ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75349
ดาวน์โหลด: 4533

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75349 / ดาวน์โหลด: 4533
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สุภาษิตที่ ๑๑

ความผิดของบุคคลที่พึงพอใจกับการกดขี่นั้นไม่อาจทำอันตรายต่อท่านได้

สุภาษิตที่ ๑๒

แน่นอน คนที่ซ่อนเร้นคำแนะนำที่ดีต่อท่านนั้นคือ

‘ศัตรู’ผู้ซึ่งจะนำแต่ความหลงผิด

สุภาษิตที่ ๑๓

การมั่นคงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีราคาที่แพงลิบลิ่ว และยังความสันติสุขแก่ทุกสภาพการณ์

สุภาษิตที่ ๑๔

อวัยวะทุกส่วนนั้นต้องการความหวัง และนั่นคือสิ่งที่จะถูกประทานมาโดยการตัดสินและการได้รับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในบั้นปลาย

สุภาษิตที่ ๑๕

การรักษาตัวนั้นขึ้นอยู่กับขีดความกลัว

๔๑

สุภาษิตที่ ๑๖

ผู้ใดที่พึงพอใจกับพี่น้องของตนด้วยเจตนาอันดีงามก็จะไม่พึงพอใจในอันที่จะได้รับสิ่งของใด ๆจากเขา

สุภาษิตที่ ๑๗

กาลเวลาจะเปิดเผยแก่ท่านซึ่งเรื่องราวที่ซ่อนเร้น(๒๒)

สุภาษิตที่ ๑๘

บุคคลใดทำประโยชน์ให้แก่พี่น้องในวิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เขาจะได้รับบ้านหนึ่งหลังในสวนสวรรค์(๒๓)

สุภาษิตที่ ๑๙

หลักสามประการอันจะทำให้ปวงบ่วงบรรลุซึ่งความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้นั่นคือ

􀂙 การขออภัยโทษอันมากมาย

􀂙 ความมีใจอ่อนโยนต่อคนข้างเคียง

􀂙 การบริจาคทานมากๆ (๒๔)

(๒๒) บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๗ หน้า ๒๑๔

(๒๓ ตารีคบัฆดาด เล่ม ๓ หน้า ๕๕

(๒๔) อัล-ฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๖๐-๒๖๑

๔๒

สุภาษิตที่ ๒๐

สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมีบรรดาปวงบ่าวที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเขาโดยเฉพาะอยู่เป็นเนืองนิตย์ ดังนั้นพวกเขาไม่เคยหยุดยั้งการเสียสละ เพราะถ้าหากพวกเขาหยุดซึ่งการเสียสละแล้วไซร้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงถอดถอนความโปรดปรานอันนั้นออกจากพวกเขาแล้วจะเปลี่ยนผันไปสู่บุคคลอื่น

สุภาษิตที่ ๒๑

ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อบุคคลหนึ่ง ๆ นั้นจะไม่ถือเป็นเรื่องใหญ่ นอกเสียจากว่า ความจำเป็นทั้งหลายมนุษย์ที่มีต่อเขามีความจำเป็นอันยิ่งใหญ่ เพราะถ้าหากบุคคลใดมิได้นำพากับเครื่องบริโภคเหล่านั้น ก็แสดงว่าความโปรดปรานอันนั้นก็เป็นสิ่งสูญสลาย

สุภาษิตที่ ๒๒

เจ้าของความดีนั้นจำเป็นจะต้องกระทำความดียิ่งกว่าผู้เป็นเจ้าของความต้องการ เพราะว่าสำหรับพวกเขาจะได้รับรางวัลจะได้รับเกียรติ และจะได้รับการยกย่อง เพราะฉะนั้นบุคคลใดที่ประกอบคุณงามความดีก็จำเป็นจะต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

