ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม0%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน: ยูซุฟ เอ็น ลาลล์ญี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 175
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45300
ดาวน์โหลด: 4400

รายละเอียด:

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45300 / ดาวน์โหลด: 4400
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ซัยนับ วีรสตรีแห่งอิสลาม

น้อมสดุดี

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของศาสดาของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของศาสนทูตของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของมุฮัมมัด มุสตอฟา

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของหัวหน้าของบรรดาศาสดา

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของมิตรของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของอะลี มุรตะฎอ หัวหน้าของผู้สืบทอด ผู้สัตย์จริง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของฟาฏิมะฮ์ อัซ ซะฮ์รอ หัวหน้าของสตรีแห่งสวนสวรรค์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ น้องสาวของท่านอิมามฮาซันและอิมามฮูเซน หัวหน้าคนหนุ่มแห่งสวนสวรรค์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้นำสตรี ผู้ใจบุญและผู้บริสุทธิ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้พิทักษ์สิทธิและความถูกต้อง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ยำเกรงอัลลอฮ์ ผู้บริสุทธิ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้รักอัลลอฮ์และอัลลอฮ์ทรงโปรดปราน ท่าน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่รับการถ่ายทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้บรรลุถึงความรู้ด้วยตัวเอง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกกดขี่

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ต้องได้รับความทุกข์ยากทรมาน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความโศกเศร้า

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ดำรงไว้ซึ่งสัจธรรม

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความยากลำบาก

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความสูญเสีย

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ท่วมท้นไปด้วยความทุกข์ทรมาน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ท่านหญิงซัยนับ อัล กุบรอ

ขอความสันติและความโปรดปรานของอัลลอฮ์ จงประสบแด่ท่าน.

บทที่ ๑

กำเนิดและชีวิตในวัยเยาว์

ในหนังสือ คอซอสซีซัยนาบียะฮ์ ได้บันทึกไว้ว่า

ท่านหญิงซัยนับถือกำเนิดในวันที่ ๕ ญะมาดิลเอาวัล ฮ.ศ. ๕ หรือ ๖

ท่านหญิงเป็นหลานสาวของท่านศาสดาแห่งอิสลามและท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ เป็นบุตรสาวของท่านอิมามอะลี อิมามท่านแรกกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ บุตรสาวสุดที่รักของท่านศาสดา เป็นน้องสาวของอิมามฮาซัน และอิมามฮูเซน

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นเชื้อสาย‘บนีฮาชิม’ อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสายตระกูลของท่านศาสดามุฮัมมัด ที่สืบทอดกลับไปถึงท่านศาสดาอิบรอฮีม

ในเวลาที่ท่านหญิงจะให้กำเนิดบุตรชาย อิมามอะลี ได้รีบรุดมายังบ้านของท่าน เมื่อได้รับข่าวดีจากการบอกเล่าของอิมามฮูเซน ที่ว่า “โอ้ ท่านพ่อ! พระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาอย่างเหลือล้น ที่ทรงประทานน้องสาวให้แก่ฉัน”

 ขณะนั้นท่านอายุเพียงสองขวบ ได้สังเกตเห็นหยาดน้ำตาปรากฏขึ้นในดวงตาทั้งสองของผู้เป็นบิดา จึงอยากจะทราบถึงสาเหตุนั้น ท่านอิมามอะลีได้ตอบว่า “โอ้ แสงสว่างแห่งดวงตาของพ่อ!

วันหนึ่งเจ้าจะเข้าใจถึงสาเหตุแห่งความโศกเศร้าในครั้งนี้”

เมื่ออิมามอะลีเข้าไปในบ้าน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้ถามถึงชื่อที่อิมามเตรียมไว้สำหรับทารกน้อย

อิมามตอบว่าเรื่องนี้ ท่านศาสดาจะจัดการเอง ท่านซัลมาน ฟาริซีซึ่งเป็นสาวกที่ใกล้ชิดที่สุดของท่าน

ศาสดาอยู่ในเหตุการณ์และได้รีบไปยังมัสยิด เพื่อบอกข่าวอันน่ายินดีนี้แก่ท่านศาสดา ซึ่งท่านได้กล่าวทั้ง

น้ำตาว่า “โอ้ ซัลมาน! ญิบรออีลบอกกับฉันว่า ทารกน้อยนี้จะต้องแบกรับภาระที่หนักยิ่ง”

