วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48869
ดาวน์โหลด: 5301

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48869 / ดาวน์โหลด: 5301
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน สถาบันอัล – บะลาฆ

แปล อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

ขอความจำเริญและความสันติสุขพึงมีแด่นบีมูฮัมมัดประมุขของ

ศาสนทูตทั้งหลายและแด่วงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่านและแด่สาวกผู้ซื่อสัตย์

ท่านศาสนทูต(ศ)ได้กล่าวไว้ว่า

“อัลลอฮฺทรงประทานความผาสุกให้แก่คนที่ได้ฟังคำพูดของฉัน แล้วจดจำไว้แล้วรักษาต่อไป และได้นำไปปฏิบัติเหมือนอย่างที่เขาได้ยินมา

บางทีคนที่นำพาความรู้ อาจได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่รู้ และบางทีคนที่นำพาความรู้อาจให้ความรู้แก่คนที่รู้กว่าเขาก็เป็นได้”

ผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าซุนนะฮฺของท่านนบีโดยละเอียดลึกซึ้งจะสามารถเข้าใจในคุณค่าอันสูงส่งทางวิชาการที่มาจากความรู้ด้านนี้ได้อย่างดียิ่ง เพราะนั่นคือมรดกทางวิชาการ บทบัญญัติทางศาสนา และมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอมตะ ซึ่งส่งผลให้เกิดขบวนการที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในโลกมนุษย์แห่งนี้ โดยได้เป็นสาเหตุในการปลดปล่อยความคิดให้มี

อิสระเสรี มีการปรับเปลี่ยนอารยธรรมแห่งมนุษย์ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า

ซุนนะฮฺนบี เท่าที่รู้กันอยู่ หมายถึง วจนะและการกระทำของท่าน ตลอดจนท่าทีการแสดงออกจากตัวท่าน ถือว่านั่นคือ แหล่งที่มาอันดับสองรองจากอัล-กุรฺอานแห่งวิชาการทางศาสนาบัญญัติความรู้ต่างๆ

 ด้วยเหตุนี้อัล-กุรฺอานจึงกำชับให้มนุษยชาติยึดถือปฏิบัติตามอย่าง

เคร่งครัด การปกป้องรักษาซุนนะฮฺให้คงอยู่ในความบริสุทธิ์ รอดพ้นจากการถูกปลอมแปลงไม่ให้เกิดการสูญหาย ให้ปราศจากการถูกสอดแทรกความเท็จ ถือเป็นหน้าที่ที่มุสลิมทุกคนต้องรับผิดชอบตามบทบัญญัติทางศาสนา และเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่

ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม บรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้มีความบริสุทธิ์ใจ ได้ทุ่มเทความเพียรพยายามอย่างสุดกำลัง เพื่อปกป้องซุนนะฮฺให้รอดพ้นจากความเสียหายด้วยการถูกปลอมแปลง

ในวิธีการต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ) และวิถีการดำเนินชีวิต

เพื่อได้เรียนรู้ในกฏเกณฑ์ของศาสนา กฏหมาย และระบอบการดำเนินชีวิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ซุนนะฮฺนบี และให้มีการศึกษาวิชาการต่างๆ โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักการที่สำคัญนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาการที่เกี่ยวกับซุนนะฮฺหรือฮะดีษ ซึ่งเป็นวิชาที่มีพื้นฐาน มีแนวและหลักเกณฑ์ของมันโดยตรง อนุชนของอิสลามยุคนี้ ไม่ค่อยจะมีโอกาสทำความรู้จักกับซุนนะฮฺ ให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นตามความจำเป็นและหน้าที่ของมุสลิมระดับปัญญาชนจะพึงมี ดังจะเห็นว่า แม้ตาม สถาบันการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ ก็มิได้วางหลักสูตรการศึกษาซุนนะฮฺนบี และทำความเข้าใจกับวิชาการในด้านนี้กันอย่างจริงจังสักเท่าใดนัก

