บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 326699
ดาวน์โหลด: 4537

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 326699 / ดาวน์โหลด: 4537
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

   วิทยปัญญาของพระเจ้าในทัศนะของอัล กุรอาน

   ในอัล กุรอานมีโองการต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึง วิทยปัญญาของพระเจ้า

“พวกเจ้าคิดหรือว่า แท้จริงเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์ และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับไปหาเรากระนั้นหรือ ?” (บทอัลมุมินูน โองการ ๑๐๕)

โองการนี้ได้กล่าวถึง การสร้างมนุษย์ ซึ่งเป็นการกระทำประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า และได้อธิบายไว้อีกว่า การกระทำนี้ มิได้เป็นการกระทำที่ไร้สาระและไม่มีประโยชน์ แต่ทว่ามีเป้าหมายและมีวิทยปัญญาที่ชัดเจน และในส่วนที่สองของโองการนี้ ก็ได้แสดงให้เห็นถึง การมีเป้าหมายอันนั้นต่อการสร้างของพระเจ้า  หมายความว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา และให้เขาได้ใช้ประโยชน์ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์พูนสุข และในโลกหน้า เขาจะได้เห็นผลของการกระทำของเขาที่ได้กระทำในโลกนี้

อีกโองการหนึ่งกล่าวถึง การมีวิทยปัญญาในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ระหว่างกลางทั้งสอง (หมายถึง การสร้างโลกนี้) ดังนี้

“และเรามิได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองอย่าง อย่างไร้สาระ”

 (บทอัดดุคอน โองการ ที่๓๘)

บางส่วนของวจนะก็ได้กล่าวไว้เช่นกันถึง การมีวิทยปัญญาในการกระทำของพระเจ้า และการไม่เป็นสิ่งที่ไร้สาระในการกระทำของพระองค์ และเป้าหมายในการกระทำนั้นย้อนไปหามนุษย์และสิ่งถูกสร้างอื่นๆ

๓๘๑

 ดั่งเช่น

วจนะจากท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“หากมีผู้ใดถามว่า เป็นอนุญาตหรือไม่ที่จะให้บ่าวของพระองค์กระทำการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีสาเหตุ?”

ท่านอิมามกล่าวว่า

“จงตอบกับเขาว่า ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะพระองค์ทรงไม่กระทำการงานที่ไร้สาระ”

(บิฮารุลอันวาร เล่ม ๖ หน้า๕๘)

วจนะจากท่านอิมามซอดิก ได้รายงานว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านอิมามว่า

“ทำไมพระเจ้าต้องเป็นบ่าวของพระองค์ด้วย?”

ท่านอิมามตอบว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติยิ่ง มิได้สร้างสิ่งใดอย่างไร้สาระ และมิได้ทอดทิ้งเขาให้เดียวดาย แต่พระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของพระองค์ และให้เขาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ โดยเขามีความหวังในความกรุณาของพระองค์  และพระองค์มิได้สร้างพวกเขามา เพื่อจะได้รับประโยชน์มาสู่พระองค์ แต่พระองค์ทรงสร้างเพื่อให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากพระองค์”

 (บิฮารุลอันวาร เล่ม ๕ หน้า ๓๑๓)

๓๘๒

   วิทยปัญญาของพระเจ้ากับความชั่วร้าย

    จะเห็นได้ว่า การกระทำทุกประการของพระเจ้านั้นมีเป้าหมายที่สูงสุดและชัดเจน ซึ่งเป้าหมายในการกระทำของพระองค์นั้นย้อนกลับไปสู่มนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง จะเห็นได้ว่า โลกแห่งความเป็นจริง มีการกระทำหนึ่งที่เรียกกันว่า ความชั่ว

การลงโทษจากพระเจ้าหรือความเศร้าโศกจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัยน้ำท่วม ,พายุถล่ม,แผ่นดินไหว,การคุกคามของโรคร้าย ,อุบัติเหตุที่อันตรายต่อชีวิต ฯลฯ ทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความชั่วร้ายในสังคม

