หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22579
ดาวน์โหลด: 5794

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 22579 / ดาวน์โหลด: 5794
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



สิ่งที่ทำให้นะมาซบาฏิล  (มุบฏิลลาต)

เมื่อผู้นมาซกล่าว ตักบีเราะตุลอิฮฺรอมแล้วเท่ากับได้เริ่มต้นนมาซจนกระทั่งจบนมาซ มีการกระทำบางอย่างฮะรอม ถ้าผู้นมาซปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งถือว่า นมาซบาฏิล ซึ่งสิ่งที่ทำให้นมาซบาฏิล (มุบฏิลลาต)ได้แก่

๑. เงื่อนไขบางข้อของนมาซขาดหายไป

๒.สาเหตุที่ทำให้วุฎฺและฆุซลฺบาฏิลเกิดกับเขา

๓. การกินและดื่ม

๔.พูดในนมาซ

๕.หัวเราะ

๖.ร้องไห้

๗. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ

๘. เพิ่มหรือลดรุกนฺนมาซ

๙. ทำลายรูปแบบนมาซ

๑๐.กอดอกขณะนมาซ

๑๑.กล่าวคำว่า อามีน หลังซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ

๑๒. หนึ่งในความสงสัยอันเป็นเหตุทำให้นมาซบาฏิลเกิดกับเขา



เงื่อนไขสิ่งที่ทำให้นมาซบาฏิล

๑.ระหว่างนมาซ เงื่อนไขที่ถูกต้องของนมาซขาดหาย เช่น ขณะนมาซรู้ว่าสถานที่นมาซเป็นที่ขโมย นะมาซบาฏิล

๒.ระหว่างนะมาซ วุฎูอฺบาฏิล หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุต้องฆุซลฺได้เกิดขึ้น นะมาซบาฏิล

๓.  ขณะนมาซ ได้เผลอหลับไป นมาซบาฏิล

๔. ได้ตื่นขณะซัจดะฮฺ และสงสัยว่าเป็นซัจดะฮฺสุดท้ายของนมาซ หรือซัจญฺดะฮฺชุกรฺ ต้องนมาซใหม่



การพูดในนะมาซ

๑.ถ้าผู้นมาซ ตั้งใจพูดคำใดออกมา และต้องการสื่อความหมายด้วยคำนั้น นมาซบาฏิล

๒.ถ้าตั้งใจพูดคำใดออกมา อาจเป็นสองคำหรือมากกว่านั้น แม้ว่าไม่ต้องการสื่อความหมายด้วยคำนั้น อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องนมาซใหม่อีกครั้ง

๓. ขณะนมาซต้องไม่ให้สลามแก่ผู้อื่น แต่ถ้าผู้อื่นได้ให้สลามแก่ผู้นมาซ วาญิบต้องตอบรับสลาม แต่ต้องเอาคำว่า สลาม ขี้นก่อน เช่น พูดว่า อัสลามุอะลัยกะ หรือ อัสลามุอะลัยกุม ต้องไม่พูดว่า อะลัยกุมุสสลาม



หัวเราะและร้องไห้

๑. ถ้าผู้นมาซ ตั้งใจหัวเราะเสียงดัง นมาซบาฏิล

๒. การยิ้มเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้นมาซบาฏิล

๓ ถ้าผู้นมาซตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงร้องออกมา นมาซบาฏิล

๔.ถ้าผู้นมาซร้องไห้โดยไม่มีเสียงร้องร้องไห้เพราะความเกรงกลัวในอัลลอฮฺ (ซบ.) หรือกลัวโลกหน้าแม้ว่าจะมีเสียงออกมา นมาซไม่บาฏิล 



การผินหน้าออกจากกิบละฮฺ

๑.ขณะนมาซ ถ้าตั้งใจผินหน้าออกจากกิบละฮฺ โดยไม่สามารถกล่าวได้ว่าหันหน้าตรงกับกิบละฮฺ นมาซบาฏิล

