วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48700
ดาวน์โหลด: 5254

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48700 / ดาวน์โหลด: 5254
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

“มุสลิม คือ พี่น้องของมุสลิม เขาจะต้องไม่สร้างความอธรรม ต้องไม่ฉ้อฉล ต้องไม่นินทา ไม่คดโกง ไม่หักหลัง และไม่ตัดไมตรีต่อกัน”(๘)

ข. เป็นสำนวนโวหาร (มุจญ์มัล) ในภาษาอาหรับให้ความหมายคำนี้ว่า

“ถ้อยคำที่ไม่ได้แสดงความหมายออกมาให้ชัดเจน”

หมายความว่า เป็นประโยคที่ให้ความหมายได้หลายแง่ โดยแต่ละแง่จะมีน้ำหนักก้ำกึ่งกัน เพราะมีเหตุมาจากศิลปะของการใช้ภาษา

กล่าวคือ ข้อความที่ถูกบันทึกมาในเรื่องซุนนะฮฺนั้น มีหลายรายงานฮะดีษ และมีวจนะของท่านนบี(ศ) ในหลายเรื่องที่สามารถเข้าใจความหมายได้หลายแง่

๒๑

แต่ละแง่จะมีความก้ำกึ่งกัน ทั้งเนื้อหาสาระและความหมายตามรูปประโยค เป็นความผสมผสานกันของถ้อยคำ ดังปรากฏอยู่ในฮะดีษและบทรายงานต่างๆ

ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น เราเชื่อว่า ประโยคที่มีความหมายให้เข้าใจได้หลายแง่มุม จะต้องมีเพียงความหมายเดียวเท่านั้น ที่ถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้พูด และความหมายนั้นจะต้องเป็นข้อยุติสำหรับความหมายอื่นๆ

แต่ความหมายที่ถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้พูด ก็ใช่ว่าจะเป็นถ้อยคำที่ชัดเจน จนเราสามารถจำแนกออกมาจากความหมายอื่นๆ ที่ถูกคาดคะเนไว้อย่างแน่ชัดเสียเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการวางกรอบความหมายที่ถูกต้องตามจุดประสงค์

นั่นคือ การแสวงหาข้อพิสูจน์จากภายนอกมาสนับสนุน เพื่อเป็นองค์ประกอบในการกำหนดขอบเขตของความหมาย ที่ต้องตามจุดประสงค์ทางศาสนา

ค. แสดงความหมายด้านนอก (ซอฮิรฺ) บ่อยครั้ววจนะของท่านนบีจะให้ความหมายสองทาง

แต่เมื่อได้ยินหรือได้ฟังถ้อยคำเหล่านั้น จิตสำนึกจะยอมรับอยู่กับความหมายหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น

๒๒

นั่นคือผลของการใช้ศิลปะทางด้านภาษาที่มีอยู่ในประโยคคำพูด ดังนั้น ประโยคเช่นนี้ จะแสดงความหมายด้านนอกให้ปรากฏออกมาซึ่งเป็นด้านหนึ่งของความหมายเท่านั้น ยังมิใช่ทั้งหมด

ลักษณะที่ว่านี้ เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งของวิชาการทางศาสนบัญญัติในอิสลาม ส่วนการยึดถือตามความหมายด้านนอกของประโยคนั้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้อภัย ทั้งนี้ เพราะว่า เมื่อใดที่ท่านศาสนทูตเทศนาสั่งสอนประชาชนและทำความเข้าใจกับประชาชนอยู่นั้น ท่านอธิบายตามวิธีการที่พวกเขาเคยชินกันอยู่

อัล-กุรอานได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า

“และเรามิได้ส่งศาสนทูตจากที่อื่นใดมา นอกจากศาสนทูตที่มีภาษาพูดเหมือนกับพวกเขาเพื่อจะอธิบายแก่พวกเขา”

โดยพื้นฐานอันนี้ บรรดานักการศาสนาได้สรุปไว้ให้เป็นแบบแผนทางวิชาการ เพื่อแสวงหาความรู้จากวจนะของท่านศาสนทูต โดยใช้ชื่อเรียกประโยคคำพูดแบบนี้ว่า “หลักฐานที่แสดงความหมายด้านนอก”

 (ฮุจญียะตุซซุฮุรฺ)

หมายความว่า เราเข้าใจในความหมายด้านนอกของประโยคคำพูดนั้นๆ ของท่านนบี อย่างไร ที่ตรงกับความหมายตามพื้นฐานในหลักภาษาอาหรับ นั่นคือ หลักฐานแสดงว่า เราพ้นจากภาระที่ต้องรับผิดชอบแล้ว

