บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325541
ดาวน์โหลด: 4493

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325541 / ดาวน์โหลด: 4493
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

เรื่องการรู้จักพระเจ้า

เขียนโดย ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์เมฮ์ร์

คำนำ

     ส่วนมากของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาทั้งหลายและเช่นเดียวกันกับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลาม หมายถึง ชาวมุสลิมทั้งหลายก็มีความเชื่อเช่นกันว่า พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ที่ได้ประทานศาสนาลงมาเพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ อีกทั้งยังได้นำคำสั่งสอนต่างๆของพระองค์ผ่านยังวะฮ์ยู

 (คำวิวรณ์) จากพระองค์โดยผ่านบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาคือ

 ผู้เผยเเพร่สารของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อทำการสั่งสอนให้กับมนุษย์ในการปฏิบัติต่อหลักการปฏิบัติศาสนกิจ เพราะฉะนั้นคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามจึงถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

 ๑.คำสั่งสอนทางด้านหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์)

  ๒.คำสั่งสอนทางด้านหลักศีลธรรม และจริยธรรม (อัคลาก)

  ๓.คำสั่งสอนทางด้านหลักปฏิบัติ (อะฮฺกามหรือ ชะรีอะฮฺ)

     ในอีกมุมมองหนึ่ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสมบูรณ์ของศาสนาขึ้นอยู่กับการรู้จักศาสนา และความเคร่งครัดต่อศาสนานั้น ก็ขึ้นอยู่กับการรู้จักในศาสนาด้วยเช่นเดียวกัน และการไม่เข้าใจในคำสอนของศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องออกห่างจากศาสนา ดังนั้น การรู้จักอย่างถูกต้องในคำสั่งสอนของศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ คือ บ่อเกิดแห่งการรู้จักต่อศาสนา อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

    ด้วยเหตุนี้ หน้าที่อันสำคัญอันหนึ่งของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความเชื่อในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และเชื่อว่าคำสั่งสอนของท่านนั้นมีความถูกต้อง คือ การรู้จักและเข้าใจอย่างละเอียดในคำสั่งสอนของศาสนา และในเป้าหมายของศาสนา และการรู้จักอย่างถูกต้องในศาสนานั้น ทำให้เขาไปสู่ความสมบูรณ์ และความผาสุกในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า  บรรดามุสลิมทั้งหลายนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการรู้จักในคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก จนกระทั่งวิชาการและศาสตร์ต่างๆได้เกิดขึ้นมากมายในโลกแห่งอิสลาม และศาสตร์เหล่านั้นได้แยกออกเป็นสาขาต่างๆมากมาย ด้วยเช่นกัน ดังนั้น บรรดานักปราชญ์และนักวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆเหล่านั้น ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับศาสนาไปตามความรู้และทัศนะความคิดที่ได้ศึกษามาจากศาสตร์เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุให้ศาสตร์วิชาการแขนงหนึ่งในศาสนาอิสลามได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น

 นั่นก็คือ วิชาอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ที่มาและแหล่งกำเนิดของวิชาการแขนงนี้ เริ่มต้นมาจาก การถือกำเนิดมาพร้อมกับและการมาของศาสนาอิสลาม เนื่องด้วยกับการเกิดปัญหาและคำถามมากมายที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา เพราะฉะนั้น  วิชาอิลมุลกะลาม

(วิชาเทววิทยาอิสลาม) จึงมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและคำถามและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา

     คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

     การให้คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) มีหลายคำนิยามด้วยกัน และคำนิยามที่เป็นที่รู้จักในเทววิทยาอิสลาม ก็คือ

  อิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) คือ

 “วิชาที่ว่าด้วย การวิเคราะห์, การอรรถาธิบาย,   การเรียบเรียง,

  การพิสูจน์ด้วยเหตุและผลในหลักศรัทธาของอิสลาม อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา”

    คำอธิบาย

    และจากการให้คำนิยามข้างต้นนี้ บ่งบอกถึง หน้าที่ต่างๆอันสำคัญยิ่งของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ซึ่งมีดังนี้

  ๑.การวิเคราะห์ หมายถึง การนำเอาพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และฮะดีษ (วจนะของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย) ถือว่า เป็นสองหลักการที่สำคัญได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักศรัทธา และยังถือว่าเป็น หน้าที่อันดับแรกของนักมุตะกัลลิม

