ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม0%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน: ยูซุฟ เอ็น ลาลล์ญี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 175
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45298
ดาวน์โหลด: 4400

รายละเอียด:

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45298 / ดาวน์โหลด: 4400
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

นอกจากการดำรงไว้ซึ่งอิสลาม ตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ท่านแสดงความรับผิดชอบตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายสำหรับท่านแต่ผู้เดียวจากพระผู้ทรงสร้าง และได้ทำตามพระประสงค์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

มารดาของมูซา (โมเสส) ไม่สามารถทนต่อการพรากจากลูกน้อยของเธอได้ แต่สำหรับท่านหญิงซัยนับต้องพลัดพรากจากลูกชายสุดที่รักทั้งสองจากการถูกสังหาร และยังต้องเห็นสภาพของสมาชิกในครอบครัวของท่านถึง ๑๗ ชีวิต ต้องถูกตัดขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ศีรษะถูกเสียบไว้ที่ปลายหอก

ท่านศาสดาได้รวมท่านหญิงไว้ในครอบครัววงศ์วานของท่าน

(อะฮ์ลุลบัยต์) ท่านหญิงสมควรที่จะได้รับสิทธิในคำกล่าวอำนวยพร (ซอละวาต) ที่เรากล่าวหลังการนมาซ เพราะท่านหญิงคือส่วนหนึ่งของท่านศาสดาและเป็นทายาทที่ใกล้ชิดของท่าน

๒๑

ความมหัศจรรย์

รายงานต่อไปนี้ถูกบันทึกโดย ท่านฮัจญีซัยยิด มุฮัมมัด บากิรแห่งสุลตอนสานาบาด ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘ดารุสสลาม ของฮัจญีมิรซาฮูเซน นูรี และยังปรากฏในหนังสือ ‘กุลซาร อัคบารี’ ท่านได้บันทึกไว้ว่า

 “เมื่อตัวฉันกำลังศึกษาศาสนาอยู่ที่เมืองบูรูกาด ในอิหร่าน ฉันได้ล้มป่วยลง มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ดวงตา จึงต้องกลับไปยังบ้านเกิด และที่นั่นฉันได้รับคำแนะนำให้ไปที่กัรบะลา เพื่อรับการรักษาโรคนี้ ฉันจึงเดินทางไปอิรัก ในช่วงหลังนี้อาการอักเสบหนักขึ้น จนต้องใช้พลาสเตอร์ปิดตาไว้

วันหนึ่งฉันนอนหลับไป ในความฝันฉันมองเห็นท่านหญิงซัยนับ ท่านหญิงเข้ามาใกล้ฉันและใช้ชายผ้าคลุมศีรษะของท่านลูบไปบนดวงตาของฉัน เมื่อฉันรู้สึกตัวตื่นขึ้น รู้สึกว่าอาการปวดที่ตาหายไปและรู้สึกสบายขึ้น

ในตอนเช้าฉันได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้แสวงบุญคนอื่นๆ ฟัง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง

๒๒

พวกเขาได้เปิดพลาสเตอร์ที่ปิดตาของฉันออก และพบว่าดวงตาของฉันหายบวมและกลับสู่สภาพปกติเหมือนเดิม ฉันขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าในการช่วยเหลือ โดยการขอการสงเคราะห์ (ชะฟาอะฮ์) ผ่านท่านหญิงซัยนับ”

ความรู้ของบรรดาวงศ์วานของท่านศาสดา (อะฮ์ลุลบัยต์) ได้รับโดยตรงจากพระผู้เป็นเจ้า พวกท่านไม่เคยได้รับจากผู้อื่น พวกท่านสามารถรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ทั้งในอดีตและอนาคต และถ้าจำเป็นพวกท่านก็จะเป็นกลุ่มแรกที่แจ้งให้ผู้คนของท่านทราบเหตุการณ์นั้นๆ ท่านจะแนะนำชี้แนะพวกเขาสู่

แนวทางที่เที่ยงตรงและถูกต้อง จะสอนพวกเขาให้ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีความรอบรู้และลึกซึ้งในคำสอนของศาสนาเหมือนกับบรรดาอิมาม

