พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27276
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27276 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

มีคนกลุ่มหนึ่งได้ยืนขึ้น

ท่านอะฮฺมัด บิน ฮัมบัล (อิมามมัซฮับฮัมบะลี) กล่าวว่า

“พวกที่ลุกขึ้นยืนในวันนั้นมีประมาณ 30 คนและยืนยันการได้ยินฮะดีษอัล เฆาะดีร”

จะต้องไม่ลืมด้วยว่า ในเวลานั้นห่างจากเหตุการณ์อัล-เฆาะดีรถึง 25 ปี ศ่อฮาบะฮฺบางคนของท่านศาสดา(ศ) ไม่ได้อยู่ ณ ที่นั้นและบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว อีกทั้งบางคนก็มีเหตุผลบางอย่าง และไม่ได้ให้คำยืนยันนามนั้น ?

นายแห่งบรรดาเสรีชน ท่านอิมามฮุเซน (อ) กล่าวสุนทรพจน์ในนคร

มักกะฮฺ ท่ามกลางบรรดาศ่อฮาบะฮฺผู้เต็มเปี่ยมด้วยตักวา และตาบิอีนจำนวน 700 ท่าน ความว่า

 “...ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน พวกท่านทราบใช่ไหมว่าท่านศาสดา (ศ) ได้แต่งตั้งท่านอะลี (อ) ให้ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮ์และมีอำนาจเต็มในการได้รับการจงรักภักดี โดยท่าน (ศ) กล่วว่า พวกที่อยู่ ณที่นี่ จงบอกข่าวนี้ไปยังผู้ที่ไม่ได้อยู่ด้วย?”

พวกที่ร่ามชุมนุมอยู่ที่นั่นกล่าวขึ้นว่า

“อัลลอฮ์ทรงเป็นพยาน มันเป็นอย่างนั้นจริง...”

ในตอนท้ายของบทความนี้ ขอยกคำนำของหนังสือ “อัล -เฆาะดีร” ที่เขียนโดยท่านเชค มุฮัมมัด ดะฮฺดูด อิมามญฺมอะฮฺ และผู้นำอุลามาอ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺเมืองฮะลับ ดังนี้

“...หนังสืออัล -เฆาะดีรได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับความสัจจริง และขุดรากถอนโคน ความหลงงมงายต่าง ๆ มันได้ยืนยันสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และยังได้หักล้างถ้อยคำที่เราได้เคยยึดมั่นมาเป็นเวลาหายศตวรรษด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ใช่แล้ว สิ่งที่เคยผ่านมาในอดีตเมื่อมีการพูดถึง เรามักจะพูดว่า เราไม่รู้ที่มาของมัน (หมายถึงไม่ยอมรับ) และก็จะไม่คิดในแง่มุมที่ล้ำลึกของมัน

ทั้งๆที่เราจำเป็นจะต้องได้รับบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาและควรที่จะตรวจสอบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เหล่านั้นบนพื้นฐานของการแสวงหาความจริง...”

เราเห็นแล้วว่าก่อนหน้าที่จะมีการเรียบเรียงหนังสือ“อัล–เฆาะดีร”

ความรู้ของพี่น้องอะฮลิซซุนนะฮฺในเรื่องเหตุการณ์อัล – เฆาะดีรเป็นอย่างนั้น แต่ทว่าหลังจากนั้นเมื่อเรื่องราวโดยละเอียดของมันถูกเปิดเผย ต่อหน้า

ท้องทะเลแห่งการแสวงหาที่พวกเขามองเห็นมันอันเต็มไปด้วยเหตุผลที่ต้องรับฟัง การอ้างอิงที่กระจ่างชัดและความรอบรู้อันมหาศาล ดังที่เราได้เห็นในหนังสือ

จึงกล่าวได้ว่า

“ความสว่างอันเจิดจ้าของแสงอาทิตย์ไม่อาจถูกบดบังได้”