ดังนั้น เมื่อได้เปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า การมีวิทยปัญญาของพระองค์มีความขัดแย้งกับการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ เพราะว่า เป้าหมายของการสร้างของพระเจ้า เพื่อนำประโยชน์ไปสู่มนุษย์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้มิได้มีประโยชน์กับมนุษย์ แต่กับมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของเขา  และการกระทำของพระองค์จะขัดกับเป้าหมายของพระองค์ไม่ได้ เพราะว่า พระองค์คือ ผู้มีวิทยปัญญายิ่ง

สำหรับคำตอบก็คือ การลงโทษ ,ความเจ็บปวด และการเศร้าโศกเสียใจ มิได้ขัดแย้งกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า  เพราะการกระทำเหล่านี้ มีผลต่อตัวของมนุษย์เอง และการมีสิ่งเหล่านี้ มิได้หมายความว่า การกระทำของพระเจ้านั้น ไร้สาระและไม่มีประโยชน์อันใด ดังนั้น การกระทำของพระองค์มิได้ขัดกับเป้าหมายของพระองค์เลย

๓๘๓

ก่อนที่จะอธิบายในประโยชน์การมีอยู่ของความชั่ว จะขอกล่าวถึง หลักการที่สำคัญ ดังนี้

   ๑.การมีขอบเขตในความรู้ของมนุษย์

    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ความรู้ของมนุษย์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับ ความโง่เขลาของเขา เหมือนดั่ง หยดน้ำในห้วงมหาสมุทร  มิใช่เฉพาะกับสิ่งที่อยู่ภายนอก แม้แต่สิ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์เองก็มีสิ่งที่ลี้ลับอยู่มากมายที่หาคำตอบไม่ได้ และสติปัญญาของเขาไปไม่ถึงด้วย

ดังนั้น บรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ หลังจากที่ได้ค้นคว้าและวิจัย พวกเขายอมรับว่า เขาไม่มีความรู้อันใดเลย อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน

และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (บทอัลอิสรออฺ โองการที่ ๘๕)

และด้วยกับการมีขอบเขตที่จำกัดในความรู้ของมนุษย์ ไม่สามารถกล่าวว่า รู้ถึงความลี้ลับทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก และในการกระทำที่เรียกว่า ความชั่วร้าย ก็เช่นเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความรู้ในประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น และการไม่รู้ในสิ่งหนึ่ง มิได้หมายความ สิ่งนั้นจะไม่มี

อัลกุรอานได้กล่าวอีกว่า

บางทีสิ่งที่เจ้ารังเกียจสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งดีสำหรับสูเจ้าก็ได้ และบางทีสิ่งที่เจ้ารักสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายสำหรับเจ้าก็ตาม อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ แต่เจ้านั้นไม่รู้” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๑๖ )

๓๘๔

   ๒.เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์

   อีกหลักการหนึ่ง คือ เป้าหมายที่สูงสุดในการสร้างมนุษย์ มิได้หมายถึง การใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในโลกนี้ โดยไม่คำนึงถึงโลกหน้า แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ การไปสู่ความผาสุกและความสมบูรณ์ของมนุษย์เอง นั่นก็คือ การเคารพภักดีต่อพระเจ้า ซึ่งเป็นการแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์  ในบางครั้ง การไปสู่ความสมบูรณ์ เกิดจากการถูกทดสอบต่างๆมากมาย และการได้รับความทุกข์ทรมาน

   ๓. ผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว

   ในโลกแห่งวัตถุและธรรมชาตินี้ เป็นโลกที่วุ่นวาย เพราะในบางทีผลประโยชน์ส่วนตัวมาก่อนผลประโยชน์ส่วนรวม  ดังนั้น สติปัญญาบอกว่า ในกรณีเช่นนี้ ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อน  และนี่คือ ความหมายของการงานที่มีวิทยปัญญา และในเรื่องความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น เมื่อเราสังเกตให้รอบคอบและมองหลายด้าน เนื่องด้วยผลประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจน ดั่งในประเด็นของหลักความยุติธรรม (บทต่อไป) กล่าวว่า การดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของพระเจ้า ได้ทำให้ผลประโยชน์ส่วนตัวหมดไป และผลประโยชน์ส่วนรวมเข้ามาแทน

๓๘๕

   ๔.บทบาทของมนุษย์ที่มีต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

    ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การกระทำของมนุษย์มีผลต่อการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

