บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325618
ดาวน์โหลด: 4493

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325618 / ดาวน์โหลด: 4493
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า องค์แรกและองค์สุดท้าย ก็คือ ความหมายเดียวกับการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ และเช่นเดียวกัน ในวจนะหนึ่งได้กล่าวเน้นย้ำ ดั่งบทเทศนาหนึ่งของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“พระเจ้า เป็นองค์แรกที่ไม่มีสิ่งใดมาก่อนหน้าพระองค์ และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีสิ่งใดมาหลังพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๙๑ )

และท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกที่ไม่มีการเริ่มต้น และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม และพระองค์ทรงมีอยู่เสมอ”

 (อุศูลุลอัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๖ )

จากวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย มิได้หมายความว่า พระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะต้องสูญสลาย แต่ทว่า ความเป็นองค์แรกและองค์สุดท้ายของพระองค์ หมายถึง พระองค์ไม่มีคำว่า มาก่อนหรือมาหลัง เพราะพระองค์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด

โองการหนึ่งของอัล กุรอาน กล่าวว่า

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมสูญสลาย”

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่”

( บทอัรเราะห์มาน โองการที่ ๒๖-๒๗)

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า

“และอย่าวิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” ( บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๘๘)

๓๐๑

การอธิบายความหมายของคำว่า พระพักตร์ หมายถึง ตัวตนและอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า  ด้วยเหตุนี้ โองการทั้งหลายได้กล่าวถึง การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

: Life การมีชีวิต ฮายาต

: Life of God การมีชีวิตของพระเจ้า ฮายาต อิลาฮีย์

: Eternity การมีมาแต่เดิม อะซะลียัต

: Perenniality ความเป็นนิรันดร์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายครอบคลุมถึง  ๒ คุณลักษณะ กล่าวคือ ความรู้และความสามารถ

๒.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น มนุษย์และสัตว์ มีความเจริญเติบโต ต้องการอาหารและปัจจัยสี่ และการขยายเผ่าพันธ์ สิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของการมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ และจะไม่มีอยู่ในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

๓.ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า คือ ในอาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถ และการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๓๐๒

๔.นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปในการพิสูจน์การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรู้และความสามารถ เหตุผลเหล่านั้นยังใช้พิสูจน์การมีชีวิตของพระเจ้าได้อีกด้วย

๕.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า การมีชีวิตอยู่ของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในวจนะก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

๖.และอีกคุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การมีมาแต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ ความหมายของคุณลักษณะนี้ ก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป

๗.ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกการมีอยู่ออกจากพระองค์ได้ ดังนั้น พระเจ้า ทรงเป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย และนี่คือ ความหมายของการมีมาดั้งเดิมและความเป็นนิรันดร์

๘.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมและมีความเป็นนิจนิรันดร์

๓๐๓

   บทที่ ๗

   ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

   ในระหว่างคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า คือ ความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าบรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า พระเจ้านั้นมีคุณลักษณะนี้ แต่มีความแตกต่างกันในการอธิบายรายละเอียด

คำถามทั้งหลายเกิดขึ้นในประเด็นนี้ คือ

การให้คำนิยามของ ความประสงค์ของพระเจ้า

๑.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันหรือเป็นคุณลักษณะที่มีนการกระทำของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้น

๓.ความแตกต่างของความประสงค์กับความต้องการและการเลือกสรร

นอกเหนือจาก ทัศนะต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ยังมีทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลามที่กล่าวถึง ความเป็นจริงของความประสงค์ของพระเจ้า และรายละเอียดในความลึกซึ้ง ซึ่งเราจะกล่าวในประเด็นที่เหมาะสมกับเทววิทยาอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๓๐๔

 

   ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์

   ในขณะที่มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่งการงานใด และเขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา ดังนั้นมีสภาพหนึ่งที่เกิดขึ้นในตัวเขา นั่นคือ สภาพของความประสงค์ของมนุษย์ เป็นสภาพภายในหรือเกิดจากจิตใจของเขา ซึ่งรับรู้ด้วยการรับรู้โดยตรงและไม่ได้ใช้สื่อ และมิได้มีความหมายว่า การอธิบายในความเป็นจริงนั้น มีความง่ายดายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการให้คำนิยามต่างๆมากมายในความประสงค์ของมนุษย์ บางสำนักคิดกล่าวว่า ความประสงค์คือ การมีความเชื่อว่า การมีประโยชน์ในการกระทำ หมายถึง ก่อนที่มนุษย์จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด มีความเชื่อว่า การงานที่จะกระทำนั้น ต้องมีประโยชน์ดังนั้น นี่คือความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และในบางครั้ง ความประสงค์นี้ ถูกเรียกว่า จุดประสงค์ที่มีต่อการกระทำ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความประสงค์ก็คือ จุดประสงค์ของมนุษย์ที่มีต่อการกระทำ และตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ ยังมีสำนักคิดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า ความประสงค์ มิได้หมายถึง จุดประสงค์ของมนุษย์ และการมีประโยชน์ในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดทัศนะต่างๆในการให้ความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และจากทัศนะที่มีความคิดเห็นว่า ความประสงค์ของมนุษย์ คือ การมีความเชื่อว่า มีประโยชน์ในการกระทำ และมีความรู้สึกอยากที่จะกระทำ ดังนั้น ความรู้สึกอยากนี้ คือ ความประสงค์ของเขา และบางครั้งเรียกความประสงค์ว่า ความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะละทิ้งการกระทำอันนั้น