บทที่ 27

ปัญหาการชูรอแต่งตั้งผู้นำ

มุสลิมทั่วไปมีความเชื่ออย่างมั่นคง และไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดเลยว่า ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) เป็นมะอฺศูม (บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งรูปธรรมและนามธรรม) และคำกล่าวอันบริสุทธิ์ทั้งหมดของท่านเป็นไปตามสัจธรรม และพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าหากไม่เป็นเช่นที่กล่าวไป แน่นอนเหลือเกินว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ) คงจะไม่บัญชาให้ทุกคนเชื่อฟังและปฏิบัติตามท่านอย่งไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น คำสั่งของท่าน (ศ) ก็คือพระบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และจำเป็นที่ทุกคนจะต้องปฏิบัตตาม

ยิ่งไปกว่านั้น ตามความเข้าใจหลักเบื้องต้นของอายะฮ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้เราจะพบว่าท่านศาสดา (ศ) มีสิทธิ์เหนือประชาชนทุกคนในฐานะผู้ปกครอง ความเห็นของท่าน(ศ) ย่อมอยู่เหนือความคิดและทัศะทั้งปวงของประชาชนโดยทั่วไป คำสั่งของท่าน (ศ) ในเรื่องของสังคมและอื่นใดก็ตามจำเป็นที่จะต้องถูกปฏิบัติตาม :

“ท่านศาสดามีสิทธิ์เหนือผู้ศรัทธาทุกคนยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองเสียอีก”

..(บทอัล – อะฮฺซาบ : 6)

จากอายะฮฺนี้แสดงว่า ท่านศาสดา(ศ) อยู่ในฐานะที่มีศักดิ์และสิทธิ์เหนือมุอ์มินทุกคนยิ่งกว่าตัวของพวกเขาที่มีสิทธิ์เหนือตัวของพวกเขาเอง

“เมื่ออัลลอฮ์และรอซุลของพระองค์ได้มีพระบัญชาหรือกำหนดกิจการใดไว้แล้วสำหรับผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง พวกเขาไมมีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิบัติกิจการงานใดของพวกเขาเอง...”

 (บทอัล – อะฮ์ซาบ: 36)

ดังนั้นเมื่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ได้มีพระบัญชาในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว จะต้องไม่มีมนุษย์คนใดเลือกปกิบัติตามความคิดของตัวเองกนอกเหนือจากคำสั่งดังกล่าวนั้น

การพินิจพิจารณาและการอธิบายอายะฮ์ข้างต้นทำให้กระจ่างชัดว่าคำสั่งของท่านศาสดา(ศ) ในทุกๆ เรื่อง(ถึงแม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม) มีผลในทางปฏิบัติทั้งสิ้น เพราะอายะฮ์ดังกล่าวถูกประทานลงมาในเรื่องส่วนตัวของศอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง คือ ปัญหาการแต่งงานระหว่างท่านซัยด์และท่านหญิงซัยนับ เพื่อทำลายแบบฉบับของพวกญาฮิลียะฮฺซึ่งไม่ต้องการที่จะแต่งงานกับคนไม่มีเกียรติและไร้ทรัพย์สินเงินทอง

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม(ศ) จึงได้มีบัญชาให้ท่านหญิงซัยนับทำการแต่งงานกับท่านซัยด์ (ความหยิ่งในเกียรติอันไร้แก่นสารซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากสมัยญาฮิลียะฮฺไม่ปล่อยให้ท่านหญิงซัยนับเลือกท่านซัยด์เป็นสามี)

อายะฮฺต่อไปนี้ให้ความกระจ่างว่า แม้กระทั่งในเรื่องส่วนตัวก็จะต้องปฏิบัติตามบัญชาของท่านศาสดา(ศ) ท่านซัยนับก็ทำเช่นนั้น และพึงพอใจด้วย

“ไม่อย่างแน่นอน ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า พวกเขาจะยังไม่เป็นผู้มีอีหม่านที่แท้จริง จนกว่าเมื่อพวกเขาได้ให้เจ้าตัดสินข้อพิพาทระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาก็ไม่รู้สึกปวดร้าวในหัวใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินไปและพวกเขาก็ยอมรับโดยดุษณี”

(บทอัน – นิซาอ์: 65)

ท่านศาสดา (ศ) จะต้องปฏิบัตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ด้วยหรือไม่?

