บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325987
ดาวน์โหลด: 4500

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325987 / ดาวน์โหลด: 4500
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ดังนั้น ถ้าหากว่า การใช้สติปัญญาในสัญลักษณ์ทั้งหลายของพระเจ้า ไม่เป็นผลดีกับเราแล้ว ทำไมอัล-กุรอานจึงได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปํญญาด้วย

๒.อิสลามมีความเชื่อว่า การเคารพภักดีต่อพระเจ้า ถือเป็นเป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างสรรค์ของพระองค์ ดังโองการที่ได้กล่าวว่า

 “เรามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใด นอกจากการเคารพภักดีต่อข้าเท่านั้น”

“และเราได้ส่งศาสนทูตมาทุกประชาชาติเพื่อทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์”

และโองการต่างๆที่มีความหมายคล้ายคลึงกันนี้ ก็มีอีกมากมาย และการเคารพภักดีในสิ่งที่ไม่รู้ในตัวตนและคุณลักษณะของสิ่งนั้น ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะทำการเคารพภักดีในสิ่งที่ตนเองนั้นไม่รู้จักในสิ่งที่เคารพภักดี สมมุติว่า เช่น เราไม่รู้ในความหมายของการมีพลังอำนาจ แล้วจะร้องขอความช่วยเหลือกันทำไมละ  ดังนั้น การเกิดขึ้นของการเคารพภักดี ต้องเริ่มต้นด้วยกับการรู้จักถึงสิ่งที่ต้องให้การเคารพภักดีเสียก่อน

เหตุผลที่ผิดพลาดของพวกตะอฺตีลก็คือ พวกเขามีความสับสนในความบริสุทธิ์ของพระเจ้า และการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงในคุณลักษณะของพระองค์ และเช่นเดียวกัน ทัศนะของพวกตัชบิฮ์ก็ถือว่า ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่าพวกเขามีความขัดแย้งกับความเชื่อในคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า

๒๔๑

   แนวทางในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า

    เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า มนุษย์นั้น มีความสามารถรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้าได้ ด้วยกับการรับรู้โดยผ่านสื่อ เพราะฉะนั้น แนวทางในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า จึงมีด้วยกัน หลายแนวทาง ซึ่งมีดังนี้

๑.แนวทางในการใช้สติปัญญา เป็นแนวทางหนึ่งในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า โดยการใช้หลักการทางปรัชญา และตรรกศาสตร์มาพิสูจน์ในการมีอยู่ของคุณลักษณะของพระองค์ ซึ่งในบทก่อนๆได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และเป็นปฐมของเหตุทั้งหลาย  และจากการใช้สติปัญญาทำให้มีความเข้าใจในคุณลักษณะของพระเจ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น และการยอมรับว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะที่จำเป็นที่ต้องมีอยู่ หมายความว่า พระองค์นั้นไม่มีร่างกายและชิ้นส่วน

๒.แนวทางในการศึกษา และวิจัยสิ่งที่อยู่ในจักรวาล  ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก บ่งบอกถึง การมีอยู่คุณลักษณะความรู้ของพระเจ้า และการอยู่คงที่ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ บ่งบอกถึง การมีอยู่คุณลักษณะวิทยปัญญาของพระองค์

๒๔๒

ความแตกต่างในแนวทางแรกและแนวทางที่สอง ก็คือ

๑.ข้อพิสูจน์ที่นำมาใช้ในแนวทางแรก เป็นหลักการปรัชญาและตรรกศาสตร์

๒.ข้อพิสูจน์ที่ใช้ในแนวทางที่สอง  เป็นการใช้วิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยอาศัยหลักการของปรัชญาและตรรกศาสตร์มาช่วยเช่นกัน

ดังนั้น แนวทางที่สอง เป็นแนวทางที่อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และก็เป็นวิธีการของบรรดานักเทววิทยาอิสลามด้วยเช่นกัน

๓.แนวทางที่สาม เป็นแนวทางที่ใช้จากการอธิบายจากอัล กุรอานและวจนะในอิสลาม

โดยอัล กุรอานได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้า ,สภาวะการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด ,การมีอยู่คุณลักษณะของพระเจ้า และประเด็นใดก็ตามที่สติปัญญาไปไม่ถึง เราสามารถหาคำอธิบายได้จากอัลกุรอานและในวจนะ

