พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27278
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27278 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทที่ 22

สาส์นแห่งอิสลาม

เราสามารถสรุปความหมายของวิญญาณแห่งสาส์นอิสลาม และแสดงให้เห็นได้ด้วยวลี “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” ซึ่งมีความหมายว่า

 “ไม่มีสิ่งเคารพใดที่ควรแก่การสักการะ นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว”

นัยยะแห่งความหมายอันนี้ คือผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์ และเขียวขจีของพฤกษาแห่งอิสลามนี้ ก็เพราะว่า

หากเราเปรียบอิสลามเป็นต้นไม้ และอุดมการณ์หลักความเชื่อของมันเป็นรากหรือเมล็ดพันธุ์ของมัน จงรู้ไว้ว่า

ความมีชีวิตชีวาและความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้นี้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ และรากของมันนั่นเอง

เราได้เห็นแล้วว่า อุดมการณ์ของอิสลามซึ่งสรุปรวบยอดในวลีดังกล่าวข้างต้น มันช่างมั่นคงและปลอดภัยเหลือเกิน

ความเกี่ยวพันระหว่างความไพบูลย์พูนสุขกับอีหม่าน (ความศรัทธา)

หากความปรารถนาทั้งมวลของมนุษย์ก่อกำเนิดมาจากด้านวัตถุ และมนุษย์ไม่รู้สึกอย่างใดเลยในหัวใจของเขา นอกจากโลกของวัตถุเท่านั้น

การได้มาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขก็จะเกี่ยวเนื่องกับการได้มาซึ่งปัจจัยทาง

วัตถุเท่านั้น ทว่า ...เรารู้และประจักษ์ว่า มนุษยชาติได้กู่ก้องออกมาจากส่วนลึกแห่งความทันสมัยเทคโนโลยี ด้วยกับภาษาทางจิตวิญญาณของตนเองว่า :

 ยิ่งเครื่องอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ความกระหายทางด้านจิตวิญญาณ และความต้องการภายในของสังคมนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความระส่ำระสายในสังคม

ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ก็คือความปั่นป่วนวุ่นวาย ไร้ซึ่งเสถียรภาพที่ครอบคลุมสังคมอันทันสมัยนี้นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ความสับสนทางด้านจิตวิญญาณของสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนไม่อาจที่จะควบคุมได้อีกแล้ว

  ทำไมท่ามกลางวัฒนธรรมแห่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ มนุษย์กลับกลายเป็นเพียงเครื่องจักรตัวหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่สืบสานคุณค่า และเผยแพร่คุณธรรม ความดีงามทั้งมวล ไม่ใช่สิ่งที่งดงามและชาญฉลาดแต่อย่างใดเลย ในการที่มนุษย์ไม่รู้จักคิด พิจารณาในการไปให้ถึงซึ่งความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ

จิตวิญญาณอันสูงส่งของมนุษยชาติ เป็นเสมือนกับวิหคที่สยายปีกอันแข็งแกร่ง ต้องการโบยบินไปยังสุดหล้าฟ้าเขียว จนกระทั่งไปถึงยังสถานที่แห่งหนึ่งที่มือของมนุษย์ไปไม่ถึง มนุษย์จะยังไม่รามือจากการบิดพลิ้ว

และฝ่าฝืนตราบเท่าที่ยังไม่ได้ดื่มด่ำกับน้ำทิพย์แห่งคุณธรรมทางจิตวิญญาณ

ความเลวร้ายทั้งมวล ความปรารถนาอันไม่มีที่สิ้นสุด คือ ตัวที่แสดงให้เห็นถึงคลื่นแห่งตัณหาและความต้องการที่จะไม่มีวันสงบ จนกว่าจะไปถึงยังชายฝั่งแห่งความปลอดภัย