๒๓

เพราะภาษาอาหรับนี่เอง ได้นำเราเข้าสู่กฏเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติ และวิชาการของอิสลาม ที่มาในรูปประโยคต่างๆ ที่เป็นซุนนะฮฺโดยคำพูดทั้งๆ ที่ความหมายของประโยคนั้นๆ มีมาตั้งแต่สมัยที่ท่านนบีวางบทบัญญัติ นับว่าห่างไกลจากยุคของเรามาก

ด้วยเหตุนี้ หากเราด้อยประสิทธิภาพในด้านภาษา ก็จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ในหลักวิชาทางด้านภาษา เพื่อจะได้นำเอากฏเกณฑ์ และแนวความคิดออกมาจากถ้อยคำต้นแบบเหล่านั้น

*เชค มุศฏอฟา อัล-อิติมาดีย์/ชะเราะฮ์ มะอาลิมุดดีน/หน้า ๒๓๙

ซุนนะฮฺกับหลักความคิดและบทบัญญัติ

บทบัญญัติในศาสนาอิสลามประกอบด้วยกฎหมายและบทบัญญัติต่างๆ ที่มาจากอัลลอฮฺ

เพื่อวางระเบียบใหม่ให้แก่มนุษยชาติทั้งมวลไม่ว่าในการสัมพันธ์กับอัลลอฮฺหรือต่อตนเอง หรือที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น

หลักความคิดแบบอิสลาม หมายถึง กระบวนการแห่งความรู้ ที่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา เช่น ความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง ปรัชญา ศาสนา จริยธรรม และการอธิบาย อัล-กุรฺอาน ฯลฯ

๒๔

ทั้งคัมภีร์อัล-กุรฺอาน และซุนนะฮฺนบีนั้น ต่างก็เป็นแหล่งที่มาของหลักความคิด ความรู้และบทบัญญัติทางศาสนา โดยอัล-กุรฺอานได้ยืนยันถึงฐานะของซุนนะฮฺที่มีต่อคัมภีร์ ให้มนุษย์ได้รู้

ดังโองการความว่า

“และเขามิได้เผยวจนะมาจากอารมณ์ หากแต่มันเป็นวะหฺยูที่ถูกประทานมาโดยผู้มีฤทธานุภาพอันทรงพลังได้สอนให้เขารู้”

“(ศาสดามุฮัมมัดกล่าวเถิดว่า) ฉันไม่มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงโดยความรู้ภายในจิตใจของฉัน ฉันมิได้ทำตามสิ่งอื่นใด นอกจากที่ถูกประทานเป็นวะหฺยูมายังฉันเท่านั้น”

“และสิ่งใดที่ศาสนทูตนำมายังสูเจ้า ดังนั้น สูเจ้าจงยึดถือมันไว้ และสิ่งใดที่เขาห้ามสูเจ้าดังนั้น จงหยุดยั้งเสียเถิด”

“แน่นอน ได้มีแบบอย่างในตัวศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ สำหรับสูเจ้าอย่างดีเลิศ”

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ และจงเคารพเชื่อฟังศาสนทูต และผู้มีอำนาจปกครองในหมู่สูเจ้า ดังนั้น ถ้าหากสูเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องใด ให้นำเรื่องนั้นย้อนกลับยังอัลลอฮฺและศาสนทูต ถ้าหากสูเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นคือ ความดีงาม และเป็นการให้ความหมายที่ดี”

๒๕

“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)จงเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ และจงเคารพเชื่อฟังศาสนทูต ดังนั้นสำหรับเขาก็มรหน้าที่รับผิดชอบ และสำหรับสูเจ้าก็มีหน้าที่รับผิดชอบ และถ้าหากสูเจ้าเคารพเชื่อฟังเขา สูเจ้าก็จะได้รับทางนำ และศาสนทูตไม่มีหน้าที่อื่น เว้นแต่การประกาศข่าวอันชัดแจ้ง”

 (อัน-นูร/๕๔)

“และเรามิได้ส่งศาสนทูตจากที่ใดมา เว้นแต่ผู้ที่ใช้ภาษาพูดเหมือนกับพวกเขา เพื่ออธิบายแก่พวกเขา”

 (อิบรอฮีม/๔)

ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า อัล-กุรฺอาน ให้การยอมรับในบทบาทของ

ซุนนะฮฺและพฤติกรรมการแสดงออกโดยท่านศาสนทูต(ศ) ว่าเป็นส่วนหนึ่งจากสาส์นอันอมตะของพระผู้เป็นเจ้า

จากพื้นฐานการอธิบายของอัล-กุรฺอานในเรื่องเหล่านี้ บรรดาอิมามและนักปราชญ์ถือว่าซุนนะฮฺเป็นแหล่งที่มา ของบทบัญญัติ ทางศาสนา หลักความคิด และความรู้ทางด้านวัฒนธรรม อันดับสองรองจากอัล-กุรฺอาน