พี่น้องอะฮฺลุซซุนนะฮฺบางกลุ่มกล่าวว่า ประชามติของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของสังคม ถือเป็นหลักการที่ตัองปฏิบัติ ซึ่งแม้กระทั่งตัวของท่านศาสดา(ศ) เองก็ต้องปฏิบัติตาม

แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดต่ออายะฮ์ ข้างต้นที่ได้กล่าวไปก็จะมองเห็นถึงความไม่ถูกต้องของแนวความคิดดังกล่าว มาถึงตอนนี้ขอให้เรามาทำความรู้จักกับหลักฐานและคำพูดต่างๆ ของพวกเขา เพื่อที่เราจะได้ให้คำตอบแก่พวกเขาอย่างกระจ่า

หลักฐานที่พวกเขาใช้กล่าวอ้างก็คืออายะฮ์ที่ 159 ซุเราะฮ์อาลิอิมรอนที่ว่า

“ด้วยกับความโปรดปรานที่มาจากอัลลอฮ์ เจ้าจึงมีความนุ่มนวลต่อพวกเขาซึ่งหากเจ้าหยาบคาย หัวใจแข็งกระด้างละก็ พวกเขาก็จะแยกย้ายไปจากเจ้า ดังนั้นจงให้อภัยพวกเขา และขอการอภัยโทษให้กับพวกเขา จงปรึกษาหารือพวกเขาในกิจการงานทั้งหลาย และแล้วเมื่อเจ้าตัดสินใจประการใดก็จงมอบหมายสิ่งนั้นยังอัลลอฮ์ อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงรักผู้ที่รู้จักมอบหมายตน”

เราขอให้ความกระจ่างดังนี้ว่า :

อันที่จริงแล้วอายะฮ์นี้นั่นเองที่เป็นหลักฐานอันแจ้งชัดว่า ท่านศาสดา(ศ) ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต้องปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ หมายความว่า สิทธิ์ในการปกครองทั้งมวล แม้กระทั่งเรื่องของสังคมโดยทั่วไปก็เป็นสิทธิเด็ดขาดของท่านศาสดา(ศ) ท่าน (ศ) มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของท่าน (ศ) เองหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือแล้ว ไม่ใช่ปฏิบัติตามความคิดเห็นของพวกเขา เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ตรัสว่า

“ จงปรึกษาหารือพวกเขาในกิจการงานทั้งหลาย และแล้วเมื่อเจ้าตัดสินใจประการใด ก็จงมอบหมายสิ่งนั้นยังอัลลอฮ์...”

หากว่าทัศนะของบุคคลอื่นจำเป็นต้องปฏิบัติตามล่ะก็ แน่นอนเหลือเกินอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะต้องตรัสว่า

“...หากว่าประชาชนทั่วไปมีความเห็นเป็นเช่นไร เจ้าก็จะต้องปฏบัติตามนั้น...”

แต่...เราก็เห็นแล้วว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.) ไม่ได้ตรัสเช่นนั้น

ยิ่งไปกว่านั้น เรายังมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮฺ ดังตัวอย่างในเรื่อง “สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์”

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม(ศ) ออกจากนครมะดีนะฮ์ไปยันครมักกะฮ์เพื่อทำฮัจญ์ ในระหว่างทางใกล้นครมักกะฮ์ มีหัวหน้าชาวกาเฟรมักกะฮ์ได้มาขอพบท่าน (ศ) ประสงค์จะไม่ให้ท่าน (ศ) เข้านครมักกะฮ์