 (หมายถึง นักเทววิทยา) ส่วนภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของนักเทววิทยา คือ การนำเอาคำสั่งสอนของศาสนามาวิเคราะห์ด้วยกับเหตุและผล ดังนั้น หน้าที่ของนักมุตะกัลลิม จึงมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของหลักศรัทธาในภาคทฤษฎี  หรือที่เรียกกันว่า อุศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา) ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักปฏิบัติศาสนกิจ(อะฮ์กาม)

  ๒.การอรรถาธิบาย หมายถึง หน้าที่ลำดับต่อไปของอิลมุลกะลาม

 (เทววิทยาอิสลาม) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ในหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  นักมุตะกัลลิม ยังมีอีกหน้าที่หนึ่ง นั่นก็คือ

 การอรรถาธิบายหลักศรัทธาของศาสนา โดยต้องใช้คำอธิบายที่ชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อขจัดความคลุมเคลือและการโต้แย้งต่างๆ ที่จะเกิดจากการวิเคราะห์ในหลักศรัทธา โดยการนำเอาหลักฐานอันชัดแจ้งจากอัลกุรอาน ,ฮะดีษ(วจนะ),ศัพท์ทางวิชาการ และหลักการต่างๆในศาสตร์อื่นๆ มาใช้ประกอบในการอรรถาธิบายด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนวิธีการที่นักมุตะกัลลิมนำมาใช้ในการอรรถาธิบายนั้น  เป็นวิธีการที่เฉพาะเจาะจงกับวิชาเทววิทยาเท่านั้น

  ๓.การเรียบเรียง หมายถึง หลังจากที่ได้อรรถาธิบายหลักศรัทธาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หน้าที่อันดับต่อไปของนักมุตะกัลลิม ก็คือ การเรียบเรียงหลักศรัทธาให้มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยในความเป็นจริง

 อัลกุรอาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญมิได้เรียบเรียงหลักศรัทธาไว้

 ด้วยเหตุนี้เอง นักมุตะกัลลิมจึงเพ่งเล็งเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเรียบเรียงหลักศรัทธาขึ้นมาให้เป็นระเบียบและง่ายต่อการเข้าใจ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า เป้าหมายหลักของ เทววิทยาอิสลาม คือ

การทำให้หลักศรัทธานั้น ถูกจัดให้เป็นระบบระเบียบ เพราะว่า จะทำให้ความสามารถแยกแยะในประเด็นต่างๆที่สำคัญออกจากกันได้

อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆเหล่านั้นได้อีกด้วย

  ๔.การพิสูจน์ด้วยเหตุและผล หมายถึง หลังจากที่นักเทววิทยา ได้อรรถาธิบายและเรียบเรียงในหลักศรัทธาแล้ว อีกหน้าที่ๆสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การตรวจสอบในประพจน์หรือประโยคต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์หลักศรัทธา และการเข้าใจในประโยคเหล่านั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เหตุและผลมาพิสูจน์ยืนยัน โดยนักเทววิทยานั้นจะต้องใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการพิสูจน์หลักศรัทธาเท่านั้น

  ๕.การตอบปัญหาและข้อสงสัย หมายถึง หน้าที่อันดับสุดท้ายของ

นักเทววิทยา ก็คือ การใช้วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในการตอบปัญหาและข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับหลักศรัทธาของอิสลาม

     วิธีการศึกษาในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

    ในปัจจุบันนี้ มีหลายวิธีการที่ใช้ในศึกษา และค้นคว้าในศาสตร์และวิชาการแขนงต่างๆ  เพราะฉะนั้น  วิธีการที่ใช้ในการศึกษา และค้นคว้าในวิชาการ ที่เป็นที่รู้จักกัน มีด้วยกัน ๓ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา และทัศนะ(อักลีย์)

  ๒.วิธีการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลอง (ตัจรุบีย์)

  ๓.วิธีการอ้างอิงจากตำรา และการจดบันทึก (นักลีย์) เช่น

การบันทึกทางประวัติศาสตร์ และจากหนังสืออ้างอิง

  ดังนั้น วิธีการที่สามารถใช้ศึกษาค้นคว้าในอิลมุลกะลาม

 (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  จึงมีด้วยกัน  ๒ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา (อักลีย์)

