พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27288
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27288 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ส่วนท่านโอ้ ญาบิร ก็จะได้พบเขา เมื่อถึงเวลานั้นก็จงฝากสลามของฉันไปยังเขาด้วย หลังจากเขาก็เป็นญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด อัศ- ศอดิก , มูซา บินญะอฺฟัร, อะลี บินมูซา, มูฮัมมัด บินอะลี, อะลี บินมุฮัมมัด, ฮะซัน บินอะลี...”

แล้วท่านก็กล่าวว่า

“บุตรของฮะซัน บินอะลี จะมีชื่อและสมญานามเดียวกับฉัน”

ผู้นำคนแรก ไม่ว่ายุคสมัยใด ไม่มีสังคมใดที่ถูกปล่อยให้คงอยู่โดยปราศจากซึ่งผู้นำ นี่คือใจความโดยรวมจากความจริงแท้อันนี้ ยังมีสิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ

ใครก็ตามที่เป้นผู้นำสังคม หากมีความรักความผูกพันต่อความไพบูลย์ของสังคมนั้น เขาจะต้องพยายามอย่างหนัก และด้วยกับอำนาจความรับผิดชอบความรู้และวิสัยทัศน์ที่เขามีอยู่ เขาจะต้องคิดพินิจพิจารณาถึงสภาพปัจจุบัน อนาคตอันใกล้และอนาคตอันไกลที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพของสังคมนั้น เขาจะต้องมีเป้าหมาย มีแบบแผนที่จะทำให้ความเป็นของสังคมเข้าใกล้ความสมบูรณ์พูนสุขอันเป็นที่ปรารถนาให้ได้

จากพื้นฐานดังกล่าวและความจำเป็นที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผู้นำนั้น แม้กระทั่งเขาต้องเดินทางไปต่างแดนเพียงชั่วระยะเวลาอันน้อยนิด

เขาก็ยังต้องแต่งตั้งตัวแทนขึ้นมา การกระทำดังกล่าวแสดงอยู่ในภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำทั้งสิ้น

หัวหน้าครอบครัว ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าโรงงาน ฯลฯ ถ้าไม่อยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงยังต้องมีการแต่งตั้งตัวแทน และสั่งให้ทุกคนปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ทำหน้าที่แทนตน ในขณะที่ตัวเขาไม่อยู่ ปัญหาดังกล่าวนี้ง่ายต่อการพิจารณามาก ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลใด ๆ มาเสนออีก

ท่านศาสดา(ศ) ผู้เอื้ออาทร และมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล

ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำสังคมโลกอิสลามในเวลานั้นก็ได้กระทำตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวด้วย

ไม่ว่าที่ใดที่รัศมีของอิสลามเริ่มฉายแสง ไม่ว่าจะมีอาณาบริเวณเล็กหรือใหญ่ปานใด ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสมที่สุด จนกระทั่งได้รับอำนาจการปกครองทั้งมวลมาอยู่ในมือ

ในตอนที่ท่าน (ศ) รวบรวมกองทหารเพื่อทำการออกรบในวิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ) ท่าน(ศ) ได้แต่งตั้งผู้บัญชาการรบ และบางทีก็แต่งตั้งผู้ช่วยขึ้นมาอีกหลายคนเพื่อที่ว่า หากใครบางคนถูกสังหาร กองทหารก็จะไม่

ขาดซึ่งผู้นำ

อีกทั้งเรารู้จักบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ท่านศาสดา(ศ) แต่งตั้งไว้ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของท่าน(ศ) ในตอนที่ท่าน(ศ) ไม่ได้อยู่ในเมืองมะดีนะฮฺ เพื่อไม่ให้ในเมืองปราศจากซึ่งผู้นำ

การคาดการณ์ข้างล่างนี้ ข้อใดที่กินกับสติปัญญามากที่สุด

หลังการจากไปของท่านศาสดา (ศ) สังคมอิสลามไม่ต้องการผู้นำอีกต่อไป?

