ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75610
ดาวน์โหลด: 4579

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75610 / ดาวน์โหลด: 4579
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ท่านอิมาม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ถ้าเช่นนั้นเป็นอันตกลง ลูกเอ๋ยโปรดนำเงินมามอบแก่เขาผู้นี้ ๒๐๐ ดีนาร เถิด” (๑๑)

(๑๑)อัด-ดัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๔)

คำสั่งเสียของอิมามอะบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อฺ)

เป้าหมายในคำสั่งเสียของบรรดาอิมาม(อฺ) นั้นมิได้มีเพียงแค่การให้อ่าน หรือให้ท่องจำอย่างเดียว หากแต่จำเป็นจะต้องอ่านเพื่อปฏิบัติตามและจดจำไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่การงาน เพราะถ้าหากไม่เป็นอย่างนี้แล้ว เรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดก็ไม่มีผลประการใด ความพยายามที่มีอยู่ก็จะเป็นสิ่งสูญหาย หาสาระอันใดมิได้ ข้าพเจ้าไม่พบว่าตัวเองนั้นต้องการการพิสูจน์ใด ๆ นี้ เพราะการปฏิบัติตาม

คำสั่งเสียของท่านอิมาม(อฺ)นั้น ยังประโยชน์ให้เราได้พบกับความผาสุกในโลกนี้และความสุขชั่วนิจนิรันดร์ในโลกหน้า เราทั้งหลายเชื่ออย่างนี้ตรงกัน และเป็นผู้ยอมรับในสิ่งดังกล่าว แต่เรายังมีอยู่สิ่ง

หนึ่ง นั่นคือจะต้องทำความเข้าใจแก่ตัวของเราเองเกี่ยวกับการนำเอาคำสั่งเสียเหล่านี้มายึดถือและปฏิบัติให้ตรงเป้าหมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็หวังความสัมฤทธิ์ผลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต่อไปนี้

๒๑

 เราจะกล่าวถึงคำสั่งเสียบางอย่างของท่านอิมามมุฮัมมัด อัล-ญะวาด(อฺ)

-๑-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอิมาม(อฺ) ว่า

“โปรดสั่งเสียข้าพเจ้าด้วยเถิด”

ท่านอิมาม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ท่านจะยอมรับไปปฏิบัติกระนั้นหรือ ?”

ชายคนนั้นกล่าวว่า

“ใช่แล้ว”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงยึดหลักความอดทน จงยอมรับความยากจน จงผลักไสความใคร่ จงต่อต้านกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ จงรู้เถิดว่าทานมิอาจรอดเร้นจากสายตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็จงคิดดูเถิดว่าท่านควรจะทำตัวอย่างไร”(๑๒)

(๑๒)อะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๒๔๓)

๒๒

-๒-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ได้มีคำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งว่า

“ขอให้ท่านระวังการเป็นมิตรกับคนชั่ว เพราะเขาเป็นเสมือนดาบที่คมกริบ ยามมองดูนั้นจะเห็นว่ามันสวยงาม แต่ผลของมันช่างเลวร้าย และน่าเกลียด(ในยามที่มันสัมผัสกับเนื้อของเรา จะฝาก

ลอยแผลฉกรรจ์ไว้)” (๑๓)

(๑๓) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

-๓-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

ท่านอิมาม(อฺ)ได้มีคำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งว่า

“ท่านจงอย่าเป็นศัตรูกับผู้ใด จนกว่าท่านจะรู้ถึงฐานะที่เขาคนนั้นมีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะ

ถ้าหากเขาเป็นคนดี แน่นอนพระองค์จะไม่ทรงยอมรับท่านแน่ แต่ถ้าหากเขาเป็นคนชั่ว ก็ให้ถือเสียว่าที่ท่านรู้อย่างนั้นก็เพียงพอแล้ว จึงอย่าได้เป็นศัตรูกับเขา”(๑๔)