มนุษย์เป็นสิ่งมีอยู่ที่มีอิสระในการกระทำ บางครั้งเขา เป็นผู้ที่ทำให้ความชั่วเกิดขึ้น แต่เขากับไม่รู้ว่า ตนเอง เป็นผู้กระทำ และเขาได้อ้างว่า การกระทำเหล่านั้น เป็นความไม่ยุติธรรมของพระเจ้า

อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ในโองการต่างๆมากมาย

การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (บทอัรรูม โองการ ๔๑)

และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว” (บทอัชชูรอ โองการ ๓๐)

จะอย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการสร้างมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์ เป็นสิ่งถูกสร้าง(มัคลูก) ที่มีความเป็นอิสระเสรี และด้วยกับกฏของเหตุและผล จะเห็นได้ว่า การกระทำบางอย่างของเขา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเลวร้าย และการลงโทษจากพระเจ้า

จากหลักการที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะขอกล่าวถึงประโยชน์ของความชั่วร้ายทั้งหลาย ที่มีผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์และในสังคม  เพื่อที่จะเห็นว่า การเกิดขึ้นของความชั่วร้าย มิได้ขัดแย้งกับการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า และก่อนที่จะกล่าวถึงผลประโยชน์ทั้งหลาย

๓๘๖

สิ่งที่ควรจดจำก็คือ

๑.มนุษย์นั้นไม่รู้ถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของความชั่วร้ายทั้งหลาย หรือปรัชญาของความเลวร้าย แต่เขารู้ว่า ยังมีปรัชญาที่แฝงเร้นในความเลวร้ายเหล่านั้น

๒.จากความเลวร้ายหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่อาจกล่าวถึง ผลประโยชน์ของมันได้ทั้งหมด เพราะว่าการมีความรู้ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด

   ปรัชญาการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย

   ๑.การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ

    การสร้างมนุษย์ และการมีอยู่ของโลกแห่งธรรมชาติ  มีการเบ่งบานและเติบโตด้วยกับการประสบในเหตุการณ์ที่เลวร้าย ดั่งเช่น ร่างกายของนักกีฬา ต้องการ การฝึกฝนและออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีการเติบโตและการก้าวหน้า  และเช่นเดียวกัน มนุษย์เอง ก็ต้องการ การเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ร่างกายและจิตใจของมนุษย์พัฒนาการ คือ การประสบกับความเลวร้าย

อัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“ฉะนั้นแท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย”

  “แท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย”

(บทอัลอินชิรอฮ์ โองการ ๕-๖ )

๓๘๗

   ๒.การทดสอบจากพระเจ้า

   การทดสอบจากพระเจ้า เป็นการกระทำหนึ่งของพระองค์  ดังนั้น พระองค์ทรงทดสอบมนุษย์ในการดำเนินชีวิตของเขา  ต่างๆนานา บางครั้งเขาได้รับความสะดวกสบาย บางครั้งได้รับความยากลำบาก ทุกข์ทรมานมากมาย

อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสแห่งความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยกับความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน” (บทอันอัมบิยาอ์ โองการ ๓๕)

คำว่า ความชั่วและความดี ในโองการนี้ มีความหมายที่กว้าง และรวมถึง ความโศกเศร้า,ความเจ็บปวด,ความทุกข์ทรมาน,ความยากจนขัดสน และยังรวมถึง การได้รับชัยชนะ,ประสบผลสำเร็จ , ความร่ำรวย และความสุขสบาย ดังนั้น อัลกุรอานได้อธิบายว่า สิ่งเหล่านั้น เป็นการทดสอบของพระเจ้า นอกเหนือจากนี้ ยังการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณ เพื่อทำให้เขาจะได้รับรู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆที่มีอยู่

ยังมีโองการทั้งหลายอีกมาก ได้กล่าวเน้นย้ำถึง การทดสอบของพระเจ้า จากการอดทนและทุกข์ทรมานและเศร้าโศกเสียใจต่างๆนานา ดั่งในโองการต่อไปนี้

“และแน่นอน เราจะทดสอบสูเจ้าโดยการให้สูเจ้าอยู่ในความกลัวและความหิวโหย และโดยการให้สูญเสียทรัพย์สิน ชีวิตและพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่มีความอดทน”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๕๕ )