หรือว่าท่านศาสดา(ศ) ไม่ใส่ใจต่อสังคมมุสลิมภายหลังการจากไปของท่าน(ศ)

หรือว่าในตัวของท่าน(ศ) ไม่หลงเหลือความเอื้ออาทร และการเป็นผู้มองการณ์ไกลอีกต่อไปแล้ว?

หรือว่าท่าน(ศ) ไม่รู้จักบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเป็นตัวแทนของท่าน (ศ) ด้วยกับความเมตตาอันเต็มเปี่ยมของท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ)ท่ามกลางความสมหวังและผิดหวังของวิถีชีวิตของมวลมุสลิม

 ท่าน (ศ) ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และหน้าที่ที่ท่าน (ศ) มีอยู่ ฉะนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร ในเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญเช่นนั้น ท่าน (ศ) จะไม่กำหนดอะไรเอาไว้เลย?

ด้วยความเอาใจใส่อย่างจริงจังในเรื่องดังกล่าว ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานเริ่มแรกของอิสลาม และในที่สุดจากการค้นคว้าแหล่งที่มาดังกล่าว ทำให้พวกเขาได้ค้นพบบทสรุปที่ว่า

ท่านศาสดา (ศ) ได้มีคำสั่งที่กระจ่างชัดเพียงพอและสร้างความมั่นใจได้เรื่องการแต่งตั้งตัวแทนของท่าน(ศ) ดังเช่น

อายะฮฺ วิลายะฮ์ ฮะดีษ อัล-เฆาะดีร ฮะดีษซะฟีนะฮ์ ฮะดีษ อัษ-ษะก่อลัยน์

ฮะดีษฮัก ฮะดีษมันซิละฮ์ ฯลฯ

ยังมีอีกหลายเรื่องที่ถูกกล่าว และถูกค้นคว้าแล้วจดบันทึกอยู่ในหนังสือและตำราทางประวัติศาสตร์อื่นๆ จากหลักฐานทั้งหมดเราขอเลือกเอา

 “ฮะดีษอัล-ฆอดีร” มานำเสนอ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินด้วยความยุติธรรม

ฮะดีษประวัติศาสตร์ “อัล-เฆาะดีร”

ในปี ฮ.ศ. 10 ท่านศาสดา (ศ) ได้เดินทางไปยังนครมักกะฮ์เพื่อทำฮัจญ์ ฮัจญ์ครั้งนี้ คือ ฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) ด้วยเหตุนี้เอง ในประวัติศาสตร์จึงเรียกฮัจญ์ครั้งนี้ว่า ฮัจญะตุ้ลวิดาอ์ (ฮัจญ์อำลา)

ผู้ที่ร่วมเดินทางไปทำฮัจญ์ครั้งนี้ท่านศาสดา(ศ) ได้เห็น ได้เรียนรู้การทำฮัจญ์ที่ถูกต้องมีถึง 120000 คน

มีบางกลุ่มอยู่ในนครมักกะฮฺเองก็ได้เข้าร่วมฮัจญ์ด้วย หลังจากที่พิธีฮัจญ์สิ้นสุดลง ขณะกำลังเดินทางกับสู่นครมะดีนะฮฺ ในวันที่ 17 ซุลฮิจญะฮ์ ณ บริเวณที่มีชื่อว่า เฆาะดีรคุม

มีโองการจากอัลลอฮฺ (ซ.บ) ประทานลงมาความว่า

 “โอ้รอซูล จงประกาศสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาให้แก่เจ้าจากองค์พระผู้อภิบาลของเจ้า หากเจ้าไม่กระทำตามนั้น เท่ากับว่าเจ้าไม่เคยประกาศ

สาส์นของพระองค์มาเลย อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ที่ปกป้องเจ้าจากมวลมนุษย์..”