(๑๔) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

๒๓

-๔-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“อย่าใจเร็วด่วนได้กับกิจการงานใด ๆ ก่อนที่กิจการงานนั้นๆ จะล่วงเข้าสู่ภาวะที่เหมาะสม

มิฉะนั้นแล้วท่านจะเสียใจ จงอย่าให้ความฝันอันยาวไกลกินเวลายาวนานเกิดขึ้นกับท่าน เพราะว่ามันจะทำให้หัวใจของพวกท่านแข็งกระด้าง จงเมตตาคนอ่อนแอ จงขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ

(ซ.บ.) ด้วยการให้ความเมตตากับคนเหล่านั้น” (๑๕)

(๑๕) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๖๑

-๕-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“จงอย่าทำตัวเป็นผู้ภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในยามที่อยู่อย่างเปิดเผยแต่เป็นศัตรูของพระองค์

ในยามที่อยู่เร้นลับ”(๑๖)

(๑๖) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔)

๒๔

-๖-คำสั่งเสียของอิมามที่ ๙

คำสั่งเสียอีกตอนหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ)

“จงอดทนกับสิ่งที่ท่านรังเกียจ ในกรณีที่มันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับท่านโดยชอบธรรมและจงอดทนกับสิ่งที่ท่านรักชอบ ในกรณีที่ถ้าหากสิ่งนั้นจะนำพาไปสู่ความเสียหาย”(๑๗)

 (๑๗) อัล-อันวารุ้ลบะฮียะฮฺ หน้า ๑๓๓

สาส์นข้อเตือนสติของอิมามมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ)

ในบทนี้มีแบบฉบับใหม่ ๆ จากวจนะของท่านอิมามญะวาด(อฺ)ให้เราได้ศึกษา ซึ่งท่านได้ฝากไว้ในสาส์นฉบับต่างๆ และข้อเขียนที่ท่านส่งไปยังชีอะฮฺของท่าน กล่าวคือท่านท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้เขียนสาส์นอย่างมากมายเพื่อกลุ่มชนมุสลิมต่างๆ ในโลกอิสลาม ขณะเดียวกันท่านก็ได้เขียนไปยังบุคคลอื่นๆ ในต่างวาระเหตุการณ์ สาส์นเหล่านั้นนับว่าเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ)ที่ใช้เพื่อการเผยแพร่เรียกร้องสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการประพฤติปฏิบัติไปตามหลักการและวิถีทางของพระองค์

๒๕

ต่อไปนี้เราจะบันทึกถึงเรื่องราวในสาส์นบางส่วน ดังนี้

สาส์นฉบับที่ ๑

มีรายงานว่า ได้มีโจรปล้นสิ่งของมีค่าของท่าน(อฺ)ในขณะที่กำลังถูกนำไปมอบให้แก่ท่าน(อฺ) ในระหว่างทาง ผู้ทำหน้าที่นำของได้เขียนจดหมายไปแจ้งเรื่องราวให้ท่าน (อฺ) ทราบ

ท่านอิมาม(อฺ)ได้ตอบว่า ตัวของเราและทรัพย์สินของเรานั้น นับเป็นสิ่งกำนัลอย่างหนึ่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) คุณค่าของมันล้วนเป็นสิ่งของที่ต้องพลัดพรากจากไปสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ย่อมได้รับการใช้ประโยชน์ไปท่ามกลางความยินดี ส่วนที่ถูกแบ่งเอาไปได้ ก็จะถูกนำไปเป็นรางวัลและค่าตอบแทน ดังนั้นผู้ใดที่ไม่สามารถอดกลั้นความรู้สึกเสียดายสิ่งของนั้นๆ ก็ถือว่าเขาได้ลบล้างรางวัลของตนเองไปแล้วซึ่งเราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ)ให้พ้นจากการเป็นเช่นนั้น(๑๘)

(๑๘) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๖

๒๖

สาส์นฉบับที่ ๒

สาส์นอีกฉบับหนึ่งของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ที่เขียนไปยังมิตรสหายของท่าน(อฺ)บางคนมีใจความว่า

