วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48712
ดาวน์โหลด: 5254

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 48712 / ดาวน์โหลด: 5254
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

“บิดอะฮฺ” หมายถึง กิจกรรมที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ ในทางศาสนาซึ่งไม่มีที่มาจากพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ ที่ได้เรียกว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นบิดอะฮฺ ก็เพราะคนที่สอนสิ่งนั้น ได้คิดประดิษฐ์สิ่งนั้นด้วยตัวเอง”(๕๓)

ดังนั้น “บิดอะฮฺ” หมายถึง ทุกๆกิจกรรมที่ถูกสอดแทรกเข้ามาในศาสนา ทั้งๆ ที่มันมิได้เป็นเรื่องของศาสนา”

ท่านศาสนทูต ศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) เคยตักเตือนประชาชนว่า ให้ระวังกิจกรรมประเภทที่ถูกอุตริขึ้นมา และการประดิษฐ์คิดค้นเรื่องใหม่ๆ ขึ้นมาในศาสนาโดยท่านได้กำชับไว้ในคำเทศนาสั่งสอนอย่างจริงจังว่า

“คำสอนที่ดีที่สุดได้แก่ พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ทางนำที่ดีที่สุดนั้น ได้แก่ทางนำของมุฮัมมัด

กิจการที่เลวร้ายที่สุดได้แก่ กิจการที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และทุกอย่างที่ถูกอุตริขึ้นมาย่อมเป็นเรื่องที่หลงผิดทั้งสิ้น”(๕๔)

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า บิดอะฮฺ คือ การกระทำที่ตรงข้ามกับซุนนะฮฺ

และความหมายของคำว่า กิจกรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็คือ กิจกรรมใหม่ในทางศาสนาที่ไม่มีพื้นฐานที่มาจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ

 และซุนนะฮฺนบีของพระองค์ แต่มีการถือกันว่า เป็นหลักการศาสนา

๖๑

บิดอะฮฺ คือ สิ่งที่ถูกพยายามทำขึ้นมาเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมของอิสลาม เพื่อจะได้นำความคิดและความเชื่ออย่างอื่นเข้ามาสอดแทรกในพื้นฐานทางศาสนาทั้งๆ ที่มันมิใช่มาจากศาสนา

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า ประชาชาติในยุคสมัยก่อนๆ เคยนำกิจกรรมที่เป็นบิดอะฮฺเข้ามาสอดแทรกในคำสอนและได้เปลี่ยนแปลงคำสอนนั้นให้เป็นอย่างอื่น ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรฺอานจึงเตือนให้ระวังการกระทำที่เป็นบิดอะฮฺ ทั้งทางด้านความคิดและการปฏิบัติดังโองการความว่า

“...พวกเขาได้ประดิษฐ์มันขึ้นมาใหม่ เรามิได้บันทึกสิ่งนั้นแก่พวกเขานอกเสียจากเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ พวกเขาไม่ได้ระวังรักษาไปตามสิทธิของการที่จะต้องระวังรักษานั้น ดังนั้น เราจึงประทานรางวัลแก่ผู้ศรัทธาในหมู่พวกเขา แต่ส่วนมากพวกเขาเป็นผู้ละเมิด

(อัล-หะดีด/๒๗)

เพื่อเป็นการป้องกันหลักความคิด บทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม ให้รอดพ้นจากเรื่องราวที่เป็นบิดอะฮฺและความหลงผิดทั้งหลาย

อิสลามจึงมีบทบัญญัติให้คนมุสลิมโดยทั่วไป โดยเฉพาะบรรดาผู้รู้ ว่าให้ต่อต้านกิจกรรมประเภทบิดอะฮฺที่ปลอมแปลงแฝงเข้ามาผนวกในหลักการของอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิด ปรัชญา ทฤษฎี หรือระเบียบแบบแผน ประเพณีกรรมต่างๆ บทบัญญัติในเรื่องนี้ ท่านศาสนทูต(ศ) และบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน

๖๒

 ตามรายงานที่ปรากฏในคำสอนของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ว่า

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อกิจกรรมใดๆ ประเภทบิดอะฮฺเกิดขึ้นในประชาชาติของฉัน ถือเป็นที่ของบรรดาผู้รู้ที่จะต้องแสดงความรู้ของเขาออกมาให้ปรากฏ ครั้นหากใครไม่กระทำถือว่าจะต้องรับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ” (๕๕)

อิมามอะลี(อ) ได้กล่าวเทศนาเตือนให้ระวังกิจการที่เป็นบิดอะฮฺว่า

“ประชาชนทั้งหลาย อันที่จริงแล้ว ถ้าหากความเสียหายได้อุบัติขึ้น คนทั้งหลายก็จะปฏิบัติตามอารมณ์ฝ่ายต่ำเมื่อนั้นจะมี กฎเกณฑ์ทางศาสนาประเภทอุตริปรากฏขึ้นมาโดยจะขัดแย้งกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ

ท่ามกลางเหตุการณ์เช่นนั้น จะมีคนคณะหนึ่งขึ้นมามีอำนาจปกครอง ครั้นมีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นมันจะไม่อ่อนข้อให้แก่ หลักฐานใดๆ แต่ถ้าหากมีสัจธรรมมาปรากฏ ก็จะไม่มีความขัดแย้งแต่อย่างใด

ในเหตุการณ์เช่นนั้น จะมีหลักการแบบผสมผสานกับสิ่งนั้นบ้างกับสิ่งนี้บ้างเพื่อให้ได้สองอย่างพร้อมๆกัน นั่นเป็นเพราะมีชัยฏอนมาสิงสู่บรรดามิตรสหายของพวกมันแต่บรรดาผู้ได้รับความดีงามจากอัลลอฮฺย่อมจะปลอดภัยเสมอ”(๕๖)

มีรายงานฮะดีษจากบรรดาอิมามแห่งอัลลอฮฺบัยตฺ(อ) ว่า

“ผู้ใดที่ได้นำกิจกรรมประเภทบิดอะฮฺอย่างใดอย่างหนึ่งมาปฏิบัติ แล้วทำให้มันยิ่งใหญ่ขึ้นมา นั่นเท่ากับเขาพากเพียรเพื่อทำลายศาสนาอิสลาม”(๕๗)

๖๓

อิมามศอดิก(อ) ได้รับรายงานฮะดีษของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นปู่ทวดของท่านเองบทหนึ่ง ความว่า

“กิจการทุกอย่างที่เป็นบิดอะฮฺล้วนเป็นความหลงผิด และความหลงผิดทั้งปวง ย่อมอยู่ในนรก”(๕๘)

ท่านซุรอเราะฮฺได้รายงานว่า “ข้าพเจ้าเคยถามอะบูอับดุลลอฮฺ ศอดิก (อ) ถึงเรื่องที่เป็นหะลาล และหะรอม

ท่านตอบว่า

สิ่งที่เป็นหะลาลของมุฮัมมัดย่อมหะลาลตลอดกาลจนถึงวันฟื้นคืนชีพ และสิ่งใดที่เป็นหะรอมของมุฮัมมัด สิ่งนั้นจะเป็นหะรอมตลอดกาลจน ถึงวันฟื้นคืนชีพ จะเป็นอย่างอื่นมิได้ และจะไม่เปลี่ยนแปลงอีก”

ท่านกล่าวอีกว่า ท่านอาลี(อ) เคยสอนไว้ว่า

“ตราบเท่าที่คนๆหนึ่งกระทำการบิดอะฮฺขึ้นมาอย่างหนึ่ง เท่ากับเขาได้ละทิ้งซุนนะฮฺไปแล้วอย่างหนึ่งเสมอ”(๕๙)

๖๔

หลังจากที่เราทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “บิดอะฮฺ” และซุนนะฮฺไปแล้ว เรายังได้เข้าใจอีกว่า ถ้าหากคนมุสลิมกระทำในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นเรื่องใหม่ๆ หรือดำเนินกิจการที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแค่นั้นยังไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮฺ ในความหมายที่ ตรงข้ามกับซุนนะฮฺ และจะยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตราบใดที่ยังไม่นำกิจการนั้นๆเข้าไปผนวกกับหลักการศาสนา โดยถือว่ากิจกรรมนั้นเป็นหลักการส่วนหนึ่งของศาสนาในลักษณะที่มีความขัดแย้งกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของท่านนบี (ศ)

ส่วนการจัดงานฉลองวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ไม่ถือว่าเป็นกิจกรรมประเภทบิดอะฮฺ ที่เป็นเรื่องต้องห้าม ถึงแม้ว่าท่านศาสดาและศ่อฮาบะฮฺในสมัยของท่านไม่เคยกระทำก็ตาม

การประดิดประดอยรูปเล่มพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานให้ดูสวยงามการประดับประดามัสยิดให้สวยงามวิจิตรก็ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่ต้องห้ามแม้ว่า

ท่านศาสนทูตจะไม่เคยทำก็ตาม

ความหมายที่ตรงตามเป้าหมายของคำว่า บิดอะฮฺ ก็คือการนำเอากิจกรรมอื่นๆ ที่มิได้เป็นเรื่องมาจากศาสนาเข้ามาผนวกกับศาสนาแล้วถือว่า สิ่งนั้นๆ เป็นบทบัญญัติทางศาสนา

๖๕

ซุนนะฮฺกับ อัล-กุรฺอาน

ยังมีประเด็นสำคัญอยู่อีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือ เรื่องความสัมพันธ์ทางด้านบทบัญญัติ และการอธิบายที่มีอยู่ระหว่างซุนนะฮฺนบี กับอัล-กุรฺอานอันทรงเกียรติ ซึ่งเราจะสรุปถึงความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ ดังนี้

