บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325675
ดาวน์โหลด: 4493

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325675 / ดาวน์โหลด: 4493
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

   เหตุผลของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า

   นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงการมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ยังมีเหตุผลที่เฉพาะกับการพิสูจน์ในความรู้ในอาตมันของพระเจ้า  ซึ่งกล่าวได้ว่า เหตุผลนี้เกิดมาจากหลักของปรัชญา มีอยู่ด้วยกัน ๒ ข้อพิสูจน์ ดังนี้

๑.ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง และมีความรู้ในตัวเอง ซึ่งในหลักการของปรัชญาได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่เป็นวัตถุ มีรูปร่าง และรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลง และมิได้มีความรู้ในตัวเอง ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นวัตถุ จึงไม่มีความรู้ในตัวเอง ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นวัตถุหรืออวัตถุ ด้วยกับเหตุผลความบริสุทธิ์และไม่มีรูปร่าง จึงมีความรู้ในตัวเอง

๒.การมีของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ข้อพิสูจน์นี้ได้พิสูจน์ในคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้าแล้วว่า พระองค์มิได้มีรูปร่างและหน้าตา และมิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์จึงมีความรู้ในตัวเอง เพราะว่า พระองค์เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ และสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ก็มีความรู้ในตัวเอง

๒๖๑

   ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

    หลังจากที่ได้อธิบายใน ความรู้ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายในระดับขั้นที่สองของความรู้ของพระเจ้า นั่นก็คือ ความรู้ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น มีคำถามเกิดขึ้น จากบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามว่า ระดับขั้นความรู้ประเภทนี้ในพระเจ้า เป็นความรู้ในรูปแบบที่มีรายละเอียด หรือเป็นความรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น?

ความหมายของ ความรู้บางส่วน หมายถึง ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามิได้มีความรู้ในรายละเอียดของแต่ละสิ่ง ทว่ามีความรู้หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นความรู้ในรายละเอียดได้ สำหรับการเข้าใจในความรู้บางส่วน ตัวอย่างเช่น ความรู้ของนักเลขาคณิต เพราะว่า ความรู้ในคณิตศาสตร์ คือ ความรู้ในกฏและการอนุมานตามหลักการของคณิตศาสตตร์ ดังนั้น นักเลขาคณิต รู้จักกฏของคณิต แต่ถ้าไม่มีโจทย์มาให้แก้ ก็เท่ากับกฏต่างๆนั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ และก็เช่นเดียวกันกับความรู้บางส่วนของพระเจ้า ส่วนความรู้ในรายละเอียด หมายถึง พระเจ้ามีความรู้ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งในรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด

สำหรับคำตอบ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และจะต้องอธิบายรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และจะต้องใช้กฏและหลักการของปรัชญาและตรรกศาสตร์มายืนยัน  มีอยู่ ๒ เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ความรู้ในระดับขั้นนี้

๒๖๒

๑.เหตุผลที่หนึ่ง กล่าวคือ เหตุผลนี้ต้องใช้หลักการงของปรัชญามาเพื่อยืนยัน โดยที่กล่าวว่า ความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ของสิ่งหนึ่ง ก็คือ เหตุของสิ่งนั้น และความรู้ในสิ่งหนึ่ง ก็คือ ผลของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่มีเหตุที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นต้องมีผล หรือผลทั้งหลายอยู่อย่างแน่นอน ข้อพิสูจน์ต่อไปของ เหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่

และข้อพิสูจน์สุดท้าย ซึ่งได้กล่าวไปในประเด็นก่อนหน้านี้ แล้วว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ 

ดังนั้น จากข้อพิสูจน์ทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ และอาตมันของพระองค์ ก็เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่ และความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ คือ ความรู้ไปยังผลของสิ่งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความรู้ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า พระองค์มีความรู้มาแต่เดิม และความรู้ของพระองค์ ก็เป็นเหตุของการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ดังนั้น ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามีความรู้ ด้วยกับความรู้ของพระองค์ในอาตมันของพระองค์

๒.เหตุผลที่สอง เหตุผลนี้ เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับเทววิทยามากกว่าเหตผลที่แล้ว และมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