สำหรับโลกนี้ ฉันเป็นผู้รู้จักเรื่องราวต่างๆ ของมันเป็นอย่างดีแต่ว่าผู้ใดที่ให้อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาเป็นที่ปรารถนาของเจ้าของมันและลดตัวต่ำต้อยอันนั้น เขาก็จะอยู่กับสิ่งนั้นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะชักนำไปอย่างไร แต่ในวันปรโลกนั้น คือสถานที่พำนักอันแน่นอน(๑๙)

(๑๙) เล่มเดิม หน้า ๓๓๖

สาส์นฉบับที่ ๓

สาส์นฉบับหนึ่งของอิมามญะวาด(อฺ) ที่เขียนไปยังอิบนุมะฮฺซิยาร เพื่อตอบข้อเขียนที่เขาส่งมายังท่าน(อฺ)ดังนี้

แน่นอนยิ่ง ฉันมีความเข้าใจในสิ่งที่ท่านได้กล่าวถึง ทำให้ฉันมีความปลื้มปิติมากเป็นทวีคูณ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความยินดีปรีดาให้แก่ท่าน ฉันหวังการปกป้องอันพอเพียงที่จะให้ฉันพ้นผ่านแผนการร้ายทุกประการ อินซาอัลลอฮฺ และขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ)ให้ทรงปกปักรักษาท่านทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของท่านในทุกๆ สภาพการณ์ของท่านโปรดรับทราบไว้ด้วยว่า

๒๗

 ฉันมุ่งหวังที่จะขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ปกป้องท่าน และขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงบันดาลให้ทานได้รับความดีงามในเกียรติยศต่างๆ ที่ท่านได้รับเมื่อวันอาทิตย์ ดังนั้น ขอได้โปรดประวิงสิ่งเหล่านั้นไว้เพื่อวันจันทร์ด้วยเถิด ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นเพื่อนของท่านในยามเดินทางและขอให้พระองค์ทรงดูแลครอบครัวของท่านในยามที่ท่านจากไปและขอให้พระองค์ทรงรักษาพันธสัญญาของท่านไว้ด้วย อีกทั้งขอให้พระองค์ประทานความสันติให้แก่ท่าน โดยอานุภาพของพระองค์

ดังนั้นโปรดมุ่งตรงไปยังบ้านเรือนของท่าน ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันดาลให้ท่านได้รับความดี ณ ที่พำนักทั้งในโลกนี้และปรโลก

ฉันมีความเข้าใจในสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเกี่ยวกับกิจการของชาวเมืองกุม ขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงประทานความบริสุทธิ์และแคล้วคลาดให้แก่พวกเขาเหล่านั้น ท่านทำให้ฉันมีความสุขด้วยกับสิ่งที่

ท่านได้กล่าวและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานความชื่นชมให้แก่ท่านโดยได้รับสวนสวรรค์และทรงให้ความโปรดปรานแก่ท่านด้วยความพึงพอใจของฉันที่มีต่อท่าน ฉันขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งการอภัยและความเมตตา ฉันขอกล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้นทรงเป็นที่

๒๘

พอเพียงสำหรับเราและเป็นที่ไว้วางใจอันประเสริฐยิ่ง

สำหรับสิ่งที่ท่านได้ขอให้เหตุการณ์ที่อยู่เบื้องหน้าของท่านได้รับความเปลี่ยนแปลวไปนั้น

ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดทางสะดวกให้แก่ท่านและแก่บุคคลที่ท่านขอในหมู่ครอบครัวของท่าน

ให้ได้รับความสะดวกอย่างกว้างขวาง โอ้ ท่านอฺะลีเอ๋ย สิ่งที่ยังมีอยู่ ณ ตัวของฉันสำหรับท่านนั้นมีมากมายกว่าความสะดวกสบายอันนั้น ฉันขอจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พระองค์ทรงเป็นเพื่อนของท่านที่