เราขอมีส่วนในการพิทักษ์รักษาซุนนะฮฺนบี และจรรโลงวิชาการของอิสลาม และขอแนะนำอนุชนมาทำความรู้จักกับพื้นฐานของหลักวิชาฮะดีษ เพื่อปูพื้นเข้าสู่ความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺ ในลักษณะที่เรียบง่ายโดยหนังสือเล็กๆเล่มนี้

หวังจากอัลลอฮฺ ให้พระองค์ประทานคุณค่าและประโยชน์จากหนังสือนี้แก่ท่านผู้อ่านโดยทั่วกัน โปรดรับคำวิงวอนขอของเรา แท้จริงพระองค์ทรงได้ยิน ทรงตอบสนองคำขอเสมอ

ซุนนะฮฺนบี

ความหมายในภาษาอาหรับมีการใช้คำว่า“ซุนนะฮฺ”มาก่อนสมัยอิสลาม หมายความว่า “วิถีทาง, แนวทาง”

ท่านรอซีย์นักภาษาคนสำคัญอธิบายว่า หมายถึง “แนวทาง” (๑)

เป็นที่ยอมรับว่าคำนี้ หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตนั่นเอง รากฐานที่มาของศัพท์ คือ

“ซะนัน” หมายความว่า “การสร้างวิถีทาง” เมื่อดำเนินไปตามเส้นทางนั้นเป็นเนืองนิตย์ จะเรียกใน

ภาษาอาหรับว่า “ซะนัน” ซึ่งจะมีความหมายตรงกับ คำว่า “ฏ่อรีก” ที่แปลว่า “วิถีทาง” นั่นเอง

ท่านกิซาอีย์ นักภาษาผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า “ความหมายของ “ซุนนะฮฺ” คือ กิจวัตรประจำ” (๒)

นับแต่พระคัมภีร์อัล-กุรฺอานแห่งอิสลาม ได้ถูกประกาศเผยแพร่ก็ได้ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”มาในความหมายเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง

ดังมีคำนี้ปรากฏอยู่ในโองการความว่า

“ซุนนะฮฺของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเจ้าจะไม่พบว่าซุนนะฮฺของอัลลอฮฺมีการเปลี่ยนแปลง”

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในโองการนี้ อัล-กุรฺอานหมายถึง “กฏเกณฑ์ทางสังคม” ที่ได้ผ่านไปตามเส้นทางการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ สังคม และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของมนุษยชาติ

ขณะที่อัล-กุรฺอานได้ปลุกจิตสำนึก ด้วยการใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” และกำหนดให้คำนี้ มีความหมายที่ให้ความคิดทางวิชาการ และอารยธรรมด้านหนึ่งนั้น

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ก็ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” เรียกวิถีการดำเนินชีวิต และจริยวัตรของท่าน อันเกิดขึ้นจากวจนะ จากการกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่าน ฉะนั้น คำว่า “ซุนนะฮฺ” ได้สร้างกระแสสำนึก ทั้งในด้านความคิดและบทบัญญัติทางศาสนาที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในวิถีชีวิตของบรรดามุสลิม

ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรฺอาน จึงใช้คำว่าซุนนะฮฺผนวกกับพระนาม “อัลลอฮฺ” เป็น “ซุนนะตุลลอฮฺ” หมายความว่า “กฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ ที่ทรงประสงค์จะให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ มีพลังขับเคลื่อนไปตามพื้นฐานของมัน”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”ผนวกกับคุณลักษณะอันทรงเกียรติของท่านในความหมายของแนวทางตามบทบัญญัติทางศาสนาที่ท่านดำเนินอยู่ในวิถีชีวิต โดยได้มีการปรับมาใช้เป็นคำว่า “ซุนนะฮฺนบี” และยังเป็นคำที่ใช้ในทางวิชาการและบทบัญญัติทางศาสนาอย่างมากมาย ตามที่ท่านศาสนทูต (ศ) เคยใช้จนเป็นคำที่มีความหมายในด้านนี้ โดยเฉพาะ

