ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด0%

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 130

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 130
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75609
ดาวน์โหลด: 4579

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 130 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 75609 / ดาวน์โหลด: 4579
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัดญะวาด

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺ(ซ.บ. จะไม่รู้ว่า ‘อะบูบักร’ พอใจหรือไม่พอใจต่อพระองค์ จนถึงกับต้องถามเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับอันนั้น? เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้โดยสติปัญญา”

หลังจากนั้น ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งว่า :

อุปมาของอะบูกักรฺกับอุมัรในหน้าแผ่นดินนั้น มีฐานะเสมอเหมือนกับญิบรออีลและมีกาอีลในชั้นฟ้า”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“นี่ก็อีกเช่นกันที่จำเป็นจะต้องพิจารณา เพราะว่าญิบรออีลและ

มีกาอีลนั้น เป็นมะลาอิกะฮฺผู้ใกล้ชิดสำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ทั้งสององค์จะไม่ละเมิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย และจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง

แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียวแต่สำหรับคนทั้งสองนั้นเคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มาก่อน ถึงแม้ว่าจะรับอิสลามภายหลังจากนั้นก็ตาม วันเวลาอันยาวนานของบุคคลทั้งสองคือช่วงเวลาแห่งการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๖๑

จึงเป็นไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบว่าคนทั้งสองเสมอเสมือนกับมะลาอิกะฮฺสององค์นั้น”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งระบุว่า :

บุคคลทั้งสองเป็นประมุขสูงสุดของบรรดาคนชราสำหรับชาสวรรค์ ในข้อนี้ท่านจะว่าอย่างไร ?”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“เรื่องนี้ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะว่าบรรดาชาวสวรรค์นั้นล้วนเป็นคนหนุ่มทั้งหมด ในบรรดาคนเหล่านั้นไม่มีคนชราเลย รายงานเหล่านี้คือสิ่งที่พวกลูกหลานของอุมัยยะฮฺแต่งขึ้นมาเอง เพื่อให้ได้เรื่องราวที่ตรงข้ามกับคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องของท่านฮะซันและท่านฮุเซน(อฺ) ว่าบุคคลทั้งสองนั้นเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มชาวสวรรค์”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านอุมัร บินค็อฏฏอบนั้นอยู่ในฐานะเป็นดวงประทีปสำหรับชาวสวรรค์”

๖๒

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“นี่ก็คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะในสวนสวรรค์นั้นมีบรรดามะลาอิกะฮฺที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มีท่านนบีอาดัม

ท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดานบีตลอดทั้งบรรดาศาสนทูต

ทั้งมวล สวนสวรรค์ไม่มีรัศมีสว่างไสวด้วยกับรัศมีของบุคคลเหล่านั้นเลย นอกเสียจากด้วยรัศมีของอุมัรเท่านั้นหรือ ?”

ยะฮฺยา ได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า :

แท้จริงท่านหญิงซะกีนะฮฺมีวาทศิลป์เช่นเดียวกับวาทศิลป์ของอุมัร”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันมิได้ปฏิเสธเกียรติยศของท่านอุมัร แต่ทว่าท่านอะบูบักรนั้นย่อมมีเกียรติเหนือกว่าท่านอุมัร แต่ท่านยังกล่าวไว้บนมินบัรในครั้งหนึ่งว่า

“แท้จริงสำหรับตัวของข้าพเจ้านี้มีชัยฏอนที่คอยหลอกลวงข้าพเจ้าอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าหากข้าพเจ้าหันเหไป พวกท่านก็จงช่วยประคับประคองข้าพเจ้าด้วย”

ยะฮฺยาได้กล่าวอีกว่า

“มีรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า :

ถ้าหากข้าพเจ้ามิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาแล้วไซร้แน่นอนอุมัรนั่นแหละคือผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง”

๖๓

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“พระคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ย่อมมีความสัจจริงยิ่งกว่าฮะดีษบทนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“และในเมื่อเราได้ทำสัญญาต่อบรรดานบีและทำสัญญากับเจ้า

 อีกทั้งกับนูฮฺ......”