(บทอัล- มาอิดะฮฺ: 67)

คำสั่งอันยิ่งใหญ่จากอัลลอฮ์(ซ.บ) ก็ได้ถูกประทานลงมายังท่านศาสดา(ศ) เริ่มมีเสียงกระซิบจากองคาราวานพิธีฮัจญ์อันศักสิทธิ์

 อัลลอฮฺ (ซ.บ) คงมีคำสั่งอะไรลงมาแล้ว ทุกคนรอคอยคำสั่งดังกล่าว

ทันใดนั้นเอง ท่านศาสดา (ศ) ได้ออกคำสั่งให้ทุกคนที่ได้เดินรุดหน้าไปแล้วย้อนกลับมาก่อน ส่วนผู้ที่เดินอยู่รั้งท้ายก็ให้รีบเดินทางมาสบทบ

ทุกคนได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน กองคาราวานอันมหึมาได้มาหยุดยืนยันกันตามคำสั่งของท่านศาสดา(ศ) เพื่อรับฟังการแจ้งข่าวบางประการ ณ ท้องทะเลทราย ซึ่งทุกคนก็ทราบดีถึงความแห้งแล้งไร้

ตาน้ำใดๆ นั่นคือ เฆาะดีรคุม มันเป็นช่วงเวลาเที่ยงพอดี แสงแดดกำลังแผดเผา

ข่าวอะไรกัน? ถึงขนาดที่ท่านศาสดา (ศ) สั่งให้ทุกคนมาหยุดยืนฟังท่านกลางสภาพอันร้อยระอุนั้น

เวลานั้นเอง เสียงอะซานได้เริ่มขึ้น ทุกคนได้ร่วมนมาซกับท่านศาสดา(ศ) บัลลังก์ที่อยู่บนหลังอูฐถูกจัดเตรียมขึ้น ท่านศาสดา(ศ) หยุดยืนบนนั้น หัวใจของทุกคนเต้นแรงขึ้น ความเงียบได้ปกคลุมทะเลทรายแห่งความเงียบสงบ ทุกคนใจจดใจจ่อที่จะรับฟังข่าวสำคัญนั้น

ท่านศาสดา (ศ) เริ่มต้นการปราศรัยของท่านด้วยเสียงอันนุ่มนวลประหนึ่งดั่งหยดน้ำที่พุ่งขึ้นไปกระทบกับอากาศฉันนั้น มันได้สลายความร้อนแรงของแสงแดด ประชาชาติผู้กระหายภายใต้แสงแดดที่แผดเผาด้วยกับการจ้องสดับฟัง สุรเสียงของท่านศาสดา(ศ) หัวใจของพวกเขาเริ่มอิ่มเองและพองโตขึ้น

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่าคำสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ) แล้วเอ่ยขึ้นว่า

“ฉันและพวกท่านมีหน้าที่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พวกท่านจะกล่าวในเรื่องนี้อย่างไรกัน”

เสียงตอบมาจากทุกทิศทุกทาง

“พวกเราขอยืนยันว่า ท่านได้ทำหน้าที่เผยแผ่สาส์นนั้นแก่เราแล้ว ท่านได้พยายามอย่างดีที่สุดตามแนวทางนี้ อัลลอฮฺ (ซ.บ) จะทรงตอบแทนท่านอย่างดีที่สุด”

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวต่อไปว่า

“แล้วพวกท่านจะไม่ยืนยันความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ(ซ.บ)และศาสนทูตของพระองค์ อีกทั้งยืนยันถึงความเป็นสัจจริงของสวรรค์ นรก ความตาย ชีวิตหลังความตายกระนั้นหรือ?”

มีเสียงตอบว่า

“พวกเราขอยืนยันตามนั้น”

ท่าน (ศ)  แหงนหน้าสู่ท้องฟ้าแล้วกล่าวว่า

“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงเป็นพยานด้วย”

แล้วท่าน (ศ)  ก็หันกลับมามองที่กลุ่มชนพลางกล่าวว่า

“ประชาชนทั้งหลาย ฉันและพวกท่านจะได้พบกันข้างบ่อน้ำ อัล- เกาษัร จงสังวรไว้ด้วยว่า หลังจากฉัน จากพวกไปแล้วพวกท่านจะกระทำอย่างไรต่อสิ่งหนักอันมีค่ายิ่งสองสิ่ง?”

มีเสียงถามกลับมาว่า

“โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ สิ่งหนักทั้งสองคืออะไรกัน?”

