บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 326697
ดาวน์โหลด: 4537

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 326697 / ดาวน์โหลด: 4537
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 และในความเป็นจริง การยอมรับในการมีอยู่ของการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็มิได้มีผลต่อการกระทำของพระองค์ หมายความว่า การเกิดขึ้นของสิ่งใดก็ตามในโลกแห่งวัตถุ จะต้องผ่านอำนาจและการอนุมัติจากพระเจ้าเสียก่อน ดังนั้น การเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่งต้องผ่านการเกิดขึ้นของเมล็ดพันธ์ โดยผ่านการให้น้ำ ,การได้รับอากาศที่เหมาะสม และการกระทำอื่นๆอีก และในท้ายที่สุดการกระทำต่างๆเหล่านั้น จะต้องผ่านอำนาจของพระเจ้าและการอนุมัติจากพระองค์อีกด้วย  แต่มิได้หมายความว่า อำนาจของพระเจ้านั้นมีขอบเขตจำกัด  แต่หมายถึง พลังอำนาจของพระองค์ครอบคลุมไปในทุกการกระทำในโลกแห่งวัตถุทั้งหมด

   ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และเจตจำนงเสรีของมนุษย์

    มีคำถามหนึ่งได้ถามว่า ระหว่างความสัมพันธ์ของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์นั้น เป็นอย่างไร ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำว่า ทุกการกระทำที่เกิดขึ้นในโลกแห่งวัตถุ มีความสัมพันธ์ไปยังพระเจ้า และในการกระทำของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น การกระทำของมนุษย์ เป็น การกระทำของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ก็ไม่มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของเขาเองใช่หรือไม่?

สำหรับคำตอบ ก็คือ ในความเป็นจริงของการอธิบายในคำถามนี้ ด้วยกับสาเหตุของการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ จึงได้มีความคิดเห็น  ๒  ทัศนะ ด้วยกัน ดังนี้

๑๒๑

๑.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ดังนั้น การกระทำของมนุษย์จึงเป็นการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า สำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อในเรื่อง การบังคับจากพระเจ้า (ญับร์)

๒.ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มิได้ขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ เพราะว่า พระเจ้าได้ประทานการกระทำที่เป็นอิสระเสรีให้กับเขา ด้วยเหตุนี้ สำนักคิดมุอฺตะซิละห์ จึงมีความเชื่อในการเป็นอิสระของมนุษย์จากพระเจ้า (ตัฟวีฎ)

การเกิดขึ้นของทั้งสองทัศนะ ได้เกิดขึ้นจากการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการให้ความสัมพันธ์การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำที่มีความเป็นอิสระเสรี ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดต่อไป ในบทการบังคับกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์

ณ ที่นี้ จะขอกล่าวว่า บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ซึ่งได้รับการเรียนรู้วิชาการจากลูกหลานของท่านศาสดามุฮัมหมัด (อะฮ์ลุลบัยต์) มีความเห็นความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น จะต้องอยู่คู่กับเจตจำนงเสรีของมนุษย์  แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้ามิได้มีส่วนเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์

๑๒๒

   เหตุผลในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ

(เตาฮีด อัฟอาลีย์)

    หลังจากที่ได้อธิบายไปแล้วในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และได้ตอบคำถามบางคำถามไปแล้ว จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำว่า คือประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาอย่างละเอียดในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า และความสัมพันธ์ของโลกกับพระองค์  การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มีด้วยกัน  ๒ ความหมาย ดังนี้

๑. ความเป็นไปไม่ได้ในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้าที่จะต้องมีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒. ทุกสิ่ง มีความต้องการสิ่งที่ต้องพึ่งพา และก็มิได้มีความอิสระเสรี และทุกการกระทำต้องย้อนกลับไปหายังพระผู้เป็นเจ้า

การพิสูจน์ในความหมายแรก ก็คือ การมีความเข้าใจในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้าก็เพียงพอแล้ว ดั่งที่ได้อธิบายไปแล้วในความหมาย การมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้าว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และมีความสมบูรณ์ และไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีข้อบกพร่องใดๆและไม่มีการจำกัดความในอาตมันของพระองค์