ท่านหญิงซัยนับ ก็ได้สืบทอดมรดกในคุณสมบัตินี้มาจากมารดาของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า ท่านหญิงซัยนับมีความสามารถเทียบเท่าบรรดาอิมาม

๒๓

สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์เหนือความสงสัยทั้งปวงก็คือ สุนทรพจน์ของท่านหญิงที่เมืองกูฟะฮ์ หลังจากอิมามซัยนุลอาบิดีนได้ยินคำปราศรัย ท่านจึงกล่าวว่า

 “ด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮ์ ท่านอามีความรู้ในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ต้องเรียนรู้มาจากผู้ใดในโลกนี้ นอกจากพระเจ้าเป็นผู้ประทานวิทยปัญญาให้กับอา”

ขณะท่านอยู่ที่เมืองกูฟะฮ์ ท่านได้จัดชั้นเรียนขึ้นเพื่อสอนบรรดาสตรีให้เข้าใจความหมายอัล กุรอาน พร้อมทั้งอบรมเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านหญิงกำลังอธิบายความหมายของอัลกุรอานในบทที่มีอักษร กาฟ ฮา ยา อีน ซ๊อด อิมามอะลีบิดาของท่านเดินผ่านมาจึงหยุดฟัง และได้ยินว่า ท่านหญิงกำลังอธิบายบทนี้นี้อยู่ เมื่อชั้นเรียนเลิก อิมามอะลีได้บอกท่านหญิงถึงโองการที่เกี่ยวกับคำ ๕ คำนี้ ว่าเป็นความลี้ลับ ซึ่งอธิบายถึงความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานที่ทายาทลูกหลานของท่านศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าจะต้องถูกทดสอบ ความทุกข์ยากนี้จะเกิดขึ้นกับท่านหญิง แต่สิ่งนี้นั้นทำให้บิดาของท่านทุกข์ทรมานยิ่งกว่า จนไม่อาจคิดคำนึงถึงได้

๒๔

เชค ซอดูก ได้รับการบอกเล่าจากอิมามมุฮัมมัด มะฮ์ดี ดังนี้

ท่านอิมามอธิบายให้เขารับฟังว่า คำว่า

“กาฟ, ฮา ยา อีน ซ๊อด” เป็นคำที่ลี้ลับจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคำเหล่านี้ได้รับการอธิบายจากพระองค์ ให้แก่ศาสดาซะกะรียา เมื่อครั้งที่ท่านวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านรู้จักนามผู้บริสุทธิ์ทั้งห้า (ปัญจตาน)

ด้วยเหตุนี้ ญิบรออีล จึงถูกส่งลงมาเพื่อสอนนามทั้งห้าแก่ท่านศาสดา เมื่อท่านศาสดาซะกะรียาได้กล่าวนามของศาสดามุฮัมมัด อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซัน ท่านรู้สึกมีความสุขและลืมเรื่องราวความทุกข์โศกต่างๆ ลงได้ แต่เมื่อท่านกล่าวถึงนามของอิมามฮูเซน น้ำตาของท่านก็เริ่มไหลรินและรู้สึกเศร้าใจอย่างสุดซึ้ง ท่านจึงวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! ยามเมื่อข้าพระองค์กล่าวนามทั้งสี่ท่านแรก ข้าพระองค์รู้สึกมีความสุขและสดชื่นหัวใจ แต่เมื่อข้าพระองค์

๒๕

กล่าวนามที่ห้า ทำไมดวงตาของข้าพระองค์จึงเต็มไปด้วยหยาดน้ำตา และร่ำไห้ด้วยเสียงอันดัง พร้อมกับรู้สึกโศกเศร้า?” และแล้วเรื่องราวของเหตุการณ์สำคัญนั้น ก็ได้ถูกเปิดเผยให้รับรู้

