ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75356
ดาวน์โหลด: 4533

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75356 / ดาวน์โหลด: 4533
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ดุอาอ์

บทที่ ๔

ดุอาอ์อีกบทหนึ่งที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้เขียนไปยังชายคนหนึ่งมีใจความว่า

“โอ้พระผู้ซึ่งดำรงอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นทางสร้างทุกสรรพสิ่ง จากนั้นทรงให้การคงอยู่และให้การสูญสลายแก่ทุกสรรพสิ่ง

โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดในชั้นฟ้าจะสูงส่ง และไม่มีสิ่งใดในผืนแผ่นดินจะอยู่ต่ำ และที่อยู่สูงไปกว่านั้นและไม่มีสิ่งใดอยู่ระหว่างนั้น และเบื้องล่างของสิ่งนั้นอันจะเป็นพระเจ้าอื่นนอกเหนือจาก

พระองค์”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๔๘)

๑๐๑

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)

บรรดานักประวัติศาสตร์ต่างพากันกล่าวถึงดุอาอ์ของบรรดานักปราชญ์และผู้มีคุณธรรม

ส่วนมากที่ได้รับการตอบสนอง แต่ส่วนเรานั้นมิได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขามากนักเพราะมันยังเป็นเรื่องที่เล็กน้อยกว่าสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานให้แก่บรรดาผู้ที่สวามิภักดิ์

ต่อพระองค์และแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์

เรื่องนี้ที่ถูกพาดพิงมายังบรรดาอิมาม(อฺ)นั้นได้ถูกนำมาเปิดเผยไว้ในตำราต่างๆ ของนักปราชญ์ทั้งสองฝ่าย ในบทก่อนๆ ของหนังสือเล่มนี้ ท่านได้อ่านพบการกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้โดยบรรดานักประวัติศาสตร์ไปแล้ว ในกรณีของบรรดาอิมามแต่ละท่าน

ณ บัดนี้ เราจะหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะบุ้ลญะอฺฟัรมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)มา

นำเสนอเพียงบางส่วน

เหตุการณ์ที่ ๑

ท่านมุฮัมมัด บินซะนาน ได้เล่าว่า :

ข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านอิมามอะบุ้ลฮะซันอัลฮาดี(อฺ)โดยท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด ได้เกิดเหตุการณ์อันใดกับลูกหลานของฟะร็อจญ์หรือไม่ ?”

๑๐๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“อุมัรได้เสียชีวิตแล้ว”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ(มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ)”

ข้าพเจ้านับถ้อยคำเหล่านี้ได้ ๒๔ ครั้ง ข้าพเจ้ากล่าวต่อไปว่า

“โอ้ประมุขของข้า ข้าพเจ้าไม่ทราบมาก่อนว่าเรื่องนี้จะยังความชื่นชมยินดีให้แก่ท่าน”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“โอ้มุฮัมมัดเอ๋ย ท่านไม่ทราบดอกหรือว่า บุคคลที่ได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺผู้นี้ได้อะไรไว้บ้างกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี บิดาของฉัน”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ไม่ทราบขอรับ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“บิดาของฉันได้สอนเขาในเรื่อง ๆหนึ่ง แต่เขากลับกล่าวว่า –ฉันสงสัยว่าท่านมึนเมา-บิดาของฉันกล่าวว่า-ข้าแต่อัลลอฮฺ

หากพระองค์ทรงรู้ว่าข้าพระองค์คือผู้ถือศีลอดอยู่เป็นประจำเพื่อ

พระองค์แล้วไซร้ขอได้โปรดบันดาลให้เขาคนนี้ได้ลิ้มรสของภัยสงครามเถิด ขอให้เขาตกเป็นเชลยผู้ต่ำต้อย

๑๐๓

-ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กาลเวลาผ่านพ้นไปไม่นานนักเขาได้เข้าทำสงคราม