ท่าน (ศ)  ตอบว่า

“มันทั้งสองคือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ) และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

 (อัลลอฮ์(ซ.บ) ได้แจ้งแก่ฉันว่า) สิ่งทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนกระทั่งไปถึงยังฉัน ข้างบ่ออัล- เกาษัร ผู้ใดที่ทำตัวล้ำหน้าพวกเขาจะต้องได้รับความ

หายนะ และผู้ใดที่ทำตัวล้าหลังเขาก็จะพบกับความหายนะเช่นกัน”

ทันใดนั้นเองท่าน (ศ) ได้ชูมือท่านอะลี (อฺ) ขึ้นให้ทุกคนได้เห็น แล้วเริ่มต้นประกาศโองการจากฟากฟ้า

เรื่องตัวแทนของท่าน

“อัยยุฮันนาซ มันเอาลันนาซิบิ้ลมุอ์มินีน มินอันฟุซิฮิม”

(โอ้ประชาชาติทั้งหลาย ใครคือผู้ที่เหมาะสมยิ่งในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย ที่สมควรจะได้รับการจงรักภักดีจากผู้ศรัทธาทุกคนยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองเสียอีก)

เสียงตอบดังกระหึ่มว่า

“อัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์รู้ดียิ่ง”

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวด้วยสุรเสียงอันดังว่า

“อัลลอฮ์(ซ.บ) ทรงมีวิลายะฮ์ (อำนาจแห่งการได้รับการจงรักภักดี) เหนือฉัน และฉันก็มีความเหมาะสมที่จะได้รับวิลายะฮ์เหนือทุกคนยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองเสียอีก

มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะฮาซาอะลียุนเมาลาฮ์

(ผู้ใดที่ฉันเป็น เมาลา ผู้มีอำนาจวิลายะฮ์ ของเขา อะลีคนนี้ก็เป็นเมาลาผู้มีอำนาจวิลายะฮ์ ของเขาด้วย)

โอ้พระผู้อภิบาลของฉันได้โปรดประทานความรักความเมตตาแก่ผู้ที่รักและเป็นมิตรกับเขา และได้โปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์และจงเกลียดจงชังเขา ได้โปรดอนุเคราะห์ผู้ที่ช่วยเหลือเขา และโปรดทำให้ผู้ที่ขับไล่ไสส่งเขาให้ได้รับความตกต่ำ

จงฟังให้ดี ผู้ที่อยู่ที่นี่ต้องแจ้งเรื่องนี้ใหกั้บผู้ไม่ได้อยู่ที่นี่ให้รับรู้ด้วย

ไม่ทันที่ประชาชนจะแยกย้ายกันไป โองการหนึ่งก็ถูกประทานลงมาความว่า

“วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าสมบูรณ์แล้ว อีกทั้งยังได้ประทานความโปรดปรานของฉันอย่างเต็มบริบูรณ์ให้แก่สูเจ้า และฉันก็พึงพอใจแล้วที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาของเจ้า”

 (บทอัล- มาอิดะฮฺ:3)

ท่านศาสดา (ศ) กล่าวด้วยสุรเสียงอันดังว่า

“อัลลฮุอักบัร ศาสนาของอัลลอฮฺ (ซ.บ) สมบูรณ์แล้ว พระองค์ทรงพึงพอพระทัยต่อริซาละฮฺ (การรับและเผยแผร่สาส์นอิสลาม) ของฉัน

 และอิมามะฮฺ(ฐานภาพการเป็นผู้นำ) ของอะลีภายหลังจากฉัน”

หลังจากพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่สิ้นสุดลง ประชาชนรีบเข้ามาแสดงความยินดีต่อท่านอิมามอะลี(อฺ) กลุ่มบุคคลที่อยู่ในแถวหน้าที่เข้ามาร่วมแสดงยินดีต่อท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีนอะลี(อฺ) ก็คือ ท่านอะบูบักร์ (คอลีฟะฮ์คนที่หนึ่ง) และท่านอุมัร (คอลีฟะฮ์คนที่สอง) ท่านทั้งสองกล่าวในทำนองเดียวกันว่า