 ‘กาฟ’ หมายถึง กัรบะลา, ‘ฮา’ หมายถึง ฮารอกัต คือ การทำลายและความตาย ,‘ยา’ หมายถึง ยะซีด ‘อีน’ หมายถึง อาฏอช คือ ความหิวกระหาย และ ‘ซ๊อด’ หมายถึง ซอบัร คือ ท่านอิมามฮูเซนผู้อดทน และกล้าหาญ

เมื่อท่านศาสดาซะกะรียา ได้รับรู้เรื่องราวเช่นนั้น ท่านจึงออกเดินทางไปยังมัสยิดและไม่ได้ออกมาเลยเป็นเวลา ๓ วัน และบอกกับผู้คนของท่านว่า ห้ามมิให้ใครมารบกวน เพราะท่านกำลังอยู่ในความโศกเศร้ากับเหตุการณ์ที่เพิ่งได้รับรู้มา

๒๖

นี่เป็นข้อเตือนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้คนที่เย้ยหยันเรา ต่อการที่เราแสดงความโศกเศร้าเสียใจ

ต่ออิมามฮูเซน ผู้เป็นที่รัก ต่อความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่กัรบะลาและต่อขบวนคาราวานของเชลยที่ถูกทิ้งไว้เป็นภาระรับผิดชอบของท่านหญิงซัยนับ

ศาสดาซะกะรียา ได้วอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! พระองค์จะทรงนำความโศกเศร้าให้แก่ลูกหลานของศาสดามุฮัมมัด ผู้ถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดของพระองค์กระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยอมให้ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเกิดขึ้นกับครอบครัวของเขากระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยินยอมให้อะลีและฟาฏิมะฮ์ต้องอดทน แม้เพียงแต่จะคิดถึงสิ่งนั้นกระนั้นหรือ?

๒๗

 

โอ้พระผู้เป็นเจ้า! โปรดประทานทายาทผู้สืบทอดให้แก่ข้าพระองค์ ผู้ซึ่งจะเป็นแสงสว่างแห่งดวงตาอันอ่อนล้าของข้าพระองค์ และจะได้เป็นผู้สืบทอดและมีความสัมพันธ์กันเหมือนกับศาสดามุฮัมมัดและอิมามฮูเซน”

 และแล้วคำวิงวอนของศาสดาซะกะรียาก็ได้รับการตอบรับ ท่านได้รับแจ้งข่าวดีในการให้กำเนิดศาสดายะห์ยา

ท่านเองเคยรับรู้ถึงการให้กำเนิดของท่านหญิงมัรยัมมาแล้ว แต่ก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพราะเหตุว่าภรรยาของท่านเป็นหมัน และก็ล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว ตั้งแต่เยาว์วัย ยะห์ยา จะสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายซึ่งทำจากปอ และยังชีพด้วยอาหารธรรมดาจากใบไม้แห้งๆ  สมัยเด็กท่านเคยอยู่กับนักบวชและผู้รู้ทางศาสนาที่ตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรมอย่างเคร่งครัด ยะห์ยาเป็นญาติของศาสดาอีซา และเป็นที่รู้จักกันในนามของ จอห์น เดอะ แบ็บติสท์

๒๘

ยะห์ยา มีจิตใจที่อ่อนโยน เกรงกลัวในพระเจ้าอย่างมาก จนไม่สามารถทนฟังการกล่าวถึงการลงโทษต่างๆ ในนรกได้ ถ้าท่านได้ยินใครพูดถึงการทรมานในไฟนรก ท่านจะร่ำไห้และไม่สามารถควบคุมตัวเองต่อความเกรงกลัวในความกริ้วโกรธของพระเจ้าได้ จนต้องวิ่งหนีออกไปในทะเลทราย จนทำให้บิดา มารดาของท่านต้องรอนแรมไปในทะเลทรายเป็นวันๆ เพื่อจะตามหาท่าน

เหตุการณ์ลอบสังหารยะห์ยา

มเหสีของพระราชา มีธิดาแสนสวยที่เกิดจากสามีคนก่อนของนาง ขณะที่นางกำลังย่างเข้าสู่วัยชราและไม่ได้รับความสนใจจากพระราชา นางตั้งใจจะใช้ธิดาแสนสวยของนางผูกมัดและดึงความสนใจของพระราชา