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่า

“เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อการสงคราม เรามาเพื่อซิยาเราะฮฺ (เยี่ยมเยียนโดยเนียตเป็นอิบาดะฮฺ) อัล – กะอฺบะฮฺเท่านั้น”

หลังจากที่มีการถกเถียงกันเป็นเวลานาน ชาวกุเรชมักกะฮ์ก็ตกลงว่าให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกันจะดีกว่า ซึ่งท่านศาสดา (ศ) ภายใต้สถานการณ์เช่นนั้นก็จำต้องยอมตกลง แต่ทว่า...ศอฮาบะฮ์บางคนกลับไม่พอใจต่อการทำ

สัญญาในครั้งนี้และต้องการที่จะเข้านครมักกะฮ์ด้วยการใช้กำลัง

ท่านศาสดา (ศ) กล่าวกับศอฮาบะฮ์ว่า

“ฉันคือบ่าวของอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ ฉันไม่เคยขัดแย้งต่อพระบัญชาของพระองค์เลย พระองค์ก็จะไม่ปล่อยให้ฉันอยู่โดยเดี่ยวเป็นแน่”

ณ ที่นี้มีคำถามที่ออกมาจากก้นบึ้งของสติปัญญาว่า :

จุดประสงค์ของการปรึกษาหารือของท่านศาสดา(ศ) กับประชาชน คืออะไร?

การร่วมปรึกษาหารือของท่านศาสดาผู้ทรงเกียรตินั้นถือเป็นรูปแบบของการบริหารอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อทัศนะทั้งหลายของประชาชนอีกทั้งเป็นการพัฒนาสติปัญญาตามแนวทางแห่งความก้าวหน้าของหลักการอิสลาม และยังเป็นการทำลาย พฤติกรรมบางอย่างของชนชั้นหัวหน้า

ชาวมักกะฮ์ เพราะเมื่อพวกเขามีส่วนในการ่าวมปรึกษาหารือในกิจการงานทั้งหลาย มันก็จะเป็นการตัดต้นตอของากรที่จะขัดแย้งต่อคำสั่งในภายหลัง อย่างไรก็ตามในแง่ของการประชุมปรึกษาหารือดังกล่าว ท่านศาสดา(ศ) ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่หากว่าท่าน (ศ) เกิดยอมรับทัศนะของผู้ใด นั่นก็หมายความว่า ทัศนะของผู้นั้นตรงกับทัศนะของท่าน (ศ) ไม่ปรากฏหลักฐานที่น่าเชื่อถือเลยว่า ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ) กำหนดให้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานของการปฏิบัติ หลังสมัยของท่านศาสดา (ศ) ชูรอถูกจัดตั้งขึ้นจริงหรือ?

เราได้เห็นและรู้อย่างมั่นใจเลยว่า ทัศนะของท่านศาสดา (ศ) นั้นมีความดีงาม และเหนือกว่าทัศนะของทุกคนอย่างที่ไม่ต้องสงสัย และหนึ่งในทัศนะอันแจ้งชัดของท่าน (ศ) ก็คือ การประกาศการแต่งตั้งให้ท่านอิมามอะลี(อฺ)เป็นตัวแทนของท่าน(ศ) ใน “วันเฆาะดีร” และวันอื่นๆ

ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า การประชุมปรึกษาหารือในเรื่องการกำหนดผู้ที่จะเป็นตัวแทยของท่านศาสดา(ศ)

 ภายหลังท่าน(ศ) จากไปแล้วนั้น จึงเป็นการขัดแย้งกับพระบัญชา และทัศนะของท่านศาสดา(ศ) อย่างเด่นชัดที่สุด และไม่มีคุณค่าอันใดทั้งสิ้น

ทว่า... ตอนนี้ขอให้เราเก็บความจริงอันเป็นสัจธรรมนั้นไว้ก่อน แล้วลองมาพิจารณากันว่า จริง ๆ แล้ว “ชูรอ” (การใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ตัดสินปัญหา) ถูกจัดตั้งขึ้นหรือไม่ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ มีการปฏิบัติตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่จริงหรือ?

