ แต่ไม่รู้ว่ามีอยู่ขณะวุฎูอฺหรือหลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฎูอฺถูกต้อง แต่ถ้ารู้ว่าขณะที่วุฎูอฺไม่ได้ใส่ใจต่อสิ่งนั้น อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องวุฎูอฺใหม่

 

๑๓.บุคคลที่สงสัยอย่างมากเกี่ยวกับการกระทำและเงื่อนไขของวุฎูอฺ เช่น สงสัยว่าความสะอาดของน้ำ มีสิ่งกีดขวางน้ำบนอวัยวะหรือไม่ ต้องไม่ใส่ใจในความสงสัยนั้น

ภารกิจจำเป็นต้องมีวุฏูอฺ                                                                                                            

๑. เพื่อนมาซต่าง ๆ ยกเว้น นมาซมัยยิต (คนตาย)

๒. เพื่อการเฏาะวาฟวาญิบรอบกะอฺบะฮฺ (การเวียนรอบบัยตุลลอฮฺ)                                             

๓. เพื่อสัมผัส อักษรอัล-กุรอาน และพระนามอัลลอฮฺ (ซบ.)               


สองสามประเด็นสำคัญ

๑. ถ้านมาซและเฏาะวาฟวาญิบโดยปราศจากวุฎูอฺ บาฏิล

๒. ผู้ที่ไม่มีวุฎูอฺ ต้องไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสกับข้อเขียนต่อไปนี้

-  อักษรอัล-กุรอาน ยกเว้นคำแปลไม่เป็นไร

- พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาใดก็ตาม เช่น อัลลอฮฺ โคดา ALLAH หรือالله  

- อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของท่านนะบี (ซ็อล ฯ)

- อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

- อิฮฺติยาฏวาญิบ นามของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) 

๓. ฮะรอมในการสัมผัสอักษรอัล-กุรอาน พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) และอื่น ๆ (โดยปราศจากวุฎูอฺ) ไม่มีความแตกต่างกันในประเด็น เช่น

- สัมผัสด้วยมือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (ยกเว้นผม)

- สัมผัสตั้งแต่ต้นหรือต่อเนื่อง หมายถึงถ้ามือได้สัมผัสอยู่กับอักษร

อัล-กุรอาน และนึกได้แต่ไม่ได้เอามือออก ฮะรอม

- เอามือลูบบนอักษร เหมือนกับการลบออก เช่น ลูบด้วยมือเปียกชื้น

- ลายอักษรธรรมดาเป็นที่รู้กันหรือไม่ก็ตาม เช่น อักษรแบบกูฟียฺ

- เขียนด้วยปากกา หรือพิมพ์ หรือเขียนด้วยชอล์ก และอื่น ๆ

- เขียนหรือสลักไว้บนกำแพงหรือหิน เช่น บนหินอ่อนของหลุมศพ

- เป็นคำที่อ่านได้หรือไม่ได้ก็ตาม เช่น อลีฟ ที่เขียนไว้ในคำว่า กอลู (قَالُوْا )

- อัล-กุรอานถูกเขียนไว้ในอัล-กุรอาน หรือที่อื่น เช่น คำ หรือโองการอัล-กุรอาน เขียนไว้ในหนังสืออื่น หรือเขียนไว้เพียงครึ่งคำ

- สิ่งที่ใช้เขียนอัล-กุรอานไม่แตกต่างกันระหว่างบนกระดาษ ไม้ หิน เสื้อผ้า หรือบนกำแพง

- อักษรภาษาอาหรับหรือภาษาอื่นเช่น ALLAH หรือ MOHAMMAD แต่คำแปลไม่เป็นไร

- คำของอัล-กุรอาน ที่บ่งบอกความดีงาม เช่น มุอฺมิน หรือ ซับรฺ หรือคำที่ไม่ดี เช่น อิบลิซ ชัยฎอนกาฟิร และมุนาฟิกเป็นต้น

๔. การสัมผัส อัล-กุรอานต่อไปนี้ไม่เป็นฮะรอม

-  สัมผัสลายเส้น อัล-กุรอานด้วยผม (แม้ว่าอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้ละเว้น)