๔๓

สุภาษิตที่ ๒๓

􀂙 ความละอายคือเครื่องประดับสำหรับคนจน

􀂙 การขอบพระคุณคือเครื่องประดับสำหรับคนที่ได้รับการทดสอบ

􀂙 การถ่อมตนเป็นเครื่องประดับสำหรับตระกูล

􀂙 การพูดจาอย่างกระจ่างเป็นเครื่องประดับของการสนทนา

􀂙 การจดจำเป็นเครื่องประดับของการถ่ายทอด

􀂙 การไม่ถือยศถือศักดิ์เป็นเครื่องประดับของความรู้

􀂙 มารยาทอันดีงามเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ไม่สนใจใยดีต่อความเย้ายวนของโลก

􀂙 ความเป็นอยู่อย่างเสมอต้นเสมอปลายเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ที่เพียงพอแล้ว

สุภาษิตที่ ๒๔

คนที่สร้างความอธรรม คนที่ช่วยเหลือผู้อธรรม คนที่มีความพอใจกับผู้อธรรมล้วนเป็นหุ้นส่วนกัน(๒๕)

(๒๕) นุรุ้ลอับศอรฺ หน้า ๑๔๘

๔๔

สุภาษิตที่ ๒๕

􀂙 ผู้ใดที่เห็นกิจการงานอย่างหนึ่งแล้วบังเกิดความรังเกียจเสมือนดังบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมกับกิจการงานนั้น

􀂙 ส่วนบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมในกิจการงานหนึ่ง แล้วเขาบังเกิดความพอใจต่อเรื่องนั้น ก็เสมือนดังบุคคลที่อยู่ร่วมกับเรื่องนั้น

สุภาษิตที่ ๒๖

การเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนที่จะดำเนินการสอบสวนให้ชัดเจนจะนำไปสู่ความเสียหาย(๒๖)

(๒๖) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๖.

สุภาษิตที่ ๒๗

ผู้ใดยึดมั่นและไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทำให้เขาคลาดแคล้วจากความชั่วทุกประการและจะช่วยให้เขาชนะศัตรูทุกรูปแบบ ถึงแม้นว่าฟากฟ้าจะลงมาทับสนิทบ่าวคนหนึ่ง และแล้วเขาคนนั้นมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)แน่นอนพระองค์จะทรงบันดาลให้เขาคลาดแคล้วจากสิ่งนั้นได้

(๒๗) วะฟาตุลญะวาด หน้า ๓๗-๔๓

๔๕

สุภาษิตที่ ๒๘

บุคคลใดไม่ตั้งความหวังกับผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงให้การรับรองต่อเขา

สุภาษิตที่ ๒๙

􀂙 การสำรวมตนนั้นคือเกียรติยศ

􀂙 ความรู้นั้นคือทรัพย์สมบัติ

􀂙 การวางเฉยคือแสงสว่าง

สุภาษิตที่ ๓๐

ไม่มีอะไรที่ทำลายศาสนาได้มากเท่ากับการกระทำในสิ่งอุตริ

สุภาษิตที่ ๓๑

สารบัญแห่งโฉมหน้าของผู้ศรัทธาอยู่ที่จริยธรรมของเขา

สุภาษิตที่ ๓๒

ผู้ใดลอกเลียนคำพูดของคนใด ก็เท่ากับเป็นบ่าวของคนนั้น

ดังนั้นถ้าหากเขาเป็นผู้ที่ใช้คำพูดที่มาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็เท่ากับเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่ถ้าหากเขาใช้คำพูดที่มาจากปลายลิ้นของอิบลีซก็เท่ากับเขาเป็นบ่าวของอิบลิซ (๒๘)

(๒๘) ตะฮัฟฟุลอุกุล หน้า ๓๓๖

๔๖

ถกปัญหาทางวิชาการจากแหล่งความรู้อันอมตะของอิมามที่ ๙

เรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบกับบรรดาอิมามแต่ละคนนั้นมีทั้งความรุนแรงและนุ่มนวล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของวิถีชีวิตแห่งบรรดาผู้ปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย

สำหรับท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)นั้นได้ใช้ชีวิตของท่าน(อฺ)ช่วงหนึ่งอยู่ในคุกของคอลีฟะฮฺฮารูน อัรรอชีด และท่านอิมามริฏอ(อฺ)

นั้นได้กลายเป็นรัชทายาทของค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน

ในขณะที่วิถีทางการดำเนินชีวิตของบรรดาผู้ปกครองมีความแตกต่างกันนั้น วิถีชีวิตขอประชาชนก็มีความแตกต่างกันไปด้วย เช่นเดียวกัน เนื้อหาสาระของคำถามและการให้ทัศนะในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบรรดาอิมามแต่ละท่านก็ล้วนแต่มีความแตกต่างไปด้วย

สำหรับท่านอิมามศอดิก(อฺ)นั้นได้ประจักษ์กระแสคลื่นของการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าอย่างรุนแรง แต่ท่านอิมาม(อฺ)ก็ได้ใช้หลักการตอบโต้จนได้รับความสำเร็จ จนถึงกับว่าบุคคลเหล่านั้นได้

ร่วมกันมาหาท่านอย่างเปิดเผยครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งท่าน(อฺ)ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำให้แก่พวกเขา

ท่าน(อฺ) มอบหมายให้ท่านมุฟัฏฏ็อล บินอุมัร ลูกศิษย์คนหนึ่งของท่านเป็นผู้อธิบายในสาขาวิชาเตาฮีด

๔๗

จนกระทั่งบรรดานักปราชญ์ต่างก็ได้รับความรู้ ตั้งแต่นั้นจนถึงยุคปัจจุบันด้วยการมุ่งมั่นและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ท่านอิมามริฏอ(อฺ)นั้น ได้ทำหน้าที่โต้แย้งปัญหาศาสนากับบรรดานักปราชญ์ของศาสนาต่างๆ และเจ้าของลัทธินิกายต่างๆ อย่างมากมายจนกระทั่งพวกเขาบางคนได้ให้การยอมรับต่อหลัก

สัจธรรม และยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งในบทที่ผ่านไปเราได้นำเรื่องราวต่าง ๆเหล่านั้นบางประการมาเสนอให้ท่าน(อฺ)ผ่านไปแล้ว

สำหรับท่านอิมามญะวาด(อฺ)นั้น ท่าน(อฺ)ได้มีบทบาทอีกด้านหนึ่งนั่นคือพวกพ้องของคอลีฟะฮฺในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้ให้การยกย่องสถานภาพของท่าน(อฺ) ทั้งนี้ได้มีการแต่งงานระหว่าง

ท่าน(อฺ)กับบุตรสาวของมะอ์มูนอีกด้วย ขณะเดียวกันปรากฏว่า บรรดานักปราชญ์และผู้ทำหน้าที่ควบคุมงานการปกครองในสมัยนั้นมีความอิจฉาริษยาท่าน(อฺ) ในขณะที่อายุของท่าน(อฺ)ยังอยู่ในวัย

เยาว์

คนทั้งหลายต่างรวมตัวกันมาแสดงทัศนะโต้แย้งทางวิชาการรับท่าน(อฺ)ในปัญหาวิชาฟิกฮฺ

วิชาฮะดีษ และอื่นๆ โดยมุ่งหวังที่จะให้ท่าน(อฺ)ประสบกับความยุ่งยากในการโต้ตอบ เพื่อที่จะให้กษัตริย์มะอ์มูนและบรรดาชาวเมืองถอดถอนท่านออกไปเสียจากตำแหน่ง

๔๘

และเพื่อที่จะทำให้บรรดามุสลิมไม่มั่นใจในความรู้ของท่านอีกด้วย

คนเหล่านั้นต่างพบกับความผิดหวัง เพราะว่าทานอิมามญะวาด(อฺ)สามารถผ่านพ้นการทดสอบเหล่านี้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ การให้ทัศนะในด้านต่าง ๆ ของท่าน(อฺ)จึงยังคงอยู่เป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ และเป็นความประทับใจในการที่จะหยิบยกนำเรื่องราวเหล่านั้นมากล่าวถึงในที่ชุมนุมอยู่ตลอดเวลา

ในบทนี้เราจะขอนำเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับการโต้แย้งทางวิชาการในด้านต่างๆ ของอิมามญะวาด(อฺ)