(อัล-อะฮฺซาบ: ๗)

แน่นอนจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีพันธสัญญากับบรรดานบีจะเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะเปลี่ยนพันธสัญญาอันนี้ นั่นคือบรรดานบีทั้งหมดไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย

อย่างแน่นอน จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะแต่งตั้งผู้ที่เคยตั้งภาคีมาเป็นนบี ในเมื่อท่านอุมัรนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

 ท่านเป็นผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)? และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้นได้เคยกล่าวไว้ว่า :

“ฉันถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีในขณะที่อาดัมยังอยู่ในสภาวะระหว่างวิญญาณและเรือนร่าง”

ยะฮฺยา บินอักษัม ได้กล่าวว่า

“มีรายงานอีกบทหนึ่งกล่าวว่า : แท้จริงท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า

๖๔

“ยามใดที่วะฮฺยูมิได้ถูกประทานลงมายังฉัน ทำให้ฉันนึกเสมอว่า มันได้ถูกประทานลงมายังอิบนุค็อฏฏอบ(อุมัร)”

อิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“นี่คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าไม่คู่ควรแก่ท่านที่ท่านนบี(ศ)จะตั้งข้อสงสัยในเรื่องตำแหน่งการเป็นนบีของตัวท่านเอง เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“อัลลอฮ์ทรงคัดเลือกส่วนหนึ่งจากบรรดามะลาอิกะฮฺให้

เป็นทูตและส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ขึ้นมาให้เป็นศาสนทูต...”

(อัล-ฮัจญ์: ๗๕)

แล้วเป็นไปได้อย่างที่พระองค์จะทรงเปลี่ยนย้ายตำแหน่งนบีจากบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกสรรไปยังบุคคลที่เคยตั้งภาคีต่อพระองค์”

ยะฮฺยากล่าวอีกว่า

“มีรายงานบอกว่า : ท่านศาสนทูตกล่าวว่า

“ถ้าหากโทษทัณฑ์ได้ถูกประทานลงมาแล้วไซร้ แน่นอนที่สุดจะไม่มีใครรอดปลอดภัยได้นอกจากอุมัร”

๖๕

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้กล่าวว่า

“เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขาเหล่านั้นอย่างแน่นอนในขณะที่เจ้ายังอยู่ท่ามกลางพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่เป็นผู้ลงโทษทัณฑ์เขาเหล่านั้น ในขณะที่พวกเขาขอการอภัยโทษอยู่”

(อัล-อันฟาล: ๓๓)

หมายความว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระองค์จะไม่ลงโทษบุคคลใดตราบเท่าที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยังอยู่กับพวกเขาและตราบเท่าที่พวกเขายังอภัยโทษอยู่”(๑)

(๑) อัล-เอียะฮฺติญาจญ์ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๙

๖๖

อิมามที่ เก้า

ถกปัญหาอะฮฺกาม

กับยะฮฺยา บินอักษัม

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับยะฮฺยา บินอักษัมว่า

“ท่านจะเสนอคำถามแก่อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินริฏอ เพื่อเอาชนะเขาให้ได้สักครั้งเถิด”

ยะฮฺยากล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่นิกาฮฺกับหญิงคนหนึ่งที่ผิดประเวณีจะอนุญาตให้เขาแต่งงานกับนางหรือไม่”

อิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ให้เขาออกห่างจากนางจนกว่าอสุจิของเขาและอสุจิของชายอื่นจะพ้นวาระไปจากนาง

หากเขาไม่หลีกเลี่ยงให้พ้นจากนางแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ว่านางจะมีบุตรกับคนอื่น เช่นเดียวกับที่นางจะมีบุตรกับเขา หลังจากนั้นผ่านไปแล้ว ให้เขาแต่งงานกับนางได้ถ้าหากเขาต้องการ อันที่จริงแล้ว