 พระองค์ทรงปรึกษายะห์ยาเกี่ยวกับเรื่องการรับลูกเลี้ยงของพระองค์มาเป็นชายา แต่ศาสดายะห์ยาได้เตือนว่า นั่นเป็นข้อห้าม พระราชาจึงยกเลิกความตั้งใจนั้นเสีย ยังความไม่พอใจแก่มเหสีของพระองค์ ผู้เป็นมารดาของหญิงสาวเป็นอย่างมาก

๒๙

ดังนั้น วันหนึ่งขณะที่พระราชากำลังอยู่ในอาการเมามายเต็มที่ มเหสีของพระองค์จึงจัดการส่งลูกสาวของนาง ซึ่งแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สะดุดตาเป็นพิเศษ พระราชาเมามายจนครองสติไม่อยู่ จึงเข้าหานาง แต่มารดาของหญิงสาวตั้งข้อแม้ว่า พระองค์จะต้องนำเอาศีรษะของยะห์ยามามอบให้นางเป็นรางวัลตอบแทน พระราชาจึงสั่งให้นำศีรษะของยะห์ยามาให้พระองค์ในทันที เมื่อผู้รู้ทางศาสนาทราบเรื่องเกี่ยวกับคำบัญชาของพระองค์ ได้รีบไปเข้าเฝ้าและทูลว่า

“ถ้าแม้นเลือดของยะห์ยาแม้แต่เพียงหยดเดียวต้องหลั่งลงบนดิน จะไม่มีสิ่งใดเลยแม้แต่หญ้าจะงอกเงยได้อีก”

อย่างไรก็ตาม พระราชายังยืนยันคำสั่งเดิมที่จะต้องสังหารยะห์ยา โดยให้ทิ้งเลือดของท่านลงในบ่อ และนำศีรษะใส่ถาดมาให้ บางคนแนะนำผ่านไปทางคนสนิทของพระองค์ว่า บิดาของยะห์ยาเป็นผู้หนึ่งที่คำวอนขอของท่านจะได้รับการตอบรับจากพระเจ้าเสมอ ฉะนั้นศาสดาซะกะรียาควรที่จะถูกสังหารเสียก่อน เพื่อว่าจะได้ไม่มีโอกาสได้สาปแช่งพระองค์ในการสังหารยะห์ยา พระราชาจึงสั่งให้จัดการตามนั้น

๓๐

ขณะที่ศาสดาซะกะรียาและยะห์ยากำลังทำนมาซอยู่ในบ้านของท่าน คนของพระราชาก็มาถึงและจับตัวศาสดายะห์ยาไป แต่ศาสดาซะกะรียาหนีรอดไปได้ ในขณะที่ท่านถูกไล่ล่าโดยคนของพระราชา ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ศาสดาซะกะรียาได้สั่งให้ต้นไม้ที่อยู่ตรงหน้าท่านแยกตัวออก ท่านได้เข้าไปหลบในต้นไม้นั้น แล้วต้นไม้ก็ได้ประกบลำต้นกลับเหมือนเดิม โดยมีศาสดาซะกะรียาซ่อนอยู่ภายใน

แต่มารร้าย ศัตรูที่ชัดแจ้งของมนุษย์ ซึ่งไม่เคยยั้งมือไปจากผู้ถูกเลือกสรรจากพระองค์ เช่น ศาสดาซะกะรียา ด้วยการทำให้ชายเสื้อของท่านศาสดาโผล่ออกมาจากต้นไม้เพื่อการลวงล่อ เมื่อคนของพระราชาออกค้นหา มารร้ายในร่างของมนุษย์ได้พาพวกมันมายังต้นไม้ และชี้ให้ดูชายเสื้อที่โผล่ออกมา

พร้อมทั้งแนะนำให้สังหารศาสดาซะกะรียาโดยการตัดต้นไม้ออกเป็นสองท่อนด้วยเลื่อยที่มันเตรียมมาให้