ให้ความสะดวกสบาย และได้ทรงมอบสิ่งนั้นให้แก่ท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้เสมอ

ส่วนสิ่งที่ท่านขอดุอาอ์นั้น อันที่จริงแล้วท่านไม่รู้หรอกว่า ณ ที่ฉันนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะบันดาลอย่างไรแก่ท่าน บางครั้งฉันเอ๋ยถึงท่านด้วยชื่อและสายตระกูลท่าน พร้อมกันฉัน ฉันยังให้ความสำคัญกับท่าน และมีความรักต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง และฉันมีความตระหนักในความเป็นไปของท่านดังนั้นขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานคุณงามความดีอย่างถาวรให้แก่ ท่านเกี่ยวกับการครองชีพและการนำท่านให้ไปถึงยังครอบครัว และขอพระองค์ได้ทรงจัดที่พำนักอันเป็นวิมานชั้นสูงสุดให้แก่ท่านด้วยความเมตตาของพระองค์

๒๙

 แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินการขอดุอาอ์ ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ทรงปกป้องคุ้มครองและเป็นมิตรกับท่าน และปกปักษ์รักษาท่านไว้ด้วยความเมตตาของพระองค์

สาส์นฉบับที่ ๔

สาส์นที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ) ส่งไปยังท่านซะอฺดุ้ลคอยรฺ(ร.ฏ.)มีใจความดังนี้

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ ต่อไปนี้ฉันจะขอสั่งเสียท่านไว้เกี่ยวกับการสำรวมตน(ตักวา) ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะแท้จริงในเรื่องนี้จะนำมาซึ่งความสันติ

สุข และเป็นทรัพย์สินอันถาวรแท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดหลักการสำรวมตนไว้แก่ปวงบ่าวไปตามสภาพทางด้านสติปัญญาของเขาและทรงยับยั้งความมืดบอดและความโง่เขลาให้พ้นจากปวงบ่าวโดยการสำรวมตน กับการสำรวมตนนี่แหละที่ศาสดานูฮฺได้รับความปลอดภัยพร้อมกับบรรดาผู้ที่อยู่กับเขาในเรือ และ

ท่านนบีศอลิฮฺพร้อมกับผู้ที่อยู่กับเขาก็ได้ปลอดภัยจากการลงโทษ กับการสำรวมตนนี่แหละที่บรรดาผู้มีความอดทนได้รับชัยชนะ และอุปสรรคต่าง ๆ อันจะยังความเสียหายเหล่านั้นได้รอดพ้นไป

๓๐

 การสำรวมตน(ตักวา)เป็นพี่น้องของพวกเขา ตามแนวทางแห่งความปลอดภัยดังกล่าวพวกเขาได้สัมผัสกับความประเสริฐนั้น

พวกเขาได้ละทิ้งการละเมิดของพวกเขา

จากการไปถึงยังความปรารถนาต่างๆ สิ่งใดก็ตามที่เป็นอุทาหรณ์ในคัมภีร์มายังพวกเขา เขาเหล่านั้น

ได้สรรเสริญสดุดีต่อพระผู้อภิบาลในฐานะที่พระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่พวกเขาและในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งมวลการสรรเสริญ เขาเหล่านั้นตำหนิตัวเอง อันเนื่องมาจากสิ่ง

ทั้งหลายที่พวกเขาผิดพลาด ในฐานะที่พวกเขาเป็นผู้มีข้อตำหนิ

จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงจำเริญผู้ทรงสูงส่งนั้นทรงเกื้อการุณย์ ทรงมีความรอบรู้เสมอ อันที่จริงแล้วความกริ้วของพระองค์นั้นย่อมประสบแก่ผู้ซึ่งไม่ยอมรับความโปรดปราน