ท่านศาสดาได้มายังบ้านบุตรสาวของท่าน และขอให้มอบทารกน้อยให้กับท่าน ท่านได้แนบแก้มของท่านไว้กับแก้มของทารกนั้น ท่านกอดทารกน้อยไว้ขณะที่ดวงตาทั้งสองเต็มไปด้วยน้ำตา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์รู้สึกประหลาดใจ จึงถามถึงสาเหตุแห่งความโศกเศร้านั้น

 ท่านศาสดาจึงตอบว่า “โอ้ ลูกรัก! วันหนึ่งจะมาถึง เมื่อเราพ่อลูกไม่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้ว ทารกน้อยนี้จะต้องพบกับโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่”

หลังจากทราบเรื่องราวดังกล่าว ท่านหญิงหัวใจแทบแตกสลาย ท่านศาสดาจึงปลอมโยนท่านว่า “ใครก็ตามที่ร่ำไห้ต่อเหตุการณ์นี้ จะได้รับผลบุญตอบแทนเหมือนกับที่เขาร่ำไห้ให้กับโศกนาฏกรรมของอิมามฮูเซน”

หลังจากประกอบพิธีตามแบบฉบับของท่านศาสดาให้กับทารกคนใหม่ ญิบรออีลได้นำข่าวดีมาบอกกับท่านศาสดาว่า “อัลลอฮ์ ทรงประสงค์ให้ทารกน้อยมีนามว่า ‘ซัยนับ’ และนามนี้ได้ถูกบันทึกไว้บน เลาฮูลมะฟูซ”

 หลังจากพิธีอะกีเกาะฮ์ทารกน้อย จึงมีนามว่า ‘ซัยนับ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมหวน’ หรือ ‘เครื่องประดับของบิดา’ หรือ ‘ทรัพย์สมบัติที่ดีเลิศ’

ด้วยเหตุนี้ เธอได้รับการตั้งชื่อโดยอัลลอฮ์ ผ่านทางท่านศาสดา จึงไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ท่านมีฐานะเทียบเท่ากับ ‘ปันญ์จตาน’ (ท่านศาสดา อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซันและอิมามฮูเซน)

ได้รับตำแหน่งที่สูงส่งจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งควรจะต้องบันทึกและนับรวมท่านเข้าไว้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮ์’) การที่ได้รำลึกถึงการพลีที่ยิ่งใหญ่และโศกนาฏกรรมที่ท่านได้ประสบ การบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวของความทุกข์ทรมาน การไปเยี่ยมเยือนหลุมฝังศพของท่าน การสดุดีหรือการขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าในภาวะวิกฤติ โดยการอ้างนามของท่านในการขอการสงเคราะห์ช่วยเหลือ จะได้รับผลบุญตอบแทนอย่างมากมายแม้ว่าท่านหญิงจะไม่ได้อยู่ร่วมใน ๑๔ ผู้บริสุทธิ์ปราศจากการกระทำผิด (มะอ์ซูมีน) แต่ชีวิตของท่านก็บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากบาปและเต็มไปด้วยการเสียสละ จึงกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ท่านหญิงอยู่ในสถานะเดียวกับท่านเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนที่ กัรบะลาอ์ เมื่ออิมามฮูเซน ได้มอบสมาชิกในครอบครัวของท่านที่เหลืออยู่ ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของท่าน

ท่านศาสดากล่าวชี้แนะไว้อย่างชัดเจนว่า ทุกคนควรที่จะยอมรับว่าท่านหญิงซัยนับเป็นผู้ที่สมควรได้รับการคาราวะตลอดไป เพราะท่านทราบดีถึงภารกิจที่ท่านหญิงได้กระทำเพื่ออิสลามเหมือนกับ ‘ปันญจตาน’ คือเครื่องประดับแห่งบัลลังก์ของพระเจ้า ในทำนองเดียวกัน ท่านหญิงซัยนับคือ

เครื่องประดับแห่ง ‘เลาฮุลมะอ์ฟูซ’ สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดากล่าวล้วนมาจากพระผู้เป็นเจ้า

ด้วยเหตุนี้ ประโยคนี้จึงมีความหมายที่จะต้องนำมาปฏิบัติ

ในบรรดาสตรี ๔ ท่านที่อัลลอฮ์ทรงยกเกียรติให้ คือ

- ท่านหญิงคอดิยะฮ์ บินติ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา

- ท่านหญิงมัรยัม บินติ อิมรอน มารดาของท่านศาสดาอีซา

 (พระเยซู)