๓๑

เมื่อศาสดารู้สึกตัวว่าร่างของท่านกำลังถูกตัดออกพร้อมกับต้นไม้ ได้มีเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า

“จงระวัง โอ้ซะกะรียาเอ๋ย! ถ้าเจ้าส่งเสียงร้องหรือร้องขอความช่วยเหลือแม้แต่น้อย ชื่อของเจ้าจะถูกลบออกจากรายชื่อของบรรดาผู้อดทน”

ศาสดาซะกะรียาจึงยอมปล่อยให้ตัวเองถูกตัดออกด้วยอาการที่เงียบสงบ ไม่ยอมปริปากจากความทุกข์ทรมานและเจ็บปวด

ยะห์ยาถูกสังหาร เลือดของท่านถูกนำไปทิ้งในบ่อน้ำ ศีรษะถูกนำเสนอต่อพระราชา น้ำในบ่อกลายเป็นสายเลือดไหลพุ่งออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าผู้คนจะโยนก้อนดินใส่เข้าไปในบ่อมากมายสักเพียงใด เลือดก็ยังคงหลั่งไหลออกมาไม่หยุด ทำให้ดินที่ถูกโยนใส่เข้าไปในบ่อน้ำนั้นยกตัวสูงขึ้น เป็นกองดินสูงจนกลบปากบ่อ

๓๒

กลับมาสู่เรื่องของเราอีกครั้ง คุณสมบัติอันประเสริฐของท่านหญิงซัยนับอยู่ในระดับสูงสุด จนทำให้อิมามฮูเซนพี่ชายของท่าน มอบความไว้วางใจให้ดูแลรับผิดชอบบรรดาผู้ใกล้ชิดของท่าน ที่ถูกจับเป็นเชลย

 เนื่องจาก อิมามซัยนุลอาบิดีน กำลังอยู่ในอาการป่วยหนัก ท่านหญิงเคยเป็นผู้รายงานวจนะตามที่ ท่านได้เคยใช้ชีวิตร่วมอยู่กับท่านศาสดาเป็นเวลา ๕ ปีเต็ม

เชค ซอดูก และเชค ฏูซี ได้กล่าวว่า อะห์มัด บิน อิบรอฮีม เคยได้ยินจากท่านหญิงฮะกีมะฮ์ คอตูน (ป้าของท่านอิมามอัสการี) หลายเรื่อง และเรื่องหนึ่งคือ อิมามฮูเซน ได้กล่าวว่า ความรู้ของอิมามซัยนุลอาบิดีน มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันกับความรู้ของท่านหญิงซัยนับ

๓๓

 

ดังนั้นท่านจึงต้องรับภาระหน้าที่ของความเป็นอิมาม และด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งของท่านหญิงจึงถูกยกขึ้นสูงเท่ากับตำแหน่งของบรรดาอิมาม

เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือ ตะรอซูล มัศฮับ และ มัจลิส มุตตะกีน ของท่านซัยยิด อลีมกอสวี อีกด้วย

หลังการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ต้องตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก นำความทุกข์ระทมมาสู่ท่านในเวลาต่อมา ท่านหญิงซัยนับบุตรสาวของท่านอายุได้ ๕ ขวบ ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในวัยที่ไร้เดียงสา แต่ท่านได้ไปยังมัสยิดของท่านศาสดาเป็นประจำ ณ ที่นั้นเต็มไปด้วยบรรดาชาวผู้ช่วยเหลือ (อันศอร) และชาวผู้อพยพ (มุฮาญิรีน) ในมัสยิดมีม่านเล็กๆ กั้น หลังม่านนั้นเองท่านได้กล่าวคำปราศรัยซึ่งได้บรรยายถึง ความทุกข์ยากและปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับมารดาของท่าน

การบรรยายครั้งนี้ใช้เวลานานถึงสองชั่วโมง ซึ่งมีผลอย่างมากกับบรรดาผู้ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ที่นั่น ทำให้พวกเขาได้รับรู้ความจริงว่า ครอบครัวของท่านศาสดาถูกกระทำทารุณกรรมอย่างโหดร้ายเพียงใด

