พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27296
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27296 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 และแนวทางแห่งการปฏิบัติทั้งหลายของความสัมพันธ์นี้ด้วยกับถ้อยคำอันสละสลวยเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ แต่มั่นคงดุจผาหิน ดึงดูดและโน้มน้าวจิตใจ

อัลกุรอาน จะทำการอรรถาธิบายหน้าที่ และความรับผิดชอบทางสังคมของประชาชนทั้งหลาย สอนวิถีแห่งการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

อัล กุรอาน ได้ทำลายความแตกต่างระหว่างชนชั้น และความเหินห่างที่ไร้ซึ่งกฎระเบียบ

อัลกุรอาน คือ ความหวังอันสูงสุด ความเป็นเพื่อน ความเท่าเทียมกันและการอบรมสั่งสอนประชาชน

โวหารและฉันทลักษณ์อันไร้ซึ่งผู้เทียบทาน

ความรอบรู้ทางด้านภาษา การค้นหาแหล่งที่มาของคำต่างๆ ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ยากเย็นแต่ประการใด ทว่าการนำมาเรียบเรียงด้วยลักษณะที่ถูกจำกัดด้วยฉันทลักษณ์และโวหารอันลึกซึ้ง อีกทั้งการเรียบเรียงด้วยประโยคที่สามารถจุดประกายความคิดของผู้อ่านได้ทันทีในสภาพที่เหมาะสมที่สุด นั่นเป็นงานที่ถ้าปราศจากการคำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางด้านภาษาอย่างละเอียดละออ ลึกซึ้ง และดึงดูดละก็ ย่อมไม่อาจอุบัติขึ้นได้อย่างแน่นอน

สำหรับเรื่องฉันทลักษณ์ และโวหารในทุกคำพูด หรือข้อเขียนใดๆ นั้นมีเรื่องต้องพิจารณาด้วยกัน 3ประการ กล่าวคือ :

1) ครอบคลุมทางด้านรากศัพท์และความหมาย

2) ให้ข้อคิดและดึงดูด

3) อธิบาย หรือเขียนได้อย่างดีเยี่ยม

ขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาจุดนี้ด้วยว่า ถึงแม้ว่า จะมีกฎเกณฑ์ทางหลักภาษา และฉันทลักษณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดีแล้ว ก็ใช่ว่าจะมีคนที่หาญกล้าประกาศตัวว่า ข้อเขียน หรือคำพูดของตัวเองนั้น มีความสูงส่ง เลอเลิศในทุกยุคทุกสมัย และไม่อาจมีใครรจนาได้เหมือนตนเอง

แต่ทว่า...พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง ซึ่งพลานุภาพและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไม่มีขีดจำกัด

พระองค์ได้ตรัสถ้อยคำในอัลกุรอานโดยการเรียบเรียงถ้อยคำและรูปประโยคไว้ในลักษณะที่จะไม่มีผู้ใดนำมาเสกสรรปั้นแต่งได้เหมือนมันอีกแล้ว ถึงแม้จะเป็นผู้ที่มีโวหารที่ดีเยี่ยม และรอบรู้ฉันทลักษณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดก็ตาม

และนี้ก็คือรหัสย์แห่งความเป็นอมตะของอัลกุรอาน

 

แหล่งอ้างอิงของศาสดาท่านสุดท้าย มุฮัมมัด (ศ)

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อัลกุรอาน เจิดจรัสขึ้นในยุคที่อาหรับมีความเจริญทางด้านภาษาและ

การใช้ภาษา มีนักกวีที่มีชื่อเสียง และนักพูดฝีปากกล้าเป็นจำนวนมาก เช่น อุมะรุลกอยซฺ ละบีด ฯลฯ ซึ่งจนกระทั่งถึงปัจจุบันถือเป็นแบบฉบับทางด้านวรรณลักษณ์เลยทีเดียว คนเหล่านั้นจะพูดหรือสนทนาเป็นภาษากวีตรึงใจ

ผู้ฟัง ถึงขนาดบางครั้งต้องนำเอาบทกลอน หรือบทกวีนั้นบันทึกลงบนแผ่นไม้ แล้วเอาไปประดับรอบอัล –กะอฺบะฮฺ