ชายฝั่งแห่งความปลอดภัย มีเพียงอีหม่านต่อพลังหนึ่งอันไม่จำกัด

 มีความรอบรู้อันไม่สิ้นสุด และมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง อีกทั้งต้องออกห่างจากเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม เราจะมาพิจารณาเรื่องเหล่านี้ด้วยกัน :

(1) ความเป็นพี่น้องในอิสลาม

(2) การดูแลกันทางสังคม

(3) ฐานภาพทางด้านความรู้

 (4) การทำงานและการเพียรพยายาม

(5) การสร้างครอบครัว

ความเป็นพี่น้องในอิสลาม

“ความเป็นพี่น้องในอิสลาม” วางอยู่บนรากฐานที่สูงส่งที่สุดของคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เพราะว่าห่างไกลจากการให้เกียรติอันไร้แก่นสาร ทว่า...นั่นคือสัจธรรมหนึ่ง ที่มีมาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเสียสละในตัวของมุสลิมและระวังรักษาดวงจิตที่ในสะอาด จริงใจ และเต็มเปี่ยมไปด้วยอีหม่าน ผลที่จะได้รับโดยตรงในแง่ของการปฏิบัติ ก็คือปลูกฝังความรับผิดชอบและการเห็นอกเห็นใจกันในทุกสภาพแห่งการดำรงชีวิตของกันและกัน จากพื้นฐานแห่งความเป็นพี่น้องกันนี้ ที่มุสลิมคนหนึ่งไม่อาจปฏิเสธถึงการมีส่วนร่วมในความทุกข์ยากของพี่น้องมุสลิมของเขาได้

การดำเนินการสร้างความเป็นพี่น้องในอิสลามในตอนเริ่มแรกของการเผยแพร่สาส์นอิสลามดำเนินไปได้อย่างดีเยี่ยม คนรวยและคนยากจนเป็นพี่น้องทางจิตวิญญาณของกันและกัน

ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้อธิบาย “ความเป็นพี่น้องในอิสลาม” ด้วยใจความที่ง่ายต่อความเข้าใจว่า

“มุอ์มินทุกคนเป็นพี่น้องกัน อันเนื่องจากเป็นเรือนร่างเดียวกันนี่เอง ดังนั้นส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดเจ็บป่วยขึ้น อวัยวะส่วนอื่นก็ไม่อาจบรรเทาลงได้”

ท่าน (อฺ) ยังกล่าวอีกว่า :

“วิญญาณแห่งความเป็นพี่น้องในอิสลาม จะไม่ยินยอมให้ท่านอิ่มหนำสำราญ แต่ในขณะเดียวกันพี่น้องมุสลิมของท่านกลับหิวโหย

 

จำเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งใดที่ท่านรักเพื่อตัวเอง ก็จงรักสิ่งนั้นเพื่อเขาด้วย จงสนับสนุนส่งเสริมเขาเฉกเช่น พระเจ้าจอมปลอมทั้งหลาย ด้วยกับการรำลึกถึงพลังดังกล่าวนี้ และการมีศรัทธามั่นต่อสิ่งนั้นทำให้ดวงจิตทั้งหลายสงบนิ่ง

อัลกุรอาน ได้ชมเชยสัจธรรมอันนี้ไว้ในประโยคที่สั้นที่สุดว่า :

“...มิใช่ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺดอกหรือ ที่ดวงจิตทั้งหลายสงบนิ่ง” (อัร – เราะอฺดุ: 28)

ใช่แล้ว ความสงบนิ่งทั้งหลายล้วนอยู่ในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) มีเพียงการเอาใจใส่จดจ่อ และการมุ่งหน้าสู่พระองค์เท่านั้นที่สามารถสร้างความพอดีให้กับความปรารถนาทั้งมวลของมนุษย์ได้ และนำพาเขาสู่ความ

ผาสุก

อิสลามได้ตีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ด้วยสารัตถะอันนี้ โดยกล่าวว่า :