ของพระองค์ อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงยับยั้งผู้ที่ไม่ยอมรับการให้ของพระองค์ที่มาจากพระองค์อันที่จริงแล้วพระองค์ทรงบันดาลให้ผู้ที่ไม่ยอมรับทางนำของพระองค์ได้หลงทาง ต่อจากนั้นพระองค์

ทรงเรียกร้องปวงบ่าวของพระองค์ไว้ในคัมภีร์ด้วยสุรเสียงที่ก้องกังวานอย่างมิขาดสาย และพระองค์ไม่เคยยับยั้งคำวิงวอนของบรรดาปวงบ่าว ดังนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงสาปแช่งบรรดาผู้ที่

ปิดบังซ่อนเร้นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานมา และพระองค์ทรงบันทึกเรื่องความเมตตาได้สมบูรณ์อย่างแท้จริงและเที่ยงธรรมยิ่ง

๓๑

 กล่าวคือ พระองค์มิได้เริ่มต้นใช้ความกริ้วแก่บรรดาปวงบ่าว

ก่อนที่พวกเขาเหล่านั้นจะโกรธเคืองพระองค์ สิ่งเหล่านี้อยู่ในส่วนของวิชาความรู้ขั้นยะกีน และวิชาความรู้แห่งการมีตักวา ทุกๆ ประชาชาตินั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงถอดถอนความรู้แห่งคัมภีร์ออกไปจากเหล่านั้นในยามที่พวกเขาปฏิเสธ และพระองค์ทรงบันดาลให้ศัตรูของพวกเขาเป็นผู้ปกครอง

พวกเขาในยามที่พวกเขาให้การยอมรับแก่ศัตรู ส่วนหนึ่งที่เป็นการละเมิดของพวกเขาต่อคัมภีร์ก็คือ

การที่พวกเขายังคงรักษาไว้ซึ่งตัวอักษรของคัมภีร์ แต่กลับเบี่ยงเบนกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคัมภีร์

กล่าวคือ เขาเหล่านั้นเรียนรู้คัมภีร์แต่มิได้นำพาคนโง่เขลาได้ทำให้พวกเขารู้สึกชื่นชมต่อการท่องจำการรายงานฮะดีษของพวกเขา

 และบรรดานักปราชญ์ต่างทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจต่อการละทิ้งความรับผิดชอบของพวกเขา ส่วนหนึ่งจากการละทิ้งคัมภีร์ของพวกเขาก็คือ พวกที่ไม่มีวิชาความรู้ได้ทำหน้าที่ปกครองพวกเขา ผู้ปกครองที่ว่านั้นได้นำพาพวกเขาสู่ตัณหา ได้นำพาไปสู่ความหลงผิด และได้ส่งเสริมพวกเขาสู่ความตกต่ำ และเขาเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของศาสนา ต่อจากนั้น

๓๒

พวกเขาได้สืบมรดกอยู่ในความโง่เขลาและด้อยปัญญา ประชาชาติจึงมีการแสดงออกแต่ในส่วนที่เป็นกิจการของมนุษย์ ห่างไกลจากกิจการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะย้อนคืนกลับสู่

พระองค์ ความเลวร้ายจะต้องประสบแก่บรรดาผู้อธรรมที่เปลี่ยนแปลงเอาหลักการปกครองของมนุษย์แทนหลักการปกครองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แต่แล้วในประชาชาติเหล่านั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยมีบรรดาผู้ซึ่งขยันหมั่นเพียรในด้านการทำอิบาดะฮฺตามแนวทางแห่งการหลงผิดนั้น มีลักษณะที่น่าทึ่ง สร้างความปั่นป่วน กล่าวคือการเคารพภักดีที่พวกเขามีอยู่นั้นเป็นการสร้างความยุ่งยากสำหรับประชาชาติและผู้ที่ปฏิบัติตามพวกเขา