แต่ร่องรอยจารึกเหล่านี้ ด้วยกับการฉายแสงอันเรืองรองของอัลกุรอาน ดั่งแสงของดวงดาวต่าง ๆ ที่ให้แสงระยิบระยับดับความมืดมิด ชาวอาหรับที่มีโวหารดีทั้งหลายตกอยู่ในการภวังค์เมื่อได้เจอโวหารพจน์ของอัลกุรอาน ถึงขนาดที่ว่าศัตรูที่ไม่ลงรอยกัลป์อิสลาม และท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ที่จ้องประหัตประหาร

ท่าน (ศ) และศาสนาของท่าน(ศ) นั้น ได้ประสบกับความพ่ายแพ้ในการจ้องจับผิดเรื่องการใช้ภาษา และการอรรถาธิบายของอัลกุรอาน ทั้งๆ ที่ได้พากเพียรพยายามอย่างหนักหน่วง ก็เพราะว่าพวกเขานั้นไร้ซึ่งความสามารถที่จำทำเช่นนั้น

คำพิพากษาของศัตรูทั้งหลาย

ในช่วงเวลาแห่งการทำฮัจญ์ ประชาชนจากทุกทิศจะหลั่งไหลเข้ามาสู่เมืองมักกะฮ ชาวกุเรชรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเกิดความกลัวว่า

ข่าวการเป็นนบีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จะรู้ไปถึงหูของผู้แสวงบุญ และมีอิทธิพลต่อพวกเขา ดังนั้นชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งโดยการนำของวะลีด บินคอลิด จึงได้ร่วมชุมนุมกันวางแผนใส่ร้าย

ท่านศาสดา (ศ) และหาทางยับยั้งไม่ให้ผู้แสวงบุญเหล่านั้นได้พบกับท่าน (ศ) เมื่อทุกคนได้มารวมตัวกันพร้อมแล้ว ชายคนหนึ่งพูดขึ้นว่า

“เราต้องบอกพวกเขาว่าชายคนนี้ เป็นจอมขมังเวทย์ เป็นนักไสยศาสตร์”

วะลีด ตอบว่า

“พวกเขาไม่เชื่อหรอก เพราะคำพูดของเขาไม่เหมือนนักเวทมนตร์เลย”

คนต่อมา กล่าวเสริมว่า

“หรือเราจะบอกว่าเขาเป็นบ้าก็ได้”

วะลีด ก็ตอบว่า

“ก็จะไม่มีใครหลงเชื่ออีก เพราะพฤติกรรม และการสนทนาของเขาไม่เหมือนกับคนที่วิกลจริตเลย”

ชายอีกคน พูดแทรกขึ้นว่า

“ถ้ายังงั้น บอกพวกเขาว่า ชายคนนี้เป็นนักกลอน”

วะลีด ก็ตอบอีกว่า

“พวกเขาก็จะไม่ยอมรับอีกนั่นแหละ เพราะชาวอาหรับรอบรู้ในโคลงกลอนทุกอย่าง คำพูดของเขาไม่เหมือนกับโคลงกลอนบทใดเลย”

คนต่อมาก็เสนอว่า

“นักมายากลมีวิธีการและรูปแบบเฉพาะ เช่น ผูกปมเชือก เปลี่ยนนกให้เป็นผ้า ฯลฯ ทว่า มุฮัมมัดจะไม่กระทำอย่างนี้เป็นอันขาด”

ทันใดนั้นเองวะลีดก็รำพันขึ้นว่า ...