“...แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่สูเจ้า ณ อัลลอฮฺ คือผู้ที่มีความยำเกรง (ตักวา) มากที่สุด...” (อัล – หุจญุรอต :13)

เป้าหมายของอิสลาม คือการกระทำและแสดงให้เห็นถึงสถานะที่ดีที่สุดและสูงส่งที่สุด และการช่วยเหลือให้มวลมนุษย์รอดพ้นจากความต่ำช้าทางด้านวัตถุและอารมณ์ใฝ่ต่ำ จนกระทั่งเขาสามารถทำความรู้จักกับที่อันอุดมสมบูรณ์และเต็มไปด้วยความปรารถนาที่แท้จริงและเหมาะสม เขาจะสลัดและปลดปล่อยพันธนาการตัวของเขาเองที่อยู่ในวิถีทางของวัตถุนิยม แล้วเดินหน้าสู่แนวทางที่เที่ยงตรง

 “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายจงตอบรับอัลลอฮฺและศาสนทูต

 เมื่อพระองค์ได้เรียกร้องสูเจ้าไปยังสิ่งที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่ตัวของสูเจ้าเอง...” (อัล – อันฟาล: 24)

ด้วยกับการเรียนรู้และการสอนสั่งของอิสลามนั่นเองที่ทำให้หัวใจซึ่งตายด้านไปแล้ว ความสามารถที่ถูกเก็บกดเอาไว้ของมนุษย์ได้ฟื้นคืนกลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแล้วเจริญเติบโตขึ้น ความมีชีวิตชีวาดังกล่าวนี้ มีให้เห็นในกฎเกณฑ์และที่เขาสนับสนุน ส่งเสริมท่าน เมื่อใดที่เขาต้องเดินทาง ก็จงรักษาทรัพย์สิน และเกียรติยศของเขา

และเมื่อเขากลับมา ก็จงรีบเร่งไปต้อนรับเขา จงให้เกียรติเขา ท่านเป็นส่วนหนึ่งของเขา และเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของท่าน เมื่อเขาได้รับข่าวดีก็จงสรรเสริญและขอบคุณอัลลอฮฺด้วยความยินดี แต่ถ้าเขาเกิดประสบความทุกข์ยาก ก็ต้องเข้าช่วยเหลือเขา”

การดูแลกันทางสังคม

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกายของเรา เพื่อทำหน้าที่เตือนภัย และคุ้มกันยามที่เผชิญกับการจู่โจมของเชื้อโรคต่างๆ

(ศัตรูต่อสภาวะปรกติของร่างกาย) และได้ก่อให้เกิดสภาพบกพร่องต่างๆ ในร่างกาย

ตัวอย่างอันกระจ่างนี้ให้ข้อคิดว่า มุสลิมทั้งหลายจะต้องตื่นตัวอย่างชาญฉลาดต่อปัญหาทั้งมวลที่เกิดขึ้นในสังคมมุสลิม จนกว่าความรู้สึกที่ดีงามภายใน ความถูกต้องและความเป็นจริงได้หลุดพ้นจากพันธนาการของความเลวร้ายอันเปิดเผย ความไม่ถูกต้อง และความมดเท็จทั้งมวล พวกเขาจะต้องลุกขึ้น แล้วถอนรากเหง้าอันนั้นเสีย

และถ้าจำเป็นก็จะต้องมอบชีวิตของตัวเองต่อภาระที่สำคัญยิ่งนี้

ถ้าไม่กระทำเช่นนั้นในสังคมจะไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย นอกจากซากศพที่ไร้วิญญาณ ก็เพราะว่าหากผู้คนทั้งหลายเงียบเฉยต่อความอธรรม ความเสื่อมเสีย เปรียบดังเช่น น้ำหนองที่อยู่ภายในได้กลายเป็นตัวสร้างความเจริญเติบโตแก่เชื้อโรคต่างๆ และอีกไม่ช้าความบริสุทธิ์อื่นก็จะเป็นเป้าของมันที่จะต้องถูกทำลายแล้วมันก็จะกลายเป็นน้ำหนองที่เน่าเสีย น่าขยะแขยงไปในที่สุด