๑๒๓

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นที่กระจ่างชัดว่า การสมมุติว่า พระเจ้ามีความต้องการ มีผู้ที่ช่วยเหลือในการกระทำ ซึ่งจะเกิดความขัดแย้งของการกระทำทั้งหลายเหล่านั้นกับความสมบูรณ์ และการไม่มีขอบเขตจำกัดของพระองค์ เพราะสติปัญญาได้บอกว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีความต้องการไปยังอีกสิ่งหนึ่งนั้น เมื่อได้เปรียบเทียบกับการมีอยู่ของสิ่งที่ไม่มีความต้องการไปยังสิ่งใด ถือว่า สิ่งนั้นมิได้มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น การสมมุติว่า มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้การกระทำของพระเจ้าเกิดขึ้น ก็ถือว่า มีการจำกัดขอบเขตและข้อบกพร่องในอาตมันของพระองค์ และมีความขัดแย้งกับการมีอยู่ของความสมบูรณ์ของพระองค์

การพิสูจน์ในความหมายที่สอง ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องพึ่งพากับพระเจ้า สามารถกล่าวได้ว่า

๑.ได้อธิบายไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นปฐมแห่งเหตุผลทั้งหลายและสิ่งที่ต้องพึ่งพา เป็นผลที่เกิดจากปฐมแห่งเหตุ

๒.กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความหมายของการเป็นเหตุผล หมายถึง การมีอยู่ของผลทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยกับการมีอยู่ของเหตุ กล่าวคือ ผลของเหตุทั้งหลายมีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้น

๓.การกระทำของสิ่งหนึ่งในความเป็นจริงก็คือ ผลที่เกิดขึ้นของสิ่งนั้น

จากการสังเกตุในความหมายทั้งสาม แสดงให้เห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งที่ต้องพึ่งพามีความต้องการไปยังสิ่งที่ไม่มีความต้องการ การพึ่งพาใดๆ และในการกระทำก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความต้องการใดๆ และสิ่งนั้นมิได้มีความเป็นอิสระเสรี ผลที่ได้รับก็คือ การพิสูจน์ให้เห็นว่า พระเจ้ามิได้มีความต้องการความช่วยเหลือในการเกิดขึ้นของกระทำของพระองค์ ส่วนสิ่งอื่นมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำ

๑๒๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด อัฟอาลีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ

:unity of divine acts

การกระทำที่เป็นแนวตั้ง   : activity of longitudinal

การกระทำที่เป็นแนวนอน   :activity of latitudinal

ผู้กระทำโดยตรง     :actor direct

ฟาอิล บิซตัซบีบ หมายถึง ผู้กระทำโดยการใช้สื่อกลางในการสื่อสาร

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ในทัศนะของอิสลามกล่าวว่า ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เป็นการกระทำที่มิได้มีผู้ที่ช่วยเหลือ และไม่มีสิ่งใดที่มีอิสระเสรีเหมือนพระองค์ และอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่มิได้มีความเป็นอิสระ และในการกระทำของสิ่งเหล่านั้น เกิดขึ้นจากความประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น

๒.ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ นอกเหนือจาก ในมุมมองของโลกทรรศน์ที่มีประโยชน์กับมนุษย์แล้ว ยังมีผลต่อการปฏิบัติอีกด้วย และเป็นสาเหตุให้มนุษย์มีความศรัทธาในความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๓.การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มิได้หมายถึง การปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่น และการปฏิเสธกฏของเหตุและผล แต่เป็นการยอมรับว่า การกระทำของสิ่งอื่นมิได้เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า

๑๒๕

ดังนั้น การกระทำของสิ่งอื่น เป็นการกระทำในแนวตั้ง มิใช่ในแนวนอนต่อการกระทำของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ในระดับหนึ่ง การกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยกับตัวของผู้กระทำเอง และอีกระดับหนึ่งการกระทำนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า

๔.การเกิดขึ้นของการกระทำทั้งหลายในโลกแห่งธรรมชาติ ต้องมีเงื่อนไขและสาเหตุในการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น และเงื่อนไขดังกล่าว มิได้มีผลต่อการกระทำของพระเจ้า แต่เป็นการเตรียมพร้อมของโลกแห่งธรรมชาติในการยอมรับต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้นว่า เกิดขึ้นจากพลังอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น