“บัคคิน บัคคินละกะยาอะลี อัศบะฮฺตะเมาลายะ วะเมาลากุลลิมุอ์มินีนวะ มูอ์มินะฮฺ”

“ (ช่างวิเศษเสียจริงๆ ท่านอะลีเอ๋ย ท่านได้เป็นเมาลา ผู้มีอำนาจเต็มในการได้รับการจงรักภักดีรองจากอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ของฉัน

และเมาลาของมุอ์มินทุกคนทั้งชายและหญิง”

สายรายงานของฮะดีษอัล เฆาะดีร

ฮะดีบทนี้มีความต่อเนื่องทางด้านสายรายงานอย่างชัดเจน ชนิดที่ว่าฮะดีษน้อยรายนักที่จะมีสายรายงานเช่นนี้

ศ่อฮาบะฮฺ 110 คน ที่อยู่ในเฆาะดีรคุม ได้รายงานฮะดีษบทนี้โดยตรงจากท่านศาสดา (ศ) และมีตาบิอีน

บุคคลที่พบกับศอฮาบะฮฺของท่านนบี(ศ) 84 คน ที่รายงานฮะดีษบทนี้

นักปราชญ์ผู้ปราดเปรื่องของพี่น้องอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ทั้งที่เป็นนักประวัติศาสตร์ นักอรรถธิบายอัล- กุรอาน (มุฟัซซิร) และด้านอื่นๆ ได้พูดถึงเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุมในตำรับตำราของพวกเขาด้วยหลักฐานอันมากมายในหนังสือ “อัล ฆอดีร” (ของท่านอัลลามะฮฺอามินี) ได้กล่าวรายชื่อของพวกเขาไว้ว่ามีจำนวนถึง 350คน

ยังมีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของอิสลามอีกจำนวนหนึ่งประมาณ 26 คนที่ได้เขียนถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้เป็นหนังสือโดยตรงอีกเล่มหนึ่งต่างหาก

นักจัดทำพจนานุกรรมเมื่ออ้างถึงคำว่า อัล เฆาะดีร หรือเมาลา พวกเขาจะกล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ด้วย

ใช่แล้ว ไม่มีความสงสัยและการปฏิเสธอันใดแม้เพียงเล็กน้อยต่อความถูกต้องชัดเจน ของสายสืบฮะดีษ

อัลเฆาะดีร นอกเสียจากบุคคลที่ยืนอยู่ท่ามกลางแสงแดด ความร้อนของมันกระทบกับผิวหนังของเขา แต่เขาบอกว่าไม่มีแสงสว่างและความร้อนอันใดเลย

การตรวจสอบเล็กน้อยต่อความหมายของฮะดีษอัล –เ ฆาะดีร

ด้วยกับหลักฐานที่แสดงอยู่ในตัวบท และนอกตัวบทของฮะดีษนี้ กระจ่างชัดถึงขนาดทีว่า คนที่มีความเที่ยงธรรมจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เลยว่า ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน อะลี (อ)  คือ ตัวแทนคนแรกของท่านศาสดา (ศ)

ต่อไปนี้เราจะได้อธิบายทำความกระจ่างต่อหลักฐานบางประการที่มีอยู่ในฮะดีษบทนี้ :

1 -คำว่าเมาลาที่พบในฮะดีษนี้ คือ คำที่มีความหมายกระจ่างชัดที่สุดที่ถูกใช้ในสภาพการณ์เช่นนี้ เมาลาให้ความหมายถึง บุคคลที่มีฐานภาพการนำ การได้รับความจงรักภักดี

การให้ความเห็นและการออกคำสั่ง ความต้องการของเขาผู้นี้ย่อมอยู่เหนือความต้องการของบุคคลอื่น ด้วยเหตุนี้เองท่านศาสดา(ศ) ก่อนที่จะกล่าวประโยค มันกุนตุเมาลา...

