บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325556
ดาวน์โหลด: 4493

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 325556 / ดาวน์โหลด: 4493
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

   บทที่ ๘

   คำตรัสกล่าวของพระเจ้า (กะลาม อิลาฮียฺ)

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่อธิบายในคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายกันในคุณลักษณะที่สำคัญที่มีอยู่ในการกระทำของพระองค์ ซึ่งในความเป็นจริง ก็คือ จำนวนของคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีอยู่จำนวนมากเหลือที่จะคณานับได้ ดั่งเช่น ความเป็นผู้ทรงสร้าง,ผู้ทรงกรรมสิทธิ์,ผู้ทรงอภิบาล,ผู้ทรงเมตตาปราณีเสมอ,ผู้ทรงให้อภัยยิ่ง ,ผู้ทรงชี้นำ,ผู้ทรงให้ความไว้วางใจ,ผู้ทรงให้การปกครอง,ผู้ทรงให้การช่วยเหลือ,ผู้ทรงให้ชีวิต,ผู้ทรงการขอบคุณ และ ฯลฯ

คุณลักษณะที่ถูกกล่าวในอัล กุรอานนั้น บ่งบอกถึง คุณลักษณะที่มีอยู่ในการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็มีจำนวนมาก ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามได้ให้ความคิดเห็นว่า สมควรที่จะพูดคุยกันในประเด็นที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า แต่สิ่งที่ได้หยิบยกมาอ้างนั้น มีเพียงคุณลักษณบางส่วนเท่านั้น โดยใช้วิธีการอธิบายของบรรดานักเทววิทยาในอดีต ซึ่งเป็นแบบอย่างให้กับนักเทววิทยาอิสลามร่วมสมัย

๓๒๑

   ความเป็นจริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้าคืออะไร?

    พระเจ้า เป็นผู้พูดหรือผู้ตรัสกล่าว ดังนั้น การพูดหรือการตรัสกล่าว จึงเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ นั่นก็คือ สิ่งที่บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายมีความเห็นตรงกัน แต่มีการโต้แย้งในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งจะกล่าวได้ว่า การโต้แย้งของพวกเขานั้น เกิดขึ้นมาจาก ๒ ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.การอธิบายในความหมายของ คำพูด หรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

๒.แหล่งกำเนิดหรือบ่อเกิดของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า นักวิชาการบางคนได้บอกว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และบางคนได้บอกว่า มิได้มีมาแต่เดิม แต่ทว่าคำพูดของพระองค์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

หากพึงสังเกตุในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดข้อกังขากันในหมู่นักวิชาการในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม ก็คือ เรื่องการอธิบายใน คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามระหว่างกัน ด้วยกับการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระองค์  และในบทนี้ จะขอกล่าวถึง ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า กันก่อน แล้วจึงค่อยมาอธิบาย สาเหตุการเกิดขึ้นของคำตรัสกล่าวในพระเจ้า และในประเด็น คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ เป็นอันดับต่อไป

๓๒๒

   ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

    การอธิบายความหมายของ คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีการให้ทัศนะต่างๆจากบรรดานักเทววิทยาอิสลามและมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนี้

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลาม กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า  หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร และมีความเชื่อว่า เสียงและอักษรดังกล่าวนั้น  เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม และอยู่ในอาตมันของพระองค์ และพวกเขายังมีความเชื่ออีกว่า ปกของอัล กุรอานนั้น ก็มีมาแต่เดิม และนี่คือ ทัศนะของสำนักคิดฮัมบะลีย์

๒.กลุ่มนี้ ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียง และอักษรที่มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.ทัศนะที่สามได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นการกระทำ และสิ่งสร้างของพระองค์ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

๔.กลุ่มหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระองค์ ที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ พวกเขาเรียก คุณลักษณะนี้ว่า กะลามนัฟซี หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มีมาแต่เดิม และเป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่คำสั่ง หรือเป็นการห้าม และการบอกเล่า หรือการเรียกร้อง