๕.เหตุผลทางด้านวิชาการในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ คือ การไม่มีความต้องการของพระเจ้า บ่งบอกว่า พระองค์ไม่มีความต้องการผู้ที่ช่วยเหลือในการกระทำ ส่วนการมีความต้องการของสิ่งทั้งหลาย บ่งบอกว่า การกระทำของสิ่งเหล่านั้นต้องเกิดขึ้นมาจากพระองค์

๑๒๖

   บทที่ ๕

   ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่สอง

   บทนำเบื้องต้น

    ในบทก่อนได้กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกะในการกระทำของพระเจ้า และไม่มีสิ่งอื่นใดเคียงข้างพระองค์ และได้แบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น การสร้าง ,การประทานปัจจัยยังชีพ ,การชี้นำ และการกระทำอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ มีหลายประเด็นที่สำคัญที่จะต้องอธิบายกันต่อไป

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง (เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์)

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการประทานปัจจัยยังชีพ (เตาฮีด ฟีย์รอซิกียะฮ์)

๓.ความเป็นเอกานุภาพในการชี้นำมวลมนุษยชาติ (เตาฮีด ฟีย์ฮิดายะฮ์)

   ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง(เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์)

    ความเป็นเอกะในการสร้างของพระผู้เป็นเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการสร้างของสิ่งอื่นๆเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจของพระองค์หรือด้วยกับการอนุมัติจากพลังอำนาจและความประสงค์ของพระองค์

ดังนั้น การสร้างของสิ่งอื่นๆมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง เมื่อได้สังเกตและพินิจพิจารณาอย่างละเอียดในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลก และได้ให้มีความสัมพันธ์ไปยังพระเจ้า จะเห็นได้ว่า การกระทำของสิ่งทั้งหลาย คือ ผลแห่งเหตุของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผล ในสภาพใดก็ตาม ผลโดยตรงหรือผลโดยใช้สื่อ เพราะฉะนั้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ผลของพระเจ้า และพระองค์ เป็นปฐมเหตุของทุกสรรพสิ่งในโลก และเรียกพระเจ้าว่า สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งอื่น ถูกเรียกว่า สิ่งสามารถจะมีอยู่ก็ได้ไม่มีก็ได้  ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าคือ ผู้ทรงสร้างเพียงองค์เดียว และทุกสรรพสิ่งในโลก เป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ ซึ่งในการอธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ได้กล่าวไปแล้วว่า การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพใน กริยา การกระทำ มิได้ปฏิเสธและไม่ยอมรับในการเป็นผู้สร้างของสรรพสิ่ง แต่ทว่า ในการสร้างของสิ่งเหล่านั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจและการอนุมัติของพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น การกระทำทั้งหลายของสิ่งทั้งหลาย ก็มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

   ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

    ความเป็นเอกะในการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า  เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ

การเป็นผู้อภิบาลในความหมายทางภาษา มาจากคำว่า “ร็อบ” ในภาษาอาหรับ หมายถึง การบริหาร ,การอบรมสั่งสอน และการดูแลเลี้ยงดู และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง การตัดสินใจที่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๑๒๗

จากความหมายข้างต้นคำว่า รุบูบียะฮ์ ซึ่งเป็นคุณศัพท์ หมายถึง ความเป็นผู้อภิบาลบริหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแสดงความเป็นเจ้าของ เพราะว่า การแสดงความเป็นเจ้าของ ต้องมีความเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งและมีความสามารถในการบริหารการงานใดการงานหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ คำว่า ร็อบ จึงถูกนำมาใช้ใน การแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นกัน

เมื่อได้เข้าใจในความหมายของความเป็นผู้อภิบาลแล้ว ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล หมายถึง พระเจ้า เป็นผู้อภิบาลเพียงองค์เดียวอย่างแท้จริงเท่านั้น ที่มีอำนาจสูงสุดในบริหารโลก โดยที่ไม่ต้องการผู้ช่วยเหลือ ส่วนสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ทั้งสิ้น ที่มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการบริหาร

   เหตุผลการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

    เมื่อได้เข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาลแล้ว จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์ในหลักความเป็นเอกานุภาพนี้ ซึ่งมีดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

 การมีอำนาจบริหารในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นจะต้องมีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและการเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงของสิ่งนั้น จะต้องมีความเป็นผู้สร้าง เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นที่รู้กันดีว่า จะต้องมีผู้ที่สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา ดังนั้นอำนาจการบริหารโลก เป็นกรรมสิทธิของพระเจ้า เพราะว่าพระองค์ คือ ผู้สร้างโลกเพียงองค์เดียวเท่านั้น