ทรัพย์สินและสิ่งของต่าง ๆของเขาถูกริบหมด จากนั้นเขาก็ถูกจับตัวเป็นเชลย บัดนี้เขาได้ตายแล้ว

ขออัลลอฮฺทรงงดเมตตาต่อเขาและแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺได้ทรงแสดงหลักฐานในเรื่องนี้และในเรื่องอื่นตลอดไปว่า พระองค์ทรงสนับสนุนบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ให้อยู่เหนือบรรดาศัตรูของพระองค์เสมอ”

(อิษบาตุ้ลฮุดาฮ์ เล่ม๖ หน้า ๑๗๗

, อุศูลุ้ลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๖๙ )

๑๐๔

เหตุการณ์ที่ ๒

ภรรยาของท่านอิมามตะกี(อฺ)คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเป็นผู้วางยาพิษท่านอิมาม(อฺ)

 ครั้นเมื่อท่าน(อฺ)ทราบถึงเรื่องนี้

ท่าน(อฺ)ได้พูดกับนางว่า

“ขอให้อัลลอฮฺทรงบันดาลความพินาศให้แก่เจ้าด้วยโรคร้ายชนิดที่ไม่อาจรักษาได้”

จากนั้นไม่นานนัก นางก็ประสบโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งคนทั้งหลายต่างก็เฝ้ามองดูนางและแนะนำยารักษาชนิดต่างๆ ให้แก่นาง

 แต่ตัวยาเหล่านั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใด จนกระทั่งนางถึงแก่

ความตายด้วยโรคร้ายนั้น

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๕)

๑๐๕

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกให้บรรดาอิมาม(อฺ)ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองของมวลมนุษย์

และเป็นประมุขในการบังคับใช้บทบัญญัติตามคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)และเป็นผู้ทำหน้าที่ดำรงรักษากิจการงานเหล่านั้น แต่ทว่าประชาชนนั่นเองที่ได้ยับยั้งท่านเหล่านั้นมิให้ทำหน้าที่

เผยแพร่สาส์นของพวกเขา พวกเขาได้สลับปรับเปลี่ยนระหว่างพวกเขาเอง เช่นเดียวกับประชาชาติในยุคอดีตที่ได้กระทำกับบรรดานบีของตน

บรรดาอิมาม(อฺ)ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ปกครองจอมปลอม ซึ่งได้กระทำการต่างๆต่อพวกท่านตามที่พวกเขาประสงค์

บางครั้งพวกเขาจับกุมพวกท่านเหล่านั้น และบางครั้งก็อุปโลกน์

แต่งตั้งพวกท่านบางคนให้เป็นรัชทายาท ทั้งที่มิใช่เป็นความปรารถนาส่วนตัวของท่าน(อฺ)

สำหรับท่านอิมามตะกี(อฺ)นั้นก็ได้ประสบกับอีกลักษณะหนึ่งกล่าวคือ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

จัดการนำท่าน(อฺ)ไปยังเมืองแบกแดด และตกลงใจที่จะให้ท่าน(อฺ)แต่งงานกับลูกสาวของตนเองนั่นก็คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ

๑๐๖

 หลังจากที่ได้ประจักษ์ถึงความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)โดยที่วงศาคณาญาติของพวกเขาต่างก็ไม่เห็นด้วย บางคนได้พยายามทำให้เขาเปลี่ยนความคิด แต่มะอ์มูนก็ยังเดินหน้าจัดการเรื่องดังกล่าว

พวกเขาต่างก็พูดกับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนว่า

“เด็กชายคนนี้ยังเล็กเกินไป ไม่มีความรู้และความเข้าใจในศาสนาดังนั้น ขอให้ท่านประวิงเวลาไว้ก่อนเพื่อให้เขาได้มีโอกาสฝึกฝนตนเอง จากนั้นก็ค่อยดำเนินการต่อไป”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวกับพวกเขาว่า

“ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้จักเด็กคนนี้ดีกว่าพวกท่าน

แท้จริงเด็กน้อยคนนี้มาจากอะฮฺลุลบัยตฺซึ่งวิชาความรู้ของพวกเขาได้มาจากการดลบันดาลของอัลลอฮฺ วิชาการทางศาสนาและจริยธรรมขั้นสูงของพวกเขานั้นไม่เคยขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่น้อย ถ้าหากท่านทั้งหลายต้องการทดสอบก็เชิญทดสอบอะบูญะอฺฟัรได้ เพื่อที่เขาจะได้แสดงให้พวกท่านได้ประจักษ์อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนั้นเป็นอย่างไร”

(อัล-เอียะฮฺติญาญ์ เล่ม ๒ หน้าท ๓๔๑ )

พวกตระกูลอับบาซียะฮฺต่างก็ไม่พอใจต่อคำพูดของคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูน ทั้งหมดได้จัดประชุมเพื่อจะทดสอบภูมิความรู้ของท่าน

อิมาม(อฺ)ดังที่เราได้นำเสนอแก่ท่านผู้อ่านไปบ้างแล้ว

๑๐๗

นั่นก็คือ บทสนทนาของยะฮฺยา บินอักษัม ซึ่งได้โต้ตอบกับท่าน

อิมามตะกี(อฺ)

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนเคยมีเจตนาในการจัดประชุมเชิงวิชาการศาสนาก็เพื่อที่จะเบี่ยงเบนสถานภาพของท่านอิมามริฏอ(อฺ)ให้ลดลง แต่ในขณะที่เจตนาที่เขาจัดให้มีการโต้เถียงปัญหาศาสนากับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้นกลับทำไปก็เพื่อให้ประจักษ์ถึงวิชาความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)

แน่นอนที่สุด ยะฮฺยาได้ประสบกับความพ่ายแพ้ในการโต้กับท่าน

อิมาม(อฺ)อย่างอัปยศที่สุด

เขาได้แสดงให้คนทั้งหลายเห็นถึงความอ่อนแอความพ่ายแพ้ของเขาทั้ง ๆที่มีการสนับสนุนส่งเสริม

จากพวกตระกูลอับบาซียะฮฺแล้วก็ตาม ฐานะของเขาจึงตกต่ำลงในที่สุด

มะอ์มูนมีความพอใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ครั้งนั้น

เขาถึงกับกล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺในฐานะที่พระองค์ทรงให้ความเมตตาแก่ข้าพเจ้าเพื่อดำเนินงานให้บรรลุสู่ความสำเร็จ”

๑๐๘

เขาหันกลับไปมองท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าตกลงใจที่จะให้อุมมุ้ลฟัฏลฺบุตรสาวของข้าพเจ้าแต่งงานกับท่าน ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างความไม่พอใจแก่คนกลุ่มนั้นก็ตามที ดังนั้น ท่านจงมาเจรจาสู่ขอเถิด แน่นนอนที่สุดข้าพเจ้า

และบุตรสาวได้ตกลงปลงใจ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวตอบว่า

“มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงบันดาลความมั่นคงโดยความโปรดปรานของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอันเป็นความบริสุทธิ์แด่ฐานะแห่งเอกานุภาพ

ของพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงประทานพรแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ประมุขแห่งบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์และแด่บรรดาผู้ทรงเกียรติแห่งเชื้อสายของเขา แน่นอนที่สุดเกียรติยศส่วนหนึ่งของอัลลอฮฺ

ที่มีต่อมวลมนุษย์ได้แก่การที่พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับสิ่งที่เป็นที่ฮะล้าลอย่างเพียงพอ ไม่แตะต้องสิ่งที่เป็นฮะรอม

(สิ่งต้องห้าม)