เพื่อเปิดประเด็นในปัญหาดังกล่าว ขอให้เรามาดูเหตุการณ์ที่ “ซะกีฟะฮฺ” โดยใช้หลักฐานที่น่าเชื่อถือเป็นตัวตรวจสอบ

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซะกีฟะฮฺ

เมื่อท่านท่านศาสดา(ศ) ได้ลาจากโลกนี้ไป ชาวอันศอรได้รวมตัวกันขึ้น ณ สถานที่แห่งหนึ่งมีชื่อว่า

“ซะกีฟะฮฺ บะนี ซาอิดะฮ์”

พวกเขาพูดคุยกันว่า

“หลังจากท่านศาสดา(ศ) แล้ว พวกเราขอมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้อยู่ในมือของท่านซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺ”

ขณะนั้นซะอ์ด บิน อุบาดะฮฺกำลังป่วยอยู่ แต่ก็มาร่วมอยู่ในที่ชุมนุมด้วย

เขากล่าวขึ้นว่า

“โอ้ชาวอันศอรทั้งหลาย ไม่มีกลุ่มชนใดอีกแล้วในโลกอิสลามที่จะมีความเลอเลิศยิ่งกว่าพวกท่าน เพราะท่านศาสดา(ศ) อยู่ท่ามกลางชาวกฺเรชเป็นเวลาถึง 13 ปี ทำหน้าที่เรียกร้องให้พวกเขาละทิ้งการบูชารูปเจว็ดและ

หันมาเคารพภัดีพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่ศรัทธาต่อท่าน ซึ่งพวกเขาก็หาได้มีความสามารถปกป้องศาสนาไว้ได้ อีกทั้ง ยังไม่อาจเผยแพร่ศาสนาให้ยิ่งใหญ่ได้จนกระทั่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ทรงคัดเลือกพวกท่านให้ได้รับความจำเริญ มีศรัทธาต่อท่าน (ศ) และศาสนาของท่าน (ศ) พระองค์ได้มอบความเสียสละต่อท่าน(ศ)

และศาสนาของท่าน(ศ) แก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็ยึดมั่นต่อสัญญานี้อย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา จนกระทั่งท่าน (ศ)ได้จากพวกท่านไปด้วยความยินดียิ่ง ถึงเวลานี้แล้วพวกท่านจะต้องพยายามอย่างถึงที่สุดไม่ให้ตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดา(ศ) ตกอยู่ในมือของผู้ใดนอกจากพวกท่าน ซึ่งมันเป็นสิทธิ์เฉพาะของพวกท่านเท่านั้น...”

ชาวอันศอรพูดตอบรับขึ้นว่า

“ท่านพูดได้ถูกกาลเทศะจริง ๆ ถ้าเช่นนั้นท่านก็สมควรรับตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาและอำนาจการบริหารไว้”

บางคนพูดขึ้นว่า

“แล้วถ้าพวกกุเรชเกิดไม่ยอมขึ้นมา เราจะทำเช่นไร?”

มีเสียงตอบกลับมา

“เราก็จะกล่าวกับพวกเขาว่า พวกท่านก็เลือกผู้นำขึ้นมาคนหนึ่ง เราก็จะเลือกผู้นำอีกคนหนึ่ง”

ซะอ์ด พูดขึ้นว่า

“นี่เป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรก !”

ข่าวนี้ถูกแจ้งแก่ท่านอุมัร เขาได้ส่งคนไปตามท่านอะบูบักร์ ขณะนั้นเขาอยู่กับท่านอิมามอะลี(อฺ) ในบ้านของท่านศาสดา(ศ)

เขาได้ส่งจดหมายตอบไปว่า

“ฉันกำลังยุ่งอยู่ที่นี่”

ท่านอุมัร ก็ส่งจดหมายไปอีก โดยบอกว่า

“มีข่าวใหม่ ถ้าขาดท่านแล้วเราจะแย่”