  ๒.วิธีการอ้างอิงจากตำราและการจดบันทึก (นักลีย์)

  วิธีการอักลีย์ หมายถึง การค้นคว้าโดยอาศัยหลักที่ว่าด้วยเหตุและผลจากการใช้กฏต่างๆของตรรกศาสตร์และปรัชญา

 ส่วนประเภทของเหตุและผลที่รู้จักกันทั่วไป กล่าวคือ

 การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเปรียบเทียบในการพิสูจน์

  ส่วนวิธีการนักลีย์ หมายถึง การใช้หลักการที่อ้างอิงจากตำราและการบันทึก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการพิสูจน์ โดยการใช้พระมหาคัมภีร์อัล กุรอานเป็นบรรทัดฐานในการพิสูจน์ และถือว่า เป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในอิสลาม และบรรดานักเทววิทยาได้ใช้สองวิธีการนี้ในการศึกษาและค้นคว้าในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  และใช้ในการค้นคว้าในประเด็นต่างๆของ เทววิทยา ได้อีกด้วย

ประเด็นต่างๆในกะลาม(เทววิทยา) ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นหลัก ด้วยกัน ดังนี้

  ๑. บางประเด็นสามารถใช้ทั้งสองวิธีการนี้ได้ คือ ทั้งวิธีการอักลีย์ และนักลีย์ พร้อมกัน เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการอธิบายคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า นอกเหนือจากประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะการมีความซื่อสัตย์ของพระองค์

  ๒.บางประเด็นสามารถใช้เพียงวิธีการเดียว นั่นคือ วิธีการอักลีย์ เท่านั้น เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการพิสูจน์การมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และประเด็นที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

  ๓.บางประเด็นที่ใช้วิธีการนักลีย์ได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถใช้วิธีการอักลีย์ได้เลย นั่นก็คือ ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพของมนุษย์หลังความตาย และประเด็นที่เกี่ยวกับโลกหน้า เพราะสติปัญญาของมนุษย์นั้นมิสามารถพิสูจน์ในประเด็นเหล่านี้ได้ จึงต้องใช้เพียงคำสอนจาก

พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และวจนะ เท่านั้น

     สาเหตุที่เรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า อิลมุลกะลาม

     มีคำถามได้ถามขึ้นว่า ด้วยสาเหตุใดจึงเรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า

อิลมุลกะลาม?

   ในความเป็นจริงก็คือ คำตอบของคำถามนี้ ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลหนึ่งของการเรียกชื่อนี้ ก็คือ  ประเด็นหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามเกี่ยวกับคุณลักษณะประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือ กะลาม (คำพูด)  ของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีมาดั้งเดิมหรือว่าเพิ่งเกิดขึ้นใหม่  จึงนำเอาประเด็นนี้เป็นสาเหตุในการเรียกชื่อวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม  และอีกเหตุผลหนึ่งที่เรียกวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ก็คือ

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความสามารถในการพูด  และการอธิบายในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา จึงเรียก วิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ซึ่งหมายถึง คำพูด และยังมีเหตุผลอื่นอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ว่าเหตุผลต่างเหล่านั้น ถูกต้องทั้งหมดทั้งสิ้น

     ขอบเขตของเทววิทยาอิสลาม

     จากที่ได้ให้คำนิยามของเทววิทยาอิสลามผ่านไปแล้ว จะเห็นได้ว่า วิชาการนี้มีความกว้างเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่สามารถที่จะกำหนดขอบเขตของวิชาการนี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น บางทีสามารถแบ่งประเด็นที่สำคัญของเทววิทยาอิสลามได้ ๓ ประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

   ๑.การรู้จักพระเจ้า (เตาฮีด)

   ๒.การรู้จักผู้ชี้นำมนุษยชาติ (สภาวะเป็นศาสดาและสภาวะการเป็นผู้นำของบรรดาวงศ์วานของศาสดามุฮัมมัด) (นะบูวะฮ์และอิมามะฮ์)

   ๓.การรู้จักในวันแห่งการตัดสิน (มะอาด)

     ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ศาสนาอิสลามได้อธิบายประเด็นที่เกี่ยวกับมนุษย์กับโลกไว้อย่างมากมาย และวิธีการโดยทั่วไปของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายนั้น มิได้นำเอาประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักมนุษย์มาป็นประเด็นหลักเพราะว่า ประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลามได้รวมประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และโลกไว้แล้ว เช่นในประเด็นเรื่อง ฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) ,   เรื่องเตาฮีด อัฟอาลี (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าในกริยา การกระทำ) ,  ความต้องการของมนุษย์ไปยังศาสนา และศาสนทูต  และวิธีการเกิดขึ้นของมะอาด (วันแห่งการย้อนกลับของมนุษย์ยังพระผู้เป็นเจ้า) และประเด็นอื่นๆ ซึ่งถือว่า เป็นประเด็นที่สำคัญในเทววิทยาทั้งสิ้น  ดังนั้น การทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์แบบในอิลมุลกะลาม(เทววิทยาอิสลาม)

๑๐

 นอกเหนือจากการเข้าใจในประเด็นหลักที่สำคัญแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาในประวัติการถือกำเนิดของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม),การศึกษาและค้นคว้าในทัศนะต่างๆของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม การวิเคราะห์และวิจัยความสัมพันธ์ของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม) กับวิชาการอื่นๆ เช่น วิชาการอรรถาธิบายอัลกุรอาน

วิชาปรัชญา วิชาอิรฟาน (รหัสยวิทยา) และวิชาการอื่นๆ  ซึ่งจะขอเริ่มต้นการอธิบาย ในประเด็นที่เกี่ยวกับ การรู้จักพระเจ้า เป็นอันดับแรกก่อน

๑๑

 

ภาคที่หนึ่ง

การรู้จักพระเจ้า

 

๑๒

 บทที่ ๑ การรู้จักพระเจ้า

   เนื้อหาทั่วไป

   ในช่วงต้นได้กล่าวแล้วถึงประเด็นหลักที่สำคัญในสาขาวิชาเทววิทยาอิสลาม ซึ่งมีด้วยกัน ๓ ประเด็น ดังนี้

 ๑.ความเชื่อในเรื่องของหลักเตาฮีดหรือความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

 ๒.ความเชื่อในเรื่องของนบูวัตหรือความเป็นศาสดา

 ๓.ความเชื่อในเรื่องของมะอาดหรือวันแห่งการตัดสิน

    ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึง คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  

๑๓

      

   ความสำคัญของการรู้จักพระเจ้า

  เรื่องความเชื่อในพระเจ้า มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ และจะพบได้ว่าในหน้าประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนถึง ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้ามาอย่างยาวนาน  และถือว่าเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งส่งผลอย่างมากในการดำเนินชีวิตของเขา และด้วยเหตุนี้ หน้าที่หลักของมนุษย์ คือ การรู้จักพระเจ้า และมีความเชื่อต่อพระองค์ ดังนั้น จะเห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มนุษย์ที่มีความเชื่อในพระเจ้า กับมนุษย์ที่ไม่มีความเชื่อในพระองค์ และระหว่างมนุษย์สองคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าเหมือนกัน ก็มีความแตกต่าง เช่นกัน เพราะว่ามนุษย์คนหนึ่ง มีความเชื่อที่แตกต่างไปจากอีกคนในเรื่องของการจินตนาการหรือการสร้างมโนภาพของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นตามแนวความคิดของเขา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การมีความเชื่อในพระเจ้าและคุณลักษณะ (ซิฟัต) ของพระองค์ จึงมีผลต่อการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความศรัทธาในพระเจ้า ทำให้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่า และการใช้ชีวิตของเขานั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น  

๑๔

 

  ความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า

  การรู้จักพระเจ้า เป็นหนึ่งในความเชื่อของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิมตามสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา ซึ่งความเชื่อนี้อยู่ควบคู่มาตั้งแต่กับการถือกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้น การรู้จักสัญชาตญาณดั้งเดิม เป็นการรู้จักสภาพเบื้องต้นและเป็นขั้นตอนแรกในการรู้จักพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การรู้จักพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการรู้จักพระเจ้าที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการรู้จักพระองค์

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า พวกเขาได้นำเอาเหตุผลต่างๆมากมายมาพิสูจน์ถึงการมีอยู่จริงของพระองค์ ซึ่งจะขอนำบทพิสูจน์ดังกล่าวมาเสนอ เพื่อเป็นตัวอย่าง ดังนี้