- สัมผัสการเขียนที่มองไม่ออกว่าเป็นลายเส้น เช่น วิธีการเขียนด้วยน้ำหัวหอมซึ่งจะอ่านได้ต่อเมื่อต้องนำไปแช่น้ำ หรือรนกับความร้อน (สัมผัสก่อนที่จะนำไปรบกับความร้อน)

- สัมผัสผ่านกระจก หรือพลาสติก ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้โดนตัวอักษร

- สัมผัสช่องว่างระหว่าคำ หรือตัวอักษร

- สัมผัสกระดาษ คำอธิบาย ช่องว่างระหว่างบรรทัด หรือปก อัล-กุรอาน (แม้ว่าจะมักรูฮฺ)

- สัมผัสคำแปล อัล-กุรอานทุกภาษา ยกเว้นพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาใดก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่มีวุฎูอฺฮะรอม เช่น เขียนว่า อัลลอฮฺ โคดา หรือ God 

๕. คำที่ใช้ร่วมกันระหว่างอัล-กุรอานกับภาษาอื่น ถ้าผู้เขียนมีเจตนาเขียน อัล-กุรอาน ไม่อนุญาตให้สัมผัส แต่ถ้าไม่ได้มีเจตนาเขียนอัล-กุรอาน อนุญาตให้สัมผัส

๖. การสัมผัสสัญลักษณ์ของรัฐอิสลามแห่งอิหร่านถ้าไม่มีวุฎูอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบไม่อนุญาต

๗. สร้อยคอ หรือแหวนที่สลักพระนามอัลลอฮฺ (ซบ.)ถ้าสัมผัสโดยปราศจากวุฎูอฺ ฮะรอม

๘. ภารกิจต่อไปนี้ มุซตะฮับ ให้วุฎูอฺ

- เข้าไปในมัสยิดและฮะรัม (สถานที่ฝังศพ) ของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

- อัญเชิญ อัล-กุรอาน

- พกพา อัล-กุรอาน ติดตัว

- สัมผัสปก หรือคำอธิบายอัล-กุรอาน

- เข้าไปซิยาเราะฮฺ (เยี่ยม) สุสานคนตาย (กุบูร)   *

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี มุซฮับให้มีวุฎูอฺตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเข้าไปในมัสญิด อ่านอัล-กุรอาน ก่อนนอนและเวลาอื่น ๆ

วุฏูอฺบาฎิล (เสีย) ได้อย่างไร

สาเหตุที่ทำให้วุฎูอฺบาฏิลมี ๗ ประการดังต่อไปนี้

๑. ได้ปัสสาวะ อุจจาระ หรือผายลมออกมา

๒. นอนหลับสนิทหูไม่ได้ยิน และตามองไม่เห็น

๓.สิ่งที่ทำลายสติปัญญา เช่น สลบหมดสติ เป็นลม เป็นบ้า เมา และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

๔.ระดูเกินกำหนด (อิสติฮาเฏาะฮฺ)

๕.สาเหตุที่ทำให้ฆุซลฺ เช่น อสุจิเคลื่อนออกมา หรือสัมผัสศพ



สิ่งที่เป็นมุซตะฮับสำหรับวุฏูอฺ

๑. ต้องใช้น้ำไม่เกิน ๑ มุด ( ๑ มุดเท่ากับ ๗๕๐ กรัม)

๒. แปรงฟันก่อนการวุฏูอฺ ถึงแม้ว่าจะแปรงด้วยนิ้วมือก็ตาม

๓. ถ้าวุฎูอฺด้วยน้ำจากภาชนะ ควรตั้งภาชนะไว้ทางด้านขวามือ

๔. ล้างมือทั้งสองก่อนวุฏูอฺ

๕. บ้วนปาก ก่อนการวุฏูอฺ

๖. เอาน้ำล้างช่องจมูกก่อนวุฎูอฺ

๗. กล่าว บิสมิลลาฮฺ ขณะที่เอื้อมมือไปยังน้ำ หรือราดน้ำใส่มือ แต่เป็นการดีกว่าให้ กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ วะบิลลาฮฺ อัลลอฮุมมัจญฺอัลนี มินัตเตาวาบีน วัจญฺอัลนีมินัลมุเฏาะฮิรีน (ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ และด้วยอัลลอฮฺ โอ้ ข้าฯแต่พระองค์ โปรดทำให้ข้าฯเป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่กลับใจ และโปรดทำให้ข้าฯ เป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีความสะอาด)