ท่านอะบูบักร์รีบรุดออกมาจากมัยยัตอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา(ศ) ซึ่งท่านอะลี(อฺ) กำลังตระเตรียมการอาบน้ำมัยยัต

ท่านอุมัร พูดกับท่านอะบูบักร์ ว่า

“ท่านไม่รู้หรือว่า ชาวอันศอรได้มารวมตัวกันเพื่อเลือกซะอ์ดเป็น

คอลีฟะฮฺ”

แล้วคนทั้งสองก็รีบรุดไปยังที่นั่น ระหว่างทางพวกเขาได้พบกับ

อะบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮฺ แล้วก็ชวนเขาไปด้วย...ทั้งหมดได้มายังซะกีฟะฮฺ

ท่านอะบูบักร์ลุกขึ้นกล่าวว่า

“ขอสรรเสริญแด่อัลลอฮ์และศอละวาตแด่ท่านศาสดา

อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ส่งท่านศาสดา(ศ) มายังประชาชาติ เพื่อให้พวกเขาได้ทาการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าซึ่งแต่ก่อนพวกเขาเคยบูชาพระเจ้าหลายองค์และคิดว่าสิ่งนั้นให้คุณได้ ถือเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งสำหรับชาวอาหรับ ที่พวกเขาละทิ้งศาสนาของบรรพบุรุษของพวกเขา...

และแล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.) ก็ได้มอบความเลอเลิศนี้แก่มุฮาญิรีน ซึ่ง ก็คือการที่พวกเขามีอีหม่านต่อศาสนาของมุฮัมมัด (ศ) และอดทนต่ออุปสรรคทั้งปวงร่วมกับท่านศาสดา (ศ)  ดังนั้นหลังจากท่าน(ศ) แล้ว พวกเขาจึงมีความเหมาะสมต่อตำแหน่งนี้มากกว่าผู้ใด ส่วนพวกท่านนั้น โอ้ชาวอันศอร ไม่มีใครที่จะปฏิเสธความดีเด่นของพวกท่านในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาถัดจากชาวมุฮาญิรีน ไม่มีใครเทียบพวกท่านได้ ฉะนั้นพวกเราจึงสมควรเป็นผู้ปกครอง ส่วนพวกท่านก็เป็นผู้ช่วยก็แล้วกัน ซึ่งเราจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดจนกว่าจะได้ถามพวกท่านเสียก่อน...”

ฮับบาบ บินมุนซิรลุกขึ้นยืน แล้วกล่าวขึ้นว่า

“ชาวอันศอรเอ๋ย พวกท่านต้องไม่โง่ จงยึดกุมอำนาจการไว้ เพราะคนพวกนั้นเป็นเพียงผู้ที่มาอาศัยพวกท่านเท่านั้น คนที่ชอบสนับสุนการต่อสู้ย่อมจะไม่อยู่กับพวกท่านอย่างแน่นอน อย่าได้ขัดแย้งกันจนเสียงานเสียการเลย พวกเขาคงจะไม่ยอมรับการนำของเรา เอาอย่างนี้ดีกว่าเราก็มีผู้นำที่มาจากเรา พวกเขาก็มีผูนำของพวกเขา”

ท่านอุมัรพูดขึ้นว่า

“จะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ชาวอาหรับจะไม่ยอมรับการบริหารรัฐของพวกท่าน และจะไม่ยอมก้มหัวให้ อันเนื่องมาจากศาสนทูตไม่ได้มาจากพวกท่าน”

ฮับบาบลุกขึ้นเป็นครั้งที่สอง กล่าวว่า

“อันศอรทั้งหลาย การตัดสินใจอยู่ที่ตัวพวกท่านเอง อย่าได้ฟังคำพูดของชายคนนี้และพวกเขาซึ่งได้กีดกันสิทธิของพวกท่าน หากพวกเขาไม่ยอมเรื่องนี้ก็จงไล่พวกเขาออกไปจากเมืองนี้และเข้ายึดอำนาจไว้ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์พวกท่านนั้นเหมาะสมยิ่งกว่า”