๔.แนวทางที่สี่ เป็นแนวทางที่เฉพาะกับกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง เรียกแนวทางนี้ว่า แนวทางรหัสยนิยม หมายถึง การมองเห็นพระเจ้าในอีกมิติหนึ่งที่พ้นจากญาณวิสัย ซึ่งการรู้จักในแนวทางนี้ได้ จากการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในคำสั่งสอนของศาสนา

๒๔๓

   พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด

   ได้อธิบายแล้วว่า สติปัญญาได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่จะอธิบายและพิสูจน์ในการมีคุณลักษณะของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ จากการพิสูจน์ทางสติปัญญาในคุณลักษณะความจำเป็นที่ต้องมีอยู่และความเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ยืนยันอย่างชัดเจนว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ยิ่ง และไม่มีข้อบกพร่องใดในอาตมันของพระองค์  ซึ่งจะขอกล่าวสัก ๒ เหตุผลของความสมบูรณ์ในคุณลักษณะของพระเจ้า

เหตุผลที่หนึ่ง มี หลายองค์ประกอบด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.คุณลักษณะต่างๆเช่น ความรู้ ,พลังอำนาจ , ความประสงค์ และการมีชีวิต ทั้งหมดนั้นเป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เพราะสติปัญญาได้กล่าวว่า ความรอบรู้ เมื่อได้เปรียบเทียบกับความไม่รู้ ก็คือ ความสมบูรณ์ และความไม่รู้ เมื่อได้เปรียบเทียบกับความรู้ คือ ความบกพร่อง

๒.สรรพสิ่งที่มีอยู่ มีคุณลักษณะต่างๆที่สมบูรณ์ แม้ว่าบางส่วนจะไม่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ก็ตาม เช่น ความเป็นวัตถุ เพราะฉะนั้น การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ แสดงว่าสิ่งนั้นต้องมีอยู่

๓.พระเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง เป็นสิ่งมีอยู่โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด และไม่มีสารัตถะ นั่นก็คือ การมีขอบเขตของพระองค์

๔.ตามหลักการหนึ่งของปรัชญา กล่าวว่า ทุกคุณลักษณะที่มีในพระเจ้า หมายความว่า จำเป็นจะต้องมีอยู่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่พระองค์จะต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์

๒๔๔

เหตุผลที่สอง ความเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย

ข้อพิสูจน์ของเหตุผลนี้ ซึ่งมีดังนี้

๑.พระเจ้าเป็นผู้ที่ทำให้มีสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือ พระองค์เป็นปฐมเหตุ และสิ่งต่างๆเป็นผลของเหตุ

๒.ด้วยกับหลักการหนึ่งของปรัชญาที่ได้กล่าวว่า กฏของเหตุและผล อธิบายไว้ว่า ผู้ที่เป็นปฐมเหตุ ต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ หมายความว่า ทุกระดับขั้นของความสมบูรณ์มีอยู่ในพระเจ้า

๓.พระเจ้า เป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลายและมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด

๔.คุณลักษณะต่างๆเช่น ความรู้, พลังอำนาจ,และการมีชีวิตนั้น มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ในสภาพที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุด

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และพระองค์มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด

   การอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า

    ประเด็นหลักที่สำคัญของคุณลักษณะของพระเจ้า คือ การอธิบายความหมายคุณลักษณะของพระองค์

ความหมายของผู้รอบรู้และผู้มีพลังอำนาจ ในประโยคที่ได้กล่าวว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้ และเป็นผู้ทรงมีพลังอำนาจ มีความหมายว่าอย่างไร? และความหมายนั้นมีความหมายเดียวกันกับความหมายของผู้รู้และผู้มีพลังอำนาจในมนุษย์ใช่หรือไม่?

๒๔๕

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ เป็นคำถามที่ยากจะตอบได้ เพราะถ้าหากว่า เรายอมรับในความหมายของคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้านั้นก็หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์มีความหมายเดียวกับความหมายของคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวมนุษย์แล้วละก็เท่ากับว่าเราได้ยอมรับความเชื่อของพวกตัชบิฮ์

ในขณะเดียวกันเรากล่าวว่า พระเจ้า พระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใดที่มีในโลก ดังนั้น สามารถจะกล่าวว่า จากเหตุผลของหลักปรัชญาและตรรกศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า ความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น ไม่เหมือนกันกับความหมายของคุณลักษณะในมนุษย์ ดังนั้น ความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้าจึงไม่เหมือนกับความหมายของคุณลักษณะในมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คำที่นำมาใช้ต้องไม่มีความขัดแย้งกับหลักตรรกศาสตร์ และความหมายของคุณลักษณะก็คือ ในความหมายที่ปรัชญาและตรรกศาสตร์ได้ยืนยันและรับรอง