เมื่อสังเกตในโลก จะเห็นได้ว่า โลกนี้มีกฏและระเบียบ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบของโลก ก็มีความเป็นระบบและระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอันเป็นหนึ่งเดียว

๒๖๓

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้สร้างขึ้นมา และจากกฏของการมีผล และสิ่งถูกสร้าง แสดงให้เห็นว่า ต้องมีเหตุ และต้องมีผู้สร้างอย่างแน่นอน  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นระบบระเบียบและมีจุดมุ่งหมายของโลก ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ก่อนการสร้างของผู้สร้าง เขาจะต้องมีความรู้ในปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด เพราะสติปัญญาได้กล่าวว่า  เป็นไม่ได้ที่ผู้สร้างปรากฏการณ์ที่มีระบบระเบียบ จะไม่มีความรู้ในการสร้างของตนเอง

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ในการพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ได้ใช้เหตุผลพิสูจน์และยืนยัน เช่น ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัจรีดุลเอียะติกอด ว่า ความเป็นระบบระเบียบ บ่งบอกว่า เป็นเหตุผลหนึ่งของการมีความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่ง

   ความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง

    ระดับขั้นที่สามของความรู้ของพระเจ้า  คือ ความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้น

สำหรับการพิสูจน์เหตุผลของความรู้ในระดับขั้นนี้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้  ข้อพิสูจน์ของเหตุผลนี้ มีดังนี้

๑.พระผู้เป็นเจ้า คือ ปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และสรรพสิ่งอื่น คือ ผลของพระองค์

๒.จากหลักปรัชญาได้อธิบายไว้ว่า การมีอยู่ของผล ต้องขึ้นอยู่กับเหตุของมัน และผลก็ไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๖๔

๓.ความจำเป็นของการมีอยู่ของผล ขึ้นอยู่กับเหตุของมันนั้นก็คือ ผลต้องอยู่คู่กับเหตุ เพราะว่า ถ้ามีเหตุแล้วไม่มีผล ดังนั้น ความหมายนี้ ก็คือ ผลมีอยู่อย่างเป็นอิสระเสรีในตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ผลจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเหตุ

ความรู้คือ การมีอยู่ของสิ่งที่ถูกรู้ในผู้รับรู้ เพราะฉะนั้น ทุกการเกิดขึ้นของเหตุ ต้องมีความรู้ในผลของมันด้วย

และผลที่ได้รับจากข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ พระผู้เป็นเจ้า มีความรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก เพราะทั้งหมดนั้น คือ ผลของพระองค์ และเหตุของสรรพสิ่ง มีความรู้ในผลที่จะเกิดขึ้น

   ความรู้ในอาตมัน และความรู้ในการกระทำ

    ได้กล่าวแล้วว่า ในบทนำเบื้องต้น  กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้า มีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน ดังนี้

๑.ความรู้ในอาตมัน                        

๒.ความรู้ในกิริยา การกระทำ

ซึ่งขณะนี้ ได้กล่าวถึง ระดับขั้นของความรู้ในพระเจ้าว่า มี ๓ ระดับขั้น และจะมาดูกันว่า ระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในกิริยา การกระทำ จากการตรวจสอบในระดับขั้นทั้งสามของความรู้ในพระเจ้า ทำให้เข้าใจได้ว่า ระดับขั้นที่หนึ่งและที่สองเป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นที่สาม เป็นความรู้ในกิริยา การกระทำ

๒๖๕

   ความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

    ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า คือ พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของทุกสิ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในบางส่วนของสรรพสิ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระองค์มีความรู้ในสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และสถานที่หนึ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และในสถานที่หนึ่ง หรือว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

เมื่อได้พิจารณาในความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง  จะกล่าวได้ว่า สำหรับคำตอบ ก็คือ พระเจ้ามีความรู้ในสิ่งดังกล่าว แต่นักเทววิทยาอิสลาม บางคนได้ปฏิเสธ ความรู้นั้นของพระองค์ โดยที่เขาเชื่อว่า พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของสารัตถะของสรรพสิ่ง เหตุผลของเขา ในการยืนยันว่า พระเจ้าไม่มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ซึ่งบางส่วนของเหตุผลทั้งหลายนั้น จะตรวจสอบและวิเคราะห์ ซึ่งมีดังนี้

