พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27295
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27295 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

เขายังได้กล่าวในเรื่อกำมะถันว่า :

“ถ้าเราทำการเผากำมะถัน “ฟลอจิสตอน” ก็จะออกมา

ส่วนก๊าซไร้สีซึ่งความจริง ก็คือ กำมะถันที่ไม่มี“ฟลอจิสตอน” คงอยู่”

รูเอล นักเคมี และครูของ ลาวัวซิเย ก็ยอมรับทัศนะดังกล่าวด้วย เขาได้พยายามทำการพิสูจน์ให้เห็นเป็นจริง

ลาวัวซิเย นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้วางรากฐานวิชาเคมีสมัยใหม่คนหนึ่งได้ทำการศึกษาคำกล่าวของครูตัวเองคือ รูเอล และนักวิทยาศาสตร์สมัยก่อน เขาได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า ความเชื่อในเรื่อง “ฟลอจิสตอน” นั้นไม่มีมูลเลย

ในปี ค.ศ. 1772 เขาได้นำเอาตะกั่วสีน้ำเงินชิ้นหนึ่งเผาด้วยแสงอาทิตย์ (ซึ่งอาศัยเมล็ดถั่วเขียวในการรวมแสง) เขาได้สังเกตว่าน้ำหนักของมันเพิ่มขึ้น เขาบอกกับตัวเองว่า อากาศถูกรวมเข้ามาในโลหะนั้น ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าหากมี “ฟลอจิสตอน” อยู่จริง นํ้าหนักก็น่าจะลดลง (เพราะได้ระเหิดออกมา) ดังนั้นเขาจึงลบล้างทฤษฏี “ฟลอจิสตอน” ทิ้ง

เขาได้ตอกย้ำทัศนะของเขาว่า : หากเราเอาตะกั่วที่ถูกเผาไฟแล้ว ให้ความร้อนเข้าไป มันจะปล่อยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปในตอนแรกออกมา และกลับกลายเป็นตะกั่วอีกครั้งหนึ่ง

เช่นเดียวกันในปี ค.ศ. 1776 เขาได้วางหลอดไฟไว้ใต้ถาดใบหนึ่งที่มีปรอทอยู่เต็ม แล้วให้ความร้อน

เป็นเวลา 12 วัน ไม่นานนักก็มีแผ่นสีแดงปกคลุมอยู่บนแผ่นหน้าปรอทนั้น

ลาวัวซิเย ค้นพบว่า : อากาศที่อยู่ในจานไม่อาจถ่ายเทได้ เขาพูดกับตัวเองว่า อากาศในจานจะต้องเข้าไปรวมอยู่กับปรอทอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้เกิดแผ่นบาง ๆ สีแดงนั่นเอง เพื่อสนับสนุนคำพูดของตัวเอง

เขาได้แยกแผ่นบาง ๆ สีแดงออก และให้ความร้อนแกมันเขาเห็นว่า

 ก๊าซได้พวยพุ่งออกมาจากมันซึ่งถ่ายเทได้

ในที่สุดเขาก็ได้บทสรุปว่า เมื่อเวลาเผาปรอทนั้น จะไม่มีอะไรออกมาจากมัน แต่ในอากาศมีก๊าซอยู่ชนิดหนึ่งที่เข้าไปรวมตัวกับปรอทแล้วผลิตออกไซด์ของปรอทออกมา เขาได้ตั้งชื่อก๊าซชนิดนี้ว่า “ออกซิเจน”

ลาวัวซิเย แสดงทัศนะอย่างตรงไปตรงมาว่า เรื่อง “ฟลอจิสตอน” ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด และยังเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงผลทางเคมีว่า น้ำหนักรวมของสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการทดลองจะต้องเท่ากับน้ำหนักของสารเคมีที่ได้มาเสมอ หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ (ไม่มีสิ่งใดขาดหายไป และก็ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเข้ามา) หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ

(ไม่มีสิ่งใดขาดหายไป และก็ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเข้ามา)