แน่นอนที่สุดได้มีคำตักเตือนแก่บรรดาปวงบ่าวไว้ในบรรดาศาสดาทั้งหลายแล้ว

 แท้จริงมีนบีท่านหนึ่งซึ่งมีความพร้อมในด้านการเชื่อฟังแต่แล้วท่านได้ละเมิด(การละเมิดในที่นี้มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตามความเข้าใจโดยทั่วไป อันจะทำให้บกพร่องต่อคุณสมบัติการเป็นนบี โปรดพิจารณาเรื่องนี้จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อของชีอะฮฺ)ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๓๓

ในเรื่องๆ หนึ่งเท่านั้น ท่านถึงกับต้องถูกนำออกจากสวนสวรรค์ และถูกผลักไสให้ไปอยู่ในท้องของปลาตัวใหญ่ ท่านมิได้รับความปลอดภัยเลยจนกว่าได้ยอมรับผิด และขออภัยโทษ ดังนั้นจงรับรู้ถึง

ความผิดของบรรดาบาทหลวงและพวกปุโรหิตทั้งหลายผู้ที่นำพาต่อการปิดบังคัมภีร์และบิดเบือนมัน

ดังนั้น การค้าของพวกเขาเหล่านั้นมิได้ให้ผลกำไรแต่อย่างใด และพวกเขามิได้เป็นผู้อยู่ในทางนำอีกด้วย

แล้ท่านก็จะต้องรู้จักความคล้ายคลึงของพวกเขาในประชาชาตินี้นั่นคือเขาทั้งหลายผู้ซึ่งยังดำรงรักษาไว้ซึ่งอักษรต่างๆ ในคัมภีร์แต่กระทำการบิดเบือนกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคัมภีร์ กล่าวคือเขา

เหล่านั้นจะอยู่ร่วมกับบรรดาเจ้านายและคนมีทรัพย์สินเงินทอง เมื่อผู้นำแห่งความอยากใคร่ได้แยกตัวออกมาพวกเขาก็จะอยู่กับคนส่วนมากที่เป็นชาวโลก และนี้ก็คือระดับของพวกเขาในด้าน

ความรู้ พวกเขายังคงอยู่ในความโลภโมโทสัน พวกเขายังคงฟังเสียงของอิบลีซด้วยสิ่งที่เป็นโมฆะทั้งหลาย บรรดาปวงปราชญ์ล้วนต้องอดทนกับความกลั่นแกล้งที่มีมาจากพวกเขาเขาทั้งหลายตำหนิเตียนบรรดาปวงปราชญ์ด้วยการสร้างภาระหนักมากมาย และบรรดาปวงปราชญ์ที่อยู่ในหมู่พวกเขาเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ทรยศ ซ่อนเร้นหลักคำสอน

๓๔

ถ้าหากพวกเขาเห็นคนทำผิดกำลังหลงทาง พวกเขาจะไม่ชี้แนะคนๆ นั้นเลย หรือเห็นคนที่กำลังจะกลายเป็นซากศพ พวกเขาจะไม่ทำให้เขากลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ สิ่งที่พวกเขากระทำไว้นั้น นับว่เลวร้ายยิ่งเพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงกำหนดพันธสัญญากับพวกเขาไว้แล้วในคัมภีร์ว่าพวกเขาจะต้องสั่งสอนในเรื่องคุณธรรมไปตามที่พวกเขาเหล่านั้นได้ถูกกำชับมา และพวกเขาจะต้องทำการยับยั้งจากสิ่งต่างๆ ที่เขาเหล่านั้นถูกห้ามปรามไว้

พวกเขาจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลในเรื่องความดีงามและการสำรวมตน และอย่าได้สนับสนุนกันในเรื่องการทำความบาปและการสร้างศัตรู

ดังนั้นบรรดานักปราชญ์ในหมู่คนที่โง่เขลา มีความพยายามและมีความเสียสละ ถ้าหากท่านสั่งสอน พวกเขาก็จะกล่าวว่า ท่านละเมิด และถ้าหากพวกเขารู้ซึ้งถึงสัจธรรมข้อที่พวกเขาละทิ้ง