๑.ความไม่คงที่ของสรรพสิ่ง หมายถึง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดปลีกย่อยของสรรพสิ่ง คือ สรรพสิ่งเหล่านั้น อยู่ในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง หมายความว่า ความรู้ของพระองค์ ต้องตรงกับความเป็นจริง

และในขณะที่สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงและความไม่คงที่ ดังนั้น ความรู้ของพระเจ้า ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาตมันของพระองค์ ต้องมีความรู้ และความรู้ของพระองค์ก็มีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน อาตมันของพระเจ้านั้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะมีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

๒๖๖

พื้นฐานของเหตุผลนี้ ก็คือ ถ้าหากว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ เป็น ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระเจ้า และถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ ก็เป็นความรู้โดยตรง ดังนั้น พระองค์ก็มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง และในสภาพเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง เป็นสาเหตุให้ความรู้ของพระองค์ มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เกี่ยวกับคุณลักษณะในกริยา การกระทำ และมิได้เป็นสาเหตุให้อาตมันของพระเจ้ามีการเปลี่ยนแปลง

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในคุณสมบัติที่เฉพาะกับคุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระเจ้า ก็คือ เมื่อสิ่งถูกสร้างของพระองค์มีการเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ การกระทำของพระองค์ ดังนั้น คุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระองค์ ก็มีการเปลี่ยนแปลง แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

จึงขอกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง นั่นก็คือ การมีอยู่ของสรรพสิ่ง ณ พระองค์  และการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในกิริยา การกระทำ

๒.การเป็นสื่อของความรู้ในสรรพสิ่ง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ก็คือ การมีความรู้นี้ ต้องใช้สื่อในการรับรู้ และในขณะที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้น

๒๖๗

สำหรับคำตอบ ก็คือ จะกล่าวได้ว่า การใช้สื่อในการรับรู้จากความรู้นี้ มิใช่เป็นแก่นแท้หรือสารัตถะของสิ่งนั้น ซึ่งจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่ทว่า การรับรู้ประเภทนี้ เกิดขึ้นในโลกแห่งธรรมชาติ เช่น มนุษย์ที่มีความรู้สึก และใช้ประโยชน์จากอวัยวะของร่างกายและสื่ออุปกรณ์อื่นที่เป็นวัตถุ

แต่สำหรับพระเจ้านั้น มีความแตกต่างกับมนุษย์อย่างสิ้นเชิง เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนือธรรมชาติ และความรู้ของพระองค์ก็เป็นความรู้โดยตรง อีกทั้งพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่งด้วย

   ความรู้ของพระเจ้าและเจตจำนงเสรีของมนุษย์

   คุณสมบัติหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า เช่นเดียวกับคุณลักษณะของพระองค์ คือ ความสมบูรณ์ของคุณลักษณะ ของพระองค์หมายถึง ความรู้ของพระองค์ ครอบคลุมถึงทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตกาล,ปัจจุบันและในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า จึงมีความรู้ในทุกสิ่งมาแต่เดิม และมีความรู้ในทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จนถึงวันสิ้นโลก เช่น พระองค์มีความรู้ในการกระทำของมนุษย์ว่า เขาจะทำอะไร และจะไม่ทำอะไร ในอนาคต ดังนั้น ในกรณีนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยกล่าวกันว่า พื้นฐานของความรู้ของพระเจ้าในการกระทำของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีความขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (จะตอบปัญหานี้ ในประเด็น การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์)

๒๖๘

   ความรู้ของพระเจ้า ในมุมมองของอัล กุรอาน

    โองการทั้งหลายมากมายของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อะลีม (ผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง),ซะมีอ์ (ผู้ทรงได้ยิน) และบะซีร (ผู้ทรงมองเห็น) นอกเหนือจากนี้ บางส่วนของโองการทั้งหลายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่เฉพาะในความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อาลิมุลฆ็อยบ์ (ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ) และอัลลามุลฆุยูบ (ผู้ทรงรอบรู้มากที่สุดในสิ่งที่เร้นลับทั้งหลาย) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า การอธิบายในรายละเอียดของโองการทั้งหลายนั้น จะต้องใช้เวลายาวนาน และยังสามารถเรียบเรียงเป็นหนังสือหรือบทความได้ แต่ในที่นี้ จะขออธิบายเพียงบางส่วนของโองการเหล่านี้

  การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้า

   การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน โดยส่วนมากได้กล่าวถึง การพิสูจน์คุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดของพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง”

(บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔)

๒๖๙

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า เป็นคำถามที่ได้ถามกับมนุษย์เกี่ยวกับ พระผู้ทรงสร้างว่า พระองค์มิทรงมีความรอบรู้กระนั้นหรือ?  ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้อธิบายในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน โดยที่กล่าวว่า ในระหว่างพระผู้ทรงสร้างกับการมีความรู้ในการสร้าง เป็นความสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น พระผู้ทรงสร้างสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างในสิ่งนั้น จะต้องมีความรู้ในสิ่งนั้น และพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง จากโองการนี้ได้พิสูจน์ในความรู้ของพระเจ้าก่อนการสร้างและหลังการสร้างของพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้ในกาลและเวลา ,ในทุกสรรพสิ่ง เพราะว่า ทุกสรรพสิ่ง คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง

   ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

    อัล กุรอานได้อธิบายคุณลักษณะความรู้ของพระเจ้า และกล่าวเน้นย้ำว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่สมบูรณ์ที่สุดและไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ หนึ่งในหลักศรัทธาของมนุษย์ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ และมีบทบาทที่สำคัญต่อการรู้จักถึงพระองค์ และการมีความเชื่อในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด ยังมีผลต่อในการพัฒนาการทางด้านจิตของมนุษย์ ในการมอบหมายการงานแด่พระองค์ และการมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกกิจการงานที่เปิดเผยและซ่อนเร้นของมนุษย์ แม้แต่ความตั้งใจ และจุดประสงค์ของมนุษย์ พระองค์ก็ทรงรอบรู้ด้วยเช่นกัน

๒๗๐

อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้าอย่างชัดเจนว่า

 “และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ยิ่งในทุกสิ่ง” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๘๒ และบทอัตตะฆอบุน โองการที่ ๑๑)

บางโองการได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่มีอยู่ในโลก

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เข้าไปในแผ่นดินและสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน และสิ่งที่ลงมาจากฟากฟ้าและสิ่งที่ขึ้นไปสู่ฟากฟ้า และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๔)

จากโองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้าทรงอยู่กับพวกเจ้า ไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ ที่แห่งใดก็ตาม แสดงให้เห็นว่า พระองค์นั้นอยู่กับมนุษย์ทุกคนมาโดยตลอด และพระองค์ทรงมองเห็นกิจการงานต่างๆของพวกเขา

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านปกปิดสิ่งที่อยู่ในอกของพวกท่าน หรือเปิดเผยมันก็ตาม อัลลอฮ์ก็ย่อมรู้ถึงสิ่งนั้นดีและทรงรู้สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และทุกสิ่งอยู่ในแผ่นดิน และอัลลอฮนั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๒๙ )

๒๗๑

   ความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของพระเจ้า

   บางโองการของอัล กุรอาน ได้กล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ความรู้แห่งวันอวสานมีอยู่ ณ พระองค์ และพระองค์ทรงประทานฝนให้หลั่งลงมาและพระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา และไม่มีชีวิตใดรู้ สิ่งที่จะหามาได้ในวันพรุ่งนี้

และไม่มีชีวิตใดรู้ว่า ณ แผ่นดินใดจะตาย แท้จริง อัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน”

(บทลุกมาน โองการที่ ๓๔)

โองการนี้ได้กล่าวถึง สิ่งเร้นลับที่พระเจ้าทรงรู้ มีดังนี้

๑.พระองค์ทรงรู้ในวันอวสานของโลก

๒.พระองค์ทรงรู้ในวันที่ฝนหลั่งลงมา

๓.พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา

๔.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น

๕.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่กำลังจะตาย

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับทั้งห้า เป็นกุญแจนำไปสู่ความรู้ของพระเจ้า