ได้อธิบายแล้วว่า ความเชื่อของนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ที่ได้กล่าวว่า มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้าได้  เพราะไม่สามารถอธิบายในความหมายของคุณลักษณะของพระองค์ได้ ดังนั้น พวกเขาคือ พวกตะอฺตีล  และพวกเขากล่าวว่า สติปัญญาของมนุษย์ไปไม่ถึงการรู้จักพระเจ้า

บัดนี้ จะมาดูกันว่า ยังมีแนวทางใดบ้าง ที่จะรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้าได้  และคำถามนี้ในอดีตก็เคยถามมาแล้ว ในแวดวงของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม

๒๔๖

สำหรับคำตอบก็คือ มีหลายทัศนะด้วยกัน แต่จะขอกล่าวเพียงทัศนะเดียว และเป็นทัศนะที่บรรดานักปรัชญาและบรรดานักเทววิทยาอิสลามยอมรับ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า มนุษย์มีคุณลักษณะต่างๆมากมาย เช่น ความรู้,พลังอำนาจ การมีชีวิต และเมื่อได้เปรียบเทียบกับความไม่รู้,ความอ่อนแอ คุณลักษณะทั้งหมดนั้น เป็นคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์

และเมื่อเป็นเช่นนี้ อันดับแรก ต้องมาไตร่ตรองอย่างละเอียดในความหมายของคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์กันก่อน  และหลังจากนั้น ก็มาทำการรู้จักในคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของคุณลักษณะเหล่านั้น เช่น การเพิ่งมีอยู่ ,การสูญสลาย,ความต้องการสื่อ และการยอมรับความผิดพลาด เ ป็นต้นฯ และต่อมาก็นำเอาคุณสมบัติทั้งหมดนั้นแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ดังนั้น ความรู้ จะมีความจำกัดและขอบเขต และถ้าหากว่ามีคุณสมบัติที่ได้กล่าวไปแล้ว ความรู้ของมนุษย์ ก็เป็นความรู้ที่เพิ่งมีมาและเกิดขึ้น ความรู้อันนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะหมดไป หรือสูญสลาย และการรับเอาความรู้ต้องผ่านจากสื่อทั้งหลาย และความรู้มีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ สิ่งที่ได้กล่าวไปนั้น บ่งบอกถึง ความมีขอบเขตในคุณลักษณะความรู้ของมนุษย์ ส่วนความรู้ของพระเจ้านั้น มีความแตกต่างจากความรู้ของมนุษย์อย่างสิ้นเชิง เพราะว่า ความรู้ของมนุษย์มีที่สิ้นสุดและมีความผิดพลาด แต่ความรู้ของพระองค์นั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และความผิดพลาดใดเกิดขึ้นเลย

๒๔๗

   การหยุดนิ่ง(เตากีฟ) ของนามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระเจ้า

    บรรดานักเทววิทยาอิสลาม บางสำนักคิด มีความเชื่อว่า นามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีการหยุดนิ่ง ความหมายของการหยุดนิ่ง ก็คือ การยอมรับการกล่าวนามและการอธิบายเกี่ยวกับพระเจ้า ที่มีความจำกัดในอัล กุรอานและวจนะเท่านั้น หมายความว่า การรู้จักพระเจ้าได้ ด้วยกับนามและคุณลักษณะทั้งหลายที่กล่าวไว้ในอัล กุรอานและวจนะ ก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว เพราะว่า สติปัญญาของมนุษย์ไปไม่ถึงการรู้จักในพระองค์อย่างแท้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า มีนักเทววิทยา สำนักคิดหนึ่งได้กล่าวว่า พวกเรามีความเชื่อว่า ไม่มีการหยุดนิ่งในการรู้จักพระเจ้าจากอัลกุรอานและวจนะ แต่สามารถที่จะกล่าวนามของพระเจ้า ด้วยกับเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่เกิดความเป็นขอบเขตในคุณลักษณะเหล่านั้น และจากประเด็นการอธิบายความหมายของคุณลักษณะของพระเจ้า และหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็คือ การไม่มีความผิดพลาดและข้อบกพร่อง บ่งบอกว่า สติปัญญาได้อนุญาตให้มนุษย์อธิบายคุณลักษณะของพระเจ้าตามความต้องการของเขาได้ ดังนั้น ไม่มีเหตุผลใดจากการใช้สติปัญญาที่กล่าวว่า มีการหยุดนิ่งในนามและคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า