ท่านอุมัรตะโกนขึ้นว่า

“ขอให้อัลลอฮ์ได้สังหารเจ้า”

ฮับบาบก็ตะโกนกลับเช่นเดียวกันว่า

“ขออัลลอฮ์ได้ฆ่าเจ้า”

อะบูอุบัยดะฮฺลุกขึ้นยืนไกล่เกลี่ย กล่าวว่า

“ชาวอันศอรที่รัก พวกท่านคือชนกลุ่มแรกที่ได้ให้ความช่วยเหลือและมีศรัทธา ดังนั้นก็อย่าเป็นคนแรกที่เปลี่ยนแปลงมันเลย”

พอถึงตอนนี้ บะชีร บินซะอ์ดก็ลุกขึ้นยืนแล้วกล่าวว่า

“โอ้ ชาวอันศอร แม้นว่าเราจะดีเด่นกว่าในเรื่องการต่อสู้กับมุชริก และรับอิสลามก่อนพวกท่านก็จริง แต่สิ่งทำไปนั้นไม่มีจุดประสงค์อื่นใดนอกจากความพอพระทัยของพระผู้อภิบาล...”

ท่านอะบูบักร์พูดขึ้นว่า

“เอาอย่างนี้ดีกว่า ระหว่างอุมัรกับอะบูอุบัยดะฮฺ พวกท่านจะบัยอะฮฺกับใคร”

คนทั้งสองพูดขึ้นว่า

“ไม่ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ท่านนั้นดีที่สุดในหมู่ชาวมฺฮาญิรีน ตราบใดที่มีท่านอยู่ เราไม่อาจหาญที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้ ยื่นมือออกมาซิเราจะได้ให้บัยอะฮฺต่อท่าน...”

ทันใดนั้นเองท่านอุมัรและอุบัยดะฮฺก็ลุกขึ้นยืนบัยอะฮฺกับท่านอะบูบักร์แต่บะชีร บินซะอัด (ชาวอันศอรเผ่าเอาซฺ) กลับรีบพรวดพราดให้บัยอะฮฺกับเขาก่อนคนทั้งสองอีก ชนเผ่าเอาซฺเมื่อเห็นบะชีรแก้ปัญหาอย่างนี้ ด้วยการยอมรับว่าพวกกุเรชมีความดีเด่นกว่า ประกอบกับการที่ชนเผ่าค็อซรอจญ์ก็ต้องการให้ซะอ์ดบินอุบาดะฮฺเป็นผู้นำจึงพูดกันต่อๆ ว่า

“ขอสาบาน หากเผ่าค็อซรอจญ์ได้ยึดอำนาจปกครองละก็ พวกเขาก็จะอยู่ในภาวะที่เหนือกว่าพวกเราตลอดไป ถ้าเช่นนั้นพวกท่านก็ลุกขึ้นให้บัยอะฮฺกับอะบูบักร์จะดีกว่า”

ทันใดนั้นเองท่านอุมัร ก็กระโดดจับคอเสื้อของซะอ์ด บินอุบาดะฮฺแล้วตะโกนบอกผู้คนว่า

“จงฆ่าเขาซะ”

ซะอ์ด บินอุบาดะฮฺไม่ได้ให้บัยอะฮฺแก่ท่านอะบูบักร์ จนกระทั่งเสียชีวิต

โปรดตัดสินด้วยความเป็นธรรม

จากเหตุผลที่จะกล่าวในลำดับต่อไปนี้ จะสร้างความเข้าใจให้กับท่านผู้อ่านว่า เหตุการณ์ที่ “ซะกีฟะฮฺ” ไม่เพียงแต่ไม่เป็นไปตามหลักการชูรอ (ตามที่อัล – กุรอานบอก) เท่านั้นมันยังเป็นการช่วงชิงสิทธิ์การเป็นผู้นำของท่านอิมามอะลี (อฺ) อีกด้วย