๓๘๘

ประโยคที่กล่าวว่า จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่มีความอดทน แสดงให้เห็นถึง ผลตอบแทนและรางวัลของผู้ที่กระทำความดี คือ ผู้ทีผ่านจากการทดสอบต่างๆของพระเจ้า

และอีกโองการหนึ่งก็กล่าวเช่นกันว่า

“แต่ครั้นเมื่อพระองค์ทรงทดสอบเขาทรงให้การครองชีพของเขาเป็นที่คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของฉันทรงเหยียดหยามฉัน” (บทอัลฟัจร์ โองการที่ ๑๖ )

ด้วยเหตุนี้ ผลตอบแทนของพระเจ้า มิได้มีกับบ่าวของพระองค์ทุกคน แต่ทว่า กลุ่มชนหนึ่ง รู้สึกถึงความอ่อนแอจากการทดสอบของพระองค์ จนกระทั่งเขาได้กล่าวเหยียดหยามพระองค์

   ๓.เป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล

    หนึ่งในผลประโยชน์ที่สำคัญของการทดสอบ และความเศร้าโศกของมนุษย์ คือ การตื่นขึ้นจากการนอนหลับจากการที่เขาหลงใหลในความสุขสบายของโลกแห่งวัตถุ และเขาได้สำนึกว่ามีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้า และหน้าที่นั้นจะทำให้เขากลับไปสู่แสงสว่างแห่งสัจธรรม และความผาสุกอย่างแท้จริงได้

โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

และเรามิได้ส่งนบี(ศาสทูต)คนใดไปในเมืองหนึ่งเมืองใด นอกจากเราได้ลงโทษชาวเมืองนั้น ด้วยความแร้นแค้น และการเจ็บป่วยเพื่อว่าพวกเขาจะได้นอบน้อม” (อัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๙๔)

๓๘๙

 “ และแน่นอน เราจะให้พวกเขาได้ลิ้มรสการลงโทษอันใกล้ (ในโลกนี้) ก่อนการลงโทษอันยิ่งใหญ่ (ในปรโลก) เพื่อว่าพวกเขาจะกลับมาสำนึกผิด” (บทอัซซัจดะฮ์ โองการที่ ๒๑)

และเช่นกัน การลงโทษวงศ์วานของฟาโรห์ ด้วยการประสบกับความแห้งแล้งและความขาดแคลน เพื่อเป็นการเตือนสติให้กับพวกเขาได้สำนึก ในโองการต่อไปนี้

และแน่นอนเราได้ลงโทษวงศ์วานของฟิรอาวน์ด้วยความแห้งแล้ง และขาดแคลนผลไม้ต่างๆ เพื่อว่าพวกเขาจะได้สำนึก” (บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ ๑๓๐)

ส่วนมากของมนุษย์ เมื่อประสบกับการทดสอบและการลงโทษจากพระเจ้า จะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไม่เหมาะสม และแทนที่จะสำนึกในการลงโทษนั้น เขากับทำเป็นไม่สนใจ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ฝ่าฝืน ดั่งโองการนี้ได้กล่าวว่า

“และโดยแน่แท้เราได้ทดสอบพวกเขาด้วยการลงโทษ แต่พวกเขาก็หาได้นอบน้อมต่อพระเจ้าของพวกเขาไม่ และพวกเขาก็ไม่ยอมถ่อมตน” (บทอัลมุอฺมินูน โองการที่ ๗๖)

   ๔.การไม่รู้คุณค่าในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า

    และอีกผลประโยชน์หนึ่งของ การทดสอบของพระเจ้า ,ความทุกข์ทรมาน และความโศกเศร้า ก็คือ ให้มนุษย์รู้ถึง คุณค่าของปัจจัยยังชีพที่พระองค์ทรงประทานลงมา  ดั่งคำกล่าวที่ว่า ไม่เห็นคุณค่าของคน เมื่อไม่เห็นความเศร้าโศก

๓๙๐

อัลกุรอาน ก็เช่นเดียวกัน ได้สั่งให้มนุษย์รู้สำนึกในปัจจัยยังชีพของพระเจ้า ในยามคับขัน