บรรดานักเทววิทยาที่ยอมรับในความเชื่อการหยุดนิ่งในนามและคุณลักษณะของพระองค์นั้น ซึ่งในความเป็นจริง พวกเขามิได้มีเหตุผลใดมายืนยัน เพียงแต่กล่าวอ้างในโองการดังต่อไปนี้

๒๔๘

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “และสำหรับอัลลอฮ์ พระองค์ทรงมีพระนามทั้งหลายอันสวยงาม แล้วพวกเจ้าจงเรียกหาพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้น และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉไฉในพระนามของพระองค์ พวกเขาจะถูกตอบแทนในสิ่งที่ได้กระทำไป”(บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๘๐)

พวกเขาได้กล่าวว่า ความหมายของการปล่อยบรรดาผู้ที่เฉไฉจากการกล่าวพระนาม คือ การไม่อนุญาตให้กล่าวพระนามอื่นที่ไม่มีในอัล กุรอาน เพราะว่า การกระทำเช่นนี้ พวกเขาจะถูกตอบแทนด้วยการลงโทษจากพระเจ้า ดังนั้น ทัศนะการหยุดนิ่ง ถือว่า เป็นทัศนะที่ถูกต้อง

นอกเหนือจากนี้ ได้มีวจนะอีกมากมายที่กล่าวถึง การห้ามมิให้อธิบายเกี่ยวกับพระเจ้าที่มิได้ถูกกล่าวใน

อัล กุรอาน เช่น วจนะจากท่านอิมามกาซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ่เหนือการอธิบายในความเป็นจริงของพระองค์ ดังนั้น พวกเจ้าจงอธิบายพระองค์ ในสิ่งที่พระองค์อธิบายไว้ และจงออกห่างจากสิ่งที่นอกเหนือจากนั้น”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๒ )

 จากวจนะทั้งหลายที่มีจำนวนมากมาย แสดงให้เห็นว่า แม้ทัศนะของการหยุดนิ่ง จะไม่ถูกต้องก็ตาม แต่ให้เราหลีกเลี่ยงจากการไม่กล่าวพระนามที่มิได้ถูกกล่าวในอัล กุรอานและวจนะ

๒๔๙

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ตะอ์ตีล       :     Agnosticism

ตัชบิฮ์   :    Anthropomorphism

การหยุดนิ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า(เตากีฟ ซิฟาต)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.พวกตะอ์ตีล มีความเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักถึงพระเจ้า เพราะว่าสติปัญญาไปไม่ถึงและไม่มีความสามารถที่จะรู้จักความเป็นจริงของพระองค์ได้ แต่เพียงยอมรับว่า มีคุณลักษณะของพระเจ้าที่ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอานและวจนะ

๒. พวกตัชบิฮ์ มีความเชื่อว่า เป็นไปได้ที่จะรู้จักถึงพระเจ้า เพราะว่าสติปัญญามีความสามารถที่จะรู้จักพระองค์ได้และความหมายของคุณลักษณะของพระองค์เหมือนกับคุณลักษณะของมนุษย์และไม่มีความแตกต่างกันเลย

๓.มีเหตุผลอื่นๆอีกมากมายที่กล่าวว่า ทัศนะของพวกตะอ์ตีลนั้น ไม่ถูกต้อง เช่น อัล กุรอานจากโองการทั้งหลาย ได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การใช้ความคิดในโองการที่กล่าวถึงคุณลักษณะของพระเจ้า และการเคารพภักดีนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการรู้จักผู้ที่จะทำการเคารพภักดีด้วยเช่นเดียวกัน และทัศนะของอิสลามกล่าวว่า การรู้จักพระเจ้าเป็น ความสมบูรณ์หนึ่งของมนุษย์ทุกคน และการรู้จักที่ดีที่สุด คือ การรู้จักพระองค์โดยตรง

๔.ความเชื่อของพวกตัชบิฮ์ ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่ามีความขัดแย้งกับคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า

๒๕๐

๕.มนุษย์ยังมีหลายวิธีการและแนวทางในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้า