- ท่านหญิงอาซียะฮ์ บินติ มะซาฮิม ภรรยาของฟิรอูน และ

- ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ มุฮัมมัด บุตรสาวของท่านศาสดา

จากสี่ท่านนี้ สองท่านที่มีความใกล้ชิดกับท่านหญิงซัยนับมากที่สุด ท่านที่หนึ่งคือคุณยายและท่านที่สองคือมารดาของท่าน

จากการสืบเชื้อสายมาจากท่านศาสดา ทำให้ท่านหญิงมีลักษณะท่าทางเหมือนกับท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ คือมีรูปร่างสูงโปร่งงดงาม มีวาทะศิลป์ในการพูดเหมือนกับบิดาของท่านคืออิมามอะลี ในยามที่ท่านหญิงกล่าวสุนทรพจน์ดูราวกับว่า ท่านอิมามอะลีกำลังกล่าวอยู่อย่างไรอย่างนั้น

ในคำปราศรัยนั้นมีความไพเราะและมีพลัง ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้รับฟัง ท่านหญิงเป็นแบบฉบับของความบริสุทธิ์และความสุภาพอ่อนโยน สืบทอดมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มารดาของท่าน ท่านหญิงมีรูปร่างที่สง่างาม (ใครที่พบเห็นจะต้องสะดุดตา) เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น ใบหน้าของท่านมีรัศมีผุดผ่องเหมือนใบหน้าของท่านศาสดา อุปนิสัยใจคอและอารมณ์ของท่านจะเหมือนกับอิมามฮาซัน แต่มีความกล้าหาญอดทนเหมือนกับอิมามฮูเซน

การอบรมเลี้ยงดู

ท่านหญิงถูกอบรมเลี้ยงดูมาในบ้าน ซึ่งแสงแห่งอิสลามได้เริ่มส่องประกายขึ้นในจักรวาล สตรีท่านแรกที่ยอมรับอิสลามและสร้างรากฐานของมัน คือท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา สตรีท่านที่สองที่ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่ออิสลาม คือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวของท่านศาสดา และหลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน ท่านหญิงซัยนับ ผู้เป็นบุตรสาวก็แบกรับภารกิจนี้สืบต่อมา ดังพิสูจน์ให้เห็นได้จากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่กัรบะลา และเหตุการณ์หลังจากนั้นไม่อาจหาใครเสมอเหมือนได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านยอมพลีให้

ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการกล่าวคำปราศรัย การดูแลปกป้องบรรดาเด็กๆ ในยามที่เกิดเพลิงไหม้และถูกปล้นสะดมในกองคาราวาน ทั้งๆ ที่ ท่านเป็นสตรีเพศ ท่านไม่ยอมสะทกสะท้านที่จะต้องเผชิญหน้ากับอันตรายทั้งปวง ในยามวิกฤติเช่นนั้น ท่านกล้าที่จะเผชิญหน้าและแสดงบทบาทรับผิดชอบอย่างที่บุรุษปุถุชนธรรมดาไม่สามารถทำให้สำเร็จได้

๑๐

ท่านหญิงเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับอิมามฮูเซนอย่างมาก ความรักที่มีต่อท่านอิมามซึมซับอยู่ในสายเลือด แม้แต่ในยามเด็กที่นอนอยู่ในเปล พี่ชายท่านจะต้องแวะมาหาท่านอย่างน้อยวันละ ๔ ครั้ง ถ้าไม่เช่นนั้น ท่านหญิงจะร้องไห้งอแง ความรักที่ท่านมีต่อพี่ชายมากมาย จนไม่สามารถจินตนาการได้ ในยามที่ท่านได้เห็นพี่ชาย ใบหน้าของท่านจะเป็นประกายสดชื่น จนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ปรารภกับท่านศาสดาว่า “ซัยนับรักฮูเซนเหลือเกิน จนไม่อาจแยกจากกันได้เลย”

ในช่วงห้าปีแรก ท่านหญิงมีชีวิตอยู่ร่วมกับท่านตาของท่าน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขอย่างที่สุดในชีวิต ตราบที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ท่านหญิงจะได้รับความเคารพนับถือและให้เกียรติ

ท่านถูกอบรมเลี้ยงดูมาในบ้าน ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ส่งญิบรออีลและคัมภีร์อัลกุรอานลงมา บ้านซึ่งบรรดามะลาอิกะฮ์เคยลงมาเป็นองครักษ์ปกป้องปวงภัย ไม่ว่าใครจะมาจากใกล้หรือไกลก็จะพากันให้ความเคารพนับถือ