๑.การสกัดกั้นภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สรุปก็คือ ในบทพิสูจน์นี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ได้ส่งบรรดาศาสดามาในทุกประชาชาติเพื่อชี้นำและตักเตือนมวลมนุษยชาติ และเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์ และถ้าหากว่า พวกเขามิได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดาทั้งหลาย จะพบกับภยันตรายและผลเสียที่จะได้รับ และหากว่าเขาไม่ศรัทธาในคำสั่งสอนของบรรดาศาสดา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำสอนของพวกเขานั้น มีความถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงก็ได้

๑๕

และในสภาพเช่นนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นในสติปัญญาของเขาที่ว่า ถ้าหากว่าการเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้นเป็นจริงและถูกต้อง ผลที่จะได้รับจากการไม่เชื่อฟังในคำสอนของพวกเขา คือ การได้รับการลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน และเขาจะได้รับภยันตรายจากการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดาเหล่านั้น  โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สติปัญญาของมนุษย์เนั้นย้ำเตือนเสมอว่า ให้เขาหลีกเลี่ยงออกห่างจากภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเมื่อมนุษย์คาดว่า การที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา พวกเขาจะถูกลงโทษจากพระเจ้านั้นเช่นกัน ด้วยกับความจำเป็นนี้ จึงต้องหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  และจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะถ้าหากว่า พระเจ้ามีอยู่จริง นั่นก็หมายความว่า การเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วย และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงออกห่างจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นนี้ มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา นั่นเอง

๒.การสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ (ผู้มีบุญคุณ)

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกๆคนต่าง ได้รับปัจจัยยังชีพอันมากมายมหาศาล ซึ่งพวกเขานั้นมิได้เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่กันและกัน หรือนำพาปัจจัยยังชีพมาพร้อมกับการถือกำเนิดของพวกเขาเอง แต่ทว่าพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพเหล่านั้นให้แก่พวกเขา ในขณะที่สติปัญญาของมนุษย์กล่าวเสมอว่า จำเป็นที่จะต้องสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่มีบุญคุณต่อเขา และพระผู้เป็นเจ้า คือ ผู้ที่มีบุญคุณและเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้เขา ฉะนั้น เมื่อมนุษย์ต้องการที่จะตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีบุญคุณ ก็จำเป็นต้องรู้จักผู้มีบุญคุณเสียก่อน ซึ่งผู้นั้น ก็คือ พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

๑๖

 และพระองค์ คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับมนุษย์รวมถึงบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้น การรู้จักพระเจ้า จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง และสติปัญญาได้กล่าวย้ำว่า มนุษย์จำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ นั่นก็คือ การรู้จักพระเจ้า 

๑๗

   ระดับขั้นของการรู้จักพระเจ้า

   สิ่งสำคัญในการรู้จักพระเจ้าคือ เมื่อพูดถึง การรู้จักพระองค์ สามารถจะตีความได้หลายความหมาย  ซึ่ง ณ ที่นี้ จะแบ่งประเภทของระดับขั้นในการรู้จักพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การรู้จักอาตมันของพระเจ้า

บางครั้ง การรู้จักพระเจ้า หมายถึง การรู้จักอาตมันของพระองค์

มีคำถามได้ถามขึ้นว่า  การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่? และมนุษย์จะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร?

คำตอบ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้มีความเห็นตรงกันว่า การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพวกเขาได้ยกเหตุผลการใช้สติปัญญา , อัล กุรอาน และวจนะของศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า การรู้จักอาตมันของพระองค์นั้น มิใช่ว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ ทว่าทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักถึงอาตมันที่แท้จริงของพระองค์ได้

เหตุผลทางสติปัญญา ก็คือ บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า แท้จริงอาตมันและตัวตนของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุด และมีความสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ตัวตนของสิ่งที่ถูกสร้างอื่นๆตลอดจนมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัดและมีที่สิ้นสุด

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความรู้ หมายถึง การรู้จักสิ่งที่ต้องการที่จะรู้ซึ่งต้องมีผู้ที่ให้ความรู้ และสิ่งที่ถูกรับรู้  ดังนั้น สิ่งที่มีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นผู้ให้ความรู้ในสิ่งที่ไม่มีขอบเขต ในขณะที่มนุษย์คือ สิ่งถูกสร้างของพระเจ้า ซึ่งมีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักแก่นแท้แห่งอาตมันของพระองค์