อิมามญะฟัร ศอดิก (อ) ทายาทท่านหนึ่งของศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ(ศ) ได้อธิบายถึงบทบาทของซุนนะฮฺ ในการวางบทบัญญัติว่า

“บทบัญญัติจะมาจากทางอื่นมิได้เลย เว้นแต่จะมาจากพระคัมภีร์หรือซุนนะฮฺเท่านั้น”(๙)

๒๖

ท่านได้รายงานอีกว่า

“ทุกเรื่อง ต้องถูกนำกลับมาพิจารณากับพระคัมภีร์ และซุนนะฮฺ และทุกฮะดีษ ที่ไม่ตรงกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ล้วนเป็นของปลอม”(๑๐)

อิมามมูซา กาซิม บุตรของอิมามญะฟัร ศอดิก (อ) ได้ตอบคำถามจากสหายคนหนึ่งที่ตั้งคำถามว่า

“ทุกสิ่งทุกอย่าง มีอยู่ในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและซุนนะฮฺนบีของพระองค์หรือว่าพวกท่านกล่าวขึ้นเองในเรื่องนั้นๆ”

ท่านตอบว่า “ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนอยู่ในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์(๑๑)

รายงานจากอิมามมุฮัมมัด บิน อาลี อัล-บากิร (อ) ว่า

“ทุกอย่าง ถ้าเกินเลยต่อซุนนะฮฺ จะต้องถูกนำกลับมาหาซุนนะฮฺ”(๑๒)

เมื่อได้ศึกษาในหลักการศาสนาโดยละเอียด เราจะพบว่า ซุนนะฮฺ คือ แหล่งที่มาของกฎเกณฑ์และกฎหมายทางศาสนาเหล่านั้น ทั้งนี้ เพราะอัล-กุรฺอานมิได้เสนอรายละเอียดใดๆ ใน

ด้านกฏเกณฑ์ทางศาสนา ทั้งในด้านการเคารพภักดี ด้านสังคม นอกจากแค่เพียงกล่าวโดยสรุป

๒๗

แต่ท่านศาสนทูตได้รับมอบหมายจากอัลลอฮฺ ให้มาทำหน้าที่ครูอธิบายเรื่องราวต่างๆในอัล-กุรฺอาน เพื่อให้รายละเอียด และได้อธิบายในเรื่องบทบัญญัติทางศาสนา

ดังตัวอย่างเช่น อัล-กุรฺอาน วางหลักการเกี่ยวกับซะกาต ในฐานะที่เป็นกิจการด้านการคลังว่า

“จงนำส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินของพวกเขา มาเป็นทานบริจาค เพื่อการชำระขัดเกลาพวกเขา ด้วยสิ่งนั้น”

ท่านศาสนทูต(ศ) ก็ได้ปฏิบัติตามธรรมนูญข้อนี้เพื่อเป็นพื้นฐาน และได้ให้รายละเอียดไว้

เป็นกฎหมายสำหรับเรื่องนี้ โดยได้อธิบายถึง สัดส่วนของทรัพย์สินต่างๆ ที่จะต้องจ่ายเป็นซะกาต

ทั้งขนาด ปริมาณ ระยะเวลา และเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็นของเรื่อง...ฯลฯ

อัลลอฮฺทรงบัญชามายังมวลมุสลิม เรื่องการบำเพ็ญฮัจญ์ ฝ่ายท่านศาสนทูต(ศ) ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ในการบำเพ็ญฮัจญ์ ให้ประชาชนรู้โดยท่านกล่าวว่า

“พวกท่านจงถือปฏิบัติพิธีกรรมของพวกท่านตามฉัน”

๒๘

ทำนองเดียวกัน ท่านยังได้อธิบายในกฎของการถือศีลอด การนมาซ การซื้อขาย การแต่งงาน การเลี้ยงดูบุตร การให้นมแก่บุตร การทำสนธิสัญญาทางการเมือง กฎหมายว่าด้วยการทำสงคราม ว่าด้วยที่ดิน และหนี้สิน ตลอดทั้งวิธีการพิจารณาพิพากษาด้านคดีความ...ฯลฯ

ผู้ที่ได้ศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระคัมภีร์กับซุนนะฮฺ จะพบว่ามีลักษณะเหมือนความสัมพันธ์ของรัฐธรรมนูญกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับทั่วไป ที่มีอยู่ในประมวลกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม

กล่าวคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยสมาชิกสภาร่างฯ นั้น เป็นกฎหมายพื้นฐานของรัฐและสังคม ขณะที่กฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ทางกฎหมาย ทำหน้าที่ให้รายละเอียดทางด้านบทบัญญัติที่ถูกตราขึ้นในกรอบของรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น ผู้ตราบทบัญญัติของอิสลาม จึงต้องดำเนินการวางหลักเกณฑ์และรายละเอียดต่างๆให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของอัล-กุรฺอาน

ท่านศาสนทูต(ศ) คือครูที่ถูกส่งมาจากอัลลอฮฺ ท่านมิได้ลุแก่อำนาจใดๆ ในการวางบทบัญญัติ และตรากฎหมายใดๆ ตามลำพังท่านเอง หากแต่เป็นไปตามที่อัลลอฮฺทรงสอน ทั้งในเรื่องการเคารพภักดี การวางกฎระเบียบทางสังคมหรือหลักเกณฑ์ด้านการปกครอง

กล่าวในฐานะที่เป็นนักปกครอง ท่านคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารกิจการของชาวมุสลิม

๒๙

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ถ้ามา จากท่านแล้วล้วนถือเป็นซุนนะฮฺ ที่อัลลอฮฺทรงสอนให้เพราะท่านมีหน้าที่รับเรื่องราวเหล่านั้นมาจากอัลลอฮฺ

ดังนั้น ซุนนะฮฺ จึงหมายถึงคำอธิบายขยายความหมายในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ เพราะการเป็นนบี หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ประกาศข่าวทั้งหลายที่มาจากวะหฺยู และเป็นผู้รู้ในสิ่งเหล่านี้ อาจด้วยการได้รับสภาวะการดลจิต(อิสฮาม) หรือโดยการที่จิตที่สามารถบรรลุเข้าถึงสภาวะที่บริสุทธิ์

หรือโดยการเรียนรู้โดยตรงจากอัลลอฮฺ ซึ่งมีญิบรอเอล เป็นสื่อกลาง บรรดานักปราชญ์เชื่อถือว่า กฏเกณฑ์และบทบัญญัติต่างๆ ทางศาสนาที่มีรายละเอียดทั้งหลายทั้งปวง ตามที่ท่านได้ให้เป็นแบบอย่างไว้แก่ประชาชาติของท่านนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยวะหฺยูจากพระผู้อภิบาล ที่ทรงประทานมายังท่าน

การได้มาซึ่งสิ่งนี้ นักปราชญ์บางคนให้ความเห็นว่า เป็นการใช้

หลักอิจญ์ติฮาดอย่างหนึ่งของท่านศาสนทูต(ศ) โดยให้การยอมรับว่าการอิจญ์ติฮาด(ใช้ความเพียรอย่างสูงสุด เพื่อวินิจฉัยหลักการใดๆ ให้ออกมาเป็นบทบัญญัติทางศาสนา) ของท่านมิได้เป็นเหมือนอย่างการอิจญ์ติฮาด

ของนักการศาสนาทั้งหลาย ซึ่งมีผลลัพท์ออกมาทั้งถูกและผิด

หากแต่การอิจญ์ติฮาดของท่าน มีแต่ความถูกต้องล้วนๆ และสามารถบรรลุถึงกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺได้อย่างแท้จริง เพราะกฏเกณฑ์ที่ท่านเผยออกมานั้นไม่ว่าอยู่ในเรื่องใด มิได้มาจากที่ไหนเลย เว้นแต่มาจากเนื้อแท้ของบทบัญญัติและกฏเกณฑ์ทางศาสนา ที่ท่านสามารถเข้าถึงได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง สมบูรณ์ที่สุด ทั้งสิ้น

๓๐

อัล-ฮิลลีย์ นักปราชญ์ผู้ทรงคุณ เคยตอบปัญหาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ท่านศาสนทูตจะแสวงหากฏเกณฑ์ทางศาสนา โดยวิธีการต่างๆ ตามทฤษฏีว่าด้วยศาสนบัญญัติ (อัล-อิจญ์ติฮาด) โดยปราศจากการใช้หลักเปรียบเทียบ (กิยาส) ว่า

“เราไม่คัดค้านในความเป็นไปได้สำหรับประเด็นนี้ แต่เราไม่สามารถรู้ในความจริงของเหตุการณ์ โดยข้อสันนิษฐานอันนี้ จะถือว่าการอิจญ์ติฮาดของท่านมีผิดพลาดได้หรือไม่?