“ขอสาบานต่อพระเจ้า คำพูดของชายคนนั้นไพเราะและจับใจเป็นพิเศษถ้อยคำของเขาเสมือนต้นไม้ต้นหนึ่งที่เต็มไปด้วยรากอันแข็งแกร่งมั่นคง และมีกิ่งก้านสาขาที่เต็มไปด้วยดอกผลโน้มต้นลงมา ดังนั้นมีอยู่อย่าง

เดียวที่เราสามารถจะบอกกับทุกคนได้ก็คือ คำพูดของเขามีเวทมนตร์ตรึงอยู่ ซึ่งมันจะทำให้พ่อ –ลูก สามี ภรรยาแยกทางกัน”

ประชาชาติอื่นที่มิใช่อาหรับ ถ้าต้องการจะศึกษาถึงโวหารและ

สุนทรพจน์อีกทั้งต้องการตรวจสอบว่า

อัลกุรอาน อยู่ในระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดทางด้านโวหารและการใช้ภาษาอย่างไร สามารถที่จะตรวจสอบกับถ้อยคำของนักโวหารอาหรับสมัยนั้น ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้หรือแม้กระทั่งจากข้อเขียนที่เขียนเรื่อง

ทำนองนี้ในสมัยปัจจุบัน และการยอมรับของผู้ที่ชำนาญในสาขาวิชานั้นเป็นอย่างดี

เป็นที่น่ายินดีว่า นับตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ) จวบจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันได้เขียนว่า :

“ผู้รู้ นักภาษาศาสตร์ และนักเขียนในทุกยุคทุกสมัยได้แสดงการยอมรับความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน และรู้ตัวเองว่า ไม่มีอะไรเลยเมื่อเผชิญหน้ากับอัลกุรอาน”

 ประวัติศาสตร์อาหรับได้บันทึกรายชื่อผู้ที่เป็นสุดยอดทางด้านการใช้ภาษาและโวหารอันลึกซึ้งไว้หลายคน เช่น อิบนุมักฟะอฺ ญาฮิช อิบนุอุมัยดฺ ฟัรซะดัก บิฮาร อะบูนะวาซ อะบูตะมาม แต่พวกเขาทั้งหมดได้ยอมสยบ

เมื่ออยู่ต่อหน้าอัลกุรอาน อีกทั้งยอมรับว่า อัลกุรอาน อันจำเริญไม่ใช่คำพูดของมนุษย์แต่เป็นวิวรณ์ (วะฮฺยู)จากพระผู้เป็นเจ้า”

รูปแบบเฉพาะที่ไม่มีใครเหมือน

ดร. ฏอฮา ฮุเซน นักนิรุกติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในปัจจุบัน กล่าวว่า

“อัลกุรอาน สูงส่งเกินกว่าจะเป็นบทกวีหรือบทกลอนใด ๆ เพราะมีลักษณะพิเศษที่ไม่อาจหาได้ในบทกลอน หรือบทกวีใด ดังนั้นจึงไม่อาจบอกว่าอัลกุรอาน คือร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง แต่จะต้องกล่าวว่า

 อัลกุรอาน คือ อัลกุรอาน”

นี่คือ ความดีเด่นเฉพาะของอัลกุรอาน เป็นผลมาจากภาษาที่มีลักษณะเฉพาะการอรรถาธิบาย และรูปแบบเฉพาะของอัลกุรอาน นั่นเอง และไม่มีถ้อยคำใดที่อาจหาญไปเปรียบเทียบกับอัลกุรอานได้

เรื่องราวที่สัมพันธ์กันเป็นหนึ่ง

ข้อเขียน หรือคำพูดของบุคคลใด ไม่ว่าจะสละสลวยหรือพูดได้ไพเราะสักปานใด ก็ยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเมื่อต่างสภาวะ ต่างเหตุการณ์กัน ตัวอย่างเช่น งานของนักเขียนคนหนึ่งในช่วงเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนจะแตกต่างจากผลงานที่เกิดขึ้นในปีต่อๆ มา ซึ่งได้ผ่านการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญแล้ว ผลงานที่ออกมาในภายหลังย่อมต้องดูดีกว่าผลงานในตอนแรกเสมอ

ทว่า อัลกุรอาน ด้วยกับการถูกประทานลงมาตลอดช่วง 23 ปีนั้น

ทั้งๆ ที่ถูกประทานมาในสภาพที่แตกต่างกัน ผ่านช่วงเวลาอันยาวนาน ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

แต่ ก็ยังเป็นอัลกุรอาน ที่คงความเป็นแหล่งที่มาอันอุดมสมบูรณ์อยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวต่างๆรูปแบบ และวิธีการอรรถาธิบายของ

อัลกุรอานนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความฉงนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราได้เห็นแล้วว่า

ในถ้อยคำของอัลกุรอาน มีการพูดถึงเรื่องราวที่แตกต่างกัน แต่รูปแบบ และวิธีการอรรถาธิบายก็ยังคงเป็นหนึ่งเดียวกัน

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บุคคลที่มีความสามารถเฉพาะในสาขาวิชาหนึ่งถึงขึ้นเป็นผู้ชำนาญการในสาขานั้น

หากว่าเขาได้ทำในงานที่เขาถนัด และมีความสามารถละก็ แน่นอนย่อมจะต้องประสบกับความรุ่งเรืองเป็นแน่

แต่กับอีกบุคคลหนึ่งต้องการที่จะไปจับงานสาขาอื่นที่ตนเองไม่ถนัด และก็ไม่มีความชำนาญแต่อย่างใด ก็ไม่อาจที่จะทำงานนั้นได้เป็นอย่างดี

แต่กับอัลกุรอาน แล้วไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเรื่องใดๆ อัลกุรอานก็ยัง

ฉายแสงแห่งความยิ่งใหญ่ และน่าฉงนอยู่เสมอ

ความมหัศจรรย์ทางด้านวิทยาการของอัลกุรอาน

ถึงแม้ว่า เป้าหมายแรก และเป็นเป้าหมายหลักของอัลกุรอานที่ได้สาธยายไว้อย่างแจ้งชัด ก็คือการนำ ประชาชนสู่แนวทางแห่งความผาสุก

ความอุดมสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตในโลกนี้และโลกหน้าของเขาก็ตาม

ขณะที่มีการกล่าวถึงเป้าหมายอันสูงส่งดังกล่าวก็ยังมีการสาธยาย ความเป็นจริงทางวิทยาการในสาขาต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นชีววิทยา ฟิสิกส์ ระบบเทห์ –วัตถุ ฯลฯ เป็นต้น

นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง ความสูงส่งอีกประการหนึ่งของความมหัศจรรย์แห่งอัล กุรอาน เพราะว่า ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ท่านศาสดา (ศ) ไม่เคยได้รับการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ใด และอาศัยอยู่ในดินแดนที่ไร้ซึ่งวิทยาการใด(ยกเว้นภาษาศาสตร์) ไกลจากแหล่งความรู้ของโลกในสมัยนั้น อาทิ กรีก โรมัน และอิหร่าน

ตัวอย่างอันน่าอัศจรรย์ของอัล – กุรอาน

(ก) อุตุนิยมวิทยา เป็นวิชาความรู้หนึ่งซึ่งเรียกได้ว่าเพิ่งเริ่มมีขึ้น การรับรู้ของคนรุ่นก่อนในเรื่องการมีเมฆมาก มีลม มีฝน มีหิมะ โดยทั่วไปแล้วเป็นเพียงการคาดเดาที่ไม่มีพื้นฐานทางวิชาการใดๆ รองรับ

 พวกกะลาสีเรือ - และชาวนาชาวไร่ แต่ละพวกก็มีเครื่องหมายที่บอกถึงการมาของลม ฝน เป็นของตัวเอง ทำไมพวกเขาไม่เคยรับรู้เลยว่ามันมีที่มาอย่างไรเป็นเวลากว่าพันปีที่เป็นอยู่อย่างนี้จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โทรเลข และเครื่องมือต่างๆ ที่มีความจำเป็นในวิชาอุตุนิยมวิทยาก็ถูกค้นพบ และถูก ประดิษฐ์ขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์เริ่มทำการค้นคว้าเรื่อยมาจนกระทั่งในครึ่งศตวรรษแรกของศตวรรษที่ 20

นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ ชื่อ เบิรกเนส ประสบความสำเร็จได้ประกาศกฎเกณฑ์ทั่วๆ ไปของการรวมตัว และเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆ การเกิดพายุ การเกิดฝนในที่ต่าง ๆ