ดังนั้นมุสลิมทุกคนจะต้องเพียรพยายาม ไม่หยุดนิ่ง รู้จักจู่โจม และสร้างความแข็งแกร่งขึ้นมา ชนิดที่ว่าเป็นเสมือนลูกคลื่นที่ไม่มีวันหยุดนิ่งในท้องทะเลลึกจนกว่าความสกปรกโสมม ความเลวร้ายต่าง ๆ ไม่หลงเหลืออยู่ในพวกเขาอีก

นี่เองที่อิสลามเชื่อว่า ปัญหาในเรื่องการดูแล และเอาใจใส่ต่อกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมที่มีชีวิตชีวา ถือเป็นหน้าที่ที่จำเป็นที่สุดของมวลมุสลิม อิสลามจะทำหน้าที่เตือนพวกเขาอยู่เสมอว่า :

หน้าที่ทางสังคม เป็นอันหนึ่งอันเดียว และอยู่ในระดับเดียวกันกับหน้าที่ส่วนบุคคล มุสลิมทุกคนจะต้องตอบสนองต่อภาระอันยิ่งใหญ่นี้

ในเรื่องนี้ มีการแนะนำเชิงปฏิบัติของ อัลกุรอาน ไว้ 2 ลักษณะหน้าที่ด้วยกัน :

(1) การกำชับกันในเรื่องการทำความดีมีคุณธรรม (อัมรฺ บิลมะอฺรูฟ)

(2) การห้ามปรามกันจากการทำความชั่ว (นะฮฺยุน อะนิลมุนกัร)

ท่านอิมามบากิร (อฺ) กล่าวว่า :

“อันที่จริง การกำชับกันในเรื่องการทำความดี และการห้ามปรามกันจากการทำความชั่ว สิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย เป็นหน้าที่ (ฟัรฎู) ที่สำคัญที่สุด ซึ่งหน้าที่อื่น ๆ จะดำเนินต่อไปได้ด้วยกับการกระทำดังกล่าวนั้น”

เมื่อไรก็ตามที่สังคมมุสลิมลืมเลือนต่อหน้าที่ และแบบฉบับอันยิ่งใหญ่สองประการนี้ พวกเขาก็จะสูญเสียความเป็นผู้นำและความยิ่งใหญ่ของตัวเองไป

ฉะนั้นในชุมชนอิสลาม ถ้อยคำอันน่ารังเกียจดังที่เราจะยกมากล่าวข้างล่างนี้ หากมันได้เกิดขึ้น ถือเป็นสิ่งที่ผิดพลาดและไร้แก่นสารโดยสิ้นเชิง

เราอย่าได้ฝังด้วยกันเลย

ตัวใครตัวมัน ศาสนาใครศาสนามันรับผิดชอบกันเอง

อย่าทำตัวแปลกแยกในสังคมจะดีกว่า (สังคมที่เต็มไปด้วยความชั่วช้า)

จะต้องไม่ลืมว่า หน้าที่ในการตักเตือนกันให้ทำความดี และห้ามปรามกันจากสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งมวล เป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของมุสลิมทุกคน ถ้าได้มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจังแล้ว ก็จะสร้างสังคมที่มีชีวิตชีวาปลอดภัยจากความเลวร้ายทั้งมวลได้

ฐานภาพทางด้านความรู้

ในสมัยก่อนการมาของอิสลาม การเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ยังไม่ถูกเปิดกว้าง ประชาชนทั่วไปถูกห้ามและไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ การศึกษาหาความรู้ถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มของผู้ปกครองหัวหน้าเผ่า ผู้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเท่านั้น สภาพเช่นนี้มีให้เห็นอย่างชัดเจนในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศ ซึ่งล้าหลังทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าบริเวณอื่น ถึงขนาดที่ว่าในช่วงที่อิสลามเริ่มฉายแสงรัศมีนั้น