๓๒๓

การวิเคราะห์ในทัศนะที่ได้กล่าวผ่านไปแล้วนั้น จะกล่าวได้ว่า ทัศนะที่หนึ่งกับสองนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่าการให้ความคิดเห็นนี้ เป็นการแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่เป็นวัตถุในสิ่งที่มิใช่วัตถุ เป็นไปไม่ได้ แม้ว่าเสียงและตัวอักษรจะมีมาแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ก็ตาม และทัศนะของอัชอะรีย์ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ปัญหาของทัศนะนี้ก็คือ การยอมรับ กะลามนัฟซีว่า มีความหมายที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ และจะกล่าวได้ว่าในความเป็นจริงนั้น จากความเชื่อของสำนักคิดอัชอะรีย์ พวกเขาได้ยอมรับว่า กะลามนัฟซี ก็คือ ความหมายเดียวกันกับความรู้และความประสงค์ของพระเจ้า  ซึ่งไม่สามารถแยกคุณลักษณะเหล่านี้ออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่ถูกต้องก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร บางครั้งในสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น ต้นไม้ และในบางครั้งมาจากบรรดาเทวทูต และบางครั้งมาในสภาพอื่น นอกเหนือจากนี้ ทัศนะนี้ยังเป็นทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ซึ่งมีทัศนะคล้ายกับทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

ท่านอัลลามะห์ มัจลิซีย์ ได้กล่าวว่า

“สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์มีความเชื่อว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ที่ประกอบด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และความหมายของ การเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ การเกิดขึ้นด้วยเสียงและตัวอักษรในสิ่งที่เป็นวัตถุ” (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๐)

๓๒๔

สิ่งที่ควรจำก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างคำตรัสกล่าวของพระเจ้ากับคำพูดของมนุษย์ นั่นก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ไม่ต้องการวัตถุและอุปกรณ์ในการสื่อสาร เพราะว่า การมีอยู่ของสิ่งดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการเป็นวัตถุ

จะสรุปได้ว่า ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ ถ้อยคำที่ถูกบันทึกหรือได้ยิน บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างแน่นอน ดั่งเช่น สรรพสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งสร้างหรือเป็นการกระทำ และเป็นคุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์

   ทุกสรรพสิ่งคือ ดำรัส ของพระเจ้า

    บางทีความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีความหมายกว้างกว่าตัวอักษรและเสียง ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึง สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่เป็นเพียงการกระทำของพระเจ้าเท่านั้น  แต่ยังหมายถึง ทุกการกระทำของพระองค์ คือ คำตรัสกล่าวของพระองค์ด้วย และได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า เราจะกล่าวว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่ คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้าได้อย่างไร ? ในขณะที่ความหมายของคำว่า คำตรัสกล่าว หมายถึง ตัวอักษรที่ถูกบันทึกหรือถูกรายงาน

๓๒๕

สำหรับคำตอบที่ง่ายและสั้น ก็คือ เมื่อเราได้พิจารณาความหมายของ ตัวอักษร หมายถึง การรายงานที่ได้รับจากความหมายที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสาร ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงของ คำพูด คือ การรายงานและการแสดงออก  กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของคนหนึ่ง แสดงว่า คนนั้นเป็นผู้กระทำ และยังบ่งบอกถึง คุณลักษณะของผู้กระทำอีกด้วย และความแตกต่างกันระหว่างสิ่งทั้งสอง ก็คือ การแสดงถึงตัวอักษร เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่ถูกกำหนดขึ้นมา และในขณะที่การแสดงออกด้วยการกระทำ เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่มีมาจากการใช้สติปัญญา ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า ความหมายของ คำพูด นั้นมีความหมายที่กว้างและได้รวมถึงการกระทำของพระเจ้าด้วย เพราะว่า ทุกการกระทำ บ่งบอกถึง คุณลักษณะต่างๆและจุดประสงค์ของผู้กระทำ และในอัล กุรอานและวจนะได้กล่าวเน้นย้ำในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น โองการทั้งหลายของพระเจ้า คือ คำตรัสกล่าวและดำรัสของพระองค์

   กะลาม ลัฟซีย์ กะลาม นัฟซีย์ และ กะลามเฟียะลีย์

 (ประเภทต่างๆของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า)

 จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว จะกล่าวได้ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) สามารถที่จะแบ่งได้ เป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๓๒๖

๑.กะลาม ลัฟซีย์ หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์

๒.กะลาม นัฟซีย์ หมายถึง ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งกะลาม ลัฟซีย์ก็เกิดขึ้นจากกะลามประเภทนี้

๓.กะลาม เฟียะลีย์ หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลาย คือ การกระทำของพระเจ้า ที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

ในระหว่างประเภททั้งสามของกะลาม ประเภทแรกและประเภทที่สามซึ่งเป็นที่ถูกยอมรับ ส่วนประเภทที่สองนั้น จากคำอธิบายของสำนักคิดอัชอะรีย์ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ

   การมีมาแต่เดิมและการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของ

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

   ในศตวรรษที่สองของอิสลาม ประเด็นหนึ่ง ที่เป็นปัญหากันมากในมุสลิม  ก็คือ ประเด็นของอัล กุรอาน ซึ่งเสมือนคำตรัสกล่าวของพระเจ้า จึงได้มีคำถามว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่?