ท่าน (ศ) พูด ในเชิงคำถามว่า อัยยุฮันนาซมันเอาลันนาซ

ความหมายของการเป็นผู้เหนือกว่า(เอาลา) ก็คือความประสงค์ของท่าน(ศ) นั้นต้องมาก่อนความประสงค์ของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าท่าน (ศ )จะพูด และปฏิบัตสิ่งใด สำหรับประชาชนแล้วถือเป็น ข้อพิสูจน์และหลักฐานอันแจ้งชัด ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ ท่าน (ศ) มีฐานภาพของการได้รับการจงรักภักดี(วิลายะฮฺ) ถึงตอนนี้เราจะกล่าวว่า ประโยคก่อนหน้านี้พูดถึงการเป็นผู้เหนือกว่า(เอาละวียะฮฺ) และฐานภาพของการได้รับการจงรักภักดี(วิลายะฮฺ) ดังนั้นประโยคต่อมาก็จะต้องให้ความหมายเช่นเดียวกันนี้ด้วย เพื่อที่ความหมายของประโยคหน้า และประโยคหลังจะได้มีความสอดคล้องกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะได้ความหมายที่สมบูรณ์ที่ท่านศาสดา(ศ) ต้องการจะกล่าวก็คือ

*เมื่อเปรียบเทียบกับตัวของพวกท่านเองแล้ว ฉันมิได้มีความดีเด่นเหนือกว่าตัวของพวกท่านเองกระนั้นหรือ?

ทุกคนตอบรับเป็นเสียงเดียวกันว่า ท่านมีอย่างแน่นอน และแล้วท่าน(ศ) ก็พูดต่อเลยว่า ความดีเด่น ความเหมาะสม ความเหนือกว่าที่ฉันมีต่อตัวของพวกท่านนั้น อะลีก็มีคุณสมบัตินี้ด้วย หลังการจากไปของฉันแล้ว เขาก็คือเมาลาของมุสลิมทุกคน*

ในฮะดีษบทนี้มิได้มีเจตนาให้ความหมายของเมาลาเป็นอย่างอื่น นอกจากหมายถึง การเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่า มีฐานภาพของการเป็นผู้นำ และจะต้องได้รับการมอบความจงรักภักดี ความหมายอื่นในที่นี้ ย่อมหาได้

มีความเหมาะสมไม่มีประเด็นที่น่าสนใจอีกก็คือ :

2 –ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ได้กักผู้คนเอาไว้ในสถานที่หนึ่งภายใต้ความร้อนระอุของแสงแดด ความเป็นจริงในเรื่องนี้ได้ทำให้แง่มุมทางประวัติศาสตร์ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สถานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มิเช่นนั้นแล้ว

คงไม่มีผู้มีปัญญาคนใดจะยอมรับได้ว่า ท่านศาสดา(ศ) กักผู้คนเอาไว้ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเพียงเพื่อจะเตือนให้ผู้คนรับรู้เพียงเรื่องปลีกย่อย เช่น อะลีเป็นเพื่อนของฉัน (ดังที่มีอุละมาอ์บางคนพยายามที่จะกล่าวเช่นนั้น

ถึงแม้จะฝืนกับความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ และการยอมรับของสติปัญญาเองก็ตาม)

3 -ท่านศาสดา(ศ) กล่าวในประโยคต่อไปว่า

“โอ้อัลลอฮ์ ได้โปรดช่วยเหลือผู้ที่ได้ช่วยเหลืออะลี โปรดผลักไสให้ออกจากความโปรดปรานของพระองค์ สำหรับผู้ที่ยับยั้งการช่วยเหลือแก่อะลี...”

ท่านศาสดา(ศ) รู้ดีว่า หลังการจากไปของท่าน ท่านอะลี(อฺ) จะต้องมีกองกำลังทหาร และประชาชนจะต้องให้ความร่วมือแก่เขาเพื่อฝังรากอิสลามให้ลึกยิ่งขึ้น ก็พราะว่า รัฐบาลอิสลามต้องการผู้นำที่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม และได้รับการยอมรับ