อิมามที่ ๙ ถกปัญหาฟิกฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัม

เมื่อค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้แสดงความมั่นใจในการจัดแต่งงานท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินอฺะลี ริฏอ(อฺ)กับอุมมุลฟัฏลฺ บุตรสาวของตนนั้นบรรดาสมาชิกในตระกูลของมะอ์มูนต่างได้มา

รวมตัวกันคัดค้านแล้วกล่าวว่า

“ข้าแด่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน เราขอแสดงความเห็นต่อท่านว่า ท่านกำลังกระทำการล่วงเกินในกิจการบางอย่างที่พวกเราเป็นเจ้าของอยู่ท่านกำลังถอดถอนเกียรติยศที่เราได้สวมใส่มันอยู่ใน

ขณะที่ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงเรื่องราวที่มีอยู่ระหว่างเรากับพวกที่อยู่ในตระกูลของอฺะลีมาตั้งแต่เดิม”

๔๙

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“พวกท่านทั้งหลายจงระงับอารมณ์ไว้เถิด ขอสาบานต่อพระนามของอัลลอฮฺ แน่นอนข้าจะทำให้คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านยอมรับเรื่องนี้”

พวกเขากล่าวว่า

“ข้าแต่อะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะทำการจัดแต่งงานบุตรสาวของท่านผู้เป็นแก้วตาดวงใจของท่านให้กับเด็กผู้ชายที่ไม่มีความรู้ใดๆ ในศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และไม่รู้ในสิ่งฮะลัาล-สิ่งฮะรอม

และไม่รู้ทั้งในเรื่องฟัรฏเรื่องซุนนะฮฺ(ขณะนั้นท่านอะบูญะอฺฟันมีอายุเพียง ๙ ขวบ) ท่านน่าจะอดทนสักนิดเพื่อให้เขาฝึกฝนในด้านมารยาทและอ่านอัล-กุรอาน และให้เขารู้จักในสิ่งสะล้าลและ

สิ่งฮะรอมเสียก่อน”

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“แท้จริงเขามีความรู้ความเข้าใจในด้านศาสนบัญญัติมากกว่าพวกท่าน เขามีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เกี่ยวกับศาสนทูต เกี่ยวกับซุนนะฮฺ และบทบัญญัติต่าง ๆเขาอ่านพระคัมภีร์

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ดีกว่าพวกท่าน เขามีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในเรื่องของโองการต่างๆ อันชัดแจ้ง

๕๐

 และโองการต่าง ๆ ที่มีความหมายเป็นนัย โองการต่าง ๆที่มายกเลิกและที่ถูกยกเลิก โองการต่างๆ ที่มีความหมายอย่างเปิดเผยและที่มีความหมายอย่างซ่อนเร้น โองการต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะ

และที่มีความหมายครอบคลุมทั่วไป โองการที่มีความหมายตรงตามตัวอักษรและโองการที่มีความหมายซ่อนอยู่ภายใต้ตัวอักษรหนึ่ง ดังนั้นขอให้พวกท่านซักถามเขาได้ ซึ่งถ้าหากเรื่องราว

ทั้งหมดเป็นไปเสมือนอย่างที่พวกท่านได้กล่าว ข้าก็จะยอมรับฟังความเห็นของพวกท่าน แต่ถ้าหากเรื่องราวเป็นไปตามที่ข้าได้กล่าว นั้นแสดงว่าข้ารู้ดีว่าชายคนนั้นย่อมขัดแย้งต่อพวกท่าน”

คนเหล่านั้นได้ออกจากที่ชุมนุมต่อหน้ามะอ์มูน แล้วส่งคนไปหายะฮฺยา บินอักษัม ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา พวกเขาได้นำเรื่องมาอุทธรณ์และมอบของกำนัลให้แก่เขา

จำนวนหนึ่งเพื่อให้เขาได้เตรียมคำถามในปัญหาฟิกฮฺ(ศาสนบัญญัติ) ที่ท่านอะบูญะอฺฟัร(อิมามญะวาด)ไม่รู้คำตอบ

แล้วคนเหล่านั้นก็ได้นำยะฮฺยา บินอักษัมเข้ามาในที่ประชุม และท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้

เข้ามาด้วย เขาเหล่านั้นกล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน นี่คือหัวหน้าผู้พิพากษา ขอให้ท่านอนุญาต เพื่อเขาจะได้ซักถามเถิด”

มะอ์มูนกล่าวว่า

“โอ้ยะฮฺยาเอ๋ย จงถามอะบูญะอฺฟัร ในปัญหาเกี่ยวกับวิชาฟิกฮฺเถิดเพื่อที่ท่านจะได้พิจารณาดูว่าวิชาฟิกฮฺของเราเป็นอย่างไร ?”