ดังที่อัลลอฮฺทรงมีโองการว่า

“และจงแต่งงานกับบุรุษหรือสตรีที่เป็นโสด และคนดีในหมู่ปวงบ่าวที่เป็นบุรุษและสตรีของพวกเจ้า ถึงแม้ว่าเหล่านั้นจะยากจน แต่อัลลอฮฺจะทรงบันดาลให้เขามั่งคั่งจากความเกื้อกูลของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงเผื่อแผ่ทรงรอบรู้ ( อัน - นูร : ๓๒)

๑๐๙

แท้จริงมุฮัมมัด บุตรของอะลี บินมูซา ได้สู่ขออุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของอับดุลลอฮฺ อัลมะอ์มูน และแน่นอนที่สุดเขาได้มอบเงินมะฮัรเท่ากับจำนวนมะฮัรของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่าน

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้เป็นย่าทวด นั่นคือ ๕๐๐ ดิรฮัม ท่านจะแต่งงานให้เขาตามจำนวนเงินมะฮัรดังกล่าวหรือไม่?”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวตอบว่า

“ข้าพเจ้าตกลงยอมรับ”

แล้วมะอ์มูนได้สั่งให้คนรับใช้นำสิ่งของหนึ่งมา คล้ายกับสำเภาที่บรรจุเงิน ซึ่งห่อหุ้มด้วยทองคำ และบรรจุไปด้วยสิ่งมีค่าหลายชนิด มีทั้งน้ำบริสุทธิ์ อันได้แก่น้ำดอกไม้หอมที่สร้างความประทับใจให้แก่บรรดาแขกเหรื่ออย่างถ้วนทั่ว ต่อจากนั้นสำรับของหวานก็ถูกจัดวางลง พวกเขาได้รับการแจกจ่ายไปตามสถานภาพของพวกเขา จากนั้นทั้งหมดก็แยกย้ายกันกลับไป

( นูรุ้ลอับศอร ของชิบลันญี หน้า ๑๔๗ )

๑๑๐

ครั้นเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ประชาชนได้เข้ามาร่วมชุมนุมกัน ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็มาร่วมงานด้วย มีการติดตั้งผ้าม่านทั้งชนิดพิเศษและชนิดทั่วไป เพื่อเป็นการต้อนรับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนกับ

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วได้มีการนำสำรับ ๓ ชนิดที่ทำด้วยเงินออกมา ซึ่งในนั้นมีของหอมชนิดพิเศษตรงกึ่งกลางกล่องมีลายสลักเขียนด้วยตัวอักษาหนึ่งอันเป็นทรัพย์ที่มีค่ายิ่งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

สั่งให้แจกจ่ายสิ่งนั้นแก่ผู้ใกล้ชิด จากนั้นคนทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับไป โดยที่พวกเขาได้รับของมีค่าเป็นของขวัญติดมือไปอีกทั้งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนยังได้บริจาคอีกส่วนหนึ่งแก่คนยากจนทั่วไปด้วย

(ตารีคอิมามมัยนฺ อัลกาซิมัยนฺ หน้า ๔๓)

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภูมิใจในตัวของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)เป็นอย่างมาก เขาได้ใหการยกย่องวิชาความรู้และคุณลักษณะพิเศษอันดีงามของท่านอิมาม(อฺ)

เชคมุฟีด(ร.ฮ)กล่าวว่า : คอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้นมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งต่อท่านอิมาม(อฺ)

เมื่อเขาได้เห็นความดีเด่นของท่านทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อยอยู่ แต่มีความสูงส่งทางด้านวิชาการ วิทยปัญญาและจริยธรรมอีกทั้งมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางสติปัญญาอย่างชนิดที่ไม่รู้ผู้รู้คนใดในสมัย

นั้นเสมอเหมือนแม้แต่คนเดียว

( อัลอิรชาด หน้า ๓๔๒ )

๑๑๑

เชคฏ็อบร่อซี(ร.ฮ)กล่าวว่า : ท่านอิมามญะวาด(อฺ)เป็นผู้มีความสมบูรณ์พร้อมทางสติปัญญา เกียรติยศอันดีงาม วิชาความรู้