 คำตอบก็คือ ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะว่า

๑ – ท่านเป็นมะศูม ผู้ปราศจากความบาป ไม่ว่าโดยเจตนาหรือหลงลืม

๒ – เราทั้งหลายถูกบัญชาให้ปฏิบัติตามท่าน ดังนั้น ถ้าหากความผิดพลาดยังอาจเกิดจากท่านได้ ในการวางกฏเกณฑ์ต่างๆ แน่นอน หลักปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวง จะต้องมีความผิดพลาด

นั่นย่อมหมายความว่าเป็นโมฆะทั้งหมด

๓ – หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ความเชื่อถือในคำสั่งและข้อห้ามในด้านต่างๆ ของท่านก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป จะมีก็แต่ผู้ปฏิเสธ ไม่ยอมรับคำสอนของท่านในที่สุด” (๑๓)

จากการใช้ดุลยพินิจในเนื้อหาสาระของซุนนะฮฺ เราสามารถพบเห็นตัวอย่างหลายประการ

๓๑

ที่ท่านศาสนทูตนำมาจากพระคัมภีร์ ซึ่งตัวอย่างอันนี้มีปรากฏในฮะดีษที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายบทหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระจากประโยคในฮะดีษ จะมีลักษณะที่ดำเนินไปตามความหมายจากบทบัญญัติอันยิ่งใหญ่ทางศาสนา ตามรายงานที่บันทึกถ้อยคำของท่านว่า

“ประชาชาติของฉันจะได้รับการอภัยให้ใน ๙ ประการ ดังนี้

๑ – ความพลาดพลั้ง

๒ – ความหลงลืม

๓ – ความไม่รู้

๔ – สภาพที่สุดวิสัย

๕ – สภาพที่ถูกบังคับ

๖ – ยามอยู่ในอุปสรรค

๗ – ความคิดชั่ววูบ

๘ – เกิดแรงบันดาลใจอย่างไม่รู้ตัว

๙ – การกระซิบกระซาบทางความคิดที่มีอยู่ในตัวของผู้ถูกสร้าง

ทั้งนี้ ตราบใดที่เขายังไม่ถลำตัวกระทำลงไปอย่างมีเจตนา”

จากการพิจารณาในกฎเกณฑ์ทางศาสนาเหล่านี้แล้ว เราจะพบว่ามีพื้นฐานที่มาจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นตัวบท หรือความหมาย ดังโองการของพระองค์ ความว่า

“และไม่เป็นบาปแก่สูเจ้า ในสิ่งที่สูเจ้าพลั้งผิด แต่ที่เป็นบาปคือที่หัวใจของสูเจ้ามีเจตนา

๓๒

และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงให้การอภัย ทรง เมตตาเสมอ”

 (อัล-อะห์ซาบ/๕)

“และเรายังไม่เป็นผู้ลงโทษความผิดใดๆ จนกว่า เราจะส่งศาสนทูตมา”

“และอัลลอฮฺจะไม่ทำให้คนกลุ่มใดหลงผิด หลังจากที่ทรงชี้นำพวกเขาแล้ว จนกระทั่งสิ่งที่พวกเขายำเกรงจะเป็นที่แน่ชัดแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ในสรรพสิ่ง”

“อัลลอฮฺไม่ทรงวางภาระให้แก่ชีวิตใด นอกจากตามความสามารถของมัน”

อัลลอฮฺ ไม่ทรงวางภาระให้แก่ชีวิตใด นอกจากให้เป็นไปเท่าที่เขาทำได้”

“ดังนั้น ผู้มีอุปสรรคที่ปราศจากความละเมิด และมิใช่ด้วยการทรยศก็จะไม่เป็นบาปแก่เขา”

“มีข้อยกเว้นให้ สำหรับคนที่ถูกบีบบังคับ ขณะที่หัวใจของเขายังมั่นคงด้วยความศรัทธา”

อิมามศอดิก(อ) ได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับพลังสนับสนุนที่ท่านนบีได้รับโดยมีวิญญาณบริสุทธิ์เป็นสื่อกลาง ท่านกล่าวว่า

“แท้จริง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เป็นผู้ได้รับความสัมฤทธิ์ผล เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนโดยวิญญาณบริสุทธิ์ ฉะนั้นท่านจึงไม่เคยพลาด และไม่เคยผิดในสิ่งใด โดยแรงบันดาลอันเกิดขึ้นตามวิสัยของมนุษย์เลย”(๑๔)

๓๓

ซุนนะฮฺของสาวก (ศ่อฮาบะฮฺ)

คนมุสลิมทั้งหลายเชื่อถือตรงกันเสมอว่า พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์นั้น เป็นแหล่งที่มาของหลักความคิดบทบัญญัติ และวิชาการทางศาสนาอิสลาม

ความเชื่ออย่างนี้ เป็นหลักการที่ยอมรับอยู่ในอิสลาม และเป็นความเชื่อในเกณฑ์เดียวกับบทบัญญัติ ในสมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