วิธีการทางสติปัญญา หมายถึง การใช้เหตุผลในการรู้จักถึงคุณลักษณะประการหนึ่งของพระองค์

วิธีการค้นคว้าในหลักและกฏความระบบและระเบียบของโลก เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการรู้จักคุณลักษณะของพระองค์

วิธีการศึกษาจากอัล กุรอานและวจนะ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น

อีกวิธีการหนึ่งในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า คือ วิธีการทางรหัสยนิยม เป็นวิธีการของบางสำนักคิดในอิสลาม โดยพวกเขารู้จักคุณลักษณะของพระเจ้าได้ด้วยกับตาแห่งปัญญา มิใช่จากตาเนื้อ

๖.จากเหตุผลต่างๆได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พระเจ้า มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด และทุกคุณลักษณะก็บ่งบอกถึง การมีอยู่ที่มีความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมิได้มีขอบเขตจำกัด และมีที่สิ้นสุด

๗.การหลีกเลี่ยงของพวกตะอ์ตีลและตัชบิฮ์ในการอธิบายถึงคุณลักษณะของพระเจ้า ก็คือ การอธิบายคุณลักษณะของพระองค์ที่มีความหมายเหมือนกับคุณลักษณะของมนุษย์ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่คุณลักษณะของมนุษย์นั้นมีขอบเขตจำกัด ส่วนคุณลักษณะของพระเจ้าไม่มีขอบเขตและที่สิ้นสุด

๘.แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลที่ยืนยันชัดเจนจากอัล กุรอานว่า ทัศนะการหยุดนิ่งนั้น มีความถูกต้อง แต่ยังได้มีวจนะทั้งหลายที่กล่าวถึง ความถูกต้องของทัศนะนี้ ด้วยเหตุนี้ เป็นการดีที่สุดให้เราหลีกเลี่ยงจากการไม่กล่าวพระนามและคุณลักษณะที่มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน

๒๕๑

   บทที่ ๓

   อัล กุรอานกับการอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า

    กล่าวไปแล้วว่า ไม่มีวิธีการใดที่จะรู้จักในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าได้  แต่มีวิธีการเดียวที่จะรู้จักถึงพระองค์ คือ การรู้จักด้วยนามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในเป้าหมายของอัล กุรอาน คือ การทำให้มนุษย์รู้จักพระเจ้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะมากได้ และโองการต่างๆของอัล   กุรอานยังได้กล่าวถึง คุณลักษณะของพระองค์ เป็นจำนวนหลายร้อยกว่าโองการ และกล่าวถึง คุณลักษณะของพระเจ้าโดยตรง และยังได้กล่าวนามทั้งหลายของพระองค์อีกด้วย

ดังนั้น จงจำไว้เถิดว่า การรู้จักพระเจ้า จากคุณลักษณะของพระองค์นั้น เป็นวิธีการรู้จักที่ยิ่งใหญ่ และการศึกษาและวิเคราะห์ในคุณลักษณะของพระองค์อย่างละเอียด จะต้องใช้ระยะเวลายาวนาน เพราะว่า ถ้าหากว่ามีความผิดพลาด ก็จะเป็นเหมือนกับความเชื่อของพวกตัชบิฮฺ 

อัล กุรอานได้อธิบายถึง คุณลักษณะของพระองค์ว่า ไม่เหมือนกับทัศนะของพวกตัชบิฮ์

 อัล กุรอานกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะรู้จักอาตมันของพระเจ้า  และเช่นกันความรู้ของมนุษย์ก็ไปไม่ถึง สารัตถะที่แท้จริงของพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ข้างหน้าพวกเขา และสิ่งต่าง ๆที่อยู่ลับหลังพวกเขาและความรู้ของพวกเขาไม่อาจจะเท่าเทียมความรู้ของพระองค์ได้” (บทฏอฮา โองการที่ ๑๑๐)

๒๕๒

และ กล่าวอีกว่า

“พระเจ้าผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พระองค์ทรงทำให้มีคู่ครองแก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง และจากปศุสัตว์ทรงให้มีคู่ผัวเมีย ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงแพร่พันธุ์พวกเจ้าให้มากมาย ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น”

( บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๑)

ด้วยกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ได้กล่าวไปแล้วว่า โองการเหล่านี้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระองค์ และ ยังได้ปฏิเสธการมีอยู่ของอาตมันอื่นเคียงข้างพระองค์ และการไม่เหมือนกันของคุณลักษณะของพระองค์กับคุณลักษณะของสิ่งอื่น