๓๐๕

 และบางทัศนะกล่าวว่า ความประสงค์(ความประสงค์) คือ ความรู้สึกหนึ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความรู้ในผลประโยชน์ของการกระทำนั้น และก่อนที่จะกระทำการงานนั้นขึ้นมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาต้องกระทำมากกว่าที่จะไม่กระทำ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ทัศนะทั้งหลายในการอธิบายความหมายของคำว่า ความประสงค์ นั้น มีเหตุผลและข้อพิสูจน์มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่เหนือการเรียบเรียงหนังสือนี้ แต่สิ่งที่ควรรู้และสังเกต ก็คือ การอธิบายความหมายของ ความประสงค์ ในมนุษย์มีขอบเขตจำกัด เพราะว่า การมีอยู่ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด และความประสงค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ในขณะที่พระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตในการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้นความหมายของ ความประสงค์ ในพระเจ้า จึงมีความหมายทีแตกต่างกับความประสงค์ในมนุษย์

   ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย

 ความประสงค์ของพระเจ้า

   กล่าวไปแล้วว่า ความหมายของ ความประสงค์ในพระเจ้า บรรดานักเทววิทยาและปรัชญาอิสลามได้ให้หลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ พระองค์ทรงกระทำการงานใดการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ การมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์

๓๐๖

๓.ความประสงค์ในพระเจ้า มีอยู่ สอง ความหมาย กล่าวคือ ความประสงค์ในอาตมัน คือ การมีความรักในตนเองและความสมบูรณ์แบบของพระองค์ อีกความหมายของความประสงค์ กล่าวคือ ความประสงค์ในการกระทำ หมายถึง พระเจ้าทรงมีความพึงพอพระทัยในการเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์

๔.ความประสงค์ คือ ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้าในการปกครองที่ประเสริฐที่สุด

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลาม

๕.ความประสงค์ คือ การเลือกสรรของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำที่เป็นอิสระในการเลือกสรร และไม่มีการบังคับใดๆในการกระทำของพระองค์ ดังนั้นการอธิบายในความหมายนี้ มิได้ถือว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า และเช่นเดียวที่อธิบายความหมายของ ความรู้ หมายถึง การไม่รู้ และมิได้ถือว่า ความรู้ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

   ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์

   มีคำถามว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในประเภทใดของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำของพระองค์? ความสำคัญของคำถามทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่า ทัศนะที่สี่ กล่าวว่า  ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมัน และทัศนะที่สอง กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ

๓๐๗

และในทัศนะที่สามยอมรับว่า ความประสงค์ เป็น คุณลักษณะทั้งสองประเภท ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นก่อนทีจะอธิบายรายละเอียดของความหมายทั้งหลาย มากำหนดให้ชัดเจนว่า ความประสงค์ นั้น เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะกล่าวได้ว่า ความประสงค์ มีอยู่ สอง ระดับขั้น

๑.ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในการกระทำของพระองค์

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาและปรัชญา มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมในการมีระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบในการบริหารและดูแลของพระองค์

สามารถอธิบายได้ว่า ทัศนะนี้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในความเป็นระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบก่อนการสร้างโลก และความรู้นี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้โลกนี้เกิดขึ้นและความประสงค์ ก็คือ ความรู้นี้

ดังนั้น ทัศนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะว่าจากการสังเกตุในความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ อีกทั้งในวจนะได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การมีความรู้ มิใช่ ความประสงค์

หากว่า เราไม่ยอมรับว่า ความประสงค์ มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ดั้งเดิมของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของอิรอดะฮ๋ คือ การเลือกสรรในการกระทำของพระองค์ ซึ่งเป็นความหมายที่ห้า ด้วยเหตุนี้ ความประสงค์ ถือว่าเป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า และในกรณีที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนกับ การให้ความรักและความพึงพอพระทัย