๘.ให้เทน้ำใส่มือขวาแม้ว่าจะเป็นการล้างมือขวาก็ตาม หมายถึงตอนแรกให้เทน้ำใส่มือขวาก่อน หลังจากนั้นให้เทจากมือขวาใส่มือซ้าย แล้วจึงเทจากมือซ้ายราดแขนขวา

๙. อ่านดุอาอฺต่าง ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ขณะทำวุฏูอฺ

๑๐. ถ้าเป็นผู้ชายขณะที่จะล้างแขนให้ราดน้ำด้านนอกข้อศอก ส่วนผู้หญิงให้ราดด้านในข้อศอก (ข้อพับแขน)

๑๑. ขณะล้างให้ราดน้ำจากด้านบนของอวัยวะ

๑๒. ให้เอาน้ำราดบนอวัยวะ ไม่ใช่นำเอาอวัยวะจุ่มในน้ำ

๑๓. ขณะล้างให้เอามือลูบบนอวัยวะ แม้ว่าไม่เอามือลูบก็สามารถล้างได้

๑๔.ทุกขั้นตอนของวุฏูอฺจิตใจต้องมีสมาธิตั้งมั่นตลอดเวลา

๑๕. ขณะวุฏูอฺให้อ่าน ซูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ (อินนาอันซัลนาฮุ)

๑๖. หลังจากการวุฏูอฺเสร็จ ให้อ่าน อายะตุลกุรซียฺ

๑๗. ขณะล้างหน้าให้ลืมตาทั้งสองข้าง



สิ่งที่เป็นมักรูฮฺสำหรับวุฏูอฺ

๑. ขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นในการจัดเตรียมปฐมบทของวุฎูอฺ 

๒.วุฏูอฺในสถานที่ขับถ่าย เช่น ในห้องน้ำ

๓. วุฏูอฺกับภาชนะที่เครือบทองคำหรือเงิน หรือมีลวดลายเป็นรูปภาพ

๔.วุฏูอฺ ด้วยน้ำดังต่อไปนี้

- น้ำร้อนเพราะความร้อนของแสงแดด

- น้ำที่ใช้ฆุซลฺวาญิบแล้ว

- น้ำที่มีกลิ่นเหม็น

- น้ำบ่อที่มีสัตว์ตกลงไปตาย และก่อนที่จะตักน้ำออกตามที่ได้กำหนดไว้

- น้ำที่มีงู แมลงป่อง และกบตกลงไปตาย

- น้ำที่เหลือจากการดื่มของหญิงที่มีรอบเดือน

- น้ำที่เหลือจากการกินของสัตว์บางชนิด เช่นหนู ม้า ลา ฬ่อ และสัตว์ที่กินนะญิซ หรือซากศพเป็นอาหาร ทว่าสัตว์ที่เนื้อฮะรอมทุกประเภท



ปัญหาปลีกย่อย

๑. ทำวุฏูอฺในห้องส้วมที่ท่อน้ำทิ้งได้ต่อติดกับส้วม ไม่เป็นไร

๒.ขณะที่วุฎูอฺมองผู้หญิง (หรือหญิงมองชาย) หรือพูดโกหก นินทา แม้ว่าเป็นการทำบาป แต่วุฎูอฺถูกต้อง

๓. บุคคลที่ตั้งใจวุฎูอฺเพื่อ อ่านอัล-กุรอาน แต่หลังจากวุฎูอฺเสร็จได้เปลี่ยนใจ วุฎูอฺไม่บาฏิล

๔. ถ้าวุฎูอฺโดยเนียตว่า ต้องการครองวุฎูอฺตลอดเวลาสามารถนะมาซกับวุฎูอฺนั้นได้ ถือว่าถูกต้อง

๕.วุฎูอฺที่ถูกต้อง สามารถปฏิบัติอมัลทั้งที่เป็นวาญิบและมุซตะฮับได้ หรืออมัลวาญิบหรือมุซตะฮับทุกประเภทที่มีความสะอาดเป็นเงื่อนไข