๑๑

บ้านหลังนี้ และใครที่มีความประสงค์สิ่งใดเขาก็จะได้รับการตอบสนอง สถานที่แห่งนี้เอง ที่เป็นสถานที่ ซึ่งท่านได้รับการอบรมฝึกฝน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เมื่อท่านศาสดาสิ้นชีวิต

ในวันที่ ๒๘ ซอฟัร ฮ.ศ. ๑๑

ท่านหญิงซัยนับจะโศกเศร้าอาดูรปานใด ความโศกเศร้าไม่อาจบรรยายได้ เมื่อประตูบ้านของมารดาของท่านถูกคุกคามโดยศัตรู พวกเขาได้ใช้เชือกมัดรอบต้นคอของอิมามอะลี บิดาของท่าน เพื่อพาไปยังมัสยิด

 และบังคับให้ท่านอิมามยอมให้สัตยาบันกับค่อลีฟะฮ์

เหตุการณ์เหล่านี้ทำร้ายจิตใจของท่านหญิงอย่างแสนสาหัส และความทุกข์ยากนั้นเพิ่มเป็นทวีคูณ เมื่อสวนฟะดักซึ่งเป็นของขวัญที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้รับมาจากท่านศาสดาถูกยึดไป

นี่เป็นการเริ่มต้นของความทุกข์ยากหลังจากการสิ้นชีวิตของบิดาและมารดา

หลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา การปฏิบัติการที่เลวร้ายเกิดขึ้นกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อย่างมากมาย ท่านต้องอดทนต่อสภาพเหล่านั้น ด้วยความกล้าหาญ แต่หัวใจของท่านได้แตกสลาย ท่านมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗๕ วัน หลังจากที่ท่านศาสดาสิ้นชีวิต

๑๒

 ท่านหญิงซัยนับมีอายุเพียง ๕ ขวบ สิ่งที่ได้ทำให้ท่านตกใจมาก น่าประหลาด! ดูราวกับว่าในช่วงชีวิตของท่านศาสดา บุคคลและบ้านที่เคยได้รับความเคารพนับถือ มาบัดนี้กลายเป็นเป้าจากการถูกโจมตีของผู้ที่เคยแสดงตัวว่าจงรักภักดีต่อท่าน

บทเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสิ้นชีวิตของมารดา ทำให้ท่านยืนหยัดอยู่ได้อย่างดียิ่งใน

ช่วงเวลาแห่งการสังหารหมู่ที่กัรบะลา

การอบรมสั่งสอนที่ท่านได้รับจากท่านศาสดา เป็นเสาหลักแห่งชีวิตหลังจากการสิ้นชีวิตของมารดา ท่านหญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูโดยท่านอิมามอะลี บิดาของท่าน

ทายาทของท่านหญิง

ใน ฮ.ศ. ๑๖ ท่านหญิงสมรสกับอับดุลลอฮ์ บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร มีบุตรชาย ๔ คน คือ ท่านอูน ท่านมุฮัมมัด ท่านอับบาสและท่านอะลี มีบุตรสาว ๑ คน คือ ท่านหญิงกุลซูม สองในสี่ท่านคือท่านอูนและมุฮัมมัด ถูกสังหารเป็นผู้สละชีพที่กัรบะลาพร้อมกับอิมามฮูเซน

๑๓

ท่านอับบาสไม่มีบุตร ท่านอะลีเป็นผู้เดียวในสายของท่านหญิงซัยนับและอับดุลลอฮ์ที่มีทายาทสืบต่อมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘อาลีซัยนาบียะฮ์’ จากหนังสือ ‘อะลี อัดลุ วัช ผู้สละชีพ” ท่านศาสดาและท่านอะลีได้กล่าวว่า ทายาทของท่าน

หญิงนับรวมเป็นทายาทของพวกท่านด้วย ท่านหญิงกัลโซมบุตรสาวของท่านสมรสกับ กอเซ็ม บุตรของมุฮัมมัด น้องชายของอับดุลลอฮ์.