หลังจากสมัยของเขา การค้นคว้าศึกษาในวิชาการสาขานี้ ก็ค่อยๆ ขยายตัวออกไปเหมือนวิชาการสาขาอื่นๆ วิธีการรวมตัวกันเป็นเมฆ และกลั่นตัวเป็นฝนได้อย่างไร? การก่อเป็นรูปร่างและตกลงมาเป็นลูกเห็บเป็นอย่างไร ? ปัญหาที่เกี่ยวกันกับการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลมมรสุมในเขตร้อน และลมอื่นๆ ที่พัดผ่านแผ่นดินและปัญหาอื่น ๆ ก็ได้รับการเปิดเผยให้กระจ่างขึ้น

ทัศนะของอัลกุรอานในเรื่องดังกล่าว

เมื่อประมาณ 14 ศตวรรษที่แล้ว เมื่อพูดถึงเรื่อง ลม ฝน ฯลฯ

อัลกุรอาน ก็กล่าวในทำนองเดียวกับที่นักอุตุนิยมวิทยาได้ค้นพบครั้งล่าสุด ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า บางทีหมู่เมฆถึงแม้ว่าจะอิ่มตัว

แล้วก็ตาม ก็อาจจะไม่ตกลงมาเป็นฝน ถึงแม้จะกลั่นตัวมาแล้วก็อาจคงตัวอยู่ในสภาพของเกล็ดเล็กๆ ที่ล่องลอย

อยู่ในอากาศที่ยังไม่พร้อมจะตกมาเป็นฝน นอกเสียจากว่ามีสสารชนิดหนึ่งคล้ายเกลือ ซึ่งอาศัยลมพัดพามาจากท้องทะเลไปกระทบกับมัน

หรือที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ความชื้นของอากาศบริเวณหิมะตกที่อยู่บนที่ราบสูง ซึ่งมันจะสลายตัวไปเมื่อโดนลมพัดนั้นจะรวมตัวกัน ในที่สุดเกล็ดเล็กๆ และฝนครั้งแรกที่ปะปนมาพร้อมกับลมต่างๆ ที่พัดไปมาจะเข้ามารวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะตกลงมา

ในกรณีดังกล่าว อัล กุรอาน ได้กล่าวไว้ เมื่อ 1400 ปีมาแล้ว ความว่า :

“เราได้ส่งลมเพื่อทำการผสมเกสรของดอกไม้มา ดังนั้นเราจึงได้ให้น้ำตกลงมาจากฟากฟ้า และได้ทำให้สูเจ้าได้ดื่มกิน...”(อัล – ฮิจร์: 82)

(ข) หลังจากที่ได้มีการประดิษฐ์เครื่องบิน และสามารถที่จะบินไปที่สูงได้ วิทยาการของมนุษยชาติ และการมองเห็นของเขาได้เลยไกลออกไปจากหมู่เมฆที่ก่อตัวกันเข้า และสิ่งที่ถูกปกปิดไปด้วยจุดเยือกแข็ง ในเวลานั้น ไม่มีใครรู้เลยว่า ในท้องฟ้าและบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะของผู้คนทั้งหลายมีภูเขาต่างๆ ที่มีจุดเยือกแข็งปรากฏอยู่

ทว่า อัล กุรอาน ได้กล่าวอย่างชัดเจนสมบูรณ์ที่สุดไว้แล้วว่า

 “...พระองค์ได้ให้สิ่งหนึ่ง (หิมะ ลุกเห็บ ฝน) ตกลงมาจากฟากฟ้า จากภูเขาน้ำแข็ง (ซึ่งอยู่ในใจกลางท้องฟ้า) ...”(อัน – นูร: 43)

(ค) เรื่องสิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่นนั้น ถึงแม้ว่ามนุษยชาติได้อาศัยวิชาความรู้เรื่องอวกาศได้ก้าวเท้าบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์บางประเภท หรือบางทีอาจจะ

ค้นพบมนุษย์ดาวอื่นก็ได้ ทว่า...อัล – กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้โดยปราศจากการคลางแคลงสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้นว่า

“จากสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์ คือ การสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและฟื้นแผ่นดินและสิ่งซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในสิ่งทั้งสอง จำพวกสิ่งมีชีวิต (ซึ่งรวมทั้งคนและสัตว์) เมื่อพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็มีความสามารถในการรวบรวมมันไว้ทั้งหมด” (อัช – ชูรอ: 29)