อะห์ลุลฮะดีษ (กลุ่มชนที่ยึดถือวจนะของท่านศาสดาอย่างเดียว) และสำนักคิดฮัมบะลีย์ และสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อเหมือนกันว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม โดยที่พวกเขาได้กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ยอมรับในความเชื่อนี้ คือผู้ปฏิเสธ และในทางตรงกันข้าม สำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ กล่าวว่า

อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่และมิได้มีมาแต่เดิม

๓๒๗

 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทัศนะของพวกเขา มีความขัดแย้งกับทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ตามที่ได้อธิบายความหมายของ คำตรัสกล่าว(กะลาม)ของพระเจ้า ไปแล้ว  และการไม่ยอมรับในความหมายที่กล่าวว่า กะลาม หมายถึง กะลาม นัฟซี นั้น ก็เช่นกันว่า ทัศนะที่กล่าวว่า อัลกุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะถ้ากล่าวกันว่า กะลามของพระเจ้า หมายถึง ตัวอักษรและเสียง หรือสิ่งที่มีอยู่ แน่นอนที่สุด กะลามก็เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมา และหากกล่าวว่า กะลาม คือ คำพูดและคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็หมายความว่า ได้ยอมรับในการเพิ่งมีมาของกะลาม เพราะว่า คำตรัสกล่าว คือ คุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์ ที่เกิดจากการแสดงออกด้วยตัวอักษรและเสียง หรือ การเกิดขึ้นของสิ่งที่มีอยู่ในความเป็นจริง และเป็นทราบกันดีว่า คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้านั้น เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีมา  ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ที่มาของการกระทำของพระองค์ คือ การเพิ่งเกิดขึ้นของการกระทำ และด้วยกับเหตุผลของสำนักคิดที่ยอมรับว่า กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม  เป็นเหตุผลที่ไม่แข็งแรง และไม่มีพื้นฐานทางสติปัญญา และการวิเคราะห์และตรวจสอบเหตุผลทั้งหลายนั้น ใช้เวลามาก

ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป ดังนั้น ทัศนะที่ถูกต้อง ซึ่งบรรดาผู้นำที่บริสุทธิ์ได้กล่าวเน้นย้ำ และทัศนี้เป็นที่ยอมรับ ในหมู่นักเทววิทยาอิสลามสำนักคิดชีอะฮ์ นั่นก็คือ กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๒๘

   เหตุผลของการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า

   หลังจากที่ความหมายของ คำว่า คำพูดหรือกการตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น เป็นที่กระจ่างชัด สำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลของการเป็นผู้พูด หรือ ผู้ตรัสกล่าวของพระองค์ และในระหว่างเหตุผลทั้งหลายของนักเทววิทยาอิสลามที่ได้พิสูจน์ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะนี้  มีเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีดังนี้

ในประเด็นของการมีพลังอำนาจของพระเจ้า ได้กล่าวไปแล้วว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้น มีอยู่ในทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การเกิดขึ้นของตัวอักษรที่ถูกบันทึก หรือไได้ยิน เป็นการกระทำที่ต้องพึ่งพา ดังนั้น การเกิดขึ้นของตัวอักษรและเสียง ก็คือ คำพูดหรือการตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในจากมีพลังอำนาจของพระองค์ ดั่งที่ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“การมีพลังอำนาจของพระเจ้าต่อสิ่งทั้งหลาย บ่งบอกถึง การมีอยู่ของกะลามในพระองค์”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๑๕)

๓๒๙

   คุณลักษณะ การตรัสกล่าว ในอัล กุรอานและวจนะ

   คำว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) ที่เป็นคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน  แต่ได้ใช้ในรูปแบบของ กริยาของพระเจ้า เช่น โองการนี้ที่ได้กล่าวถึง ศาสดามูซา ว่า

“และอัลลอฮ์(พระเจ้า) ทรงตรัสกับมูซาอย่างเปิดเผย” (บทอันนิซา โองการที่ ๑๖๔)