ประชาชนที่รู้หนังสือ (เพียงอ่านออกเขียนได้) มีเพียงไม่กี่คน ในสภาพการณ์เช่นนี้ ท่ามกลางกลุ่มคนเหล่านี้

อิสลามเริ่มเป็นผู้จัดระเบียบการเรียนรู้ จนถึงขนาดที่ว่า กำหนดให้มันเป็นภาระหนึ่งที่ต้องปฏิบัติ (ฟัรฏู) เลยทีเดียว

ด้วยกับเสียงเรียกร้องจากฟากฟ้า อัลกุรอาน อันจำเริญนี้ได้ยกย่องให้เกียรติการแสวงหาความรู้ และมอบตำแหน่งอันสูงส่งให้

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ได้กล่าวว่า :

“การเรียนรู้เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) สำหรับมุสลิมทุกคน อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงรักผู้ที่ใส่ใจในการแสวงหาความรู้”

 ท่านอิมามบาเก็ร (อฺ) กล่าวว่า :

“ซะกาตทางด้านความรู้ คือ การสอนให้คนอื่นรู้จากความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ (เช่นเดียวกับที่ซะกาตทรัพย์สินคือ การจ่ายมันไปในวิถีทางของอัลลอฮฺ)

ประวัติศาสตร์อิสลามเป็นประจักษ์พยานอย่างดีเยี่ยมถึงการสนับสนุนของอิสลามให้มีการเรียนรู้ การสั่งเสียสืบทอดต่อๆ กันมาของอิสลามในเรื่องการแสวงหาความรู้เป็นผลให้มุสลิมในช่วงกลางศตวรรษ คือ ผู้ชูธงแห่งความรู้และความก้าวหน้า ขณะทียุโรปในช่วงเวลานั้นยังตกอยู่ในความมืดมนอันธการไร้ซึ่งความรู้ใด

แต่จะต้องสนใจในประเด็นที่ว่า มุสลิมนั้นมีการแสวงหาความรู้ไปพร้อมกับการมีอีหม่านต่อพระผู้เป็นเจ้า และใส่ใจในเรื่องความสูงส่งภายในด้วย พวกเขาต้องไม่ตกอยู่ในความลุ่มหลงดุนยา

ช่างน่าอับอายเหลือเกินที่พอมาในศตวรรษหลังๆ พวกเขากลับละทิ้งคำสอนอันกระจ่างชัดและมีคุณค่าของอิสลาม แล้วในที่สุดพวกเขาก็ล้าหลัง ไม่เป็นที่ถูกกล่าวขานอีกต่อไป...

การทำงาน และการเพียรพยายาม

การำทางานและการเพียรพยายามถือเป็นมูลฐานทางธรรมชาติ และการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า

พระองค์ได้วางกุญแจสำหรับความก้าวหน้า และความสำเร็จของมนุษยชาติไว้ที่การก่อร่างสร้างตัวและการเคลื่อนไหว

การมาของฤดูใบไม้ผลิ คือ วาระของการสร้างตัวเองและการเคลื่อนไหว คือการทำให้แม่น้ำลำคลองเจิ่งนองไปด้วยน้ำ คือ การผุดขึ้นมาของตาน้ำจากใต้พิภพ คือ การสร้างรวงรังของมวลหมู่นก คือ การมาของสายลมอ่อนๆ ดอกไม้ใบหญ้าเริ่มผลิดอกออกผล เขียวขจี บานสะพรั่ง คือ การย้ายถิ่นฐานของนกชนิดต่าง ๆ จากที่ๆไม่อบอุ่นสู่ที่ที่เต็มไปด้วยความสมบูรณ์และอบอุ่น ฯลฯ ทุกสิ่งที่ได้ประสบพบเห็นด้วยสายตา รู้ด้วยสัมผัสเหล่านี้คือ ความงดงามหนึ่งจากพระผู้สร้างที่ประทานให้แก่มนุษย์ เพื่อที่เขาจะได้ออกห่างจากความท้อแท้ และสิ้นหวังลุกขึ้นยืน เคลื่อนไหว ขยันขันแข็ง เพียรพยายาม และทำมาหากิน แล้วเขาก็จะได้กล้าแข็งและเติบใหญ่