๓๐๘

 เพราะฉะนั้น ความประสงค์ของพระเจ้า มีความหมายว่า การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์นั้น มาจากการให้ความรักและความพึงพอพระทัย การกระทำนั้น จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และจากความหมายนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการให้ความรักและความพึงพอพระทัย และการให้ความหมายของความประสงค์ในทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำที่เกิดจากระดับขั้นของการกระทำของพระเจ้า  หมายถึง การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย กล่าวได้ว่า สติปัญญายอมรับว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด บ่งบอกถึง การมีความรู้และการให้ความรัก อีกทั้งยังเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะความประสงค์ คือ การมีความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้ากับการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

และในอีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า เกิดขึ้นมาจากการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับการกระทำที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่การกระทำของพระเจ้ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีความประสงค์ กล่าวคือ มีความประสงค์ที่จะทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๓๐๙

   การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า

   หลังจากที่อธิบายความหมายของ ความประสงค์ และเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้วนั้น จะมากล่าวในคำถามที่เกี่ยวกับความประสงค์ของพระเจ้า ว่า มีมาดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีทัศนะต่างๆมากมายและมีความแตกต่างกันในสำนักคิดของเทววิทยาอิสลาม  โดยสำนักคิดอัชอะรี มีความเชื่อว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่อยู่เหนืออาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสำนักคิดอื่น ที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีการเกิดขึ้น แต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในสถานที่การเกิดขึ้นของความประสงค์ เช่น สำนักคิดกะรอมียะฮ์ มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้าและเพิ่งเกิดขึ้นในอาตมันของพระองค์ แต่ในทัศนะของอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์และกลุ่มหนึ่งของสำนักคิดมุตะซิละฮ์ กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสถานที่ จากการอธิบายในประเภทของความประสงค์ทั้งสอง คือ ความประสงค์ในอาตมัน และในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า ความประสงค์ในอาตมัน เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เหมือนกับอาตมัน และความประสงค์ในการกระทำ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์ของอาตมันและการกระทำของพระเจ้า

๓๑๐

 และการกระทำของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น ความประสงค์ของพระองค์ ก็เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน และได้กล่าวผ่านไปแล้วว่า สาเหตุหรือที่มาของการกระทำของพระเจ้า มิได้เกิดขึ้นมาจากอาตมันของพระเจ้า อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากสภาวะของการกระทำนั้น

  ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร

   นอกเหนือจาก การมีคุณลักษณะ ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีคุณลักษณะอื่นๆเช่น ความประสงค์ ความต้องการ และการเลือกสรร

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทั้งสามคุณลักษณะที่กล่าวไปนั้น มีความหมายเดียวกันหรือมีความหมายแตกต่างกัน?

สำหรับคำตอบ ก็คือ มีสองทัศนะด้วยกัน

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการ มีความหมายเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกัน และบางกลุ่มมีความเห็นว่า ระหว่างความประสงค์กับความต้องการมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ ความประสงค์ หมายถึง การมีความรู้ในผลประโยชน์และผลเสียของการกระทำ ส่วนมะชียะฮ์(ความต้องการ) หมายถึง ความต้องการที่จะกระทำหรือละทิ้งการงานนั้น  ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการมีความรู้ในประโยชน์และผลเสียของการงานนั้น และกล่าวเช่นกันว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของความต้องการ คือ ผลของการกระทำหนึ่ง และการเชื่อมความสัมพันธ์ของความประสงค์ คือ การมีอยู่ของความประสงค์

๓๑๑

จะเห็นได้ว่าในการอธิบายความหมายของความประสงค์ ระหว่างความประสงค์กับการเลือกสรรนั้นไม่มีความแตกต่างกัน และความหมายที่แท้จริงของความประสงค์ คือ ความเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า และบางทัศนะกล่าวว่า การเลือกสรร หมายถึง การกระทำหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และความประสงค์ และความต้องการและการมีอำนาจในการบริหาร ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับการกระทำ คุณลักษณะการเลือกสรรรได้เกิดขึ้น

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า

    หลังจากที่อธิบายความหมายของ คำว่า ความประสงค์ของพระเจ้า และประเภทต่างๆของความประสงค์ ไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลามกัน

เหตุผลหนึ่งที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป คือ บางการกระทำของพระเจ้านั้น ถูกทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด เช่น การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาที่ถูกกำหนดและก่อนหน้านี้สิ่งนี้ไม่มีอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาดังกล่าวนั้น จะต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้น คือ สาเหตุของการเกิดขึ้นของการมีสิ่งนั้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้ ไม่ช้าและก่อนกำหนด และจะเห็นได้ว่า การมีความสามารถและความรอบบรู้ของพระเจ้านั้น ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่า ความสัมพันธ์ของความสามารถกับเวลานั้น มีความเท่าเทียมกัน

๓๑๒

จะไม่กล่าวว่า พระเจ้ามีความสามารถในเวลาหนึ่งและไม่มีความสามารถในอีกเวลาหนึ่ง แต่กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความสามารถในทุกๆเวลา และในความรู้ของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดนั้น มิใช่ความรู้และความสามารถ แต่สิ่งนั้น คือ ความประสงค์นั่นเอง

   ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์)

    สิ่งได้กล่าวไปแล้วนั้นคือ ความประสงค์ของพระเจ้า เป็นความประสงค์ในการสร้างสรรค์ และนอกจากความประสงค์ประเภทนี้แล้ว ยังมีความประสงค์อีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ และเป็นสาเหตุทำให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำ(วาญิบ)หรือเป็นการกระทำที่สมควรกระทำ(มุสตะฮับ)หรือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรกระทำ(มักรุฮ์)และในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ(ฮะรอม) ดังนั้น ความประสงค์ในการสร้างสรรค์เกิดจากการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย และส่วนความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับการกระทำของมนุษย์

ความแตกต่างอีกอันหนึ่งของความประสงค์ทั้งสองประเภท คือ ในความประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่มีมุรอด(สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างความประสงค์กับผู้กระทำ) แต่มีในความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ

๓๑๓

   ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ

    คำว่า อิรอดะฮ์ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า ราวด์ หมายถึง การกลับไปและการกลับมาที่มีความต้องการในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จากความหมายของคำนี้ มีอยู่ สามองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

๑.ความต้องการในสิ่งหนึ่งที่มีความรักในสิ่งนั้น

๒.การมีความหวังที่จะได้รับในสิ่งนั้น

๓.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่น

ส่วนคำว่า มะชียะฮ์ในด้านภาษา ซึ่งจากส่วนมากของนักอักษรศาสตร์อาหรับให้ความหมายเดียวกันกับความประสงค์(อิรอดะฮ์  และบางคนกล่าวว่า มะชียะฮ์ หมายถึง การมีความรักที่เกิดขึ้นหลังการมโนภาพ และการตัดสินใจ และหลังจากนั้น ความประสงค์ จึงจะเกิดขึ้นมาทีหลัง

แม้ว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าว นั่นก็คือ อิรอดะฮ์และมะชียะฮ์ ในรูปของอิสมุลฟาอิล (นามของผู้กระทำ) หรือศิฟัต มุชับบะฮะ(คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้า แต่ทว่าได้กล่าวในรูปแบบของกริยาในโองการทั้งหลายมากมาย

และโองการหนึ่งได้กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้านั้น ครอบคลุมถึงทุกสิ่งและทุกอย่าง และการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

 “ แท้จริงเมื่อเราปรารถนาคำตรัสของเราแก่สิ่งใด เราก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอันนะห์ล์ โองการที่ ๔๐)

๓๑๔

จากโองการนี้ที่ได้กล่าวว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น  บ่งบอกถึงความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า มิได้เป็นเพียงคำกล่าวอย่างเดียว

และบางโองการก็กล่าวถึง ความไม่มีขอบเขตจำกัดในความประสงค์ของพระองค์ ความว่า  

“อัลลอฮ์ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(บทอันนูร โองการที่๔๕)

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอานได้กล่าวย้ำถึงไม่มีอำนาจใดจะเท่าเทียมอำนาจและความประสงค์ของพระเจ้าได้
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะป้องกันพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงประสงค์ให้ความทุกข์แก่พวกเจ้า หรือพระองค์ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลฟัตฮ์ โองการที่๑๑)

แน่นอนที่สุด จะกล่าวในประเด็นของ ความเป็นวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าถึง การไม่มีขอบเขตในอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่กระทำการงานที่ไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์ได้ แต่ทว่า ด้วยกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ บ่งบอกว่า ทุกการกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

และบางโองการได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดบทบัญญัติไว้เช่นกัน  ในบทอัลบะกอเราะ ดังนี้
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวก แก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่๑๘๕)

๓๑๕

หลังจากที่อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงหลักการถือศีลอดและอนุญาตให้บรรดาผู้ป่วยและผู้เดินทาง ไม่ต้องถือศีลอดได้ และได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระองค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น ไม่ต้องการความยากลำบาก แต่ต้องการความสะดวกสบาย

และอัลกุรอานได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระองค์ หลังจากที่กล่าวหลักการปฏิบัติ ในบทอัลมาอิดะ ได้กล่าวไว้ดังนี้

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑)

นอกเหนือจาก โองการทั้งหลายของอัลกรุอานที่ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีพระวจนะต่างๆที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน  และสิ่งที่ต้องสังเกตในวจนะทั้งหลาย นั่นคือ ส่วนมากของวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ในการกระทำของพระเจ้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งไม่ได้ที่อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เช่น วจนะหนึ่งที่ผู้รายงานได้ถามท่านอิมามว่า

“พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความประสงค์ที่มีมาดั้งเดิมกระนั้นหรือ?”