๑๒๘

 

เหตุผลที่สอง

ความหมายของการเป็นผู้บริหาร หมายถึง การมีอำนาจการบริหารในการงานใดการงานหนึ่ง ถ้าสมมุติว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ ในการบริหารกิจการงานต่างๆและมีความเป็นอิสระเสรีในการตัดสินใจแต่ละองค์แล้ว จะต้องมีการกำหนดกฏและระเบียบที่เฉพาะเจาะจงกับพระเจ้าทั้งหลาย ซึ่งในความเป็นจริง จะเห็นได้ว่า โลกนี้มีระบบและระเบียบที่มั่นคง และเป็นการปกครองในระบอบเดียวที่ถูกกำหนดจากพระเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจการบริหารในโลกอย่างแท้จริง คือ พระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

   ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ในอัล กุรอาน และวจนะ

    อัล กุรอานและวจนะได้กล่าวเน้นย้ำ ในประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ซึ่งมีโองการมากมายที่กล่าวถึง หลักการนี้ และในวจนะทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน มีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง ในทัศนะอัล กุรอาน

ความเป็นเอกะในการสร้างของพระผู้เป็นเจ้า เป็นหลักการหนึ่งที่อัลกุรอานได้เน้นย้ำและกล่าวไว้ในโองการต่างๆมากมาย และ เป็นหลักการหนึ่งที่มนุษย์มีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายเพียงองค์เดียว และสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ 

๑๒๙

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“จงประกาศเถิด อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่ง พระองค์ผู้ทรงเอกะ ผู้ทรงพิชิต”

( บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๖ )

 “อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่ง และพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองทุกสิ่ง”

(บทอัซซุมัร โองการที่ ๖๒ )

“นั่นคืออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลของสูเจ้า พระองค์ทรงสร้างทุกสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น”

(บทอัลฆอฟิร โองการที่ ๖๒ )

จากโองการเหล่านี้ ได้กล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งและโดยใช้คำว่า ชัยอ์( شی ء ) แปลว่า สิ่งของ หมายถึงได้รวมในทุกสิ่งและทุกอย่าง เพื่อที่จะอธิบายให้เห็นถึงความสูงส่งในการสร้างของพระเจ้า

และอัล กุรอาน ได้ถามกับมนุษย์ถึงผู้สร้างเขา ว่า

 “จะมีพระผู้ทรงสร้างใดนอกจากอัลลอฮ์ กระนั้นหรือ?ที่จะประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากฟากฟ้าและแผ่นดิน”(บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๓ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้ถามมนุษย์ถึง ผู้สร้างของเขาว่า จะมีผู้สร้างที่นอกเหนือจากอัลลอฮ์ พระเจ้าเพียงองค์เดียวกระนั้นหรือ?

คำตอบก็คือ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ เท่านั้นดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง เป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญที่ถูกกล่าวไว้ใน

อัล กุรอาน

๑๓๐

และอีกโองการหนึ่งที่ได้กล่าวถึง บรรดาพวกตั้งภาคีในคาบมหาสมุทรอาหรับ ซึ่งพวกเขาก็รู้ดีว่า อัลลอฮ์ คือ พระเจ้า ผู้สร้างเพียงองค์เดียว แต่พวกเขามีความสงสัยในการเป็นผู้อภิบาลของพระองค์

ตัวอย่างเช่น โองการที่กล่าวว่า

“และถ้าเจ้าถามพวกเขา ใครคือผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและเป็นผู้ที่ทำให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์แล้วทำไมเล่าพวกเขาจึงหันเหออกไปทางอื่น” ( บทอังกะบูต โองการที่ ๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า บรรดาพวกตั้งภาคีและด้วยกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของพวกเขา และจากคำสอนที่เหลืออยู่ของบรรดาศาสดา ทำให้พวกเขาได้ยอมรับในสิ่งที่บูชาว่า สิ่งนั้น (เจว็ด) มิได้เป็นผู้สร้างอย่างแท้จริง แต่ทว่าสิ่งเหล่านั้นและสิ่งอื่นๆล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระเจ้า