นางเปรียบได้เสมือนลูกอินทผาลัมที่ชายคนหนึ่งรับประทานไปในขณะที่ยังเป็นของต้องห้าม

๖๗

ต่อจากนั้นถ้าเขาได้ซื้อมันเสียให้ถูกต้อง แล้วเขารับประทานมันไป มันก็จะเป็นของที่อนุญาต”

ปรากฏว่ายะฮฺยาถึงกับนิ่งเงียบ

(ตะฮัฟฟุลอุกูล หน้า ๓๓๕)

คำตอบอันลุ่มลึกของอิมามญะวาด(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ

สภาพแวดล้อมในช่วงสมัยของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้น มีความแตกต่างออกไปจากสมัยอื่นๆ อย่างมากมาย นั่นคือที่สำคัญที่สุดท่าน(อฺ)มีอายุน้อย กล่าวคือท่านขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็น

ท่านอิมาม(อฺ)ในขณะที่อายุได้เพียง ๘ ปี ซึ่งปรากฏว่าเรื่องอายุของท่านได้กลายมาเป็นปัญหาสำหรับการซักถามและข้ออ้างอย่างมากมาย จนกระทั่งในสถานที่ประชุมครั้งหนึ่งท่าน(อฺ)ต้องถูกตั้ง

คำถามมากถึง ๓๐, ๐๐๐ คำถาม (๑)

(๑) อุศูลุลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๙๖, มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๐

อิษบาตุลฮุดาฮ์ เล่ม ๖ หน้า ๑๗๕, บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒

หน้า ๑๒๐, อัด-คัมอะตุซซากิบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๓

ญะลาอุล-อุยูน เล่ม ๓ หน้า ๑๐๖, ศ่อฮีฟะตุลอับรอรฺ เล่ม ๒

หน้า ๓๐๐, อันวารุ้ลบะฮียะฮฺ หน้า ๑๓๐, อัล-มะญาลิซุซ

ซุนนะฮฺ เล่ม ๕ หน้า ๔๒๓ วะฟาตุลอิมามิลญะวาด หน้า ๕๘

๖๘

ขณะเดียวกันที่ว่าฐานะของท่าน(อฺ)ที่มีต่อมะอ์มูนนั้น ท่าน(อฺ)อยู่ในฐานะที่เป็นคนมีเกียรติ

 ในขณะที่คนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺต่างได้พยายามยกย่องให้เกียรติ ยะฮฺยา บินอักษัม ผู้พิพากษาประจำ

ราชสำนัก และยุให้เขาตั้งคำถามที่มีความยุ่งยากสับสน เพื่อที่ว่า

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)จะหมดปัญญาในการให้คำตอบ แล้วฐานะของท่าน(อฺ)ก็จะหมดความสำคัญไปจากสายตาของมะอ์มูน

ในบทที่ผ่านมาเราได้เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักฐานประเภทนั้นบางส่วนไปแล้ว ในบทนี้เราจะมากล่าวถึงประเภทของคำถามอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นเป็นหลักฐานไปถึงเรื่องราวการดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของท่าน(อฺ)และเป็นสิ่งที่ยืนยันอีกด้วยว่า ท่าน(อฺ)คือทายาททางด้านวิชาการและความรู้ทางศาสนาของ

บรรพบุรุษของท่าน(อฺ)

๖๙

 

และแสดงให้เห็นว่า ความอ่อนเยาว์ในด้านอายุนั้นมิได้เป็นอุปสรรคอันใดในเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า เพราะโดยแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงคัดเลือกท่านนบีอีซา(อฺ)ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนบีในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่

ดังมีโองการว่า :

“ครั้นแล้ว นางก็ได้นำเขาไปหาพรรคพวกของนางโดยที่นางได้อุ้มเขาไป พวกเขากล่าวว่า

โอ้ มัรยัมเอ๋ยเจ้าได้นำสิ่งแปลกประหลาดมาแล้ว

น้องหญิงของฮารูนเอ๋ย พ่อของเธอมิได้เป็นชายชั่ว แม่ของเธอก็มิได้เป็นคนสำส่อน ดังนั้นนางก็ชี้ไปทางเขา(อีซา) พวกเขากล่าวว่า

เราจะพูดกับเด็กในเปลได้อย่างไร ?