หลังจากท่านนบี(ศ) วะฟาตแล้วได้มีเหตุการณ์และปรากฏการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเรื่องเหล่านั้นไม่มีข้อบัญญัติบันทึกไว้ให้ชัดเจน

จนคนมุสลิมทั้งหลายมีความรู้สึกว่า จำเป็นจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านั้น และจะต้องมีมาตรการในการตราบทบัญญัติทางศาสนาต่อเรื่องนั้นๆให้ได้

ดังนั้น บรรดามุสลิมจึงนำเรื่องเหล่านั้นไปหาทางออกกับบรรดาผู้รู้ในหมู่สาวก ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำการวินิจฉัยให้แก่ประชาชน โดยที่การวินิจฉัยในแต่ละครั้ง มีทั้งสอดคล้องและขัดแย้งกันเอง

ได้มีการเรียกชื่อว่า “แนวทาง”หรือ “การวินิจฉัยของบรรดาศ่อฮาบะฮฺ”

ขณะเดียวกัน หลักปฏิบัติในภาคการเคารพภักดี หรือด้านการเมือง การคลัง...ฯลฯ ที่ปรากฏออกมาจากศ่อฮาบะฮฺ พวกเขาก็ยึดถือปฏิบัติกัน โดยให้ชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “ซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺ”

๓๔

บรรดามุสลิมได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นมาในภายหลัง กรณีที่มีการยึดถือตามแนวทาง(มัซฮับ) และซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺมาเป็นหลักฐานอ้างอิง

สามารถจัดลำดับพื้นฐานความขัดแย้งได้ ดังนี้

๑- ความหมายของคำว่า “ศ่อฮาบะฮฺ”

๒-ความน่าเชื่อถือแห่งซุนนะฮฺ และแนวทางของบรรดาสาวก ในการจะยึดมาเป็นกฏเกณฑ์ทางศาสนา

๓-มีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า การจะยึดบุคคลใดเป็นข้อพิสูจน์ในหลักฐานศาสนานั้น ขึ้นอยู่กับภูมิความรู้ และความเที่ยงธรรม ดังนั้น นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งจึงหยิบยกเอาปัญหาสองประเด็นนี้มาวิเคราะห์

สำหรับปัญหาที่ว่านี้ ได้มีการถกเถียงกันมากโดยสำนักวิชาการทางศาสนาสองฝ่ายที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺ (กิจกรรมของบรรดาสาวก) ย่อมถือเป็นหลักฐานทางศาสนาได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ากิจกรรมของศ่อฮาบะฮฺยังไม่เหมาะสมที่จะถือเป็นแหล่งที่มาของบทบัญญัติทางศาสนา

หากแต่อาจถือเป็นช่องทางว่ามาจากซุนนะฮฺนบีได้ ในกรณีที่กิจกรรมนั้นๆ มาจากเศาะฮาบะฮฺ ที่เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

คำว่า “ศ่อฮาบะฮฺ” มีที่มาจากคำว่า “ศ่อฮิบ” ซึ่งได้รับคำจำกัด ความว่า “ผู้ที่อยู่ประจำ จะประจำอยู่กับคน สัตว์ สถานที่ หรือกาลเวลา ก็ได้ จะประจำอยู่ด้วยตัวตน ซึ่งเป็นพื้นฐานมาแต่เดิม

๓๕

จะประจำอยู่เป็นเวลานาน หรือด้วยความผูกพันทางจิตที่ให้ความสำคัญก็เหมือนกันทั้งนั้น ไม่มีข้อแตกต่าง แต่เป็นที่รู้กันดีว่าคำนี้ไม่อาจใช้เรียกใครๆ ได้ นอกจากคนที่อยู่กันประจำกับสิ่งนั้นๆ เป็นเวลาเนิ่นนานมากเท่านั้น(๑๕)

จากคำจำกัดความเหล่านี้ เราได้รู้ว่า ความหมายของคำว่า ศ่อฮาบะฮฺ ในแง่ของภาษาและวิชาการก็คือ คนที่อยู่กับท่านศาสนทูต แห่งอัลลอฮฺมาเป็นประจำตลอดเวลาอันยาวนานนั่นเอง

นี่คือ คำจำกัดความ ที่สำนักวิชาการฝ่ายอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ยึดถือเป็นหลักขณะที่อิบนุฮะญัร