๒. ขณะนมาซ ถ้าเผอิญหันหน้าออกจากกิบละฮฺไปทางขวา หรือซ้าย อิฮฺติยาฏวาญิบต้องนมาซใหม่ แต่ถ้าหันไปไม่ถึงทางทิศขวาหรือซ้ายของกิบละฮฺ นมาซถูกต้อง 



ทำลายรูปแบบนะมาซ

๑.ขณะนมาซ ถ้าได้ทำบางอย่างอันเป็นสาเหตุทำให้รูปแบบของนมาซเสียไป เช่น แกว่งมือไปมา ปรบมือ หรือการกระทำอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะลืมก็ตาม นมาซบาฏิล

๒.ขณะนมาซ ถ้าได้นิ่งเงียบจนไม่สามารถกล่าวได้ว่ากำลังนมาซ นมาซบาฏิล

๓. การยุตินมาซวาญิบ ฮะรอม   เว้นเสียแต่ว่าที่มีความจำเป็น เช่น เพื่อปกป้องชีวิต ปกป้องทรัพย์สิน หรือเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินหรือร่างกาย

๔.ยุตินมาซ เพื่อจ่ายหนี้สินแก่เจ้าหนี้ ด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ไม่เป็นไร

- เจ้าหนี้ ต้องการหนี้ตอนนั้น

- เวลานมาซมิได้เหลือน้อย กล่าวคือ หลังจากจ่ายหนี้แล้ว สามารถนมาซในเวลาได้

- ระหว่างนมาซไม่สามารถจ่ายหนี้ได้    

๕.การยุตินมาซ เพื่อทรัพย์สินที่ไม่มีความสำคัญ เป็นมักรูฮฺ



การกอดอกขณะนมาซ

เป็นการกระทำของบางกลุ่มที่มิได้แป็นชีอะฮฺ  ขณะนมาซจะกอดอก  นมาซบาฏิล



การกล่าวอามีน

การตั้งใจกล่าวคำ อามีน  หลังจากกล่าว ซูเราะฮฺฟาติหะฮฺจบ นะมาซบาฏิล แต่ถ้ากล่าวด้วยความพลั้งเผอ หรือตะกียะฮฺ (อำพราง) ไม่บาฏิล



การกระทำที่เป็นมักรูฮฺ (น่าเกลียด) ในนมาซ

๑. ปิดตาขณะนมาซ

๒. เล่นนิ้วมือหรือมือขณะนมาซ

๓. หยุดขณะกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ หรือซูเราะฮฺ หรือซิกรฺขณะหนึ่งเพื่อฟังคำพูดของคนอื่น

๔. การกระทำที่ทำให้สูญเสียสมาธิและความนอบน้อม

๕.การผินหน้าอออกจากกิบละฮฺ ไปทางขวาหรือทางซ้ายเล็กน้อย (เนื่องจากมากจะทำให้นมาซบาฏิล)



ข้อสงสัยในนมาซ

บางครั้งผู้นมาซ อาจเกิดความสงสัยในการกระทำที่เป็นรายละเอียดของนมาซ เช่น ไม่รู้ว่ากล่าวตะชะฮุดหรือยัง ไม่รู้ว่าซัจญฺดะฮฺสองครั้งหรือครั้งเดียว และบางครั้งสงสัยในเรื่องจำนวนเราะกะอัตที่ทำไปแล้ว เช่น ไม่รู้ว่ากำลังนมาซเราะกะอัตที่ ๓ หรือที่ ๔

มีบทบัญญัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับความสงสัยต่าง ๆ ในนมาซ ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ แต่จะกล่าวเฉพาะประเภทของความสงสัย และเงื่อนไขบางประการเท่านั้น