“และจงรำลึกถึงปัจจัยยังชีพของอัลลอฮ์ที่มีแด่พวกเจ้า ในขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์”

(บทอาลิอิมรอน โองการ ๑๐๓)

   ปรัชญาการทดสอบ ในทัศนะของวจนะ

   วจนะของอิสลามได้กล่าวถึง ผลประโยชน์ของความชั่วร้ายว่า มีอยู่มากมาย เช่น

วจนะของท่านอิมาม อะลี ผู้นำแห่งศรัทธาชน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงกิ่งไม้ที่ปลูกในท้องทะเลทรายนั้น มีความแห้งแล้งกว่ากิ่งไม้ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่สม่ำเสมอ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายที่ ๔๕ )

๓๙๑

และยังมีวจนะอีกมากมายที่กล่าวถึง บางส่วนของความชั่วร้าย คือ บททดสอบของพระเจ้า

ท่านอิมาม อะลี ยังได้กล่าวอีกว่า

“แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงทดสอบบ่าวของพระองค์ โดยการลงโทษอย่างรุนแรง และเชิญชวนให้ทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ ด้วยกับความยากลำบาก และการทดสอบต่างๆมากมาย”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทเทศนาที่ ๑๙๒ )

และกล่าวอีกว่า

“แท้จริง อัลลอฮ์ทรงทดสอบมวลบ่าวของพระองค์ ในเวลาที่ได้กระทำการกระทำที่ไม่ดี ด้วยกับการไม่ทรงประทานปัจจัยยังชีพให้แด่พวกเขา และได้ปิดกั้นคลังแห่งความดีทั้งหลาย เพื่อที่จะทำให้เขารู้สำนึกและทำการขออภัยโทษจากพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ บทเทศนาที่ ๑๔๓ )

และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงความเลวร้ายทั้งหลายเหล่านั้น แม้ว่า จะประสบกับคนดีและคนไม่ดีก็ตาม ดังนั้น แท้จริงอัลลอฮ์ทรงทำให้สิ่งเหล่านั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองพวก คือ ผู้ที่ประกอบคุณงามความดี สิ่งที่เขาได้รับจากการทดสอบ นั้นก็คือ การรู้จักสำนึกในปัจจัยยังชีพของพระผู้อภิบาลของเขา และเขาได้ทำการขอบคุณ อีกทั้งยังให้เขามีความอดทน”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๓๙ )

๓๙๒

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความหมายหนึ่งของการมีวิทยปัญญาของพระเจ้า (ฮิกมะฮ์) คือ การมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการกระทำของพระองค์ และพระองค์ทรงปราศจากการงานที่ไร้สาระและไม่มีประโยชน์

๒.บรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮฺ เรียกกันว่า อัดลียะฮ์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ส่วนบรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า การกระทำของพระองค์ไม่มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย

๓.ความหมายของการมีจุดมุ่งหมายในการกระทำของพระเจ้า มิได้หมายความว่า การเกิดขึ้นของการกระทำ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์ของพระองค์ แต่ทว่า จุดมุ่งหมายของการกระทำ ย้อนกลับไปหามัคลูก(สิ่งถูกสร้าง)ของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง จุดมุ่งหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ จุดมุ่งหมายของการกระทำ มิใช่จุดมุ่งหมายของผู้กระทำ

๔.การมีวิทยปัญญาของพระเจ้า มีความหมายว่า การกระทำของพระเจ้า มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ด้วยกับเหตุผลจากหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ได้บอกว่า การกระทำที่ไม่มีสาระ เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่กระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่ไร้สาระ และไม่มีจุดมุ่งหมาย

๕.สาเหตุที่แท้จริงของสำนักคิดอัชอะรียฺที่มีความขัดแย้งกับการมีจุดหมายในการกระทำของพระเจ้า คือ พวกเขาคิดว่า จุดหมายของการกระทำ มีผลต่อผู้กระทำเท่านั้น

๓๙๓

คำตอบที่ถูกต้อง ก็คือ จุดหมายในการกระทำของพระเจ้า ย้อนกลับไปสู่มัคลูก(สิ่งถูกสร้าง)ของพระองค์  มิใช่ไปสู่ความสมบูรณ์ในอาตมันของพระองค์