(ง) ในซูเราะฮฺยาซีน อายะฮฺที่ 36 พระองค์ตรัสว่า:

“มหาบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของพระองค์ผู้ทรงสร้างคู่ทั้งหลายจากสิ่งซึ่งแผ่นดินได้ทำให้มันผุดขึ้นมา (ออกมาจากดิน) และจากตัวของพวกเขาเอง และจากสิ่งซึ่งพวก เขายังไม่มีความรู้อันใดเลย”

และในซูเราะฮฺ ฎอฮา อายะฮที่ 53 ที่เราได้อ่านว่า :

“...พระองค์ ประทานน้ำมาจากฟากฟ้า จากนั้นเราได้นำพืชพันธุ์ต่าง ๆ อย่างมากมายออกมาเป็นคู่ ๆ ด้วยนํ้านั้น”

ในห้วงเวลาที่ความรู้ของมนุษย์ไม่เปิดโอกาสให้นักอรรถาธิบาย

อัลกุรอาน ได้รู้ว่า พืชพันธุ์ต่างๆ ที่ผุดออกมาจากดินนั้นมีคู่ด้วย

พวกเขาได้อธิบายว่าความเป็นคู่นั้น ก็คือ ชนิด หรือไม่ก็เป็นศัพท์ทางปรัชญาอื่น –

ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ อัลกุรอาน เลย – ทว่า ในปัจจุบันจากการค้นคว้าพิสูจน์ใหม่ๆ ได้รับคำตอบว่า ไม่เพียงแต่คนและสัตว์เท่านั้นที่ถูกสร้างเป็นคู่ พืชพันธุ์ต่าง ๆ ก็มีคู่ด้วย

สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ของการบังเกิดทั้งหลายในโลกนี้ ก็คือการมีคู่ และผลิดอกออกผลของพืชพันธ์และสิ่งมีชีวิตสีเขียวต่างๆ ซึ่งถูกกล่าวไว้ในตำราทางชีววิทยา

อัล กุรอานได้ทำการท้าทาย

อัลกุรอานไม่เพียงแต่มีความมหัศจรรย์ในเรื่องการใช้ภาษา หรือเป็นไปตามหลักนิรุกติศาสตร์เท่านั้น

ยังมีความน่าอัศจรรย์ต่อทุกๆ แนวความคิดและทุกๆ สังคม และยังน่าอัศจรรย์สำหรับชนทุกระดับอีกด้วย

สำหรับนักเล่นโวหารและนักพูด อัลกุรอาน ก็มีความสละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาและโวหารอันสูงส่งให้พิจารณา

สำหรับนักปราชญ์แล้ว ข้อความทั้งหมดใน อัลกุรอาน ก็ให้คำตอบในแง่วิทยปัญญา (ฮิกมะฮฺ) ได้

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ อัลกุรอาน มีขุมความรู้ในทุกๆ สาขาวิชาบรรจุอยู่

ด้วยสาเหตุดังกล่าว อั กุรอาน จึงพูดกับคนทุกระดับชั้นของสังคมนั้นๆ

ถ้าพวกท่านกล่าวว่า คัมภีร์เล่มนี้เป็นคำพูดของมนุษย์ละก็ ก็จงเสกสรรปั้นแต่งสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับมันมาดูกันซิ :

จากซูเราะฮฺ อัล – อิซรออ์ อายะฮฺที่ 88 อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ตรัสว่า:

 “จงกล่าวเถิดว่า หากมนุษย์และญินได้มารวมตัวกันเพื่อจะนำสิ่งหนึ่งมาให้เหมือนกับ อัล กุรอานนี้ละ ก็ พวกมันก็ไม่อาจจะนำออกมาได้ ถึงแม้จะร่วมมือกันอย่างจริงจังก็ตาม”

จากซูเราฮฺ ฮูด อายะฮฺที่ 13-14 พระองค์ตรัสว่า :