จากเหตุผลดังกล่าวที่ทัศนะเรื่อง “ฟลอจิสตอน” ก็ถูกลบบ้างไป และในปัจจุบัน เราก็รับรู้ว่า การลุกไหม้ของไฟ และน้ำมันเกิดขึ้นเพราะเกิดการสันดาปกับออกซิเจนนั่นเอง ไม่ใช่ว่ามีสสารอย่างหนึ่งที่มองไม่เห็นในรูปของเปลวไฟออกมาจากมัน

อย่างไรก็ตาม ตลอดประวัติศาสตร์ของทฤษฎี “ฟลอจิสตอน” และทัศนะของ ลาวัวซิเย นั้นทำให้กระจ่างว่า เป้าหมายของ ลาวัวซิเย ที่พูดประโยคดังกล่าว (ไม่มีสิ่งใดที่ขาดหายไป และก็ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเข้ามา) ก็

คือในการรับและแสดงผลทางเคมีจะไม่มีสิ่งใดหายไป และไม่มีสิ่งใดเพิ่มเข้ามา แต่จากทัศนะดังกล่าวไม่มีแนวคิดเรื่องปฐมเหตุแห่งการกำเนิดของสรรพสิ่ง และการสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาทางปรัชญาเลย!

แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า มีบางคนคิดว่า ลาวัวซิเย ต้องการจะกล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญา ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกำเนิด และการสร้างไม่สัมพันธ์กันกับ “กฎลาวัวซิเย” เพราะ ลาวัวซิเย กล่าวว่า

ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น และไม่มีสิ่งใดหายไป แล้วเป็นไปได้อย่างไรว่า สิ่งหนึ่งถูกสร้างขึ้นมา ?

ขณะที่เราได้สนใจถึงที่มาของทฤษฎี “ฟลอจิสตอน”

 และ “กฎลาวัวซิเย” จะต้องเข้าใจด้วยว่า ทัศนะของลาวัวซิเย นั้นกล่าวแต่เพียงเรื่องของผลทางเคมีซึ่งมีอยู่ในโลกนี้เท่านั้น หมายความว่า กฎเกณฑ์ของโลกนี้ ก็คือ

ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในโลกจะหายไป และหรือเพิ่มเติมขึ้น แต่โลกนี้ถูกสร้างขึ้นมา หรือมันมีอยู่ก่อนแล้ว เป็นอีกปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหาทางด้านปรัชญาซึ่ง “กฎลาวัวซิเย” ไม่เกี่ยวข้องกับมันเลย

ดังนั้นความเชื่อที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลกกับ “กฎลาวัวซิเย” จึงไม่มีความแตกต่างอันใดทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคนใดก็ตามรับทฤษฎีวิชาการใด หรือทัศนะของนักวิทยาศาสตร์คนใดมาจะต้องพิจารณาดูอย่างละเอียดลึกซึ้งในคำพูดเหล่านั้น พูดคุยกับผู้ที่รู้ซึ้งในทฤษฎีดังกล่าวเพื่อที่ว่าความจริงจะได้ปรากฏ เพราะบางทีความมักง่ายอาจทำให้เกิดคำถาม และสร้างปัญหาสงสัยต่อแนวความเชื่อของตัวเองได้

ไม่เพียงเท่านั้น เราไม่ควรที่จะด่วนสรุปต่อทฤษฎีใดๆ อย่างง่ายๆ

และคิดว่า มันคือความเป็นจริงตามหลักวิชาการที่ถูกตรวจสอบแล้ว

มีทัศนะมากมายที่นักวิชาการจำนวนมากสนับสนุนมันเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ ในที่สุดก็ล้มครืนลงมา และไม่เหลือร่องรอยใดเลย ตัวอย่างของมันก็คือ “ทฤษฎีฟลอจิสตอน” ซึ่งได้อ่านที่มาของมันไปแล้วแม้กระทั่ง