๖.มองคร่าวๆ จะเห็นได้ว่า การมีอยู่ของความชั่วร้ายและการทดสอบและการลงโทษจากพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการมีจุดหมายในการกระทำและการมีวิทยปัญญาของพระองค์  แต่เมื่อใช้สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบ จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่มีขอบเขตของมนุษย์ ,ความผาสุกอย่างแท้จริงของเขา ,ผลประโยชน์ของส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัว และการมีบทบาทของมนุษย์ในการเกิดขึ้นของความชั่วร้าย การมองเพียงผิวเผินนั้นไม่ถูกต้อง

๗.หนึ่งในปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในการเกิดขึ้นของ ความชั่วร้าย ก็คือ ความอดทนในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ส่วนมากของความรู้ที่อยู่ภายใน จะเปิดออกก็ต่อเมื่อ มนุษย์ประสบกับปัญหาทั้งหลาย

๘.จุดประสงค์หนึ่งของการมีความชั่ว คือ การทดสอบจากพระเจ้า ด้วยวิธีการนี้ ทำให้จิตวิญญาณและร่างกายของมนุษย์พัฒนาการไปอีกระดับหนึ่งได้  และจะได้ผลตอบแทนจากพระองค์

๙.ส่วนมากของการมีความชั่ว จะเป็นคติเตือนใจและเป็นการปลุกให้ตื่นจากการหลับไหล เพราะบางครั้งด้วยกับการมีอยู่อย่างมากมายของปัจจัยยังชีพ ทำให้เขาหลงไหลในโลกแห่งวัตถุ และหลงลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเขา ในสภาพนี้ การทดสอบจากพระเจ้า จะเป็นการเตือนสติให้กับเขา เป็นอย่างดี

๑๐.ส่วนมากของผู้ที่มีความสุขสบาย จะไม่รู้จักในคุณค่าของปัจจัยยังชีพที่พระเจ้าได้ประทานให้กับเขา และในสภาพเช่นนี้ การเกิดความยากลำบาก จะเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้ในคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น 

๓๙๔

  บทที่ ๓

   ความยุติธรรมของพระเจ้า (อัดล์ อิลาฮียฺ)

   บทนำเบื้องต้น

    ประเด็นที่สำคัญในหลักศรัทธาและเทววิทยา คือ เรื่องหลักความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งก็เหมือนกับในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพ (เตาฮีด) ที่บ่งบอกว่า เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า แต่ด้วยกับการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องนี้ จึงขอกล่าวถึงเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ที่อยู่ควบคู่กับความเป็นศาสนทูตของบรรดาศาสดาทั้งหลาย(นะบูวะฮ์) และกับเรื่องของวันแห่งการตัดสิน(มะอาด)

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การให้ความสำคัญในเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้านั้น มีเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งจะขอกล่าวเพียง สองสาเหตุ ดังนี้

๑.การยอมรับและการไม่ยอมรับในความยุติธรรมของพระเจ้า เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งมีผลกระทบในการรู้จักพระเจ้า ดังนั้นหลักการนี้ มีความสัมพันธ์กับระบอบของธรรมชาติและการกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆในโลกนี้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทรรศน์ของมนุษย์ นอกเหนือจากนี้ ความยุติธรรมของพระเจ้า ยังเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญในการพิสูจน์ถึงวันแห่งการตัดสิน(มะอาด)ดังนั้นในเรื่องของความยุติธรรมของพระเจ้า ไม่ใช่ในมุมมองทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียว

๓๙๕

 แต่การมีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า มีผลในด้านการปฏิบัติและการอบรมสั่งสอน การไม่ยอมรับในความอยุติธรรมและการกดขี่ข่มเหง

๒.เรื่องของความยุติธรรมของพระเจ้า  เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงในหมู่นักวิชาการ และนักเทววิทยา โดยบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายได้เน้นย้ำในความยุติธรรมของพระเจ้า จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ความเป็นเอกภาพ(เตาฮีด)และความยุติธรรมของพระเจ้า(อัดล์)เป็นความเชื่อของท่านอะลีและผู้ที่ปฏิบัติตามท่านและในทางตรงกันข้ามในผู้ที่ปฏิบัติตามบะนีอุมัยยะฮ์ มีความเชื่อในการตัชบิฮ์(การเชื่อว่าพระเจ้าเหมือนกับมนุษย์)และการเชื่อในการที่มนุษย์ถูกบังคับจากพระเจ้าในการกระทำการใดการหนึ่ง”