“หรือพวกเขาจะกล่าวว่า เขา (มุฮัมมัด) เป็นผู้แอบอ้างมัน(อัลกุรอาน) ขึ้นมา (โดยบอกว่ามาจากอัลลอฮฺ) กระนั้นหรือ ? จงกล่าวไปว่า ดังนั้นก็ลองแต่งขึ้นมาสัก 10 บทที่คล้ายคลึงมัน แล้วก็จงเรียกผู้ที่พวกเจ้าสามารถ (ขอความช่วยเหลือได้) นอกจากอัลลอฮฺมา (ช่วยกันแต่ง) ถ้าพวกเจ้าเป็นผู้สัตย์จริง หากพวกเขาไม่อาจตอบรับการเชื้อเชิญ (ให้แต่งอัลกุรอาน) ของเจ้าได้ ก็จงรู้ไว้ด้วยว่าแน่นอนเหลือเกินมัน (อัล – กุรอาน) ถูก

ประทานลงมาด้วยกับความรอบรู้ของอัลลอฮฺซึ่งไม่มีสิ่งคู่ควรต่อการสักกระใดนอกจากพระองค์แล้วพวกเจ้าจะยอมจำนนหรือยัง?”

จากซูเราะฮฺ อัล – บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 23

“หากพวกเจ้าตกอยู่ในความสงสัยสิ่งที่เราได้ประทานลงมาให้กับบ่าวของเรา ดังนั้นก็จะนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งที่เหมือนกันนั้น และจงร้องเรียกพยานทั้งหลายที่ไม่ใช่อัลลอฮฺมายืนยัน หากพวกเจ้าเป็นผู้สัตย์จริง”

แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เราก็รู้ว่านับตั้งแต่วันนั้นจวบจนปัจจุบัน ไม่มีใครที่หาญกล้านำสิ่งที่เลียนแบบมาเสนอได้เลย

อันที่จริงแล้วในช่วงสมัยของท่านศาสดา (ศ) และหลังจากที่ท่าน (ศ) ได้จากโลกนี้ไปแล้ว มีอาหรับบางคน เช่น มุซัยละมะฮฺ ซิยาอ์ อิบนุอะบิเอาญาอ์ ได้บังอาจกล้าท้าทายกับ อัลกุรอาน ทว่า พวกเขาก็ทำไม่ได้

อีกทั้งในที่สุดก็สารภาพการไร้ความสามารถของตัวเองออกมา

ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศัตรูของอิสลามได้ต่อสู้กับท่าน (ศ)ด้วยวิธีการที่หนักหน่วงยิ่ง เช่น

การทารุณกรรมมุสลิม ปิดล้อมทางเศรษฐกิจพวกเขาวางแผนที่จะสังหารท่านศาสดา (ศ) แต่ก็ไม่มีใครที่หาญกล้า ทำงานที่ง่ายดาย เช่น “นำสิ่งที่เหมือนกับอัล กุรอาน มาสัก 1 บท เลย”

ในสมัยปัจจุบันเองก็ตาม ศัตรูของอิสลามบางคนได้ใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนหลายรอ้ยล้านดอลลาร์ เพื่อจะ

พิชิตอิสลามให้ได้ แน่นอนหากพวกเขาทำได้ละก็พวกเขาก็จะต้องเลือกแนวทางการต่อสู้ที่ปราศจากค่าใช้จ่ายใดๆ อีทั้งยังง่ายอีกด้วย นั่นก็คือ

“นำสิ่งที่เหมือนกับอัลกุรอานมาสัก 1 บท” และทำการแพร่กระจายข่าวนี้ออกไปซึ่งถือว่า เป็นความสำเร็จของตัวเอง และความพ่ายแพ้ของอิสลามพวกเขาจะต้องคุยโวไปทั่วโลก แต่พวกเขาก็ทำไม่ได้และจะทำไม่ได้ตลอดไป

การยอมรับของนักวิชาการที่ไม่ใช่มุสลิม

นักวิชาการยุโรปในสมัยที่อิสลามรุ่งเรืองนี้ได้แสดงการยอมรับต่อความ

มหัศจรรย์ของ อัลกุรอาน

นักวิชาการชาอิตาลี ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนาโปลี ได้กล่าวว่า