 ด้วยเหตุนี้ โองการนี้ กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้า มีอาตมันที่บริสุทธิ์ และไม่มีที่สิ้นสุด และในคุณลักษณะของพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใด และเช่นเดียวกัน จากโองการสุดท้ายของบทอัตเตาฮีด ก็กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า พระเจ้าไม่เหมือนกับสิ่งใด

อัล กุรอานยังได้กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากทัศนะของพวกตัชบิฮ์ และความไม่ถูกต้องของทัศนะนี้แล้ว และโองการต่างๆ ยังได้กล่าวอีกว่า พระเจ้าทรงไม่มีคุณลักษณะในด้านลบในอาตมันของพระองค์ เช่น พระองค์ไม่มีที่พำนักและกาลเวลา

และอัล กุรอานได้กล่าวไว้เช่นกันอีกว่า พระเจ้าทรงอยู่เหนือสิ่งที่มนุษย์ได้ทำให้เหมือน

๒๕๓

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และพวกเขาได้ให้มีขึ้นแก่อัลลอฮ์ ซึ่งบรรรดาภาคีแห่งญิน ทั้งๆที่พระองค์ทรงบังเกิดพวกเขา แต่พวกเขาอุปโลกน์ให้แก่พระองค์ซึ่งบรรดาบุตรชาย และบรรดาบุตรหญิง โดยปราศจากความรู้พระองค์ทรงบริสุทธิ์และทรงสูงส่งเกินกว่าที่พวกเขาจะกล่าวให้ลักษณะต่อพระองค์”

 (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๐๐ )

และกล่าวอีกว่า

“พวกเขามิได้ให้เกียรติอัลลอฮ์ ตามที่ควรจะให้เกียรติต่อพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพโดยแท้จริง” (บทอัลฮัจญ์ โองการที่ ๗๔ )

โองการเหล่านี้ได้กล่าวถึง ประตูแห่งการรู้จักพระเจ้า ได้ถูกปิดลง และมนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักถึงพระองค์ได้ นอกจากการหยุดนิ่งจากการใช้สติปัญญา ดังนั้น ทัศนะนี้ถือว่า เป็นโมฆะ เพราะจากโองการทั้งหลายที่กล่าวถึง ความบริสุทธิ์ของพระเจ้าจากการเหมือนของคุณลักษณะของพระองค์กับคุณลักษณะของสิ่งอื่น และมีโองการอีกมากมายที่กล่าวถึง พระนามและคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า

ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานได้เชิญชวนมนุษย์ทุกคนให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า และได้กล่าวในคุณลักษณะของพระองค์ว่า ไม่เหมือนกับทัศนะของพวกตัชบิฮ์และตะอ์ตีล แต่ยังมีแนวทางสายกลางในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระองค์ นั่นคือ มนุษย์สามารถรู้จักคุณลักษณะของพระองค์ได้ และคุณลักษณะของพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งที่มีอยู่ในโลก

๒๕๔

   คุณลักษณะของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ

   จากการศึกษาในหลักฐานการบันทึก ทำให้เข้าใจได้ว่า แนวทางของวจนะในอิสลาม เหมือนกับแนวทางของอัล กุรอานในการอธิบายคุณลักษณะของพระเจ้า ดังเช่น วจนะหนึ่ง ของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เกี่ยวกับการอธิบายในความหมายของอัล กุรอาน โองการที่ ๑๑๐ บทฏอฮา

อิมามอะลีกล่าวว่า

“ไม่มีสรรพสิ่งใดที่จะมีความรู้ในพระเจ้าได้ เพราะว่า พระองค์ ผู้ทรงบริสุทธิ์และสูงส่ง ได้ประทานม่านกั้นมาปิดในสายตาแห่งปัญญา ดังนั้น ไม่มีความคิดใดที่จะไปถึงการรู้จักพระองค์ และไม่มีหัวใจใดที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของพระองค์ และพวกเจ้า อย่าได้กล่าวคุณลักษณะของพระองค์ นอกจากสิ่งที่กล่าวไปแล้ว  พระองค์ทรงไม่เหมือนกับสิ่งใด อีกทั้งพระองค์ทรงได้ยิน และทรงมองเห็น”

(ตัฟซีร นูรุล อัซซะกะลัยน์ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๙๔ )