วิทยปัญญาและจริยธรรม อีกทั้งสถานภาพอันสูงส่งอย่างชนิดที่ไม่มี

ผู้ใดเสมอเหมือนในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ไม่ว่าจากตระกูลซัยยิด หรือตระกูลอื่นๆ

 ด้วยเหตุนี้คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภาคภูมิใจกับท่านเป็นยิ่งนักเมื่อได้พบเห็นสถานภาพอันสูงส่งของท่าน และความยิ่งใหญ่ในเกียรติคุณอย่างครบถ้วนทุกๆ ด้าน

(อะอ์ลามุ้ลวะรอ หน้า ๒๐๒)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้พำนักอยู่ในกรุงแบกแดด ในฐานะผู้มีเกียรติยิ่ง แต่ทว่าสถานภาพที่เป็นอยู่ในเวลานั้น มิได้เป็นความปรารถนาของท่านเลย ท่านรู้สึกเหมือนกับอยู่อย่างโดดเดี่ยว

เนื่องจากห่างไกลเมืองมะดีนะฮฺ อันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นบรรพบุรุษ

ท่านเคยกล่าวกับท่านฮุเซน อัล-มะการี ว่า

“โอ้ฮุเซนเอ๋ย ขนมปังข้าวสาลี และเกลือเค็มในดินแดนฮะร็อมของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น เป็นที่ชื่นชอบสำหรับข้าพเจ้ามากกว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็นอยู่ที่นี่”

(บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๐)

๑๑๒

อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ปกครองทำตัวเหินห่างจากคำสอนของอิสลามมากมายนั่นเอง ที่ท่านอิมามญะวาด(อ)มีความรู้สึกโดดเดี่ยวกับประชาชนชาวเมืองแบกแดด กล่าวคือคอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้น

ทั้ง ๆที่มีตำแหน่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน แต่เขาก็ยังดื่มสุรา แน่นอนที่สุดเขาให้เกียรติต่อท่านอิมามญะวาด(อฺ)เมื่อท่านอิมามเห็นเขาเป็นเช่นนั้น โดยท่านอิมาม(อฺ)ได้เคยกล่าวกับเขาว่า

“ข้าพเจ้ามีคำเตือนสำหรับท่านอยู่ข้อหนึ่ง ขอได้โปรดรับฟัง”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โปรดบอกมาเถิด”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอร้องท่านว่า โปรดเลิกดื่มสุราเถิด”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“แน่นอนที่สุด ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตักเตือนของท่าน”

( นูรุ้ลอับศอร ของอัลฮาอิรีย หน้า ๒๕๘)

๑๑๓

นับเป็นโอกาสแรกที่ทำให้ท่านอิมามญะวาด(อ)ได้พบกับ

กองคาราวานที่นำท่านคืนกลับสู่นครมะดีนะฮฺอันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นบรรพบุรุษของท่าน

ในเรื่องนี้ ถ้าหากผู้อ่านศึกษาอย่างถ่องแท้จะมองเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ในขณะที่ท่านเป็นถึงลูกเขยของคอลีฟะฮฺและเป็นลูกชายของรัชทายาท

โลกนี้ทั้งโลกถ้าหากท่านต้องการจะได้มันก็จะต้องตกอยู่ในอุ้งมือของท่าน แต่ตลอดชั่วชีวิตในวัยหนุ่มของท่านไม่เคยแสดง

ความต้องการเช่นนั้นแม้แต่น้อย ท่านหันหลังให้จากความสุขทางโลก และสลัดทิ้งการที่จะเป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์

“แน่นอนที่สุดในประวัติของบุคคลเหล่านั้นเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้มีปัญญาอันล้ำลึก มันมิได้เป็นเรื่องเท็จที่พูดกันมา แต่เป็นความจริงที่ยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับเขา เป็นการให้รายละเอียดกับทุกสิ่งและเป็นทางนำ และเป็นความเมตตาสำหรับหมู่ชนผู้ศรัทธา”