ประเภทของความสงสัยในนะมาซ

๑. สงสัยในรายละเอียด ของนมาซ

ก. หากสงสัยการกระทำส่วนต่าง ๆ อันเป็นรายละเอียดของนมาซ หมายถึงไม่รู้ว่าได้ทำส่วนนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ทำในส่วนถัดไปกล่าวคือยังไม่ได้ผ่านส่วนที่สงสัยไป ดังนั้น ต้องทำใหม่ แต่ถ้าได้ผ่านและเริ่มทำในส่วนถัดไปแล้วเกิดสงสัยขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ใจต่อความสงสัยนั้น ให้นมาซต่อให้เสร็จ นมาซถูกต้อง

ข. ถ้าสงสัยความถูกต้องส่วนต่าง ๆ ของนมาซ กล่าวคือไม่รู้ว่าส่วนที่ทำมาแล้วว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องใส่ใจต่อความสงสัย หมายถึงให้ถือว่าถูกต้อง และนมาซต่อให้เสร็จ ถือว่านมาซถูกต้อง

๒. สงสัยจำนวนเราะกะอัต



ความสงสัยที่ทำให้นมาซบาฏิล

๑. นมาซ ๒ หรือ ๓ เราะกะอัต เช่น นมาซซุบฮฺและนมาซมัฆริบ ถ้าสงสัยในจำนวนเราะกะอัต นมาซบาฏิล

๒. ถ้าสงสัยระหว่างหนึ่งเราะกะอัตหรือมากกว่า หมายถึงสงสัยว่านมาซไปแล้วหนึ่งเราะกะอัตหรือมากกว่า นมาซบาฏิล

๓. ถ้าไม่รู้ว่านมาซแล้วกี่เราะกะอัต นมาซบาฏิล

๔. ถ้าสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่สองหรือมากกว่าสอง ก่อนการซัจญฺดะฮฺ ทั้งสอง นมาซบาฏิล

๕.สงสัยระหว่างเราะกะอัต ๒ กับ ๕ หรือ ๓ กับ ๖ หรือ ๔  กับ ๖ นมาซบาฏิล



ความสงสัยที่ไม่ต้องใส่ใจ

๑. สงสัยจำนวนเราะกะอัตนมาซมุซตะฮับ

๒. สงสัยในนมาซญะมาอัต (จะอธิบายต่อไป)

๓. สงสัยหลังจากสลามนมาซ เช่น ถ้านมาซเสร็จแล้วสงสัยจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนต่าง ๆ ของนมาซที่ยังไม่ได้ทำ ไม่จำเป็นต้องนมาซใหม่

๔. หลังจากเวลานมาซผ่านไปแล้ว สงสัยว่าได้นมาซหรือยัง ไม่จำเป็นต้องนมาซใหม่

๕. ความสงสัยมากมาย หมายถึงสงสัยถึง ๓ ครั้งในหนึ่งนมาซหรือสงสัย ๓ นมาซติดต่อกัน เช่น นมาซซุฮรฺ อัซริ และมัฆริบ

๖.ในกรณีที่อิมามสงสัย และมะอฺมูมจำได้ หรือในทางกลับกันกล่าวคือ มะอฺมูมสงสัยและอิมามจำได้



สงสัยนมาซที่มีสี่เราะกะอัต และนมาซบาฏิล

๑. ถ้าสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๓ ขณะยืน หรือขณะรุกูอฺ หรือหลังรุกูอฺ และขณะซัจญฺดะฮฺ นะมาซบาฏิล

๒. ถ้าสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๔ ขณะยืน หรือขณะรุกูอฺ หรือหลังรุกูอฺ และขณะซัจญฺดะฮฺ นมาซบาฏิล

๓. ถ้าสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๔ กับ ๕ ขณะรุกูอฺ หรือหลังรุกูอฺ และขณะซัจญฺดะฮฺ นมาซบาฏิล



เงื่อนไขความสงสัยจำนวนเราะกะอัต  ของนมาซ ๔ เราะกะอัต และนมาซถูกต้อง

๑. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัต ๒ กับ ๓ หลังจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่ ๒ ให้ถือเป็นเราะกะอัตที่ ๓ และนมาซต่อให้เสร็จ หลังจากนั้นให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต หรือนั่งทำ ๒ เราะกะอัต