บรรดานักเทววิทยาสำนักคิด อิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ เรียกกันว่า อัดลียะฮ์(ผู้ที่มีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า) และในทางตรงกันข้ามสำนักคิดอัชอะรีย์ ได้ปฏิเสธความยุติธรรมของพระเจ้าในความหมายนี้ และพวกเขากล่าวว่า ความหมายของความยุติธรรม คือ พระเจ้ามีความสามารถที่จะนำผู้ที่ศรัทธาไปสู่ไฟนรก และนำพาผู้ที่ปฏิเสธพระองค์และผู้ที่ตั้งภาคีไปสู่สรวงสวรรค์ได้ นี่คือ ความหมายของการมีความยุติธรรมของพระเจ้า ในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์

๓๙๖

   ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยปัญญากับความยุติธรรม

    ในบทเรื่องของวิทยปัญญาของพระเจ้า ได้พูดถึงในความหมายหนึ่งของวิทยปํญญา คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ชั่วร้าย และจากความหมายนี้ได้ครอบคลุมในความยุติธรรมด้วย ดังนั้นการมีความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี ส่วนความไม่ยุติธรรม เป็นการกระทำที่ไม่ดีเลย ด้วยเหตุนี้เอง คุณลักษณะของความยุติธรรม จึงถูกนับได้ว่าเป็นหนึ่งในความหมายของคุณลักษณะวิทยปัญญา

   ความยุติธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

    หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักของความยุติธรรม และได้กล่าวไปแล้วว่า หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เป็นหลักการที่ทำให้มนุษย์มีอิสระทางความคิดที่จะแยกแยะถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีและบอกถึง การกระทำใด คือ ความดี และการกระทำใด คือ ความชั่ว และยังบอกได้ว่า แก่นแท้ของการกระทำใดเป็นความดี และการกระทำใดเป็นความชั่ว ดังนั้น ความยุติธรรมจึงเป็นแก่นแท้ของความดี และการกดขี่ข่มเหงเป็นแก่นแท้ของความชั่ว และสติปัญญาของมนุษย์ได้บอกว่า ความยุติธรรมเป็นความดีของผู้กระทำที่ได้กระทำในสิ่งที่ดี และการกดขี่ข่มเหงเป็นความชั่วของผู้กระทำสิ่งที่ไม่ดี ส่วนการมีความยุติธรรมของพระเจ้า หมายถึง ด้วยกับวิทยปัญญาของพระองค์ บอกว่า พระองค์ไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น สติปัญญาได้บอกว่า การกระทำทั้งหมดของพระเจ้า คือ การมีความยุติธรรม

๓๙๗

   ความหมายของความยุติธรรม (อัดล์)

 ณ ที่นี้ จะมาอธิบายกันใน ความหมายของคำว่า อัดล์ มีความหมายว่าอะไร?

และจะเห็นได้ว่า คำว่า อัดล์ มีหลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.คำว่า อัดล์ (ความยุติธรรม) หมายถึง การรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน กล่าวคือ บางครั้ง ความยุติธรรม ถูกนำมาใช้ในความหมายของ การรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมในความสัมพันธ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ไม่เกิดความแตกต่างกับบุคคลอื่นและสิ่งอื่นๆ ดังนั้น ความหมายนี้ จะถูกต้องก็คือ ในกรณีที่สิ่งต่างๆจะไม่มีความแตกต่างกันจริงๆ และในกรณีที่มีความแตกต่างกัน การรักษาความเท่าเทียมกัน ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่น คุณครูที่ต้องการรักษาความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน ได้ให้คะแนนสอบของเด็กนักเรียนในชั้นเรียนเท่ากัน ดังนั้น การกระทำนี้ไม่เรียกว่า มีความยุติธรรม เพราะว่า ความเป็นจริง การสอบของเด็กนักเรียนนั้นมีความแตกต่างกัน