อีกทั้งจำเป็นที่ประชาชนจะตอ้งเชื่อฟังตัวแทนของท่านศาสดา(ศ) ด้วยเหตุนี้เองท่าน(ศ) จึงได้ขอดุอาให้กับผู้ที่มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือแก่ท่านอะลี(อฺ) และสาปแช่งผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับเขา จากวิธีการอันนี้เองที่ท่าน(ศ) ต้องการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนว่า การเป็นปฏิปักษ์และขัดแย้งกับท่านอะลี(อฺ) เป็นเหตุให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงกริ้ว และท่านศาสดา(ศ) สาปแช่ง

4 -ในตอนเริ่มคุฎบะฮฺ ท่านศาสดา (ศ)  กล่าวว่า

“พวกท่านไม่ได้ยืนยันต่อความเป็นเอกะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และสาส์น

ของบ่าวของพระองค์ มุฮัมมัดดอกหรือ?”

ทุกคนตอบรับเป็นเสียงเดียวกันว่า

“พวกเราขอยืนยันตามนั้น”

แล้วท่าน (ศ)  ก็ได้กล่าวถึงบุคคลที่จะเป็นเมาลาของพวกเขา โดยกล่าวว่า

“ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย”

แน่นอนเหลือเกินว่า จุดมุ่งหมายของการเป็นผู้ที่มีอำนาจได้รับการจงรักภักดี (วิลายะฮฺ) ของท่านอะลี(อฺ)

ถูกกล่าวหลังจากการกล่าวปฏิญาณตนต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ต่อสาส์นของพระองค์ และวิลยะฮ์ของท่านศาสดา(ศ)แล้ว ก็คือ ฐานภาพของการเป็น

อิมาม (ผู้นำ) นั่นเอง เพราะว่าถ้านอกจากการให้ความหมายเช่นนี้ประโยคที่กล่าวมาจะไม่มีความต่อเนื่องกันเลย

 ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้อยู่เต็มอกว่าท่านศาสดา (ศ)  คือ ผู้ที่มีโวหารที่ดีที่สุด

5 -หลังจากพิธีได้สิ้นสุดลง และประชาชนทุกคนได้เข้ามาร่วมแสดงความยินดีต่อท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(อฺ) เป็นที่กระจ่างชัดว่าการแสดงความยินดีจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ ในวันนั้น ท่านอะลี(อฺ) ได้รับตำแหน่งอันสูงส่งจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ ถ้านอกจากนี้แล้ว การร่วมแสดงความยินดีก็ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง

6 -โองการที่ว่า :

“โอ้รอซูล จงประกาศสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาให้แก่เจ้าจากองค์พระผู้อภิบาลของเจ้า หากเจ้าไม่กระทำตามนั้น เท่ากับว่าเจ้าไม่เคยประกาศสาส์น

ของพระองค์มาเลย อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ที่ปกป้องเจ้าจากมวลมนุษย์”

 (บทอัล มาอิดะฮฺ: 67)

ตามการยืนยันของบรรดาอุละมาอ์อะฮ์ลิซซุนนะฮฺ ถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร ในเรื่องการเป็นตัวแทนของท่านอะลี(อ)

เพื่อเป็นตัวอย่าง เราขอนำคำพูดของนักอรรถาธิบายอัล – กุรอาน

 (มุฟัซซิร) และนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของพี่น้องอะฮฺลิซซุนนะฮฺ คือท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฎอบะรีย์(ร.ฮ.) ที่กล่าวว่า :

หลังจากที่อายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาในเฆาะดีรคุมท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่า

“ญิบรออีลได้รับคำสั่งมาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ว่าให้ฉันหยุดยืนอยู่ ณ ที่นี่แล้วประกาศไปยังทุกคนไม่ว่าผิวขาว หรือผิวดำ ว่า อะลี บินอะบีฎอลิบ คือน้องชายของฉัน ทายาท(วะศี) ของฉัน ตัวแทนของฉันและเป็นอิมามภายหลังจากฉัน...