ท่านอิมามได้อธิบายในคุณลักษณะของพระเจ้าว่า ไม่มีสิ่งถูกสร้างใดที่จะมีความรู้ในอาตมันของพระองค์ เพราะพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์

๒๕๕

ท่านอิมามได้กล่าวในบทเทศนา ที่มีนามว่า อิชบาฮ์ ว่า

“พวกเขากล่าวโกหกว่าพระเจ้า เหมือนกับบรรดาเจว็ดที่พวกเขาสักการะบูชา และสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์ของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย อีกทั้งพวกเขาคิดว่า พระองค์มีรูปร่าง และได้เปรียบพระองค์เหมือนกับสิ่งถูกสร้างที่มีพลังมหาศาล”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๙๑)

ด้วยเหตุนี้เอง อัล กุรอานได้อธิบายว่า ไม่ยอมรับในทัศนะของพวกตัชบิฮ์และตะอ์ตีล และยังมีวจนะทั้งหลายที่กล่าวถึงเรื่องนี้ เช่น วจนะของท่านอิมามอะลี ที่กล่าวว่า

“สติปัญญาของมนุษย์ไปไม่ถึงขอบเขตของคุณลักษณะของพระเจ้า และพวกเขาไม่ถูกปกปิดจากการรู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๔๙)

นอกเหนือจากนี้ ในวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน เกี่ยวกับ การรู้จักพระเจ้า ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของพระองค์ไว้ด้วยเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้ มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้จักพระเจ้าด้วยกับคุณลักษณะของพระองค์

๒๕๖

   สรุปสาระสำคัญ

๑.อัล กุรอานได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ไม่มีความรู้ใดที่จะรู้จักในอาตมันที่แท้จริงของพระเจ้าได้

๒.ตามทัศนะของอัล กุรอาน ถือว่า พวกตัชบิฮ์ มีทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่า โองการทั้งหลายได้กล่าวปฏิเสธว่า พระเจ้าเหมือนกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และโองการอื่นอีกก็ได้กล่าวว่า พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะในด้านลบ เช่น พระองค์ไม่มีที่พำนักกาลเวลา และไม่มีที่สิ้นสุด

๓.ความเชื่อของพวกตะอ์ตีล ก็ถือว่า ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ซึ่งในมุมมองของอัล กุรอาน  ได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้ความคิดในสัญลักษณ์ทั้งหลายของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า ตามทัศนะของอัล กุรอาน กล่าวว่า เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์รู้จักคุณลักษณะของพระองค์ได้

๔.วจนะทั้งหลายได้กล่าวว่า ทัศนะของพวกตัชบิฮ์และตะอ์ตีล ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง และยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ซึ่งบ่งบอกถึง การรู้จักพระองค์นั้น มีความเป็นไปได้

๒๕๗

   บทที่ ๔

   ความรู้ของพระเจ้า (อิลม์ อิลาฮีย์)

    ความรู้ คือ หนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า  และในทัศนะของอิสลามได้กล่าวว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่งและทุกกิจการในเอกภพนี้ และจะกล่าวในภายหลังว่า ความรู้ เป็น คุณลักษณะที่มีในอาตมัน (ซิฟัต ซาตีย์) และเป็นคุณลักษณะในกิริยา การกระทำ (ซิฟัต เฟียะลีย์) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความรู้ของพระเจ้านั้น มีระดับขั้นที่แตกต่างกัน บางส่วนเป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมัน และบางส่วนเป็น คุณลักษณะในกิริยา การกระทำ

   ความรู้ คือ อะไร?

    เป็นที่รู้กันดีว่า คำว่า ความรู้ (อิลม์ )นั้น มีความหมายที่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ เพราะว่า ความรู้ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ เหมือนกับความรู้สึกสัมผัสภายในของเขา หมายความว่า มนุษย์ไม่ได้มีความรู้มาก่อนหน้านี้ หลังจากนั้น ก็มีความรู้ขึ้นมา ดังนั้น ความรู้ จึงหมายถึง การรับรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ เมื่อได้เปรียบเทียบความรู้ของมนุษย์กับความรู้ของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า ความรู้ของมนุษย์นั้นมีขอบเขตที่จำกัด ส่วนความรู้ของพระเจ้า เป็นความรู้ที่ไม่มีขอบเขต และไม่มีที่สิ้นสุด เพราะว่า ความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นจากการรับรู้ด้วยกับประสาทสัมผัสจากสิ่งที่อยู่ภายนอกและภายใน เช่น การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นความรู้ที่มิได้มีมาแต่ดั้งเดิม และก็สามารถที่ทำลายและสูญสลายได้