๒. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๔ หลังจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่ ๒ แล้ว ให้ถือเป็น ๔ เมื่อนมาซเสร็จให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัต

๓. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๓ กับ ๔ ไม่ว่าจะมีความสงสัยขณะยืน หรือขณะรุกูอฺ หรือหลังรุกูอฺ และขณะซัจญฺดะฮฺ ให้ให้ถือเป็น ๔ เมื่อนะมาซเสร็จแล้ว ให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต หรือนั่งทำ ๒ เราะกะอัต

๔. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๔ หลังจากซัจญฺดะฮฺ ครั้งที่ ๒ แล้ว ให้ถือเป็น ๔ เมื่อนมาซเสร็จให้ยืนนะมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัต (ซ้ำกับข้อที่๒)

๕. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๔ กับ ๕ หลังจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่ ๒ ขณะนั่งให้ถือเป็น ๔ เมื่อนมาซเสร็จให้ซัจญฺดะฮฺ ซะฮฺวี สอง ครั้ง

๖. ผู้นมาซสงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๔ กับ ๕ ถ้าสงสัยในขณะยืนก่อนรุกูอฺให้นั่งทันที และนมาซต่อให้นมาซเสร็จ เมื่อเสร็จแล้ว ให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต หรือนั่งทำ ๒ เราะกะอัต



ตัวอย่างการสงสัยจำนวนเราะกะอัตนมาซ

๑. สงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๓ ขณะยืน หรือรุกุอฺ หรือหลังรุกูอฺ ขณะสัจดะฮฺ นมาซบาฏิล (เสีย) แต่ถ้าอยู่ระหว่างนั่งหลังสัจดะฮฺสองครั้ง นมาซถูกต้อง

หน้าที่ของผู้นมาซที่ต้องกระทำคือ ให้ถือว่าเป็นนมาซเราะกะอัตที่สาม เมื่อนมาซเสร็จแล้วให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต หรือนั่งทำ ๒ เราะกะอัต

๒. สงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๒ กับ ๔ ขณะยืน หรือรุกุอฺ หรือหลังรุกูอฺ ขณะสัจดะฮฺ นมาซบาฏิล (เสีย) แต่ถ้าอยู่ระหว่างนั่งหลังสัจดะฮฺสองครั้ง นมาซถูกต้อง

หน้าที่ของผู้นมาซที่ต้องกระทำคือ ใหถือว่าเป็นนมาซเราะกะอัตที่ ๔ เมื่อนมาซเสร็จแล้ว ให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัต

๓. สงสัยระหว่าง ๓ กับ ๔ ขณะยืน หรือรุกุอฺ หรือหลังรุกูอฺ ขณะสัจดะฮฺ หรืออยู่ระหว่างนั่งหลังสัจดะฮฺสองครั้ง ถือว่านมาซถูกต้อง

หน้าที่ของผู้นมาซที่ต้องกระทำคือ ให้ถือว่าเป็นนมาซเราะกะอัตที่สี่  เมื่อนมาซเสร็จแล้ว ให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต และนั่งทำอีด ๒ เราะกะอัต

๔. สงสัยระหว่าง ๔ กับ ๕ ขณะยืน นมาซถูกต้อง ขณะรุกูอฺ หรือหลังรุกูอฺ หรือขณะสัจญฺดะฮฺนมาซบาฏิล หรืออยู่ระหว่างนั่งหลังสัจดะฮฺสองครั้ง นมาซถูกต้อง

หน้าที่ของผู้นมาซที่ต้องกระทำคือ สงสัยขณะยืนและก่อนรุกูอฺให้นั่งลงทันทีและนมาซให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อนมาซเสร็จแล้วให้ยืนนมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัต และนั่งนมาซ ๒ เราะกะอัต แต่ถ้าสงสัยระหว่างนั่งให้ถือเป็นเราะกะอัตที่ ๔ เมื่อนมาซเสร็จแล้วให้สัจญฺดะฮฺซะฮฺวี ๒ ครั้ง