7 -บทกวีและบทกลอนที่มีค่าอันสูงส่ง ซึ่งนักกลอนทุกคนนับตั้งแต่สมัยนั้นจนกระทั่งทุกวันนี้ ที่ได้แต่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของอัล – เฆาะดีร และตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) คือ ท่านอะลี (อ) โดยพิจารณาฉันทลักษณ์อันลึกซึ้งแล้ว ถือว่าเป็นหลักฐานที่ชัดเจนอย่างยิ่งเกี่ยวกับปัญหานี้ เพราะทั้งหมดต่างก็อ้างถึง คุฎบะฮฺอัล- เฆาะดีร ว่า

เกี่ยวพันกับการเป็นอิมาม และเป็นผู้มีอำนาจได้รับการจงรักภักดีอย่างแน่นอน

บทกวีและบทกลอนรวมทั้งชื่อของพวกเขาถูกกล่าวและบันทึกอยู่ในหนังสือ “อัล –เฆาะดีร” ซึ่งพวกเขาทุกคนล้วนเป็นผู้ที่ช่ำชองในเรื่องกวี และบทกลอนทั้งนั้น ในหนังสือเล่มดังกล่าวได้ยกบทกลอนพร้อมทั้งผู้แต่งกลอนหรือบทกวี นั้นซึ่งพวกเขาได้แต่งเกี่ยวกับ อัล –เฆาะดีร นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 แห่งฮิจญ์เราะฮฺศักราชเรื่อยมา ทั้งยังมีการตรวจสอบความถูกต้องอีกด้วย

8 –ท่านศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ของเรา (ศ) และบรรดาอิมามผู้ทรงเกียรติของเรา(อฺ) ได้ประกาศให้วันที่ 17 ซุลฮิจญะฮฺ เป็นวันอีด (วันรื่นเริง) อย่างเป็นทางการของมวลมุสลิม เพื่อทีจะให้เรื่องราวของเหตุการณ์เฆาะดีรคุมถูกกล่าวขานอยู่เสมอในทุก ๆ ปี ไม่ได้ถูกลืมเลือนไป ดังที่ท่าน อะบูร็อยฮาน

 บีรูนี นักปราชญ์ชาวอิหร่าน (อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 แห่ง ฮ.ศ.) กล่าวในหนังสือ “อาษารุ้ลบากิยะฮฺ” และท่านอิบนุฏอลฮะฮฺ อัล– วาฟิอี กล่าวใน

หนังสือ “มะฎอลิบุซซุอูล” โดยท่านทั้งสองบอกว่าวันแห่งอัล – เฆาะดีรถือเป็นวันอีดหนึ่งของอิสลาม ท่านอะบูมันศูร ษะอาละบี นักนิรุกติศาสตร์ และนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ษะมารุ้ลกุลูบ” ว่า

ค่ำอัล – เฆาะดีร คือ ค่ำอันยิ่งใหญ่หนึ่งของอิสลาม

9 -เมื่อท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน อะลี(อฺ) และบรรดาอิมาม(อฺ) ใช้เหตุการณ์

อัล-เฆาะดีร เป็นหลักฐานและเป็นข้อโต้แย้งต่อหน้าผู้ปฏิเสธท่านเหล่านั้น ไม่มีใครเลยแม้สักคนเดียวที่กล้าปฏิเสธความหมายดังกล่าวและความเกี่ยวพันกันระหว่างเรื่องนี้กับฐานภาพการเป็นอิมามและตัวแทนของ ท่านศาสดา (ศ) ทุกคนต่างให้การยอมรับทั้งสิ้น

วันหนึ่งท่านอิมามอะลี (อ) กล่าวในคุฎบะฮ์ที่เมืองกูฟะฮ์ว่า

“ฉันขอปฏิญาณต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่าน ใครที่อยู่ในเหตุการณ์อัล – เฆาะดีร และได้ยินคำสั่งแต่งตั้งของท่านศาสดา (ศ) ที่ให้ฉันเป็นผู้นำ (อิมาม) ขอให้ลุกขึ้นยืนเฉพาะผู้ที่ได้ยินคำสั่งนั้นกับหูของตัวเอง ไม่ใช่ผู้ที่ได้ยินจากอีกบุคคลหนึ่งโดยที่ตัวเองไม่ได้อยู่ ณ ที่นั้น”