 (ยูซุฟ: ๑๑๑)

๑๑๔

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙

บรรดานักปราชญ์และเจ้าของตำราต่าง ๆ ต่างให้ความสำคัญกับบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยต์(อฺ) ดังนั้นพวกเขาจึงได้เรียบเรียงหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาอิมามเป็นจำนวนมาก

และได้เขียนถึงท่านเหล่านั้นในรายละเอียดอย่างยืดยาวเขาเหล่านั้นได้ให้การคารวะต่อบรรดาอิมาม

โดยตัวอักษรที่เรียงร้อยลงไป ปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์ของอิสลามได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของบรรดาอิมามและคำสอนอีกทั้งวิถีทางการดำเนินชีวิตของพวกท่าน ห้องสมุดของสถาบันต่างๆ ในแวดวงของศาสนาอิสลามเต็มไปด้วยข้อเขียนต่าง ๆ ที่บรรจุเรื่องราวของท่านเหล่านั้น(อฺ)

นอกจากนี้แล้วยังมีตำราต่างๆ อีกเป็นจำนวนหลายพันเล่มที่แปลเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องของท่านมากล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มิได้เป็นเรื่องที่มากมายอะไรสำหรับท่านทั้งหลาย(อฺ)เป็นทายาทของ

ศาสนา เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ทิ้งไว้ในท่ามกลางมวลหมู่ประชาชาติอิสลาม

๑๑๕

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงคำสดุดีบางประการที่เหล่าบรรดานักปราชญ์และบุคคลสำคัญได้กล่าวถึงท่านอิมามอบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อ)ดังต่อไปนี้

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร

ท่านมุฮัมมัด บินญะซัน บินอัมมารฺ ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยได้นั่งร่วมกับท่านอะลี บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ครั้งหนึ่งที่เมืองมะดีนะฮฺ ซึ่งข้าพเจ้าได้พำนักอยู่ร่วมกับเขานานถึงสองปี ข้าพเจ้าได้บันทึกเรื่องราวที่เขาได้รับฟังมาจากหลานของเขา

(อะบุลฮะซัน(อ)) ในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินอะลี(อฺ) ได้เขามาหาเขาในมัสญิด นั้นคือมัสญิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ครั้นแล้วท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้ปราดเข้าไปหาท่าน(อฺ)ทั้ง ๆ ที่มิได้ใส่รองเท้าและมิได้สวมเสื้อคลุม

เขาได้จูบมือของท่าน(อฺ)และแสดงความให้เกียรติอย่างสูง ท่านอะบูญะอฺฟัรได้กล่าวกับเขาว่า

“โอ้ท่านปู่ โปรดนั่นลงเถิด ขอให้อัลลอฮฺทรงเมตตาต่อท่าน”

๑๑๖

ท่านอะลี บินญะอฺฟัรกล่าวว่า

“โอ้ท่านประมุขเอ๋ย ข้าพเจ้าจะนั่งได้อย่างไร ในขณะที่ท่านยังยืนอยู่”

ครั้นเมื่อท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้กลับไปยังที่นั่งของท่านแล้วบรรดามิตรสหายของท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้พากันตำหนิและต่อว่าด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ว่า

“ท่านเป็นถึงลุงแห่งบิดาของเขาทำไมท่านถึงกับต้องแสดงอาการกับเขาขนาดนี้”

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร กล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียเถิด ในเมื่ออัลลอฮฺมิได้มอบหมายเกียรติยศให้แก่เคราเหล่านี้ (ว่าพรางท่านเอามือไปจับที่เคราของท่าน)แต่พระองค์ทรงประทานเกียรติให้แก่เด็กคนนี้และมอบ

เกียรติให้อยู่ในที่ของมัน จะให้ข้าพเจ้าปฏิเสธเกียรติของพระองค์ได้อย่างไร ? เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านกล่าวถึง ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้ายังถือว่าตัวเองเป็นคนรับใช้ของเขาอีกด้วย”