อัล-อัสกิลลานีย์ อัซ-ชาฟิอีย์ ให้ความหมายว่า

“ศ่อฮาบะฮฺ” หมายถึงคนที่เคยพบเคยเห็นท่านนบี(ศ) ในขณะที่มีความศรัทธาต่อท่าน และได้ตายในศาสนาอิสลาม ที่จัดว่าเคยพบนั้น หมายความว่า เคยนั่งกับท่าน จะนานหรือชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย จะได้ถ่ายทอดคำพูดของท่านต่อยังคนอื่นหรือไม่ จะเคยร่วมทำศึกกับท่านหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นศ่อฮาบะฮฺทั้งนั้น อีกทั้งยังรวมไปถึงคนที่เคยเห็นท่าน แม้จะไม่เคยนั่งร่วม กระทั่งคนตาพิการที่มองท่านไม่เห็น”(๑๖)

อย่างไรก็ตาม อิบนุฮะญัร ได้บันทึกคำจำกัดความของอัล-มาริซีย์ไว้ในหนังสือ “ชะเราะห์อัล-บุรฺฮาน” ตามข้อความเดิมว่า

“คนที่เป็นศ่อฮาบะฮฺนั้น เรามิได้หมายถึงทุกคนที่เคยเห็นท่านนบีในวันใดวันหนึ่งเพียงแค่นั้น หรือได้เคยเข้าพบท่านเพียงครั้งหนึ่ง หรือผู้ที่เคยร่วมทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งกับท่านแล้ว

๓๖

แยกตัวออกไปจากความใกล้ชิดที่เคยมี หากเราหมายความถึงบรรดาผู้ที่มั่นคงอยู่กับท่าน เขาเหล่านั้นคือ ผู้รับชัยชนะ”(๑๗)

จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของ อัล-มาริซีย์ สอดคล้องกับคำจำกัดความจากสำนักวิชาการ

อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) คือ ถือว่าศ่อฮาบะฮฺไม่ใช่ใครก็ได้ทุกคน ที่เคยเห็นท่านศาสนทูต(ศ) หรือที่เคยเยี่ยมท่านในที่ประชุม หรือที่เคยพบกับท่านแล้ว ถือเป็นศ่อฮาบะฮฺทั้งสิ้น

หากศ่อฮาบะฮฺในความหมายที่เป็นจริง หมายถึงผู้ที่มีจิตมั่นคงกับท่าน ช่วยเหลือผูกพันจน

เป็นที่ยอมรับกันอย่างดี ว่ามีความใกล้ชิดสนิทลึกซึ้ง โดยยึดถือซุนนะฮฺของท่าน อยู่ร่วมในวิถีชีวิตอันจำเริญกับท่าน เชื่อฟังโอวาทของท่านด้วยดีเสมอ

ความขัดแย้งของนักปราชญ์ในมัซฮับต่างๆ ของอิสลามนอกเหนือ จากที่มีในเรื่องคำจำกัดความ ในคำว่า ศ่อฮาบะฮฺ แล้วยังมีประเด็นขัดแย้งกัน อีกอย่างหนึ่งคือ จะยึดถือซุนนะฮฺของศ่อฮะบาฮฺ เป็นหลักการทางศาสนาได้หรือไม่

สำนักวิชาการฝ่ายอิมามียะฮฺ (แนวทางของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ โดยท่านอะลีและลูกหลานเป็นผู้นำ) ถือว่า ทั้งซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺ และมัซฮับ ศ่อฮาบะฮฺ ไม่อยู่ในมาตรฐานอันใดจะให้ยึดถือ

๓๗

เพราะเหตุว่า ศ่อฮาบะฮฺเอง ต่างก็มีความขัดแย้งกัน ในแง่ของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดทั้งการถือปฏิบัติในแนวทางศาสนาอยู่แล้ว โดยที่แต่ละท่านจะมีแนวทาง มีวิถีการดำเนินชีวิตของท่านเอง พวกท่านถือว่าไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะยึดถือซุนนะฮฺและมัซฮับเหล่านี้ของศ่อฮาบะฮฺด้วยกัน

หลักฐานยืนยันในเรื่องนี้ได้แก่ กรณีที่ท่านอะลีปฏิเสธยืนกราน ไม่ยอมถือปฏิบัติตามแนวทางการทำงานของผู้อาวุโสสองท่านแรกที่ดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺ นั่นคืออะบูบักร์ และอุมัร

นักประวัติศาสตร์ได้รายงานไว้ว่า หลังจากอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบ เสียชีวิตแล้วอับดุรเราะหฺมาน บิน เอาฟฺ ได้เจรจากับท่านอะลี บินอะบี ฏอลิบ ตอนหนึ่งเขาได้กล่าวขึ้นว่า

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ทั้งเราและท่าน หากท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครอง

ท่านจะต้องปกครองพวกเราตามแนวทางแห่งพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ซุนนะฮฺแห่งนบีของพระองค์และแนวทางของอะบูบักร์ อุมัร”