 “กฎลาวัวซิเย” เองก็ตาม ปัจจุบันก็ได้ถูกลบล้างไปแล้ว กลายเป็นกฎใหม่ว่า “กฎแห่งการคงอยู่ของวัตถุและพลังงาน” ก็คือ ถ้าเราเอาออกซิเจน 8 กรัม ผสมกับไฮโดรเจน 1 กรัม ตาม “กฎลาวัวซิเย”

เราต้องได้น้ำจำนวน 9 กรัม แต่ปัจจุบันด้วยการตรวจสอบอย่างละเอียด กลับค้นพบว่ามี สิ่งหนึ่งออกมา แล้วได้กลายรูปเป็นพลังงาน และได้น้ำออกมาจำนวนน้อยกว่า 9 กรัม

บทที่ 7

เราต้องพึ่งพิงยังพระผู้เป็นเจ้าทุกขณะจิต

นักประดิษฐ์ (หมายถึงมนุษย์ทั่วไป) กับพระผู้สร้างแตกต่างกันอย่างไร ? โปรดพิจารณาตัวอย่างข้างล่างนี้ให้ดี แล้วดูว่า สิ่งถูกสร้างในโลกนี้นั้นมีความต้องการขนาดไหนต่อผู้สร้างตัวเอง :

ก. ผู้สร้าง หรือนักประดิษฐ์เครื่องบิน เขาจะต้องประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่อง และน็อตทุกตัวเข้าด้วยกัน ด้วยเครื่องมือที่พิเศษเฉพาะ และคำนวณไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบิน บรรทุกสิ่งของและผู้โดยสาร

จริงๆ แล้ว งานของนักประดิษฐ์เครื่องบิน ก็คือการเคลื่อนไหวมือของเขานั่นเอง อันเป็นตัวก่อให้เกิดคุณูปการ และสิ่งจำเป็นมากมาย ด้วยเงื่อนไขและกฎเกณฑ์อันจำเพาะสำหรับมันในรูปแบบและความจำเป็นที่แตกต่างกันออกไป โดยที่หากงานสิ้นสุดลง การเคลื่อนไหวก็ย่อมหยุดลงด้วยเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าโลหะทุกชิ้น

เครื่องยนต์ทุกตัว ดวงไฟ และเก้าอี้ของเครื่องบินซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของมือของนักประดิษฐ์

เช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้กำเนิดมาจากตัวของนักประดิษฐ์เอง

และไม่เกี่ยวข้องกันด้วย

ข. เราต้องการจะสร้างบ้านขึ้นมาสักหนึ่งหลัง มีวัสดุก่อสร้างทุกกอย่างพร้อมแล้วเรายังต้องการอะไรอีก ? ต้องการคนงาน กรรมกรในแง่ที่ว่าเป็นผู้สร้างวัสดุก่อสร้าง หรือทำหน้าที่ผสมวัสดุที่มีอยู่เข้าด้วยกันเท่านั้น ?

เป็นที่กระจ่างชัดว่าในการทำวัสดุก่อสร้างนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้คนงานหรือกรรมกรเลย เราต้องการบุคคลพวกนี้ในตอนเคลื่อนย้าย และประกอบวัสดุเหล่านี้ เพื่อที่ว่าเมื่อทุกอย่างลงตัวบ้านหลังหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาตามที่เราต้องการ

ค. ชายคนหนึ่งไม่เคยเห็น “หอไอเฟิล” มาก่อน เมื่อเขาได้ยินการบอกเล่าถึงลักษณะเด่นของมัน ในชั่วพริบตาเขาก็สามารถจินตนาการถึงมันได้ ถึงขนาดที่สร้าง (ในความคิด) ให้มันใหญ่กว่าเดิมได้ และเขาสามารถที่จะคาดคำนวณถึงกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่กำลังปีนขึ้นไปบนหอไอเฟิลอันสูงใหญ่นั้น