ในที่สุด อิสลามได้เรียกร้องประชาชาติทั้งหลายสู่การทำงาน และความขยันขันแข็งตามพื้นฐานแห่งกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

ท่านอิมามอะลี (อฺ) ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้กล่าวว่า

“ผู้ใดที่มีผืนแผ่นดินทำมาหากิน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำ แล้วไม่ใช้ประโยชน์จากสมบัติอันยิ่งใหญ่นี้) แต่เขากลับเป็นคนยากจน

ขอให้อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้สาปแช่งคนเหล่านี้”

ท่านอิมามศอดิก (อฺ) กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ไม่ทรงชื่นชอบการงานใดยิ่งไปกว่าการทำเกษตรกรรม (เป็นการสร้างผลผลิตที่สำคัญยิ่ง)”

และท่าน (อฺ) ยังกล่าวอีกว่า

“ผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม คือ ขุมทรัพย์ของประชาชน”

“ความมีเกียรติและความยิ่งใหญ่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่ที่การแสวงหาปัจจัยยังชีพและการทำงานหนัก”

ท่านอิมามกาซิม (อฺ) กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกริ้วบ่าว (มนุษย์) ที่ว่างงาน”

ในขณะที่ท่านอิมามบากิร (อฺ) กำลังทำงานหนักอยู่ในไร่ของท่าน (อฺ) นอกเมืองมะดีนะฮฺ เหงื่อไหลโซมกายอันจำเริญของท่าน มีชายคนหนึ่งเดินผ่านมาพบเห็นท่าน (อฺ) อยู่ในสภาพเช่นนั้น ด้วยความคิดที่ว่าการทำเช่นนี้ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้นำประชาชาติ เขาได้พูดด้วยน้ำเสียงที่ตระหนกตกใจและรันทดว่า :

“ท่านเป็นถึงผู้อาวุโสของของกุเรช มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเรา ทำไมท่านถึงได้ลุ่มหลงดุนยาขนาดนี้

ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัด แสงแดดแผดเผา เหงื่อไหลท่วมกายเช่นนี้

ท่านยังมาที่นี่อีก ถ้าความตายได้มาถึงท่าน ในสภาพเช่นนี้ ท่านจะทำเช่นไร ?”

ท่านอิมาม (อฺ) กล่าวตอบว่า

 “ถ้าหากความตายมาถึงฉันในตอนนี้ เท่ากับฉันได้ตายลงในสภาพของผู้ที่เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของพระผู้อภิบาล เพราะฉันมาที่นี่ก็เพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพสำหรับคนในครอบครัว และจะได้ไม่ต้องแบมือขอผู้อื่น มนุษย์จะต้องรู้สึกกลัวก็ต่อเมื่อความตายมาถึงเขา ในสภาพที่เขากำลังทำบาป และฝ่าฝืนพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า”

ชายคนดังกล่าวเอ่ยขึ้นว่า

“ข้าพเจ้าต้องการให้คำแนะนำบางอย่างแก่ท่าน แต่กลับได้รับคำสอนอันทรงคุณค่านี้”

จะต้องไม่ลืมว่า ในขณะที่อิสลามให้ความสำคัญกับการค้าขาย การทำไร่นา ทำสวน และอาชีพอื่นๆ

นับว่ามันเป็นการทำอิบาดะฮฺอย่างหนึ่งนั้น ขณะเดียวกันอิสลามก็ไม่สนับสนุนส่งเสริมให้ทำอย่างเอาเป็นเอาตายเกินความพอดี