นอกจากนี้ โองการนี้ได้กล่าวว่า กะลามมุลลอฮ์ แปลว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ในสามครั้งด้วยกัน และกล่าวว่า คำกล่าวของฉัน เพียงครั้งเดียว และในบางครั้งก็กล่าวเช่นกันว่า ตัวอักษรของพระผู้อภิบาลของเจ้า และตัวอักษรของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) จากสิ่งดังกล่าวนั้น สามารถจะบอกได้ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว

และบางโองการของอัลกุรอาน กล่าวถึง กะลาม ลัฟซี ว่า

เมื่อเขาได้มาที่มัน (ไฟ) ได้มีเสียงเรียกจากริมที่ลุ่มทางด้านขวา ในสถานที่ที่มีความจำเริญ ณ ที่ต้นไม้ ว่า โอ้มูซาเอ๋ย ! แท้จริงข้าคืออัลลอฮ์พระเจ้าแห่งสากลโลก” (บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๓๐)

โองการนี้ กล่าวถึง การสนทนาของพระเจ้ากับศาสดามูซา และจากการสนทนานี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ศาสดามูซาได้ยินตัวอักษรที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า

และในโองการหนึ่ง ก็ได้กล่าวถึง  มีอยู่สาม ประเภทในการสนทนาของพระเจ้ากับมนุษย์

๓๓๐

และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮ์ตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะฮีย์ยฺ(การวิวรณ์) หรือโดยทางเบื้องหลังม่าน หรือโดยที่พระองค์จะส่งทูตมา แล้วเขา (มะลัก) ก็จะนำวะฮีย์ยฺมาตามที่พระองค์ทรงประสงค์โดยบัญชาของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงปรีชาญาณ

  (บทอัชชูรอ โองการที่ ๕๑)

โองการดังกล่าวได้อธิบายถึงการมีอยู่ของประเภททั้งสามในการสนทนาของพระเจ้า ศึ่งมีดังนี้

๑.การสนทนาโดยผ่าน การวิวรณ์ โดยไม่ใช้สื่อในการสื่อสาร ในสภาพเช่นนี้ ความหมายของการสนทนานั้น ได้เกิดขึ้นในบุคคลที่สื่อสารกับพระเจ้า

๒.การสนทนาโดยผ่านการวิวรณ์ที่เกิดขึ้นโดยสื่อ หมายถึง บรรดาเทวทูต เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงประทานลงมา เพื่อเป็นผู้สื่อสารของพระองค์

๓.การสนทนาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน และไม่เห็นผู้พูด

นอกจากความหมายของการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า อัล กุรอานยังได้กล่าวอีกว่า ทุกสรรพสิ่ง เป็น ตัวอักษรของพระองค์

บางครั้ง ศาสดาอีซาถูกเรียกว่า ดำรัสของพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ แท้จริง อัล-มะซีฮ์ อีซาบุตรของมัรยัมนั้น เป็นเพียงร่อซู้ลของอัลลอฮ์และเป็นเพียงดำรัสของพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวมันแก่มัรยัม และเป็นเพียงวิญญาณหนึ่งจากพระองค์ เท่านั้น”

 ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๗๑ )

และเช่นกัน บางครั้งทุกสรรพสิ่งและปัจจัยยังชีพของพระเจ้า เป็นตัวอักษรของพระองค์

๓๓๑

กล่าวอีกว่า

“และหากว่าต้นไม้ทั้งหมดที่มีอยู่ในแผ่นดินเป็นปากกาหลาย ๆ ด้าม และมหาสมุทร (เป็นน้ำหมึก) มีสำรองไว้อีกเจ็ดมหาสมุทร พจนารถของอัลลอฮ์ก็จะยังไม่หมดสิ้นไป แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”

(บทลุกมาน โองการที่ ๒๗)

ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้กล่าวใน ความหมายของกะลามของพระเจ้าว่า หมายถึง ดำรัสที่ได้ยินและเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ นอกเหนือจากนี้ บางโองการของอัล กุรอาน ยังได้กล่าวอีกว่า กะลามของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิใช่เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

อัล กุรอานกล่าวว่า

ไม่มีข้อตักเตือนใหม่ ๆ จากพระเจ้าของเขามายังพวกเขา เว้นแต่ว่าพวกเขาจะรับฟังมันและพวกเขาได้ล้อเล่นไปด้วย” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒)