และอัล กุรอานได้กล่าวถึง การสร้างของสิ่งอื่นๆ ว่า อยู่ภายใต้ความประสงค์ของพระเจ้า ตัวอย่างเช่น มุอ์ญิซาต(ปาฏิหาริย์ของศาสดาอีซา)

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“และขณะเมื่อเจ้า(อีซา)ได้ปั้นรูปนกจากดินด้วยกับการอนุมัติจากฉัน แล้วเจ้าได้เป่าเข้าไปในรูปนกนั้น ดังนั้นมันก็ได้กลายเป็นนกด้วยกับการอนุมัติจากฉัน” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑๑๐ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ปาฏิหาริย์หนึ่งของศาสดาอีซา คือ การปั้นนกจากดินด้วยตัวของเขาเอง และในโองการนี้ได้ใช้คำว่า บิอิซนีย์ (باذنی ) ซ้ำทั้งสองครั้งสองคราวด้วยกัน ซึ่งหมายความว่า

๑๓๑

 “ด้วยกับการอนุมัติจากฉัน (พระเจ้า)” ดังนั้น การสร้างของศาสดาอีซาจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อ จะต้องอยู่ภายใต้การอนุมัติจากพระเจ้าเท่านั้น  อัล กุรอานยังได้อธิบายให้เห็นถึง ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ให้อำนาจกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาลในทัศนะของอัล กุรอาน

   ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

(เตาฮีด รุบูบีย์) ในทัศนะของอัล กุรอาน

    ในบทก่อนได้อธิบายในความหมายของการเป็นผู้อภิบาลไปแล้วว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้อภิบาลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารทุกสรรพสิ่ง ส่วนสิ่งอื่นๆก็มีอำนาจในการบริหารเช่นกัน แต่การบริหารของสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจและการอนุมัติของพระเจ้าเท่านั้น และในทางตรงกันข้าม การตั้งภาคีในการอภิบาล มีความหมายว่า มนุษย์ได้ยกย่องเอาสิ่งอื่นไปเคียบเคียงกับพระเจ้าในสภาพที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง

อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล จากโองการทั้งหลายที่ได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่ง และคุณลักษณะประการหนึ่งของพระองค์ คือ การเป็นผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ได้ถูกกล่าวไว้ในอัล  กุรอานหลายโองการด้วยกันเกี่ยวกับพระเจ้า ซึ่งโองการต่างๆเหล่านั้นต้องการที่จะบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กหรือสิ่งใหญ่ จะเป็นมนุษย์หรือสิงสาราสัตว์ และสิ่งอื่นๆนั้นล้วนอยู่ในการอภิบาล และการบริหารจากพระองค์ทั้งสิ้น

๑๓๒

 ดังโองการที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงตรัสกับศาสดาของพระองค์ว่า พระองค์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดิน

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ใครคือพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ? จงกล่าวเถิด อัลลอฮ์”

(บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๖ )

นอกเหนือจาก พระเจ้าทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดินแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้อภิบาลแห่งทุกๆสรรพสิ่งด้วย

อัล กุรอานยังกล่าวว่า

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า อื่นจากอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ที่ฉันจะแสวงหาพระเจ้า ? ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นเป็นพระเจ้าของทุกสิ่ง” (บทอัลอันอาม โองการที่๑๖๔)

และอีกโองการหนึ่งที่ได้กล่าวเน้นย้ำใน ความเป็นเอกะและหนึ่งเดียวของพระเจ้า และการเป็นผู้อภิบาลของมวลมนุษย์ทั้งหลายและไม่มีมนุษย์ใดที่จะออกห่างจากอำนาจของพระองค์ได้

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พวกท่านเคารพบูชาเจว็ดและทอดทิ้งผู้ทรงเลิศยิ่งแห่งมวลผู้สร้างกระนั้นหรือ”

 “อัลลอฮ์คือ พระผู้อภิบาลของพวกท่านและบรรพบุรุษก่อนหน้าพวกท่าน”

(บทอัศศอฟฟาต โองการที่๑๒๕-๑๒๖ )

เพราะฉะนั้น ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างกระจ่างชัดแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของพระเจ้า

๑๓๓

   ข้อพิพาทของบรรดาศาสดาในความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

    การมีความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโต้แย้งและข้อพิพาทระหว่างบรรดาศาสดากับพวกมุชริก(พวกบูชาเจว็ด) เช่น ในสมัยของศาสดายูซุฟ ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวเรื่องของท่านว่า