เขา(อีซา) กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ

---------------------------------------------

(เชิงอรรถต่อ)

ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ข้อนี้ได้ถูกนำมากล่าวถึงอย่างเป็นเอกฉันท์โดยที่บรรดานักปราชญ์ได้บันทึกไว้ในตำราของพวกตน ดังเช่นที่ท่านนะศีรุดดีน อัฏ-ฏูซี(ร.ฮ.)ได้นำมาบันทึกไว้ในหนังสือ ‘เราฏ่อตุล-ญันนาต’ หน้า ๕๑๐. เพื่อตอบคำถามของลูกศิษย์คนหนึ่ง

ชื่อ ท่านนัจญ์มุดดีน อฺะลี บินอุมัร เจ้าของหนังสือ ‘มัตนุชซัมซียะฮฺ’ และหนังสือสำคัญอีก๒ เล่ม คือ ‘ฮิกมะตุลอัยนฺ’

๗๐

 และ ‘ญามิอุดดะกออิก’ ความว่า

ในขณะที่ท่าน(อฺ) อยู่ในสมรภูมิ เท้าข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนพาหนะ และเท้าอีกข้างหนึ่งของท่าน(อฺ)อยู่บนดิน แต่ท่าน(อฺ)ก็ยังสามารถตอบคำถามได้ถึง ๔๐๐ ปัญหาอันล้วน

แต่เป็นปัญหาที่ลำบากในการให้ตอบ แต่ท่าน(อฺ) ก็ได้ให้คำตอบอย่างครบถ้วน

อันนี้มิใช่เป็นเรื่องราวที่มากมายแต่ประการใดสำหรับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)

ในฐานะที่ท่าน(อฺ)เป็นทายาททางวิชาการ และมีความรู้ทางศาสนา จากบรรดาบรรพบุรุษผู้ทรงเกียรติของท่าน(อฺ) ปัญหาในด้านต่างๆ ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อซักถามท่านอิมามญะวาด(อฺ) นั้นมีมากมายหลายคำถามซึ่งถ้าหากเราได้พิจารณาการแสดงทัศนะโต้ตอบที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ) มีกับยะฮฺยา บินอักษัมแล้ว เราจะพบว่า มันได้แตกออกเป็นปัญหา

ปลีกย่อยมากมาย กล่าวคือในประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้ครองเอียฮฺรอมทำการล่าสัตว์ก็มีรายละเอียดต่างๆ หลายแง่มุม เช่นเดียวกับที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้แสดงทัศนะกับ

ปัญหาข้อที่สอง

๗๑

กล่าวคือ มีทั้งปัญหาประเภทที่อิมาม(อฺ)ได้รับมาอย่างนี้ ขณะเดียวกันก็ยังมีประเภทที่สามารถให้คำตอบในทันที่ว่า ‘ใช่หรือไม่ใช่’

ท่านอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี(ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺพึงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหนังสือบิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๒๒. คำตอบต่างๆ นั้นสามารถวิเคราะห์ได้หลาย

แง่มุม ดังนี้

๑. คำกล่าวนี้เป็นไปในลักษณะ ‘พูดเกินจริง’ (มุบาละเฆาะฮฺ) ในเรื่องของจำนวนคำถาม

และคำถาม ถ้าเป็นไปตามนั้นก็ยากต่อความเข้าใจ

๒. เป็นไปได้ที่ว่าในหมู่ชนต่างๆ มีคำถามมากมายแต่เนื้อหาตรงกัน ดังนั้นเมื่อท่าน (อฺ) ให้คำตอบข้อซักถามของคนหนึ่งก็เท่ากับให้คำตอบแก่คนทั้งหมดไปด้วย