( มะดีนะตุ้ลมะอาญิซ หน้า ๔๕๐)

๑๑๗

คำสดุดีจาก

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับลูกหลานบะนีอับบาซ เมื่อเขาเหล่านั้น ขอร้องให้เขาเลิกล้มการจัดพิธีแต่งงานของอิมามญะวาด(อฺ) ว่า

“แน่นอน ข้าพเจ้าได้คัดเลือกเขาก็เพราะความดีเด่นเป็นพิเศษเหนือนักปราชญ์ทั้งปวงในด้านความรู้และเกียรติยศ ทั้งที่เขายังอายุน้อยและข้าพเจ้าหวังว่าเขาคงจะแสดงให้ประชาชนได้เห็น

ในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้จากตัวของเขา แล้วคนเหล่านั้นก็จะได้เห็นคล้อยตามที่ข้าพเจ้าเห็น”

( อะอฺยานุชชีอะฮฺ ก็อฟ ๓/๒๓๑)

เขายังได้กล่าวหลังจากที่ได้ถามท่านอิมามญะวาด(อฺ)แล้วอีกด้วยว่า

“ท่านเป็นบุตรของอัล-ริฏออย่างแท้จริง ท่านเป็นคนในตระกูลของศาสดาอัล-มุศฏ่อฟาอย่างแท้จริง”

()อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๕๓

๑๑๘

คำสดุดีจาก

อะบุ้ลอีนาอ์

 

อะบุลอีนาอ์ ได้กล่าวกับอิมามญะวาด(อฺ) ในตอนกล่าวคำเสียใจต่อการจากไปของบิดาของท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านมีความประเสริฐยิ่งกว่าที่เรากล่าวถึง พวกเราได้ถ่ายทอดคำตักเตือนของท่าน ในเรื่องของความรู้แห่งอัลลอฮฺนั้นท่านมีมากมายแล้วและในเรื่องรางวัลจากอัลลอฮฺนั้นท่านก็ยังอย่างท่วมทัน”

(อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๓ )

คำสดุดีจาก

บาทหลวงคริสต์

บาทหลวงคริสเตียนได้กล่าวหลังจากได้ยินกิตติศัพท์แห่งเกียรติยศอันสูงส่งของอิมามญะ

วาด(อฺ)ว่า

“คนผู้นี้น่าจะเป็นศาสดาหรือไม่ก็จะต้องเป็นลูกหลานของท่านศาสดา”

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๔ )

๑๑๙

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี (ซิบฏฺ อิบนิลเญาซี) ได้กล่าวว่า :

มุฮัมมัดญะวาด คือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินละอี บินฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ สมญานามของ

ท่านคือ อะบู อับดุลลอฮฺมีการเรียกขานกันอีกว่า อะบูญะอฺฟัร ท่านเกิดเมื่อปี ๑๙๕ เสียชีวิตเมื่อปี๒๒๐ มีอายุได้ ๒๕ ปี เป็นผู้มีแบบแผนทางด้านวิชาความรู้ การสำรวมตนและความมักน้อยจาก

บิดา

( ตัซกิร่อตุล-ค่อวาศ หน้า ๒๐๒ )

คำสดุดีจาก

ท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ)

ท่านซอลาฮุดดีน อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ได้กล่าวว่า “มุฮัมมัด บินอะลี นั้นคือท่านญะวาด บุตรของอัร-ริฏอ บุตรของอัล-กาซิม บุตรของ

อัศ-ศอดิก(ขอให้อัลลอฮฺประทานความปิติชื่นชมแก่เขา

ทั้งหลาย) ท่านมีฉายานามว่าอัล-ญะวาด, อัลกอเนียะอฺ และ

อัล-มุรตะฏอ ท่านเป็นคนเก่งที่สุดคนหนึ่งแห่งตระกูลของท่านนบี

๑๒๐