ท่านอิมามได้ตอบว่า

“พระเจ้า เป็นผู้ทรงประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และทรงมีความรู้และมีความสามารถที่มีมาแต่ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงมีความประสงค์เกิดขึ้น”

(อุศูลุลกาฟี เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๑)

๓๑๖

จากวจนะนี้แสดงให้เห็นว่า ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำนั้น ไม่มีได้มีมาแต่ดั้งเดิม ก็เพราะว่า เมื่อได้เชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับสิ่งสร้างของพระองค์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างเกิดจากการกระทำของพระเจ้า  และการกระทำของพระองค์เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะในการกระทำของพระองค์ จะมีมาแต่ดั้งเดิม  และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำและความแตกต่างของความประสงค์ของพระองค์กับมนุษย์ ความว่า

“ความประสงค์ (ความประสงค์) ของสิ่งถูกสร้าง หมายถึง การตัดสินใจหลังจากนั้นได้กระทำในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แต่ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง  การเกิดขึ้นที่ไม่มีการใช้ความคิดและการตัดสินใจ และทุกๆคุณลักษณะที่เป็นแบบนี้ ไม่มีในพระองค์และเป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังนั้น ความประสงค์ (ความประสงค์)ของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์ และมิใช่สิ่งอื่นใด พระองค์ทรงกล่าว จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา โดยที่ปราศจากการพูดและการใช้ลิ้นในการสื่อสาร และไม่มีการตัดสินใจและการใช้ความคิด และไม่ต้องการสิ่งพึ่งพา เพราะพระองค์ก็ไม่ต้องการสิ่งพึ่งพาเช่นกัน”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐ วจนะที่ ๓)

และบางวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งเกิดขึ้น

๓๑๗

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ทรงสร้างความประสงค์ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยความประสงค์ของพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๐ วจนะที่ ๔)

ในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิกได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความรู้กับความประสงค์ ดังนี้

“ความรู้ของพระเจ้า มิใช่ความประสงค์ของพระองค์ เจ้ามิได้กล่าวหรือว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ และเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงรู้ ดังนั้น คำกล่าวของเจ้า ที่ว่า หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ บ่งบอกถึง พระองค์ไม่ทรงประสงค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงมีความรู้ในความประสงค์ของพระองค์” (อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๒)

๓๑๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

อิรอดะฮ์ หมายถึง ความประสงค์: Act of will

อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์ หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า: Divine will

ความประสงค์ในอาตมัน อิรอดะฮ์ซาตีย์

ความประสงค์ในการกระทำ อิรอดะฮ์ เฟียะลีย์

มะชียะฮ์ หมายถึง ความต้องการ  : Radical will

การเลือกสรร อิคติยาร : Choice

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์ อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์

ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ อิริดะฮ์ ตัชรีอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในความหมายของ ความประสงค์ของพระเจ้า

 (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

บางคนกล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระเจ้าที่ไม่มีการบังคับใดๆเกิดขึ้น และบางคนมีความเชื่อว่า คือ การมีความสามารถและการชี้ขาดของพระเจ้า และบางสำนักคิดกล่าวว่า หมายถึง การเลือกสรรของพระองค์

๓๑๙

๒.ความประสงค์ของพระเจ้า มีอยู่ สองระดับขั้น

(๑).ความประสงค์ในอาตมันที่มีมาแต่ดิม

(๒).ความประสงค์ในการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ถึง การมีความประสงค์ของพระเจ้า  คือ การกระทำของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้และมีสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ก็คือ ความประสงค์ที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๔.พระเจ้าทรงมีความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ และความแตกต่างของความประสงค์ทั้งสองของพระองค์ ก็คือ ในประเภทแรก ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ แต่ในประเภทที่สองนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์

๕.อัลกุรอานได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า คือ เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมาทันที และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความประสงค์ของพระเจ้าและมนุษย์ว่า ความประสงค์ของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุดและขอบเขตจำกัด

๓๒๐