๖. วุฎูอฺก่อนเวลานมาซ โดยเนียตเพื่อนมาซ ไม่เป็นไร เช่น ก่อนนมาซซุฮรฺได้วุฎูอฺ โดยเนียตว่า ข้าฯวุจะนมาซซุฮรฺด้วยวุฎูอฺนี้



ฆุซุลฺ (การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ)

บางครั้งสำหรับนมาซหรือทุกภาระหน้าที่ ๆ มีวุฎูอฺเป็นเงื่อนไข ต้องฆุซลฺแทน หมายถึงเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ฉันจึงทำการชำระล้างร่างกาย และลำดับต่อไปจะอธิบายถึงประเด็นที่ต้องฆุซุลฺ ประเภทและวิธีฆุซลฺ



ประเภทของฆุซุลฺวาญิบ ร่วมระหว่างชายกับหญิง

๑.ฆุซุลฺญินาบะฮฺ (หลังการมีเพศสัมพันธ์)

๒.ฆุซุลฺมัยยิต (อาบน้ำให้คนตาย)

๓.ฆุซุล มัซฮฺมัยยิต (สัมผัสคนตาย)

ฆุซุลฺวาญิบสำหรับผู้หญิง

๔.ฆุซุลหลังหมดประจำเดือน (ฮัยฏฺ)

๕.ฆุซุลฺอิสติฮาเฏาะฮฺ (ระดูเกินกำหนด)

๖.ฆุซุลฺนิฟาส (โลหิตหลังการคลอดบุตร)

หลังจากการตีความและการแบ่งประเภทของฆุซลฺแล้วจะอธิบายฆุซุลฺวาญิบแต่ละประเภท ดังนี้



ฆุซลฺญินาบะฮฺ                   

ฆุซลฺญินาบะฮฺ หมายถึงการอาบน้ำชำระร่างกาย ภายหลังจากการร่วมหลับนอนกับภรรยา หรือการนอนหลับฝันจนอสุจิได้เคลื่อนออกมา หรืออีกนัยหนึ่งการ อาบน้ำตามศาสนบัญญัติภายหลังจากอสุจิได้เคลื่อนออกมา

๑. มนุษย์จะมีญูนุบได้อย่างไร

- เนื่องจากการหลั่งของอสุจิ ไม่ว่ามากหรือน้อย หลับหรือตื่นก็ตาม

- เนื่องจากการร่วมเพศ ด้วยวิธีฮะลาล (อนุมัติ) กับภรรยาตนเอง หรือฮะรอม (ไม่อนุมัติ) เช่น ผิดประเวณี และไม่ว่าอสุจิจะเคลื่อนออกมาหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้น ญูนุบ จึงหมายถึงการหลั่งอสุจิจะด้วยวิธีใดก็ตาม หลังจากอสุจิหลั่งแล้วจึงเรียกบุคคลนั้นว่ามีญูนุบ ถ้าต้องบุคคลนั้นต้องการนะมาซและอิบาดะฮฺอื่น ๆ ต้องอาบน้ำตามหลักศาสนบัญญัติ เรียกว่า ฆุซลฺญินาบะฮฺ                                 

๒.หากอสุจิได้เคลื่อนจากที่ แต่ไม่ได้ออกมาข้างนอกไม่เป็นสาเหตุทำให้เขามีญูนุบ (ไม่ต้องฆุซลฺ) 

๓. บุคคลที่แน่ใจว่าอสุจิได้เคลื่อนออกมา หรือรู้ว่าสิ่งที่เคลื่อนออกมานั้นเป็นอสุจิอย่างแน่นอน ถือว่ามีญูนุบ ต้องฆุซลฺญินาบะฮฺ

๔. บุคคลที่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เคลื่อนออกมาเป็นอสุจิหรือไม่ ถ้ามีสัญลักษณ์ของอสุจิถือว่ามีญูนุบ แต่ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ไม่ถือว่าอยู่ในกฎของการมีญูนุบ 

๕.สัญลักษณ์ที่บ่งว่าเป็นอสุจิ

- ออกมาด้วยความใคร่ (ชะฮฺวัต)

- ไหลพุ่งและอุ่น

- หลังจากอสุจิเคลื่อนออกมาร่างกายจะอ่อนเพลียเล็กน้อย