ด้วยเหตุนี้ ความหมายของคำว่า “ซุนนะฮฺ” ในทางวิชาการ จึงมีขึ้นในแนวความคิดของอิสลามจนได้กลายเป็นคำที่เรียกใช้กันในความหมายตามที่รู้กันอยู่ในหมู่นักปราชญ์

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา

ท่านศาสนทูต(ศ) คือผู้ทำหน้าที่ประกาศสารและอธิบายบทบัญญัติจากอัลลอฮฺ

ด้วยเหตุนี้ บรรดามุสลิมจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาซุนนะฮฺ ตลอดทั้งความรู้ต่างๆ ของท่านนบี เพื่อจะได้ถือเป็นกรอบที่ชัดเจนในการได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ และหลักปฏิบัติทางศาสนาเพราะถือว่าสิ่งนี้ คือแหล่งที่มาแห่งบทบัญญัติทางศาสนาอันดับที่สองถัดจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ

เราจะกล่าวถึงคำจำกัดความตามที่นักฮะดีษและนักการศาสนาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา อย่าง ท่านฟัครุดดีน อัฏ-เฏาะรีฮีย์ บันทึกไว้ ท่านได้กล่าวว่า “คำว่า ซุนนะฮฺ ในด้านภาษา หมายถึง แนวทาง และวิถีการดำเนินชีวิต อันประกอบด้วยกิจวัตรต่างๆ”

“ในด้านศาสนาจะหมายถึง จริยวัตรของท่านนบี(ศ) ทั้งวจนะ การกระทำและกิริยาท่าทีที่ท่านแสดงออก ทั้งที่มาจากตัวท่านเอง และจากตัวแทน”(๓)

อัล-อามีดีย์ นักการศาสนาในสายฮัมบะลีย์ อธิบายคำว่า

 ซุนนะฮฺไว้ดังนี้

“ในแง่ของภาษา ซุนนะฮฺ หมายถึง “แนวทาง” ถ้าพูดว่า “ซุนนะฮฺของคนๆหนึ่ง” ก็จะหมายความว่า“อะไรก็ตามที่คนผู้นั้นประพฤติปฏิบัติ สั่งสมมาเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ก็ตาม”

แต่ในความหมายทางศาสนา คำนี้จะถูกนำมาใช้เรียกการเคารพภักดีประเภทสมัครใจทำด้วยตนเอง(นาฟิละฮฺ) ตามที่มีคำสั่งสอนมาจากท่านนบี(ศ)

การกระทำต่างๆ ที่เป็นหลักฐานทางศาสนบัญญัติจากท่านนบี(ศ) ที่เรียกว่าซุนนะฮฺนั้น

จะต้องมิใช่บทบัญญัติจากโองการอัล-กุรฺอาน มิใช่สิ่งที่เป็นปาฏิหาริย์และไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงปาฏิหาริย์ ดังมีคำอธิบายต่อไปนี้

“ที่เรียกว่าซุนนะฮฺนั้นได้แก่ คำพูด การกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่านนบี(ศ)” (๔)

ด้วยเหตุนี้ เราสามารถเข้าใจว่า ซุนนะฮฺ ในแง่ของภาษา หมายถึง แนวทางการประพฤติ ปฏิบัติหรือกิจวัตรประจำ แต่ในด้านวิชาการ นักปราชญ์ให้ความหมายว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมาจากท่านศาสนทูต ในด้าน คำพูด การกระทำ และท่าทีที่ท่านแสดงออก”

คำว่า “ซุนนะฮฺ”จะถูกนำมาใช้กับจริยวัตรของท่านศาสนทูต (ศ) ที่เป็นงานประเภทนาฟิละฮฺ และมุสตะฮับ (การกระทำที่ชอบทางศาสนา) ดังนั้นกิจกรรมประเภทนี้ จึงถูกเรียกว่า “ซุนนะฮฺของนบี” ด้วย

นักการศาสนายังใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในความหมายที่ตรงข้ามกับคำว่า “บิดอะฮฺ” อีกความหมายหนึ่ง เช่นจะกล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นซุนนะฮฺ” ถ้าหากพวกเขาหมายถึง การกระทำต่างๆ ที่สอดคล้องกับพื้นฐานทางศาสนา(๕) และจะกล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นบิดอะฮฺ” ในเมื่อประเพณีใดๆ เข้ามา

อยู่ในกิจกรรมทางศาสนา โดยไม่มีพื้นฐานมาจากศาสนา

เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะกล่าวถึงคำว่า “ซุนนะฮฺ”ทางด้านวิชาการก็จะเป็นไปตามความหมายเหล่านี้ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง สุดแต่จะใช้ในสภาพการณ์ใด

กล่าวคือ เราจะใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”เมื่อต้องการจะพูดถึงวจนะ การกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่านนบี (ศ)

อาจใช้เรียกกิจการอื่นได้อีก เช่น เรียกกิจกรรมประเภทนาฟิละฮ

และมุสตะฮับต่างๆ ที่ท่านศาสนทูตเคยกระทำ

อาจใช้เรียกกิจการอื่นๆที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติทางศาสนาอันมีลักษณะตรงข้ามกับกิจการที่ไม่มีพื้นฐานตามหลักศาสนา ที่เรียกว่า “บิดอะฮฺ”

จึงมักมีการเรียกสิ่งนั้น สิ่งนี้ว่า เป็นซุนนะฮฺบ้าง เป็นบิดอะฮฺบ้าง

ซุนนะฮฺประเภทต่างๆ

นับแต่ได้มีวะหฺยูถูกประทานลงมายังศาสดามุฮัมมัดผู้ทรงเกียรติ(ศ)ที่เมืองมักกะฮฺท่านก็ได้

เริ่มประกาศศาสนาและอธิบายบทบัญญัติและวิชาการต่างๆแก่ประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำพูดและการกระทำ

คำสั่งแรกที่ท่านได้รับบัญชามาสอนบรรดามุสลิม ในด้านการเคารพภักดีหลังจากประกาศ หลักเอกภาพแล้ว คือ เรื่องทำวุฎู และนมาซ

คนมุสลิมก็ได้รับรู้เรื่องนี้มาจากท่าน ต่อมาท่านก็เริ่มลงมืออธิบายกฏเกณฑ์ทางศาสนา

กฎเกณฑ์ทางสังคม แนวทางในการประกาศศาสนา และหลักปฏิบัติต่อฝ่ายศัตรู ทั้งหมดนี้ ได้ประกอบกันเป็นที่มาของบทบัญญัติทางศาสนา

เมื่อท่านอพยพไปเมืองมะดีนะฮฺ เหตุการณ์ในคราวนั้น  ถือเป็นอัตชีวประวัติและซุนนะฮฺ

ส่วนหนึ่งด้วย หลังจากท่านได้ปกครองเมืองมะดีนะฮฺ ท่านได้นำหลักการศาสนามาใช้ โดยแสดงบทเทศนาสั่งสอนด้วยวจนะ อีกทั้งส่วนเป็นข้อเขียนและรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

กล่าวคือ แนวทางของท่านที่ให้ไว้ทั้งในด้านการเคารพภักดี การปกครอง การบริหาร การใช้อำนาจรัฐ การพิพากษาคดีความ การปฏิบัติต่อครอบครัว ต่ออะฮฺลุลบัยตฺ ต่อบรรดาสาวก ต่อบรรดาศัตรูในกลุ่มอะฮฺลุลกิตาบ และที่ปฏิบัติต่อพวกมุชริก ทั้งในยามรบและในยามสงบ

๑๐

รวมถึงเจตนารมณ์ในการจัดตั้งรัฐ กิจการทางสังคม การเป็นผู้นำทัพ การอธิบายบทบัญญัติจากอัล-กุรอาน ตลอดจนด้านอื่นๆ ล้วนเป็น สิ่งที่ได้ชื่อเรียกว่า “ซุนนะฮฺ” หรือจริยวัตรในการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสิ้น