๑๔

บทที่ ๒

อับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ฏอยยัร

เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาว ท่านหญิงซัยนับมีผู้หมายปองในตัวท่านมากมาย หนึ่งในนั้นคือ อะซารบุตรของกอยส์ ผู้นำที่เข้มแข็งคนหนึ่งของอาหรับ ท่านอิมามไม่เห็นชอบและไม่ยินยอม เพราะท่านมีผู้ที่หมายมั่นไว้ในใจอยู่แล้ว คืออับดุลลอฮ์ หลานชายของท่าน บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร ท่านศาสดาก็ได้เคยหมายมั่นไว้เช่นกัน เมื่อท่านเฝ้ามองอับดุลลอฮ์และท่านหญิงซัยนับตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออับดุลลอฮ์อายุ ๒๒ปี จึงมาสู่ขอท่านหญิง ซึ่งอิมามอะลีก็ยินดี และเตรียมการจัดพิธีสมรสขึ้น ในขณะนั้นท่านหญิงซัยนับอายุเพียง ๑๑ ปี พิธีได้จัดขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๖

สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่เป็นเหตุผลหนึ่งของท่านศาสดา ในการเลือกอับดุลลอฮ์ให้กับท่านหญิงซัยนับ ก็เพราะท่านคือบุตรของท่านญะอ์ฟัร

บุตรของอบูฏอลิบ พี่ชายของท่านอิมามอะลี ซึ่งรู้จักกันในนาม

๑๕

‘ญะอ์ฟัร ฏอยยัร’ ท่านเป็นมุสลิมกลุ่มแรกที่ออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในอบิสซีเนียเพื่อประกาศสัจธรรม

  ‘นมาซญะอ์ฟัร ฏอยยัร’ เป็นนมาซที่ท่านศาสดาสอนให้ท่าน ซึ่งจะได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็ว และ เป็นการขออภัยโทษในบาปใหญ่ ท่านถูกสังหารในสงคราม ‘มูตะฮ์’ โดยแขนของท่านถูกตัดจนขาดทั้งสองข้าง ท่านศาสดาร่ำไห้ต่อการสูญเสีย ในครั้งนี้อย่างมาก แต่ท่านก็ได้รับการบอกข่าวดีจากญิบรออีลว่า

ท่านญะอ์ฟัรได้รับปีกทั้งสองข้างแล้ว และจะโบยบินไปพร้อมๆ กับบรรดามะลาอิกะฮ์บนสวนสวรรค์

ท่านศาสดาจึงรุดไปปลอบโยนครอบครัวของผู้กล้าหาญ ท่านลูบที่ศีรษะสมาชิกในครอบครัวทุกคนพร้อมกับอุ้มอับดุลลอฮ์ไว้บนตัก และขอพรต่ออัลลอฮ์ให้คุ้มครองดูแลครอบครัวของญะอ์ฟัร พร้อมกับให้พรอับดุลลอฮ์ในการดำรงชีวิตท่านศาสดารักอับดุลลอฮ์ และเคยนำไปมัสยิดกับท่าน

 ด้วยเหตุนี้ไม่น่าประหลาดใจว่า เหตุใดท่านจึงเลือกอับดุลลอฮ์ให้กับท่านหญิงซัยนับ

๑๖

ครั้งหนึ่งเมื่ออับดุลลอฮ์ลงทุนซื้อฝูงแกะ ท่านศาสดาได้ขอพรต่ออัลลอฮ์ให้ประทานความสำเร็จให้ท่าน ตั้งแต่นั้นมาอับดุลลอฮ์ก็มีฐานะมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง ท่านมาจากตระกูลบนีฮาชิม เป็นคนใจบุญเอื้อเฟื้อ เป็นที่รู้จักกันในนาม “กุตูบูศ ซอคเราะฮ์ ” ท่านเป็นคนสง่างาม นิสัยดี รูปร่างของท่านคล้ายคลึงกับอับดุลลอฮ์บิดาของท่านศาสดา จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ชื่อนี้ถูกเลือกไว้สำหรับท่าน

เมื่ออิมามอะลี ย้ายไปอยู่ที่กูฟะฮ์ และสถาปนาเป็นเมืองหลวงของท่าน หลังจากต้องรับตำแหน่งค่อลีฟะฮ์ อับดุลลอฮ์และท่านหญิงซัยนับ จึงติดตามไปด้วยและพักอยู่ที่นั่น จนกระทั่งอิมามอะลี ถูกสังหาร ท่านทั้งสองจึงย้ายกลับมาอยู่ที่มะดีนะฮ์ด้วยหัวใจที่แตกสลาย อิมามอะลีมีความพึงพอใจในตัวของอับดุลลอฮ์มาก ซึ่งท่านจะมาเยี่ยมเยือนพบปะพูดคุยกับอิมามอะลีจนเป็นกิจวัตร เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคำสอนของอิสลาม เพราะท่านเคยได้ยินท่านศาสดากล่าวว่า “ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูของมัน”