การบังเกิดขึ้นของหอสูงตามจินตนาการนี้นั้นแตกต่างจากสองตัวอย่างที่กล่าวมา คือในสองตัวอย่างแรกนั้น ถึงแม้ว่าบุคคลหนึ่งจินตนาการมันอยู่ในความนึกคิดของเขาก็จริง แต่วัสดุที่ใช้สร้างเครื่องบินและก่อสร้าง

บ้านไม่ได้มาจากตัวของผู้สร้างและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนในตัวอย่างสุดท้ายวัสดุก่อสร้างและอาคารของหอสูงตามจินตนาการนี้

ออกมาจากความนึกคิดของคนๆ นั้นไม่ได้มาจากที่อื่นหรือสิ่งอื่นเลย ด้วยเหตุนี้เอง ที่สิ่งถูกสร้างตามจินตนาการจะไม่สามารถเข้ากันได้ หรือเหมือนกับสิ่งถูกสร้างจริงได้เลย มันนั้นจะกว้างขวางใหญ่โตได้เท่ากับความคิดที่ผู้จินตนาการต้องการให้มันเป็น

ดังนั้นรูปภาพจินตนาการทั้งหมดก่อกำเนิดมาจากตัวของเรา มันจะยังคงอยู่และปรากฏในความนึกคิดของเรา ตราบเท่าที่เราต้องการให้มันมีอยู่ เมื่อไรก็ตามที่เลิกคิดจากมัน มันก็อันตรธานและสูญหายไปจากความคิดของเราทันที

จากตัวอย่างสุดท้าย เราจะได้รับบทสรุปว่า :

ทุกสิ่งที่การมีอยู่ของมันมาจากบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น มันนั้นจะไม่เป็นเอกเทศ ยังคงมีความต้องการ และพึ่งพาสิ่งนั้นอยู่ทุกขณะจิต

ถึงตอนนี้คงจะเห็นแล้วว่า สรรพสิ่งทั้งมวลในโลกนี้ถือกำเนิดมาจาก “ความไม่มี” ดังนั้นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้มาจากพระผู้เป็นเจ้ามิใช่หรือ?

ทุกสรรพสิ่งมีความต้องการ และพึ่งพิงพระผู้สร้างของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

มีบางคนอาจคิดว่า : สรรพสิ่งต่างๆ ในโลกนี้หลังจากถูกบังเกิดแล้ว ไม่มีความต้องการต่อพระผู้สร้างในการดำรงชีวิตของตัวเองแต่อย่างใด !

การมีความคิดอย่างนี้ผิดอย่างแน่นอน เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น

 เหมือนกับภาพแห่งจินตนาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดของเราเอง ทุกๆ ช่วงจังหวะแห่งการคงอยู่ การดำรงชีวิตของสิ่งนั้น มีความต้องการผู้สร้าง หรือปั้นแต่งมันขึ้นมา

เพื่อทำให้กระจ่างในหัวข้อนี้ ท่านจงสร้างหุ่นจำลองมาตัวหนึ่งให้เดิน พูดและทำงานด้วยตัวของมันเอง

หุ่นจำลองตัวนี้มีความเป็นเอกเทศในการดำรงอยู่ด้วยตัวเองหรือไม่ ?

แน่นอนเหลือเกินว่า การมีอยู่ของมันขึ้นอยู่กับท่าน โดยหากท่านไม่ต้องการให้มันมี มันก็จะสูญหายไป

เช่นเดียวกับที่สิ่งถูกสร้างทั้งมวลในโลกนี้นั้นทั้งหมดมาจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์

มันไม่มีอะไรเป็นของตัวเองเลย ยังคงต้องการพึ่งพิงยังพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา เป็นช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าพระผู้เป็นเจ้าจะไม่ทรงประสงค์ แล้วมันก็จะตายและสูญหายไปทันที การดำรงชีวิตของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงยิ่งใหญ่

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสในอัลกุรอานว่า:

“โอ้มวลมนุษย์ทั้งหลาย สูเจ้าต้องพึ่งพาอัลลอฮฺตลอดเวลา ส่วนอัลลอฮ์นั้น พระองค์ไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด อีกทั้งทรงได้รับการสรรเสริญ หากพระองค์ต้องการทำลายพวกสูเจ้า และบังเกิดสิ่งถูกสร้างใหม่ (ก็สามารถทำได้)”

ในเรื่องนี้มันเป็นสัจธรรม อิสลามได้ย้ำเตือนผู้ปฎิบัติตาม (มุสลิม) อยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า : เมื่อพวกเจ้าลุกขึ้นในการนมาซ (เพื่อทำร่อกะอะฮฺต่อไป) ก็จงกล่าวว่า “บิเฮาลิลลาฮฺ วะกูวะติฮี อะกูมุวะอักอุด” ซึ่งแปลว่า

“ด้วยกับอำนาจและพลานุภาพของอัลลอฮฺ ที่ (ทำให้) ข้าพระองค์ลุกขึ้นและนั่งลง”

มั่นใจได้เลย หากท่านเข้าใจว่า ต่อหน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เราไม่มีเอกสิทธิ์เป็นของตัวเอง

พระองค์เท่านั้นที่ทรงสิทธิ์ในตัวของเรา มีอำนาจในการให้บังเกิดและทำลายได้ เมื่อนั้นเราก็จะพากเพียรสู่แนวทางที่ทำให้เราได้รับความผาสุกและปลอดภัย

พระองค์เท่านั้นที่ความเมตตาและเอื้ออารีของพระองค์แผ่ไพศาลเหนือตัวของพวกเราทุกคน

ไม่มีทางเลือกใดนอกจากต้องก้มกราบต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์สรรเสริญพระองค์ ด้วยถ้อยคำที่ว่า

“ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอฺลา วะบิฮัมดิฮี”

 (มหาบริสุทธิ์ยิ่ง และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง)

บทที่ 8

พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงพึ่งพาผู้ใด

กฎเกณฑ์หนึ่งที่ตายตัวและได้รับการพิสูจน์แล้ว

โลกที่เรามองเห็น คือโลกที่เป็นวัตถุธาตุประกอบขึ้นมาจากอณูเล็ก ๆ สรรพสิ่งในโลกนี้ทั้งหมดล้วนมีที่อยู่ และมีคุณลักษณะพิเศษของมัน

จากสาเหตุดังกล่าว การกระทำ การตอบสนอง และผลแห่งการกระทำของสิ่งเหล่านี้จึงไม่อาจก่อให้เกิดผลในทุกที่หรือในทุกสถานการณ์ที่เหมือนกันได้ การใกล้ – ไกลของผลแห่งการกระทำ หรือการได้รับปฏิกิริยา

จากสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็มีผลต่อมันทั้งสิ้น หากเราเข้าใกล้สิ่งใดมากยิ่งขึ้น

ผลของมันที่มีต่อเราก็จะมีมากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกัน ถ้าเราอยู่ไกลจากสิ่งใด ผลของมันที่มีต่อเราย่อมน้อยลงเป็นธรรมดา จนกระทั่งไปสิ้นสุด ณ ที่แห่งหนึ่งที่จะไม่แสดงผลต่อเราเลย เพราะไกลจากเราเกินไป

เพื่อให้หัวข้อที่เราได้กล่าวไปกระจ่างยิ่งขึ้น ขอให้พิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้

(1) พลังดึงดูดของแม่เหล็กในระหว่างสิ่งต่าง ๆ มีไม่เท่ากัน เหล็กถ้าอยู่ใกล้กับแม่เหล็กมากเท่าใด มันจะถูกดึงดูดมากเท่านั้น เช่น ถ้าเราเอาตะปูตะหนึ่งวางห่างจากแม่เหล็ก 2 ซม. และอีกตัวหนึ่งว่าห่าง 10 ซม. เราจะพบว่า แรงดึงดูดของตัวแรกมีมากกว่าตัวที่สอง