โดยท่านนบี(ศ) ได้ดำเนินงานในการอธิบายคำสอน ประกาศศาสนาด้วยการพูด การกระทำ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีผลให้เกิด ระเบียบทางสังคมอย่างเป็นวิชาการ

ด้านหนึ่งขึ้นมา เช่น ในเรื่องการค้าขาย การว่าจ้าง มรดก การแต่งงาน และการหย่า...ฯลฯ

ท่านได้สอนให้ยึดถือในหลักการบางอย่าง แล้วให้ปฏิเสธหลักการอีกบางอย่าง ที่ตั้งอยู่บน

พื้นฐานของบทบัญญัติและปรัชญาทางศาสนา ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างทางสังคม

๑๑

ใช่แต่เท่านั้น หากสาวกของท่านบางคน ได้กระทำกิจการใดๆ ลงไป แล้วท่านวางเฉย ไม่แสดงท่าทีใดๆ ที่ปฏิเสธ ไม่คัดค้านการกระทำอันนั้น เพราะท่านเห็นว่า เป็นกิจกรรมที่อยู่ในปรัชญาทางศาสนา และไม่ขัดแย้งกัน ก็ถือว่ากิจกรรมอันนั้นเป็นมรดกทางด้านศาสนบัญญัติอีก

ส่วนหนึ่ง และเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวไปสู่การปฏิวัติทางความคิด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง

ดังได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า คำสอนต่างๆ ที่ท่านนบี(ศ) หยิบยื่นให้ไม่ว่าจะเป็นคำปราศรัยของท่านที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมประชาชาติและมนุษยชาติในรุ่นหลัง โดยวิถีการดำเนินชีวิต และแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงการวางเฉยที่แสดงว่าท่านยอมรับต่อพฤติกรรมบางอย่าง เท่ากับเป็นการอธิบายหลักเกณฑ์ของอัล-กุรอาน และเป้าหมายต่างๆ ในคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าเป็นการอธิบายที่สร้างพื้นฐานทางความคิด และความจริงจากบทบัญญัติทางศาสนาที่ท่านได้รับวะหฺยูมาจากอัลลอฮฺ มาเผยแก่มนุษย์

๑๒

 

มรดกเหล่านี้ที่มาจากท่านนบี ได้ถูกรวบรวมและวิเคราะห์ไว้ในตำราฮะดีษอันถูกแบ่งออกเป็นสามประเภท ตามลักษณะที่เรื่องราวเหล่านั้นปรากฏออกมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ดังนี้

๑ – วจนะของท่านศาสดา

หมายถึง การอธิบายของท่านศาสนทูต(ศ) โดยคำพูด จะเป็นคุฏบะฮฺ เป็นวจนะต่างๆ เป็นการชี้แนะ การตอบข้อซักถาม เป็นสาส์น ที่ท่านเขียนส่งไปยังบุคคลต่างๆ ตามที่ท่านสนทนากับพวกเขาด้วยสาส์น หรือบันทึกข้อตกลงทางการเมือง หรือคำอธิบายความหมายของอัล-กุรฺอาน

เป็นที่แน่ชัดว่า ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) เทศนาสั่งสอนประชาชนด้วยภาษาอาหรับ ในวิธีที่พวกเขาเคยชิน เพราะท่านต้องการประกาศเชิญชวนพวกเหล่านั้นเข้าสู่อิสลาม และรับรู้คำอธิบายกฎเกณฑ์ทางศาสนาและความรู้ต่างๆ ทางด้านความเชื่อ

ดังนั้น การเทศนาของท่านจึงมีทั้งคำพูด และวิธีการที่เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เปรียบเปรย อุปมาอุปมัย และเป็นคำพูดแบบผสมผสาน มีทั้งที่ท่านพูดกับคนทั่วไป และที่พูดเจาะจงกับบางคนโดยเฉพาะ มีทั้งที่พูดโดยวางเงื่อนไข และที่เป็นคำแถลงการณ์อย่างตรงไปตรงมา ทั้งประเภทคำสั่งห้าม และการอนุโลม...ฯลฯทั้งหลายเหล่านี้ เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และต้องมีมาตรการกำหนดกรอบของความหมาย และลักษณะของกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่มีอยู่ในคำพูดประเภทต่างๆ เหล่านั้นของท่านนบี(ศ)