อิสลามกล่าวว่า :

“ช่วงเวลาหนึ่งทั้งกลางวันกลางคืน จงขยันขันแข็งในการทำงาน แต่ช่วงเวลาที่เหลือ ควรหาประโยชน์จากความสุขสบายทางวัตถุ และจากความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ”

จงพักผ่อนบ้างเถิด ดูแลและตรวจสอบสภาพของครอบครัว

 จงสอนกฎเกณฑ์ศาสนาและหน้าที่ในฐานะมุสลิมให้แก่พวกเขา

 จงระวังรักษาเวลาของนมาซ หมั่นอ่านอัลกุรอาน ไปมาหาสู่ญาติสนิทมิตรสหาย ฯลฯ

การสร้างครอบครัว

การแต่งงาน คือรากฐานหนึ่งของธรรมชาติ แม้กระทั่งต้นไม้ใบหญ้าพืชผักผลไม้ต่างๆ ยังต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อผลิดอกออกผลสืบต่อไป

การแต่งงานไม่ใช่เรื่องราวที่เป็นส่วนตัวเฉพาะเท่านั้น แต่มันคือผลผลิตและอนาคตของสังคมเลยทีเดียว

การสืบเชื้อสายและการคงสายพันธุ์ของมนุษยชาติ การคงสภาพสังคมและประชาชาติหนึ่งประชาชาติใดมีความเกี่ยวกันกับสิ่งนั้น ก็เพราะว่า การแสวงหาเป้าหมายอันสูงส่งของมนุษย์และสังคม เป็นหน้าที่ของชนรุ่นต่อมานั่นเอง

สิ่งที่มาพร้อมกับการแต่งงานนั้น ก็คือ การสร้างความสมดุลต่อสัญชาตญาณ ความรู้สึกทางเพศ และปกป้องเขาผู้นั้นจากการเกลือกกลั้วกับความบาปบางทีเพราะความจำเป็นอันยิ่งใหญ่นี้นั่นเอง

ที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดให้การแต่งงานอยู่เหนือความเสรีทางเพศ หากพวกเขาไม่รู้ซึ้งถึงคุณค่าของมัน เขาก็จะให้ความสนใจตามสัญชาตญาณของเขาเท่านั้น

ทว่า ความปรารถนาดังกล่าวนี้จำเป็นจะต้องถูกควบคุมด้วยคำชี้แนะและคำสั่งสอนของศาสนา ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็เปรียบเสมือนกับรถยนต์

คันหนึ่งที่มีสมรรถนะสูง แต่มีคนขับรถที่เห็นแก่ตัว สุดท้ายของมันก็คือ

ความเสียหายทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน

ด้วยเหตุนี้เองที่อิสลามให้ความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อการแต่งงานและวางเงื่อนไขต่างๆไว้น้อยที่สุด

อัลกุรอานกล่าวถึงผลของการแต่งงานว่ามันได้สร้างความสงบนิ่งความเชื่อมั่น ฯลฯ

ท่านศาสดา (ศ) กล่าวว่า :

“การแต่งงานคือซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของฉัน”

 “เมื่อมีคนที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทางศาสนา และเป็นที่ชื่นชอบของท่านได้มาสู่ขอแต่งงาน ถ้ามิเช่นนั้นแล้วผืนแผ่นดินนี้จะเต็มไปด้วยฟิตนะฮฺ (ความสับสนวุ่นวาย) และความเสียหาย”

ท่านอิมามศอดิก (อฺ) กล่าวว่า :

“ท่านศาสดา (ศ) ไม่เคยกำหนดมะฮัรแก่บุตรีของท่าน และผู้หญิงทั่วไปเกินกว่า 500 ดิรฮัม”