  ส่วนความรู้ของพระเจ้า เป็นความรู้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความรู้ที่มีมาแต่ดั้งเดิมและไม่ต้องใช้สื่อในการรับรู้

๒๕๘

ความรู้โดยตรงและความรู้โดยผ่านสื่อ

   ได้กล่าวแล้วว่า ความรู้ได้ถูกแบ่งออกเป็นสอง ประเภท ความรู้โดยตรง และความรู้โดยผ่านสื่อ สิ่งที่รับรู้ในความรู้โดยตรง คือ ตัวของตนเอง ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ถูกรับรู้ในความรู้โดยผ่านสื่อ คือ การมโนภาพจากการใช้สติปัญญา กล่าวคือ สิ่งหนึ่งต้องใช้การมโนภาพ จึงจะไปสู่การรับรู้นั้นได้ ดังนั้น ความรู้ของมนุษย์ในการรู้จักตนเอง ความรู้ในความรู้สึกภายใน เช่น ความรู้สึกกลัว ,โกรธ, ความรัก เป็นความรู้โดยตรง  ส่วนความรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า กล่าวคือ การมองเห็นด้วยตา การได้รับกลิ่นด้วยจมูก การได้ลิ้มรสด้วยปาก การสัมผัสด้วยมือ  การได้ยินด้วยหู และความรู้ที่เกิดจากการใช้เหตุผลทางสติปัญญา เป็นความรู้โดยผ่านสื่อ  และจากการแบ่งประเภทข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ความหมายของ ความรู้ คือ การมีอยู่ของ สิ่งที่ถูกรับรู้(มะอ์ลูม) ใน ผู้รับรู้ (อาลิม) ความหมายนี้มีความสมบูรณ์ เพราะว่า สามารถใช้ได้ทั้งสองประเภทของความรู้ กล่าวคือ ความรู้โดยตรง และความรู้โดยผ่านสื่อ  และจากความหมายนี้ ได้รวมถึงความรู้ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ และความรู้ของพระเจ้า ในเวลาที่เรากล่าวว่า ความรู้ของพระเจ้า หมายถึง พระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่ง และมาตรฐานของความรู้ของพระเจ้า ก็คือ การมีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และการมีอยู่ของสรรพสิ่ง ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม จึงมีความเห็นตรงกันว่า ความรู้ของพระเจ้า เป็น ความรู้โดยตรง ด้วยกับเหตุผลที่ว่า ความรู้โดยผ่านสื่อนั้น เกิดขึ้นจากการมโนภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เรียกว่า สิ่งถูกรับรู้ เพราะผู้รับรู้มีความต้องการรู้ในสิ่งที่รับรู้ ในขณะเดียวกัน ความรู้ของพระเจ้า มิได้มีความต้องการมโนภาพ แต่สิ่งที่รับรู้นั้นได้เกิดขึ้นในพระองค์

๒๕๙

   ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า

    หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของ ความรู้ ไปแล้ว ตอนนี้ จะมาอธิบายเกี่ยวกับ ระดับขั้น ความรู้ของพระเจ้า

ความรู้ของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ระดับขั้น

๑.ความรู้ในอาตมันหรือตัวตน

๒.ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลาย

ความรู้ในสรรพสิ่ง ก็แบ่งออกอีก สอง ระดับขัึ้น

๑.ความรู้ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง

๒.ความรู้หลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง

สามารถสรุปได้ว่า ความรู้ของพระเจ้ามี ๓ ระดับขั้น

๑.ความรู้ในอาตมันของพระองค์

๒.ความรู้ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น

๓.ความรู้ในสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น

 

   ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า

   ความหมายของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง การมีอยู่ของอาตมันในพระเจ้า ดังนั้น มาตรฐานในความรู้ของพระเจ้า ก็คือ การมีอยู่ และก่อนที่จะพิสูจน์ในระดับขั้นของความรู้นี้ สิ่งที่ควรรู้ ซึ่งมีดังนี้

มนุษย์ไม่มีความรู้ในตัวตนของพระเจ้า  และเช่นกัน คุณลักษณะของพระองค์ แต่มนุษย์รู้จักพระองค์ได้ ด้วยกับความหมายที่ได้รับรู้จากความรู้โดยผ่านสื่อ

๒๖๐