สิ่งที่ควรสังเกตก็คือ มโนทัศน์หรือความหมายของ ความเร้นลับ เป็นความหมายที่ต้องการความสัมพันธ์ไปยังสิ่งที่มีอยู่ แต่สำหรับพระเจ้า ความรู้ในสิ่งเร้นลับ เป็นสิ่งเปิดเผย ณ พระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีสิ่งใดที่ความรู้ของพระองค์ไปไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ ความรู้ในสิ่งเร้นลับของพระเจ้า ก็คือ ความรอบรู้ในสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่มีความรู้ในสิ่งนั้น

๒๗๒

   ความรู้ของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ

    ประเด็นเรื่องความรู้ของพระเจ้า ที่ถูกกล่าวไว้ในวจนะทั้งหลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์นั้นได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก บางวจนะได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้าว่า มีมาแต่เดิม

ดั่งวจนะของท่านอิมาม อะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๕๒)

บางวจนะได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ก่อนการเกิดขึ้นและหลังการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ คือ พระผู้อภิบาลของเรา  พระองค์ทรงมีอยู่แต่เดิม และความรู้ คือ อาตมันของพระองค์ ในขณะที่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ่น หลังจากนั้น พระองค์ได้ทำให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และพระองค์ทรงรู้ในสิ่งทั้งหลายนั้น”

[๑]  (อุศูลอัลกาฟีย์ เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๗)

และยังมีวจนะอื่นๆอีกที่ได้กล่าวในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

จากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระองค์ทรงรู้ในเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในหุบเขาและท้องทะเลทราย และทรงรู้ในบาปต่างๆของบรรดาบ่าวของพระองค์ ที่กระทำในที่ลับ และพระองค์ทรงรู้ในหมู่ปลาทั้งหลายที่เวียนว่ายในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาล และ พระองค์ทรงรู้ในคลื่นที่พัดพา”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๗)

๒๗๓

และเช่นกัน ได้มีรายงานจาก ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เป็นคำตอบให้กับของชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า  “การสรรเสริญทั้งมวล จงมีแด่อัลลอฮ์ และด้วยกับการมีขอบเขตในความรู้ของพระองค์”

ท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า

 “เจ้าอย่าได้พูดเช่นนี้นะ เพราะความรู้ของพระเจ้านั้น ไม่มีขอบเขตจำกัด” [๑]

   ความรู้โดยเฉพาะและทั่วไปของพระเจ้า

    บางวจนะยังได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าว่ามีอยู่  ๒ ประเภท  ดังนี้

๑.ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง

๒.ความรู้โดยทั่วไป กล่าวคือ ความรู้ที่มีอยู่ในพระเจ้ากับมวลเทวทูต,บรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านอิมามบากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “แท้จริง อัลลอฮ์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้และมวลเทวทูต,บรรดาศาสดาและเราก็มีความรู้ในสิ่งนั้นๆ”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑)

และยังมีวจนะอื่นอีกมากมายที่ได้กล่าวถึง สองคุณลักษณะของพระเจ้าที่บ่งบอกถึง ความรู้ของพระองค์ นั่นก็คือ คุณลักษณะการได้ยิน และการมองเห็น และยังได้กล่าวอีกว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากความรู้ที่ได้รับจากการได้ยินและการมองเห็นโดยการใช้สื่อ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงได้ยินโดยไม่ต้องใช้หู และพระองค์ทรงมองเห็นโดยที่ไม่ต้องใช้ตา”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑

๒๗๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความรู้ (อิลม์ ) : Knowledge

ความรู้โดยตรง (อิลม์ ฮุฎูรีย์)   Immediate knowledge

ความรู้โดยผ่านสื่อ (อิลม์ ฮุซูลีย์ ) Empirical knowledge

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ (อิลมุลฆ็อยบ์): Occultism

ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง (อิลมุลคอซ)

ความรู้โดยทั่วไป (อิลมุลอาม)

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ความรู้หรือการรับรู้ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

 ๑.ความรู้โดยตรง ๒.ความรู้โดยผ่านสื่อ

ความรู้โดยตรง  หมายถึง ความรู้ที่ไม่ได้รับรู้จากการเข้าใจในความหมายหรือการมโนภาพของคำๆหนึ่ง ดังนั้น ความรู้โดยตรง มีความหมายว่า การรับรู้ของสิ่งที่รู้เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้รู้

ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายถึง ความรู้ที่รับรู้จากการเข้าใจในความหมายและการมโนภาพ 