๓๔

ท่ามกลางผู้ชุมนุมในมัสยิด ครั้งนี้ มีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ สมาชิกในครอบครัวของท่านและบรรดาสตรีชาวอาหรับร่วมนั่งอยู่ด้วย สุนทรพจน์ของท่านได้รับการกล่าวขวัญถึงในหลายๆ วาระเมื่อมีการรายงานกันในหมู่พวกเขา และตลอดชั่วชีวิตของท่านหญิงท่านได้จดจำเหตุการณ์นี้อยู่เสมอมาตลอดไป

ครั้งหนึ่งท่านหญิงได้ถามคำถามต่ออิมามอะลี ว่า “โอ้ ท่านพ่อ! ท่านรักหนูไหม?” อิมามอะลี ตอบว่า “แน่นอนที่สุด! แก้วตาของพ่อ”

ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงจึงถามต่อไปว่า “โอ้ ท่านพ่อ! จะเป็นไปได้หรือ ที่ผู้หนึ่งจะมีสองความรักในหัวใจดวงเดียว ความรักในพระเจ้าและความรักในบุตรสาว?” พร้อมกันนี้ ท่านหญิงได้ตอบคำถามที่ท่านตั้งขึ้นเองว่า

 “ความรักที่บริสุทธิ์แท้จริง คือความรักในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

ส่วนความรักในบรรดาลูกๆ เป็นไปโดยพระประสงค์ของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การที่ท่านรักพวกเราจึงเป็นไปตามธรรมชาติ?”

บรรดาผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการสืบทอดเรื่องราว และพิทักษ์รักษาแบบฉบับ (ซุนนะฮ์)  ของท่านศาสดาและบรรดาอิมามไว้

๓๕

นับเป็นผู้ที่ได้รับใช้แนวทางของอิสลามอย่างมากมาย และจัดอยู่ในฐานะที่สูงส่งในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ท่านเหล่านั้นได้รับเกียรติให้เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องศาสนา

 ท่านศาสดาเคยกล่าวว่า

 “ผู้ที่ปราดเปรื่องในความรู้ทางศาสนาอย่างแท้จริงนั้น มีฐานะเท่าเทียบกับศาสดาของบนีอิสรออีล”

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การท่องจำและการถ่ายทอดวจนะของท่านศาสดาและคำสอนของท่านอิมาม เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการเผยแผ่ศาสนา และบรรดาท่านเหล่านั้นย่อมเป็นที่รักของบรรดามะอ์ซูมผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย

บรรดาสตรีที่บันทึกจดจำวจนะของท่านศาสดา คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮ์ ท่านหญิงอุมมุ อัยมัน และท่านหญิงซัยนับ

๓๖

อิบนิ อัซซารี ญุซารี นักปราชญ์ซุนนี เสียชีวิตในต้นฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่ ๗ ได้บันทึกไว้ว่า

ท่านหญิงซัยนับ เป็นสตรีในบรรดาสาวกของท่านศาสดา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงคือสตรีคนที่สามของ

อิสลามที่ได้รับเกียรติสูงสุด ท่านแรกคือ ท่านหญิงคอดิยะฮ์ กุบรอ คุณยายของท่าน ท่านที่สองคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ มารดาของท่าน และท่านที่สาม คือ ตัวท่านหญิงเอง

ท่านหญิงยังเป็นที่รู้จักในนาม ‘ซิดดีเกาะ ซุกรอ’ (ผู้ทรงคุณธรรม ผู้น้อย) และ ‘อุมมุล มะซออิบ’(มารดาแห่งการอดทน)

เมื่อใดก็ตามที่อับดุลลอฮ์ บุตรของอับบาส กล่าวถึงการดำเนินชีวิตของท่านหญิงซัยนับ เขาจะเริ่มด้วยการยกย่องว่าท่าน คือ ‘ฮาดะตะนะ อกีล ละตุนา’ ‘สตรีผู้ที่ปราดเปรื่องในหมู่ชนของเรา’