...ถึงแม้ว่าเงินจำนวนนี้สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดีในสมัยนั้นแล้วถือว่าน้อยมากก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้นั้น

แสดงให้เห็นว่า อิสลามได้ชี้แนะเรื่องการแต่งงานและทำให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น ก็เพื่อควบคุมสัญชาตญาณทางเพศ (ให้อยู่ในขอบเขต)

อีกทั้งในเรื่องนี้ อิสลามได้ทำการต่อต้านความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ความฟุ้งเฟ้อที่ไร้ขอบเขต ด้วยกับญาณทัศนะอันกว้างไกลและทรงคุณค่า

ท่านมิกดาด (ร.ฎ.) ศอฮาบะฮฺคนหนึ่งผู้มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอีหม่านแต่ไร้ซึ่งทรัพย์สินเงินทอง และ

นางฎิบาอะฮฺ หลานสาวของท่านอับดุลมฎฎอลิบ (ร.ฎ.) บุตรีของลุงของท่านศาสดา (ศ) ซึ่งเป็นคนในตระกูลกุเรช

ทั้งสองได้ทำการแต่งงานกันด้วยความรักและความต้องการของคนทั้งคู่ อีกทั้งท่านศาสดา (ศ) ก็เห็นชอบด้วย

หญิงสาวผู้มีชื่อเสียงคนนี้ยอมรับมะฮัรของนางด้วยกับบ้านโทรมๆ หลังหนึ่งของท่านมิกดาด

ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้อธิบายถึงปรัชญาของการแต่งงานดังกล่าวว่า :

“ท่านศาสดา (ศ) ทำเช่นนั้นก็เพื่อให้การแต่งงานได้หลุดออกมาจากการแสดงความโอ้อวดทางชนชั้นและการมั่งมี และเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ปฏิบัติตามนี้ แล้วยังเป็นการสอนว่า ผู้ที่มีเกียรติยิ่งในทัศนะของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือผู้มีความยำเกรง (ตักวา) ต่อพระองค์มากที่สุด”

ตัวอย่างอื่น ๆ ยังมีให้เห็นในการดำเนินชีวิตของ ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อฺ) อย่างเช่น :

อับดุลมาลิก บินมัรวาน เมื่อได้ข่าวว่าท่านอิมาม (อฺ) ได้ปลดปล่อยทาสหญิงคนหนึ่งให้เป็นอิสระ แล้วได้แต่งงานกับนาง

  ซึ่งตามทัศนะของเขาถือว่าไม่เหมาะสมกับฐานภาพของอิมามที่จะทำเช่นนั้น เขาได้ส่งจดหมายในเชิงตำหนิไปหาท่านอิมาม (อฺ)

เมื่อท่าน (อฺ) ได้รับแล้ว ท่าน (อฺ) ตอบกลับเขาไปว่า

“จดหมายของเจ้ามาถึงแล้ว เจ้าคิดหรือว่าการแต่งงานกับสตรีผู้สูงศักดิ์ชาวกุเรช จะสร้างความมีเกียรติและศักดิ์ศรีให้แก่ฉัน นี่เป็นความคิดที่ผิด บุคคลที่ดียิ่งกว่าท่านศาสดา ไม่มีอีกแล้ว ฉันแต่งงานกับทาสหญิงคนหนึ่ง ซึ่งตามหลักการศาสนาแล้วเป็นหญิงที่มีเกียรติ มิได้มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องเลย อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทำลายการถือยศถืออย่าง การมีเกียรติจอมปลอม ด้วยกับความจำเริญแห่งอิสลามนั่นเอง

ตัววัดคุณค่าทั้งหลาย คือ ตักวาเท่านั้น ถ้อยคำตำหนิ และเหยียดหยามที่เจ้าเขียนมาหาฉันนั้น มีอย่างดาษดื่นในยุคญาฮิลียะฮฺ (ป่าเถื่อน) ก่อนการมาของอิสลาม  วัสลาม”