๓. เป็นคำชี้แจงที่ให้เนื้อหาอย่างมากมาย ทั้งๆ ที่มาจากประโยคคำพูดที่รวบรัดอันรวมไปถึงหลักการตอบบทบัญญัติศาสนา

๗๒

๔. ความหมายที่ว่า ‘การประชุมครั้งหนึ่ง’ นั้น อาจหมายถึง ‘การประชุมในลักษณะเดียวกัน’ หรือ ‘การประชุม’ ณ สถานที่เดียวกันถึงแม้วันเวลาจะต่างกันก็ตาม’

๕. ท่านอิมามญะวาด (อฺ) ได้แสดงความสามารถพิเศษในการให้คำ

ประทานคัมภีร์ให้แก่ฉันและทรงแต่งตั้งให้ฉันเป็นนบีแล้ว”

(มัรยัม: ๒๗-๓๐)

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังได้ประทานอำนาจ(การเป็นนบี)ให้แก่ท่านนบียะฮฺยา(อฺ)บุตรของนบีซะกะริยา(อฺ)ในขณะที่ยังเป็นเด็กอีกเช่นกัน

ดังมีโองการว่า :

“และเราได้ประทานอำนาจให้แก่เขาในขณะที่ยังเป็นเด็ก”

(มัรยัม: ๑๒)

๖. อันเนื่องมาจากผ่านมาหลายยุคหลายสมัย พวกศูฟีเป็นผู้กระทำขึ้นมาเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่อุตริขึ้น

 ท่านมุฮัมมัด ตะกีฮุจญะตุลอิสลามได้กล่าวไว้ในหนังสือ

 ‘ศ่อฮีฟะตุ้ลอับรอรฺ’ เล่ม ๒ หน้า ๓๐๐. ว่า

ส่วนหนึ่งจากบรรดาคำถามที่ท่านตอบสั้น ๆอย่างรวบรัดมีดังต่อไปนี้ ท่าน(อฺ)ถูกถาม

ว่า

๗๓

ถาม : ความหมายของอักษร ‘กอฟ’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงชื่อของภูเขาที่โอบล้อมโลก

ถาม : อักษร ‘ศอด’ หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : หมายถึงตาน้ำที่อยู่เบื้องล่างของบัลลังก์อะรัช

ถาม : ความหมาย ‘นาม’ เป็นอย่างไร?

ตอบ : ลักษณะโดยรวมของสิ่งที่ถูกกล่าวถึง

ถาม : อนุญาตให้เช็ดบนรองเท้าสองข้างได้หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ได้

ถาม : จะตักบีรในนมาซมัยยิตกี่ครั้ง ?

ตอบ : ๕ ครั้ง

ถาม : ในนมาซวาญิบให้อ่านซูเราะฮฺด้วยหรือ ?

ตอบ : ใช่แล้ว

ต่อไปนี้ เราจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับการตอบคำถามโดย

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)มาเสนอเพียงบางประการ

๗๔

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ ๑

เมื่อผ่านพ้นสมัยของท่านอิมามริฏอ(อฺ)แล้ว ท่านมุฮัมมัด บินญุมฮูร อัล-กุมมี ท่านฮะซันบินรอชิด ท่านอฺะลี บินมัดร็อก

 และท่านอฺะลี บินมะฮฺซียาร รวมทั้งประชาชนในบ้านเมืองต่างๆ อีก

จำนวนหนึ่งเดินทางมายังนครมะดีนะฮฺ คนเหล่านั้นได้ถามเกี่ยวกับบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งสืบต่อหลังจากท่านอิมามริฏอ(อฺ)

พวกเขาได้กล่าวว่า “ต้องเป็นชาวบัศรีย์”

 (เมืองหนึ่งซึ่งอิมามมูซาบินญะอฺฟัรได้ก่อตั้งขึ้น ห่างจากนครมะดีนะฮฺ ๓ ไมล์)