ข้อควรจำ

๑.ทุกการกระทำในนมาซที่กระทำแล้ว หรือกำลังจะทำเรียกว่า ญุซ หรือส่วนต่าง ๆ ของนมาซ               

๒. ถ้าผู้นมาซสงสัยได้ทำบางส่วนของนมาซหรือยัง เช่น สงสัยว่าซัจญฺดะฮฺครั้งที่สองหรือยัง ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ทำส่วนถัดไป จำเป็นต้องทำส่วนที่สงสัย แต่ถ้าได้ทำส่วนที่ถัดไปแล้ว ไม่ต้องใส่ใจต่อความสงสัย ด้วยเหตุนี้ ขณะที่นั่งถ้ายังไม่ได้เริ่มกล่าวตะชะฮุด และสงสัยว่าซัจญฺดะฮฺหนึ่งหรือสองครั้ง ให้ซัจญฺดะฮฺอีกครั้งแต่ถ้าสงสัยระหว่างตะชะฮุด หรือสงสัยหลังจากยืนแล้ว ไม่จำเป็นต้องซัจญฺดะฮฺ ให้นมาซต่อไป ถือว่าถูกต้อง            

๓. ถ้าสงสัยส่วนต่าง ๆ ของนมาซที่ทำไปแล้ว เช่น สงสัยการกล่าวซูเระฮฺฟาติหะฮฺ หรือสงสัยบางคำของซูเราะฮฺว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่ ไม่ต้องสนใจในความสงสัยและไม่ต้องกล่าวใหม่ ให้นมาซต่อไป ถือว่าถูกต้อง

๔. ถ้าสงสัยจำนวนเราะกะอัต หมายถึงระหว่างนมาซสงสัยว่าจำนวนเราะกะอัตที่ทำไปแล้ว เช่น ขณะที่กล่าวตัซบีฮาตสงสัยว่ากำลังทำเราะกะอัตที่สี่หรือสาม

๕. ถ้าสงสัยจำนวนเราะกะอัตนมาซมุซตะฮับ ให้ถือเป็นสอง เพราะนมาซมุซตะฮับทั้งหมดทำที่ละ ๒ เราะกะอัต ยกเว้นนมาซวิตรฺซึ่งมี ๑ เราะกะอัต ดังนั้น ถ้าสงสัยระหว่าง ๑ กับ ๒ หรือ ๒ กับมากกว่า ให้ถือเป็นสอง นมาซถูกต้อง

๖. นมาซญะมาอัตถ้าอิมามสงสัย แต่มะอฺมูม (ผู้ตาม) ไม่สงสัย เช่นได้กล่าวอัลลอฮุอักบัรเพื่อเป็นการบอกอิมาม แต่อิมามไม่ได้ใส่ใจต่อความสงสัยของตน ทำนองเดียวกันถ้ามะอฺมูมสงสัย แต่อิมามไม่ได้สงสัย ดังนั้น ให้ถือปฏิบัติไปตามอิมาม นมาซถูกต้อง

๗. ถ้าหนึ่งในความสงสัยที่ทำให้นมาซบาฏิล หรือความสงสัยที่ถูกต้องเกิดขึ้น จำเป็นต้องหยุดคิดเล็กน้อย ถ้านึกได้หรือหนักไปทางความสงสัยให้ปฏิบัติไปตามนั้น หรือถ้าเป็นความสงสัยที่ถูกต้องให้ปฏิบัติตรงกับหน้าที่ของตน แต่ถ้าเป็นความสงสัยที่ทำให้นมาซบาฏิล สามารถยุตินมาซได้



เงื่อนไขอันเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

๑. ถ้าความสงสัยที่เกิดขึ้น เป็นความสงสัยที่ถูกต้อง ต้องไม่ยุตินมาซ ทว่าต้องปฏิบัติให้ตรงกับหน้าที่ของตนตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้ายุตินมาซ เท่ากับได้ทำบาป