๒.ความหมายที่สมบูรณ์ของ ความรู้ คือ การรับรู้ของสิ่งที่รู้กับผู้รู้ ดังนั้น ความหมายนี้ไม่มีคำจำกัดความและข้อบกพร่องใดๆ สามารถจะนำไปใช้กับความรู้ของพระเจ้าได้

๒๗๕

๓.ส่วนมากของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามมีความเชื่อว่า ความรู้ของพระเจ้า คือ ความรู้โดยตรง เพราะว่า ความรู้ของพระองค์ไม่ใช่ความรู้โดยผ่านสื่อ ความหมายของความรู้โดยผ่านสื่อ คือ ความรู้นั้นมีผลสะท้อนที่ย้อนกลับไปหายังผู้รู้และการยอมรับการมโนภาพของความหมายนั้น ซึ่งทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นในพระเจ้า

๔.ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า มี ๓ ระดับขั้น

๑.ความรู้ในอาตมัน

๒.ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

๓.ความรู้ของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น

๕.เหตุผลการพิสูจน์ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า คือ ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีความรู้ในตัวเอง และพระเจ้าเป็นสิ่งอวัตถุ ดังนั้น พระองค์มีความรู้ในตนเอง

๖.อาตมันของพระเจ้า เป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และเช่นกัน ความรู้ในเหตุ จะต้องมีความรู้ในผลของเหตุนั้นด้วย ดังนั้น ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้ของพระองค์ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น เพราะสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระองค์

๗.พื้นฐานทางสติปัญญาของ ความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น คือ ผลของเหตุ ต้องมีอยู่ด้วยกันทั้งคู่ และสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระเจ้า ดังนั้น สรรพสิ่งมีอยู่กับพระองค์ และความหมายของ ความรู้ ก็คือ การมีอยู่ของสิ่งที่รับรู้ในผู้รู้

๘.พระเจ้าทรงรับรู้ในทุกสิ่งโดยที่ไม่ต้องการวัตถุในการรับรู้และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

๙.มีโองการต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า และคุณลักษณะ ความรอบรู้ ,ผู้รอบรู้ในสิ่งเร้นลับ

๒๗๖

๑๐.อัล กุรอาน ในโองการที่กล่าวว่า  “พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง” (บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔) พิสูจน์ได้ว่า ความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ด้วยกับการสร้างสรรค์ของพระองค์

๑๑.อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า และพระองค์ทรงรอบรู้การงานทั้งหลาย และทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในเจตนาของมนุษย์ และอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้หรือในสิ่งเร้นลับ

๑๒.วจนะทั้งหลายได้กล่าวถึง ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า และความรู้โดยเฉพาะของพระองค์ และความรู้โดยทั่วไปของพระองค์ และบางวจนะกล่าวว่า ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่ได้ยินและมองเห็น โดยปราศจากการใช้สื่อทั้งหลาย

๒๗๗

   บทที่ ๕

   พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮีย์)

    พลังอำนาจของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งโองการต่างๆของอัลกุรอานได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงมีพลังอำนาจ(กอดีร ,กอดิร)

และเช่นเดียวกัน หนึ่งในคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในมนุษย์  คือ พลังอำนาจ และความสามารถ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ การมีพลังอำนาจ และการไม่มีพลังอำนาจหรือไร้ความสามารถ เป็นความหมายที่กระจ่างชัด และเพื่อจะเข้าใจในความหมายของคุณลักษณะการมีพลังอำนาจในพระเจ้า จึงต้องอธิบายความหมายของการมีพลังอำนาจก่อน

   ความหมายทางภาษาของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) 

    บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้ให้ความหมายของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) ไว้มากมาย ซึ่งความหมายหนึ่งที่รู้จักกันดี ก็คือ ผู้มีความสามารถ กล่าวคือ บุคคลหนึ่งมีความสามารถที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง หรือจะไม่กระทำการงานนั้น ดังนั้น บุคคลที่กระทำการงานใดการงานหนึ่งหรือไม่กระทำการงานอันนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับ ความประสงค์และความต้องการของบุคคลนั้นด้วย