เขาเหล่านั้นได้กล่าวว่า :

ครั้นเมื่อเรามาถึงและได้เข้าสู่วัง ขณะนั้นคนทั้งหลายกำลังอยู่ในสภาพโกลาหลอลหม่าน

เราจึงได้เข้าไปนั่งร่วมกับพวกเขา บัดนั้นเองท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ซึ่งอยู่ในวัยอาวุโสได้ออกมาพบกับพวกเรา คนทั้งหลายกล่าวขึ้นว่า

“นี่แหละคือประมุขของเรา”

บรรดานักปราชญ์ฟุก่อฮาอ์ได้กล่าวขึ้นว่า

“แน่นอน ! เราได้รับคำสอนจากท่านอะบูญะอฺฟัร และท่านอะบู อับดุลลอฮฺ(อฺ) ว่า ตำแหน่งอิมามนั้นจะต้องไม่บังเกิดแก่พี่น้องสองคนติดต่อกัน นอกจากท่านฮะซัน(อฺ)กับท่านฮุเซน(อฺ) เท่านั้น

๗๕

 ดังนั้นท่านผู้นี้จะเป็นประมุขของเรามิได้”

แล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้มานั่งตรงหน้าที่ประชุม ชายคนหนึ่งได้ลุกขึ้นถามว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย?”

เขาตอบว่า

“ต้องตัดมือของเขา ต้องเฆี่ยนตีเขา และต้องเนรเทศเขาไปจากบ้านเมือง”

มีชายอีกคนกลุ่มลุกขึ้นถามต่อไปว่า

“ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนเท่าจำนวนของดวงดาวบนท้องฟ้า?”

เขาตอบว่า

“เขาจะอยู่ท่ามกลางนกเหยี่ยว และอยู่ท่ามกลางนกอินทรีย์”

ปรากฏว่าพวกเราตื่นตะลึงในคำตอบที่ผิดพลาดของเขา ครั้นแล้วท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้ เดินออกมาหาพวกเรา

 ขณะนั้นท่าน(อฺ)มีอายุเพียง ๘ ปี พวกเราลุกขึ้นแสดงความคารวะต่อท่าน(อฺ)

ท่าน(อฺ)ได้ให้สลามกับประชาชน และแล้วท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งของตนแล้ว

๗๖

กลับมานั่ง ณ เบื้องหน้าของท่าน(อฺ) ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ได้นั่งต่อหน้าที่ประชุมแล้วกล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงตั้งคำถามมาเถิด ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเมตตาต่อพวกท่าน”

ชายคนแรกได้ลุกขึ้นถามท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่กระทำวิตถารทางเพศกับลาตัวเมีย ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ให้ตีเขา และให้เขาเสียค่าปรับตามราคาของลาตัวนั้น และถือว่าการใช้งานลาตัวนั้น ตลอดทั้งลูกของลาตัวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และให้นำมันออกไปให้ไกลจนกระทั่งถึงที่ที่สนัขป่ากัดกินมัน

เสีย”

หลังจากนั้นท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้โต้แย้งคำตอบจาก

ท่านอับดุลลอฮฺ บินมูซา ว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย สำหรับชายคนนั้นที่เขาขุดหลุมฝังศพหญิงคนหนึ่งที่ตายไป แล้วเขาขโมยผ้ากะฝั่นชองนาง และกระทำชำเราต่อซากศพนั้นกล่าวคือจำเป็นที่เขาจะต้องถูกตัดมือเพราะเหตุว่าขโมย จำเป็นจะต้องถูกเฆี่ยนตี เพราะเหตุว่าล่วงประเวณี และจะต้องเนรเทศไปให้ไกล ถ้าหากเขาเป็นคนโสด แต่ถ้าหากเขาเป็นคนมีคู่ครองแล้ว จำเป็นจะต้องประหารชีวิตและขว้างจนตาย”