ท่านอะลีตอบว่า “ฉันจะปกครองพวกท่านด้วยพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและซุนนะฮฺแห่งนบีของพระองค์อย่างสุดความสามารถ”(๑๘)

ต่อจากนั้น อับดุรเราะมานก็ได้มาพบท่านอะลีอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดยยื่นข้อเสนอเดิม ฝ่ายท่านอะลีก็ยังให้คำตอบเดิมเช่นกัน

๓๘

ต่อมาเขาได้มาพบท่านอะลีเป็นครั้งที่ ๓ และได้ยื่นข้อเสนอเดิมอีกครั้งท่านอะลีจึงตอบเขาว่า

“แท้จริง สำหรับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบี ของพระองค์นั้น ไม่มีความจำเป็นอันใดจะต้องอิงหลักการอื่นเข้า มาร่วมด้วยอีกท่านเป็นผู้พยายามขัดขวางตำแหน่งการปกครองให้พ้นจากฉันต่างหาก”(๑๙))

จะเห็นได้ว่า ขณะทีอะลีปฏิเสธ อุษมานกลับตกลงยอมรับเงื่อนไขนี้ ซึ่งต่อมาในภายหลังเขาก็มิได้ยึดถืออะไรจากแนวทางของอะบูบักร์และอุมัรมากมายเท่าใดนัก

อิมามอาลีเอง เมื่อได้ขึ้นครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแล้ว ก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขกิจการต่างๆมากมาย ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่อุษมานเคยดำเนิน การมาก่อน

ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีหลักการให้ยึดถือซุนนะฮฺและมัซฮับของศ่อฮาบะฮฺ เพราะทั้งสองอย่าง มิใช่แหล่งที่มาของบทบัญญัติทางศาสนา ทั้งนี้ เพราะความเป็นศ่อฮาบะฮฺ ไม่อาจสร้างสภาพมะศูมให้แก่ตัวศ่อฮาบะฮฺเองได้ ดังนั้นแนวทางของศ่อฮาบะฮฺ จึงมีทั้งผิดและถูก

ประวัติศาสตร์ได้ยืนยันให้ตระหนักในความจริงดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้จนนองเลือด และสงครามที่ห้ำหั่นกันเองในหมู่พวกเขารวมทั้งความขัดแย้งต่างๆ ที่ศ่อฮาบะฮฺกับศ่อฮาบะฮฺต่างหักล้าง ซึ่งกันและกัน

๓๙

นอกจากนักปราชญ์มุสลิมจะขัดแย้งในประเด็นที่ว่า ซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺเป็นหลักฐานทางศาสนาหรือไม่ แล้วพวกเขายังมีความเห็นขัดแย้งกันในอีกประเด็นหนึ่งว่า มัซฮับของศ่อฮาบะฮฺเป็นหลักฐานทางศาสนาหรือไม่

เพราะเรื่องราวต่างๆ จะถูกถ่ายทอดมาจากที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยความ หรือการทำในกิจกรรมใดๆ โดยไม่รู้ถึงแหล่งที่มาของการวินิจฉัย และกิจกรรมนั้นๆ แต่นักปราชญ์บางส่วน

และอิมามในหลายมัซฮับก็ยังนำมาถือปฏิบัติ ขณะที่บางส่วนปฏิเสธ ไม่ยอมรับเรื่องเหล่านั้นมาเป็นหลักฐาน

ส่วนหนึ่งของพวกที่ปฏิเสธไม่ยอมยึดถือมัซฮับของศ่อฮาบะฮฺ เป็นหลักฐาน ได้แก่

นักปราชญ์ผู้คงแก่เรียนอย่างเช่น อิมามฆอซาลีย์ ท่านได้กล่าวให้เหตุผลว่า

“เพราะมีความเป็นไปได้ว่า พวกเขาเหล่านั้น มีความผิดพลาด พลั้งเผลอ และไม่มีสภาพ

การเป็นมะศูม จึงไม่อาจยึดคำสอนของพวกเขาเอง เป็นหลักฐานได้”

จะยึดถือเข้าไปได้อย่างไร เมื่อเขาเหล่านั้น มีความผิดพลาด จะอ้างอย่างไร้หลักฐานได้อย่างไร ว่าพวกเขาเป็นมะศูม จะเป็นมะศูมได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขายังขัดแย้งกันเองได้ บรรดามะศูม จะขัดแย้งกันเองได้อย่างไร

จะให้ทำอย่างไร เมื่อบรรดาศ่อฮาบะฮฺ ก็มีความเห็นตรงกันว่า อนุญาตให้ขัดแย้งกับศ่อฮาบะฮฺได้?

๔๐