“พระเจ้าทั้งหลายดีกว่าพระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวกระนั้นหรือ” (บทยูซุฟ โองการที่ ๓๙)

และอัล กุรอานยังได้กล่าวถึง วีรบุรุษแห่งความเป็นเอกานุภาพ นั่นคือ ศาสดาอิบรอฮีม จากการโต้แย้งกับกษัตริย์นัมรูด(ผู้ปกครองในสมัยนั้น)เกี่ยวกับหลักความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

อัล กุรอานกล่าวอีกว่า

 “เจ้าไม่รู้หรือ เกี่ยวกับ (ประวัติของกษัตริย์นัมรูด) ผู้โต้เถียงกับอิบรอฮีมในเรื่องผู้อภิบาลของเขา ซึ่งอัลลอฮ์ได้มอบอำนาจทางอณาจักร (บาบิโลน) แก่เขา เมื่ออิบรอฮีมได้กล่าวว่า พระผู้ทรงอภิบาลของฉัน ทรงประทานชีวิตและทรงประทานความตาย (แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์) เขา (นัมรูด) กล่าวว่า ฉันเองก็ให้ชีวิตและให้ความตายได้ อิบรอฮีมกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์สามารถนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออกได้ พลัน (นัมรูด) ผู้เนรคุณก็งงงัน (เพราะตอบไม่ถูก) และอัลลอฮ์จะไม่ทรงชี้นำแก่กลุ่มชนที่ฉ้อฉล”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๕๘)

๑๓๔

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า กษัตริย์นัมรูดยอมรับว่า อัลลอฮ์ คือ หนึ่งในพระผู้อภิบาลทั้งหลาย และเขาก็อ้างตนว่าเป็นพระเจ้าด้วย ศาสดาอิบรอฮีมต้องการที่จะบอกกับนัมรูดว่า เจ้ามิได้เป็นพระเจ้าเหมือนอย่างที่เจ้าพูดหรอก เพราะว่าเจ้าไม่ได้มีคุณลักษณะของพระองค์อยู่เลย นั่นก็คือ การให้ชีวิตและให้ความตาย แต่เมื่อนัมรูดได้ยินเช่นนั้นก็พูดกับศาสดาอิบรอฮีมว่า ฉันมีความสามารถให้ชีวิตและให้ความตายได้เหมือนกัน หลังจากนั้น ได้สั่งทหารให้นำนักโทษมาสองคน และได้ปล่อยคนหนึ่งให้เป็นอิสระและได้สังหารอีกคนหนึ่ง พร้อมกับบอกศาสดาอิบรอฮีมว่า ฉันได้ให้ชีวิตและให้ความตายแล้ว แต่ด้วยกับการไม่เข้าใจในความหมายของการให้ชีวิตและให้ความตาย เขาจึงเข้าใจว่า เขาเป็นผู้ให้ชีวิตและให้ความตายเหมือนกับพระเจ้า ดังนั้น เมื่ออิบรอฮีมได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวขึ้นว่า อีกหนึ่งในคุณลักษณะของผู้อภิบาล คือ การทำให้ดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ถ้าเจ้าคิดว่าเจ้าเป็นพระผู้อภิบาลจริง ก็ทำให้ดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออกสิ เมื่อนัมรูดได้ยินคำกล่าวนั้น เขาก็งุ่นงง เพราะไม่มีความสามารถที่จะทำได้

ดังนั้น มาตรฐานของการโต้แย้งและการวิพากษ์ของศาสดาอิบรอฮีม คือ การสมมุติว่า สิ่งที่มิใช่พระเจ้านั้นมีความเป็นผู้อภิบาลและเมื่อเป็นเช่นนั้น จะต้องมีความสามารถในการบริหารกิจการงานต่างๆของโลกได้ ในขณะเดียวกัน พระเจ้าจอมปลอมทั้งหลายนั้นก็มิได้มีความสามารถกระทำการงานเหล่านั้นได้

๑๓๕

 