๒. ถ้าความสงสัยที่ถูกต้องได้เกิดขึ้นกับตนต้องหยุดคิดเล็กน้อย หลังจากนั้นถ้ามั่นใจด้านที่สงสัยให้ยึดด้านนั้น และนมาซให้เสร็จ ถ้าไม่เช่นนั้นให้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

๓. ความสงสัยที่ถูกต้อง ให้ถือว่าเป็นมากเสมอ นอกเสียจากว่าสงสัยมากกว่า ๔ เราะกะอัต

๔. นมาซอิฮฺติยาฏ ได้ถูกกำหนดมาเพื่อขจัดความน้อยนิดของนมาซ ด้วยเหตุนี้ กรณีที่สงสัยระหว่าง ๓ กับ ๔ หมายถึงนมาซได้น้อยไป ๑ เราะกะอัต ดังนั้น นะมาซอิฮฺติยาฎ ๑ เราะกะอัต ถือว่าจำเป็น แต่ถ้าสงสัยระหว่าง ๒ กับ ๔ นมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัตถือว่าจำเป็น

๕. ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺ ได้ถูกวางไว้เพื่อการหลงลืมที่อาจเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น ถ้าสงสัยระหว่าง ๔ กับ ๕ ขณะที่นั่ง หรือสงสัย ๕ กับ ๖ ขณะที่ยืน ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺ เป็นสิ่งจำเป็น

๖. กรณีที่นมาซอิฮฺติยาฏ ๑ เราะกะอัตวาญิบ สามารถนั่งนมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัตแทนได้

๗. กรณีที่นมาซอิฮฺติยาฏ ๒ เราะกะอัตวิญิบ ไม่สามารถนั่งนมาซอิฮฺติยาฏ ๔ เระกะอัตแทนได้

๘. ขณะยืนผู้นมาซ ความสงสัยที่ถูกต้องได้เกิดกับเขา ซึ่งนอกเหนือไปจากความสงสัยระหว่าง ๓ กับ ๔ ส่วนที่เหลือให้นั่งโดยไม่ต้องรุกูอฺ หลังจากนั่งแล้วไม่ว่าด้านใดก็ตามที่สงสัยจะทำให้นมาซหายไป ๑ เระกะอัต เช่น ขณะที่ยืนสงสัยระหว่าง ๔ กับ ๕ แต่เมื่อนั่งลงแล้วจะกลายเป็นความสงสัยระหว่าง ๓ กับ ๔ ทันที ดังนั้นให้ปฏิบัติไปตามเงื่อนไขที่กล่าวมา



นมาซอิฮฺติยาฏ

๑. นมาซอิฮฺติยาฏจะวาญิบต่อเมื่อเกิดความสงสัยในนมาซ เช่น สงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๓ กับ ๔ หลังจากกล่าวสลามนมาซแล้ว ให้ยืนขึ้นทันทีโดยไม่ต้องทำลายรูปแบบของนมาซ หรือทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้นมาซบาฏิล ให้เนียตนมาซอิฮฺติยาฏโดยไม่ต้องกล่าวอะซาน และอิกอมะฮฺ



ข้อแตกต่างระหว่างนมาซอิฮฺติยาฏ กับนมาซอื่น

๑. เนียตนมาซ ไม่ต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด

๒.ไม่มีการกล่าวซูเราะฮฺและกุนูต (ถึงแม้ว่าจะมีสองเราะกะอัตก็ตาม)

๓. ให้กล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺด้วยเสียงเบา (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

๒. นมาซอิฮฺติยาฏ ถ้าวาญิบเพียงหนึ่งเราะกะอัต หลังจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่สองแล้ว ให้กล่าวตะชะฮุดและสลาม