๒๗๘

 เพราะฉะนั้น การงานใดก็ตามที่ผู้กระทำไม่มีความประสงค์ที่จะกระทำการงานนั้น  การงานนั้นก็จะไม่ถูกเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้กระทำ(ฟาอิล)ได้เป็นผู้กระทำการงานหนึ่ง(เฟียล)ที่ไม่มีพลังอำนาจ(กุดรัต)  การงานอันนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เหมือนกับไฟที่ไม่มีความร้อน

และจากความหมายข้างต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่พิเศษ ดังนี้

๑.การมีพลังอำนาจในการกระทำการงานหนึ่ง  มิได้หมายความว่า การงานนั้นจะต้องเกิดขึ้น แต่หมายความว่า ผู้กระทำ(ฟาอิล) เขามีความสามารถที่จะไม่กระทำหรือละทิ้งการงานอันนั้นได้

๒.ผู้กระทำมีความสามารถก่อนที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง  และมีคุณลักษณะพลังอำนาจอยู่ด้วยเช่นกัน ทัศนะมีความเห็นที่มีความขัดแย้งกับทัศนะที่กล่าวว่า ผู้กระทำมีคุณลักษณะพลังอำนาจในขณะที่ได้กระทำการงานใดการงานหนึ่ง

ความถูกต้องของทัศนะนี้ก็คือ เมื่อได้พิจารณาในความหมายของ พลังอำนาจ และย้อนกลับไปดูสภาพภายในของมนุษย์ มีความเข้าใจได้ว่า ก่อนการเกิดขึ้นของการกระทำ ผู้กระทำมีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้นได้  ในขณะเดียวกัน ในสภาพภายในของมนุษย์ ก่อนที่จะกระทำการงานใดก็ตาม เขานั้นมีความสามารถที่จะกระทำ แม้ว่าการงานนั้นยังไม่เกิดขึ้นมาก็ตาม

๓.การมีพลังอำนาจ เกิดขึ้นด้วยกับ ๒ กริยา การกระทำ คือ การกระทำ และการละทิ้งในการงานใดการงานหนึ่ง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อใดที่กล่าวถึง การมีพลังอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  มีความหมายว่า ผู้กระทำนั้นมีความสามารถที่จะกระทำหรือไม่กระทำการงานนั้นก็ได้

๒๗๙

ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้กล่าวว่า การมีพลังอำนาจของบุคคลหนึ่งนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นมาเสียก่อน

๔.ความหมายของการมีพลังอำนาจและความอ่อนแอ เป็นความหมายหนึ่งที่เหมือนความหมายของ การมีและการไม่มี ดังนั้น ผู้กระทำตามธรรมชาติ เช่น ความร้อนจากไฟที่ไม่มีทั้งพลังอำนาจ และไม่มีความอ่อนแออยู่ด้วยกัน

   ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮียฺ)

   หลังจากที่ได้อธิบายความหมายของ คำว่า พลังอำนาจไปแล้ว ดังนั้น ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า มีความหมายว่าอย่างไร และความหมายโดยทั่วไปของ พลังอำนาจ ที่นำมาใช้กับพระเจ้าได้หรือไม่?

จากความหมายของ คำว่า พลังอำนาจ สามารถใช้กับพระเจ้าได้ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งที่แสดงถึงข้อบกพร่องและการมีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ ถ้าพระเจ้ามีความประสงค์ที่จะกระทำการงานใดก็จะเกิดขึ้น ทันทีทันใด และถ้าพระองค์มีความประสงค์ที่จะละทิ้ง การงานนั้นก็จะถูกละทิ้งในเวลานั้น

สิ่งที่มิอาจลืมได้ นั่นก็คือ เมื่อเราสังเกตุในตัวของเราเอง จะพบว่า เรานั้นมีพลังอำนาจ หมายความว่าอย่างไร?  ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของเราที่จะกระทำหรือไม่กระทำหรือละทิ้งการงานใดการงานหนึ่งได้ โดยการงานนั้นเกิดขึ้นจากจุดประสงค์ที่อยู่ภายนอก และเราก็ไม่สามารถเปรียบเทียบการมีพลังอำนาจของมนุษย์กับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้ เพราะว่า พระเจ้า มีพลังอำนาจในอาตมันของพระองค์ กล่าวคือ การมีพลังอำนาจ คือ อาตมันของพระองค์

๒๘๐