ในโองการอื่นๆของอัลกุรอาน ยังได้กล่าวถึง การโต้แย้งของศาสดาอิบรอฮีมกับบรรดาพวกบูชาดวงดาว และวิธีการโต้แย้งของเขาก็คือ ในตอนแรกเขามีความเชื่อเหมือนกับพวกเหล่านั้น หลังจากนั้นก็ยกเหตุผลมาพิสูจน์ว่า แท้จริง ความเชื่อเช่นนั้น ไม่ถูกต้องและมีความขัดแย้งกับหลักการของศาสนา

ในบทอัลอันอาม โองการที่ ๗๖-๗๙

“ครั้นเมื่อกลางคืนปกคลุมเขา เขาได้เห็นดาวดวงหนึ่ง เขากล่าวว่า นี่คือพระเจ้าของฉัน แต่เมื่อมันลับหายไป เขาก็กล่าวว่า ฉันไม่ชอบบรรดาสิ่งที่ลับหายไป
ครั้นเมื่อเขาเห็นดวงจันทร์กำลังขึ้น เขาก็กล่าวว่า นี่คือพระเจ้าของฉัน แต่เมื่อมันลับหายไป เขาก็กล่าวว่า ถ้าพระเจ้าของฉันมิได้ทรงชี้นำฉันแล้ว แน่นอนฉันก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในกลุ่มชนที่หลงผิด ครั้นเมื่อเขาเห็นดวงอาทิตย์กำลังขึ้น เขาก็กล่าวว่า นี่แหละคือ พระเจ้าของฉัน นี่แหละมันใหญ่กว่า แต่เมื่อมันได้ลับหายไป เขาก็กล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน! แท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคีขึ้น (แก่อัลลอฮ์)
แท้จริง ข้าฯพระองค์ขอผินหน้าของข้าฯพระองค์แด่ผู้ที่ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน ในฐานะผู้ใฝ่หาความจริง ผู้สวามิภักดิ์ และข้าฯพระองค์มิใช่คนหนึ่งในหมู่ผู้ให้มีภาคีขึ้น”

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า มีข้อคิดในด้วยกันหลายข้อคิด ดังนี้

๑.ประโยคที่กล่าวว่า ฉันไม่ชอบในสิ่งที่ลับหายไป บ่งบอกถึง สิ่งที่ลับหายไป ไม่มีความสามารถที่จะเป็นพระเจ้าได้ เพราะว่าความเป็นพระเจ้านั้นจะต้องมีอยู่ตลอด ไม่ใช่ว่ามีอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วไม่มีอยู่อีกเลย

๑๓๖

๒.คำกล่าวของศาสดาอิบรอฮีมที่ได้กล่าวว่า ฉันไม่ชอบในสิ่งที่ลับหายไป เพื่อที่จะปฏิเสธความเชื่อของพวกบูชาดวงดาวที่พวกเขาเชื่อว่า หมู่ดวงดาวทั้งหลายนั้นเป็นพระเจ้า และเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรักกับความเป็นพระเจ้าและความเป็นผู้อภิบาลที่ต้องอยู่คู่กัน

   เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

 

    ความเป็นเอกานุภาพ และประเภทต่างๆ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ดังนั้น ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของหลักความเป็นเอกานุภาพ มิได้มีความขัดแย้งกับการใช้เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพ  ซึ่งเหตุผลที่ได้รับจากอัลกุรอานนั้น เป็นเหตุผลที่ดีที่สุด และหนึ่งในโองการทั้งหลายที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้กล่าวใน เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล คือ 

หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งบัลลังก์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่งขึ้น

  (บทอัลอัมบิยาอ์ โองการที่๒๒)

การอธิบายในโองการนี้ มีทัศนะความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอาน และโองการนี้ได้กล่าวถึงประเภทใดของความเป็นเอกานุภาพ

บางคนได้กล่าวว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระเจ้า

และบางคนกล่าวว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล ที่ได้รับจากโองการนี้ คือ

หากว่าในโลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์แล้ว จะไม่เกิดความเป็นระบบและระเบียบที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ทว่าในโลกนี้ มีความเป็นระบบและระเบียบอยู่ ดังนั้นในโลกนี้ จึงมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว

การอธิบายในเหตุผลนี้ จะกล่าวได้ว่า หากสมมุติว่าโลกนี้มีพระเจ้าอยู่สององค์ ดังนั้นจะต้องมีสองระบอบการปกครองจากทั้งสององค์ ซึ่งจะต้องมีความเป็นอิสระเสรีในแต่ละองค์ และมีความสามารถจะกระทำอะไรก็ได้ตามความปรารถนาของตน และเมื่อเป็นเช่นนั้น จะเห็นได้ว่า โลกนี้จะมีแต่ความวุ่นวาย และไม่มีระบบและระเบียบ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีผู้บริหารหลายคน บ่งบอกถึงการมีความขัดแย้งกันในการบริหาร และการมีความขัดแย้งกันในการบริหาร ก็มีความแตกต่างกับความเป็นระบบและระเบียบและความเป็นหนึ่งเดียวในการบริหาร

รายงานจากฮิชาม บิน ฮะกัม ได้ถามท่านอิมามซอดิกถึงเหตุผลของความเป็นเอกะและหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า มีเหตุผลอะไรบ้าง?

อิมามได้ตอบว่า

 “ เหตุผลก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวในการบริหาร และความสมบูรณ์ของการสร้าง” ดังที่อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า  “หากว่าในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้วละก็จะเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน”

 (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๖ วจนะที่ ๒ )

๑๓๗

รายงานจากอิมามซอดิก ว่า

 “ครั้นเมื่อเราได้เห็นการสร้างที่มีระบบระเบียบ การเคลื่อนไหวของดวงดาว การมาของกลางวันและกลางคืน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ บ่งบอกถึงการมีอยู่ของผู้บริหารเพียงคนเดียว”

 (อัตเตาฮีด อํศศอดูก บาบที่ ๓๖ วจนะที่ ๑ )

   การบริหารการงานของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้สร้าง

    ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ มิได้หมายความว่า เป็นการปฏิเสธการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง (มัคลูก) ของพระเจ้า แต่ได้หมายถึง การกระทำของสิ่งที่ถูกสร้างต้องขื้นอยู่กับการอนุมัติและความประสงค์ของพระองค์

ตัวอย่างเช่นในอัล กุรอานที่ได้กล่าวถึง การกระทำของมวลเทวทูต

“ขอสาบานด้วยเทวทูตผู้บริหารกิจการ” (บทอันนาซีอาต โองการที่ ๕)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า การบริหารงานของเทวทูตทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของพระเจ้าทั้งสิ้น

และในบางโองการได้กล่าวในทำนองเดียวกันนี้ เช่น การกระทำหนึ่งของพระเจ้า คือ การให้ปัจจัยยังชีพและได้ให้ความสัมพันธ์นี้ไปยังการกระทำของมนุษย์

๑๓๘

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และไม่มีสัตว์สี่เท้าใดในแผ่นดินนอกจากมันได้รับปัจจัยยังชีพจากอัลลอฮ์เท่านั้น”

 (บทฮูด โองการที่ ๖)

อัล กุรอานยังได้กล่าวถึง การเลี้ยงดูและจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เป็นหน้าที่ของสามีที่เป็นผู้จัดหา

“และเป็นหน้าที่ของสามี จะต้องให้การเลี้ยงดูและเครื่องนุ่งห่มโดยมีคุณธรรมความดี”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๓๓)

จากโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน แสดงให้เห็นว่า การกระทำทั้งหลายของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับอนุมัติและความประสงค์ของพระเจ้า

๑๓๙

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ฟีย์ คอลิกียะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรของพระผู้เป็นเจ้า

เตาฮีด ฟีย์ รุบูบียะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระผู้อภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ แบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง ,การอภิบาล ,การบริหาร และการชี้นำ ฯลฯ

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งเพียงองค์เดียว

๓. พระเจ้า เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และสิ่งอื่นๆเป็นสิ่งสามารถจะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งอื่นจึงเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยการใช้สื่อก็ตาม

๔.ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้อภิบาลมีอำนาจการบริหารเพียงองค์เดียว และพระองค์ไม่ต้องการผู้ช่วยเหลือ แต่สิ่งอื่นนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากพระองค์จึงจะมีอำนาจการบริหารในการงานเป็นของตนเอง

๕.ความเป็นผู้อภิบาลที่แท้จริง ต้องเป็นแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นๆ

ในขณะเดียวกัน พระเจ้า เป็นผู้สร้างและเป็นผู้อภิบาลเพียงองค์เดียว

การใช้เหตุผลพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาลก็มีความเป็นไปได้

๑๔๐