๑๘

๒.การรู้จักสถานะการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งอีกระดับขั้นหนึ่งในการรู้จัก หมายถึง การรู้จักว่า พระเจ้ามีอยู่จริง  และการรู้จักในสภาพนี้ทำให้มนุษย์ผู้ศรัทธาออกห่างจากกลุ่มชนที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าและกลุ่มชนที่สงสัยในการมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งการรู้จักพระเจ้าจะนำเขาไปสู่ความเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น การรู้จักในสภาพนี้นั้น มีความเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ และยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการรู้จักในระดับขั้นอื่นๆของพระเจ้า อีกด้วย และในการอธิบายถึงพระเจ้าก็มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่รู้จักพระองค์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีความเชื่อเหมือนกัน นั่นก็คือ การรู้จักพระองค์ในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง และประเสริฐที่สุด

๓.การรู้จักคุณลักษณะและการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นระดับขั้นหนึ่งในการรู้จักพระองค์ คือ หลังจากที่มนุษย์ยอมรับว่าพระเจ้ามีอยู่จริงแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ และในระดับขั้นที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงความแตกต่างของมนุษย์ผู้ศรัทธาและได้แยกพวกเขาออกจากบรรดาผู้ปฏิเสธ และผู้ที่สงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้าไปแล้ว ซึ่งในระดับขั้นนี้ นักเทววิทยาอิสลามก็มีทัศนะต่างๆในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระองค์ที่แตกต่างกัน จนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสำนักคิดต่างๆ ในเทววิทยาอิสลาม ไม่ว่าเป็นสำนักคิดอัชอะรีย์,มุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์ อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่างศาสนาต่างๆ อีกด้วย เช่น ศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ ซึ่งชาวคริสเตียนนั้นมีความเชื่อในบางส่วนแห่งการมีอยู่ของคุณลักษณะบางประการในพระเจ้า กล่าวคือ พวกเขามีความเชื่อในเรื่องตัษลีษ (หมายถึงคุณ ๓ ประการในพระเจ้า ได้แก่ พระบิดา ,พระบุตร และพระจิต) และพวกเขาเชื่อในเรื่องการตะญัดซุด (การมีรูปร่างของพระเจ้า) ชาวคริสเตียนกล่าวว่า สิ่งนี้เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า

๑๙

 แต่ในศาสนาอิสลามมิได้มีความเชื่อเช่นนั้นหรือบางสำนักคิดเทววิทยาของอิสลามมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างหน้าตา แต่บรรดามุสลิมส่วนใหญ่มิได้มีความเชื่อในการมีรูปร่างของพระองค์แต่อย่างใด  พวกเขาเชื่อในความบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงปราศจากการมีรูปพรรณสัณฐาน  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนมากของความแตกต่างที่เกิดขึ้นบนหลักศรัทธาที่เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้านั้น เกิดขึ้นมาจากความแตกต่างในการรู้จักคุณลักษณะของพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่

ฉะนั้น ประเด็นต่อไปที่จะกล่าวถึง คือ การมีอยู่ของพระเจ้า หลังจากนั้นจะอธิบายในเรื่องของคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ แต่ก่อนที่จะอธิบายถึงเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า  จะขอกล่าวบทนำในการรู้จักถึงการมีอยู่ของพระองค์ ภายใต้หัวข้อ การแสวงหาพระเจ้า และการรู้จักพระองค์

  แนวทางการแสวงหาพระเจ้าและรู้จักพระองค์

  การแสวงหาพระเจ้าและการรู้จักพระองค์มีหลายวิธีการ  ซึ่งมนุษย์ทุกคนต่างมีวิธีการมากมายในการแสวงหาพระเจ้า โดยไม่อาจคำนวณนับได้หมายความว่า โดยส่วนตัวแล้วมนุษย์มีวิธีการในการแสวงหาพระเจ้าตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า  “วิธีการรู้จักพระเจ้า มีมากมาย ประดุจการมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้”

นักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามได้แบ่งวิธีการรู้จักพระเจ้า ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑.วิธีการใช้เหตุผลหรือทัศนะ

๒.การรู้แจ้งและการปฏิบัติ

๒๐