๑- ซุนนะฮฺนบี กำหนดขอบเขตความหมายที่มีลักษณะเป็นสากลในพระคัมภีร์

บางโองการในอัล-กุรฺอานจะถูกประทานมาเป็นประโยคที่ให้ความหมายทั่วๆไป ดังนั้น กฏเกณฑ์ที่ได้จากโองการประเภทนี้จะครอบคลุมไปถึงทุกคนที่ถูกระบุอยู่ในความหมายโดยลักษณะของประโยคและเนื้อหา จะมีความหมายเป็นสากล

แต่ทว่า ซุนนะฮฺนบี จะคอยทำหน้าที่กำกับความหมายในประโยคเหล่านี้โดยได้จำแนกแต่ละเรื่องไว้เป็นการเฉพาะ จะอธิบายถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องจริงๆ ตามกฏเกณฑ์เหล่านั้นที่โดยมาก อัล-กุรฺอานจะกล่าวรวมๆทั้งนี้ก็เพราะท่านศาสนทูต(ศ)ได้อธิบายไว้เมื่อครั้งที่โองการนั้นได้ถูกประทานลงมายังท่านหรือในยามที่ท่านได้รับการดลใจ (อิลฮาม)

๒- ซุนนะฮฺนบีกำกับความหมายที่มีลักษณะเป็นอิสระของพระคัมภีร์

จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าหากเรามาทำความเข้าใจความหมาย ของคำว่า “มุฏลัก” (ความเป็นอิสระ) กับคำว่า”มุก็อยยัด” (การวางข้อจำกัด) ก่อนจะกล่าวถึงบทบาทของซุนนะฮฺในการควบคุมกฏเกณฑ์และวิชาการต่างๆ ที่มีความหมายเป็นอิสระอยู่ในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ

๖๖

คำพูดที่มีความหมาย มุฏลัก หมายถึงคำพูดที่กล่าวขึ้นโดยไม่มีการวางเงื่อนไขใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลา สถานที่ ปริมาณ และลักษณะ...ฯลฯ

เช่น ถ้าเรากล่าวว่า “จงบริจาคทรัพย์สินให้แก่คนยากจน”

คำว่า “คนยากจน” ในคำพูดประโยคนี้ มีความหมายเป็นอิสระปราศจากข้อจำกัดใดๆ ด้วยเหตุนี้ คำสั่งที่ว่า “จงบริจาคทรัพย์สิน” ในคำพูดประโยคนี้สามารถครอบคลุมถึงคนยากจนทุกคน

ส่วนคำพูดที่มีความหมายเป็นมุก็อยยัด หมายถึง คำพูดที่มีการกำหนดขอบเขต โดยมีเงื่อนไข และข้อผูกมัด มีการกำหนดกรอบความหมายของคำที่เป็นมุฏลักให้แคบลง

เช่น ถ้าเรากล่าวว่า “จงบริจาคทรัพย์สินแก่คนยากจนที่เป็นผู้ศรัทธา” คำว่า “ผู้ศรัทธา” คือข้อผูกมัดที่ควบคุมความหมายของคำว่า “คนยากจน”

โดยหลักเกณฑ์ของความหมายผูกมัดเช่นนี้ ยังผลให้การบริจาคทรัพย์สินตกแก่คนยากคนจนที่เป็นผู้ศรัทธาเท่านั้น มิใช่คนยากจนทุกคนเหมือนประโยคคำพูดที่มีความหมายมุฏลักในตัวอย่างแรก

เมื่อได้ทำความเข้าใจกับคำจำกัดความเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถเข้าใจได้ว่ากฎเกณฑ์และวิชาการต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโองการต่างๆ ของพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานอันทรงเกียรตินั้นบางส่วนจะเป็นโองการประเภทมุฏลัก อีกบางส่วนจะเป็นโองการประเภทมุก็อยยัด

๖๗

เป็นหลักการที่ยอมรับอยู่ในบรรดานักปราชญ์อย่างหนึ่งว่า ซุนนะฮฺนบีมีหน้าที่กำกับความหมายที่เป็นอิสระของพระคัมภีร์

ดังตัวอย่างของโองการที่สะท้อนถึงบทบาทของซุนนะฮฺ ที่จะต้องกำกับความหมายให้ นั่นคือ โองการความว่า

“และจงเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ และจงเคารพเชื่อฟังศาสนทูต และผู้มีอำนาจปกครองในหมู่สูเจ้า”

คำว่า “ผู้มีอำนาจปกครอง” (อุลิลอัมริ) เป็นคำที่มีความหมายมุฏลักไร้ขอบเขตจำกัด

เป็นที่แน่นอนว่า ถ้าจะดูความหมายตามที่ปรากฏในโองการนี้ ถือว่าจำเป็นจะต้องเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจปกครองทุกคน โดยไม่ต้องคำนึงถึงความยุติธรรม หรือความผิดพลาดใดๆของเขา

แต่ท่านศาสนทูต(ศ) ได้ทำหน้าที่อธิบายพระคัมภีร์ ท่านได้วางข้อจำกัดการเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจปกครองไว้ว่า ต้องเป็นคนที่ไม่ฝ่าฝืนพระผู้สร้างโดยท่านกล่าวว่า

“มิให้เคารพเชื่อฟังคนที่อยู่ในสภาพละเมิดต่อพระผู้สร้าง”