นมาซอิฮฺติยาฏ ถ้าวาญิบ ๒ เราะกะอัต ต้องไม่กล่าวตะชะฮุดและสลามในเราะกะอัตแรก ทว่าต้องนมาซอีกหนึ่งเราะกะอัต และให้กล่าวตะชะฮุดและสลามในเราะกะอัตที่สอง



ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺ

๑. กรณีที่ซัจญฺซะฮฺวียฺ วาญิบซึ่งต้องทำหลังจากสลามนมาซทันทีได้แก่

- สงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๔ กับ ๕ ขณะที่นั่ง

- สงสัยระหว่างเราะกะอัตที่ ๕ กับ ๖ ขณะที่ยืน

- มีการเอ่ยคำพูดในนมาซโดยพลั้งเผลอ

- ลืมกล่าวตะชะฮุด (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

- กล่าวสลามผิดที่ (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

๒. การซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺ                ให้ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺหลังจากสลามนมาซฟัรฏูทันที ก่อนที่จะกระทำอย่างอื่น โดยกล่าวว่า บิซมิลลาฮิ วะบิลลาฮิ อัลลอฮุมมะซ็อลลิอะลา มุฮัมมัด วะอาลิมุฮัมมัด

แต่ดีกว่าให้กล่าวว่า  บิซมิลลาฮิ วะบิลลาฮิ อัสลามุ อะลัยกะ อัยยุฮันนะบียุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบเราะกาตุฮู หลังจากเงยศีรษะขึ้นนั่งให้ซัจญฺดะฮฺอีกครั้งกล่าวเหมือนเดิม  หลังจากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นนั่ง กล่าวตะชะฮุด และสลาม

๓. ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวียฺ ไม่ต้องตักบีเราะตุลอิฮฺรอม



หมวดที่ ๕ นมาซต่าง ๆ



นมาซเดินทาง (มุซาเฟร )

ขณะเดินทางนมาซที่มี ๔ เราะกะอัตให้ทำเพียง ๒ เราะกะอัต (ลดจำนวน) โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเดินทางมีระยะทางไม่น้อยกว่า ๘ ฟัรซัค หรือประมาณ ๔๕ กิโลเมตร



สองสามประเด็นสำคัญ

๑. ถ้าผู้เดินทาง ออกเดินทางจากสถานที่ ๆ ต้องนมาซเต็ม เช่น บ้านเกิด โดยต้องเดินทางไป ๔ ฟัรซัค และเดินกลับอีก ๔ ฟัรซัค ฉะนั้น กรณีนี้ต้องนมาซลดจำนวน

๒. ผู้ที่เดินทางช่วงที่สามารถนมาซย่อได้ อย่างน้อยสุดระยะทางต้องไกลจากเมืองที่ตนอยู่ เช่น มองไม่เห็นกำแพงเมือง ไม่ได้ยินเสียงอะซาน ดังนั้น ถ้าระยะทางยังไม่ไกลตามที่กล่าวมาต้องนมาซเต็ม

๓. ถ้าเดินทางออกจากสถานที่ ซึ่งไม่มีกำแพงเมืองหรือบ้านเรือนไปถึงยังสถานที่หนึ่งซึ่งมีกำแพงเมือง แต่มองไม่เห็นกำแพงจากบริเวณ ต้องนมาซลดจำนวน *

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏ ให้สังเกตทั้งสองสัญลักษณ์ แม้ว่าการไม่ได้ยินเสียงอะซานเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ หมายถึงเมื่อออกเดินทางไประยะหนึ่งไม่ได้ยินเสียงอะซานแต่ยังมองเห็นกำแพงเมืองที่นั้นให้นะมาซลดจำนวน (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๒๐๓ คำถามที่ ๖๙)

๔. ถ้าเดินทางไปยังสถานที่หนึ่งซึ่งมี ๒ เส้นทาง เส้นทางหนึ่งไกลกว่า ๘ ฟัรซัค และอีกเส้นทางหนึ่งใกล้กว่า ๘ ฟัรซัค ดังนั้น ถ้าไปทางเส้นทางที่ไกลกว่า ต้องนมาซลดจำนวน แต่ถ้าเดินทาง              แต่ถ้าไปทางเส้นทางที่ใกล้กว่าต้องนมาซเต็ม