ยะฮฺยา กล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความดีงามแก่ท่านเถิด ท่านมีทัศนะอย่างไรบ้างในเรื่องที่ผู้ครองเฮียะฮฺรอมฆ่าสัตว์โดบการล่า”

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)กล่าวว่า

“เขาได้ฆ่าสัตว์นั้นในดินแดนที่อนุญาต ให้ฆ่าหรือต้องห้าม เป็นผู้รู้ว่าการกระทำนั้นผิดหรือว่าไม่รู้ เขาตั้งใจหรือว่าทำแบบผิดพลาดเป็นทาส หรือเป็นอิสรชน เป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่ ถูกทำให้ตายในทันทีหรือถูกซ้ำจนตาย เป็นสัตว์ประเภทนกหรือมิใช่ ถ้าเป็นประเภทนกเป็นลูกนกหรือเป็นนกตัวใหญ่แล้ว เป็นนกที่อาศัยอยู่กับที่หรือถูกขังไว้ในกรงของมันในยามกลางคืนหรือในยามกลางวันอย่างเปิดเผย เขาครองเอียะฮฺรอมฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺ”

ยะฮฺยาถึงกับชะงักงันจนไม่สามารถปิดบังความรู้สึกต่อคนใดในที่ประชุมได้ ประชาชนทั้งหลายต่างมีความประทับใจอย่างคาดคิดไม่ถึงกับคำตอบของท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะบูญะอฺฟัร โปรดกล่าวคำปราศรัยด้วยเถิด”

๕๑

ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ได้ซิ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน”

แล้วท่าน(อฺ)ได้กล่าวสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นการเริ่มต้นคำปราศรัยจนจบ

ครั้นเมื่อประชาชนส่วนมากพากัยโยกย้ายกลับไปบ้างแล้วค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ถ้าท่านเห็นด้วยสักประการหนึ่งก็ได้โปรดแนะนำให้เราได้รู้ในสิ่งที่จำเป็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆเหล่านั้นที่มีอยู่ในเรื่องการฆ่าสัตว์โดยการฆ่า ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ได้ซิ ผู้ครองเฮียะฮฺรอมนั้นหากเขาฆ่าสัตว์โดยการล่านอกบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ แล้วสัตว์นั้นเป็นนกที่โตแล้ว หน้าที่ของผู้ล่าจะต้องชดใช้แพะหรือแกะหนึ่งตัว แต่ถ้าหากเหตุเกิดในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ เขาจะต้องชดใช้เป็นสองเท่า

ถ้าหากสัตว์ที่ถูกฆ่าตายเป็นลูกอ่อนนอกเขตบริเวณ ‘ฮะร็อม’ ชดใช้ด้วยลูกแกะที่หย่านมแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องตีราคา เพราะไม่ได้เกิดเหตุในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’ แต่หากสัตว์ตัวนั้นถูกฆ่า

ในบริเวณเขต ‘ฮะร็อม’

๕๒

 เขาจะต้องชดใช้ด้วยลูกแกะที่หน่านมแล้วพร้อมกับชดใช้ด้วยราคาของลูกอ่อนตัวนั้น

หากสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นสัตว์ป่า กล่าวคือถ้าเป็นจำพวกลาป่า เขาจะต้องชดใช้ด้วยวัวหนึ่งตัว