๑๓

๒ – การกระทำของท่านศาสดา (ศ)

การกระทำใดๆ ของท่านนบี(ศ) ที่แสดงออกมาเป็นกิจจะลักษณะนั้นถือว่า เป็นกฎ เป็นมาตรการ และเป็นวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม

ศาสนาอิสลาม เป็นทั้งหลักปฏิบัติ เป็นทั้งคำสอนในพื้นฐานของการดำรงชีวิต

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) มีฐานะเป็นผู้จัดตั้งวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิต และเป็นผู้ที่กำหนดกฏเกณฑ์ทางศาสนา เป้าหมายทางการเมือง การเคารพภักดี แนวทางการประกาศศาสนา

การต่อสู้ การอยู่ร่วมกันในสังคม และอื่นๆ โดยพฤติกรรมและการกระทำของท่าน

อัล-กุรฺอานมีบัญชามายังประชาชาตินี้ว่า ให้ยึดมั่นตามหลักปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) เพราะท่านเป็นผู้ประกาศศาสนา ทั้งโดยคำพูด โดยการกระทำและท่าทีการแสดงออก ทั้งนี้ เพราะว่าท่านเป็นมะอฺศูม (ผู้ถูกปกป้องให้พ้นจากความบาป) ปราศจากความผิดพลาดในทุกสิ่งทุกอย่างที่เผยออกมาจากตัวท่าน

ดังมีโองการความว่า

“และอันใดที่ศาสนทูตได้นำมายังสูเจ้า ดังนั้น สูเจ้าจงยึดถือและอันใดที่เขาห้ามสูเจ้าก็จงหยุดเสีย”

๑๔

“แน่นอน ในตัวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺนั้น มีแบบฉบับสำหรับสูเจ้าอย่างดีเลิศ”

การกระทำใดๆ ของท่านศาสนทูต(ศ) จึงเป็นบทบัญญัติทางศาสนาและถือว่า เป็นหลักปฏิบัติในด้านกฏเกณฑ์ของศาสนาอิสลาม

คำอธิบายว่าด้วยการกระทำของท่านนบี(ศ)

นักปราชญ์ได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด เกี่ยวกับการกระทำของท่านนบีเพื่อความเข้าใจและจำแนกกฎเกณฑ์ทางศาสนาออกมา

เราสามารถแบ่งลักษณะของการกระทำในสิ่งต่างๆ ของท่านศาสนทูต(ศ) ออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้

๑ - ประเภทที่เป็นเรื่องส่วนตัวของท่านเอง เช่น ท่านสามารถแต่งงานมีภรรยาได้มากกว่า ๔คน การกระทำในลักษณะนี้ ไม่ถือเป็นกฎสำหรับคนอื่นๆ

๒ - ประเภทที่มีผลต่อคนในสังคม ได้แก่ การกระทำต่างๆ ของท่านในภาวะปกติ เช่น การ

ใช้ภาษาพูดเหมือนคนทั้งหลาย เพื่อให้พวกเขาเข้าใจในคำสอนของท่าน กฎเกณฑ์ในข้อนี้ ถือว่าครอบคลุมถึงคนอื่นๆ และเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งสำหรับพวกเขา

๑๕

๓ - ประเภทที่กระทำเหมือนกับคนทั้งหลายที่มีหน้าที่ต้องกระทำ จึงถือว่าเป็นกฏที่ครอบคลุมถึงผู้ทำหน้าที่ตามหลักศาสนาทุกคนในการดำเนินชีวิต

๔ - ประเภทที่กระทำในฐานะนบี ที่อธิบายให้ความรู้แก่ประชาชน

๕ - ประเภทที่กระทำในฐานะผู้ปกครอง และใช้อำนาจรัฐต่อบรรดามุสลิม การกระทำในข้อนี้ ถือว่าครอบคลุมถึงผู้ปกครองทางศาสนาทุกคน ซึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของคนมุสลิม

ในทุกยุคทุกสมัย นั่นคือหน้าที่ในการปกครองโดยผู้มีอำนาจสูงสุดผู้เดียว เช่น การลงนามทำสนธิสัญญา ในนามประชาชนการประกาศสงครามและประกาศยุติสงคราม

จากการศึกษาในเชิงวิชาการ ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านศาสนทูตจะกระทำในสิ่งต้องห้ามเพราะท่านมีฐานะเป็นมะอฺศูมผู้ประกาศศาสนาจากอัลลอฮฺ ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านได้กระทำต้องอยู่ในกฏที่เป็นหะลาล (ถูกอนุมัติตามหลักศาสนา) และเป็นวาญิบ (หน้าที่ที่ต้องกระทำตามหลักศาสนา) ทั้งสิ้น ส่วนสิ่งใดที่ท่านงดเว้น ไม่กระทำ หมายความ ว่า สิ่งนั้นมิใช่วาญิบ

๑๖

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึง ลักษณะการกระทำสิ่งต่างๆ ของท่านศาสนทูต โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่อธิบายการกระทำนั้นๆ ของท่าน เพื่อเราจะได้รู้ว่า ที่ท่านศาสนทูตได้กระทำอย่างนั้น อย่างนี้ ลงไป อย่างไหนบ้าง ที่อยู่ในประเภทวาญิบ ประเภทมุสตะหับ หรือเป็นเพียงการอนุโลม

เพราะมักรุฮฺ เป็นเรื่องหนึ่งที่อนุโลมให้กระได้ อีกทั้งเพื่อจะได้เข้าใจว่าสิ่งที่ท่านงดเว้นนั้น เป็นหะรอม (ต้องห้ามตามหลักศาสนา)

 หรือว่า เป็นมุบาหฺ (อนุโลม) เพราะว่าสิ่งที่ท่านงดเว้นนั้นมี ๒ ประเภท คือ มุบาหฺและหะรอม แต่ท่านศาสนทูต (ศ) จะไม่งดเว้นกิจกรรมที่เป็นวาญิบอย่างเด็ดขาด

การพิจารณาโดยละเอียดเช่นนี้ จะช่วยเปิดประตูในการแสวงหากฎเกณฑ์ทางศาสนาให้แก่เราได้อย่างกว้างขวาง จนเราได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นวาญิบ สิ่งใดเป็นหะลาล และสิ่งใดเป็นหะรอม

๑๗

ในบางครั้งท่านจะอธิบายการกระทำของท่าน ด้วยคำพูดของท่านเอง หรือบางครั้ง เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในเวลานั้นจะอธิบายให้โดยปริยาย เพื่อเราจะได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นวาญิบ หรือมุสตะฮับ หรือมุบาหฺโดยอาศัยการอธิบายจากคำพูดของท่าน หรือจากสภาพของเหตุการณ์ในยามนั้นเป็นข้อบ่งชี้

ขณะเดียวกับกรณีที่ท่านงดเว้น จากการกระทำในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็จะสามารถอาศัยคำพูดและเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น อธิบายได้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นหะรอมหรือมุบาหฺ เพราะการที่ท่านงดเว้นไม่กระทำนั้น มีทั้งที่เป็นหะรอมและมุบาหฺ

๓ - การแสดงออกซึ่งการรับรอง ในภาษาอาหรับใช้คำว่า “อิกร้อร” หมายถึง การยืนยันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (๖)

นอกจากนี้ ยังหมายถึง “การให้ความยอมรับ และยืนยัน การให้ความเห็นชอบ หรือการบันทึก การเซ็นรับรองโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ใน การรับรอง”(๗)