ลักษณะการวางข้อจำกัดที่ท่านนบีทำหน้าที่นี้ไว้นี้ มิใช่เป็นเพราะเหตุผลอื่นใด นอกจากจะเป็นการอธิบายความหมายที่มีลักษณะหลากหลายในโองการต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเที่ยงตรงและถูกต้อง อีกทั้งเพื่อยับยั้งความอธรรม ความเสียหาย และการละเมิดหลักการศาสนา

๖๘

 ดังนั้นซุนนะฮฺนบีจึงมีหน้าที่ในการควบคุมมาตรฐานความหมายของโองการนั้นๆไว้

๓- ซุนนะฮฺทำหน้าที่อธิบายความหมายที่คลุมเครือของพระคัมภีร์

อัล-กุรฺอานอันทรงเกียรติมีโองการเกี่ยวกับศาสนบัญญัติ และหลักความเชื่ออยู่หลายโองการที่มีความหมายปรากฎอยู่ในลักษณะคลุมเครือ คือ ไม่มีความชัดเจนท่านศาสนทูต(ศ) จึงทำหน้าที่อธิบายขยายความเหล่านั้นให้แก่ประชาชาติ การที่ท่านให้ความกระจ่างแก่ความหมายในโองการเหล่านี้ มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีคือ

ก.อธิบายด้วยการพูด โองการที่มีความหมายคลุมเครือในอัล-กุรฺอานจำนวนมากที่ท่านศาสนทูต(ศ) ต้องอธิบายแก่ประชาชนด้วยวจนะของท่านเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจต่อความหมายเหล่านั้น

ข.อธิบายด้วยการบันทึก หลายวาระด้วยกันที่ท่านศาสนทูต(ศ) ได้ส่งสาส์นส่งหนังสือนับจำนวนหลายสิบฉบับไปยังคณะทำงานของท่าน บางครั้งก็ส่งไปยังกษัตริย์ประมุขของแคว้นแดนต่างๆ ที่เป็นผู้ปกครองเมืองต่างๆ อยู่ในเวลานั้นท่านเองยังเคยทำการบันทึกข้อตกลงสนธิสัญญาต่างๆ ซึ่งเนื้อหาสาระบางตอนเป็นการอธิบายรายละเอียดแห่งโองการต่างๆ ที่มีความหมายคลุมเครือตามตัวบทที่ปรากฏอยู่ในอัล-กุรฺอาน

ค.อธิบายด้วยการกระทำ ท่านศาสนทูต(ศ) ทำหน้าที่อธิบายบางโองการที่มีความหมายคลุมเครือหรือด้วยการกระทำของท่านเอง เช่น การทำนมาซ การทำวุฎอ์ การบำเพ็ญฮัจญ์...ฯลฯ

๖๙

เพราะหลักปฏิบัติในศาสนกิจที่จำเป็นเหล่านี้ มีความหมายปรากฏอยู่ในอัล-กุรฺอานอย่างคลุมเครือไม่มีรายละเอียด และไม่ชัดเจน เช่น วิธีนมาซ วิธีบำเพ็ญฮัจญ์ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องอธิบายเรื่องราวเหล่านั้น ด้วยการสาธิตรูปแบบในภาคปฏิบัติด้วยตัวท่านเอง

นักปราชญ์ทั้งหลายต่างทราบดีว่า การกระทำในสิ่งใดๆของท่านยังไม่ถือเป็นการอธิบาย

ความหมายของพระคัมภีร์ นอกจากในสองกรณี ด้วยกันคือ(๖๑)

๑- เมื่อรู้ในจุดประสงค์ของท่าน ว่าท่านจะต้องอธิบายความหมายที่คลุมเครือเหล่านั้น เช่น

ท่านกล่าวว่า “พวกท่านจงทำนมาซเหมือนดังได้เห็นฉันนมาซ”

๒- เมื่อรู้ด้วยสติปัญญาว่า ท่านต้องการอธิบาย เช่น เมื่อท่านได้กระทำสิ่งใดๆ ในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องหาคำอธิบายความหมายนั้นๆ จากอัล-กุรฺอาน ก็ถือว่า การกระทำของท่านในคราวนั้นเป็นการอธิบายความหมายในโองการนั้นๆแล้ว

ง.อธิบายด้วยการแสดงท่าประกอบ เช่น ตอนที่ท่านอธิบายเรื่องนับจำนวนวันในแต่ละเดือนตามหลักการอิสลาม ท่านจะแสดงท่าประกอบว่า ๑ เดือนจะมีจำนวนวันเท่านี้ โดยท่านยกนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว มาแสดงด้วยการยกสลับไปมา ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ ท่านจะพับลง ๑ นิ้ว (๖๒)