และถ้าหากเป็นสัตว์จำพวกอูฐ เขาจะต้องชดใช้ด้วยลูกอูฐประเภทบุดนะฮฺหนึ่งตัว ครั้นหากไม่มีความสามารถ ก็ให้บริจาคอาหารแค่คนยากจน ๖๐ คน หากไม่มีความสามารถอีก ก็ให้ถือศีลอด ๑๘

วัน แต่ถ้าสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นวัวป่า เขาจะต้องชดใช้ด้วยวัว ๑ ตัว ครั้นถ้าหากไม่มีความสามารถก็ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน ๓๐ คน หากไม่มีความสามารถอีกก็ให้ถือศีลอด ๙ วัน หากสัตว์ที่ถูกฆ่า

เป็นกวาง เขาจะต้องชดใช้ด้วยแพะ ๑ ตัว หากไม่มีความสามารถก็จะต้องบริจาคอาหารแก่คนยากจน๑๐ คน หากไม่มีความสามารถก็ต้องถือศีลอด ๓ วัน

และถ้าหากกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นบริเวณเขต‘ฮะร็อม’

เขาจะต้องชดใช้เป็น ๒ เท่า โดยการเชือดพลีชีพมอบแด่อัลกะอฺบะฮฺตามหลักการที่เป็นวาญิบ ถ้าหากอยู่ในเทศกาลฮัจญ์ก็ให้เชือดในวันอีด ถ้าหากอยู่ในช่วงการทำอุมเราะฮฺก็ให้เชือดในมักกะฮฺบริเวณสถานอัล-กะบะฮฺและจะต้องบริจาคเท่ากับราคาของสัตว์ตัวนั้น

๕๓

จนกระทั่งได้จำนวนครบเป็นสองเท่า และทำนองเดียวกันถ้าหากได้ฆ่าสัตว์จำพวกกระต่ายหรือสุนัขจิ้งจอก

เขาจะต้องชดใช้ด้วยแพะ ๑ ตัว และจะบริจาคเงินในจำนวน

เท่ากับราคาของแพะตัวนั้น และถ้าหากสัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นนกพิรายที่อยู่ประจำบริเวณบัยตุ้ลฮะรอม

เขาจะต้องชดใช้ด้วยการบริจาคเงินจำนวน ๑ดิรฮัม และอีก ๑ ดิรฮัมนั้นให้เขาซื้ออาหารสำหรับนกพิราบในบริเวณบัยตุ้ลฮะรอม แต่ถ้าเป็นลูกอ่อน ก็ให้ชดใช้เพียงครึ่งดิรฮัม ถ้ายังเป็นไข่ก็ให้ชดใช้

 ๑ ใน ๔ ดิรฮัม แต่ในทุกประการเหล่านี้ผู้กระทำคือ

ผู้ครองเอียะฮฺรอมกระทำไปด้วยความไม่รู้หรือพลั้งพลาดก็ไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใด เว้นแต่ในกรณีของการล่า เพราะในกรณีนี้จำเป็นจะต้องชดใช้ ไม่ว่ากระทำไปโดยโง่เขลา หรือมีความรู้ดีอยู่ก็ตาม ไม่ว่าจะโดยความพลั้งพลาดหรือโดยเจตนา และทุกประการเหล่านี้หากกระทำขึ้นโดยผู้เป็นทาสหน้าที่การชดใช้จะต้องตกแก่ผู้เป็นนาย ดุจดังว่าผู้เป็นนายนั่นเองที่กระทำความผิด และทุกประการเหล่านี้หากกระทำขึ้นโดยผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุสู่วัยบังคับทางศาสนาก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบแต่ประการใด หากว่าเขากระทำซ้ำจนตาย

ก็เท่ากับเป็นผู้ที่ต้องได้รับโทษจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถ้าหากเขาเป็นผู้แนะนำให้ทำการล่าในขณะที่เขาครองเอียะฮฺรอม

๕๔

แล้วสัตว์ที่ถูกล่านั้นถูกฆ่าตายเขาจำเป็นจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย และความบาปอันนี้จะต้องติดตัวเขาไปจนถึงวันปรโลก แต่ถ้ามีความเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว หลังจากได้ชดใช้ค่าเสียหาย