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเข้าใจว่า ท่าทีการแสดงออกของท่านศาสนทูต หมายถึง การเซ็นรับรองและความเห็นชอบจากท่านในการกระทำ หรือการพูดในเรื่องใดๆ ที่ท่านได้รู้เห็นจากบุคคลใด หรือจากกลุ่มบุคคลใดหรือสังคมใด แล้วท่านไม่ยับยั้งเรื่องเหล่านั้น

๑๘

ดังกล่าวนี้ หมายถึงความพอใจและความเห็นชอบของท่าน จึงถือว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของท่านซุนนะฮฺ และศาสนบัญญัติ เพราะถ้าหากการกระทำหรือคำพูดเหล่านั้น ขัดกับหลักศาสนาเป็นที่แน่นอนว่าท่านจะต้องยับยั้งและไม่พึงพอใจ

ตัวอย่างเช่น ท่านศาสนทูตได้รู้เห็นว่าประชาชนยอมรับฟังคำบอกเล่าที่ถ่ายทอดมาโดยคน คนเดียวแล้วให้ความเชื่อถือ เพราะคนผู้นั้นมีความสำคัญในหมู่คณะ แล้วท่านวางเฉย และไม่ทักท้วงแต่อย่างใด

จากเรื่องนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า การที่ท่านวางเฉย หมายถึงท่านยอมรับว่า ความเชื่อถือที่มีต่อคำบอกเล่าของคนคนเดียวนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เราจึงถือเป็นหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาบทรายงานที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ สมัยหลังจากที่ท่านรายงานมาโดยคนคนเดียว เมื่อคนผู้นั้นมีความน่าเชื่อถือ

*มักรูฮฺ คือ สิ่งที่ศาสนาเน้นให้งดเว้น แต่ไม่กำหนดโทษ แก่ผู้กระทำ เช่น ไอในเวลานมาซ, ถ่ายปัสสาวะลงในน้ำนิ่ง, การนอนหลับจนตะวัน ฯลฯ

ซึ่งเราไม่ต้องวางเงื่อนไขว่า ผู้รายงานบอกเล่าแต่ละเรื่องจะต้องมี ๒ หรือ ๔ คน รายงานว่า มาจากท่านนบีหรืออิมาม แล้วจึงจะยอมรับโดยเปรียบเทียบกับกฎว่าด้วยพยาน หรือการสืบสวนคดีความ

๑๙

ทั้งนี้ เพราะว่าการกระทำในทุกๆ เรื่องที่ปรากฏขึ้นโดยคนๆ เดียว หรือจากสังคมเดียว ถ้าหากท่านศาสนทูต(ศ) ทราบเรื่องแล้วไม่ห้าม ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในหลักศาสนา เนื่องจากการที่ท่านศาสนทูต(ศ) วางเฉยและไม่สั่งห้ามในสิ่งใดๆ นั้นหมายความว่าท่านให้การรับรองและเห็นชอบซึ่งถือเป็นหลักฐานได้ว่า สิ่งนั้นๆ ถูกต้อง และชอบด้วยหลักศาสนา

จึงถือได้ว่า การยอมรับบทรายงานจากคนคนเดียว สามารถเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ถึงบทบัญญัติทางศาสนาได้

ถ้อยคำและลักษณะต่างๆ ที่แสดงเหตุผล

จากการศึกษาวิเคราะห์คำเทศนาต่างๆ ของท่านนบี(ศ) จะพบว่าบทบัญญัติทางศาสนา ความรู้ และหลักความคิดด้านต่างๆ นั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะของการพูดของท่านเอง

ลักษณะในการพูดมีอยู่ด้วยกัน ๓ ประเภทคือ

ก. เป็นข้อบัญญัติ(นัศ) หมายถึง คำพูดที่ให้ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน แจ่มแจ้ง จนสามารถเชื่อมั่นได้ว่า ไม่มีทางที่ความหมายจะโน้มไปทางอื่นอีก โดยหลักเกณฑ์ของภาษา หรือ องค์ประกอบที่วางเป็นกรอบไว้ให้เข้าใจความหมายอย่างนี้ เช่นคำกล่าวของท่านที่ว่า

๒๐