(2)  ความร้อนของดวงอาทิตย์ที่สาดส่องบนผิวดาวศุกร์ จะไม่เท่ากับความร้อนของมันบนผิวโลก เพราะดาวศุกร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่า จึงรับพลังความร้อนได้มากกว่าโลกซึ่งอยู่ไกลจาดดวงอาทิตย์มากกว่า

(3)  แสงจากโคมไฟถึงแม้จะส่งสว่างไปได้ไกลถึง 100 เมตรก็ตาม แต่ความสว่างตลอดระยะทางมีไม่เท่ากัน ระยะทางยิ่งใกล้โคมไฟมากเท่าไรก็จะสว่างกว่าที่ไกลออกไป

(4)   เสียงของนักบรรยายอาจจะได้ยินไกลถึง 50 เมตร แต่อัตราการได้ยินตลอดเส้นทาง 50 เมตรนั้นก็หาได้เท่ากันไม่ ใครที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดนักบรรยายมากเท่าใด เขาก็จะได้ยินเสียงได้ถนัด และชัดเจนกว่าผู้ที่อยู่ไกลออกไป

หัวหน้าคนหนึ่งตั้งใจที่จะปฏิบัติงานขึ้นมาชิ้นหนึ่งเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง หากเขาไม่อาศัยคนรอบข้าง และเครื่องมือต่างๆ เขาก็ไม่สามารถสร้างอิทธิพล และมีอำนาจเหนือบุคคลที่อยู่ไกลจากตัวเขาออกไปได้เลย ในทางกลับกันถ้าเขาใช้ประโยชน์จากบุคคลรอบข้าง และเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ทุกๆ ที่ซึ่งคนอื่นก้าวไปถึง เขาก็สามารถสร้างอิทธิพลได้เหมือนกัน อันที่จริงการแผ่ขยายอิทธิพลนั้นไม่ใช่การกระทำของตัวเขาเอง แต่ในความเป็นจริง มันคือกำลังอำนาจของผู้จงรักภักดีเขาต่างหากซึ่งเป็นไปตามความต้องการและความปรารถนาของตัวเขาเอง

อย่างไรก็ตามในการแผ่อิทธิพลนั้น ความสนิทสนม และความห่างไกลของผู้จงรักภักดีของเขาที่มีต่อตัวเขา ก็ใช่ว่าจะเหมือนกันหมด มีความแตกต่างกันตามความรู้สึกอยู่มากทีเดียว

ตัวอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้ประเด็นที่วางไว้กระจ่างขึ้นว่า

ทุกสรรพสิ่งที่มีตัวตน ผลของมันที่บังเกิดขึ้นกับสิ่งหนึ่งในทุกๆ ย่อมจะไม่เท่ากัน กล่าวคืออะไรที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางมากเท่าใด มันก็ย่อมจะได้รับ

ปฏิกิริยามากกว่าสิ่งที่อยู่ไกลออกไป

พระผู้เป็นเจ้ามีศูนย์กลางด้วยหรือ?

บางคนอาจจะเดาว่า: พระผู้เป็นเจ้ามีสถานที่อยู่ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์สรรพสิ่งทั้งหลาย ประทับอยู่เหนือฟากฟ้าชั้นสูงสุด ณ ที่นั้นพระองค์ใช้บังคับบัญชากิจการของสิ่งถูกสร้างทั้งมวล! แต่...ไม่ใช่เช่นนี้ เพราะระบบ

ของจักรวาลนี้เป็นผลจากการให้กำเนิดของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าสิ่งนั้นๆ จะอยู่ ณ สถานที่ใด ห้วงมหาสมุทร หรือสุดยอดเขาที่สูงที่สุด ก็อยู่ภายใต้ระบบและกฎเกณฑ์อันนี้ด้วย ไม่มีที่ใดเลยในจักรวาลนี้ปราศจากซึ่งระบบดังกล่าวนั้น