๗๗

ชายคนที่สองกล่าวอีกว่า

“โอ้บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านจะว่าอย่างไรในเรื่องของชายคนหนึ่งที่หย่าร้างกับภรรยาของตนหลายครั้งเท่าจำนวนดวงดาวในท้องฟ้า ?”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านเคยอ่านอัล-กุรอานหรือไม่ ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“เคยอ่านครับ”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ) กล่าวว่า

“ท่านจงอ่านซูเราะฮฺ อัฏ-ฏ่อลาก ไปจนถึงโองการที่ว่า :

“และสูเจ้าจงดำเนินการตั้งพยานยืนยันเพื่ออัลลอฮฺเถิด”

(อัฏ-ฏ่อลาก: ๒)

โอ้ท่านเอ๋ย การฏ่อลาก (หย่า) จะยังใช้ไม่ได้ นอกจากจะมีองค์ประกอบ ๕ ประการ นั้นคือ

จะต้องมีพยานที่เที่ยงธรรมตามหลักศาสนายืนยัน ๒ คน นางจะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดโดยมิได้ผ่านการร่วมประเวณี(ในช่วงรอบเดือนนั้น ๆ) จะต้องเป็นไปด้วยเจตนารมณ์และความตั้งใจอย่าง

แท้จริง”

๗๘

หลังจากผ่านคำตอบไปแล้ว ท่าน(อฺ)ได้กล่าวอีกว่า

“โอ้ท่านเอ๋ย ท่านเคยพบเห็นว่าในอัล-กุรอานระบุถึงจำนวนดวงดาวในท้องฟ้ากระนั้นหรือ?”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ไม่เคยพบ”

( บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๙ )

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ ๒

ท่านอะฮฺมัด บินอะบีดาวูด หัวหน้าผู้พิพากษาในสมัยของ

ค่อลีฟะฮฺอัล-มุอฺตะศิมได้กล่าวว่า:

แท้จริงมีโจรคนหนึ่งมาสารภาพผิด และขอร้องให้ท่านค่อลีฟะฮฺดำเนินการชำระโทษด้วยการลงโทษเขา

 ครั้นแล้วบรรดานักฟุก่อฮาอ์ก็ได้เข้ามาร่วมด้วย พวกเราได้ซักถามกันถึงเรื่องหลักการตัดมือ ‘ตำแหน่งที่ตัดนั้นอยู่ ณ ตรงไหน’

ข้าพเจ้าให้ความเห็นว่า “จะต้องตัดตรงข้อมือ”

เขากล่าวว่า “หลักฐานในข้อนี้เป็นอย่างไร?”

๗๙

ข้าพเจ้าตอบว่า

“เพราะว่ามือนั้นหมายถึงนิ้วทั้งหมด และรวมถึงฝ่ามือ ไปจนถึงข้อมือ ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำตะยัมมุมว่า :

“......ดังนั้นจงลูบที่ใบหน้าและมือทั้งสองข้างของสูเจ้า....”

(อัน-นิซาอ์: ๔๓)

ปรากฏว่ามีคนพวกหนึ่งเห็นด้วยกับข้าพเจ้าในข้อนี้ แต่อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า จำเป็นจะต้องตัดที่ข้อศอก เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในเรื่องการทำวุฏูอ์ว่า :

“....และมือของสูเจ้าถึงข้อศอก....”

(อัล-มาอิดะฮฺ: ๖)

แสดงให้เห็นว่า ขอบเขตของมือคือข้อศอกด้วย”

เขาจึงหันไปถามความเห็นของท่านมุฮัมมัด บินอฺะลี(อฺ) ว่า

“โอ้ ท่านอะบูญะอฺฟัร ท่านจะกล่าวอย่างไรในเรื่องนี้”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวตอบว่า

“คนเหล่านั้นได้พูดถึงเรื่องนี้ไปแล้ว โอ้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน”

เขากล่าวว่า

“ฉันไม่สนใจในสิ่งที่คนเหล่านั้นพูด แต่ฉันอยากรู้ว่า ท่านจะกล่าวอย่างไร ?”

๘๐