 เขาจะไม่ต้องรับโทษในวันปรโลกอีกและถ้าหากการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นในยามกลางคืน หรือโดยการบังคับที่พลั้งพลาด ก็ไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใด เว้นแต่เขาตั้งใจจะทำการล่า กล่าวคือ ถ้าหากเขาทำการล่าในยามกลางคืนหรือกลางวันเขาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันนั้น

สำหรับผู้ครองเอียะฮฺรอมเพื่อทำฮัจญ์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เสร็จสิ้นที่มักกะฮฺ”

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้สั่งให้บันทึกข้อความเหล่านี้จากท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)หลังจากนั้นก็ได้

หันหน้าไปยังบรรดาเครือญาติที่ปฏิเสธพิธีการแต่งงานที่เขาจะจัดขึ้น พลางกล่าวว่า

“ในหมูพวกท่านยังจะมีใครสามารถตอบได้อย่างนี้กระนั้นหรือ ?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“ไม่มี ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนหัวหน้าผู้พิพากษาก็ไม่มีความสามารถด้วย ท่านมีความรู้มากกว่าเรา”

๕๕

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านทั้งหลาย......

พวกท่านไม่รู้หรือว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ยอมรับการให้สัตยาบันของฮะซันและฮุเซนในขณะที่คนทั้งสองยังเป็นเด็ก แต่ไม่เคยยอมรับการให้สัตยาบันของบุคคลอื่นในขณะที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่เฉย?”

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า บรรพบุรุษของพวกเขาคืออฺะลีนั้น ศรัทธาต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในขณะที่มีอายุเพียง ๙ ปีเท่านั้น ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์ได้ให้การยอมรับต่อความศรัทธาของเขาในขณะที่ไม่เคยให้การยอมรับความศรัทธาจากเด็กเล็กๆ คนอื่น

และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ไม่เคยเรียกร้องเชิญชวนสู่ศาสนาแก่เด็กเล็กๆ คนใดนอกเหนือจากเขา ?

พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า พวกอะฮฺลุลบัยนั้นเชื้อสายของคนหนึ่งนั้นจะต้องสืบทอดซึ่งกันและกัน คนรุ่นหลังในหมู่พวกเขาจะต้องดำเนินชีวิตไปตามแนวทางของคนรุ่นแรก?”

๕๖

ต่อจากนั้นท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้ถามยะฮฺยาว่า

“โอ้ท่านอะบูมุฮัมมัด ท่านจะกล่าวอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่ว่าในยามเช้าสตรีผู้หนึ่งอยู่ในฐานะเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาแต่ในยามตอนเที่ยงนางมีฐานะเป็นที่อนุญาต

สำหรับเขาแต่ในยามกลางวันนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา หลังจากนั้นในยามตอนบ่ายนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ต่อจากนั้นในเวลาตอนเย็นนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา หลังจากนั้นในยามหัวค่ำนางเป็นอนุญาตสำหรับเขา จากนั้นในยามกลางคืนนางเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา ต่อมาในยามรุ่งอรุณนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ต่อจากนั้นในยามก่อนเที่ยงนางกลับไปเป็นที่ต้องห้ามสำหรับ

เขา หลังจากนั้นในยามกลางวันนางเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา”

ปรากฏว่ายะฮฺยาและบรรดาผู้รู้ในวิชาฟิกฮฺถึงกับตะลึง เงียบเหมือนคนใบ้

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านอะบูญะอฺฟัร ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานเกียรติให้แก่ท่านในเรื่องนี้โปรดให้ความรู้แก่พวกเราด้วยเถิด”

๕๗

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ชายผู้นี้หมายถึงคนที่มองไปยังหญิงผู้เป็นทาสในขณะที่ยังไม่ได้เป็นที่อนุญาตสำหรับเขา

ครั้นเมื่อเขาซื้อนางมาแล้ว นางก็ได้เป็นที่อนุญาต เมื่อเขาปล่อยนางให้เป็นไทนางก็เป็นที่ต้องห้าม