และอีกโองการหนึ่ง ได้กล่าวว่า อัล กุรอาน คือ ข้อตักเตือนของพระเจ้า ดั่งในโองการที่ ๙ บทอัลฮิจร์ ดังนั้น ความหมายของข้อตักเตือนดังกล่าว ก็คือ อัล กุรอาน และเป็นข้อตักเตือนที่มีมาใหม่ และนั่นก็คือ ถ้อยคำของอัลกุรอาน

และบางส่วนของวจนะ ก็ได้กล่าวถึง ประเด็นของการมีมาแต่เดิมและการเพิ่งมีมาใหม่ของกะลามของพระเจ้า ซึ่งบางครั้งบรรดาอิมามได้ห้ามมิให้สานุศิษย์ของท่าน ถกเถียงกันในประเด็นนี้ เพราะว่า จะทำให้ประเด็นนี้ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งของหลักศรัทธา กลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปได้ และจะเกิดการสู้รบกันทั้งสองฝ่าย

๓๓๒

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า อิมามริฎอได้กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า สำหรับคำตอบ เกี่ยวกับอัล กุรอาน ก็คือ

“เป็นคำตรัสของพระเจ้า ที่เจ้าจะต้องไม่ฝ่าฝืนและไม่ต้องการการชี้นำจากสิ่งอื่นใด นอกจากอัล กุรอานเท่านั้น เพื่อเจ้าจะได้ไม่หลงทาง”

[๑](อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๒ )

อิมามฮาดีย์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวว่า

“ไม่มีผู้สร้างใด นอกจากอัลลอฮ์ และนอกจากพระองค์ คือ สิ่งถูกสร้าง ในขณะที่อัลกุรอาน คือ คำตรัสของพระองค์ และอย่าได้ตั้งชื่อให้กับอัลกุรอาน เพราะจะทำให้เจ้านั้น เป็นผู้หลงทาง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๔ )

รายงานจากท่านอิมามซอดิก ว่า

อะบูบะซีร ได้ถามท่านอิมามว่า พระเจ้าเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวที่มีมาแต่เดิมใช่หรือไม่?

อิมามได้ตอบกับเขาว่า

“คำตรัสของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาใหม่ พระองค์ทรงมีอยู่และมิได้เป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงสร้างคำตรัสขึ้นมา”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๖๘)

๓๓๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

กะลาม อิลาฮีย์ หมายถึง คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

 : Speech of God

กะลาม ลัฟซีย์  หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์ :  Uttered speech

กะลาม นัฟซี   หมายถึง การรายงานของ ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์

:Speech of the soul

กะลามเฟียะลี   หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลายของพระเจ้า เป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

: Speech of act

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บางสำนักคิดให้ความหมาย คำตรัสกล่าวของพระเจ้าว่า คือการเปล่งเสียงและแสดงตัวอักษรที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้นทัศนะนี้ ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะการมีตัวอักษรและเสียง เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ในขณะที่พระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ

๒.สำนักคิดอัชอะรีย์ ได้กล่าวว่า คำตรัสของพระเจ้า คือ กะลามนัฟซี ซึ่งหมายถึง  ความหมายที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ และมิใช่ความรู้และความประสงค์และมิใช่ตัวอักษรและเสียงด้วย

๓๓๔

๓.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะจากการอธิบายของพวกเขา กะลามนัฟซี จะเป็นไปไม่ได้ นอกจาก ความรู้และความประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น

๔.ความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็คือ พระองค์ทรงสร้างตัวอักษรและเสียงในสิ่งทั้งหลาย  และสิ่งเหล่านี้มิได้มีมาแต่เดิม เหมือนอาตมันของพระองค์ แต่ตัวอักษรและเสียง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งมีมาใหม่ และการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น ก็แตกต่างกับการเป็นผู้พูดของมนุษย์ ซึ่งไม่มีความต้องการสื่อในการสื่อสาร

๕.ที่ได้กล่าวไปแล้วใน ความหมายของคำตรัสกล่าว คือ คำที่บ่งบอกในความหมาย และบางครั้งมีความหมายที่กว้างออกไปอีก และรวมถึงทุกสรรพสิ่ง เป็นดำรัสของพระเจ้า  เพราะว่า พระเจ้า คือ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง  และทุกการกระทำบ่งบอกว่า จะต้องมีผู้กระทำ