พวกเขาก็จะกล่าวว่า ท่านผิดพลาด และถ้าหากพวกเขาหลักตัวออกไปพวกเขาจะกล่าวว่า ท่านได้แตกแยกไปแล้ว และถ้าหากพวกเขากล่าวว่า จงนำหลักฐานของพวกท่านมายืนยันตามที่พวกท่าน

กล่าวไว้เถิด พวกเขาจะกล่าวว่า ท่านหลอกลวงและถ้าหากพวกท่านสั่งให้คนเหล่านั้นเชื่อฟัง คนเหล่านั้นก็จะกล่าวว่า ท่านทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๓๕

 กล่าวคือ บรรดาผู้ที่โง่เขลานั้นต้องได้รับความเสียหายในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาไม่รู้ พวกเขาเชื่อมั่นต่อคัมภีร์ในยามที่ให้คำจำกัดความ แต่จะปฏิเสธต่อคัมภีร์ในกรณีที่บิดเบือน ดังนั้นเขาเหล่านั้นจงอย่าได้ปฏิเสธเขาเหล่านั้นคล้ายกับบรรดาบาทหลวง และพวกปุโรหิตที่เป็นผู้นำในความหลงผิด เป็นหัวหน้าในเรื่องที่ต่ำต้อย ส่วนอีกด้าน

หนึ่งมีบรรดาบุคคลที่นั่นอยู่ระหว่างความหลงผิดกับความถูกต้อง ฝ่ายหนึ่งจะไม่รู้จักกับอีกฝ่ายหนึ่ง

พวกเขาเหล่านั้นจะกล่าวไปตามที่ประชาชนทั้งหลายรู้ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เขาเหล่านั้นเชื่อไปตามนั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ละทิ้งคนเหล่านั้นที่อัล-บัยฏออ์ ทั้ง

ในยามกลางคืนและกลางวัน ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นยังไม่แสดงเรื่องการอุตริให้เห็นอย่างเปิดเผย และในหมู่ชนเหล่านั้นยังมิได้เปลี่ยนแปลงหลักคำสอนแห่งซุนนุฮฺ พวกเขาเหล่านั้นยังมิได้มีความหลงผิด

ครั้นเมื่อคนทั้งหลายลับตาไปพวกเขาก็อยู่ในความผิดพลาดด้วยการมีอำนาจสองประเภท

ประเภทหนึ่งเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) อีกประเภทหนึ่งเรียกร้องไปสู่ไฟนรก เมื่อเป็นเช่นนี้

๓๖

ชัยฏอนก็ได้โอกาส กล่าวคือ มันจะใช้เสียงของมันพูดไปตามกระแสลิ้นลมของบรรดาพรรคพวกบริวาร มันจะเข้าร่วมดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินและลูกๆ ของบุคคลที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของมัน

ดังนั้น มันจึงกระทำการอันเป็นสิ่งอุตริและทอดทิ้งคัมภีร์

และซุนนะฮฺ บรรดาผู้เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ(เอาลิยาอ์)นั้น ย่อมพูดด้วยหลักฐานและยึดถือปฏิบัติตามคัมภีร์และวิทยปัญญา ในวันนั้นบรรดาผู้ยึดถือในหลักสัจธรรมกับบรรดาผู้ยึดถือความผิดพลาด ย่อมจะต้องแตกแยกกัน....”(๒๐)

(๒๐) บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๓

สุภาษิต :คำสอนจากวิทยปัญญาของอิมามญะวาด(อฺ)

สุภาษิตและคำเตือนต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งมาจากวิทยปัญญาของ

อิมามญะวาด(อฺ) โดยสรุป หมายถึง ศิลปะแห่งการเรียนรู้ จริยธรรม หลักธรรมและการเรียกร้องเชิญชวนยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

อีกทั้งเป็นจุดเน้นในการเสริมสร้างคุณค่าในด้านต่าง ๆ แน่นอนที่สุดสุภาษิตเหล่านี้ได้สรุปย่อมาจากตำราต่างๆ หลายเล่ม หน้าที่ของเราในปัจจุบันควรที่จะได้นำสุภาษิตและคำสอนต่างๆ เหล่านี้มา

ประพฤติปฏิบัติและนำมาเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตแห่งความเป็นจริงของเราและให้นำมาเป็นวิถีทางสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไปในเส้นทางของท่าน

๓๗

ต่อไปนี้ เราจะกล่าวถึงสุภาษิตบางข้อของท่านอิมามมุฮัมมัด

บินอฺะลี อัล-ญะวาด(อฺ)ได้กล่าวไว้ดังนี้

สุภาษิตที่ ๑

􀂙 การประวิงเวลาสำหรับการกลับตัวนั้นคือการหลอกลวง

􀂙 การพลัดวันประกันพรุ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์

􀂙 การหยิ่งผยองกับอัลลอฮฺ (ซ.บ) ย่อมนำไปสู่ความเสียหาย

􀂙 การฝังตัวเองให้จมอยู่ในความบาปคือความรู้สึกรอดพ้นจากการวางแผนการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และไม่มีใครรู้สึกรอดพ้นจากแผนการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นอกจากเป็นกลุ่มชนที่ขาดทุน

สุภาษิตที่ ๒

คนที่เป็นมุอ์มินนั้นต้องการลักษณะ ๓ อย่าง คือ

๑. การประทานความสำเร็จ (เตาฟีก) จากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๒. การชี้แนะจากตนเอง

๓. ยอมรับคำตักเตือนของผู้ให้คำตักเตือน ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องความคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

๓๘

สุภาษิตที่ ๓

􀂙 ผู้รับผิดชอบต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะสาบสูญไปจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้อย่างไร?

􀂙 ผู้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะหลบหนีจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้อย่างไร?

􀂙 บุคคลใดก็ตามที่หมดหวังในการขอจากผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แล้ว อัลลอฮฺ (ซ.บ.) แล้ว อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงรับรองเขาเอง

􀂙 บุคคลใดที่ทำงานโดยขาดความรู้ ความเสียหายจะเกิดขึ้นมากกว่าความถูกต้องดีงาม (๒๑)

(๒๑)อะอฺยานุชชีอะฮฺ หน้า ๓ หน้า ๒๔๕, ๒๔๔

สุภาษิตที่ ๔

การมีเจตนาแน่วแน่ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ด้วยหัวใจนั้น จะไปถึงยังเป้าหมายได้มากกว่าการทรมานร่างกายด้วยการปฏิบัติซะอีก

สุภาษิตที่ ๕

􀂙 ผู้ใดที่ผละหนีจากการต่อสู้ สิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) ก็จะเข้ามาใกล้เขา

􀂙 ใครไม่รู้จักหัวข้อเรื่องต่างๆ หลักฐานต่าง ๆจะทำให้เขาเหนื่อยอ่อน

๓๙

􀂙 ใครที่ปักใจเชื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดอย่าง ๑๐๐ เปอร์เซนต์ก่อนที่จะค้นหาความจริง แน่นอน

เขานำตัวเองสู่ความหายนะและบั้นปลายที่เหน็ดเหนื่อย

สุภาษิตที่ ๗

ผู้ที่มีแต่อารมณ์ใฝ่ต่ำ ย่อมจะไม่คลาดแคล้วจากความตกต่ำ

สุภาษิตที่ ๘

เมื่อการตัดสินได้ลงมา ความว่างเปล่าก็จะยิ่งคับแคบลง

สุภาษิตที่ ๙

คนที่เป็นมุอ์มินนั้นถือว่า การเป็นมิตรกับคนคดโกง ก็เป็นความคดโกงที่มากมายเสียแล้ว

สุภาษิตที่ ๑๐

เกียรติยศของคนที่เป็นมุอ์มินคือ.....

ความพอเพียงของเขาจากการพึ่งพามนุษย์

๔๐