ครั้นต่อมาถ้าเขาแต่งงานกับนาง นางก็จะเป็นที่อนุญาตแก่เขา ครั้นเมื่อเขาทำการซิฮาร (การกล่าวว่า ทวารหนักของภรรยาเหมือนกับของมารดาของนาง) กับนาง นางก็จะตกเป็นที่ต้องห้ามแก่เขา ครั้นเมื่อเขาทำการชดใช้(กัฟฟาเราะฮฺ)แก่การซิฮาร นางก็จะเป็นที่อนุญาตแก่เขา หลังจากนั้นเขาหย่ากับนางอีกหนึ่งครั้ง นางก็จะเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา ต่อมาถ้าเขาคืนดีกับนาง นางก็จะเป็นที่อนุญาตสำหรับเขา ครั้นถ้าเขาตกจากศาสนาอิสลาม นางก็จะเป็นที่ต้องห้ามแกเขา ครั้นถ้าเขาขออภัยโทษและกลับเข้าสู่ศาสนาอิสลาม นางก็จะเป็นที่อนุญาตสำหรับเขาด้วยการนิกาฮฺครั้งแรกเช่นเดียวกับที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้ทำการนิการฮฺท่านหญิงซัยหนับกับอะบุลอาศ บินรอบิอฺ ตามหลักการนิกาฮฺครั้งแรก”(๑)

(๑) ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๕.

๕๘

อิมามที่ ๙ถกปัญหาคิลาฟิยะฮฺกับยะฮฺยา บินอักษัมและพรรคพวก

มีรายงานว่าค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้น หลังจากที่ทำพิธีแต่งงานบุตรสาวของตน คือ อุมมุลฟัฏลฺ

เสร็จแล้วก็นั่งอยู่ในที่ประชุม โดยมีท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ) ยะฮฺยา บินอักษัมและบรรดานักปราชญ์จำนวนมากกลุ่มหนึ่ง

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวกับท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ว่า

“โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ท่านจะมีคำพูดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องราวที่บอกเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งมะลาอิกะฮฺญิบรออีล(อฺ)ได้เสด็จลงมาหาท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แล้ว

กล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ฝากสลามมายังท่าน แล้วฝากคำพูดมายังท่านด้วยว่าโปรดถาม ‘อะบูบักร’ด้วยเถิดว่าเขาพอใจกับฉันหรือไม่ เพราะแท้จริงแล้วฉันเป็นผู้พอใจต่อเขา?”

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ฉันมิได้ปฏิเสธในเกียรติยศของ ‘อะบูบักร’ แต่สำหรับเจ้าของเรื่องเล่าอันนี้จำเป็นจะต้อง

๕๙

ขอหยิบยกตัวอย่างรายงานฮะดีษที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวไว้ในเทศกาลฮัจญ์อำลาเพื่อเป็นอุทาหรณ์ที่ว่า

 “แน่นอนที่สุดได้มีคนกล่าวเท็จให้แก่ฉันมากมาย และหลังจากฉันไปแล้ว ก็จะมีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ดังนั้นผู้ใดที่กล่าวเท็จต่อฉันโดยเจตนา ก็ขอให้เตรียมที่นั่งสำหรับตนไว้ในไฟนรก ครั้นถ้า

หากมีคำพูดของฉัน(ฮะดีษ) บทหนึ่งมายังพวกท่าน พวกท่านก็จงนำมันไปพิสูจน์กับกพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และซุนนะฮฺของฉัน ถ้าคำพูดอันนั้นสอดคล้องกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

และซุนนะฮฺของฉันก็ขอให้พวกท่านยึดถือไว้ แต่ถ้าหากคำพูดนั้นขัดแย้งกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของฉัน

พวกท่านก็จงอย่าได้ยึดถือมันเลย”

อีกทั้งคำบอกเล่าในเรื่องนี้มิได้สอดคล้องกับพระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ดังที่พระองค์ทรงมีโองการไว้ว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา

และเราล่วงรู้ในสิ่งที่กระซิบกระซาบอยู่ในใจของเขา

และเราใกล้ชิดกับเขายิ่งกว่าเส้นเลือดฝอยที่คอหอย”

(บทก็อฟ: ๑๖)

๖๐