๒.การรักษาไว้ซึ่งสิทธิของผู้อื่น บางครั้ง ความยุติธรรม หมายถึง การรักษาสิทธิของผู้อื่นโดยการให้สิทธิกับผู้ที่มีเขาสิทธิ ซึ่งตรงกันข้ามกับการกดขี่ข่มเหง หมายถึง การละเมิดในสิทธิของผู้อื่น

๓.การวางของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในที่ๆของมันหรือการกระทำสิ่งใดก็ตามให้อยู่ในที่เหมาะสมของมัน ดังนั้น บางครั้ง ความหมายของ ความยุติธรรม คือ การวางของสิ่งหนึ่งในที่ๆของมัน 

๓๙๘

ความหมายนี้ ดั่งคำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (ขอสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่กล่าวไว้ว่า

“ความยุติธรรม หมายถึง การวางของทุกๆสิ่งในที่ๆของสิ่งนั้นๆ” (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ ฮิกมะฮ์ ๔๓๗)

ความหมายของ คำกล่าวนี้ คือ โลกแห่งการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติของพระเจ้า  ทุกสรรพสิ่ง มีสถานที่ในการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น  ดังนั้น การมีความยุติธรรม คือ การทำให้สิ่งนั้นๆไปอยู่ในสถานที่ๆเหมาะสมกับสิ่งนั้น  และความหมายนี้ มีความหมายที่กว้างกว่า สองความหมายข้างต้น และความหมายของ การมีความยุติธรรมของพระเจ้า คือ การวางสิ่งหนึ่งในสถานที่เหมาะสมโดยการให้สิทธิกับสิ่งนั้น

   ประเภทของความยุติธรรมของพระเจ้า

   ความยุติธรรมของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน มีดังนี้

๑.อัดล์ ตักวีนีย์(ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์) หมายถึง พระเจ้าทรงประทานปัจจัยยังชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายให้กับสิ่งหนึ่งในที่ๆเหมาะสมและเป็นสิทธิของสิ่งนั้น จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ทรงประทานสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กับมัคลูก(มนุษย์และสิ่งอื่น)ของพระองค์อย่างเหมาะสมในความเพียรพยายามของสิ่งนั้น

๒.อัดล์ ตัชรีอีย์(ความยุติธรรมในการกำหนดกฏเกณฑ์) หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กำหนดหน้าที่ต่างๆและกฏเกณฑ์ทั้งหลายให้กับมนุษย์ เพื่อที่จะนำเขาไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก

๓๙๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มนุษย์จะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ ดังนั้น นี่คือ ความหมายของ ความยุติธรรมในความหมายนี้ ที่ถูกใช้กับพระเจ้า

๓.อัดล์ ญะซาอีย์(ความยุติธรรมในการตอบแทน) หมายถึง พระเจ้าทรงให้รางวัลและลงโทษบ่าวของพระองค์ ที่เหมาะสมกับการกระทำของเขา ในสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น พระองค์ทรงให้รางวัลที่ดีกับผู้ที่กระทำความดี และทรงให้การลงโทษกับผู้ที่กระทำความชั่ว และเช่นเดียวกัน พระองค์ไม่ทรงลงโทษในสิ่งที่มนุษย์มิถูกสั่งให้กระทำ นี่คือ ความหมายของ การมีความยุติธรรมในการตอบแทน  และบางส่วนของรางวัลที่มนุษย์ จะได้รับนั้น จะได้รับในโลกนี้ และบางส่วนในโลกหน้า 

ด้วยเหตุนี้ ความหมายนี้ จึงย้อนกลับไปสู่ความหมายแรก นั่นคือ ความยุติธรรมในการสร้างของพระเจ้า

   เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า

    ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พื้นฐานทางสติปัญญาของการมีความยุติธรรม คือ หลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา และได้อธิบายแล้วถึง ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างทั้งสองหลักการ

สรุปได้ว่า เหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์การมีความยุติธรรมของพระเจ้า คือ ทัศนะของสติปัญญาได้บอกว่า ความยุติธรรม เป็นการกระทำที่ดี และการกดขี่ข่มเหง เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้า ด้วยกับวิทยปัญญาของพระองค์ ไม่ทรงกระทำการงานที่สติปัญญาบอกว่า เป็นการกระทำที่ไม่ดี

๔๐๐