อับดุลลอฮ์เคยเป็นแม่ทัพที่มีทหารใต้บังคับบัญชาถึง ๑๐,๐๐๐ คนในสงครามญะมัล (อูฐ) และเคยถูกส่งไปสู้รบในสงครามซิฟฟีน มุอาวิยะฮ์เคยชักชวนให้อับดุลลอฮ์มาเข้าร่วมกับเขา แต่มันเป็นไปไม่ได้

๑๗

แม้แต่จะคิดเกี่ยวกับข้อเสนอนี้ เพราะท่านคิดเสมอว่า มุอาวิยะฮ์คือศัตรูตัวฉกาจของอิสลาม หลังจากสิ้นอิมามอะลี ท่านก็ยอมรับอิมามฮาซัน เป็นอิมามของท่าน หลังจากนั้นก็อยู่กับอิมามฮูเซนท่านได้ส่งบุตรชายทั้งสองคือ อูนและมุฮัมมัดไปเพื่อช่วยเหลืออิมามฮูเซน ที่กัรบะลา และเมื่อข่าวการสละชีพของบุตรทั้งสองมาถึง ท่านได้ยกมือขึ้นและขอบคุณต่ออัลลอฮ์ ท่านเสียชีวิตเมื่ออายุ ๘๘ ปี

ท่านศาสดานับรวมท่านไว้เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะมอบความเคารพนับถืออย่างสูงให้กับท่าน และผู้หนึ่งควรจะคิดว่า ท่านก็เป็นหนึ่งในครอบครัวของท่านศาสดา.

๑๘

บทที่ ๓

แบบฉบับแห่งคุณธรรมและจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์

ท่านหญิงซัยนับ ได้รับการสืบทอดคุณสมบัติทุกประการมาจากมารดาของท่าน คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ) สุนทรพจน์ของท่านมีแบบฉบับมาจากบิดา ความอดทนอดกลั่นมาจากพี่ชายของท่านคืออิมามฮาซัน

ส่วนความกล้าหาญและความสามารถในการควบคุมตนเองมาจากอิมามฮูเซน ท่านเป็นหลานสาวของท่านศาสดา เป็นลูกของอิมาม เป็นน้องสาวของอิมาม และเป็นอาของอิมาม

สายเลือดของการเป็นศาสดาและอิมามรวมอยู่ในตัวของท่าน นอกจากมารดาแล้วไม่มีใครเสมอเหมือนท่านเลย

การดำเนินชีวิตของท่าน เป็นแบบฉบับแห่งคุณธรรม ที่ปรากฏอยู่ในตัวท่านโดยอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้า

๑๙

ท่านเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพรียบพร้อมสมบูรณ์ทุกด้านอย่างที่ปุถุชนธรรมดาไม่สามารถจะเป็นได้เลย พลังและความบริสุทธิ์ทางด้านจิตวิญญาณของท่านเป็นที่น่าประหลาดใจ แม้ในด้านความรู้ที่สูงสุดและในทุกๆด้าน ท่านปฏิบัติตามหลักการและมาตราฐานที่มารดาของท่านได้วางไว้ เป็นแม่แบบแห่งการมีคุณธรรมและกล้าหาญสำหรับผู้หญิงทุกคน นับเป็นการสมควรที่เราจะพยายามและดำเนินรอยตามแบบฉบับของท่านเมื่อใดก็ตามที่มีโอกาส

ด้วยพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ท่านหญิงได้พัฒนาตนเองจนถึงขั้นจุดสูงสุด จนท่านไม่รู้จักว่า ความกลัวคืออะไร? ทำให้มาถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับตำแหน่งผู้ที่ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า (วลียุลลอฮ์) ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านเป็นเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้ท่านพิสูจน์ตัวเองให้โลกรับรู้จากเหตุการณ์ที่กัรบะลา ถึงคุณสมบัติที่หาได้ยากยิ่ง ซึ่งท่านก็ทำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ และในการที่มอบบุตรชายสุดที่รักทั้งสองเป็นพลีเพื่อช่วยเหลืออิมามฮูเซน ท่านก็ไม่เคยคิดเป็นอื่นใด

๒๐