ข้อที่ 1

ในตอนที่จะไปยัง “ซะกีฟะฮฺ” ท่านอุมัรส่งคนไปตามท่านอะบูบักร์ คนเดียวไม่ได้ติดต่อกับใครอื่น ทั้งๆที่ในตอนนั้นท่านอะบูบักร์ อยู่กับบรรดา

ศอฮาบะฮฺชั้นผู้ใหญ่ของท่านศาสดา(ศ) รวมทั้งท่านอะลี(อฺ) ด้วย เขา

ไม่ได้แจ้งข่าวเรื่องนี้ให้กับผู้ใดรับรู้เลย อีกทั้งลืมการแสดงความเสียใจต่อการจากไปของท่านศาสดา(ศ) อย่างสิ้นเชิง เขาปล่อยมัยยัตของท่านศาสดา(ศ) ไว้ รีบรุดหน้าไปยัง “ซะกีฟะฮฺ” หากไม่ได้วางแผนกันมาก่อน ทำไม?

ท่านอะบูบักรฺจึงไม่กล่าวกับท่านอฺมัรว่า

“เราต้องบอกพวกบะนีฮาชิมและศอฮาบะฮฺของท่านศาสดา(ศ) ด้วยตอนนี้ปล่อยไว้ก่อนเถิดให้เราได้ฝังร่างของท่านศาสดา(ศ) ก่อนแล้วเราก็จะดำเนินการกำหนดตัวผู้นำโลกอิสลามพร้อมกัน”

หรือว่า “ชูรอ” คือการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้นำกลุ่มชนทั้งสามซึ่งแต่ละคนก็แสดงตนว่าจะเป็นผู้นำให้ได้ โดยที่มีการกล่าวถ้อยคำที่กักขฬะขู่กรรโชกกันและหลอกล่อกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา มีการขัดแย้งกัน

อย่างเห็นเด่นชัด มีการใช้กำลังเพื่อที่จะให้จบลงด้วยชัยชนะของตนเอง ใครที่มีความคิดเห็นขัดแย้งก็จ้องที่จะทำลายให้สิ้นซาก

 ด้วยการกล่าวว่า

“โดยการลงมติของประชาชาติอิสลามและผลประโยชน์ของโลกอิสลามขณะนี้มีการก่อความวุ่นวายใครที่กระทำการเช่นนี้ถือว่า เป็นตัวบ่อนทำลายความสงบสุขของรัฐ เลือดของเขาไม่เป็นที่ต้องห้ามอีกต่อไป

เขาจะต้องถูกประหารชีวิตหรือไม่ก็ถูกเนรเทศออกนอกรัฐอิสลาม”

หรือว่าการปรึกษาหารือในเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องบอกกล่าวศอฮาบะฮฺชั้นผู้ใหญ่ และชาวบนีฮาชิมซึ่งผู้ที่อยู่ในฐานะหัวหน้าของพวกเขาคือท่านอิมามอะลี(อฺ)?

ข้อที่ 2

ถ้าจะเปรียบ “ซะกีฟะฮ์” เป็นสนามฟุตบอลก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะมีการส่งลูกฟุตบอลต่อๆ กัน ซึ่งถ้าใครนั่งดูต้องหัวเราะเป็นแน่:

หลังจากมีการกล่าวถ้อยคำที่รุนแรงและยกตนข่มท่านแล้ว ท่านอะบูบักรฺได้พูดกับชาวอันศอรว่า

“...ระหว่างอุมัรกับอะบูอุบัยดะฮฺ พวกท่านจะบัยอะฮฺกับใคร?...”

เหมือนกับเป็นการบังคับว่าต้องเลือกคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้เป็น

คอลีฟะฮฺ ซึ่งเขาทั้งสองก็ทำเสมือนว่าฝึกกันมาเป็นอย่างดีโยนลูก (ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ) กลับไปให้ท่านอะบูบักรฺ แล้วพูดขึ้นว่า

“ตราบใดที่มีท่านอยู่ เราไม่อาจหาญที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้...”