๖.กล่าวได้ว่า ความหมายของ กะลาม (คำกล่าว)นั้นมีด้วยกัน สาม ความหมาย กล่าวคือ กะลามลัฟซี ,กะลามนัฟซีและกะลามเฟียะลี และจากความหมายทั้งสามของ กะลาม ความหมายที่สองไม่เป็นที่ยอมรับในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์อิมามียะฮ์

๗. และเมื่อความหมายของ กะลาม (คำกล่าว) เป็นที่กระจ่างชัดแล้ว และทัศนะที่กล่าวว่า กะลามนัฟซีก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ คือ เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่ และทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ที่ได้กล่าวว่า กะลามเป็นสิ่งมีมาแต่เดิมนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๘.อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในความหมายที่เป็นทั้ง กะลามลัฟซีและกะลามเฟียะลี และในวจนะได้กล่าวว่า คำตรัสกล่าว เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๓๕

   บทที่ ๙

   ความสัตย์จริงของพระเจ้า-ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    ในบทที่แล้วได้อธิบายถึงคำพูด ( กะลาม) ของพระเจ้า ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า การตรัสของพระเจ้านั้น มีความเป็นสัตย์จริง หรือ มีการคาดคิดกันว่า มีการมุสาในคำพูดของพระองค์กระนั้นหรือ?

สำหรับคำตอบ คือ เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า บรรดามุสลิมมีความเชื่อว่า คำพูดของพระเจ้า ไม่มีข้อคลางแคลงใดและไม่มีการโกหกในคำพูดของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกล่าวโกหกในพระเจ้านั้น เป็นการกระทำที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีความเห็นตรงกันว่า ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มีความหมายว่า คำพูดของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง

การให้ความสำคัญในคุณลักษณะการมีความสัตย์จริงในคำพูดของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า คุณลักษณะนี้ เป็นพื้นฐานหนึ่งในการไว้วางใจของมนุษย์ต่อการเชิญชวนบรรดาศาสดา เพราะว่า ถ้าหากว่า คำพูดของพวกเขา ไม่ตรงกับความเป็นจริง การไว้วางใจและความถูกต้องก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นคำพูดของพวกเขา ต้องเป็นจริงและมีความสัตย์จริง และตรงกับความเป็นจริง

๓๓๖

   ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ?

   มีคำถามว่า คุณลักษณะ ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

คำตอบ คือ เราต้องดูว่า เราให้ความหมายของกะลาม(คำพูด)ของพระเจ้าว่าอย่างไร?

สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในกะลาม นัฟซีย์ กล่าวว่า คุณลักษณะกะลาม(คำพูด)เป็นคุณลักษณะในอาตมันและคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในอาตมันด้วย

ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า การมโนภาพของคุณลักษณะกะลาม นัฟซีย์ที่ไม่ย้อนกลับไปยัง คุณลักษณะความรู้และความประสงค์ของพระเจ้านั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าในสภาพนี้ ถ้าหากว่าความหมายของกะลามในทัศนะของอัชอะรีย์ คือ ความรู้ของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของคุณลักษณะความสัตย์จริง คือ ความรู้ของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง  และถ้าหากความหมายของกะลาม คือ ความประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริงก็ไม่มีความหมาย เพราะว่า ความหมายของความประสงค์ที่มีความสัตย์จริงนั้น ไม่มีอย่างแน่นอน

และถ้าหากกะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำ แน่นอนที่สุด คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำด้วยเช่นกันและได้อธิบายแล้วว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำเช่นเดียวกัน

๓๓๗

   เหตุผลของนักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความสัตย์จริงของพระเจ้า

   ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การพิสูจน์คุณลักษณะ ความสัตย์จริง  โดยการอ้างเหตุผลจากอัล กุรอานและวจนะ ผลที่ได้รับก็คือ การเป็นวัฏจักรของเหตุผลทั้งหลายเพราะว่า อัลกุรอานและวจนะ มีความเป็นสัตย์จริงและถ้ากล่าวว่า พระเจ้ามีความสัตย์จริง โดยการพิสูจน์จากอัล กุรอานก็เท่ากับการพิสูจน์การมีอยู่ตนเองด้วยกับตนเอง ซึ่งก็ถือว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จะเหลือเพียงเหตุผลเดียวที่พิสูจน์ว่า พระเจ้า มีคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็คือ เหตุผลของการใช้สติปัญญา