ระบบดังกล่าว(ที่อยู่ภายใต้อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า) ใช่ว่าจะต้องมีศูนย์กลางเสมอไป (พิจารณาจากพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า) หรือเป็นไปตามกฎที่ว่าสิ่งใดที่อยู่ไกลจากศูนย์กลาง ระบบและกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะค่อยๆ จางหายไปในที่สุดก็จะไปถึงที่หนึ่ง ซึ่งปราศจากระบบอันนี้ ความสับสน ปั่นป่วนวุ่นวายก็จะบังเกิดขึ้น

ถ้าพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหมือนวัตถุธาตุทั้งหลาย แน่นอนเหลือเกินอำนาจของพระองค์จะต้องมีความแตกต่างออกไป

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เราเข้าใจว่า ผู้สร้างโลกและจักรวาลนี้ไม่มีสถานที่ และศูนย์กลางใดๆ ทั้งสิ้น

หรืออีกนัยหนึ่งพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างสถานที่ขึ้นมาย่อมเป็นไปไม่ได้เลยว่า ผู้สร้างและให้บังเกิดสิ่งหนึ่งต้องพึ่งพาต่อสิ่งที่สร้างขึ้นมา

พระผู้เป็นเจ้าไม่อาจเปรียบได้กับผู้สร้าง และนักประดิษฐ์ทั้งหลายเพราะเขาไม่ใช้ผู้สร้างสิ่งนั้นตัวจริง งานของพวกเขามีเพียงทำความเข้าใจคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของสิ่งๆ นั้น แล้วพวกเขาก็ได้รับความสำเร็จในการนำมันมาผสมและประกอบกัน แล้วมอบงานประดิษฐ์ชิ้นนั้นของเขาแก่มวลมนุษย์

บางทีเขาก็ยังต้องพึ่งพาต่อสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาเอง แต่... พระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างทุกสรรพสิ่งไม่ต้องพึ่งพาต่อสิ่งถูกสร้างของพระองค์เลย

พระผู้เป็นเจ้าไม่อาจมองเห็นได้

เราได้รับรู้แล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่มีสถานที่อยู่ ก็แสดงว่าพระองค์ไม่ใช่สสาร เพราะสสารต้องการที่อยู่

ไม่มีสสารตัวใดที่ไม่มีที่อยู่ ในเมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่วัตถุสาร ดังนั้นจึงไม่อาจมองเห็นได้ เพราะดวงตานั้นจะมองเห็นเฉพาะสิ่งที่เป็นสสารและวัตถุเท่านั้น

พระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการสิ่งใดทั้งสิ้น

เพราะพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างอาหาร และปัจจัยยังชีพอื่นๆ ดังนั้น จำต้องกล่าวว่า พระองค์ไม่ต้องการสิ่งใดทั้งสิ้น

พระผู้เป็นเจ้าคือความจริงแท้ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ไม่มีความต้องการสิ่งใดทั้งสิ้น พระองค์ไม่เหมือนกับมนุษย์ที่ต้องการที่อยู่ อาหาร

 และปัจจัยยังชีพอื่นๆ แต่มันทั้งหมดนั้นต้องพึ่งพา และอาศัยพระองค์ทั้งสิ้น

จนถึงขนาดนี้ บางท่านอาจจะถามว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่สสาร ไม่มีที่อยู่ ไม่อาจมองเห็นได้ แล้วพระองค์เป็นอะไร? เราจะกล่าวได้อย่างไรว่า พระองค์มีอยู่จริง? เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ โปรดพิจารณาตัวอย่างข้างล่าง

เราสามารถกล่าวได้ว่า

ไฟฟ้า ไม่ใช่ของแข็ง

ไฟฟ้า ไม่ใช่ของเหลว

ไฟฟ้า ไม่ใช่ก๊าซ

ท่านเห็นแล้วใช่ไหมว่า คำว่า “ไม่ใช่” นี้ไม่ขัดแย้งกับการมีอยู่ของไฟฟ้าเลย ไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน

 ถ้าเราจะกล่าว่าไฟฟ้า ในเมื่อไม่ใช่ของแข็ง หรือของเหลวหรือก๊าซ ดังนั้นมันจึง “ไม่มีอยู่จริง” แต่เราจะต้องกล่าวว่า

ไฟฟ้ามีอยู่จริงแต่ไม่ใช่มีลักษณะที่ได้กล่าวไป (มีคุณลักษณะอย่างอื่น)

ถึงเวลาที่เรามาพิจารณาเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าบ้าง

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่พึ่งพาสิ่งใด ไม่ใช่สสาร

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่พึ่งพาสิ่งใด ไม่มีที่อยู่

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่พึ่งพาสิ่งใด มองไม่เห็น

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่พึ่งพาสิ่งใด ไม่ต้องการสิ่งใด

หมายความว่าไม่มีความไม่สมบูรณ์ใดๆ อยู่ในการมีอันสมบูรณ์ และไร้ขอบเขตของพระองค์ ซึ่งพระองค์

เป็นต้นกำเนิดของการมีอยู่ทั้งมวล พระองค์ทรงดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์ และไร้ซึ่งการพึ่งพิงสิ่งใด คุณลักษณะดังกล่าวนี้มีเฉพาะสำหรับพระองค์ เหนือว่าสิ่งถูกสร้างทั้งมวล

นี่คือ พระผู้เป็นเจ้าที่คู่ควรแก่การยึดมั่นและเชื่อมั่น

สติปัญญา และความรู้สึกอันดั่งเดิมของมนุษย์ยอมรับพระผู้เป็นเจ้าที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ไม่มีผู้มีปัญญาปรกติคนใดสามารถปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์ได้

 เมื่อเปรียบแนวความเชื่อดังกล่าวกับความเชื่อของกลุ่มชนที่เชื่อว่า

พระผู้เป็นเจ้าอยู่ในสถานภาพเดียวกันกับมนุษย์ มีบุตร มีคุณสมบัติอื่นๆ เหมือนกับมนุษย์โดยทั่วไป ทำให้ความยิ่งใหญ่ ความมีเกียรติของศาสนาอิสลาม เหนือกว่าแนวความเชื่ออื่นใดทั้งมวล

เป็นความจริงที่อาจกล่าวได้ว่า ส่วนมากของนักวัตถุนิยมที่ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง (ตามที่อิสลามบอก) ก็อันเนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงยังไม่ได้ถูกแนะนำแก่พวกเขา พระผู้เป็นเจ้าที่เขาได้ยิน คือพระผู้เป็นเจ้าจอมปลอมพระผู้เป็นเจ้าในคราบของมนุษย์และสิ่งถูกสร้างอื่น

บทที่ 9

ความรู้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ปราศจากแหล่งที่มาแต่มีอยู่ในทุกที่

ความรู้มากเท่าไร ผลผลิตทางความรู้ย่อมต้องมากขึ้น

เครื่องจักอันใหญ่โต และแข็งแกร่งที่ถูกใช้ในงานการสร้างทาง และงานที่สำคัญมากมายหลายประเภทนั้น คือ

พยานยืนยันถุงวิชาความรู้ของวิศวกร ผู้สร้างมันขึ้นมา จำเป็นต้องกล่าวว่า : ผู้ประดิษฐ์จะต้องรู้รายละเอียดของกฎเกณฑ์ทางด้านเครื่องกล ความสัมพันธ์ทางด้านกลศาสตร์ และฟิสิกส์เป็นอย่างดี

สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์แสดงให้เป็นความรอบรู้ ชาญฉลาด และปัญญาอันเฉียบแหลมของผู้ประดิษฐ์

และผู้สร้างนั้น สิ่งถูกสร้าง หรืออุปกรณ์ใดที่ละเอียด และซับซ้อนย่อมแสดงถึงความรู้ของผู้สร้าง ผู้ประดิษฐ์ว่ามีความสมบูรณ์ และเก่งกล้ามากขึ้นเท่านั้น