๓๗

การอุทิศตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

ท่านหญิงเป็นผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากมารดาของท่าน ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสนทูตบิดาของท่าน ด้วยการใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการปฏิบัติศาสนกิจและปฏิบัติตนเพื่อหวังในความรักและความใกล้ชิดกับพระผู้สร้าง ทำให้บุตรสาวของท่านได้ดำเนินรอยตามเช่นเดียวกัน

ข้อพิสูจน์เหนือข้อสงสัยใดๆ เห็นได้จากการเดินทางไปในกองคาราวานของเชลยหลังจากเหตุการณ์ที่กัรบะลา

นอกเหนือจากศาสนกิจ ที่เป็นภารกิจประจำวันแล้ว ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซที่ไม่ได้เป็นวาญิบ แต่ได้ผลบุญมากมาย

ในหนังสือ “กิบีตัย อัจมาร” อิมามซัยนุลอาบิดีน ได้กล่าวไว้ระหว่างการเดินทางจากกัรบะลาไปซีเรียว่า

๓๘

 “พวกเราถูกกระทำทารุณโหดร้ายอย่างเหลือคณานับ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทำให้ท่านอาของฉันละทิ้งการนมาซศอลาตุลลัยล์ (นมาซยามค่ำคืน) ทั้งๆ ที่ท่านต้องได้รับความยากลำบากจากศัตรูอย่างมากมาย แต่ท่านก็จะทำนมาซในทุกๆ ที่ที่สามารถทำได้ ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซนี้เลย

 เพราะว่า ท่านจดจำคำพูดสุดท้ายก่อนพลีชีพของพี่ชายท่านได้เสมอว่า

 “โอ้ น้องรัก! จงระลึกถึงพี่ในนมาซศอลาตุลลัยล์”

 “ยา อุคตาฮ์ ลาตันซีนี ฟีย์ นาฟิลาติลลัย”

ในหนังสือ ‘กิตาบ ค่อซาอิส’ บันทึกไว้ว่า ทั้งนักปราชญ์ซุนนีและชีอะฮ์ ได้กล่าวว่า จากทายาทของอับดุลมุฎฎอลิบ ซัยนับได้รับความโปรดปรานด้วยกับคุณสมบัติที่สูงส่ง ทั้งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความกล้าหาญ บุคลิกภาพที่ดีเลิศ การอุทิศตนให้กับพระผู้เป็นเจ้า การอ้อนวอนวิงวอน

ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับปุถุชนธรรมดาที่จะยอมพลีทุกอย่างเพื่อศาสนา ซึ่งรวมถึงลูกๆ ของท่าน

๓๙

นับว่าเป็นการกระทำที่กล้าหาญ ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมิได้เฉพาะในบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า และก้าวไปถึงจุดสูงสุดของจิตวิญญาณที่สุดยอด

ตามธรรมดาของโลก มนุษย์จะคิดถึงแต่สิ่งที่ดีกว่าสำหรับลูกๆ และครอบครัวเสมอ แต่เมื่อผู้หนึ่งตัดสินใจเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระเจ้า และเมื่อมีทางออกเพียงทางเดียวที่จะพิทักษ์รักษาอิสลามไว้ด้วยการถูกสังหารหมู่ที่กัรบะลา คุณค่าทางด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านหญิงซัยนับ ทำให้ท่านสามารถสละทุกสิ่งเพื่อความรุ่งโรจน์ของอิสลาม

เมื่อบรรดาผู้กล้าหาญชาญชัยเกิดความหวาดกลัว และเปลี่ยนใจเพราะสิ่งครอบงำที่ผิดธรรมดา ผู้หนึ่งจะอธิบายถึงความกล้าหาญของท่านในการดูแลขบวนเชลยอย่างไร?

ด้วยการที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ (ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา) ได้วางรากฐานเสาหลักของอิสลาม และตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะสถาปนาศาสนาและสัจธรรม ท่านหญิงซัยนับก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่พร้อมจะยอมพลีทุกสิ่งเพื่อพิทักษ์ศาสนาให้ยืนยงตลอดไป

๔๐