บางกรณีการเดินทางต้องนมาซเต็ม

๑. เดินทางออกจากเมืองก่อนที่จะถึง ๘ ฟัรซัค หรือตั้งใจว่าจะพักอยู่ที่จุดหมายปลายทาง ๑๐ วัน

๒. ไม่ได้ตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะเดินทางไปจนถึง ๘ ฟัรซัค และเดินทางต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ผู้ที่ตามหาคนหลงทาง เป็นต้น

๓. ระหว่างทางเปลี่ยนใจเดินทางกลับ หมายถึงก่อนที่จะถึง ๔ ฟัรซัต ตัดสินใจกลับก่อน

๔. ผู้ที่มีอาชีพต้องเดินทาง เช่น คนขับรถไฟ ขับรถโดยสารประจำทางต่างจังหวัด กัปตันเครื่องบิน หรือเรือ การเดินทางเป็นอาชีพ*

          *อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ผู้ที่อาชีพของเขาอยู่ในการเดินทาง เหมือนกับผู้ที่มีอาชีพเดินทาง (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๑๘๕ คำถามที่ ๖๕๑) ผู้ที่การเดินทางคือเบื้องต้นสำหรับอาชีพของตน ซึ่งภายใน ๑๐ วันต้องเดินทาง ๑ ครั้งไปยังสถานที่ทำงานของตน ดังนั้น ระหว่างทางต้องนะมาซเต็มและศีลอดถูกต้อง (หน้า ๑๘๙ คำถามที่ ๖๕๑) การเดินทางเพื่อไปศึกษาไม่ถือว่าเป็นการเดินทางเพื่ออาชีพ (อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๙๖ คำถามที่ ๖๖๙)

๕. ผู้ที่การเดินทางฮะรอม เช่น การเดินทางอันเหตุสร้างความยากลำบากแก่บิดา มารดา



สถานที่เหล่านี้ต้องนมาซเต็ม

๑. บ้านเกิดเมืองนอน

๒. สถานที่ซึ่งตั้งใจอยู่ที่นั่นเป็นเวลา ๑๐ วัน

๓. พักอยู่ในสถานที่หนึ่ง ๓๐ วัน แต่ยังสงสัยว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ หมายถึง ไม่รู้ว่าจะอยู่หรือจะไปจนกระทั่งถึง ๓๐ วันผ่านไปก็ยังตัดสินใจไม่ได้และยังไม่ได้ไปที่อื่น กรณีนี้หลังจาก ๓๐ วันไปแล้ว ต้องนมาซเต็ม

 

บ้านเกิดเมืองนอนหมายถึงที่ไหน

๑. บ้านเกิดเมืองนอนหมายถึงสถานที่ (อาจเป็นจังหวัดหรือเมือง) ซึ่งบุคคลหนึ่งได้เลือกเป็นเป็นที่อยู่อาศัย บางครั้งตนอาจเกิด ณ ที่นั่นเป็นบ้านพ่อบ้านแม่ หรือบางครั้งแค่เลือกเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น * 

อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เงื่อนไขการเดินทาง การถือเป็นบ้านเกิด หรือการตั้งใจอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๑๐ วัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็ก (อิสติฟตาอาต เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๕ คำถามที่๗๒๓)

๒. ถ้าหากไม่ตั้งใจที่จะอยู่ที่อื่นถาวรซึ่งไม่ใช่บ้านเกิดของตน ไม่ถือว่าที่นั้นเป็นบ้านของตน

๓. ถ้าตั้งใจจะอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่ถือว่าที่นั่นเป็นบ้านของตน เช่น นักศึกษาอาศัยอยู่ในเมืองหนึ่งเพื่อทำศึกษา