การกระทำเช่นนี้ หมายความว่า การนับเดือนทางจันทรคตินั้นจะมี ๒๙ วัน

ได้เหมือนกันกับที่รู้ๆ กันอยู่โดยปกติ ๑ เดือนจะมี ๓๐ วัน

๗๐

๔- ซุนนะฮฺทำหน้าที่ยกเลิกกฎเกณฑ์ในพระคัมภีร์

คำว่า ยกเลิกกฎเกณฑ์ หรือที่เรียกในภาษาอาหรับว่า “นะสัค” ตามที่รู้กันอยู่ในวงการของนักปราชญ์มุสลิม หมายถึง การยกเลิกกฎเกณฑ์หนึ่ง โดยมีอีกกฎเกณฑ์หนึ่งมาแทนที่ เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมมนุษยชาติ และเป็นการพัฒนาไปอย่างมีขั้นตอนของงานเผยแพร่

แน่นอน การยกเลิก (นะสัค) ที่มีอยู่ในอัล-กุรฺอานย่อมเป็นไปโดยมี โองการหนึ่งถูกประทานมาเพื่อยกเลิกกฎเกณฑ์ในอีกโองการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ถูกจำกัดไว้ในกฎเกณฑ์จำนวนหนึ่งเพียงส่วนน้อย

บรรดานักปราชญ์ถือว่า กรณีที่ซุนนะฮฺทำหน้าที่ยกเลิกกฎเกณฑ์ในโองการหนึ่งๆ มีความเป็นไปได้เช่นเดียวกับโองการหนึ่งถูกประทานมาเพื่อยกเลิกกฎเกณฑ์ของอีกโองการหนึ่งนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม บรรดานักปราชญ์ยังได้กล่าวอีกว่าทฤษฎีที่ว่านี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์ทางวิชาการเท่านั้น เพราะยังไม่ปรากฏความเป็นจริงที่ว่านี้อยู่เลย

กล่าวคือ ไม่ปรากฏว่า มีโองการใดในอัล-กุรฺอานถูกยกเลิกกฎเกณฑ์โดยซุนนะฮฺนบี

บรรดานักปราชญ์ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าถ้าหากปรากฏว่า การยกเลิกกฎเช่นที่ว่านี้มีจริงก็ยังเชื่อถือมิได้ นอกจากจะต้องมีรายงานบอกเล่ามาถึงยุคของเราอย่างเป็นเอกฉันท์ ทั้งนี้ ก็เพราะบทรายงานต่างๆ ที่มาจากนักรายงานคนเดียว ถือว่าเป็นหลักฐานประเภทรอง(ซานีย์)

๗๑

 การจะนำหลักฐานเช่นนั้นมาเป็นข้ออ้างในเรื่องการยกเลิกกฎเกณฑ์ในอัล-กุรฺอานถือว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

เพราะโองการในอัล-กุรฺอาน มีฐานะเป็นหลักฐานขั้นเด็ดขาด (ก็อฏอีย์) ที่มาจากอัลลอฮฺซึ่งหลักฐานประเภทรอง จะมายกเลิกหลักฐานขั้นเด็ดขาดมิได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งถ้าหากเรามาทำความเข้าใจว่าหน้าที่ของ

 ซุนนะฮฺ ในการกำกับความหมาย หรือจำแนกความหมาย หรืออธิบายความหมายของพระคัมภีร์นั้นวางอยู่บนพื้นฐาน ๓ ประการ คือ

๑- ท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ มีความเข้าใจในพระประสงค์ของอัลลอฮฺที่มีในพระคัมภีร์แห่งวิทยปัญญาของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงรู้ว่าโองการที่มีความหมายเป็นอิสระนั้น มีเงื่อนไขอะไรที่วางเป็นข้อจำกัดอยู่ หรือโองการที่มีความหมายในลักษณะเป็นสากลนั้นมีการเจาะจงมุ่งชี้เฉพาะในเรื่องใดอยู่ในอัล-กุรฺอาน

ดังนั้น ท่านจึงอธิบายที่ท่านรู้ว่า เป็นข้อจำกัด และ อธิบายเรื่องราวที่ท่านรู้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะของโองการนั้นๆ แก่ประชาชน

๒- กรณีที่ซุนนะฮฺนบี ทำหน้าที่วางข้อจำกัดและชี้จุดมุ่งหมายเฉพาะให้แก่ความหมายในพระคัมภีร์ ตลอดทั้งการอธิบายทั้งหลายนั้น ย่อมวางอยู่บนพื้นฐานอย่างหนึ่งอยู่เสมอ นั่นคือท่านได้รับสภาวะการถูกดลใจให้รู้

(อิลฮาม) จากพระผู้อภิบาลผู้ทรงเกริกเกียรติในยามอธิบายบทบัญญัติทางศาสนาและหลักความเชื่อ

๗๒

๓- พื้นฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีที่ซุนนะฮฺทำหน้าที่วางข้อจำกัดใดๆ หรือชี้จุดมุ่งหมายใดๆ โดยเฉพาะลงในความหมายของพระคัมภีร์นั้น ก็เพราะท่านได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการปกครอง ดังนั้นฐานะของท่านจึงเป็นผู้ปกครองทางศาสนาเพื่อให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางสังคม ท่านจึงวางข้อจำกัดบางอย่างลงไป

ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมสำหรับตัวท่านและการทำงานอย่างมีข้อจำกัดโดยให้สังเกตถึงสภาพแวดล้อมในข้อจำกัดที่วางลงไปด้วย ดังได้กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของซุนนะฮฺในการวางข้อจำกัดแก่โองการประเภทมุฏลักหรือชี้จุดมุ่งหมายเฉพาะหรืออธิบายความหมายในโองการที่เป็นสำนวนโวหาร, ที่คลุมเครือ

ย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักเกณฑ์แห่งศาสนบัญญัติตามที่ท่านได้วางไว้ในฐานะที่ท่านคือ ผู้อธิบายบทบัญญัติทางศาสนาหรือผู้ปกครองประชาชาติ

๗๓

หลักวิชาฮะดีษ

หลักวิชาฮะดีษ คือ ความรู้เกี่ยวกับนักรายงานและเนื้อความของฮะดีษ อันมีจุดมุ่งหมายที่นำไปสู่ความเข้าใจต่อฮะดีษนั้นๆ ว่าเป็นฮะดีษที่ควรแก่การยอมรับหรือปฏิเสธ หรือเป็นฮะดีษที่ต้องนำไปพิสูจน์

ในฐานะที่ซุนนะฮฺนบีเป็นแหล่งที่มาอันดับ ๒ ของศาสนบัญญัติและความรู้ในศาสนาอิสลามบรรดามุสลิมในทุกยุคทุกสมัยทุกหนแห่ง ล้วนต้องศึกษาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ความรู้และแนวทางตามที่ได้รับมาจากซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ)

แต่ด้วยเงื่อนไขของกาลเวลา ได้ทำให้มีช่องว่างขึ้นระหว่างท่านกับประชาชนรุ่นหลัง เมื่อได้ผ่านพ้นสมัยอันจำเริญของท่านแล้ว ขณะเดียวกันยังมีอุปสรรคมากมายเกิดขึ้นแก่คนบางกลุ่มที่อยู่ร่วมสมัยกับท่านในการที่จะมีโอกาสได้สนทนาและรับซุนนะฮฺมาจากท่านโดยตรง

คนเหล่านั้นไม่มีหนทางใดในการเรียนรู้ซุนนะฮฺอันบริสุทธิ์ นอกจากอาศัยคนอื่นเล่าต่อโดยการใช้สื่อต่างๆ ช่วยในการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในสมัยนั้นอย่างจำกัดเพียง ๒ วิธีเท่านั้น คือ

๗๔

๑ – ความทรงจำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของจิตใจภายหลังจากที่ได้ยิน ได้ฟัง คำพูดของท่านศาสนทูต (ศ) หรือได้เห็นการกระทำใดๆ หรือโดยการทำความเข้าใจกับกิริยาท่าที ที่ท่านแสดงออกให้เห็น ต่อจากนั้นก็จะบอกเล่าเรื่องนั้นต่อไปยังผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านั้นจากท่านโดยตรง

๒ – การบันทึกคำพูด การกระทำ และท่าทีการแสดงออก ที่มาจากท่านแล้วถ่ายทอดเรื่องเล่านั้นให้แก่คนที่มิได้เรียนรู้ด้วยตัวเองโดยตรงจาก

ท่านนบี(ศ) เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดเหล่านี้ ได้ถูกรวบรวมมาถึงบรรดามุสลิมโดยอาศัยบรรดานักรายงาน ที่ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้นมาด้วยการได้ยินได้ฟัง หรือได้เขียนไว้ ซึ่งทั้งหมดนั้นมิได้ถูกถ่ายทอดมาถึงยุคของเราโดยกระบวนการของสื่อที่มีประสิทธิภาพ หากแต่มีการส่อเค้าว่าเรื่องราวเหล่านั้นขาดตกบกพร่องและสูญหาย

แน่นอนในสมัยของท่านศาสนทูต(ศ) เองท่านยังถูกคนกล่าวเท็จให้ร้าย ยิ่งในสมัยหลังจากนั้นด้วยแล้ว บรรดาคนมุสา และนักปลอมแปลงฮะดีษ ก็ได้ทีลงมือโหมโรงเข้ามาจัดการกับซุนนะฮฺของท่านกันอย่างขนานใหญ่

ความเห็นขัดแย้งทางการเมือง และความบิดเบือนทางความคิด ตลอดจนแผนการร้ายของพวกอิสรออีลียะฮฺ ได้สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่

ซุนนะฮฺอันบริสุทธิ์ ได้มีการปลอมแปลงฮะดีษขึ้นมาอย่างมากมายโดยอ้างว่ามีที่มาจากท่านศาสนทูต(ศ) ทั้งๆที่ท่านมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮะดีษนั้นๆ แต่อย่างใด

๗๕

 ในขณะเดียวกัน วจนะของท่านได้มีอันถูกลบล้างออกไปจึงทำให้เรื่องราวที่เป็นซุนนะฮฺของท่านก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย

นอกเหนือจากนี้ยังมีการหลงลืม การสูญหายเองโดยมิใช่เจตนาของผู้ใดก็มีอีกทั้งหมดเป็นสาเหตุทำให้บรรดานักปราชญ์มุสลิมต้องกำหนดวิชาการแขนงหนึ่งขึ้นมาโดยเฉพาะ เรียกวิชานั้นว่า “หลักวิชาฮะดีษ” เพื่อศึกษาและทำการวิจัยคุณสมบัติของบุคคลต่างๆ ที่เป็นนักรายงานฮะดีษและศึกษาวิจัยเนื้อความของฮะดีษที่ถูกรายงานมา

ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับพื้นฐานต่างๆ ของบทรายงานและฮะดีษหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่านศาสนทูต(ศ)โดยได้อธิบายให้เรารู้ถึงวิธีการเคารพภักดี การทำงานด้านสังคม และจุดยืนของท่านในด้านต่างๆ อย่างเป็นกิจจะลักษณะ

และเพื่อให้เรารู้ถึงวิธีการดำเนินชีวิตที่ท่านมีต่อครอบครัว ต่อการปกครอง การทำสงคราม การเมือง การพิพากษาตัดสินคดีความ และหลักจริยธรรม...ฯลฯ

เพื่อให้ได้เข้าถึงสารัตถะที่เป็นจริงของเรื่องราวที่เล่าขานมาว่า มาจากท่านศาสนทูตและบรรดาอิมาม(อ) และเป็นแหล่งที่มาของบทบัญญัตทางศาสนาเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ความคิด

และหลักวิชาการของประชาชาติบรรดานักปราชญ์ผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาฮะดีษจึงได้กำหนด หลักเกณฑ์ที่สำคัญไว้ ดังนี้

๑ – ความรู้เกี่ยวกับประวัติของบุคคลที่เป็นนักรายงานฮะดีษ

๒ – ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยฮะดีษ

๗๖

ความรู้เกี่ยวกับบุคคลที่เป็นนักรายงานฮะดีษ เป็นความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เจาะลึกในเรื่องราวต่างๆ ของนักรายงานฮะดีษ ก่อนจะยอมรับบทรายงานของพวกเขาว่า นักรายงานผู้นั้นเป็นคนซื่อสัตย์เชื่อถือได้ หรือเป็นคนมุสา หลักการนี้เรียกในภาษาวิชาการว่า

 “การชี้จุดบกพร่องและการยืนยันความเที่ยงธรรม”

นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ไปถึงระดับขีดความสามารถของพวกเขาในการจดจำอย่างแม่นยำถูกต้องก่อนนำมาเสนอเป็นบทรายงาน

จะต้องวิเคราะห์อีกอย่างหนึ่งว่า นักรายงานที่เราไม่รู้จักเขาเลยนั้นจะเป็นคนใช้ไม่ได้เลยหรือ? ไม่มีบทรายงานใดจากเขาพอจะเป็นที่ยอมรับของเราเลยอย่างนั้นหรือ?

ขณะเดียวกันยังต้องวิเคราะห์ถึงมัซฮับเป้าหมายและฐานะของนักรายงานผู้นั้นในสายตาของนักรายงานคนอื่นๆ ที่เป็นคนสมัยเดียวกันเพื่อจะได้รู้ว่าฮะดีษที่มาจากนักรายงานผู้นั้นถูกต้องจริงๆ

เพราะว่า การได้รู้จักอย่างสมบูรณ์แบบต่อบุคลิกภาพของนักรายงาน

ฮะดีษใด คือ การนำไปสู่ผลลัพท์ที่ถูกต้องเมื่อจะยอมรับหรือ

เมื่อจะปฎิเสธกฎเกณฑ์และวิชาการจากฮะดีษนั้นๆ

๗๗

ตามที่ได้กล่าวมานี้ สรุปว่า ความรู้เกี่ยวกับประวัติของบุคคล ผู้เป็นนักรายงานคือวิชาการที่ว่าด้วยสาระการรายงานและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานที่เรียกในภาษาอาหรับว่า

 “อัต-ตะรอญุม” หมายถึง ปทานุกรม คุณสมบัติของบรรดานักรายงาน นักปราชญ์และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการศึกษาในแนวนี้ จะทำให้มีข้อมูลเข้ามาประกอบกับความรู้ทางด้านประวัติของบุคคลผู้เป็นนักรายงาน จนสามารถได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับบุคลิกภาพของนักรายงาน เช่นเดียวกับได้รู้ข้อมูลทางด้านการเมือง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ

ส่วนความรู้ทางด้านการวิจัย หมายถึง วิชาว่าด้วยการวิเคราะห์ถึงรากฐานที่มาของเนื้อความฮะดีษ เช่นการวิเคราะห์ประเภทฮะดีษ ตลอดถึงจุดบกพร่องและมูลเหตุที่มีอยู่ในเนื้อหาของฮะดีษ

เพื่อช่วยให้สามารถกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการยึดถือฮะดีษนั้นๆ

อัล-มะตันฮะดีษ หรือเนื้อความของฮะดีษที่ตกทอดมาถึงเรา โดยถูกอ้างว่ามาจากท่านนบี(ศ) หรืออิมาม (อ) หรือที่รายงานสานต่อกันมาว่าเป็นการกระทำ หรือเป็นท่าทีของการแสดงออกของท่าน

 มีคำนิยามสำหรับคำว่า “มะตัน” ดังนี้

“มะตัน” หมายถึง เนื้อความที่เป็นบทฮะดีษ ซึ่งแสดงความหมายออกมาอย่างชัดเจน”

 (จากหนังสือ อัดดิรอยะฮ์ ของชะฮีด ซัยนุดดีน หน้า ๔)

๗๘

ดังได้กล่าวมานี้ จะเห็นว่า วิชาการทั้งสองด้าน (ความรู้เกี่ยวกับประวัติของนักรายงานฮะดีษกับการวิเคราะห์) ต่างสนับสนุนส่งเสริมแก่กันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการศึกษาฮะดีษทั้งด้านนักรายงานและเนื้อความอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อจะได้รู้ว่าฮะดีษใดมีความเป็นมาอย่างถูกต้องพร้อมสรรพฮะดีษใดที่ไม่เป็นความจริงแท้

นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้รู้ว่าฮะดีษใดอยู่ในฐานะที่เชื่อถือได้ ฮะดีษใดมีจุดบกพร่องและมีมูลเหตุจากภายนอกมาสอดแทรกอยู่ในเนื้อความ อีกทั้งยังทำให้รู้อีกว่าควรจะจัดอันดับให้แก่ประเภทต่างๆ ของฮะดีษเหล่านั้นอย่างไรหรือควรจะยึดถือฮะดีษใดมากกว่าฮะดีษใด

ในกรณี ที่ถ้าหากต้องนำฮะดีษเหล่านั้นมาเปรียบเทียบตรวจสอบกับหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับนักรายงานก็ดีเกี่ยวกับเนื้อความของฮะดีษนั้นๆ กับฮะดีษอื่นๆก็ดี

ประวัตินักรายงานมีความจำเป็นอย่างไร?

ความรู้เกี่ยวกับประวัตินักรายงานในที่นี้ หมายถึงวิชาว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของนักรายงานฮะดีษในแง่ของบุคลิกภาพเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่า คนผู้นั้นมีความน่าเชื่อถือเป็นคนเคร่งครัดในหลักศาสนาจริง หรือว่าไม่ใช่ทั้งสองอย่าง อีกทั้งเพื่อศึกษาให้รู้ไปถึงพื้นฐานด้านความเชื่อของนักรายงานและฐานภาพของคนเหล่านั้นในหน้าประวัติศาสตร์....ฯลฯ

๗๙

บรรดานักปราชญ์มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการว่า ความรู้ในเรื่องประวัติของนักรายงานเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่

 กลุ่มหนึ่งได้แก่ พวกอัคบารีย์ ให้คำตอบว่าไม่จำเป็นแต่อย่างใด ที่จะเรียนรู้ประวัติของนักรายงานฮะดีษ เพราะว่าฮะดีษต่างๆ ที่มีการบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็น อัล-กาฟีย์ ของท่านกุลัยนีย์, อัต-ตะฮฺซีบ ของ

ท่านฏูซีย์, อัล-อิสติบศอรฺ และ มันลายะหฺฎิรุฮุลฟะกีฮฺ ของท่านศอดูก ล้วนเป็นฮะดีษที่ถูกต้องทั้งสิ้นอยู่แล้ว นักปราชญ์ผู้ทำหน้าที่รวบรวมมาบันทึก ได้ชำระสะสางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นอันใดจะต้องย้อนกลับไป ทบทวนในเรื่องประวัตินักรายงานกันอีก หรือมิฉะนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผลอีกประการหนึ่ง ในเมื่อบรรดานักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านั้นได้ปฏิบัติ หรือได้ปฏิเสธไปแล้วไม่จำเป็นอันใดจะต้องนำฮะดีษมาวิเคราะห์วิจัยในสาระการรายงานนั้นๆ กันอีกยิ่งกว่านั้น พวกเขายังมีความเห็นต่อไปอีกว่า จำเป็นที่เราจะต้องยึดในหลักการที่นักปราชญ์ได้ปฏิบัติไว้ คำอธิบายเช่นนี้ดูจะเหมือนกับคำอธิบายของนักปราชญ์สายซุนนีย์ที่ยืนยันในความถูกต้องของตำราศ่อฮีฮฺทั้งหลาย เช่น ศ่อฮีฮฺบุคอรี

ศ่อฮีฮฺมุสลิม และอื่นๆ

ขณะเดียวกันมีนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยกับความคิดอย่างนี้โดยยืนยันว่าเรา จำเป็นจะต้องวิเคราะห์และวิจัยในเชิงวิชาการกันอย่างถ่องแท้เพราะว่าตำราเหล่านี้ มิได้มีความถูกต้องไปเสียทั้งหมด มีทั้งที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้องจนไม่อาจยึดเป็นหลักฐานได้

๘๐