“คัมภีร์จากฟากฟ้าของอิสลาม คือ ตัวอย่างหนึ่งที่แฝงไปด้วยความน่าอัศจรรย์ ไม่มีใครจะเลียนแบบได้

วิธีการ และโครงสร้างของภาษา อัลกุรอาน ในหลักภาษาอาหรับนั้นไม่มีใครเหมือนอิทธิพลของ อัลกุรอาน

ที่มีต่อดวงจิตของมนุษย์ถือเป็นจุดเด่นเฉพาะ และดีที่สุดของ อัลกุรอาน เลยที่เดียว เป็นไปได้อย่างไรว่า

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของมุฮัมมัด ทั้งๆ ที่ท่านเป็นเพียงอาหรับคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เราได้พบขุมคลังแห่งวิชาการในคัมภีร์เล่มนี้ ซึ่งมันนั้นเหนือกว่าขุมข่ายทางความคิดของนักปราชญ์ที่เลอเลิศที่สุด หรือ

นักการเมืองที่ชาญฉลาดที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว อัลกุรอาน จึงไม่ใช่ผลงานที่แต่งขึ้นมาของผู้ใด”

ศ. ซินายส์ กล่าวว่า

“ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อัลกุรอาน คือ กฎหมายที่ครอบคลุม และสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่มีทางที่ความเท็จจะย่างกรายเข้าไปได้เลย ดังนั้น มันจึงเหมาะสมกับทุกสถานการณ์และทุกโอกาส

 ถ้าหากมวลมุสลิมได้ขวนขวายในสิ่งที่ต้องรู้ละก็พวกเขาจะต้องกลับมาเป็นใหญ่อีกครั้งหนึ่ง”

จอห์น วิลเลียม ครอบเปอร์ กล่าวว่า

“อัลกุรอาน มีการกล่าวถึงเรื่องจริยธรรมไว้อย่างมากมาย โดยถูกกล่าวไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนในลักษณะที่ไม่ว่าเราจะเปิด อัลกุรอาน หน้าใดก็จะพบกับข้อความอันสูงส่งที่มนุษย์ทุกคนต้องขบคิด รากฐานอันจำเพาะอันนี้ปรากฏอยู่ในรูปของประโยคสั้นๆ ทว่า มันคือข้อมูลและกฎเกณฑ์ที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง

และมีประโยชน์สำหรับทุกกลุ่มชน ไม่ว่าจะในช่วงเวลาแห่งความเจริญสูงสุดของชีวิตหรือตกต่ำสุดขีดก็ตาม”

สรุปก็คือ : หากเราได้ทำความรู้จักกับ อัลกุรอาน ได้มากกว่านี้ และปฏิบัติตามแบบแผนอันสูงส่ง และละเอียดลออของตัวบท อัลกุรอาน ละก็ เราจะสูงเด่นขึ้น ความยิ่งใหญ่ของมวลมุสลิมได้หมดสิ้นไป   ก็เพราะ

พวกเขาได้ละวางไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคัมภีร์แห่งฟากฟ้านี้ พวกเขาจึงสะดุดตัวเองล้ม

เราหยุดอยู่กับคำว่า “มุสลิม” เท่านั้น ปล่อยตัวเองให้เป็น “มุสลิมตามกำเนิด” ไม่ใส่ใจต่อคำสอนโดยทั่วไปของ อัลกุรอาน เราจึงต้องตกต่ำอย่างทุกวันนี้

ความยิ่งใหญ่ในอดีตที่เราเคยเป็นนั้น มันจะกลับมาก็ต่อเมื่อ เราได้ย้อนกลับมาสู่แนวทางนี้ และทำตัวให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์กันเสียใหม่

เราจะต้องทำให้ อัลกุรอาน ไปสิงสถิตอยู่กลางดวงใจของเรา และให้มันเป็นแบบแผนแห่งการดำเนินชีวิตของเรา

ดังที่ท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวว่า

“เมื่อความมืดมน ระส่ำระสายได้ปกคลุมรอบตัวพวกท่าน เฉกเช่นค่ำคืนอันมืดมิดละก็ พวกท่านจงยึดอัลกุรอาน ไว้”