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นที่แตกต่างกันในเหตุผลทางสติปัญญา ซึ่งสาเหตุของความเห็นทั้งหลายนั้นมาจาก การให้ทัศนะในการยอมรับและการไม่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

นักเทววิทยาอิสลามที่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา กล่าวว่า สติปัญญาสามารถที่จะแยกแยะสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดีออกจากกันได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ข้อพิสูจน์หรือคำสอนของศาสนา และการประทานวิวรณ์จากพระเจ้า และสติปัญญายังได้กำหนดอีกว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี

เพราะว่า มีความขัดแย้งกับการใช้สติปัญญา ผู้ที่ยอมรับในทัศนะนี้ คือ บรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ส่วนสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ผู้ที่ไม่ยอมรับทัศนะนี้

เหตุผลของผู้ที่ยอมรับในทัศนะการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงเป็นผู้มุสา ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นของความสัตย์จริงของพระเจ้า มาจากคำตรัสกล่าวของพระองค์ และด้วยกับความหมายที่ตรงกันข้ามระหว่าง ความสัตย์จริงกับการมุสา ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า พระเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวในสิ่งที่เป็นจริง

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวว่า

การปฏิเสธการกระทำที่ไม่ดีในพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของพระองค์

จะเห็นได้ว่า เหตุผลนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสำนักคิดอัชอะรีย์ เพราะว่า พวกเขาไม่ยอมรับในพื้นฐานของการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ นักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดอัชอะรีย์ได้อ้างเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลนี้ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าเป็นผู้ตรัสจริง ดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นข้อบกพร่อง และพระเจ้าไม่ทรงมีข้อบกพร่องในพระองค์ ดังนั้น การโกหกและการมุสา เป็นสิ่งที่ไม่มีในพระองค์

๓๓๘

   ความสัตย์จริงของพระเจ้าในอัล กุรอาน

   อัล กุรอานได้กล่าวไว้ในโองการทั้งหลายมากมาย เกี่ยวกับ ความเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า

และเรามาหาท่านด้วยเรื่องจริงและแท้จริงเราเป็นผู้ซื่อสัตย์อย่างแน่นอน

  (บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๖๔)

และบางโองการกล่าวว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคำพูดที่ตรัสจริงที่สุด“และใครเล่าที่จะมีคำพูดจริงยิ่งกว่าอัลลอฮ์” (บทอันนิซาอ์ โองการที่๘๗)

และใครเล่าที่มีคำพูดจริงยิ่งไปกว่าอัลลอฮ์” ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๒๒)

ความหมายของ การเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า ก็คือ  เมื่อได้เปรียบเทียบกับคำพูดของผู้ที่กล่าวจริง จะเห็นได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์ เป็นคำกล่าวที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

และบางโองการได้กล่าวย้ำในเรื่องนี้ ว่า เป็น สัญญาที่พระเจ้าได้ให้ไว้กับมนุษย์ เช่น สัญญาของพระองค์ ในการช่วยเหลือบรรดามุสลิมในสงครามอุหุด

พระองค์ทรงตรัสว่า

“และแน่นอนอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาของพระองค์สมจริงแก่พวกเจ้าแล้ว”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๒)

๓๓๙

และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๙ และบทอัรเราะด์ โองการที่ ๓๑)

หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของคุณลักษณะ ความสัตย์จริงไปแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ ความเป็นวิทยปัญญา เป็นอันดับต่อไป

   ความหมายของ วิทยปัญญา

    คุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า คือ ฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา)  และมีหลายความหมายด้วยกัน ดังนี้

๑.ความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การรู้จักสารัตถะของสรรพสิ่ง และด้วยกับการมีคุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า  ดังนั้น ความหมายนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่ใช้กับพระองค์ และความหมายนี้ยังย้อนกลับไปหายัง คุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ฮิกมะฮ์ เป็นหนึ่งในความรอบรู้ของพระองค์

๒.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ ผู้กระทำได้กระทำการกระทำของเขาด้วยกับเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ถูกยอมรับ ดังนั้นการมีคุณลักษณะนี้ เป็นที่ขัดแย้งกัน

ซึ่งบรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอัชอะรีย์มีความขัดแย้งกับทัศนะนี้  และเราจะอธิบายในภายหลังเกี่ยวกับประเด็นนี้

๓.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การกระทำของผู้กระทำในเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบและมั่นคง และพระเจ้าทรงเป็นผู้ฮะกีมในความหมายด้วยเช่นกัน

๓๔๐